พจนานุกรม ไทย – ไทย บ

【 บ ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ.
【 บ ๒, บ่ 】แปลว่า: [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น,
ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
【 บมิ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ไม่.
【 บราง 】แปลว่า: [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
【 บแรง 】แปลว่า: (โบ) ก. ไม่มีกําลัง, ไม่ไหว.
【 บแรงภักษ์ 】แปลว่า: (โบ) ก. กินไม่ไหว.
【 บเอ 】แปลว่า: (โบ) ว. มิใช่เอก, มิใช่หนึ่ง, มาก.
【 บก 】แปลว่า: น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค
พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
บนบก. ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมด
กําลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
【 บกพร่อง 】แปลว่า: ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความบกพร่อง, หย่อน
ความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
【 บง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ชนิด /Bambusa tulda/ Roxb. ในวงศ์ Gramineae ไม่มีหนาม
ปล้องสั้น เนื้อลําหนา ใช้จักตอก.
【 บง ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท. (ตะเลงพ่าย).
【 บง ๓ 】แปลว่า: ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า
คล้องคอ).
【 บง ๔ 】แปลว่า: (โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา.
(ยวนพ่าย).
【 บงการ 】แปลว่า: ก. ระบุชี้ให้ดําเนินการตาม, ควบคุมดูแลสั่งการเฉียบขาด.
【 บ่ง 】แปลว่า: ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทําของเขา
บ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทําผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อ
เอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.
【 บงก-, บงก์ 】แปลว่า: (แบบ) น. เปือกตม, โคลน, โดยมากใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น
บงกช ว่า ของที่เกิดในเปือกตม คือ บัว. (ป., ส. ปงฺก).
【 บงกช 】แปลว่า: [บงกด] น. บัว. (ป., ส. ปงฺกช).
【 บงกชกร 】แปลว่า: -กดชะกอน น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม, กระพุ่มมือ, มือ
เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ).
【 บงกช 】แปลว่า: /ดู บงก-, บงก์./
【 บงกชกร 】แปลว่า: /ดู บงก-, บงก์./
【 บ๊งเบ๊ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ทําเสียงเอะอะ, ทําเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์.
【 บงสุ-, บงสุ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ฝุ่น, ละออง, ธุลี. (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
【 บงสุกุล 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า
บังสุกุล. /(ดู บังสุกุล)/. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
【 บงสุกูลิก 】แปลว่า: น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้
ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเป็นเครื่องนุ่งห่ม
คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
【 บงอับบงรา, บ่งอับบ่งรา 】แปลว่า: ก. เข้าที่อับจน.
【 บฏ 】แปลว่า: (แบบ) น. ผ้าทอ, ผืนผ้า; เรียกผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและ
แขวนไว้เพื่อบูชาว่า พระบฏ. (ป. ปฏ).
【 บด ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก,
ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
【 บดขยี้ 】แปลว่า: ก. ทําลายให้ย่อยยับแหลกลาญ.
【 บดบัง 】แปลว่า: ก. บังแสง, บังรัศมี.
【 บดเอื้อง 】แปลว่า: ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยว
อีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง
ก็ว่า.
【 บด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมัก
ท้ายตัดอย่างเรือบดทหารเรือ.
【 บดินทร์ 】แปลว่า: [บอดิน] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ปติ + อินฺทฺร).
【 บดี 】แปลว่า: บอดี น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส.
ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความว่า นาย
หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความแต่ผัว
เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
【 บดีธรรม 】แปลว่า: น. หน้าที่ของผัว. (ส. ปติธรฺม).
【 บดีพรต, บดีวรดา 】แปลว่า: น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัวแก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็น
ชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่านั้น (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).
【 บดีศร 】แปลว่า: บอดีสอน น. นายผู้เป็นใหญ่.
【 บถ 】แปลว่า: (แบบ) น. ทาง เช่น กรรมบถ. (ป. ปถ).
【 บท ๑, บท- ๑ 】แปลว่า: [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑
บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔
สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์
ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท
เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป
ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
【 บทกลอน 】แปลว่า: น. คําประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
【 บทกวีนิพนธ์ 】แปลว่า: น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง.
【 บทกำหนดโทษ 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติในกฎหมายที่กําหนดโทษทางอาญา.
【 บทความ 】แปลว่า: น. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น
มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น.
【 บทคัดย่อ 】แปลว่า: น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสําคัญ, ข้อคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
【 บทเจรจา 】แปลว่า: น. คําที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคําธรรมดา.
【 บทเฉพาะกาล 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะในช่วงเวลา
หนึ่งหรือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับกฎหมายนั้น.
【 บทดอกสร้อย 】แปลว่า: น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่
๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔
คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
【 บทนำ 】แปลว่า: น. บทบรรณาธิการ.
【 บทบรรณาธิการ 】แปลว่า: น. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนําเขียนเพื่อแสดง
ความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนํา ก็ว่า.
【 บทบัญญัติ 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้อความที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมาย.
【 บทบาท 】แปลว่า: [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยายหมายความว่า
การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
【 บทบาทมาก 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีท่าทางมาก, ยืดยาดเพราะพิธีรีตองมาก, เช่น กว่าจะออก
จากบ้านได้บทบาทมากเหลือเกิน.
【 บทบูรณ์ 】แปลว่า: [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์
ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา “นุ” เป็น
บทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
【 บทประพันธ์ 】แปลว่า: น. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
【 บทพากย์ 】แปลว่า: น. คํากล่าวเรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น.
【 บทเพลง 】แปลว่า: น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง เนื้อร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า.
【 บทภาชน์ 】แปลว่า: [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
【 บทภาชนีย์ 】แปลว่า: [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
【 บทร้อง 】แปลว่า: น. คําประพันธ์สําหรับขับร้อง, คำร้อง เนื้อร้อง หรือ บทเพลง ก็ว่า.
【 บทเรียน 】แปลว่า: น. คําสอนที่กําหนดให้เรียน, ข้อที่เป็นคติเตือนใจ เช่น บทเรียนในชีวิต.
【 บทลงโทษ 】แปลว่า: น. ข้อบัญญัติโทษทางอาญา.
【 บทสนทนา 】แปลว่า: น. คําพูดที่โต้ตอบกันในการเรียนภาษา.
【 บทสังขยา 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงแบบโบราณ.
【 บทอัศจรรย์ 】แปลว่า: น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์
ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดยใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรือ
อุปมาอุปไมยเป็นต้น.
【 บท ๒, บท- ๒ 】แปลว่า: (แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคําอื่น ๆ
หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี
บทเรศ, /(ดูคําแปลที่คํานั้น ๆ)./ (ป. ปท).
【 บทจร 】แปลว่า: บดทะ- ก. เดินไป. (ป.).
【 บทบงกช 】แปลว่า: บดทะ- น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
【 บทบงสุ์ 】แปลว่า: [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
【 บทมาลย์ 】แปลว่า: บดทะ- น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.
【 บทรัช 】แปลว่า: บดทะ- น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).
【 บทเรศ 】แปลว่า: บดทะ- น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล.
(ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
【 บทวเรศ 】แปลว่า: บดทะวะเรด น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี.
(ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
【 บทวลัญช์ 】แปลว่า: บดทะวะลัน น. รอยเท้า. (ป. ปทวลญฺช).
【 บทวาร 】แปลว่า: บดทะวาน น. ชั่วก้าวเท้า, ระยะก้าวเท้า, เช่น ทางเล็ก
ควรบทวารผู้หนึ่งจะพึงไป. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
【 บทศรี 】แปลว่า: บดทะ- น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
【 บทามพุช 】แปลว่า: บะทามะพุด น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระบทามพุช. (ยวนพ่าย).
(ป. ปท + อมฺพุช).
【 บทามพุช 】แปลว่า: /ดู บท ๒, บท- ๒./
【 บโทน 】แปลว่า: [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
【 บน ๑ 】แปลว่า: ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ
แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า.
ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน.
บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ
มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
【 บนข้าวผี ตีข้าวพระ 】แปลว่า: (สํา) ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือโดยจะ
แก้บนเมื่อสําเร็จประสงค์แล้ว.
【 บนบาน 】แปลว่า: ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือ
ทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บน ก็ว่า.
【 บนบานศาลกล่าว 】แปลว่า: (สํา) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
【 บน ๒ 】แปลว่า: น. คํา เช่น ให้บนถ้อยคํา. (จินดามณี); คําที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คําให้
การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
【 บ่น 】แปลว่า: ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่น
ภาวนา.
บ่นถึง ก. กล่าวถึงบ่อย ๆ.
【 บพิตร 】แปลว่า: บอพิด น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้
อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
【 บพิตรพระราชสมภาร 】แปลว่า: ส. คําที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 บพิธ 】แปลว่า: [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
【 บ่ม 】แปลว่า: ก. ทําให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา;
โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี
บ่มนิสัย.
【 บ่มนิสัย 】แปลว่า: ก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.
【 บ่มบารมี 】แปลว่า: ก. บำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์, สั่งสมอบรมบารมีให้สมบูรณ์.
【 บ่มผิว 】แปลว่า: ก. ทําให้ผิวงามด้วยการอยู่ในที่ซึ่งไม่ถูกแดดถูกลมจนเกินไป.
【 บ่มมัน 】แปลว่า: ก. อาการที่ช้างกําลังจะตกมัน.
【 บ่มหนอง 】แปลว่า: ก. ทําให้ฝีกลัดหนองเต็มที่เพื่อบ่งได้ง่าย.
【 บร- 】แปลว่า: [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์.
(ป., ส. ปร).
【 บรทาร 】แปลว่า: -ทาน น. เมียเขา. (ส.).
【 บรทารกรรม 】แปลว่า: -ทาระ- น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).
【 บรม, บรม- 】แปลว่า: [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศ
ยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส.
ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
【 บรมครู 】แปลว่า: น. คำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ.
【 บรมธาตุ 】แปลว่า: น. กระดูกพระพุทธเจ้า.
【 บรมบพิตร 】แปลว่า: [บอรมมะบอพิด] น. คําที่พระสงฆ์ใช้สําหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
หรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
【 บรมวงศานุวงศ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ญาติ.
【 บรมอัฐิ 】แปลว่า: น. กระดูกพระมหากษัตริย์หรือพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง.
【 บรมัตถ์ 】แปลว่า: [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง
ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น
บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
【 บรรกวด 】แปลว่า: [บัน-] ก. ประกวด, แข่งขัน.
【 บรรจง 】แปลว่า: [บัน-] ก. ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อย
ใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
【 บรรจถรณ์ 】แปลว่า: บันจะถอน น. เครื่องลาด, เครื่องปู, ที่นอน. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
【 บรรจบ 】แปลว่า: [บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจํานวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ครบถ้วน;
จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมา
บรรจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมบรรจบกัน;
ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.
【 บรรจวบ 】แปลว่า: [บัน-] ก. ประจวบ, ประสบ, พบปะ, สบเหมาะ, บังเอิญพบ.
【 บรรจุ 】แปลว่า: [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ
หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ;
โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง
ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ
เข้าไว้ในรายการ.
【 บรรเจิด 】แปลว่า: [บัน-] ก. เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
【 บรรณ, บรรณ- 】แปลว่า: [บัน, บันนะ-] น. ปีก; หนังสือ; ใบไม้. (ส. ปรฺณ; ป. ปณฺณ).
【 บรรณกุฎี 】แปลว่า: น. กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณ + กุฏิ).
【 บรรณพิภพ, บรรณโลก 】แปลว่า: (แบบ) น. วงการหนังสือ.
【 บรรณศาลา 】แปลว่า: น. ที่สํานักของฤๅษีหรือผู้บําเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้.
(ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).
【 บรรณสาร 】แปลว่า: (โบ) น. หนังสือราชการ.
【 บรรณาการ 】แปลว่า: [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี.
(ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
【 บรรณาคม 】แปลว่า: [บันนาคม] น. ห้องหนังสือ.
【 บรรณาธิกร 】แปลว่า: บันนา- ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
【 บรรณาธิการ 】แปลว่า: [บันนาทิกาน] น. ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบ
เรื่องลงพิมพ์; (กฎ) บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทํา ตรวจแก้
คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์.
【 บรรณานุกรม 】แปลว่า: [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า,
บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือ
ของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์
สั้น ๆ ประกอบ.
【 บรรณารักษ์ 】แปลว่า: [บันนารัก] น. บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานใน
ห้องสมุด.
【 บรรณารักษศาสตร์ 】แปลว่า: [บันนารักสะสาด, บันนารักสาด] น. วิชาที่ว่าด้วยการบริหารห้องสมุด.
【 บรรณาการ 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณาคม 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณาธิกร 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณาธิการ 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณานุกรม 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณารักษ์ 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรณารักษศาสตร์ 】แปลว่า: /ดู บรรณ, บรรณ-./
【 บรรดา 】แปลว่า: [บัน-] ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น
บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า.
【 บรรดามี 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่มีอยู่ทั้งหมด, ประดามี ก็ว่า.
【 บรรดาก 】แปลว่า: บันดาก น. ธง, ธงผืนผ้า. (ป. ปฏาก; ส. ปตากา).
【 บรรดาศักดิ์ 】แปลว่า: [บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคล
ทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช
พระยาพลเทพ.
【 บรรตานึก 】แปลว่า: บันตานึก น. ปัตตานึก, พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส.
ปตฺตานีก).
【 บรรถร 】แปลว่า: บันถอน น. ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป. ปตฺถร; ส. ปฺรสฺตร).
【 บรรทม 】แปลว่า: บัน- ก. นอน, ประทม หรือ ผทม ก็ว่า. (ข. ผทม).
【 บรรทัด 】แปลว่า: [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น
แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด
เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่
เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก
ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น
ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น
สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี
หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น
ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
【 บรรทัดฐาน 】แปลว่า: น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง,
เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
【 บรรทัดรองมือ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียนภาพ เป็นไม้แบน ๆ
ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลายข้างหนึ่งด้วยสำลีพัน
กระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
【 บรรทัดราง 】แปลว่า: น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้
เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำบรรจุ
อยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้น
ที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตาม
ต้องการ.
【 บรรทับ 】แปลว่า: [บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ.
(ทวาทศมาส).
【 บรรทาน 】แปลว่า: [บัน-] ก. เพิ่มให้, ให้. (แผลงมาจาก ประทาน).
【 บรรทุก 】แปลว่า: [บัน-] ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้าย
ไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้ โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น
บรรทุกงานไว้มาก, (ปาก) กินเกินอัตรา เช่น บรรทุกเข้าไปจนท้อง
แทบแตก.
【 บรรเทา 】แปลว่า: [บัน-] ก. ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง,
เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์
อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
【 บรรเทือง 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประเทือง) ก. ทําให้กระเตื้องขึ้น, พยุง,
ทําให้ดีขึ้น.
【 บรรพ, บรรพ- ๑ 】แปลว่า: [บับ, บับพะ-] น. ข้อ, ปล้อง, เล่ม, หมวด, ภาค, ตอน, กัณฑ์; ขั้นบันได;
ระยะหรือเวลาที่กําหนด. (ป. ปพฺพ; ส. ปรฺวนฺ).
【 บรรพภาค 】แปลว่า: (แบบ) น. ข้อมือ. (ส.).
【 บรรพเภท 】แปลว่า: (แบบ) น. ความปวดร้าวในข้อ. (ส.).
【 บรรพมูล 】แปลว่า: (แบบ) น. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
【 บรรพ- ๒, บรรพ์ 】แปลว่า: [บันพะ-, บัน] ว. ก่อน, ทีแรก, เบื้องต้น; ตะวันออก. (ป. ปุพฺพ;
ส. ปูรฺว).
【 บรรพบุรุษ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคลที่นับตั้งแต่
ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
【 บรรพสตรี 】แปลว่า: น. หญิงผู้เป็นต้นวงศ์.
【 บรรพชา 】แปลว่า: [บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทําได้ยาก, ถ้าใช้
เข้าคู่กับคํา อุปสมบท บรรพชาหมายความว่า การบวชเป็นสามเณร
อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชา
เป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
【 บรรพชิต 】แปลว่า: [บันพะชิด] น. นักบวชในพระพุทธศาสนา. (ป. ปพฺพชิต; ส. ปฺรวฺรชิต).
【 บรรพต, บรรพต- 】แปลว่า: [บันพด, บันพดตะ-] น. ภูเขา. (ส. ปรฺวต; ป. ปพฺพต).
【 บรรพตกีลา 】แปลว่า: (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
【 บรรพตชาล 】แปลว่า: (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + ชาล).
【 บรรพตธาตุ 】แปลว่า: (แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).
【 บรรพตมาลา 】แปลว่า: (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + มาลา).
【 บรรพตราช 】แปลว่า: (แบบ) น. พญาเขา. (ส. ปรฺวต + ราช).
【 บรรพตวาสี 】แปลว่า: (แบบ) น. ชาวเขา. (ส. ปรฺวต + วาสินฺ).
【 บรรพตศิขร 】แปลว่า: (แบบ) น. ยอดเขา. (ส. ปรฺวต + ศิขร).
【 บรรยง 】แปลว่า: [บัน-] ก. ทําให้งาม, ทําให้ดี.
【 บรรยงก์ 】แปลว่า: [บัน-] น. ที่นั่ง. (ส. ปรฺยงฺก).
【 บรรยเวกษก์ 】แปลว่า: [บันยะเวก] น. ผู้ดูแลทั่วไป เป็นตําแหน่งในวิทยาลัย. (ส. ปริ + อว +
อีกฺษก).
【 บรรยากาศ 】แปลว่า: น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึง
ความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศ
รอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กําหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่า
เท่ากับความดันของลําปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐?ซ. ณ ระดับ
ทะเลที่ละติจูด ๔๕? หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.
【 บรรยาย 】แปลว่า: [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง
เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
【 บรรลัย 】แปลว่า: [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า.
【 บรรลัยกัลป์ 】แปลว่า: [บันไลกัน] น. เรียกไฟที่เชื่อกันว่าจะล้างโลกเมื่อสิ้นกัปว่า ไฟบรรลัยกัลป์,
ไฟกัลป์ หรือ ไฟประลัยกัลป์ ก็ว่า.
【 บรรลัยจักร 】แปลว่า: [บันไลยะจัก] ว. วายวอด, มักใช้เป็นคําด่าประกอบคํา ฉิบหาย
เป็น ฉิบหายบรรลัยจักร.
【 บรรลาย ๑ 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ปราย) ก. ปราย, โปรย, เช่น หยั่งหยาด
วลาหกบรรลาย. (อุเทน).
【 บรรลาย ๒ 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ปลาย) น. ยอด, ที่สุด, ตรงข้ามกับ ต้น.
【 บรรลุ 】แปลว่า: [บัน-] ก. ลุ, ถึง, สําเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.
【 บรรลุนิติภาวะ 】แปลว่า: (กฎ) ก. มีอายุถึงกําหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะผู้เยาว์และให้มี
ความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง เช่น บุคคลย่อมพ้น
จากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือโดย
การสมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้ว.
【 บรรเลง 】แปลว่า: [บัน-] ก. ทําเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ.
【 บรรโลม 】แปลว่า: บัน- ก. ประโลม, ทําให้พึงใจ.
【 บรรษัท 】แปลว่า: [บันสัด] (แบบ; แผลงมาจาก บริษัท) น. หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกัน
เข้าหุ้นส่วนทําการค้าขาย; (กฎ) นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับ
บริษัทจํากัด ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).
【 บรรสบ 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสบ) ก. พบ.
【 บรรสพ 】แปลว่า: [บัน-] ก. เกิดผล, ได้. (แผลงมาจาก ประสพ).
【 บรรสม 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสม) ก. รวมกันเข้า, ปน, ระคน, เจือ.
【 บรรสาน 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน,
เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
【 บรรสาร 】แปลว่า: [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาร) ก. คลี่ออก.
【 บรรหาน 】แปลว่า: [บัน-] ก. แสดง.
【 บรรหาร 】แปลว่า: [บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.
【 บรอนซ์ 】แปลว่า: น. ผงโลหะที่มีสีแวววาว ใช้ผสมสีหรือโรยบัตรเชิญเป็นต้น เช่น
สีเงินบรอนซ์ สีทองบรอนซ์.
【 บรัด 】แปลว่า: [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด
แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 บรั่นดี 】แปลว่า: [บะหฺรั่น-] น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเหล้าองุ่น. (อ. brandy).
【 บรัศว์ 】แปลว่า: [บะหฺรัด] น. ข้าง, สีข้าง; ฟ้าดิน. (ส. ปารฺศฺว; ป. ปสฺส).
【 บรากรม 】แปลว่า: บะรากฺรม น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม,
ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม;
ป. ปรกฺกม).
【 บราทุกรา 】แปลว่า: [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
【 บราลี 】แปลว่า: [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ
ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
【 บริกรม 】แปลว่า: บอริกฺรม ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
【 บริกรรม 】แปลว่า: [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก
คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์.
(ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
【 บริกัป 】แปลว่า: บอริกับ น. ความตรึก, ความดําริ, การกําหนด. (ป. ปริกปฺป;
ส. ปริกลฺป).
【 บริการ 】แปลว่า: [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการ
ลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้
บริการ ใช้บริการ.
【 บริขา 】แปลว่า: บอริ- น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
【 บริขาร 】แปลว่า: [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘
อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม
ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร,
สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
【 บริขารโจล 】แปลว่า: -โจน น. ท่อนผ้าสําหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬ
ก็มี. (ป.).
【 บริคณห์ 】แปลว่า: บอริคน น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความ
กําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล.
(ป. ปริคฺคหณ).
【 บริคณห์สนธิ 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจํานวนตั้งแต่
๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของกฎหมายในการ
จัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
【 บริจาค 】แปลว่า: [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความ
เสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. /(ดู ทศพิธราชธรรม หรือ/
/ราชธรรม)/. (ป. ปริจฺจาค).
【 บริจารก 】แปลว่า: [บอริจารก] น. คนใช้, คนบําเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
【 บริจาริกา 】แปลว่า: [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า
เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือ
ตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
【 บริเฉท, บริเฉท- 】แปลว่า: [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่
รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ.
(ป. ปริจฺเฉท).
【 บริเฉทกาล 】แปลว่า: [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกําหนดลง.
【 บริชน 】แปลว่า: บอริชน น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
【 บริณายก 】แปลว่า: บอรินายก น. ปริณายก, ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่.
(ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).
【 บริณายกรัตน์ 】แปลว่า: [บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติประการ ๑ ในสมบัติ
๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
【 บริดจ์ 】แปลว่า: [บฺริด] น. กีฬาในร่มชนิดหนึ่ง มีผู้เล่น ๔ คน โดยแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายละ ๒ คน ใช้ไพ่ป๊อกเต็มทั้งสํารับแจกให้คนละ ๑๓ ใบ.
(อ. bridge).
【 บริบท 】แปลว่า: บอริบด น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย,
ปริบท ก็ว่า.
【 บริบวรณ์ 】แปลว่า: [บอริ-บวน] (โบ; กลอน) ก. บริบูรณ์.
【 บริบาล 】แปลว่า: [บอริบาน] ก. ดูแลรักษา, ดูแลเลี้ยงดู, เช่น บริบาลทารก. น. ผู้รักษา,
ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู. (ป., ส. ปริปาล).
【 บริบูรณ์ 】แปลว่า: [บอริบูน] ก. ครบถ้วน, เต็มที่, เต็มเปี่ยม. (ส. ปริปูรฺณ; ป. ปริปุณฺณ).
【 บริพนธ์ 】แปลว่า: บอริพน ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
【 บริพัตร 】แปลว่า: [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย.
(ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
【 บริพันธ์ 】แปลว่า: [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
【 บริพาชก 】แปลว่า: บอริพาชก น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา
ประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).
【 บริพาชิกา, บริพาชี 】แปลว่า: บอริ- น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง
ในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชี).
【 บริพาร 】แปลว่า: [บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).
【 บริภัณฑ์ ๑ 】แปลว่า: [บอริพัน] น. วง, สิ่งแวดล้อม; เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขา
พระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้นว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ).
/(ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์)./
【 บริภัณฑ์ ๒ 】แปลว่า: [บอริพัน] น. ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องเรือน. (ป. ปริภณฺฑ).
【 บริภัณฑ์ ๓ 】แปลว่า: [บอริพัน] น. ผ้าทาบประกอบริมสบงหรือจีวรด้านกว้าง.
【 บริภาษ 】แปลว่า: [บอริพาด] ก. กล่าวติเตียน, กล่าวโทษ, ด่าว่า. (ส. ปริภาษ).
【 บริโภค 】แปลว่า: [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ)
เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น
บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
【 บริโภคเจดีย์ 】แปลว่า: [บอริโพกคะ-] น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า.
【 บริมาส 】แปลว่า: [บอริมาด] น. พระจันทร์เต็มดวง.
【 บริยาย 】แปลว่า: [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
【 บริรม 】แปลว่า: [บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).
【 บริรักษ์ 】แปลว่า: [บอริรัก] ก. ดูแล, รักษา, ปกครอง. (ส. ปริรกฺษ; ป. ปริรกฺข).
【 บริราช 】แปลว่า: [บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
【 บริวรรต 】แปลว่า: [บอริวัด] ก. ปริวรรต. (ส. ปริวรฺต).
【 บริวาร 】แปลว่า: [บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ
๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็นประธาน
เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).
【 บริวาส 】แปลว่า: [บอริวาด] น. ปริวาส. (ป., ส. ปริวาส).
【 บริเวณ 】แปลว่า: [บอริเวน] น. พื้นที่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน
บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง. (ป., ส. ปริเวณ).
【 บริษการ 】แปลว่า: บอริสะกาน น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
【 บริษัท 】แปลว่า: [บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไร
ต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
【 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 】แปลว่า: (กฎ) น. บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิต
ฟองซิเอร์ อันได้แก่ การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์
เป็นทางค้าปรกติหรือประกอบธุรกิจการรับซื้อฝาก หรือกิจการอื่น
เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
【 บริษัทเงินทุน 】แปลว่า: (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดหามา
ซึ่งเงินทุน และใช้เงินทุนนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น การพาณิชย์ การพัฒนา การเคหะ.
【 บริษัทจำกัด 】แปลว่า: (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน
โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ
มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
【 บริษัทบริวาร 】แปลว่า: น. คนแวดล้อม เช่น เขามีบริษัทบริวารมาก.
【 บริษัทมหาชนจำกัด 】แปลว่า: (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้น
ต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกินจํานวนเงิน
ค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้น
ไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
【 บริษัทหลักทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ
ธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้า
หลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
การจัดการกองทุนรวม.
【 บริสชน 】แปลว่า: [บอริสะชน] น. บริวาร.
【 บริสุทธิ์ 】แปลว่า: [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน,
ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น
เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์.
น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
【 บริสุทธิ์ใจ 】แปลว่า: ว. มีนํ้าใสใจจริง, มีใจใสสะอาด, เช่น ทําด้วยความบริสุทธิ์ใจ.
【 บริหาร 】แปลว่า: [บอริหาน] ก. ออกกําลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหาร
ส่วนท้องถิ่น; ดําเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้.
น. ดํารัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คําแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร.
(ป., ส. ปริหาร).
【 บริหาส 】แปลว่า: บอริหาด ก. หัวเราะ, ร่าเริง, เยาะเย้ย. (ป., ส. ปริหาส).
【 บฤงคพ 】แปลว่า: [บฺริงคบ] (โบ; กลอน) น. ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า. (ป., ส. ปุงฺคว).
【 บล็อก 】แปลว่า: น. แม่พิมพ์ทําด้วยแผ่นโลหะ ใช้ในกิจการพิมพ์. (อ. block).
【 บวก 】แปลว่า: ก. เอาจํานวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจํานวนหนึ่งหรือหลายจํานวนให้
เป็นจํานวนเพิ่มขึ้นจํานวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไป
ในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก;
ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวน
บวก. น. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก.
【 บวง 】แปลว่า: ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้
เข้าคู่กับคําอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บําบวง.
【 บวงสรวง 】แปลว่า: [-สวง] ก. บูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น.
【 บ่วง 】แปลว่า: น. เชือกที่ทําเป็นวงสําหรับคล้อง รูดเข้าออกได้, โดยปริยายหมายถึง
สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่วงมาร.
【 บ่วงบาศ 】แปลว่า: น. บ่วงสําหรับโยนไปคล้อง.
【 บวช ๑ 】แปลว่า: ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
【 บวชชี 】แปลว่า: ก. ถือเพศเป็นชี. น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยกล้วย ต้มกับกะทิ.
【 บวช ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทําอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้า
บวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
【 บวน 】แปลว่า: น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา
กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้
บางชนิดมีใบมะตูม มะขวิด เป็นต้น ทําให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ มีรส
หวาน เค็ม.
【 บ้วน 】แปลว่า: ก. ทําให้นํ้าหรือของเหลวออกจากปาก.
【 บ้วนปาก 】แปลว่า: ก. ล้างปากด้วยอาการที่อมนํ้าแล้วบ้วนออกมา.
【 บ้วนพระโอษฐ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. กระโถน.
【 บวบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล /Luffa/ วงศ์ Cucurbitaceae ดอกสีเหลือง
ผลกินได้ เช่น บวบเหลี่ยม (/L. acutangula/ L.) บวบกลม หรือ บวบหอม
(/L. cylindrica/ L.).
【 บวบขม 】แปลว่า: /ดู นมพิจิตร (๒)./
【 บวม 】แปลว่า: ก. อาการที่เนื้ออูมหรือนูนขึ้นเพราะอักเสบหรือฟกชํ้าเป็นต้น.
【 บวมน้ำ 】แปลว่า: น. ภาวะที่มีนํ้าระหว่างเซลล์หรือภายในเซลล์มากเกินปรกติอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง, โดยทั่วไปหมายถึงภาวะที่มีนํ้าอยู่ใต้
ผิวหนังมากเกินปรกติ และอาจพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น สมอง
ปอด. (อ. edema, oedema).
【 บ๊วย ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Myrica rubra/ Sieb. et Zucc. ในวงศ์ Myricaceae
ผลกลม ผิวขรุขระ สุกสีแดงคลํ้า กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ. (๒)
ชื่อไม้ต้นชนิด /Prunus mume/ Sieb. et Zucc. ในวงศ์ Rosaceae ผลกลม
แบน มีขน ผลสุกสีเหลือง รสเปรี้ยวจัดและขม ดองเกลือแล้วกินได้.
【 บ๊วย ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ที่สุดท้าย, ล้าหลังที่สุด. (จ.).
【 บวร, บวร- 】แปลว่า: บอวอน, บอวอระ- ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นําหน้า
คํานามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง
เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).
【 บวรโตฎก 】แปลว่า: [บอวอระโตดก] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
【 บหลิ่ม 】แปลว่า: [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์
ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม
มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
【 บอ 】แปลว่า: ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.
【 บ่อ 】แปลว่า: น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ
เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
【 บ่อเกิด 】แปลว่า: น. แหล่งที่เกิด, แหล่งที่มา, ต้นกําเนิด, เช่น บ่อเกิดวัฒนธรรม
บ่อเกิดรามเกียรติ์.
【 บ่อน้ำร้อน 】แปลว่า: น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิ
ของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมาก
เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัวหรือ
กลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน
และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมี
ที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุ
กํามะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมี
สมบัติทางยาได้.
【 บ้อ, บ้อหุ้น 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง
บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน
เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตาราง
หรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่ง
ให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว”
โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้
ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็น
ฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจ
ว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า
“อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง
ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
【 บอก ๑ 】แปลว่า: น. ปล้องไม้ไผ่มีข้อขังข้างก้นสําหรับใส่นํ้าเป็นต้น, มักใช้ว่า
กระบอก.
【 บอก ๒ 】แปลว่า: ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง;
บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก
ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน
เช่น ใบบอก.
【 บอกกล่าว 】แปลว่า: ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
【 บอกแขก 】แปลว่า: ก. บอกเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันทํางาน เช่น บอกแขกเกี่ยวข้าว.
【 บอกคำบอก 】แปลว่า: ก. บอกหรืออ่านหนังสือให้เขียนตาม.
【 บอกบท 】แปลว่า: ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่าน
ข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือ
สั่งให้ทําสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
【 บอกบัญชี 】แปลว่า: (โบ) ก. บอกศาลา.
【 บอกบุญ 】แปลว่า: ก. บอกชักชวนให้ทําบุญเช่นในการสร้างโบสถ์ทอดกฐิน.
【 บอกใบ้ 】แปลว่า: ก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย.
【 บอกปัด, บอกเปิด 】แปลว่า: ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
【 บอกยี่ห้อ 】แปลว่า: (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคําพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัยใจคอ
หรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
【 บอกเล่าเก้าสิบ 】แปลว่า: (สํา) ก. บอกกล่าวให้รู้.
【 บอกวัตร 】แปลว่า: (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทําวัตรเย็น
เสร็จแล้ว.
【 บอกศาลา 】แปลว่า: ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดู
อีกต่อไป.
【 บอกหนทาง 】แปลว่า: ก. เตือนสติให้ระลึกถึงคุณพระในขณะใกล้จะตาย.
【 บอกหนังสือสังฆราช 】แปลว่า: (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว, สอนหนังสือสังฆราช ก็ว่า.
【 บอกหัว 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กะโหลกหัว.
【 บอง ๑ 】แปลว่า: น. เสือบอง. /(ดู แมวป่า ที่ แมว ๑)./
【 บอง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระบอง.
【 บ่อง 】แปลว่า: ก. เจาะ, สับ.
【 บ้อง 】แปลว่า: น. ปล้องไม้จําพวกไม้ไผ่ที่ขังข้อ; สิ่งที่เป็นช่องคล้ายกระบอก เช่น
ช่องสําหรับสวมด้ามขวานหรือสิ่วเป็นต้น, ลักษณนามเรียกการสูบ
กัญชาหมดครั้งหนึ่งว่า บ้องหนึ่ง.
【 บ้องกัญชา 】แปลว่า: น. ปล้องไม้ไผ่ชนิดขังข้อสําหรับสูบกัญชา.
【 บ้องตัน 】แปลว่า: น. เนื้อสันที่อยู่ภายในโคนหางของจระเข้เป็นต้น.
【 บ้องตื้น 】แปลว่า: ว. มีความคิดอย่างโง่ ๆ.
【 บ้องไฟ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งมีหางยาวอย่างกรวดดอกไม้ไฟ แต่มีขนาด
ใหญ่มาก, บั้งไฟ ก็ว่า.
【 บ้องยาแดง 】แปลว่า: น. ปล้องไม้ไผ่ชนิดขังข้อ สําหรับสูบยาแดง.
【 บ้องหู 】แปลว่า: น. ช่องหู, รูหู, เช่น ขี้หูเต็มบ้องหู.
【 บ๊อง, บ๊อง ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่เต็มเต็ง, บ้า ๆ บอ ๆ.
【 บ้องตะลา 】แปลว่า: น. งูชนิดหนึ่ง, ตะยองสะลา ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
【 บ้องแบ๊ว 】แปลว่า: ว. มีหน้าตาพิลึก.
【 บองหลา 】แปลว่า: /ดู จงอาง./
【 บอด 】แปลว่า: ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น
วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก
นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
【 บอดสี 】แปลว่า: น. เรียกตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่
รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่ ว่า ตาบอดสี.
【 บอน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด /Colocasia/
/esculenta/ (L.) Schott var. /antiquorum/ (Schott) Hubb.
et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุก
แล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล /Caladium/ ใบมีสีและ
ลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [/C. bicolor/ (Ait.) Vent.]
บอนเสวก (/C. argyrites/ Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข
เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก
ซุกปากบอน.
【 บ่อน 】แปลว่า: น. แหล่งเป็นที่ชุมนุมกันเพื่อเล่นการพนัน เช่น บ่อนไก่ บ่อนเบี้ย
บ่อนไพ่, แหล่งเป็นที่ชุมนุมกันเพื่อการบางอย่างมีเล่นสักวาหรือ
เล่านิทานเป็นต้น เช่น บ่อนสักวา บ่อนเล่านิทาน. ก. กินฟอนอยู่
ข้างใน เช่น หนอนบ่อนไส้, ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน.
(โลกนิติ).
【 บ่อนแตก 】แปลว่า: ก. ก่อเรื่องทําให้คนที่มาชุมนุมกันต้องเลิกไปกลางคัน.
【 บ่อนทำลาย 】แปลว่า: ก. แทรกซึมเข้าไปเพื่อทําลายอยู่ภายในทีละน้อย ๆ.
【 บอนลายกระหนก 】แปลว่า: /ดู กระหนกนารี./
【 บอบ 】แปลว่า: ว. อ่อนเปลี้ยหรือหมดแรงเพราะถูกทุบตีอย่างรุนแรง หรือเจ็บป่วย
อย่างหนัก หรือออกกําลังมากเกินไปเป็นต้น.
【 บอบช้ำ 】แปลว่า: ว. ฟกชํ้าและระบม.
【 บอบบาง 】แปลว่า: ว. อ้อนแอ้น, ไม่แน่นหนาหรือไม่คงทน.
【 บอบแบบ 】แปลว่า: ว. อ่อนป้อแป้.
【 บ้อม 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําร้ายร่างกายด้วยการทุบตี.
【 บ๋อม 】แปลว่า: ว. บุ๋ม.
【 บ่อย, บ่อย ๆ 】แปลว่า: ว. หลายครั้งหลายหนในระยะเวลาไม่สู้นาน.
【 บอระเพ็ด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Tinospora crispa/ (L.) Hook.f. et Thomson
ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
【 บอระมาน 】แปลว่า: (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
【 บอล 】แปลว่า: น. ลูกกลมทําด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด
ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุม
ทางสังคมที่มีลีลาศ รําวง เป็นหลักสําคัญ ว่า งานบอล.
【 บอลลูน 】แปลว่า: /ดู บัลลูน./
【 บ้อหุ้น 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง. /(ดู บ้อ, บ้อหุ้น)./
【 บ๊ะ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น,
อุบ๊ะ ก็ว่า.
【 บ๊ะจ่าง 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัด
น้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง
กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).
【 บะหมี่ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง
ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
【 บัก ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. คําเรียกชายที่เสมอกันหรือตํ่ากว่า ตรงกับคําว่า อ้าย.
【 บัก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ของลับผู้ชาย.
【 บักโกรก 】แปลว่า: -โกฺรก ว. ซูบผอมเพราะหักโหมกําลังเกินไป.
【 บักอาน 】แปลว่า: (ปาก) ว. อ่อนเปลี้ย, บอบชํ้า.
【 บัคเตรี 】แปลว่า: น. พืชชั้นตํ่าเซลล์เดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส ไม่มีคลอโรฟิลล์
มีรูปร่างกลม เป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว, แบคทีเรีย ก็เรียก.
(อ. bacteria).
【 บัง ๑ 】แปลว่า: ก. กัน กั้น หรือปิดไม่ให้เห็น ไม่ให้ผ่าน ไม่ให้โดน เช่น บังแดด บังฝน
บังลม ยืนบัง.
【 บังโกลน, บังโคลน 】แปลว่า: [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกันโคลนมิให้กระเด็น
ขึ้นมาเปื้อนรถ.
【 บังความ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจปกปิดเอาไว้.
【 บังเงา 】แปลว่า: ว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืด
ที่แสงไฟส่องไปไม่ถึงว่า นางบังเงา.
【 บังตะวัน 】แปลว่า: น. เครื่องบังแดดเช่นเดียวกับบังสูรย์. (สิบสองเดือน).
【 บังตา 】แปลว่า: น. เครื่องบังประตูทําด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบประตู
เหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่างใน
ระดับตา มักทําด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา; เครื่องบังตาม้าเพื่อไม่ให้
เห็นข้าง ๆ.
【 บังใบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึกลงไปจาก
ผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบหรือวงกรอบ
ของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้
กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามาประกบให้เป็น
แผ่นเดียวกัน.
【 บังใบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร.
【 บังเพลิง 】แปลว่า: น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกําบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
【 บังไพร 】แปลว่า: ก. เสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์เห็นเป็นป่าไม่เห็นตัวคน ใช้ในการ
คล้องช้างเป็นต้น.
【 บังฟัน 】แปลว่า: ก. ใช้เวทมนตร์ไปทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีเอาดาบเป็นต้นฟันสิ่งที่สมมุติ
เป็นตัวผู้ที่ตนประสงค์จะทําร้าย เพื่อให้เกิดผลเป็นทํานองเดียวกัน
แก่ผู้นั้น.
【 บังมืด 】แปลว่า: ก. บังแสงสว่างทําให้มืดไป เช่น อย่ายืนบังมืด มองไม่เห็น.
【 บังสาด 】แปลว่า: น. เพิงที่ต่อชายคาสําหรับกันฝนสาด, กันสาด ก็เรียก.
【 บังหน้า 】แปลว่า: ก. นําชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนาให้ผู้อื่น
หลงผิด; ทํากิจการอย่างหนึ่งเพื่ออําพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.
【 บัง ๒ 】แปลว่า: คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร
บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ
อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด
บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
【 บั้ง 】แปลว่า: ก. เชือดหรือฟันให้เป็นแผลตามขวาง เช่น บั้งปลา. น. รอยเชือดเป็น
แผลตามขวาง เช่น กรีดยางเป็นบั้ง ๆ; เครื่องมือสําหรับถูไม้ คล้ายบุ้ง
แต่มีฟันเป็นแถว ๆ, สิ่งที่เป็นแถบ ๆ อย่างเครื่องหมายยศทหารหรือ
ตํารวจชั้นประทวนเป็นต้น; กระบอกไม้ไผ่.
【 บั้งไฟ 】แปลว่า: น. บ้องไฟ.
【 บังกะโล 】แปลว่า: น. บ้านยกพื้นชั้นเดียว มีระเบียงกว้าง. (ฮ. บงฺคลา; อ. bungalow).
【 บังกัด 】แปลว่า: ก. ปิดบัง, อําพราง.
【 บังเกิด 】แปลว่า: ก. เกิด เช่น บังเกิดอุบัติเหตุ บังเกิดลมพายุ, ทําให้เกิด เช่น แม่บังเกิด
เกล้า.
【 บังโกรยตัวผู้, บังโกรยตัวเมีย 】แปลว่า: [-โกฺรย-] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 บังคน 】แปลว่า: (ราชา) น. อุจจาระหรือปัสสาวะ.
【 บังคนเบา 】แปลว่า: (ราชา) น. ปัสสาวะ, ใช้ว่า พระบังคนเบา.
【 บังคนหนัก 】แปลว่า: (ราชา) น. อุจจาระ, ใช้ว่า พระบังคนหนัก.
【 บังคม 】แปลว่า: (ราชา) ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย,
ใช้ว่า ถวายบังคม. (ข.).
【 บังคล 】แปลว่า: ก. มอบให้ เช่น เป็นบังคลแก่ท่านแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
(ข. ปรฺคล ว่า มอบให้).
【 บังควร 】แปลว่า: ว. ควรอย่างยิ่ง, เหมาะอย่างยิ่ง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่บังควร
หาเป็นการบังควรไม่.
【 บังคับ 】แปลว่า: น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต,
เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน
ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อํานาจ
สั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตาม
ความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
【 บังคับการ 】แปลว่า: ก. รับผิดชอบในการควบคุมและสั่งการ, เรียกผู้มีอํานาจเช่นนั้นว่า
ผู้บังคับการ.
【 บังคับครุ 】แปลว่า: น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก
คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มี
ตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่
ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ
และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
【 บังคับใจ 】แปลว่า: ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อํานาจบังคับให้เขาต้องฝืนใจทํา.
【 บังคับโท 】แปลว่า: น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคําที่มี
รูปวรรณยุกต์โท.
【 บังคับบัญชา 】แปลว่า: ก. มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่.
น. อํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอํานาจหน้าที่,
เรียกผู้มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้บังคับบัญชา,
เรียกผู้อยู่ใต้อํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
【 บังคับลหุ 】แปลว่า: น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา
คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ
แพะ.
【 บังคับสัมผัส 】แปลว่า: น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําคล้องจองกัน
มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร.
【 บังคับเอก 】แปลว่า: น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคําที่มี
รูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้
แทนเอกได้.
【 บังคัล 】แปลว่า: ก. เฝ้า. (ข.).
【 บังแทรก 】แปลว่า: [-แซก] น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสําหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ
ทานตะวัน อยู่ระหว่างฉัตร.
(รูปภาพ บังแทรก)
【 บังวาย 】แปลว่า: ก. เสื่อมเสีย, เสียหาย, เช่น ทํากลบังวาย. (สามดวง), บังวายสวาท.
(กฤษณา).
【 บำนาญ 】แปลว่า: ก. หมุนรอบ, เวียนรอบ.
【 บังสุกุล 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน
ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า
ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก)
บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
【 บังสุกูลิก 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุ
ผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเครื่องนุ่งห่ม คือ
ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
【 บังสูรย์ 】แปลว่า: น. เครื่องสูงอย่างหนึ่ง สําหรับใช้บังแดดในการพิธีแห่ รูปคล้าย
บังแทรก.
(รูปภาพ บังสูรย์)
【 บังหวน, บังหวนควัน 】แปลว่า: ก. ทําให้ควันหวนตลบขึ้น.
【 บังเหตุ 】แปลว่า: (โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทําให้เป็นเหตุ,
บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).
【 บังเหิน 】แปลว่า: ก. เหาะ, บิน.
【 บังเหียน 】แปลว่า: น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่
ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้
ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน
ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
【 บังอร 】แปลว่า: น. นาง; เด็ก ๆ ที่กําลังน่ารัก เช่น เมื่อทอดพระเนตรเห็นสองบังอร
อรรคปิโยรส.
【 บังอวจ 】แปลว่า: [-อวด] น. หน้าต่าง. (ข. บงฺอัวจ).
【 บังอาจ 】แปลว่า: ก. กล้าแสดงกล้าทําด้วยทะนงใจหรือฮึกเหิม โดยไม่ยําเกรงหรือไม่
รู้จักสูงตํ่า, กล้าละเมิดกฎหมาย.
【 บังอิง 】แปลว่า: น. พนัก. ก. อิง, พิง.
【 บังอูร 】แปลว่า: [บังอูน] ก. ตก, ตกลง; ยอบลง. (ข. บงฺอุร ว่า ฝนตก).
【 บังเอิญ 】แปลว่า: ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, เผอิญ.
【 บัญจก 】แปลว่า: [บันจก] น. หมวด ๕, ประชุม ๕, เช่น ขันธบัญจก. (ป. ปญฺจก).
【 บัญจรงค์ 】แปลว่า: บันจะรง น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึก
วัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).
【 บัญชร 】แปลว่า: [บันชอน] น. กรง, ซี่กรง; หน้าต่าง. (ป., ส. ปญฺชร).
【 บัญชา 】แปลว่า: น. คําสั่งของผู้มีอํานาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอํานาจหน้าที่.
【 บัญชาการ 】แปลว่า: ก. สั่งการงานตามอํานาจหน้าที่.
【 บัญชี 】แปลว่า: น. สมุดหรือกระดาษสําหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น
บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. (ส. ปญฺชิ).
【 บัญชีกระแสรายวัน 】แปลว่า: น. บัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งผู้ฝากสามารถถอนเงินได้ทุกเวลา.
【 บัญชีเดินสะพัด 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล ๒ คนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่ว
เวลากําหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้ง ๒ นั้นหักกลบลบกัน และคงชําระ
แต่ส่วนที่เป็นจํานวนคงเหลือโดยดุลภาค.
【 บัญญัติ 】แปลว่า: [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น
หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น
หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย.
(ป. ปญฺ?ตฺติ).
【 บัญญัติไตรยางศ์ 】แปลว่า: น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกําหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จํานวนเพื่อหา
จํานวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วย
การนําเลขทั้ง ๓ จํานวนที่กําหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓
ขั้น.
【 บัญหา 】แปลว่า: น. ข้อที่ต้องคิดต้องแก้, เรื่องที่ต้องปรึกษาหารือ. (ป. ปญฺห).
【 บัฏ 】แปลว่า: น. ผืนผ้า, แผ่น. (ป., ส. ปฏ).
【 บัฐยาพฤต 】แปลว่า: [บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกําหนดด้วยอักษร ๓๒
คํา มี ๔ บาท บาทละ ๘ คํา, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก.
(ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
【 บัณฑร, บัณฑร- 】แปลว่า: [บันทอน, บันทะระ-] ว. ขาวเหลือง. (ป. ปณฺฑุ; ส. ปาณฺฑร). (แผลง
มาจาก บัณฑุ).
【 บัณฑรนาค 】แปลว่า: น. ช้างเผือก.
【 บัณฑรหัตถี 】แปลว่า: น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส.
【 บัณฑิต 】แปลว่า: [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น
ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า
บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย
กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
【 บัณฑิตย์ 】แปลว่า: [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย;
ป. ปณฺฑิจฺจ).
【 บัณฑุ 】แปลว่า: [บันดุ] ว. เหลืองอ่อน, ขาวเหลือง, ซีด. น. ช้างเผือก. (ป. ปณฺฑุ;
ส. ปาณฺฑุ).
【 บัณฑุกัมพล 】แปลว่า: น. ผ้าขนสัตว์สีเหลือง. (ป. ปณฺฑุกมฺพล).
【 บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ 】แปลว่า: น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิตของพระอินทร์.
【 บัณฑุนาค 】แปลว่า: น. ช้างเผือก. (ส. ปาณฺฑุนาค).
【 บัณฑุโรค 】แปลว่า: (แบบ) น. โรคผอมเหลือง, โรคเพื่อดี. (ป. ปณฺฑุโรค).
【 บัณฑูร 】แปลว่า: บันทูน น. คําสั่ง, คําสั่งกรมพระราชวังบวร.
【 บัณเฑาะก์ 】แปลว่า: [บันเดาะ] น. กะเทย. (ป., ส. ปณฺฑก อภิธาน ว่า กะเทย, ชิลเดอร์
และมอร์เนียร์ วิลเลียม ว่า ขันที).
【 บัณเฑาะว์ 】แปลว่า: [บันเดาะ] น. กลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหลักอยู่ตอนบน
ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง ใช้ไกวให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลอง
ทั้ง ๒ ข้าง. (ป. ปณว; ส. ปฺรณว).
【 บัณณาส 】แปลว่า: [บันนาด] ว. ห้าสิบ. (ป. ปณฺณาส).
【 บัณรส 】แปลว่า: [บันนะรด] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
【 บัณรสี 】แปลว่า: [บันนะระสี] ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคําว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า.
(ป. ปณฺณรสี).
【 บัด 】แปลว่า: น. เวลา, เมื่อ, ครั้ง, คราว; ทันใด.
【 บัดใจ 】แปลว่า: ว. ประเดี๋ยว, ทันใด.
【 บัดดล 】แปลว่า: ว. ทันใดนั้น.
【 บัดเดี๋ยว 】แปลว่า: ว. ประเดี๋ยว.
【 บัดนั้น 】แปลว่า: ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเจ้าหรือ
มิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
【 บัดนี้ 】แปลว่า: ว. ขณะนี้, เดี๋ยวนี้, เช่น บัดนี้ได้เสนอเรื่องมาให้พิจารณาแล้ว.
【 บัดแบ่ง 】แปลว่า: น. กึ่งเวลา.
【 บัดแมล่ง 】แปลว่า: [-มะแล่ง] น. เวลาบ่ายเย็น.
【 บัดกรี 】แปลว่า: [บัดกฺรี] ก. เชื่อมหรือประสานโลหะให้ติดกัน.
【 บัดซบ 】แปลว่า: ว. สิ้นดี, มักใช้ประกอบกับคํา โง่ เซ่อ หรือ เซอะ เช่น โง่บัดซบ.
【 บัดบง 】แปลว่า: ก. สูญหาย. (ข. บาต่ ว่า หาย, บง่ ว่า เสียไป).
【 บัดสี, บัดสีบัดเถลิง 】แปลว่า: [-ถะเหฺลิง] ว. น่าอับอายขายหน้า เป็นที่น่ารังเกียจ.
【 บัตร 】แปลว่า: [บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทําด้วยกระดาษ
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจําตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ;
ภาชนะทําด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสําหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย,
ถ้าทําเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม
เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น
ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง.
(สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
【 บัตรกรุงพาลี 】แปลว่า: น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวาง
เครื่องเซ่นสังเวย, บัตรพระภูมิ ก็เรียก, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี.
【 บัตรเครดิต 】แปลว่า: น. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก
เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือธุรกิจที่รับบัตร
นั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
【 บัตรเทวดา 】แปลว่า: น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสาทําเป็นรูป
สี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่จะสังเวย
ระหว่างร่วมในเสาทํากระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สําหรับ
วางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี.
【 บัตรธนาคาร 】แปลว่า: (กฎ) น. บัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกใช้เป็นเงินตรา.
【 บัตรพลี 】แปลว่า: [บัดพะลี] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม
สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, เรียกเต็มว่า บัตรกรุงพาลี, ถ้าทำ
เป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้ามีเสาธงประกอบ
ตั้งแต่ ๔ เสาขึ้นไป เรียกว่า บัตรพระเกตุ, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม
มียอด เรียกว่า บัตรนพเคราะห์.
【 บัตรสนเท่ห์ 】แปลว่า: น. จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่นโดยมิได้ลงชื่อหรือไม่ลงชื่อจริง
ของผู้เขียน.
【 บัตรสินเชื่อ 】แปลว่า: น. บัตรเครดิต.
【 บัตรหมาย 】แปลว่า: น. หนังสือเกณฑ์ในทางราชการ.
【 บัทม์ 】แปลว่า: น. ปัทม์. (ส. ปทฺม; ป. ปทุม). /(ดู บัว)./
【 บัน ๑ 】แปลว่า: น. จั่ว (หน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร เรียกว่า หน้าบัน).
【 บันแถลง 】แปลว่า: [-ถะแหฺลง] น. หน้าบันขนาดเล็ก ใช้ประดับเป็นกระจัง.
【 บัน ๒ 】แปลว่า: ก. ผัน, ผิน.
【 บัน ๓ 】แปลว่า: ก. เบา, น้อย, เช่น มัวเมาไม่บัน. (ดึกดําบรรพ์).
【 บันเบา 】แปลว่า: ว. น้อย (โดยมากมักใช้ในทางปฏิเสธหรือเป็นเชิงคําถาม) เช่น
ไม่บันเบา เรื่องนี้น่าสนใจบันเบาไปหรือ.
【 บั่น 】แปลว่า: ก. ตัดให้สั้น, ตัดให้เป็นท่อน ๆ.
【 บั่นทอน 】แปลว่า: ก. ทําให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกําลัง, ทําให้
เสียกําลังใจ ในคําว่า บั่นทอนจิตใจ.
【 บั้น ๑ 】แปลว่า: น. ครึ่งหนึ่งหรือตอนหนึ่งของสิ่งที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน
เช่น บั้นต้น บั้นปลาย. สัน. ฝ่ายว่า, ส่วนว่า.
【 บั้นท้าย 】แปลว่า: น. ตอนท้าย, ส่วนท้าย; (ปาก) ตะโพก, ก้น, (ใช้แก่หญิง).
【 บั้นปลาย 】แปลว่า: น. ตอนท้าย เช่น บั้นปลายของชีวิต.
【 บั้นพระองค์ 】แปลว่า: (ราชา) น. บั้นเอว.
【 บั้นเอว 】แปลว่า: น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก
ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว สะเอว หรือ เอว ก็ว่า.
【 บั้น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงข้าว ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
【 บั้นหลวง 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร.
【 บันกวด 】แปลว่า: (โบ) ก. รัด, ผูก, เช่น กรรณบันกวดพู่แก้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 บันจวบ 】แปลว่า: ก. ตกแต่ง.
【 บันจอย 】แปลว่า: (โบ) ก. บรรจง.
【 บันดล 】แปลว่า: ก. ทําให้บังเกิดขึ้น.
【 บันดาล 】แปลว่า: ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอํานาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญ
บันดาล บันดาลโทสะ.
【 บันเดิน 】แปลว่า: ก. ทําให้เดิน.
【 บันโดย 】แปลว่า: ก. พลอยแสดง เช่น บันโดยหรรษา; ดําเนินตาม, เอาอย่าง, ยินยอม,
คล้อยตาม.
【 บันได 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง, กระได ก็ว่า, โดยปริยาย
หมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่อาศัยใช้ไต่เต้าขึ้นไปสู่ฐานะหรือตําแหน่ง
ที่สูงขึ้นไป.
【 บันไดแก้ว 】แปลว่า: น. ที่รองพระคัมภีร์และลานสําหรับจารหนังสือ, ที่สําหรับพาดพระแสง.
【 บันไดลิง ๑ 】แปลว่า: น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูงหรือไต่ลงที่ตํ่า,
กระไดลิง ก็ว่า.
【 บันไดเลื่อน 】แปลว่า: น. บันไดที่เคลื่อนได้ด้วยกําลังไฟฟ้า.
【 บันไดลิง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน บันได./
【 บันไดลิง ๒ 】แปลว่า: /ดู กระไดลิง ๒./
【 บันทึก 】แปลว่า: ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ
ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน
การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม;
ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย
ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้
เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ
จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก
คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
【 บันทึง 】แปลว่า: ก. บ่นถึง, คอย. (ช.).
【 บันเทิง 】แปลว่า: ก. เบิกบาน, รื่นเริง; ทําให้รู้สึกสนุก เช่น รายการบันเทิง, บำเทิง
หรือ ประเทิง ก็ว่า.
【 บันเทิงคดี 】แปลว่า: น. เรื่องที่เขียนหรือแต่งขึ้นโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน.
【 บันยะบันยัง 】แปลว่า: ว. พอสัณฐานประมาณ, พอสมควร.
【 บันลือ 】แปลว่า: ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น
ข่าวบันลือโลก.
【 บันเหิน 】แปลว่า: ก. เหาะไป, บินไป.
【 บัปผาสะ 】แปลว่า: น. ปอด. (ป. ปปฺผาส).
【 บัพ 】แปลว่า: น. ข้อ, ปล้อง, ปม, เล่ม, หมวด, ตอน. (ป. ปพฺพ).
【 บัพชา 】แปลว่า: [บับพะชา] น. บรรพชา, การบวช. (ป. ปพฺพชฺชา).
【 บัพชิต 】แปลว่า: [บับพะชิด] น. บรรพชิต, นักบวช, ผู้บวช. (ป. ปพฺพชิต).
【 บัพพาช 】แปลว่า: บับพาด ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาช
กูไกล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).
【 บัพพาชน์ 】แปลว่า: บับพาด น. การขับไล่. (ป. ปพฺพาชน).
【 บัพพาชนียกรรม 】แปลว่า: [บับพาชะนียะกํา] น. กรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่
บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
【 บัล 】แปลว่า: (แบบ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น
๑ ภาระ. (ป., ส. ปล).
【 บัลลพ, บัลวะ 】แปลว่า: บันลบ, บันละวะ น. หน่อต้นไม้, กระโดงไม้ที่แตกออกใหม่,
ใช้ว่า บัลลพ์ ก็มี. (ส. ปลฺลว).
【 บัลลังก์ 】แปลว่า: น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้เศวตฉัตร เรียก
ว่า ราชบัลลังก์, โดยปริยายคํา ราชบัลลังก์ นี้ หมายถึงความเป็น
พระมหากษัตริย์หรือสถาบันกษัตริย์ก็ได้; ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อ
พิจารณาคดีในศาล; ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่น
เหนือคอระฆัง. ก. นั่งขัดสมาธิ เรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์. (ป. ปลฺลงฺก).
【 บัลลูน 】แปลว่า: น. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศ ทําให้ลอยได้ ใช้
ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ใช้ว่า. บอลลูน
ก็มี. (อ. balloon).
【 บัลเลต์ 】แปลว่า: น. ระบำปลายเท้า.
【 บัว 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล
/Nelumbo/ ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่
ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้าน
มีดอกแข็ง หนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง
(/N. nucifera Gaertn./) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก
สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช
ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล/ Nymphaea/ ในวงศ์
Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ
หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม
ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก
โตนด เช่น บัวสาย (/N. lotus L. var. pubescens /Hook.f. et
Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว
กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (/N. nouchali /
Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล /Victoria/ ในวงศ์
Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [/V./
/amazonica/ (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็น
แผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ
ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอก
ใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็น
รูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของ
ฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ
ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง
เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี
ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม
หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น
รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น
ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ,
ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
【 บัวกลุ่ม 】แปลว่า: น. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทําเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกัน
เป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลาย
เครื่องบนของปราสาท.
【 บัวขม 】แปลว่า: น. บัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล/ Nymphaea/ ดอกเล็ก สีขาว
สายกินได้ หัวมีรสขม.
【 บัวขาบ 】แปลว่า: /ดู ผัน ๑./
【 บัวคอเสื้อ 】แปลว่า: น. แผ่นผ้าทาบรอบคอเสื้อ; ลายบัวที่อยู่ใต้บัลลังก์ปราสาท.
【 บัวตะกั่ว 】แปลว่า: (โบ) น. ที่สําหรับไขนํ้าให้ไหลลงมาเป็นฝอย.
【 บัวถลา 】แปลว่า: น. บัวควํ่าที่ลาหรือยืดอ่อนออกไป.
【 บัวนาง 】แปลว่า: น. นมผู้หญิง.
【 บัวบังใบ 】แปลว่า: ว. เห็นรําไร.
【 บัวบาท 】แปลว่า: น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่า
พระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมา หมายถึง
พระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
【 บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น 】แปลว่า: (สํา) ก. รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน,
รู้จักถนอมนํ้าใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน, บัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น ก็ว่า.
【 บัวโรย 】แปลว่า: ว. สีกลีบบัวแห้งหรือสีปูนแห้ง.
【 บัวลอย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นเม็ดกลม ๆ
เล็ก ๆ ต้มในนํ้ากะทิผสมนํ้าตาล.
【 บัวอกไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่.
【 บัวตูม 】แปลว่า: น. ชื่อพืชเบียนชนิด /Rafflesia kerrii/ Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae
เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทํายาได้
เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาล
แดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
【 บัวบก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Centella asiatica/ (L.) Urban ในวงศ์
Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว
กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ
และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ
ไม้เถาชนิด /Stephania pierrei/ Diels ในวงศ์ Menispermaceae
ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย
แหลม ใช้ทํายาได้.
【 บัวผุด 】แปลว่า: /ดู บัวตูม./
【 บัวลอย ๑ 】แปลว่า: /ดูใน บัว./
【 บัวลอย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานศพ.
【 บัวสวรรค์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด/ Gustavia gracillima/ Miers
ในวงศ์ Lecythidaceae ดอกสีชมพูแก่ กลีบดอกซ้อนกันเป็น
ชั้น ๆ เหมือนดอกบัว.
【 บัวสายติ่ง, บัวสายทิ้ง 】แปลว่า: /ดู สายติ่ง./
【 บัวฮาดำ 】แปลว่า: /ดู เฉียงพร้าดํา./
【 บา 】แปลว่า: น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
【 บาธรรม 】แปลว่า: น. ผู้เชี่ยวชาญในทางธรรม, อาจารย์ทางธรรม.
【 บ่า ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายระหว่างคอกับหัวไหล่, โดยปริยายหมายถึง
อินทรธนูหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่าเสา
บ่าเสื้อ.
【 บ่า ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่นํ้าไหลล้นมาโดยเร็ว; อะไร, ทําไม.
【 บ้า ๑ 】แปลว่า: ว. เสียสติ, วิกลจริต, สติฟั่นเฟือน, หลงใหลหรือมัวเมาในสิ่งนั้น ๆ
จนผิดปรกติ เช่น บ้ากาม บ้ายศ บ้าฟุตบอล; อาการที่สัตว์บางชนิด
เช่นหมาเป็นโรคกลัวนํ้า เรียกว่า หมาบ้า.
【 บ้าจี้ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดหรือแสดงโดยขาดสติเมื่อถูกจี้ทําให้ตกใจ, ทําตาม
โดยปราศจากการไตร่ตรองเมื่อถูกยุหรือแนะ.
【 บ้าดีเดือด 】แปลว่า: ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ, โดยปริยายหมายความว่า
มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นชอบทําอะไรรุนแรง.
【 บ้าน้ำลาย 】แปลว่า: ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.
【 บ้าบิ่น ๑ 】แปลว่า: ว. มุทะลุ, หุนหันพลันแล่น, อวดกล้าทําการอย่างไม่มีสติยั้งคิด,
บิ่น ก็ว่า.
【 บ้าระห่ำ 】แปลว่า: ว. มุทะลุ, ทะลึ่งตึงตัง.
【 บ้าลำโพง 】แปลว่า: ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยาย
หมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น
พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้าลําโพง เที่ยวโป้ง
โหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
【 บ้าเลือด 】แปลว่า: ว. บันดาลโทสะอย่างไม่กลัวตายเมื่อถูกทําร้ายถึง เลือดตกยางออก.
【 บ้าสมบัติ 】แปลว่า: ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด, ที่ชอบสะสมสิ่งของ
ต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจําเป็น.
【 บ้าหอบฟาง 】แปลว่า: (สํา) ว. บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการ
ที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
【 บ้าห้าร้อยจำพวก 】แปลว่า: (สํา) ว. บ้ามากมายหลายประเภท.
【 บ้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด/ Leptobarbus hoevenii/ ในวงศ์ Cyprinidae
ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด
๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว
แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา
ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า
ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน
ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้
เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
【 บ้า ๆ 】แปลว่า: ว. แผลง ๆ, แตกต่างไปจากปรกติ, เช่น ทําบ้า ๆ เล่นบ้า ๆ.
【 บาก 】แปลว่า: ก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้
ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า
มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).
【 บากท่า 】แปลว่า: ก. ให้ท่า, เปิดช่อง.
【 บากบั่น 】แปลว่า: ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลําบาก.
【 บากหน้า 】แปลว่า: ก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจําใจจําเป็น.
【 บาง ๑ 】แปลว่า: น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า
ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน
บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น
ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา,
มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง
ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น
เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียง
ผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง,
เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง,
ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า
เอวเล็กเอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความ
ลําบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
【 บางตา 】แปลว่า: ว. เห็นเป็นระยะห่าง ๆ กัน หรือหนาแน่นน้อยกว่าที่ควรเป็น.
【 บางเบา 】แปลว่า: ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
【 บาง ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วน
ย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก
บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
【 บางที 】แปลว่า: ว. บางเวลา, บางคราว, บางครั้ง, บางหน, ลางที ก็ใช้.
【 บ่าง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Cynocephalus variegatus/
ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็น
พังผืด ๒ ข้างของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลาย
หางสําหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้
ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆ
เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวัน
มักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ
พะจง ก็เรียก.
【 บ่างช่างยุ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
【 บ้าง 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของ
สิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง,
บางส่วนของจํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง
เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง
ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้
แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้าง
ก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 บางขุนนนท์ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 บางสุ 】แปลว่า: (กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น
มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบท
บางษุบาท. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
【 บาจก 】แปลว่า: (แบบ) น. พ่อครัว, แม่ครัว ใช้ว่า บาจิกา. (ป. ปาจก).
【 บาจรีย์ 】แปลว่า: [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
【 บาจิกา 】แปลว่า: (แบบ) น. แม่ครัว. (ป. ปาจิกา). (ดู บาจก).
【 บาซิลลัส 】แปลว่า: น. แบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นท่อน. (อ. bacillus).
【 บาด 】แปลว่า: ก. ทําให้เกิดเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนอย่างของมีคมบาด เช่น
มีดบาด แก้วบาด หญ้าคาบาด. น. แผล.
【 บาดคอ 】แปลว่า: ก. รู้สึกคล้ายระคายคอเนื่องจากกินของที่มีรสหวานจัดเย็นจัดเป็นต้น.
【 บาดเจ็บ 】แปลว่า: ว. มีบาดแผลทําให้เจ็บปวด.
【 บาดใจ 】แปลว่า: ก. เจ็บแค้นใจ.
【 บาดตา 】แปลว่า: ก. สะดุดตาเพราะเห็นสีฉูดฉาด; ขัดตาทําให้ไม่สบอารมณ์.
【 บาดแผล 】แปลว่า: น. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะถูกตีฟันทิ่มแทงเป็นต้น.
【 บาดเสี้ยนบาดหนาม 】แปลว่า: น. แผลที่ถูกเสี้ยนหนามยอกแล้วกลายเป็นพิษ ทําให้มีอาการ
ปวดผิดปรกติ.
【 บาดหมาง 】แปลว่า: ก. โกรธเคืองกัน, หมองใจกัน, ผิดใจกัน.
【 บาดหู 】แปลว่า: ก. ขัดหู, ระคายหู, ทําให้ไม่สบอารมณ์, (ใช้แก่คําพูดหรือกริยาพูด).
【 บาดทะจิต 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกําเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด
จิตฟุ้งซ่าน.
【 บาดทะพิษ 】แปลว่า: น. แผลที่ตัวเชื้อโรค /Streptococci /เข้าไป ทําให้เลือดเป็นพิษ.
【 บาดทะยัก 】แปลว่า: น. โรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก (/Clostridium tetani/) เข้าสู่
แผล ทําให้มีอาการกระตุก และชักแข็ง หลังแอ่น โดยมาก
ถึงตาย.
【 บาดหมาย 】แปลว่า: (โบ) น. บัตรหมาย.
【 บาดไหม 】แปลว่า: (โบ) ก. ปรับ.
【 บาดาล 】แปลว่า: น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า
๑๐ เมตรว่า นํ้าบาดาล; นาคพิภพ เป็นที่อยู่ของนาค. (ป. ปาตาล).
【 บาแดง 】แปลว่า: (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน
ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.
【 บาต 】แปลว่า: ก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น อสนีบาต = การตก
แห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสง
สว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).
【 บาตร 】แปลว่า: [บาด] น. ภาชนะชนิดหนึ่งสําหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต.
(ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
【 บาตรแก้ว 】แปลว่า: น. บาตรใหญ่ ๓ ใบ ถักเชือกรอบนอก ในพระราชพิธีกัตติเกยา.
【 บาตรใหญ่ 】แปลว่า: น. อํานาจที่ใช้ในทางข่มขี่, ใช้เข้าคู่กับ อํานาจ เป็น อํานาจบาตรใหญ่.
【 บาท ๑, บาท- 】แปลว่า: [บาด, บาดทะ-] น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส. ปาท).
【 บาทนิเกต 】แปลว่า: [บาดทะนิเกด] น. ที่รองเท้า, ม้ารองเท้า. (ส.).
【 บาทบงกช 】แปลว่า: [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า
เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
【 บาทบงสุ์ 】แปลว่า: [บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ).
【 บาทบริจาริกา 】แปลว่า: [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส.
ปาทปาริจาริกา).
【 บาทภัฏ 】แปลว่า: [บาดทะพัด] น. ทหารเดินเท้า, ทหารราบ. (ส. ปาทภฏ).
【 บาทมุทรา 】แปลว่า: [บาดทะมุดทฺรา] น. รอยเท้า. (ส.).
【 บาทมูล 】แปลว่า: [บาดทะมูน] น. ที่ใกล้เท้า, แทบฝ่าเท้า. (ป.).
【 บาทมูลิกากร 】แปลว่า: [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการ
ในพระองค์. (ป.).
【 บาทยุคล 】แปลว่า: [บาดทะยุคน, บาดยุคน] น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล).
【 บาทรช, บาทรัช 】แปลว่า: [บาดทะรด, บาดทะรัด] น. ละอองเท้า. (ส. ปาทรช).
【 บาทวิถี 】แปลว่า: น. ทางเท้า.
【 บาท ๒ 】แปลว่า: น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ
๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ)
หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนด
นํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.
【 บาท ๓ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง
มี ๔ บาท.
【 บาทบูรณ์ 】แปลว่า: [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์
๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมีความหมาย
อย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
【 บาท ๔ 】แปลว่า: น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.
【 บาทบ 】แปลว่า: บา-ทบ น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารส
วารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
【 บาทภาค 】แปลว่า: [บาดทะพาก] น. ส่วนที่ ๔, เสี้ยว. (ส.).
【 บาทสกุณี 】แปลว่า: [บาดสะกุนี] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 บาทหลวง 】แปลว่า: [บาดหฺลวง] น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.
【 บาทาธึก 】แปลว่า: น. เส้นที่กลางใจเท้า.
【 บาทุกา 】แปลว่า: น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
【 บาน ๑, บาน- 】แปลว่า: [บาน, บานนะ-] น. นํ้าสําหรับดื่ม, เครื่องดื่ม เช่น สุราบาน ชัยบาน
อัฐบาน. (ป., ส. ปาน).
【 บานบาตร 】แปลว่า: [บานนะบาด] น. ภาชนะใส่นํ้า, ถ้วย. (ส.).
【 บานโภชน์ 】แปลว่า: [บานนะโพด] น. ของดื่มของกิน. (ส.).
【 บานมงคล 】แปลว่า: [บานนะมงคน] น. ชุมนุมดื่ม. (ส.).
【 บาน ๒ 】แปลว่า: น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง
บานกระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจก
บานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก,
เช่น ดอกไม้บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจน
นํ้าบาน. ว. ที่ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน
กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน
หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
【 บานกบ 】แปลว่า: น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่นกระดาน
ยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบข้างคูหา
หรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, ข้างกบ ก็ว่า.
【 บานกระทุ้ง 】แปลว่า: น. บานหน้าต่างที่ปิดงับและเปิดค้ำขึ้นได้.
【 บานเกล็ด 】แปลว่า: น. บานหน้าต่างหรือบานประตูซึ่งใช้ไม้หรือกระจกแผ่นเล็ก ๆ
พาดขวางซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกล็ด บางชนิดดึงหรือหมุนให้
เกล็ดเหล่านั้นเปิดปิดได้พร้อม ๆ กัน.
【 บานตะเกียง, บานตะโก้, บานตะไท, บานเบอะ, บานเบิก, บานเบียง, บานแบะ 】แปลว่า: (ปาก) ว.
【 มากมาย. 】แปลว่า:
【 บานทะโรค 】แปลว่า: น. โรคริดสีดวงทวารชนิดหนึ่ง ที่ดากบานออกมาข้างนอก.
【 บานปลาย 】แปลว่า: (สํา) ก. ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่องเล็กให้
กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ ประมาณหรือ
กำหนดไว้.
【 บานแผนก 】แปลว่า: [-ผะแหฺนก] น. บัญชีเรื่อง, สารบาญ.
【 บานแผละ 】แปลว่า: [-แผฺละ] น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้น
เมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่.
【 บานพับ 】แปลว่า: น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น
เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร
บานพับขา.
【 บานแพนก 】แปลว่า: [-พะแนก] (กฎ; โบ) น. ตารางแบ่งปันไพร่หลวง. (ตราสามดวง).
【 บาน ๓ 】แปลว่า: ก. ได้. (ข.).
【 บ้าน 】แปลว่า: น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย
เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน,
หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น
เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมี
เจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอดเป็น
ประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่นซึ่งใช้
เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ
หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
【 บ้านเกิดเมืองนอน 】แปลว่า: น. ประเทศหรือถิ่นซึ่งเป็นที่เกิด.
【 บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน 】แปลว่า: (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน.
【 บ้านจัดสรร 】แปลว่า: น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้
ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
【 บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ 】แปลว่า: น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
【 บ้านแตกสาแหรกขาด 】แปลว่า: (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมืองอย่าง
ร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกัน.
【 บ้านนอก 】แปลว่า: น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอกตัวเมือง. ว. ที่อยู่
ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
【 บ้านนอกขอกนา 】แปลว่า: (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุงหรือเมืองหลวงว่า
คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
【 บ้านนอกคอกนา 】แปลว่า: (สำ) น. บ้านนอกขอกนา.
【 บ้านพัก 】แปลว่า: น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็นที่อยู่
ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
【 บ้านเมือง 】แปลว่า: น. ประเทศชาติ.
【 บ้านเมืองมีขื่อมีแป 】แปลว่า: (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง เช่น
ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภา
พญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ
ไม่มีแป.
【 บ้านรับรอง 】แปลว่า: น. บ้านที่สร้างไว้สําหรับรับรองแขก.
【 บ้านเรือน 】แปลว่า: น. บ้านที่อยู่อาศัย.
【 บานชื่น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Zinnia violacea/ Cav. ในวงศ์ Compositae
ลําต้นกลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ดอกออกที่ยอด
มีหลายสี เช่น ขาว แดง ม่วง ชมพู เหลือง.
【 บานเช้า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Turnera/ วงศ์ Turneraceae
ดอกบานเวลาเช้า ชนิด /T. subulata/ G.E. Smith ดอกสีนวล
ชนิด/ T. ulmifolia/ L. ดอกสีเหลืองอ่อน.
【 บานบุรี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Allamanda cathartica /L. ในวงศ์
Apocynaceae ลําต้นแข็ง ปลายกิ่งอ่อนโค้ง ดอกสีเหลืองสด.
【 บานบุรีม่วง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Allamanda violacea/ Gard. et Field
ในวงศ์ Apocynaceae ลักษณะเช่นเดียวกับบานบุรี แต่ดอกสีม่วง.
(๒) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Cryptostegia grandiflora/ R. Br. ในวงศ์
Asclepiadaceae ใบมีขน ดอกสีม่วงชมพู. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด/ Saritaea/
/magnifica/ (Steenis) Dugand ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นใบ
ประกอบ มีใบย่อยเป็นคู่ ระหว่างใบย่อยมีมือจับ ดอกสีม่วงชมพู
ภายในหลอดดอกสีเหลือง.
【 บานไม่รู้โรย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Gomphrena globosa L. ในวงศ์ Amaranthaceae /
ลําต้นค่อนข้างแข็งแตกแขนงเป็นพุ่มเล็ก ๆ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน
ดอกกลม ๆ สีขาว ชมพู หรือม่วงแดง ดอกทนอยู่ได้นาน.
【 บานเย็น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Mirabilis jalapa /L. ในวงศ์ Nyctaginaceae
รากอวบ ใบเดี่ยว โคนดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็น ๕ แฉก บานใน
เวลาเย็น มีหลายสี เช่น ขาว แดงอมม่วง เหลือง รากใช้ทํายาได้.
ว. สีแดงอมม่วง.
【 บ่านี่ 】แปลว่า: ว. อะไรนี่, ทําไมนี่.
【 บานียะ 】แปลว่า: ว. ควรดื่ม, น่าดื่ม, ดื่มได้. (ป., ส. ปานีย).
【 บานีโยทก 】แปลว่า: น. นํ้าดื่ม.
【 บ้าบ่น 】แปลว่า: น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทําตอนเสี่ยง
เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน,
กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.
【 บ้าบ๋า 】แปลว่า: น. เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย
ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิด
ในมลายูและอินโดนีเซีย.
【 บ้าบิ่น ๑ 】แปลว่า: /ดูใน บ้า ๑./
【 บ้าบิ่น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและ
นํ้าตาลทราย ผิงไฟล่างไฟบน.
【 บาบี 】แปลว่า: (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์
พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
【 บาป, บาป- 】แปลว่า: [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน
ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น
คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
【 บาปกรรม 】แปลว่า: [บาบกํา] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).
【 บาปเคราะห์ 】แปลว่า: [บาบปะ-] ว. เคราะห์ร้าย. น. ดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษ เช่น
พระราหู. (ส. ปาปคฺรห).
【 บาปมิตร 】แปลว่า: [บาบปะมิด] น. มิตรชั่ว. (ส. ปาปมิตฺร; ป. ปาปมิตฺต).
【 บาปหนา 】แปลว่า: [บาบหฺนา] น. บาปมาก. ว. มีบาปมาก, มีบาปสั่งสมไว้มาก,
มีกรรมมาก, เช่น คนบาปหนา.
【 บาพก 】แปลว่า: บา-พก น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี. (ป., ส. ปาวก).
【 บาย 】แปลว่า: น. ข้าว. (ข.).
【 บายศรี 】แปลว่า: น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง
เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕
ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวย
วางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง
เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว +
ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).
【 บายศรีปากชาม 】แปลว่า: น. บายศรีตองที่จัดวางลงปากชาม.
【 บ่าย 】แปลว่า: น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน,
ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส
เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 บ่ายควาย 】แปลว่า: น. เวลาไล่ควายกลับบ้าน, เวลาเย็น, เวลาจวนคํ่า.
【 บ่ายเบี่ยง 】แปลว่า: ก. เลี่ยงพอให้พ้นไป (มักใช้แก่กริยาพูด), เบี่ยงบ่าย ก็ว่า.
【 บ่ายหน้า 】แปลว่า: ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
【 บ้าย 】แปลว่า: ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ
ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ
คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน
ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
【 บายสุหรี 】แปลว่า: [บายสุหฺรี] น. สระนํ้า. (ช.).
【 บาร์ ๑ 】แปลว่า: (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์
ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี)
หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖
เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
【 บาร์ ๒ 】แปลว่า: น. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้
ลูกค้า เต้นรําด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้าน
เป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).
【 บารนี 】แปลว่า: [-ระนี] ว. ดั่งนี้, ยิ่ง, นัก, มาก.
【 บารมี 】แปลว่า: [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล
เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ
สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดี
ที่ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี
พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
【 บาร์เรล 】แปลว่า: น. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตร
นํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ
ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน.
(อ. barrel).
【 บาร์เลย์ 】แปลว่า: น. ข้าวบาร์เลย์. (ดู ข้าวบาร์เลย์ ที่ ข้าว).
【 บารอมิเตอร์ 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย
ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและ
ความสะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
【 บ้าระบุ่น 】แปลว่า: น. นกปรอด. (เทียบอิหร่าน bulbul ว่า นกไนติงเกล). (อภัย).
【 บ้าร่าท่า 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่บานเต็มที่ เรียกว่า บานบ้าร่าท่า.
【 บาเรียน 】แปลว่า: น. ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ.
【 บาเรียม 】แปลว่า: น. ปืนใหญ่โบราณชนิดหนึ่ง.
【 บาล 】แปลว่า: (แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็น
คําหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล.
(ป., ส. ปาล).
【 บาลี 】แปลว่า: น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์
พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
【 บ่าว 】แปลว่า: น. คนใช้; ชายหนุ่ม; เรียกชายผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว, คู่กับ
หญิงผู้เข้าพิธีสมรส ซึ่งเรียกว่า เจ้าสาว.
【 บ่าวไพร่ 】แปลว่า: น. ข้าทาสบริวาร.
【 บ่าวขุน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง.
(สิบสองเดือน).
【 บ่าวขุน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น บ่าวขุนกางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ).
【 บาศ 】แปลว่า: น. บ่วง เช่น นาคบาศ เชือกบาศ. (ส. ปาศ; ป. ปาส).
【 บาศก์ 】แปลว่า: น. ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์. (ส. ปาศก; ป. ปาสก).
【 บาสเกตบอล 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๕ คน ผู้เล่น
แต่ละฝ่ายต้องพยายามโยนลูกบอลลงในห่วงตาข่ายของฝ่าย
ตรงข้าม นับคะแนนตามจํานวนครั้งที่โยนลูกลงห่วงได้.
(อ. basketball).
【 บ้าหมู ๑ 】แปลว่า: /ดู ลมบ้าหมู ๑ ที่ ลม ๑./
【 บ้าหมู ๒ 】แปลว่า: /ดู ลมบ้าหมู ๒ ที่ ลม ๑./
【 บาหลี ๑ 】แปลว่า: [-หฺลี] น. ห้องเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายเรือสําเภา.
【 บาหลี ๒ 】แปลว่า: [-หฺลี] น. ชื่อเกาะหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทางตะวันออก
ของเกาะชวา, เรียกประชาชนชาวเกาะนั้นว่า ชาวบาหลี.
【 บ้าหว่า 】แปลว่า: [-หฺว่า] น. เครื่องประดับข้อมืออย่างหนึ่ง. (ขุนช้างขุนแผน).
【 บ๋ำ 】แปลว่า: ว. บุ๋ม.
【 บำเทิง 】แปลว่า: ว. บันเทิง, เบิกบาน, รื่นเริง, ยินดี.
น. เงินตอบแทนที่ได้ทํางานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน
จนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบํานาญ; (กฎ)
เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน.
【 บำบวง 】แปลว่า: ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา.
【 บำบัด 】แปลว่า: ก. ทําให้เสื่อมคลาย เช่น บําบัดทุกข์, ทําให้ทุเลาลง เช่น บําบัดโรค.
【 บำโบ, บำโบย, บำโบล 】แปลว่า: ก. ลูบไล้. (อนันตวิภาค).
【 บำเพ็ญ 】แปลว่า: ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น
บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้
เป็นประโยชน์ บําเพ็ญพรต.
【 บำราบ 】แปลว่า: [บําหฺราบ] ก. ปราบ, ทําให้ราบ, ทําให้กลัว.
【 บำราศ 】แปลว่า: [บําราด] ก. หายไป, จากไป, พรากไป, ปราศจาก.
【 บำรุง 】แปลว่า: ก. ทําให้งอกงาม, ทําให้เจริญ, เช่น บํารุงต้นไม้ บํารุงบ้านเมือง;
รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น บํารุงสุขภาพ บํารุงร่างกาย เงินค่า
บํารุง.
【 บำรุงขวัญ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเช่นรดนํ้ามนต์ให้ เสกเป่าให้ หรือทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่นกล่าวปลุกใจเพื่อให้ขวัญดี มีใจกล้าหาญ.
【 บำรู 】แปลว่า: ก. ตกแต่ง, บํารุง; ประ เช่น บํารูงา ว่า ประงา.
【 บำเรอ 】แปลว่า: ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า
นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
【 บำเรอเชอภักดิ์ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจรับใช้.
【 บำหยัด 】แปลว่า: ก. ประหยัด เช่น บําหยัดหยาบพึงเยงยํา. (กฤษณา).
【 บำเหน็จ 】แปลว่า: น. รางวัล, ค่าเหนื่อย, ค่าความชอบเป็นพิเศษ, เช่น ปูนบําเหน็จ,
เงินตอบแทนที่ได้ทํางานมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน;
(กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียว
เมื่อออกจากงาน.
【 บิ 】แปลว่า: ก. ทําให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง,
แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 บิกู, บีกู 】แปลว่า: น. ภิกขุ เช่น พราหมณ์ชีบีกูน้อยใหญ่. (อิเหนา). (ช.).
【 บิกูปะระมาหนา, บิกูปะระหมั่นหนา 】แปลว่า: น. ภิกษุกับพราหมณ์. (ช.).
【 บิฐ 】แปลว่า: [บิด] น. ตั่ง, ที่นั่งชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยม มีเท้า มีพนักอิงบ้างไม่มีบ้าง.
(ป. ปี?). (รูปภาพ บิฐ)
【 บิณฑ- 】แปลว่า: บินทะ- น. ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).
【 บิณฑบาต 】แปลว่า: น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยา
ที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง
กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาต
ให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
【 บิด ๑ 】แปลว่า: ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น
บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป
จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ
เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง
แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด
ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา.
น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก
กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
【 บิดขวา 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบ
หันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.
【 บิดขี้เกียจ 】แปลว่า: ก. บิดร่างกายไปมาเพราะความเกียจคร้านหรือเพื่อแก้เมื่อยเป็นต้น.
【 บิดจะกูด, บิดตะกูด 】แปลว่า: ว. อาการที่บิดไปบิดมาไม่ยอมทําอะไรหรือไม่ยอมทําตามสั่ง.
【 บิดซ้าย 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบ
หันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
【 บิดเบี้ยว 】แปลว่า: ว. บิดจนผิดรูปผิดร่างไปมาก เช่น หน้าตาบิดเบี้ยว รูปร่างบิดเบี้ยว.
【 บิดเบือน 】แปลว่า: ก. ทําให้ผิดแผกไปจากข้อเท็จจริง, ทําให้ผิดแผกแปลกไปจากเดิม
หรือจากข้อเท็จจริง.
【 บิดพลิ้ว 】แปลว่า: ก. หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติไม่ตรงตามข้อตกลง.
【 บิดไส้ 】แปลว่า: ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดในท้องคล้ายลําไส้ถูกบิด.
【 บิด ๒ 】แปลว่า: น. โรคลําไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการปวดมวนและอุจจาระเป็น
มูกเลือด.
【 บิดหัวลูก 】แปลว่า: น. โรคบิดที่เป็นแก่หญิงมีครรภ์แก่จวนจะคลอด.
【 บิดร 】แปลว่า: -ดอน น. พ่อ. (ป. ปิตุ; ส. ปิตฺฤ).
【 บิดหล่า 】แปลว่า: [บิดหฺล่า] น. เครื่องมือสําหรับเจาะไม้ชนิดหนึ่ง ใช้มือดึงเชือก
บิดเป็นเกลียว ปลายมีคม คล้ายสว่าน.
(รูปภาพ บิดหล่า)
【 บิดา 】แปลว่า: น. พ่อ (ใช้ในที่สุภาพ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กําเนิด
เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์, บิดร ก็ว่า. (ป. ปิตา; ส. ปิตฺฤ).
【 บิตุ 】แปลว่า: (แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).
【 บิตุจฉา 】แปลว่า: -ตุดฉา น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุจฺฉา).
【 บิตุรงค์ 】แปลว่า: (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค).
【 บิตุเรศ 】แปลว่า: (กลอน) น. พ่อ.
【 บิตุละ, บิตุลา 】แปลว่า: (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล).
【 บิตุลานี 】แปลว่า: (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุลานี).
【 บิน ๑ 】แปลว่า: ก. ไปในอากาศด้วยกําลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน
เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึงการไปโดยลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ขวัญบิน จานบิน; เรียกหน่อไม้ที่ขึ้นสูงจนเป็นลํา
แต่ยอดยังมีกาบหุ้มอยู่แก่เกินกิน ว่า หน่อไม้บิน.
【 บิน ๒ 】แปลว่า: /ดู นกกระจอก ๒./
【 บิ่น 】แปลว่า: ก. แตกลิไปเล็กน้อย (ที่คม ที่แง่ หรือที่ยอด) เช่น มีดบิ่น
ชามปากบิ่น. ว. บ้าอย่างหุนหันพลันแล่น, บ้าบิ่น ก็ว่า.
【 บินยา 】แปลว่า: /ดู ลําไย (๒)./
【 บิลเลียด 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาในร่มอย่างหนึ่ง เล่นบนโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปูสักหลาด
มีหลุมกรุตาข่าย ๖ หลุมที่มุมทั้ง ๔ และตรงกลางด้านยาว ผู้เล่นใช้
ไม้ยาวซึ่งเรียกว่า คิว แทงลูกกลมให้ได้แต้มตามกติกา. (อ. billiards).
【 บิวเรตต์ 】แปลว่า: น. หลอดแก้วยาว ปลายล่างมีลูกบิดให้ปิดเปิดได้ ข้างหลอดมี
ขีดบอกปริมาตรสําหรับวัดของเหลวที่ไขออก ใช้ประโยชน์ในการ
วิเคราะห์ทางเคมี. (อ. burette).
【 บิศาจ 】แปลว่า: น. ปิศาจ, ปีศาจ, ผี. (ส. ปิศาจ; ป. ปิสาจ).
【 บิสมัท 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓?ซ. เป็นตัวนําความ
ร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้
ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลาย
ที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).
【 บี้ ๑ 】แปลว่า: ก. กดหรือบีบให้แบนหรือผิดจากรูปเดิม. ว. แฟบผิดปรกติ เช่น
จมูกบี้.
【 บี้แบน 】แปลว่า: ว. แบนจนผิดรูปผิดร่างเพราะถูกกดหรือทับ.
【 บี้ ๒ 】แปลว่า: น. ตัวไหมที่ออกจากฝักมีปีกแล้ว. (ลัทธิ).
【 บีฑา 】แปลว่า: -ทา ก. เบียดเบียน, บีบคั้น, รบกวน, เจ็บปวด. (ส. ปีฑา).
【 บีตา 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม
กัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน.
(อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา
ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อ
วินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อย
กว่ารังสีแกมมา. (อ. beta rays).
【 บีบ 】แปลว่า: ก. ใช้มือเป็นต้นกดด้านทั้ง ๒ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหากัน เช่น
บีบมะนาว, โดยปริยายหมายถึงกดดัน เช่น ถูกบีบ.
【 บีบขนมจีน 】แปลว่า: ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรย
ให้เป็นเส้นลงในนํ้าเดือด, โรยขนมจีน ก็ว่า.
【 บีบขมับ 】แปลว่า: ก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้ายไม้คาบ
นั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณแบบหนึ่ง.
【 บีบคั้น 】แปลว่า: ก. บีบบังคับให้ได้รับความลำบาก.
【 บีบน้ำตา 】แปลว่า: ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
【 บีบบังคับ 】แปลว่า: ก. กดขี่.
【 บีบรัด 】แปลว่า: ก. ทําให้รู้สึกอึดอัดใจเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งคล้ายถูกบีบถูกรัด.
【 บีเยศ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมือง
บนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).
【 บึก 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด/ Pangasianodon gigas/ ในวงศ์ Schilbeidae
ไม่มีเกล็ด ตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดสั้นมาก
ข้างละ ๑ เส้นที่มุมปาก ไม่มีฟัน ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ
ขนาดเล็ก ลําตัวด้านหลังสีเทาอมนํ้าตาลแดง ด้านท้องสีขาว มีใน
ลําแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร เป็นปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดที่
ใหญ่ที่สุดในโลก.
【 บึกบึน 】แปลว่า: ก. ทรหดอดทน, ไม่ท้อถอย.
【 บึง 】แปลว่า: น. แหล่งนํ้าขนาดใหญ่ มีนํ้าขังตลอดปี.
【 บึงบาง 】แปลว่า: น. บึงที่ใช้เป็นทางนํ้า.
【 บึ่ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่
หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือดคน
และสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล
และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล /Phlebotomus /วงศ์ Psychodidae,
สกุล /Simulium/ วงศ์ Simuliidae, สกุล /Lepto conops/ และ
/Culicoides/ วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
【 บึ่ง ๒ 】แปลว่า: ก. วิ่งหรือขับไปโดยเร็ว เช่น บึ่งไป บึ่งรถ บึ่งเรือ.
【 บึ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่ที่มีลําตัวยาวกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป
ส่วนใหญ่เป็นประเภทไม่ถักใยดักสัตว์ ตัวสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแก่
มีขนรุงรังสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน บึ้งชนิดที่คน
นํามากิน เช่น ชนิด /Melopoeus albostriatus, Nephila maculata,/
กํ่าบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก.
【 บึ้ง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าตาไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส.
【 บึ้งตึง 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าบึ้งเพราะโกรธหรือไม่พอใจเป็นต้น.
【 บึ้งบูด 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
【 บื๋อ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงเร่งเครื่องยนต์ โดยปริยายหมายความว่า
เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว เช่น เรือบื๋อ.
【 บุ 】แปลว่า: ก. ตีให้เข้ารูป เช่น บุขัน, เอาของบาง ๆ หุ้มข้างนอก เช่น บุหนัง
บุพลาสติก หรือรองข้างใน เช่น บุหลังคา.
【 บุก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Amorphophallus/ วงศ์ Araceae
ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ
ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม
ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(/A. rex /
Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (/A. saraburiensis/ Gagnep.)
ใช้ทํายาได้.
【 บุก ๒ 】แปลว่า: ก. ลุย, ฝ่าไป, เช่น บุกโคลน บุกป่า.
【 บุกบัน, บุกบั่น 】แปลว่า: ก. ฝ่าไปโดยไม่ท้อถอย เช่น เข้าโรมรุกบุกบันฟันแทง. (อิเหนา).
【 บุกเบิก 】แปลว่า: ก. ถางป่าเข้าไปให้เป็นไร่นา, โดยปริยายหมายความว่า ริเริ่มทําเป็น
คนแรกหรือพวกแรก.
【 บุกป่าฝ่าดง 】แปลว่า: (สํา) ก. พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ.
【 บุกรุก 】แปลว่า: ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน,
ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่า
สงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น
บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิด
ฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ
ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป
กระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์
ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของ
ตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่ง
อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่
ในเคหสถานอาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครอง
ของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น
เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
【 บุคคล, บุคคล- 】แปลว่า: [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่งสามารถ
มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือ
องค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคล
ธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล.
(ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
【 บุคคลที่สาม 】แปลว่า: (กฎ) /ดู บุคคลภายนอก/.
【 บุคคลธรรมดา 】แปลว่า: [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
【 บุคคลนิติสมมติ 】แปลว่า: [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
【 บุคคลผู้ไร้ความสามารถ 】แปลว่า: บุกคน- น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมาย
หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
【 บุคคลภายนอก 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง,
บุคคลที่สาม ก็เรียก.
【 บุคคลสิทธิ 】แปลว่า: บุกคะละสิด, บุกคนละสิด น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น
สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
【 บุคลากร 】แปลว่า: [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ
บริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน
เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
【 บุคลาธิษฐาน 】แปลว่า: [บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยก
คนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น
เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
【 บุคลิก, บุคลิก- 】แปลว่า: [บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จําเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).
【 บุคลิกทาน 】แปลว่า: [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จําเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน
คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิกทาน).
【 บุคลิกภาพ 】แปลว่า: [บุกคะลิกกะพาบ] น. สภาพนิสัยจําเพาะคน.
【 บุคลิกลักษณะ 】แปลว่า: [บุกคะลิกกะลักสะหฺนะ, บุกคะลิกลักสะหฺนะ] น. ลักษณะจําเพาะ
ตัวของแต่ละคน, บุคลิก ก็ว่า.
【 บุง 】แปลว่า: (โบ) น. กระบุง.
【 บุ่ง 】แปลว่า: น. บึง.
【 บุ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Arctiidae,
Lymantriidae, Lasiocampidae มีขนปกคลุมเต็มลําตัว เมื่อถูกเข้า
จะปล่อยนํ้าพิษทําให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน เมื่อเจริญวัยจะ
เปลี่ยนเป็นดักแด้และฟักออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน, ร่าน ก็เรียก.
【 บุ้ง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Ipomoea aquatica /Forssk. ในวงศ์ Convolvulaceae
ทอดเลื้อยตามพื้นดินหรือบนผิวนํ้า ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ลําต้นกลวง
ยอดกินได้ เรียก ผักบุ้ง, พันธุ์ดอกขาวเรียก ผักบุ้งจีน, ราชาศัพท์ เรียก
ผักทอดยอด.
【 บุ้งขัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล/ Ipomoea/ วงศ์ Convolvulaceae
ทอดเลื้อยตามหาดทรายชายทะเล, ชนิด/ I. asarifolia/ Roem. et
Schult. ดอกสีม่วง ใบมีขน ต้นและใบใช้แก้พิษแมงกะพรุน, ชนิด
/I. tuba /G. Don ดอกสีขาว ใบเกลี้ยง ทั้ง ๒ ชนิด เรียก ผักบุ้งขัน.
【 บุ้งจีน 】แปลว่า: น. ชื่อผักบุ้งพันธุ์หนึ่ง ดอกสีขาว.
【 บุ้งทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Ipomoea pescaprae/ (L.) R. Br. ในวงศ์
Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีม่วงแดง
ใบไม่มีขน ต้นและใบใช้แก้พิษแมงกะพรุน เรียก ผักบุ้งทะเล.
【 บุ้งฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Ipomoea crassicaulis/ (Benth.) B.L.
Robinson ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีชมพูอ่อน ใบมี
ขนอ่อน เรียก ผักบุ้งฝรั่ง, ผักบุ้งรั้ว ก็เรียก.
【 บุ้ง ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับถูไม้ ทําด้วยเหล็ก มีฟันเป็นปุ่มแหลมคม.
【 บุ้งกี๋ 】แปลว่า: น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สำหรับใช้โกยดินเป็นต้น,
ปุ้งกี๋ ก็ว่า.
【 บุ้งร้วม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Convolvulus arvensis/ L. ในวงศ์
Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ต้นมีขน ดอกเล็ก สีขาว
รากใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Enydra/
/ fluctuans/ Lour. ในวงศ์ Compositae ขึ้นในนํ้าและที่ชื้นแฉะ
ดอกเล็กสีขาว ๆ ใบมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม.
【 บุญ, บุญ- 】แปลว่า: [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี,
คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ.
(ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
【 บุญเขต 】แปลว่า: [บุนยะ-] น. เนื้อนาบุญ. (ป. ปุญ?กฺเขตฺต).
【 บุญทาย 】แปลว่า: ว. ควรเป็นเนื้อคู่กัน เช่น ไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บุญทาย
ต้องกัน.
【 บุญทำกรรมแต่ง 】แปลว่า: (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทําให้รูปร่างหน้าตา
หรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
【 บุญธรรม 】แปลว่า: น. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัวว่า ลูกบุญธรรม,
ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตรบุญธรรม.
【 บุญนิธิ 】แปลว่า: [บุนยะ-] น. ขุมทรัพย์คือบุญ. (ป.).
【 บุญมาวาสนาส่ง 】แปลว่า: (สํา) เมื่อมีบุญ อํานาจวาสนาก็มาเอง, บุญมาวาสนาช่วย ก็ว่า.
【 บุญราศี 】แปลว่า: [บุนยะ-, บุน-] น. กองบุญ.
【 บุญฤทธิ์ 】แปลว่า: [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.
【 บุญหนักศักดิ์ใหญ่ 】แปลว่า: ว. มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนาง
บุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
【 บุญญาธิการ 】แปลว่า: น. บุญที่ได้กระทำไว้มากยิ่ง.
【 บุญญาธิสมภาร 】แปลว่า: น. บุญที่ได้สั่งสมไว้มากยิ่ง.
【 บุญญานุภาพ 】แปลว่า: น. อํานาจแห่งบุญ. (ป. ปุญฺ?านุภาว).
【 บุญญาภินิหาร 】แปลว่า: น. ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี, บุญที่ให้สําเร็จได้ตาม
ความปรารถนา. (ป. ปุญฺ?าภินิหาร).
【 บุญญาภิสังขาร 】แปลว่า: น. สภาพที่บุญตกแต่ง. (ป. ปุญฺ?าภิสงฺขาร).
【 บุณฑริก 】แปลว่า: [บุนดะริก, บุนทะริก] น. บัวขาว; ชื่อสังขยา คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง
๑๑๒ ตัว; ชื่อช้างตระกูล ๑ ในตระกูลช้างทั้ง ๑๐. (ป., ส. ปุณฺฑรีก).
【 บุณมี 】แปลว่า: [บุนนะมี] น. วันเพ็ญ. (ป. ปุณฺณมี; ส. ปูรฺณมี).
【 บุณย์ 】แปลว่า: น. บุญ. (ส. ปุณฺย; ป. ปุญฺ?).
【 บุตร, บุตร- 】แปลว่า: [บุด, บุดตฺระ-] น. ลูก, ลูกชาย. (ส. ปุตฺร; ป. ปุตฺต).
【 บุตรธรรม 】แปลว่า: [บุดตฺระทํา] น. หน้าที่ของลูก.
【 บุตรบุญธรรม 】แปลว่า: บุดบุนทํา น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จดทะเบียนรับเป็น
บุตรของตน.
【 บุตรา 】แปลว่า: บุดตฺรา น. บุตร.
【 บุตรี 】แปลว่า: [บุดตฺรี] น. ลูกผู้หญิง. (ส. ปุตฺรี).
【 บุตรา 】แปลว่า: /ดู บุตร, บุตร-./
【 บุตรี 】แปลว่า: /ดู บุตร, บุตร-./
【 บุตรีตระสุม 】แปลว่า: [บุดตฺรีตฺระสุม] น. ต้นนางแย้ม. (ช.).
【 บุถุชน 】แปลว่า: น. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระ
อริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
【 บุทคล 】แปลว่า: [บุดคน] น. บุคคล, คน. (ส. ปุทฺคล; ป. ปุคฺคล).
【 บุนนะบุนนัง 】แปลว่า: ก. ซ่อม, เพิ่มเติม.
【 บุนนาค 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด/ Mesua ferrea/ L. ในวงศ์ Guttiferae
ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า
กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทําเครื่องเรือน.
【 บุบ 】แปลว่า: ก. ทุบ ตํา หรือเคี้ยวเบา ๆ พอให้เป็นรอยหรือแตก; บู้ลง, บุ๋มลง,
เช่น ขันบุบ แก้มบุบ.
【 บุบบิบ 】แปลว่า: ว. อาการที่ของบางอย่างเช่นไข่จะละเม็ดหรือของที่ทําด้วยอะลูมิเนียม
บุบเข้าไปหลายแห่ง.
【 บุบสลาย 】แปลว่า: ว. ชํารุดแตกหัก.
【 บุปผ- 】แปลว่า: [บุบผะ-] น. ดอกไม้. (ป. ปุปฺผ; ส. ปุษฺป).
【 บุปผชาติ 】แปลว่า: น. ดอกไม้, พวกดอกไม้. (ป.).
【 บุปผวิกัติ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่ทําให้แปลก, ดอกไม้ที่ทําให้วิจิตรต่าง ๆ. (ป.).
【 บุพ-, บุพพ- 】แปลว่า: [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ;
ป. ปุพฺพกมฺม).
【 บุพการี 】แปลว่า: น. ผู้ที่ทําอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการีของบุตรธิดา.
(ป. ปุพฺพการี); (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดา
มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
【 บุพกิจ 】แปลว่า: น. กิจที่จะต้องทําก่อน. (ป. ปุพฺพกิจฺจ).
【 บุพชาติ 】แปลว่า: น. ชาติก่อน. (ป. ปุพฺพชาติ).
【 บุพทักษิณ 】แปลว่า: น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้.
【 บุพนิมิต 】แปลว่า: น. ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน. (ป. ปุพฺพนิมิตฺต).
【 บุพบท 】แปลว่า: น. คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม
สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วย
ดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
【 บุพเปตพลี 】แปลว่า: [-เปตะพะลี] น. บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายไปก่อน.
【 บุพพัณชาติ 】แปลว่า: [-พันนะชาด] น. พืชที่จะพึงกินก่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด.
(ป. ปุพฺพณฺณชาติ; ส. ปูรฺว + อนฺน + ชาติ).
【 บุพพัณหสมัย 】แปลว่า: [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย;
ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
【 บุพพาจารย์ 】แปลว่า: น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา. (ป. ปุพฺพาจริย; ส. ปูรฺวาจารฺย).
【 บุพพาษาฒ 】แปลว่า: [-พาสาด] น. เดือน ๘ แรก, (โบ) เขียนเป็น บุพพาสาฒ ก็มี.
(ป. ปุพฺพาสาฬฺห; ส. ปูรฺวาษาฒ).
【 บุพพาสาฬหะ, บุรพอาษาฒ, ปุรพษาฒ 】แปลว่า: [-พาสานหะ, -พาสานละหะ, บุระพะอาสาด, บุบพะอาสาด,
ปุระพะสาด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนก
หรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
【 บุพเพนิวาสานุสติญาณ 】แปลว่า: [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน,
การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ?าณ).
【 บุพเพสันนิวาส 】แปลว่า: [บุบเพ-] น. การเคยเป็นเนื้อคู่กัน, การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน.
(ป. ปุพฺเพสนฺนิวาส).
【 บุพภาค 】แปลว่า: น. ส่วนเบื้องต้น. (ป. ปุพฺพภาค).
【 บุพวิเทหทวีป 】แปลว่า: น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน
๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทห ทวีป ชมพูทวีป
และอมรโคยานทวีป.
【 บุพพัณชาติ 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพพัณหสมัย 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพพาจารย์ 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพพาษาฒ 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพพาสาฬหะ, บุรพอาษาฒ, ปุรพษาฒ 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพเพนิวาสานุสติญาณ 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพเพสันนิวาส 】แปลว่า: /ดู บุพ-, บุพพ-./
【 บุพโพ 】แปลว่า: [บุบโพ] น. นํ้าหนอง, นํ้าเหลือง. (ป. ปุพฺพ).
【 บุ๋ม 】แปลว่า: ว. ที่ยุบเป็นรอยลึกลงไป เช่น แก้มบุ๋ม.
【 บุ่มบ่าม 】แปลว่า: ว. ที่ขาดความยับยั้งไม่เกรงใจใคร.
【 บุ้ย, บุ้ยปาก 】แปลว่า: ก. ทําปากยื่นบอกใบ้ให้รู้.
【 บุ้ยใบ้ 】แปลว่า: ก. ทําปากยื่นประกอบกิริยาบอกใบ้ให้รู้.
【 บุรณะ 】แปลว่า: [บุระ-] ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด.
(ส. ปูรณ).
【 บุรพ- 】แปลว่า: [บุระพะ-, บุบพะ-] ว. บุพ. (ส. ปูรฺว; ป. ปุพฺพ).
【 บุรพทิศ 】แปลว่า: [บุระพะทิด, บุบพะทิด] น. ทิศตะวันออก.
【 บุรพบท 】แปลว่า: [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์
ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า
ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
【 บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี 】แปลว่า: [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑
【 มี ๒ ดวง 】แปลว่า:
เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย
ก็เรียก.
【 บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ 】แปลว่า: [บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่
๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท
ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
【 บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ, ปุรพษาฒ 】แปลว่า: [บุระพะอาสาด, บุบพะอาสาด, บุบพาสานหะ,
【 บุบพาสานละหะ, 】แปลว่า:
ปุระพะสาด] น. ดาวฤกษ์ ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือ
ช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
【 บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ 】แปลว่า: [บุระ-, บูระ-] น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา.
【 บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ 】แปลว่า: /ดู บุรพ-./
【 บุระ 】แปลว่า: น. ป้อม, หอ, วัง, เมือง. (ป. ปุร).
【 บุรัตถิมทิศ 】แปลว่า: [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
【 บุราณ 】แปลว่า: ว. เก่า, ก่อน, เช่น คําบุราณท่านว่าไว้เป็นครู. (สังข์ทอง). (ป., ส.
ปุราณ).
【 บุราณทุติยิกา 】แปลว่า: [บุรานะ-] น. เมียที่มีอยู่ก่อนบวช. (ป.).
【 บุรินทร์ 】แปลว่า: น. เจ้าเมือง; (กลอน) เมืองใหญ่. (ส. ปุรินฺทฺร; ป. ปุรินฺท).
【 บุริม- 】แปลว่า: [บุริมมะ-, บุริม-] ว. ตะวันออก; ก่อน. (ป. ปุริม; ส. ปุรสฺ + อิม).
【 บุริมทิศ 】แปลว่า: [บุริมมะทิด] น. ทิศตะวันออก. (ป. ปุริมทิส).
【 บุริมพรรษา 】แปลว่า: [บุริมมะพันสา, บุริมพันสา] น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลา
ที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา.
(ป. ปุริม + ส. วรฺษ).
【 บุริมสิทธิ 】แปลว่า: บุริมมะสิด น. สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชําระหนี้
อันค้างชําระแก่ตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ.
【 บุริมสิทธิพิเศษ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่าง
ของลูกหนี้.
【 บุริมสิทธิสามัญ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้.
【 บุรี, บูรี 】แปลว่า: น. เมือง. (ป. ปุร).
【 บุรุษ, บุรุษ- 】แปลว่า: [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ
ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย
เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ;
ป. ปุริส).
【 บุรุษโทษ 】แปลว่า: [บุหฺรุดสะโทด] น. ลักษณะชั่วของคน.
【 บุรุษธรรม 】แปลว่า: [บุหฺรุดสะทํา] น. คติสําหรับตัว.
【 บุรุษเพศ 】แปลว่า: [บุหฺรุดเพด] น. เพศชาย, คู่กับ สตรีเพศ.
【 บุโรทั่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. เก่าและทรุดโทรมมาก.
【 บุษกร 】แปลว่า: [บุดสะกอน] น. ดอกบัวสีนํ้าเงิน, บัว; ชื่อช้างตระกูลปทุมหัตถี
ในพรหมพงศ์. (ส. ปุษฺกร).
【 บุษบ- 】แปลว่า: [บุดสะบะ-] น. ดอกไม้. (ส. ปุษฺป; ป. ปุปฺผ).
【 บุษบราค 】แปลว่า: [-ราก] น. บุษราคัม, ทับทิม, บุษย์นํ้าทอง, พลอยสีเหลือง.
(ส. ปุษฺปราค).
【 บุษบวรรษ 】แปลว่า: [-วัด] น. ฝนดอกไม้ (เช่นที่ตกพรูเมื่อวีรบุรุษกระทําการใหญ่หลวง).
(ส. ปุษฺปวรฺษ).
【 บุษบก 】แปลว่า: [บุดสะบก] น. มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง เป็นที่ประทับ
ของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุ
เช่นพระพุทธรูปเป็นต้น.
【 บุษบง 】แปลว่า: บุดสะ- น. ดอกไม้.
【 บุษบัน 】แปลว่า: บุดสะ- น. ดอกไม้, ดอกบัวเผื่อน.
【 บุษบา 】แปลว่า: บุดสะ- น. ดอกไม้.
【 บุษบากร 】แปลว่า: ว. อันเต็มไปด้วยดอกไม้. (ส. ปุษฺปากร).
【 บุษบาคม 】แปลว่า: น. ฤดูดอกไม้. (ส.).
【 บุษบาบัณ 】แปลว่า: น. ตลาดดอกไม้. (ส.).
【 บุษบารักร้อย 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
【 บุษบามินตรา 】แปลว่า: [บุดสะบามินตฺรา] น. พุทธรักษา. (ช.).
【 บุษป-, บุษปะ 】แปลว่า: [บุดสะปะ] น. ดอกไม้. (ส.).
【 บุษปราค 】แปลว่า: [บุดสะปะราก] น. บุษย์นํ้าทอง.
【 บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ 】แปลว่า: [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น.
【 ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี 】แปลว่า:
๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาว
ปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอ
สําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
【 บุษยมาส 】แปลว่า: น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรบุษยะ คือ เดือนยี่
ตกในราวมกราคม. (ส.).
【 บุษยสนาน 】แปลว่า: น. พิธีอาบนํ้าเมื่อพระจันทร์กําลังผ่านหมู่ดาวบุษยะ, บุษยาภิเษก ก็ว่า.
【 บุษยาภิเษก 】แปลว่า: น. บุษยสนาน.
【 บุษย์น้ำทอง 】แปลว่า: /ดู บุษบราค ที่ บุษบ-./
【 บุษยาภิเษก 】แปลว่า: /ดู บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ./
【 บุษราคัม 】แปลว่า: [บุดสะราคํา] น. พลอยสีเหลือง.
【 บุหงง 】แปลว่า: [-หฺงง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Desmos blumei/ Finet ในวงศ์ Annonaceae
ดอกสีเหลือง กลีบดอกประสานกันเป็นถุง.
【 บุหงัน 】แปลว่า: [-หฺงัน] น. ดอกไม้. ว. แข็งแรง. (ช.).
【 บุหงา 】แปลว่า: [-หฺงา] น. ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น
ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทําเป็นรูปร่าง
ต่าง ๆ. (ตัดมาจาก บุหงารําไป).
【 บุหงาประหงัน 】แปลว่า: น. ดอกพุทธชาด. (ช.).
【 บุหงามลาซอ 】แปลว่า: [-มะลา-] น. ดอกมะลิลา. (ช.).
【 บุหงารำไป 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ
ทําเป็นรูปร่างต่าง ๆ, มักเรียกย่อว่า บุหงา. (ช.).
【 บุหงาลำเจียก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Goniothalamus tapis/ Miq.
ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลืองนวล ออกตามลําต้น
กลิ่นหอมคล้ายลําเจียก.
【 บุหรง 】แปลว่า: [-หฺรง] น. นก, นกยูง. (ช.).
【 บุหรี่ 】แปลว่า: [บุหฺรี่] น. ยาสูบที่ใช้ใบตองหรือกระดาษเป็นต้นมวนใบยาที่หั่น
เป็นฝอย.
【 บุหรี่พระราม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Neoalsomitra sarcophylla/ Hutch. ในวงศ์
Cucurbitaceae มีมือเกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ กลีบดอก
ติดกันเป็นรูปปากแตรบาน ๆ ผลเรียวยาวคล้ายกระบองกลมหรือ
เป็นสามเหลี่ยม เวลาแก่ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ดสีดํา
แบน มีปีกบาง ๆ ที่ปลาย.
【 บุหลัน 】แปลว่า: [-หฺลัน] น. เดือน, ดวงเดือน, พระจันทร์. (ช.); ชื่อเพลงไทยมี ๒
เพลง คือ บุหลันชกมวย และ บุหลันเลื่อนลอย.
【 บู่ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่
ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก
รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่าง
กัน มีทั้งในทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย
(/Oxyeleotris marmorata/) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิด
ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร,
บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (/Glossogobius /spp.)
ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (/Vaimosa rambaiae/) และ บู่ทะเล
หรือ บู่ขาว (/Acentrogobius caninus/).
【 บู้ 】แปลว่า: ว. ยู่ย่นเข้าไป เช่น คมมีดบู้.
【 บู้บี้ 】แปลว่า: ว. บุบบิบ, ยู่ยี่.
【 บูชนีย- 】แปลว่า: บูชะนียะ- ว. ควรบูชา. (ป., ส. ปูชนีย).
【 บูชนียสถาน 】แปลว่า: [บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควร
แก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.
【 บูชา 】แปลว่า: ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ
มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ,
ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ
สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
【 บูชากัณฑ์เทศน์ 】แปลว่า: ก. ติดกัณฑ์เทศน์ด้วยจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น.
【 บูชายัญ 】แปลว่า: น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคน
หรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็น
เครื่องบูชา.
【 บูชิต 】แปลว่า: [-ชิด] ว. บูชาแล้ว. (ป., ส. ปูชิต ว่า อันเขาบูชาแล้ว).
【 บูด 】แปลว่า: ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร)
เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา
หน้าบูด.
【 บูดบึ้ง 】แปลว่า: ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
【 บูดเบี้ยว 】แปลว่า: ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
【 บูดู 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง
รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู
แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
【 บู่ทะเล 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาบู่ชนิดหนึ่ง. /(ดู บู่)./ (๒) /ดู คางคก ๒./
【 บูร 】แปลว่า: [บูน] น. บุระ.
【 บูรณ-, บูรณ์ 】แปลว่า: [บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
【 บูรณภาพ 】แปลว่า: น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพ
แห่งอาณาเขต.
【 บูรณมี 】แปลว่า: น. วันเพ็ญ.
【 บูรณาการรวมหน่วย 】แปลว่า: น. การนําหน่วยที่แยก ๆ กันมารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
【 บูรณะ 】แปลว่า: ก. ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด.
【 บูรณาการรวมหน่วย 】แปลว่า: /ดู บูรณ-, บูรณ์./
【 บูรพ์, บูรพะ 】แปลว่า: [บูน, บูระพะ] ว. บุพ.
【 บูรพา 】แปลว่า: [-ระพา] ว. ตะวันออก; เบื้องหน้า. (ส.).
【 บูรพาษาฒ 】แปลว่า: น. เดือน ๘ แรก. (ส. ปูรฺวาษาฒ).
【 เบ้ 】แปลว่า: ว. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทําปากเบ้; ทําหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็น
ด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
【 เบ่ง 】แปลว่า: ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ
เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้
พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก)
เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
【 เบญกานี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ ที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด /Quercus/
/infectoria/ Oliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลง
ชนิด /Cynips tinctoria/ ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทํายาได้
เรียกว่า ลูกเบญกานี.
【 เบญกานี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Polyscias scutellaria/ (Burm.f.) Fosberg
ในวงศ์ Araliaceae แผ่นใบแบน ขอบใบห่อขึ้นเล็กน้อย ใบด้าน
บนเป็นลายด่างสีขาวนวล เขียว และเขียวอ่อนปนกัน, ครุฑกระทง
ก็เรียก.
【 เบญจ-, เบญจะ 】แปลว่า: [เบนจะ-] ว. ห้า, ลําดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ
มาตรา … เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้า
สมาส.
【 เบญจกัลยาณี 】แปลว่า: น. หญิงมีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม
(คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิวงาม ๕.
วัยงาม (คือ ดูงามทุกวัย). (ป. ปญฺจกลฺยาณี).
【 เบญจกามคุณ 】แปลว่า: น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ
สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
【 เบญจกูล 】แปลว่า: น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิง.
(ส. ปญฺจโกล).
【 เบญจขันธ์ 】แปลว่า: น. กอง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
【 เบญจคัพย์ 】แปลว่า: น. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตามราชประเพณีของ
ไทยใช้สําหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้าอภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์
ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรด
พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า
เบญจครรภ.
【 เบญจคีรีนคร 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของเมืองราชคฤห์ มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบคือ ๑. ภูเขา
ปัณฑวะ ๒. ภูเขาคิชฌกูฏ ๓. ภูเขาเวภาระ ๔. ภูเขาอิสิคิลิ
๕. ภูเขาเวปุลละ.
【 เบญจโครส 】แปลว่า: [-โค-รด] น. นมโค ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น
เปรียง. (ป.).
【 เบญจดุริยางค์ 】แปลว่า: น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้เล่นละคร
พื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขนชนิดหนึ่ง,
อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทําจังหวะ
๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน)
๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
【 เบญจธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวมในกาม
สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
【 เบญจบรรพต 】แปลว่า: น. เขา ๕ ยอด คือ เขาหิมาลัย.
【 เบญจพรรณ 】แปลว่า: ว. ๕ สี, ๕ ชนิด; หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด
เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในที่แห่งเดียว
กันว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกันว่า
ป่าเบญจพรรณ.
【 เบญจพล 】แปลว่า: น. กําลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
【 เบญจเพส 】แปลว่า: ว. ยี่สิบห้า เช่น อายุถึงเบญจเพส. (ป. ปญฺจวีส).
【 เบญจภูต 】แปลว่า: น. ธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม อากาศ.
【 เบญจรงค์ 】แปลว่า: น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียก
เครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วยเบญจรงค์
ชามเบญจรงค์.
【 เบญจโลหกะ 】แปลว่า: น. แร่ทั้ง ๕ คือ ทองคํา เงิน ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก.
【 เบญจโลหะ 】แปลว่า: น. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และ
ทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก
“เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี
๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑
(คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
【 เบญจวรรค 】แปลว่า: น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม คือ กะ วรรค
จะ วรรค ฏะ วรรค ตะ วรรค ปะ วรรค, พวก ๕.
【 เบญจวรรณ 】แปลว่า: ว. ๕ สี, ๕ ชนิด. น. นกแก้วขนาดโตมีหลายสี.
【 เบญจวรรณห้าสี 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
【 เบญจศก 】แปลว่า: น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุนเบญจศก
จุลศักราช ๑๓๔๕.
【 เบญจศีล 】แปลว่า: น. ศีล ๕ คือ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕.
งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย, คู่กับ เบญจธรรม.
【 เบญจก 】แปลว่า: [เบนจก] น. หมวด ๕. (ป. ปญฺจก).
【 เบญจม- 】แปลว่า: [เบนจะมะ-] ว. ครบ ๕, ที่ ๕. (ป. ปญฺจม).
【 เบญจมสุรทิน 】แปลว่า: น. วันที่ ๕ แห่งเดือนสุริยคติ.
【 เบญจมาศ 】แปลว่า: [เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Dendranthema/
/morifolium/ (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา
ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง
มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น
บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน
เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย
ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับนํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.
【 เบญจมาศสวน 】แปลว่า: /ดู เก๊กฮวย./
【 เบญจมาศหนู 】แปลว่า: /ดู เก๊กฮวย./
【 เบญจา 】แปลว่า: น. แท่นมีเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่น
กัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. (เพี้ยนมาจาก มัญจา
คือ เตียง).
【 เบญจางค-, เบญจางค์ 】แปลว่า: [เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒
เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.
【 เบญจางคประดิษฐ์ 】แปลว่า: น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และ
หน้าผาก จดลงกับพื้น.
【 เบญญา 】แปลว่า: น. ปัญญา.
【 เบญพาด 】แปลว่า: [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง.
(รูปภาพ เบญพาด)
【 เบ็ด 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสําหรับเกี่ยวเหยื่อ
ส่วนมากมีเงี่ยง.
【 เบ็ดราว 】แปลว่า: น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไป
ผูกห้อยไว้กับเชือกราวโดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไป
หย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
【 เบ็ดเตล็ด 】แปลว่า: [เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของ
เบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสําคัญอะไรนัก เช่น
เรื่องเบ็ดเตล็ด.
【 เบ็ดเสร็จ 】แปลว่า: [เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ
ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ;
(โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอก
ประเทศว่าภาษีเบ็ดเสร็จ.
【 เบน 】แปลว่า: ก. เหหรือทําให้เหไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น หัวเรือเบน เบนหัวเรือ
เบนความคิด เบนความสนใจ.
【 เบนซิน 】แปลว่า: น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งนําไปใช้โดยทําให้ไอของนํ้ามัน
ผสมกับอากาศเข้าไปจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าจากหัวเทียน
ในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน.
【 เบรก 】แปลว่า: [เบฺรก] น. เครื่องห้ามล้อ. ก. ห้ามล้อ. (อ. brake).
【 เบริลเลียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔ สัญลักษณ์ Be เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาว หลอมละลายที่ ๑๒๗๗ ?ซใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ
อื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งทนทานต่อการผุกร่อน. (อ. beryllium).
【 เบรียน 】แปลว่า: บะเรียน ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์
ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).
【 เบส 】แปลว่า: (เคมี) น. สารเคมีซึ่งทําปฏิกิริยากับกรด แล้วให้ผลเป็นเกลือหรือ
เกลือกับนํ้าเท่านั้น, สารเคมีที่มีสมบัติรับโปรตอนมาจากสารอื่น
ได้, สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายอิเล็กตรอนคู่หนึ่งให้แก่สารอื่นได้,
สารเคมีซึ่งเมื่อละลายนํ้าแล้วให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-),
สารละลายที่เปลี่ยนสีลิตมัสสีแดงเป็นสีนํ้าเงินได้. (อ. base).
【 เบ้อ 】แปลว่า: ว. เป็นแผลเหวอะหวะเข้าไป.
【 เบอร์ 】แปลว่า: (ปาก) น. หมายเลขลําดับ. (ตัดมาจาก number).
【 เบอร์คีเลียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๙๗ สัญลักษณ์ Bk เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. berkelium).
【 เบ้อเร่อ, เบ้อเร่อเท่อ, เบ้อเริ่ม, เบ้อเริ่มเทิ่ม 】แปลว่า: (ปาก) ว. ใหญ่โตกว่าปรกติ.
【 เบอะ ๑ 】แปลว่า: ว. เป็นแผลเหวอะหวะเข้าไป เช่น แผลเบอะ, ใช้ประกอบคํา หนา
เป็น หนาเบอะ เช่น ปากหนาเบอะ หมายความว่า ปากหนามาก,
ใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบอะ คือ เหลือมาก.
【 เบอะ ๒ 】แปลว่า: ว. ซึมเซ่อ เช่น หน้าเบอะ.
【 เบอะบะ 】แปลว่า: ว. ซึมเซ่อ เช่น หน้าตาเบอะบะ; อ้วนใหญ่เทอะทะไม่ได้ส่วน
เช่น รูปร่างเบอะบะ.
【 เบะ 】แปลว่า: ว. ทําหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบะ
คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.
【 เบา 】แปลว่า: ว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย,
ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกําลัง
เร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก)
น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.
【 เบาความ 】แปลว่า: ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่าย
โดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
【 เบาใจ 】แปลว่า: ว. ไม่หนักใจ, โล่งใจ.
【 เบาตัว, เบาเนื้อเบาตัว 】แปลว่า: ว. กระปรี้กระเปร่า, โล่งใจหายอึดอัด.
【 เบาเต็ง 】แปลว่า: ว. จวนบ้า, ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท.
【 เบาบาง 】แปลว่า: ว. น้อยลง เช่น ผลไม้เบาบางลง, ทุเลาลง, บางเบา ก็ว่า.
【 เบาปัญญา 】แปลว่า: ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
【 เบามือ, เบาไม้เบามือ 】แปลว่า: ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือ
หรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออกแรงน้อยในการ
จับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
【 เบาไม้ 】แปลว่า: ว. ว่านอนสอนง่าย ไม่ค่อยถูกเฆี่ยนถูกตีนัก (ใช้แก่เด็ก).
【 เบาแรง 】แปลว่า: ว. ผ่อนหรือช่วยให้ใช้แรงหรือกําลังน้อยลง.
【 เบาสมอง 】แปลว่า: ว. ที่ทําให้สมองปลอดโปร่ง, ที่ไม่ต้องคิดมาก.
【 เบาหวาน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ.
【 เบาเหวง, เบาโหวง 】แปลว่า: [-เหฺวง, -โหฺวง] ว. เบาจนเกือบไม่มีนํ้าหนัก.
【 เบ้า 】แปลว่า: น. ดินหรือโลหะปั้นเป็นรูปคล้ายถ้วยสําหรับหลอมหรือผสมโลหะ
บางชนิด เช่นทอง เงิน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น เบ้าหัวไหล่ เบ้าขนมครก.
【 เบ้าขลุบ 】แปลว่า: น. เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ
เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น.
【 เบ้าตา 】แปลว่า: น. กระบอกตา.
【 เบ้าหลุด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เบาราณ 】แปลว่า: (แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).
【 เบาะ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง
เบาะสําหรับเด็กนอน.
【 เบาะลม 】แปลว่า: น. อากาศที่ถูกอัดอยู่ภายใต้พื้นล่างของยานพาหนะ ทําหน้าที่
เสมือนเป็นเบาะพยุงให้ตัวยานพาหนะลอยอยู่เหนือพื้นได้ตลอด
เวลาที่เคลื่อนที่ไป ระยะที่ลอยอยู่เหนือพื้นอาจสูงได้ถึง ๑๐ ฟุต.
【 เบาะ ๒ 】แปลว่า: น. ที่มา.
【 เบาะแส 】แปลว่า: น. ลู่ทาง, ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตําแหน่งแห่งที่ซึ่งทราบมา
อย่างเลา ๆ พอเป็นรูปเค้า.
【 เบาะ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ตี ฟัน หรือทุบเป็นต้นแต่เบา ๆ เช่น ตีเบาะ ๆ.
【 เบิก ๑ 】แปลว่า: ก. เปิด ใช้ในลักษณะอย่างเปิดผ้าคลุมบายศรีออก เรียกว่า เบิก
บายศรี, ทําให้กว้าง เช่น เบิกถนนออกไป เบิกท้องร่อง; ขอให้จ่าย
เช่น เบิกเงิน เบิกของ; นําเข้าเฝ้า เช่น เบิกตัว.
【 เบิกความ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําต่อศาลในฐานะพยาน.
【 เบิกทาง 】แปลว่า: น. เรียกหนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่านว่า หนังสือเบิกทาง
หรือ ใบเบิกทาง.
【 เบิกทูต 】แปลว่า: ก. นําทูตเข้าเฝ้า.
【 เบิกบาน 】แปลว่า: ว. แช่มชื่น, สดใส.
【 เบิกพยาน 】แปลว่า: (กฎ) ก. นําพยานมาให้ถ้อยคําต่อศาล.
【 เบิกพระเนตร 】แปลว่า: ก. เปิดตา, เป็นคําใช้สําหรับพิธีฝังหรือเขียนพระเนตรพระพุทธรูป
ซึ่งถือว่าเมื่อได้เบิกพระเนตรแล้วจึงเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์.
【 เบิกพระโอษฐ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. พิธีป้อนนํ้าโดยใช้ช้อนทองคำตักน้ำพระมหาสังข์
ใส่พระโอษฐ์พระราชกุมารหรือพระราชกุมารีเป็นครั้งแรกใน
พระราชพิธีสมโภช ๓ วัน.
【 เบิกไพร 】แปลว่า: ก. ทําพิธีก่อนจะเข้าป่า.
【 เบิกไม้ 】แปลว่า: น. พิธีเซ่นผีป่าหรือรุกขเทวดาก่อนจะตัดไม้ใหญ่ในป่าสูง.
【 เบิกเรือ 】แปลว่า: ก. ถ่างเรือที่ขุดเป็นรูปร่างแล้วให้ปากผายออกโดยวิธีสุมไฟให้ร้อน.
【 เบิกโรง 】แปลว่า: ก. แสดงก่อนดําเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.
【 เบิกโลง 】แปลว่า: ก. ทําพิธีก่อนนําศพลงโลง.
【 เบิกแว่นเวียนเทียน 】แปลว่า: ก. เริ่มทําพิธีจุดเทียนที่ติดบนแว่นเวียนเทียนแล้วส่งกันต่อ ๆ
ไปโดยรอบในการทําขวัญ.
【 เบิกอรุณ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เช้าตรู่, เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง, (ใช้แก่เวลา).
【 เบิก ๒ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕,
เขียนเป็น เปก ก็มี.
【 เบิ่ง 】แปลว่า: ก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
【 เบี้ย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล/ Cypraea/ วงศ์
Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก
ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง
๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย,
เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ
ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ
เปลือกของหอยเบี้ยชนิด /C. moneta/ เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง
คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด /C. annulus/ มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย
เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับสตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงิน
ติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
【 เบี้ยกันดาร 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจําเนื่องจาก
การปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือโรงในเรียนที่กันดาร.
【 เบี้ยแก้ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว ๒ ชนิด ในวงศ์ Cypraeidae คือ ชนิด
/Cypraea mauritiana/ เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ใหญ่ หรือ เบี้ยอีแก้
ใช้ขัดผ้าให้เนื้อเรียบเป็นมัน ชนิด /C. caputserpentis/ เปลือก
เรียกว่า เบี้ยแก้ ใช้ทํายา.
【 เบี้ยต่อไส้ 】แปลว่า: (สํา) น. เงินที่พอประทังชีวิตให้ยืนยาวไปได้ชั่วระยะหนึ่ง.
【 เบี้ยทำขวัญ 】แปลว่า: (โบ) น. เงินที่ฝ่ายหนึ่งต้องเสียให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นค่าเสียหาย.
【 เบี้ยน้อยหอยน้อย 】แปลว่า: (สํา) ว. มีเงินน้อย, มีไม่มาก.
【 เบี้ยบน 】แปลว่า: ว. มีอํานาจเหนือ, ได้เปรียบ, เป็นต่อ.
【 เบี้ยบ้ายรายทาง 】แปลว่า: (สํา) น. เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ
ในขณะทําธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สําเร็จ.
【 เบี้ยบำนาญ 】แปลว่า: (โบ; ปาก) น. บํานาญ.
【 เบี้ยโบก 】แปลว่า: น. การพนันอย่างหนึ่ง ซัดเบี้ยเข้ากระบอกแล้วให้ลูกมือแทง.
【 เบี้ยประกันภัย 】แปลว่า: (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระให้แก่
ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์
หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ
เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
【 เบี้ยประชุม 】แปลว่า: น. เงินค่าตอบแทนที่ให้แก่กรรมการเป็นต้นที่เข้าประชุม.
【 เบี้ยปรับ 】แปลว่า: (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจํานวนเงิน
ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระหนี้ หรือ
ไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากร
จะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่
ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
【 เบี้ยล่าง 】แปลว่า: ว. ใต้อํานาจ, เสียเปรียบ, เป็นรอง.
【 เบี้ยเลี้ยง 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจําวันในกรณีที่ออกทํางาน
นอกสถานที่ตั้งประจํา.
【 เบี้ยหวัด 】แปลว่า: น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์
หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุน
ของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงิน
ตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจําการ ซึ่งจ่าย
เป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
【 เบี้ยหัวแตก, เบี้ยหัวแหลก 】แปลว่า: น. เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไร
เป็นชิ้นเป็นอัน.
【 เบี้ย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Portulaca oleracea/ L. ในวงศ์ Portulacaceae
ใช้เป็นผักได้, ผักเบี้ย หรือ ผักเบี้ยใหญ่ ก็เรียก.
【 เบียก 】แปลว่า: ก. แบ่ง, ปัน.
【 เบียกบ้าย 】แปลว่า: ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียดแว้ง ก็ใช้.
【 เบี่ยง 】แปลว่า: ก. เลี่ยง, เบน, เอี้ยว, เช่น เบี่ยงตัว. ว. ที่เลี่ยง, ที่เบน, เช่น ทางเบี่ยง
สะพานเบี่ยง.
【 เบี่ยงบ่าย 】แปลว่า: ก. เลี่ยงพอให้พ้นไป, บ่ายเบี่ยง ก็ว่า.
【 เบียด 】แปลว่า: ก. แทรกหรือเสียด เช่น เบียดเข้าไป, ชิดกันติดกันเกินไปในที่จํากัด
เช่น ต้นไม้ขึ้นเบียดกัน ยืนเบียดกัน.
【 เบียดกรอ 】แปลว่า: [-กฺรอ] ว. ฝืดเคือง, กระเบียดกระเสียร, เช่น ใช้จ่ายอย่างเบียดกรอ.
【 เบียดบัง 】แปลว่า: ก. ยักเอาไว้เป็นประโยชน์ของตัว.
【 เบียดเบียน 】แปลว่า: ก. ทําให้เดือดร้อน เช่น เบียดเบียนสัตว์ โรคภัยเบียดเบียน เบียดเบียน
เพื่อนให้สิ้นเปลือง.
【 เบียดแว้ง 】แปลว่า: ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียกบ้าย ก็ใช้.
【 เบียดเสียด 】แปลว่า: ก. ยัดเยียด, เบียดกันแน่น.
【 เบียน 】แปลว่า: ก. รบกวน, ทําให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคํา เบียด เป็น เบียดเบียน;
(โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์
หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกิน
อาหารว่า ตัวเบียน.
【 เบียนธาตุ 】แปลว่า: ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป –
อาคม = มา.
【 เบียร์ 】แปลว่า: น. นํ้าเมาอย่างหนึ่งเป็นชนิดเมรัย. (อ. beer).
【 เบี้ยว ๑ 】แปลว่า: ว. มีรูปบิดเบ้ไปจากเดิมซึ่งมักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น
หัวเบี้ยว ปากเบี้ยว. เบี้ยว ๆ บูด ๆ ว. บิด ๆ เบ้ ๆ.
【 เบี้ยว ๒ 】แปลว่า: /ดู คางเบือน./
【 เบือ ๑ 】แปลว่า: ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่กริยาตาย) ในคําว่า ตายเป็นเบือ คือ ตาย
เกลื่อน กลาดไปเหมือนถูกยาเบื่อ.
【 เบือ ๒ 】แปลว่า: น. ข้าวสารที่ตําประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า
ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ,
เรียกครกดินที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
【 เบื่อ ๑ 】แปลว่า: ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา.
ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
【 เบื่อ ๒ 】แปลว่า: ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน
เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
【 เบื่อเป็นยารุ 】แปลว่า: ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะมีกลิ่นเหม็น
และรสขมเฝื่อน.
【 เบื้อ ๑ 】แปลว่า: น. สัตว์ป่าทั่วไป, คู่กับ สัตว์บ้าน เช่น เนื้อเบื้อนาเนกลํ้า หลายพรรณ.
(นิ. นรินทร์).
【 เบื้อ ๒ 】แปลว่า: น. สัตว์ในนิยายเล่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายคน แต่ไม่มีสะบ้าหัวเข่า
พูดไม่ได้, โดยปริยายเรียกผู้ที่นิ่งเฉยไม่พูดไม่จาเหมือนตัวเบื้อว่า
เป็นเบื้อ เช่น นั่งเป็นเบื้อ.
【 เบื้อ ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ผีเสื้อ.
【 เบื้อ ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. มีแสงเลื่อมพราย, โดยปริยายหมายถึงกระจกเงา
เช่น มุกแกมเบื้อ.
【 เบื้อง ๑ 】แปลว่า: น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ
ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
【 เบื้องต้น 】แปลว่า: ว. ก่อน, แรก.
【 เบื้องบน 】แปลว่า: น. ที่อยู่สูงขึ้นไป, โดยปริยายหมายถึงผู้หรือสิ่งที่มีอํานาจเหนือกว่า.
【 เบื้องว่า 】แปลว่า: สัน. ฝ่ายว่า, ส่วนว่า.
【 เบื้องหน้า 】แปลว่า: ว. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคต.
【 เบื้องหลัง 】แปลว่า: ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบแฝงอยู่,
เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
【 เบื้อง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่ง ทําโดยละเลงแป้งที่ผสมดีแล้วลงบน
กระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอ
กัน ใส่ไส้หวานหรือไส้เค็มแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง หรือ
ขนมเบื้องไทย.
【 เบื้องญวน 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกรอกแป้งลงบนกระทะ
ให้บางกรอบ ใส่ไส้กุ้งแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้องญวน.
【 เบือน 】แปลว่า: ก. หันหน้าหนี ในคําว่า เบือนหน้า.
【 แบ 】แปลว่า: ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้.
ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น
นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.
【 แบกะดิน 】แปลว่า: (ปาก) น. เรียกแผงขายของที่วางสินค้าบนพื้นริมทางเดินว่า
ร้านแบกะดิน.
【 แบไต๋ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตีแผ่ หรือเปิดเผยความลับหรือความในใจออกมา.
【 แบเบาะ 】แปลว่า: ว. ที่นอนอยู่บนเบาะเมื่อยังเป็นเด็กแดง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า
ไร้เดียงสา เช่น ทําเป็นเด็กแบเบาะ.
【 แบมือ 】แปลว่า: ก. หงายมือเหยียดนิ้วทั้ง ๕ ออก; ไม่เอาธุระ.
【 แบ้ 】แปลว่า: ว. แบะ, ไปล่, แปล้, เฉไปข้างหลัง เช่น ควายเขาแบ้.
【 แบก 】แปลว่า: ก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า เช่น แบกของ แบกปืน, โดย
ปริยายหมายความว่า รับภาระหนัก, มีความรับผิดชอบมาก, เช่น
แบกภาระเข้าไว้มาก แบกงานไว้มาก.
【 แบกหน้า 】แปลว่า: (สํา) ก. จําใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทําไม่ดี
ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมา
หากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).
【 แบคทีเรีย 】แปลว่า: น. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส มีรูปร่างกลม
เป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว, บัคเตรี ก็ว่า. (อ. bacteria).
【 แบ่ง 】แปลว่า: ก. แยกสิ่งที่เป็นอันเดียวกันหรือถือว่าเป็นอันเดียวกันออกเป็น
ส่วน ๆ เช่น แบ่งเงิน แบ่งของ.
【 แบ่งค้าง 】แปลว่า: (โบ) ก. ชําระหนี้บางส่วน.
【 แบ่งเบา 】แปลว่า: ก. แบ่งภาระหนักให้เบาลง.
【 แบ่งปัน 】แปลว่า: ก. แบ่งส่วนให้บ้าง, แบ่งให้บางส่วน.
【 แบ่งภาค 】แปลว่า: ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลายร่างโดย
เอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็นคํา
เปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่ง
ภาคไปทําได้ ไม่สามารถแบ่งภาคไปทําได้.
【 แบ่งแยก 】แปลว่า: ก. แบ่งออกจากกันเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น แบ่งแยกโฉนดที่ดิน.
【 แบ่งรับแบ่งสู้ 】แปลว่า: ก. รับบ้างปฏิเสธบ้าง, รับหรือปฏิเสธโดยมีเงื่อนไข, ภาคเสธ.
【 แบ่งสันปันส่วน 】แปลว่า: ก. แบ่งให้ตามสัดตามส่วนที่ควรจะได้.
【 แบงก์ 】แปลว่า: (ปาก) น. ธนาคาร. (อ. bank); ธนบัตร. (อ. bank note).
【 แบดมินตัน 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่ข้ามตาข่ายโต้กัน
ไปมา. (อ. badminton).
【 แบตเตอรี่ 】แปลว่า: น. หมู่ของเซลล์ไฟฟ้าซึ่งต่อกันอยู่อย่างอนุกรม หรืออย่างขนาน
หรือทั้ง ๒ อย่าง. (อ. battery).
【 แบน 】แปลว่า: ว. มีลักษณะแผ่ราบออกไป เช่น ถูกเหยียบเสียแบน; ไม่ป่อง,
ไม่นูน, เช่น เรือท้องแบน, แฟบ เช่น จมูกแบน ยางแบน.
【 แบนโจ 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสาย ๕ สาย ใช้มือดีด. (อ. banjo).
【 แบบ 】แปลว่า: น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น
ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน;
รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น
ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง
ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด
กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น
รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น
ดอกไม้ประดิษฐ์.
【 แบบข้อคำถาม 】แปลว่า: น. แบบรายการคําถามที่ให้บุคคลต่าง ๆ กรอกคําตอบเพื่อ
หาข้อมูล, แบบสอบถาม ก็ว่า.
【 แบบฉบับ 】แปลว่า: น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, สิ่งที่ถือเป็นแบบได้.
【 แบบบาง 】แปลว่า: ว. อ้อนแอ้น, เอวบางร่างน้อย, ไม่แน่นหนาหรือไม่คงทน.
【 แบบแปลน 】แปลว่า: น. แผนผัง; (กฎ) แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างดัดแปลง
รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยมีรูปแสดง
รายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาดเครื่องหมายวัสดุ และการใช้สอย
ต่าง ๆ ของอาคารอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้.
【 แบบแผน 】แปลว่า: น. ขนบธรรมเนียมที่กําหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ
ต่อกันมา.
【 แบบฝึกหัด 】แปลว่า: น. แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียนฝึกตอบ
เป็นต้น.
【 แบบพิธี 】แปลว่า: น. พิธีการตามกําหนด.
【 แบบพิมพ์ 】แปลว่า: น. กระดาษพิมพ์ที่เป็นแบบสําหรับกรอกข้อความ หรือทํา
เครื่องหมายตามที่กําหนดหรือที่ต้องการ เช่น แบบพิมพ์คําร้อง.
【 แบบสอบถาม 】แปลว่า: น. แบบข้อคําถาม.
【 แบบอย่าง 】แปลว่า: น. ตัวอย่างที่จะอ้างเป็นบรรทัดฐานได้.
【 แบ็บ 】แปลว่า: ว. อาการที่นอนอยู่กับที่ ลุกไม่ไหว ในลักษณะที่หมดกําลัง
หรือเจ็บป่วย มีอาการเพียบเป็นต้น ในคําว่า นอนแบ็บ.
【 แบรก 】แปลว่า: บะแหฺรก น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง
สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
【 แบเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่าง
รวดเร็ว หลอมละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียม
ใช้ในอุตสาหกรรมสีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
【 แบหลา 】แปลว่า: แบหฺลา ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคําว่า นอนแบหลา.
(กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้า
ในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลา
ครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).
【 แบะ 】แปลว่า: ก. แบออก เช่น แบะหนังสือ, ทําให้อ้า เช่น แบะทุเรียน. ว. อ้า,
ที่เปิดกว้างออกไป, เช่น ถูกฟันหัวแบะ; มีลักษณะกางออกหรือ
ถ่างออก เช่น ล้อแบะ.
【 แบะแฉะ 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แฉะแบะ ก็ว่า.
【 แบะท่า 】แปลว่า: ก. ทําท่าเปิดโอกาสให้, ให้ท่า.
【 แบะปาก 】แปลว่า: ก. แสยะปากทําอาการรังเกียจเป็นต้น.
【 แบะอก 】แปลว่า: ก. เปิดอกเสื้อแสดงท่าว่าเป็นนักเลงหรือไม่สุภาพ. ว. เรียก
ลักษณะการใส่เสื้อไม่กลัดกระดุมว่า ใส่เสื้อแบะอก.
【 โบ 】แปลว่า: น. เชือกหรือริบบิ้นทําเป็นห่วง ๒ ห่วงคล้ายหูกระต่ายแล้วผูก
ไขว้กันเป็นเงื่อนกระทก. (อ. bow).
【 โบแดง 】แปลว่า: น. งานชิ้นสําคัญที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ.
【 โบ้, โบ๋ 】แปลว่า: ว. เป็นรูลึกเข้าไป เช่น สะดือโบ๋ ตาโบ๋.
【 โบก 】แปลว่า: ก. พัด, ทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างโบกมือโบกธง; ทา, ฉาบ,
เช่น โบกปูน.
【 โบกมือ 】แปลว่า: ก. แกว่งมือทําสัญญาณ.
【 โบกขร- 】แปลว่า: [โบกขะระ-] น. ใบบัว. (ป. โปกฺขร).
【 โบกขรพรรษ 】แปลว่า: [-พัด] น. ฝนดุจนํ้าตกลงในใบบัว, ฝนชนิดนี้ กล่าวไว้ว่า ใคร
อยากจะให้เปียก ก็เปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียกเหมือน
นํ้าตกลงบนใบบัว. (ป. โปกฺขร ว่า ใบบัว + ส. วรฺษ ว่า ฝน).
【 โบกขรณี 】แปลว่า: [-ขะระนี, -ขอระนี] น. สระบัว. (ป. โปกฺ-ขรณี).
【 โบชุก 】แปลว่า: น. ตําแหน่งแม่ทัพ. (พงศ. เลขา).
【 โบดก 】แปลว่า: -ดก น. ลูกน้อย, ลูกสัตว์. (ป. โปตก).
【 โบต 】แปลว่า: น. ชื่อเรือเล็กที่เป็นส่วนอุปกรณ์ของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่.
(อ. boat).
【 โบนัส 】แปลว่า: น. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้
เป็นบําเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจาก
เงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. (อ. bonus).
【 โบ๊เบ๊ 】แปลว่า: ว. มีเสียงเอ็ดอึงจนฟังไม่ได้ศัพท์.
【 โบย 】แปลว่า: ก. เฆี่ยนด้วยหวายเป็นต้นเป็นการลงโทษ.
【 โบยบิน 】แปลว่า: ก. บินร่อนไปมาอย่างผีเสื้อเป็นต้น.
【 โบรมีน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว
สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก
เดือดที่ ๕๘.๘ ?ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการ
ถ่ายรูป. (อ. bromine).
【 โบรอน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕ สัญลักษณ์ B เป็นโลหะ ลักษณะเป็นผงละเอียด
สีนํ้าตาล หรือเป็นผลึกสีเหลือง หลอมละลายที่ ๒๓๐๐?ซ.
ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า แก้ว. (อ. boron).
【 โบราณ, โบราณ- 】แปลว่า: [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร
โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ;
(ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
【 โบราณคดี 】แปลว่า: [โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ
โบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.
【 โบราณวัตถุ 】แปลว่า: [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น
พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ)
สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็น
สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณ-
สถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่ง
การประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์
นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
【 โบราณสถาน 】แปลว่า: [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น
โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์
ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐาน
เกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ
ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่ง
โบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
【 โบสถ์ 】แปลว่า: น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด
พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม
เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น
โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
【 ใบ 】แปลว่า: น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น
แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว;
สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม;
แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน;
เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ;
ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง
หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่
๕ ใบ.
【 ใบกองเกิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองเกิน ที่นายอําเภอออกให้แก่ชายซึ่งมี
สัญชาติไทย และมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ที่ได้ไปลงบัญชีทหารกองเกิน.
【 ใบกองหนุน 】แปลว่า: (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองหนุน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วย
สัสดีจังหวัดออกให้แก่ทหารกองประจําการที่รับราชการเป็นทหาร
กองประจําการจนครบกําหนด หรือทหารกองเกินที่มีอายุครบ
กําหนด ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว.
【 ใบขนสินค้า 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ
ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการอื่น
ตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ
ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาใน
ประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
【 ใบขับขี่ 】แปลว่า: (ปาก) น. ใบอนุญาตให้ขับเคลื่อนยานยนต์ได้, ถ้าเป็นใบอนุญาต
ให้ขับเรือ เรียกว่า ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ, ถ้าเป็นใบอนุญาต
ให้ขับเครื่องบิน เรียกว่า ใบอนุญาตนักบิน.
【 ใบแข็ง 】แปลว่า: น. เรือเดินทะเลที่ใช้เสื่อเป็นใบ ใช้ไม้เป็นกระดูก เรียกว่า เรือใบแข็ง.
【 ใบจอง 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวในเขต
ท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือในกรณีที่สภาพของที่ดิน
เป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
【 ใบฉัตร 】แปลว่า: น. ส่วนที่งอเป็นขอบโดยรอบตัวฆ้อง.
【 ใบฎีกา 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพระฐานานุกรมอันดับสุดท้ายรองจากสมุห์ลงมา.
【 ใบดาล 】แปลว่า: น. บานประตูหรือหน้าต่างที่ใช้ลูกดาล.
【 ใบดำ 】แปลว่า: น. (โบ) ใบแจ้งกําหนดการฌาปนกิจศพ; ใบสลากที่จัดไว้ให้ผู้ที่เข้า
รับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ใบดําก็ไม่ต้อง
เป็นทหาร.
【 ใบแดง 】แปลว่า: น. (โบ) ใบแจ้งกําหนดการมงคลสมรส; ใบสลากที่จัดไว้ให้ผู้ที่
เข้ารับการคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารจับ ถ้าจับได้ใบแดง
ก็ต้องเป็นทหาร; ใบแสดงการลงโทษในการแข่งขันฟุตบอลที่
ผู้เล่นกระทำผิดกติการุนแรง เป็นการไล่ออก.
【 ใบแดงแจ้งโทษ 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. เอกสารที่กรมตํารวจออกเพื่อแสดงว่าผู้นั้นเคย
ต้องโทษในคดีอาญามาแล้ว เดิมใช้กระดาษสีแดง.
【 ใบตราส่ง 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า เพื่อเป็นหลักฐาน
การรับขนของให้ตามข้อตกลง.
【 ใบตอง 】แปลว่า: น. ใบกล้วย.
【 ใบไต่สวน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และ
หมายความรวมถึงใบนำด้วย.
【 ใบแทรก 】แปลว่า: น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้นที่แทรก
อยู่ในหนังสือพิมพ์.
【 ใบบอก 】แปลว่า: (โบ) น. หนังสือรายงานเหตุการณ์ทางราชการ; หนังสือแจ้งราชการ
มาจากหัวเมือง.
【 ใบบุญ 】แปลว่า: น. ร่มบุญ, ส่วนบุญที่ปกป้องคุ้มครองอยู่.
【 ใบเบิก 】แปลว่า: น. หนังสือเบิกสิ่งของต่าง ๆ.
【 ใบเบิกทาง 】แปลว่า: (ปาก) น. หนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่าน, หนังสือเบิกทาง
ก็เรียก.
【 ใบเบิกร่อง 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวางจดทะเบียน
ตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบให้แก่
พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้าสมุทรปราการ.
【 ใบปก 】แปลว่า: น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือ
หนังสือ, ปก ก็เรียก.
【 ใบประจำต่อ 】แปลว่า: (กฎ) น. กระดาษแผ่นหนึ่งที่ผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงิน ในกรณีที่ไม่มี
ที่ในตั๋วเงินที่จะสลักหลังได้ต่อไป ใบประจำต่อถือเป็นส่วนหนึ่ง
ของตั๋วเงินนั้น.
【 ใบปรือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้หรือปูนรูปเป็นครีบ ๆ คล้ายใบระกาติดที่ตะเข้เครื่องบน
โบสถ์วิหารเป็นต้น.
【 ใบปลิว 】แปลว่า: น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้น เพื่อเผยแพร่
แก่ประชาชนทั่ว ๆ ไป.
【 ใบพัด 】แปลว่า: น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้หมุนได้
สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือเป็นต้น
ให้เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน
ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
【 ใบพัทธสีมา 】แปลว่า: [-พัดทะ-] น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์, ใบสีมา
หรือ ใบเสมา ก็ว่า.
【 ใบโพ ๑ 】แปลว่า: น. แผ่นโลหะทำเป็นรูปใบโพแขวนไว้ที่ปลายลูกเน่ง เพื่อรับลม
ไปแกว่งลูกเน่งให้กระทบตัวกระดิ่งหรือกระดึงให้เกิดเสียงดัง.
【 ใบเมี่ยง 】แปลว่า: น. เรียกผ้าสําหรับห่อศพเข้าโกศ.
【 ใบไม้ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของพืชที่มีหน้าที่หายใจ คายนํ้า เก็บอาหาร สืบพันธุ์.
【 ใบรับ 】แปลว่า: น. หนังสือที่แสดงว่าได้รับเงินหรือสิ่งของเป็นต้นไว้แล้ว.
【 ใบรับรอง 】แปลว่า: น. เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์.
【 ใบลา 】แปลว่า: น. เอกสารแสดงความจํานงขอลางาน.
【 ใบเลี้ยง 】แปลว่า: น. ใบที่แตกออกมาจากเมล็ดเป็นใบแรกหรือคู่แรก, ใบที่อยู่
ชิดกับขั้วผลไม้บางชนิด.
【 ใบสอ 】แปลว่า: น. ใบเสมาบนกําแพงเมือง.
【 ใบสั่ง 】แปลว่า: น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่ายใบสั่ง
ให้ไปเสียค่าปรับ.
【 ใบสั่งจ่าย 】แปลว่า: น. หนังสือคําสั่งให้จ่ายเงินหรือสิ่งของ.
【 ใบสัจ 】แปลว่า: (โบ) น. เอกสารซึ่งตระลาการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วนําเสนอ
ลูกขุนปรึกษาปรับสัจตัดสิน.
【 ใบสำคัญ 】แปลว่า: น. เอกสารที่รับรองข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หรือสิทธิ.
【 บสำคัญคู่จ่าย 】แปลว่า: น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่าย
ที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่
เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร
และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
【 ใบสำคัญประจำตัว 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าวซึ่งนายทะเบียนได้ออก
ให้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว.
【 ใบสีมา, ใบเสมา 】แปลว่า: น. แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์, ใบพัทธสีมา ก็ว่า.
【 ใบสุทธิ 】แปลว่า: น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของบุคคล
ผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
【 ใบเสร็จ 】แปลว่า: น. เอกสารที่แสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว.
【 ใบหน้า 】แปลว่า: น. เค้าหน้า, ดวงหน้า, รูปลักษณะของหน้า.
【 ใบหุ้น 】แปลว่า: (กฎ) น. ใบสําคัญสําหรับหุ้นที่บริษัทจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้น.
【 ใบเหยียบย่ำ 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนดให้ผู้รับอนุญาต
ต้องทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี.
【 ใบเหลือง 】แปลว่า: น. ใบแสดงการลงโทษในการแข่งขันฟุตบอล ถ้าผู้เล่นกระทำผิด
กติกาครั้งแรกจะได้รับใบเหลืองจากกรรมการผู้ตัดสินเป็นการแจ้ง
โทษ ถ้ากระทำผิดกติกาอีกก็จะได้รับใบแดง เป็นการไล่ออก.
【 ใบอนุญาตขับขี่ 】แปลว่า: (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ใบอนุญาต
สําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมาย
ว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาตผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตาม
กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
【 ใบ้ 】แปลว่า: ว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคําที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยาย
หมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทน
ถ้อยคํา เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น
ใบ้หวย.
【 ใบ้คลั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ใบก้นปิด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Stephania japonica/ (Thunb.) Miers var.
/discolor/ (Blume) Forman ในวงศ์ Menispermaceae
ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ใบใช้ทํายาได้.
【 ใบขนุน 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด /Lactarius lactarius /ในวงศ์ Lactariidae
ลําตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย
มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง
อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลําตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบน
ของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดําเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบ
ตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน
หรือ สาบขนุน ก็เรียก. (๒) ชื่อหนึ่งของปลาตาเดียวโดยเฉพาะ
ทุกชนิดในสกุล /Pseudorhombus /วงศ์ Bothidae เป็นปลาทะเล
ที่มีตาทั้งคู่อยู่บนด้านซ้ายของหัว. /(ดู ตาเดียว)./
【 ใบเงิน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล/ Graptophyllum /และ /Pseuderanthemum /
วงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด/ G. pictum/ (L.) Griff. ใบสีเขียว กลางใบ
ด่างขาว ช่อดอกสั้น ดอกสีม่วงแดง; ชนิด /P. albomarginatum/ Radlk.
ใบสีเขียว ขอบขาว ช่อดอกยาว ดอกสีขาวกลางดอกมีประสีม่วงชมพู;
และชนิด/ P. atropurpureum /Griff. สีใบและช่อดอกเหมือนชนิดที่สอง
แต่ดอกสีชมพูอมม่วง.
【 ใบตาล 】แปลว่า: /ดู หมอตาล ที่ หมอ ๒./
【 ใบทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกใบเงินชนิด/ Graptophyllum pictum/ (L.) Griff. ที่ใบ
สีเขียว กลางใบสีเหลือง.
【 ใบท้องแดง 】แปลว่า: (ถิ่น-จันทบุรี) น. ต้นกระบือเจ็ดตัว./ (ดู กระบือเจ็ดตัว)./
【 ใบนาก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Pseuderanthemum atropurpureum/ Griff.
ในวงศ์ Acanthaceae กิ่งสีม่วง พื้นใบสีเขียวอมม่วง; ชื่อเรียก
ใบเงินชนิด /Graptophyllum pictum/ (L.) Griff. ที่กิ่งและพื้นใบ
สีเขียวอมม่วง.
【 ใบโพ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ใบ./
【 ใบโพ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล /Drepane /วงศ์ Drepanidae
ลําตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของ
หัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้า
ครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด/ D. punctata /
มีจุดดําที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด/ D. longimana/
มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตาม
พื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐
เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
【 ใบไม้ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ใบ./
【 ใบไม้ ๒ 】แปลว่า: /ดู สลิด ๒./
【 ใบไม้ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิทางเดินอาหารในอันดับ Digenea มีหลายสกุลและ
หลายวงศ์ ลําตัวแบนคล้ายใบไม้ เป็นพยาธิที่ทําอันตรายต่อระบบ
ทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะตับ ถุงนํ้าดีและท่อ
นํ้าดี มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Fasciola hepatica, Opisthorchis/
/sinensis, Fasciolopsis buski./
【 ใบระกา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้สลักหรือปูนปั้นรูปเป็นครีบ ๆ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับ
ตัวลํายองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์
วิหาร และปราสาท เป็นต้น.
【 ใบหูช้าง 】แปลว่า: /ดู กระแตไต่ไม้ ๒./
【 ไบ่ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทําปากเยื้องไปมา.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!