Site icon ENLIGHTENTH

夕 xī ตอนที่ 2 (名、外、梦、飧)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เราก็จะมาต่อกันที่อักษร 夕    เบื้องต้นเราก็ได้รู้กันแล้วว่าอักษร 夕 หมายถึงยามพลบค่ำ โพล้เพล้
ส่วนอักษรที่ใช้ 夕 ที่วันนี้จะพูดถึงก็คือ 名、外、梦、飧

名  míng  ชื่อ นาม  ชื่อเสียง

ในสมัยโบราณเวลายามพลบค่ำลงก็จะต้องป้องกันตัวเอง เพราะยามค่ำคืนอาจมีขโมยขโจร ดังนั้นจึงต้องขานชื่อถามบุคคลที่เราเจอเพื่อเชคให้แน่ใจว่าชื่อแซ่ถูกต้อง ใช้อักษร  夕  แทนเวลาค่ำ และใช้อักษร   口  (ปาก) แทนการขานชื่อ
ลื่อสีตี่เตี๊ยง??? (ผิดๆๆ)  หนี่ ซื่อ เสย ย่าาา?  你还谁呀?  ฝั่งตรงข้ามได้ฟังชื่อก็จะบอกชื่อตนเอง และอธิบายบายต่อว่าเป็นใคร เช่น สมชาย แซี่ลี้ ลูกเจ้กิมฮวย  เป็นต้น  พอได้ยินดังกล่าวเจ้าบ้านจึงเปิดประตูให้

อักษรกระดองเต่าเขียนเป็น    จินเหวิน เป็น   และอักษร จ้วน       อักษร 名 เป็นอักษรแสดงความหมาย คือ คนสองคนกำลังกล่าวถามชื่อ (口) ในเวลาพลบค่ำ (夕)

เดิมทีอักษร 名 หมายถึง “การเปล่งชื่อของตนเองออกมา”  ภายหลังความหมายกลายเป็น  “คำที่หมายถึงตน เอกลักษณ์ของตนหรือชื่อ”  คำที่เกี่ยวข้องกับ 名 เช่น  地名 名声 名人  เป็นต้น   ส่วนอักษรที่ใช้ 名 ประกอบเป็นตัวหนังสือ (ใช้ 名 เป็นเสียงอ่านโดยอาจไม่เกี่ยวข้องกับความหมาย)   เช่น  铭  茗  酩  เป็นต้น


อักษรตัวต่อมาที่เราจะเรียนกันก็คือ

外 wài  ด้านนอก / ข้างนอก / นอกเหนือ / ต่าง / อื่น ๆ

อักษรจินเหวิน   และจ้วนเหวิน   ประกอบด้วยตัวอักษร 夕 (พลบค่ำ)    และอักษร 卜 ( bǔ การเสี่ยงทาย ทำนาย)

外 เป็นอักษรแสดงความหมาย หมายถึงการทำนายอนาคตขณะที่ตะวันกำลังลับขอบฟ้า (เทเลทับบี้บอกลา~~~)

หลังจากสมัยของราชวงศ์ซาง บรรดาเจ้าผู้ครองนครแคว้นต่าง ๆ เวลาเจอเรื่องปวดเฮดก็จะทำนายด้วยการปั่นกิ่งไม้บนกระดองเต่าที่เผามาจนร้อน  แล้วดูรอยร้าวบนกระดองเต่า เพื่อเป็นการถามไถ่เทพยดาฟ้าเบื้องบ้นว่างวดนี้จะออกตัวไหน (ถุ๊ย…)   ปกติแล้วการปู่กว้า 卜卦 จะทำกันตอนกลางวัน แต่ทว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉนเช่นมีชนต่างเผ่ามาประชิดขอบชายแดน แล้วต้องหาวิธีแก้ไข กษัตริย์ก็จะต้องถามฟ้าเบื้องบน  และการถามฟ้าเบื้องบนก็จะต้องทำตอนที่ 月 พระจันทร์ขึ้นแล้ว เวลาที่เร็วที่สุดคือตอนพลบค่ำ   ดังนั้น 外  จึงสื่อความหมายถึง “ชายแดน” “ชายขอบ”   ประกอบเป็นคำก็เช่น  外国   外宾  外来  เป็นต้น


ตัวต่อมาที่ใช้ 夕 ประกอบ คือ

梦  夢   mèng  ฝัน

ฟังเพลงกันก่อน

เวลากลางคืน ก็จะง่วง เราก็จะนอน หนังตามันก็จะหย่อน พอหนังตาหย่อน มันก็จะฝัน

ใช้อักษร 夕 แทนเวลากลางคืน   ใช้  แทนคนหนังตาปิด

อักษรกระดองเต่าเขียนเป็น 

 หมายถึง เตียง 牀  เตียงไงนิ?  

โอเค….. เตียงก็เตียง

ว่าไป ค้นดูการสืบสร้างเสียงทั้ง 广韵 และนักภาษาศาสตร์แต่ละท่าน คำว่า 牀 ออกเสียงว่า

Karlgren     dʐʱi̯aŋ

王力 dʒĭaŋ

李榮 dʒiaŋ

邵榮芬 dʒiɑŋ

鄭張尚芳 dʒɨɐŋ

潘悟雲 dʐiɐŋ

古韻羅馬字 zriang

有女羅馬字 driang

上古 zraŋ

เออ เจรียง   เตียง จริง ๆ ด้วย ร่วมรากกันมานานก็งี้

กลับมาที่ 梦

ตัวข้าง ๆ ของ 梦 คือ  รูปคนที่ง่วงจนหนังตาปิด 

ประกอบกันเป็น    คือ #คนง่วง3000BC   ง่วงจนต้องพยูงหนังตาไปที่เตียง

จ้วนซูเขียนเป็น  และ  เป็นภาพของดวงตาที่ห้อยลงมาจนปิด ส่วนด้านล่างเป็น

อักษร คน (人    คน เขียนแบบนี้ก็ได้  แต่สำหรับประกอบเป็นอักษรก็จะกลมๆ หน่อย) รวมเป็น “คนที่นอนหลับอยู่บนเตียงแล้วก็นอนหลับฝัน”  จึงแปลว่า “ฝัน”  夢  อักษรย่อเป็น 梦  แต่พอเขียนย่อเป็น  梦  เราก็จะดูไม่ออกว่ามันคือ รูป “คนที่นอนหลับอยู่บนเตียงแล้วก็นอนหลับฝัน”

ใน 汉字宫 เค้าอธิบายเป็น หลับฝัน ฝันหลากหลายเหมือนต้นไม้ 林 อธิบายให้เด็กจำง่าย ๆ


ตัวสุดท้ายคือ 飧  sūn  คือ อาหารเย็น

 ประกอบด้วย  夕 หมายถึงเวลาค่ำ และ (食 เป็นรูปของการตักอาหารเข้าปาก) ดังนั้น 飧 จึงแปลว่าการกินอาหารเย็น