“本领“, “能力“, “才能” และ “本事” ชุดคำศัพท์เหล่านี้ แปลคร่าวๆ ว่า “ความสามารถ” เหมือนกันหมด แต่มีจุดเน้นต่างกัน
“本领” เป็นคำนาม แปลว่า “ความสามารถ”, “ฝีมือ”, “ความชำนาญ”
“本领” นิยมใช้ในภาษาเขียน หรือเป็นทางการ หมายถึง “ความสามารถ, ฝีมือ หรือความชำนาญ” ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง วลีที่เจอบ่อยๆ เช่น
学本领
有本领
掌握本领
本领(很)大
本领高
本领强
本领高强
ข้อสังเกต คือ เมื่อใช้ “本领” เป็นกรรม (宾语) ข้างหน้าจะมีบทขยายกรรม หรือ 定语 อยู่ด้วย เช่น
架飞机的本领
ลักษณนามของ “本领” รวมทั้งคำอื่นๆ ที่สื่อถึงความสามารถ ความชำนาญแต่ละชนิด ประเภท จะใช้ “种” เช่น
他掌握了三种本领。
“能力” เป็นคำนาม แปลว่า “ความสามารถ”
“能力” เป็น “ความสามารถ” (เน้นในแง่อัตวิสัย “主观条件” หรือความสามารถเฉพาะของคนใดคนหนึ่ง) ที่จะรับผิดชอบงาน หรือทำภาระหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง วลีที่เจอบ่อย เช่น
工作能力
阅读能力
有能力
没有能力
能力很强
能力差
มีข้อสังเกต คือเราจะไม่ใช้คำคุณศัพท์ “大” กับ “能力” เช่น เราจะไม่ใช้ว่า
“能力特别大” แต่จะใช้เป็น “能力特别强”
“才能” เป็นคำนาม แปลว่า “มีความสามารถ”, “อัจฉริยะ”
“才能” เป็น “ความสามารถ” ที่เน้นในแง่ความรู้, สติปัญญา และความสามารถ วลีที่เจอบ่อยๆ เช่น
很有才能
没有才能
特殊的才能
施展才能
ตัวอย่างประโยค
这些作品显示了作者驾驭题材的问题才能。
นอกจากนั้น “才能” ยังมีความหมาย หรือใช้ในกรณีที่มีความสามารถในการคิด, ในงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การสร้างสรรค์งานศิลปะ ฯลฯ เช่น
她有写小说的才能。
“本事” เป็นคำนาม แปลว่า “ความสามารถ”, “ความชำนาญ”
“本事” นิยมใช้ในภาษาพูด เป็น “ความสามารถ” ในการทำ หรือจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วลีที่เจอบ่อยๆ เช่น
有本事
学本事
本事大 (เราไม่ใช้ 强 หรือ 高 ร่วมกับ “本事”)
没有别的本事
ตัวอย่างประโยค
你要能超过我,就算你有本事。
孙悟空本事再大,也跳不出如来佛的手掌。
ข้อสังเกต คือ ถ้าเราใช้ “本事” มาทำหน้าที่เป็นบทขยายนาม/กรรม หรือเป็น 定语 จะใช้ “本事” โดดๆ ไม่ได้ เช่น
“本事的人” ต้องใช้เป็น “有本事的人” จึงจะถูกต้อง
นอกจากนั้น กรณีที่เป็นการสื่อสารที่เป็นทางการ เราจะไม่ใช้ “本事” (เพราะ “本事” เป็นภาษาพูด หรือภาษาปาก) เช่น
领导鼓励这些孩子们努力学习,掌握为人民服务的本领。 ประโยคนี้ไม่ควรใช้ “本事” ควรใช้เป็น “本领“
CR.Gunthasith Lertpraingam