การศึกษาช่วยพัฒนาคน คนมีความรู้ก็จะเกิดปัญญา
ดังนั้น ชาวจีนเชื่อว่า
ตัวแรกเลยนะครับ 字 หมายถึงตัวอักษร เพราะการเรียนรู้อักษรจีน คือสิ่งที่ควรเรียนรู้ตั้งแต่ในบ้าน 子 เด็ก ที่อยู่ในบ้าน 宀
สื่อถึงสิ่งที่เด็กควรรู้ตั้งแต่อยู๋ในบ้าน นั่นก็คือ 字 (นักวิชาการบางก็โต้แย้งว่า มีคนคลอด 生 ลูก 子 ในบ้าน 宀 มากกว่านาา) แต่นักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับนักวิชาการท่านนั้น เด็กจะอ่านหนังสือออกได้ ก็ต้องหัดเรียนรู้อักษรเสียก่อน เรียน 字 แล้วค่อยเรียน 六书 จากนั้นจึ่งเริ่มเรียนหนังสือต่างๆ เช่น 国学 เป็นต้น
การเรียน “學“ เป็นอักษรภาพของเด็กคนหนึ่ง 子 ที่อยู่ในบ้าน 冖 และกำลังใช้ใช้มือสองข้าง 𦥯 เขียนเป็นตัวอักษรต่างๆ 爻 ที่เห็นนั้นแทนตัวอักษร
覺 เป็นอักษรภาพที่ เด็กกำลังเรียน 學 แต่ว่าการที่จะเรียนได้นั้น จะต้อง มอง สังเกตุ และเลียนแบบโดยใช้ตา 見 ดังนั้นจึงนำมาเขีนรวมกันได้เป็น 覺 ซึ่งมีความหมายในเชิงว่า รู้ตื่น แจ้ง
แต่ว่าจะเรียนอย่างไรถ้าไม่มีครูสอน 教 คืออักษรภาพที่แสดงให้เห็นว่ามีมือข้างหนึ่ง 攴 กำลังเขียนตัวอักษร 爻 ให้เด็ก 子 ดู และเขียนรวมเป็น 教 แต่เดี๋ยวๆๆๆๆ ถ้างั้น 孝 มายังไงล่ะ หรือ 教 จะมาจาก 孝 ในความเป็นจริงแล้ว อักษรสองตัวนี้มีที่มาต่างกันครับ เราจะสังเกตุได้ว่า 甲骨文 ของทั้งคู่แตกต่างกัน 孝 เป็นรูปของเด็กที่กำลังดูแลผู้ใหญ่ จึงมีความหมายว่า กตัญญูกตเวที
ส่วน 教 ก็มีความหมายเหมือนด้านบนครับผม นักวิชาการบางท่าน (อีกและ) ก็ตั้งข้อสังเกตุว่า หรือ 爻 ที่เราเห็นกันนั้นจะมาจากศาสตร์ 卜卦 (เอากระดองเต่าไปเผาไฟแล้วเอาไม้ถู สังเกตุรอยแตกร้าว) แต่นักอักษรศาสตร์ก็ว่า เด็กมันจะไปเรียนรู้เรื่องพวกนี้ก่อนไปทำไมกัน ไม่ได้สอนให้ไปเป็นหมอดู 爻 แทน 字 นั่นแหละเหมาะสมแล้ว อีกอย่างนะ ตัวอักษร 爻 ที่ปรากฏในอักษรตัวอื่นก็ไม่ได้สื่อความหมายด้าน 卜卦 เลยซักกะตี๊ด สรุป 教 คือ ผู้ใหญ่เขียนหนังสือให้เด็กดู เป็นการสอนนั่นเองครับ
孜 Zī เป็นรูปของเด็กน้อย ที่ในมือ 攴 ถือปากกา ขยันขันแข็งในการศึกษาเล่าเรียน โตไปจะได้เป็นเจ้าคนในนายคน (บางท่านบอกว่านี่เค้าเอาไม้ตีเด็ก ให้เด็กตั้งใจเรียนต่างหากกกกก)
เด็กต้องสังเกตุ 覺 จากการสอน 教 และเรียนรู้ฝึกฝน 學 ในการเขียนตัวอักษร 字 จะได้เป็นเด็กขยัน 孜