“里” กับ “上”

คำบอกตำแหน่ง “” กับ “” ใช้อย่างไร ต่างกันตรงไหน เราสามารถใช้ “” กับ “” วางหลังคำนาม เพื่อบอกตำแหน่งของคน หรือวัตถุสิ่งของนั้นๆ ว่าอยู่ตรงตำแหน่งไหน

1. “” บอกตำแหน่งที่อยู่ “ภายใน” หรือ “ข้างใน

” บอกตำแหน่งที่อยู่บน “พื้นผิว” หรืออยู่ “ส่วนบน/ด้านบน” (ของวัตถุสิ่งของ)

เช่น คำว่า “门里”, “门上” หรือ “山里”, “山上”

2. เมื่อไรควรใช้คำบอกตำแหน่ง “” หรือ “” จะขึ้นกับคำกริยา หรือคำนามที่ใช้ร่วมกับคำบอกตำแหน่ง (หรือขึ้นกับความหมายนั่นเอง) เช่น

夹在书里 (คำกริยา “夹” คำนาม “书” — สอด/เสียบไว้ “ใน” หนังสือ)

摆在书上 (คำกริยา “摆” คำนาม “书” — วาง “บน” หนังสือ)

陷到沙发里 (คำกริยา “陷” คำนาม “沙发” — จมลงไป “ใน” โซฟา)

坐在沙发上 (คำกริยา “坐” คำนาม “沙发” — นั่ง “บน” โซฟา)



มีข้อน่าสังเกต คือถ้าคำกริยามีนัยยะ หรือความหมายสื่อถึงขอบเขตที่ชัดเจนแน่นอน คำบอกตำแหน่งหลังคำนามจะใช้ “” แต่ถ้าคำกริยาไม่มีนัยยะ หรือสื่อความหมายนี้ คำบอกตำแหน่งหลังคำนามสามารถ “” ได้ (ดูตัวอย่างข้างบน)


เช่นเดียวกัน ถ้าคำนามไม่มีนัยยะ หรือความหมายสื่อถึงขอบเขตที่ชัดเจนแน่นอน คำบอกตำแหน่งหลังคำนามจะใช้ “” เช่น

“路上”, “地上” หรือ “脸上” เป็นต้น


ถ้าคำนามมีนัยยะ หรือความหมายสื่อถึงขอบเขตที่ชัดเจนแน่นอน คำบอกตำแหน่งหลังคำนามจะใช้ “” เช่น

“瓶子里”, “嘴里” หรือ “心里” เป็นต้น


หรือถ้าเราต้องการสื่อความหมาย หรือนัยยะที่สื่อถึงขอบเขตที่จำกัดชัดเจน ก็สามารถใช้ “” ได้ เช่น

“菜田里” หรือ “果园里” เป็นต้น


3. “คำนาม” + “” นอกจากใช้ระบุ “สถานที่” ยังใช้ระบุ “ขอบเขต“, “ด้าน/ประเด็น (ใดด้าน/ประเด็นหนึ่ง)” หรือ “เวลา” ได้ด้วย เช่น

课堂上 (ระบุ “ขอบเขต” แต่ภาษาไทย เราใช้ว่า “ในห้องเรียน”)

世界上 (ระบุ “ขอบเขต” ภาษาไทยใช้ว่า “บนโลก” หรือ “ในโลก” ก็ได้)

在语法研究上 (ระบุ “ด้าน/ประเด็น” ใดด้าน/ประเด็นหนึ่ง ภาษาไทยใช้ว่า “ในด้าน/ประเด็นการศึกษาวิจัยไวยากรณ์”)

实际上 (ระบุ “ด้าน/ประเด็น”)


4. “อายุ” + “” จะสื่อ หรือระบุ “เวลา” หรือ “ช่วงเวลา” กรณีนี้ใช้ “” ไม่ได้ เช่น


十四岁上死了父亲。

เป็นต้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!