พจนานุกรม ไทย – ไทย ว

【 ว 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น
เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำ
กับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดใน
แม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.
【 วก 】แปลว่า: ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอน
ใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
【 วกวน 】แปลว่า: ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน,
อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ
วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
【 วกะ 】แปลว่า: น. หมาป่า. (ป.; ส. วฺฤก).
【 วกุละ 】แปลว่า: [วะกุละ] น. ต้นพิกุล. (ป.; ส. พกุล, วกุล).
【 วง 】แปลว่า: น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน
เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน
การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม
ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน
นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง
นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น
ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง
ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ
เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน
เช่น วงสายสิญจน์.
【 วงกบ 】แปลว่า: น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ เช็ดหน้า
ก็เรียก.
【 วงกลม 】แปลว่า: น. รูปวงที่กลม รอบมีรัศมีจากจุดศูนย์กลางไปถึงขอบมี
ขนาดเท่ากันหมด; (คณิต) รูปที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซต
หนึ่งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะเท่ากัน.
【 วงการ 】แปลว่า: น. กลุ่มบุคคลที่มีอาชีพหรือความสนใจอย่างเดียวหรือใน
แนวเดียวกัน เช่น วงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการครู.
【 วงแขน 】แปลว่า: น. อ้อมแขน เช่น โอบไว้ในวงแขน ได้ถ้วยรางวัลมา กอด
ไว้ในวงแขนไม่ยอมวาง.
【 วงเงิน 】แปลว่า: น. จํานวนเงินที่กําหนดไว้เพื่อทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค้ำ
ประกันในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซื้อของได้ในวงเงิน ๑,๐๐๐ บาท
เท่านั้น.
【 วงจร 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) น. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปครบรอบ,
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วงจรชีวิต.
【 วงจรชีวิต 】แปลว่า: น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี
พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ
ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่
กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ
แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
【 วงจรปิด 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) น. วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ากําลังเคลื่อนที่อยู่
ครบวงจร.
【 วงจรเปิด 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) น. วงจรไฟฟ้าที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ไม่ครบ
วงจร.
【 วงเดือน 】แปลว่า: น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่
โดยรอบ.
【 วงนอก 】แปลว่า: ว. ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ
วงใน.
【 วงใน 】แปลว่า: ว. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง
เช่น ข่าวนี้รู้มาจากวงในของราชการ เรื่องนี้พูดกันแต่วงในของ
คณะรัฐมนตรี, ตรงข้ามกับ วงนอก.
【 วงพาด 】แปลว่า: น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทําด้วยซุง
เป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตี
พาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ.
(รูปภาพ วงพาด)
【 วงรี 】แปลว่า: น. รูปวงที่กลมเรียวอย่างลูกสมอหรือเมล็ดข้าวสาร; (คณิต)
รูปคล้ายรูปไข่ที่เกิดจากเซตของจุดบนระนาบเซตหนึ่ง โดยผลบวก
ของระยะจากจุดแต่ละจุดไปยังจุดตรึงอยู่กับที่ ๒ จุด มีค่าคงตัว
เสมอ.
【 วงเล็บ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ
ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ
นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป
เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก
ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น,
ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน,
ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้
ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ
(กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น
หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข
ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม
สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑),
ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ
สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3,
นขลิขิต ก็ว่า.
【 วงเล็บปีกกา 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง
คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม
เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น
(มีรูปภาพ)
ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข
หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น
A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
【 วงเล็บเหลี่ยม 】แปลว่า: น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน
คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ
หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น
กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ
กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก
คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว,
ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน
บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน
หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน
ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ.
พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์
เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น
กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้
ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ
แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2
[Fe(Cn)5(NO)]2H2O.
【 วงวัง 】แปลว่า: น. การล้อม.
【 วงเวียน 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม
หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก
ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง
แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ
กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย
เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
【 วงแหวน 】แปลว่า: [แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทําเป็นรูป
แหวนสําหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอ
หรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง
อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
【 วงก์ 】แปลว่า: น. เบ็ด. ว. คด, โค้ง, ลดเลี้ยว; คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (ป.; ส. วกฺร).
【 วงกต 】แปลว่า: น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก
วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่
ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ
ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้.
(ป.).
【 วงศ, วงศ์ 】แปลว่า: [วงสะ, วง] น. เชื้อสาย, เหล่ากอ, ตระกูล. (ส. วํศ; ป. วํส).
【 วงศกร 】แปลว่า: น. ผู้ต้นตระกูล. (ส.).
【 วงศ์ทศกัณฐ์ 】แปลว่า: (ปาก) น. เรียกญาติพี่น้องมากว่า วงศ์ทศกัณฐ์.
【 วงศ์วาน 】แปลว่า: น. ลูกหลานเหลนในตระกูล, มักใช้เข้าคู่กับคํา ว่านเครือ
เป็น วงศ์วานว่านเครือ.
【 วงศา 】แปลว่า: (กลอน) น. วงศ์.
【 วงศาคณาญาติ 】แปลว่า: น. ญาติพี่น้อง.
【 วงศา 】แปลว่า: /ดู วงศ, วงศ์./
【 วงศาคณาญาติ 】แปลว่า: /ดู วงศ, วงศ์./
【 วงษ์ 】แปลว่า: (โบ) น. วงศ์.
【 วจนะ 】แปลว่า: วะจะ น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป., ส.).
【 วจะ 】แปลว่า: วะ น. คําพูด, ถ้อยคํา, คํากล่าว. (ป.; ส. วจสฺ).
【 วจา 】แปลว่า: [วะ] น. ว่านนํ้า. (ป.).
【 วจี 】แปลว่า: [วะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป.; ส. วจิ, วาจฺ).
วจีกรรม น. การพูด, การกระทําทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็น
การทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).
【 วจีทุจริต 】แปลว่า: [วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔
อย่างได้แก่ การพูดเท็จ ๑การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑
การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
【 วจีเภท 】แปลว่า: น. การเปล่งถ้อยคํา. (ป.).
【 วจีวิภาค 】แปลว่า: น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.
【 วจีสุจริต 】แปลว่า: [วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี
๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูด
ส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
【 วชะ 】แปลว่า: [วะ] น. คอกสัตว์. (ป.; ส. วฺรช).
【 วชิร, วชิระ 】แปลว่า: [วะชิระ] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
【 วชิรปาณี, วชิรหัตถ์ 】แปลว่า: น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์.
(ป.; ส. วชฺรปาณิ, วชฺรหสฺต).
【 วชิราวุธ 】แปลว่า: น. “ผู้มีวชิระเป็นอาวุธ” คือ พระอินทร์. (ป.).
【 วชิราวุธ 】แปลว่า: /ดู วชิร, วชิระ./
【 วฏะ 】แปลว่า: วะ น. ไม้ไทร. (ป., ส.).
【 วฏาการ 】แปลว่า: วะตากาน น. สายเชือก. (ป., ส.).
【 วฏุมะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ถนน, หนทาง. (ป.).
【 วณ, วณะ 】แปลว่า: [วะนะ] น. แผล, ฝี. (ป.; ส. วฺรณ).
【 วณบัตร, วณพันธน์ 】แปลว่า: น. ผ้าพันแผล. (ป. วณปฏฺฏก, วณพนฺธน; ส.
วฺรณปฏฺฏก).
【 วณิช 】แปลว่า: [วะนิด] น. พ่อค้า, ผู้ทําการค้า. (ป., ส. วาณิช).
【 วณิชชา 】แปลว่า: [วะนิดชา] น. การค้าขาย. (ป.; ส. วณิชฺยา).
【 วณิชชากร 】แปลว่า: น. ผู้ทําการค้าขาย, พวกพ่อค้า. (ป.).
【 วณิชย์, วณิชยา 】แปลว่า: [วะนิด, วะนิดชะยา] น. การค้าขาย. (ส.).
【 วณิพก 】แปลว่า: วะนิบพก, วะนิพก น. วนิพก. (ป. วณิพฺพก, วนิพฺพก; ส.
วนีปก, วนียก).
【 วดี ๑ 】แปลว่า: น. รั้ว, กําแพง. (ป. วติ; ส. วฺฤติ).
【 วดี ๒ 】แปลว่า: คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลัก
ไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
【 วต, วตะ 】แปลว่า: [วะตะ] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจําศีล, การบําเพ็ญ
ทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).
【 วทนะ 】แปลว่า: วะทะนะ น. การพูด, คําพูด; ปาก, หน้า. (ป., ส. วทน
ว่า ปาก, หน้า).
【 วทะ 】แปลว่า: [วะ] น. คําพูด. ก. พูด, กล่าว. (ป.).
【 วทัญญุตา 】แปลว่า: น. ความเป็นผู้เอื้อเฟื้อ. (ป.).
【 วทัญญู 】แปลว่า: (แบบ) ว. เอื้อเฟื้อ, เผื่อแผ่; ใจดี, ใจบุญ. (ป.).
【 วทานิย 】แปลว่า: [วะทานิยะ] น. ผู้เอื้อเฟื้อ. (ป. วทานีย; ส. วทานฺย).

【 วน ๑ 】แปลว่า: ก. เวียนไปโดยรอบ เช่น ขับรถวนรอบสนาม, ไปโดยรอบเข้าหา
ศูนย์กลางหรือออกจากศูนย์กลาง เช่น น้ำวน วนเป็นก้นหอย.
【 วนเวียน 】แปลว่า: ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่
ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา
อยู่หลายรอบ.
【 วน ๒ 】แปลว่า: [วะนะ] น. ป่าไม้, ดง. (ป.; ส. วนสฺ ว่า ป่า; นํ้า).
【 วนจร, วนจรก 】แปลว่า: [วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า,
พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
【 วนภู, วนภูมิ 】แปลว่า: น. แถบป่า, แถวป่า. (ป., ส.).
【 วนศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการทํานุบํารุงรักษา และปลูกป่า.
【 วนสณฑ์, วนสัณฑ์ 】แปลว่า: น. ป่าสูง, ป่าดง, ราวป่า, แนวป่า. (ป.).
【 วนอุทยาน 】แปลว่า: น. ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีนํ้าตก
ถํ้า และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่
พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน.
【 วนัปติ 】แปลว่า: [วะนับปะ] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้; ผีเจ้าป่า. (ป. วนปฺปติ;
ส. วนสฺปติ).
【 วนา 】แปลว่า: (กลอน) น. ป่า. (ป., ส. วน).
【 วนาดร, วนาดอน 】แปลว่า: น. ป่าสูง. (วนา + ดอน), พนาดอน หรือ พนาดร
ก็ว่า.
【 วนานต์ 】แปลว่า: น. ชายป่า. (ป., ส.).
【 วนาลัย 】แปลว่า: น. ป่า. (ส. วนาลย).
【 วนาลี 】แปลว่า: น. ทางป่า; แนวไม้. (ส.).
【 วนาวาส 】แปลว่า: น. ที่อยู่ในป่า. (ส.).
【 วนาศรม 】แปลว่า: น. ที่อยู่ในป่า. (ส. วนาศฺรม).
【 วนาสณฑ์, วนาสัณฑ์ 】แปลว่า: น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง,
พนาสณฑ์ หรือ พนาสัณฑ์ ก็ว่า. (ป. วนสณฺฑ; ส. วน + ขณฺฑ,
วน + ษณฺฑ).
【 วนัปติ 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนัส, วนัส 】แปลว่า: [วะนัด, วะนัดสะ] น. ป่า. (ส.; ป. วน).
【 วนัสบดี 】แปลว่า: [วะนัดสะบอดี] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้, (ในภาษาสันสกฤต
หมายเฉพาะต้นไทรและต้นมะเดื่อชุมพร). (ส. วนสฺปติ; ป.
วนปฺปติ).
【 วนา 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาดร, วนาดอน 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนานต์ 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาลัย 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาลี 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาวาส 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาศรม 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนาสณฑ์, วนาสัณฑ์ 】แปลว่า: /ดู วน ๒./
【 วนิดา 】แปลว่า: น. หญิง, หญิงสาว. (ป.; ส. วินิตา).
【 วนิพก 】แปลว่า: [วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่า
ให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).
【 วเนจร 】แปลว่า: [วะเนจอน] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
【 วโนทยาน 】แปลว่า: [วะโนทะ] น. สวนป่า. (ส. วน + อุทฺยาน).
【 วปนะ 】แปลว่า: วะปะ น. การหว่าน (ใช้แก่ข้าว), การเพาะปลูก. (ป., ส.).
【 วปุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ตัว, ร่างกาย. (ป., ส.).
【 วยัคฆ์ 】แปลว่า: น. เสือ. (ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).
【 วยัญชนะ 】แปลว่า: น. พยัญชนะ. (ส. วฺย?ฺชน; ป. วฺย?ฺชน, พฺย?ฺชน).
【 วยัมหะ 】แปลว่า: น. วิมาน, ฟ้า, เมืองสวรรค์. (ป. วฺยมฺห).
【 วยัสย์ 】แปลว่า: น. ผู้รุ่นราวคราวเดียวกัน, เพื่อน, เกลอ, สหาย. (ส.).
【 วยากรณ์ 】แปลว่า: น. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).
【 วยาฆร์ 】แปลว่า: น. เสือ. (ส. วฺยาฆฺร; ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ).
【 วยาธิ 】แปลว่า: [วะยาทิ] น. พยาธิ. (ป. วฺยาธิ, พฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
【 วยามะ 】แปลว่า: น. มาตราวัด ยาวเท่ากับ ๑ วา. (ป. วฺยาม, พฺยาม; ส. วฺยาม).
【 วยายาม 】แปลว่า: น. พยายาม. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
【 วร 】แปลว่า: [วะระ, วอระ] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ.
(ป., ส.).
【 วรดนู 】แปลว่า: [วะระดะ, วอระดะ] น. หญิงงาม. (ส. วรตนุ).
【 วรทะ 】แปลว่า: [วะระทะ, วอระทะ] น. การให้พร. (ป.).
【 วรทาน 】แปลว่า: [วะระทาน, วอระทาน] น. การให้พร. (ป.); การให้ของขวัญ
ต่างกับเพศคฤหัสถ์. (ป.).
【 เวศม์ 】แปลว่า: น. บ้าน, เรือน, ที่อยู่. (ส.).
【 เวศย์ 】แปลว่า: น. แพศย์, คนในวรรณะที่ ๓ แห่งอินเดีย คือพ่อค้า.
(ส. ไวศฺย; ป. เวสฺส).
【 เวศยา 】แปลว่า: [เวดสะหฺยา] น. แพศยา. (ส.).
【 เวสน์, เวสม์ 】แปลว่า: น. เรือน, ที่อยู่. (ป.; ส. เวศม).
【 เวสภู 】แปลว่า: [เวดสะ] น. พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. (ป. เวสฺสภู).
【 เวสมะ 】แปลว่า: [เวสะ] น. ความไม่เสมอกัน. (ป. วิสม).
【 เวสวัณ 】แปลว่า: [เวดสะ] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่งประจําทิศอุดร,
ท้าวเวสสุวัณหรือ ท้าวกุเวร ก็เรียก. (ป. เวสฺสวณ; ส. ไวศฺรวณ).
【 เวสสะ 】แปลว่า: น. พ่อค้า. (ป. เวสฺส; ส. ไวศฺย).
【 เวสสันดร 】แปลว่า: น. พระนามพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, โดยปริยายหมายถึง
ผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
เช่น ใจกว้างเหมือนพระเวสสันดร มีอะไรให้เขาหมด. (ป.).
【 เวสสุกรรม 】แปลว่า: น. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม วิสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
【 เวสสุวัณ 】แปลว่า: น. ท้าวเวสวัณ, ท้าวกุเวร ก็เรียก.
【 เวสารัช 】แปลว่า: น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
【 เวสิ, เวสิยา 】แปลว่า: น. หญิงงามเมือง. (ป.).
【 เวหน 】แปลว่า: (กลอน) น. ฟ้า.
【 เวหะ, เวหา 】แปลว่า: น. ฟ้า, อากาศ. (ส. วิห, วิหา).
【 เวหังค์ 】แปลว่า: น. วิหงค์, นก. (ป. วิหงฺค; ส. วิหํค).
【 เวหัปติ 】แปลว่า: [หับปะ] น. พฤหัสบดี. (ป. วิหปฺปติ).
【 เวหายส 】แปลว่า: [หายด] น. อากาศ, ฟ้า. (ป., ส. วิหายส).
【 เวหาส 】แปลว่า: [หาด] น. ฟ้า, อากาศ. (ป.; ส. วิหายส).
【 เวฬุ 】แปลว่า: [เวลุ] น. ไม้ไผ่. (ป. เวฬุ, เวณุ; ส. เวณุ).
【 เวฬุการ 】แปลว่า: น. ช่างจักสาน. (ป.).
【 เวฬุวัน 】แปลว่า: น. ป่าไผ่; ชื่ออารามครั้งพุทธกาลซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้าง
ถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้เมืองราชคฤห์.
【 เวฬุริยะ 】แปลว่า: น. แก้วไพฑูรย์. (ป.; ส. ไวฑูรฺย).
【 เว่อ 】แปลว่า: ว. เบ้อ เช่น ถูกฟันแผลเว่อ; ชัด เช่น เห็นกระดูกขาวเว่อ.
【 เว้า ๑ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) ก. พูด.
【 เว้าวอน 】แปลว่า: ก. วิงวอนออดอ้อน.
【 เว้า ๒ 】แปลว่า: ว. มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งหรือบุ๋มเข้าไป เช่น เสื้อแขนเว้า.
【 เวิก 】แปลว่า: ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
【 เวิ้ง 】แปลว่า: น. ที่เปิดกว้างเข้าไปถัดจากที่แคบ เช่น พ้นปากถ้ำไปเห็นเป็นเวิ้ง.
【 เวิ้งว้าง 】แปลว่า: ว. โล่งกว้างทําให้ว้าเหว่ใจ เช่น ทะเลเวิ้งว้าง น้ำท่วมไร่นาล่ม
หมดจนดูเวิ้งว้าง.
【 เวี่ย 】แปลว่า: (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ยว ก็ว่า.
【 เวียง ๑ 】แปลว่า: น. เมืองที่มีกําแพงล้อม.
【 เวียงวัง 】แปลว่า: น. เมือง, วัง, เช่น จะแบ่งปันข้าวของในท้องคลัง
ให้ครอบครองเวียงวังเห็นทันตา. (สังข์ทอง).
【 เวียง ๒ 】แปลว่า: (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่
ปกครองท้องที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
【 เวียด 】แปลว่า: น. ชนชาติเก่าแก่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีถิ่นฐานทางตอนเหนือ
ของประเทศเวียดนามปัจจุบันคือประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
เวียดนาม.
【 เวียดนาม 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดนติดต่อกับเขมร ลาวและ จีน ประชากรส่วนใหญ่เป็น
ชนเชื้อชาติเวียด, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม.
【 เวียน ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ของสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น
เดินเวียนรอบบ้าน; อาการที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น เวียนรับเวียนส่ง
เวียนไปเวียนมา.
【 เวียนเทียน 】แปลว่า: ก. อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่
เคารพบูชา เช่น เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา,
เดินเทียน ก็ว่า; ยกแว่นที่จุดเทียนติดไว้วักเข้าหาตัว ๓ ครั้ง แล้ว
โบกควันออก และส่งต่อให้คนอื่นเวียนไปโดยรอบสิ่งที่ทําขวัญ;
โดยปริยายหมายความว่า ทําแล้วกลับมาทําอีก เช่น เด็กเวียนเทียน
รับของบริจาค.
【 เวียนว่ายตายเกิด 】แปลว่า: น. คติความเชื่อถือที่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เมื่อตายแล้ว
จะต้องไปเกิดอีก.
【 เวียนหัว 】แปลว่า: ก. รู้สึกมึนหัว ตาลาย ใจหวิว มองเห็นอะไรหมุนไปหมด,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำให้รู้สึกงง สับสน วุ่นวาย รำคาญ
เป็นต้น จนทำอะไรไม่ถูกหรือจับต้นชนปลายไม่ติด เช่น
งานยุ่งเสียจนเวียนหัว ลายมือยุ่ง อ่านแล้วเวียนหัว.
【 เวียน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor tambroides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่าง
และเกล็ดใหญ่คล้ายปลาจาดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ที่
พูดหรือทําสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.


【 วธ 】แปลว่า: [วะทะ] ก. ฆ่า. (ป., ส.).
【 วธกะ 】แปลว่า: [วะทะกะ] น. คนฆ่า, ผู้ฆ่า; เพชฌฆาต. (ป., ส.).
【 วธุกา 】แปลว่า: น. ลูกสะใภ้. (ป.).
【 วธู 】แปลว่า: น. หญิงสาว. (ป., ส.).
แก่เจ้าบ่าว. (ส.).
【 วรมหาวิหาร 】แปลว่า: [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุด
ว่าชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม,
เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิด
ราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.
【 วรวิหาร 】แปลว่า: [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุดว่า
ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระ
อารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า
ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา.
【 วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ 】แปลว่า: [วะรุดดม, วะรุดตะมะ,
วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม).
【 วรงค์ 】แปลว่า: [วะรง] น. “ส่วนสําคัญของร่างกาย” คือ หัว. (ส. วร + องฺค).
【 วรณะ 】แปลว่า: [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.).
【 วรรค 】แปลว่า: [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย
วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก;
ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ
หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง
เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา
ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์
ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค;
(กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย.
(ส. วรฺค; ป. วคฺค).
【 วรรคย์ 】แปลว่า: [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่.
(ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย).
【 วรรช 】แปลว่า: [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช).
【 วรรชย์ 】แปลว่า: [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย).
【 วรรณ, วรรณะ 】แปลว่า: [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ
สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ
พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน,
ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์
แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี.
(ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
【 วรรณกรรม 】แปลว่า: น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด
ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย
รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส
วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น
ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา
คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ด้วย.
【 วรรณคดี 】แปลว่า: น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่า
เชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา
สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
【 วรรณยุกต์, วรรณยุต 】แปลว่า: น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย
มี ๕ เสียงคือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป
คือ ? (ไม้เอก) ? (ไม้โท) ? (ไม้ตรี) ? (ไม้จัตวา).
【 วรรณศิลป์ 】แปลว่า: น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ
เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น
นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ
ยกย่องว่าแต่งดี.
【 วรรณนา 】แปลว่า: [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ.
(ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
【 วรรณพฤติ 】แปลว่า: [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง
หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
【 วรรณึก 】แปลว่า: น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก).
【 วรรธกะ 】แปลว่า: [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก).
【 วรรธนะ 】แปลว่า: [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน).
【 วรรษ 】แปลว่า: [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส).
【 วรรษา 】แปลว่า: [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.).
【 วรัญญู 】แปลว่า: [วะรันยู] น. “ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ” คือ พระพุทธเจ้า. (ป.).
【 วรากะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.).
【 วรางคณา 】แปลว่า: น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.).
【 วราห์, วราหะ 】แปลว่า: น. หมู. (ป., ส.).
【 วรุณ 】แปลว่า: น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.).
【 วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ 】แปลว่า: /ดู วร./
【 วรูถะ 】แปลว่า: วะรูถะ น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก; เครื่องป้องกัน;
เกราะ, โล่. (ส.).
【 วฤก 】แปลว่า: วฺรึก น. หมาป่า. (ส. วฺฤก; ป. วก).
【 วฤษภ 】แปลว่า: วฺรึสบ น. พฤษภ. (ส. วฺฤษภ; ป. วสภ).
【 วฤษละ 】แปลว่า: วฺรึสะละ น. คนชั่ว. (ส. วฺฤษล; ป. วสล).
【 วลัช 】แปลว่า: (แบบ) น. ปลาชนิดหนึ่ง. (ป.).
【 วลัญช์ 】แปลว่า: วะลัน น. รอย, เครื่องหมาย; ทาง; การใช้สอย. (ป.).
【 วลัญชน์ 】แปลว่า: น. การใช้สอย. (ป.).
【 วลัย 】แปลว่า: [วะไล] น. กําไลมือ, ทองกร; ของที่เป็นวงกลม, วงกลม. (ป., ส.).
【 วลาหก 】แปลว่า: [วะลาหก] น. เมฆ. (ป.).
【 วลี 】แปลว่า: [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง
ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง
ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน
ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
【 วศค 】แปลว่า: วะสก น. ผู้อยู่ในอํานาจ, ผู้อยู่ในบังคับ, ผู้เชื่อฟัง.
(ส.; ป. วสค).
【 วศะ 】แปลว่า: น. อํานาจ, การบังคับบัญชา. (ส.; ป. วส).
【 วศิน 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้ชํานะตนเอง, ผู้สํารวมอินทรีย์. (ส.).
【 วสนะ ๑ 】แปลว่า: วะสะ น. ที่อยู่, บ้าน; การอยู่. (ป.).
【 วสนะ ๒ 】แปลว่า: วะสะ น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
【 วสภะ 】แปลว่า: วะสะ น. วัวตัวผู้. (ป.; ส. วฺฤษภ).
【 วสละ 】แปลว่า: [วะสะ] น. คนชั่ว, คนถ่อย, คนตํ่าช้า, คนชั้นตํ่า. (ป.; ส. วฺฤษล).
【 วสลี 】แปลว่า: [วะสะ] น. หญิงชั่ว, หญิงตํ่าช้า. (ป.; ส. วฺฤษลิ).
【 วสวัดดี, วสวัตตี 】แปลว่า: [วะสะ] น. ผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอํานาจ; ชื่อของเทวบุตรมาร. (ป.).
【 วสะ 】แปลว่า: น. อํานาจ, กําลัง; ความตั้งใจ, ความปรารถนา. (ป.; ส. วศ).
【 วสันต, วสันต์ 】แปลว่า: [วะสันตะ, วะสัน] น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู
ก็ว่า. (ป., ส.).
【 วสันตฤดู 】แปลว่า: น. ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูวสันต์ ก็ว่า.
【 วสันตวิษุวัต 】แปลว่า: (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจร
ไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม, คู่กับ ศารทวิษุวัต.
(อ. vernal equinox).
【 วสันตดิลก 】แปลว่า: [วะสันตะดิหฺลก] น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๔ คํา เช่น
ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร
บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย.
(อิลราช).
(ป., ส. วสนฺตติลก).
【 วสา 】แปลว่า: น. มันเหลว; ไข, นํ้ามัน. (ป., ส.).
【 วสี 】แปลว่า: น. ผู้ชํานะตนเอง, ผู้สํารวมอินทรีย์, ผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ; ผู้ชํานาญ.
(ป.).
【 วสุ 】แปลว่า: น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร
ของพระอินทร์. (ป., ส.).
【 วสุธา 】แปลว่า: น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
【 วสุนธรา 】แปลว่า: [สุนทะ] น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
【 วสุมดี 】แปลว่า: [สุมะ] น. โลก, แผ่นดิน. (ป., ส. วสุมตี).
【 วหะ 】แปลว่า: ก. นําไป, พาไป. (ป., ส.).
【 วหา 】แปลว่า: น. แม่นํ้า. (ส.).
【 วอ 】แปลว่า: น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ
ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก
รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
【 วอพระประเทียบ 】แปลว่า: น. วอสำหรับเจ้านายฝ่ายใน.
【 วอก 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก)
ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป
ว่า หน้าวอก.
【 วอกแวก 】แปลว่า: ว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟัง
ครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.
【 ว่องไว 】แปลว่า: ก. รวดเร็ว, คล่องแคล่ว, ปราดเปรียว, ปราดเปรื่อง, เช่น
ทำงานว่องไว มีปฏิภาณว่องไว.
【 วอด 】แปลว่า: ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น ไฟไหม้เสียวอดเลย, วอดวาย ก็ว่า.
【 วอดวาย 】แปลว่า: ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว,
วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย
แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
【 วอน 】แปลว่า: (ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด,
เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร
แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).
【 ว่อน 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไปในอากาศเป็นฝูงหรือเป็นจำนวนมาก เช่น
แมลงบินว่อนกระดาษปลิวว่อน, อาการที่บินวนเวียนไปมา เช่น
แมลงวันตัวนี้บินว่อนอยู่ในห้องนานแล้ว, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินกันว่อน ข่าวลือว่อน.
【 ว็อบแว็บ, ว็อบ ๆ แว็บ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เช่น วันนี้โทรทัศน์ไม่ดี เห็นภาพ
ว็อบแว็บหลายตอน.
【 วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ
【 ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น 】แปลว่า:
ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ
ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ
แวบ ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
【 วอลเลย์บอล 】แปลว่า: น. กีฬาอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๖ คน แต่ละฝ่าย
ต้องใช้มือตีหรือตบลูกบอลข้ามตาข่ายโต้กันไปมา.
(อ. volley ball).
【 วอแว 】แปลว่า: ก. รบกวน, เซ้าซี้, เช่น เขากำลังอารมณ์เสีย อย่าเข้าไปวอแว;
เกาะแกะ เช่น อย่าไปวอแวลูกสาวเขา.
【 วะ ๑ 】แปลว่า: ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น,
อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย
เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
【 วะ ๒ 】แปลว่า: คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้น
ในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น
วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทาง
ย้ำหรือเน้นคำ.
【 วัก ๑ 】แปลว่า: ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ
กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น วักควัน.
【 วัก ๒ 】แปลว่า: ก. เซ่น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น เซ่นวัก.
【 วักกะ ๑ 】แปลว่า: น. ไต. (โบราณแปลว่า ม้าม). (ป.; ส. วฺฤกฺก).
【 วักกะ ๒ 】แปลว่า: ว. คด, ไม่ตรง, โกง, งอ. (ป.; ส. วกฺร).
【 วัค 】แปลว่า: น. วรรค. (ป. วคฺค; ส. วรฺค).
【 วัคคิยะ, วัคคีย์ 】แปลว่า: [วักคิยะ] ว. อยู่ในพวก, อยู่ในหมู่, เช่น เบญจวัคคีย์ ว่า อยู่ในพวก ๕.
(ป.).
【 วัคคุ 】แปลว่า: ว. ไพเราะ, เสนาะ; งาม. (ป.; ส. วลฺคุ).
【 วัคคุวัท 】แปลว่า: ว. ผู้กล่าวไพเราะ. (ป. วคฺคุ + วท ว่า ผู้กล่าว).
【 วัคซีน 】แปลว่า: น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทํา
ให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สําหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อ
กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
【 วัง ๑ 】แปลว่า: น. ที่อยู่ของเจ้านาย, ถ้าเป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียก
พระราชวัง หรือ พระบรมมหาราชวัง; ห้วงนํ้าลึก เช่น วังจระเข้.
ก. ล้อม, ห้อมล้อม.
【 วังช้าง 】แปลว่า: น. วิธีจับช้างเถื่อนโดยต้อนช้างเข้ามาอยู่ในวงล้อมทั้งโขลง.
【 วังวน 】แปลว่า: น. ห้วงนํ้าที่หมุนวน.
【 วังหน้า 】แปลว่า: น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน
ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง
หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา,
ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก
พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
【 วังหลวง 】แปลว่า: น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน, ในรัชกาลที่ ๔
ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
【 วังหลัง 】แปลว่า: น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
【 วัง ๒ 】แปลว่า: (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่
รักษาพระราชวังจัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คดีของราษฎร.
【 วังก์ 】แปลว่า: น. วงก์. (ป.).
【 วังชา 】แปลว่า: คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
【 วังเวง 】แปลว่า: ก. ลักษณะบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทำให้เกิดความรู้สึกอ้างว้าง
ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยวใจ เช่น เข้าไปในบ้านร้างรู้สึกวังเวง.
【 วังศะ, วังสะ 】แปลว่า: น. วงศ์. (ส. วํศ; ป. วํส).
【 วัจ, วัจจะ 】แปลว่า: [วัดจะ] น. อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).
【 วัจกุฎี 】แปลว่า: น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก.
(ป. วจฺจกุฏิ).
【 วัจมรรค 】แปลว่า: น. ทวารหนัก, เวจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
【 วัจฉ์, วัจฉก 】แปลว่า: วัด, ฉก น. ลูกวัว. (ป.; ส. วตฺส, วตฺสก).
【 วัจฉละ 】แปลว่า: วัดฉะละ ว. มีใจกรุณา, เอ็นดู, อ่อนโยน, มีความรักใคร่.
(ป.; ส. วตฺสล).
【 วัจน์ 】แปลว่า: (แบบ) น. วจนะ, ถ้อยคํา. (ป., ส.).
【 วัช ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. วชะ, คอกสัตว์. (ป. วช).
【 วัช ๒, วัช, วัชชะ ๑ 】แปลว่า: [วัดชะ] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด.
(ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).
【 วัชพืช 】แปลว่า: [วัดชะพืด] น. พืชที่ไม่ต้องการ เช่นหญ้าคาในแปลงข้าว.
(ป. วชฺช + พีช).
【 วัช ๓, วัชชะ ๒ 】แปลว่า: น. การพูด, ถ้อยคํา. ว. ควรพูดติ, ควรกล่าวติ. (ป. วชฺช; ส. วทฺย).
【 วัชฌ์ 】แปลว่า: ก. ฆ่า, ทําให้ตาย. (ป.).
【 วัชร, วัชระ 】แปลว่า: [วัดชะระ] น. วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
【 วัชรธาตุมณฑล 】แปลว่า: [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง
ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
【 วัชรปาณี 】แปลว่า: น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า,
ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า.
(ส. วชฺรปาณิ).
【 วัชรยาน 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา
สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี
ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ
และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
【 วัชรอาสน์ 】แปลว่า: น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ
ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์,
โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
【 วัชราสน์ 】แปลว่า: น. ท่านั่งขัดสมาธิเพชร. (ส.).
【 วัชรินทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส. วชฺรินฺ, วชฺร + อินฺทฺร).
วัชรี น. พระอินทร์. (ส.).
【 วัชเรนทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส. วชฺร + อินฺทฺร).
【 วัชราสน์ 】แปลว่า: /ดู วัชร, วัชระ./
【 วัชรินทร์ 】แปลว่า: /ดู วัชร, วัชระ./
【 วัชรี 】แปลว่า: /ดู วัชร, วัชระ./
【 วัชเรนทร์ 】แปลว่า: /ดู วัชร, วัชระ./
【 วัญจก 】แปลว่า: วันจก น. ผู้ลวง, คนคดโกง. (ป., ส.).
【 วัญจนะ 】แปลว่า: วันจะนะ น. การหลอกลวง, การปลอม, การคดโกง;
เครื่องลวง, เครื่องหลอก, ของไม่จริง. (ป., ส.).
【 วัญฌ์ 】แปลว่า: (แบบ) ว. หมัน (ใช้แก่คนหรือสัตว์), ไม่มีลูก (ใช้แก่ต้นไม้),
ไม่มีผล (ใช้แก่การงานทั่วไป). (ป.; ส.วนฺธฺย).
【 วัฏ, วัฏฏะ 】แปลว่า: วัดตะ น. วงกลม; การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการ
เวียนเกิดเวียนตาย. ว. กลม, เป็นวง. (ป.; ส. วฺฤตฺต).
【 วัฏจักร 】แปลว่า: น. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง
ซึ่งเกิดขึ้นและดําเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ
จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
【 วัฏทุกข์ 】แปลว่า: น. ทุกข์คือการเวียนเกิดเวียนตาย. (ป.).
【 วัฏสงสาร 】แปลว่า: น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ.
【 วัฏกะ 】แปลว่า: [วัดตะกะ] น. นกกระจาบ. (ป. วฏฺฏก; ส. วรฺตก).
【 วัฏฏิ 】แปลว่า: น. ของกลมยาว, ไส้เทียน, เส้น, สาย. (ป.; ส. วรฺติ).
【 วัฒกะ 】แปลว่า: [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วฑฺฒก; ส. วรฺธก).
【 วัฒกี 】แปลว่า: [วัดทะกี] น. ช่างไม้. (ป. วฑฺฒกี).
【 วัฒน, วัฒนะ 】แปลว่า: [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ป. วฑฺฒน).
【 วัฒนธรรม 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น
วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ
เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา.
【 วัฒนา 】แปลว่า: น. ความเจริญ, ความงอกงาม. ก. เจริญ, งอกงาม.
【 วัฒนา 】แปลว่า: /ดู วัฒน, วัฒนะ./
【 วัณ, วัณ 】แปลว่า: [วัน, วันนะ] น. วณะ, แผล, ฝี. (ป.).
【 วัณโรค 】แปลว่า: น. โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น ทําให้ร่างกายทรุด
โทรมเสื่อมไปตามลําดับ, โบราณเรียกวัณโรคปอดว่า ฝีในท้อง.
【 วัณฏ์ 】แปลว่า: น. ขั้ว, ก้าน. (ป.; ส. วฺฤนฺต).
【 วัณณะ 】แปลว่า: (แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ, วรรณะ).
【 วัณนา 】แปลว่า: [วันนะ] น. คําชี้แจง, คําอธิบาย. (ป. วณฺณนา; ส. วรฺณนา).
/(ดู พรรณนา)./
【 วัด ๑ 】แปลว่า: น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์
หรือนักบวชเป็นต้น.
【 วัดราษฎร์ 】แปลว่า: น. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้า
บัญชีเป็นพระอารามหลวง.
【 วัดวา ๑, วัดวาอาราม 】แปลว่า: น. วัด.
【 วัดหลวง 】แปลว่า: (ปาก) น. พระอารามหลวง, วัดที่พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงสร้างหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจํานวนในบัญชี
เป็นพระอารามหลวง.
【 วัด ๒ 】แปลว่า: ก. ตวัดขึ้น เช่น วัดเบ็ด, เหวี่ยงแขนหรือขาไปโดยแรง เช่น
นอนดิ้นวัดแขนวัดขา.
【 วัดเหวี่ยง 】แปลว่า: ก. พอสู้กันได้, ปานกัน.
【 วัด ๓ 】แปลว่า: ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง
ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
【 วัดแดด 】แปลว่า: ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก
เช่น พอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
【 วัดผล 】แปลว่า: ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้
บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้
ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
【 วัดพื้น 】แปลว่า: (ปาก) ก. หกล้มเหยียดยาวลงบนพื้น.
【 วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า 】แปลว่า: (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น
ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี
ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
【 วัดวา ๒ 】แปลว่า: ก. พอเท่า ๆ กัน, พอเสมอกัน เช่น พี่น้องสองคนนี้สวย
พอวัดวากันได้.
【 วัต 】แปลว่า: น. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
【 วัตต์ 】แปลว่า: น. หน่วยวัดกําลัง ๑ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ จูลต่อวินาที หรือ ๑๐๗
เอิร์กต่อวินาที, ๗๔๕.๗ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ กําลังม้า. (อ. watt).
【 วัตตา 】แปลว่า: น. ผู้กล่าว, ผู้พูด. (ป.; ส. วกฺตฺฤ).
【 วัตถ์ 】แปลว่า: น. ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป.; ส. วสฺตฺร).
【 วัตถาภรณ์, วัตถาลังการ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับคือผ้า.
(ป. วตฺถ + อาภรณ, วตฺถ + อลงฺการ).
【 วัตถาภรณ์, วัตถาลังการ 】แปลว่า: /ดู วัตถ์./
【 วัตถุ 】แปลว่า: น. สิ่งของ. (ป.; ส. วสฺตุ).
【 วัตถุดิบ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า
สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น
ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
【 วัตถุนิยม 】แปลว่า: น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้
คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
【 วัตถุประสงค์ 】แปลว่า: น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น วัตถุประสงค์ของ
มัธยมศึกษาก็เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และมีคุณธรรม,
จุดประสงค์ ก็ว่า.
【 วัตถุวิสัย 】แปลว่า: ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ
ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ
คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ
แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
【 วัตนะ 】แปลว่า: [วัดตะนะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่. (ป. วตฺตน; ส. วรฺตน).
【 วัตร, วัตร 】แปลว่า: [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่
เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ
เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร,
การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
【 วัตรปฏิบัติ 】แปลว่า: [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
【 วัตสดร 】แปลว่า: วัดสะดอน น. โคหนุ่ม, โคถึก. (ส. วตฺสตร).
【 วัตสะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ลูกวัว; เด็กเล็ก. (ส. วตฺส).
【 วัติ 】แปลว่า: [วัด, วัดติ] น. วดี, รั้ว. (ป. วติ).
【 วัทน์ 】แปลว่า: (แบบ) น. วทนะ. (ป., ส. วทน).
【 วัน ๑ 】แปลว่า: น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง
เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน,
ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน,
มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง
เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา
๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน;
(กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ
ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว
แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า
และการอุตสาหกรรม).
【 วันโกน 】แปลว่า: น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า
หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระ
วันหนึ่งเดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่าและ
แรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
【 วันเข้าพรรษา 】แปลว่า: น. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๘.
【 วันแข็ง 】แปลว่า: (โหร) น. วันซึ่งถือว่าดาวมีพลังแรง ได้แก่ วันอาทิตย์
วันอังคาร วันเสาร์.
【 วันครู 】แปลว่า: (โหร) น. วันพฤหัสบดี; วันที่ระลึกถึงครู ปัจจุบันกำหนด
วันที่ ๑๖ มกราคมของปีเป็นวันครู.
【 วันจม 】แปลว่า: (โหร) น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้าม
ทํากิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย.
【 วันจักรี 】แปลว่า: น. วันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน.
【 วันฉัตรมงคล 】แปลว่า: น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง
ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม.
【 วันเฉลิมพระชนมพรรษา 】แปลว่า: น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช.
【 วันดับ 】แปลว่า: น. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่า
หรือแรม ๑๕ คํ่า.
【 วันดีคืนดี 】แปลว่า: (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่
【 วันตรุษ 】แปลว่า: น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ
เดือน ๔.
【 วันตัว 】แปลว่า: น. วันใดวันหนึ่งในรอบสัปดาห์ซึ่งตรงกับวันเกิด.
【 วันเถลิงศก 】แปลว่า: น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
【 วันที่ 】แปลว่า: น. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม
วันที่ ๒ กันยายน.
【 วันเนา 】แปลว่า: น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก
ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน.
【 วันปวารณา, วันมหาปวารณา 】แปลว่า: น. วันออกพรรษา.
【 วันปิยมหาราช 】แปลว่า: น. วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปิยมหาราช เสด็จสวรรคต ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม.
【 วันพระ 】แปลว่า: น. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือน
หนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า
ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.
【 วันพระไม่มีหนเดียว 】แปลว่า: (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก
(มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
【 วันเพ็ญ 】แปลว่า: น. วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือวันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง.
【 วันฟู, วันลอย 】แปลว่า: (โหร) น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทาง
จันทรคติสําหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม.
【 วันมหาสงกรานต์ 】แปลว่า: น. วันเริ่มต้นเทศกาลสงกรานต์ตรงกับ
วันที่ ๑๓ เมษายน.
【 วันมาฆบูชา 】แปลว่า: น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง
พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง
ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔)
๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓.
พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า
ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า
เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์
ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
【 วันยังค่ำ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เสมอ, ทุกคราวไป, แน่ ๆ, เช่น แพ้วันยังคํ่า;
ตลอดวัน เช่น ทํางานวันยังคํ่า.
【 วันรัฐธรรมนูญ 】แปลว่า: น. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับ
วันที่ ๑๐ ธันวาคม.
【 วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ 】แปลว่า: น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา
ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
【 วันแรงงาน 】แปลว่า: น. วันหยุดงานเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ใช้แรงงาน ตรงกับ
วันที่ ๑ พฤษภาคม, วันกรรมกร ก็เรียก.
【 วันแล้ววันเล่า 】แปลว่า: ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
【 วันวิสาขบูชา 】แปลว่า: น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และ
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.
【 วันสงกรานต์ 】แปลว่า: น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่ง
กำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน.
【 วันสหประชาชาติ 】แปลว่า: น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง
เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
【 วันสารท 】แปลว่า: น. วันทำบุญสิ้นเดือน ๑๐.
【 วันสืบพยาน 】แปลว่า: (กฎ) น. วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน.
【 วันสุกดิบ 】แปลว่า: น. วันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกําหนดวันงานพิธี ๑ วัน.
【 วันหน้า 】แปลว่า: น. วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่,
ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
【 วันหน้าวันหลัง 】แปลว่า: น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวัน
หน้าวันหลังไว้บ้าง.
【 วันหลัง 】แปลว่า: น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า
วันหน้า ก็มี.
【 วันออกพรรษา 】แปลว่า: น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
【 วันอัฐมี 】แปลว่า: [อัดถะ] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘
ค่ำ เดือน ๖.
【 วันอาสาฬหบูชา 】แปลว่า: [สานหะ, สานละหะ] น. วันเพ็ญเดือน ๘
ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
【 วันอุโบสถ 】แปลว่า: น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาด
ก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็น
วันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
【 วัน ๒ 】แปลว่า: น. แมลงวัน. /(ดู แมลงวัน ที่ แมลง)./
【 วัน ๓ 】แปลว่า: น. ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).
【 วัน ๆ 】แปลว่า: ว. แต่ละวัน เช่น ได้รายได้เป็นวัน ๆ; บางวัน เช่น เขามาทำงานที่นี่
เป็นวัน ๆ; ปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างซังกะตาย เช่น อยู่ไปวัน ๆ
ไม่มีความหวัง.
【 วันต์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. คายแล้ว, ทิ้งหรือเลิกแล้ว. (ป.; ส. วานฺต).
【 วันทน, วันทนา 】แปลว่า: [วันทะนะ, วันทะนา] น. การไหว้, การเคารพ. (ป., ส.).
【 วันทนาการ 】แปลว่า: น. การไหว้. (ป.).
【 วันทนีย์ 】แปลว่า: ว. ควรไหว้, น่านับถือ. (ป., ส.).
【 วันทย 】แปลว่า: [วันทะยะ] ว. ควรไหว้, ควรนอบนบ. (ส.).
【 วันทยหัตถ์ 】แปลว่า: น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น
ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.
【 วันทยาวุธ 】แปลว่า: น. ท่าเคารพด้วยอาวุธของทหาร ตํารวจ ลูกเสือ เป็นต้น
ที่แต่งเครื่องแบบสวมหมวก และถืออาวุธอยู่กับที่.
【 วันทยาวุธ 】แปลว่า: /ดู วันทย./
【 วันทา 】แปลว่า: ก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ. (ป. วนฺท).
【 วันทาสีมา 】แปลว่า: ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท
(ใช้แก่นาค).
【 วันทิ 】แปลว่า: (แบบ) น. เชลย. (ป., ส.).
【 วันนิพก 】แปลว่า: น. วนิพก.
【 วับ 】แปลว่า: ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง
ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน
ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป,
บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ
ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
【 วับ ๆ, วับวาบ, วับวาม, วับแวบ 】แปลว่า: ว. ระยับตา เป็นอาการของแสง
หรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น
แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
【 วับแวม 】แปลว่า: ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แลเห็นแสงไฟ
จากกระโจมไฟวับแวม, วับ ๆ แวม ๆ ก็ว่า.
【 วับ ๆ แวม ๆ 】แปลว่า: ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แสงหิ่งห้อย
ดูวับ ๆ แวม ๆ, วับแวม ก็ว่า; อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น
ไม่ควรแต่งตัววับ ๆ แวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ.
【 วับ ๆ หวำ ๆ 】แปลว่า: ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ
เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด.
【 วัปป, วัปปะ 】แปลว่า: [วับปะ] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า
ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).
【 วัมมิกะ 】แปลว่า: น. จอมปลวก. (ป. วมฺมีก; ส. วลฺมีก).
【 วัย, วัย 】แปลว่า: [ไว, ไวยะ] น. เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว
วัยชรา. (ป., ส. วย).
【 วัยกลางคน 】แปลว่า: น. วัยที่มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาวแต่ยังไม่แก่ อายุประมาณ
๓๐๕๐ ปี.
【 วัยกำดัด 】แปลว่า: น. วัยรุ่น.
【 วัยขบเผาะ 】แปลว่า: ว. วัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว.
【 วัยคะนอง 】แปลว่า: น. วัยหนุ่มสาวที่ชอบสนุกสนาน, วัยหนุ่มสาวที่กำลังฮึกห้าว.
【 วัยงาม 】แปลว่า: น. ลักษณะของหญิงที่ดูงามทุกวัย เป็นลักษณะอย่าง ๆ
ในเบญจกัลยาณี.
【 วัยจูง 】แปลว่า: น. วัยของเด็กระหว่างวัยแล่นกับวัยอุ้ม.
【 วัยฉกรรจ์ 】แปลว่า: น. วัยหนุ่มที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง.
【 วัยชรา 】แปลว่า: น. วัยที่ต่อจากวัยกลางคน อายุเกิน ๖๐ ปี.
【 วัยเด็ก 】แปลว่า: น. วัยที่อายุยังน้อย.
【 วัยทารก 】แปลว่า: น. วัยเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่เดียงสา.
【 วัยรุ่น 】แปลว่า: น. วัยที่มีอายุประมาณ ๑๓๑๙ ปี, วัยกำดัด ก็ว่า.
【 วัยแล่น 】แปลว่า: น. วัยของเด็กถัดจากวัยจูง.
【 วัยวุฒิ 】แปลว่า: [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ.
(ป. วย + วุฑฺฒิ).
【 วัยสาว 】แปลว่า: น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี,
ใช้แก่หญิง.
【 วัยหนุ่ม 】แปลว่า: น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี,
ใช้แก่ชาย.
【 วัยหนุ่มสาว 】แปลว่า: น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่
๑๕๓๐ ปี.
【 วัยอุ้ม 】แปลว่า: น. วัยของเด็กก่อนวัยจูง.
【 วัลก์ 】แปลว่า: (แบบ) น. เปลือกไม้; เกล็ดปลา. (ส.).
【 วัลคุ 】แปลว่า: วันละคุ ว. งาม, สวย, น่ารัก; ไพเราะ. (ส. วลฺคุ; ป. วคฺคุ).
【 วัลย์ 】แปลว่า: น. เถาวัลย์, เครือเขา, ไม้เถา. (ป., ส. วลฺลี).
【 วัลลภ 】แปลว่า: [วันลบ] น. คนสนิท, ผู้ชอบพอ, คนโปรด, คนรัก. (ป., ส.).
【 วัลลี 】แปลว่า: น. เถาวัลย์, เครือเขา, ไม้เถา. (ป., ส.).
【 วัว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด/ Bos taurus/ ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่
ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลนวล เขาโค้ง สั้น มีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอ
ถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.
【 วัวเขาเกก 】แปลว่า: น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง
คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
【 วัวใครเข้าคอกคนนั้น 】แปลว่า: (สํา) น. กรรมที่มีผู้ใดทําไว้ย่อมส่งผลให้แก่
ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง.
【 วัวตัวผู้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาวงูเมีย
ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก.
【 วัวตัวเมีย 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรผลคุนี มี ๒ ดวง,
ดาวเพดาน หรือ ดาวอุตตรผลคุนี ก็เรียก.
【 วัวเถลิง 】แปลว่า: น. วัวเปลี่ยว, วัวหนุ่ม.
【 วัวพันหลัก 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น
ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่
เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า
แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่
สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ
นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด
คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน
นั้นเป็นสามี.
【 วัวลืมตีน 】แปลว่า: (สำ) น. คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน.
【 วัวสันหลังหวะ 】แปลว่า: น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง,
วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
【 วัวหายล้อมคอก 】แปลว่า: (สํา) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
【 วัว ๒ 】แปลว่า: /ดู งัว ๕./
【 วัวทะเล 】แปลว่า: /ดู พะยูน./
【 วัส, วัสสะ 】แปลว่า: [วัดสะ] น. ฝน, ฤดูฝน; ปี. (ป.; ส. วรฺษ).
【 วัสคณนา 】แปลว่า: [วัดสะคะนะนา] น. การนับปี. (ป. วสฺส + คณนา).
【 วัสโสทก 】แปลว่า: น. นํ้าฝน. (ป.).
【 วัสดุ 】แปลว่า: [วัดสะดุ] น. วัตถุที่นํามาใช้ เช่น วัสดุก่อสร้าง; ของใช้ที่มีอายุการ
ใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ (ใช้แก่การงบประมาณ).
(ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
【 วัสตร์ 】แปลว่า: (แบบ) น. วัตถ์, ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
【 วัสน์ 】แปลว่า: (แบบ) น. วสนะ. (ป., ส.).
【 วัสนะ 】แปลว่า: วัดสะนะ น. ฝนตก. (ป. วสฺสน; ส. วรฺษณ).
【 วัสสาน, วัสสานะ 】แปลว่า: [วัดสานะ] น. ฤดูฝน, หน้าฝน. (ป. วสฺสาน ว่า ฤดูฝน).
【 วัสสานฤดู 】แปลว่า: [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน
อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ
ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ
ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน
เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่
กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น,
วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน
ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
【 วัสโสทก 】แปลว่า: /ดู วัส, วัสสะ./
【 วา ๑ 】แปลว่า: น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร,
อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง.
วาตารางเหลี่ยม (เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ
๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
【 วา ๒ 】แปลว่า: น. เพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง
เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
【 ว่า 】แปลว่า: ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป
เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง
ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้
ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน
เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า.
(ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า
กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
【 ว่ากลอนสด 】แปลว่า: ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิด
มาก่อน; โดยปริยายหมายถึงกล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน,
พูดกลอนสด ก็ว่า.
【 ว่ากล่าว 】แปลว่า: ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ
จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น
ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
【 ว่าการ 】แปลว่า: ก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน.
【 ว่าขาน 】แปลว่า: ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน
ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย
ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
【 ว่าข้ามหัว, ว่าส่ง 】แปลว่า: ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.
【 ว่าเข้านั่น 】แปลว่า: (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง
ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
【 ว่าความ 】แปลว่า: ก. (กฎ) ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนคู่ความในคดี; (โบ)
ชําระความ เช่น ท้าวมาลีวราชว่าความ.
【 ว่าง่าย, ว่านอนสอนง่าย 】แปลว่า: ก. อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี.
【 ว่าจ้าง 】แปลว่า: ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น
เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
【 ว่าด้วย 】แปลว่า: บ. เกี่ยวกับ เช่น วารสารชุดนี้ว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรม
กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์.
【 ว่าต่าง 】แปลว่า: (กฎ) ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง
ว่าความแทนจําเลย.
【 ว่าตามหลัง 】แปลว่า: ก. ติเตียนหรือนินทาเมื่อผู้ถูกว่าคล้อยหลังไปแล้ว.
【 ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง 】แปลว่า: (สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ
ในเรื่องนั้นเสียเอง.
【 ว่าที่ 】แปลว่า: ก. รั้งตำแหน่งหรือยศ (ใช้แก่ทหารหรือตำรวจ) เช่น
ว่าที่ร้อยตรี ว่าที่พันตำรวจโท; (ปาก) รั้งตำแหน่งที่จะเป็นต่อไป
เช่น ว่าที่พ่อตา.
【 ว่าไปทำไมมี 】แปลว่า: ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี
เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค
หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.
【 ว่าไม่ได้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น
ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้.
【 ว่าไม่ไว้หน้า 】แปลว่า: ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย
โดยไม่เกรงใจ.
【 ว่ายาก 】แปลว่า: ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน,
ว่ายากสอนยาก ก็ว่า.
【 ว่าลับหลัง 】แปลว่า: ก. นินทา.
ว่าแล้ว เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่ได้เกิดเหตุการณ์
ตรงตามที่ได้ว่าไว้ เช่น ฉันว่าแล้วไม่ผิดไปจากที่พูดเลย.
ว่าแล้วว่าอีก ก. พูดหรือตำหนิติเตียนซ้ำซาก.
【 ว่าวอน 】แปลว่า: (แบบ) ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง
เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไป
ว่าวอน. (อิเหนา).
【 ว่าส่ง ๆ, ว่าส่งเดช 】แปลว่า: ก. พูดพล่อย ๆ ไม่มีเหตุผล.
【 ว่าสาดเสียเทเสีย 】แปลว่า: (สำ) ก. ว่าอย่างเจ็บแสบทำให้เสียหาย
อย่างรุนแรง.
【 ว่าใส่หน้า 】แปลว่า: ก. ต่อว่าหรือติเตียนซึ่ง ๆ หน้า.
【 ว่าอะไรว่าตามกัน 】แปลว่า: (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า
ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร
ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง
(มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
【 ว่าเอาเอง 】แปลว่า: ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.
【 ว้า ๑ 】แปลว่า: อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น.
ว. คําออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น
เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.
【 ว้า ๒ 】แปลว่า: ว. ว่าง, เปลี่ยวใจ, เปล่าใจ, ใจหาย.
【 ว้าเหว่ 】แปลว่า: ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก
ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
【 วาก ๑ 】แปลว่า: ว. เปล่า, หาย, ว้าเหว่, เช่น ใจวาก.
【 วาก ๒, วากะ 】แปลว่า: [วากะ] น. เปลือกไม้, ป่าน, ปอ. (ป.; ส. วลฺก).
【 วากจิรพัสตร์ 】แปลว่า: น. ผ้าที่ทําด้วยเปลือกไม้, ผ้าป่าน. (ป. วากจิร ว่า
ที่ทําด้วยเปลือกไม้ + ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
【 ว้าก 】แปลว่า: ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้อง, หวาก ก็ว่า.
【 วากย, วากยะ 】แปลว่า: [วากกะยะ] น. คําพูด, คํากล่าว, ถ้อยคํา, ประโยค. (ป., ส.).
【 วากยสัมพันธ์ 】แปลว่า: น. ชื่อตําราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็น
ประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคําในประโยค.
【 วากรา 】แปลว่า: วากกะรา น. ตาข่าย; บ่วง, เครื่องดักสัตว์. (ป.; ส. วาคุรา).
【 วาง 】แปลว่า: ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา
ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู
วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น
วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน
วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน)
อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
【 วางก้าม 】แปลว่า: ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางโต ก็ว่า.
【 วางขรึม 】แปลว่า: ก. ทำท่าขรึม.
【 วางข้อ 】แปลว่า: ก. แสดงท่าทางว่าเก่งกล้า, แสดงท่าทางอวดดี, เช่น
ทำวางข้อเป็นลูกเศรษฐี.
【 วางไข่ 】แปลว่า: ก. ออกไข่ (ใช้แก่เต่าและปลา).
【 วางเงิน 】แปลว่า: ก. ชําระเงินตามเงื่อนไขที่มีต่อกัน เช่น วางเงินมัดจำ.
【 วางใจ 】แปลว่า: ก. เชื่อใจ, ไว้ใจ, เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
จะจนใจเอง.
【 วางฎีกา 】แปลว่า: ก. ยื่นใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง; ยื่นฎีกาอาราธนา
พระสงฆ์ (มักใช้เนื่องในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี).
【 วางตลาด 】แปลว่า: ก. นําสินค้าออกวางขายตามร้านทั่วไป.
【 วางตัว 】แปลว่า: ก. ประพฤติตน เช่น วางตัวไม่ดี คนอื่นจะดูถูกได้,
ปฏิบัติตน เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร.
【 วางตัวเป็นกลาง 】แปลว่า: ก. ไม่เข้าข้างใคร เช่น พี่น้องทะเลาะกัน
เขาเลยต้องวางตัวเป็นกลาง.
【 วางตา 】แปลว่า: ก. ละสายตา, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ดูไม่วางตา.
【 วางโต 】แปลว่า: ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางก้าม ก็ว่า.
【 วางทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุ
แห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้อง
ชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัด
ไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้
เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
【 วางท่า 】แปลว่า: ก. ทําท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.
【 วางเบ็ด, วางเบ็ดราว 】แปลว่า: ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลง
ในแม่น้ำลำคลอง.
【 วางปึ่ง 】แปลว่า: ก. ทำท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทำทีเฉยแสดงอาการ
คล้ายกับโกรธ.
【 วางปุ่ม 】แปลว่า: ก. ทําท่าไว้ยศ, วางท่า ก็ว่า.
【 วางผังเมือง 】แปลว่า: ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง
และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย
ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน
เป็นส่วนรวม.
【 วางแผน 】แปลว่า: ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป,
วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
【 วางแผนการ 】แปลว่า: ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป;
วางแผน ก็ว่า.
【 วางเพลิง 】แปลว่า: [เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ;
โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.
【 วางมวย 】แปลว่า: ก. ชกต่อยวิวาทกัน.
【 วางมาด 】แปลว่า: ก. แสดงท่าทางให้เห็นว่าใหญ่โตหรือมีอํานาจเป็นต้น
เช่น วางมาดเป็นดารา.
หรือตลอดไป
【 วางมือ 】แปลว่า: ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทําอยู่ชั่วคราว
เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
【 วางยา 】แปลว่า: ก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้
ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร;
โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.
【 วางราง 】แปลว่า: ก. ติดตั้งรางเพื่อให้รถไฟเป็นต้นเคลื่อนไป.
【 วางวาย 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์.
(กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
【 วางสาย 】แปลว่า: ก. ติดตั้งสายไฟฟ้าสายโทรศัพท์เป็นต้น;
โดยปริยายหมายความว่า จัดคน
เข้าไปสืบความลับของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น วางสายเข้าไปปล้นธนาคาร.
【 วางหน้า 】แปลว่า: ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ.
【 วางหมาก 】แปลว่า: ก. กำหนดตัวบุคคลให้เหมาะแก่งานเพื่อให้ได้ผล
ตามแผนการที่กำหนดไว้.
【 วางอาวุธ 】แปลว่า: ก. ยอมแพ้.
【 วางอำนาจ 】แปลว่า: ก. แสดงอํานาจ, อวดอํานาจ.
【 ว่าง 】แปลว่า: ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง
ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี
ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้.
น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง
อาหารว่าง.
【 ว่าง ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรจะทำ, ไม่มีภาระ, เช่น อยู่ว่าง ๆ ไม่รู้จะทำอะไร.
【 ว่างงาน 】แปลว่า: ก. ตกงาน, ไม่มีงานทํา.
【 ว่างเปล่า 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรเลย เช่น โต๊ะตัวนี้ว่างเปล่าไม่มีของวางอยู่เลย.
【 ว่างมือ 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรทำ เช่น ว่างมือเมื่อไร จะช่วยตัดเสื้อให้.
【 ว่างเว้น 】แปลว่า: ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา
เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
【 ว้าง 】แปลว่า: ว. เปล่า, ว่าง.
【 ว้างเวิ้ง 】แปลว่า: ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง.
【 วาจก 】แปลว่า: น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า
ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้
แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก.
(ป., ส.).
【 วาจา 】แปลว่า: น. ถ้อยคํา, คํากล่าว, คําพูด, เช่น วาจาสุภาพ วาจาอ่อนหวาน
วาจาสัตย์. (ป., ส.).
【 วาจาไปยะ 】แปลว่า: (แบบ) น. คําอ่อนหวาน. (ป. วาจาเปยฺย, วาชเปยฺย).
【 วาจาล 】แปลว่า: (แบบ) ว. ช่างพูด. (ป., ส.).
【 วาชเปยะ 】แปลว่า: [วาชะ] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดีย
โบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะ
พราหมณ์. (ส.).
【 วาฏกะ 】แปลว่า: วาตะ น. วงกลม, สังเวียน. (ป.).
【 วาณิช, วาณิชกะ 】แปลว่า: [วานิด, วานิดชะ] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า
เป็นพ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).
【 วาณิชย์ 】แปลว่า: น. การค้าขาย. (ส.).
【 วาณี 】แปลว่า: น. ถ้อยคํา, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).
【 วาด ๑ 】แปลว่า: ก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้
วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย,
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศ
เสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขน
อย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรํา.
【 วาดเขียน 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการเขียนรูปภาพต่าง ๆ.
【 วาดปาก 】แปลว่า: ก. เอานิ้วมือป้ายสีผึ้งหรือใช้ลิปสติกลูบไล้ไปตามริมฝีปาก
ให้ทั่ว.
【 วาดภาพ 】แปลว่า: ก. วาดเป็นภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วาดภาพคน
วาดภาพทิวทัศน์.
【 วาดลวดลาย 】แปลว่า: ก. แสดงท่ารำหรือเต้นรำเป็นต้นได้งดงามไปตาม
จังหวะดนตรี; (ปาก) แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา.
【 วาด ๒ 】แปลว่า: ก. พายเรือโดยกวาดพายเป็นแนวโค้งเข้าหาตัว, ตรงข้ามกับ คัด.
【 วาต, วาตะ 】แปลว่า: [วาตะ] น. ลม. (ป., ส.).
【 วาตปานะ 】แปลว่า: น. หน้าต่าง, ช่องลมที่มีบานเปิดปิดได้อย่างบานหน้าต่าง.
(ป.).
【 วาตภัย 】แปลว่า: [วาตะ] น. ภัยอันตรายที่เกิดจากพายุ.
【 วาท, วาท 】แปลว่า: [วาด, วาทะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).
【 วาทศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร
ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ.
(อ. rhetorics).
【 วาทศิลป์ 】แปลว่า: น. ศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหารให้ประทับใจ.
(อ. rhetoric).
【 วาทกะ 】แปลว่า: [วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).
【 วาทนะ 】แปลว่า: [วาทะนะ] น. การประโคม, การบรรเลงดนตรี. (ส.).
【 วาทย, วาทย์ 】แปลว่า: [วาทะยะ, วาดทะยะ] น. เครื่องประโคม, เครื่องบรรเลง,
เครื่องเป่า. (ส.).
【 วาทยกร 】แปลว่า: [วาทะยะกอน, วาดทะยะกอน] น. ผู้อํานวยการให้จังหวะ
ดนตรี, ผู้อำนวยเพลง ก็เรียก.
【 วาทิต 】แปลว่า: น. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
【 วาทิน 】แปลว่า: น. คนเล่นดนตรี. /(ดู วาที)./
【 วาที 】แปลว่า: น. ผู้พูด, ผู้กล่าว, ผู้ชี้แจง, ผู้โต้แย้ง; คนเล่นดนตรี. (ป., ส.).
【 วาน ๑ 】แปลว่า: น. กงเรือ. /(ดู กงวาน);/ ช่องที่เจาะบากกงเรือเพื่อให้นํ้าเดิน เรียกว่า
ช่องวาน.
【 วาน ๒ 】แปลว่า: น. วันก่อนวันนี้วันหนึ่ง, มักใช้ว่า เมื่อวาน หรือ เมื่อวานนี้.
【 วานซืน 】แปลว่า: น. วันก่อนเมื่อวานนี้วันหนึ่ง, วันก่อนวันนี้ไป ๒ วัน,
มักใช้ว่า เมื่อวานซืน.
【 วาน ๓ 】แปลว่า: ก. ขอให้ช่วยทําแทนตัว เช่น วานเขียนหนังสือให้หน่อย วานไปซื้อ
ตั๋วรถไฟ.
【 ว่าน 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือ
เชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม
ว่านเสน่ห์จันทร์แดง.
【 ว่านกาบหอย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Tradescantia spathacea/ Sw.
วงศ์ Commelinaceae ลำต้นตั้งตรงอวบน้ำ ไม่แตกกิ่ง ใบยาว ด้านบน
สีเขียวเข้ม ด้านล่างสีม่วงแดง ช่อดอกออกที่ง่ามของลำต้น ซึ่งมีกาบ
รูปเรือ ๒ อันหุ้มอยู่ ดอกมีจำนวนมาก สีขาว ก้านสั้น ใช้ทำยาได้,
กาบหอยแครง ก็เรียก.
【 ว่านกีบม้า, ว่านกีบแรด 】แปลว่า: /ดู กีบแรด./
【 ว่านไก่ไห้ 】แปลว่า: /ดู ไก่ไห้ (๒)./
【 ว่านธรณีสาร 】แปลว่า: /ดู ธรณีสาร ๒./
【 ว่านนางกวัก 】แปลว่า: /ดู นางกวัก ๒./
【 ว่านนางล้อม 】แปลว่า: /ดู นางล้อม./
【 ว่านน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Acorus calamus/ L. ในวงศ์ Araceae
ชอบขึ้นอยู่ในที่ชื้นแฉะ เหง้ามีกลิ่นฉุนแรง, พายัพเรียก กะส้มชื่น.
【 ว่านพระฉิม 】แปลว่า: /ดู ข้าวข้า./
【 ว่านเพชรหึง 】แปลว่า: /ดู เพชรหึง ๒./
【 ว่านมหากาฬ 】แปลว่า: /ดู มหากาฬ ๒./
【 ว่านมหานิล 】แปลว่า: /ดู มหานิล ๒./
【 ว่านมหาเมฆ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Curcuma aeruginosa/> Roxb.
ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอก
ไม่มีใบ ดอกสีเหลืองเป็นช่อตั้ง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมี
ปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว.
【 ว่านมีดยับ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน, พายัพ) น. ว่านหางช้าง. /(ดู หางช้าง ๑)./
【 ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว 】แปลว่า: /ดู เสน่ห์จันทร์ขาว./
【 ว่านเสน่ห์จันทร์แดง 】แปลว่า: /ดู เสน่ห์จันทร์แดง./
【 ว่านหางช้าง 】แปลว่า: /ดู หางช้าง ๑./
【 ว่านเครือ 】แปลว่า: น. เชื้อสาย, เหล่ากอ, มักใช้เข้าคู่กับคำ วงศ์วาน เป็น วงศ์วานว่านเครือ.
【 วานร 】แปลว่า: [วานอน] น. ลิง; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวงอนไถ
ดาวงูผู้ ดาวโคมูตร ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. (ป., ส.).
【 วานรินทร์ 】แปลว่า: [วานะ] น. พญาลิง.
【 วานรินทร์ 】แปลว่า: /ดู วานร./
【 ว่านหอยแครง 】แปลว่า: /ดู กาบหอย./
【 ว่านหางช้าง 】แปลว่า: /ดู หางช้าง ๑./
【 วาเนเดียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๓ สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาว หลอมละลายที่ ๑๙๐๐บซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่น
ให้เป็นโลหะเจือ. (อ. vanadium).
【 วาบ 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว
หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
【 วาบหวาม 】แปลว่า: ว. รู้สึกเสียวซ่านในใจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น
พอเห็นหน้าคนรักก็รู้สึกวาบหวามใจ.
【 วาปะ 】แปลว่า: น. การหว่านพืช. (ป., ส.).
【 วาปิตะ 】แปลว่า: ก. หว่านแล้ว. (ป., ส.).
【 วาปี 】แปลว่า: น. หนองนํ้า, บึง. (ป., ส.).
【 วาม ๑, วาม ๆ 】แปลว่า: ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ
ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
【 วาม ๒, วามะ ๑ 】แปลว่า: [วามะ] ว. ซ้าย, ข้างซ้าย. (ป., ส.).
【 วามาจาร 】แปลว่า: น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ
ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ
อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก
ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน
ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
【 วามน 】แปลว่า: [วามะนะ] น. คนเตี้ย, คนค่อม; ชื่อช้างประจําทิศใต้. ว. เตี้ย, สั้น,
ค่อม. (ป., ส.).
【 วามนาวตาร 】แปลว่า: น. อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์.
(ส. วามน + อวตาร).
【 วามนาวตาร 】แปลว่า: /ดู วามน./
【 วามะ ๑ 】แปลว่า: /ดู วาม ๒./
【 วามะ ๒ 】แปลว่า: ว. งาม. (ส.).
【 วามาจาร 】แปลว่า: /ดู วาม ๒, วามะ ๑./
【 วาโมร 】แปลว่า: [โมน] น. คนป่า, คนรํา. (ช.).
【 วาย ๑ 】แปลว่า: ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกําหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย
ตลาดวาย หัวใจวาย.
【 วายชนม์, วายชีวิต, วายปราณ, วายวาง, วายสังขาร 】แปลว่า: ก. หมดสิ้นไม่เหลือหลอ,
【 บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฉิบหาย 】แปลว่า:
เป็น ฉิบหายวายวอด.
【 วาย ๒ 】แปลว่า: ก. ตี เช่น วายทรวง. (ข.).
【 ว่าย 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกําลังแขน ขา ครีบ หรือ หาง แหวกไปในนํ้า
หรือในอากาศ.
【 ว่ายตา 】แปลว่า: ก. แลกวาดไปในอากาศ.
【 ว่ายน้ำหาจระเข้ 】แปลว่า: (สํา) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
【 ว่ายฟ้า 】แปลว่า: (วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า
หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).
【 ว่ายหล้า 】แปลว่า: (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า
ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ.
(ลอ).
【 ว้าย 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจหรือดีใจเป็นต้น
(โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง).
【 วายร้าย 】แปลว่า: ว. เหลือร้าย, ชั่วช้านัก.
【 วายสะ 】แปลว่า: [ยะ] น. กา. (ป., ส.).
【 วายะ, วาโย 】แปลว่า: น. ลม. (ป. วายุ, วาโย; ส. วายุ).
【 วาโยธาตุ 】แปลว่า: น. ธาตุลม เป็นธาตุ ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป.).
【 วายามะ 】แปลว่า: น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
【 วายุ 】แปลว่า: น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). /(ดู พายุ)./
【 วายุภักษ์ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวรรณคดี แปลว่า นกกินลม. (ส.).
【 วายุกูล 】แปลว่า: น. ไวกูณฐ์.
【 วายุบุตรยาตรา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 วาร ๑ 】แปลว่า: [วาน] น. วันหนึ่ง ๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร. (ป., ส.).
【 วาร ๒, วาระ 】แปลว่า: [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน
ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล
วาระสุดท้ายของชีวิต.
【 วารสาร 】แปลว่า: น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
【 วารสารศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการทําหนังสือพิมพ์ นิตยสาร
วารสาร และการพิมพ์ประเภทอื่น ๆ.
【 วาระจร 】แปลว่า: น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา
พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
【 วารณ 】แปลว่า: [วาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส.).
【 วารณกร 】แปลว่า: น. งวงช้าง. (ส.).
【 วารวาริ 】แปลว่า: [วาระ] น. ดอกชบา. (ช.).
【 วาริ, วารี 】แปลว่า: น. นํ้า. (ป., ส.).
【 วาริจร 】แปลว่า: น. สัตว์นํ้า. (ส.; ป. วาริโคจร).
【 วาริช, วารีช 】แปลว่า: น. เกิดแต่นํ้า คือ บัว ปลา. (ป., ส.).
【 วาริท, วาริธร 】แปลว่า: น. เมฆ. (ป., ส.).
【 วาริพินทุ 】แปลว่า: น. หยาดนํ้า. (ป., ส.).
【 วาริช, วารีช 】แปลว่า: /ดู วาริ, วารี./
【 วาริท, วาริธร 】แปลว่า: /ดู วาริ, วารี./
【 วารุณ 】แปลว่า: น. นํ้าดอกไม้. (ช.).
【 วารุณี 】แปลว่า: น. เทวีแห่งเหล้า; เหล้า. (ป., ส.).
【 วาล, วาล 】แปลว่า: [วาน, วาละ] น. หาง; ขนสัตว์, ขนหางสัตว์. (บางทีเขียน พาล). (ป., ส.).
【 วาลกัมพล 】แปลว่า: [วาละ] น. ผ้าห่มทําด้วยขนสัตว์. (ป.).
【 วาลธิ 】แปลว่า: [วาละ] น. หาง, ขนหาง. (ป.).
【 วาลวีชนี 】แปลว่า: [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่อง
ราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).
【 วาล์ว 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทําหน้าที่
เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สําหรับให้
อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่ง
เรียกว่า ลิ้นไอเสีย สําหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจาก
ห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. (อ. valve).
【 วาลิกา, วาลุกา 】แปลว่า: น. กรวด, ทราย. (ป., ส.).
【 วาว 】แปลว่า: ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู
วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
【 วาววับ 】แปลว่า: ว. มีประกายแวววาว เช่น เสื้อปักดิ้นเดินทองวาววับ.
【 วาววาม 】แปลว่า: ว. เป็นแสงวูบวาบ เช่น แสงเพชรวาววาม.
【 วาวแวว 】แปลว่า: ว. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น แหวนเพชรวงนี้มีน้ำ
วาวแวว, แวววาม หรือ แวววาว ก็ว่า.
【 วาวแสง 】แปลว่า: ว. มีแสงวาว.
【 ว่าว ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ
แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย
ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น
ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
【 ว่าวขาดลอย 】แปลว่า: (วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น
จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะ
เป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
【 ว่าวติดลม 】แปลว่า: น. ว่าวที่ลอยกินลมอยู่ในอากาศ. (สํา) ว. เพลินจนลืมตัว.
【 ว่าวเหลิง, ว่าวเหลิงลม 】แปลว่า: [เหฺลิง] น. ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่.
(สํา) ว. เพลินจนลืมตัว เช่น กลัวต้องลมแล้วจะหาวเหมือนว่าวเหลิง.
(อภัย).
【 ว่าว ๒ 】แปลว่า: น. เรียกลมที่พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ในตอนต้นฤดูหนาวว่า
ลมว่าว, ลมเล่นว่าวเดี๋ยวนี้คือลมตะเภาซึ่งพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ
ในกลางฤดูร้อน.
【 ว้าว่อน 】แปลว่า: ว. เกลื่อนกล่นอยู่ในอากาศ.
【 ว้าวุ่น 】แปลว่า: ก. สับสน เช่น จิตใจว้าวุ่น.
【 วาสนะ ๑ 】แปลว่า: [วาสะ] น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
【 วาสนะ ๒ 】แปลว่า: [วาสะ] น. การอบ, การทําให้หอม; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
【 วาสนา 】แปลว่า: [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้
มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี
เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา
เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
【 วาสพ 】แปลว่า: [วาสบ] น. พระอินทร์. (ส., ป. วาสว).
【 วาสะ ๑ 】แปลว่า: น. การอยู่, การพัก; ที่อยู่, บ้าน. (ป., ส.).
【 วาสะ ๒ 】แปลว่า: น. ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
【 วาสะ ๓ 】แปลว่า: น. การอบ; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
【 วาสิน, วาสี ๑ 】แปลว่า: น. ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน
อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า. (ป., ส.).
【 วาสี ๒ 】แปลว่า: น. มีด, พร้า. (ป., ส.).
【 วาสุกรี, วาสุกี 】แปลว่า: น. ชื่อพญานาคร้ายตนหนึ่ง; พญานาค. (ป., ส. วาสุกิ).
【 วาสุเทพ 】แปลว่า: น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ. (ส.).
【 วาหนะ 】แปลว่า: [วาหะ] น. พาหนะ. (ป., ส.).
【 วาหะ ๑ 】แปลว่า: /ดู พาห ๑, พ่าห์./
【 วาหะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงอย่างหนึ่ง. (ป., ส.).
【 วาหินี 】แปลว่า: น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).
【 วาฬ ๑, วาฬ 】แปลว่า: [วาน, วาละ] น. พาฬ. (ป.; ส.วฺยาล).
【 วาฬมิค 】แปลว่า: น. พาฬมฤค, สัตว์ร้าย. (ป.).
【 วาฬ ๒ 】แปลว่า: [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti
มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อ
ช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลา
โผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (/Balaenoptera musculus/)
ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติ
ไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (/B. borealis/) และ
วาฬแกลบครีบขาวดำ (/B. acutorostrata/) ในวงศ์ Balaenopteridae,
วาฬหัวทุย (/Physeter catodon/) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
【 วิ 】แปลว่า: คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
【 วิกขัมภ์ 】แปลว่า: [วิกขํา] น. เส้นผ่านศูนย์กลาง. (ป.).
【 วิกขัมภนะ 】แปลว่า: [วิกขําพะ] น. การปลดเปลื้อง, การเลิกถอน; การข่มไว้. (ป.).
【 วิกเขป 】แปลว่า: [วิกเขบ, วิกเขปะ] น. การเคลื่อนหรือแกว่งไปมา. (ป.; ส. วิกฺเษป).
【 วิกจะ 】แปลว่า: [กะ] ก. แย้ม, บาน. (ป., ส.).
【 วิกรม 】แปลว่า: [วิกฺรม] ก. เก่งกล้า, ก้าวล่วงไปด้วยความกล้าหาญ, มีชัยชนะ.
(ส. วิกฺรม; ป. วิกฺกม).
【 วิกรัย 】แปลว่า: [วิไกฺร] น. การขาย. (ส. วิกฺรย; ป. วิกฺกย).
【 วิกรานต์ 】แปลว่า: [วิกฺราน] ว. กล้าหาญ, มีชัยชนะ, ก้าวหน้า. (ส. วิกฺรานฺต).
【 วิกฤต, วิกฤต, วิกฤติ, วิกฤติ 】แปลว่า: [วิกฺริด, วิกฺริดตะ,วิกฺริด, วิกฺริดติ] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย
เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น
วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น
มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).
【 วิกฤตการณ์, วิกฤติการณ์ 】แปลว่า: น. เหตุการณ์อันวิกฤติ เช่น
เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง.
【 วิกฤตกาล, วิกฤติกาล 】แปลว่า: น. เวลาอันวิกฤติ เช่น ในวิกฤติกาลข้าวของ
มีราคาแพงและหาซื้อยาก.
【 วิกล 】แปลว่า: [วิกน] ว. ไม่ปรกติ, แปลกไป, ไม่สมบูรณ์, อ่อนแอ, เช่น รูปร่าง
วิกลหน้าตาวิกล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ วิการ เป็น วิกลวิการ เช่น
รูปร่างวิกลวิการ. (ป., ส.).
【 วิกลจริต 】แปลว่า: [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ
เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ
บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
【 วิกสิต 】แปลว่า: [วิกะสิด] ก. บาน, แย้ม. (ป., ส.).
【 วิกัต 】แปลว่า: ว. วิกฤต. (ป. วิกต).
【 วิกัติ 】แปลว่า: [กัด] น. ชนิด, อย่าง; การประดิษฐ์ทํา, การจัดทําให้เป็นต่าง ๆ กัน.
(ป. วิกติ).
【 วิกัติการก 】แปลว่า: วิกัดติ น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้
ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้,
คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา
“เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
【 วิกัป 】แปลว่า: [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย
ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก
(ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
【 วิกัย 】แปลว่า: [ไก] น. การขาย. (ป.; ส. วิกฺรย).
【 วิการ 】แปลว่า: ว. พิการ, ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ วิกล
เป็น วิกลวิการ. . ความผันแปร. (ป., ส.).
【 วิกาล, วิกาล 】แปลว่า: [วิกาน, วิกานละ] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้า
บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ
วินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหาร
ในเวลาวิกาล. (ป.).
【 วิกาลโภชน์ 】แปลว่า: น. การกินอาหารในเวลาวิกาล คือ ผิดเวลา ซึ่งว่าตาม
พระวินัยกำหนดไว้ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น. (ป.).
【 วิคหะ 】แปลว่า: [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว;
การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
【 วิเคราะห์ 】แปลว่า: ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ
ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว.
(ส. วิคฺรห).
【 วิฆนะ 】แปลว่า: [วิคะ] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง.
(ส.).
【 วิฆเนศ, วิฆเนศวร 】แปลว่า: [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า
ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ
หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
【 วิฆาต 】แปลว่า: ก. พิฆาต. (ป., ส.).
【 วิฆาส 】แปลว่า: น. เดน, อาหารเหลือ. (ป.).
【 วิง 】แปลว่า: ก. หมุน, วน; รู้สึกหวิวใจ.
【 วิงเวียน 】แปลว่า: ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้
ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
【 วิ่ง 】แปลว่า: ก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม,
แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก)
【 วิ่งเต้น. 】แปลว่า: น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุด
เพื่อให้ ถึงหลักชัยก่อน ตามระยะทางที่กำหนด เช่น วิ่ง ๑๐๐ เมตร
วิ่ง ๔๐ เมตร.
【 วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว 】แปลว่า: น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน
ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่
กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
【 วิ่งกระสอบ 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่ง
แข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งสวมกระสอบ ก็ว่า.
【 วิ่งเก็บของ 】แปลว่า: ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้ว
ไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
【 วิ่งควาย 】แปลว่า: ก. ให้ควายวิ่งแข่งกันโดยมีคนขี่บนหลัง.
【 วิ่งงัว, วิ่งวัว 】แปลว่า: ก. ให้คน ๒ คนวิ่งแข่งกัน.
【 วิ่งเต้น 】แปลว่า: ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุน
ช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน.
【 วิ่งทน 】แปลว่า: ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการ
แข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร,
วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
【 วิ่งเปี้ยว 】แปลว่า: น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย
แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ
ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี
ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
【 วิ่งผลัด 】แปลว่า: น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน
แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรก
จะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คน
ที่๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่ง
ถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
【 วิ่งม้า 】แปลว่า: ก. ให้ม้าวิ่งแข่งพนันกัน.
【 วิ่งมาราธอน 】แปลว่า: ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตาม
มาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘
กิโลเมตร, วิ่งทน ก็ว่า.
【 วิ่งรอก 】แปลว่า: ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก
ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน
หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ
แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ
นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ
คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน
หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
【 วิ่งระแบง 】แปลว่า: ก. วิ่งเล่น. (ข. ละแบง ว่า การเล่น).
【 วิ่งราว 】แปลว่า: ก. แย่งเอาสิ่งของแล้ววิ่งหนีไป เช่น วิ่งราวกระเป๋าถือ.
【 วิ่งวัว 】แปลว่า: ก. ให้คน ๒ คนวิ่งแข่งกัน, วิ่งงัว ก็ว่า.
【 วิ่งว่าว 】แปลว่า: ก. ชักว่าวขึ้นแล้วพาสายว่าววิ่งไปเพื่อให้ว่าวติดลมสูงขึ้น
(ใช้แก่ว่าวตัวเล็ก ๆ).
【 วิ่งวิบาก 】แปลว่า: น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่ง
ระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว
กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อใครถึงเส้นชัยก่อน
เป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับ
การแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว
กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็น
ผู้ชนะ.
【 วิ่งสวมกระสอบ 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบ
【 วิ่งแข่งกัน 】แปลว่า: ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งกระสอบ ก็ว่า.
【 วิ่งสามขา 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวา
ของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
【 วิงวอน 】แปลว่า: ก. เฝ้าร้องขอ, รํ่าขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทําตาม
ประสงค์, เช่น วิงวอนขอชีวิต.
【 วิจฉิกะ 】แปลว่า: [วิด] น. แมงป่อง, มักใช้ว่า พฤศจิก. (ป.; ส. วฺฤศฺจิก).
【 วิจยุต 】แปลว่า: [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
【 วิจรณะ 】แปลว่า: [จะระ] ก. เที่ยวไป. (ป.).
【 วิจล 】แปลว่า: [วิจน] ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา;
วุ่นวาย, วุ่นใจ, เช่น ในสุรสถานดำหนักพน อย่ารู้วิจลสักอันเลย.
(ม. คำหลวง จุลพน). (ส.).
【 วิจักขณ์, วิจักษณ์ 】แปลว่า: ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชํานาญ.
(ป. วิจกฺขณ; ส. วิจกฺษณ).
【 วิจักษ์ 】แปลว่า: น. ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรมและ
วรรณกรรม, ความนิยม, ความซาบซึ้ง, เช่น วรรณคดีวิจักษ์.
(อ. appreciation).
【 วิจัย ๑ 】แปลว่า: น. การสะสม, การรวบรวม. (ป., ส.).
【 วิจัย ๒ 】แปลว่า: น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่อง
ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล
อย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่.
ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย.
(อ. research).
【 วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ 】แปลว่า: [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ
วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม
ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น
เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก
สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น
คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
【 วิจารณญาณ 】แปลว่า: [วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผล
ที่ถูกต้องได้.
【 วิจิ 】แปลว่า: น. วีจิ, คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส. วีจิ).
【 วิจิกิจฉา 】แปลว่า: [กิดฉา] น. ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความไม่
แน่ใจ. (ป.; ส. วิจิกิตฺสา).
【 วิจิต 】แปลว่า: ก. รวบรวม. (ส.); สังเกต, เห็นแจ้ง, รู้แจ้ง.
【 วิจิตร 】แปลว่า: [จิด] ว. งามประณีต. (ส.; ป. วิจิตฺต).
【 วิจิตรตระการตา 】แปลว่า: [จิดตฺระ] ว. งามน่าตื่นตา เช่น ขบวนแห่รถ
บุปผชาติประดับประดาได้วิจิตรตระการตา.
【 วิจิตรบรรจง 】แปลว่า: [จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีต
งดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.
【 วิจิตรพิศวง 】แปลว่า: [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ,
งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย
ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
【 วิจิตรพิสดาร 】แปลว่า: [จิดพิดสะดาน] ว. ลักษณะที่ประดิษฐ์หรือตกแต่ง
จนบางทีเกินงาม เช่น ปราสาทจำลองในสวนสนุกตกแต่งอย่างวิจิตร
พิสดาร.
【 วิจิตรรจนา 】แปลว่า: [จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น
มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
【 วิจิตรศิลป์ 】แปลว่า: [จิดตฺระสิน, จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้าน
คุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
【 วิจิน 】แปลว่า: ก. เที่ยวหา, สืบเสาะ, ตรวจ; เก็บ, คัดเลือก. (ป.).
【 วิจุณ 】แปลว่า: ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคํา จุณ หรือ จุรณ เป็น
จุณวิจุณ หรือ จุรณวิจุณ, เขียนเป็น วิจุรณ ก็มี.
(ป. วิจุณฺณ; ส. วิจูรฺณ).
【 วิจุรณ 】แปลว่า: [วิจุน] ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคํา จุรณ เป็น
จุรณวิจุรณ, เขียนเป็น วิจุณ ก็มี. (ส. วิจูรฺณ; ป. วิจุณฺณ).
【 วิชชา 】แปลว่า: [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา,
วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้)
๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา
อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า
ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้)
๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น)
๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ.
(ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
【 วิชชุ, วิชชุดา, วิชชุตา 】แปลว่า: [วิด] น. แสงไฟฟ้า, สายฟ้า. (ป.; ส. วิทฺยุตฺ).
【 วิชชุลดา 】แปลว่า: [วิดชุละ] น. สายหรือประกายไฟฟ้า, สายฟ้าแลบ. (ป. วิชฺชุลฺลตา;
ส. วิทฺยุลฺลตา); “ชื่อกาพย์ประเภทหนึ่ง, คู่กับ มหาวิชชุลดา.
【 วิชญะ 】แปลว่า: [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
【 วิชน 】แปลว่า: [วิ-ชน] ว. ปราศจากคน, ร้าง. (ป., ส.).
【 วิชนี 】แปลว่า: [วิดชะ] น. วีชนี. (ป. วีชนี; ส. วีชน).
【 วิชย, วิชัย 】แปลว่า: [วิชะยะ-,วิไข] น. ความชนะ, ชัยชนะ, (ป., ส.)
【 วิชา 】แปลว่า: น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย
วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
【 วิชาการ 】แปลว่า: น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น
บทความวิชาการสัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
【 วิชาแกน 】แปลว่า: น. รายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรร่วมกันของหลายคณะหรือ
หลายสาขาของปริญญาเดียวกัน ที่ผู้เรียนในคณะหรือสาขาเหล่านั้น
จะต้องเรียน. (อ. core course).
【 วิชาชีพ 】แปลว่า: น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น
วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
【 วิชาโท 】แปลว่า: น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งรองลงมาจากวิชาเอก.
(อ. minor course).
【 วิชาธร 】แปลว่า: น. พิทยาธร.
【 วิชาบังคับ 】แปลว่า: น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้น
จะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
【 วิชาบังคับพื้นฐาน 】แปลว่า: น. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร.
(อ. basic requirement).
【 วิชาบังคับเลือก 】แปลว่า: น. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนใน
หลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
【 วิชาพื้นฐาน 】แปลว่า: น. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ
ขึ้นไป. (อ. basic course).
【 วิชาเลือก 】แปลว่า: น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้.
(อ. elective course).
【 วิชาเลือกบังคับ 】แปลว่า: น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน
เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
【 วิชาเลือกเสรี 】แปลว่า: น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง
ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
【 วิชาอาคม 】แปลว่า: น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชา
อาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
【 วิชาเอก 】แปลว่า: น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตาม
หลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
【 วิชานนะ 】แปลว่า: น. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
【 วิชิต 】แปลว่า: น. เขตแดนที่ปราบปรามแล้ว. ว. ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว.
(ป.; ส. วิชิต ว่า ถูกปราบ, ชนะ).
【 วิเชียร 】แปลว่า: น. วชิระ, สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์.
【 วิญญัตติ 】แปลว่า: [วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน.
(ป.; ส. วิชฺ?ปฺติ).
【 วิญญาณ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย
ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้
ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ
เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
【 วิญญาณกทรัพย์ 】แปลว่า: [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ)
น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว
ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
【 วิญญู 】แปลว่า: น. ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิชฺ?).
【 วิญญูชน 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
【 วิญญูภาพ 】แปลว่า: น. ความเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
【 วิฑูรย์ 】แปลว่า: น. ไพฑูรย์.
【 วิณหุ 】แปลว่า: [วินหุ] น. วิษณุ.
【 วิด 】แปลว่า: ก. อาการที่ทําให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วย
เครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน,
ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า
วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
【 วิดพื้น 】แปลว่า: (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม
ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น
ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ
ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม
อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้
แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ
ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป
อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ 3.
【 วิดัสดี 】แปลว่า: [วิดัดสะดี] น. วิทัตถิ, คืบหนึ่ง. (ส. วิตสฺติ; ป. วิทตฺถิ).
【 วิตก, วิตก 】แปลว่า: [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด
สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล
ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ,
ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).
【 วิตกจริต 】แปลว่า: [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้าย
ทางเสีย. (ป.).
【 วิตถาร 】แปลว่า: [วิดถาน] ว. กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร. (ป.; ส. วิสฺตาร);
นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่น
วิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทาง
ในวันสงกรานต์.
【 วิตามิน 】แปลว่า: น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่
เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน
ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ
เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย
ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน
เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ “ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี
วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
【 วิถี 】แปลว่า: น. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิถีทาง วิถี
ชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).
【 วิถีกระสุน 】แปลว่า: น. ทางแห่งกระสุน, กระสุนวิถี ก็ว่า.
【 วิถีชีวิต 】แปลว่า: น. ทางดำเนินชีวิต เช่น วิถีชีวิตชาวบ้าน.
【 วิถีทาง 】แปลว่า: น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบ
ความสำเร็จ.
【 วิทธะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เจาะ, แทง, ฉีกขาด, เป็นแผล, เป็นรู, แตก. (ป., ส.).
【 วิทย 】แปลว่า: [วิดทะยะ] น. วิทยา.
【 วิทยฐานะ 】แปลว่า: น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ
มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
【 วิทยา 】แปลว่า: [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร
วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
【 วิทยากร 】แปลว่า: น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ
เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
【 วิทยากล 】แปลว่า: น. การแสดงที่อาศัยกลวิธีและความไวทำให้ผู้ชม
สนเท่ห์.
【 วิทยาการ 】แปลว่า: น. ความรู้แขนงต่าง ๆ เช่น ปัจจุบันวิทยาการต่าง ๆ
ก้าวหน้าไปมาก, บางทีใช้ว่า ศิลปวิทยาการ.
【 วิทยาเขต 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่ตั้งอยู่ในบริเวณอื่น
มีคณาจารย์อาคาร สถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตนเอง
เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีคนเดียวกัน
และสภามหาวิทยาลัยชุดเดียวกัน.
【 วิทยาคม 】แปลว่า: น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคม
ให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
【 วิทยาคาร 】แปลว่า: น. สถานที่ให้ความรู้.
【 วิทยาทาน 】แปลว่า: น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน
จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
【 วิทยาธร 】แปลว่า: น. พิทยาธร. (ส.).
【 วิทยานิพนธ์ 】แปลว่า: น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
【 วิทยาลัย 】แปลว่า: น. สถานศึกษาในระดับสูง สอนวิชาชีพเฉพาะอย่าง
เช่น วิทยาลัยเทคนิค. (ส.).
【 วิทยาศาสตร์ 】แปลว่า: น. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก
ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้
หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
【 วิทยาศาสตร์กายภาพ 】แปลว่า: น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ
สิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์.
【 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 】แปลว่า: น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ
สิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์.
【 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 】แปลว่า: น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจ
หน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุม
รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการวิจัย.
【 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 】แปลว่า: น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ
ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทางทฤษฎี เช่น แพทยศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์.
【 วิทยุ 】แปลว่า: [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม
อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้,
เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง
ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
【 วิทยุกระจายเสียง 】แปลว่า: น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ
โดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุคมนาคม 】แปลว่า: น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ
ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้
โดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุเคลื่อนที่ 】แปลว่า: น. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคม
แบบเคลื่อนที่ได้กับสถานีวิทยุคมนาคมแบบประจำที่ หรือระหว่าง
สถานีวิทยุคมนาคมแบบเคลื่อนที่ได้ด้วยกันเอง.
【 วิทยุเฉพาะกิจ 】แปลว่า: น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้
ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน
ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
【 วิทยุติดตามตัว 】แปลว่า: น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้
ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้
ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
【 วิทยุเทเลกซ์ 】แปลว่า: น. การรับส่งโทรพิมพ์ผ่านชุมสายโดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุโทรทัศน์ 】แปลว่า: น. การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ออกอากาศ
โดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุโทรพิมพ์ 】แปลว่า: น. การรับส่งโทรพิมพ์โดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุโทรภาพ 】แปลว่า: น. การรับส่งโทรภาพโดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุโทรเลข 】แปลว่า: น. การรับส่งโทรเลขโดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุโทรศัพท์ 】แปลว่า: น. การเรียกติดต่อโทรศัพท์โดยใช้คลื่นวิทยุ.
【 วิทยุประจำที่ 】แปลว่า: น. วิทยุคมนาคมระหว่าง ๒ จุดที่กำหนดซึ่งอยู่ประจำที่.
【 วิทยุมือถือ 】แปลว่า: น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งมีน้ำหนักเบา
สามารถใช้มือถือในขณะใช้งานได้.
【 วิทยุเรือ 】แปลว่า: น. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมชายฝั่งกับ
สถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคม
ที่ตั้งอยู่บนเรือด้วยกันเอง.
【 วิทยุสนาม 】แปลว่า: น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในงาน
สนามหรือในราชการทหาร.
【 วิทยุสมัครเล่น 】แปลว่า: น. วิทยุคมนาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยุ
สมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายศึกษาหาความรู้ให้ตนเอง
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางพาณิชย์.
【 วิทยุสาธารณะ 】แปลว่า: น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่จัดให้
ประชาชนโดยทั่วไปใช้บริการได้เป็นการสาธารณะ.
【 วิทยุต 】แปลว่า: [วิดทะยุด] น. ฟ้าแลบ, ไฟฟ้า. (ส.; ป. วิชฺชุ).
【 วิทรุมะ 】แปลว่า: [วิดทฺรุมะ] น. แก้วประพาฬสีแดง. (ส. วิทฺรุม).
【 วิทวัส 】แปลว่า: [วิดทะวัด] น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา. (ส.; ป. วิทฺวา).
【 วิทัตถิ 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัด คือ คืบหนึ่ง. (ป.; ส. วิตสฺติ).
【 วิทัศน์ 】แปลว่า: น. การมองการณ์ไกล, วิสัยทัศน์. (อ. vision).
【 วิทารณ์ 】แปลว่า: น. การผ่า, การตัด. (ป., ส.).
【 วิทาลน์ 】แปลว่า: น. การเปิด, การระเบิด; การผ่า, การฉีก. (ป.).
【 วิทิต 】แปลว่า: น. ผู้คงแก่เรียน, ผู้รู้. (ป., ส.).
【 วิทู 】แปลว่า: น. ผู้ฉลาด, ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้ชํานาญ. (ป.).
【 วิทูร ๑ 】แปลว่า: ว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป., ส. วิทุร).
【 วิทูร ๒ 】แปลว่า: ว. ไกล, ห่าง, พ้นออกไป. (ป., ส.).
【 วิเทวษ 】แปลว่า: [ทะเวด] น. ความเป็นข้าศึก, ความเกลียด, ความปองร้าย.
(ส. วิเทฺวษ; ป. วิทฺเทส).
【 วิเทศ 】แปลว่า: น. ต่างประเทศ. (ป., ส.).
【 วิเทศสัมพันธ์ 】แปลว่า: [วิเทด] น. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ.
【 วิเทโศบาย 】แปลว่า: น. นโยบายการต่างประเทศ.
【 วิเทโศบาย 】แปลว่า: /ดู วิเทศ./
【 วิธ, วิธา 】แปลว่า: น. อย่าง, ชนิด. (ป.).
【 วิธวา 】แปลว่า: [วิทะ] น. หญิงม่าย. (ป., ส.).
【 วิธาน 】แปลว่า: น. การจัดแจง, การทํา; กฎ, เกณฑ์, ข้อบังคับ; พิธี, ธรรมเนียม.
(ป., ส.).
【 วิธี 】แปลว่า: น. ทํานองหรือหนทางที่จะทํา เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอน
คณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี;
กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
【 วิธีการ 】แปลว่า: น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น
วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์
มีหลายวิธี.
【 วิธุระ 】แปลว่า: [วิทุ] ว. เปลี่ยว, ว้าเหว่. (ป., ส.).
【 วิธู 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ป., ส. วิธุ).
【 วิธูปนะ 】แปลว่า: [ทูปะนะ] น. พัด. (ป., ส.).
【 วิ่น 】แปลว่า: ว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น
จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง),
มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.
【 วินตกะ 】แปลว่า: [วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น
วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก).
/(ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์)./
【 วินย, วินัย 】แปลว่า: [วินะยะ] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น
วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
【 วินัยธร 】แปลว่า: [วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชํานาญวินัย. (ป.).
【 วินัยปิฎก 】แปลว่า: [วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
【 วินันตู 】แปลว่า: น. น้องเขย. (ช.).
【 วินาที 】แปลว่า: น. ส่วน ๑ ใน ๖๐ ของนาที.
【 วินายก 】แปลว่า: น. ผู้ขจัดสิ่งขัดข้อง, พระวิฆเนศวร; พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
【 วินาศ, วินาศ 】แปลว่า: [วินาด, วินาดสะ] น. ความฉิบหาย. (ส.).
【 วินาศกรรม 】แปลว่า: [วินาดสะกำ] น. การลอบทําลายหรือเผาผลาญ
ทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู
เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อ
ตัดกําลังฝ่ายศัตรูเมื่อทําสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
【 วินาศภัย 】แปลว่า: วินาดสะไพ น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่
พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ
ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
【 วินาศสันตะโร 】แปลว่า: วินาด ว. ความเสียหายป่นปี้ เช่น
รถชนกันวินาศสันตะโร.
【 วินาศสันติ 】แปลว่า: [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก
เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
【 วินิจ 】แปลว่า: ก. ตรวจตรา, พิจารณา.
【 วินิจฉัย 】แปลว่า: ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง,
ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัย
ปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
【 วินิต 】แปลว่า: ก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง.
(ป., ส. วินีต).
【 วินิบาต 】แปลว่า: น. การทําลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์,
เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).
【 วินิปาติก. 】แปลว่า: น. ผู้ตกอยู่ในอบาย, ผู้ถูกทรมาน. (ป.).
【 วิเนต 】แปลว่า: ก. นํา, ชี้, ฝึกหัด, สั่งสอน, อบรม. (ป.).
【 วิโนทก 】แปลว่า: น. ผู้บรรเทา. (ป., ส.).
【 วิบัติ 】แปลว่า: น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น
ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ.
ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).
【 วิบาก 】แปลว่า: น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทําไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก
กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).
【 วิบุล, วิบูล 】แปลว่า: ว. เต็ม, กว้างขวาง, มาก, ใช้ว่า วิบุลย์ หรือ วิบูลย์ ก็มี.
(ป., ส. วิปุล).
【 วิบุลย์, วิบูลย์ 】แปลว่า: /ดู วิบุล, วิบูล./
【 วิปการ, วิประการ 】แปลว่า: [วิปะกาน, วิปฺระกาน] ก. ผิดฐานะ, ไม่เหมาะสม.
(ป. วิปฺปการ; ส. วิปฺรการ ว่า ประทุษร้าย, แก้แค้น).
【 วิปฏิสาร, วิประติสาร 】แปลว่า: [วิบปะติสาน, วิปฺระ] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ,
(ภายหลังที่ได้กระทําผิด หรือเนื่องด้วยการกระทําผิด).
(ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).
【 วิปโยค, วิประโยค 】แปลว่า: [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย,
ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค.
(ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
【 วิประลาป, วิปลาป 】แปลว่า: [วิปฺระลาบ, วิบปะ] น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า; การทุ่มเถียง,
การโต้ตอบ; การอ้อนวอน, การพรํ่าบ่น.
(ป. วิปฺปลาป; ส. วิปฺรลาป).
【 วิประวาส, วิปวาส 】แปลว่า: [วิปฺระวาด, วิบปะ] น. การพลัดพราก, การจากไป, การไปอยู่
ที่อื่น. (ป. วิปฺปวาส; ส. วิปฺรวาส).
【 วิปริต 】แปลว่า: [วิปะหฺริด, วิบปะหฺริด] ก. แปรปรวน, ผิดปรกติ, ผิดแนวทาง,
แปรปรวนไปข้างร้าย, กลับกลายไปข้างร้าย. (ป.; ส. วิปรีต).
【 วิปลาส 】แปลว่า: [วิปะลาด, วิบปะลาด] ก. คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น
สติวิปลาสตัวอักษรวิปลาส สัญญาวิปลาส.
(ป. วิปลฺลาส, วิปริยาส; ส. วิปรฺยาส).
【 วิปักษ์ 】แปลว่า: น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู, ปรปักษ์. (ส.; ป. วิปกฺข).
【 วิปัสสก 】แปลว่า: น. ผู้เห็นแจ้ง. (ป.).
【 วิปัสสนา 】แปลว่า: [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น
แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
【 วิปัสสนาธุระ 】แปลว่า: น. การเรียนวิปัสสนา, คู่กับ คันถธุระ การเรียน
คัมภีร์ปริยัติ. (ป. วิปสฺสนา + ธุร).
【 วิปัสสนายานิก 】แปลว่า: น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ
โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
【 วิพากษ์ 】แปลว่า: ก. พิจารณาตัดสิน. (ส. วิวกฺษา; เทียบ วิวาก ว่า ผู้พิพากษา).
【 วิพากษ์วิจารณ์ 】แปลว่า: ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้
ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
【 วิพิธทัศนา 】แปลว่า: [วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่อง
ในสถานที่แสดงเดียวกัน.
【 วิพุธ 】แปลว่า: น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป., ส.).
【 วิภว 】แปลว่า: [พะวะ] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
【 วิภวตัณหา 】แปลว่า: น. ความปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น. (ป.).
【 วิภังค์ 】แปลว่า: น. การจําแนก, การแบ่ง; ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก.
(ป., ส.).
【 วิภัช, วิภัช 】แปลว่า: [พัด, พัดชะ] ก. แบ่ง, แยก, จําแนก. (ป., ส.).
【 วิภัชพยากรณ์ 】แปลว่า: น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ
หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
【 วิภัชวาที 】แปลว่า: น. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น
โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
【 วิภัตติ 】แปลว่า: [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน
ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น
ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก
จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล
จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
【 วิภา 】แปลว่า: น. รัศมี, แสงสว่าง, ความแจ่มแจ้ง, ความสุกใส, ความงดงาม. (ป., ส.).
【 วิภาค 】แปลว่า: น. การแบ่ง, การจําแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).
【 วิภาช 】แปลว่า: ก. วิภัช.
【 วิภาดา 】แปลว่า: ว. สว่าง. (ป. วิภาตา).
【 วิภาวี 】แปลว่า: น. ผู้รู้แจ้งชัด, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิภาวินฺ).
【 วิภาษ 】แปลว่า: ก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).
【 วิภาส 】แปลว่า: ก. ส่องสว่าง, มีแสงสว่าง. (ส. วิภาสา ว่า แสง).
【 วิภู 】แปลว่า: น. ผู้ครอง, พระเจ้าแผ่นดิน. ว. ยิ่งใหญ่, มีอํานาจ; แข็งแรง. (ป., ส.).
【 วิภูษณะ 】แปลว่า: [วิพูสะ] น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
【 วิภูษา 】แปลว่า: น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสา).
【 วิภูษิต 】แปลว่า: ว. แต่งแล้ว, ประดับแล้ว. (ส.; ป. วิภูสิต).
【 วิเภตก์, วิเภทก์ 】แปลว่า: น. สมอพิเภก. (ป.).
【 วิมน 】แปลว่า: ว. ใจคอวิปริต, เคลือบแคลง; ไม่พอใจ, ไม่สนใจ. (ป.).
【 วิมล 】แปลว่า: ว. ปราศจากมลทิน, ไม่มีตําหนิ, ใส, สะอาด, บริสุทธิ์, กระจ่าง, งาม.
(ป., ส.).
【 วิมลัก 】แปลว่า: วิมะ ว. รักยิ่ง.
【 วิมลาก 】แปลว่า: วิมะ ว. มากยิ่ง.
【 วิมังสา 】แปลว่า: น. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา.
(ป. วีมํสา; ส. มีมําสา).
【 วิมัติ 】แปลว่า: น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป., ส. วิมติ).
【 วิมาน 】แปลว่า: น. ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา; ยานทิพย์. (ป., ส.).
【 วิมุข 】แปลว่า: [มุก] ว. กลับหน้า; เพิกเฉย; ข้างหลัง, ฝ่ายหลัง. (ป., ส.).
【 วิมุต 】แปลว่า: [มุด] ก. พ้น, หลุดพ้น. (ป. วิมุตฺต; ส. วิมุกฺต).
【 วิมุตติ 】แปลว่า: [วิมุด, วิมุดติ] น. ความหลุดพ้น; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน.
(ป.; ส. วิมุกฺติ).
【 วิเมลือง 】แปลว่า: วิมะเลือง ว. สุกใสยิ่ง, งามยิ่ง, อร่ามยิ่ง.
【 วิโมกข์ 】แปลว่า: น. ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก; พระนิพพาน.
(ป.; ส. วิโมกฺษ).
【 วิเยน 】แปลว่า: น. ขันที. (ช.).
【 วิโยค 】แปลว่า: น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).
【 วิร, วิระ 】แปลว่า: [วิระ] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร;
ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
【 วิรงรอง 】แปลว่า: น. พลับพลึง, วิรังรอง ก็ว่า. (ช.).
【 วิรตะ, วิรัต 】แปลว่า: ว. ปราศจากความยินดี, ไม่ยินดี. (ป. วิรตฺต; ส. วิรกฺต).
【 วิรมณะ 】แปลว่า: [วิระมะ] น. การงดเว้น, การตัดความยินดี. (ป.).
【 วิรวะ, วิราวะ 】แปลว่า: [วิระ] น. การร้อง, การเปล่งเสียง, การตะโกน; เสียงเกรียวกราว,
เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
【 วิรังรอง 】แปลว่า: น. พลับพลึง, วิรงรอง ก็ว่า. (ช.).
【 วิรัช ๑ 】แปลว่า: ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด. (ป., ส.).
【 วิรัช ๒ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ต่างประเทศ. (ป. วิรชฺช).
【 วิรัติ 】แปลว่า: [รัด] ก. งดเว้น, เลิก. น. การงดเว้น, การเลิก, เช่น มังสวิรัติ
สุราวิรัติ. (ป., ส. วิรติ).
【 วิราคะ 】แปลว่า: น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน.
(ป., ส.).
【 วิราม 】แปลว่า: ว. งาม.
【 วิริยภาพ 】แปลว่า: น. ความเพียร, ความบากบั่น; ความกล้า.
【 วิริยะ 】แปลว่า: น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น
วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
【 วิรุธ 】แปลว่า: ว. พิรุธ. (ป., ส.).
【 วิรุฬห์ 】แปลว่า: ว. เจริญ, งอกงาม. (ป.; ส. วิรูฒ).
【 วิรุฬหก 】แปลว่า: [รุนหก] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศทักษิณ. (ป.).
【 วิรูป 】แปลว่า: ว. น่าเกลียด, พิการ, ไม่น่าดู. (ป., ส.).
【 วิรูปักษ์ 】แปลว่า: น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศประจิม. (ป. วิรูปกฺข).
【 วิเรนทร์ 】แปลว่า: น. จอมนักรบ, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. วีร + อินฺทฺร).
【 วิโรค 】แปลว่า: ว. ไม่เจ็บไข้, ปราศจากโรค. (ป.).
【 วิโรจ, วิโรจน์ 】แปลว่า: ว. สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง. (ป., ส.).
【 วิโรฒ 】แปลว่า: ว. งอกงาม. (ส. วิรูฒ; ป. วิรุฬฺห).
【 วิโรธ 】แปลว่า: น. พิโรธ.
【 วิลย, วิลัย 】แปลว่า: [วิละยะ, วิไล] น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทําให้สลาย.
(ป., ส.).
【 วิลันดา 】แปลว่า: น. ชาวดัตช์, ชาวฮอลันดา. (ม.).
【 วิลาด, วิลาศ 】แปลว่า: ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียก
ชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด
ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
【 วิลาป 】แปลว่า: ก. พิลาป. (ป., ส.).
【 วิลาวัณย์ 】แปลว่า: ว. งามยิ่ง, งามเลิศ. (ส. วิ + ลาวณฺย).
【 วิลาส 】แปลว่า: ว. พิลาส, งามมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส. (ป., ส.).
【 วิลาสินี 】แปลว่า: ว. งามอย่างสดใส, งามมีเสน่ห์ เช่น อันว่าเจ้ามัทรีวิลาสินีนงราม.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส.).
【 วิลิปดา 】แปลว่า: น. พิลิปดา.
【 วิลิศมาหรา 】แปลว่า: (ปาก) ว. หรูหรา เช่น แต่งตัววิลิศมาหรา.
【 วิเลป, วิเลป, วิเลปนะ 】แปลว่า: [วิเลบ, วิเลปะ, วิเลปะนะ] น. การทา, การลูบไล้; เครื่องลูบไล้.
(ป., ส.).
【 วิโลก, วิโลกนะ 】แปลว่า: [วิโลกะนะ] ก. แลดู, ตรวจตรา. (ป., ส.).
【 วิโลจนะ 】แปลว่า: [วิโลจะนะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
【 วิโลม 】แปลว่า: ว. ย้อนขน, ทวนกลับ, ผิดธรรมดา. (ป., ส.).
【 วิไล 】แปลว่า: ว. งาม เช่น งามวิไล.
【 วิไลวรรณ 】แปลว่า: น. สีงาม, ผิวงาม.
【 วิวรณ์ 】แปลว่า: น. การเปิด, การเผยแผ่, การไขความ. (ป., ส.).
【 วิวรรธน์ 】แปลว่า: น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ.
(ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
【 วิวระ 】แปลว่า: [วะ] น. ช่อง, ปล่อง, เหว, รู, โพรง; ความผิด. (ป., ส.).
【 วิวัฏ 】แปลว่า: น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
【 วิวัฒน, วิวัฒน์ 】แปลว่า: [วัดทะนะ, วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลาย
ไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
【 วิวัฒนาการ 】แปลว่า: [วิวัดทะนากาน] น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือ
คลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการ
แห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม.
【 วิวัฒนาการ 】แปลว่า: /ดู วิวัฒน, วิวัฒน์./
【 วิวัน 】แปลว่า: น. ที่เปล่าเปลี่ยว. (ป.).
【 วิวาท 】แปลว่า: ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น
ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
【 วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ 】แปลว่า: [วิวาหะ] น. “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่
ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล,
เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้,
การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย
หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง
ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
【 วิวาหมงคล 】แปลว่า: น. พิธีแต่งงาน, งานสมรส, เช่น ขอเชิญหลั่งน้ำ
พระพุทธมนต์ในงานวิวาหมงคล.
【 วิวิจ 】แปลว่า: ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิจฺจ).
【 วิวิต 】แปลว่า: ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิตฺต, ส. วิวิกฺต).
【 วิวิธ 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส.).
【 วิเวก 】แปลว่า: ว. เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ,
เช่น อยู่ในวิเวก รู้สึกวิเวกวังเวงใจ. (ป.).
【 วิศรุต 】แปลว่า: [วิดสะรุด] ว. มีชื่อเสียง, ปรากฏ. (ส. วิศฺรุต; ป. วิสฺสุต).
【 วิศว 】แปลว่า: [วิดสะวะ] ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. (ส. วิศฺว; ป. วิสฺส).
【 วิศวกร 】แปลว่า: [วิดสะวะกอน] น. ผู้ประกอบงานวิศวกรรม.
【 วิศวกรรม 】แปลว่า: [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง
ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
(ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
【 วิศวกรรมศาสตร์ 】แปลว่า: [วิดสะวะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนํา
ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้
มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล.
(อ. engineering).
【 วิศัลย์ 】แปลว่า: ว. ปราศจากความเสียดแทง, ไม่ทุกข์ร้อน. (ส.; ป. วิสลฺล).
【 วิศาข, วิศาขะ, วิศาขา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปี
อธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
【 วิศาขบูชา 】แปลว่า: น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวัน
ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.
(ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
【 วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ 】แปลว่า: น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง
หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก.
(ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
【 วิศางค์ 】แปลว่า: น. ๑ ใน ๒๐ ของเฟื้อง. (ส. วีศ + องฺค).
【 วิศาล 】แปลว่า: ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ส.; ป. วิสาล).
【 วิศิษฏ์ 】แปลว่า: ว. เลิศ, ยอดเยี่ยม, เด่น, ดียิ่ง, ประเสริฐ. (ส. วิศิษฺฏ; ป. วิสิฏฺ?).
【 วิศุทธ์, วิศุทธิ์ 】แปลว่า: ว. วิสุทธ์, วิสุทธิ์. (ส.; ป. วิสุทฺธ, วิสุทฺธิ).
【 วิเศษ 】แปลว่า: ว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทาง
วิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว,
เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).
【 วิเศษณ, วิเศษณ์ 】แปลว่า: วิเสสะนะ, วิเสด น. คําจําพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคํานาม
คํากริยา หรือคําวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น
คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
【 วิเศษณการก 】แปลว่า: วิเสสะนะ น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น
บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ
บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน
ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
【 วิษณุ 】แปลว่า: [วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).
【 วิษณุมนตร์ 】แปลว่า: น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุเวท ก็ว่า.
【 วิษณุโลก 】แปลว่า: น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. (ส.).
【 วิษณุเวท 】แปลว่า: น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุมนตร์ ก็ว่า. (ส.).
【 วิษณุกรรม 】แปลว่า: น. พระวิศวกรรม, วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
【 วิษธร 】แปลว่า: [วิสะทอน] น. งูพิษ. (ส.).
【 วิษักต์ 】แปลว่า: ว. ติดอยู่, พันอยู่, พัวพัน. (ส.; ป. วิสตฺต).
【 วิษัย 】แปลว่า: น. วิสัย. (ส.).
【 วิษาณ 】แปลว่า: น. เขาสัตว์, งาช้าง. (ส.; ป. วิสาณ).
【 วิษุวัต 】แปลว่า: (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง
โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ
ศารทวิษุวัต. (ส. ว่า มีในกึ่งกลาง; อ. equinox).
【 วิสกี้ 】แปลว่า: น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเมล็ดธัญพืชบางชนิด. (อ. whisky).
【 วิสม 】แปลว่า: [สะมะ] ว. ไม่เรียบ, ไม่เสมอ, ขรุขระ, ไม่เท่ากัน. (ป., ส.).
【 วิสย, วิสัย 】แปลว่า: [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร
ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น
คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
【 วิสรรชนีย์ 】แปลว่า: [วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร.
(ส. วิสรฺชนีย).
【 วิสฤต 】แปลว่า: [วิสฺริด] ว. แผ่ไป, แผ่ซ่าน, กระจาย. (ส.).
【 วิสสุกรรม 】แปลว่า: น. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม
ก็เรียก.
【 วิสัชนา 】แปลว่า: [วิสัดชะนา] ก. ตอบ, ชี้แจง, เช่น ขอวิสัชนาดังนี้. (ป. วิสชฺชนา).
【 วิสัญญี 】แปลว่า: ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้า
ฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด
(ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
【 วิสัญญีแพทย์ 】แปลว่า: น. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ.
【 วิสัญญีภาพ 】แปลว่า: น. ความหมดความรู้สึก, ความสิ้นสติ, เช่น
ถึงซึ่งวิสัญญีภาพ.
【 วิสัญญีวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาที่ว่าด้วยการให้ยาชาและยาสลบ.
【 วิสัยทัศน์ 】แปลว่า: น. การมองการณ์ไกล, วิทัศน์. (อ. vision).
วิสาข, วิสาขะ ๒, วิสาขา [วิสาขะ] น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ
ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ป.).
【 วิสาขบูชา 】แปลว่า: น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้
และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. (ป.).
【 วิสามัญ 】แปลว่า: ว. ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ
ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
【 วิสามัญฆาตกรรม 】แปลว่า: วิสามันคาดตะกํา น. ฆาตกรรมที่ผู้ตาย
ถูกซึ่งเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่า
ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ
ราชการตามหน้าที่.
【 วิสามานยนาม 】แปลว่า: วิสามานยะนาม น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ
เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร
เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
【 วิสาร 】แปลว่า: น. การขยาย, การเผยแผ่. (ส.).
【 วิสารทะ 】แปลว่า: [ระ] ว. แกล้วกล้า, ชํานาญ, ฉลาด. (ป.).
【 วิสาล 】แปลว่า: ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ป.; ส. วิศาล).
【 วิสาสะ 】แปลว่า: น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น
หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น
ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
【 วิสาหกิจ 】แปลว่า: [วิสาหะกิด] น. การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน
หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย.
【 วิสิฐ 】แปลว่า: ว. วิศิษฏ์. (ป. วิสิฏฺ?; ส. วิศิษฺฏ).
【 วิสุงคามสีมา 】แปลว่า: [คามมะ] น. เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้าง
พระอุโบสถ.
【 วิสุทธ์, วิสุทธิ์ 】แปลว่า: ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน.
(ป.; ส. วิศุทฺธ, วิศุทฺธิ).
【 วิสูตร 】แปลว่า: สูด น. ม่าน.
【 วิเสท 】แปลว่า: [เสด] น. ผู้ทํากับข้าวของหลวง.
【 วิหค, วิหงค์ 】แปลว่า: น. นก. (ป. วิหค, วิหงฺค; ส. วิหค, วิหํค).
【 วิหลั่น 】แปลว่า: น. ค่ายที่ทําให้ขยับลุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ.
【 วิหายสะ 】แปลว่า: [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
【 วิหาร, วิหาร 】แปลว่า: [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน
ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
【 วิหารแกลบ 】แปลว่า: [แกฺลบ] น. วิหารเล็ก ๆ.
【 วิหารคด 】แปลว่า: น. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลัง
เดียวก็ได้โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป,
สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.
【 วิหารทิศ 】แปลว่า: น. วิหารที่สร้างออกมาทั้ง ๔ ด้านของพระสถูปหรือ
พุทธเจดีย์ เช่น วิหารทิศวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กรุงเทพมหานคร, วิหารที่อยู่ตรงกลางของพระระเบียง
ทั้ง ๔ ด้าน เช่น วิหารทิศวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม.
【 วิหารธรรม 】แปลว่า: [วิหาระทํา] น. ธรรมประจําใจ.
【 วิหารยอด 】แปลว่า: น. วิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่าง ๆ, ถ้ายอดทรงเจดีย์
เรียกว่า วิหารยอดเจดีย์,”; ถ้ายอดทรงปรางค์ เรียกว่า วิหารยอดปรางค์.
【 วิหารราย 】แปลว่า: น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน
พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้
วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
กรุงเทพมหานคร.
【 วิหารหลวง 】แปลว่า: น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระ
ปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตําบลเชลียง อําเภอ
ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
【 วิหิงสะ, วิหิงสา, วิเหสา 】แปลว่า: น. ความเบียดเบียน; การทําร้าย. (ป. วิหึสา, วิเหสา; ส. วิหึส).
【 วิฬังค์ 】แปลว่า: น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสําหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
【 วิฬาร, วิฬาร์ 】แปลว่า: น. แมว. (ป.).
【 วี ๑ 】แปลว่า: ก. พัด, โบก.
【 วี ๒ 】แปลว่า: /ดู หมอตาล ที่ หมอ ๒./
【 วีจิ 】แปลว่า: น. คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส.).
【 วีชนี 】แปลว่า: [วีชะนี] น. วิชนี, พัด. (ป.; ส. วีชน).
【 วีณา 】แปลว่า: น. พิณ. (ป., ส.).
【 วี้ด 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 วีต 】แปลว่า: [วีตะ] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น
เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).
【 วีร 】แปลว่า: [วีระ] ว. กล้าหาญ. (ป., ส.).
【 วีรกรรม 】แปลว่า: [วีระกำ] น. การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ,
การกระทําของผู้กล้าหาญ.
【 วีรชน 】แปลว่า: [วีระชน] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
【 วีรบุรุษ 】แปลว่า: [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
(ส. วีรปุรุษ).
วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
【 วี่วัน 】แปลว่า: น. วัน.
【 วี่แวว 】แปลว่า: น. เค้าเงื่อนตามที่แว่วมา, ร่องรอย, เช่น ของหายไปไม่มีวี่แวว.
【 วีสะ 】แปลว่า: ว. ยี่สิบ. (ป.; ส. วีศ).
【 วุ้ง 】แปลว่า: ว. เว้าเป็นเวิ้งเข้าไป.
【 วุฐิ 】แปลว่า: [วุดถิ] น. ฝน. (ป. วุฏฺ??; ส. วฺฤษฺฏิ).
【 วุฒ 】แปลว่า: [วุด] ว. เจริญแล้ว; สูงอายุ. (ป. วุฑฺฒ; ส. วฺฤทฺธ).
【 วุฒิ, วุฒิ 】แปลว่า: [วุดทิ] น. ภูมิรู้; ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่.
(ป. วุฑฺฒิ; ส. วฺฤทฺธิ).
【 วุฒิบัตร 】แปลว่า: น. เอกสารแสดงวุฒิทางการศึกษา, มักใช้กับการศึกษาอบรม
ระยะเวลาสั้น ๆ.
【 วุฒิสภา 】แปลว่า: (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับสภา
ผู้แทนราษฎรแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) วุฒิสภาประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน ๒๐๐ คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง
โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรอง
กฎหมายควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจหน้าที่อื่น
ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ.
【 วุฒิสมาชิก 】แปลว่า: (ปาก) น. สมาชิกวุฒิสภา.
【 วุด 】แปลว่า: ก. เป่าชุดให้ไฟลุก, ฮุด ก็ว่า.
【 วุธวาร 】แปลว่า: [วุดทะวาน] น. วันพุธ.
【 วุ่น 】แปลว่า: ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน
เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ
อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา,
ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน.
วุ่นเป็นจุลกฐิน จุนละกะถิน ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง
ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
【 วุ่นวาย 】แปลว่า: ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ
เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย;
ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง.
น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
【 วุ้น 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว
ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ
หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
【 วุ้นชา 】แปลว่า: น. วุ้นนํ้าเชื่อม.
【 วุ้นตาวัว 】แปลว่า: น. ชื่อวุ้นหวานชนิดหนึ่ง หยอดในถ้วยตะไล มีไส้ทำด้วย
ถั่วกวนปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง.
【 วุ้นเส้น 】แปลว่า: . แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ
แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน,
เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
【 วุบ 】แปลว่า: ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน
ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
【 วุ้ย 】แปลว่า: อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น
(โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ.
【 วุลแฟรม 】แปลว่า: น. ทังสเตน. (อ. wolfram).
【 วู้ 】แปลว่า: ว. เสียงกู่เรียกหรือขานรับอย่างดัง.
【 วูดวาด 】แปลว่า: ว. โดยเร็วและแรง (ใช้แก่อาการของลมพัดเป็นต้น).
【 วูบ 】แปลว่า: ก. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ตะเกียงดับวูบ ร้อนวูบ เย็นวูบ,
โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลบวูบ
ใจหายวูบ.
【 วูบวาบ 】แปลว่า: ว. ระยับตา เป็นอาการของแสงหรือเงามันที่ปรากฏแล้ว
หายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น เสื้อปักเลื่อมดูวูบวาบไป
ทั้งตัว.
【 วู่วาม 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือทำอย่างรีบร้อนโดยไม่ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อน,
ขาดสติ, หุนหันพลันแล่น, เช่น อารมณ์วู่วาม ทำไปอย่างวู่วาม.
【 เว้ 】แปลว่า: ก. เถลไถล.
【 เวค 】แปลว่า: น. ความเร็ว. (ป., ส.).
【 เวคิน, เวคี 】แปลว่า: น. ผู้มีความเร็ว, ผู้เดินเร็ว. (ส. เวคินฺ; ป. เวคี).
【 เวจ, เวจ 】แปลว่า: [เว็ด, เว็ดจะ] น. ที่ถ่ายอุจจาระ. (ป. วจฺจ).
【 เวจกุฎี 】แปลว่า: น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), วัจกุฎี ก็เรียก.
(ป. วจฺจกุฏิ).
【 เวจมรรค 】แปลว่า: น. ทวารหนัก, วัจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
【 เวช, เวช 】แปลว่า: [เวด, เวดชะ] น. หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).
【 เวชกรรม 】แปลว่า: น. การรักษาโรค.
【 เวชภัณฑ์ 】แปลว่า: [เวดชะพัน] น. สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับ
การแพทย์.
【 เวชศาสตร์ 】แปลว่า: [เวดชะสาด] น. ชื่อตํารารักษาโรคแผนโบราณ,
วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา.
【 เวชยันต์ 】แปลว่า: [เวดชะ] น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. (ป.; ส. ไวชยนฺต).
【 เวฐน์ 】แปลว่า: น. ผ้าโพก, ผ้าพันศีรษะ. (ป. เว?น; ส. เวษฺฏน).
【 เวณะ 】แปลว่า: น. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).
【 เวณิ 】แปลว่า: น. ผมซึ่งถักปล่อยไว้. (ป., ส.).
【 เวณิก 】แปลว่า: น. คนดีดพิณ. (ป.; ส. ไวณิก).
【 เวณุ 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่. (ส.; ป. เวณุ, เวฬุ).
【 เวณุวัน 】แปลว่า: น. ป่าไผ่. (ส. เวณุวน; ป. เวฬุวน).
【 เวตน์ 】แปลว่า: น. สินจ้าง. (ป., ส.).
【 เวตร 】แปลว่า: [เวด] น. หวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).
【 เวตาล 】แปลว่า: น. ผีจําพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า. (ส. เวตาล ว่า นักปราชญ์ที่
ไม่ได้ถ่ายวิชาให้ใคร ตายไปแล้วเป็นผีชนิดนี้).
【 เวท, เวท 】แปลว่า: [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก
ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม
ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย
ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ
มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น
พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท
ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ
สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย
๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์
ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี
๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก
ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท
หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน
หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล
หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก
เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท
เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก
ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท
มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ
คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
【 เวทคู 】แปลว่า: [เวทะคู] น. ผู้บรรลุถึงซึ่งความรู้ คือ พระอรหันต์. (ป.).
【 เวทมนตร์ 】แปลว่า: [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ
ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง,
บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์
คาถาล่องหนหายตัวได้.
【 เวทนา ๑ 】แปลว่า: [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด,
ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
【 เวทนา ๒ 】แปลว่า: [เวดทะ] ก. สังเวชสลดใจ เช่น เรามักเวทนาผู้เคราะห์ร้าย
เด็กคนนี้น่าเวทนา.
【 เวทย์ 】แปลว่า: ว. พึงรู้, ควรรู้. (ส.).
【 เวทัลละ 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า
นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
【 เวทางค์, เวทางคศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก
เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ
ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ
วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
【 เวทานต์, เวทานตะ 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง
คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้น
อยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์
คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).
【 เวทิ, เวที ๑ 】แปลว่า: น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น
สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
【 เวที ๒ 】แปลว่า: น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป.; ส. เวทินฺ).
【 เวธะ 】แปลว่า: น. การเจาะ, การแทง. (ป., ส.).
【 เวน 】แปลว่า: ก. มอบหรือย้ายโอนในอาการที่สละกรรมสิทธิ์ซึ่งมีอยู่ในขณะนั้น
เช่น เวนหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบคนต่อไป เวนราชสมบัติ.
【 เวนคืน 】แปลว่า: ก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชน
มาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.
【 เว้น 】แปลว่า: ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง
กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์
วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้
ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง
กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
【 เว้นช่องไฟ 】แปลว่า: ก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว.
【 เว้นแต่ 】แปลว่า: สัน. นอกจาก, ยกเว้น, เช่น ฉันจะไป เว้นแต่ฝนตก.
【 เว้นวรรค 】แปลว่า: ก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.
【 เวนไตย 】แปลว่า: น. ครุฑ. (ป. เวนเตยฺย; ส. ไวนเตย).
【 เวไนย 】แปลว่า: น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น
จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
【 เวมะ 】แปลว่า: น. เครื่องทอผ้า. (ป.).
【 เวมัต 】แปลว่า: น. ความต่าง, ความแปลกไป. (ป. เวมตฺต).
【 เวมัติก 】แปลว่า: [มัดติกะ] ว. สงสัย, ไม่แน่ใจ, ลังเล. (ป.).
【 เวมาติก 】แปลว่า: น. ผู้ต่างมารดา. (ป.).
【 เว้ย 】แปลว่า: ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน
ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย
ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง
ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย,
โว้ย ก็ว่า.
【 เวยยากรณะ 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า
นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
【 เวร ๑ 】แปลว่า: น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่น เวรย่อมระงับด้วยการ
ไม่จองเวรคําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรม
ของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน,
กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
【 เวรกรรม 】แปลว่า: [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน;
คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน
อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่,
กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
【 เวร ๒ 】แปลว่า: น. รอบผลัดในหน้าที่การงาน เช่น วันนี้เวรฉันทำความสะอาดห้อง.
【 เวรมณี 】แปลว่า: [ระมะนี] น. การงดเว้น, การละเว้น. (ป.).
【 เวรี 】แปลว่า: น. คนจองเวรกัน, ศัตรู. (ป.; ส. ไวรี).
【 เวโรจน์ 】แปลว่า: น. ความรุ่งเรือง, ความสุกใส. (ป.; ส. ไวโรจน).
【 เวลา 】แปลว่า: น. ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกําหนดขึ้นเป็น
ครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง ขอเวลา
สักครู่. (ป., ส.).
【 เวเลนซี 】แปลว่า: (เคมี) น. จํานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายออกจากอะตอม
ของธาตุหนึ่งเข้าสู่อะตอมอื่น หรือที่ใช้ร่วมกับอะตอมอื่น.
(อ. valency).
【 เววัณ 】แปลว่า: ว. ต่างวรรณะกัน. (ป. วิวณฺณ, เววณฺณ; ส. วิวรฺณ).
【 เววัณณิยะ 】แปลว่า: น. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิต
ส่วนกลางของริมฝีปากบนและล่างมีแผ่นเนื้อขนาดใหญ่ พบตาม
แหล่งนํ้าใหญ่และนํ้าใสไหลผ่านกรวดทราย ขนาดยาวได้ถึง
๕๐ เซนติเมตร, ยาด ก็เรียก.
【 เวียร 】แปลว่า: ก. เพียร.
【 เวี่ยว 】แปลว่า: (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ย ก็ว่า.
【 แว้ 】แปลว่า: ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พอแว้ออกมาก็มีเงินเป็นล้าน
แล้ว, อุแว้ ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า เกิด เช่น พอหลานแว้
ออกมา ย่าก็ดีอกดีใจ. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น
เสียงลูกร้องแว้, อุแว้ ก็ว่า.
【 แวง ๑ 】แปลว่า: ว. ยาว, แถว; เรียกเส้นลองจิจูดว่า เส้นแวง. (ข.).
【 แวง ๒ 】แปลว่า: น. ดาบ.
【 แวง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ต้นปรือ. /[ดู ปรือ ๑ (๑)]./
【 แวง ๔ 】แปลว่า: ก. ล้อมวง.
【 แว้ง 】แปลว่า: ก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทําร้าย
เป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิดจระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.
【 แว้งกัด 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอี้ยวตัวหรือคอไปกัดโดยเร็ว เช่น หมาแว้งกัด,
โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อุตส่าห์อุปถัมภ์
คํ้าชูมาตั้งแต่เล็ก ยังแว้งกัดได้.
【 แวด 】แปลว่า: ก. เฝ้า, ระวัง, รักษา.
【 แวดล้อม 】แปลว่า: ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล
สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น
มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น.
ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
【 แว้ด 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. (ปาก) ก. ขึ้นเสียง เช่น
พูดด้วยดี ๆ กลับมาแว้ดใส่อีก.
【 แวดวง 】แปลว่า: (ปาก) น. วงการ, กลุ่มที่สังกัดอยู่, เช่น ในแวดวงนักการเมือง
ในแวดวงนักธุรกิจ.
【 แวตร 】แปลว่า: [แวด] น. ไม้ถือที่ทําด้วยหวาย. (ส. เวตฺร; ป. เวตฺต).
【 แวน 】แปลว่า: (โบ) ก. อยู่เวร, ประจําเวร.
【 แว่น ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น,
ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ
เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ
เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน
เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว
แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น
ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม
เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด
๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น
แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
【 แว่นแก้ว 】แปลว่า: น. แผ่นแก้วกระจกใช้ส่องขยายให้เห็นชัด.
【 แว่นขยาย 】แปลว่า: น. เลนส์นูนที่มีระยะโฟกัสสั้น ใช้สําหรับส่องดูให้เห็น
เป็นภาพขยาย.
【 แว่นแคว้น 】แปลว่า: น. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้น
ตะนาวศรี “ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น. (อิเหนา).
【 แว่นตา 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วย
ให้แลเห็นชัดขึ้นเป็นต้น.
【 แว่นฟ้า 】แปลว่า: น. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่น
แว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ
กระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม
อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพาน
เล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.
【 แว่นเวียนเทียน 】แปลว่า: น. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง
หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติด
เทียน มีด้ามถือ.
【 แว่นส่องหน้า 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน
สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
【 แว่น ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อเฟินชนิด /Marsilea crenata/ Presl ในวงศ์ Marsileaceae
มีใบกลม ๔ ใบเรียงเป็นวงทุกส่วนกินได้ เรียกว่า ผักแว่น. (๒)
(ถิ่นตราด) ต้นบัวบก. /[ดู บัวบก (๑)]./
【 แว่น ๓ 】แปลว่า: ก. กระโดด, ว่องไว; มา เช่น ผิว่าแว่นเร็วอ้า. (ลอ).
【 แว่นไว 】แปลว่า: ก. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
【 แวนดา 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้ในสกุล/ Vanda /วงศ์ Orchidaceae เช่น เอื้องสามปอย
(/V. denisoniana/ Bens. et Rchb.f.).
【 แวบ, แว็บ 】แปลว่า: ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก
รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ
ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ
เดียวจะกลับแล้วหรือ.
【 แวบวับ 】แปลว่า: ว. อาการที่แสงสว่างปรากฏอยู่ชั่วแว็บเดียวแล้วก็หายไป
และปรากฏขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องกัน เช่น ไฟจากป้ายโฆษณามีแสง
แวบวับ แสงดาวแวบวับอยู่บนท้องฟ้า.
【 แวม ๆ, แว็ม ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น
แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด.
【 แวว 】แปลว่า: ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด
เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น
ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น
นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด
เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้
แกะสลักปิดทอง.
【 แววตา 】แปลว่า: น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว
หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า
รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว
ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก
ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 แวววาม, แวววาว 】แปลว่า: ก. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น เพชรเม็ดนี้
มีน้ำงาม มีแสงแวววาว, วาวแวว ก็ว่า.
【 แววหัวตัวหนังสือ 】แปลว่า: น. หัวของพยัญชนะไทยบางตัวที่มีลักษณะเป็น
วงกลม เช่นหัวตัว ค ด ง ถ.
【 แววหางนกยูง 】แปลว่า: น. ตอนปลายของหางนกยูงที่เป็นวงกลม ๆ
มีลักษณะเป็นแสงสีสันเลื่อมเป็นมัน.
【 แว่ว 】แปลว่า: ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น,
ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
【 แวววิเชียร 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Angelonia goyazensis/ Benth. ในวงศ์
Scrophulariaceae ใบเรียวยาว ดอกออกตามง่ามใบ มีสีต่าง ๆ
เช่น ม่วงแก่ ม่วงอ่อน ขาว ใบและดอกมีกลิ่น.
【 แวะ 】แปลว่า: ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง
คนโดยสาร.
【 แวะเวียน 】แปลว่า: ก. แวะมาบ่อย ๆ, วนเวียน, เช่น เขาชอบแวะเวียนอยู่แถว
ร้านกาแฟ.
【 โว 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดโอ้อวด เช่น โวมากไปหน่อยแล้ว. ว. โอ้อวด เช่น คุยโว.
【 โว่ 】แปลว่า: ว. เป็นช่องเป็นรูที่แลเห็นลึกหรือทะลุ เช่น หม้อทะลุเป็นรูโว่
กางเกงถูกบุหรี่จี้ขาดโว่, โหว้ ก็ใช้.
【 โวการ 】แปลว่า: น. ขันธ์ เช่น เบญจโวการ ว่า ขันธ์ ๕. (ป.).
【 โว่ง 】แปลว่า: ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ
แล้วคอโว่ง.
【 โวทาน 】แปลว่า: น. การทําให้สะอาด; ความบริสุทธิ์. (ป.).
【 โวย 】แปลว่า: (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด
เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น
เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย
เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
【 โวยวาย 】แปลว่า: ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่
พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย.
ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ
เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย
ก็ว่า.
【 โว้ย 】แปลว่า: ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน
ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย
ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง
ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย,
เว้ย ก็ว่า.
【 โว้เว้ 】แปลว่า: ก. พูดเสียงเอ็ดอึง, พูดหาเรื่อง, พูดเหลวไหล; ทําเหลวไหล.
【 โวสาน 】แปลว่า: น. อวสาน, ที่สุด, จบ. (ป.).
【 โวหาร 】แปลว่า: น. ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่
เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร.
(ป.).
【 ไว, ไว ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทําสิ่งใดได้
คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ
เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้
คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว.
【 ไวไฟ 】แปลว่า: ว. ที่ติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก เช่น น้ำมันไวไฟ,
โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความประพฤติหละหลวมในทางชู้สาว
มีลักษณะดังสิ่งไวไฟ.
【 ไว้ 】แปลว่า: ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น
แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้
ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้
ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
【 ไว้เกียรติ 】แปลว่า: ก. รักษาเกียรติ, ให้เกียรติดำรงอยู่.
【 ไว้ใจ 】แปลว่า: ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน
ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
【 ไว้ชีวิต 】แปลว่า: ก. ให้มีชีวิตอยู่ต่อไป, ปล่อยให้รอดชีวิต, เช่น ราชสีห์ไว้ชีวิตหนู.
【 ไว้ชื่อ 】แปลว่า: ก. แสดงความรู้ความสามารถเป็นการฝากชื่อเสียงไว้ให้ปรากฏ
เช่น ชาติชายต้องไว้ชื่อ.
【 ไว้เชิง 】แปลว่า: ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย.
【 ไว้ตัว 】แปลว่า: ก. สงวนฐานะและเกียรติยศของตนให้เหมาะให้ควร เช่น
แม้จะยากจนลงก็ต้องไว้ตัวอยู่ เป็นสตรีควรไว้ตัว, ถือตัว เช่น ไว้ตัว
ว่าเป็นลูกเศรษฐี ไม่คบคนทั่วไป.
【 ไว้ท่า 】แปลว่า: ก. ทำท่าทางเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
หรือมีเกียรติสูง.
【 ไว้ทุกข์ 】แปลว่า: ก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยม
ว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น
ไว้ทุกข์ให้พ่อ.
【 ไว้ธุระ 】แปลว่า: ก. รับทำงานเอง เช่น เรื่องนี้ไว้ธุระฉันเถอะ จะจัดการให้เอง,
มอบงานให้ผู้อื่นทำ เช่น เรื่องอาหารไว้ธุระคุณนะ.
【 ไว้เนื้อเชื่อใจ 】แปลว่า: ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขา
เถอะเขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อ
เชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.
【 ไว้ฝีมือ 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงความสามารถในด้านศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นการฝากฝีมือไว้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบบ้านอย่างไว้ฝีมือ
วาดภาพอย่างไว้ฝีมือ.
【 ไว้ภูมิ 】แปลว่า: ก. ทำท่าเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้สูง.
【 ไว้ยศ 】แปลว่า: ก. รักษายศรักษาเกียรติ.
【 ไว้ลาย 】แปลว่า: ก. แสดงความกล้าหาญหรือความสามารถอันเป็นลักษณะ
พิเศษของตนฝากไว้ให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย.
【 ไว้หน้า 】แปลว่า: ก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอาย
ขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง
ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.
【 ไว้เหลี่ยมไว้คู 】แปลว่า: ก. แสดงชั้นเชิงอย่างคมคาย เช่น จะเป็นนักเลง
ต้องไว้เหลี่ยมไว้คูบ้าง.
【 ไว้อาลัย 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงความระลึกถึงเพราะมีใจผูกพันกับผู้ที่
จากไป เช่น ยืนไว้อาลัย กล่าวคำไว้อาลัย.
【 ไวกูณฐ์ 】แปลว่า: น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.);
(โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป
ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 ไวฑูรย์ 】แปลว่า: น. ไพฑูรย์.
【 ไวทย์ 】แปลว่า: น. แพทย์. (ส.).
【 ไวพจน์ 】แปลว่า: น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก
เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ
ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา
ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง
เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส
โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
【 ไวน์ 】แปลว่า: น. เหล้าองุ่น (อ. wine).
【 ไวยากรณ์ 】แปลว่า: น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น
ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์,
วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
【 ไวยาวัจกร 】แปลว่า: [วัดจะกอน] น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต
และมีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้า
อาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. (ป. เวยฺยาวจฺจกร).
【 ไวยาวัจมัย 】แปลว่า: [วัดจะไม] ว. ที่สําเร็จด้วยการขวนขวายช่วยเหลือ (ใช้แก่บุญ).
(ป. เวยฺยาวจฺจมย).
【 ไวรัส 】แปลว่า: น. เชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้อง
จุลทรรศน์ธรรมดา ไม่จัดเป็นเซลล์ มีทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค
เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง. (อ. virus).
【 ไวรัสคอมพิวเตอร์ 】แปลว่า: น. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่
สามารถแพร่ไปสู่โปรแกรมอื่น ๆ ด้วยการสำเนาตัวเองไปไว้ใน
โปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งอาจทำความเสียหายแก่โปรแกรมหรือ
แฟ้มข้อมูล.
【 ไววรรณ 】แปลว่า: น. สีจาง, สีซีด. (ส. วิวรฺณ).
【 ไวษณพ 】แปลว่า: [ไวสะนบ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในศาสนาฮินดู นับถือพระวิษณุหรือ
พระนารายณ์ว่าเป็นใหญ่กว่าเทพใด ๆ ในกลุ่มตรีมูรติ.
(ส. ไวษฺณว).
【 ไวโอลิน 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีจําพวกซอฝรั่งอย่างเล็ก มี ๔ สาย และมีคันชัก
สําหรับสี. (อ. violin).

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!