“做”、”干”、”搞” และ “弄”

1. “” จะใช้กับ “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่มีขั้นตอน/การปฏิบัติที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนว่าต้องเริ่มจากทำอะไรก่อนหลัง ต้องเริ่มจากขั้นตอนไหน ขั้นตอนถัดๆ ไปต้องทำอะไรบ้าง เช่น ทำอาหาร, ทำการบ้าน, ทำการผ่าตัด ฯลฯ เช่น


做饭/做菜

做作业/做功课

做衣服

做手术


” สามารถใช้กับ “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่ไม่ระบุขั้นตอน/การปฏิบัติที่ชัดเจนได้ด้วย กรณีนี้กรรมของ “” มักจะเป็นคำที่สื่อ หรือมีนัยของคำว่า “工作” หรือ “事情” เช่น


做学问

做生意/做买卖

做工/做工作

做好事*

做实事*

做事情*


*ดูเพิ่มเติมในข้อ 2.


” สามารถใช้ในความหมายของ “” หรือ “担任” คือ “เป็น“, “ทำหน้าที่“, “รับหน้าที่” อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น


做官儿

做客

做总编辑

做翻译

做代表

做董事长


” สามารถใช้ในแง่การสร้าง หรือผูกสัมพันธ์ระหว่างคน เช่น เป็นเพื่อนกัน, เป็นญาติพี่น้องกัน และการจัดงาน/กิจกรรมบางอย่าง เช่น


做朋友

做亲家


做生日

做寿



2. “” จะใช้กับ “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่ไม่ระบุขั้นตอน/การปฏิบัติที่ชัดเจน หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง กรรมของ “” จะเป็น “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่ไม่ระบุ หรือเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น


干活

干一点儿好事*


*“事(情)” เป็นคำที่มีความหมายในเชิงนามธรรม และไม่เจาะจงชัดเจน สามารถเป็นกรรมของทั้ง “” (ตัวอย่างในข้อ 1.) และ “” ได้


ข้อแตกต่างคือ ถ้า “事(情)” เป็นกรรมของ “” จะมีบทขยายนาม (定语) วางอยู่หน้า “事(情)” หรือไม่ก็ได้ เช่น


做事(情)

做一些好事(情)


แต่ถ้า “事(情)” เป็นกรรมของ “” โดยทั่วไปจะมีบทขยายนาม (定语) วางอยู่หน้า “事(情)” เช่น


多干一些实事


ส่วน “” จะไม่ใช้กับ “事(情)” (“事(情)” เป็นกรรมของ “” ไม่ได้)


นอกจากนั้น “” มักใช้ร่วมกับ “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่ต้องใช้ “แรงงาน/แรงกาย” (ต้องออกแรง) โดยไม่เจาะจงว่า “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” นั้นเป็นงานอะไร ประเภทไหน เช่น


苦干

拼命地干

干得满头大汗



3. “” จะใช้กับ “งาน/การกระทำ/กิจธุระ” ที่ต้องใช้ “สมอง/สติปัญญา” มีการคิดการวางแผน มีรูปแบบวิธีการทำแน่นอน กรรมของ “” จะเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือมีความหมายค่อนไปทางนามธรรม เช่น


搞革命

搞卫生

搞设计

搞实验

搞鬼

搞手段

搞花样

搞阴谋


” สามารถใช้แทน “คำกริยา” อื่นๆ ได้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น


搞关系 (=拉关系)

搞方案 (=设计方案)

搞卫生 (=打扫)


ในบางกรณี กรรมของ “” สามารถเป็นวัตถุสิ่งของที่เห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน แต่กรณีนี้ “” จะมีนัย หรือสื่อความหมายจำเพาะว่า “ทำโดยใช้ หรืออาศัยวิธีการ/เทคนิค” อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้สิ่งนั้น (กรรม) มา เช่น


我搞来了一点儿水,你先喝一点儿吧。 

搞来一份资料

搞到票了



4. “” กับ “” ยังสามารถใช้ในความหมายว่า “ทำ/ประกอบอาชีพ” โดยที่ “กรรม (อาชีพ)” ของ “” มักเห็นเป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจนกว่า “กรรม (อาชีพ)” ของ “” เช่น


干木匠

搞文学

搞美术

搞业务


5. “” ความหมายเหมือน “” และ “” (เมื่อใช้ในบริบทเดียวกัน) ต่างกันที่ “” เป็นภาษาปาก (ภาษาพูด) ส่วน “” และ “” ใช้ในภาษาเขียนได้ด้วย ทั้งนี้ “” จะไม่ใช้ในความหมายว่า “ทำ/ประกอบอาชีพ” เช่น


弄饭/做饭

弄点儿菜/搞点儿菜

弄到票了/搞到票了

弄坏了/搞坏了

弄清楚/搞清楚


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!