พจนานุกรม ไทย – ไทย ซ-ฌ-ญ-ฐ-ฑ-ฒ-ณ

【 ซ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๑ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กอซ.
【 ซก, ซ่ก 】แปลว่า: ก. เปียกชุ่มจนถึงหยด เช่น เหงื่อซก.
【 ซงดำ 】แปลว่า: น. โซ่ง, ซ่ง หรือ ไทยดํา ก็เรียก. /(ดู โซ่ง)./
【 ซ่ง 】แปลว่า: น. โซ่ง, ซงดำ หรือ ไทยดำ ก็เรียก. /(ดู โซ่ง)./
【 ซ่งฮื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Aristichthys nobilis/ ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก
อยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลําตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย
ท้องกลม ที่สําคัญคือ มีหัวโตและกว้าง เกล็ดเล็กเรียบ หากินอยู่ตาม
พื้นท้องนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีนนําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
【 ซง้า 】แปลว่า: [ซะ–] น. ปีมะเมีย. (ไทยเหนือ).
【 ซด 】แปลว่า: ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด.
【 ซน ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่อยู่ไม่สุขจับโน่นฉวยนี่หรือเล่นไม่เป็นเรื่องเป็นราว
ทําให้เดือดร้อนเสียหาย.
【 ซน ๒ 】แปลว่า: ก. เอาฟืนที่ไหม้ไฟบ้างแล้วซุกเข้าไปในกองไฟเรียกว่า ซนไฟ.
【 ซ่น 】แปลว่า: (โบ) น. ส้น, ส่วนท้ายของเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น
ซ่นปืน.
【 ซ้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ข้อมือข้อเท้าเป็นต้นถูกกระแทกโดยแรงทําให้เคลื่อน
เลยที่เดิมเข้าไป.
【 ซบ 】แปลว่า: ก. เอาหน้าฟุบแนบลงไป.
【 ซบเซา 】แปลว่า: ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน; ไม่คึกคักเช่นเดิม เช่น
ตลาดการค้าเดี๋ยวนี้ซบเซาไป.
【 ซม 】แปลว่า: ว. อาการอย่างเป็นไข้ในระยะรุนแรงถึงกับนอนจนไม่อยาก
ลืมตา เรียกว่า นอนซม.
【 ซมซาน 】แปลว่า: ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซาน หรือ ซานซม
ก็ว่า. ว. งมงาย, ไม่รู้อะไร, เช่น โง่ซมซาน, ซานซม ก็ว่า.
【 ซรอกซรัง 】แปลว่า: ซฺรอกซฺรัง ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น, เช่น อย่าทันเห็นแม่ออก
ชีสู่ซรอกซรังไป. (ม. คําหลวง กุมาร), ซอกซัง ก็ว่า.
【 ซวด 】แปลว่า: (โบ) ก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิซวด
เสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 ซวดเซ 】แปลว่า: ก. เอนไป, เอียงไป, จวนล้ม, เสียหลัก, (มักใช้แก่ฐานะความเป็นอยู่)
เช่น ฐานะซวดเซ.
【 ซวดทรง 】แปลว่า: (โบ) น. ทรวดทรง, รูปร่าง, สัณฐาน.
【 ซวน 】แปลว่า: ก. ถลาไปข้างหน้า เช่น เดินซวน, เอนไปจากแนว เช่น เสาซวน.
【 ซวนเซ 】แปลว่า: ก. เซถลาไปมา.
【 ซวย 】แปลว่า: (ปาก) ว. เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).
【 ซอ ๑ 】แปลว่า: น. ตอไม้ไผ่ค่อนข้างยาวที่เหลืออยู่ที่กอ.
【 ซอ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสําหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี
มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน.
ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).
【 ซอก 】แปลว่า: น. ช่องทางที่แคบ ๆ เช่น ซอกเขา ซอกหู ซอกคอ. ก. ซุก, ซุกแทรก
เข้าไป, ซ่อน.
【 ซอกซอน 】แปลว่า: ก. ด้นดั้นไป, ชอนไชไป เช่น หนอนซอกซอนไป รากไม้ซอกซอนไป.
【 ซอกซัง 】แปลว่า: ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น.
【 ซอกแซก 】แปลว่า: ก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป,
เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม.
ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหามากิน เช่น
กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.
【 ซอง 】แปลว่า: น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ;
ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้
ในที่บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น
ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า
ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่ง
น้ำแข็งก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง
รูปร่างคล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝา
ทําด้วยไม้ไผ่เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็ก
แคบ สําหรับใส่หัวผักกาดเค็มเป็นต้น.
(รูปภาพ ซอง)
【 ซองขาว 】แปลว่า: น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุเงินสินบน
หรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไปในทางมิชอบ.
【 ซองมือ 】แปลว่า: น. ฝ่ามือที่รวมนิ้วมือ ให้ห่อเข้า,อุ้งมือ.
【 ซองหาง 】แปลว่า: น. ซอกโคนหาง, เครื่องคล้องโคนหางช้างม้า.
【 ซ่อง ๑ 】แปลว่า: น. ที่มั่วสุมชุมนุมกันลับ ๆ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ซ่องการพนัน
ซ่องโจร ซ่องโสเภณี. ก. ประชุม.
【 ซ่องสุม 】แปลว่า: ก. เกลี้ยกล่อมผู้คนให้มามั่วสุมกันเพื่อกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ซ่องเสพ 】แปลว่า: ก. คบหากัน เช่น ควรซ่องเสพนักปราชญ์ อย่าซ่องเสพคนพาล;
ร่วมประเวณี.
【 ซ่อง ๒, ซ่อง ๆ 】แปลว่า: ว. เงื่อง, เซื่อง, เช่น นกยางเดินซ่อง ๆ.
【 ซ่องแซ่ง 】แปลว่า: ว. กระย่องกระแย่ง, กระซ่อง กระแซ่ง ก็ว่า.
【 ซ่อง ๓ 】แปลว่า: ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, มักใช้ ซ้อง.
【 ซ้อง 】แปลว่า: ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, บางทีใช้ว่า ซ่อง; ระดมกัน,
ทําพร้อม ๆ กัน เช่น ซ้องหัตถ์.
【 ซองพลู 】แปลว่า: /ดู จอบ ๓/.
【 ซองแมว 】แปลว่า: /ดู ซ้องแมว/.
【 ซ้องแมว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด /Gmelina philippensis/ Cham. ในวงศ์ Labiatae
ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อย มีใบประดับสีขาวอมเขียวตลอดช่อ
ราก ใบ และผลใช้ทํายา ผลเชื่อมกินได้, ช้องแมว ซองแมว หรือ
ข้าวจี่ ก็เรียก.
【 ซอแซ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. เสียงจอแจ, ซ้อแซ้.
【 ซ้อแซ้ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้.
(สังข์ทอง).
【 ซอน 】แปลว่า: ก. ชอนไป, เสียด, ซุก.
【 ซ่อน ๑ 】แปลว่า: ก. แอบ, แอบแฝง, ปิดบัง, หลบไว้ในที่ลับตา.
【 ซ่อนเงื่อน 】แปลว่า: ก. เร้นเงื่อนไว้ไม่ให้เห็น, ปิดบังข้อสําคัญไว้, ปิดบังอย่างมีเงื่อนงํา.
【 ซ่อนรูป 】แปลว่า: ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก,
กินรูป ก็ว่า.
【 ซ่อนเร้น 】แปลว่า: ก. แอบหรือซ่อนอยู่ในที่ลับตา.
【 ซ่อนหา 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ฝ่ายหนึ่งซ่อนฝ่ายหนึ่งหา.
【 ซ่อน ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. ช้อน, ต้อน, ใช้เฝือกกั้นลํานํ้าเพื่อจับปลา.
【 ซ้อน 】แปลว่า: ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียง
แทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒
ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น
เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว
เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับ
อีกคันหนึ่งหรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือ
ซ้อนกัน; ลักษณะที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว
เป็นการกีดขวางทางจราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
【 ซ้อนกล 】แปลว่า: ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายที่เหนือกว่าแก้ลําฝ่ายตรงกันข้าม.
【 ซ้อนซับ 】แปลว่า: ก. ทับกันหลายชั้น.
【 ซ่อนกลิ่น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Polianthes tuberosa/ L. ในวงศ์ Agavaceae
ต้นเป็นกอ ดอกสีขาวเป็นช่อตั้งขึ้น กลิ่นหอม.
【 ซ่อนทราย 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Acanthopsis choirorhynchos/ ในวงศ์
Cobitidae หัวแหลม ตาเล็ก มีหนวดสั้น ๔ คู่ เกล็ดเล็ก ลําตัว
ยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีนํ้าตาลอ่อน มีจุดดําขนาดต่าง ๆ
กระจายทั่วตัว พบอาศัยในแหล่งนํ้าไหลที่พื้นท้องนํ้าเป็นทราย
หรือกรวดหินทั่วประเทศ, กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. (๒) ชื่อ
ปลาทะเลในสกุล /Sillago/ วงศ์ Sillaginidae หัวหลิม ลําตัวยาว
แบนข้างเล็กน้อย มีชุกชุมเป็นฝูง ไซ้ทรายอยู่ตามเขตนํ้าตื้นบริเวณ
ชายฝั่ง ลําตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา หลายชนิด
มีแต้มสีเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง,
เห็ดโคน ก็เรียก.
【 ซอม 】แปลว่า: น. เรียง (?) เช่น พลูเก้าซอม. (สุบิน).
【 ซ่อม 】แปลว่า: ก. ทําสิ่งที่ชํารุดให้คืนดี; แทง. น. เรียกช้างสําหรับใช้ฆ่าคนว่า
ช้างซ่อม เช่น ช้างพลายซ่อมตัวหนึ่ง เป็นช้างเพชฌฆาต.
(พงศ. เลขา).
【 ซ่อมแซม 】แปลว่า: ก. แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมของที่ชํารุดให้กลับคืนสู่สภาพเดิม.
【 ซ่อมแปลง 】แปลว่า: ก. แก้ไขดัดแปลงของที่ชํารุดให้คืนดี.
【 ซ้อม ๑ 】แปลว่า: ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว.
ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ
เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
【 ซ้อม ๒ 】แปลว่า: ก. ทําทดลองเพื่อให้ชํานาญหรือให้แน่นอน เช่น ซ้อมรบ
ซ้อมความเข้าใจ.
【 ซ้อมค้าง 】แปลว่า: ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง.
【 ซ้อมซัก 】แปลว่า: (โบ) ก. ซักซ้อม; (กลอน) ทุบตี เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำเขาก็
จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
【 ซ้อมพยาน 】แปลว่า: ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใดจึงจะสอดคล้อง
ต้องกันดี.
【 ซ้อมพวน 】แปลว่า: ก. หีบอ้อยครั้งที่ ๒.
【 ซ้อมใหญ่ 】แปลว่า: ก. ซ้อมเต็มที่เหมือนของจริงก่อนแสดงจริง.
【 ซอมซ่อ 】แปลว่า: [ซอมมะ–] ว. ไม่โอ่โถง เช่น บ้านซอมซ่อ, ขะมุกขะมอม เช่น
แต่งตัวซอมซ่อ.
【 ซอย 】แปลว่า: ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น
ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง.
ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย
คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น
ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจาก
ถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้มีหลายซอย.
【 ซอยผม 】แปลว่า: ก. ตัดแต่งผมให้มีรูปทรงต่าง ๆ.
【 ซอยไพ่ 】แปลว่า: ก. นำไพ่ทั้งสำรับมาซอยถี่ ๆ เพื่อให้ไพ่สับที่กัน.
【 ซอส 】แปลว่า: น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือ
ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. (อ. sauce).
【 ซะซร้าว 】แปลว่า: –ซ้าว ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
【 ซะซ่อง 】แปลว่า: (กลอน) ว. ซ่อง, เงื่อง.
【 ซะซอเซีย 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
【 ซะซิกซะแซ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
【 ซะซิบ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
【 ซะเซาะ 】แปลว่า: (กลอน) ก. เซาะ, ทําให้แหว่งเข้าไป, ทําให้พังเข้าไป.
【 ซะเซียบ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เงียบเชียบ.
【 ซัก 】แปลว่า: (กฎ) ก. ทําให้สะอาดด้วยนํ้า; ไล่เลียงให้กระจ่างแจ้ง.
【 ซักค้าน 】แปลว่า: (กฎ) /ดู ถามค้าน/.
【 ซักซ้อม 】แปลว่า: ก. สอบให้แม่นยํา, สอบให้คล่อง, แนะกันไว้ล่วงหน้า, ซ้อมซัก ก็ว่า.
【 ซักไซ้ 】แปลว่า: ก. ไต่ถามไล่เลียงให้ถี่ถ้วน.
【 ซักฟอก 】แปลว่า: ก. ชําระให้หมดมลทิน; ซักถามให้ได้ความจะแจ้ง.
【 ซักแห้ง 】แปลว่า: ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้
สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
【 ซักส้าว 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งของเด็กโดยจับแขนดึงกันไปมา.
【 ซัง 】แปลว่า: น. ตอข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว; สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน; ฝักข้าวโพด
ที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว; ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด.
【 ซั้ง 】แปลว่า: น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง
รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ
ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
【 ซังกะตาย, ซังตาย 】แปลว่า: ว. ไม่เต็มใจ, ฝืนใจ, อย่างเสียไม่ได้, (มักใช้แก่กริยาทํา).
【 ซัด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Trigonella foenumgraecum/ L. ในวงศ์
Leguminosae เมล็ดใช้ทํายาได้ และใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม
เรียกว่า ลูกซัด.
【 ซัด ๒ 】แปลว่า: ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก,
ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา
โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา
ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น
พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า
ซัดแพรสี.
【 ซัดข้าวสาร 】แปลว่า: ก. สาดข้าวสารในการขับไล่ผีเป็นต้น.
【 ซัดเซ 】แปลว่า: ก. เที่ยวไปไม่เป็นตําแหน่งแห่งที่.
【 ซัดทอด 】แปลว่า: ก. อ้างถึง, บ่งถึง; (กฎ) ให้การปรักปรําพาดพิงถึงบุคคลอื่น.
【 ซัดน้ำ 】แปลว่า: (โบ) ก. สาดนํ้าในพิธีแต่งงานบ่าวสาว.
【 ซัดยา 】แปลว่า: ก. ใส่ยาลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ.
【 ซั้น 】แปลว่า: ว. นั้น; รีบ, เร็ว, ถี่, ติด ๆ กัน.
【 ซับ 】แปลว่า: ก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่น–อีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ.
น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะแหวน; เรียก
กระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำ
ซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.
【 ซับซ้อน 】แปลว่า: ก. ปะปนทับถมรวมกันอยู่หลายอย่างหลายเรื่อง, ยุ่งยากสับสน
สะสางยาก, เช่น คดีซับซ้อน.
【 ซับซาบ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ซึมซาบ.
【 ซับใน 】แปลว่า: น. ผ้าที่เย็บทาบอยู่ชั้นในของเครื่องแต่งกาย.
【 ซับพระพักตร์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ผ้าเช็ดหน้า.
【 ซับขนุน 】แปลว่า: /ดู ใบขนุน (๑)/.
【 ซับซี่ 】แปลว่า: (โบ) ก. ซุบซิบพูดจากัน, กระซิบกัน.
【 ซัลฟา 】แปลว่า: น. ชื่อยาประเภทหนึ่ง เป็นสารอินทรียสังเคราะห์ ประเภทอนุพันธ์
ของกรดซัลฟานิลิก เช่น ซัลฟาไดอะซีน ซัลฟากัวนิดีน มีสมบัติ
หยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. (อ. sulpha).
【 ซั้ว ๑ 】แปลว่า: ว. เสียงที่ไล่นกหรือไก่เป็นต้น.
【 ซั้ว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อนแล้วจึง
นำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับเครื่องปรุง
ประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
【 ซา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือโบราณชนิดหนึ่ง.
【 ซา ๒ 】แปลว่า: ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น
ฝนซา ไฟซา.
【 ซ่า ๑ 】แปลว่า: น. ส้มซ่า. /(ดู ส้ม ๑)./
【 ซ่า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีจุดสีดําบนเกล็ด
ข้างตัว จนเห็นเป็นลาย ๖–๑๐ เส้น ที่โคนหางมีจุดสีดํา เช่น ขี้ขม
(/Osteochilus hasselti/) สร้อยลูกกล้วย (/Labiobarbus/ /spilopleura/).
【 ซ่า ๓ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น;
เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
【 ซาก ๑ 】แปลว่า: น. ร่างของคนหรือสัตว์ที่ตายจนโทรมเหลือแต่เค้า, สิ่งก่อสร้าง
ที่ปรักหักพังแล้วเหลือแต่เค้า.
【 ซากดึกดำบรรพ์ 】แปลว่า: น. ซากของพืชหรือสัตว์ดึกดําบรรพ์ที่ฝังอยู่เป็นเวลานานมาก
จนกระทั่งกลายเป็นหิน. (อ. fossil).
【 ซากศพ 】แปลว่า: น. ร่างของคนที่ตายแล้ว.
【 ซาก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Erythrophleum succirubrum/ Gagnep.
และชนิด /E. teysmannii/ Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่า
เบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ
กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด
หรือ พันซาด.
【 ซาง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่หลายชนิดในสกุล /Dendrocalamus/ วงศ์ Gramineae ชนิด
ปล้องเล็กบางยาวใช้เป็นลํากล้องเป่าลูกดอก หรือลูกดินเหนียว
ปั้นกลมเป็นต้น เรียกว่า ไม้ซาง.
【 ซาง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก
มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น
ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง
ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
【 ซาง ๓, ซ่าง ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. บ่อนํ้า.
【 ซ่าง ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวอย่างปะรำ มียกพื้นอยู่ข้างใน สำหรับ
พระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม ตั้งอยู่ ๔ มุมเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง
สร้าง ส้าง หรือ สำซ่าง ก็ว่า.
【 ซาด 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ต้นซาก. /(ดู ซาก ๒)./
【 ซาน 】แปลว่า: ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซมซาน หรือ
ซานซม ก็ว่า.
【 ซานซม 】แปลว่า: ก. กระเสือกกระสนไปอย่างสิ้นท่าหรือสิ้นคิด, ซาน หรือ ซมซาน
ก็ว่า. ว. งมงาย, ไม่รู้อะไร, เช่น โง่ซานซม, ซมซาน ก็ว่า.
【 ซ่าน 】แปลว่า: ก. แล่นกระจายไปทั่วตัวอย่างพิษซ่านเสียวซ่าน.
【 ซ่านเซ็น 】แปลว่า: ก. กระจัดกระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ แตกฉาน เป็น แตกฉานซ่านเซ็น.
【 ซาบซ่าน 】แปลว่า: ก. แล่นไปทั่วร่างกาย เช่น ปีติซาบซ่าน.
【 ซาบซึ้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง, อาการที่รู้สึกปีติปลาบปลื้ม.
【 ซ่าโบะ 】แปลว่า: น. ผ้าห่ม. (ช.).
【 ซาแมเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๒ สัญลักษณ์ Sm เป็นโลหะหายาก ลักษณะ
เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๗๒ํซ. (อ. samarium).
【 ซ้าย 】แปลว่า: ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ
เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง
ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ
เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง
การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
รุนแรงว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยม
และคอมมิวนิสต์.
【 ซาลาเปา 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม
ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม. (จ.).
【 ซาว ๑ 】แปลว่า: ก. เอาข้าวสารล้างนํ้าด้วยวิธีใช้มือคนให้ทั่วเพื่อให้สะอาดก่อน
หุงต้ม เรียกว่า ซาวข้าว, โดยปริยายหมายถึงล้างสิ่งอื่นด้วยวิธี
เช่นนั้น.
【 ซาวเสียง 】แปลว่า: ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
หรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
【 ซาว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) ว. ยี่สิบ.
【 ซาวน้ำ 】แปลว่า: น. เครื่องกินกับขนมจีนปนกันหลายสิ่ง มีกุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย
สับปะรด หรือส้มต่าง ๆ เป็นต้น มักกินกับแจงลอน เรียกว่า ขนมจีน
ซาวนํ้า.
【 ซาหริ่ม, ซ่าหริ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งถั่วเขียว ลักษณะคล้ายลอดช่อง
แต่ตัวเล็กและยาวกว่า กินกับนํ้ากะทิผสมนํ้าเชื่อม.
【 ซำ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ที่น้ำซับ, ซับ.
【 ซ้ำ 】แปลว่า: ว. มีหรือทําอย่างเดียวกันอีกครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้ง เช่น
พูดซํ้า ตีซํ้า.
【 ซ้ำซ้อน 】แปลว่า: น. งานที่ควรทําในหน่วยงานเดียว แต่กลับทําในหลายหน่วยงาน
เข้าลักษณะงานซ้อนงาน เรียกว่า งานซํ้าซ้อน.
【 ซ้ำซาก 】แปลว่า: ว. ทําแล้วทําอีกอย่างเดียวกันรํ่าไป, จําเจ.
【 ซ้ำเติม 】แปลว่า: ก. เพิ่มเติมให้หนักหรือให้มากขึ้น.
【 ซ้ำร้าย 】แปลว่า: ว. ร้ายขึ้นไปอีก.
【 ซ้ำสาม 】แปลว่า: น. คําว่าคนตํ่าช้าไม่มีตระกูลดี.
【 ซิ, ซี 】แปลว่า: คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้
สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน
หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
【 ซิก ๑, ซิก ๆ 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่เหงื่อไหลซึมออกมาตามตัวว่า เหงื่อไหลซิก;
เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า.
【 ซิก ๒, ซิกข์ 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อ คุรุนานัก; ชื่อชาวอินเดีย
พวกหนึ่งที่นับถือศาสนาซิกข์ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาปประเทศ
อินเดีย, สิกข์ หรือ สิข ก็ว่า.
【 ซิก ๓ 】แปลว่า: /ดู จามจุรี ๒/.
【 ซิกซี้ 】แปลว่า: ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, กระซิกกระซี้ ก็ว่า.
【 ซิกแซ็ก 】แปลว่า: ว. คดไปคดมา, เลี้ยวไปเลี้ยวมา, เฉียงไปเฉียงมา, สลับฟันปลา;
ลดเลี้ยวสลับซับซ้อน. น. เรียกกรรไตรตัดผ้าให้มีรูปดังกล่าวว่า
กรรไตรซิกแซ็ก, เรียกการเย็บผ้าด้วยด้ายให้มีรูปดังกล่าวว่า
การเย็บซิกแซ็ก, เรียกจักรเย็บผ้าที่สามารถใช้เย็บซิกแซ็กว่า
จักรเย็บผ้าแบบซิกแซ็ก. (อ. zigzag).
【 ซิการ์ 】แปลว่า: น. ยาสูบซึ่งมวนด้วยใบยาสูบ มีขนาดโตกว่าบุหรี่ ปลาย ๒ ข้างเรียว.
(อ. cigar).
【 ซิงโคนา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Cinchona/ วงศ์ Rubiaceae เปลือก
มีควินินใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น.
【 ซิ่น 】แปลว่า: น. ผ้าถุงอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงนุ่ง.
【 ซินนามิก 】แปลว่า: น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง
ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน
ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ
กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง
หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์
ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
【 ซินแส 】แปลว่า: น. หมอ, ครู, จีนแส ก็ว่า. (จ.).
【 ซิบ, ซิบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เลือดไหลออกน้อย ๆ.
【 ซิบซับ 】แปลว่า: ก. พูดซุบซิบ, พูดกระซิบ.
【 ซิป 】แปลว่า: น. เครื่องรูดปิดให้ริมผ้าหรือวัสดุ ๒ ชิ้นประสานกัน ประกอบด้วย
ฟันเล็ก ๆ ๒ แถว มีที่จับเพื่อรูดให้ฟันประกบกันหรือแยกออกจากกัน
ได้. (อ. zipper, zip—fastener).
【 ซิฟิลิส 】แปลว่า: น. กามโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ /Treponema pallidum/
ติดต่อโดยการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้.
(อ. syphilis).
【 ซิลิคอน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
หลอมละลายที่ ๑๔๑๐บซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณ
ร้อยละ ๒๕. (อ. silicon).
【 ซิว 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก
ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโต อาศัยใกล้ผิวนํ้า ที่รู้จักกันทั่วไปและ
พบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว (/Esomus metallicus/) ซิวอ้าว
อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล /Luciosoma/, ซิวใบไผ่ ในสกุล
/Danio/, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล /Chela/ และ ซิว ในสกุล /Rasbora/;
เรียกหางปลาที่มีลักษณะตีบเหมือนปลาซิวว่า หางปลาซิว; เรียกคน
ที่ใจเสาะ ไม่สู้หรือไม่อดทนว่า ใจปลาซิว.
【 ซี่ 】แปลว่า: น. คําเรียกของเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวอย่างฟัน
หรือลูกกรง, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ฟันซี่หนึ่ง ฟัน ๒ ซี่.
【 ซี่โครง 】แปลว่า: น. กระดูกโครงอกที่เรียงเป็นซี่ ๆ.
【 ซีก 】แปลว่า: น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่า
ออกโดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน,
เช่น ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่
แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สําหรับมาตรา
เงินโบราณเท่ากับ (เศษ ๑ ส่วน ๒) ของเฟื้อง.
【 ซีกเดียว 】แปลว่า: /ดู ตาเดียว/.
【 ซี้ซอน 】แปลว่า: (กลอน) ว. ซอกซอน, ลี้ลับ.
【 ซีเซียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยา
เคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗?ซ. (อ. caesium, cesium).
【 ซีด 】แปลว่า: ว. ไม่สดใสเพราะสีจางไป เช่น รูปนี้สีซีด หน้าซีด, ขาวอย่างไม่มี
นํ้านวล เรียกว่า ขาวซีด.
【 ซีดเซียว 】แปลว่า: ว. ไม่แจ่มใส, ไม่สดชื่น; ไม่มีเลือดฝาด.
【 ซี้ด 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงสูดปากเช่นกินอาหารเผ็ดเป็นต้น.
【 ซีนอน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๔ สัญลักษณ์ Xe เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง
๐.๐๐๖ ใน ๑ ล้านส่วนในบรรยากาศ. (อ. xenon).
【 ซีป่าย 】แปลว่า: น. ชื่อทหารกองหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอย.
【 ซีเมนต์ 】แปลว่า: น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุก
กับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและ
แข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต
แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์
เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์.
(อ. cement).
【 ซีเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน
หลอมละลายที่ ๘๐๔?ซ. (อ. cerium).
【 ซีลีเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมี
คล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗?ซ.
ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. (อ. selenium).
【 ซีอิ๊ว, ซี่อิ้ว 】แปลว่า: น. เครื่องปรุงรสอย่างน้ำปลา ทำด้วยถั่วเหลือง, น้ำปลาถั่วเหลือง
ก็เรียก, อย่างใสเรียกว่า ซีอิ๊วขาว, อย่างข้นเรียกว่า ซีอิ๊วดำ, ถ้าใส่
น้ำตาลทรายแดง เรียกว่า ซีอิ๊วหวาน. (จ.).
【 ซึก ๑ 】แปลว่า: /ดู จามจุรี ๒/.
【 ซึก ๒ 】แปลว่า: ว. แทรกอยู่, ซึ้งเข้าไป.
【 ซึง 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่
ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ
จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
【 ซึ่ง 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขาอยู่
ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ถูก
กระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
【 ซึ่งหน้า, ซึ่ง ๆ หน้า 】แปลว่า: ว. ต่อหน้า เช่น กระทําความผิดซึ่งหน้า.
【 ซึ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ
ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒–๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน
ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อน
สุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).
【 ซึ้ง ๒ 】แปลว่า: ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึก
เอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง
ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.
【 ซึม 】แปลว่า: ก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น
เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.
【 ซึมกะทือ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ซึมเซา ง่วงเหงา หรือเกียจคร้าน.
【 ซึมซาบ 】แปลว่า: ก. เอิบอาบเข้าไปทั่วถึง.
【 ซึมเซา 】แปลว่า: ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึก
ซึมเซาไม่อยากทำงานเลย.
【 ซึมทราบ 】แปลว่า: ก. รู้ละเอียด.
【 ซึมเศร้า 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม
ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความ
รู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
【 ซื่อ, ซื่อ ๆ 】แปลว่า: ว. ตรง เช่น คนซื่อ, ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม เช่น พูดซื่อ ๆ, ไม่คดโกง เช่น
หน้าซื่อ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งซื่อ,
ทื่อ ก็ว่า.
【 ซื่อตรง 】แปลว่า: ก. ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น
เขาเป็นคนซื่อตรง.
【 ซื่อสัตย์ 】แปลว่า: ก. ประพฤติตรงและจริงใจ, ไม่คิดคดทรยศ, ไม่คดโกงและ
ไม่หลอกลวง.
【 ซื่อเหมือนแมวนอนหวด 】แปลว่า: (สํา) ว. ทําเป็นซื่อ.
【 ซื้อ 】แปลว่า: ก. เอาเงินตราแลกกับสิ่งของ.
【 ซื้อขาย 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์
แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลง
จะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย.
【 ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว 】แปลว่า: (สํา) ก.
【 ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ 】แปลว่า:
กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
【 ซื้อรำคาญ 】แปลว่า: ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นเพื่อตัดความรําคาญ.
【 ซื้อรู้ 】แปลว่า: ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นโดยถูกลวง แต่ได้เป็นความรู้ไว้.
【 ซื้อหน้า 】แปลว่า: ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม
อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อ
ซื้อหน้า.
【 ซุก 】แปลว่า: ก. หมกซ่อนหรือยัดแทรกไว้ในที่มิดชิดเช่นตามซอกตามมุม.
【 ซุกซ่อน 】แปลว่า: ก. ซ่อนไว้ในที่มิดชิดหรือที่ลี้ลับ.
【 ซุกซิก 】แปลว่า: ว. มีลักษณะแคบ ๆ เป็นซอกเล็กซอกน้อยน่ารําคาญ.
【 ซุกซน 】แปลว่า: ว. ซนนอกลู่นอกทาง, ซอกแซกเล่น.
【 ซุง ๑ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ ก่อนแปรรูป.
【 ซุง ๒ 】แปลว่า: น. เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผูกกับอกว่าวห่างกันพอสมควรสําหรับ
ต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวต้านลมได้ตรงตัว, สายซุง ก็เรียก.
【 ซุน 】แปลว่า: ก. ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน ก็คือ ใช้เสียจนโงหัว
ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
【 ซุบ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง จําพวกยําเรียกชื่อตามสิ่งของ
ที่นํามาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด.
【 ซุบซิบ 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า.
【 ซุบซู่ 】แปลว่า: ว. มีอาการหดห่อตัวอย่างคนเป็นไข้.
【 ซุป 】แปลว่า: น. อาหารนํ้าชนิดหนึ่ง ต้มด้วยเนื้อสัตว์หรือผัก เป็นต้น. (อ. soup).
【 ซุ่ม 】แปลว่า: ก. ซ่อน, แอบซ่อนคอยทีอยู่.
【 ซุ่มคม 】แปลว่า: ก. ซ่อนความฉลาดไว้, ไม่อวดดี.
【 ซุ้ม ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นพุ่มโดยมากปกคลุมด้วยต้นไม้หรือเถาวัลย์ มีทางลอดได้
เช่น ในป่าเถาวัลย์ขึ้นเป็นซุ้มเองตามธรรมชาติ, ต้นไม้ซึ่งขึ้นปกคลุม
สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อรองรับ มีทางลอดได้ เช่น ปลูกกระดังงาเป็นซุ้ม,
ซุ้มไม้ ก็เรียก.
【 ซุ้ม ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้,
ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทําขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง
เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทําขึ้นสําหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของ
ประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น
มีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.
【 ซุ้มคูหา 】แปลว่า: น. ซุ้มรอบพระปรางค์และพระเจดีย์สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป.
【 ซุ้มจระนำ 】แปลว่า: น. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูป.
【 ซุ้ม ๓ 】แปลว่า: น. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้าย
เพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะเรียกว่า ออกซุ้ม.
【 ซุ้มกระต่าย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Blinkworthia lycioides/ Choisy ในวงศ์
Convolvulaceae ดอกรูประฆัง สีนวล, มุ้งกระต่าย ก็เรียก.
【 ซุ่มซ่าม 】แปลว่า: ว. กิริยาที่กระทำไปโดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ
เช่น เดินซุ่มซ่ามชนสิ่งของจนเสียหาย ซุ่มซ่ามเข้าไปในสถานที่
ที่ไม่ควรจะเข้าไป.
【 ซุมแซว 】แปลว่า: (โบ) ว. เซ็งแซ่, จอแจ.
【 ซุ่มเสียง 】แปลว่า: (โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
【 ซุย ๑ 】แปลว่า: น. มีดชนิดหนึ่ง รูปเรียวแหลม.
【 ซุย ๒ 】แปลว่า: ว. ร่วนในลักษณะอย่างดินที่ยุ่ยไม่เกาะกันแน่นเหนียว เรียกว่า
ดินซุย, เรียกเนื้อเผือกหรือมันที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เนื้อซุย.
【 ซู่ ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกเป็นต้น.
【 ซู่ ๒, ซู่ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
【 ซู่ซ่า 】แปลว่า: ว. ที่โจษกันเซ็งแซ่อยู่พักหนึ่ง เช่น ข่าวซู่ซ่า.
【 ซู่ ๓ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ลากไป, คร่าไป.
【 ซู่กั้นรั้วไซมาน 】แปลว่า: (โบ) น. กั้นซู่, กั้นซู่รั้วไซมาน ก็เรียก.
【 ซูโครส 】แปลว่า: –โคฺร้ด น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะ
เป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล
ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้น
อ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
【 ซูด, ซูดซาด 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงคนกระทําเมื่อเวลากินของเผ็ด.
【 ซู้ด 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างคนซดนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ.
【 ซูบ 】แปลว่า: ว. ผอมลง, ซีดไป, เซียวไป.
【 เซ 】แปลว่า: ว. อาการที่ขาดความทรงตัวจนโอนเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น
เดินเซ, ลักษณะที่โย้ไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เรือนเซ.
【 เซซัง 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินซวนเซไปไม่ตรงเหมือนคนเจ็บหรือคนไร้ที่พึ่ง.
【 เซ็ก 】แปลว่า: (กลอน) ก. เซ็งแซ่ เช่น เซ็กห้องเสียงหัว. (นิทราชาคริต).
【 เซแคนต์ 】แปลว่า: (คณิต) น. เซแคนต์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ๑ ส่วนโคไซน์ของ
มุมนั้น). (อ. secant).
【 เซ็ง 】แปลว่า: ว. ชืด, จืดชืด, หมดรส, (ใช้เรียกสิ่งที่ควรจะบริโภคหรือจัดทําใน
เวลาหนึ่ง แต่ทิ้งไว้นานเกินควร), หมดความตื่นเต้น.
【 เซ่ง 】แปลว่า: น. เส้ง.
【 เซ้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. โอนสิทธิหรือกิจการไปให้อีกคนหนึ่งโดยได้ค่าตอบแทน,
รับโอนสิทธิหรือกิจการจากอีกคนหนึ่งโดยต้องเสียค่าตอบแทน
เรียกว่า รับเซ้ง. (จ.).
【 เซ็งแซ่ 】แปลว่า: ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.
【 เซต 】แปลว่า: (คณิต) น. คําที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไข
ที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ; ชุด
เช่น เข้าเซตกัน; ลักษณนามใช้เรียกคนหรือของที่เข้ากลุ่มหรือ
เข้าชุดกัน เช่น ตัวหนังสือเซตเดียวกัน ตัวเลข ๒ เซต. (อ. set).
【 เซน 】แปลว่า: น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีน
และญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่าง
ฉับพลัน โดยการทําสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).
【 เซ็น ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ที่สอดเข้ากับลูกตั้งเรือนฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ.
ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง
ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, สวน ก็ว่า.
【 เซ็น ๒ 】แปลว่า: ก. ลงลายมือชื่อ. (อ. sign).
【 เซ่น 】แปลว่า: ก. เอาอาหารเป็นต้นไปไหว้หรือสังเวยผีหรือเจ้า เช่น เซ่นผี เซ่นเจ้า,
บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วัก เป็น เซ่นวัก, ใช้ว่า เซ่นวักตั๊กแตน ก็มี.
เซ่นวักตั๊กแตน ก. เซ่น.
【 เซนติกรัม 】แปลว่า: [–กฺรํา] น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐
ของ ๑ กรัม, อักษรย่อว่า ซก. (อ. centigramme).
【 เซนติเกรด 】แปลว่า: [–เกฺรด] น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา
เรียกว่า องศาเซนติเกรด, ปัจจุบันใช้ องศาเซลเซียส, อักษรย่อ
ว่า ซ. (อ. centigrade).
【 เซนติเมตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัดตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑
เมตร, อักษรย่อว่า ซม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า เซ็นต์. (อ. centimetre).
【 เซนติลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ ลิตร,
อักษรย่อว่า ซล. (อ. centilitre).
【 เซ่นเหล้า 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เซปักตะกร้อ 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้
ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน
การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
ไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ.
(ม. sepak ว่า เตะ).
【 เซรา 】แปลว่า: เซฺรา น. ซอกผา, ห้วย.
【 เซราะ 】แปลว่า: เซฺราะ น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ.
【 เซรุ่ม 】แปลว่า: น. ของเหลวสีเหลืองใสที่สกัดจากเลือดสัตว์ เช่น ม้า กระต่าย
ซึ่งทําให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรค แล้วนํามาฉีดในคนเพื่อให้เกิด
ภูมิต้านทานเชื้อโรคนั้น. (อ. serum).
【 เซลเซียส 】แปลว่า: น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า
องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กําหนดเป็นมาตรฐาน
ว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐บซ.)
และจุดเดือด ของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐บซ.),
อักษรย่อว่า ซ. (อ. celsius).
【 เซลล์ 】แปลว่า: น. (ชีว) หน่วยชีวิตที่เล็กที่สุด; (ไฟฟ้า) เครื่องสําเร็จที่มีส่วนประกอบ
ที่เหมาะสม ซึ่งใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นแหล่งกําเนิดพลังงานเป็นผลให้
เกิดมี กระแสไฟฟ้าขึ้นได้. (อ. cell).
【 เซลล์ทุติยภูมิ 】แปลว่า: น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องนําไปอัดไฟเสียก่อน
แล้วจึงจะนําไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ เมื่อใช้ไปแล้ว
ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองและแปรสภาพไป แต่อาจทํา
ให้กลับคงคืนสู่สภาพเดิมได้อีก โดยวิธีนําเซลล์ไฟฟ้าไปอัดไฟใหม่
เช่น แบตเตอรี่รถยนต์. (อ. secondary cell).
【 เซลล์ปฐมภูมิ 】แปลว่า: น. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นําไปใช้เพื่อจ่ายกระแส
ไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลือง
ไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย.
(อ. primary cell).
【 เซลลูลอยด์ 】แปลว่า: น. สารประกอบประเภทเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง ทําได้จาก
ปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต การบูร และเอทิลแอลกอฮอล์
เลักษณะป็นของแข็ง ติดไฟง่ายมาก. (อ. celluloid).
【 เซลลูโลส 】แปลว่า: น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่
ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของ
กลูโคสมากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญ
ของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ
ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ
เป็นต้น. (อ. cellulose).
【 เซ่อ 】แปลว่า: ว. เขลาเพราะไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน, ไม่รอบคอบ, งง.
【 เซ่อซ่า 】แปลว่า: ว. เซ่อมาก, เร่อร่า, เล่อล่า, กะเร่อกะร่า หรือ กะเล่อกะล่า ก็ว่า.
【 เซอร์โคเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๐ สัญลักษณ์ Zr เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็น
ของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๕๒บซ. (อ. zirconium).
【 เซอะ 】แปลว่า: ว. เซ่อมาก.
【 เซอะซะ 】แปลว่า: ว. เซ่อซ่า.
【 เซา 】แปลว่า: ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
【 เซ้าซี้ 】แปลว่า: ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า.
【 เซาะ 】แปลว่า: ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง
เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.
【 เซาะลาย 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรอยลึก.
【 เซิง ๑ 】แปลว่า: น. ที่รกเป็นสุมทุมพุ่มไม้หรือมีไม้เถาปกคลุมอยู่ข้างบน, โดยปริยาย
หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมยุ่งเป็นเซิง, กระเซิง
ก็ว่า.
【 เซิง ๒ 】แปลว่า: น. (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ลมที่พัดจากตะวันตกมาตะวันออก เรียกว่า ลมเซิง.
【 เซิง ๓ 】แปลว่า: ก. ยก, ยกย่อง.
【 เซิ้ง 】แปลว่า: ก. ร้องรําทําเพลงแบบชาวอีสาน.
【 เซียน 】แปลว่า: น. ผู้สําเร็จ, ผู้วิเศษ; โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชํานาญ
ในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน. (จ.).
【 เซียบ 】แปลว่า: ว. เงียบ, สงัด.
【 เซียมซี 】แปลว่า: น. ใบทํานายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับ
เลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้. (จ.).
【 เซียว ๑ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อแข็งเป็นแกน (ใช้แก่หัวเผือกหัวมัน).
【 เซียว ๒ 】แปลว่า: ว. ไม่สดใส, ไม่สดชื่น, (ใช้แก่หน้า).
【 เซี่ยว 】แปลว่า: ว. เสี้ยว, เฉไม่ตรงแนวมีรูปเรียวปลายคล้ายรูปชายธง, เช่น ผ้าเซี่ยว
ใบตองเซี่ยว ตัดเซี่ยว.
【 เซี่ยวกาง 】แปลว่า: น. รูปทวารบาล คือ ผู้รักษาประตู มักทําไว้ ๒ ข้างประตู.
【 เซื่อง 】แปลว่า: ว. เงื่องหงอย, ซึม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซึม เป็น ซึมเซื่อง หรือ เซื่องซึม.
【 เซือม 】แปลว่า: /ดู เนื้ออ่อน/.
【 แซ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือรบไทยโบราณ ใช้แห่เวลาเสด็จพระราชดําเนินทอดกฐิน.
【 แซ่ ๑ 】แปลว่า: ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย.
【 แซ่ซ้อง 】แปลว่า: ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
【 แซ่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสกุลวงศ์ของจีน. (จ.).
【 แซ็กคาริน 】แปลว่า: (วิทยา) น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H4SO2•CONH ลักษณะ
เป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้เล็กน้อย มีความหวานประมาณ ๕๕๐
เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ในทางแพทย์ใช้แทน
นํ้าตาลทรายสําหรับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนที่อ้วนมาก.
(อ. saccharin).
【 แซ็กคารินโซเดียม 】แปลว่า: น. แซ็กคารินซึ่งผลิตออกในรูปสารประกอบโซเดียม ละลายนํ้า
ได้ดีมีความหวานประมาณ ๔๐๐ เท่าของนํ้าตาลทราย ไม่มี
คุณค่าทางอาหาร ใช้ได้อย่างแซ็กคาริน. (อ. saccharin sodium).
【 แซง ๑ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นปรือ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 แซง ๒ 】แปลว่า: น. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ
กองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้า
ไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก,
เรียกเรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่
ป้องกันภัยกระบวนเรือ พระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและ
ปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า
เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง
เช่น พูดแซง.
【 แซงแซว 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดําหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง
หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซว
หางปลา (/Dicrurus macrocercus/), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้าน
ยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก
(/D. remifer/) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (/D. paradiseus/), ๒ ชนิดหลัง
นี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉก
เหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.
【 แซด 】แปลว่า: ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซด.
【 แซด ๆ 】แปลว่า: ก. อาการที่เซส่ายไปส่ายมาทรงตัวไม่อยู่ เช่น เซแซด ๆ.
【 แซบ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) ว. อร่อย.
【 แซม 】แปลว่า: ก. แทรกขึ้นมาในระหว่าง เช่น ฟันแซม ขนแซม, เสียบเข้าไป
ในระหว่าง เช่น เด็ดดอกไม้แซมผม, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหน็บแทรก
หรือสอดเข้าไปเพื่อแทนสิ่งที่ชํารุดให้ดีขึ้น เช่น แซมกระบุง แซม
หลังคา. น. เรียกม้าที่มีขนสีอื่นแทรกขึ้นมาในระหว่างขนที่เป็นพื้น
ว่า ม้าแซม.
【 แซยิด 】แปลว่า: น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน,
เรียกการทําบุญในวันเช่นนั้นว่า ทําบุญแซยิด. (จ.).
【 แซ่ว 】แปลว่า: ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่
หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.
【 แซะ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้ว
ช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น
ต้องคอยแซะให้ทํางานอยู่เรื่อย.
【 แซะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Dendrobium scabrilingue/ Lindl. ในวงศ์
Orchidaceae กลีบดอกสีขาว กลีบกระเป๋าสีเขียวอ่อนถึงเหลือง
กลิ่นหอม.
【 โซ 】แปลว่า: ว. อดอยากยากจน.
【 โซซัดโซเซ 】แปลว่า: ก. เที่ยวร่อนเร่ไปมาด้วยความอดอยาก.
【 โซ่ ๑ 】แปลว่า: น. กะเหรี่ยง.
【 โซ่ ๒ 】แปลว่า: น. โลหะมีเหล็กเป็นต้นที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ เป็นสายยาวสําหรับ
ผูกล่ามแทนเชือก.
【 โซ่ลาน 】แปลว่า: น. โซ่เหล็กกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร หนา ๐.๕ มิลลิเมตร ไม่ยืด
หรือหดในทุกอุณหภูมิ มี ๒ ขนาด คือ ยาว ๔๐ เมตร และ ๕๐ เมตร
ทั้ง ๒ ขนาด แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ข้อต่อกัน ใช้วัดที่ดิน.
【 โซก 】แปลว่า: ก. เปียกมากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เหงื่อโซก.
【 โซ่ง 】แปลว่า: น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้
เข่าเล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาว
เป็นทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
【 โซงโขดง 】แปลว่า: [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า
ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม,
โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
【 โซเซ 】แปลว่า: ว. เซไปมา, ทรงตัวไม่ใคร่อยู่, กระโซกระเซ ก็ว่า.
【 โซดา 】แปลว่า: น. นํ้าที่เจือด้วยโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, นํ้าที่มีแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวด เรียกว่า
นํ้าโซดา. (อ. soda).
【 โซดาแผดเผา 】แปลว่า: น. สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็น
ของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์
ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ไหมเรยอง, โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา
ก็เรียก. (อ. caustic soda).
【 โซดาไฟ 】แปลว่า: น. โซดาแผดเผา.
【 โซเดียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๑ สัญลักษณ์ Na เป็นโลหะสีขาวคล้ายโลหะเงิน
เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๙๗.๘บซ. สารประกอบสําคัญของธาตุนี้
ที่พบมาก คือ เกลือแกง. (อ. sodium).
【 โซเดียมคาร์บอเนต 】แปลว่า: น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2CO3 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร
Na2CO3•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้
ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําแก้ว สบู่ กระดาษ ทําลายความ
กระด้างของนํ้า. (อ. sodium carbonate).
【 โซเดียมซัลเฟต 】แปลว่า: น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง มีสูตร Na2SO4 เมื่อเป็นผลึกมีสูตร
Na2SO4•10H2O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ มีสมบัติ
เป็นยาถ่าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสบู่ ผงซักฟอก สีย้อม
แก้ว กระดาษ. (อ. sodium sulphate).
【 โซเดียมไซคลาเมต 】แปลว่า: น. ชื่อสารประกอบเคมี มีสูตร C6H11NHSO3Na ลักษณะเป็น
ผงสีขาว ละลายนํ้าได้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายมาก ใช้เป็น
ตัวให้ความหวานในเครื่องดื่ม มีหลักฐานว่าสารนี้ก่อให้เกิดโรค
มะเร็งได้. (อ. sodium cyclamate).
【 โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต 】แปลว่า: น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร HOOC•(CH2)2•CH(NH2)COONa
ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายนํ้าได้ ใช้ประโยชน์ชูรสอาหาร
มักเรียกกันว่า ผงชูรส. (อ. sodium hydrogen glutamate).
【 โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต 】แปลว่า: น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้
ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็น
องค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้เป็นตัวลดกรด
ในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
【 โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต 】แปลว่า: น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHSO4 ลักษณะเป็นของแข็ง
ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์เป็นสารทําความสะอาดแผ่นเหล็ก
ก่อนที่จะฉาบด้วยดีบุก. (อ. sodium hydrogen sulphate).
【 โซม 】แปลว่า: ก. เปียกทั่ว เช่น เหงื่อโซมตัว; คําบอกให้ช้างย่อตัว.
【 โซรม 】แปลว่า: โซม ก. รุมกัน, ช่วยกัน.
【 โซรมประทยด 】แปลว่า: –เทียด ก. รุมกันด่ากระทบกระเทียบเปรียบเปรย.
【 โซรมโรม 】แปลว่า: ก. รุมรบกัน.
【 โซรมศัสตราวุธ 】แปลว่า: ก. ระดมฟันแทงพุ่งศัสตราวุธเข้าไป.
【 โซลา 】แปลว่า: น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนเร็ว
โดยใช้ความร้อนซึ่งเกิดจากกําลังอัดของลูกสูบจุดระเบิด, ทางการ
เรียกว่า นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว. (อ. sola, solar).
【 ไซ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องสานสําหรับดักปลา มีหลายชนิด เช่น ไซมาน ไซตั้ง ไซนอน.
【 ไซ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Enhydris bocourti/ ในวงศ์ Colubridae ตัวอ้วนสั้น
หัวโต อาศัยตามริมน้ำหรือในน้ำเพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก
มีพิษอ่อนมากและไม่ปรากฏปฏิกิริยาต่อผู้ถูกกัด.
【 ไซ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวเศรษฐี ดาวศรวิษฐา
หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก.
【 ไซ ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Leersia hexandra/ Sw. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้น
ในที่ลุ่ม ใบยาวแหลมคม.
【 ไซ้ ๑ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร; อาการที่ทําให้
ปวดมวน เช่น ยาดําไซ้ท้อง.
【 ไซ้ ๒ 】แปลว่า: ว. ได้, ไหน, อะไร.
【 ไซเกิล 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่ง
กลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่
ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวี
ค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่า
ขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มี
กระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้
จํานวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ
และความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล.
(อ. cycle).
【 ไซโคลน 】แปลว่า: [–โคฺลน] น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก
เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มี
ความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐
กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (อ. cyclone).
【 ไซน์ 】แปลว่า: (คณิต) น. ไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้าน
ตรงข้ามมุมนั้น ส่วน ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อ
ถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. sine).
【 ไซยาไนด์ 】แปลว่า: น. เกลือปรกติของกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) เช่น โพแทสเซียม
ไซยาไนด์ (KCN) โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) เกลือไซยาไนด์
ทั้งหมดเป็นพิษอย่างร้ายแรง. (อ. cyanide).
【 ไซร้ 】แปลว่า: [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมาย
ไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
【 ไซเรน 】แปลว่า: น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้
ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย
เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
【 ไซโล 】แปลว่า: น. สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทําด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ภายในมี
ระบบกันความชื้นและระบายอากาศเป็นต้น สําหรับเก็บผลิตผล
ทางเกษตรไว้ชั่วคราวก่อนส่งออก. (อ. silo).
【 ฌ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๒ นับเป็นพวกอักษรตํ่า.
【 ฌาน 】แปลว่า: [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์,
การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทํา
จิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน
ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอย
ไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อ
ตามลําดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่
๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า
วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความ
อิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และ
ประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา,
ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้
คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน
ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับ
เอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน
ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌาน
ทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์
สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
【 ฌาปน- 】แปลว่า: [ชาปะนะ-] น. การเผาศพ, การปลงศพ. (ป.).
【 ฌาปนกิจ 】แปลว่า: น. การเผาศพ.
【 ฌาปนสถาน 】แปลว่า: น. ที่เผาศพ.
【 เฌอ 】แปลว่า: น. ไม้, ต้นไม้. (ข. เฌี ว่า ไม้, เฎิมเฌี ว่า ต้นไม้).
【 เฌอเอม 】แปลว่า: น. ชะเอม.
【 ญ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒
ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น
เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
【 ญญ่าย 】แปลว่า: (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพ่ายจแจ้น.
(จารึกสยาม).
【 ญวน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทาง
ทิศตะวันออกของประเทศลาวและเขมร, ปัจจุบันเรียกว่า ประเทศ
เวียดนาม.
【 ญวน ๒ 】แปลว่า: /ดู ใบขนุน (๑)/.
【 ญัตติ 】แปลว่า: น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า
ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อ
ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที
เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
【 ญาณ, ญาณ- 】แปลว่า: [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก
อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
【 ญาณทัสนะ 】แปลว่า: ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ น. ความรู้ความเห็น. (ป.).
【 ญาณวิทยา 】แปลว่า: [ยานะวิดทะยา, ยานนะวิดทะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย
กําเนิดลักษณะและความถูกต้องแห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหา
ความรู้. (อ. epistemology).
【 ญาณศาสตร์ 】แปลว่า: [ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตําราพยากรณ์. (ป. ?าณ + ส. ศาสฺตฺร).
【 ญาติ, ญาติ- 】แปลว่า: [ยาด, ยาติ-, ยาดติ-] น. คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสาย
ฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่. (ป.).
【 ญาติกา 】แปลว่า: [ยาดติ-] น. ญาติ.
【 ญาติดีกัน 】แปลว่า: ว. คืนดีกัน.
【 ญาติเภท 】แปลว่า: ยาติเพด น. การแตกระหว่างญาติ. (ป.)
【 ญาติสนิท 】แปลว่า: [ยาดสะหฺนิด] น. ญาติที่ใกล้ชิดกันมาก.
【 ญาติสืบสาโลหิต 】แปลว่า: (กฎ) น. ญาติที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด.
【 ญิบ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. สอง เช่น ญิบพัน ว่า สองพัน, หญิบ ก็ใช้.
【 ญี่ 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่.
【 ญี่ปุ่น 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ในหมู่เกาะทางทิศตะวันออกของ
ประเทศจีน.
【 เญยธรรม, ไญยธรรม 】แปลว่า: เยยยะทํา, ไยยะทํา น. ธรรมที่ควรรู้. (ป. เ?ยฺย + ส. ธรฺม).
【 ฎ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๔ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กฎ มงกุฎ.
【 ฎีกา 】แปลว่า: น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ
อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง
การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่
ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด
ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ
คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา
พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก)
ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่.
(ป. ฏีกา).
【 ฏ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๕ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรากฏม กุฏกษัตริยาราม.
【 ฐ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.
【 ฐกัด 】แปลว่า: [ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ฐากูร 】แปลว่า: ถากูน น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคน
ที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน.
(ส. ?กฺกุร).
【 ฐาน ๑ 】แปลว่า: [ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป.
(ป.).
【 ฐานกรณ์ 】แปลว่า: ถานกอน น. ที่ตั้งและเครื่องทําให้เกิดเสียงในการพูด.
【 ฐานเขียง 】แปลว่า: น. ฐานรองชั้นล่างสําหรับรองฐานอื่น มีหน้ากระดานและลวด
ท้องไม้.
【 ฐานเชิงบาตร 】แปลว่า: น. ฐานรูปเชิงบัวหน้ากระดาน.
(รูปภาพ ฐานเชิงบาตร)
【 ฐานเท้าสิงห์ 】แปลว่า: น. ฐานรูปสมมุติจากสิงห์แบก, ฐานสิงห์ ก็เรียก.
(รูปภาพ ฐานเท้าสิงห์)
【 ฐานบัทม์ 】แปลว่า: น. ฐานบัวหน้ากระดานบัวควํ่าบัวหงาย.
【 ฐานราก 】แปลว่า: น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ)
ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
【 ฐานสิงห์ 】แปลว่า: น. ฐานเท้าสิงห์.
【 ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ 】แปลว่า: [ถาน, ถานะ] น. ตําแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลําดับความเป็นอยู่ใน
สังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
【 ฐานันดร 】แปลว่า: น. ลําดับในการกําหนดชั้นบุคคล เช่น ยศบรรดาศักดิ์. (ป. ?านนฺตร).
ฐานานุกรม น. ลําดับตําแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอํานาจ
ตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทําเนียบ.
【 ฐานานุรูป 】แปลว่า: ว. สมควรแก่ฐานะ. (ป.).
【 ฐานานุศักดิ์ 】แปลว่า: ว. ตามควรแก่เกียรติศักดิ์. น. ศักดิ์ที่พระราชาคณะมีอํานาจตั้ง
ฐานานุกรมได้.
【 ฐาน ๓ 】แปลว่า: สัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.
【 ฐาน ๔ 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น
ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการ
สร้างจํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น
จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่
บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลข
ฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖
x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่ง
แทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
【 ฐานันดร 】แปลว่า: /ดู ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ/.
【 ฐานานุกรม 】แปลว่า: /ดู ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ/.
【 ฐานานุรูป 】แปลว่า: /ดู ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ/.
【 ฐานานุศักดิ์ 】แปลว่า: /ดู ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ/.
【 ฐานียะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ควรแก่ตําแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น
ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
【 ฐาปน, ฐาปนา 】แปลว่า: [ถาปะนะ, ถาปะนา] น. การก่อสร้าง, การแต่งตั้ง, การซ่อมแซม,
การตั้งขึ้น. (ป. ?ปน).
【 ฐายี 】แปลว่า: (แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดํารงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี
ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).
【 ฐิตะ 】แปลว่า: ถิตะ ก. ยืนอยู่, ตั้งอยู่แล้ว. (ป.).
【 ฐิติ 】แปลว่า: [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมี
ชีวิตอยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่;
ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
【 ฑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ษัฑ.
【 ฑังส 】แปลว่า: ดังสะ น. เหลือบ. (ป. ฑํส).
【 ฑาก 】แปลว่า: ดากะ น. ผักดอง, เมี่ยง. (ป.).
【 ฑาหก 】แปลว่า: [ทาหก] น. ผู้เผา; ไฟ. (ป.).
【 ฑาหะ 】แปลว่า: ทาหะ น. ความร้อน, ไฟ. (ป.).
】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๘ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น วัฒน์ วุฒิ.
เฒ่า 】แปลว่า: ว. แก่, มีอายุมาก, เถ้า ก็ใช้.
เฒ่าแก่ น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น
ประธานในการสู่ขอและการหมั้น, เถ้าแก่ ก็ใช้.
เฒ่าหัวงู น. คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอก
เด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์.
【 ณ ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๙ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น คุณ บัณฑิต.
【 ณ ๒ 】แปลว่า: [นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้
นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.
【 ณรงค์ 】แปลว่า: ก. ต่อสู้ชิงชัย เช่น ณรงค์เพื่อต่อต้านวัณโรค. น. การรบ, การต่อสู้.
(ตัดมาจาก รณรงค์).
【 เณร 】แปลว่า: น. สามเณร.
【 เณรหน้าไฟ 】แปลว่า: น. สามเณรที่บวชเนื่องในพิธีเผาศพ.
【 เณรหางนาค 】แปลว่า: น. สามเณรที่บวชต่อท้ายพิธีบวชพระ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!