【 ต 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกด
ในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น
จิต เมตตา ฟุต.
【 ตก 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง
เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง
มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก
เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด
เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น
มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู
หนาว; เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก
แดดเป็นต้นว่า สีตก; ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก;
มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว;ขาดหายไป
เช่น เขียนหนังสือตก; เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ;
ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร
เช่น ตกรถตกเรือ; เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา
เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ
เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง; โดยปริยายหมาย
ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ
หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ
เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
【 ตกกระ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะเป็นจุดดํา ๆ เล็กบ้างโตบ้างที่ผิวกายคน สัตว์ หรือ
สิ่งอื่น ๆ.
【 ตกกระไดพลอยโจน 】แปลว่า: (สํา) จําเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อไม่มีทางเลี่ยง.
【 ตกขอบ 】แปลว่า: ว. ที่สุดข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ขวาตกขอบ, เต็มที่ เช่น ฮาตกขอบ.
【 ตกขาว 】แปลว่า: น. โรคระดูขาว, มุตกิด ก็เรียก.
【 ตกข่าว 】แปลว่า: ก. ไม่รู้ข่าวที่คนอื่น ๆ รู้.
【 ตกข้าว 】แปลว่า: น. วิธีการที่นายทุนให้เงินชาวนากู้ก่อนที่จะลงมือทำนา โดยตกลงกันว่า
ชาวนาจะให้ข้าวเปลือกแก่นายทุนแทนเงิน หลังจากนวดข้าวเสร็จแล้ว.
【 ตกขุย 】แปลว่า: ก. ออกดอกเป็นเมล็ด (ใช้แก่ไม้ไผ่).
【 ตกเขียว 】แปลว่า: น. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบ
หรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่
จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้ว
หรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับ
เงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่
จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้า
ประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน.
【 ตกคลัก 】แปลว่า: ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้างวด, ตกปลัก
ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุดมา
รวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้วแต่ทอดแต้มออกไม่ได้;
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกันมาก ๆ ไปไหนไม่ได้.
【 ตกค้าง 】แปลว่า: ว. หลงเหลืออยู่.
【 ตกเครือ 】แปลว่า: ก. ออกเครือ (ใช้แก่กล้วย).
【 ตกงาน 】แปลว่า: ก. ว่างงาน, ไม่มีงานทํา.
【 ตกจั่น 】แปลว่า: ก. ออกดอก (ใช้แก่หมากและมะพร้าว).
【 ตกใจ 】แปลว่า: ก. สะดุ้งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ หรือมีใครมาถูกต้องตัว,
ใจหาย.
【 ตกดิน 】แปลว่า: ก. อาการที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป.
【 ตกตะกอน 】แปลว่า: ก. มีตะกอนนอนก้น.
【 ตกตะลึง 】แปลว่า: ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
【 ตกต่ำ 】แปลว่า: ก. มีฐานะหรือค่าลดลงกว่าเดิม.
【 ตกแต่ง 】แปลว่า: ก. ประดับ, ปรุงจัดให้ดี, ทําให้งาม.
【 ตกใต้เถรเทวทัต 】แปลว่า: (สํา) ก. ตกนรกขุมตํ่าสุด.
【 ตกถังข้าวสาร 】แปลว่า: /ดู หนูตกถังข้าวสาร./
【 ตกทอง 】แปลว่า: น. วิธีการหลอกลวงด้วยการใช้ทองปลอมที่มีน้ำหนักมากกว่า
ไปแลกเป็นทองแท้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า.
【 ตกท้องช้าง 】แปลว่า: ก. ลักษณะที่สายป่านว่าวเป็นต้นมีนํ้าหนักมากถ่วงลงเกินควร.
【 ตกทอด 】แปลว่า: ก. ตกสืบกันมาเป็นทอด ๆ, สืบจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง, เช่น
มรดกตกทอด; เรียกบําเหน็จบํานาญที่ตกแก่ทายาทของผู้รับ
บําเหน็จบํานาญว่า บําเหน็จตกทอด หรือ บํานาญตกทอด.
【 ตกที่นั่ง 】แปลว่า: ก. ตกอยู่ในฐานะ, ตกอยู่ในภาวะ, เช่น ตกที่นั่งลําบาก ตกที่นั่งเสียเงิน.
【 ตกนรกทั้งเป็น 】แปลว่า: (สํา) ก. ได้รับความลําบากแสนสาหัส เช่นคนที่ได้รับโทษทัณฑ์ใน
เรือนจํา.
【 ตกน้ำมัน 】แปลว่า: ว. เรียกเสาหรือประตูเรือนที่มีนํ้ามันซึมออกมาว่า เสาตกนํ้ามัน
หรือ ประตูตกนํ้ามัน.
【 ตกน้ำไม่ว่าย 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.
【 ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ 】แปลว่า: (สํา) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคําเปรียบเทียบ
หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล
ตกไฟไม่ไหม้.
【 ตกใน 】แปลว่า: ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูกแทงหรือฟัน
เป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการที่ต้องกลํ้ากลืน
ความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
【 ตกเบ็ด 】แปลว่า: ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลงโดยมีเครื่องล่อ.
น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
【 ตกเบิก 】แปลว่า: ก. ได้รับเงินที่ค้างจ่ายย้อนหลัง.
【 ตกประหม่า 】แปลว่า: ก. รู้สึกสะทกสะท้านพรั่นใจ.
【 ตกปลอก 】แปลว่า: ก. สวมปลอกที่ตีนคู่หน้าของช้าง เพื่อไม่ให้ไปหากินไกลหลังจาก
ที่ใช้งานแล้ว.
【 ตกปลัก 】แปลว่า: ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้างวด,
ตกคลัก ก็ว่า.
【 ตกปากตกคำ 】แปลว่า: ก. ตกลง, รับรอง, ตกปากลงคํา ก็ว่า.
【 ตกเป็น 】แปลว่า: ก. กลายเป็น เช่น ตกเป็นของเขา ตกเป็นข่าว ตกเป็นจําเลย.
【 ตกเป็นเบี้ยล่าง 】แปลว่า: (สํา) ก. ตกเป็นรองเขา, เสียเปรียบเขา.
【 ตกเป็นพับ 】แปลว่า: ก. นับเป็นสูญ.
【 ตกผลึก 】แปลว่า: ก. กลายเป็นผลึก (ใช้แก่สารละลาย).
【 ตกพุ่มม่าย 】แปลว่า: ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาดจากความ
เป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
【 ตกฟอง 】แปลว่า: ก. ออกไข่ เช่น ไก่ตกฟอง.
【 ตกฟาก 】แปลว่า: ก. เกิด, เรียกเวลาที่เด็กออกพ้นครรภ์มารดาว่า เวลาตกฟาก (พื้น
เรือนโบราณโดยมากเป็นฟาก); โดยปริยายใช้ในลักษณะที่พูดคํา
เถียงคําไม่หยุดปากว่า เถียงคําไม่ตกฟาก.
【 ตกมัน 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหล
ออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน,
เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
【 ตกม้าตาย 】แปลว่า: (สำ) ว. แพ้เร็ว, ยุติเร็ว, เรียกเต็มว่า สามเพลงตกม้าตาย.
【 ตกมูก 】แปลว่า: ก. อาการที่นํ้าเมือกไหลออกทางทวารหนัก.
【 ตกยาก 】แปลว่า: ก. ลําบาก, ยากจน, ขัดสน.
【 ตกรางวัล 】แปลว่า: ก. ให้รางวัล.
【 ตกลง 】แปลว่า: ก. ยินยอมพร้อมใจ, ปลงใจ.
【 ตกล่องปล่องชิ้น 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดสินใจที่จะร่วมมือหรือร่วมชีวิตด้วย.
【 ตกลูก 】แปลว่า: ก. ออกลูก (ใช้แก่สัตว์สี่เท้า).
【 ตกเลือด 】แปลว่า: ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูก เป็นต้น,
ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
【 ตกว่า 】แปลว่า: ว. คือ, คือว่า, รวมความว่า, ลงความว่า, ถือเอาว่า, บางทีใช้ว่า ตก
ก็มี เช่น ตกมีฤทธิไกรกว่าพี่ยา. (อิเหนา).
【 ตกสนับ 】แปลว่า: ก. อาการที่หญ้าโทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก.
【 ตกสะเก็ด 】แปลว่า: ก. อาการที่เลือดและนํ้าเหลืองแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล.
【 ตกแสก 】แปลว่า: ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม).
【 ตกหนัก 】แปลว่า: ก. รับทุกข์, รับเคราะห์, รับภาระหรือหน้าที่หนัก.
【 ตกหมก 】แปลว่า: ก. อาการที่เลือดระดูเสียที่หมักหมมอยู่ข้างในไหลออกมา.
【 ตกหล่น 】แปลว่า: ก. ขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ.
【 ตกหลุม, ตกหลุมพราง 】แปลว่า: (สํา) ก. ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล.
【 ตกอับ 】แปลว่า: ก. ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก.
【 ต๊กโต 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ตุ๊กแก. /(ดู ตุ๊กแก ๑)./
【 ตง ๑ 】แปลว่า: น. ไม้เครื่องเรือนที่วางบนรอดหรือคานสําหรับรองพื้นกระดานหรือฟาก.
【 ตง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ชนิด /Dendrocalamus asper/ (Schult. f.) Heyne ในวงศ์
Gramineae ลําต้นใหญ่ ไม่มีหนาม หน่อกินได้.
【 ต๋ง ๑ 】แปลว่า: ก. ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนัน
บางชนิดเช่นถั่ว โป, เรียกเงินที่ได้โดยวิธีนี้ว่า เงินค่าต๋ง. (จ. ต๋งจุ้ย).
【 ต๋ง ๒ 】แปลว่า: ก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้
กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ
เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อน
หลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.
【 ตงฉิน 】แปลว่า: ว. ซื่อตรง, ซื่อสัตย์. (จ. ตงฉิน ว่า อํามาตย์ซื่อสัตย์).
【 ตงิด 】แปลว่า: [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก)
เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
【 ตงุ่น 】แปลว่า: [ตะหฺงุ่น] ว. เรียกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเป็นยางอย่างนํ้าผึ้งว่า นํ้าตาลตงุ่น.
【 ตจ- 】แปลว่า: [ตะจะ-] น. หนัง, เปลือกไม้. (ป.).
【 ตจปัญจกกรรมฐาน 】แปลว่า: [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกําหนดด้วยอาการมี
หนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
【 ตจสาร 】แปลว่า: [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มี
เปลือกเป็นแก่น).
【 ตด ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมระบายออกทางทวารหนัก, ผายลม. น. ลมที่ออกจาก
ทวารหนัก เช่น เหม็นตด.
【 ตด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล/ Pherosophus,/
/Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็ง/
คลุมส่วนท้องไม่หมด ลําตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง
๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้ม
ตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษ
ประเภทควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สําคัญได้แก่ ชนิด /P. siamensis,/
/P. occipitalis/ และ/ P. javanus,/ พายัพเรียก ขี้ตด.
【 ตดหมูตดหมา 】แปลว่า: /ดู ย่านพาโหม./
【 ตติย- 】แปลว่า: [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
【 ตถาคต 】แปลว่า: [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้ว
อย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
【 ตน 】แปลว่า: น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา
ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
【 ต้น 】แปลว่า: น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ
เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า
ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น
วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ
สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน;
ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น
แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา
กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง
มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา.
(ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน
พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
【 ต้นกล 】แปลว่า: น. หัวหน้าช่างกลในเรือเดินทะเล เรือรบ เป็นต้น.
【 ต้นขั้ว 】แปลว่า: น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ในเล่มเพื่อ
เก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า.
【 ต้นคอ 】แปลว่า: น. ส่วนของคอที่ถัดไหล่ขึ้นไปถึงบริเวณก้านคอ.
【 ต้นคิด 】แปลว่า: น. ผู้ประดิษฐ์แบบขึ้นใหม่, ผู้ริเริ่ม.
【 ต้นเงิน 】แปลว่า: น. เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, เงินต้น ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ
ว่า ต้น เช่น ต้นชนดอก.
【 ต้นฉบับ 】แปลว่า: น. ฉบับจริงของเรื่องที่ประพันธ์ไว้เดิม, ฉบับที่เขียนหรือดีดพิมพ์ไว้
เดิมก่อนตีพิมพ์, ต้นสําเนา.
【 ต้นชนดอก 】แปลว่า: น. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจนมีจํานวนเท่า ๆ กับเงินต้น, ดอกชนต้น ก็ว่า.
【 ต้นเชือก 】แปลว่า: น. ตําแหน่งมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร.
【 ต้นตระกูล 】แปลว่า: น. บรรพบุรุษดั้งเดิม.
【 ต้นตอ 】แปลว่า: น. เรื่องเดิม, เหตุเดิม, ที่เกิด.
【 ต้นตำรับ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นต้นคิดในการประดิษฐ์หรือสร้างแบบแผนขึ้น.
【 ต้นทาง 】แปลว่า: น. ปากทางเข้าออกอย่างทางเข้าบ่อนการพนันเป็นต้น เช่น ดูต้นทาง.
【 ต้นทุน 】แปลว่า: น. ทุนเดิมสําหรับทํากิจการค้าเป็นต้น.
【 ต้นเทียม 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. /(ดู กระเทียม)./
【 ต้นน้ำ 】แปลว่า: น. แหล่งที่เกิดของลํานํ้า, ยอดนํ้า ก็เรียก.
【 ต้นบท 】แปลว่า: น. คนบอกบทให้คนรํารู้ว่าจะรําอย่างไร หรือให้คนร้องรู้ว่าจะร้อง
อย่างไร.
【 ต้นแบบ 】แปลว่า: น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่สร้าง
ขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะเดียวกัน
หรือคล้ายคลึงกัน.
【 ต้นเพลิง 】แปลว่า: น. คนหรือสิ่งที่เป็นเหตุทําให้เกิดไฟไหม้; ผู้ที่จุดไฟเผาศพคนแรก.
【 ต้นมือ 】แปลว่า: น. ตอนแรก ๆ.
【 ต้นไม้ 】แปลว่า: น. คํารวมเรียกพืชทั่วไปโดยปรกติชนิดมีลําต้น ใช้ในความหมายที่
แคบกว่า คําว่า ต้น หมายถึง พืชชนิดที่มีลําต้นใหญ่มีกิ่งแยกออกไป.
【 ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง 】แปลว่า: น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นคู่ ซึ่ง
เมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ
ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวาย
พระเจ้าแผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น
หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ.
【 ต้นร่าง 】แปลว่า: น. ฉบับที่ร่างไว้เดิม.
【 ต้นร้ายปลายดี 】แปลว่า: (สํา) น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสํานึกตัวได้
แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.
【 ต้นเรือ 】แปลว่า: น. รองผู้บังคับการเรือ.
【 ต้นเรื่อง 】แปลว่า: น. มูลเหตุที่ทําให้เกิดเรื่องนั้น ๆ, เรื่องเดิม.
【 ต้นวายปลายดก 】แปลว่า: (สํา) น. ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.
【 ต้นสังกัด 】แปลว่า: น. ส่วนราชการระดับสูงที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน.
【 ต้นสายปลายเหตุ 】แปลว่า: น. ความเป็นมาของเรื่อง.
【 ต้นเสียง 】แปลว่า: น. คนร้องนํา.
【 ต้นหน 】แปลว่า: น. เจ้าหน้าที่ชี้ทิศทางเดินเรือทะเลหรือเดินอากาศยาน, (โบ) คนนําทาง
เช่น ต้นหนบอกตําบล. (ลอ).
【 ต้นเหตุ 】แปลว่า: น. คนหรือสัตว์เป็นต้นที่ทําให้เกิดเหตุเกิดเรื่อง.
【 ต้นตายใบเป็น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Kalanchoe pinnata/ Pers. ในวงศ์ Crassulaceae,
คว่ำตายหงายเป็น โคนตายปลายเป็น หรือ ส้มเช้า ก็เรียก, ปักษ์ใต้
เรียก กะเร.
【 ตนัย 】แปลว่า: ตะไน น. ลูกชาย. (ป., ส.).
【 ตนุ ๑ 】แปลว่า: ตะนุ น. ตัว, ตน. ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส.).
【 ตนุมัธยมา, ตนุมัธยา 】แปลว่า: [-มัดทะยะ-] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง. (ส.; ป. ตนุมชฺฌา).
【 ตนุ ๒ 】แปลว่า: [ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด/ Chelonia mydas/ ในวงศ์ Cheloniidae
ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ด
บนหลังแต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า
เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะ
เมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
【 ตบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด /Monochoria/
/hastata/ (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน
ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด
/Eichhornia crassipes/ (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลํานํ้า
ทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา.
【 ตบ ๒ 】แปลว่า: ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส,
เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
【 ตบตา 】แปลว่า: (สํา) ก. หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด.
【 ตบแต่ง 】แปลว่า: ก. ทําให้งาม; จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่งลูกสาว
ให้เป็นฝั่งเป็นฝา.
【 ตบเท้า 】แปลว่า: ก. อาการเดินกระแทกตีนกับพื้นแรง ๆ ของทหารหรือตํารวจเป็นต้น
เรียกว่า เดินตบเท้า.
【 ตบแผละ 】แปลว่า: [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน
แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้าย
และมือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
【 ตบมือ 】แปลว่า: ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ
ก็ว่า.
【 ตบมือข้างเดียวไม่ดัง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล.
【 ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน 】แปลว่า: (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่
ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
【 ตบหัวลูบหลัง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทํา
หรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง.
【 ตบยุง 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Caprimulgidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา ลายกระขาว
วางไข่บนพื้นดิน หากินแมลงตามลําพังในเวลากลางคืน กลางวัน
จะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น ตบยุงหางยาว
(/Caprimulgus macrurus/) ตบยุงเล็ก (/C. asiaticus/), กระบ่า หรือ
กระบ้า ก็เรียก.
【 ตบะ 】แปลว่า: น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การ
ข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. /(ดู ทศพิธราชธรรม)./
(ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
【 ตบะแตก 】แปลว่า: ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมดความ
อดกลั้น, สิ้นความอดทน.
【 ตปนียะ 】แปลว่า: น. ทองคํา. (ป., ส.).
【 ตม- ๑, ตโม- 】แปลว่า: [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
【 ตโมนุท 】แปลว่า: น. พระอาทิตย์, พระจันทร์. (ส. ตโมนุท ว่า ผู้ขจัดความมืด).
【 ตโมไพรี 】แปลว่า: น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
【 ตโมหร 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส. ตโมหร ว่า ผู้คลายความมืด).
【 ตม ๒ 】แปลว่า: น. ดินเปียกที่เหนียวกว่าเลน.
【 ต้ม ๑ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก
เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง
ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย
ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
【 ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก 】แปลว่า: (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
【 ต้ม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้
นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าว
ข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าว
อย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
【 ต้มกะทิ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิดเป็นต้น
ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน; เรียก
ผักชนิดต่าง ๆ ที่ต้มกับกะทิ สำหรับกินกับน้ำพริกกะปิ ว่า ผักต้มกะทิ.
【 ต้มกะปิ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยหัวหอม กะปิ พริกไทย อย่างแกงเลียง.
【 ต้มข่า 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยํากะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่
ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.
【 ต้มเค็ม 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว
ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ
ไทยมีรสหวานเค็ม.
【 ต้มโคล้ง 】แปลว่า: [-โคฺล้ง] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้ปลาแห้งหรือหัวปลาแห้งเป็นต้นต้ม
กับหัวหอม ส้มมะขามหรือใบมะขามอ่อน แล้วเติมเกลือ ให้ออกรส
เปรี้ยวเค็ม, โฮกอือ ก็เรียก.
【 ต้มปลาร้า 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้เป็นต้นเป็นผัก มีลักษณะ
คล้ายแกงเลียง แต่ใส่ปลาร้า.
【 ต้มเปรต 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ทําคล้ายต้มยํา แต่ใช้ปลาไหลทั้งตัวโดยมาก.
【 ต้มเปอะ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้หรือใบขี้เหล็กเป็นต้น
คล้ายแกงขี้เหล็ก แต่ไม่ใส่กะทิ ใส่ข้าวคั่วกับปลาร้าผสมด้วย.
【 ต้มยำ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือใน
กะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยนํ้าพริกเผาหรือ
นํ้าพริก.
【 ต้มยำกะทิ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงต้มยําที่ใส่กะทิแทนนํ้าเปล่า.
【 ต้มส้ม 】แปลว่า: น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ ขิง
หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน.
【 ตมูก 】แปลว่า: ตะหฺมูก น. จมูก.
【 ตยาค 】แปลว่า: ตะยาก น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น.
(ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
【 ตยาคี 】แปลว่า: [ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มี
พระมหิมานุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).
【 ตยุติ 】แปลว่า: ตะยุติ ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติ
ลงเกอด. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
【 ตรง, ตรง ๆ 】แปลว่า: [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น
ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตาม
กําหนด เช่นเวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มี
ลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา
บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย.
บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
【 ตรงกัน 】แปลว่า: ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถว
ให้ตรงกัน.
【 ตรงกันข้าม 】แปลว่า: ว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดํา ดีกับชั่ว.
【 ตรณี 】แปลว่า: ตะระนี น. เรือ. (ป., ส.).
【 ตรม 】แปลว่า: [ตฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น ตรมใจ; กลัด เช่น ตรมหนอง,
กรม ก็ว่า.
【 ตรมตรอม 】แปลว่า: [-ตฺรอม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรมกรอม ก็ว่า.
【 ตรมเตรียม 】แปลว่า: [-เตฺรียม] ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เกรียมกรม หรือ
เตรียมตรม ก็ได้.
【 ตรมวล 】แปลว่า: ตฺรม-วน น. ตําบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 ตรรก-, ตรรกะ 】แปลว่า: ตักกะ น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
【 ตรรกวิทยา 】แปลว่า: น. ตรรกศาสตร์.
【 ตรรกศาสตร์ 】แปลว่า: น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผล
หรือไม่, ใช้ว่า ตรรกวิทยา ก็มี. (อ. logic).
【 ตรลบ 】แปลว่า: ตฺระหฺลบ ก. ตลบ, เอาข่ายครอบนก. ว. หกหลังมา; กลับ
ย้อนหลัง; ฟุ้ง.
【 ตรลอด 】แปลว่า: ตฺระหฺลอด บ. ตลอด, สิ้น, ทั่ว, แต่ต้นจนปลาย.
【 ตรละ ๑ 】แปลว่า: ตะระละ น. ข้าวต้ม. (ป., ส.).
【 ตรละ ๒ 】แปลว่า: ตะระละ น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ;
เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว,
สั่น. (ป., ส.).
【 ตรลา 】แปลว่า: ตะระลา น. ข้าวต้ม; นํ้าผึ้ง; เหล้า. (ป., ส. ตรล).
【 ตรลาด 】แปลว่า: ตฺระหฺลาด น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ.
【 ตรเลิด 】แปลว่า: ตฺระเหฺลิด ก. เตลิด, กระเจิดกระเจิง, กระจัดกระจาย.
【 ตรวจ 】แปลว่า: [ตฺรวด] ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย เช่น ตรวจพล ตรวจราชการ,
พิจารณาดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เป็นต้น เช่น ตรวจบัญชี ตรวจ
แบบฝึกหัด ตรวจดวงชะตา, พิจารณาหาสมุฏฐาน เช่น ตรวจโรค,
สํารวจ เช่น ตรวจพื้นที่. น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.
【 ตรวจการ 】แปลว่า: ก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ชุดตรวจการ,
ตรวจราชการ ก็ว่า.
【 ตรวจการณ์ 】แปลว่า: ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย
เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่
รับผิดชอบ.
【 ตรวจข่าว 】แปลว่า: ก. พิจารณาข่าวว่าควรอนุญาตให้พิมพ์ได้หรือไม่, พิจารณาข่าวที่
ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์แล้ว.
【 ตรวจตรา 】แปลว่า: ก. พิจารณาดูให้รอบคอบถี่ถ้วน.
【 ตรวจราชการ 】แปลว่า: ก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ผู้ตรวจราชการภาค,
ตรวจการ ก็ว่า.
【 ตรวจเลือด 】แปลว่า: ก. ตรวจดูว่าเลือดอยู่ในกลุ่มไหน หรือมีเชื้อโรคอยู่ในเลือดหรือไม่
หรือเพื่อทราบโรคบางอย่าง เป็นต้น.
【 ตรวด 】แปลว่า: ตฺรวด ว. กรวด, สูงชัน, เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 ตรวน 】แปลว่า: [ตฺรวน] น. เครื่องจองจํานักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขา
นักโทษมีโซ่ล่ามถึงกัน.
【 ตรวย 】แปลว่า: [ตฺรวย] ก. พุ่งตรงมา เช่น บ้างเป็นเสาตรวยตรงลงถึงดิน. (อิเหนา).
【 ตรอก 】แปลว่า: [ตฺรอก] น. ทางที่แยกจากถนนใหญ่และมีขนาดเล็กกว่าถนน.
【 ตรอง 】แปลว่า: [ตฺรอง] ก. คิดทบทวน.
【 ตรอมใจ, ตรอมตรม 】แปลว่า: [ตฺรอม-, -ตฺรม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรอมใจ หรือ กรอมกรม ก็ว่า.
【 ตระ ๑ 】แปลว่า: [ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ตระเชิญ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า
เพลงตระเชิญ.
【 ตระ ๒ 】แปลว่า: [ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).
【 ตระกล 】แปลว่า: [ตฺระกน] ว. มีมาก; งาม.
【 ตระกวน 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. ผักบุ้ง. (ข. ตฺรกวน).
【 ตระกอง 】แปลว่า: [ตฺระ-] ก. กอด, เกี่ยวพัน, กระกอง ก็ว่า. (ข. ตฺรกง).
【 ตระกัด 】แปลว่า: ตฺระ- ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด
ในความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
【 ตระการ 】แปลว่า: [ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.
【 ตระกูล 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์.
【 ตระกูลมูลชาติ 】แปลว่า: -มูนชาด น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้
ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
【 ตระคัร 】แปลว่า: ตฺระคัน น. ไม้กฤษณา เช่น กฤษณาขาวและตระคัร ก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน). (ป.; ส. ตคร).
【 ตระง่อง 】แปลว่า: [ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง
ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
【 ตระจัก 】แปลว่า: [ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
【 ตระชัก 】แปลว่า: [ตฺระ-] ว. เย็น, บางทีใช้ ตระจัก ตามเสียงเขมร. (ข. ตฺรชาก่).
【 ตระดก 】แปลว่า: ตฺระ- ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
【 ตระดาษ 】แปลว่า: ตฺระ- ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 ตระเตรียม 】แปลว่า: [ตฺระเตฺรียม] ก. จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, โบราณใช้ว่า กระเกรียม.
【 ตระแตร้น, ตะแตร้น 】แปลว่า: ตฺระแตฺร้น, -แตฺร้น ว. เสียงช้างร้อง.
【 ตระทรวง 】แปลว่า: ตฺระซวง น. กระทรวง. (สามดวง).
【 ตระนาว 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. เรียกกระแจะชนิดหนึ่ง.
【 ตระไน 】แปลว่า: ตฺระ- น. นกกระไน เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่
สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์). /(ดู กระไน)./
【 ตระหน่ำ 】แปลว่า: ตฺระหฺนํ่า ก. กระหนํ่า.
【 ตระหนี่ 】แปลว่า: [ตฺระหฺนี่] ว. หวงไม่อยากให้ง่าย ๆ เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.
【 ตระหนี่ตัว 】แปลว่า: ก. หวงตัว ไม่ยอมให้ใครอุ้ม (ใช้แก่เด็ก).
【 ตระอร 】แปลว่า: [ตฺระออน] ก. ทําให้ชอบใจ; ประคับประคอง เช่น เกื้อกามตระอร.
(กฤษณา).
【 ตระอาล 】แปลว่า: ตฺระอาน ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง
กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
【 ตระโอม 】แปลว่า: ตฺระ- ก. โอบกอด.
【 ตรัง 】แปลว่า: ตฺรัง ก. ติดอยู่ เช่น สิ่งสินตรังตรา. (ม. คําหลวง มหาราช), ต้อง
กวางทรายตายเหลือตรัง. (อนิรุทธ์).
【 ตรังค-, ตรังค์ 】แปลว่า: ตะรังคะ-, ตะรัง น. ลูกคลื่น. (ป., ส.).
【 ตรังคนที, ตรังควชิราวดี 】แปลว่า: น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง, คู่กับ มหาตรังคนที.
【 ตรับ, ตรับฟัง 】แปลว่า: [ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่น
เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.
【 ตรัย 】แปลว่า: [ไตฺร] ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคําสมาส เช่น ตรัยตรึงศ์ รัตนตรัย. (ส.).
【 ตรัยตรึงศ์ 】แปลว่า: [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นที่พระอินทร์ครอง.
(ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
【 ตรัส 】แปลว่า: (ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.
【 ตรัสรู้ 】แปลว่า: [ตฺรัดสะ-] ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า); โดยปริยายหมายความว่า
รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.
【 ตรัสสา 】แปลว่า: [ตฺรัดสา] น. คํายกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. (พระราชวิจารณ์).
【 ตรา 】แปลว่า: [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น
สําคัญ เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว, สําหรับเป็นเครื่อง
ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย
เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้,
เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
【 ตราขุนพล 】แปลว่า: น. ลายที่ขีดเป็นกากบาทที่ก้นหม้อตาลสําหรับปักไว้กันผี.
【 ตราจอง 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนดให้ผู้รับอนุญาตต้อง
ทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๓ ปี.
【 ตราแดง 】แปลว่า: (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้
ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่ง
แล้วงดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนา
ฟางลอย.
【 ตราตั้ง 】แปลว่า: น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทานให้แก่
ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วนพระองค์
หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม
ราชานุญาต.
【 ตราบาป 】แปลว่า: น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.
【 ตราไปรษณียากร 】แปลว่า: น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่าไปรษณียากร
หรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่งไปรษณียภัณฑ์
รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากรที่พิมพ์ ดุน
หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือสิ่งอื่น ๆ.
【 ตราภูมิ 】แปลว่า: (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง
ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น
ตราภูมิคุ้มห้าม.
【 ตรายาง 】แปลว่า: น. ตราที่ทําด้วยยางสําหรับประทับบนกระดาษเป็นต้น.
【 ตราสาร 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนดที่ดิน
ตั๋วเงิน.
【 ตราสารจัดตั้ง 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือสำคัญก่อตั้งนิติบุคคลที่กำหนดขอบเขตแห่งอำนาจ
หน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น.
【 ตราสิน 】แปลว่า: ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือพิมพ์
ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
【 ตราหน้า 】แปลว่า: ก. หมายหน้าไว้; หยามหน้า, สบประมาท.
【 ตรากตรำ 】แปลว่า: [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่าง
ตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่าง
ตรากตรํา.
【 ตราชู 】แปลว่า: [ตฺรา-] น. เครื่องชั่งชนิดที่มีถาดชั่งห้อยอยู่ ๒ ข้างคันชั่ง มีตุ้มน้ำหนักบอก
นํ้าหนักของของที่ชั่ง.
【 ตราบ 】แปลว่า: [ตฺราบ] น. ข้าง, ฟาก, ริม. สัน. จนถึง, เมื่อ, เช่น ยังมีลมหายใจอยู่ตราบใด
ก็ถือว่ายังมีชีวิตอยู่ตราบนั้น.
【 ตราบเท่า 】แปลว่า: บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้.
สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบ
เท่าชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
【 ตราสัง 】แปลว่า: ก. มัดศพ, ผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบเป็นต้น.
【 ตรำ 】แปลว่า: [ตฺรํา] ว. ปล่อยทิ้งตากแดดตากฝนไว้นาน ๆ เช่น ตัดไม้ทิ้งตรําแดดตรําฝนไว้,
สู้ทนลําบาก เช่น ทํางานตรําแดดตรําฝน ตรํางาน, กรํา ก็ว่า.
【 ตร่ำ 】แปลว่า: [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
【 ตริ ๑ 】แปลว่า: [ตฺริ] ก. คิด, ตรึกตรอง.
【 ตริตรอง 】แปลว่า: [-ตฺรอง] ก. ใคร่ครวญ, คิดทบทวน, ตรึกตรอง.
【 ตริ ๒ 】แปลว่า: [ตฺริ] ใช้ประกอบหน้าศัพท์ แปลว่า สาม เช่น ตริโกณ คือ รูปสามเหลี่ยม.
/(ดู ตรี ๓)./
【 ตริว 】แปลว่า: [ตฺริว] น. เต่า, กริว หรือ จริว ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
มีรูข้าง ๆ สําหรับลูกออก.
【 เติ่ง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่ค้างอยู่นานเกินควร ในคําว่า ค้างเติ่ง.
【 เตินเต่อ 】แปลว่า: ว. สั้นหรือสูงเกินควร เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้า
สูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า.
【 เติบ 】แปลว่า: ว. มากเกินสมควร เช่น กินกับเติบ.
【 เติบโต 】แปลว่า: ก. โตขึ้น เช่น ร่างกายเติบโต ต้นไม้เติบโต, เติบใหญ่
ก็ว่า.
【 เติม 】แปลว่า: ก. เพิ่มสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่.
【 เตี้ย 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างตํ่ากว่าปรกติ.
【 เตี้ยตน 】แปลว่า: (กลอน) ว. ถ่อมตน.
【 เตี้ยอุ้มค่อม 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อยหรือยากจน แต่รับ
ภาระเลี้ยงดูคนที่มีฐานะเช่นตนอีก.
【 เตียง 】แปลว่า: น. ที่สําหรับนอนหรือตั้งสิ่งของ มีขา ๔ ขา รูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า.
【 เตียงลา 】แปลว่า: น. อัฒจันทร์สําหรับขึ้นลงซึ่งยกไปตั้งได้.
【 เตียน ๑ 】แปลว่า: ว. เรียบราบ เช่น ดายหญ้าให้เตียน, หมดไป เช่น
ถูกกวาดเสียเตียน, ไม่รก.
【 เตียน ๒ 】แปลว่า: ก. ติ, ทัก.
【 เตียบ 】แปลว่า: น. ตะลุ่มปากผาย มีฝาครอบ สําหรับใส่ของกิน.
【 เตี๋ยม 】แปลว่า: น. ที่สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือของอย่างอื่นเช่นเกลือ
หรือปูน เอาเสื่อลําแพนล้อมเป็นวงรอบแล้วยาด้วย
ขี้ควาย.
【 เตียรถ์ 】แปลว่า: [เตียน] น. เดียรถ์, ท่านํ้า. (ส. ตีรฺถ; ป. ติตฺถ).
【 เตียว ๑ 】แปลว่า: น. ลิงจําพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพก
ศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิง
ขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทํานอง
หนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น–ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัด
ด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง.
(พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).
【 เตียว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) ก. เที่ยว, เดิน, เช่น ธนาก็เต้าเตียวจร.
(บุณโณวาท).
【 เตี่ยว 】แปลว่า: น. ผ้าชิ้นน้อยยาวสําหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อน
ออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสําหรับซับระดูหรือ
อยู่กระดานไฟ; ใบตองหรือใบมะพร้าวสําหรับคาดกลัด
ห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล; (ถิ่น–พายัพ)
กางเกง. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น.
【 เตื้อ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ครั้ง, หน, เทือ เทื่อ หรือ เทื้อ ก็ว่า.
【 เตือน 】แปลว่า: ก. บอกให้รู้ล่วงหน้า, ทําให้รู้ตัว, ทําให้รู้สํานึก,
ทักไม่ให้ลืม.
【 เตือนใจ 】แปลว่า: ก. สะกิดใจ, ทําให้ระลึกได้.
【 เตือนตา 】แปลว่า: ก. ชวนดู.
【 เตือนสติ 】แปลว่า: ก. เตือนให้รู้ตัว, เตือนให้ได้สติ.
【 แต่ ๑ 】แปลว่า: ว. เฉพาะ, อย่างเดียว, เท่านั้น, เช่น เลือกเอาแต่ที่ดี ๆ
อยู่แต่ในบ้าน. บ. นําหน้านามบอกเวลาหรือบอก
สถานที่ เช่น มาแต่เช้า มาแต่บ้าน แต่ไหนแต่ไรมา.
【 แต่ละ 】แปลว่า: ว. คําที่บอกแยกเป็นจํานวนหนึ่ง ๆ เช่น แต่ละคน
แต่ละราย แต่ละหมวด.
【 แต่วัน, แต่หัววัน 】แปลว่า: ว. ก่อนเวลากำหนด, ก่อนเวลาสมควร, เช่น งานเริ่ม
ทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้
เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับ
บ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน.
【 แต่ ๒, แต่ว่า 】แปลว่า: สัน. เชื่อมความให้กลับกัน ให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน หรือ
ให้แย้งกัน เช่น นํ้าขึ้นแต่ลมลง นาย ก รักลูกก็จริงอยู่
แต่นาย ข ยังรักมากกว่า นาย ก กินข้าว แต่นาย ข
นอน; ตาม เช่น ให้กินแต่เต็มใจ. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 แต่ทว่า 】แปลว่า: สัน. แต่ถ้าว่า, ถ้าว่า, เช่น ถึงอย่างนั้นก็จริงแหล่
แต่ทว่า, บางทีพูดสั้น ๆ ว่า ทว่า.
【 แต่ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องเช่นนั้นและทํามือส่ายไปมาล่อให้เด็ก
เล็ก ๆ รํา, แต่ช้าแต่ ก็ว่า.
【 แต้ ๑ 】แปลว่า: ว. แป้น ในคําว่า ยิ้มแต้, ป้อ เช่น รําแต้, แสดงความ
ยินดี เช่น วิ่งแต้.
【 แต้ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ต้นมะค่าแต้. /(ดู มะค่าแต้ ที่ มะค่า)./
【 แตก 】แปลว่า: ก. แยกออกจากส่วนรวม เช่น แก้วแตก ชามแตก,
ทําให้แยกออกจากส่วนรวม เช่น แตกสามัคคี แตก
หมู่คณะ; คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่ เช่น แตกฝูง ไฟ
ธาตุแตก ใจแตก ตบะแตก; ปะทุ เช่น ถ่านแตก; ผลิ
เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ; ไหลออกมา
เอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก; มีรอยแยก, แยก
ออกเป็นรอย, เช่น กําแพงแตก หน้าขนมแตก; เรียก
【 ตระบก 】แปลว่า: [ตฺระ-] /ดู กระบก./
【 ตระบอก 】แปลว่า: ตฺระ- น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส
กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).
【 ตระบอง 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุก
เปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
【 ตระบัด ๑ 】แปลว่า: [ตฺระ-] ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, กระบัด ก็ใช้. ก. พลันไป.
【 ตระบัด ๒ 】แปลว่า: ตฺระ- ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด
ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก,
ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
【 ตระบัดสัตย์ 】แปลว่า: ก. ไม่รักษาคํามั่นสัญญา.
【 ตระบัน 】แปลว่า: ตฺระ- น. กลีบซ้อน.
【 ตระเบ็ง 】แปลว่า: ตฺระ- ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น,
กระเบง.
【 ตระแบ่ 】แปลว่า: ตฺระ- ก. แผ่. (อนันตวิภาค).
【 ตระแบก 】แปลว่า: ตฺระ- น. ต้นตะแบก, กระแบก ก็เรียก.
【 ตระแบง ๑ 】แปลว่า: ตฺระ- ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ตาวตระแบง.
【 ตระแบง ๒ 】แปลว่า: [ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
【 ตระแบน, ตระแบ่น 】แปลว่า: ตฺระ- ก. ทิ้งลง, ตกลง, โผลง, เช่น ตระแบนไว้กลางดิน. (โบ)
น. แผ่น. (อนันตวิภาค).
【 ตระโบม 】แปลว่า: ตฺระ- ก. โลมเล้า, กอด, กระโบม ก็ว่า.
【 ตระพอง 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ
ตะพอง ก็ว่า.
【 ตระพัง 】แปลว่า: [ตฺระ-] น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า. (เทียบ
ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
【 ตระมื่น 】แปลว่า: ตฺระ- ว. สูงใหญ่, ทะมื่น ก็ใช้.
【 ตระโมจ 】แปลว่า: [ตฺระโหฺมด] ว. ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, โดดเดี่ยว. (ข. สฺรโมจ).
【 ตระลาการ 】แปลว่า: ตฺระ- น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
【 ตระวัน 】แปลว่า: ตฺระ- น. ตะวัน, ดวงอาทิตย์.
【 ตระเว็ด 】แปลว่า: [ตฺระเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า,
ใช้ว่า เจว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
【 ตระเวน 】แปลว่า: [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว
ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ
ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
【 ตระเวนเวหา 】แปลว่า: น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ
ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
【 ตระเวนไพร, ตระเวนวัน 】แปลว่า: /ดู ระวังไพร, ระวังวัน./
【 ตระสัก 】แปลว่า: ตฺระ- ว. งามสง่า; ไพเราะ.
【 ตระหง่อง, ตระหน่อง 】แปลว่า: [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง
【 ตาเรือ แม่ฮา. 】แปลว่า:
(ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแล
ตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร),
กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
【 ตระหง่าน 】แปลว่า: [ตฺระหฺง่าน] ว. สูงเด่นเป็นสง่า.
【 ตระหนก 】แปลว่า: [ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
【 ตระหนัก 】แปลว่า: [ตฺระหฺนัก] ก. รู้ประจักษ์ชัด, รู้ชัดแจ้ง.
【 ตรี ๑ 】แปลว่า: [ตฺรี] น. ปลา. (ข.).
【 ตรี ๒ 】แปลว่า: [ตฺรี] น. คําตัดมาจาก ตรีศูล.
【 ตรี ๓ 】แปลว่า: [ตฺรี] ว. สาม เช่น ตรีเนตร, ชั้นที่ ๓ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้นหรือขั้นของยศ
ตําแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่า โท สูงกว่า จัตวา) เช่น ร้อยตรี
ข้าราชการชั้นตรี ปริญญาตรี; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ?ว่า
ไม้ตรี. (ส. ตฺริ).
【 ตรีกฏุก 】แปลว่า: น. ของเผ็ดร้อน ๓ ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง.
【 ตรีกันสวาต 】แปลว่า: [-สะหฺวาด] น. กลิ่นแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ กานพลู.
【 ตรีกาย 】แปลว่า: น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน
ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย
(กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กาย
ที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
【 ตรีกาล 】แปลว่า: น. กาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, เวลาทั้ง ๓ คือ เช้า กลางวัน เย็น.
【 ตรีกาฬพิษ 】แปลว่า: [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า
รากกะเพรา.
【 ตรีกูฏ 】แปลว่า: น. ชื่อเขา ๓ ยอดในไตรภูมิ, โบราณเรียกว่า ผาสามเส้า. (ส. ตฺริกูฏ ว่า
มี ๓ ยอด).
【 ตรีเกสรมาศ 】แปลว่า: น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
【 ตรีโกณ 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยม. (ส. ตฺริโกณ).
【 ตรีโกณมิติ 】แปลว่า: [ตฺรีโกน-] น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยฟังก์ชันของตัวแปรจริง ซึ่งแทน
ขนาดของมุมใด ๆ, คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการใช้ฟังก์ชันของมุมเป็น
รากฐานในการศึกษาสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหรือรูปอื่นใดที่ทอนลงมาเป็น
รูปสามเหลี่ยมได้. (อ. trigonometry).
【 ตรีคูณ 】แปลว่า: น. ๓ เท่า. (ส. ตฺริคุณ).
【 ตรีจีวร 】แปลว่า: น. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร)
และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร;
ป. ติจีวร).
【 ตรีฉินทลามกา 】แปลว่า: [-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย
รงทอง.
【 ตรีชาต 】แปลว่า: น. วัตถุ ๓ คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย.
【 ตรีญาณรส 】แปลว่า: [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถาบอระเพ็ด.
【 ตรีทศ 】แปลว่า: น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง
พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า
สามสิบ).
【 ตรีทิพ 】แปลว่า: น. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ หรือชั้นวิเศษสุด, สวรรค์ทั่วไป, เรียก
ไตรทิพ หรือ ไตรทิพย์ ก็ได้. (ส. ตฺริทิว).
【 ตรีทิพยรส 】แปลว่า: [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
【 ตรีทุรวสา 】แปลว่า: น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
【 ตรีทูต 】แปลว่า: น. ผู้แทนคนที่ ๓; ลักษณะบอกอาการของคนเจ็บหนักใกล้จะตาย.
【 ตรีเทวตรีคันธา 】แปลว่า: [-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซางและบุนนาค.
(ศัพท์คัมภีร์แพทย์).
【 ตรีโทษ 】แปลว่า: น. อาการไข้ที่ลม เสมหะ เลือด ประชุมกัน ๓ อย่างให้โทษ, ไข้หนักจวนจะตาย.
(ส. ตฺริ + โทษ).
【 ตรีธารทิพย์ 】แปลว่า: น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ รากมะขามเทศ.
【 ตรีนิศก 】แปลว่า: (โบ) น. ตรีศก.
【 ตรีเนตร 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า
พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง
พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
【 ตรีบถ 】แปลว่า: น. ที่ซึ่งทางทั้ง ๓ มาจดกัน, ทางสามแพร่ง. (ส. ตฺริปถ).
【 ตรีบูร 】แปลว่า: น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา.
(จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
【 ตรีปิฎก 】แปลว่า: น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า
ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์,
ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
【 ตรีปิตผล 】แปลว่า: [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
【 ตรีผลธาตุ 】แปลว่า: น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
【 ตรีผลสมุตถาน 】แปลว่า: [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
【 ตรีผลา 】แปลว่า: [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอาสมอไทย
สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
【 ตรีพิษจักร 】แปลว่า: [-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.
【 ตรีเพชรสมคุณ 】แปลว่า: [-เพ็ดสะมะคุน] น. คุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์
รงทอง.
【 ตรีภพ 】แปลว่า: น. ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ, ตามไสยศาสตร์ว่าได้แก่ สวรรค์
มนุษยโลก บาดาล, ไตรภพ ก็ใช้. (ส. ตฺริภว).
【 ตรีภพนาถ 】แปลว่า: น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น
กษัตริย์ ก็มี.
【 ตรีภูมิ, ไตรภูมิ 】แปลว่า: น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
【 ตรีภูวะ 】แปลว่า: [-พูวะ] น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูว).
【 ตรีมธุระ 】แปลว่า: [-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.
【 ตรีมูรติ 】แปลว่า: ว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. น. ชื่อเรียกเทพเจ้า
ในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ หรือ
พระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทําลาย).
(ส. ตฺริมูรฺติ).
【 ตรีรัตน์ 】แปลว่า: น. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. (ส. ตฺริรตน).
【 ตรีโลก 】แปลว่า: น. ตรีภพ, ไตรโลก ก็ใช้. (ส. ตฺริโลก).
【 ตรีโลกนาถ 】แปลว่า: [-โลกกะนาด] น. พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระศิวะ. (ส. ตฺริโลกนาถ).
【 ตรีโลเกศ 】แปลว่า: น. พระวิษณุ, พระอาทิตย์. (ส. ตฺริโลเกศ).
【 ตรีโลจน์ 】แปลว่า: น. พระศิวะ. (ส. ตฺริโลจน ว่า มี ๓ ตา).
【 ตรีโลหก 】แปลว่า: [-หก] น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลหก).
【 ตรีโลหะ 】แปลว่า: น. แร่ทั้ง ๓ คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อระฆัง, หรืออีกตําราหนึ่งว่า
ทองคํา เงิน ทองแดง. (ส. ตฺริโลห).
【 ตรีวาตผล 】แปลว่า: [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
【 ตรีศก 】แปลว่า: น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓.
【 ตรีศูล 】แปลว่า: น. หลาวสามง่ามเป็นศัสตราประจําหัตถ์พระอิศวร.
【 ตรีสมอ 】แปลว่า: น. สมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ.
【 ตรีสมุตถาน 】แปลว่า: [-สะหฺมุดถาน] น. สมุตถาน ๓ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม.
【 ตรีสัตกุลา 】แปลว่า: [-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดํา ผักชีลา ขิงสด.
【 ตรีสันนิบาตผล 】แปลว่า: น. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย.
【 ตรีสาร 】แปลว่า: น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓
อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน
ช้าพลู. (ส.).
【 ตรีสินธุรส 】แปลว่า: น. รสนํ้า ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด.
【 ตรีสุคนธ์ 】แปลว่า: น. กลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน.
【 ตรีสุรผล 】แปลว่า: น. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
【 ตรีเสมหผล 】แปลว่า: น. ผลแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า.
【 ตรีอมฤต 】แปลว่า: [-อะมะริด, -อะมะรึด] น. ของไม่ตาย ๓ อย่าง คือ รากกล้วยตีบ รากกระดอม
มะกอก.
【 ตรีอากาศผล 】แปลว่า: น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
【 ตรีเอกภาพ, ตรีเอกานุภาพ 】แปลว่า: น. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต
【 (คาทอลิก) 】แปลว่า:
หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่ง
ความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
【 ตรีประดับ 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ตรีปวาย 】แปลว่า: [ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทํารับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่
พระนารายณ์ ซึ่งกระทําในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ
ติรุปปาไว).
【 ตรีพิธพรรณ 】แปลว่า: [ตฺรีพิดทะพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่ง.
【 ตรีเพชรทัณฑี 】แปลว่า: [ตฺรีเพ็ดทันที] น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่ง.
【 ตรีเพชรพวง 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ตรียมก 】แปลว่า: [ตฺรียะมก] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ตรียัมปวาย 】แปลว่า: [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ
ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่.
(เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
【 ตรึก ๑ 】แปลว่า: [ตฺรึก] ก. นึก, คิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
【 ตรึกตรอง 】แปลว่า: [ตฺรึกตฺรอง] ก. ใคร่ครวญ, คิดทบทวน, ตริตรอง.
【 ตรึก ๒ 】แปลว่า: [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก,
เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า
ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก
แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ
ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
【 ตรึกถอง 】แปลว่า: ตฺรึก- ว. น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึกถอง หรือ
ไม่ตรึกไม่ถอง เช่น มีทรัพย์สมบัติไม่ตรึกถอง นับไม่ตรึกไม่ถอง.
【 ตรึง 】แปลว่า: [ตฺรึง] ก. ทําให้อยู่กับที่ เช่น ตรึงตะปู ตรึงที่นอน ตรึงข้าศึก, ทําให้อยู่คงที่
เช่น ตรึงราคาสินค้าไว้, ติดอยู่ เช่น ตรึงใจ.
【 ตรึงตรา 】แปลว่า: ก. ติดแน่น.
【 ตรึงศ- 】แปลว่า: ตฺรึงสะ- ว. สามสิบ. (ส. ตฺรึศตฺ; ป. ตึส).
【 ตรุ ๑ 】แปลว่า: [ตฺรุ] น. ที่ขังคน, ตะราง, เรือนจํานักโทษ, คุก.
【 ตรุ ๒ 】แปลว่า: ตะรุ น. ต้นไม้. (ป., ส.).
【 ตรุณ, ตรุณะ 】แปลว่า: ตะรุน, ตะรุนะ น. เด็กรุ่น. ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า
ตรุณี. (ป., ส.).
【 ตรุย 】แปลว่า: ตฺรุย น. กรุย เช่น มีตรุยปัก. (สามดวง).
【 ตรุษ, ตรุษไทย 】แปลว่า: [ตฺรุด] น. เทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกําหนดตามจันทรคติ ตรงกับ
วันแรม ๑๕ คํ่า เดือน ๔.
【 ตรุษจีน 】แปลว่า: [ตฺรุด-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Bougainvillea glabra/ Choisy
ในวงศ์ Nyctaginaceae ใบประดับสีม่วงแดง กลีบดอกสีขาวรวมติดกัน
ปลูกเป็นไม้ประดับ.
【 ตรู 】แปลว่า: [ตฺรู] ว. งาม.
【 ตรู่ 】แปลว่า: [ตฺรู่] น. เวลาสาง ๆ เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
【 ตฤณ, ตฤณ- 】แปลว่า: ตฺริน, ตฺรินนะ- น. หญ้า. (ส.; ป. ติณ).
【 ตฤณชาติ 】แปลว่า: น. หญ้าต่าง ๆ. (ส.).
【 ตฤณมัย 】แปลว่า: ว. แล้วไปด้วยหญ้า, ทําด้วยหญ้า. น. สนามหญ้า. (ส.).
【 ตฤตีย-, ตฤตียะ 】แปลว่า: ตฺริตียะ- ว. ที่ ๓. (ส.; ป. ตติย).
【 ตฤท 】แปลว่า: ตฺริด ก. เจาะ, แทง. (ส.; ป. ตุท).
【 ตฤป 】แปลว่า: ตฺริบ ก. อิ่ม, ให้อิ่ม, ให้กิน, เลี้ยง, กิน เช่น ตฤปตฤณ. (ส.; ป. ตปฺป).
【 ตฤษณา 】แปลว่า: ตฺริดสะหฺนา น. ความปรารถนา, ความอยาก, ความดิ้นรน.
(ส.; ป. ตณฺหา).
【 ตฤๅ 】แปลว่า: [ตฺรี] น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. (ข. ตฺรี).
【 ตลก 】แปลว่า: [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น;
โดยปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก.
ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น
หนังตลก, เรียกผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้
ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
【 ตลกคะนอง 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือทําให้ขบขันด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
【 ตลกโปกฮา 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดชวนให้ขบขันเฮฮา.
【 ตลกหัวเราะ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ตลกบาตร 】แปลว่า: [ตะหฺลก-] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ถลกบาตร ก็ว่า.
【 ตลบ 】แปลว่า: [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับ
ไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น
ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป,
(ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
【 ตลบตะแลง 】แปลว่า: ว. พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน.
【 ตลบนก 】แปลว่า: ก. จับนกโดยการขึงตาข่ายดักไว้ เมื่อนกบินมาก็ตลบตาข่ายแล้วม้วน
ตาข่ายรวบนกเข้าไว้.
【 ตลบหลัง 】แปลว่า: ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วย้อนกลับมาตีหรือทําร้ายภายหลัง.
【 ตลอด 】แปลว่า: [ตะหฺลอด] บ. แต่ต้นไปจนถึงปลาย, แต่ต้นจนจบ, แต่จุดหนึ่งไปจนถึง
อีกจุดหนึ่ง, เช่น ตลอดวันตลอดคืน ดูแลให้ตลอด ทําไปไม่ตลอด, ทั่ว
เช่น ดูแลไม่ตลอด.
【 ตลอดรอดฝั่ง 】แปลว่า: ว. ถึงจุดหมายปลายทาง, พ้นอันตราย, ผ่านอุปสรรคมาได้.
【 ตละ ๑ 】แปลว่า: [ตะละ] ว. เช่น, เหมือน, ดุจ, เช่น ตละยักษ์.
【 ตละ ๒ 】แปลว่า: [ตะละ] น. เจ้า. (ต.).
【 ตละ ๓ 】แปลว่า: [ตะละ] น. พื้น, ชั้น. (ป.).
【 ตลับ ๑ 】แปลว่า: [ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา
โดยมากมีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า
กล่องเล็ก ๆ สําหรับใส่หมาก).
【 ตลับ ๒ 】แปลว่า: [ตะหฺลับ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล/ Meretrix/ วงศ์ Veneridae เปลือก
หนาคล้ายรูปสามเหลี่ยม เป็นมัน มีสีต่าง ๆ กัน ฝังตัวอยู่ตามพื้นที่เป็น
ทรายหรือโคลนในทะเล.
【 ตลับนาก 】แปลว่า: [ตะหฺลับ-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลค่อนข้างกลม กลิ่นหอม.
【 ตลาด 】แปลว่า: [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้
ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ
อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ
รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า
ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
【 ตลาดเงิน 】แปลว่า: น. ที่แลกเปลี่ยนกู้ยืมเงิน.
【 ตลาดท้องน้ำ 】แปลว่า: น. ตลาดนํ้า.
【 ตลาดนัด 】แปลว่า: น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจํา จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวัน
ที่กําหนดเท่านั้น.
【 ตลาดน้ำ 】แปลว่า: น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของ,
ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
【 ตลาดมืด 】แปลว่า: น. ตลาดที่แอบซื้อขายกันลับ ๆ โดยหลีกเลี่ยงข้อกําหนดที่ทางการได้วางไว้.
【 ตลาดยี่สาน 】แปลว่า: น. ตลาดที่ขายของแห้งเช่นผ้า.
【 ตลาดสด 】แปลว่า: น. ตลาดที่ขายของสด.
【 ตลาดหน้าคุก 】แปลว่า: (สํา) ว. แพง. น. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติและผู้ซื้อ
จําเป็นต้องซื้อ.
【 ตลาดหลักทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์,
(ปาก) ตลาดหุ้น.
【 ตลาดหุ้น 】แปลว่า: (ปาก) น. ตลาดหลักทรัพย์.
【 ตลิ่ง 】แปลว่า: [ตะหฺลิ่ง] น. ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมแม่นํ้าลําคลอง.
【 ตลึง 】แปลว่า: [ตะลึง] น. ต้นอัญชัน. (ช.).
【 ตลุก 】แปลว่า: ตะหฺลุก น. ปลักควาย, แอ่งน้ำตามลำห้วยที่ขาดเป็นช่วง ๆ ใน
หน้าแล้ง. (ข. ถฺลุก).
【 ตวง 】แปลว่า: ก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จํานวนหรือปริมาณ; (โบ) นับ, กะ,
ประมาณ, ทําให้เต็ม, เช่น ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง. (จารึกสยาม).
【 ตวงพระธาตุ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ต่วน 】แปลว่า: น. ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
【 ต้วมเตี้ยม 】แปลว่า: ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดิน
หรือคลาน), กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า.
【 ตวัก 】แปลว่า: [ตะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ,
กระจ่า จวัก หรือ จ่า ก็ว่า.
【 ตวัด 】แปลว่า: [ตะหฺวัด] ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัด
ชายกระเบน, โอบรัดเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดคอ, แกว่งไม้หรือเชือกให้
ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้.
【 ตวาด 】แปลว่า: [ตะหฺวาด] ก. ขู่เต็มเสียง, คุกคามด้วยแผดเสียง, พูดเสียงดังด้วยความโกรธ.
【 ตอ 】แปลว่า: น. โคนของต้นไม้ที่ลําต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว, สิ่งบางอย่างเช่นเสาหรือ
หลักที่ปักไว้หรือที่ยังเหลืออยู่แต่โคนเมื่อบางส่วนถูกตัด หัก หรือกร่อนไป,
โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 ตอม่อ 】แปลว่า: น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบน
ของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง
มีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่หรือเสา
ช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า
ตะม่อ ก็มี.
(รูปภาพ ตอม่อ)
【 ต่อ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่น
บางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กใน
สําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว
แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง
(/Vespa cincta/).
【 ต่อ ๒ 】แปลว่า: ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว
ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้
ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น
ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป
เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด
ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ
เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน
โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย
เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่.
น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว.
ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป,
สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ;
เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียก”สิ่งที่เชื่อม
เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ,
ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ,
ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้
แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์,
เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู
ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
【 ต่อกิ่ง 】แปลว่า: ก. นําเอากิ่งของต้นไม้ต้นหนึ่งไปเสียบลงที่ตอของต้นไม้อีกต้นหนึ่งในวงศ์
เดียวกันแล้วเอาผ้ายางเป็นต้นพันตรงที่ต่อไม่ให้นํ้าซึมเข้า.
【 ต่อความยาวสาวความยืด 】แปลว่า: ก. พูดกันไปพูดกันมาให้มากเรื่องเกินสมควร.
【 ต่อตัว 】แปลว่า: ก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง.
น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไป
ยืนเลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
【 ต่อตา 】แปลว่า: ก. ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีตัดเอาส่วนตาของพันธุ์ไม้ที่ต้องการไปติดกับส่วนตา
ของไม้อีกต้นหนึ่งในประเภทเดียวกัน.
【 ต่อตาม 】แปลว่า: ก. พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทําความตกลงกัน.
【 ต่อตี 】แปลว่า: ก. ตีประชันหน้าเข้าไป.
【 ต่อเติม 】แปลว่า: ก. ขยายหรือเพิ่มให้มากหรือใหญ่ขึ้น เช่น ต่อเติมข้อความ ต่อเติมบ้าน.
【 ต่อแต้ม 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ทําเป็นรูปไม้สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ๒ ตอน มีแต้ม
ตั้งแต่ ๑ ถึง ๖; การเล่นไพ่ป๊อกฝรั่งระหว่าง ๒ หรือ ๔ คน โดยเรียงแต้มไพ่
จากรูป ๗ แล้วต่อแต้มสูงขึ้นไปหรือต่อแต้มตํ่าลงมา.
【 ต่อโทรศัพท์ 】แปลว่า: ก. เดินสายเพื่อติดตั้งโทรศัพท์; ติดต่อสื่อสารโดยการหมุนหรือกดเลขหมาย
บนหน้าปัดเครื่องโทรศัพท์.
【 ต่อนัดต่อแนง, ต่อนัดต่อแนม 】แปลว่า: ก. ต่อราคาของเล็ก ๆ น้อย ๆ; เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รู้จักจบ.
【 ต่อบุหรี่ 】แปลว่า: ก. นำบุหรี่ของผู้อื่นที่ติดไฟแล้วมาจ่อกับบุหรี่ของตน แล้วดูด เพื่อให้บุหรี่
ของตนติดไฟ.
【 ต่อปาก 】แปลว่า: ก. เล่าสืบกันมา; พูดยันกันเพื่อสอบสวนฝ่ายผิดฝ่ายถูก.
【 ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ 】แปลว่า: ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
【 ต่อล้อต่อเถียง 】แปลว่า: ว. โต้เถียงกันไปมาไม่หยุดหย่อน.
【 ต่อว่า, ต่อว่าต่อขาน 】แปลว่า: ก. ท้วงถามเหตุผลต่อผู้ที่ทําให้ตนไม่พอใจ, ว่ากล่าวเพราะไม่ทําตามที่พูด
หรือที่ให้สัญญาไว้.
【 ต่อหน้า, ต่อหน้าต่อตา 】แปลว่า: ว. ซึ่งหน้า, เฉพาะหน้า.
【 ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก 】แปลว่า: (สํา) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย,
【 หน้าไหว้ 】แปลว่า:
หลังหลอก ก็ว่า.
【 ต่ออายุ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเพื่อให้มีอายุยืนตามความเชื่อทางไสยศาสตร์.
【 ต่อ ๓ 】แปลว่า: (กลอน) ก. รบ เช่น ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 ต่อสู้ 】แปลว่า: ก. สู้เฉพาะหน้า, รบกัน, ตีรันกัน.
【 ต้อ ๑ 】แปลว่า: น. โรคอย่างหนึ่งเกิดที่ลูกตา ทําให้ตาพิการมองอะไรไม่เห็นชัดเจน หรืออาจ
ทําให้ตาบอดได้ มีหลายชนิด.
【 ต้อกระจก 】แปลว่า: น. โรคตาซึ่งเกิดจากแก้วตาขุ่น. (อ. cataract).
【 ต้อเนื้อ, ต้อลิ้นหมา 】แปลว่า: น. โรคตาซึ่งเกิดจากเยื่อตางอกไปบนกระจกตา. (อ. pterygium).
【 ต้อลำไย 】แปลว่า: น. โรคตาซึ่งเกิดจากกระจกตาขุ่น. (อ. leucoma corneae).
【 ต้อหิน 】แปลว่า: น. โรคตาซึ่งเกิดจากความดันภายในลูกตาสูง เป็นผลให้ประสาทตาเสีย.
(อ. glaucoma).
【 ต้อ ๒ 】แปลว่า: ว. อ้วนสั้น, อ้วนเตี้ย, เช่น ขวดต้อ พลูต้อ.
【 ตอก ๑ 】แปลว่า: ก. เอาค้อนหรือสิ่งอื่นตีตะปูหรือหลักเป็นต้นให้เข้าไป; เร่งให้วัวควายวิ่ง
ใช้ว่า ตอกวัว ตอกควาย น. ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแบนยาว ขนาดหนาหรือ
บางตามต้องการ สําหรับผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ; ชื่อมีดชนิดหนึ่ง ปลาย
แหลมคล้ายมีดเหน็บ แต่สั้นกว่า ด้ามยาวและงอน.
【 ตอกลิ่ม 】แปลว่า: ก. ทำให้แยกโดยใช้ลิ่ม, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้บุคคล ๒ ฝ่าย
แตกแยกกันหรือบาดหมางกันยิ่งขึ้น เช่น ตอกลิ่มให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทะเลาะกัน.
【 ตอกหน้า 】แปลว่า: (ปาก) ก. ว่าใส่หน้าอย่างไม่ไว้หน้า.
【 ตอกหมัน 】แปลว่า: ก. ตอกลูกประสักกำกับให้กระดานเรือติดกับกงเป็นต้น.
【 ตอก ๒ 】แปลว่า: ก. แตก. น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอกว่า
ข้าวตอก.
【 ต๊อก ๑ 】แปลว่า: น. เรียกกลองเล็ก ๆ สําหรับเคาะจังหวะดังต๊อก ๆ ว่า กลองต๊อก.
【 ต๊อก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิด /Numida meleagris/ ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว
เหนียงสีแดง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
【 ต๊อก ๓, ต๊อก ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่เดินเรื่อย ๆ ไปหรืออาการที่วิ่งไปวิ่งมาอย่างเด็ก
วิ่งเล่น เช่น เดินต๊อก ๆ วิ่งต๊อก ๆ.
【 ต๊อกต๋อย 】แปลว่า: ว. ซอมซ่อ.
【 ต่อกร 】แปลว่า: -กอน ก. สู้กัน.
【 ตอง ๑ 】แปลว่า: น. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง
โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จํานวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ
เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง
ไพ่ ๒ ตอง.
【 ตอง ๒ 】แปลว่า: /ดู สลาด./
【 ต้อง 】แปลว่า: ก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ; เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น
ต้องกิน ต้องนอน ต้องทํา. น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกัน
ว่าถูกผีกระทําว่า ข้าวต้อง.
【 ต้องกัน 】แปลว่า: ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน.
【 ต้องคดี 】แปลว่า: (กฎ) ก. ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องในคดีอาญา.
【 ต้องใจ 】แปลว่า: ก. ชอบ, ถูกใจ.
【 ต้องตา 】แปลว่า: ก. ถูกตา. ว. น่าดู.
【 ต้องโทษ 】แปลว่า: ก. ถูกตัดสินให้ลงโทษในคดีอาญา.
【 ต้องธรณีสาร 】แปลว่า: ก. เป็นเสนียดจัญไร.
【 ต้องหา 】แปลว่า: ก. ถูกกล่าวหาในคดีอาญา.
【 ตองกราย 】แปลว่า: /ดู กราย ๑./
【 ต้องการ 】แปลว่า: ก. อยากได้, ใคร่ได้, ประสงค์.
【 ตองตอย 】แปลว่า: ว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ,
ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).
【 ตองตึง 】แปลว่า: /ดู พลวง ๒./
【 ต้องเต 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง, จ้องเต ก็ว่า.
【 ตองแตก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Baliospermum montanum/ (Willd.) Muell. Arg. ในวงศ์
Euphorbiaceae รากใช้ทํายาได้ แต่มีสารพิษอยู่ด้วย เมล็ดมีพิษ, ทนดี
ก็เรียก.
【 ต่องแต่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, กระต่องกระแต่ง ก็ว่า.
【 ตองเปรียง 】แปลว่า: [-เปฺรียง] น. จองเปรียง คือพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเจ้า
ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒. (สามดวง).
【 ต้องสู้ 】แปลว่า: น. ชนชาติกะเหรี่ยงหรือยางพวกหนึ่ง.
【 ตองเหลือง 】แปลว่า: น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ผีตองเหลือง ก็เรียก.
【 ตอด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการ
เหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
【 ตอด ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. ต้นสลอด.
【 ตอด ๓ 】แปลว่า: น. การบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ทําเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทํานอง
เพลง, ลูกตอด ก็ว่า.
【 ตอดต่อ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ต่อต้าน 】แปลว่า: ก. ปะทะไว้, ต้านทานไว้, สู้รบป้องกันไว้.
【 ตอน 】แปลว่า: น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น
แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือ
เล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือ
ของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือก
ออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอก
ดีแล้วตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือ
ทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
【 ต้อน 】แปลว่า: ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า
คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง
ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ
ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
【 ต้อนรับ 】แปลว่า: ก. รับรอง, รับแขก.
【 ต้อนรับขับสู้ 】แปลว่า: (สํา) ก. ต้อนรับอย่างแข็งขัน.
【 ต้อนหมูเข้าเล้า 】แปลว่า: (สํา) ก. บังคับคนที่ไม่มีทางสู้.
【 ตอบ 】แปลว่า: ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ
ด่าตอบ เยี่ยมตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบ
คําถาม, แจ้งกลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มี
ลักษณะยุบลึกเข้าไปว่า แก้มตอบ.
【 ตอบโต้ 】แปลว่า: ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทําของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น.
【 ตอบแทน 】แปลว่า: ก. ทําทดแทนแก่ผู้ทําก่อน, ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน, เช่น ตอบแทนบุญคุณ,
บางทีใช้สั้น ๆ ว่า ตอบ เช่น เลี้ยงตอบ.
【 ตอเบา 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระถิน. /(ดู กระถิน)./
【 ตอม 】แปลว่า: ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียน
อยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชาย
ตอมผู้หญิง.
【 ต่อม 】แปลว่า: น. เม็ดตุ่มที่ขึ้นตามตัว; (สรีร) อวัยวะของคนและสัตว์ ทําหน้าที่สร้างและหลั่ง
สารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกาย มี ๒ ชนิด คือ ต่อมไร้ท่อ และ ต่อมมีท่อ.
【 ต่อมน้ำ ๑ 】แปลว่า: น. ฟองอากาศที่ผุดขึ้นปุด ๆ เหนือนํ้า.
【 ต่อมโลหิต 】แปลว่า: น. เลือดระดูผู้หญิง.
【 ต๋อม 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า
เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).
【 ต่อมน้ำ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ต่อม./
【 ต่อมน้ำ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวตาจระเข้ ดาวไต้ไฟ หรือ ดาวเสือ
ก็เรียก.
【 ต่อย 】แปลว่า: ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก
เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย;
โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ
เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
【 ต้อย ๑ 】แปลว่า: ว. จ้อย, เตี้ย, เล็ก, น้อย, เช่น ไก่ต้อย.
【 ต้อย ๒, ต้อย ๆ 】แปลว่า: ว. หย่อย ๆ, ตามกันไปติด ๆ, ตามหลังไปติด ๆ, เช่น เดินตามต้อย ๆ.
【 ต้อยตริ่ง 】แปลว่า: [-ตะหฺริ่ง] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ต้อยติ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด/ Hygrophila erecta/
Hochr. ดอกเล็ก สีม่วงแดง เมล็ดใช้ทํายาพอกฝี และชนิด /Ruellia tuberosa/
L. ดอกใหญ่ สีม่วงนํ้าเงิน, อังกาบฝรั่ง ก็เรียก.
【 ต้อยตีวิด 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Vanellus indicus/ ในวงศ์ Charadriidae ตัวขนาดนกเขาใหญ่
หัวสีดําขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดทางด้านหน้าจากขอบตาหนึ่ง
ไปอีกขอบตาหนึ่ง ปากยาว ขายาวสีเหลือง ตีนมี ๔ นิ้ว นิ้วหลังเป็นติ่งเล็ก
ร้องเสียงแหลม “แตแต้แว้ด” กินสัตว์ขนาดเล็ก วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน,
กระต้อยตีวิด กระแตแต้แว้ด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก.
【 ต่อยหอย 】แปลว่า: ว. ฉอด ๆ, ไม่รู้จักหยุด, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดเป็นต่อยหอย.
【 ตอแย 】แปลว่า: ก. ยั่วให้เกิดความรําคาญหรือให้โกรธ, สนใจ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น
อย่าไปตอแยด้วย.
【 ต่อแย้ง 】แปลว่า: ก. เกี่ยงกันไว้, สู้รบขัดขืนไว้.
【 ตอร์ปิโด 】แปลว่า: น. เครื่องกลจําพวกลูกระเบิดที่ปล่อยให้แล่นไปในนํ้า เพื่อทําลายที่หมายใน
การศึก, ลักษณนามว่า ลูก. (อ. torpedo).
【 ต่อไส้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Allophylus cobbe /(L.) Raeusch ในวงศ์ Sapindaceae
ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใช้ทํายาได้.
【 ตอแหล ๑ 】แปลว่า: [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก
(ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
【 ตอแหล ๒ 】แปลว่า: [-แหฺล] ว. เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วผิดปรกติ เช่น มะเขือตอแหล.
【 ตะ 】แปลว่า: ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่
ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
【 ตะกรน ๑ 】แปลว่า: [-กฺรน] น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอด
ด้ายอยู่ข้างใน.
【 ตะกรน ๒ 】แปลว่า: [-กฺรน] น. ขี้ตะกอนที่จับเกรอะอยู่ที่ก้นภาชนะ, กากโลหะที่หลอมแล้วติดอยู่
ตามก้นเบ้า, ตะกรัน ก็ว่า.
【 ตะกรวย 】แปลว่า: -กฺรวย น. กรวย เช่น สานตะกร้อตะกรวยครอบศีรษะ. (สามดวง).
【 ตะกร้อ 】แปลว่า: [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอย
ผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี
ตรงปากมีฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิด
นํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดอง
และกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึง
เช่นนั้น สําหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูป
ตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับ
นั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
【 ตะกร่อม 】แปลว่า: [-กฺร่อม] น. เครื่องมือจับปูทะเล. /(ดู กะกร่อม)./
【 ตะกรัน 】แปลว่า: [-กฺรัน] /ดู ตะกรน ๒./
【 ตะกรับ ๑ 】แปลว่า: [-กฺรับ] น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลม
เดินผ่านได้ และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง (โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้า
เรือกลไฟเป็นต้น), รังผึ้ง ก็ว่า; เหล็กทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามจับ สําหรับปิ้งปลาเป็นต้น.
【 ตะกรับ ๒ 】แปลว่า: [-กฺรับ] น. ชื่อกกชนิด/ Cyperus procerus/ Rottb. ในวงศ์ Cyperaceae
ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล.
【 ตะกรับ ๓ 】แปลว่า: [-กฺรับ] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด/ Scatophagus argus/ ในวงศ์
Scatophagidae รูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน
เกล็ดเล็ก สากมือ สีพื้นลําตัวมี แตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว เทาหรือนํ้าตาล
ครึ่งบนของลําตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดํา พาดขวางหลายแนวและ
แตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา
อยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและทะเล, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. (๒) /ดู หมอช้างเหยียบ./
【 ตะกร้า 】แปลว่า: [-กฺร้า] น. ภาชนะสานโปร่งสําหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้ว
บางชนิดไม่มี.
【 ตะกราม 】แปลว่า: [-กฺราม] น. ชื่อนกกระสาชนิด /Leptoptilos dubius/ ในวงศ์ Ciconiidae เป็นนก
กระสาที่ใหญ่ที่สุด ตัวสีเทา หัวสีแดงส้ม ตลอดหัวและลําคอไม่มีขน ปากใหญ่
แข็งแรงปลายแหลมตรง ขายาว มีถุงลมสีส้มห้อยอยู่ด้านหน้าของลําคอและมี
พู่ขนสีขาวรอบฐานคอ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก.
【 ตะกรุด 】แปลว่า: [-กฺรุด] น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลง
คาถาอาคม แล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด ก็ว่า.
【 ตะกรุม ๑ 】แปลว่า: [-กฺรุม] น. ชื่อนกกระสาชนิด /Leptoptilos javanicus/ ในวงศ์ Ciconiidae
รูปร่างคล้ายนกตะกราม แต่ขนาดเล็กกว่า หัวและคอสีเหลือง ไม่มีถุงลม
และพู่ขนสีขาว ที่คอ.
【 ตะกรุม ๒ 】แปลว่า: [-กฺรุม] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตะกรุมตะกราม 】แปลว่า: [-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทําไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการ
บริโภค เป็นต้น.
【 ตะกละ, ตะกลาม 】แปลว่า: [-กฺละ, -กฺลาม] ว. มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า ตะกละ
ตะกลาม ก็มี, จะกละจะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.
【 ตะกวด 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด /Varanus bengalensis /ในวงศ์ Varanidae ตัว
สีนํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้
ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง
พาดตัวนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
【 ตะกอ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้าย
ยืนให้ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
【 ตะกอ ๒ 】แปลว่า: ว. หนุ่ม, รุ่น, มักใช้เข้าคู่กับคํา รุ่น และ หนุ่ม เป็น รุ่นตะกอ หนุ่มตะกอ, ใช้ว่า
สะกอ ก็มี.
【 ตะกอน 】แปลว่า: น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะ
เป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทาง
พัฒนาการของชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือ
ธารนํ้าแข็ง.
【 ตะกัง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัว
เวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง,
ปะกัง ก็ว่า.
【 ตะกั่ว 】แปลว่า: น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่
ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง
ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน
ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ
โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว
และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
【 ตะกั่วเกรียบ 】แปลว่า: น. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเพื่อให้แข็ง.
【 ตะกั่วแดง 】แปลว่า: น. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะเป็นผง
ละเอียดสีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสีทา และทําแก้ว, เสน
ก็เรียก. (อ. red lead, minium).
【 ตะกั่วตัด 】แปลว่า: ว. สีนกพิราบหรือสีเทาอมฟ้า.
【 ตะกาง 】แปลว่า: น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้างสำหรับผูกเหยื่อลอยน้ำไว้;
เครื่องล่อใจ; สะกาง ก็เรียก.
【 ตะกาด ๑ 】แปลว่า: น. ที่ดินซึ่งอยู่หลังหาดชายทะเลขึ้นไป แต่มีนํ้าเค็มซึมขึ้นไปถึงได้.
【 ตะกาด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae อันดับ Decapoda
เช่น ชนิด /Metapenaeus ensis/ พบในบริเวณนํ้ากร่อยและ
ชายฝั่งทะเล, ชันกาด ก็เรียก.
【 ตะกาย 】แปลว่า: ก. ป่ายปีน เช่น แมวตะกายฝา หมาตะกายเจ้าของ.
【 ตะกาว 】แปลว่า: น. ขอสําหรับเกี่ยวเรือ.
【 ตะกุกตะกัก 】แปลว่า: ว. ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก, ไม่ราบรื่น, (มักใช้แก่การอ่านหรือพูด).
【 ตะกุย 】แปลว่า: ก. เอามือหรือเท้าเป็นต้นคุ้ยหรือข่วน.
【 ตะกุยตะกาย 】แปลว่า: ก. พยายามป่ายปีนให้พ้นอันตราย.
【 ตะกู 】แปลว่า: /ดู กระทุ่ม ๑./
【 ตะกูด 】แปลว่า: น. หางเสือเรือ, จะกูด หรือ จังกูด ก็ว่า.
【 ตะเกียกตะกาย 】แปลว่า: ก. พยายามป่ายปีนไป, พยายามทุกทางเพื่อให้ประสบความสําเร็จ.
【 ตะเกียง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับตามไฟ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหลอดบังลม, ลักษณนาม
ว่า ดวง.
【 ตะเกียงแก๊ส 】แปลว่า: น. ตะเกียงที่ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับนํ้าได้แก๊สอะเซทิลีน
ซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง.
【 ตะเกียงเจ้าพายุ 】แปลว่า: น. ตะเกียงชนิดหนึ่ง เมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันน้ำมันเป็นไอขึ้นไปเลี้ยง
ไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
【 ตะเกียงรั้ว 】แปลว่า: น. ตะเกียงหิ้วที่มีลวดพันรอบครอบแก้วซึ่งครอบดวงไฟ.
【 ตะเกียงลาน 】แปลว่า: น. ตะเกียงชนิดไขลานให้ใบพัดหมุนเป่าลมไล่ควันและช่วยให้ไฟสว่างนวล.
【 ตะเกียง ๒ 】แปลว่า: น. หน่อสับปะรดที่แตกออกจากโคนขั้วของผล, หน่อกล้วยไม้ประเภทหวาย
ที่แตกออกจากข้อ.
【 ตะเกียบ 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้น
คู่หนึ่งที่ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้
พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่ง
ออกแล้วโน้มเสากลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ
เช่น ตะเกียบรถจักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคน
ที่ ลีบเล็กว่าขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง;
กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
【 ตะแก, ตะแก่ 】แปลว่า: น. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).
【 ตะแกรง 】แปลว่า: [-แกฺรง] น. ภาชนะสานรูปแบน ขอบกลม มีตาห่าง สําหรับร่อนสิ่งของหรือ
ช้อนกุ้งปลาเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น ตะแกรงหน้าหัวรถจักร.
【 ตะโก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล/ Diospyros/ วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดํา
คลํ้า เช่น ตะโกสวน (/D. malabarica/ Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา
(/D. rhodocalyx/ Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
【 ตะโก ๒ 】แปลว่า: น. เสือ เช่น ทับตะโก ว่า ถิ่นของเสือ. (กะเหรี่ยง).
【 ตะโก้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับ
นํ้าตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง.
【 ตะโก้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก.
【 ตะโกก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae
หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า
แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน
ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล /Cyclocheilichthys/ เช่น ชนิด /C. enoplos,/
/C. dumerilii/สกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด /Cosmochilus harmandi,/
/Albulichthys alburoides./
【 ตะโกก ๒ 】แปลว่า: น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควาย
สําหรับลากเลื่อน เป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโหงก ก็เรียก.
【 ตะโกขาว 】แปลว่า: /ดู ล้อมปรวด./
【 ตะโกดำ 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง./
【 ตะโกน 】แปลว่า: ก. ออกเสียงดังกว่าปรกติเพื่อให้ได้ยิน.
【 ตะโกรง 】แปลว่า: [-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความ
อยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).
【 ตะโกรม 】แปลว่า: [-โกฺรม] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล/ Crassostrea/ วงศ์ Ostreidae ลักษณะ
เหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่ มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Crassostrea iredalei,/
/C. belcheri,/ นางรมใหญ่ ก็เรียก.
【 ตะโกส้ม 】แปลว่า: /ดู กระทุ่ม ๑./
【 ตะไกร ๑ 】แปลว่า: [-ไกฺร] น. เครื่องมือสําหรับตัดโดยใช้หนีบ มี ๒ ขา, ลักษณนามว่า เล่ม,
เขียนเป็น กรรไกร หรือ กรรไตร ก็มี.
【 ตะไกร ๒ 】แปลว่า: [-ไกฺร] น. คําเรียกเหยี่ยวชนิดหนึ่งว่า เหยี่ยวตะไกร. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตะขบ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล/ Flacourtia/ วงศ์ Flacourtiaceae เช่น
ตะขบไทย (/F. rukam/ Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดง
หรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด /Muntingia calabura/
L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลม เล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง
รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.
【 ตะขบฝรั่ง 】แปลว่า: /ดู ตะขบ (๒)./
【 ตะขอ 】แปลว่า: /ดู ตาขอ ที่ ตา ๒./
【 ตะขาบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ที่มีลําตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลําตัวยาวแบน
หรือค่อนข้างแบน มีจํานวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไป
จนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุด ท้ายขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้าน
ข้างของลําตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรกบางชนิดมีนํ้าพิษ ทําให้
ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (/Scolopendra morsitans/) ในวงศ์
Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.
【 ตะขาบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ตาม
สายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน อยู่
ตามลําพัง ทํารังในโพรง ไม้” ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (/Coracias/
/benghalensis/) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง
(/Eurystomus orientalis/) ตัวสีนํ้าเงินเข้มหรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด
ปากสีแดง.
【 ตะขาบ ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก
ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี
กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน
ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด
กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
【 ตะขิดตะขวง 】แปลว่า: ก. อาการที่ทําโดยไม่สนิทใจหรือไม่สะดวกใจเพราะกระดากอายเป็นต้น.
【 ตะเข้ ๑ 】แปลว่า: (ปาก) น. จระเข้.
【 ตะเข้ ๒ 】แปลว่า: น. ตัวไม้จากกลางจั่วบ้านตรงมายังชายคา พาดเป็นมุม ๔ มุม มีเฉพาะ
บ้านทรงปั้นหยาหรือทรงมนิลา; ไม้ยึดเสาเรือนหรือเสาเขื่อน.
【 ตะเข้ขบฟัน 】แปลว่า: น. เรียกข้อไม้ตะพดที่ซ้อนกันและมีตาขบกัน.
【 ตะเข็บ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับตะขาบ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก
เช่น ยาวตํ่ากว่า ๕-๖ เซนติเมตรลงไป ลําตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓
ปล้องแต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ และขายาวกว่าปล้องลําตัวมาก ที่แพร่หลาย
เช่น สกุล/ Geophilus/ ในวงศ์ Geophilidae, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก.
【 ตะเข็บ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Metapenaeus/ วงศ์
Penaeidae ตัวแบน.
【 ตะเข็บ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Pothos scandens/ L. ในวงศ์ Araceae เกาะติดกับ
ต้นไม้ใหญ่, หวายตะมอย ก็เรียก.
【 ตะเข็บ ๔ 】แปลว่า: น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด.
【 ตะเข็บไต่ขอน 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ตะเขิง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).
【 ตะโขง 】แปลว่า: น. ชื่อจระเข้ชนิด /Tomistoma schlegelii/ ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด
ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม
ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า
เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้
ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
【 ตะคร้อ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด/ Schleichera oleosa/ (Lour.) Oken
ในวงศ์ Sapindaceae ผลรสเปรี้ยวอมหวาน, สะคร้อ ก็เรียก.
【 ตะครอง 】แปลว่า: [-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด/ Ziziphus cambodiana /Pierre
ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.
【 ตะครั่นตะครอ 】แปลว่า: ว. อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือ
คล้ายจะเป็นไข้.
【 ตะคร้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Garuga pinnata /Roxb. ในวงศ์ Burseraceae
ดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลเล็ก เป็นร่องตามยาว.
【 ตะคริว, ตะคิว 】แปลว่า: น. อาการหดตัวของกล้ามเนื้อและค้างอยู่ ทําให้เกิดการเจ็บปวด.
【 ตะครุบ 】แปลว่า: ก. เอามือตะปบลงจับโดยเร็ว.
【 ตะครุบกบ 】แปลว่า: ก. หกล้มเอามือเท้าพื้น.
【 ตะคลับตะคล้าย 】แปลว่า: ก. คลับคล้าย. (ดึกดําบรรพ์).
【 ตะคอก 】แปลว่า: ก. ตวาด, ขู่เสียงดัง.
【 ตะคัน 】แปลว่า: น. เครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจาน สําหรับวางเทียนอบ หรือเผากํายาน
เมื่อเวลาอบนํ้าทํานํ้าอบไทยเป็นต้น หรือใช้ใส่นํ้ามันตามไฟต่างตะเกียง.
(รูปภาพ ตะคัน)
【 ตะค้า 】แปลว่า: น. ชื่อหวายชนิด/ Calamus tigrinus Kurz ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน /
เนื้อเหนียว ใช้ผูกสิ่งของ.
【 ตะค้าทอง 】แปลว่า: น. ชื่อหวายชนิด /Calamus caesius/ Blume ในวงศ์ Palmae ผิวเป็นมัน
ใช้จักสานทําภาชนะและเครื่องเรือนชั้นดี.
【 ตะคาก 】แปลว่า: น. แง่กระดูกเชิงกรานที่อยู่ใต้บั้นเอว, หัวตะคาก ก็เรียก.
【 ตะคาง 】แปลว่า: น. เม็ดผดที่เกิดขึ้นตามขาด้วยระคายต้นหญ้าหรือขนกระบือ, ระคาง ก็ว่า.
【 ตะค้าน 】แปลว่า: /ดู สะค้าน./
【 ตะคุ่ม, ตะคุ่ม ๆ 】แปลว่า: ว. ที่เห็นเป็นเงาดํา ๆ เพราะอยู่ในที่หรือในระยะที่เห็นไม่ถนัด.
【 ตะเครียว, ตะเคียว ๑ 】แปลว่า: [-เคฺรียว] น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นตาโปร่งมีหูรูด.
【 ตะเคียว ๒ 】แปลว่า: น. อาการที่ลูกบาศก์หรือลูกเต๋าเป็นต้นพิงตะแคงไม่ลงหน้าเรียบ.
【 ตะเคียน, ตะเคียนทอง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Hopea odorata /Roxb. ในวงศ์
【 Dipterocarpaceae 】แปลว่า:
เนื้อไม้แข็ง ใช้เลื่อยเป็นกระดาน และขุดทําเรือ.
【 ตะเคียนเผือก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด/ Homalium grandiflorum/ Benth. /var./
/grandiflorum/ ในวงศ์ Flacourtiaceae มักขึ้นริมนํ้าและที่ชุ่มชื้น
ดอกคล้ายดอกพิกุล, ไก๊ หรือ พิกุลป่า ก็ เรียก.
【 ตะแคง 】แปลว่า: ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป.
【 ตะไคร่ 】แปลว่า: [-ไคฺร่] น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ บางทีก็เกิดในนํ้าและตามพื้นดิน
หรือกําแพง ที่ชุ่มชื้น.
【 ตะไคร้ 】แปลว่า: [-ไคฺร้] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Cymbopogon citratus/ (DC.) Stapf ในวงศ์
【 Gramineae 】แปลว่า:
ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหารได้.
【 ตะไคร้แดง, ตะไคร้หอม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Cymbopogon nardus/ (L.) Rendle ในวงศ์
【 Gramineae 】แปลว่า:
ต้นใหญ่กว่าตะไคร้ กาบและขอบใบสีแดง กลิ่นหอม.
【 ตะไคร้น้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Homonoia riparia/ Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเรียว
เล็ก มักขึ้นตามซอกหินในลําธารและริมนํ้า.
【 ตะไคร้บก 】แปลว่า: /ดู สนุ่น ๑./
【 ตะไคร้หางนาค 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Rotula aquatica /Lour. ในวงศ์ Ehretiaceae
【 ขึ้นเป็นกอตาม 】แปลว่า:
ซอกหินริมลําธาร กิ่งเรียวกลมเหนียวมาก.
【 ตะเฆ่ 】แปลว่า: น. เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ย ๆ มีล้อ.
【 ตะแง้ 】แปลว่า: น. เรียกแขนงของทะลายหมากหรือแขนงของรวงข้าว ว่า ตะแง้หมาก
ตะแง้ข้าว, ระแง้ ก็เรียก.
【 ตะติน 】แปลว่า: (กลอน) ว. เตาะแตะ, ต้อย ๆ, บอกอาการเดิน เช่น แล่นตะตินยงงท่า.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ตะนอย 】แปลว่า: น. ชื่อมดหลายสกุลในวงศ์ Formicidae เช่น สกุล/ Diacamma, Leptogenys,/
/Lobopelta/ทุกชนิดมีอวัยวะสําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ ที่พบ
ทั่วไป คือ ชนิด /D. rugosum/ ซึ่งมีลําตัวยาว ๑-๑.๒ เซนติเมตร สีดํา ทํารัง
อยู่เป็นฝูงตามกอหญ้า ใต้ก้อนหิน หรือใต้ ดินที่ชื้นต่าง ๆ.
【 ตะนาว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกระแจะเครื่องหอมชนิดหนึ่ง.
【 ตะนาว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.
【 ตะบม 】แปลว่า: ว. รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น เที่ยวตะบม.
【 ตะบอง 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม, ที่มีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก
เรียกว่า ตะบองยาว ที่มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น,
กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า.
【 ตะบองแดง 】แปลว่า: (โบ) น. ตะบองอาญาสิทธิ์ สำหรับถือไปเก็บสมุนไพรเพื่อทํายาของหลวง.
【 ตะบองกัน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงกลองชนิดหนึ่ง, กระบองกัน ก็ว่า.
【 ตะบองเพชร ๑ 】แปลว่า: น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระ สำหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก,
กระบองเพชร ก็เรียก.
【 ตะบองเพชร ๒ 】แปลว่า: /ดู กระบองเพชร ๒./
【 ตะบอย 】แปลว่า: ว. อาการที่ทําอย่างชักช้ารํ่าไร.
【 ตะบัน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง
มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด
ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ
ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน.
(รูป ภาพ ตะบัน)
【 ตะบันน้ำกิน 】แปลว่า: (สำ) ว. แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว.
【 ตะบันไฟ 】แปลว่า: น. ของอย่างหนึ่งรูปคล้ายตะบัน ทําด้วยเขาควายเป็นต้น มีลูกตะบันสําหรับ
ตบลงไปในกระบอกโดยเร็วเพื่อให้เกิดไฟติดเชื้อที่ปลายลูกตะบันนั้น.
(รูปภาพ ตะบันไฟ)
【 ตะบัน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด/ Xylocarpus rumphii/ (Kostel.) Mabb. ในวงศ์
Meliaceae ขึ้นตามโขดหินชายทะเล.
【 ตะบิ้ง 】แปลว่า: น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, กระบิ้ง ก็เรียก.
【 ตะบิด 】แปลว่า: ก. บิด เช่น โพกผ้าพันตะบิดถือกริชกราย. (อิเหนา).
【 ตะบิดตะบอย 】แปลว่า: ว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้ารํ่าไร.
【 ตะบี้ตะบัน 】แปลว่า: (ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
【 ตะบึง 】แปลว่า: ว. รีบเร่งไปไม่หยุดหย่อน เช่น ควบม้าตะบึงไป.
【 ตะบุ้ย, ตะบุ้ย ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่บอกส่ง ๆ ไปหรือทําให้พ้น ๆ ไป.
【 ตะบูน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล /Xylocarpus/ วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลน
และริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (/X. granatum/
Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดํา [/X. moluccensis/
(Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดํา ผลขนาดส้มเกลี้ยง.
【 ตะเบ็ง 】แปลว่า: ก. เบ่งเสียงออกให้ดังเกินสมควร.
【 ตะเบ็งมาน 】แปลว่า: ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ,
ตะแบงมาน ก็ว่า.
【 ตะเบ๊ะ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์.
【 ตะแบก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล/Lagerstroemia/ วงศ์ Lythraceae ผิวเปลือก
เรียบล่อนเป็นสะเก็ด ดอกสีม่วง เช่น ตะแบกนา (/L. floribunda /Jack).
【 ตะแบง ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือเถียงเฉไฉหรือดันไปข้าง ๆ คู ๆ.
【 ตะแบงมาน 】แปลว่า: ว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูก
ที่ ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.
【 ตะแบง ๒ 】แปลว่า: /ดู กราด ๔./
【 ตะโบม 】แปลว่า: ก. เล้าโลม, โอบกอด.
【 ตะไบ 】แปลว่า: น. เหล็กเครื่องมือใช้ถูไม้หรือโลหะอื่น ๆ ให้เกลี้ยงเกลาเป็นต้น มีหลายชนิด
เช่น ตะไบท้องปลิง ตะไบหางหนู. ก. ถูด้วยตะไบ เช่น ตะไบเล็บ.
【 ตะไบเล็บ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์แต่งเล็บมักทำด้วยโลหะ มีลักษณะแบนยาวที่ผิวหน้าทั้ง ๒ ด้าน
บั้งเป็นรอยหยาบ ๆ สำหรับถูเล็บ.
【 ตะปบ 】แปลว่า: ก. ตบด้วยอุ้งมือหรืออุ้งเท้าหน้า เช่น เสือตะปบ, ปบ ก็ว่า.
【 ตะปลิง 】แปลว่า: น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท
เช่น ตะปูตะปลิงยิงตรึงกระชับชิด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขี้ยวตะขาบ ตัวปลิง
หรือ ปลิง ก็เรียก.
【 ตะปัดตะป่อง 】แปลว่า: ว. สะบัดสะบิ้ง, แสนงอน, กระตุ้งกระติ้ง, ตุปัดตุป่อง ก็ใช้.
【 ตะปิ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง
จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก.
【 ตะปุ่มตะป่ำ 】แปลว่า: ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด, ปุ่มป่ำ ก็ว่า.
【 ตะปู 】แปลว่า: น. สิ่งทําด้วยโลหะ มีปลายแหลม หัวมนแบน ขนาดต่าง ๆ กัน สําหรับตรึง
สิ่งอื่นให้แน่นโดยใช้ค้อนเป็นต้นตอกลงไป, ตาปู ก็เรียก.
【 ตะปูเข็ม 】แปลว่า: น. ตะปูที่มีขนาดเล็กมาก.
【 ตะปูควง 】แปลว่า: น. ตะปูที่มีเกลียว หัวเป็นร่องหรือเป็น ๔ แฉก ใช้ไขควงไข.
【 ตะปูหัวเห็ด 】แปลว่า: น. ตะปูที่มีหัวบานเหมือนดอกเห็ด สําหรับตอกสังกะสีเป็นต้น.
【 ตะพง 】แปลว่า: (แบบ) ว. ตะโพง เช่น แล้วตะพงพายรีบกลับไป. (นิ. เมืองเทศ).
【 ตะพด 】แปลว่า: น. ไม้ถืออย่างหนึ่งทําด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๑ เมตร.
【 ตะพอง 】แปลว่า: น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง กะพอง หรือ ตระพอง ก็ว่า.
【 ตะพัก 】แปลว่า: น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดินสูง
ขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตรก็ได้;
ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะขยาย
ตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็น
ขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ.
(ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 ตะพัง 】แปลว่า: น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, กระพัง ตระพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพำง ว่า
บ่อที่เกิด เอง).
【 ตะพัด ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล, สะพัด ก็ว่า.
【 ตะพัด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด/ Scleropages formosus /ในวงศ์ Osteoglossidae หรือ
ชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมี
พืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลําตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของ
สันหลังตรงโดยตลอดแนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้น
อยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลมเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง
พื้นลําตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาใน
จังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น
สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.
【 ตะพั้น 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา
ตามตํารา แพทย์แผนโบราณว่ามักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, สะพั้น ก็ว่า.
【 ตะพาก 】แปลว่า: น. ชื่อปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด/ Puntius daruphani/ ในวงศ์ Cyprinidae
เกล็ดใหญ่สีเหลือง พบตามแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ, กระพาก ก็เรียก.
【 ตะพาน 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น บางทีทํายื่นลงไป
ในนํ้าสําหรับขึ้นลง, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง, สะพาน ก็ว่า.
【 ตะพานช้าง 】แปลว่า: น. สะพานที่ทําแข็งแรงสําหรับให้ช้างข้ามในสมัยโบราณ.
【 ตะพานหนู 】แปลว่า: น. สะพานหนู.
【 ตะพาบ, ตะพาบน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดอง
อ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่น
ยาว ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบ (/Amyda cartilageneus/)
ม่านลาย (/Chitra chitra/), กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
【 ตะพาย 】แปลว่า: ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยา
ที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่
คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับ
ให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา;
เรียกเชือกที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะ
สําหรับร้อยเชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
【 ตะพายแล่ง 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดตะพายแล่ง, สะพายแล่ง ก็ว่า.
【 ตะพึด 】แปลว่า: ว. ตะบึงไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น ขอตะพึด.
【 ตะพึดตะพือ 】แปลว่า: ว. รํ่าไป, เรื่อยไป, ดึงดันทําเรื่อยไป.
【 ตะพุ่น ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. พวกคนหลวงที่ถูกเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง.
【 ตะพุ่นหญ้าช้าง 】แปลว่า: (โบ) น. โทษอาญาหลวงสมัยโบราณ; คนที่ถูกลงโทษให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง.
【 ตะพุ่น ๒ 】แปลว่า: ว. สีชนิดหนึ่งคล้ายสีครามจาง เรียกว่า สีตะพุ่น.
【 ตะเพรา 】แปลว่า: [-เพฺรา] น. ไม้ขอสําหรับเกี่ยวให้เรือเข้าหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา;
ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าวเป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกัน
กระแทกเรียกว่า ลูกตะเพรา.
【 ตะเพิง 】แปลว่า: น. เงื้อมเขาที่งอกงุ้มลงมา.
【 ตะเพิด 】แปลว่า: ก. ตวาดให้หนีไป, ร้องให้ตกใจหนีไป, ไล่ส่งไป, โบราณเขียนเป็น กระเพลิด ก็มี.
【 ตะเพิ่น 】แปลว่า: ว. พล่านไป, เจิ่นไป.
【 ตะเพียน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล
/Puntius/ และ Cyclocheilichthys หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มีลําตัว
สั้นป้อม แบนข้าง เช่น ตะเพียนขาว (/P. gonionotus/) ตะเพียนทอง (/P. altus/)
ตะเพียนหางแดง หรือ กระแห (/P. schwanenfeldi/) ส่วนที่มีลําตัวเรียวกว่า เช่น
ตะเพียนทราย(/P. leiacanthus, C. apogon/).
【 ตะเพียนทอง 】แปลว่า: /ดู พิมพา./
【 ตะเพียนน้ำเค็ม 】แปลว่า: /ดู โคก ๒./
【 ตะเพียนหางแดง 】แปลว่า: /ดู กระแห, กระแหทอง./
【 ตะโพก 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง,
กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์
สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
【 ตะโพกสุดเสียงสังข์ 】แปลว่า: (สำ) น. เรียกตะโพกหญิงที่ผายออกมาก.
【 ตะโพง 】แปลว่า: ว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทํา
คลุมโปง ตะโพงดัน. (ปกีรณําพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต),
ตะพง ก็ว่า.
【 ตะโพน 】แปลว่า: น. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มี
ขารอง ตีด้วย ฝ่ามือ.
【 ตะเภา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบจีน ใช้แล่นด้วยใบ, สะเภา หรือ สําเภา
ก็เรียก เรียกลมชนิดหนึ่งพัดมาจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือในกลางฤดูร้อน
ว่า ลมตะเภา.
【 ตะเภาเดียวกัน 】แปลว่า: (สํา) น. พวกเดียวกัน, อย่างเดียวกัน.
【 ตะเภา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิดเดียวกับไก่บ้าน ตัวอ้วนป้อม เหนียงสั้นและกลม มีขนมากทั้ง
ขนแข็งและขนอุยหลายสีมีหางสั้นและแผ่กว้างที่ฐาน เป็นไก่ที่บรรทุกมากับ
เรือสำเภาหรือเรือตะเภาจากประเทศจีน จึงเรียก ไก่ตะเภา.
【 ตะเภา ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหนูชนิด /Cavia porcellus/ ในวงศ์ Caviidae ลำตัวอ้วนป้อม ขนปุย
หางสั้น มีหลายสี เช่น ขาว นํ้าตาล ดํา มีถิ่นกําเนิดในประเทศเปรู มักใช้
ในการทดลองทางการแพทย์.
【 ตะเภา ๔ 】แปลว่า: น. (๑) เรียกอ้อยพันธุ์ที่ลําโต ปล้องสั้น สีขาว เปราะ ว่า อ้อยตะเภา, อ้อยสําลี
ก็เรียก. (๒) ชื่อหมากพันธุ์ต้นเตี้ย.
【 ตะเภา ๕ 】แปลว่า: น. ชื่อขันนํ้าชนิดหนึ่ง.
【 ตะใภ้ 】แปลว่า: (ปาก) น. สะใภ้.
【 ตะม่อ 】แปลว่า: (ปาก) น. ตอม่อ.
【 ตะมอย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งขึ้นที่ปลายนิ้ว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียก่อหนอง.
【 ตะมอย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตะยองสะลา 】แปลว่า: น. งูบ้องตะลา.
【 ตะรัง 】แปลว่า: ก. ดั้นไป, เดาไป, ตะบึงไป, เช่น แล้วดําเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง. (คาวี).
【 ตะรังกะนู 】แปลว่า: น. เรียกของบางอย่างที่มาจากเมืองตะรังกะนู เช่น ส้มตะรังกะนู พิมเสน
ตะรังกะนู. (ปัจจุบัน คือ รัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย).
【 ตะรังตังกวาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Cnesmone javanica/ Blume. ในวงศ์ Euphorbiaceae มีขน
หยาบคลุมทั่วทั้งต้น ถูกเข้าจะคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
【 ตะรังตังช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Dendrocnide sinuata /(Blume) Chew ในวงศ์
Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
【 ตะราง 】แปลว่า: น. ที่คุมขังนักโทษ.
【 ตะลอง 】แปลว่า: น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน.
【 ตะลอน 】แปลว่า: (ปาก) ก. เที่ยวไปเรื่อย ๆ.
【 ตะล่อม ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง, ทําให้กลมเข้า. ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อม
หรือรวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม.
【 ตะล่อมข้าว 】แปลว่า: น. ที่สําหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น ใช้ไม้ไผ่ซีกเล็ก ๆ มาขัดแตะทําเป็นวงล้อมรอบ
แล้วยาด้วยขี้ควาย ขนาดเล็กกว่ายุ้ง.
【 ตะล่อม ๒ 】แปลว่า: น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง.
【 ตะล่อมป้อม 】แปลว่า: ว. กลม ๆ ป้อม ๆ.
【 ตะละ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ดุจ, เหมือน, เช่น ลําต้นตะละคันฉัตร; แต่ละ เช่น ตะละคน.
【 ตะลาน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Ptyas korros /ในวงศ์ Colubridae ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร ตาโต
เลื้อยเร็ว ออกหากินเวลากลางวัน ส่วนมากจะหากินตามพื้นดิน ไม่มีพิษ,
สิงตาโต หรือ ตาลาน ก็เรียก.
【 ตะลาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ตัวสีนํ้าตาลแดงคล้ายมดแดง ยาว
๔-๕ มิลลิเมตร ขายาว วิ่งเร็ว ไม่มีพิษ ส่วนใหญ่เป็นชนิด /Anoplolepsis longipes/,
ตาลาน หรือ ตะลีตะลาน ก็เรียก.
【 ตะลิงปลิง 】แปลว่า: [-ปฺลิง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Averrhoa bilimbi/ L. ในวงศ์ Oxalidaceae ใบคล้าย
ใบมะยม ผลยาวคล้ายมะดันแต่มีร่องตื้น ๆ รสเปรี้ยว.
【 ตะลิบ 】แปลว่า: ว. ลิบ, ไกล, เช่น ตะลิบหายไปไม่เห็นตัว. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
【 ตะลีตะลาน ๑ 】แปลว่า: ว. รีบร้อนลนลาน, ลุกลน.
【 ตะลีตะลาน ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะลาน ๒./
【 ตะลึง 】แปลว่า: ก. อาการที่ชะงักงันนิ่งอึ้งไปชั่วขณะหนึ่งเพราะคาดไม่ถึง.
【 ตะลึงพรึงเพริด 】แปลว่า: ก. ตะลึงจนลืมตัว.
【 ตะลุง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับ
อันเดียวเชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบน
จอผ้าขาวหน้าโรงใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์
เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
【 ตะลุง ๒ 】แปลว่า: น. เรียกไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง
สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น ว่า เสาตะลุง.
【 ตะลุ่ม 】แปลว่า: น. ภาชนะมีเชิงคล้ายพาน แต่ปากคลุ่ม สําหรับใส่ของ.
【 ตะลุ่มนก 】แปลว่า: /ดู กําแพงเจ็ดชั้น ๒ (๒)./
【 ตะลุมบอน 】แปลว่า: ก. รบประจัญบาน, ต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างชุลมุน, ต่อสู้กันอย่างชุลมุน.
【 ตะลุ่มโปง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ตะลุมพอ 】แปลว่า: /ดู หลุมพอ./
【 ตะลุมพุก ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ท่อนกลม ๆ มีด้ามคล้ายค้อน แต่ใหญ่กว่ามาก สําหรับตําข้าว; ไม้
ท่อนขนาดเล็กที่มีด้ามสั้นตัวสั้น สําหรับทุบผ้าให้เรียบ, กระลุมพุก ก็ใช้.
【 ตะลุมพุก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Tenualosa toli/ ในวงศ์ Clupeidae ที่ว่ายเข้านํ้าจืดเพื่อ
สืบพันธุ์ ลําตัว ยาวรี แบนข้างมาก ครีบหางเป็นแฉกลึก ท้องเป็นสันแหลม
เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย
พื้นลําตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินอมเทา ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, กระลุมพุก
ก็เรียก.
【 ตะลุมพุก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มชนิด /Thamilnadia uliginosa/ (Retz.) Tirveng. et
【 Sastre 】แปลว่า:
ในวงศ์ Rubiaceae, กระลําพุก หรือ กระลุมพุก ก็เรียก.
【 ตะลุ่มอิด 】แปลว่า: /ดู ไก่ไห้ (๑)./
【 ตะลุย 】แปลว่า: ว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.
【 ตะเลง 】แปลว่า: น. มอญ.
【 ตะแลงแกง 】แปลว่า: น. ทางสี่แพร่ง, ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สําหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
【 ตะโล้ดโป๊ด 】แปลว่า: น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๗๘ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการ
ฟ้อนและการเล่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ, คู่กับ กลองแอว.
【 <>ตะไล ๑ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีปีกเป็นวงกลม ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืนที่ทํา
ด้วยดินประสิวกับถ่านไม้และตอกให้แน่น มีรูชนวนสําหรับจุด.
【 ตะไล ๒ 】แปลว่า: น. ถ้วยกระเบื้องเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง สําหรับใส่ขนมแล้วนึ่งเป็นต้น เรียกว่า ถ้วยตะไล.
【 ตะไล ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-ราชบุรี) น. ต้นคงคาเดือด. /(ดู คงคาเดือด)./
【 ตะวัน 】แปลว่า: น. ดวงอาทิตย์.
【 ตะวันขึ้น 】แปลว่า: ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก.
【 ตะวันตก 】แปลว่า: ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียก
ทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียก
ลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก;
เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชน
โดยเฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศ
ต่าง ๆในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น.
【 ตะวันยอแสง 】แปลว่า: ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็น
สีแดงเข้ม.
【 ตะวันออก 】แปลว่า: ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับทิศ
ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลาย
ฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็น
พวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก.
【 ตะวันออกกลาง 】แปลว่า: น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศ
ตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย
และพม่าด้วย.
【 ตะวันออกใกล้ 】แปลว่า: น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตก
เฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี
เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ใน
คาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย.
【 ตะวันออกไกล 】แปลว่า: น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก
ทวีปยุโรปมากคือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวม
ถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว
กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย.
【 ตะวันอ้อมข้าว 】แปลว่า: ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บ
เกี่ยวข้าว.
【 ตะวาง 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายต้นแขม ขึ้นตามทุ่งนา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตะเวน 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตระเวน.
【 ตะหนึ่งรัด 】แปลว่า: ว. เป็นใหญ่. (ช.).
【 ตะหลิว 】แปลว่า: น. เครื่องมือทําด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. (เทียบ
จ. เตี้ยะ ว่า กระทะ + หลิว ว่า เครื่องแซะ, เครื่องตัก).
【 ตะหลุง 】แปลว่า: น. ไม้แก่นเจาะเป็นรูสําหรับฝังหัวดุมท้ายดุมสอดเพลาเพื่อไม่ให้เพลาแกว่ง.
【 ตะเหลนเป๋น 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคํา สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน.
【 ตะเหลาะเปาะ 】แปลว่า: ว. กลมน่าดู, กะเหลาะเปาะ ก็ว่า.
【 ตะแหง่ว, ตะแหง่ว ๆ 】แปลว่า: ว. รบเร้าออดอ้อนเรื่อยไปจนน่ารําคาญ.
【 ตะแหมะแขะ 】แปลว่า: [-แหฺมะ-] ว. ใช้ประกอบคํา เตี้ย หมายความว่า เตี้ยผิดส่วน.
【 ตะแหลนแป๋น 】แปลว่า: [-แหฺลน-] ว. ใช้ประกอบคํา แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน.
【 ตะโหงก ๑ 】แปลว่า: [-โหฺงก] น. เครื่องจองจําอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๒ อันหนีบคออย่างคา.
【 ตะโหงก ๒ 】แปลว่า: [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงก
ตอไม้; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
【 ตะโหงก ๓ 】แปลว่า: [-โหฺงก] น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควาย
สําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโกก ก็เรียก.
【 ตัก ๑ 】แปลว่า: น. หน้าขาตอนเข่าถึงโคนขาในเวลานั่ง.
【 ตัก ๒ 】แปลว่า: ก. เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เช่น ตักนํ้า ตักแกง ตักดิน.
【 ตักตวง 】แปลว่า: ก. หาประโยชน์ใส่ตัว, กอบโกยมาเป็นของตนเมื่อมีโอกาส.
【 ตักน้ำรดหัวตอ 】แปลว่า: (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า.
【 ตักน้ำรดหัวสาก 】แปลว่า: (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็ก
ปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.
【 ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา 】แปลว่า: (สํา) ก. ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว.
【 ตักบาตร 】แปลว่า: ก. เอาของใส่บาตรพระ. (เทียบ ข. ฎาก่ ว่า วางลง).
【 ตักบาตรอย่าถามพระ 】แปลว่า: (สํา) ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.
【 ตักกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ตรรก, ความตรึก, ความคิด. (ป. ตกฺก).
【 ตักเตือน 】แปลว่า: ก. สั่งสอนให้รู้สํานึกตัว.
【 ตั๊กแตน 】แปลว่า: [ตั๊กกะ-] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน
อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ คู่แรกค่อนข้างหนา ยาวและแคบ
คู่หลังบางและกว้างใหญ่ พับไปอยู่ใต้ปีกคู่แรกได้ปากเป็นชนิดกัดกิน อกมี
ลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้นก็มี ขาอาจ เหมือนกัน
หมดหรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี (/Aularchis miliaris/)
ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตําข้าว (เช่น ชนิด /Hierodula membranaceus/) ในวงศ์
Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ เช่น ชนิด (/Phyllium pulcherifolium/) ในวงศ์ Phasmidae.
【 ตักษณะ 】แปลว่า: (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ เช่น มีด พร้า บุ้ง ตะไบ; การตัด, การปอก,
การทอน. (ส.).
【 ตักษณี 】แปลว่า: น. ผึ่ง, ขวาน. (ส.; ป. ตจฺฉนี).
【 ตักษัย 】แปลว่า: (กลอน; ตัดมาจาก ชีวิตักษัย) ก. สิ้นชีวิต, ตาย.
【 ตัง ๑ 】แปลว่า: น. ยางไม้ที่ประสมกับสิ่งอื่น แล้วทําให้เหนียวสําหรับดักนกเป็นต้น.
【 ตัง ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ ตกกระทบพื้นแข็ง.
【 ตั่ง 】แปลว่า: น. ที่สําหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่มีขาก็ได้.
【 ตั้ง 】แปลว่า: ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน
ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ใน
คลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่ง
ใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ;
กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือ
เป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมาย
ว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อน
กันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.
【 ตั้งกรม 】แปลว่า: ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม.
【 ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย 】แปลว่า: ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย.
【 ตั้งไข่ 】แปลว่า: ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก).
【 ตั้งเค้า 】แปลว่า: ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า.
【 ตั้งแง่ 】แปลว่า: ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด.
【 ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ 】แปลว่า: ก. เอาใจจดใจจ่อ.
【 ตั้งต้น 】แปลว่า: ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น.
【 ตั้งตัว 】แปลว่า: ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า
ตั้งตัวเป็นใหญ่.
【 ตั้งตาคอย 】แปลว่า: ก. เฝ้าคอย.
【 ตั้งแต่ 】แปลว่า: บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ
จนกระทั่ง).
【 ตั้งแต่ง 】แปลว่า: ก. ยกขึ้น, สถาปนา.
【 ตั้งโต๊ะ 】แปลว่า: ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา.
【 ตั้งท้อง 】แปลว่า: ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง.
【 ตั้งท่า 】แปลว่า: ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่.
【 ตั้งธาตุ 】แปลว่า: ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ.
【 ตั้งนาฬิกา 】แปลว่า: ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา.
【 ตั้งนาฬิกาปลุก 】แปลว่า: ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ.
【 ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา 】แปลว่า: ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น.
【 ตั้งหัวเรือ 】แปลว่า: ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา.
【 ตั้งอกตั้งใจ 】แปลว่า: ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
【 ตังเก 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อนมาทางหัว
เรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่สําหรับผู้ควบคุม
เรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้นกลมสําหรับคนขึ้นไปยืน
สังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่สําหรับโรยอวน และด้านหัวเรือ
มีที่สําหรับกว้านอวน.
【 ตังฉ่าย 】แปลว่า: น. ผักดองแห้งแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ปรุงอาหาร. (จ.).
【 ตังติด 】แปลว่า: /ดู มวก./
【 ตังเม 】แปลว่า: น. นํ้าตาลหรือนํ้าอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว, แตงเม ก็ว่า; โดยปริยายหมายความว่า
ตระหนี่.
【 ตังวาย 】แปลว่า: (กลอน; แผลงมาจาก ถวาย) ก. ให้, ถวาย. น. ของถวาย. (ข.).
【 ตังโอ๋ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Chrysanthemum coronarium/ L. ในวงศ์ Compositae
ใบเล็กหนา กลิ่นหอม กินได้ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ, งาไซ ก็เรียก. (จ.).
【 ตัจฉก 】แปลว่า: -ฉก น. ช่างไม้. (ป.; ส. ตกฺษก).
【 ตัจฉนี 】แปลว่า: -ฉะนี น. ผึ่ง, ขวาน. (ป.; ส. ตกฺษณี).
【 ตัณฑุละ 】แปลว่า: ตันดุละ น. ข้าวสาร. (ป., ส.).
【 ตัณหักษัย 】แปลว่า: (แบบ) ว. ผู้สิ้นตัณหา เช่น แด่ท้าวผู้ตัณหักษัย. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
(ป. ตณฺหา + ส. กฺษย).
【 ตัณหา 】แปลว่า: [ตันหา] น. ความทะยานอยาก, โดยทั่วไปใช้หมายถึงความใคร่ในกาม.
(ป.; ส. ตฺฤษฺณา).
【 ตัด 】แปลว่า: ก. ทําให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน,
ลัด เช่น เดิน ตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําให้เป็นสิ่งสําเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ
ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ
ตัดกิเลส.
【 ตัดกัน 】แปลว่า: ก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัดกัน.
【 ตัดขาด 】แปลว่า: ก. เลิกติดต่อคบหากัน.
【 ตัดใจ 】แปลว่า: ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น.
【 ตัดช่องน้อยแต่พอตัว 】แปลว่า: (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว.
【 ตัดช่องย่องเบา 】แปลว่า: (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ.
【 ตัดเชือก 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป.
【 ตัดญาติขาดมิตร 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน.
【 ตัดต้นไฟ 】แปลว่า: ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป.
【 ตัดตอน 】แปลว่า: ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน.
【 ตัดถนน 】แปลว่า: ก. สร้างถนน.
【 ตัดทอน 】แปลว่า: ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ.
【 ตัดทาง, ตัดหนทาง 】แปลว่า: ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทาง
พอให้ผ่านไปได้.
【 ตัดบท 】แปลว่า: ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก.
【 ตัดประเด็น 】แปลว่า: ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง.
【 ตัดเป็นตัดตาย 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด.
【 ตัดพ้อ 】แปลว่า: ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้.
【 ตัดไพ่ 】แปลว่า: ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ.
【 ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป.
【 ตัดไม้ข่มนาม 】แปลว่า: ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือสําเนียง
คล้ายชื่อข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม.
【 ตัดรอน 】แปลว่า: ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี.
【 ตัดราคา 】แปลว่า: ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน.
【 ตัดรำคาญ 】แปลว่า: ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง
ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า.
【 ตัดสิน 】แปลว่า: ก. ลงความเห็นชี้ขาด.
【 ตัดสินใจ 】แปลว่า: ก. ตกลงใจ.
【 ตัดเส้น 】แปลว่า: ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น.
【 ตัดหน้า 】แปลว่า: ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ.
【 ตัดหน้าฉาน 】แปลว่า: ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ.
【 ตัดหนามอย่าไว้หน่อ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ.
【 ตัดหัวคั่วแห้ง 】แปลว่า: (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น.
【 ตัดหางปล่อยวัด 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
【 ตัตว- 】แปลว่า: ตัดตะวะ- น. ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นจริง. (ส. ตตฺตฺว).
【 ตัตวศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยความจริง. (ส. ตตฺตฺว + ศาสฺตฺร).
【 ตัถย์ 】แปลว่า: ตัด น. ความเป็นอย่างนั้น, ความจริง. ว. เป็นอย่างนั้นจริง. (ส.).
【 ตัน ๑ 】แปลว่า: ว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยาย
หมายความว่า ติด ขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตําแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง
เช่น สมองตัน.
【 ตันคอหอย 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดไม่ออกด้วยความดีใจหรือเสียใจ.
【 ตันปัญญา 】แปลว่า: ก. จนปัญญา, คิดอะไรไม่ออก.
【 ตันอกตันใจ 】แปลว่า: ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.
【 ตัน ๒ 】แปลว่า: น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ
๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับนํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ
๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร
หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า
และห้องทั่วไปเรียก ตันกรอส, ถ้ารบคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก
ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือเรียก ตันระวางขับน้ำ,
ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวาง
บรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็น
ของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง.
(อ. ton).
【 ตันตระ ๑ 】แปลว่า: -ตฺระ น. ส่วนสําคัญ, หัวข้อ, คําสอน. (ส.).
【 ตันตระ ๒ 】แปลว่า: [-ตฺระ] น. ลัทธิฮินดูยุคหลัง ว่าด้วยพิธีกรรมเพื่อบูชาพระศิวะและศักติของ
พระองค์; ชื่อคัมภีร์หนึ่งในลัทธิตันตระ.
【 ตันติ 】แปลว่า: (แบบ) น. แบบแผน; เชือก, เส้นด้าย, สายเชือก. (ป., ส.).
【 ตันติภาษา 】แปลว่า: น. ภาษาที่มีแบบแผน. (ส.; ป. ตนฺติภาสา).
【 ตันหยง 】แปลว่า: น. (๑) ดอกพิกุล. (จินดามณี). (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Caesalpinia coriaria/
(Jacq.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม.
【 ตันเหิม 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. รื่นเริง, บันเทิงใจ.
【 ตับ ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ใน
ช่องท้อง ทําหน้าที่ทําลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น.
【 ตับแข็ง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคเรื้อรังที่เกิดแก่ตับ ทําให้เนื้อเยื่อของตับหดตัวและมีจํานวนน้อยลง
ส่วนเนื้อเยื่อยึดต่อมีจํานวนมากขึ้นผิดปรกติ มักทําให้เกิดอาการบวมที่ท้อง
ตาเหลือง ซึม หมดสติ และอาเจียนเป็นโลหิต.
【 ตับแลบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งเสียจนตับแลบ.
【 ตับเหล็ก 】แปลว่า: น. ม้ามของหมู.
【 ตับอ่อน 】แปลว่า: น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์อยู่ในช่อง
ท้อง ทําหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน.
【 ตับ ๒ 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียง
กันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกัน
เป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ.
【 ตับเพลง 】แปลว่า: น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่อยู่ใน
อัตราเดียวกันชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี.
【 ตับเรื่อง 】แปลว่า: น. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน
และดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตราก็ได้ เช่น
ตับนางลอย ตับนาคบาศ.
【 ตับเต่า 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้นํ้าชนิด /Mimulus orbicularis/ Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae
ใบกลม ดอกสีม่วงอ่อน ใบใช้เป็นผัก, ผักอีแปะ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้นํ้าชนิด
/Hydrocharis dubia/ (Blume) Backer ในวงศ์ Hydrocharitaceae ลําต้นกลม
ดอกสีขาว ใบกินได้. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Boletaceae
ขึ้นตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ยืนต้นหลายชนิด ดอกเห็ดใหญ่ สีนํ้าตาลเข้ม ด้านล่าง
มีรูสีเหลืองอมเขียวหม่นไปจนถึงสีนํ้าตาลอมเขียวหม่น โคนก้านใหญ่ กินได้.
【 ตับเต่าขาว 】แปลว่า: น. เห็ดตับเต่าขาว. /[ดู จั่น ๕ (๒)]./
【 ตับปิ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง
จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตะปิ้ง ก็เรียก.
【 ตับเป็ด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหินชนิดหนึ่งสีดํา เนื้อแข็ง, เรียกสีดําเจือแดงว่า สีตับเป็ด หรือ ดําตับเป็ด.
【 ตับเป็ด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Mangifera indica/ L. ผลค่อนข้างแบน
เนื้อแน่น.
【 ตัว ๑ 】แปลว่า: น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร
ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู
๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น
ตัวจะไปไหม.
【 ตัวกลั่น 】แปลว่า: น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว.
【 ตัวกลาง 】แปลว่า: (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน.
【 ตัวการ 】แปลว่า: น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล
ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง
ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้
บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน.
【 ตัวเก็ง 】แปลว่า: น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ.
【 ตัวโค 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ
ดาวอัททา ก็เรียก.
【 ตัวใครตัวมัน 】แปลว่า: ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง.
【 ตัวเงิน 】แปลว่า: น. เงินสด.
【 ตัวเงินตัวทอง 】แปลว่า: (ปาก) น. เหี้ย.
【 ตัวจักรใหญ่ 】แปลว่า: (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ.
【 ตัวจำนำ 】แปลว่า: น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็นหัวหน้า
หรือประมุข.
【 ตัวเชิด 】แปลว่า: น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน.
【 ตัวดี 】แปลว่า: น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด).
【 ตัวต่อตัว 】แปลว่า: น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้).
【 ตัวตั้ง ๑ 】แปลว่า: (ปาก) น. คําตั้ง.
【 ตัวตั้งตัวตี 】แปลว่า: น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้าในการ
ทํางานอย่างออกหน้าออกตา.
【 ตัวตายตัวแทน 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน.
【 ตัวเต็ง 】แปลว่า: น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ.
【 ตัวถัง 】แปลว่า: น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถังแบบ
มีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี.
【 ตัวแทน 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้บุคคล
คนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า
ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น.
【 ตัวแทนค้าต่าง 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สินหรือรับจัดทํา
กิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ.
【 ตัวแทนช่วง 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทําการแทน
ตัวการ.
【 ตัวแทนเชิด 】แปลว่า: (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูกตัวการเชิด
ให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเองออก
แสดงเป็นตัวแทน.
【 ตัวนาง 】แปลว่า: น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบหญิง,
นางเอกในเรื่องลิเก ละคร.
【 ตัวนำ 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย.
【 ตัวประกอบ ๑ 】แปลว่า: น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียงประกอบ
บทบาทของตัวเอกเท่านั้น.
【 ตัวประกัน 】แปลว่า: น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง.
【 ตัวปลิง 】แปลว่า: น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท,
เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก.
【 ตัวเป็นเกลียว 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน;
แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว.
(ไกรทอง).
【 ตัวเปล่า 】แปลว่า: ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพัง
ตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า.
【 ตัวเปล่าเล่าเปลือย 】แปลว่า: ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า,
ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย.
【 ตัวผู้ 】แปลว่า: น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของบางอย่าง
ที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้
นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้.
【 ตัวพระ 】แปลว่า: น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย,
พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.
【 ตัวพิมพ์ 】แปลว่า: น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส;
เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ.
【 ตัวเมีย 】แปลว่า: น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียกสิ่งของ
บางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้องตัวเมีย
นอตตัวเมีย.
【 ตัวเมือง 】แปลว่า: น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ.
【 ตัวไม้ 】แปลว่า: น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น.
【 ตัวยืน 】แปลว่า: น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง
(ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ
ตัวยืนพื้น ก็ว่า.
【 ตัวร้อน 】แปลว่า: น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ.
【 ตัวละคร 】แปลว่า: (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยายเรื่องสั้น
และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ.
【 ตัวสะกด 】แปลว่า: น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตาม
มาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน.
【 ตัวสำคัญ 】แปลว่า: (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน.
【 ตัวหนังสือ 】แปลว่า: น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด.
【 ตัวอย่าง 】แปลว่า: น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น
ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด
ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง
นาตัวอย่าง.
【 ตัวเอ้ 】แปลว่า: น. หัวโจก.
【 ตัวเอก 】แปลว่า: น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
【 ตัว ๒ 】แปลว่า: (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร.
【 ตัวคูณร่วมน้อย 】แปลว่า: น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวนเต็มบวกอื่น ๆ
ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณ
ร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น.
【 ตัวตั้ง ๒ 】แปลว่า: น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร.
【 ตัวประกอบ ๒ 】แปลว่า: น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒
และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖.
【 ตัวแปร 】แปลว่า: น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือเซต
ที่กําหนดให้. (อ. variable).
【 ตัวเลข 】แปลว่า: น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral).
【 ตัวหารร่วมมาก 】แปลว่า: น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวนเต็มบวกอื่น ๆ
ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ
๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
【 ตั๋ว 】แปลว่า: น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.).
【 ตั๋วเงิน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินตาม
กฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค.
【 ตั๋วเงินคลัง 】แปลว่า: น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการกู้เงินระยะ
สั้นของรัฐบาล.
【 ตั๋วเงินจ่าย 】แปลว่า: (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญาลงบัญชี
ในช่องหนี้สิน.
【 ตั๋วเงินรับ 】แปลว่า: (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญาลงบัญชี
ในช่องทรัพย์สิน.
【 ตั๋วรูปพรรณ 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ.
【 ตั๋วแลกเงิน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคล
อีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือ
ให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
【 ตั๋วสัญญาใช้เงิน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วให้คํามั่นสัญญา
ว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคําสั่งของบุคคล
อีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
【 ตัวจี๊ด 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิชนิด/ Gnathostoma spinigerum/ ในวงศ์ Gnathostomatidae
ลําตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข
แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึง
คนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อน
เมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่ม
นูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.
【 ตัวตืด 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมี
อวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ
บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิด
ก่อนปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมีย
รวมอยู่ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ทําให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจํานวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทําให้มีอาการ
ปวดท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด/ Taenia solium/ ซึ่ง
ตัวอ่อนเรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด/ T. saginata /ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว,
ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลําไส้เล็กของมนุษย์และ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด.
【 ตั้วโผ 】แปลว่า: น. หัวหน้าคณะมหรสพ มีละคร งิ้ว เป็นต้น, โต้โผ ก็เรียก. (จ.).
【 ตั้วสิว 】แปลว่า: ก. ซ่อมแซม เช่น ต้องตั้วสิวสําเภาเอาเข้าอู่. (จ.).
【 ตั้วเหี่ย 】แปลว่า: น. ตําแหน่งหัวหน้าอั้งยี่, อั้งยี่. (จ.).
【 ตา ๑ 】แปลว่า: น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือ
ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คําเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อย
เคารพนับถือเช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่าง
เป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น
ตาหนู.
【 ตาทวด 】แปลว่า: น. พ่อของตาหรือของยาย.
【 ตามีตามา, ตาสีตาสา 】แปลว่า: (สํา) น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป.
【 ตา ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง
ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก
การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง;
คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ
ตามลักษณะของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว
ตาหมากรุก.
【 ตากบ ๑ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด
ก็เรียก.
【 ตากบตาเขียด 】แปลว่า: ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก.
【 ตากล้อง 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ.
【 ตากลับ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคนมีอายุ
กลับเห็นชัดเจนขึ้น.
【 ตากล้า 】แปลว่า: น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า.
【 ตากุ้ง 】แปลว่า: ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา.
【 ตาโก้ง 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ.
【 ตาไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่าสําหรับ
เขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยม
รูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว.
【 ตาขวาง 】แปลว่า: ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ.
【 ตาขอ 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า.
【 ตาข่าย 】แปลว่า: น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียกลวด
หรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ.
【 ตาขาว 】แปลว่า: ว. แสดงอาการขลาดกลัว.
【 ตาขุ่นตาเขียว 】แปลว่า: ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า.
【 ตาเข 】แปลว่า: น. ตาเหล่น้อย.
【 ตาเขียว 】แปลว่า: ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า.
【 ตาแข็ง 】แปลว่า: ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย.
【 ตาคม 】แปลว่า: น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้.
【 ตาค้าง 】แปลว่า: ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ
หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ.
【 ตางัว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก,
ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่.
【 ตาจระเข้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า
ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้.
【 ตาเจ้าชู้ 】แปลว่า: (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว.
【 ตาชั่ง 】แปลว่า: น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง.
【 ตาแดง 】แปลว่า: น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ.
【 ตาตกกล้า 】แปลว่า: น. ตากล้า.
【 ตาตั๊กแตน ๑ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว.
【 ตาตั้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก.
【 ตาตาราง 】แปลว่า: น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง
ก็ว่า.
【 ตาตี่ 】แปลว่า: น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้.
【 ตาตุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง.
【 ตาเต็ง 】แปลว่า: น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้
หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับชั่งทอง เงิน
เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง).
【 ตาโต ๑ 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง
อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า.
【 ตาถั่ว 】แปลว่า: น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย
หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว.
【 ตาทัพ 】แปลว่า: น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก.
【 ตาทิพย์ 】แปลว่า: น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด.
【 ตานกแก้ว 】แปลว่า: น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง.
【 ตาน้ำ 】แปลว่า: น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย.
【 ตาบอด 】แปลว่า: น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่า
อะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่วระยะหนึ่ง.
【 ตาบอดคลำช้าง 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น.
【 ตาบอดได้แว่น 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี
เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
【 ตาบอดตาใส 】แปลว่า: น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น.
【 ตาบอดสอดตาเห็น 】แปลว่า: (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้.
【 ตาบอดสี 】แปลว่า: น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่รับรู้สี
พิการหรือเจริญไม่เต็มที่.
【 ตาปลา 】แปลว่า: น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า.
【 ตาปลาดุก 】แปลว่า: น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว.
【 ตาปู 】แปลว่า: น. ตะปู.
【 ตาเป็นมัน 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ.
【 ตาเป็นสับปะรด 】แปลว่า: (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง.
【 ตาโป่ง 】แปลว่า: น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง
(มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย).
【 ตาฝาด 】แปลว่า: ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม.
【 ตาพร่า 】แปลว่า: ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน.
【 ตาพอง ๑ 】แปลว่า: น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้
เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก
หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า.
【 ตาโพลง 】แปลว่า: ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง.
【 ตาฟาง 】แปลว่า: น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน.
【 ตาฟางไก่ 】แปลว่า: น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมองอะไรไม่เห็น.
【 ตาเฟื้องตาสลึง 】แปลว่า: (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทาง
ชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว).
【 ตามด 】แปลว่า: น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น.
【 ตาแมว 】แปลว่า: น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้วมีค่า
ชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้กลาง
ถนนเป็นระยะ ๆ.
【 ตาไม่มีแวว 】แปลว่า: (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมาให้เลือก
ยังไม่ยอมเลือก.
【 ตาราง 】แปลว่า: น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน,
ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน
หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า
วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
【 ตารางสอน 】แปลว่า: น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด.
【 ตารางเหลี่ยม 】แปลว่า: (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่กําหนดเป็น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง๑ เมตร ยาว
๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร.
【 ตาร้าย 】แปลว่า: น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่เดือดร้อน
ในคําว่า เข้าตาร้าย.
【 ตาริ้ว 】แปลว่า: น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่เป็นต้น.
【 ตาเริด 】แปลว่า: ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ.
【 ตาลม 】แปลว่า: น. โรคตาชนิดหนึ่ง.
【 ตาลอ 】แปลว่า: น. ตาถั่ว.
【 ตาลอย 】แปลว่า: ว. อาการที่ตาเหม่อ.
【 ตาลาย 】แปลว่า: ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด.
【 ตาลีตาเหลือก 】แปลว่า: ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า.
【 ตาลุก ๑ 】แปลว่า: ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ.
【 ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น,
แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า.
【 ตาเล็กตาน้อย 】แปลว่า: (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทาง
ชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก).
【 ตาวาว 】แปลว่า: ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็นเงิน
ก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว.
【 ตาแวว 】แปลว่า: ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง,
เช่น กาตาแววเห็นธนู.
【 ตาไว 】แปลว่า: ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถผ่านไป.
【 ตาโศก 】แปลว่า: น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู.
【 ตาสว่าง 】แปลว่า: น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วงงัวเงีย,
นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก;
โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา
ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน.
【 ตาส่อน 】แปลว่า: น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ.
【 ตาสำเภา 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ
ดาวอัททา ก็เรียก.
【 ตาหมากรุก 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดานหมากรุก
มีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก.
【 ตาหยี 】แปลว่า: น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก.
【 ตาหวาน ๑ 】แปลว่า: น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู.
【 ตาเหล่ 】แปลว่า: น. ตาเขมาก.
【 ตาเหลือก ๑ 】แปลว่า: น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อน
ลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า.
【 ตาเหลือกตาพอง 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว.
【 ตาแหลม 】แปลว่า: ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิงคนนี้
ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม.
【 ตาแหวน 】แปลว่า: น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ม้า วัว
ควาย).
【 ตาอ้อย 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
【 ตาเอก 】แปลว่า: น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
【 ตาก 】แปลว่า: ก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด
ตากฝน; ตรํา, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง,
แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน;
ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือน
ที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.
【 ตากตน 】แปลว่า: ก. นอนแผ่, นอนหงาย, เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียด
ด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
【 ตากสมอง 】แปลว่า: ก. พักผ่อนเพื่อคลายความเคร่งเครียดโดยไปอยู่ในที่
สงบหรือที่มีอากาศปลอดโปร่ง.
【 ตากหน้า 】แปลว่า: ก. สู้ทนอาย.
【 ตากอากาศ 】แปลว่า: ก. ไปพักผ่อนในที่ที่มีอากาศดี.
【 ตากบ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตากบ ๒ 】แปลว่า: น. เทียนตากบ. /(ดู เทียนตากบ ที่ เทียน ๓)./
【 ตากวาง 】แปลว่า: [ตา–กฺวาง] น. ชื่อไผ่ชนิด /Gigantochloa kurzii/ Gamble และ
ชนิด /G. apus/ (Roem. et Schult.) Kurz ในวงศ์ Gramineae.
【 ตาง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ส. คําใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออก
เป็นส่วน ๆ เช่น ทุกทั่วสัตวตื่นตาง แตกเต้า. (ตะเลงพ่าย),
ต่าง ก็ว่า.
【 ต่าง ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับบรรทุกสิ่งของมีคานพาดไว้บนหลังสัตว์
พาหนะมีวัวและลาเป็นต้น ให้ห้อยลงมาทั้ง ๒ ข้าง, เรียกโค
ลา ที่ใช้บรรทุกสิ่งของในลักษณะเช่นนั้นว่า โคต่าง ลาต่าง.
ก. บรรทุก เช่น ต่างข้าวเข้ามาส่ง, ใช้อย่างมาตราตวงก็ได้
เช่น ได้ข้าวไม่ถึง ๕ ต่าง.
【 ต่างหู 】แปลว่า: น. ตุ้มหู.
【 ต่าง ๒ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ
เช่น คนทั้งหลายต่างก็ทําหน้าที่ของตน, ในบทกลอน
ใช้ว่า ตาง ก็มี. ว. ผิดแผก, ไม่เหมือนเดิม, เช่น สีต่าง
ไป; แทน, เหมือน, เช่น ว่าต่าง แก้ต่าง ดูต่างหน้า; อื่น
เช่น ต่างประเทศ; คนละ เช่น ต่างพ่อ ต่างแม่.
【 ต่าง ๆ 】แปลว่า: ว. หลายอย่างซึ่งผิดกัน.
【 ต่างจิตต่างใจ 】แปลว่า: ว. ต่างคนก็ต่างความคิด.
【 ต่างด้าว 】แปลว่า: ว. เรียกชาวต่างประเทศที่มีถิ่นฐานอยู่ในอีกประเทศ
หนึ่งว่า คนต่างด้าว.
【 ต่างว่า 】แปลว่า: สัน. เหมือนว่า, เปรียบว่า, สมมุติว่า.
【 ต่างหาก 】แปลว่า: ว. อีกส่วนหนึ่ง, อีกแผนกหนึ่ง.
【 ตางัว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตางัว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล /Turbo/
วงศ์ Turbinidae เช่น ชนิด /T. marmoratus, T. bruneus/
เปลือกรูปทรงอ้วนป้อม แผ่นปิดกลมหนา ด้านนอกโค้ง
ใช้แผ่นปิดเป็นเบี้ยตางัวสําหรับเล่นหมากรุก.
【 ตางัว ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ดอกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตาช้าง 】แปลว่า: น. มะกลํ่าตาช้าง. /(ดู มะกลํ่า)./
【 ตาด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง
จํานวนเท่ากัน, เรียกชื่อตามลักษณะของลาย เช่น ตาดลาย
คดกริช ตาดตาตั๊กแตน, ถ้ามีไหมปักทับลงไปอีกเป็นดอก ๆ
เรียกว่า ตาดระกําไหม.
【 ตาด ๒ 】แปลว่า: น. ที่ที่มีนํ้าตก.
【 ตาด ๓ 】แปลว่า: (กลอน) น. ต้นมะตาด.
【 ตาด ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อน
อยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวก
ตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไป
จนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก.
【 ตาเดียว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาในอันดับ Pleuronectiformes พบทั้งในทะเล
นํ้ากร่อย และนํ้าจืด เมื่อเกิดใหม่ตาจะอยู่คนละข้างกัน
เหมือนลูกปลาทั่วไป แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นกะโหลกจะ
บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กล้ามเนื้อข้างหนึ่งบิดตาม
ไปด้วย จึงทำให้ตาทั้ง ๒ ข้างอยู่ด้านเดียวกัน มีชื่อเรียก
ต่าง ๆ กัน เช่น ลิ้นหมา ใบขนุน ซีกเดียว ลิ้นเสือ จักรผาน
ยอดม่วง ลิ้นหมาหงอนยาว ลิ้นควาย.
【 ตาเดียว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ เช่น ชนิด
/Brachypleura novaezeelandiae, Cynoglossus lingua, /
/Psettodes erumei, Solea ovata/ ตัวแบนใหญ่ ด้านบนมีสีดำ
ด้านล่างมีสีขาว ตาทั้ง ๒ ข้างอยู่ด้านบนด้วยกัน ขนาดตัว
ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร กว้างถึง ๒๐ เซนติเมตร เนื้อนุ่ม
หากินตามพื้นท้องน้ำ.
【 ตาตั๊กแตน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาตั๊กแตน ๒ 】แปลว่า: น. เทียนตาตั๊กแตน. /(ดู เทียนตาตั๊กแตน ที่ เทียน ๓)./
【 ตาตุ่ม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาตุ่ม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Excoecaria agallocha/ L. ในวงศ์
Euphorbiaceae ยางมีพิษ กินทําให้ท้องเดิน เข้าตา
ทําให้ตาบอด.
【 ตาโต ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาโต ๒ 】แปลว่า: /ดู ตาพอง ๓./
【 ตาโต ๓ 】แปลว่า: /ดู ตะลาน ๑./
【 ตาน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งมักเป็นแก่เด็ก ๆ.
【 ตานขโมย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคพยาธิลําไส้อย่างหนึ่ง มักเป็นแก่เด็กอายุ
ประมาณ ๕ ขวบขึ้นไป มีลักษณะผอม ท้องป่อง ก้น
ปอด แต่กินอาหารได้มาก มีอาการปวดท้องและซึม.
【 ตาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Xyris complanata/ R. Br. ในวงศ์
Xyridaceae ใบแคบขึ้นเป็นกอ ดอกสีเหลือง ก้านช่อ
ดอกยาว กาบดอกซ้อนกันแน่น.
【 ต่าน 】แปลว่า: ว. ชิดทางนอก (บอกควายเวลาไถนา).
【 ต้าน 】แปลว่า: ก. ยันหรือรับไว้เพื่อไม่ให้ลํ้าแนวเข้ามา เช่น ต้านข้าศึก,
ปะทะ เช่น เรือต้านลม.
【 ต้านทาน 】แปลว่า: ก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้.
【 ตานขโมย ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตาน ๑./
【 ตานขโมย ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Tournefortia intonsa/ Kerr
ในวงศ์ Boraginaceae เป็นไม้มีพิษ. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด
/Vatica philastreana/ Pierre ในวงศ์ Dipterocarpaceae
ต้นสีดํา ผลใช้ทํายาได้.
【 ตานจอมทอง 】แปลว่า: /ดู ทอง ๒./
【 ตานนกกด 】แปลว่า: /ดู ตานเหลือง./
【 ตานเสี้ยน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Xantolis/ วงศ์ Sapotaceae
คือ ชนิด /X. siamensis/ (H.R. Fletch.) P. Royen และชนิด
/X. burmanica/ (Collett et Hemsl.) P. Royen ดอกสีขาว
ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ผลกลมรี ปลายมีติ่งแหลม ชนิด
หลังก้านใบและก้านดอกยาวกว่าชนิดแรก.
【 ตานหก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Litsea pierrei/ Lec. ในวงศ์ Lauraceae.
【 ตานหม่อน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Vernonia elliptica/ DC. ในวงศ์
Compositae ช่อดอกเป็นกระจุกสีขาวปนม่วง ใช้
ทํายาได้.
【 ตานเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นชนิด /Ochna integerrima/ (Lour.)
Merr. ในวงศ์ Ochnaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง
เปลือกสีนํ้าตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ดอกบาน
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน
ผลัดใบขณะมีดอก, กําลังช้างสาร ช้างน้าว หรือ ตานนกกด
ก็เรียก.
【 ตานี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยชนิด /Musa balbisiana/ Colla ในวงศ์ Musaceae
ใบเหนียวกว่ากล้วยชนิดอื่น มีเมล็ดทั่วทั้งผล, เรียกผีผู้หญิงที่
กำลังตั้งท้องสิงอยู่ในต้นกล้วยตานีว่า พรายตานี.
【 ตานี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนํ้ามันชนิดหนึ่งข้น ๆ ใช้ใส่ผม, โดยปริยายเรียกสิ่ง
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า มีลักษณะเป็นนํ้ามันตานี
เช่นนํ้าตาลเยิ้มในขนมอาลัว หรือไข่ที่ต้มเป็นยางมะตูม.
【 ตาบ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับคอหรืออกเป็นแผ่น ๆ ถ้าเป็นตาบสําหรับ
ม้าประดับที่หน้าผาก.
(รูปภาพ ตาบ)
【 ตาบทับ 】แปลว่า: น. ทับทรวง, ตาบหน้า ก็ว่า.
【 ตาบทิศ 】แปลว่า: น. ตาบที่ติดกับสังวาลอยู่ที่สะเอวและข้างหลัง.
【 ตาปี 】แปลว่า: ว. ตลอดปี, มักใช้เข้าคู่กับคำ ชั่วนา เป็น ชั่วนาตาปี.
【 ตาปีตาชาติ 】แปลว่า: ว. เสมอไป, เรื่อยไป.
【 ตาฝั่ง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ท่าที่ฝั่ง เช่น เขาก็ไปชุมนุมกันในตาฝั่ง.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ตาพอง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาพอง ๒ 】แปลว่า: /ดู เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร./
【 ตาพอง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล /Priacanthus/ วงศ์
Priacanthidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น
คางยื่น ตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเล็กสากมือ
ลําตัวและครีบสีแดงสด อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องนํ้า
หรือในระดับนํ้าลึก ที่ชุกชุมได้แก่ชนิด /P. tayenus /
ขนาดโตได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ตาโต หรือ ตาหวาน
ก็เรียก.
【 ตาม 】แปลว่า: ก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลําดับของสิ่ง
หรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อย
ตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนาย
ก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หาย
ไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟ
ตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือ
เอาอย่าง เช่น ทําตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่,
เช่น ตามกําลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่น
ตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่น
ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่
กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคําว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่
ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทําตามคําสั่ง ปฏิบัติตาม
กฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่
ตามป่า ปิดไว้ตามกําแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.
【 ตามกวาง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, เรียกชื่อเต็มว่า พระราม
ตามกวาง. (เงาะป่า; ศกุนตลา; ราชาธิราช).
【 ตามควาย 】แปลว่า: ว. รีบร้อน ในสํานวนว่า เดินอย่างตามควาย.
【 ตามใจ 】แปลว่า: ก. แล้วแต่ใจ.
【 ตามใจปากมากหนี้ 】แปลว่า: (สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก.
【 ตามใจปากลำบากท้อง 】แปลว่า: (สํา) ก. เห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน.
【 ตามที 】แปลว่า: ว. แล้วแต่จะเป็นไป.
【 ตามเนื้อผ้า 】แปลว่า: ว. ตามที่ปรากฏ เช่น เทศน์ตามเนื้อผ้า, ตามข้อ
เท็จจริง เช่น ว่าไปตามเนื้อผ้า.
【 ตามบุญตามกรรม 】แปลว่า: ว. ตามแต่จะเป็นไป.
【 ตามเพลง 】แปลว่า: (สํา) ว. สุดแต่จะเป็นไป, ตามเรื่องตามราว.
【 ตามไฟ 】แปลว่า: ก. จุดให้ไฟติดไว้, สุมไฟที่ขอนไม้ให้ติดอยู่ตลอดเวลา
เพื่อให้ผู้อื่นต่อไฟไปใช้หรือเพื่อแก้หนาว.
【 ตามมี 】แปลว่า: ว. สมควรแก่ที่มีอยู่.
【 ตามมีตามเกิด 】แปลว่า: ว. สุดแต่กําลังความสามารถอันน้อยเท่าที่มีอยู่
ในขณะนั้น.
【 ตามยถากรรม 】แปลว่า: (สํา) ว. เป็นไปตามกรรม, สุดแต่จะเป็นไป.
【 ตามเรื่องตามราว 】แปลว่า: (สํา) ว. ปล่อยให้เป็นไปเอง, สุดแต่จะเป็นไป.
【 ตามลมตามแล้ง 】แปลว่า: (สํา) ว. สุดแต่จะเป็นไป.
【 ตามลำพัง 】แปลว่า: ว. โดดเดี่ยว, เฉพาะตัวเอง, ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น.
【 ตามอำเภอใจ 】แปลว่า: ว. เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น.
【 ตามพ–, ตามพะ 】แปลว่า: ตามพะ– น. ทองแดง. (ป. ตมฺพ; ส. ตามฺร).
ตามพหัตถี [ตามพะ–] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐
ตระกูล กายสีทองแดง. /(ดู กาฬาวก)./
【 ตามะแน 】แปลว่า: /ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ ๒./
【 ตามิน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Amblyrhynchichthys truncatus /
ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเพรียว แบนข้าง หัวเล็ก
มีลักษณะเด่นที่จะงอยปากสั้นและปลายตัดตรง ปาก
เล็กอยู่ตํ่า ตาโต พื้นลําตัวสีเงิน ครีบต่าง ๆ สีเทา ขนาด
ยาวไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, ตาเหลือก หรือ หนามหลัง
ก็เรียก.
【 ตาย ๑ 】แปลว่า: ก. สิ้นใจ, สิ้นชีวิต, ไม่เป็นอยู่ต่อไป, สิ้นสภาพของการมี
ชีวิต, เช่น สภาวะสมองตาย; เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น มือ
ตาย ตีนตาย; ไม่เดินเพราะเครื่องเสียหรือหยุดเป็นต้น
เช่น รถยนต์ตาย นาฬิกาตาย; ยืนแต้มอยู่อย่างเดียว
เช่น ลูกเต๋าตายหก; ลักษณะที่ประตูในการเล่นการพนัน
บางประเภท เช่น โป ถั่ว ไม่ออกเลย หรือนาน ๆ จึงจะออก
สักครั้งหนึ่ง; ผิดตามที่กติกากำหนดไว้ในการเล่นกีฬา
หรือการละเล่นบางชนิด.
【 ตายขาน 】แปลว่า: ก. ยืนต้นตายเป็นแถว ๆ (ใช้แก่ต้นไม้) ในความว่า
ไม้ตายขาน.
【 ตายขุย 】แปลว่า: ก. ออกดอกเป็นเมล็ดแล้วตาย (ใช้แก่ไม้ในจําพวกไผ่).
【 ตายคาที่ 】แปลว่า: ก. ตายทันทีตรงที่เกิดเหตุ.
【 ตายโคม 】แปลว่า: น. เรียกไข่ที่ตัวตายในระหว่างฟักว่า ไข่ตายโคม.
【 ตายใจ 】แปลว่า: ก. หลงเชื่ออย่างไม่สงสัย.
【 ตายซาก 】แปลว่า: ก. ตายทิ้งร่างแห้งอยู่ (ใช้แก่สัตว์บางอย่าง เช่น
คางคก จิ้งจก).
【 ตายด้าน 】แปลว่า: ก. หมดความรู้สึกทางสัมผัส, ไม่มีความรู้สึกเหมือน
อย่างที่เคยมี; โดยปริยายหมายความว่า หยุดเจริญ
ก้าวหน้า ติดอยู่แค่นั้น.
【 ตายดาบหน้า 】แปลว่า: ก. มุ่งเสี่ยงไปข้างหน้า, เสี่ยงหนีเหตุการณ์ร้ายปัจจุบัน
ไปเผชิญชีวิตข้างหน้า, มีทิฐิมานะที่จะต่อสู้กับเคราะห์
กรรมเอาข้างหน้า, เสี่ยงทําไปก่อน แล้วค่อยคิดแก้
เหตุการณ์ภายหลัง.
【 ตายตัว 】แปลว่า: ก. คงที่อยู่อย่างนั้น เช่น ราคาตายตัว อัตราตายตัว.
【 ตายทั้งกลม 】แปลว่า: ว. ตายทั้งหมด, ตายทั้งแม่ทั้งลูก, เรียกหญิงที่ตาย
พร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม.
【 ตายน้อย 】แปลว่า: ว. เกือบตาย.
【 ตายนึ่ง 】แปลว่า: ก. เฉาหรือเหี่ยวเพราะถูกแดดหรือไอร้อนอย่างถูกนึ่ง.
【 ตายประชดป่าช้า 】แปลว่า: (สํา) ก. แกล้งทําหรือพูดแดกดันประชดอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่ตัวเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทําหรือพูดนั้น.
【 ตายเป็นเบือ 】แปลว่า: ก. ตายมากมายเกลื่อนกลาดไปเหมือนถูกยาเบื่อ.
【 ตายฝอย 】แปลว่า: ก. แห้งตายไปเพราะแล้ง (ใช้แก่ข้าวกล้า).
【 ตายฝังยังเลี้ยง 】แปลว่า: ก. เลี้ยงดูตามบุญตามกรรม.
【 ตายพราย 】แปลว่า: ก. ตายเสียแต่ยังไม่ออกผล (ใช้แก่ต้นไม้บางชนิด
ซึ่งกําลังจะมีผล เช่น กล้วย ถั่วแระ), ยืนต้น (ใช้แก่
ต้นไม้บางชนิด เช่น คูน).
【 ตายรัง 】แปลว่า: ว. ในที่สุดก็ต้องหวนกลับมาอยู่กับครอบครัวตาม
เดิม (ใช้แก่สามี) เช่น กลับมาตายรัง.
【 ตายราบ 】แปลว่า: ว. ไม่มีทางสู้, ไม่พ้นมือไปได้.
【 ตายเรียบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ตายทั้งหมด.
【 ตายลาภ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เป็นลาภแน่ ๆ, หนีไม่พ้น, เช่น นางนี้ดี
ร้ายตายลาภเรา. (มณีพิชัย).
【 ตายห่า 】แปลว่า: ก. ตายด้วยอหิวาตกโรคหรือกาฬโรค.
【 ตายโหง 】แปลว่า: ก. ตายผิดธรรมดาโดยอาการร้าย เช่น ถูกฆ่าตาย
ตกนํ้าตาย.
【 ตายอดตายอยาก 】แปลว่า: ก. อดอยากมานาน.
【 ตาย ๒ 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายประโยคหรือหน้าประโยค หมายความว่า
แย่, เต็มที, ยิ่งนัก, เช่น ร้อนจะตาย ตายละทีนี้, คําเปล่งเสียง
แสดงความตกใจหรือประหลาดใจเป็นต้น เช่น อุ๊ยตาย ตาย
แล้ว.
【 ต้าย 】แปลว่า: (โบ) น. เสาเขื่อน.
【 ตาราไต 】แปลว่า: น. ดอกบัว. (ช.).
【 ตาเรือ 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ตาเรือชัย 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวหัว
สําเภา ดาวสะเภา ดาวสําเภาทอง ดาวยามเกา
หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก.
【 ตาล 】แปลว่า: [ตาน] น. ชื่อปาล์มชนิด /Borassus flabellifer/ L. ในวงศ์
Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออก
ดอกเป็นงวงคล้ายมะพร้าว ไม่มีผล ต้นเพศเมียออกดอก
เป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย น้ำหวานที่ออก
จากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้
ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่า หัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้า
ยังอ่อน เรียกว่า ลอนตาล นิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม
เนื้อในตาลอ่อนที่เฉาะออกมาจากเต้า เรียกว่า ตาลเฉาะ
จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อม
กินได้, ตาลโตนด ก็เรียก; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งผสมนํ้า
คั้นจากลูกตาลสุกว่า ขนมตาล.
【 ตาลปัตร 】แปลว่า: [ตาละปัด] น. พัดใบตาล มีด้ามยาว สําหรับพระใช้
ในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัด
ที่ทําด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
ว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า.
【 ตาลปัตรบังเพลิง 】แปลว่า: [–เพฺลิง] น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศ
ของพระสงฆ์ ใช้ประดับสถานที่ในงานพระเมรุชั้น
พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง นิยมทําเป็น
รูปตุ๊กตาเทวดานั่งคุกเข่าถือตาลปัตรรายรอบบริเวณ
พระเมรุ, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก.
(รูปภาพ ตาลปัตรบังเพลิง)
【 ตาลยอดด้วน 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ไม่มีทางเจริญก้าวหน้าต่อไปอีกแล้ว;
คนที่ไม่มีบุตรสืบตระกูล.
【 ตาลปัตรฤๅษี 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Opuntia cochenillifera/ (L.)
Miller ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาด
ลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ
ปลูกเป็นไม้ประดับ. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Cycas siamensis/
Miq. ในวงศ์ Cycadaceae. (๓) /ดู กาสัก ๒./
【 ตาลาน ๑ 】แปลว่า: /ดู ตะลาน ๑./
【 ตาลาน ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะลาน ๒./
【 ตาลิปัตร 】แปลว่า: น. ตาลปัตร. /(ดูใน ตาล)./
【 ตาลิปัตรบังเพลิง 】แปลว่า: น. ตาลปัตรบังเพลิง. /(ดูใน ตาล)./
【 ตาลุ 】แปลว่า: (แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).
【 ตาลุชะ 】แปลว่า: (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียง
เกิดจากเพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ
ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษา
สันสกฤต. (ป.; ส. ตาลวฺย).
【 ตาว ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. ดาบ, มีดยาว.
【 ตาว ๒, ต๋าว 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Arenga pinnata/ (Wurmb) Merr.
ในวงศ์ Palmae ใบคล้ายใบมะพร้าว ด้านล่างมีนวล
ขาว จั่นเป็นพวงห้อย ให้นํ้าตาลทํานองมะพร้าว ออก
ผลเป็นทะลาย เนื้อในเมล็ดอ่อนเรียกว่า ลูกชิด เชื่อม
กินได้.
【 ตาเสือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Aphanamixis polystachya/ (Wall.)
R. Parker ในวงศ์ Meliaceae เนื้อไม้สีแดง แข็งและ
หนัก ใช้ในการก่อสร้าง.
【 ตาหนู ๑ 】แปลว่า: น. มะกลํ่าตาหนู. /(ดู มะกลํ่า)./
【 ตาหนู ๒ 】แปลว่า: ลักษณะของสิ่งของที่อยู่ภายในแพลมออกมา
ข้างนอกแต่เล็กน้อย.
【 ตาหลิ่ง 】แปลว่า: –หฺลิ่ง น. ตลิ่ง.
【 ตาหวาน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาหวาน ๒ 】แปลว่า: /ดู ตาพอง ๓./
【 ตาเหลว 】แปลว่า: (กลอน) น. เฉลว เช่น ตาหลิ่งตาเหลวปัก ปิดไว้.
(นิ. นรินทร์).
【 ตาเหลือก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตา ๒./
【 ตาเหลือก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาที่มีตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเรียบ
หลายชนิด หลายสกุล ที่เป็นปลาทะเลหรือนํ้า
กร่อย ได้แก่ทุกชนิดในสกุล /Ilisha/ วงศ์ Clupeidae
ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ด
ที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย,
อีปุด หรือ ปุด ก็เรียก; ที่เป็นปลานํ้ากร่อยแต่อยู่ได้
ในนํ้าจืดได้แก่ ตาเหลือกนํ้าจืด หรือ ข้าวเหนียวบูด
(/Megalops cyprinoides/) ในวงศ์ Megalopidae
และ ตาเหลือกยาว (/Elops saurus/) ในวงศ์
Elopidae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายกัน ปากกว้าง
ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูก
แข็ง ๑ ชิ้น สําหรับชนิดแรกตัวป้อมกว่า และมีก้าน
ครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น; ส่วนที่เป็นปลา
นํ้าจืดได้แก่ ตามิน (/Amblyrhynchichthys truncatus/).
/(ดู ตามิน)./
【 ตาฬะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ลูกกุญแจ, กลอนประตู, ลูกดาล. (ป., ส.).
【 ตำ 】แปลว่า: ก. ทิ่ม, แทง, เช่น หนามตํา; ใช้สากหรือสิ่งอื่นที่คล้าย
คลึงเช่นนั้นทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อย ๆ เช่น ตําข้าว ตํา
นํ้าพริก.
【 ตำข้าวสารกรอกหม้อ 】แปลว่า: (สํา) ก. หาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ, ทําพอให้
เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ.
【 ตำตา 】แปลว่า: ว. ปรากฏชัดแก่ตา, ตําหูตําตา ก็ว่า.
【 ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ 】แปลว่า: (สํา) ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่าย
ทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์ไปโดย
ไม่ได้ประโยชน์อะไร.
【 ตำส้ม 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ส้มตํา.
【 ตำหูตำตา 】แปลว่า: ว. ปรากฏชัดแก่ตา, ตำตา ก็ว่า.
【 ต่ำ ๑ 】แปลว่า: ว. ตรงข้ามกับสูง, มีระดับด้อยหรือน้อยกว่าปรกติ
เช่น ความดันโลหิตตํ่า.
【 ต่ำใจ 】แปลว่า: ก. น้อยใจ, เสียใจ, ใช้คู่กับ น้อยเนื้อ เป็น น้อยเนื้อ
ตํ่าใจ.
【 ต่ำช้า 】แปลว่า: ว. เลวทราม.
【 ต่ำตน 】แปลว่า: (โบ) ก. ถ่อมตน.
【 ต่ำต้อย 】แปลว่า: ว. มีฐานะความเป็นอยู่หรือตําแหน่งหน้าที่ด้อย
กว่ากันมากจนเทียบกันไม่ได้, มีฐานะไม่เท่าเทียม
เพื่อน.
【 ต่ำสุด 】แปลว่า: ว. น้อยที่สุด เช่น ตัวเลขต่ำสุด คะแนนนิยมต่ำสุด.
【 ต่ำ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) ก. ทอ เช่น ต่ำหูก.
【 ตำนาน 】แปลว่า: น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่อง
ราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตํานานพุทธเจดีย์
สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตํานาน ในคําว่า
เจ็ดตํานาน สิบสองตํานาน.
【 ตำเนิน ๑ 】แปลว่า: ว. ห่ามจวนสุก เช่น กล้วยตําเนิน, แก่ยังไม่จัด
เช่น แตงโมตําเนิน ทุเรียนตําเนิน, ดําเนิน ก็ว่า.
【 ตำเนิน ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ดําเนิน.
【 ตำเนียน 】แปลว่า: (กลอน) ก. ดําเนียน, ติเตียน.
【 ตำบล 】แปลว่า: (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้านเข้าด้วยกัน
และมีประกาศจัดตั้งเป็นตําบล มีกํานันเป็นหัวหน้า
ปกครอง.
【 ตำแบ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นริ้ว, จําแบ ก็ว่า.
【 ต้ำปุก 】แปลว่า: ว. เสียงของหนัก ๆ ทึบ ๆ ตกลงจากที่สูง.
【 ต้ำผาง 】แปลว่า: ว. เสียงดังของวัตถุแบน ๆ ที่ตกลงหรือกระทบกัน.
【 ต้ำพรวด 】แปลว่า: [–พฺรวด] ว. เสียงของตกลงไปในที่รกหรือในที่เหลว ๆ.
【 ตำแย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Laportea interrupta/ Chew
ในวงศ์ Urticaceae มีขนตามลําต้นและใบ ถูกเข้า
จะคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง, ตําแยตัวเมีย หรือ
กะลังตังไก่ ก็เรียก.
【 ตำแย ๒ 】แปลว่า: ว. เรียกหญิงผู้ทําคลอดตามแผนโบราณว่า หมอ
ตําแย. (มาจาก มหาเถรตําแย ผู้ทําตําราว่าด้วย
วิชานี้).
【 ตำแยตัวผู้, ตำแยแมว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Acalypha indica/ L. ในวงศ์
Euphorbiaceae ลักษณะคล้ายตําแยแต่ไม่มีขน
ถูกเข้าไม่คัน ใช้ทํายาได้, อเนกคุณ ก็เรียก.
【 ตำแยตัวเมีย 】แปลว่า: /ดู ตำแย ๑./
【 ตำรวจ 】แปลว่า: [–หฺรวด] น. เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษา
ความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมาย
เรียกชื่อตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น ตํารวจสันติบาล
ตํารวจกองปราบ ตํารวจดับเพลิง ตํารวจนํ้า ตํารวจ
รถไฟ ตํารวจป่าไม้. (ข. ฎํรวต, ตมฺรวต).
【 ตำรวจนครบาล 】แปลว่า: น. ตํารวจผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ในเขตกรุงเทพมหานคร.
【 ตำรวจภูธร 】แปลว่า: น. ตํารวจผู้มีหน้าที่ระวังและระงับเหตุการณ์ทาง
อาญาภายนอกกรุงเทพมหานคร.
【 ตำรวจวัง 】แปลว่า: น. ข้าราชการในพระองค์ มีหน้าที่ตรวจตรารักษา
พระราชวัง และดูแลไม่ให้มีการละเมิดระเบียบ
ประเพณีวังเป็นต้น.
【 ตำรวจหลวง 】แปลว่า: น. ข้าราชการในพระองค์ มีหน้าที่พิทักษ์รักษาองค์
พระมหากษัตริย์และพระราชินีในงานพระราชพิธี.
【 ตำรับ 】แปลว่า: [–หฺรับ] น. ตําราที่กําหนดไว้เป็นเฉพาะแต่ละเรื่องละ
ราย เช่น ตํารับหอสมุดแห่งชาติ; ใบสั่งยา (ใช้เฉพาะ
แพทยศาสตร์). (ข. ฎํราบ่, ตมฺราบ่).
【 ตำรา 】แปลว่า: น. แบบแผนที่ว่าด้วยหลักวิชาต่าง ๆ, ตํารับตํารา
ก็ว่า. (ข. ฎํรา, ตมฺรา).
【 ตำรุ 】แปลว่า: [–หฺรุ] น. ตรุ.
【 ตำลึง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Coccinia grandis/ (L.) J. Voigt
ในวงศ์ Cucurbitaceae มีมือเกาะ ใช้ใบและยอด
เป็นผัก.
【 ตำลึง ๒ 】แปลว่า: น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตําลึง,
เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า
๔ ตําลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนด
นํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง,
ตมฺลึง).
【 ตำเสา 】แปลว่า: /ดู กันเกรา./
【 ตำหนัก 】แปลว่า: น. เรือนของเจ้านาย, กุฏิของสมเด็จพระสังฆราช.
(ข. ฎํณาก่).
【 ตำหนักน้ำ 】แปลว่า: น. ตําหนักที่ปลูกในนํ้า.
【 ตำหนักแพ 】แปลว่า: น. ตําหนักที่ตั้งอยู่บนแพ.
【 ตำหนิ 】แปลว่า: น. รอยแผลเป็นหรือไฝปานเป็นต้นที่เป็นเครื่องหมายให้
สังเกตเห็นได้, รอยเสียที่ผลไม้หรือสิ่งของ. ก. ติเตียน.
【 ตำหระ 】แปลว่า: (โบ) น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย).
【 ตำแหน่ง 】แปลว่า: [–แหฺน่ง] น. ที่อยู่ เช่น ตําแหน่งของดวงดาว;
แห่งที่; หน้าที่การงาน; ฐานะ เช่น ตําแหน่ง
ผู้จัดการ; ลักษณนามเรียกจํานวนตัวเลขหลัง
จุดทศนิยม ยกเว้นเลขศูนย์ที่ไม่มีตัวเลขอื่นตาม
หลัง เช่น ๕.๐๔ เรียกว่า ทศนิยม ๒ ตําแหน่ง
๖.๑๐๘ เรียกว่า ทศนิยม ๓ ตําแหน่ง; (คณิต)
สิ่งที่บ่งระบุระดับความถูกต้องในการแสดงค่า
ของจํานวนจริงในรูปของทศนิยม เช่น ทศนิยม
๓ ตําแหน่ง หมายถึง ระดับความถูกต้องชนิด
ที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ๑ ใน ๑,๐๐๐.
【 ตำแหน่งที่ตั้ง 】แปลว่า: (คณิต) น. พิกัดหรือจํานวนจริงชุดหนึ่ง ซึ่งแสดง
ระยะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ห่างจากแกนอ้างอิงที่กําหนด
ไว้แล้ว, ตําแหน่งที่ ก็เรียก.
【 ติ 】แปลว่า: ก. ชี้ข้อบกพร่อง.
【 ติเตียน 】แปลว่า: ก. ยกโทษขึ้นพูด, กล่าวร้าย.
【 ติเรือทั้งโกลน 】แปลว่า: (สํา) ก. ตําหนิสิ่งที่ยังทําไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่า
อะไรเป็นอะไร, ติพล่อย ๆ ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไร
เป็นอะไร.
【 ติก–, ติกะ 】แปลว่า: ติกะ– น. หมวด ๓ คือ ที่รวมวัตถุหรือธรรมะ
อย่างละ ๓. (ป.).
【 ติกาหรัง 】แปลว่า: [–หฺรัง] น. เรือนแก้ว. (ช.).
【 ติง ๑ 】แปลว่า: ก. ทักไว้, ท้วงไว้.
【 ติงทุเลา 】แปลว่า: (โบ) ก. ขัดข้อง, แย้งขอให้ระงับไว้ก่อน.
【 ติง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) ก. ขยับเขยื้อน, ไหว.
【 ติ่ง ๑ 】แปลว่า: น. เนื้อหรือสิ่งที่งอกหรือยื่นออกมาเล็ก ๆ จากส่วนใหญ่.
【 ติ่ง ๒ 】แปลว่า: /ดู ตุ่น ๑./
【 ติ๋ง, ติ๋ง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงนํ้าหยด, เสียงร้องเรียกลูกสุนัข.
【 ติ่งตั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Getonia floribunda/ (Roxb.)
Lam. ในวงศ์ Combretaceae ดอกสีเขียวอมขาว ออก
ดอกเวลาผลัดใบ.
【 ติ๋งต่าง 】แปลว่า: ก. ต่างว่า, สมมุติว่า, ตีต่าง ตี๊ต่าง หรือ ตี๋ต่าง ก็ว่า.
【 ติงส–, ติงสติ 】แปลว่า: ติงสะ– ว. สามสิบ, โดยมากใช้ว่า ดึงส์.
(ป. ต??ส, ต??สติ).
【 ติงสติม– 】แปลว่า: ติงสะติมะ– ว. ที่ ๓๐ เช่น ติงสติมสุรทิน. (ป.).
【 ติ่งหาย 】แปลว่า: /ดู หิ่งหาย./
【 ติณ, ติณ– 】แปลว่า: [ติน, ตินะ–, ตินนะ–] น. หญ้า. (ป.).
【 ติณชาติ 】แปลว่า: น. หญ้า, พืชจําพวกหญ้า.
【 ติด ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส;
ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม;
แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทําให้เกิดขัด
อยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวน
แห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่
ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย;
ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติด
ไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้อง
ติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทําให้คงอยู่
เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น
มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง;
กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตา
ติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.
【 ติดกระดุม 】แปลว่า: ก. เย็บลูกกระดุมติดกับเสื้อผ้า, กลัดลูกกระดุม.
【 ติดกัณฑ์เทศน์ 】แปลว่า: ก. เอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์, เอาเงินหรือ
สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์.
【 ติดเก้ง 】แปลว่า: ก. อาการสมจรของสุนัขซึ่งกําลังติดกัน, ติดเต้ง
หรือ ติดเป้ง ก็ว่า.
【 ติดขัด 】แปลว่า: ก. ขัดข้อง.
【 ติดเครื่อง 】แปลว่า: ก. ทําให้เครื่องจักรกลติดหรือเดิน.
【 ติดจะ 】แปลว่า: ว. ค่อนข้าง, ใกล้ข้าง, เช่น เห็นรอยขาดอยู่นิด
ติดจะเก่า. (อิเหนา).
【 ติดจักรยาน 】แปลว่า: ก. ขี่จักรยานแล้วบังคับให้อยู่กับที่.
【 ติดใจ 】แปลว่า: ก. ชอบ, ฝังอยู่ในใจ; ข้องใจ.
【 ติดเชื้อ 】แปลว่า: ก. รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อนั้นเจริญใน
ร่างกาย มักแสดงอาการเจ็บป่วย เช่น เขาติดเชื้อมา
จากผู้อื่น; (ปาก) รับเอานิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่าง
ของคนที่อยู่รอบข้างเป็นต้นมาใช้หรือเป็นแบบอย่าง
เช่น เขาติดเชื้อพูดคำหยาบมาจากเพื่อน. ว. ลักษณะ
ของโรคที่รับเชื้อมาจากผู้อื่นหรือสิ่งอื่น, เรียกโรคที่มี
ลักษณะเช่นนั้นว่า โรคติดเชื้อ.
【 ติดตลก 】แปลว่า: ก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคน
ร้องพัก, มักพูดใช้สํานวนโวหารหรือแสดงท่าทาง
ชวนให้คนหัวเราะขบขัน.
【 ติดตลาด 】แปลว่า: ก. จัดให้มีตลาดขึ้น; เป็นที่นิยมกันทั่วไป เช่น สินค้า
ติดตลาด.
【 ติดต่อ 】แปลว่า: ก. ไปมาหาสู่กัน, พูดจาเพื่อทําความตกลง, สื่อสาร.
ว. ลักษณะของโรคติดเชื้อเมื่อเป็นแก่ผู้หนึ่งแล้ว
สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้, เรียกโรคที่มีลักษณะ
เช่นนั้นว่า โรคติดต่อ เช่น วัณโรคเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง.
【 ติดต้อยห้อยตาม 】แปลว่า: (สํา) ก. เดินตามไปติด ๆ เช่น อุตส่าห์สู้ติดต้อยห้อย
ตาม. (สังข์ทอง).
【 ติดตะกร้อ 】แปลว่า: ก. บังคับตะกร้อให้ติดอยู่บนเข่าหรือแขนเป็นต้น.
【 ติดตั้ง 】แปลว่า: ก. ประกอบเครื่องยนต์กลไกเป็นต้นเข้าด้วยกัน
เพื่อให้ใช้การได้ เช่น ติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อน, นำ
เครื่องยนต์กลไกเป็นต้นมาตั้งไว้เพื่อทำการอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง เช่น ติดตั้งเครื่องยนต์ในโรงงาน.
【 ติดตัว 】แปลว่า: ก. มีอยู่กับตัว เช่น มีเงินติดตัว มีอาวุธติดตัว.
【 ติดตา 】แปลว่า: น. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ด้วยการแซะตาของ
ต้นที่ต้องการขยายพันธุ์ไปติดที่ต้นหรือกิ่งของอีกต้น
หนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยกรีดเปลือกตรงที่ต้องการ
จะนำตาไปติดให้เผยออก สอดตาให้แนบกับเนื้อไม้ ใช้
แถบพลาสติกพันให้แน่นเว้นเฉพาะส่วนที่เป็นตา. ก.
ยังรู้สึกนึกเห็นภาพอยู่ไม่รู้เลือน; ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการ
เช่นนั้น.
【 ติดตาม 】แปลว่า: ก. ไปด้วย, มาด้วย; แสวงหาเพิ่มเติม, สดับตรับฟัง
ความเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ, เช่น ติดตามข่าว; ตามหา
เช่น ตํารวจติดตามผู้ร้าย.
【 ติดตื้น 】แปลว่า: ก. ติดอยู่ในที่ที่มีนํ้าตื้น ไม่พอที่เรือจะไปได้.
【 ติดเต้ง 】แปลว่า: ก. ติดเก้ง.
【 ติดบวก 】แปลว่า: ก. เพิ่มจํานวน (ใช้เฉพาะการบัญชี).
【 ติดบ่อน 】แปลว่า: ก. ตั้งบ่อนการพนัน.
【 ติดปาก 】แปลว่า: ก. ใช้คําใดคําหนึ่งบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย.
【 ติดเป้ง 】แปลว่า: ก. ติดเก้ง.
【 ติดพัน 】แปลว่า: ก. เกี่ยวข้อง, เกี่ยวเนื่องกัน, เช่น การรบติดพัน;
รักใคร่ชอบพอ เช่น ติดพันผู้หญิง.
【 ติดไฟ 】แปลว่า: ก. ก่อไฟ, ประดับไฟ.
【 ติดมือ, ติดไม้ติดมือ 】แปลว่า: ก. ถือหรือนําไปด้วย.
【 ติดร่างแห 】แปลว่า: ก. พลอยติดไปด้วย (มักใช้ในทางไม่ดี), ติดหลังแห
ก็ว่า.
【 ติดลบ 】แปลว่า: (ปาก) ก. มีรายจ่ายเกินรายได้; ขาดจํานวน (ใช้แก่
เลขและการบัญชี).
【 ติดลม 】แปลว่า: ก. อาการที่ว่าวขึ้นไปสูงได้ลมพยุงให้ทรงตัวอยู่;
โดยปริยายหมายความว่า พูดมากเรื่อยไปไม่รู้จักจบ.
【 ติดศัพท์ 】แปลว่า: ก. พูดใช้ศัพท์ยากหลาย ๆ คํา, พูดใช้ศัพท์คําใด
คําหนึ่งบ่อย ๆ; แปลศัพท์ไม่ออก.
【 ติดสนม 】แปลว่า: (โบ) ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่
ในความดูแลของพวกสนม ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์
แห่งราชวงศ์ หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่.
【 ติดสอยห้อยตาม 】แปลว่า: ก. ติดตามไปรับใช้.
【 ติดสัด 】แปลว่า: ก. อาการสืบพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นไปตามฤดูกาล.
【 ติดสำนวน 】แปลว่า: ก. พูดใช้สํานวนมาก ๆ, พูดจาเล่นสํานวน.
【 ติดสินบน 】แปลว่า: ก. ให้สินบน.
【 ติดหน้าตามหลัง 】แปลว่า: ก. ห้อมล้อมติดตามไป.
【 ติดหมัด 】แปลว่า: ว. ทันทีทันใด (เลียนจากภาษามวย คือต่อยไป
แล้วบวมหรือโนตามหมัดขึ้นมา).
【 ติดหลังแห 】แปลว่า: ก. พลอยติดไปด้วย (มักใช้ในทางไม่ดี), ติดร่างแห
ก็ว่า.
【 ติดแห้ง 】แปลว่า: ก. ติดอยู่ในที่ที่นํ้าแห้งลง ไม่พอที่เรือจะไปได้.
【 ติดอันดับ 】แปลว่า: ก. เข้าขั้นหรือลําดับที่กําหนดไว้.
【 ติดอ่าง 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดไม่ใคร่ออกทันใจ คือกว่าจะพูดได้
แต่ละคําต้องยํ้าคําต้นอยู่นาน จึงพูดต่อไปได้.
【 ติด ๒ 】แปลว่า: ก. ในการแทงโปโดยวิธีเลี่ยม ลูกค้าติดประตูข้าง
เคียงได้ ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยมไว้
เจ้ามือจ่าย ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าแทงติดไว้
ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น เจ้ามือกิน
เช่น ลูกค้าแทงเลี่ยม ๒ ติด ๓ โปออก ๒ เจ้ามือจ่าย
๒ ต่อ ถ้าออก ๓ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกหน่วยหรือครบ
เจ้ามือกิน.
【 ติด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Echeneidae เช่น สกุล
/Echeneis/ และ /Remora/ มีลักษณะเฉพาะเด่นกว่าปลา
อื่น ๆ ทั้งหมด คือ ที่ด้านบนของส่วนหัวมีอวัยวะรูปวงรี
ลักษณะเป็นซี่เรียงตัวในแนวขวางคล้ายบานเกล็ด ใช้
เป็นส่วนยึดเกาะแน่นกับปลาหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่
กว่าหรือวัตถุลอยนํ้า ปากเชิดขึ้นอยู่ปลายสุดของหัว ที่
พบเสมอได้แก่ ชนิด /E. naucrates/, เหา เหาทะเล หรือ
เหาฉลาม ก็เรียก.
【 ติด ๆ 】แปลว่า: ว. กระชั้นชิด เช่น วิ่งติด ๆ กันไป.
【 ติ๊ดเดียว, ติ๊ดหนึ่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น แหวนวงนี้เพชร
เม็ดติ๊ดเดียว น้ำในแก้วมีอยู่ติ๊ดหนึ่ง ไม่พอกิน, กระติ๊ด
กระติ๊ดเดียว หรือ กระติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
【 ติตติกะ 】แปลว่า: ติด– ว. มีรสขม. (ป.).
【 ติตติระ 】แปลว่า: ติด– น. นกกระทา. (ป.).
【 ติตถะ 】แปลว่า: ติด– น. ดิตถ์, ท่านํ้า. (ป.).
【 ติถี 】แปลว่า: (แบบ) น. ดิถี, วันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง
แรม ๒ คํ่า. (ป., ส. ติถิ).
【 ติปา 】แปลว่า: ก. ตก. (ช.).
【 ติปาถะ 】แปลว่า: ว. จิปาถะ, สารพัด, ไม่เลือกว่าอะไร.
【 ติมิ, ติมิงคละ 】แปลว่า: [–คะละ] น. ชื่อปลาในคัมภีร์ไตรภูมิ. (ป., ส.).
【 ติระ 】แปลว่า: (แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส.).
【 ติรัจฉาน 】แปลว่า: [–รัด–] น. ดิรัจฉาน, สัตว์เดรัจฉาน. (ป. ติรจฺฉานคต
ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
【 ติลก ๑ 】แปลว่า: [–หฺลก] ว. ดิลก, ยอด, เลิศ. น. เครื่องหมายที่เจิมที่
หน้าผากของพวกพราหมณ์เป็นเครื่องหมายนิกาย.
(ป., ส.).
【 ติลก ๒ 】แปลว่า: –หฺลก น. ต้นโลท. (ป.).
【 ติละ 】แปลว่า: (แบบ) น. พืชงา, เมล็ดงา. (ป., ส.).
【 ติ้ว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Cratoxylum/ วงศ์
Guttiferae เช่น ติ้วเกลี้ยง (/C. cochinchinense /
Blume), ขี้ติ้ว หรือ ติ้วใบเลื่อม ก็เรียก.
【 ติ้ว ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ซี่เล็ก ๆ ใช้สําหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว
สําหรับเสี่ยงทาย เช่น สั่นติ้วเซียมซี หรือสําหรับใช้
แทนสลาก เช่น เอาติ้วไปขึ้นของ.
【 ติ้ว ๓ 】แปลว่า: ว. ตึงเกินไป, แน่นเกินไป, เช่น รัดติ้ว คับติ้ว; สั้นกว่า
ปรกติ เช่น สาแหรกติ้ว; รวดเร็ว เช่น หมุนติ้ว.
【 ติ้วใบเลื่อม 】แปลว่า: /ดู ติ้ว ๑./
【 ตี 】แปลว่า: ก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก
ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน
ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทําให้เกิดเสียง เช่น ตี
ระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทําให้เข้ากัน
เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กําหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้
เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ
เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธี
นับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน
ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖,
แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.
【 ตีกรรเชียง 】แปลว่า: [–กัน–] ก. อาการที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้
มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยนํ้าให้เรือแล่นไป, เรียกท่าว่าย
นํ้าโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยนํ้าให้ตัวเลื่อน
ไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น ชกแบบตีกรรเชียง, ตีกระเชียง ก็ว่า.
【 ตีกลับ 】แปลว่า: ก. ย้อนกลับคืนผู้ส่ง (ใช้แก่หนังสือหรือจดหมาย) เช่น
หนังสือถูกตีกลับ จดหมายถูกตีกลับเพราะหาผู้รับ
ไม่ได้.
【 ตีกาก 】แปลว่า: ก. ทําเสียงประกอบเพลงอย่างหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
【 ตีกิน 】แปลว่า: ก. ฉวยโอกาสเอาประโยชน์ที่ไม่ควรจะได้.
【 ตีเกล็ด 】แปลว่า: ก. ทบผ้า ๒ ชั้นแล้วเย็บเป็นแนว เพื่อการตกแต่ง;
ตีฝาซ้อนเหลื่อมกันตามแนวนอน.
【 ตีเกลียว 】แปลว่า: ก. หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น.
【 ตีไก่ 】แปลว่า: ก. ให้ไก่ตีกันหรือชนกัน, โดยปริยายเรียกการเล่น
ของเด็กที่เอาดอกหญ้าแพรกมาตีกันว่า ตีไก่.
【 ตีขนาบ 】แปลว่า: ก. ทําให้ขึ้นมาขนาบข้าง.
【 ตีขลุม 】แปลว่า: ก. ตู่หรือหยิบฉวยเอาของผู้อื่นโดยทึกทักเอาว่า
เป็นของตน, แสดงอาการเป็นเชิงรับสมอ้างเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน.
【 ตีข่าว 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตีพิมพ์ข่าว (ใช้แก่หนังสือพิมพ์) เช่น
หนังสือพิมพ์นิยมตีข่าวที่อยู่ในความสนใจ
ของประชาชน.
【 ตีความ 】แปลว่า: ก. ชี้หรือกําหนดความหมาย; ให้ความหมายหรือ
อธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่ง
หมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคํา
หรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือ
เอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมาย
ไม่ชัดเจน เพื่อกําหนดความหมายอันแท้จริงของ
ถ้อยคําหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย.
【 ตีคอ 】แปลว่า: ก. พูดให้ต้องใจหรือให้ถูกอกถูกใจเพื่อหวังผล
อย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ตีคู่ 】แปลว่า: ก. ทําให้ขึ้นมาเป็นคู่.
【 ตีงูให้กากิน 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําสิ่งใด ๆ ไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น,
ทําสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้.
【 ตีงูให้หลังหัก 】แปลว่า: (สํา) ก. กระทําการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาด
จริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณี
ตีงูให้หลังหัก มันก็มักทําร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).
【 ตีจาก 】แปลว่า: ก. ทําตัวออกหาก, แยกตัวออกไป, พยายามทอดทิ้ง,
หนีไป, เลิกคบกัน.
【 ตีชิง 】แปลว่า: ก. ทําร้ายเจ้าทรัพย์แล้วแย่งเอาของไป.
【 ตีตนก่อนไข้, ตีตนตายก่อนไข้ 】แปลว่า: (สํา) ก. กังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่อง
ที่ยังไม่เกิดขึ้น.
【 ตีตรวน 】แปลว่า: ก. ใส่ตรวน จําตรวนที่ขาโดยวิธีตียํ้าหัวตะปูที่
ห่วงเหล็กสวมขาเพื่อไม่ให้ถ่างออกได้.
【 ตีตัวออกหาก 】แปลว่า: ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตน
จากไป, ปลีกตัวออกไป, เอาใจออกหาก ก็ว่า.
【 ตีตั๋ว 】แปลว่า: ก. ซื้อตั๋ว.
【 ตีตื้น 】แปลว่า: ก. ค่อยดีขึ้น (ใช้ในลักษณะเช่นการแข่งขันที่ตก
อยู่ในฐานะเสียเปรียบแล้วกลับฟื้นตัวขึ้น).
【 ตีแตะ 】แปลว่า: ก. ขัดแตะโดยเอาไม้ไผ่ผ่าให้เป็นซีก ๆ แล้วขัด
และตีให้แน่น ในการทํารั้วบ้านและฝาเรือน.
【 ตีโต้ 】แปลว่า: ก. ตีกลับไป.
【 ตีทะเบียน 】แปลว่า: ก. จดทะเบียน.
【 ตีท้ายครัว 】แปลว่า: ก. เข้าติดต่อตีสนิททางภรรยา (มักใช้ในทางชู้สาว).
【 ตีท้ายน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. เข้าทําในตอนหลังหรือในระยะหลัง.
【 ตีบทแตก 】แปลว่า: ก. แสดงได้แนบเนียนสมบทบาท.
【 ตีบรรทัด 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นเส้นบรรทัดตามแนวนอน.
【 ตีบังกั้น 】แปลว่า: ก. ช่วยปกป้องและออกรับแทน.
【 ตีปลาหน้าไซ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดหรือทําให้กิจการของผู้อื่นซึ่งกําลัง
ดําเนินไปด้วยดีกลับเสียไป.
【 ตีป่า 】แปลว่า: ก. ตีดะ, ตีไม่เลือก.
【 ตีป่าให้เสือกลัว 】แปลว่า: (สํา) ก. ขู่ให้กลัว.
【 ตีปีก 】แปลว่า: ก. แสดงความดีใจโดยงอข้อศอกแล้วตีสีข้างอย่าง
ไก่ตีปีก, แสดงอาการลิงโลดด้วยความดีใจ.
【 ตีแปลง 】แปลว่า: [–แปฺลง] ก. ทําดินโคลนให้เป็นแอ่งสําหรับนอน
เกลือก (ใช้แก่ควาย หมู); อาการที่ปลากัดต้นไม้
เช่นต้นข้าวสําหรับวางไข่; โดยปริยายหมายถึง
ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นอนตีแปลง.
【 ตีผี 】แปลว่า: น. วิธีเล่นการพนันบิลเลียดชนิดหนึ่ง.
【 ตีผึ้ง 】แปลว่า: ก. หาผึ้ง โดยวิธีเอาควันรมแล้วตัดคอนหรือปาด
เอารังลงมา; เรียกการเล่นชนิดหนึ่งทางภาคอีสาน
เล่นต่อจากตอนหมอลํา.
【 ตีแผ่ 】แปลว่า: ก. ขยายออกมาอย่างชัดแจ้ง, เปิดเผยรายละเอียด
อย่างชัดแจ้ง.
【 ตีฝีปาก 】แปลว่า: ก. อวดแสดงคารม.
【 ตีโพยตีพาย 】แปลว่า: ก. แกล้งร้องหรือทําโวยวายเกินสมควร,
แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ.
【 ตีมอง 】แปลว่า: ก. จับปลาด้วยมอง.
【 ตีรวน 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท, รวน ก็ว่า.
【 ตีรั้ง 】แปลว่า: ว. คล้ายคลึงกัน, เสมอกัน.
【 ตีลังกา 】แปลว่า: ก. หกคะเมนหงายหลังม้วนเอาหัวกลับขึ้น.
【 ตีลูกซึม 】แปลว่า: ก. ทำเฉย ๆ เหมือนไม่รู้เรื่อง, แสร้งทำหน้าซึมเศร้า
เพื่อให้สงสารหรือเห็นอกเห็นใจ.
【 ตีวง 】แปลว่า: ก. ล้อมวง, ขยายวง.
【 ตีวัวกระทบคราด 】แปลว่า: (สํา) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทําอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไป
รังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถ
ทําได้.
【 ตีสนิท 】แปลว่า: ก. เข้าไปทําเป็นสนิทชิดชอบเพื่อหวังผลอย่างใด
อย่างหนึ่ง.
【 ตีสองหน้า 】แปลว่า: ก. ทําให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดว่าเป็นพวกตน.
【 ตีสาย, ตีสายตะแล็ปแก็ป 】แปลว่า: (โบ) ก. ส่งโทรเลข.
【 ตีสำนวน 】แปลว่า: ก. พูดใช้สํานวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด.
【 ตีเส้น 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นแนวตรงด้วยไม้บรรทัดหรือด้ายชุบ
สีดําเป็นต้น.
【 ตีเสมอ 】แปลว่า: ก. ยกตนขึ้นเทียมท่าน โดยไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูง.
【 ตีเสียง 】แปลว่า: ก. ขึ้นเสียง, ออกเสียงดังด้วยความโกรธ, (เป็นคํา
ที่ผู้ใหญ่ใช้ว่าผู้น้อย).
【 ตีเสียว่า 】แปลว่า: ก. กะเอาว่า, สมมุติว่า.
【 ตีหน้า 】แปลว่า: ก. แกล้งทําสีหน้าให้ผิดจากใจจริง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
【 ตีหน้าตาย 】แปลว่า: ก. ทําหน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึกหรือไม่รู้เรื่อง.
【 ตีหน้ายักษ์ 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำหน้าถมึงทึงแสดงอาการเกรี้ยวกราด
ดุดัน, ใส่หน้ายักษ์ ก็ว่า.
【 ตีหลายหน้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ตลบตะแลง, กลับกลอก.
【 ตีห่าง 】แปลว่า: ก. ตีตัวออกหาก, ไม่คบหาสมาคมด้วยเหมือนเดิม.
【 ตีไหล่ 】แปลว่า: ว. เคียงคู่กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม เช่น ๒ คนนี้
รักกันมาก เดินตีไหล่กันมาเลย.
【 ตีอวน 】แปลว่า: ก. จับปลาด้วยอวน.
【 ตีอีตื้อ 】แปลว่า: ก. นิ่งเฉย, ดื้อด้าน.
【 ตี่ ๑ 】แปลว่า: น. การเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก ไม่จํากัดจํานวนผู้เล่น
โดยขีดเส้นแบ่งเขตระหว่างผู้เล่น ๒ ฝ่าย และจํากัด
เขตด้านกว้างและด้านหลังด้วย ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒
ฝ่าย จํานวนเท่า ๆ กัน คนตี่จะวิ่งออกจากเส้นแบ่ง
เขตโดยกลั้นใจร้องเสียง “ตี่” ตลอดเวลาที่เข้าไปอยู่
ในเขตตรงข้าม พยายามใช้มือฟันฝ่ายตรงข้ามให้
มากที่สุด และพยายามวิ่งกลับเข้าเขตของตนให้ได้
ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามไม่ให้ถูกฟัน และหา
โอกาสจับคนตี่ไว้มิให้กลับไปได้, ตี่จับ หรือ ตี่เสียง
ก็เรียก. ก. วิ่งร้องตี่ไป.
【 ตี่ใบ้ 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นตี่ชนิดหนึ่งที่ผู้ตี่ไม่ทําเสียง “ตี่” ใน
เวลาเล่น คือต้องหุบปากตลอดเวลาการหุบปาก
เท่ากับการออกเสียงตี่ อ้าปากเมื่อใดเท่ากับสิ้น
เสียงตี่เมื่อนั้น.
【 ตี่ป้าบ 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นตี่ชนิดหนึ่งใช้มือตบหลังเมื่อไล่ทัน.
【 ตี่ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) ก. แหวกออก, ถ่างออก, เช่น ตี่ฝา ว่า
ถ่างฝา ตี่ตา ว่า ถ่างตา.
【 ตี่ ๓ 】แปลว่า: น. เรียกตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทำให้
เบิกตากว้างไม่ได้ ว่า ตาตี่.
【 ตีทอง 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Megalaima haemacephala/ ในวงศ์
Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวเขียว
คอเหลือง อกแดง หน้าผากแดง ขอบตาเหลือง ทํารัง
ในโพรงไม้ กินผลไม้ เช่น ลูกไทร มักเกาะบนต้นไม้สูง
ร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.
【 ตีน ๑ 】แปลว่า: น. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้
ข้อเท้าลงไป สําหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยาย
หมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือ
ส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง; ชาย,
เชิง, เช่น ตีนท่า ตีนเลน.
【 ตีนกา ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายกากบาทมีรูปดังนี้ + หรือ x, ไม้จัตวา
มีรูปดังนี้ ?; เรียกรอยย่นซึ่งปรากฏที่หางตามีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตีนกา.
【 ตีนกา ๒, ตีนครุ 】แปลว่า: [–คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวน
เงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลัก
ไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็น
หลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้าน
ขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท
๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจํานวนตําลึง บาท สลึง
เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้
เช่น (ตัวอักขระพิเศษ) = ๔ ตําลึง (ตัวอักขระพิเศษ) =
๓ บาท (อักขระพิเศษ) = ๒ สลึง (อักขระพิเศษ) = ๑
เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมาย
ตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่อง
ยาเท่านั้น.
(รูปภาพ)
【 ตีนคู้ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกสระอู.
【 ตีนจก 】แปลว่า: น. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอจกลายโดยใช้ขนเม่นควักและ
ใช้ด้ายหรือไหมสอดลาย แล้วนํามาเย็บติดกับ
ซิ่น, เรียกผ้าที่มีเชิงเช่นนั้นว่า ผ้าตีนจก.
【 ตีนตะขาบ 】แปลว่า: น. เรียกรถชนิดหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนด้วยสายพาน
สามารถขับเคลื่อนไปในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนา
ป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.
【 ตีนถีบปากกัด 】แปลว่า: (สํา) ว. มานะพยายามทํางานทุกอย่างเพื่อปาก
ท้องโดยไม่คํานึงถึงความเหนื่อยยาก, ปากกัด
ตีนถีบ ก็ว่า.
【 ตีนเท่าฝาหอย 】แปลว่า: (สํา) น. เด็กทารก.
【 ตีนผี 】แปลว่า: น. ไม้ซึ่งอยู่ใต้หางหงส์ สอดอยู่ในช่องว่างระหว่าง
แปหัวเสากับเชิงกลอน; ส่วนของจักรที่ใช้กดผ้าเวลา
เดินจักร ยกขึ้นลงได้; ไกที่ติดอยู่ใต้กระปุกตะเกียง
ลาน สําหรับไขลาน มีลักษณะคล้ายกุญแจไขลาน
นาฬิกา; (ปาก) เรียกผู้ที่ขับรถเร็วจนน่าหวาดเสียว
และไม่รักษากฎจราจรว่า พวกตีนผี.
【 ตีนโรงตีนศาล 】แปลว่า: ว. เรียกคนที่ชอบพลอยประสมหาเศษหาเลยหรือ
หารายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ตามโรงศาลว่า พวกตีน
โรงตีนศาล.
【 ตีนเหยียด 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกสระอุ.
【 ตีน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้ากร่อยในวงศ์ Periophthalmidae ที่ใช้
ครีบอกต่างตีน ตาโปนมองเห็นเหนือนํ้าได้ดี เช่น ชนิด
/Periophthalmus barbarus, Boleophthalmus /
/boddarti. (ดู จุมพรวด)./
【 ตีนกา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ตีน ๑./
【 ตีนกา ๒, ตีนครุ 】แปลว่า: /ดูใน ตีน ๑./
【 ตีนกา ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Eleusine indica/ Gaertn. ในวงศ์
Gramineae ลําต้นแบน ช่อดอกเป็นก้านเดี่ยว ปลาย
ก้านแตกเป็นแขนงสั้น ๆ คล้ายตีนกา ใช้ทํายาได้, หญ้า
ปากคอก ก็เรียก.
【 ตีนจ้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Ardisia aprica/ Fletch. ในวงศ์
Myrsinaceae ยอดและใบอ่อนกินได้.
【 ตีนตะขาบ 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินชนิด /Nephrolepis biserrata/ (Sw.)
Schott ในวงศ์ Nephrolepidaceae.
【 ตีนตุ๊กแก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ficus pumila L. ในวงศ์ Moraceae
ใบเขียว กิ่งก้านแตกรากเกาะเลื้อย ใช้ปลูกประดับผนัง,
ลิ้นเสือ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด /Tridax /
/procumbens/ L. ในวงศ์ Compositae ขึ้นทั่วไปตามที่
รกร้าง ดอกมีก้านยาว กลีบสีเหลืองนวล. (๓) ชื่อไม้ล้มลุก
อวบนํ้าชนิด /Kalanchoe delagoensis/ Eckl. et Zeyh.
ในวงศ์ Crassulaceae เป็นไม้ปลูก, ตุ๊กแกใบกลม ก็เรียก.
(๔) ชื่อเฟินขนาดเล็กชนิด /Selaginella helferi/ Warb.
ในวงศ์ Selaginellaceae ใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีกลุ่มอับสปอร์
เป็นแท่งที่ปลายกิ่ง. (๕) ชื่อเห็ดชนิด /Schizophyllum /
/commune/ Fr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือก
ไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่าง
มีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก,
ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง. (๖) ชื่อเห็ดชนิด /Lopharia papyracea/
(Jungh.) Reid ในวงศ์ Stereaceae ขึ้นบนขอนไม้ ไม่มีก้าน
เป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ สีนํ้าตาลหม่น กินได้ และใช้
ทํายา, เห็ดจิก ก็เรียก.
【 ตีนเต่า 】แปลว่า: น. เรียกกล้วยลูกเล็ก ๆ ที่อยู่ปลายเครือว่า กล้วยตีนเต่า.
【 ตีนเทียน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Himantopus himantopus/ ในวงศ์
Recurvirostridae ลําตัวด้านบนลายเขียว ด้านล่างสี
ขาว ปากสีดําและยาวเรียว ขายาวสีแดง ตัวผู้หัวสีดํา
ตัวเมียหัวสีขาว พบอยู่ตามชายฝั่งแม่นํ้า กินกุ้งและปลา.
【 ตีนนก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Vitex pinnata/ L. ในวงศ์ Labiatae
ดอกเล็ก สีฟ้าอมขาว ออกเป็นช่อใหญ่ ผลกลมเล็ก สีดำ
เนื้อไม้ทนทานใช้ทำเครื่องมือ, กานน กาสามปีก โคนสมอ
หรือ สมอกานน ก็เรียก. (๒) /ดู กาสามปีก (๑)./
【 ตีนเป็ด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในวงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด
/Alstonia scholaris/ (L.) R. Br. ใบออกรอบข้อ ๔–
๗ ใบ ผลเป็นฝักยาว ๒ ฝัก, สัตบรรณ หรือ พญาสัตบรรณ
ก็เรียก; และ ตีนเป็ดน้ำ (/Cerbera odollam/ Gaertn.)
เป็นไม้ต้นขนาดกลาง มักขึ้นตามชายนํ้า ดอกสีขาว
ผลกลม.
【 ตีนแรด 】แปลว่า: น. (๑) เห็ดตีนแรด. /[ดู จั่น ๕ (๒)]./ (๒) ชื่อต้นไม้ยืนต้น.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 ตีบ ๑ 】แปลว่า: ว. มีอาการแคบเข้าผิดปรกติ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นช่องกลวง)
เช่น คอตีบ เส้นเลือดตีบ ไส้ตีบ.
【 ตีบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่าง
กล้วยป่ากับกล้วยตานี.
【 ตีรถะ 】แปลว่า: ตีระ– ติตถ์, ดิตถ์, ท่านํ้า. (ส.; ป. ติตฺถ).
【 ตีระ 】แปลว่า: (แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส.).
【 ตึ, ตึ ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะกลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งคล้ายกลิ่นเนื้อแห้ง,
มักใช้ประกอบกับคํา เหม็น เป็น เหม็นตึ.
【 ตึตัง 】แปลว่า: ว. เหม็นตืด, ล้างไม่ค่อยหายเหม็น, ตุตัง ก็ว่า.
【 ตึก 】แปลว่า: น. อาคารที่ก่อสร้างด้วยอิฐปูนเป็นต้น.
【 ตึกแถว 】แปลว่า: น. อาคารที่ก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ
เรียงติดกันไปเป็นแถว, ห้องแถว ก็เรียก; (กฎ) อาคาร
ที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ ซึ่งปลูกสร้างติดต่อกัน
เป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุทนไฟเป็น
ส่วนใหญ่.
【 ตึกระฟ้า 】แปลว่า: น. อาคารที่สูงมาก.
【 ตึก ๆ, ตึ้ก ๆ, ตึ้กตั้ก 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงหัวใจเต้นเวลาเหนื่อยหรือตกใจ
เป็นต้น.
【 ตึง ๑ 】แปลว่า: ว. ไม่หย่อน เช่น เชือกตึง เส้นตึง, ค่อนข้างคับ เช่น
เสื้อแขนตึง; มีอาการออกจะโกรธ ๆ เช่น หมู่นี้ดูตึงไป.
【 ตึงเครียด 】แปลว่า: ว. ใกล้จะถึงขั้นแตกหัก เช่น สถานการณ์ตึงเครียด.
【 ตึงตัว 】แปลว่า: ว. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความคับแค้น
ได้ยาก.
【 ตึงเปรี๊ยะ 】แปลว่า: ว. ตึงมากจนเกือบจะปริหรือขาด.
【 ตึง ๒, ตึง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ ตกกระทบพื้นแข็ง.
【 ตึงตัง 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างของหนัก ๆ ตกลงบนพื้นกระดานหลาย ๆ
ครั้ง; โดยปริยายหมายถึงมีกิริยามารยาทซุ่มซ่ามไม่
เรียบร้อย เช่น ทะลึ่งตึงตัง
【 ตึง ๓ 】แปลว่า: /ดู พลวง ๒./
【 ตึดตื๋อ, ตึ๊ดตื๋อ 】แปลว่า: ว. มาก, ใช้ประกอบกับคำ มืด เป็น มืดตึดตื๋อ หรือ
มืดตึ๊ดตื๋อ.
【 ตืด ๑ 】แปลว่า: ว. กลิ่นไม่ดี, กลิ่นเหม็นที่ติดอยู่ไม่รู้หาย เรียกว่า
เหม็นตืด, บางทีใช้ว่า เหม็นตืดเหม็นตัง.
【 ตืด ๒ 】แปลว่า: ว. หนืด, ตระหนี่, มักใช้ว่า ขี้ตืด.
【 ตื่น 】แปลว่า: ก. ฟื้นจากหลับ เช่น ตื่นนอน, ไม่หลับ เช่น ตื่นอยู่;
แสดงอาการผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ
เป็นต้น เช่น วัวตื่น ควายตื่น ตื่นเวที ตื่นยศ ตื่นไฟ;
รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคําว่า พระพุทธเจ้า
เป็นผู้ตื่นแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า รู้เท่าทัน,
รู้ตัวขึ้น.
【 ตื่นข่าว 】แปลว่า: ก. เชื่อข่าวหรือคําเล่าลือโดยไม่มีเหตุผล.
【 ตื่นตัว 】แปลว่า: ก. ไหวทันเหตุการณ์, รู้ตัวทันเหตุการณ์.
【 ตื่นตาตื่นใจ 】แปลว่า: ก. ตื่นเต้นเพราะได้พบได้เห็นสิ่งที่ไม่เคย
พบเคยเห็น.
【 ตื่นตาย 】แปลว่า: ก. หายกลัว, หายตกใจ, เช่น ก็ตื่นตายยินดี
เป็นพ้นนัก. (อิเหนา).
【 ตื่นตูม 】แปลว่า: ก. ตกใจโดยไม่ได้พิจารณา เช่น กระต่ายตื่นตูม.
【 ตื่นเต้น 】แปลว่า: ก. แสดงอาการลิงโลดด้วยดีใจหรือแปลกใจ,
มีความประหม่าเพราะไม่คุ้นเคย.
【 ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม 】แปลว่า: (สํา) ก. เร่งรัดทําการงานให้เหมาะสมแก่วัย
และเวลา.
【 ตื่นฟ้า 】แปลว่า: (กลอน) ก. แจ่มฟ้า.
【 ตื้น 】แปลว่า: ว. ตํ่าลงไปจากขอบน้อยกว่าปรกติ เช่น ชามก้นตื้น,
หยั่งลงไปได้ไม่ไกลจากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น
นํ้าตื้น คลองตื้น, เข้าไปไม่ไกลจากขอบเป็นต้น เช่น
ตรอกตื้น; ผิวเผิน, ไม่ลึกซึ้ง, เช่น ความคิดตื้น, ตรง
ข้ามกับ ลึก.
【 ตื้นตัน, ตื้นตันใจ 】แปลว่า: ว. รู้สึกอัดอั้นเพราะดีใจหรือเสียใจเป็นต้น.
【 ตื้อ 】แปลว่า: ว. ทึบ เช่น มืดตื้อ สมองตื้อ; แน่นอึดอัด เช่น อิ่มตื้อ
ท้องตื้อ; เรียกดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งว่า อ้ายตื้อ หรือ
อีตื้อ; เรียกข้าวเหนียวนํ้ากะทิในพิธีเลี้ยงว่า อ้ายตื้อ.
【 ตื๊อ 】แปลว่า: (ปาก) ก. รบเร้าจะเอาให้ได้, เซ้าซี้รบกวนรํ่าไป.
【 ตื๋อ 】แปลว่า: ว. เร็วมาก (ใช้แก่กริยาวิ่ง).
【 ตุ, ตุ ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะกลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งคล้ายกลิ่นเนื้อ
หรือปลาที่ตากไม่ได้แดดเป็นต้น, ใช้ประกอบกับ
คำ เหม็น เป็น เหม็นตุ.
【 ตุตัง 】แปลว่า: ว. ตึตัง, เหม็นตืด, ล้างไม่ค่อยหายเหม็น.
【 ตุ๊ ๑ 】แปลว่า: ว. จํ้ามํ่า, ใช้ประกอบกับคำ อ้วน เป็น อ้วนตุ๊,
(มักใช้แก่เด็ก).
【 ตุ๊ต๊ะ 】แปลว่า: ว. อ้วนอุ้ยอ้าย.
【 ตุ๊ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. พระ.
【 ตุ๊กแก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Gekkonidae หัวโต
หางยาว หลายชนิดตีนเหนียวสามารถเกาะตาม
ผนังเรียบได้ หลายชนิดร้องเสียงดัง ออกหากินใน
เวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น
ตุ๊กแกที่พบตามบ้านเรือน (/Gekko gecko/) ตุ๊กแก
บินหางเฟิน (/Ptychozoon lionatum/), พายัพเรียก
ต๊กโต, อีสานเรียก กับแก้. ว. มีลวดลายเป็นดอก
ดวงเลอะเทอะ เช่น ผ้าลายตุ๊กแก ตัวลายเป็น
ตุ๊กแก.
【 ตุ๊กแก ๒ 】แปลว่า: (๑) /ดู แค้/. (๒) /ดู เก๋า/.
【 ตุ๊กแกใบกลม 】แปลว่า: /ดู ตีนตุ๊กแก (๓)./
【 ตุ๊กตา 】แปลว่า: [ตุ๊กกะ–] น. ของเล่นของเด็กซึ่งทําเป็นรูปคนหรือ
สัตว์เป็นต้น มักมีขนาดเล็กกว่าตัวจริง, ลักษณนาม
ว่า ตัว; เงาที่ปรากฏเป็นรูปคนเล็ก ๆ เป็นต้น ใน
แววตา; ที่รับเพลาและข้อเสือเครื่องจักรเพื่อให้
เที่ยง; ชื่อเสาที่ยันขื่อคัด; ตัวอย่างที่สมมุติขึ้นมา
ประกอบคําอธิบายหรือวินิจฉัยเป็นต้น เช่น ตั้ง
ตุ๊กตามาดู.
【 ตุ๊กตาล้มลุก 】แปลว่า: น. ตุ๊กตาไม่มีขา ฐานโค้ง มีโลหะถ่วงอยู่ข้างใน
ฐานเมื่อผลักให้ล้มแล้วจะกลับตั้งขึ้นมาได้เอง,
โดยปริยายหมายถึงคนเจ็บไข้ที่ไม่ค่อยมีกําลัง
วังชา ประเดี๋ยวล้มนอน ประเดี๋ยวลุกนั่ง.
【 ตุ๊กตาเสียกบาล 】แปลว่า: [–เสียกะบาน] น. ตุ๊กตาที่ใส่กระบะกาบกล้วย
พร้อมทั้งเครื่องเซ่นผีแล้วนําไปวางไว้ที่ทาง
สามแพร่งหรือลอยนํ้า.
【 ตุ๊กต่ำ 】แปลว่า: [ตุ๊กกะ–] น. ชื่อแร่ชนิดหนึ่งสีดําเหมือนนิล. (ปรัดเล).
【 ตุ๊กต่ำน้ำทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง
【 ตุกติก 】แปลว่า: ว. มีชั้นเชิง, มีเล่ห์เหลี่ยมไม่ตรงไปตรงมา.
【 ตุ๊กติ๊ก 】แปลว่า: ว. ตุ้งติ้ง.
【 ตุ๊กตุ่น 】แปลว่า: [ตุ๊กกะ–] น. ของเล่นสําหรับเด็ก ทําเป็นรูปสัตว์
หรือสัตว์ประหลาดต่าง ๆ ขนาดเล็กกว่าตัวจริง,
ใช้เข้าคู่กับคำ ตุ๊กตา เป็น ตุ๊กตุ่นตุ๊กตา.
【 ตุ๊กตุ๋ย 】แปลว่า: ตุ๊กกะ– ว. ไม่สลักสําคัญอะไร.
【 ตุง 】แปลว่า: ว. เป็นกระพุ้งยื่นออกมา, นูนออกมา.
【 ตุ้งก่า 】แปลว่า: น. หม้อสําหรับสูบกัญชา.
【 ตุ้งติ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ตุ้มหูชนิดหนึ่ง มีระย้าห้อย. ว. มีกิริยาท่าทาง
กระชดกระช้อย, กระตุ้งกระติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า,
อาการที่วัตถุเล็ก ๆ แกว่งไปแกว่งมา, ตุ๊กติ๊ก ก็ว่า.
【 ตุ้งติ้ง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ตุ้งติ้งเปลญวน ก็เรียก.
(บัญชีเพลง).
【 ตุ๊ดตู่ ๑ 】แปลว่า: น. เหล็กสำหรับเจาะรูหรือตอกกระดาษเป็นต้น
ให้เป็นลูกปลารูปต่าง ๆ เช่น กลม ดอกจิก.
【 ตุ๊ดตู่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกกชนิด /Schoenoplectus mucronatus /
(L.) Palla ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นเป็นกอ สี
นํ้าตาลอ่อน ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม, กกกลม
ก็เรียก.
【 ตุ๊ดตู่ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด /Varanus dumerilii /
ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด
ตัวสีนวล ลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดบนคอเป็นแผ่น
แบน เมื่อยังเล็กหัวสีแดง พบทางภาคใต้ของประเทศ
ไทย.
【 ตุ๊ดตู่ ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง เช่น ในบทดอกสร้อยสุภาษิต
ว่า “ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูช่างอยู่ได้…”.
【 ตุ๊ดตู่ ๕ 】แปลว่า: /ดู แมลงช้าง ที่ แมลง./
【 ตุน 】แปลว่า: ก. เก็บสะสมไว้ เช่น ซื้อของตุนไว้; เก็บหรือกักไว้
เพื่อกันขาดแคลนหรือหวังกําไรในการค้า เช่น
ตุนสินค้า, กักตุน ก็ว่า. (จ.).
【 ตุ่น ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Talpa micrura /
ในวงศ์ Talpidae รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ลำตัว
อ้วนป้อม หัวเล็ก ตาเล็กมาก จมูกแหลม ขนอ่อน
นุ่ม เล็บตีนหน้ายาวใหญ่เห็นได้ชัด ขุดรูเป็นที่อยู่
อาศัย กินพืช, ติ่ง ก็เรียก; (ปาก) โดยปริยายหมาย
ความว่า คนโง่ คนเซ่อ, มักใช้ว่า โง่เง่าเต่าตุ่น.
【 ตุ่น ๒, ตุ่น ๆ 】แปลว่า: ว. สีมัว ๆ อย่างสีเทาหม่น ๆ.
【 ตุ๋น 】แปลว่า: ก. ทําให้สุกด้วยวิธีเอาของใส่ภาชนะวางในภาชนะ
ที่มีนํ้าแล้วเอาฝาครอบ ตั้งไฟให้นํ้าเดือด เช่น ตุ๋นไข่
ตุ๋นข้าว, เคี่ยวให้เปื่อย เช่น ตุ๋นเนื้อ ตุ๋นเป็ด. น. เรียก
สิ่งที่ทําให้สุกโดยวิธีดังกล่าว เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อตุ๋น เป็ด
ตุ๋น; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลอกลวงเอา
ไปแทบหมดตัว, ผู้ถูกหลอกลวงเอาไปแทบหมดตัว
เรียกว่า ผู้ถูกตุ๋น. (จ.).
【 ตุ่นต่าน 】แปลว่า: ก. ข่มขี่ เช่น พรรณหญิงมิโอมอ่าน ตุ่นต่านให้
ชายกลัว. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 ตุนาหงัน 】แปลว่า: [–หฺงัน] ก. หมั้นไว้ (เพื่อแต่งงาน). (ช.).
【 ตุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ชีพจรเป็นต้นเต้นเป็นระยะ ๆ.
【 ตุ้บ, ตุ้บ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ หล่น หรือเสียงทุบ
ด้วยกําปั้น.
【 ตุ้บตั้บ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบกัน. น. เรียกขนม
ชนิดหนึ่ง ทำด้วยถั่วกวนกับนํ้าตาลแล้วทุบให้
ละเอียด ตัดเป็นชิ้น ๆ ว่า ขนมตุ้บตั้บ.
【 ตุ๊บป่อง 】แปลว่า: ว. อาการที่ของลอยกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง
ไปตามกระแสนํ้า.
【 ตุปัดตุป่อง 】แปลว่า: ว. สะบัดสะบิ้ง, แสนงอน, ตะปัดตะป่อง ก็ใช้.
【 ตุปัดตุเป๋ 】แปลว่า: ก. เดินเฉไปเฉมาไม่ตรงทาง.
【 ตุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับขังหรือใส่นํ้า ก้นสอบ ปากแคบ
กว่าโอ่ง.
【 ตุ่ม ๒ 】แปลว่า: น. เม็ดที่ขึ้นตามผิวหนัง, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง
อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ดอกไม้
ออกเป็นตุ่ม.
【 ตุ่ม ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Puntius bulu/ ในวงศ์
Cyprinidae อยู่ในจําพวกปลาตะเพียน ไม่มี
หนวด กระโดงครีบหลังแข็งและหยักเป็นฟัน
เลื่อย ลําตัวมีลายพาดสีดํา เคยพบชุกชุมมาก
ในเขตทะเลสาบสงขลาตอนในที่เรียกทะเลน้อย.
【 ตุ้ม ๑ 】แปลว่า: ว. ป้อม ๆ, กลม ๆ. น. ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อย
ลงมา, ลูกตุ้ม ก็ว่า.
【 ตุ้มมะพร้าว 】แปลว่า: น. เรียกลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมาว่า
ลูกตุ้มมะพร้าว.
【 ตุ้มหู 】แปลว่า: น. เครื่องประดับหู, ต่างหู.
【 ตุ้ม ๒ 】แปลว่า: /ดู แมลงช้าง ที่ แมลง./
【 ตุ๋ม 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า.
【 ตุ้มกว้าว 】แปลว่า: /ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒./
【 ตุ้มแซะ 】แปลว่า: /ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒./
【 ตุมตัง 】แปลว่า: /ดู กระแจะ ๒./
【 ตุ้มเต๋น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Duabanga grandiflora /
(DC.) Walp. ในวงศ์ Sonneratiaceae ไม้ใช้ทําหีบใส่
ของเป็นต้น.
【 ตุ้มปี่ 】แปลว่า: น. หมวกชนิดหนึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกทับทิมควํ่า.
(รูปภาพ ตุ้มปี่)
【 ตุมพรวด 】แปลว่า: /ดู จุมพรวด./
【 ตุมพะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงอย่างโบราณ; หม้อนํ้ามี
พวย. (ป.; ส. ตุมฺร).
【 ตุ่ย 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่มีบางสิ่งบางอย่างดันให้นูนโป่งออกมา
เช่น แก้มตุ่ย กระเป๋าตุ่ย.
【 ตุ่ย ๆ 】แปลว่า: ว. กลิ่นเหม็นน้อย ๆ.
【 ตุ้ย, ตุ้ย ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เคี้ยวอาหารเต็มปากจนแก้มโป่งออกมา
เช่น เคี้ยวตุ้ย ๆ กินตุ้ย ๆ.
【 ตุ๊ย 】แปลว่า: ก. เอาหมัดกระแทกเอา. (จ.). น. เรียกตัวตลกที่
ออกมาขัดจังหวะในการสวดคฤหัสถ์ว่า ตัวตุ๊ย.
【 ตุ๋ยตุ่ย 】แปลว่า: น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว
มีไม้ยื่นออกไปสําหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบ
ธนูที่ทําด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทําให้
เกิดเสียงคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลา
เย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟัง
เสียงในเวลากลางคืน.
【 ตุรคะ 】แปลว่า: ตุระคะ น. ม้า. (ป., ส.).
【 ตุรงค–, ตุรงค์ 】แปลว่า: ตุรงคะ– น. ดุรงค์, ม้า, เช่น ตุรงคสังวัจฉร.
(ป., ส.).
【 ตุรงคราวี 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงโบราณ, คู่กับ มหาตุรงคราวี.
【 ตุริยางค์ 】แปลว่า: น. ส่วนของเครื่องดีดสีตีเป่า หมายความอย่างเดียว
กับดุริยะ. (ป. ตุริย + องฺค).
【 ตุล 】แปลว่า: น. คันชั่ง, ตราชู; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง เรียกว่า
ราศีตุล เป็นราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีดุล ก็ว่า.
【 ตุลสิ 】แปลว่า: ตุน– น. ต้นกะเพรา. (ป.).
【 ตุลา 】แปลว่า: (แบบ) น. คันชั่ง, ตราชู; ชื่อมาตราวัดนํ้าหนักมคธ
เท่ากับ ๑๐๐ ปละ. (ป., ส.).
【 ตุลาการ 】แปลว่า: (กฎ) น. ผู้มีอํานาจและหน้าที่ในการพิจารณา
พิพากษาอรรถคดี.
【 ตุลาคม 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือน
มกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) เดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ
ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป., ส. ตุลา ว่า คันชั่ง
+ อาคม ว่า มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีตุล).
【 ตุหรัดตุเหร่ 】แปลว่า: [–หฺรัด–เหฺร่] ก. ไปอย่างไม่มีจุดหมาย, ไม่มีที่
อาศัยแน่นอน.
【 ตู ๑ 】แปลว่า: (โบ) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
น. ตัว.
【 ตูข้า 】แปลว่า: (โบ) ส. ตัวข้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 ตู ๒ 】แปลว่า: ก. เต้า, ไป. (ข. เทา).
【 ตู่ 】แปลว่า: ก. กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว,
กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง.
【 ตู่ตัว 】แปลว่า: ว. เพี้ยนตัว, ไม่ตรง, (ใช้ในการอ่านหนังสือ เช่น
อ่านตู่ตัว ด เป็นตัว ค).
【 ตู่พุทธพจน์ 】แปลว่า: ก. อ้างพุทธพจน์ผิด ๆ ถูก ๆ.
【 ตู้ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับเก็บหรือใส่สิ่งของมักมีชั้นมีบาน
ปิดเปิดได้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตู้ยาม รถตู้.
【 ตู้นิรภัย 】แปลว่า: [–นิระ–] น. ตู้ที่ทําขึ้นให้แข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อป้องกัน
ทรัพย์สินภายในจากการโจรกรรมหรืออัคคีภัย.
【 ตู้พระมาลัย 】แปลว่า: น. ตู้ใส่คัมภีร์พระมาลัยซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคัมภีร์
ใบลาน, หีบพระมาลัย ก็เรียก.
【 ตู้เสบียง 】แปลว่า: น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะ
เดินทาง, รถเสบียง ก็ว่า.
【 ตู้ ๒ 】แปลว่า: ว. ทู่, เรียกควายเขาสั้นหงิกเข้ามาหาหูว่า ควาย
เขาตู้.
【 ตู๊ 】แปลว่า: ก. ประทัง, พอถูไถ, ชดเชย, เช่น พอตู๊ ๆ กันไป. (จ.).
【 ตู๊เรือ 】แปลว่า: ก. ชะลอเรือ, ทำให้เรือมีความเร็วลดลง.
【 ตูก 】แปลว่า: น. เรือ. (ข. ทูก).
【 ตูด 】แปลว่า: น. รูก้น. ว. นูนขึ้น, สูงขึ้น, เช่น เนื้อตูดขึ้นมา; ยื่น
ออกไป เช่น ปากตูด.
【 ตูดงอน 】แปลว่า: /ดู ลี่ ๑./
【 ตูบ ๑ 】แปลว่า: น. กระท่อม, กระต๊อบ, เช่น ไปตั้งตูบตีนเขา. (ม. คําหลวง
ชูชก), กระตูบ ก็เรียก.
【 ตูบ ๒ 】แปลว่า: ว. หลุบลง เช่น หูตูบ.
【 ตูม ๑ 】แปลว่า: น. มะตูม.
【 ตูม ๒ 】แปลว่า: ว. ไม่บาน, ยังไม่บาน.
【 ตูม ๓, ตูม ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น โดดนํ้าดังตูม เสียงปืนใหญ่
ดังตูม ๆ.
【 ตูมตาม 】แปลว่า: ว. เสียงดังเอะอะอึกทึก เช่น เสียงระเบิดตูมตาม.
【 ตูมกา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Strychnos/ วงศ์ Strychnaceae
คือ ตูมกาขาว หรือ มะตึ่ง (/S. nux-blanda/ A.W. Hill) เมล็ด
ไม่เป็นพิษ, และ ตูมกาแดง หรือ แสลงใจ (/S. nux-vomica/ L.)
เมล็ดเป็นพิษ.
【 ตูลิ่นฮื้อ 】แปลว่า: /ดู ลิ่นฮื้อ./
【 ตูหนา 】แปลว่า: น. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด /Anguilla bicolor/ ในวงศ์
Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลําตัว
กลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็ก
ฝังแน่นอยู่ในหนัง ลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบ
ดําเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน
ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร.
【 เต 】แปลว่า: (แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษ
จํานวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสี
ดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓,
เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).
【 เตก 】แปลว่า: ก. ไสช้างให้เดิน, กะเตก ก็ว่า.
【 เต๊ก ๑ 】แปลว่า: ก. ทุบลง, กดลงไม่ให้เผยอขึ้นได้, เช่น ค้อนเหล็ก
เต๊กลง. (สมุทรโฆษ).
【 เต๊ก ๒ 】แปลว่า: ก. เดินทางไกลมาก. (ปรัดเล).
【 เต็ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Shorea obtusa/ Wall. ในวงศ์
Dipterocarpaceae เนื้อไม้แข็ง ใช้ในการก่อสร้าง.
【 เต็ง ๒ 】แปลว่า: น. ตาเต็ง. (จ.).
【 เต็ง ๓ 】แปลว่า: ก. ทับลงไป.
【 เต่ง 】แปลว่า: ว. มีเนื้ออูมแน่นตึง ไม่เหี่ยวหรือย่นยาน เช่น เนื้อเต่ง
นมเต่ง มะม่วงเต่ง.
【 เตช, เตโช 】แปลว่า: (แบบ) น. เดช, เดโช, อํานาจ, ความร้อน, ไฟ. (ป., ส.).
【 เตโชธาตุ 】แปลว่า: น. ธาตุไฟ. (ป.).
【 เต้น 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ยืนอยู่แล้วยกเท้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถี่ ๆ, เคลื่อน
ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ หรือไป ๆ มา ๆ เช่น เนื้อเต้น อกเต้น,
ยกขาขึ้นลงให้เข้าจังหวะกับดนตรี เช่น เต้นระบํา.
【 เต้นกินรำกิน 】แปลว่า: ก. หากินด้วยการเล่นลิเก ละคร เป็นต้น (มักใช้
ในเชิงดูถูก).
【 เต้นเขน 】แปลว่า: ก. อาการเต้นของพลรบที่เป็นมนุษย์ ยักษ์ และลิง
ที่ออกเต้นเป็นจังหวะเข้ากับปี่พาทย์ในการเล่นโขน
เมื่อเวลาเริ่มยกทัพ.
【 เต้นรำ 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกําหนดให้เข้า
จังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปรกติ
เต้นเป็นคู่ชายหญิง, รําเท้า ก็ว่า เช่น ฝรั่งรําเท้า.
【 เต้นแร้งเต้นกา, เต้นแร้งเต้นแฉ่ง 】แปลว่า: (สำ) ก. แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนานด้วย
การกระโดดโลดเต้น.
【 เต็นท์ 】แปลว่า: น. ที่พักหรือที่อาศัย ย้ายไปได้ โดยมากทําด้วยผ้าใบ
ขึงกับเสาหรือหลัก. (อ. tent).
【 เต็ม 】แปลว่า: ว. มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, ไม่พร่อง,
เช่น นํ้าเต็มโอ่ง คนเต็ม; ดาษดื่น, มีอยู่ทั่วไป, เช่น
เต็มบ้านเต็มเมือง เต็มตลาด; เปี่ยม เช่น เต็มฝั่ง
เต็มตลิ่ง; สุดขีด, เต็มที่, เช่น ตะโกนเต็มเสียง วิ่ง
เต็มฝีเท้า; ถ้าใช้ประกอบหน้ากริยา หมายความว่า
แทบไม่ไหว เช่น เต็มกิน เต็มทน เต็มสู้.
【 เต็มแกน 】แปลว่า: ว. ขัดสนมาก, ฝืดเคืองมาก, เช่น หากินเต็มแกน.
【 เต็มคราบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มแทบจะล้นกระเพาะ (ใช้แก่กริยา
กินหรืออิ่ม).
【 เต็มใจ 】แปลว่า: ก. มีนํ้าใจไม่บกพร่อง, มีใจสมัครด้วยยินดี, ไม่มี
ข้ออิดเอื้อนหรือขัดแย้ง.
【 เต็มตัว 】แปลว่า: ว. สุดกําลัง, เต็มกําลัง, เต็มฝีจักร, เช่น เรือรบเดิน
หน้าเต็มตัว เดินเครื่องเต็มตัว; เต็มที่ เช่น เป็นหนุ่ม
เต็มตัว เป็นสาวเต็มตัว; ทั้งตัว เช่น ถ่ายรูปเต็มตัว,
ทั่วตัว เช่น ผื่นขึ้นเต็มตัว.
【 เต็มตา 】แปลว่า: ว. ใช้แก่กริยานอน หมายความว่า นอนอิ่ม เช่น
นอนเต็มตา, ใช้แก่กริยาเห็น หมายความว่า เห็น
ชัด เช่น เห็นเต็มตา.
【 เต็มตื้น 】แปลว่า: ก. ดีใจจนพูดไม่ออก.
【 เต็มเต็ง, เต็มบาท 】แปลว่า: ว. มีจิตใจสมบูรณ์เป็นปรกติ, ใช้ในความปฏิเสธว่า
ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มบาท หมายความว่า บ้า ๆ บอ ๆ.
【 เต็มที 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างไม่ดี เช่น เต็มทีจริง; เพียบหนัก เช่น อาการ
เต็มที; เหลือเกิน, เหลือทน, เช่น ยุ่งเต็มที จนเต็มที.
【 เต็มที่ 】แปลว่า: ว. เต็มกําลัง, เต็มขนาด เช่น โตเต็มที่.
【 เต็มประดา 】แปลว่า: ว. เต็มทน, เต็มที, เช่น โกรธเต็มประดา เกลียดเต็ม
ประดา.
【 เต็มประตู 】แปลว่า: ว. ทุกทาง, ไม่มีทางเลี่ยง, เช่น ผิดเต็มประตู.
【 เต็มปาก 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบกริยาพูดหรือกล่าว หมายความว่า
พูดได้สนิทปาก, พูดได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่
อ้อมแอ้ม, บางทีก็ใช้ว่า เต็มปากเต็มคอ หรือ เต็ม
ปากเต็มคํา.
【 เต็มเปา 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, อย่างจัง, เต็มรัก ก็ว่า.
【 เต็มมือ 】แปลว่า: ว. มากจนเกือบล้นมือ เช่น มีงานเต็มมือ, บางที
ก็ใช้ว่า เต็มไม้เต็มมือ.
【 เต็มเม็ดเต็มหน่วย 】แปลว่า: ว. ครบ, ไม่ขาดตกบกพร่อง, เช่น เก็บภาษีได้
เต็มเม็ดเต็มหน่วย.
【 เต็มไม้เต็มมือ 】แปลว่า: ว. เต็มมือ; สุดกําลัง, สุดความสามารถ, เต็มที่,
เช่น ทําให้เต็มไม้เต็มมือ; โดยสนิทใจ, ไม่มีความ
รังเกียจ, ไม่ขยะแขยง, เช่น จับสิ่งสกปรกได้เต็ม
ไม้เต็มมือ.
【 เต็มยศ 】แปลว่า: ว. ครบเครื่อง.
【 เต็มรัก 】แปลว่า: (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, อย่างจัง, เต็มเปา ก็ว่า.
【 เต็มหู 】แปลว่า: ก. ได้ยินได้ฟังมาเต็มที่ เช่น ได้ยินมาเต็มหู.
【 เต็มเหนี่ยว 】แปลว่า: ว. เต็มแรง.
【 เต็มเหยียด 】แปลว่า: ว. สุดฝีเท้า เช่น วิ่งเต็มเหยียด; ที่ติดต่อกันไปโดย
ไม่หยุดพัก เช่น สอน ๓ ชั่วโมงเต็มเหยียด.
【 เต็มอก 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด, อย่างชัดแจ้ง, เช่น รู้อยู่เต็มอก.
【 เต็มอกเต็มใจ 】แปลว่า: ว. เต็มใจ เช่น ให้ด้วยความเต็มอกเต็มใจ.
【 เต็มอัตรา 】แปลว่า: ว. เต็มขนาดที่กําหนดไว้, เต็มตามกําหนด.
【 เตย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Pandanus /
วงศ์ Pandanaceae ขึ้นเป็นกอก็มี โดดเดี่ยวก็มี ใบ
แคบยาวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด
ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เช่น เตยทะเล (/P. tectorius /
Sol. ex Parkinson var. /litoralis/ Martelli) ต้นเพศผู้
ของเตยชนิดนี้เรียก ลําเจียก, เตยด่าง (/P. tectorius /
Sol. ex Parkinson) ต้นเพศผู้เรียก การะเกด, เตย
สานเสื่อ (/P. kaida/ Kurz) ใบใช้ทําใบเรือกระแชงและ
สานเสื่อ, เตยหอม (/P. amaryllifolius/ Roxb.) ใบใช้
ปรุงแต่งกลิ่นและสีในการทําขนมหรืออาหารบางชนิด.
เตยเลื้อย (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ต้นเปียะ. /(ดู เปียะ ๑)./
【 เตร่ 】แปลว่า: [เตฺร่] ก. เดินไปเดินมาอย่างไม่มีจุดหมาย.
【 เตร็ด 】แปลว่า: [เตฺร็ด] น. ลํานํ้าเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลํานํ้าใหญ่
สายเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง, เกร็ด ก็เรียก. /(ดู เกร็ด ๑)./
【 เตร็ดเตร่, เตร็ดเตรน 】แปลว่า: [เตฺร็ดเตฺร่, เตฺร็ดเตฺรน] ก. เที่ยวไปไม่อยู่เป็นที่ เช่น
ที่โฉมนางพญาเตร็ดเตรนตระเวนเวหา. (ม. คําหลวง
มัทรี).
【 เตรตา 】แปลว่า: [เตฺร–] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๓ แต้ม. (ส.).
【 เตรน 】แปลว่า: เตฺรน ก. เตร็ดเตร่ เช่น เที่ยวเตรนตระเวน
หาคู่. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 เตริง 】แปลว่า: เตฺริง ก. เจิ่ง, เหลิง, เช่น กระทิงเที่ยวเตริง
พนาลี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 เตรียด 】แปลว่า: [เตฺรียด] ก. เกี่ยงงอน.
【 เตรียบ 】แปลว่า: เตฺรียบ ก. เทียบ เช่น เตรียบจันทรสมสูริย์
สถิตย์. (สรรพสิทธิ์); จัดไว้เสร็จ, จัดไว้พร้อม, เช่น
เตรียบตั้งต่อฉาน. (ตะเลงพ่าย).
【 เตรียม 】แปลว่า: [เตฺรียม] ก. จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, จัดหรือทําไว้ล่วงหน้า;
(เคมี) ทําให้เกิดสารเคมีที่ต้องการจากสารเคมีอื่นด้วย
กระบวนการทางเคมี เช่น เตรียมแก๊สออกซิเจนจากดิน
ประสิว.
【 เตรียมตัว 】แปลว่า: ก. จัดแจงไว้ให้พร้อมเพื่อรับเหตุการณ์ข้างหน้า, ทําตัว
ให้พร้อม.
【 เตรียมพร้อม 】แปลว่า: ก. เตรียมตัวเตรียมกําลังไว้ให้พร้อม.
【 เตรียมตรม 】แปลว่า: [เตฺรียมตฺรม] ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น
ตรมเตรียม เกรียมกรม หรือ กรมเกรียม ก็ได้.
【 เตละ 】แปลว่า: (แบบ) น. นํ้ามัน, นํ้ามันงา. (ป.).
【 เตลิด 】แปลว่า: [ตะเหฺลิด] ก. กระเจิดกระเจิง, แตกเพ่นพ่านไป,
เพริด.
【 เตว็ด 】แปลว่า: [ตะเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาล
พระภูมิหรือศาลเจ้า, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เจว็ด ก็มี.
【 เต่อ 】แปลว่า: ว. สั้นหรือสูงเกินควร เช่น แขนเสื้อสั้นเต่อ นุ่งผ้าสูง
เต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า.
【 เตอะ 】แปลว่า: ว. มาก, ใช้ประกอบกับคํา หนา เป็น หนาเตอะ.
【 เตะ 】แปลว่า: ก. วัดหรือเหวี่ยงไปด้วยเท้า.
【 เตะจมูก 】แปลว่า: ก. ได้กลิ่นอย่างแรง.
【 เตะฉาก 】แปลว่า: ก. เตะแล้วถอยหลบออกมา (ใช้ในกีฬามวย).
【 เตะโด่ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ยกให้มีตําแหน่งสูงขึ้นแต่มักมีอํานาจ
น้อยลง.
【 เตะตา 】แปลว่า: ก. สะดุดตา.
【 เตะฝุ่น 】แปลว่า: (ปาก) ว. ว่างงาน, ตกงาน.
【 เตา 】แปลว่า: น. ที่สําหรับก่อไฟหุงต้มหรือเผาสิ่งต่าง ๆ ตามปรกติ
ใช้ฟืนหรือถ่าน ถ้าใช้สิ่งอื่น ๆ ก็เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ
เช่น เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า.
【 เตาแก๊ส 】แปลว่า: น. เตาหุงต้มที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง.
【 เตาทุเรียง 】แปลว่า: น. ชื่อเตาชนิดหนึ่ง สําหรับเผาเครื่องถ้วยชามและ
เครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ในจังหวัดสุโขทัยสมัยโบราณ.
【 เตาผิง 】แปลว่า: น. เตาที่ทําด้วยอิฐสําหรับก่อไฟผิงในหน้าหนาว.
【 เตาฟู่ 】แปลว่า: น. เตาที่ใช้สูบลมพ่นนํ้ามันให้ขึ้นไปถูกไฟลุกเป็นเปลว.
【 เตาไฟ 】แปลว่า: น. ที่สําหรับก่อไฟหุงต้มอาหาร.
【 เตาไมโครเวฟ 】แปลว่า: น. เตาอบที่ใช้ไมโครเวฟทำให้ร้อน, เรียกสั้น ๆ
ว่า ไมโครเวฟ. (อ. microwave oven).
【 เตารีด 】แปลว่า: น. เครื่องทำด้วยโลหะ สำหรับรีดผ้าให้เรียบโดย
อาศัยความร้อนเช่นถ่าน หรือ ไฟฟ้า, อุดเตา ก็ว่า.
【 เตาสูบ 】แปลว่า: น. เตาที่ใช้สูบลมพ่นถ่านให้ลุกเป็นเปลว.
【 เต่า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Chelonia ตัวมีกระดองหุ้ม
มีหลายชนิดและหลายวงศ์ ที่อยู่บนบก เช่น เต่าแขนง ที่อยู่
ในนํ้าจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่ากระ บางชนิด
กระดองอ่อน เช่น ตะพาบ. ว. โดยปริยายหมายความว่า
โง่ หรือ เชื่องช้า.
【 เต่าดำ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด /Siebenrockiella crassicollis /
ในวงศ์ Emydidae อาศัยตามโคลนเลนใต้นํ้า กระดอง
หลังสีดํากว่าเต่าชนิดอื่น ๆ หัวดํามีแต้มขาวที่ขมับ, ดำ
แก้มขาว ก็เรียก.
【 เต่านา 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด /Malayemys subtrijuga/ ในวงศ์
Emydidae เป็นเต่าขนาดกลาง หัวโตมีลายขาวเป็น
ทางยาว มักอยู่ตามท้องนาและหนองบึงทั่วไป.
【 เต่าหก 】แปลว่า: น. ชื่อเต่าบกชนิด /Manouria emys/ ในวงศ์
Testudinidae อาศัยอยู่ในที่ลุ่มตามป่าเขาสูงที่เป็น
ป่าดงดิบหรือในโคลนตมตามริมห้วย ระหว่างขาหลัง
กับหางมีเกล็ดแหลมใหญ่คล้ายเล็บยื่นออกมาจาก
ผิวหนัง ทําให้เข้าใจผิดว่ามี ๖ ขา จัดเป็นเต่าบกขนาด
ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย.
【 เต่าหวาย 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด /Heosemys grandis /ในวงศ์
Emydidae กระดองสีนํ้าตาลแดง หัวมีลายสีส้ม
อาศัยอยู่ตามบึงและแม่นํ้าลําคลอง ปัจจุบันพบ
ได้ยากในถิ่นธรรมชาติ.
【 เต่าหับ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด /Cuora amboinensis /ในวงศ์
Emydidae อาศัยอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่า
อยู่ในนํ้า กระดองหลังโค้งนูนมาก กระดองท้องเป็น
บานพับแบ่งออกเป็น ๒ ตอน และสามารถหับปิดได้.
【 เต่าเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อเต่าบกชนิด /Indotestudo elongata /ในวงศ์
Testudinidae กระดองสีเหลืองคล้ายสีขี้ผึ้ง ตัว
ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร กินพืช, ขี้ผึ้ง เทียน
หรือ แขนง ก็เรียก.
【 เต่า ๒ 】แปลว่า: น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เอี๊ยม ก็ว่า.
【 เต่า ๓ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรง
กับเลข ๙, เขียนเป็น เต้า ก็มี.
【 เต่า ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อดาวกลุ่มหนึ่ง.
【 เต้า ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องบนของเรือนสําหรับสอดที่ช่องปลายเสารับเชิง
กลอน, ถ้าอยู่ตามเสาที่ไม่ใช่มุม เรียก เต้าราย, ถ้าอยู่ที่
เสามุมรับเชิงชายทั้ง ๒ ข้าง เรียก เต้ารุม; (ราชา) หม้อ
ใส่นํ้า เรียกว่า พระเต้าษิโณทก; นม; นํ้าเต้า; เรียกภาชนะ
ที่มีรูปคล้ายนํ้าเต้า เช่น เต้าปูน เต้านํ้า; ลักษณนามเรียก
นมหรือพูลูกตาล เช่น นมเต้าหนึ่ง ตาล ๒ เต้า; เรียกสิ่งอื่น
ที่มีลักษณะฐานนูนขึ้นอย่างเต้านม.
【 เต้าแคน 】แปลว่า: น. ไม้มีลักษณะกลมป่องตรงกลาง สําหรับเสียบ
ลูกแคน มีรูสําหรับเป่า.
【 เต้าปืน 】แปลว่า: น. ฐานชนวนปืนโบราณที่มีลักษณะนูนขึ้น สําหรับ
โรยดินหู.
【 เต้า ๒ 】แปลว่า: ก. ไป.
【 เต้า ๓ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับ
เลข ๙, เขียนเป็น เต่า ก็มี.
【 เต้า ๔ 】แปลว่า: น. ศาสนาเต๋า.
【 เต๋า ๑ 】แปลว่า: น. ลูกบาศก์สําหรับทอดหรือเขย่านับแต้มเล่น
การพนัน.
【 เต๋าเขย่า 】แปลว่า: น. ขลุกขลิก. /(ดู ขลุกขลิก ที่ ขลุก)./
【 เต๋า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาสําคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อ
เล่าจื๊อ หรือ เหลาจื่อ, เต้า ก็ว่า. (จ.).
【 เต่ากระสุน 】แปลว่า: น. คันกระสุนตอนกลางที่มีลักษณะนูนขึ้นมาหรือ
ดามด้วยไม้ให้นูนขึ้นมา.
【 เต่ากินผักบุ้ง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เต่าเกียด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Homalomena truncata/ Engl.
ในวงศ์ Araceae.
【 เต้าเจี้ยว 】แปลว่า: น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือสําหรับปรุงอาหาร. (จ.).
【 เต่าทอง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งขนาดเล็กในวงศ์ Chrysomelidae
ตัวป้อม ๆ ลําตัวส่วนหลังมีสีเงินหรือสีทอง ปีกแข็งใส
โค้งนูน เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลังทําให้
มองคล้ายหลังเต่า พวกที่อยู่ในสกุล /Aspidomorpha /
ส่วนใหญ่มีสีทอง เรียก เต่าทอง เช่น ชนิด /A. sanctaecrucis /
พวกที่มีสีเงิน เรียก เต่าเงิน เช่น ชนิด /Cassida circumdata./
【 เต่าทอง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เต่าทอเสื่อ 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับกระแทกปอที่ใช้ทอเสื่อให้แน่น.
【 เต้าทึง 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง มีถั่วแดงกับลูกเดือยต้ม
แป้งกรอบ ลูกพลับแห้ง เป็นต้น ใส่นํ้าตาลต้มร้อน ๆ.
(จ.).
【 เต่าบ้า 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Meloidae ลําตัว
และปีกยาว ปีกมีลักษณะอ่อนและบางกว่าด้วงปีก
แข็งทั่ว ๆ ไป ลําตัวและปีกมักจะมีนํ้ามันเยิ้มออกมา
ซึ่งมีสารแคนทาริดินปนอยู่ เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการ
เกร็งและดิ้นเหมือนคนบ้า อาจถึงตายได้ ชนิดที่พบ
ทั่วไปอาศัยอยู่ตามต้นกระเจี๊ยบแดง ปอแก้ว และถั่ว
ได้แก่ ชนิด /Mylabris phalerata/ และชนิด /M. pustulata, /
แมงไฟเดือนห้า ก็เรียก.
【 เต่ารั้ง 】แปลว่า: /ดู เต่าร้าง./
【 เต้ารับ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ไฟฟ้า มีรู ๒ รู สําหรับรับเต้าเสียบ เพื่อให้
กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ครบ
วงจร.
【 เต่าร้าง 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล /Caryota/ วงศ์ Palmae คือ
ชนิด /C. mitis/ Lour. ต้นเป็นกอและชนิด /C. urens/ L.
ต้นคล้ายหมาก ผลเป็นทะลาย, เต่ารั้ง หรือ หมากคัน
ก็เรียก.
【 เต่าเลือน 】แปลว่า: น. ชื่อยันต์ชนิดหนึ่งทําเป็นรูปเต่า เพื่อทําให้คนหลงเลือน.
【 เต้าส่วน 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งเปียกกวนกับ
ถั่วเขียวที่เอาเปลือกออกแล้วราดนํ้ากะทิ. (จ.).
【 เต้าเสียบ 】แปลว่า: น. ปลั๊กไฟ.
【 เต่าหับ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เต่า ๑./
【 เต่าหับ ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ตีติดกับข้างเรือด้านในด้วยลูกประสักเป็นไม้
แข็งแรง เจาะรูสี่เหลี่ยมเล็กกว่ารูที่ไม้เสริมแคร่ซึ่งอยู่
ข้างบนสําหรับยึดหลักแจวให้แน่น.
【 เต้าหู้ 】แปลว่า: น. ถั่วเหลืองที่โม่เป็นแป้งแล้วทําเป็นแผ่น ๆ ใช้เป็น
อาหาร มี ๒ ชนิด คือ เต้าหู้ขาว และเต้าหู้เหลือง. (จ.).
【 เต้าหู้ยี้ 】แปลว่า: น. อาหารเค็มของจีน ทําด้วยเต้าหู้ขาวหมัก. (จ.).
【 เต้าฮวย 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าถั่วเหลืองที่มี
ลักษณะแข็งตัว ปรุงด้วยนํ้าขิงต้มกับนํ้าตาล. (จ.).
【 เต๊าะ 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดหรือแสดงอาการเลียบเคียงเพื่อให้สม
ปรารถนา.
【 เตาะแตะ 】แปลว่า: ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินเตาะแตะ,
กระเตาะกระแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; เรียก
การเล่นการพนันหรือทําการค้าอย่างมีทุนน้อยแล้ว
ต่อทุนให้มากว่า เล่นเตาะแตะ ค้าขายเตาะแตะ.
【 เตาะ ๆ แตะ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินเตาะ ๆ
แตะ ๆ, กระเตาะกระแตะ หรือ เตาะแตะ ก็ว่า.
【 เติ่ง ๑ 】แปลว่า: น. ที่สําหรับเทสกา รูปกระปุก ทําด้วยงาหรือไม้แข็ง
ผู้อ่านหนังสือออกคล่องว่า อ่านหนังสือแตก, เรียก
เสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มว่า เสียงแตก, เรียกอาการ
ที่พูดจนแสบคอหรือตะโกนดังจนสุดเสียงว่า พูดจน
คอแตก ตะโกนจนคอแตก.
【 แตกคอ 】แปลว่า: ก. หมางใจกันเพราะภายหลังเกิดมีความเห็นหรือ
รสนิยมไม่ตรงกัน, แตกสามัคคี.
【 แตกคอก 】แปลว่า: ก. ไม่ปฏิบัติตามที่เคยทำกันมา.
【 แตกเงิน 】แปลว่า: ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีก
หรือหน่วยย่อย.
【 แตกฉาน ๑ 】แปลว่า: ว. ชํานิชํานาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น มีความรู้แตกฉาน.
【 แตกฉาน ๒, แตกฉานซ่านเซ็น 】แปลว่า: ก. กระจัดกระจายไป.
【 แตกดับ 】แปลว่า: ก. ตาย.
【 แตกต่าง 】แปลว่า: ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน.
【 แตกตื่น 】แปลว่า: ก. แห่กันไปด้วยความตื่นเต้น ตกอกตกใจ หรือ
อยากรู้อยากเห็น เป็นต้น.
【 แตกแตน 】แปลว่า: ก. แตกกระจาย, แตกไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
【 แตกแถว 】แปลว่า: ก. แยกตัวออกจากพวกด้วยการกระทำหรือ
ด้วยความคิด.
【 แตกทัพ 】แปลว่า: ก. แตกกระจัดกระจายไปจากกองทัพ, พ่ายแพ้.
【 แตกเนื้อสาว 】แปลว่า: ก. เริ่มเป็นสาว.
【 แตกเนื้อหนุ่ม 】แปลว่า: ก. เริ่มเป็นหนุ่ม.
【 แตกฝูง 】แปลว่า: ก. ปลีกตัวออกจากหมู่, มีความประพฤติหรือ
ความเห็นผิดแผกไปจากหมู่.
【 แตกพาน 】แปลว่า: ก. เริ่มเป็นหนุ่ม.
【 แตกมัน 】แปลว่า: ก. อาการที่มันของกะทิลอยขึ้นในเวลาเคี่ยว
ในความว่า เคี่ยวกะทิแตกมัน.
【 แตกแยก 】แปลว่า: ก. แตกสามัคคี.
【 แตกระแหง 】แปลว่า: ก. แตกเป็นร่อง ๆ เช่น ดินแตกระแหง.
【 แตกร้าว 】แปลว่า: ก. บาดหมางหรือผิดใจกันจนติดต่อคบหากัน
อย่างเดิมไม่ได้.
【 แตกลายงา 】แปลว่า: ว. มีรอยปริตื้น ๆ ทั่วไปบนพื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เช่น ถ้วยชามแตกลายงา, ราน ก็ว่า.
【 แตกหัก 】แปลว่า: ว. เด็ดขาดถึงที่สุดไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งเป็นได้รู้ดีกัน
เช่น รบขั้นแตกหัก เจรจาขั้นแตกหัก, ฉาดฉานถึง
ที่สุดไม่มีอะไรคลุมเครือ เช่น พูดแตกหัก.
【 แต่ก่อนแต่กี้, แต่กี้แต่ก่อน 】แปลว่า: ว. แต่ไหนแต่ไรมา.
【 แตง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์
Cucurbitaceae เถามีขน มีมือเกาะ บางชนิด
ยอด ดอก และผลกินได้ เช่น แตงกวา (/Cucumis /
/sativus /L.) ผลเล็ก ใช้เป็นผัก, แตงไทย (/C. melo/ L.)
ผลอ่อนใช้เป็นผัก เมื่อสุกกินกับนํ้ากะทิ, แตงโม
[/Citrullus lanatus/ (Thunb.) Matum et Nakai]
ยอดและผลอ่อนใช้เป็นผัก ผลแก่เนื้อมีรสหวาน,
แตงร้าน (/Cucumis sativus/ L.) เป็นแตงกวาพันธุ์หนึ่ง
ผลโตกว่าแตงกวาธรรมดามาก, แตงหนู [/Zehneria/
/marginata/ (Blume) Keraud.–Aymo.] มีผลเล็กมาก.
【 แตงเถาตาย 】แปลว่า: (สํา) น. หญิงม่ายที่มีอายุมาก.
【 แตงร่มใบ 】แปลว่า: (สํา) ว. มีผิวเป็นนวลใยในวัยสาว.
【 แต่ง 】แปลว่า: ก. จัดให้งาม เช่น แต่งร้าน แต่งบ้าน, ทําให้ดี เช่น
แต่งต้นไม้ แต่งผม; จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต;
จัดแจง เช่น แต่งเครื่องราชบรรณาการ แต่งทัพ; เรียบ
เรียงให้เป็นเรื่องราว เช่น แต่งหนังสือ แต่งโคลงกลอน,
คิดทําขึ้นเอง เช่น แต่งเรื่อง; ครอง เช่น แต่งเมือง ว่า
ครองเมือง.
【 แต่งกว้าน 】แปลว่า: (โบ) ก. ตรวจจัดราชการ.
【 แต่งการ 】แปลว่า: (กลอน) ก. แต่งงาน เช่น ไม่แต่งการกับพระนุชบุษบา.
(อิเหนา).
【 แต่งงาน 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเพื่อให้ชายหญิงอยู่กินเป็นผัวเมียกัน
ตามประเพณี.
【 แต่งตั้ง 】แปลว่า: ก. ยกย่องขึ้น, ชุบเลี้ยงให้มียศ, ให้ตําแหน่ง.
【 แต่งตัว 】แปลว่า: ก. สวมเสื้อผ้าหรือประดับประดาร่างกาย.
【 แต่งหน้า 】แปลว่า: ก. ใช้เครื่องสําอางเสริมแต่งใบหน้าให้สวยขึ้น,
ใช้เครื่องสําอางเสริมแต่งใบหน้าให้มีลักษณะต่าง ๆ
ให้เหมาะสมกับบทบาทในการแสดงละครเป็นต้น,
ผ่าตัดตกแต่งใบหน้าให้ดูสวยหรือดูหนุ่มสาวขึ้น.
【 แต่งหน้าขนม 】แปลว่า: ก. ประดับหน้าขนมเค้กให้สวยงามด้วยนํ้าตาล
หรือครีมเป็นต้น.
【 แตงเม 】แปลว่า: น. ตังเม.
【 แต้จิ๋ว 】แปลว่า: น. จีนชาวเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน,
เรียกภาษาของจีนชาวนี้ว่า ภาษาแต้จิ๋ว.
【 แตด 】แปลว่า: น. ส่วนแห่งอวัยวะเพศของหญิง อยู่ระหว่างแคม
ในตอนบน, เม็ดละมุด ก็ว่า.
【 แต๊ดแต๋ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะแบนราบเพราะถูกกดถูกเหยียบเป็นต้น
ในคําว่า แบนแต๊ดแต๋, แป๊ดแป๋ ก็ว่า.
【 แตน 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงประเภทเดียวกับต่อ แต่ขนาดเล็กกว่า
โดยปรกติลําตัวยาวไม่เกิน ๑.๕ เซนติเมตร มีหลาย
ชนิด อยู่ในวงศ์เดียวกับต่อ หลายชนิดอยู่เป็นฝูง ทํา
รังขนาดเล็ก เช่น แตนฝักบัว (/Icaria ferruginea/) ซึ่ง
ทํารังรูปคล้ายฝักบัว, แตนลิ้นหมา (/I. artifex/) ซึ่งทํารัง
ห้อยย้อยลงมาคล้ายลิ้นหมา.
【 แต้ม 】แปลว่า: ก. เอาสีหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งแตะ ๆ ให้เป็นจุด เช่น แต้มสี
แต้มยา; ปลูก (เฉพาะต้นยา). น. รอยหรือจุดที่มีลักษณะ
กลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; คะแนน เช่น สอบได้กี่แต้ม; ตา
ที่เดินอย่างตาหมากรุก; ชั้นเชิง เช่น เขาเดินแต้มสูง.
【 แต้มคู 】แปลว่า: น. ชั้นเชิงอันแยบคาย.
【 แต้มต่อ 】แปลว่า: น. แต้มที่ผู้มีฝีมือเหนือกว่าต่อให้แก่ผู้ที่มีฝีมือด้อย
กว่า เพื่อให้มีโอกาสชนะในการแข่งขันได้พอ ๆ กัน.
【 แตร 】แปลว่า: [แตฺร] น. เครื่องดนตรีในจําพวกเครื่องเป่า ทําด้วย
โลหะ มีปากบาน.
【 แตรงอน 】แปลว่า: น. แตรที่มีลักษณะปลายบานและโค้งงอนอย่าง
เขาควาย ใช้ในงานพระราชพิธี; ชื่อหนึ่งของดาว
ฤกษ์อุตราษาฒ มี ๕ ดวง, ดาวราชสีห์ตัวเมีย
ดาวอุตตรอาษาฒ หรือ ดาวอุตตราสาฬหะ ก็เรียก.
【 แตรเดี่ยว 】แปลว่า: น. แตรที่ใช้เป่าเป็นสัญญาณในเวลานอน เวลาปลุก
เป็นต้น.
【 แตรฝรั่ง 】แปลว่า: น. แตรที่มีปลายบานอย่างดอกลําโพง เป็นเครื่อง
ดนตรีที่ดัดแปลงมาจากของฝรั่ง, แตรลําโพง
ก็เรียก.
【 แตรฟันฟาร์ 】แปลว่า: น. แตรที่ใช้เป่าในเวลาเริ่มพิธีในการแข่งขันกีฬา
เป็นต้น.
【 แตรรถยนต์ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับบีบหรือกดให้เกิดเสียงเป็น
สัญญาณของรถยนต์.
【 แตรลำโพง 】แปลว่า: น. แตรฝรั่ง.
【 แตรวง 】แปลว่า: น. วงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทําด้วย
ทองเหลือง จําพวกแตร และเครื่องตี เช่น กลอง
จะจัดเป็นวงใหญ่หรือวงเล็กก็ได้ ใช้ในการบรรเลง
เพลงต่าง ๆ.
【 แตรวงโยธวาทิต 】แปลว่า: [–โยทะวาทิด] น. วงดนตรีทหารหรือตํารวจเป็นต้น
ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทําด้วยทองเหลือง
จําพวกแตร เครื่องตี เช่น กลองใหญ่เล็ก และเครื่อง
ลมต่าง ๆ มักจัดเป็นวงใหญ่ ใช้ในเวลากองทหาร
เดินและอื่น ๆ.
【 แตระ 】แปลว่า: [แตฺระ] ก. ประดิษฐ์, ตัดกลีบดอกไม้ทําเป็นบุหงา
เช่น วันนี้เห็นแตระดอกไม้. (อิเหนา).
【 แต้ว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cratoxylum maingayi/ Dyer
ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ยางใช้ฉาบทา.
【 แต้วแร้ว 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Pittidae ตัวอ้วนสั้น มีสีฉูดฉาด
สะดุดตาหลายสี เช่น นํ้าเงิน เขียว แดง นํ้าตาล
เหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คอและหางสั้น ขา
ยาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน ในประเทศไทย
มีหลายชนิด เช่น แต้วแร้วปีกสีฟ้า หรือ แต้วแร้ว
ธรรมดา (/Pitta moluccensis/) แต้วแร้วสีนํ้าเงิน
(/P. cyanea/) แต้วแร้วหูยาว (/P. phayrei/), เขียนเป็น
แต้วแล้ว ก็มี.
【 แต้วแล้ว 】แปลว่า: /ดู แต้วแร้ว./
【 แต้แว้ด 】แปลว่า: /ดู ต้อยตีวิด./
【 แตะ 】แปลว่า: น. เรียกรั้วหรือฝาเรือนที่ใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ผ่าซีก
ขัดกันว่า รั้วขัดแตะ ฝาขัดแตะ. ว. เรียกเกือกหรือ
รองเท้าไม่หุ้มส้นชนิดหนึ่งว่า เกือกแตะ รองเท้าแตะ.
ก. ถูกต้องแต่เบา ๆ หรือเพียงนิดหน่อย.
【 แตะต้อง 】แปลว่า: ก. ถูกต้องแต่เบา ๆ หรือเพียงนิดหน่อย, โดยปริยาย
หมายความว่า ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวข้อง.
【 โต ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. สิงโต.
【 โตเล่นหาง 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 โต ๒ 】แปลว่า: ว. มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกัน เช่น มะพร้าวโตกว่า
มะไฟ มะเขือเทศโตกว่ามะเขือพวง, ใหญ่, มีขนาดไม่
เล็ก, เช่น เขาใส่เสื้อตัวโต, โดยปริยายเมื่อใช้ประกอบ
กับคําอื่นบางคําหมายความว่า อวดอ้างความเป็นใหญ่
เป็นโต เช่น คุยโต อวดโต. ก. เจริญขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับ
คํา เติบ เป็น เติบโต.
【 โต้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมีดชนิดหนึ่ง สันหนา หัวโต, อีโต้ ก็เรียก.
【 โต้ ๒ 】แปลว่า: ก. ต้าน เช่น โต้คลื่น โต้ลม, ตอบกลับไป เช่น เขาตี
ลูกเทนนิสมา ก็ตีโต้กลับไป.
【 โต้คารม 】แปลว่า: ก. แสดงคารมตอบกันไปมา.
【 โต้ตอบ 】แปลว่า: ก. มีหนังสือไปมา, ตอบกันไปมาในเรื่องนั้น ๆ.
【 โต้เถียง 】แปลว่า: ก. เถียงกันไปมา.
【 โต้แย้ง 】แปลว่า: ก. แสดงความเห็นแย้งกัน.
【 โต้รุ่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. อยู่ตลอดคืนจนกระทั่งเช้า.
【 โต้วาที 】แปลว่า: ก. แสดงคารมโดยมีฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
【 โตก 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน
หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้าย
ถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาด
เล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ
๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น,
ขันโตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก;
ภาชนะมีเชิงสูงรูปคล้ายพาน มีพื้นตื้นสําหรับวาง
หรือใส่สิ่งของ มักทําด้วยโลหะ เช่น เงิน ทองคํา ทอง
เหลือง, โต๊ะ ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
(รูปภาพ โตก)
【 โต่ง 】แปลว่า: น. ที่สุดของสิ่งที่เป็นแถวเป็นแนว เช่น ปลายโต่ง ท้าย
โต่ง สุดโต่ง; ท่อนไม้ที่ผูกติดอยู่บนแพสุดท้าย สำหรับ
ต๋งกับหลักบนริมฝั่งเพื่อยึดแพไม่ให้น้ำพัดลอยไป.
【 โต้ง 】แปลว่า: ว. โตใหญ่ในพวก. น. เรียกไก่อูไก่ตะเภาตัวผู้ขนาด
ใหญ่ หรือเอี่ยวพญาของไพ่ตองไทย ว่า อ้ายโต้ง.
【 โต้ง ๆ 】แปลว่า: ว. อย่างชัด ๆ เช่น เห็นโต้ง ๆ.
【 โตงเตง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องหูกชนิดหนึ่ง มี ๒ อันผูกแขวนลงมาสําหรับ
สวมกระดานที่ม้วนด้าย; เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒
เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก
ว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วน
ประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียด
ที่มีเสาโตงเตงว่า ประตูโตงเตง. ว. อาการแห่งสิ่ง
ของที่ห้อยแล้วหย่อนยานแกว่งไปมาได้.
【 โตงเตง ๒ 】แปลว่า: น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่าง
เต้ากับจันทันระเบียง, แขวน หรือ ค้างคาว ก็เรียก.
【 โตง ๆ เตง ๆ 】แปลว่า: ว. กะโตงกะเตง.
【 โตฎก 】แปลว่า: [–ดก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติมี ๑๒ พยางค์, ประกอบ
ด้วย ส คณะล้วน. (ป. โตฏก).
【 โต๊ด 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้หรือวิธีรับกินรับใช้ในการพนันแข่งม้าเป็นต้น.
【 โตน ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. โจน, กระโดด.
【 โตน ๒ 】แปลว่า: น. นํ้าตก.
【 โตนด ๑ 】แปลว่า: [ตะโหฺนด] น. ตาลโตนด. /(ดู ตาล)./
【 โตนด ๒ 】แปลว่า: [ตะโหฺนด] น. ชื่อเรียกลูกบัวในสกุล /Nymphaea/ วงศ์
Nymphaeaceae. /(ดู บัว)./
【 โต้โผ 】แปลว่า: น. ตั้วโผ. (จ.).
【 โตมร, โตมร– 】แปลว่า: [–มอน, โตมะระ–] น. อาวุธสําหรับซัด, หอกซัด,
สามง่ามที่มีปลอกรูปเป็นใบโพสวมอยู่. (ป., ส.).
【 โตมรธร 】แปลว่า: โตมะระทอน น. ผู้ถือหอก; ไฟ. (ป., ส.).
【 โตย 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. นํ้า เช่น แปรกรรหายหอบโตย.
(ตะเลงพ่าย). (ป., ส.).
【 โตรก, โตรกไตร 】แปลว่า: [โตฺรก, โตฺรกไตฺร] น. ช่องลึกของเขา, โกรก หรือ
โกรกไกร ก็ใช้.
【 โตรด 】แปลว่า: โตฺรด ว. โดดเดี่ยว เช่น เยียยลสุดาเดียวตรอม
โตรด. (ทวาทศมาส); เปลี่ยว, คะนอง เช่น ส่วนสัตว์
โตรดดุดัน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), โกรด ก็ใช้.
【 โต้หลง 】แปลว่า: (ปาก) ก. สงเคราะห์, ช่วย. (เทียบมลายู ตุลง).
【 โต๊ะ ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําด้วยไม้เป็นต้น พื้นราบ เป็นรูปต่าง ๆ มีขา
สําหรับเป็นที่เขียนหนังสือ ตั้งเครื่องบูชา หรือ วางสิ่ง
ของต่าง ๆ เรียกชื่อต่าง ๆ ตามวัตถุที่ทํา เช่น โต๊ะหิน
โต๊ะมุก ตามรูปร่าง เช่น โต๊ะกลม โต๊ะสี่เหลี่ยม ตาม
วัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะกินข้าว,
ลักษณนามว่า ตัว ถ้าเป็นโต๊ะอาหารจีนเป็นชุด
ลักษณนามว่า โต๊ะ.
【 โต๊ะกลม 】แปลว่า: น. ที่ประชุมปรึกษาหารือหรืออภิปราย ซึ่งจัดวาง
โต๊ะล้อมกันเป็นวงกลม.
【 โต๊ะโขก 】แปลว่า: น. แบบการจัดโต๊ะและที่บูชาอย่างจีนแบบหนึ่ง.
【 โต๊ะแชร์ 】แปลว่า: น. การสังสรรค์ของผู้เล่นแชร์เพื่อเปียแชร์โดยการ
กินโต๊ะ ตามปรกติผู้เปียแชร์ได้จะเป็นผู้จ่ายหรือ
ตามที่ได้ตกลงกัน.
【 โต๊ะหมู่, โต๊ะหมู่บูชา 】แปลว่า: น. ที่ตั้งเครื่องบูชา ประกอบด้วยม้า ๔ ขาหลายตัว
คุมกันเป็นหมู่ มีหมู่ ๓ หมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๗ หมู่ ๙ และ
หมู่ ๑๑, เดิมเรียกว่า ม้าหมู่บูชา.
【 โต๊ะ ๒ 】แปลว่า: น. ภาชนะมีเชิงสูงรูปคล้ายพาน มีพื้นตื้นสําหรับวาง
หรือใส่สิ่งของ มักทําด้วยโลหะ เช่น เงิน ทองคํา ทอง
เหลือง, โตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
【 โต๊ะเท้าช้าง 】แปลว่า: น. ภาชนะโลหะชนิดหนึ่งคล้ายโตก มีขาใหญ่
หนาเทอะทะ ๓ ขา.
【 โต๊ะ ๓ 】แปลว่า: น. บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้รู้คัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเป็น
พระคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม.
【 โต๊ะอิหม่าม 】แปลว่า: [–หฺม่าม] น. อิหม่าม, คําเรียกอิหม่ามด้วยความ
ยกย่อง.
【 โต๊ะครึม 】แปลว่า: (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. การละเล่นบูชาครูหมอตายายเพื่อ
ให้มาเข้าทรงเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะเชื่อว่าการ
ป่วยนั้นเกิดจากตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทำโทษ.
【 ใต้ 】แปลว่า: ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบ
เทียบกัน เช่น รถไฟใต้ดิน อยู่ใต้อํานาจ, ตรงข้ามกับ
เหนือ เช่น ใต้ลม, ตํ่ากว่าพื้นผิวระดับหรือเกณฑ์ เช่น
ใต้ดิน ใต้นํ้า. น. ทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ, ทิศที่อยู่
ทางขวามือ เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า
ทิศใต้, ทิศทักษิณ ก็ว่า. บ. ข้างล่าง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้.
【 ใต้ดิน 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่เปิดเผย, ไม่ถูกกฎหมาย, เช่น ขบวนการ
ใต้ดิน กองทัพใต้ดิน.
【 ใต้โต๊ะ 】แปลว่า: ว. เรียกเงินที่แอบให้กันโดยมิชอบ โดยปรกติจะให้
กันใต้โต๊ะ.
【 ใต้ถุน 】แปลว่า: น. ที่ใต้พื้นเรือนซึ่งยกพื้นสูง.
【 ใต้เท้า 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยอย่างเคารพ, เป็นสรรพนาม
บุรุษที่ ๒.
【 ใต้เท้ากรุณา 】แปลว่า: (โบ) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางที่มี
ศักดิ์สูงเช่นเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 ใต้เท้ากรุณาเจ้า 】แปลว่า: (โบ) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนาง
ชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 ใต้ฝ่าพระบาท 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับเจ้านายชั้น
พระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน
และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษ
ที่ ๒.
【 ใต้ฝ่าละอองพระบาท 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระอัครมเหสี
ที่ไม่ได้ดํารงตําแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมาจน
ถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระ
บรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 ไต 】แปลว่า: (สรีร) น. อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง
ใกล้กระดูกสันหลัง ทําหน้าที่ขับของเสียออกมากับนํ้า
ปัสสาวะ; สิ่งซึ่งเป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อ.
【 ไตปลา 】แปลว่า: น. คําเรียกรวมของอวัยวะในช่องท้องของปลาบาง
ชนิดเช่นปลาทูที่ควักออกมา รวมทั้งส่วนของเหงือก
ปลาด้วย แล้วนําไปหมักเกลือ ใช้ประกอบอาหาร
บางชนิดเช่นแกง เรียกว่า แกงไตปลา; ไตของปลา
ซึ่งเป็นอวัยวะติดกับช่องท้องด้านบนติดกระดูกสันหลัง
ของปลา.
【 ไต่ 】แปลว่า: ก. อาการที่เคลื่อนไปหรือคืบคลานไปของสัตว์บาง
จําพวก เช่น กระรอก กระแต มด หนอน; เดินไปด้วย
ความระมัดระวัง เช่น ไต่กันสาด ไต่ลวด, ขึ้นลงในที่
ลําบากด้วยความระมัดระวัง เช่น ไต่เสากระโดง
ไต่เขา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่น
นั้น เช่น ขี่รถมอเตอร์ไซค์ไต่ถัง.
【 ไต่คู้ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปดังนี้ ๘ ทําให้คํานั้น ๆ
มีเสียงสั้น เรียกว่า ไม้ไต่คู้.
【 ไต่เต้า 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ เดินไป, โดยปริยายหมายความว่า
ค่อย ๆ เขยิบฐานะขึ้นไปตามลำดับ, ไต่ ก็ว่า.
【 ไต่ถาม 】แปลว่า: ก. ถาม, สอบถาม, ไถ่ถาม หรือ ถามไถ่ ก็ว่า.
【 ไต่ไม้ลำเดียว 】แปลว่า: (สํา) ก. กระทําการใด ๆ ตามลําพังตัวคนเดียว
โดยไม่พึ่งพาอาศัยผู้อื่น อาจพลั้งพลาดได้.
【 ไต่ลวด 】แปลว่า: น. การแสดงอย่างหนึ่ง เดินไปบนลวด.
【 ไต่สวน 】แปลว่า: ก. สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือไม่.
【 ไต้ 】แปลว่า: น. ของใช้สําหรับจุดไฟให้สว่างหรือทําเชื้อเพลิง ทํา
ด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับนํ้ามันยางแล้วห่อ
ด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่กระบอก, ลักษณนาม
ว่า ลูก, เรียกส่วนของไต้ที่ใช้เป็นเชื้อไฟ หรือส่วนของ
ไต้ที่จุดและเขี่ยให้ร่วงหล่นลงว่า ขี้ไต้.
【 ไต้ไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวเสือ
ดาวต่อมนํ้า หรือ ดาวตาจระเข้ ก็เรียก.
【 ไต๋ 】แปลว่า: (ปาก) น. กลเม็ด, ทีเด็ด, ความลับ, เจตนาแท้จริง
ซึ่งซ่อนเร้นไว้; ไพ่ตัวสําคัญซึ่งปิดไว้ไม่ให้คู่แข่งรู้. (จ.).
【 ไต้ก๋ง 】แปลว่า: น. นายท้ายเรือสําเภาหรือเรือจับปลา. (จ.).
【 ไต้ฝุ่น 】แปลว่า: น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก
เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
และในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลาง
ตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).
【 ไต่ไม้ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Sittidae ตัวเล็ก หางสั้น ปากแหลม
มักไต่จากยอดไม้ลงมาสู่โคนโดยเอาหัวลง กินหนอน
และแมลงในเปลือกไม้ แต่บางครั้งก็กินเมล็ดพืช ทํารัง
ในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๕ ชนิด เช่น ไต่ไม้ท้องสี
เม็ดมะขาม (/Sitta castanea/) ไต่ไม้หน้าผากกํามะหยี่
(/S. frontalis/) ไต่ไม้สีสวย (/S. formosa/).
【 ไตร ๑ 】แปลว่า: [ไตฺร] ว. ไกร, ยิ่ง, เช่น ตรัสไตร.
【 ไตร ๒ 】แปลว่า: [ไตฺร] ก. กําหนด, นับ, ตรวจ.
【 ไตรตรา 】แปลว่า: ก. ตรวจและหมายไว้; ใคร่ครวญ.
【 ไตร ๓ 】แปลว่า: [ไตฺร] ว. สาม, คําสําหรับนําหน้าสมาสอย่างเดียว
(บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้
จะพูดไว้ท้ายคําบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละ
ท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).
【 ไตรจักร 】แปลว่า: [–จัก] น. ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ,
ตามไสยศาสตร์ว่า สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล.
【 ไตรจีวร 】แปลว่า: [–จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง)
อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า
ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.
【 ไตรตรึงษ์ 】แปลว่า: –ตฺรึง น. ดาวดึงส์, ตรัยตรึงศ์, สวรรค์ชั้นที่ ๒
แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นฟ้าที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ
ว่า สามสิบสาม).
【 ไตรทวาร 】แปลว่า: [–ทะวาน] น. ทวารทั้ง ๓ คือ กาย เรียก กายทวาร
วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.
【 ไตรทศ 】แปลว่า: [–ทด] น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่
แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวาร
พระอินทร์อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า.
【 ไตรทิพ, ไตรทิพย์ 】แปลว่า: [–ทิบ] น. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ หรือชั้น
วิเศษสุด, สวรรค์ทั่วไป, ตรีทิพ ก็ว่า.
【 ไตรปิฎก 】แปลว่า: [–ปิดก] น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี
๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก
สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก
ก็ว่า.
【 ไตรเพท 】แปลว่า: [–เพด] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ในสมัยพระเวท
มี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท.
【 ไตรภพ, ไตรภูมิ 】แปลว่า: [–พบ, –พูม] น. ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ,
ตามไสยศาสตร์ว่า สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล,
ตรีภพ ก็ว่า.
【 ไตรภาคี 】แปลว่า: น. ๓ ฝ่าย; เรียกสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญา ๓ ฝ่าย
ว่า สนธิสัญญาไตรภาคี.
【 ไตรยางศ์ 】แปลว่า: น. ๓ ส่วน, ใช้เป็นชื่ออักษร ๓ หมู่ คือ อักษรสูง
อักษรกลาง และอักษรตํ่า. (ส. ตฺรยํศ).
【 ไตรรงค์ ๑ 】แปลว่า: น. ๓ สี, เรียกธงชาติไทยซึ่งมี ๓ สี ๕ แถบ คือ
แดง ขาว นํ้าเงิน ขาว แดง ว่า ธงไตรรงค์.
【 ไตรรัตน์ 】แปลว่า: น. แก้ว ๓ ประการ หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า
พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์
เรียกว่า สังฆรัตนะ.
【 ไตรลักษณ์ 】แปลว่า: [–ลัก] น. ลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป ๓ ประการ
คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน.
【 ไตรโลก 】แปลว่า: น. โลกทั้ง ๓ ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์
มนุษยโลก บาดาล, ทางศาสนาหมายถึงภพทั้ง ๓
คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ, หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง
มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก, ตรีโลก ก็ว่า.
【 ไตรโลกย์ 】แปลว่า: (โบ) น. ประชุมโลก ๓ เช่น อันว่าพระไตรโลกย์ครู
สวยมภูญาณนายก. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ส.).
ไตรวัฏ น. วัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ.
ไตรวิชชา [–วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหน
หลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์
๑ วิชชารู้ในทางทําให้สิ้นกิเลส ๑.
ไตรสรณคมน์, ไตรสรณาคมน์ [–สะระนะคม, –สะระนาคม]
น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
ไตรสิกขา น. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ
เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.
【 ไตรกิศยา 】แปลว่า: ไตฺรกิดสะยา น. การเยียวยา. (ป. ติกิจฺฉา;
ส. จิกิตฺสา).
【 ไตรดายุค 】แปลว่า: [ไตฺร–] น. ชื่อยุค ที่ ๒ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์
ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือ ๓ ใน ๔
ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ส. เตฺรตายุค; ป.
เตตายุค). (ดู จตุรยุค).
【 ไตร่ตรอง 】แปลว่า: [ไตฺร่ตฺรอง] ก. คิดทบทวน, ตริตรอง.
【 ไตรย 】แปลว่า: ไตฺร ว. ไตร เช่น ไตรยตรึงษ์ ไตรยปิฎก ไตรยโลก.
(ยวนพ่าย).
【 ไตรรงค์ ๒ 】แปลว่า: /ดู ราชินี ๒./
【 ไต้หวัน 】แปลว่า: น. ชื่อเกาะในทะเลจีนใต้ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ของมณฑลฮกเกี้ยน.