ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวปลังมีถิ่นที่อยู่อาศัยไม่แน่นอนชัดเจน แต่สามารถแบ่งคร่าวๆได้สองบริเวณคือเขาปลังเหมิ่งห่าย (勐海Měnɡhǎi)ในสิบสองปันนา และบริเวณพื้นที่เมืองซีติ้ง(西定Xīdìnɡ) ต่อไปยังเขตเมืองปาต๋า(巴达Bādá) ชาวปลังในเขตเมืองหลินชาง(临沧Líncānɡ)และเมืองซือเหมา(思茅Sīmáo) ได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นและชนเผ่าอื่นที่เจริญกว่า ทำให้สังคมปลังในบริเวณดังกล่าวนี้พัฒนาไปมากกว่าบริเวณอื่น เข้าสู่ระบบสังคมแบบศักดินาเจ้าของที่ดิน
ชาวปลังที่สิบสองปันนามีระบบการปกครองคล้ายกับระบอบสังคมนิยมในปัจจุบัน คณะผู้บริหารหมู่บ้านมาจากกลุ่มคนต่างสายเลือด การผลิตเครื่องมือ สร้างบ้านเรือน สร้างคอกสัตว์จัดเป็นงานส่วนตัวภายในครอบครัว แต่การครอบครองที่ดินมีการจัดแบ่งเป็นสามระบบคือ ที่ดินที่เป็นสมบัติของครอบครัวบรรพบุรุษ ที่ดินที่เป็นสมบัติของสาธารณะ และที่ดินเป็นของส่วนตัว ที่ดินที่เป็นสมบัติของครอบครัวคือสมบัติที่เป็นมรดกสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษของตน ภาษาปลังเรียกว่า “เจี๋ยกุ่น” (戛滚Jiáɡǔn) หมายถึงสมบัติที่สร้างขึ้นรวบรวมขึ้นจากบรรพบุรุษ ได้แก่ ที่ดินที่อยู่รอบๆบริเวณครอบครัวของตน ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ทุ่งหญ้า ถือเป็นสมบัติรวมของตระกูล โดยในฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ผู้อาวุโสที่สุดในตระกูลจะทำหน้าที่แบ่งให้สมาชิกในครอบครัวโดยถือเอาการตั้งครอบครัวใหม่เป็นเกณฑ์การแบ่ง ผลผลิตที่ทำได้เป็นของตนเอง การครอบครองที่ดินในลักษณะนี้เป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์ใช้ที่ดินเท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายกันได้ ที่ดินในบริเวณหมู่บ้านของชาวปลังที่อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านหรือจากครอบครัว ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้คือกรรมการประจำเผ่า สมาชิกกรรมการประจำเผ่ามีสิทธิ์ใช้ที่ดินดังกล่าว
ต่อมาระบบการถือครองที่ดินของชาวปลังพัฒนาไปอีกขั้น คือการสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองได้ ที่ดินที่เป็นที่นา ที่อยู่อาศัย สวนชา สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือถือครองกรรมสิทธิ์ได้ ผู้มีฐานะร่ำรวยสามารถครอบครองที่ดินได้ การเลือกหัวหน้าหมู่บ้านและคณะกรรมการจะคัดเลือกจากผู้ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าและมีกำลังการผลิตมากกว่า ซึ่งในขณะนั้นคือชาวไตเป็นกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่กว่าชาวปลังมาก ชาวไตจึงมีอำนาจในการควบคุมการเก็บภาษี และเกณฑ์แรงงาน แต่ผลผลิตการเกษตรของชาวปลังในขณะนั้นต่ำมาก ผู้ที่มีอำนาจทางเศรษกิจที่เหนือกว่าจึงมีสิทธิ์บีบบังคับซื้อขายผลผลิต จำนองผลผลิต สินเชื่อในราคาที่ต่ำมาก ชาวปลังจึงอยู่ในสภาพแร้นแค้น ยากจนไม่มีทางลืมตาอ้าปากได้เลย ซ้ำร้ายกว่านั้นเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกว๋อหมินตั่งร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน ผู้มีฐานะระดับสูงกดขี่ย่ำยี ขูดรีดภาษีซ้ำซ้อน ยิ่งทำให้สภาพชีวิตและสังคมของชาวปลังตกต่ำย่ำแย่กว่าเดิม พืชหลักที่ชาวปลังผลิตได้แก่ ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ชาและสำลี
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนแปลงระบบการถือครองที่ดินแบบเดิมที่มีเจ้าของหลักเป็นผู้ดูแลเก็บภาษี ขูดรีดประชาชน โดยจัดให้ชาวปลังกลับไปใช้ระบบการถือครองที่ดินแบบเดิมที่เคยมีมาคือการมีกรรมสิทธิ์ในการใช้ที่ดิน ตั้งแต่ปี 1956 เป็นต้นมา ภายใต้ความช่วยเหลือและการปรับเปลี่ยนเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจของชาวปลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาระบบชลประทานหมู่บ้าน การพัฒนาระบบการผลิต ผลผลิตของชาวปลังกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อของจีน นั่นก็คือ “ชาผูเอ่อร์” (普洱茶Pǔ’ěr chá) ระบบการค้าขายในสังคมชาวปลังก็พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการก่อตั้งบริษัทการค้า ร้านค้าขึ้นในชุมชนปลังมากมาย ผลผลิตของชาวปลังก็มีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย มีการก่อตั้งระบบการสาธารณสุข การศึกษา ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปลังดีขึ้น และทัดเทียมกับชนเผ่าอื่น
การแต่งกายของชาวปลังที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ลักษณะเด่นคล้ายๆกันคือ สวมเสื้อคล้ายเชิ้ตแขนสั้นไม่มีปกและสวมกางเกงกว้างสีดำ ใช้ผ้าดำพันศีรษะ นอกจากนี้ยังนิยมสักลวดลายตามร่างกาย ส่วนการแต่งกายของสตรีคล้ายคลึงกับชาวไต คือสวมเสื้อแขนกระบอกไม่มีปก นุ่งผ้าถุงสีแดง สีดำหรือสีเขียว เกล้าผมแล้วพันผ้ารอบศีรษะ ส่วนชาวปลังที่อาศัยอยู่ที่เมืองจิ่งตง(景东Jǐnɡdōnɡ) ส่วนใหญ่แต่งกายเหมือนชาวฮั่น
อาหารหลักของชาวปลังคือข้าว ผสมกับข้าวโพดและอาหารจำพวกถั่วต่างๆ รู้จักทำเหล้าหมักจากข้าว สตรีชาวปลังชอบเคี้ยวหมาก เพราะจะทำให้ฟันกลายเป็นสีดำจะถือว่าสวยงามมาก ชาวปลังก่อสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ แบ่งเป็นชั้นบนกับชั้นล่าง ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยและชั้นล่างเป็นคอกเลี้ยงสัตว์
งานศพของชาวปลังในทุกท้องที่คล้ายคลึงกัน เมื่อมีคนตายจะนิมนต์พระมาสวดส่งวิญญาณ ครบสามวันจึงเคลื่อนศพไปฝังยังสุสานที่แบ่งแยกเป็นส่วนตัวของแต่ละสายตระกูล ผู้ที่ตายโดยวิธีไม่ปกติ เช่น อุบัติเหตุ ถูกฆ่าจะทำพิธีศพโดยการเผา
เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
阿昌族เผ่าอาชาง
布依族 เผ่าปู้อี (ปูเยย)
德昂族 เผ่าเต๋ออ๋าง
鄂伦春族 เผ่าเอ้อหลุนชุน
仡佬族 เผ่าเกอลาว
回族 เผ่าหุย
柯尔克孜族 เผ่าเคอร์กิส
珞巴族 เผ่าลั่วปา
蒙古族 เผ่ามองโกล
怒族 เผ่านู่
畲族 เผ่าเซอ
土族 เผ่าถู่
乌兹别克族 เผ่าอุสเบค
水族 เผ่าสุ่ย
锡伯族 เผ่าซีโป๋
瑶族 เผ่าเหยา
白族 เผ่าป๋าย
朝鲜族 เผ่าเฉาเสี่ยน
侗族 เผ่าต้ง
俄罗斯族 เผ่ารัสเซีย
哈尼族 เผ่าฮานี
基诺族 เผ่าจีนั่ว
拉祜族 เผ่าลาหู่ (ชาวมูเซอ)
满族 เผ่าหม่าน
苗族 เผ่าเหมียว
普米族 เผ่าผูหมี่
土家族 เผ่าถู่เจีย
彝族 เผ่าอี๋
保安族 เผ่าป่าวอาน
达斡尔族 เผ่าต๋าโว่ร์
东乡族 เผ่าตงเซียง
鄂温克族 เผ่าเอ้อเวินเค่อ
哈萨克族 เผ่าคาซัค
京族 เผ่าจิง
黎族 เผ่าหลี
毛南族 เผ่าเหมาหนาน
仫佬族 เผ่ามู่หล่าว
羌族 เผ่าเชียง
塔吉克族 เผ่าทาจิค
佤族 เผ่าว้า
布朗族 เผ่าปลัง
傣族 เผ่าไต
独龙族 เผ่าตรุง
高山族เผ่าเกาซาน
赫哲族 เผ่าเฮ่อเจ๋อ
景颇族 เผ่าจิ่งโพ
傈僳族 เผ่าลี่ซู
门巴族 เผ่าเหมินปา
纳西族 เผ่าน่าซี
撤拉族 เผ่าซาลาร์
塔塔尔族 เผ่าทาทาร์
维吾尔族 เผ่าอุยกูร์
裕固族 เผ่ายวี่กูร์
藏族 เผ่าทิเบต
壮族 เผ่าจ้วง