ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของตัวอักษรภาษาจีน

ตอนที่ 1

          ตัวอักษรจีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยที่สังคมมนุษย์ก้าวเข้าสู่การพัฒนาขั้นสูงสุด การสื่อสารด้วยตัวอักษรทำให้ข่าวสารสามารถเดินทางในระยะไกลและสามารถเก็บเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและถ่ายทอดให้กับลูกหลานในอนาคตได้ และเป็นสิ่งเดียวที่มนุษย์มีนอกเหนือจากสัตว์อื่นในโลกนี้ เนื่องจากการเกิดขึ้นของตัวอักษร มนุษย์เราก็หลุดพ้นจากความเป็นป่าเถื่อนก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์และอารยธรรม

ยุคประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติสามารถกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการมีตัวอักษรนั้นเอง

 

1.แนวคิดหลักที่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตัวอักษร

         1.ที่มาของตัวอักษร

หมายถึงการเกิดขึ้นและการพัฒนาจนเกิดเป็นระบบที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นการใช้รูปภาพแทนตัวอักษรของชาวเอเชียตะวันออก ระบบภาษาการเขียนที่ใช้ตัวอักษรโรมัน การลากเส้นต่อกันของชาวอาหรับ

         2.การยืมตัวอักษรไปใช้เขียนภาษาของตน

คือการหยิบยืมวิธีการเขียนของชนชาติหนึ่งไปใช้เขียนภาษาของอีกชนชาติหนึ่งและถูกพัฒนาจนกลายเป็นระบบวิธีการเขียนที่แตกต่างออกไปในที่สุด เช่นภาษาญี่ปุ่นยืมตัวอักษรจากประเทศจีน ภาษาอังกฤษยืมตัวอักษรจากภาษาโรมัน พยัญชนะของภาษากรีซมาจากตัวอักษรในภาษาอียิปต์โบราณ

 

2.ตำนานเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตัวอักษรจีน

         1.การประดิษฐ์อักษรของชางเจ๋ย์

ตำนานการประดิษฐ์อักษรของชางเจ๋ย์ ถูกบันทึกอยู่ใน 《世本》、《荀子·解蔽》、《韩非子· 五蠹》、《吕氏春秋· 君守》 ซึ่งเป็นการบันทึกที่สะท้อนมุมมองต่อการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนในสมัยนั้น  ต่อมาหลังจากสมัยฮั่นเป็นต้นมาเรื่องราวเกี่ยวกับตัวอักษรจีนนับวันยิ่งมีความอย่าธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เช่นตำนานที่บันทึกอยู่ใน 《淮南子· 本经训》ได้กล่าวไว้ว่า “昔者仓颉作书,而天雨粟,鬼夜哭”  ในสมัยโบราณขณะที่ชางเจ๋ย์ประดิษฐ์อักษร ฝนตกลงมาเป็นข้าวฟ่าง ผีห่าเหวแอบไปร้องห่มร้องไห้ และในบันทึก 《论衡· 骨相篇》 ก็ได้กล่าวไว้ว่า ชางเจ๋ย์มี 4 ตา บันทึกประวัติศาสตร์ให้กับหวงตี้  ทั้งยังพบบันทึกที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับชางเจ๋ย์ในบันทึก 《路史》 ว่า ชางเจ๋ย์ ใบหน้าใหญ่ มี 4 ตาดังเทพเจ้า เกิดมาก็สามารถบันทึกตัวอักษรเขียนหนังสือได้ มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วไป

          แต่ในบันทึก 《荀子· 解蔽》 กล่าวว่า ชางเจ๋ย์ เป็นเพียงหนึ่งในผู้ที่ประดิษฐ์อักษร แต่กลับเป็นเอกอุด้านนี้เพราะว่าเขามีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ตัวอักษรที่ตัวเองประดิษฐ์ ซึ่งมุมมองนี้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

          จากตำนานข้างต้นสามารถมองได้ว่า การประดิษฐ์อักษรของชางเจ๋ย์และการเผยแพร่ตัวอักษรมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งมีความสำคัญในประวัติศาสตร์การกำเนิดเกิดขึ้นของตัวอักษรจีน

          อาจเป็นไปได้ว่าชางเจ๋ย์มีหน้าที่เป็นเสนาบดี และกำลังเรียบเรียงตัวอักษร ซึ่งในบันทึก 《周礼 ·春官· 大史 》 ได้กล่าวไว้ว่า “大(太)史掌建邦之六典” ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการบันทึกประวัติศาสตร์และการบันทึกอื่นๆว่าการเขียนทำให้การปกครองการบริหารมีความต่อเนื่องดังนั้นตัวอักษรจีนในสมัยนั้นจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการปกครอง

          คำว่าชางเจ๋ย์บันทึกประวัติศาสตร์ให้กับหวงตี้ บันทึกเล่มนี้ก็เกิดขึ้นในสมัยของหวงตี้นั่นเอง หลักฐานทางโบราณคดีเมื่อไม่นานมานี้ปรากฏให้เห็นหลักฐานใหม่เกี่ยวกับการกำเนิดของอักษรจีนที่แหล่งโบราณปั้นโพเมืองซีอาน (ประมาณ   4,500 บาทถึง 5000 ปีมาแล้ว) ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏให้เห็นสัญลักษณ์ในการแกะเป็นสัญลักษณ์ อีกที่หนึ่งที่มณฑลซานตง ก็ได้ปรากฏเป็นสัญลักษณ์ลักษณะใกล้เคียงกัน ทำให้คนรุ่นหลังรู้ว่าอักษรจีนมีประวัติยาวนานกว่า 6 พันปีมาแล้ว ดังนั้นเป็นการย้ำว่าการที่บอกว่าอักษรจีนเกิดขึ้นในสมัยหวงตี้นั้นใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้ว นักประวัติศาสตร์จีนพยายามผลักดันให้แหล่งโบราณหยางเสา คือแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมของหวงตี้

 

3.วิธีการถ่ายทอดและกระจายข่าวสารของชาวจีนในสมัยก่อนที่มีตัวอักษร

 

          ลักษณะเด่นของตัวภาษาเขียนก็คือสามารถรักษาเรื่องราวบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตให้สามารถถ่ายทอดมาจนถึงคนรุ่นหลังได้ ก่อนที่ตัวอักษรจีนจะพัฒนาขึ้น ชาวจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ใช้วิธีการมัดเชือกเป็นปม การสลับบอกเรื่องราว วิธีการวาดรูปเป็นต้น แต่การเกิดขึ้นของตัวอักษรจีนทำให้เกิดการปฏิวัติในการส่งต่อข้อมูลข่าวสาร

วิธีการมัดปมเชือก 结绳

 

          ในบันทึกของเล่าจื๊อ 《老子》 ได้กล่าวถึงการมัดเชือกให้เป็นปม 《易· 系辞下》ได้กล่าวไว้ว่าในสมัยโบราณคนมัดเชือกเป็นปมในการบริหารบ้านเมือง ยุคต่อมานักปราชญ์ใช้การสลักในการบริหารบ้านเมือง แต่ประชาชนก็ได้รับรู้เรื่องราวของบ้านเมืองด้วย    โดยการผูกเชือกบันทึกรายละเอียดไว้ว่าหากเป็นเรื่องใหญ่ให้มันเป็นปมใหญ่ หากเป็นเรื่องเล็กให้มันเป็นปมเล็ก

          ในบันทึก《说文· 序》ได้กล่าวว่า ผู้นำแซ่ 庖牺 เริ่มคิดค้นปากว้าหรืออี้จิง และผู้นำที่ชื่อเสินหนงได้มัดปมเชือกเพื่อใช้ในการบริหารบ้านเมือง

หลักฐานทางประชากรศาสตร์

          ชาวจีนในสมัยโบราณใช้การผูกเชือกเป็นปมในการบันทึกตัวเลขและเวลา  ชนเผ่า 独龙 เมื่อต้องเดินทางไกลจากบ้านวันหนึ่งจะมัดเชือก 1 ปม ชาว 景颇 หากจะต้องเดินทางไกลบ้านก็จะมัดผู้ที่ติดอยู่บนปลายดาบให้เป็นปม 1 ปม แทนระยะเวลา 1 วัน ก่อนที่สาธารณะจีนจะสถาปนาขึ้น ก็ยังพบว่ามีชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนยังบันทึกเรื่องราวระยะเวลาด้วยการมัดปมเชือกอยู่บ้าง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การแกะสลัก 契刻

          ต่อมาชาวจีนบันทึกเรื่องราวด้วยการแกะสัญลักษณ์และรอยต่าง ๆ บนแผ่นไม้ไผ่และแผ่นไม้ ซึ่งถือว่าใช้กันอย่างแพร่หลาย บันทึก《尚书·序》ได้กล่าวไว้ว่า ผู้นำแซ่ 伏羲 ได้เริ่มสลักปากว้าบนแผ่นไม้แทนการมัดปมเชือกในการบริหารบ้านเมือง

 

ข้อมูลทางด้านชาติพันธุ์วิทยา

          การแกะสลักเป็นการบันทึกวันที่ การบันทึกตัวเลข  ผู้ชายในชนเผ่า 景颇 เวลาที่จะต้องเดินทางไกลจดบันทึกรายการแกะสลักไว้ที่ด้ามดาบของตน เดินทาง 1 วันก็จะสลัก 1 ขีด ชนเผ่า 独龙 และ 西盟佤 จะใช้วิธีลบรอยสลักรูปฟันปลาเพื่อเป็นการเตือนวันนัด ว่าคนสองคนเจอกันวันไหน เมื่อนัดกันเสร็จสรรพจึงแบ่งแผ่นไม้หรือแผ่นไม้ไผ่ที่มีตำหนิเตือนถึงวันนัดให้แก่กันและกัน การสลักฟันปลานี้แบ่งเป็นหลายประเภท เมื่อผ่านไป 1 วันก็จะลบรอยสลักออก 1  รอย เมื่อรอยสลักรูปฟันปลาหมดไปหมายความว่าวันนั้นได้มาถึงแล้ว

          การสลักนี้ยังทำหน้าที่นอกเหนือจากการบันทึกได้อีกคือการทำหน้าที่คล้ายกับสัญญา เช่นสัญญาเช่าที่ ในการสลักเป็นรอยบากไว้บนแผ่นไม้หรือแผ่นไม้ไผ่ หลังจากนั้นไม่มีการตกลงกันเรียบร้อยแล้วผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะหักแผ่นไม้นั้นออกเป็น 2 ท่อนและเก็บไว้ฝ่ายละ  1 อันเพื่อเป็นหลักฐาน

          ชนเผ่า 景颇 ก็ได้มีวัฒนธรรมการแกะสลักแผ่นไม้ เมื่อวันที่เริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปีมาถึง คนเฒ่าคนแก่จะพูดถึงความเคียดแค้นของชนเผ่าตนที่มีกับชนเผ่าอื่นให้กับลูกหลานฟัง จากนั้นจึงหยิบแผ่นไม้ที่มีรอยสลักขึ้นมา หากแผ่นไม้นั้นมีรอยสลักรอยใหญ่ก็หมายความว่ามีเรื่องบาดหมางที่เป็นเรื่องใหญ่ หากเป็นรอยเล็กก็เป็นความบาดหมางที่ไม่ใหญ่นัก  แล้วจะเล่าเรื่องราวแบบนี้ให้กับลูกหลานฟังโดยอ้างอิงมาจากรอยสลัก ซึ่งรายละเอียดที่ชัดเจนจะไม่มีใครทราบนอกจากผู้สลักเอง

ข้อจำกัดของการแกะสลักและการผูกปมเชือกในการบันทึกเรื่องราว

          การผูกปมเชือกและการแกะสลักสามารถนำมาบันทึกวันที่และจำนวนวันได้อย่างแม่นยำ ส่วนการบันทึกเรื่องราวนั้นมีแต่เพียงมิติในการเตือนความจำ   แปลว่ารายละเอียดปลีกย่อยและคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น การผูกปมเชือกและการแกะสลักยังไม่สามารถบันทึกรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านั้นได้ ดังนั้นการที่จะบันทึกเรื่องราวรายละเอียดของเหตุการณ์จึงต้องอาศัยสัญลักษณ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

ปากว้ากับสัญลักษณ์ในการบันทึกเรื่องราว

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 八卦

สัญลักษณ์ปากว้า 八卦

 

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จริงๆแล้วปากว้าไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการกำเนิดของตัวอักษรจีน

ปากว้าเป็นรูปสัญลักษณ์ที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง ไม่สามารถบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ตัวอย่างครอบคลุม อาจจะใช้ปากว้าในการจำแนกเรื่องราวออกเป็นหมวดหมู่อยากคร่าวๆได้ โดยไม่สนว่าจะมีการใช้คำในการบันทึกอย่างไร ดังนั้นสัญลักษณ์เพียง 8 สัญลักษณ์จึงไม่สามารถที่จะพรรณนาเรื่องราวโดยละเอียดได้ ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเสียงอ่านได้ และหลักฐานทางโบราณคดีก็ไม่พบรอยสลักที่คล้ายกับปากว้าเลย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสัญลักษณ์ปากว้าเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่บันทึกเรื่องราวอย่างคร่าวๆและพัฒนาจนกลายเป็นสัญลักษณ์ในการทำนายดวงชะตา ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของอักษรจีน

 

สัญลักษณ์ในการบอกเรื่องราวของชนเผ่า

          หลังจากช่วงที่รัฐชาติจีนได้ถูกสถาปนาขึ้น ทางการได้พบหลักฐานเกี่ยวกับการบันทึกด้วยสัญลักษณ์นี้ที่มณฑลยูนนาน พบเป็นแผ่นไม้ที่มีรูปสลักเป็น 4 สัญลักษณ์ได้แก่ 1.ผู้แทนทั้ง 3 คน 2.พระจันทร์ 3.พบปะ 4.ผู้นำทั้ง 3 ระดับ  เมื่อตีความแล้วหมายความว่า “ผู้แทนทั้ง 3 ระดับที่ทางพวกท่านได้ส่งมาไปพบกับพวกเราแล้วในวันเพ็ญ โดยมีของกำนัลเป็นของกินของใช้ที่ทำขึ้นเองในหมู่บ้านมอบให้แก่ผู้นำทั้ง 3 ระดับ” ขึ้นสัญลักษณ์นี้ต้องอาศัยการตีความดังนั้นจึงไม่ใช่อักษรจีน

ความเกี่ยวข้องกันระหว่างตัวอักษรจีนและการบันทึกด้วยปากว้า

          สัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมแม้ว่าจะไม่ใช่ตัวอักษร แต่ก็ถือว่าเป็นพื้นฐานในการพัฒนาตัวอักษรได้ แม้ว่ารูปสลักมีความซับซ้อนขึ้น  แต่เชิงความหมายในการตีความก็ยังไม่ลึกมากนัก

ความเกี่ยวข้องกันระหว่างตัวอักษรจีนและการบันทึกด้วยรูปภาพ

   

    การบันทึกรูปภาพมีความหมายที่ค่อนข้างจำกัด และการใช้งานจริงถูกจำกัดอยู่ในวงแคบภายในชุมชนของตนเองเท่านั้น คนนอกชุมชนอาจจะไม่เข้าใจรูปภาพที่สื่อ และการบันทึกรูปภาพไม่เกี่ยวข้องกับการบันทึกเสียงพูดให้เป็นเชิงสัญลักษณ์เช่นตัวอักษร แม้ว่าการบันทึกเรื่องราวรูปภาพจะสามารถทำได้ การตีความหมายก็อาจจะชัดเจนบ้าง ไม่ชัดเจนบ้าง แต่ไม่สามารถอ่านออกมาให้เป็นเสียงอ่านได้ และความหมายนั้นไม่มีความตายตัว ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการบันทึกรูปภาพยังไม่ใช่ตัวอักษรนั่นเอง

          การบันทึกรูปภาพหลาย ๆ รูปอาจจะสามารถเรียบเรียงให้กลายเป็นเรื่องราวที่ซับซ้อนขึ้นได้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการแกะสลักและการมัดปมเชือก ซึ่งวิธีการบันทึกต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีการบันทึกด้วยตัวอักษรจีน

 

 

ความเป็นไปได้ของการเกิดขึ้นและพัฒนาของตัวอักษรจีน

 

          เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ยังไม่มากนัก ทำให้ทฤษฎีและการตีความเกี่ยวกับที่มาของตัวอักษรจีนของนักวิชาการหลายท่านจึงยังไม่ตรงกัน ดังนั้นหากต้องการที่จะสรุปที่มาของตัวอักษรจีนได้อย่างชัดเจนนั้น อาจจะต้องรอจนกว่ามีหลักฐานทางโบราณคดีที่มากพอ

          แต่ความเป็นไปได้เบื้องต้นของการเกิดขึ้นของตัวอักษรจีนก็คือการบันทึกเรื่องราวรูปภาพ และการทำสัญลักษณ์เชิงนามธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

การพัฒนาจากสัญลักษณ์จนกลายมาเป็นตัวอักษรจีน

 

          ประเทศจีนได้มีแนวคิดและการตีความเกี่ยวกับรูปภาพมานานแล้ว ชื่อในหนังสือ 《通志。六书略》 ที่เขียนขึ้นในสมัยซ่งได้อธิบายว่า รูปภาพและตัวหนังสือมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกัน กล่าวคือ การวาดรูปในสมัยก่อนนั้นไม่ได้มีมิติของศิลปะเพียงอย่างเดียว แล้วตัวอักษรจีนเองก็มีความเป็นรูปภาพอยู่ในตัว จึงกล่าวได้ว่าตัวอักษรจีนเกิดจากการวาดภาพ ซึ่งทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการทั่วไป

          ก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นตัวอักษรจีน ชาวจีนโบราณก็ได้มีการใช้การวาดภาพและใช้สัญลักษณ์ในการบอกต่อข่าวสารกันมานานแล้ว นานเข้าจึงทำให้รูปภาพเหล่านั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นตัวอักษรในที่สุด

 

     

  รูปภาพด้านบนยังมีความเป็นรูปภาพก็คือคนกำลังยิงกวาง แต่ภาพด้านล่างมีความเป็นตัวอักษรคือแยกเป็นสัญลักษณ์ที่แทนความหมายอยากเป็นปัจเจกและตีความเป็นรูปประโยคได้ว่า กวาง(กรรม) ถูกยิง(กรรมวาจก) ด้วยคน เมื่อสัญลักษณ์ถูกซอยย่อยให้กลายเป็นคำมูล การกำเนิดขึ้นของตัวอักษรจีนจะมีแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้น

          การแกะสลักรายการมัดปมเชือกปกติแล้วเป็นการใช้เพื่อบันทึกตัวเลขและเป็นการเตือนเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ แต่ก็พบว่ามีการบันทึกสัญลักษณ์ที่ไม่สอดคล้องกับความหมายอยู่มาก จึงทำให้เกิดการตีความยากลำบาก

 

          การเกิดขึ้นของสัญลักษณ์บอกตัวเลขในภาษาจีน 一 二  三 四五六七八十 แท้จริงแล้วอาจเกิดจาก รูปภาพที่วาดมาจากการมัดปมเชือก มาจากข้อและปมบนเชือกนั่นเอง   ก่อนที่สัญลักษณ์จะกลับมาเป็นตัวอักษร  การตีความยังสามารถตีความได้หลากหลาย และไม่มีเสียงอ่านที่ชัดเจน ซึ่งยังขาดคุณสมบัติหลักของตัวอักษร เมื่อใดที่ความหมายและเสียงอ่านของสัญลักษณ์นั้นตายตัว สัญลักษณ์จะกลายเป็นตัวอักษร

          ก่อนที่ตัวอักษรจีนจะเกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยพื้นฐานและปัจจัยต่างๆในสังคมมากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้นคำถามที่ถามว่าตัวอักษรจีนเกิดขึ้นเมื่อใด? จึงไม่มีคำตอบที่ตายตัว แต่ถ้าถามว่าระบบการพัฒนาของตัวอักษรจีนเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อใด? และพัฒนาไปในรูปแบบใด? และเมื่อใดที่สัญลักษณ์มีเสียงอ่านตายตัว? คำถามพวกนี้อาจจะยังพอมีคำตอบได้ แต่ก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นเพียงการวิเคราะห์อย่างคร่าวๆเท่านั้น

 

          เมื่อมองจากประวัติศาสตร์ของโลกนี้ แหล่งอารยธรรมแรกๆของโลก เกิดขึ้นที่ แหล่งโบราณคดีของชาวซูเมอร์ อียิปต์โบราณ อินเดียโบราณ คริติโบราณ ตัวอักษรที่ถูกพัฒนาขึ้นล้วนเกิดในสมัยยุคหินใหม่ - ยุคเหล็ก  ซึ่งปลายสมัยยุคหินใหม่ได้เกิดการรวมตัวกันของชนเผ่าต่างๆดังนั้นการสื่อสารเป็นภาษาพูดเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อไป ดังนั้นจึงทำให้เกิดการสื่อสารผ่านตัวอักษรขึ้น จากหลักฐานทางโบราณคดีปลายยุคหินใหม่ของประเทศจีนพบว่าสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนเครื่องสังคโลกนั้นก็คืออักษรจีนในยุคเริ่มต้น

          แหล่งอารยธรรมโบราณปั้นโพห่างจากยุคสมัยปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6000 กว่าปีมาแล้ว  นายฉิวซี นักวิชาการชาวจีนกล่าวว่าสัญลักษณ์ที่ปรากฎอยู่ในสมัยนั้นมีความหลากหลายซึ่งยังไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของตัวอักษร (ยกเว้นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกตัวเลข ) การเกิดขึ้นของสัญลักษณ์เหล่านั้นกับการเกิดขึ้นของอักษรจีนไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อกันและกัน แม้ว่ามีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าอักษรจีนทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากตรรกะการสร้างสัญลักษณ์จากแหล่งอารยธรรมโบราณปั้นโพเท่านั้น

          ในขณะเดียวกันก็พบรูปสัญลักษณ์ที่มีความคล้ายคลึงอักษรจีนยุคแรกที่แหล่งอารยธรรมโบราณหยางเซา ซึ่งห่างจากสมัยปัจจุบันเป็นเวลา 4,500 บาทถึง 5000 ปี สัญลักษณ์เหล่านั้นกล่าวว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรจีนอย่างแท้จริง โดยสัญลักษณ์ที่ปรากฏนั้นปรากฏเป็นอักษรรูป ภูเขา ตรงกลางเป็นเมฆ ด้านบนเป็นพระอาทิตย์ รวมความหมายเป็น พระอาทิตย์ปรากฏอยู่ในเงาเมฆ สลับไปสลับมา ก็คืออักษรคำว่า 旦 แต่ก็มีนักวิชาการคัดค้านแนวคิดนี้ โดยกล่าวว่าสัญลักษณ์นี้ยังไม่ใช่ตัวอักษร เป็นเพียงการบันทึกเรื่องราวโดยใช้สัญลักษณ์เท่านั้น นายฉิวซีกล่าวว่าแม้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้อาจจะยังไม่ใช่ตัวอักษร แต่ก็ทำหน้าที่สื่อความหมายในลักษณะเดียวกันกับตัวอักษรแล้ว การที่จะสรุปว่าสัญลักษณ์ที่แหล่งอารยธรรมปั้นโพคือแหล่งกำเนิดของอักษรจีนหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนในขณะนี้ได้

          สำหรับระยะเวลาในการเกิดขึ้นของตัวอักษรจีนนั้น อ้างอิงมาจากการพัฒนาของตัวอักษรในสมัยปลายราชวงศ์ซาง อักษรที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ซางได้ถูกพัฒนาจนสามารถระบุความหมายและเสียงที่ตายตัวแล้ว ถือว่าค่อนข้างมีความสมบูรณ์ในลักษณะของการเป็นตัวอักษร อักษรกระดองเต่าและอักษรจินเหวิน เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอักษรของชนเผ่าในยุคสมัยก่อนหน้านี้ พบว่าอักษรกระดองเต่าและอักษรจินเหวิน  ถูกทำให้เขียนง่ายขึ้นแล้ว ในบางตัวอักษรเนื่องจากสัญลักษณ์ต้องถูกกำหนดตายตัวอยู่ในบรรทัดของการเขียนจึงทำให้ทิศทางเปลี่ยนไปบ้าง ดังนั้นเมื่อระบบอักษรในสมัยราชวงศ์ซางมีความสมบูรณ์แล้วก็หมายความว่าต้นกำเนิดของอักษรจีนน่าจะห่างจากสมัยซางพอสมควร

          แต่ในขณะเดียวกันอักษรในสมัยซางก็ยังพบร่องรอยของรูปสัญลักษณ์ที่เป็นต้นกำเนิดของตัวอักษรจีนอยู่ อักษรบางตัวถูกปรับเปลี่ยนไปตามการพัฒนาของภาษา และการเรียงตัวของตัวอักษรในประโยคบางครั้งอาจจะสลับไปสลับมาอยู่บ้าง ก็ทำให้เราคาดเดาว่าระยะห่างของการกำเนิดของตัวอักษรจีนจนถึงสมัยซางอาจจะไม่ได้ห่างกันมากนัก

          การเกิดขึ้นของระบบอักษรจีนที่สมบูรณ์ที่แท้จริงอาจจะอยู่ในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านจากราชวงศ์เซี่ยถึงราชวงศ์ซาง ประมาณศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล

          ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินได้มีการรวบรวมตัวอักษรจีนแล้วจัดให้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจนซึ่งการจัดหมวดหมู่ของตัวอักษรในสมัยนั้นถูกใช้ต่อเนื่องมาอีกหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!