Site icon ENLIGHTENTH

เมื่อ 子 กลับหัว (疏、流、毓、育、弃、充)

子 แปลว่า เด็ก ลูก เมื่อกลับหัวหัวมา ก็จะเป็น ซึ่งเป็นรูปของเด็กที่เพิ่งคลอดออกมา อักษร 子 เมื่อพลิกกลับมาก็จะเป็น เนื่องจากตอนคลอด เด็กจะเอาหัวออกมาก่อน ดังนั้น อักษรหัวตัวนี้ จึงแทนความหมายถึงเด็กที่เพิ่งคลอดนั่นเอง

มีอักษรหลายตัว เช่น 疏、流、毓、育、弃、充  ที่ประกอบด้วยอักษรหัว โดยล้วนมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กทารก

 

จากรูปของตัวอักษรตัวนี้ก็คือ เท้าของแม่ () ที่กางออกตอนที่จะคลอดลูก  และจากนั้นลูก () จึงคลอดออกมาพร้อม น้ำคร่ำ ()

 

ดังนั้น 疏 จึงมีความว่า สะดวก โล่ง ลอกออก ว่างเปล่า

疏密(shūmì)ความหนาแน่นและความเบาบาง / ระยะช่องว่างระหว่างกัน
疏导(shū dǎo)ขุดลอก (คูคลอง) / เอาสิ่งกีดขวางการจราจรออกไป
疏忽(shū hū)สะเพร่า ประมาทเลินเล่อ
疏懒(shū lǎn)เฉื่อยเมือยและสะเพร่า
疏散(shū sàn)กระจัดกระจาย อพยพ
疏松(shū sōng)ร่วน ไม่เกาะติดกันแน่น
疏浚(shū jùn)ขุดลอก(คลอง)
疏漏(shū lòu)ประมาณเลินเล่อ
疏落(shū luò)หรอมแหรม บางตา ห่างๆกัน
疏远(shūyuǎn)ห่างออกไป / ห่างเหิน / ไม่สนิท
疏通(shū tōng)ลอก ขุดลอก / ไกล่เกลี่ยให้สองฝ่ายปรับความเข้าใจกัน

ในอดีตผู้หญิงท้องจำนวนมากก่อนยังต้องทำงานหนัก หรือเกิดอุบัติเหตุจนทำให้คลอดก่อนกำหนด    เมื่อน้ำคร่ำ () แตก และเด็ก () ไหลออกมา

อักษรจินเหวินจึงเขียนเป็น และอักษรจ้วนเป็น เป็นรูปของเด็กที่แท้งออกมา เขียนเป็นภาพเด็กไหลออกมาพร้อมกับน้ำคร่ำ โดยเด็กยังไม่มีพัฒนาการเต็มที่

ดังนั้น 流 ความหมายเดิมคือ แท้งลูก (流产)แต่ปัจจุบันความหมายครอบคุลมถึงการไหลของของเหลวต่าง ๆ ด้วย

流亡(liú wáng)ลี้ภัยทางการเมือง ถูกเนรเทศ
流会(liúhuì)การประชุมที่ไม่สามารถจัดขึ้นได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม
流传(liú chuán)เล่าสืบต่อกันมาเล่าตกทอดกันมา
流体(liú tǐ)ของไหล
流利(liú lì)พูดคล่อง คล่อง ไม่ติดขัด
流播(liúbō)แพร่กระจาย

 


  เป็นรูปของ เด็ก () ที่ไหลออกมา () มากมายเหมือนเส้นผมของแม่ (ห๊ะ ?? จริงจัง?) 

อักษรกระดองเต่า และอักษรจินเหวิน แสดงให้เห็นว่า เด็ก () ไหลออกมา () จากร่างกายของผู้หญิง ( )  อักษรจินเหวิน () และจ้วน () เปลี่ยนอักษรผู้หญิง เป็น อักษรคำว่าแม่ (女)⇝(母)

 

คนในยุคโบราณชอบมีลูกมาก เพื่อช่วยกันทำให้เผ่าพันธุ์ของตนเองแข็งแรงขึ้น ดังนั้น อักษรจ้วนอีกตัวหนึ่ง  จึงเติมเส้นผมไปบนตัวอักษรและเปลี่ยน(母)  เป็น (每)   สื่อความหมายว่าเด็กเกิดออกมามากเหมือนกับเส้นผมของแม่นั่นเอง ( T 0T)     ดังนั้น 毓 จึงมีความหมายว่า สืบพันธ์ุ การดำเนิดบุตร เลี้ยงดูบุตร

 


เด็ก ที่เกิดมา คือ เนื้อ 月 ก้อนหนึ่งของแม่ 

คำโบราณกล่าวว่า “ลูกก็คือเลือดเนื้อของมารดา” ดังนั้นจึงต้องรกษาดูแลให้ดี

育 จึงหมายถึงอบรมเลี้ยงดู เช่น 养育 / 教育 / 体育 / 抚育


2 มือ () อุ้มเด็กที่เพิ่งคลอด () ไปใส่ไว้ใน ปุ้งกี๋ ()

อักษรกระดองเต่า คือรูปของการใช้มืออ้มเด็กไปใส่ในปุ้งกี๋ เพื่อที่จะเอาเด็กไปทิ้ง

คือ ปุ้งกี๋ ( ประกอบเป็นอักษร 其  基   算 )

弃 จึงมีความหมายว่า ทิ้ง ละทิ้ง เช่น  放弃 / 废弃 / 不离不弃

บรรพบุรุษของราชวงศ์โจวชื่อ 弃  โดยบันทึกที่มาของชื่อไว้ใน 《史记》ว่า วันหนึ่งนางสนมของตี้คู่ไดไปเห็นรอยเท้าของยักษ์เข้า จึงทำให้นางตั้งครรภ์ เมื่อลูกออกมานางคิดว่าไม่เป็นมงคล จึงนำลูกไปทิ้งไว้บนถนนแคบ ๆ กะให้รถม้าเหยียบตาย แต่ม้าและวัวกลับหลีกทางให้เด็กน้อย   นางจึงเอาเด็กไปทิ้งในป่า แต่บรรดานกกลับคาบใบไม้กิ่งไม้มาปกป้องให้  นางจึงต้องจำใจเลี้ยงลูกไป และตั้งชื่อว่า 棄  เมื่อเติบใหญ่ก็เก่งกล้าสามารถ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม โดยเป็นขุนนางด้านกสิกรรมของเหยาตี้

อักษรจีนตัวย่อของ 棄 คือ 弃 ซึ่งเหลือแค่มืออุ้มลูก ไม่มีปุ้งกี๋ตรงกลาง จึงทำให้ไม่รู้ความหมายจากตัวอักษรว่าเป็นการทอดทิ้งลูก ไม่ใช่อุ้มลูก

 


  เด็ก เติบโตเป็นคน (儿)

อักษรจ้วน แสดงความหมายว่าเด็กได้เติบโตขึ้น แสงความหมายถึงท่าทางการเดิน

充 จึงหมายถึง เติมเต็ม เติม