ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่ภาษาถูกใช้งานโดยคนกลุ่มต่างๆในสังคม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาษา นับตั้งแต่บรรพบุรุษของมนุษย์เราเริ่มรู้จักการเปล่งเสียงออกมาเพื่อแสดงความรู้สึก ตกลงกันว่าเสียงนั้นๆใช้แทนความหมายหรือการกระทำต่างๆ เมื่อมองย้อนไปแล้ว การวิวัฒนาการทางภาษานั้นถูกพัฒนาพร้อมๆกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ จากฝูงสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่รุดหน้ากว่ากลุ่มสัตว์ประเภทอื่น ยังผลให้สมองเริ่มมีความซับซ้อนมากกว่าเดิม จากการที่เป็นสัตว์สังคมอยู่แล้ว เมื่อสมองในส่วนของความรับรู้ผิดชอบชั่วดีถูกพัฒนาขึ้น ทำให้มนุษย์มีความคิดความอ่านมากขึ้น และสุด้ทายจึงเริ่มรู้จักเปล่งเสียงเพื่อส่งภาษาให้กันและกัน ซึ่งกลายมาเป็นภาษาพูดอย่างที่เราใช้กันในปัจจุบัน
ในสังคมหนึ่ง ๆ ก็จะมีการตกลงร่วมกันว่าเสียงที่เปล่างออกมานี้แทนความหมายว่าอย่างไร เช่น เมื่อเราออกเสียงมาว่า “แม่” คนในสังคมไทยก็จะรู้ทันที่ว่าเสียงนั้นหมายถึงผู้หญิงซึ่งเป็นให้กำเนินเรา ดังนั้นเมื่อสังคมเริ่มมีการพัฒนามาขึ้นเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงทางภาษาย่อมตามมาอย่างแน่นนอน และบริบทต่างๆของการใช้ภาษาก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน
เมื่อเกิดเป็นระบบภาษาขึ้นในสังคมแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าเมื่อผ่านไป “เสียงและวิธีการเรียบเรียงเสียงและสื่อความหมาย” ที่คนในสังคมตกลงกันไว้นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางภาษานี้เกิดขึ้นในหลากหลายมิติ เช่น วรรณยุกต์หรือสำเนียง คำศัพท์ ไวยากรณ์และวากยสัมพันธ์ รวมไปถึงการตีความของความหมายนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
ทีนี้เรามาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลง
1. ภูมิศาสตร์
ก่อนอื่นขอให้ทุกคนลองจินตนาการของคนกลุ่มหนึ่งๆซึ่งใช้ภาษาเดียวกัน แล้วหลังจากนั้น แบ่งเป็นกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ยกกลุ่ม 2 ไปไว้อีกฝั่งของแม่น้ำหรือบนเกาะเกาะหนึ่ง โดยไม่ให้ทั้ง 2 กลุ่มเกิดการสื่อสารหรือไปมาหาสู่กันเลย เมื่อผ่านไป 50 เราอาจจะพบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีสำเนียงและวิธีการสื่อสารที่แตกต่างๆไปจากเดิม ซึ่งทั้งนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะสังคมมีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแต่ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไป นอกจากแม่น้ำ เกาะแล้วก็ยังมีภูมิประเทศแบบอื่นที่เป็นอุปสรรค์ต่อการไปมาหาสู่กันอีกคือ ภูเขา ป่าลึก หน้าผา ทะเลทราย ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่แยกคนในสังคมออกเป็นสองกลุ่ม เป็นต้น
ในอดีตเราจะพบว่าปัจจัยด้านภูมิศาสตร์นี้มีบทบาทอย่างมาก เพราะว่าวิทยาการด้านการสื่อสารยังไม่เจริญมากนัก การมีอุปสรรค์มาขวางกันไว้ จึงทำภาษาเกิดการพัฒนาออกไปเป็น 2 ทิศทาง แต่ในภาพรวมก็ยังรักษาเอกลักษณ์ของภาษานั้นๆไว้ เช่น ตระกูลที่เป็นภาษาคำโดดก็ยังจะดำรงอยู่ด้วยภาษาคำโดดของตนต่อไป นอกเสียจากมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่นผลกระทบจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ศาสนา เป็นต้น
2.การอพยพย้ายถิ่นเข้ามาของคนต่างเผ่า
การเข้ามาของคนกลุ่มอื่นๆซึ่งใช้ภาษาที่แตกต่างจากกลุ่มเดิม การเข้ามาของคนต่างกลุ่ม เมื่อเข้ามาแล้ว แน่นอนก็ต้องมีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม นานวันเข้าภาษาทั้ง 2 กลุ่มอาจได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการเข้ามาของชาวจีนแต้จิ๋ว ณ บ้านบางกอก แต่เดิมบ้านบางกอกเป็นชุมชนของพ่อค้าวาณิชที่ทำการค้าแลกเปลี่ยนกับกลุ่มพ่อค้าชาวจีน แต่เมื่อพ่อค้าเหล่านั้นเข้ามาปักหลัก ณ บ้านบางกอก ก็นำภาษาจีนแต้จิ๋วที่ตัวเองพูดนั้นเข้ามาด้วย และตามมาด้วยการหัดพูดภาษาไทย ซึ่งภาษาไทยสมัยนั้นเป็นสำเนียงหลวงของอยุธยา แต่ชาวจีนแต้จิ๋วก็ได้นำวรรณยุกต์ของตนที่มีหลายเสียงมากกว่าภาษาไทยขณะนั้นมาพูดปนกับภาษาไทย คือ อิมเพ้ง (陰平) อิมเจี่ยน (陰上) อิมขื่อ (陰去) อิมยิบ (陰入) เอี๊ยงเพ้ง (陽平) เอี๊ยงเจี่ยน (陽上) เอี๊ยงขื่อ (陽去) เอี๊ยงยิบ (陽入) แต่เมื่อนำมาพูดในภาษาไทยพบว่าเสียง อิมเพี้ยงและเอี๋ยงขื่อ รวมเป็นเสียงสามัญเสียงเดียว ส่วนเสียงอิมยิบและเอี๊ยงยิบถูกตัดไปเพราะซ้ำกับเสียงอื่น แตกต่างคือเสียงพยางค์ท้ายเป็นเสียงปิดคือ แม่กก กด และกบ ดังนั้นจึงเท่ากับว่าเสียงของเจ๊กที่พูดไทยเหล่านี้เหลือเพียง 5 เสียงเท่านั้น คือ ราบกลาง˧˧ สูงตก˥˨ ต่ำยก˨˩˧ สูงราบ˥˥ และสูงยก ˧˥ ซึ่งก็ไม่ต้องส่งสัย เพราะว่าได้กลายมาเป็นสำเนียงมาตรฐานของชาวไทยเราเรียบร้อยแล้ว เมื่อภายหลังบ้านบางกอกถูกยกฐานะให้เป็นราชธานีในสมัยปัจจุบันก็มีผู้คนจำนวนมากใช้สำเนียงนี้ และสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้เพิ่มรูปวรรณยุกต์ให้แก่คำเหล่านั้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/9Dn6ml ) กลายมาเป็นวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา โดยสมบูรณ์
นอกจากชาวจีนที่เข้ามาและมีบทบาทต่อภาษาและการสื่อสารของกรุงเทพฯสมัยนั้นแล้ว กลุ่มชาติพันธ์ที่ใช้ภาษาอื่นๆที่ถูกเทครัวเข้ามายังเมืองหลวงก็มีบทบาทอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เช่น ชาวล้านช้าง ล้านนา เขมร ชาวไทดำ ฯ รวมไปถึงการเข้ามาของชาวต่างชาติกลุ่มอื่นๆในสมัยต่างๆ ก็เข้ามาพลิกโฉมให้ภาษาไทยเป็นดังเช่นในปัจจุบัน
3.การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการค้าขายระหว่างกลุ่มภาษา
เมื่อสังคมโลกถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มต่างๆทางวัฒนธรรมจึงเริ่มมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น มีการผสมพันธ์ข้ามกลุ่ม ดังนั้นบริเวณริมของชายแดนทั้งสองกลุ่มจึงเริ่มปรากฏเป็นสังคม 2 วัฒนธรรมมากขึ้น เมื่อทั้ง 2 กลุ่มมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างวัฒนธรรม สิ่งแรกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือคำศัพท์ เมื่อสังคมหนึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการมา ต้องมีการบัญญัติใหม่ขึ้น ด้วยเหตนี้จึงทำให้เกิดคำยืมมากมาย รวมถึงการใช้ไวยากรณ์แบบภาษาอื่นด้วยเช่นกัน
4.การเมืองการปกครอง
ในด้านการเมืองการปกครองถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากเช่นกัน การที่ผู้ปกครองเป็นคนจากกลุ่มอื่นนั้นทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ปรากฏการณ์เช่นนี้พบในภาษาจีนแมนดารินซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐานของจีนในปัจจุบัน ภาษาจีนก่อนที่กลุ่มแมนจูจะเข้ามาและตั้งราชวงศ์ชิงนั้น มีลักษณะที่คล้ายกับภาษาจีนทางใต้ คือ กลุ่มภาษาจีนยุค 中古( กวางตุ้ง หมิ่นหนาน อู๋ ) แต่ต่างกันตรงที่ภาษาจีนฝ่ายเหนือในสมัยหมิงเริ่มมีเสียงม้วนลิ้นแล้ว และเสียงพยางค์ท้าย กก กด กบ เริ่มหายไป
ต่อมาเมื่อชาวแมนจูซึ่งแต่เดิมตั้งอาณาจักรชื่อว่า 金 อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมื่อเข้ามาตีเมืองต้าตูได้ 努尔哈赤 จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองดินแดนจีนทั้งหมด โดยระยะเริ่มได้กำหนดว่าบริเวณรอบเมืองเยี่ยนจิง 10 ลี้ให้ใช้ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการและนอกเมืองไปอีก 10 ลี้ให้ใช้ภาษาฮั่น
ต่อมาเมื่อกลุ่มผู้นำเริ่มใช้ภาษาของชาวจีนจึงทำให้เกิดสำเนียงใหม่ขึ้นซึ่งก็คือภาษาจีนสำเนียงแมนจู ผ่านมาหลายร้อยปี เมื่อมีผู้ใช้สำเนียงนี้เพิ่มมากขึ้นจึงก่อให้เกิดเป็นสำเนียงที่ถูกเรียกว่า “เป่ยจิงฮว่า” ในปัจจุบัน โดยสำเนียงแถบตงเป่ยและพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดถูกพัฒนาให้เป็นภาษาที่ม้วนลิ้นมากทั้งยังมีคำศัพท์ที่ยืมมาจากกลุ่มเซียนเปยด้วย สำเนียงกวานฮว่าหรือจีนกลางในปัจจุบัน ในภาษาอังกฤษถูกเรียกว่า แมนดาริน มีข้อสันนิษฐานว่ามาจากการชาวตะวันตกทับศัพท์มาจากคำว่า 满大人 ซึ่งก็คือภาษาที่ขุนนางชาวจีนใช้ แต่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าคำว่า แมนดาริน ถูกใช้มานานแล้ว สามารถสืบย้อนขึ้นไปต้องแต่สมัยหมิง
คุณ ธ.วัชชัย ดุลยสุจริต ได้เขียนไว้ในเพจส่วนตัวว่า มาจากคำในภาษาสันสกฤต คำว่า มนตรี นี้ รูปเดิมคือ มนฺตฺรินฺ (मन्त्रिन्) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้รู้มนตร์ และต่อมาหมายถึงผู้ฉลาด อำมาตย์ในราชสำนัก ฝรั่งนำคำว่า แมนดาริน ไปใช้ในความหมายว่า ขุนนางนักวิชาการ ผู้ชำนาญด้านตำราความรู้ต่างๆ ต่อมาฝรั่งนำมาใช้หมายถึงข้าราชการของจีน และใช้เรียกภาษาจีนมาตรฐานฝ่ายเหนือ เพราะเป็นภาษาที่ใช้ในหมู่ข้าราชการราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง คาดว่าคงจะใช้แปลศัพท์ กวานฮั่ว (官話) ที่แปลว่า ภาษาของขุนนาง
หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สถาปนาจีนใหม่ ก็ได้ตกลังกันว่าให้สร้างภาษาจีนที่เป็นมาตรฐานขึ้น โดยให้ใช้เป็นภาษาราชการ โดยสำเนียงหลักๆอ้างอิงมาจากสำเนียงปักกิ่ง โดยตัดเอาเสียงม้วนลิ้นออกไปเกือบหมด เหลือเพียงคำศัพท์ที่นิยมมี 儿化 ไว้เพียงไม่กี่คำเท่านั้น ส่วนคำศัพท์ก็เรียบเรียงขึ้นโดยภาษาแมนดารินที่ถูกใช้โดยกลุ่มต่างๆ ดังนั้นชุดคำศัพท์ของภาษาปักกิ่งและภาษาจีนกลางจึงมีคำศัพท์คนละชุดกัน
หลังจากที่ภาษาจีนมาตรฐานถูกใช้อย่างแพร่หลาย เยาวชนรุ่นใหม่ของจีนล้วนพูดผู้ทงฮว่าเป็นทุกคน จนก่อให้เกิดปรกกฏการณ์กลืนภาษาถิ่นขึ้น สำเนียงถิ่นหลายสำเนียงของจีนทั้งในตระกูลภาษาจีนเองเช่น กวางตุ้ง หมิ่นหนาน อู๋ เองก็ถูกคลื่นแมนดารินภาโถมเข้าอย่างเต็มเปา รวมถึงภาษาของชนกลุ่มน้อยก็ถูกภาษาจีนครอบงำไปแล้วเยอะมาก เช่นภาษาของชาวจ้วง ชาวสิบสองปันนาที่เราจะพูดถึงในบทถัดไป จนตอนหลังหลายๆหน่วยงานจึงต้องออกโรงมาสังคายนาสำเนียงเหล่านี้ไว้ มิฉะนั้นแล้วจะต้องถูกกลืนหายไปอย่างแน่นอน ชุดคำศัพท์ปักกิ่งที่พูดถึงไปข้างต้น ปัจจุบันมีคนพูดน้อยลงขึ้นทุกวัน เพราะทุกคนรวมถึงพ่อแม่รุ่นใหม่ก็ส่งเสริมให้ลูกของตัวเองพูดเพียงจีนกลางเท่านั้น "ฉิ่งซัวผู่ทงฮว่า พลีสสสสส เปียวจุ่นผู่ทงฮว่าออ"