二十四节气 — การบอกฤดูกาลทั้ง 24

二十四节气  การบอกฤดูกาลทั้ง 24

“ปฏิทิน (จันทรคติ) จีน” จะเรียกว่า “夏历” — ปฏิทินราชวงศ์เซี่ย, “农历” — ปฏิทินการเกษตร หรือ “旧历” — ปฏิทินเก่า ก็ได้

 

ปฏิทิน (จันทรคติ) จีน ในส่วนของปฏิทินจันทรคติ ปีธรรมดา (平年) จะมี 12 เดือน โดยเดือนใหญ่ (大月) มี 30 วัน เดือนเล็ก (小月) มี 29 วัน ตลอดทั้งปี รวมกันจะมี 354 หรือ 355 วัน

 

ซึ่ง (การนับจำนวนวันแบบนี้) ทำให้จำนวนวันน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติเฉลี่ยประมาณ 11 วัน ดังนั้น ทุก 19 ปี ก็จะมีเดือนอธิกมาส (闰月) 7 เดือน โดยในปีที่มีเดือนอธิกมาสนี้ จะมีจำนวนวันทั้งหมดประมาณ 383 หรือ 384 วัน

 

ปฏิทินจีนจะใช้ “天支” มาบันทึกชื่อปี เมื่อครบปีก็จะครบรอบของปฏิทินนี้ (เรื่อง “天干” และ “地支” จะมาเขียนถึงอีกครั้งหนึ่ง)

 

ในส่วนของปฏิทินสุริยคติจะแบ่งออกเป็น 24 ฤดู หรือเทศกาล “二十四节气” (24 ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของฟ้าดิน) เพื่อความสะดวกในการประกอบกิจกรรมการเกษตร มีชื่อเรียกแต่ละฤดู ดังนี้

 

“立春” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับวันที่ 3, 4 หรือ 5 ของเดือน ก.พ.

 

“雨水” — ช่วงน้ำฝน ตรงกับวันที่ 18,19 หรือ 20 ของเดือน ก.พ.

 

“惊蛰” — ช่วงเวลาที่สัตว์ (หรือแมลง) ตื่นจากการจำศีล (ช่วงแมลงตื่น) ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน มี.ค.

 

“春分” — ช่วงวสันตวิษุวัต (กลางฤดูใบไม้ผลิ) (ช่วงราตรีเสมอภาคแห่งวสันตฤดู) กลางวันกับกลางคืนในฤดูใบไม้ผลิจะยาวเท่ากัน ตรงกับวันที่ 20, 21 หรือ 22 ของเดือน มี.ค.

 

“清明” — ช่วงสว่างใส (เทศกาลเชงเม้ง) ตรงกับวันที่ 4, 5 หรือ 6 ของเดือน เม.ย.

 

“谷雨” — ช่วงฝนข้าว ตรงกับวันที่ 19, 20 หรือ 21 ของเดือน เม.ย.

 

“立夏” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูร้อน ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน พ.ค.

 

“小满” — ช่วงข้าวเต็มน้อย ตรงกับวันที่ 20, 21 หรือ 22 ของเดือน พ.ค.

 

“芒种” — ช่วงปลูกข้าว หรือข้าวงอกขน ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน มิ.ย.

 

“夏至” — ช่วงครีษมายัน (ช่วงอุตตรายัน) (กลางฤดูร้อน) ช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน ตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ของเดือน มิ.ย.

 

“小暑” — ช่วงร้อนน้อย ตรงกับวันที่ 6, 7 หรือ 8 ของเดือน ก.ค.

 

“大暑” — ช่วงอากาศร้อนที่สุด (ร้อนมาก) ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ก.ค.

 

“立秋” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 7, 8 หรือ 9 ของเดือน ส.ค.

 

“处暑” — ช่วงคงร้อน (จบร้อน, สิ้นสุดฤดูร้อน) ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ส.ค.

 

“白露” — ช่วงน้ำค้างขาว ตรงกับวันที่ 7, 8 หรือ 9 ของเดือน ก.ย.

 

“秋分” — ช่วงศารทวิษุวัต (กลางฤดูใบไม้ร่วง) (ช่วงราตรีเสมอภาคแห่งฤดูสารท) กลางวันกับกลางคืนในฤดูใบไม้ร่วงยาวเท่ากัน ตรงกับวันที่ 22, 23 หรือ 24 ของเดือน ก.ย.

 

“寒露” — ช่วงน้ำค้างหนาว ตรงกับวันที่ 8 หรือ 9 ของเดือน ต.ค.

 

“霜降” — ช่วงน้ำค้างแข็งตก ตรงกับวันที่ 23 หรือ 24 ของเดือน ต.ค.

 

“立冬” — ช่วงย่างเข้า หรือเริ่ม (ต้น) ฤดูหนาว ตรงกับวันที่ 7 หรือ 8 ของเดือน พ.ย.

 

“小雪” — ช่วงหิมะ (ตกเล็ก) น้อย ตรงกับวันที่ 22 หรือ 23 ของเดือน พ.ย.

 

“大雪” — ช่วงหิมะตกหนัก (หิมะมาก) ตรงกับวันที่ 6, 7 หรือ 8 ของเดือน ธ.ค.

 

“冬至” — ช่วงเหมายัน (ช่วงทักษิณายัน) (กลางฤดูหนาว) ช่วงที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน ตรงกับวันที่ 21, 22 หรือ 23 ของเดือน ธ.ค.

 

“小寒” — ช่วงอากาศหนาว (เย็นเล็ก) น้อย ตรงกับวันที่ 5, 6 หรือ 7 ของเดือน ม.ค.

 

“大寒” — ช่วงอากาศหนาวมาก ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 ของเดือน ม.ค.

 

(ข้อมูลอ้างอิง : (โดยเฉพาะคำแปลภาษาไทย) จากหนังสือ “ภาษาจีนสำหรับผู้เริ่มต้นใน 3 ก้าว เล่ม 2” โดย 黄观云、陈伟光 และ “คู่มือคำทับศัพท์ จีน – ไทย” ของ อ.ยงชวน มิตรอารี)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!