พระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างขึ้นพร้อมสถาปนากรุงรัตนโกสินิทร เมื่อแรกสร้างประกอบด้วย ๓ ส่วน คือพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ ๑๓๒ ไร่ ในอดีตบริเวณที่ประทับของพระมหากษัตริย์มีการสร้างวัดไว้ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังด้วย เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ภายในที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง จึงมีแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับในอดีต โดยมีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตก ทำให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานทางตะวันตกมากขึ้น
หมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมชื่อพระที่นั่งอินทราภิเษกมหาปราสาท เป็นพระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีการมงคล และบำเพ็ญพระราชุกศลต่าง ๆ
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท อยู่ใกล้กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ใช้เป็นที่ประทับทรงพระราชพาหนะ และประทับเปลื้องเครื่องในงานพระราชพิธีที่มีขบวนแห่
พระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่บรรทม และทรงใช้เป็นที่ชุมนมุมหาสมาคมสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารฝ่ายในเข้ารับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นอกจากนี้ เป็นที่สรงน้ำพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ก่อนที่จะประดิษฐานพระ บรมโกศในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะชั้นพระราชาธิบดี หรือชั้นประมุขของรัฐ นอกจากนี้มีหมู่พระที่นั่งสำคัญอื่น ๆ เช่น พระที่นั่งราชกรัณยสภา พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์ มโหฬาร พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ฯล
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวง อยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐาน พระมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๓๒๗ และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙ ตลอดทุกรัชกาล ภายในพระอุโบสถและระเบี่ยงรอบวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสวยงามมาก เรื่อง รามเกียรติ์ สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในวัด ได้แก่ พระปรางค์ ๘ องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครัวดจำลอง ปราสาทพระเทพบิดร ฯลฯ
พระบรมมหาราชวังเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ปิดขายบัตรเวลา ๑๕.๓๐ น. ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม ๕๐๐ บาท (โปรดแต่งกายสุภาพ) สอบถามข้อมูล โทร.๐ ๒๖๒๓ ๕๕๐๐ ต่อ ๓๑๐๐, ๐ ๒๒๒๔ ๓๒๙๐ www.palaces.thai.net
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ อยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒ ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะภูมิปัญญา วัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย และสิ่งทอในการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนเกี่ยวกับผ้าและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. (ปิดจำหน่ายบัตร เวลา ๑๕.๓๐ น.) ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๗๕ บาท ผู้สูงอายุ ( ตั้งแต่ ๖๕ ปี ) ๔๐ บาท นักเรียน นักศึกษา อายุ ๑๒-๑๘ ปี (แสดงบัตร) ค่าเข้าชม ๒๕ บาท เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๙๔๒๐, ๐ ๒๒๒๕ ๙๔๓๐ โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๙๔๓๑ www.qsmtthailand.org
การเดินทาง รถโดยสารประจำทาง สาย ๑, ๓, ๙, ๑๕, ๒๕, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๔๓, ๔๔, ๕๓, ๖๔, ๘๐, ๘๒, ๙๑, ๒๐๓, ๕๐๓, ๕๐๘
สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ เป็นลานโล่งอยู่ใกล้กำแพงพระราชวังหลวง และติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ บริเวณนี้เป็นที่ทำนาของประชาชน และใช้เป็นที่ตั้งพระวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วเมรุเผาศพของเจ้านาย จึงเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่านามนี้ไม่เป็นมงคล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า ท้องสนามหลวง และยกเลิกการทำนาในบริเวณนี้ ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงป้อมปราการของวังหน้าด้านทิศตะวันออก และขยายพื้นที่สนามหลวงให้กว้างดังเช่นปัจจุบัน สนามหลวงมีพื้นที่ ๗๘ ไร่ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเจ้านายชั้นสูง รวมทั้งเป็นที่ประกอบพระราชพิธีเกี่ยวกับกีฬา ทั้งทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นมะขามไว้โดยรอบสนามหลวง จำนวน ๓๖๕ ต้น ปัจจุบันได้เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ งานประเพณีสงกรานต์ ในช่วงวันสำคัญทางศาสนาได้มีการจัดกิจกรรมพุทธศาสนาโดยรอบท้องสนามหลวง รวมทั้งการจัดงานพิธีสำคัญต่าง ๆและงานสวดมนต์ข้ามปีในวันปีใหม่
ศาลหลักเมือง อยู่บริเวณใกล้วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมืองซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาติไทย สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายในเสาหลักเมืองเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๕ เซนติเมตร สูง ๒๗ เซนติเมตร สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๔ แทนของเดิมที่ชำรุด เป็นไม้ชัยพฤกษ์ สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานี้เป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว อยู่ภายในอาคารยอดปรางค์ ในปัจจุบันภายในศาลหลักเมืองมีเทวรูปสำคัญ คือเทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมืองพระทรงเมืองเจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จัดแสดงบริเวณสนามด้านหน้าและด้านข้างของกระทรวงกลาโหม โดยเรียงลำดับปืนใหญ่ตามยุคสมัยของปืน เริ่มจากปลายกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินิทร รวม ๔๐ กระบอก เปิดทุกวัน ไม่เสียค่าเข้าชม
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่บริเวณชั้น ๒ และชั้น ๓ อาคารราชวัลลภ ภายในกรมการรักษาดินแดน ตรงข้ามวัดโพธิ์ ถนนเจริญกรุง จัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เช่น ชุดฉลองพระองค์ พระมาลา รองพระบาท อาวุธต่าง ๆในสมัยนั้น และประวัติความเป็นมาของกองกิจการเสือป่า ซึ่งทรงก่อตั้งและพัฒนามาเป็นนักศึกษาวิชาทหารรักษาดินแดนในปัจจุบัน ภายในกรมการรักษาดินแดนสามารถชมศาลเจ้าพ่อหอกลองเปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๔๘๔๐
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม อยู่ติดด้านเหนือสวนสราญรมย์ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่เศษ เป็นวัดที่มีเนื้อที่เล็กมาก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นวัดธรรมยุติ และเป็นไปตามโบราณประเพณีว่า ในราชธานี้ต้องมีวัดสำคัญ ๓ วัด จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อสวนกาแฟหลวงในรัชกาลที่ ๓ สร้างวัดเล็ก ๆ ขึ้นวัดหนึ่ง พระราชทานนามว่า วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม ต่อมาทรงเปลื่ยนชื่อเปืน วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือพระวิหารหลวง มีภาพจิตรกรรมฝาฝนังเกี่ยวกับพระราชพิธีสิบสองเดือน ภาพสุริยุปราคา
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดเกาแก่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และนำตำราวิชาการด้านต่าง ๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือว่าวัด
โพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ วัดโพธิ์มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว ๔๖ เมตร สูง๑๕ เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการอันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อยู่ที่ถนนเฟื่องนคร เป็นวัดที่มีเสมาขนาดใหญ่ทำเป็นเสาศิลาสลักรูปเสมา ธรรมจักรอยู่บนเสา อยู่ที่กำแพงวัดทั้ง ๘ ทิศ บริเวณ วัดเดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๒ (สมัยรัชกาลที่ ๕) เสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาพร้อมอัญเชิญ พระพุทธนิรันตราย มาประดิษฐานไว้ ในพระอุโบสถ ศิลปกรรมที่สำคัญในวัด ได้แก่ บาน ประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรัก ประดับมุกเป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก
มิวเซียมออฟสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อยู่ถนน สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง ท่าเตียน บริเวณ อาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม ตัวอาคารหลังนี้ได้รับ รางัวลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จากคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลป สถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรม ราชูปถัมภ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านชาติพันธุ์ วิทยา มานุษยวิทยา และสาขาอื่น ๆ ในรูปแบบของ นิทรรศการถาวร ถอดรหัสไทย ประกอบด้วย ๑๔ ห้องนิทรรศการโดยใช้สื่อเทคโนโลยีทันสมัยบอก เล่าเรื่องราวทำให้ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน ตลอดการเข้าชม นำเสนอการเรียนรู้มุมมองความ เป็นไทยจากอดีตและพัฒนาการมาสู่ปัจจุบัน ใน ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี สังคม การ แต่งกาย อาหารการกิน สถาปัตยกรรม เป็นต้น เช่น เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และสิ่งแสดงความ เป็นไทยสมัยต่าง ๆ เรื่องของชาติ ศาสนา พระมหา กษัตริย์ ความเป็นไทยผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย บรรยากาศของห้องเรียนซึ่งเปลื่ยนผ่านรูปแบบไปตามแต่ละช่วงของสังคมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึงช่วง ของสังคมโลกาภิวัตน์ ที่มาของอาหารไทยขึ้นชื่อชนิด ต่าง ๆใช้เทคโนโลยีคิวอาร์สแกน และโมชั่นกราฟิก สีสันสวยงาม พร้อมจัดทำระบบออดิโอไกด์ (Audio Guide) ๕ ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย อังกฤษ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับผู้มีความ บกพร่องทางด้านร่างกาย เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๘.๐๐ น. (ปิด วันจันทร์) ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐๐ บาท ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป และเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ไม่เสียค่า เข้าชม ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๒๗๗๗ ต่อ ๔๑๑ www.museumsiam.org
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ อยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุตรงข้ามสนามหลวง ใกล้ ประตูทางเข้าพระบรมมหาราชวัง ก่อตั้งขึ้นเพื่อ รำลึกถึงศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียน ผู้ได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของ ประเทศไทย โดยจัดบรรยากาศคล้ายคลึงกับสมัยที่ ท่านเคยทำงานอยู่ รวมทั้งมีผลงานของศิลปินต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นแรก ๆ ของท่าน เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์ และ วันนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๖๑๖๒
วัดมหาธาตุยุวราชรังสีฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร อยู่ ริมสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ (ใกล้มหาวิทยาลัย ศิลปากร ) เป็นพระอารามหลวงฝ่ายมีหานิกายชั้นเอก เดิมชื่อวัดสลัก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่พร้อมพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า วัดินพพานาราม ต่อมาเปลื่ยน ชื่อเปืน วัดพระศรีสรรเพชญ์ เคยใช้เป็นที่สังคายนา พระไตรปิฏก หลังจากกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงเปลื่ยนนามพระอารามใหม่ ว่า วัดมหาธาตุ ส่วน คำว่ายุวราชรังสีฤษดิ์ มาเพิ่ม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หลังจากที่ทรงปฏิสังขรณ์ ภายในวัดมีสิ่งสำคัญ คือพระอุโบสถ พระวิหาร พระมณฑป วิหาร โพธิ์ลังกา หรือวิหารน้อย ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ มหาวิทยาลัยสงฆ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อยู่ถนน หน้าพระธาตุ เดิมสถานที่นี้เป็นวังหน้าของกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างขึ้นพร้อมกับวังหลวง มีพระที่นั่งที่สำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธ ศวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด เกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นที่ศาลา สหทัยสมาคม เรียกว่า มิวเซี่ยม จึงย้ายมาไว้ที่วังหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งปัจุบันพื้นที่บาง ส่วนี้เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริเวณข้าง เคียงมี โรงเรียนช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ และ โรงละครแห่งชาติ อยู่ในบริเวณเดียวกัน นอกจาก นี้ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่วัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ ภายในบริเวณวังหน้าใกล้โรงเรียนช่างศิลป์ วัดนี้ เรียกว่า วัดพระแก้ว วังหน้า พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่าง ๆ อันเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของไทย และประเทศเพื่อนบ้าน พิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ประเภท โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว จาก ผลงาน โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนเพื่อ ส่งเสริมให้รู้จักคุณค่าวัฒนธรรมอันเป็นมรดกชุมชน ของตนเพื่อการท่องเที่ยว ในโครงการประกวด รางัวลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี ๒๕๔๕ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดให้เข้าชมวัน พุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์- อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ www.finearts.go.th
อนุสาวิริยทหารอาสา อยู่ฝั่งตรงข้ามมุมสนามหลวง ด้านเหนือใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นอนุสรณ์แก่ทหารไทยที่ไปร่วมรบในสมรภูมิ ยุโรป เมื่อครั้งสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมนี และได้ส่งทหารอาสาไปใน สมรภูมิ ในยุโรป เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ และเดินทางกลับ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยนำอัฐิทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวิริย นี้ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป อยู่ข้างสะพาน สมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า อดีตเป็นโรงผลิต เหรียญกษาปณ์ของไทย ปัจจุบันี้เป็นศูนย์รวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีไทย โบราณ และแบบสากลร่วมสมัยของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ มี ภาพเขียนสีน้ำมัน ฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ จัดแสดง เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์-วันอังคาร วันนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สอบถาม ข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๒๒๒๔, ๐ ๒๒๘๒ ๘๕๒๕
พิพิธภัณฑ์เหรียญ อยู่ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม โดยกรมธนารักษ์จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ เรียนรู้เกี่ยวกับเงินตราอันเป็นมรดกล้าค่าของแผ่นดิน บอกเลาบันทึกทางประวัติศาสตรู้ระบบเศรษฐกิจ จากอดีตสู่ปัจจุบัน โดยการจัดแสดงเหรียญกษาปน์ เงินตราของไทยและต่างประเทศผ่านรูปแบบของ นิทรรศการและนวัตกรรมสื่อเทคโนโลยี เช่น แอนิเมชั่น ๓๖๐ องศาบนผนังถ้ำฯลฯ สร้างความเพลิดเพลิน ในการชมและน่าเรียนรู้ในรูปแบบอันหลากหลาย ของเหรียญกษาปน์เงินตรานานาชนิดสวยงาม แปลกตา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๑๐.๐๐-๑๘.๐๐ น. สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๐๘๑๘, ๐ ๒๒๒๖ ๐๒๕๑ ต่อ ๒๒๐๙ การเดินทาง สามารถเดินจากถนนราชดำเนินเข้าถนน จักรพงษ์ โดยมีรถประจำทางผ่านถนนราชดำเนิน สาย ๒, ๑๕, ๔๒, ๔๗, ๒๐๓, ปอ. ๓๕, ๕๙, ๗๙, ๕๐๓, ๕๐๗, ๕๐๙, ๕๑๑, ๕๑๖ รถประจำทางผ่านถนน จักรพงษ์ สาย ๓, ๙, ๓๒, ๓๓, ๖๔, ปอ. ๖, ๓๐, ๕๒๔
พระที่นั่งและสวนสาธารณะสันติชัยปราการ อยู่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนพระอาทิตย์ รัฐบาลและ ประชาชนได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดข รัชกาลที่ ๙ ณ ป้อมพระสุเมรุ มีศาลาทรงไทยสวยงาม เป็นสถานที่จัดงานเทศกาล ประเพณีในบางโอกาส เช่นงานประเพณีสงกรานต์ งานลอยกระทง ฯลฯ ภายในบริเวณตกแต่งด้วย พรรณไม้มีบรรยากาศรื่นรมย์ มองเห็นทิวทัศน์แม่น้ำ เจ้าพระยา และสะพานพระราม ๘ จึงมีประชาชน ชาวไทยและชาวต่างประเทศย่านบางลำพูนิยมมา นั่งพักผ่อน
พิพิธบางลำพู อยู่ถนนพระอาทิตย์ ริมคลองบาง ลำพูอยู่ฝั่งเดียวกับสวนสันติชัยปราการและใกล้ ป้อมพระสุเมรุ เดิมเป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่ง แรกของประเทศไทย และเป็นโรงพิมพ์คุรุสภา เมื่อ เลิกโรงพิมพ์ฯ ได้ถูกทิ้งร้าง และจะมีการรื้อถอน ชาวบางลำพูได้ขอต่อกรมศิลปากร ให้ขึ้นทะเบียน สถานที่แห่งนี้เป็นโบราณีสถานเมือปี พ.ศ. ๒๕๔๓ กรมธนารักษ์จึงทำการบูรณะอาคารสถานที่เปิดเป็น พิพิธบางลำพูเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะ รัตนโกสินทร์ในรูปแบบของแหล่งเรียนรู้เชิงการศึกษา วัฒนธรรมชุมชน มีการออกแบบพื้นที่เป็น “ยูนิเวอร์ แซล ดีไซน์” เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการพร้อมจัดทำอักษรเบลล์สำหรับผู้พิการ ทางสายตา นอกจากนี้ มีเครื่องรับฟังการบรรยาย ๗ ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส จัดการแสดงเป็น ๒ ส่วนใน อาคาร ๒ หลัง คืออาคารไม้สัก และอาคารูปน ซึ่ง จัดแบ่งเป็นห้องนิทรรศการดังนี้ ห้องเอกบรมีองค์ ราชินี นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ นิทรรศการ ที่เกี่ยวข้องกับกรุงรัตนโกสินิทร จำลองกำแพงเมืองคู คลอง และป้อมปราการินทรรศการบอกเลาเรื่องราว ของวิถีชุมชนบางลำพูทั้งการค้าขาย ย่านอาหารขึ้น ชื่อแหล่งงานหัตถกรรม ย่านบันเทิงยามค่ำคืน รวม ทั้งประวัติผู้มีชื่อเสียงของบางลำพูเปิดวันอังคาร- อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๘.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์) โดยการเข้าชมต้องติดต่อรับบัตรัเข้าชมที่เคาน์เตอร์ ด้านหน้าอาคาร เปิดให้เข้าชมรอบละ ๓๐ นาทีรอบแรก เริ่มเวลา ๑๐.๐๐ น. รอบสุดท้ายเวลา ๑๖.๐๐ น. ไม่เสียค่าเข้าชม ชั้นที่ ๑ เข้าชมภายในวันที่ระบุตาม บัตรเข้าชม ไม่จำกัดเวลาชม อาคารไม้ และอาคาร ปูนชั้นที่ ๒ การเข้าชมเฉพาะรอบเวลาที่ระบุในบัตร สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๙๘๒๘ การเดินทาง รถโดยสารประจำทางสาย ๓, ๖, ๙, ๑๕, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๘๒, ๕๒๔ เรือ ด่วนเจ้าพระยา ธงสีส้ม จากท่าสะพานพระราม ๘ มาท่าพระอาทิตย์ ต่อรถโดยสาร หรือเดินี้ขนมาทาง ไปบางลำพู
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร อยู่ถนนจักรพงษ์ ใกล้ถนนข้าวสาร บางลำพูแขวงชนะสงคราม เป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดกลางนา”เนื่องจากมีทุ่งนาล้อมรอบ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งกรุงธนบุรีมาฝั่งพระนคร และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น ในช่วงนั้นยังมีศึกสงครามอยู่ พระองค์โปรดฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นแม่ทัพสำคัญ รวบรวมชาวมอญมาเป็นกองกำลังในการรบกับข้าศึก ให้ชาวมอญตั้งถิ่นฐานใกล้บริเวณวัดกลางนา และให้พระสงฆ์มอญมาอยู่จำพรรษาที่วัดนี้ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้เป็นภาษามอญว่า “วัดตองปุ หมายถึงวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เมื่อกรมพระราชวังบวรฯเสร็จการศึกได้มาทำพิธีสรงน้าและเปลื่ยนเครื่องทรงตามพิธีโบราณที่วัดนี้ก่อนเสด็จฯ เข้าพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และถวายวัดนี้เป็นพระอารามหลวงแก่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งรัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหน้าที่ทสามารถทำการรบชนะข้าศึกได้ถึง ๓ ครั้งสิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่
พระอุโบสถ มีพระประธาน พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นบุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว่าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ประดิษฐานบนฐานสูง มีพระอัครสาวกสององค์ด้านซ้ายขวา รวมทั้งมีพระพุทธรูป ๑๖ องค์ ประดิษฐานที่บริเวณเสารายล้อมรอบองค์พระประธาน
รอยพระพุทธบาทจำลอง อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ
พระบรมธาตุเจดีย์ ด้านบนสุดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ชั้นต่อมาเป็นพระรูปสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ชั้นล่างสุดเป็นหอกลองและระฆัง ด้านหน้าพระอุโบสถ เป็นศาลาที่มีพระรูปหล่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
ศาลหนึ่งออกวงอิม หรือ ศาลเจ้าแม่กวนอิม อยู่ด้านข้างอุโบสถ ศาลเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมจีน หลังคาสามชั้นลดหลั่นกันลงมา ด้านหนามีเสาซึ่งมีมังกรพันยาวรอบเสา ข้างประตูมีเสารูปมังกร ภายในศาลมีเจ้าแม่กวนอิมเป็นประธาน มีพระสังกัจจายน์ และเทพเจ้าต่าง ๆ ของจีน
วัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ที่ถนนพระสุเมรุ บางลำพูสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เป็นแม่กองก่อสร้าง เคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะทรงผนวช รัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อคราวทรงผนวช สิ่งที่น่าชมในวัดนี้ ได้แก่
พระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานสององค์ คือพระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อเพชร) ประดิษฐานด้านหลัง อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ประดิษฐานด้านหน้า นอกจากนี้มีพระรูปสมเด็จพระสมณเจ้า ๒ องค์ คือสมเด็จกรมพระยาปวเสศวิทยาลงกรณ์ และสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสองส่วน คือจิตรกรรมฝาผนังตอนบน เป็นภาพปริศนาธรรมฝีมือขัรวอินโข่ง จิตรกรไทยสมัยรัตนโกสินิทรตอนต้น เป็นภาพปริศนาธรรมอันเนื่องด้วยคุณ พระรัตนตรัย จำนวน ๑๖ ตอน ส่วนตอนล่างผนัง เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย และประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา จำนวน ๑๕ ภาพ ภาพเขียนเสาอุโบสถ เรียกว่า ฉฬาภิชาติ หรือหกชาติ ลายดอกไม้แต่ละเสาแสดงสีแต่ละชาติ เพื่อแสดงถึงจิตใจของ บุคคล ๖ ประเภท ตั้งแต่ดำสนิทจนถึงขาวสะอาด พระอุโบสถเปิดทุกวิัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น.
ด้านข้างพระอุโบสถสองด้านี้เป็นซุ้มปรางค์พระพุทธรูป คือซุ้มปรางค์ทิศตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาประทับยืนสมัยทวารวดี อัญเชิญจากวัดตองปุ จังหวัดลพบุรี ซุ้มปรางค์ทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาสมัยศรีวิชัย พระไวโรจนะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงได้รับถวายมาจากพระเจดีย์บุโรพุทโธ เมื่อครั้งเสด็จฯ เกาะชวา
พระมหาเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลมสีทองสง่างดงาม คูหาภายในมีพระเจดีย์กาไหล่ทองประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และลานทักษิณชั้นนี้มีซุ้มปรางค์เล็กประดิษฐานพระไพรีพินาศ ซุ้มประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ส่วนทักษิณชั้นที่ ๑ เทวรูปประดิษฐานแต่ละทิศ ทิศเหนือพระพรหม พระวิสสฺกรรม ทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ ทิศตะวันตก พระปัญจสิขะ พระประคนธรรพ์ นอกจากนี้ มีรูปหล่อสัตว์สี่ชนิดหมายถึงสี่เมืองที่อยู่ใกล้ล้อมรอบประเทศไทย ได้แก่ ม้า-เมียนมา นก-โยนก ช้าง-ล้านช้าง และสิงห์ -สิงคโปร์
วิหารเก๋ง สถาปัตยกรรมไทยผสมผสานจีน หน้าบันตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลื่อนรูปคน ดอกไม้ หงส์ ปลา แบ่งเป็นสามห้อง ห้องกลางภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก บนเพดานี้เป็นลายมังกรดั้นเมฆ และประดิษฐานพระพุทธรูป ๓ องค์ คือพระพุทธ วชิรญาณ พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิ ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง พระพุทธปัญญาอัคคะ พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ครองวัดบวรองค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ครองจีวรคลุมสองพระอังสา ประดิษฐานทิศตะวันออก และพระพุทธมนุสสนาค เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ครองวัดบวรนิเวศเป็นองค์ที่ ๓ ประดิษฐานด้านทิศตะวันตก ด้านนอกกกวิหารเก๋ง มุขด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐาน พระทีฆายุมหมงคล หรือหลวงพ่อดำพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปชัฌาจารย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ เมื่อครั้งทรงผนวช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เดิมีองค์ พระพุทธูปเป็นสีดำ และได้ทำการปิดทองทั้งองค์ ส่วนมุขวิหารเก๋งด้านทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์จำลอง และใต้ฐานพระพุทธรูปบรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินิทร
พระวิหารพระศาสดา ภายในประดิษฐาน พระศรีศาสดา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย งดงามมาก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธสีห์ และพระพุทธชินราช นอกจากนี้ มีพระพุทธไสยา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย และที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระพุทธบาทจำลอง อยู่ภายใน ศาลาพระพุทธบาท เป็นแผ่นศิลาสลักรอยพระบาทคู่ตรงกลางแผ่นหินยาว ๓ เมตร ๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๒.๑๗ เมตร และหนา ๒๐ เซนติเมตร
โพธิฆระ เป็นฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีทับเกษตรล้อมรอบ จำลองแบบจากศรีลังกา
วัดสุทัศน์เทพวราราม อยู่ที่ถนนบำรุงเมืองพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์สร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิง ให้เป็นศรีสง่าแก่พระนคร พระราชทานนามว่า วัดมหาสุทธาวาส แต่สร้างยังมิทันสำเร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงดำเนินงานต่อและพระราชทานนามว่า วัดสุทัศน์ เทพวราราม สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดสุทัศน์ไม่มีเจดีย์ เหมือนวัดอื่น ๆ เพราะมีสัตตมหาสถานี้เป็น อุเทสิกเจดีย์ (คือต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา ๗ ชนิด) แทนที่สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่
พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) พระประธานของวัดที่ได้ชะลอมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย และบานประตูพระวิหาร ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมทางด้านการแกะสลักในสมัยกรุงรัตนโกสินิทร โดยเฉพาะคู่ที่เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เสาชิงช้า อยู่ใกล้วัดสุทัศน์เทพวราราม การสร้างเสาชิงช้านี้มีที่มาจากการที่วัฒนธรรมของชาวไทยมีวิถีของศาสนาพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวพันอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมืองทางที่เลี้ยวไปถนนดินสอมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๗ และย้ายมาตั้งที่ถนนบำรุงเมืองในปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ บริษัท หลุยส์ ที่.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ทำการซ่อมแซมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีส่วนสูง ๒๑ เมตร เสาชิงช้านี้ใช้ประกอบ พิธีตรียัมพวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าของศาสนาพราหมณ์ จัดในเดือนยี่ของทุกปี และยกเลิกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่ที่ถนนราชดำเนิน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ อนุสาวิริยนี้ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ รูปแบบอนุเสาวรีย์ ตรงกลางประดิษฐานพานรัฐธรรมนูญ มีความสูง ๓ เมตร หนัก ๔ ตัน
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ อยู่ภายในอาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ด้านข้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินิทร และวัดราชนัดดารามวรวิหารซึ่งเป็นนิทรรศการบอกเลาเรื่องราวยุครัตนโกสินิทรผ่านสื่อเทคโนโลยีทันสมัยหลายรูปแบบ อาทิ สื่อผสมเสมือนจริง ๔ มิติ สื่อมัลติทัชมัลติมีเดียแอนิเมชั่น เป็นต้น โดยแบ่งนิทรรศการเป็น ๙ ห้องจัดแสดง นำเสนอกำเนิดกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หุ่นจำลองพระบรมมหาราชวังที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย ภาพยนตร์แอนิเมชั่นตำนานพระแก้วมรกต มหรสพในมุมมอง ๓๖๐ องศา พระราชกรณียกิจพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทั้ง ๙ รัชกาล พระราชพิธีสำคัญ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนเกาะรัตนโกสินิทร ห้องสมุดรวบรวมหนังสือหายาก และสื่อมัลติมีเดียสาระทึกแง่มุมเกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินิทร มุมพักผ่อนพร้อมเครื่องดื่ม ชมทัศนียภาพเจดีย์สีทองงามสง่าบนยอดพระบรมบรรพต หรือภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ป้อมมหากาฬ โลหะปราสาที่ทงดงามวิจิตร ของวัดราชนัดดาราม นิทรรศน์รัตนโกสินิทร เปิดวันอังคาร อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๗.๐๐ น. เปิดให้เข้าชมทุก ๒๐ นาทีรอบแรก ๑๐.๐๐ น. รอบสุดท้าย ๑๗.๐๐ น. เส้นทางชมนิทรรศการ๒ เส้นทาง เส้นทางละ ๒ ชั่วโมง (ปิดวันจันิทร) ค่าเข้าชม ชาวไทย และชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก (สูงไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตร) นักเรียน/นักศึกษา (ไม่เกินปริญญาตรี) ภิกษุ สามเณรผู้พิการและผู้อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปแสดงบัตร ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๖๒๑ ๐๐๔๔ โทรสาร ๐ ๒๒๒๒๖ ๕๐๕๐ www.nitasrattanakosin.com, www.facebook.com/nitasrattanakosib
วัดราชนัดดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๙ เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี โดยเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาท วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์ (นับเป็นแห่งที่ ๓ ของโลก) มีความสูง ๓๖ เมตร ประกอบด้วย เจดีย์ล้อมรอบ ๓๗ องค์ เพื่อให้เท่ากับ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการปัจจุบันโลหะปราสาทแห่งนี้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลกเนื่องจากโลหะปราสาที่ทประเทศอินเดียและศรีลังกาได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว
พระบรมราชานุสาวิริยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) อยู่บริเวณพลับพลาพระราชพิธี มุมถนนราชดำเนิน บริเวณหนาวัดราชนัดดาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยกรมศิลปากรเป็นพระบรมราชานุสาวิริยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)ผู้ดำเนินการเป็นพระรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ประทับบนพระที่นั่งสูงขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง ภายในบริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ มีพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้รับราชอาคันตุกะ และศาลาราย ๓ หลัง
วัดเทพธิดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย เดิมชื่อวัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง วัดนี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแด่ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ สถาปัตยกรรมสำคัญ คือพระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ บุษบกที่รองรับพระประธานภายในโบสถ์ประดิษฐ์อย่างสวยงาม และที่ผนังพระอุโบสถมภาพเขียนนี้เป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์แบบอย่างในรัชกาลที่ ๓ นอกจากนี้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๕ วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินิทร เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ ปัจจุบันมีกุฏิหลังหนึ่งเรียกว่า บ้านกวี เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ชาวต่างชาติ ค่าเข้าชม ๕๐ บาท สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๕๐๖๗
พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อยู่ภายในสวนรมณีนารถ ด้านถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ ในอาคารซึ่งเคยเป็นเรือนจำแห่งแรกของไทย สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แม้บางส่วนได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ แต่ยังคงสภาพของซุ้มประตูกำแพงที่สูงใหญ่ ป้อมยามภายในจัดแสดงประวัติความเป็นมาของราชทัณฑ์ไทย ห้องควบคุมผู้ต้องขัง เรือนนอนผู้ต้องขัง และห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่อยู่ในสภาพเดิม เปิดวันจันิทร-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๐๔ โทรสาร ๐ ๒๕๒๖ ๙๐๑๐ (เข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ) www.correct.go.th/demo/museum/museum๑.html
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่อาคารอนุรักษ์กรมโยธาธิการถนนหลานหลวง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๖-๗ สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้บูรณะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ รวมทั้งจัดแสดงบรมฉายาลักษณ์ เอกสาร และพระราชประวัติรัชกาลที่ ๗ องค์ปฐมกษัตริย์ระบบประชาธิปไตยของไทย เป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์แห่งแรกที่สมบูรณ์ แบบนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการอธิบายและ นำชม ภายในจัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ การสืบราชสันตติวงศ์ พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชกรณียกิจ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การพระราชทานรัฐธรรมนูญ รวมทั้งพระราชประวัติหลังสละราชสมบัติ และเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ มีศาลาเฉลิมกรุงจำลอง จัดฉายภาพยนตร์ เก่าให้ชม เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๓๔๑๓-๔ www.kpi.ac.th
พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในกองบัญชาการกองทัพบก (The Royal Thai Army headquarters) ถนนราชดำเนินนอก เป็นอาคารเก่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในจัดแสดงวิวัฒนาการของกองทัพไทย ได้แก่ ห้องธงและเครื่องมืเครื่องงใช้ทางทหาร (Flag and Military Equipment room) ห้องอาวุธ (Weapon room) ห้องเครื่องแบบเครื่องหมายทหาร Uniform and Military Insignia room) และห้องจำลองเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ทหาร (Army History room) เปิดวันจันิทร-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๒๙๗ ๗๓๘๐, ๐ ๒๒๙๑ ๘๑๒๑, ๐ ๒๒๙๗ ๘๐๕๘ http ://library.rta.mi.th/MUSEUM/index.htm กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชมอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ทำหนังสือถึงเจ้ากรมยุทธการทหารบก)
วัดอินทรวิหาร อยู่ที่บางขันพรหม ถนนวิสุทธิกษัตริย์ วัดนี้สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณปี พ.ศ. ๒๒๙๕ เดิมชื่อวัดบางขันพรหม มีซุ้มประตูทางเข้าวัด ๓ ซุ้ม เป็นศิลปะทรงไทย เรือนยอด ตรงกลางเป็นรูปพระมหาบุรุษมหาภิเนษกรมณ์ ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา ด้านขวาเป็นรูปพระอินทร ด้านซ้ายเป็นรูปพระพรหม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระพุทธศรีอริยเมตไตรย เป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูง ๓๒ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร ๒๔ นิ้ว สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บนยอดเกศองค์ หลวงพ่อโตบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกา จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเป็นภาพชีวประวัติสมเด็จพระพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ภาพสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของสมเด็จฯ ภาพต้นไม้ ด้านล่างพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์ของเก่า ศาลาการเปรียญประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นอกจากนี้ มีมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง หอระฆังหลังคาทรงัจตุรมุข พระสังกัจจายน์ พระแม่กวนอิม อวโลกิเตศวร พิพิธภัณฑ์ กลางแจ้ง ต้นโพธิ์ไทย โพธิ์ลังกา และโพธิ์อินเดีย ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม และมีคอร์สปฏิบัติธรรมแก่ผู้สนใจ
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย อยู่ในวังบางขันพรหม บนพื้นที่ ๓๐ ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบริเวณเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน พระตำหนักแห่งนี้นับเป็นสถาปัตยกรรมทั้งดงามที่สุดในบรรดาศิลปกรรมแบบเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดยใช้เงินพระคลังข้างที่เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๓ ในพระองค์ และพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรีพระอัครราชเทวี หลังปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระตำหนกับางขันพรหมถูกใช้เป็นสถานที่ราชการอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้เป็นสถานที่ทำการและปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เปลื่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นอาคาร ๒ ชั้น จัดแบ่งเป็น ๑๔ ห้อง ดังนี้ ชั้นหนึ่ง ได้แก่ ห้องเงินตราโบราณ ห้องพดด้วง ห้องกษาปณ์ไทย ห้องธนบัตรไทย ห้องท้องตรา ห้องเงินตราต่างประเทศ ชั้นสอง ได้แก่ ห้อง ๖๐ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องงานพิมพ์ธนบัตร ห้องบริพัตร ห้องประชุมเล็ก ห้องสีชมพูห้องสีน้ำเงิน ห้องม้าสน ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ เปิดให้เข้าชมวันจันิทร-ศุกร์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดวันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร ไม่เสียค่าเข้าชมกรณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๒๕๔๔ ๓๘๕๘ http//www.thaibankmuseum.or.th
พระบรมราชานุสาวิริยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ประดิษฐาน ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) ฝั่งพระนคร ปลายถนนตรีเพชรใกล้ปากคลองตลาด สร้างขึ้นเมืองานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๕๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ และทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย ประสูติ ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ อยู่ในราชสมบัตินาน ๒๗ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒
วัดราชบูรณะ อยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งกรุงเทพฯ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดเลียบ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าชาวจีน วัดนี้เป็นหนึ่งในจำนวนวัดเอกประจำเมือง๓ วัด ได้แก่วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์ และวัดมหาธาตัวัดนี้ได้รับการบูรณะมาตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๗ เว้นรัชกาลที่ ๖ ในคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา สถานที่สำคัญของวัดถูกระเบิดพังทลาย โดยเฉพาะพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขัรวอินโข่งถูกระเบิดทำลายจนหมด ต่อมาจึงได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ใหม่ดังที่เห็นในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อยู่ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ถนนตรีเพชร อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นอาคารเรียนที่เรียกกันว่าตึกยาว ชั้นล่างจัดแสดงเรื่องราวการศึกษาของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และบูรพคณาจารย์ และศิษย์เก่าผู้สร้างชื่อเสียงและทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ และกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน ชั้นบนจัดแสดงเรื่องการศึกษาแห่งชาติ เปิดวันจันิทร-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ปิดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูล โทร ๐ ๒๒๒๕ ๕๖๐๕-๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๔๐๘๘ www.sk.ac.th ( กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)