ภาษาไทย |
ความหมายภาษาไทย |
ขมิ้นขึ้น |
ดู ขมิ้นอ้อย |
ขบ / ขบ ๒ |
ดู คางเบือน |
ทิ้งถ่วง |
ดู หิงห้อย / หิ่งห้อย |
ปุรพผลคุนี / ปุพพผลคุนี / บุรพผลคุนี |
(- / ปุบพะ- / บุบพะ- / บุระพะ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า / ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก. |
ปุพพผลคุนี / ปุรพผลคุนี / บุรพผลคุนี |
(- / ปุระพะ- / บุบพะ- / บุระพะ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า / ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก. |
ผรุสวาจา / ผรุสวาท |
(- / ผะรุสะวาด / ผะรุดสะวาด) น. คําหยาบ. (ป.). |
มาฆะ / มาฆะ ๒ / มฆะ / มฆา |
(- / มะคะ / มะคา) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรืองอนไถ / ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป. / ส.). |
มิคสิระ / มิคสิระ ๒ / มฤคศิระ / มฤคเศียร |
(- / มะรึกคะสิระ / มะรึกคะเสียน) น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า / ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ป. มิคสิร/ ส. มฺฤคศิรสฺ). |
บงกชกร |
(-กดชะกอน) (กลอน) น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม / กระพุ่มมือ / มือ เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ). |
จงกลนี |
(-กนละนี) น. บัว / บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓). |
ต่อกร |
(-กอน) (ปาก) ก. สู้กัน. |
ธารพระกร |
(-กอน) (ราชา) น. ไม้เท้า. |
สงกร |
(-กอน) (แบบ) น. การปะปน / การคาบเกี่ยว. (ป./ ส. สํกร). |
อุษณกร |
(-กอน) น. /ผู้กระทําความร้อน / หมายถึง พระอาทิตย์. |
สังกร |
(-กอน) น. ความปะปน / ความคาบเกี่ยว. (ป./ ส. สํกร). |
จามีกร |
(-กอน) น. ทอง / เครื่องทอง. (ป. / ส.). |
มธุกร |
(-กอน) น. ผู้ทํานํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป. / ส.). |
รชนีกร |
(-กอน) น. พระจันทร์. (ส.). |
ศูกร |
(-กอน) น. หมู. (ส./ ป. สูกร). |
อากร |
(-กอน) น. หมู่ / กอง / เช่น พลากร (พล + อากร)/ บ่อเกิด / ที่เกิด / เช่น ทรัพยากร ศิลปากร/ ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ/ คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว หมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร. |
นิกร |
(-กอน) น. หมู่ / พวก. (ป.). |
แสนยากร |
(-กอน) น. หมู่ทหาร / กองทัพ. (ส. ไสนฺย + อากร). |
ขากอม |
(-กอม) ว. ขาโก่ง. |
วิกจะ |
(-กะ-) ก. แย้ม / บาน. (ป. / ส.). |
กรานกฐิน |
(-กะถิน) ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา / ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน / พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทําพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน) (ข. กราล ว่า ปู / ลาด). |
อังกนะ |
(-กะนะ) น. การทําเครื่องหมาย / การประทับตรา. (ส.). |
สังกรณี |
(-กะระนี / -กอระนี) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด |Barleria strigosa Willd.| ในวงศ์ |Acanthaceae| ดอกสีฟ้า รากใช้ทํายาได้. |
มธุกรี |
(-กะรี) น. แมลงผึ้งตัวเมีย. (ป./ ส. มธุกรินฺ). |
จันทรกลา |
(-กะลา) (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์ / โดยอนุโลมหมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.). |
อาโปกสิณ |
(-กะสิน) น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์. |
โมรกลาป |
(-กะหฺลาบ) น. แพนหางนกยูง. (ป.). |
ทับเกษตร / ทับเกษตร ๑ |
(-กะเสด) น. ที่อยู่ริมเขตบ้าน / เขตที่ / พระระเบียง. |
ทับเกษตร / ทับเกษตร ๒ |
(-กะเสด) น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง. |
เสือกกะโหลก |
(-กะโหฺลก) (ปาก) ว. สาระแนเข้าไปทําการโดยไม่มีใครต้องการให้ทํา. |
อายุกษัย |
(-กะไส) น. การสิ้นอายุ / ความตาย. (ส./ ป. อายุขย). |
วิกัติ |
(-กัด) น. ชนิด / อย่าง/ การประดิษฐ์ทํา / การจัดทําให้เป็นต่าง ๆ กัน. (ป. วิกติ). |
ตีกรรเชียง |
(-กัน-) ก. อาการที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยนํ้าให้เรือแล่นไป / เรียกท่าว่ายนํ้าโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยนํ้าให้ตัวเลื่อนไป / โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ชกแบบตีกรรเชียง / ตีกระเชียง ก็ว่า. |
ขากรรไกร |
(-กันไกฺร) น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่างกรรไกร / ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า. |
วิกัป |
(-กับ) น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ/ คําแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง.ก. กำหนด/ ให้ / ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป/ ส. วิกลฺป). |
โอกาส |
(-กาด) น. ช่อง / ทาง/ เวลาที่เหมาะ / จังหวะ. (ป./ ส. อวกาศ). |
ทนตกาษฐ์ |
(-กาด) น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟันให้สะอาด ทําจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ/). |
สิกขากาม / สิกขากาม- |
(-กามะ-) ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา / ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด / สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. (ป.). |
สักกาย / สักกาย- |
(-กายะ-) น. กายของตน. (ป./ ส. สฺวกาย). |
กัปปิยการก |
(-การก) น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค. |
สักการ / สักการ- / สักการะ |
(-การะ-) ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน / บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป./ ส. สตฺการ). |
จตุกาลธาตุ |
(-กาละทาด) น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์. |
ตรีกาฬพิษ |
(-กาละพิด / -กานละพิด) น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา. |
หน่วยกิต |
(-กิด) น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึงได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ / เครดิต ก็เรียก. |
วิจิกิจฉา |
(-กิดฉา) น. ความสงสัย / ความเคลือบแคลง / ความลังเล / ความไม่แน่ใจ. (ป./ ส. วิจิกิตฺสา). |
อังกุศ |
(-กุด) น. ขอเหล็กอย่างขอสับช้าง. (ส./ ป. องฺกุส). |
อังสกุฏ |
(-กุด) น. จะงอยบ่า. |
ลิกุจ |
(-กุด) น. มะหาด. (ป.). |
ก้นกุฏิ |
(-กุดติ) (ปาก) ว. ที่สนิทเป็นที่ไว้วางใจได้. |
กุกกุฏ / กุกกุฏ- |
(-กุตะ-) (แบบ) น. ไก่ / ไก่ป่า / เช่น กุกกุฏสังวัจฉร (ปีระกา). (ป.). |
ศิษย์ก้นกุฏิ |
(-กุติ) น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก / โดยปริยายหมายถึงศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย. |
พกุล |
(-กุน) (แบบ) น. ต้นพิกุล. (ส.). |
กุกกุร / กุกกุร- |
(-กุระ-) (แบบ) น. สุนัข / ลูกสุนัข / เช่น กุกกุร สังวัจฉร (ปีจอ). (ป.). |
อังกุระ / อังกูร |
(-กูน) น. หน่อ / หน่อเนื้อเชื้อไข / เชื้อสาย/ มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป. / ส.). |
อากูล |
(-กูน) ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป. / ส. อากุล). |
ปฏิกูล |
(-กูน) ว. สกปรกน่ารังเกียจ เช่น สิ่งปฏิกูล. (ป. ปฏิกฺกูล). |
ตะกรน / ตะกรน ๒ |
(-กฺรน) น. ขี้ตะกอนที่จับเกรอะอยู่ที่ก้นภาชนะ / กากโลหะที่หลอมแล้วติดอยู่ตามก้นเบ้า / ตะกรัน ก็ว่า. |
ตะกรน / ตะกรน ๑ |
(-กฺรน) น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้ายอยู่ข้างใน. |
จงกรม |
(-กฺรม) ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส./ ป. จงฺกม). |
พจนานุกรม |
(-กฺรม) น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย. |
ตะกรวย |
(-กฺรวย) (โบ) น. กรวย เช่น สานตะกร้อตะกรวยครอบศีรษะ. (สามดวง). |
เบียดกรอ |
(-กฺรอ) ว. ฝืดเคือง / กระเบียดกระเสียร / เช่น ใช้จ่ายอย่างเบียดกรอ. |
นิกรอยด์ |
(-กฺรอย) น. ชนชาติผิวดํา มีลักษณะผิวดํา ผมหยิก ปากหนา. (อ. |Negroid|). |
หางกระหมวด / หางขมวด |
(-กฺระหฺมวด / -ขะหฺมวด) ว. ที่มีหางกระหมวดปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ. |
ตะกรัน |
(-กฺรัน) ดู ตะกรน ๒ |
ตะกรับ / ตะกรับ ๓ |
(-กฺรับ) น. (๑) ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด |Scatophagus argus| ในวงศ์ |Scatophagidae| รูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลําตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทาหรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลําตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดําพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา อยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและทะเล / กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก.(๒) ดู หมอช้างเหยียบ |
ตะกรับ / ตะกรับ ๒ |
(-กฺรับ) น. ชื่อกกชนิด |Cyperus procerus Rottb.| ในวงศ์ |Cyperaceae| ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล. |
ตะกรับ / ตะกรับ ๑ |
(-กฺรับ) น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง (โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น) / รังผึ้ง ก็ว่า/ เหล็กทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามจับ สําหรับปิ้งปลาเป็นต้น. |
กักกรา |
(-กฺรา) น. โกฐกักกรา. (ดู โกฐกักกรา) |
กรีดกราด |
(-กฺราด) ว. อาการที่ร้องอุทานเพื่อเรียกร้องความสนใจเป็นต้น. |
สงกรานต์ ๒ |
(-กฺราน) น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ |Phyllodocidae| ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |
สงกรานต์ ๑ |
(-กฺราน) น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ). |
ตะกราม |
(-กฺราม) น. ชื่อนกกระสาชนิด |Leptoptilos dubius| ในวงศ์ |Ciconiidae| เป็นนกกระสาที่ใหญ่ที่สุด ตัวสีเทา หัวสีแดงส้ม ตลอดหัวและลําคอไม่มีขน ปากใหญ่แข็งแรงปลายแหลมตรง ขายาว มีถุงลมสีส้มห้อยอยู่ด้านหน้าของลําคอ และมีพู่ขนสีขาวรอบฐานคอ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก. |
ประกฤติ |
(-กฺริด / -กฺริติ) (แบบ) น. มูลเดิม / ที่เกิด / รากเหง้า/ ความเป็นไปตามธรรมดา / ความเป็นไปตามปรกติ / ลักษณะ/ กฎ / เกณฑ์ / แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ/ ป. ปกติ). |
ประกฤต |
(-กฺริด) (แบบ) ก. ทํา / ทํามาก. (ส. ปฺรกฺฤต/ ป. ปกต). |
ภักตกฤตย์ |
(-กฺริด) น. การกินอาหาร. (ส. ภกฺตกฺฤตฺย/ ป. ภตฺตกิจฺจ). |
อังกฤษ |
(-กฺริด) น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชนผิวขาวพวกหนึ่งที่อยู่ในเกาะทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรปซึ่งเรียกว่า เกรตบริเตน/ เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคําหรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้นว่า ทองอังกฤษ. |
พักตรากฤติ |
(-กฺริด) น. โฉมหน้า เช่น พักตรา-กฤติอันบริสุท- ธิพบูและโสภา. (สมุทรโฆษ). (ส. พกฺตฺร + อากฺฤติ). |
อุกฤษฏ์ |
(-กฺริด) ว. สูงสุด. (ส. อุตฺกฺฤษฺฏ/ ป. อุกฺกฏฺ/). |
พาสุกรี |
(-กฺรี) น. พญานาค. (ป. / ส. วาสุกิ). |
ตะกรุด |
(-กฺรุด) น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง / กะตรุด ก็ว่า. |
ตะกรุม / ตะกรุม ๒ |
(-กฺรุม) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓). |
ตะกรุม / ตะกรุม ๑ |
(-กฺรุม) น. ชื่อนกกระสาชนิด |Leptoptilos javanicus| ในวงศ์ |Ciconiidae| รูปร่างคล้ายนกตะกราม แต่ขนาดเล็กกว่า หัวและคอสีเหลือง ไม่มีถุงลมและพู่ขนสีขาวที่คอ. |
ตะกรุมตะกราม |
(-กฺรุม-กฺราม) ก. กิริยาที่ทําไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการบริโภคเป็นต้น. |
ตะกร่อม |
(-กฺร่อม) น. เครื่องมือจับปูทะเล. (ดู กะกร่อม) |
ตะกร้อ |
(-กฺร้อ) น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ/ เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสําหรับสอย/ เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ / กร้อ ก็เรียก/ เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน/ เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น/ (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา / กระตร้อ ก็เรียก. |
ตะกร้า |
(-กฺร้า) น. ภาชนะสานโปร่งสําหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้ว บางชนิดไม่มี. |
เดซิกรัม |
(-กฺรํา) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของกรัม / อักษรย่อว่า ดก. (อ. |decigramme|). |
เซนติกรัม |
(-กฺรํา) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ กรัม / อักษรย่อว่า ซก. (อ. |centigramme|). |
เดคากรัม |
(-กฺรํา) น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ กรัม / อักษรย่อว่า ดคก. (อ. |decagramme|). |
กลายกลอก |
(-กฺลอก) ดู กระลายกระหลอก |
หุ้มกลอง |
(-กฺลอง) น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร / ถ้าเป็นด้านหัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด. |
ตะกละ / ตะกลาม |
(-กฺละ / -กฺลาม) ว. มักกิน / กินไม่เลือก / เห็นแก่กิน / มักใช้รวมกันว่า ตะกละตะกลาม ก็มี / จะกละจะกลาม ก็ว่า / โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ. |
กลึงกล่อม |
(-กฺล่อม) น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด |Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites| ในวงศ์ |Annonaceae| ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง. |
ศุกลัม |
(-กฺลํา) น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว). |
หางกวัก |
(-กฺวัก) น. หางที่มีปลายงอลง (ใช้แก่แมว) ถือว่าเป็นมงคล. |