พจนานุกรม ไทย – ไทย ห – อ

【 ห 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น
อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
【 หก ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย
ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
【 หกคว่ำ 】แปลว่า: ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ
คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ
ล้มคว่ำคะมำหงาย.
【 หกคะเมน 】แปลว่า: ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ
ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที
ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
【 หกล้ม 】แปลว่า: ก. ล้มลง, ทรุดตัวลงเพราะเสียการทรงตัว.
【 หกโล่ 】แปลว่า: [หกกะโล่] ก. หกกลิ้ง. (ต. โล่ ว่า กลิ้ง).
【 หกหัน 】แปลว่า: ก. หันกลับ, หมุนกลับ.
【 หกเหียน 】แปลว่า: น. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่า
ไม้หกเหียน.
【 หก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนา
ใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทํารังในโพรงไม้ มักเกาะห้อย
หัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่
/(Psittinus cyanurus)/ หกเล็กปากแดง (/Loriculus vernalis/) และหกเล็ก
ปากดํา (/L. galgulus/).
【 หก ๓ 】แปลว่า: น. จํานวนห้าบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๖ ตกในราวเดือน
พฤษภาคม.
【 หกบท 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 หง 】แปลว่า: ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม
สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
【 หงก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทําหัวเช่นนั้น
เรียกว่า เดินหงก ๆ.
【 หงส-, หงส์ ๑ 】แปลว่า: [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ
เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล
สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน
ของหงส์. (ป., ส. หํส).
【 หงสคติ 】แปลว่า: [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อย
และเป็นสง่า.
【 หงสบาท 】แปลว่า: [หงสะบาด] ว. มีสีคล้ายเท้าหงส์ คือ สีแดงปนเหลือง, สีแดงเรื่อ
หรือ สีแสด ก็ว่า. (ป.).
【 หงสโปดก 】แปลว่า: หงสะโปดก น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี
เช่น ดุจหงษโปฎกกระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
【 หงสรถ 】แปลว่า: [หงสะรด] น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม.
【 หงส์ร่อนมังกรรำ 】แปลว่า: น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทําเพื่อ
ให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว.
【 หงสราช 】แปลว่า: [หงสะราด] น. พญาหงส์.
【 หงสลีลา, หงส์ลีลา ๑ 】แปลว่า: [หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.
【 หงส์ลีลา ๒ 】แปลว่า: [หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง
กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).
【 หงส์แล่น 】แปลว่า: น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน
ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.
【 หงส์ ๒ 】แปลว่า: [หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด
เช่น หงส์ขาว (/Cygnus olor/) หงส์ดํา (/C. atratus/).
【 หงส์ทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 หงส์หยก 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด /Melopsittacus undulatus/ ในวงศ์ Psittacidae
ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว ปากสีนํ้าตาล กินเมล็ดพืช มีถิ่นกําเนิด
ในประเทศออสเตรเลีย.
【 หงอ 】แปลว่า: ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า
กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
【 หงอก 】แปลว่า: [หฺงอก] ว. ขาว (ใช้แก่ผมหรือหนวดเคราเป็นต้นที่เปลี่ยนจากสีเดิมเป็น
สีขาว).
【 หง่อง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง
เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
【 หงองแหงง 】แปลว่า: [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
【 หงอด, หงอด ๆ 】แปลว่า: [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่น
ด้วยความไม่พอใจ.
【 หงอน 】แปลว่า: [หฺงอน] น. ขนหรือเนื้อที่งอกขึ้นบนหัวไก่และนกบางชนิด, โดยปริยาย
ใช้เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ค้อนหงอน ขวานหงอน.
【 หงอนไก่ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Celosia argentea/ L. var. /cristata/ Kuntze
【 ในวงศ์ 】แปลว่า:
Amaranthaceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด
/Heritiera littoralis/ Ait. ในวงศ์ Sterculiaceae ผลเป็นสัน. (๓) ชื่อไม้พุ่ม
รอเลื้อยชนิด /Cnestis palala/ Merr. ในวงศ์ Connaraceae ดอกสีแดง
ลักษณะคล้ายหงอนไก่, หงอนไก่ป่า ก็เรียก.
【 หงอนไก่ป่า 】แปลว่า: /ดู หงอนไก่ (๓)/.
【 หง่อม 】แปลว่า: [หฺง่อม] ว. แก่มาก ในคำว่า แก่หง่อม.
【 หงอย 】แปลว่า: [หฺงอย] ว. ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระปรี้กระเปร่า, ไม่ร่าเริง.
【 หงอยก๋อย 】แปลว่า: ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา.
【 หงอยเหงา 】แปลว่า: [หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.
【 หง่อย 】แปลว่า: ว. เชื่องช้า, ไม่ฉับไว, เงื่อง.
【 หงัก 】แปลว่า: ว. มาก เช่น แก่หงัก, งั่ก ก็ว่า.
【 หงัก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.
【 หงับ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่
เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
【 หง่าง 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
【 หงาย 】แปลว่า: ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ
ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี
ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
【 หงายท้อง, หงายหลัง 】แปลว่า: (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจ
ว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง
ก็หงายท้องกลับมา.
【 หงายบาตร 】แปลว่า: (สำ) น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์
ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม.
【 หง่าว 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า
โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก
ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
【 หงำ 】แปลว่า: [หฺงํา] ว. มากจนเลอะเทอะ เช่น เมาหงํา แก่หงํา.
【 หงำเหงอะ, หงำเหงือก 】แปลว่า: [หฺงําเหฺงอะ, หฺงำเหฺงือก] ว. หลงจนจำอะไรไม่ได้
(ใช้แก่คนที่แก่มาก).
【 หงิก 】แปลว่า: ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้
ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ
ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ
ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
【 หงิกงอ, หงิก ๆ งอ ๆ 】แปลว่า: ว. คดงอไปมา เช่น ใบพริกถูกมดคันไฟขึ้นเลยหงิกงอ
ใบโกรต๋นบางชนิดหงิก ๆ งอ ๆ ตามธรรมชาติ.
【 หงิง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้
ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
【 หงิม, หงิม ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.
【 หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน 】แปลว่า: (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่
ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
【 หงึก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า.
【 หงึกหงัก 】แปลว่า: ว. ติด ๆ ขัด ๆ เช่น วันนี้สมองตื้อ จะเขียนอะไรก็ติดหงึกหงักไปหมด.
【 หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ 】แปลว่า: ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ
หงิง ๆ.
【 หงุดหงิด 】แปลว่า: ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะ
ไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.
【 หงุบ, หงุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.
【 หงุบหงับ 】แปลว่า: ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว
อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
【 หงุ่ย 】แปลว่า: ว. อาการที่ทําสิ่งใดก็ทําเรื่อยไปแต่สิ่งนั้น, เพลินในการทําการงาน, ขลุกขลุ่ย.
【 หญ้า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา
(/Imperata cylindrica/ Beauv.) หญ้าตีนกา (/Eleusine indica/ Gaertn.)
หญ้าแพรก (/Cynodon dactylon/ Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิด
ที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.
【 หญ้า ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาขี้ยอก. /(ดู ขี้ยอก)./
【 หญ้ากระจาม 】แปลว่า: /ดู กระต่ายจาม (๑)/.
【 หญ้าเกล็ดหอย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Hydrocotyle sibthorpioides/ Lam. ในวงศ์
【 Umbelliferae 】แปลว่า:
ใบกลม ๆ คล้ายเกล็ดหอย.
【 หญ้าขัด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Sida/ วงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง เช่น
ชนิด /S. rhombifolia/ L. ใช้ทํายาได้, ขัดมอน คัดมอน หรือ ยุงปัดแม่ม่าย
ก็เรียก.
【 หญ้าขัดใบยาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Sida acuta/ Burm.f. ในวงศ์ Malvaceae,
ข้าวต้ม ยุงกวาด หรือ ยุงปัด ก็เรียก.
【 หญ้าขัดหลวง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Sida subcordata/ Span. ในวงศ์ Malvaceae,
ขัดมอนหลวง หรือ ขัดมอนตัวผู้ ก็เรียก.
【 หญ้างวงช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Heliotropium indicum/ R. Br. ในวงศ์ Boraginaceae
ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อลักษณะคล้ายงวงช้าง, แพว ก็เรียก.
【 หญ้าจาม 】แปลว่า: /ดู กระต่ายจาม (๑)/.
【 หญ้าใต้ใบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Phyllanthus/ วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด
/P. amarus/ Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด
/P. urinaria/ L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.
【 หญ้าถอดปล้อง 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินชนิด /Equisetum debile/ Roxb. ex Vauch. ในวงศ์
【 Equisetaceae 】แปลว่า:
ลําต้นเป็นปล้อง ๆ มักขึ้นตามรอยแตกของกําแพง ใช้ทํายาได้.
【 หญ้าน้ำดับไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Lindenbergiaphilippensis/ (Cham.) Benth. ในวงศ์
Scrophulariaceae ต้นและใบมีขน ใบออกตรงข้ามกัน ดอกสีเหลือง
ออกเป็นช่อยาว ชอบขึ้นในที่ที่เป็นหินปูน.
【 หญ้าบัว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Xyris indica/ L. ในวงศ์ Xyridaceae ขึ้นตามทุ่งนาและ
ที่ลุ่ม ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
【 หญ้าปากคอก ๑ 】แปลว่า: (สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.
【 หญ้าปากคอก ๒ 】แปลว่า: /ดู ตีนกา ๓/.
【 หญ้าปีนตอ 】แปลว่า: /ดู ปิ่นตอ/.
【 หญ้าฝรั่น 】แปลว่า: [-ฝะหฺรั่น] น. ชื่อเรียกยอดเกสรเพศเมียแห้งของไม้ล้มลุกมีหัวชนิด /Crocus/
/sativus/ L. ในวงศ์ Iridaceae ใช้ทํายาและเครื่องหอม. (อาหรับ za’faran;
อ. saffron).
【 หญ้าพันงู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็ง
คล้ายหนาม ใช้ทํายาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (/Achyranthes aspera/ L.)
ลําต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [/Cyathula prostrata/ (L.)
Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.
【 หญ้าเพ็ก 】แปลว่า: /ดู เพ็ก/.
【 หญ้าแพรก 】แปลว่า: [-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด /Cynodon dactylon/ (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae
ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกัน
หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
【 หญ้ายองไฟ 】แปลว่า: น. เขม่าไฟที่ติดหยากไย่ เป็นเส้นห้อยอยู่ตามหลังคาครัวไฟ.
【 หญ้ายายเภา 】แปลว่า: /ดู ลิเภา/.
【 หญ้ารกช้าง 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๒)/.
【 หญ้ารากขาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Knoxia brachycarpa/ R. Br. ในวงศ์ Rubiaceae
【 ดอกเล็ก 】แปลว่า:
สีชมพู ใช้ทํายาได้.
【 หญ้าลิเภา 】แปลว่า: /ดู ลิเภา/.
【 หญ้าหนวดแมว 】แปลว่า: /ดู พยับเมฆ ๒/.
【 หญ้าแห้วหมู 】แปลว่า: /ดู แห้วหมู ที่ แห้ว/.
【 หญิง 】แปลว่า: น. คนที่มีมดลูก, ผู้หญิง ก็ว่า.
【 หญิงงามเมือง 】แปลว่า: น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิง
โสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.
【 หญิงสามผัว 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน, ใช้พูดตำหนิเหยียดหยาม
ว่าเป็นหญิงไม่ดี.
【 หญิงโสด 】แปลว่า: น. หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, สาวโสด ก็ว่า.
【 หญิงหากิน 】แปลว่า: น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี
นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
【 หญิบ 】แปลว่า: [หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 หด 】แปลว่า: ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ
เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
กลัวจนหัวหด.
【 หดหัว 】แปลว่า: ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอม
โผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
【 หดหาย 】แปลว่า: ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่ง
หดหายไป.
【 หดหู่ 】แปลว่า: ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม
แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่
เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
【 หตะ 】แปลว่า: [หะ-] ก. ตี, ฆ่า, ทําลาย. (ป., ส.).
【 หทัย 】แปลว่า: [หะไท] น. หัวใจ, ใจ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระหทัย. (ป.; ส. หฺฤทย).
【 หน 】แปลว่า: น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่,
เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด.
(นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้
เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
【 หนทาง 】แปลว่า: น. ทาง, ช่องทาง, เช่น เวลานี้เขาหมดหนทางทำมาหากินแล้ว.
【 หนนะ 】แปลว่า: [หะนะนะ] น. การฆ่า, การตี, การกําจัด. (ป., ส.).
【 หนวก 】แปลว่า: [หฺนวก] ว. อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง.
【 หนวกหู 】แปลว่า: ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว
หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน
หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน
เสียงหนวกหูจริง.
【 หน่วง 】แปลว่า: [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง
เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี
ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
【 หน่วงเหนี่ยว 】แปลว่า: [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่
หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
【 หนวด 】แปลว่า: [หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้น
ยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก
หนวดแมว.
【 หนวดนาคราช 】แปลว่า: [หฺนวดนากคะราด] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 หนวดพราหมณ์ ๑ 】แปลว่า: [หฺนวดพฺราม] น. (๑) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม.
(พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Seidenfadenia mitrata/ Garay
ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์
ก็เรียก.
【 หนวดพราหมณ์ ๒ 】แปลว่า: [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Polynemus longipectoralis/ ในวงศ์
Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก
สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย
ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม
๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ
ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน
นํ้ากร่อยหรือทะเล.
【 หนวดพราหมณ์ ๓ 】แปลว่า: [หฺนวดพฺราม] น. เชือกหลาย ๆ เส้นที่ผูกโยงปลายเสาหรือที่โยงเอาของ
ขึ้นไปในที่สูง.
【 หนวดพราหมณ์ ๔ 】แปลว่า: [หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้า
ที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่ง
เรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.
【 หนวดแมว 】แปลว่า: [หฺนวด-] น. หญ้าหนวดแมว. /(ดู พยับเมฆ ๒)./
【 หน่วย 】แปลว่า: [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก
หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น
หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา
ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว
และโป).
【 หน่วยก้าน 】แปลว่า: น. ท่วงที, ท่าที, แวว, เช่น เด็กคนนี้หน่วยก้านดี อนาคตคงไป
ได้ไกล.
【 หน่วยกิต 】แปลว่า: [-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึง
ได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิต
ก็เรียก.
【 หน่วยคำ 】แปลว่า: น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น
ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ
อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ
หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ
ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
【 หน่วยดาราศาสตร์ 】แปลว่า: น. หน่วยที่ใช้วัดระยะทางในระบบสุริยะ ๑ หน่วย
ดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับ ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลก
กับจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ คือ ประมาณ ๑๔๙.๖ x ๑๐๙ เมตร
หรือประมาณ ๙๒.๙ ล้านไมล์. (อ. astronomical unit; อักษรย่อ A.U.).
【 หนอ 】แปลว่า: [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ
น่าอนาถจริงหนอ.
【 หน่อ 】แปลว่า: น. พืชที่งอกจากกอหรือเหง้าของต้นใหญ่, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เกิดเช่นนั้น;
ลูก, ลูกชาย, เชื้อสาย; แผลเรื้อรังที่เกิดจากคุดทะราด เป็นตามฝ่าเท้า.
【 หน่อเนื้อเชื้อไข 】แปลว่า: น. ลูกหลานเหลนเป็นต้นที่สืบสายโลหิต, ผู้สืบสายโลหิต
เช่น เขาเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของฉันเอง.
【 หน่อไม้ 】แปลว่า: น. หน่อของต้นไผ่.
【 หนอก ๑ 】แปลว่า: [หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา
ที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อย
เช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.
【 หนอก ๒ 】แปลว่า: [หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. /[ดู บัวบก (๑)]./
【 หนอกช้าง 】แปลว่า: [หฺนอก-] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ผักชีล้อม. /(ดู ชีล้อม ที่ ชี ๒)./
【 หนอง ๑ 】แปลว่า: [หฺนอง] น. แอ่งนํ้า.
【 หนอง ๒ 】แปลว่า: [หฺนอง] น. นํ้าเลือดเสียกลายเป็นสีขาวข้นที่กลัดอยู่ตามแผลและฝี,
น้ำหนอง ก็ว่า.
【 หนองใน 】แปลว่า: น. ชื่อกามโรคชนิดหนึ่ง เกิดหนองมีเชื้อในช่องปัสสาวะ.
【 หนองแซง 】แปลว่า: [หฺนอง-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L. รสมัน
มีถิ่นกําเนิดจากอําเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี.
【 หน็องแหน็ง 】แปลว่า: ว. กะหน็องกะแหน็ง.
【 หนอน ๑ 】แปลว่า: [หฺนอน] น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิดเมื่อฟักออกจากไข่ มีรูปร่าง
ทรงกระบอกหรือรูปกรวย ลําตัวอ่อนนุ่มเป็นปล้อง เคลื่อนที่โดยการคืบ
คลานไป.
【 หนอนกระทู้ 】แปลว่า: /ดู กระทู้ ๓/.
【 หนอนกระสือ 】แปลว่า: /ดู กระสือ ๓/.
【 หนอนกอ 】แปลว่า: น. ชื่อหนอนของผีเสื้อซึ่งเจาะกินเข้าไปในลําต้นข้าว ทําให้ข้าว
ไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เมล็ดลีบเป็นสีขาว ซึ่งเรียกว่า ข้าวหัวหงอก
ส่วนใหญ่เป็นหนอนของผีเสื้อชีปะขาว.
【 หนอนบ่อนไส้ 】แปลว่า: (สํา) น. ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.
【 หนอนม้วนใบข้าว 】แปลว่า: /ดู ขยอก ๑/.
【 หนอนหนังสือ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ.
【 หนอน ๒ 】แปลว่า: [หฺนอน] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลําตัวยาวอ่อนนุ่ม ไม่มีรยางค์.
【 หนอนด้น 】แปลว่า: /ดู ตัวจี๊ด/.
【 หนอนพยาธิ 】แปลว่า: หฺนอนพะยาด น. พยาธิตัวกลม.
【 หนอนตายหยาก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล /Stemona/ วงศ์ Stemonaceae ชนิด
/S. collinsae/ Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก;
ชนิด /S. tuberosa/ Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียด
หรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้
เป็นยาฆ่าแมลงและทํายาพอกแผลกําจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด
/Clitoria macrophylla/ Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิด
แรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.
【 หน่อไม้น้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Zizania latifolia/ (Griseb.) Turcz. ในวงศ์ Gramineae
ใบแบนยาว หน่ออ่อนที่เชื้อราลงจะพองออก กินได้.
【 หน่อไม้ฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Asparagus officinalis/ L. ในวงศ์ Asparagaceae
หน่ออ่อนกินได้.
【 หน่อย 】แปลว่า: ว. นิดหนึ่ง, น้อยหนึ่ง, ไม่มาก, เช่น ขอหน่อย เดินอีกหน่อยก็ถึง; ประเดี๋ยว,
ไม่ช้า, ไม่นาน, เช่น รอหน่อย กินเหล้ามาก ๆ อีกหน่อยก็ตาย.
【 หน็อยแน่ 】แปลว่า: ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทําผิดแล้ว
ยังจะอวดดีอีก.
【 หนัก 】แปลว่า: ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น
รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ
เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
【 หนักกบาล, หนักกบาลหัว 】แปลว่า: (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น
ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว
หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
【 หนักกะลาหัว 】แปลว่า: (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำ
อย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว
หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
【 หนักข้อ 】แปลว่า: ก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าว
อย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.
【 หนักใจ 】แปลว่า: ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น
เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ
หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
【 หนักท้อง 】แปลว่า: ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
【 หนักนิดเบาหน่อย 】แปลว่า: ว. เกินพอดีไปบ้างหรือน้อยกว่าพอดีไปบ้าง เช่น
เป็นสามีภรรยากัน หนักนิดเบาหน่อยก็ควรอภัยให้กัน.
【 หนักแน่น 】แปลว่า: ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ
อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น
ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
【 หนักปาก 】แปลว่า: ว. ไม่ทันได้พูด เช่น คุยกันอยู่ตั้งนาน หนักปากไปหน่อย
เลยไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร.
【 หนักแผ่นดิน 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมือง
ของตน, เสนียดสังคม.
【 หนักมือ 】แปลว่า: ว. มากไป เช่น แกงหม้อนี้ใส่เกลือหนักมือไปหน่อย, แรงไป
เช่น เด็กเล่นตุ๊กตาหนักมือไปหน่อย แขนตุ๊กตาเลยหลุด; กําเริบ เช่น
โจรผู้ร้ายหนักมือขึ้นทุกวัน.
【 หนักไม่เอา เบาไม่สู้ 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่มีความอดทนที่จะทำการงาน.
【 หนักสมอง 】แปลว่า: ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหา
หนักสมอง, หนักหัว ก็ว่า.
【 หนักหน่วง 】แปลว่า: ว. จริงจัง, มาก, ยิ่ง, เช่น เขาพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อ
ส่งเสียให้ลูกเรียน.
【 หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ 】แปลว่า: ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด
ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
【 หนักหน้า 】แปลว่า: ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะ
หนักหน้าอยู่คนเดียว.
【 หนักหัว 】แปลว่า: ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว,
หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว
ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว
หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
【 หนักหัวกบาล 】แปลว่า: (ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน
ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว
หรือ หนักหัว ก็ว่า.
【 หนักอก 】แปลว่า: ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก.
ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น
หนักอกหนักใจ.
【 หนัง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ
เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น
หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง
ฉายหนัง เล่นหนัง.
【 หนังกลับ 】แปลว่า: น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่
เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า
สุนัขหนังกลับ.
【 หนังกลางวัน ๑ 】แปลว่า: น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย
หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์
และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
【 หนังกำพร้า 】แปลว่า: น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.
【 หนังไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อแพรหรือกระดาษพิมพ์ที่มีเนื้อย่นคล้ายหนังไก่.
【 หนังง่า 】แปลว่า: น. ตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ (ลัทธิ).
【 หนังเงียบ 】แปลว่า: (ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.
【 หนังตะลุง 】แปลว่า: น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก
คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา
ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง “และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ
ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
【 หนังเรียด 】แปลว่า: น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย
สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน
เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง
ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
【 หนังโลม 】แปลว่า: น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยว
นางเบญกาย, โลม ก็ว่า.
【 หนังสด 】แปลว่า: น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า
ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์
บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.
【 หนังสติ๊ก 】แปลว่า: น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่าม
ซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.
【 หนังหน้าไฟ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด
มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
【 หนังหุ้มกระดูก 】แปลว่า: (สำ) น. เรียกลักษณะของคนหรือสัตว์ที่ผอมมากจนมอง
เห็นแนวโครงกระดูกว่า ผอมจนหนังหุ้มกระดูก.
【 หนังเหนียว 】แปลว่า: ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิง
ไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทัน
ไปทุกสิ่งทุกอย่าง.
【 หนังใหญ่ 】แปลว่า: น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่
กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอ
และหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็น
คนละคนกัน.
【 หนัง ๒ 】แปลว่า: น. เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว ว่า ขนุนหนัง.
/(ดู ขนุน ๑)./ (เทียบ ม. nanga).
【 หนังกลางวัน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน หนัง ๑/.
【 หนังกลางวัน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L. ผลยาว ๆ.
【 หนังสือ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน
หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย
ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์
หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
【 หนังสือเดินทาง 】แปลว่า: น. หนังสือสําคัญประจําตัวซึ่งทางราชการของประเทศ
หนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการ
เดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.
【 หนังสือบริคณห์สนธิ 】แปลว่า: (กฎ) ดู บริคณห์สนธิ.
【 หนังสือพิมพ์ 】แปลว่า: น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม
ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก
หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม
มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
【 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงาน
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดง
ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.
【 หนังสือราชการ 】แปลว่า: น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี
ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น
ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ
ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ
เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ
หรือข้อบังคับ.
【 หนังสือเวียน 】แปลว่า: น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง,
ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้
บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
【 หนังสือสัญญา 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่าย
ว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทําขึ้นเป็น
ลายลักษณ์อักษร.
【 หนั่น 】แปลว่า: ว. แน่น, แน่นหนา, เช่น เนื้อหนั่น. (โบ) ก. หนุน.
【 หนับ 】แปลว่า: ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย
เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
【 หนา ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนสูงมากจากผิวพื้น. ว. มีส่วนสูงมากจากผิวพื้น; แน่นทึบ, มาก,
ตรงข้ามกับ บาง.
【 หนาตา 】แปลว่า: ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชม
มหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู
เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
【 หนาแน่น 】แปลว่า: ว. คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.
【 หนาหู 】แปลว่า: ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู
ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น
คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
หนาหูหนาตา /ดู หนาตา และ หนาหู/.
【 หนา ๒ 】แปลว่า: คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น
อยู่เถิดหนา.
【 หน้า 】แปลว่า: น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ
หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่
เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา
ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา
หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น
กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง
กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง
เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน
กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด
ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว
ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน
เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า
ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ
เล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ
หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม
กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
【 หน้ากระฉีก 】แปลว่า: น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้
เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม
เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
【 หน้ากระดาน 】แปลว่า: ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน
เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงาย
หรือใต้บัวคว่ำ.
【 หน้ากระดูก 】แปลว่า: น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.
【 หน้ากร้าน 】แปลว่า: น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
【 หน้ากล้อ 】แปลว่า: น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
【 หน้ากาก 】แปลว่า: น. เครื่องบังใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน.
【 หน้ากาฬ 】แปลว่า: น. เกียรติมุข.
【 หน้าเก้อ 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป
เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
【 หน้าเก่า 】แปลว่า: ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา
หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
【 หน้าแก่ 】แปลว่า: ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก
ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
【 หน้าขบ 】แปลว่า: /ดู หน้าร่าหุ์, หน้าราหู/.
【 หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง 】แปลว่า: น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.
【 หน้าขา 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า.
【 หน้าข้าวตัง 】แปลว่า: น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด
ก็ว่า.
【 หน้าขึงตาขึง 】แปลว่า: น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก.
【 หน้าขึ้นนวล 】แปลว่า: น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน
โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก
จะขึ้นนวล.
【 หน้าเข้ม 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า.
【 หน้าเข้มคม 】แปลว่า: น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำ
หรือดำแดง).
【 หน้าเขียง 】แปลว่า: น. แม่ครัวประจำเขียง.
【 หน้าเขียว 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว;
หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย
หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
【 หน้าแข้ง 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
【 หน้าคมขำ 】แปลว่า: น. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม “(ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำ
หรือดำแดง).
【 หน้าคว่ำ 】แปลว่า: ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.
【 หน้างอ, หน้าง้ำ, หน้าเง้า, หน้าเง้าหน้างอ, หน้าบึ้ง, หน้าหงิก, หน้าหงิก 】แปลว่า: ว.
【 มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น. 】แปลว่า:
【 หน้างอก 】แปลว่า: น. หน้าผากกว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติ.
【 หน้างัว 】แปลว่า: /ดู หน้าวัว ๑ ใน หน้า/.
【 หน้าแง 】แปลว่า: น. ส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้ว เช่น นักมวยถูกชกหน้าแง.
【 หน้าจ๋อย 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ
ถูกครูตำหนิ.
【 หน้าจั่ว 】แปลว่า: น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ
แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน
คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
【 หน้าจืด 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าซีดหรือไม่เข้มคม.
【 หน้าเจี๋ยมเจี้ยม 】แปลว่า: ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
【 หน้าเจื่อน 】แปลว่า: ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้
เป็นต้น.
【 หน้าฉาก 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา
เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ
หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ
หลังฉาก.
【 หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง 】แปลว่า: น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี
เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
【 หน้าเฉย 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง
หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
【 หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย 】แปลว่า: ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา
เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
【 หน้าโฉนด 】แปลว่า: -ฉะโหฺนด น. หนังสือสำคัญของทางราชการ
แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
【 หน้าชา 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้
เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
【 หน้าชื่นตาบาน 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าเบิกบานแจ่มใส.
【 หน้าชื่นอกตรม 】แปลว่า: ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า.
【 หน้าเชิด 】แปลว่า: น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง
หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
【 หน้าซีก 】แปลว่า: น. หน้าด้านข้าง (เห็นตาและหูข้างเดียว).
【 หน้าซีด 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าไม่สดใสหรือไม่มีสีเลือดเพราะอดนอน ตกใจ หรือถูก
จับได้ว่าทำผิดเป็นต้น.
【 หน้าซื่อใจคด 】แปลว่า: (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.
【 หน้าเซ่อ 】แปลว่า: ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
【 หน้าเซียว 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงความอิดโรยไม่สดใสเพราะอดนอนมาก
เป็นต้น.
【 หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็
ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
【 หน้าดำ 】แปลว่า: น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงาน
กลางแจ้งเป็นต้น.
【 หน้าดำคล้ำเครียด 】แปลว่า: น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่
กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
【 หน้าดำหน้าแดง 】แปลว่า: ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ
อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.
【 หน้าเดิม 】แปลว่า: ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี
แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
【 หน้าแดง 】แปลว่า: น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ
เป็นต้น.
【 หน้าตัก 】แปลว่า: น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ
โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น
พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา
๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ
ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก
【 หน้าตั้ง ๑ 】แปลว่า: น. ของว่างซึ่งทําด้วยหมู กุ้ง และกะทิ สําหรับกินกับข้าวตังทอด.
【 หน้าตั้ง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า.
【 หน้าตัวเมีย 】แปลว่า: น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความ
ว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย).
【 หน้าตา 】แปลว่า: น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น
นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ
ของตน.
【 หน้าตาขึงขัง 】แปลว่า: ว. สีหน้าที่แสดงว่าเอาจริงเอาจัง ดูน่ากลัว.
【 หน้าตาตื่น, หน้าตื่น 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าตื่นเต้นตกใจเป็นต้น เช่น เขาวิ่งหนีไฟ
หน้าตาตื่นมา.
【 หน้าต่าง 】แปลว่า: น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสง
สว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
【 หน้าตาย 】แปลว่า: น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย.
ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.
【 หน้าตึง 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือ
เข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา.
【 หน้าตูม 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม
เชียว.
【 หน้าเตา 】แปลว่า: น. แม่ครัวประจําเตา.
【 หน้าถอดสี 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือด
หรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า.
【 หน้าถัง 】แปลว่า: น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียง
เลื่อนไปตามรางที่ทำไว้.
【 หน้าท้อง 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม
ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง
ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
【 หน้าทับ 】แปลว่า: น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก
ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก
สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
【 หน้าทะเล้น 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ
โอกาส.
【 หน้าที่ 】แปลว่า: น. กิจที่จะต้องทําด้วยความรับผิดชอบ.
【 หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน 】แปลว่า: น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี
เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
【 หน้านวล ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้ง ไข่ขาว น้ำตาลทราย ใส่พิมพ์
รูปคล้ายเรือแล้วอบ.
【 หน้านวล ๒ 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มี
ครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง.
【 หน้านิ่วคิ้วขมวด 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ
เจ็บปวดเป็นต้น.
【 หน้าเนื้อใจเสือ 】แปลว่า: (สํา) ว. มีหน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจเหี้ยมโหด.
【 หน้าบอกบุญไม่รับ 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าบึ้งตึง เช่น เขาผิดหวังอะไรมา ทำหน้า
บอกบุญไม่รับ.
【 หน้าบัน 】แปลว่า: น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น).
【 หน้าบาง 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย.
【 หน้าบาน 】แปลว่า: ว. ทําหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑.
【 หน้าบูด 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด
เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด
ก็ว่า.
【 หน้าเบ้ 】แปลว่า: น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือ เจ็บปวด
เป็นต้น.
【 หน้าปลาจวด 】แปลว่า: น. หน้าแหลมอย่างหัวปลาจวด.
【 หน้าป๋อหลอ 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
【 หน้าปัด 】แปลว่า: น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น
เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.
【 หน้าปูเลี่ยน ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้
เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.
【 หน้าเป็น 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.
【 หน้าเปิด 】แปลว่า: น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
【 หน้าผา 】แปลว่า: น. ด้านภูเขาที่มีแผ่นหินตั้งชัน.
【 หน้าผาก 】แปลว่า: น. ส่วนเบื้องบนของใบหน้าอยู่เหนือคิ้วขึ้นไป.
【 หน้าผี 】แปลว่า: น. หน้าตาอัปลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัว.
【 หน้าเผือด, หน้าเผือดสี 】แปลว่า: น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวัง
หรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.
【 หน้าพาทย์ 】แปลว่า: น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ
เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี
หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ
เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร
สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี
ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์.
ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
【 หน้าพาทย์แผลง 】แปลว่า: [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ
เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น
เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง
เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
【 หน้าไฟ 】แปลว่า: น. เวลาที่จุดไฟเผาศพ เช่น พระสวดหน้าไฟ.
【 หน้ามอด 】แปลว่า: น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง
ก็ว่า.
【 หน้าม่อย 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด
เสื้อตัวสวยไหม้.
【 หน้าม้า 】แปลว่า: น. ผู้ที่ทําเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนัน
เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย,
โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 หน้าม้าน 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.
【 หน้ามืด 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ
ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
【 หน้ามุข 】แปลว่า: น. ส่วนของอาคารที่ยื่นเด่นออกมาทางหน้า.
【 หน้าไม่รับแขก 】แปลว่า: น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร
อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้.
【 หน้าไม่อาย 】แปลว่า: ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ.
【 หน้าไม้ 】แปลว่า: น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ
ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.
【 หน้ายิ้ม ๆ 】แปลว่า: ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย.
【 หน้ายุ่ง 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้
จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.
【 หน้าระรื่น 】แปลว่า: น. หน้ายิ้มอยู่เสมอ.
【 หน้ารับแขก 】แปลว่า: น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ.
【 หน้าร่าหุ์, หน้าราหู 】แปลว่า: น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนม
เปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้น
สามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.
【 หน้าเริด 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มา
แต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า.
【 หน้าเลือด 】แปลว่า: ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ
เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
【 หน้าวอก 】แปลว่า: น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป.
【 หน้าวัว ๑ 】แปลว่า: น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยม ทําด้วยดินเผา เรียกว่า กระเบื้อง
หน้าวัว; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำด้วย
ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ เรียกว่า กระเบื้องหน้าวัว กระเบื้องว่าว หรือ
กระเบื้องขนมเปียกปูน.
【 หน้าแว่น 】แปลว่า: น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ
ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู
ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก
ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น
แผ่นบาง ๆ.
【 หน้าสว่าง 】แปลว่า: น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.
【 หน้าสลด 】แปลว่า: น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.
【 หน้าสิ่วหน้าขวาน 】แปลว่า: (สำ) ว. อยู่ในระยะอันตรายเพราะอีกฝ่ายหนึ่งกําลัง
โกรธหรือมีเหตุการณ์วิกฤตเป็นต้น.
【 หน้าเสีย 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา
หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
【 หน้าเสี้ยว 】แปลว่า: น. หน้าด้านข้าง (เห็นตา ๒ ข้างและหูข้างเดียว).
【 หน้าหงาย 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย
ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป
ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง
หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า
มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
【 หน้าหัก 】แปลว่า: น. หน้าซึ่งมีสันจมูกคล้ายหักเข้าไป.
【 หน้าเหี่ยว 】แปลว่า: น. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา
เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.
【 หน้าแหก 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ
ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
【 หน้าแหง 】แปลว่า: [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.
【 หน้าแห้ง 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง.
【 หน้าใหญ่ใจโต 】แปลว่า: ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขา
ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.
【 หน้าใหม่ 】แปลว่า: ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่.
【 หน้าไหว้หลังหลอก 】แปลว่า: (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ
หาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
【 หน้าอก 】แปลว่า: น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า.
【 หน้าอ่อน 】แปลว่า: ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว
แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
【 หน้าอัด 】แปลว่า: น. หน้าตรง, หน้าเต็ม, หน้าตรงแบน, (ใช้แก่รูปวาด รูปถ่าย
หรือเหรียญ).
【 หน้าอินทร์หน้าพรหม 】แปลว่า: น. ผู้มีอำนาจ, ผู้ยิ่งใหญ่, เช่น เขาไม่กลัวหน้าอินทร์
หน้าพรหมใด ๆ ทั้งนั้น.
【 หนากาสรี 】แปลว่า: [หฺนากาสะหฺรี] น. ดอกชบา. (ช.).
【 หน่าง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. อวน, ข่าย; รั้ว, คู.
【 หนาด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Blumea balsamifera/ (L.) DC. ในวงศ์ Compositae
ใบใหญ่มีขน กลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้ เชื่อกันว่าผีกลัว.
【 หนาน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. เรียกคนที่สึกจากเพศภิกษุว่า หนานนั่น หนานนี่.
【 หน้านวล ๑ 】แปลว่า: /ดูใน หน้า/.
【 หน้านวล ๒ 】แปลว่า: /ดูใน หน้า/.
【 หน้านวล ๓ 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง/.
【 หน้านวล ๔ 】แปลว่า: /ดู หมอช้างเหยียบ/.
【 หนาม ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนแหลม ๆ ที่งอกออกจากต้นหรือกิ่งของไม้บางชนิดเป็นต้น เช่น
หนามงิ้ว หนามพุทรา.
【 หนามเตย 】แปลว่า: น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง
จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน
เป็นต้น.
【 หนามยอกอก 】แปลว่า: (สํา) น. คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมา
ทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา.
【 หนามยอกเอาหนามบ่ง 】แปลว่า: (สํา) ก. ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทํานองเดียวกัน.
【 หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติ
โดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
【 หนาม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล /Murex/ วงศ์ Muricidae เปลือกมีหนามสั้น
หรือยาวโดยรอบ เช่น ชนิด /M. trapa/.
【 หนามขี้แรด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Acacia pennata/ Willd. ในวงศ์ Leguminosae
ต้นมีหนาม เปลือกใช้ย้อมแหอวนและใช้ทํายาได้.
【 หนามเขียะ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. /(ดู กระบองเพชร ๒)./
【 หนามควายนอน 】แปลว่า: /ดู การเวก ๓/.
【 หนามจี้ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคนทา. /(ดู คนทา)./
【 หนามแดง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Maytenus marcanii/ Ding Hou ในวงศ์
Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Carissa carandas/ L. ในวงศ์
Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง
คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
【 หนามพรม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Carissa cochinchinensis/ Pierre ในวงศ์ Apocynaceae
ต้นมีหนามแข็ง, พรม ก็เรียก.
【 หนามพุงดอ, หนามรอบตัว, หนามเหม็น 】แปลว่า: /ดู พุงดอ/.
【 หนามหลัง 】แปลว่า: /ดู ตามิน/.
【 หนามใหญ่ 】แปลว่า: /ดู หัวโขน ๓/.
【 หน่าย 】แปลว่า: ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ

【 หยุดหย่อน 】แปลว่า: ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทํางานไม่
หยุดหย่อน คือ ทํางานไม่เว้นระยะ.
【 หยุ่น 】แปลว่า: ว. ยุบลงไปแล้วคืนตัวได้.
【 หยุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.
【 หยุมหยิม 】แปลว่า: ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
ว่าเป็นเรื่องสําคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.
【 หยูกยา 】แปลว่า: (ปาก) น. ยารักษาโรค.
【 หโยดม 】แปลว่า: /ดู หย-, หัย/.
【 หรคุณ 】แปลว่า: [หอระคุน] น. จํานวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา; เรียกชาดสีแดงเสนว่า
ชาดหรคุณ.
【 หรณะ 】แปลว่า: [หะระนะ] น. การนําไป. (ป., ส.).
【 หรดาล 】แปลว่า: [หอระดาน] น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน มี
ปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะ
ปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด.
(ป.; ส. หริตาล).
【 หรดาลกลีบทอง 】แปลว่า: น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด
เป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๔๙
สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง
ใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดํา เป็นต้น. (อ. orpiment).
【 หรดาลแดง 】แปลว่า: น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือ
เป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม
เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
หนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืน
ส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์
แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).
【 หรดี 】แปลว่า: [หอระดี] น. ทิศตะวันตกเฉียงใต้. (ป.; ส. ไนรฺฤติ).
【 หรบ ๆ 】แปลว่า: ว. หรับ ๆ.
【 หรรษ-, หรรษา 】แปลว่า: [หันสะ-, หันสา] น. ความรื่นเริง, ความยินดี. (ส. หรฺษ).
【 หรอ 】แปลว่า: [หฺรอ] ก. สึกเข้าไป, กร่อนเข้าไป, ในคําว่า สึกหรอ ร่อยหรอ.
【 หรอก 】แปลว่า: หฺรอก ว. ดอก เช่น ไม่เป็นไรหรอก.
【 หร็อมแหร็ม 】แปลว่า: ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ต้นไม้ขึ้นหร็อมแหร็ม,
กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หย็อมแหย็ม ก็ว่า.
【 หรอย ๆ 】แปลว่า: ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).
【 หระ 】แปลว่า: [หะระ] น. ชื่อพระอิศวร. (ป., ส. หร ว่า นําไป).
【 หรับ ๆ 】แปลว่า: ว. เร่า ๆ, สั่นรัว, (ใช้แก่กิริยาดิ้นเป็นต้น), หรบ ๆ ก็ว่า.
【 หรัสว- 】แปลว่า: [หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).
【 หรัสวมูรดี 】แปลว่า: [หะรัดสะวะมูระดี] ว. มีร่างเล็ก, เตี้ย. (ส.).
【 หรัสวางค์ 】แปลว่า: [หะรัดสะวาง] น. คนเตี้ย. ว. มีร่างเตี้ย. (ส.).
【 หรัสวางค์ 】แปลว่า: /ดู หรัสว-/.
【 หรา 】แปลว่า: [หฺรา] ว. ก๋า, ร่า, เช่น เต้นหรา.
【 หริ 】แปลว่า: [หะริ] น. ชื่อพระนารายณ์. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).
【 หริคันธ์, หริจันทน์ 】แปลว่า: [หะริคัน, หะริจัน] น. จันทน์แดง. (ป., ส.).
【 หริรักษ์ 】แปลว่า: [หะริรัก] น. พระนารายณ์.
【 หริวงศ์ 】แปลว่า: [หะริวง] น. วงศ์หรือเชื้อพระนารายณ์คือพระรามเป็นต้น (ส.).”;.
【 หริ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อหนูขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน
(/Musmusculus/) หนูหริ่งไม้หางพู่ (/Chiropodomys gliroides/).
【 หริ่ง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องของเรไร.
【 หริณะ 】แปลว่า: [หะรินะ] น. กวาง, เนื้อชนิดหนึ่ง, กระต่าย. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง,
สีเขียว. (ป., ส.).
【 หริต 】แปลว่า: [หะริด] น. ของเขียว; ผัก, หญ้า. ว. เขียว; สีนํ้าตาล, สีเหลือง, สีเหลืองอ่อน.
(ป., ส.).
【 หริตกี, หรีตกี 】แปลว่า: [หะริตะกี, หะรีตะกี] น. ต้นสมอไทย. (ป., ส.).
【 หรี่ 】แปลว่า: [หฺรี่] ก. ลดให้น้อยลงหรือเบาลง เช่น หรี่ไฟ หรี่วิทยุ. ว. แคบ ในคำว่า
ตาหรี่.
【 หรี่ตา 】แปลว่า: ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ
สัญญาณบางอย่าง.
【 หรีด 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้
เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับใช้เคารพศพ, พวงหรีด
ก็เรียก. (อ. wreath).
【 หรือ 】แปลว่า: สัน. คําบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง;
คําประกอบกับประโยคคําถาม เช่น ไปหรือ.
【 หรุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.
【 หรุบรู่, หรุบหรู่ 】แปลว่า: ว. มีแสงมัวจนมองอะไรไม่เห็นถนัดชัดเจน เช่น แสงเดือนหรุบรู่, รุบรู่
หรือ รุบหรู่ ก็ว่า.
【 หรุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง
หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
ถ้อยคําที่ทําให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
【 อรรถาธิบาย 】แปลว่า: ก. ขยายความ, อธิบายความ. น. การขยายความ, การอธิบายความ.
【 อรรถาธิบาย 】แปลว่า: /ดู อรรถ, อรรถ/.
【 อรรธ, อรรธ 】แปลว่า: [อัด, อัดทะ] น. ครึ่งหนึ่ง, ซีก, ส่วนหนึ่ง. (ส. อรฺธ; ป. อฑฺฒ, อทฺธ).
【 อรรธกรรณ 】แปลว่า: [อัดทะกัน] น. “ครึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง” คือ รัศมีของวงกลม.
(ส. อรฺธกรฺณ).
【 อรรธคราส 】แปลว่า: [อัดทะคฺราด] น. การมีจันทรคราสและสุริยคราสครึ่งดวง. (ส.).
【 อรรธจักร 】แปลว่า: [อัดทะจัก] น. เรียกดวงชาตาของคนที่พระเคราะห์ไปร่วมกันอยู่
ข้างใดข้างหนึ่ง.
【 อรรธจันทร์ 】แปลว่า: [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง
มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลงทําเป็น
ขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
【 อรรธนิศา 】แปลว่า: [อัดทะนิสา] น. เวลาเที่ยงคืน. (ส.).
【 อรรธบท 】แปลว่า: [อัดทะบด] น. ครึ่งทาง. (ส. อรฺธปท).
【 อรรธภาค 】แปลว่า: [อัดทะพาก] น. ครึ่งหนึ่ง.
【 อรรธสระ 】แปลว่า: [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
【 อรสุม 】แปลว่า: [ออระ] น. ไอนํ้า. (ป. อุสุม).
【 อรสุมพล 】แปลว่า: น. กําลังไอนํ้า.
【 อรหะ 】แปลว่า: [อะระ] ว. ควร, สมควร. (ป., ส.).
【 อรหัง 】แปลว่า: [อะระ, ออระ] น. พระพุทธเจ้า; พระอรหันต์. (ป. อรหํ).
【 อรหัต, อรหัต 】แปลว่า: [อะระหัด, ออระหัด, อะระหัดตะ, ออระหัดตะ] น. ความเป็น
พระอรหันต์. (ป. อรหตฺต; ส. อรฺหตฺตฺว).
【 อรหัตผล 】แปลว่า: น. ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ. (ป. อรหตฺตผล; ส. อรฺหตฺตฺว
+ ผล). /(ดู ผล)./
【 อรหัตมรรค 】แปลว่า: น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค;
ป. อรหตฺตมคฺค). /(ดู มรรค)./
【 อรหัตวิโมกข์ 】แปลว่า: น. ความพ้นจากกิเลสเพราะสําเร็จอรหัต. (ป. อรหตฺตวิโมกฺข).
【 อรหัน 】แปลว่า: [ออระ] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้าย
หัวคน; ผู้วิเศษ.
【 อรหันต, อรหันต์ 】แปลว่า: [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย
บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ
อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา
หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้
อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
【 อรหันตฆาต 】แปลว่า: น. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุดอย่าง ๑ ใน
อนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต
คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท
คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์
แตกแยกกัน. (ป.).
【 อร่อย 】แปลว่า: [อะหฺร่อย] ว. มีรสดี (ใช้แก่ของกิน); (ปาก) ดี, ถึงใจ, ดุเดือด,
เช่น มวยคู่นี้ต่อยกันอร่อยมาก.
【 อรัญ, อรัญ 】แปลว่า: [อะรัน, อะรันยะ] น. ป่า. (ป. อร?ฺ?; ส. อรณฺย).
【 อรัญญิก 】แปลว่า: น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก
ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม),
(โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม).
ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อาร?ฺ??ก ว่า เกี่ยวกับป่า).
【 อรัญวาส 】แปลว่า: น. การอยู่ในป่า. (ป. อร?ฺ?วาส).
【 อรัญวาสี 】แปลว่า: น. ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ คู่กับ
คามวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ. (ป. อร?ฺ?วาสี).
【 อรัณย์ 】แปลว่า: น. ป่า. (ส. อรณฺย; ป. อร?ฺ?).
【 อราดี, อราติ 】แปลว่า: น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ. (ป. อรติ). /(ดู อรดี)./
【 อร่าม 】แปลว่า: [อะหฺร่าม] ว. แพรวพราว, สว่างไสว, เช่น ใส่ทองอร่ามไปทั้งตัว
เปิดไฟอร่ามไปทั้งห้อง.
【 อริ 】แปลว่า: [อะริ, อะหฺริ] น. ข้าศึก, ผู้ที่ไม่ถูกกัน. (ป., ส.).
【 อรินทร์ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา
หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
【 อริน 】แปลว่า: น. ลูกล้อ, จักร. (ส.).
【 อรินทร์ 】แปลว่า: /ดู อริ/.
【 อริย, อริยะ 】แปลว่า: [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ
มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล.
ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
【 อริยทรัพย์ 】แปลว่า: น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ
พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย;
ป. อชฺฌาสย).
【 อัน 】แปลว่า: น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ
สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น,
ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน;
เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ
ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง
เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน
หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า
ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
【 อันนา 】แปลว่า: น. ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น, กระทงนา ก็เรียก.
【 อันเป็น, อันเป็นไป 】แปลว่า: น. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่ง
คนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
【 อันว่า 】แปลว่า: ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ
ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น
อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี
กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔
ฉบับเก่า).
【 อั้น 】แปลว่า: ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้
เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด
เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น
ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่
กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
【 อั้นตั้น 】แปลว่า: ว. อ้วนเตี้ย.
【 อั้นตู้, อั้นอ้น 】แปลว่า: ว. นิ่งอึ้ง, อํ้าอึ้ง, จนปัญญา, คิดไม่ออก.
【 อั๋น 】แปลว่า: ว. มีเนื้อแน่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อวบ เป็น อวบอั๋น.
【 อันดก 】แปลว่า: [ดก] น. ความตาย. (ป., ส. อนฺตก).
【 อันดร 】แปลว่า: [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย
ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร.
(ป., ส. อนฺตร).
【 อันดับ 】แปลว่า: น. ชั้น เช่น พระสงฆ์นั่งตามอันดับ, ระเบียบ; ลําดับ เช่น สอบได้
ในอันดับต้น ๆ.
【 อันด๊าก 】แปลว่า: น. ลิ้น. (ต.).
【 อันโด๊ก 】แปลว่า: น. เต่า, ตะพาบนํ้า. (ต.).
【 อันต ๑ 】แปลว่า: [อันตะ] น. เขต, แดน; ปลายทาง, ที่จบ, อวสาน, ที่สุด; ความตาย,
ความเสื่อมสิ้น. (ป., ส.).
【 อันตกะ 】แปลว่า: [อันตะกะ] น. “ผู้ทําที่สุด” หมายถึง ความตาย คือ
พระยม. (ป., ส.).
【 อันตกาล 】แปลว่า: น. เวลาตาย. (ส.).
【 อันตกิริยา 】แปลว่า: น. “การกระทําซึ่งที่สุด” หมายถึง ตาย เช่น เขากระทํา
ซึ่งอันตกิริยา. (ป.).
【 อันตคู 】แปลว่า: น. ผู้ถึงที่สุด, ผู้ชํานะความทุกข์. (ป.).
【 อันตชาติ 】แปลว่า: น. คนตํ่าช้า, คนไม่มีตระกูล. (ส.).
【 อันต ๒, อันตะ 】แปลว่า: [อันตะ] น. ลําไส้ใหญ่, ราชาศัพท์ว่า พระอันตะ. (ป.; ส. อนฺตฺร).
【 อันตคุณ 】แปลว่า: น. ลําไส้เล็ก, ราชาศัพท์ว่า พระอันตคุณ. (ป.).
【 อันตร 】แปลว่า: [อันตะระ] น. ช่อง. ว. ภายใน, ชั้นใน; ใกล้เคียง, เกือบ; ระหว่าง;
อื่น, ต่างไป. (ป., ส.).
【 อันตรการณ์ 】แปลว่า: น. เหตุขัดข้อง, อุปสรรค, ความติดขัด. (ป.).
【 อันตรภาค 】แปลว่า: พาก น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนน
เป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของ
คะแนนตั้งแต่ ๘๖๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.
【 อันตรวาสก 】แปลว่า: [วาสก] น. ผ้าสบง. (ป.).
【 อันตรธาน 】แปลว่า: [อันตะระทาน, อันตฺระทาน] ก. สูญหายไป, ลับไป. (ป., ส.).
【 อันตรา 】แปลว่า: [อันตะรา] นิ. ระหว่าง. (ป.).
【 อันตราย 】แปลว่า: [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส.
อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
【 อันตรายิกธรรม 】แปลว่า: [ยิกะทํา] น. “ธรรมที่ทําอันตราย” หมายถึง เหตุ
ขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
【 อันตรายิกธรรม 】แปลว่า: /ดู อันตราย/.
【 อันตลิกขะ 】แปลว่า: [อันตะลิกขะ] น. ท้องฟ้า, กลางหาว. (ป.; ส. อนฺตริกฺษ).
เช่น ตุ๊กตาล้มลุกมีศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!