【 ถ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๒ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รถ ปรารถนา.
【 ถก 】แปลว่า: ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่าง
ถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่
กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า;ทึ้งให้หลุดออก
เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมา
พิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.
【 ถกเขมร 】แปลว่า: ก. นุ่งผ้าโจงกระเบนดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า, ขัดเขมร ก็ว่า.
【 ถกเถียง 】แปลว่า: ก. ยกเอาขึ้นมาพูดโต้แย้งกัน.
【 ถกล 】แปลว่า: [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่างาม,
ใช้แผลงเป็น ดํากล ก็มี. (ข. ถฺกล่).
【 ถงัน 】แปลว่า: [ถะหฺงัน] ก. เผ่นไป.
【 ถงาด 】แปลว่า: [ถะหฺงาด] ก. ทําท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป.
【 ถด 】แปลว่า: ก. กระถด, เลื่อนไปเล็กน้อย.
【 ถดถอย, ทดถอย 】แปลว่า: ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถดถอย; กระเถิบถอย, ถอยถด
หรือ ถอยทด ก็ใช้.
【 ถนะ 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. ถัน, เต้านม. (ป.).
【 ถนน 】แปลว่า: [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทําขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า,
โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ
ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง “ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการ
จราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของ
ยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
【 ถนนลาดยาง 】แปลว่า: น. ถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้น.
【 ถนป 】แปลว่า: [ถะหฺนบ] (แบบ; กลอน) น. เด็ก, เด็กกินนม. (ป.).
【 ถนอม 】แปลว่า: [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ,
ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน
ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม
ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้
อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
【 ถนัด 】แปลว่า: [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น
เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด
ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
【 ถนัดขวา 】แปลว่า: ว. ที่ทําได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา.
【 ถนัดใจ 】แปลว่า: ว. สะดวกใจ, สะใจ; เต็มที่ เช่น โดนเข้าถนัดใจ, สนัดใจ ก็ว่า.
【 ถนัดซ้าย 】แปลว่า: ว. ที่ทําได้คล่องแคล่วด้วยมือซ้าย.
【 ถนัดถนี่ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ถนัดชัดเจน เช่น เห็นถนัดถนี่.
【 ถนัดปาก 】แปลว่า: ว. สะดวกปาก, โดยไม่กระดากปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
【 ถนัดมือ 】แปลว่า: ว. พอเหมาะมือ.
【 ถนัน 】แปลว่า: [ถะหฺนัน] น. ดินชนิดหนึ่งเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และเป็นยาอายุวัฒนะ
เช่น ต่อได้กินดินถนันเมื่อวันไร. (อภัย).
【 ถนำ 】แปลว่า: [ถะหฺนํา] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง สีเหลืองอ่อน ใช้ทํายาไทย, ยา.
【 ถนำทึก 】แปลว่า: น. นํ้ายา. (ข. ถฺนํา ว่า ยา).
【 ถนิม 】แปลว่า: [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า
เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
【 ถนิมกาม 】แปลว่า: ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 ถนิมพิมพาภรณ์ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับร่างกาย.
【 ถนิมสร้อย 】แปลว่า: [ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็น
อ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็น
แม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า.
【 ถบ 】แปลว่า: น. เรียกเป็ดกายสิทธิ์ว่า เป็ดถบ.
【 ถบดี 】แปลว่า: ถะบอดี น. ช่างไม้. (ป. ถปติ; ส. สฺถปติ).
【 ถม ๑ 】แปลว่า: น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสาน
ทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้ว
ขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน.
ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นช่องระหว่าง
ลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็น
สีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่าถมยาดำ.
【 ถมเงิน 】แปลว่า: น. เครื่องถมที่ทําด้วยเงิน.
【 ถมดำ 】แปลว่า: ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงินแล้วใช้
ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า,
เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
【 ถมตะทอง 】แปลว่า: น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
【 ถมทอง 】แปลว่า: น. เครื่องถมที่ทําด้วยทองคํา.
【 ถมปรักมาศ 】แปลว่า: [–ปฺรักมาด] น. ถมเงินและทอง.
【 ถมปัด 】แปลว่า: น. ภาชนะทองแดงที่เคลือบนํ้ายาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผง
ให้เป็นสีและลวดลายต่าง ๆ.
【 ถมยา 】แปลว่า: ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน
แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ
หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
【 ถม ๒ 】แปลว่า: ก. เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่ง
เพื่อให้เต็ม, กองสุม ๆ ไว้ไม่เป็นระเบียบ.
【 ถมถืด, ถมเถ, ถมไป 】แปลว่า: ว. มากมายก่ายกอง.
【 ถ่ม 】แปลว่า: ก. ทําให้นํ้าลายหรือสิ่งอื่น ๆ ออกจากปากโดยแรง.
【 ถ่มน้ำลายรดฟ้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย.
【 ถ่มร้าย 】แปลว่า: น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง
๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยักหล่ม
เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
【 ถมอ 】แปลว่า: [ถะหฺมอ, ถะมอ] น. หิน เช่น ดาดดําถมอทะมื่น. (ม. คําหลวง
จุลพน).
【 ถมึงทึง 】แปลว่า: [ถะหฺมึง–] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว,
ขมึงทึง ก็ว่า.
【 ถเมิน 】แปลว่า: [ถะเมิน] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (เทียบ ข. เถมิร ว่า ผู้เดิน).
【 ถเมินเชิง 】แปลว่า: น. พลเดินเท้า.
【 ถเมินไพร 】แปลว่า: น. พรานป่า.
【 ถล, ถละ 】แปลว่า: ถน, ถะละ น. ที่บก, ที่ดอน. (ป.).
【 ถลก 】แปลว่า: [ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุด
ลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่ว
ไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า.
【 ถลกบาตร ๑ 】แปลว่า: [ถะหฺลกบาด] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า.
【 ถลกบาตร ๒ 】แปลว่า: [ถะหฺลกบาด] /ดู กะทกรก (๒)./
【 ถลน 】แปลว่า: [ถะหฺลน] ก. ทะเล้นออก, ปลิ้นออก, (ใช้แก่ตา).
【 ถลม 】แปลว่า: [ถะหฺลม] ว. เป็นบ่อ. (ปรัดเล).
【 ถล่ม 】แปลว่า: [ถะหฺล่ม] ก. ยุบหรือทําให้ยุบทลายลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทําให้พัง
ทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่.
【 ถลอก 】แปลว่า: [ถะหฺลอก] ก. ลอกออกไป, ปอกออกไป, เปิดออกไป, (มักใช้แก่สิ่ง
ที่มีผิว) เช่น หนังถลอก สีถลอก.
【 ถลัน 】แปลว่า: [ถะหฺลัน] ก. พรวดพราดเข้าไปหรือออกมาโดยไม่รั้งรอ.
【 ถลา 】แปลว่า: [ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลัก
ซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง.
【 ถลาก 】แปลว่า: [ถะหฺลาก] ว. ถากไปถูกเพียงผิว ๆ เช่น ฟันถลากไป ยิงถลากไป.
【 ถลากถลำ 】แปลว่า: ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลําถลาก ก็ว่า.
【 ถลากไถล 】แปลว่า: ว. ไม่ตรงไปตรงมา, ไม่อยู่กับร่องกับรอย, (ใช้แก่กริยาพูด).
【 ถลาย 】แปลว่า: [ถะหฺลาย] ก. แตก, มีคําที่ใช้คล้ายกันอีก คือ ฉลาย สลาย.
【 ถลำ 】แปลว่า: [ถะหฺลํา] ก. ลํ้าล่วง เช่น ถลําเข้าไป, พลั้งพลาดตกลงไป เช่น ถลําลงคู.
【 ถลำใจ 】แปลว่า: ก. ปล่อยใจให้ตกอยู่ในข้อผูกพัน.
【 ถลำตัว 】แปลว่า: ก. หลวมตัว.
【 ถลำถลาก 】แปลว่า: ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลากถลํา ก็ว่า.
【 ถลีถลำ 】แปลว่า: [ถะหฺลีถะหฺลํา] ก. เถลือกถลน.
【 ถลึงตา 】แปลว่า: [ถะหฺลึง–] ก. ขึงตา.
【 ถลุง 】แปลว่า: [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อโลหะ;
(ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม
เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่
หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยินหมายถึง
เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
【 ถลุน 】แปลว่า: [ถะหฺลุน] ก. เอาปอหรือป่านมาบิดให้เป็นเส้นเขม็งเพื่อฟั่นเข้า
เป็นเกลียวเส้นเชือกใหญ่.
【 ถ่วง 】แปลว่า: ก. ทําให้หนัก เช่น ถ่วงนํ้าหนัก, ทําให้ช้า เช่น ถ่วงเวลา ถ่วงความ
เจริญ, ทําให้จม เช่น ถ่วงนํ้า.
【 ถ่วงดุล 】แปลว่า: ก. ทําให้หนักเท่ากัน เช่น ถ่วงดุลแห่งอํานาจ.
【 ถ่วงล้อ 】แปลว่า: ก. ทําให้จุดศูนย์ถ่วงของล้อเท่ากัน.
【 ถ้วน 】แปลว่า: ว. ครบ, เต็มจํานวนที่กําหนดไว้; ไม่มีเศษ เช่น ร้อยบาทถ้วน.
【 ถ้วนถี่ 】แปลว่า: ว. ละเอียดลออ, รอบคอบ, โดยปริยายหมายความว่าเหนียวแน่น, ถี่ถ้วน
ก็ว่า.
【 ถ้วย ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น
เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ
ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี
อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ
บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง
เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์
ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
【 ถ้วยตวง 】แปลว่า: น. ถ้วยสําหรับตวงสิ่งของ มีขนาดต่าง ๆ บอกปริมาตรในตัวหรือ
มีขีดบอกปริมาตร.
【 ถ้วยรางวัล 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําด้วยโลหะมีรูปร่างคล้ายถ้วย มีเชิง สําหรับให้เป็นรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
【 ถ้วย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ นํ้าตาลปีบ เป็นต้น
ใส่ถ้วยนึ่ง.
【 ถ้วยตะไล 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบเป็นต้นใส่
ถ้วยตะไลนึ่ง.
【 ถ้วยฟู 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลทรายผสมด้วย
ผงฟู นวดให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้จนแป้งขึ้นดี ใส่ถ้วยเล็ก ๆ นึ่ง.
【 ถ้วยโถง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ทวยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
【 ถวัด 】แปลว่า: [ถะหฺวัด] ก. ตวัด เช่น หมีแรดถวัดแสนงขนาย. (แช่งนํ้า). ว. ไว,
คล่อง, เช่น ลางหมู่เอาดินก็ได้ถวัด. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 ถวัดถวัน 】แปลว่า: –ถะหฺวัน ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
【 ถวัล 】แปลว่า: [ถะหฺวัน] ว. อ้วน, หยาบ, เช่น ถวัลพัสตร์. (ป. ถูล; ส. สฺถูล).
【 ถวัลย์ 】แปลว่า: [ถะหฺวัน] ก. ทรง, ครอง; เจริญ. ว. ใหญ่.
【 ถวาย 】แปลว่า: [ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย);
ให้ดู, ให้ชม, เช่น รําถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็นดงวาย หรือ ตังวาย
ก็ได้.
【 ถวายกร 】แปลว่า: ก. ไหว้เจ้านาย, รําให้เจ้านายชม.
【 ถวายข้าวพระ 】แปลว่า: ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธโดยยกมือประนม
กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺย?ฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส
ปูเชมิ.
【 ถวายตัว 】แปลว่า: ก. มอบตัวแก่เจ้านาย.
【 ถวายเนตร 】แปลว่า: น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนพระหัตถ์ขวาประกบ
พระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตรทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์
อยู่ในพระอาการสํารวม.
【 ถวายพระพร 】แปลว่า: คําเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคํารับ.
【 ถวายหัว 】แปลว่า: (สํา) ก. ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทําจนสุด
ความสามารถ, ยอมสู้ตาย.
【 ถวิน 】แปลว่า: [ถะหฺวิน] น. ห่วงร้อยสายรัดประคด เรียกว่า ลูกถวิน, กระวิน ก็ว่า.
【 ถวิล 】แปลว่า: [ถะหฺวิน] ก. คิด, คิดถึง.
【 ถ่อ ๑ 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับยันแล้วดันให้เรือเดิน มักเป็นไม้ไผ่. ก. ทําให้เรือเดินด้วย
ใช้ไม้นั้นยันแล้วดันไป, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมา
ด้วยความลําบาก เช่น ถ่อกายมาถึงนี่.
【 ถ่อ ๒ 】แปลว่า: น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตูคือ
หน่วยกับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบโปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ลูกค้าแทง
เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน.
【 ถ้อ 】แปลว่า: ก. โต้ตอบ เช่น ร้องเพลงถ้อกันไปมา. (พงศ. เลขา), ใช้ ท่อ ก็มี.
【 ถ้อถ้อย 】แปลว่า: (กลอน) น. คําโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, บางแห่งใช้ท่อถ้อย หรือ
ท้อถ้อย ก็มี.
【 ถอก ๑ 】แปลว่า: ก. รั้น, ร่นเข้าไป.
【 ถอก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. เทออก.
【 ถอง 】แปลว่า: ก. กระทุ้งด้วยศอก.
【 ถ่อง 】แปลว่า: (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง,
เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
【 ถ่องแถว 】แปลว่า: น. แนวอันจะจะกันเป็นระเบียบ.
【 ถ่องแท้ 】แปลว่า: ว. ชัดเจนแจ่มแจ้ง, ถูกแน่, แน่นอน.
【 ถ้อง 】แปลว่า: (กลอน) น. ทาง เช่น พฤกษาในเถื่อนถ้อง. (ม. คําหลวง มหาพน).
【 ถอด 】แปลว่า: ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบ
มาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
【 ถอดเขี้ยวถอดเล็บ 】แปลว่า: (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอํานาจ
อีกต่อไป.
【 ถอดความ 】แปลว่า: ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
【 ถอดถอน 】แปลว่า: ก. ถอดออกจากตําแหน่ง.
【 ถอดไพ่ 】แปลว่า: ก. จัดเรียงไพ่ให้เข้าชุดโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (มักใช้
ในการเสี่ยงทาย).
【 ถอดรหัส 】แปลว่า: ก. ถอดสารลับออกเป็นภาษาสามัญ.
【 ถอดรูป 】แปลว่า: ก. เอารูปที่ปกคลุมออกให้เห็นรูปเดิม เช่น เงาะถอดรูป.
【 ถอดสี 】แปลว่า: ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัดตัวที่
แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
【 ถอดหัวโขน 】แปลว่า: ก. พ้นจากตําแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์.
【 ถอน 】แปลว่า: ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น
ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว;
ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน.
【 ถอนคำฟ้อง, ถอนฟ้อง 】แปลว่า: (กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่า
จะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไปในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง
ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.
【 ถอนเงิน 】แปลว่า: ก. เบิกเงินที่ฝากไว้ในธนาคารออกมา.
【 ถอนใจใหญ่ 】แปลว่า: ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจ
เป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.
【 ถอนต้นก่นราก, ถอนรากถอนโคน 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ, ทําลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม.
【 ถอนทุน 】แปลว่า: ก. ได้ทุนคืน, ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน.
【 ถอนพิษ 】แปลว่า: ก. ทําให้พิษหมด.
【 ถอนยวง 】แปลว่า: ก. ทําลายให้สิ้นซาก.
【 ถอนรากถอนโคน 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม, ถอนต้นก่นราก
ก็ว่า.
【 ถอนสมอ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ตัดมาจากตับเพลงฝรั่งถอนสมอ. (บัญชีเพลง).
【 ถอนสายบัว 】แปลว่า: ก. ถวายคํานับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขาข้างใดข้างหนึ่ง
ไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อยเป็นการแสดง
ความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง.
【 ถอนหงอก 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.
【 ถอบ 】แปลว่า: น. เห็ดถอบ. /(ดู เผาะ ๒)./
【 ถอบแถบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล/ Connarus/ วงศ์ Connaraceae ฝัก
พองกลม เมล็ดในแบน ๆ ใช้ทํายาได้.
【 ถ่อม 】แปลว่า: ก. ทําให้ตํ่าลง.
【 ถ่อมตัว 】แปลว่า: ก. แสดงฐานะหรือความรู้ความสามารถตํ่ากว่าที่เป็นจริง.
【 ถ่อมไส้ 】แปลว่า: (วรรณ) ก. กินอาหารน้อย ๆ เช่น อาหารถือถ่อมไส้ รัดบรัศไว้
ด้วยผ้า. (ม. คำหลวง).
【 ถอย 】แปลว่า: ก. เคลื่อนหรือทําให้เคลื่อนไปข้างหลัง เช่น ถอยเรือ ถอยรถ, ขยับ
ออกจากที่, เลื่อนที่, เช่น ถอยรถให้พ้นประตู ถอยหน้าถอยหลัง;
ลดลง เช่น พิษถอย กําลังถอย; (ปาก) ซื้อ (มักใช้กับรถใหม่).
【 ถอยกรูด 】แปลว่า: ก. ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด.
【 ถอยใจใหญ่ 】แปลว่า: (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ
หรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง
กุมาร).
【 ถอยฉะ 】แปลว่า: ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง.
【 ถอยฉาก 】แปลว่า: ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง.
【 ถอยถด, ถอยทด 】แปลว่า: ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถอยถด; กระเถิบถอย, ถดถอย
หรือ ทดถอย ก็ใช้.
【 ถอยทัพ 】แปลว่า: ก. ถอนทัพกลับ.
【 ถอยหลัง 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไปข้างหลัง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่เจริญก้าวหน้า.
【 ถอยหลังเข้าคลอง 】แปลว่า: (สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกลอักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
(ดึกดําบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
【 ถ่อย 】แปลว่า: ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
【 ถ้อย 】แปลว่า: น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ
เป็นถ้อยร้อยความ.
【 ถ้อยความ 】แปลว่า: น. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้
ในสํานวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.
【 ถ้อยคำ 】แปลว่า: น. คําที่กล่าว.
【 ถ้อยคำสำนวน 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลาย
ในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
【 ถ้อยแถลง 】แปลว่า: [–ถะแหฺลง] น. คําชี้แจง, คําประกาศ, คําอธิบายเป็นทางการ.
【 ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน 】แปลว่า: ว. ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติดีต่อกันในเรื่องเดียวกันหรือในทํานองเดียวกัน.
【 ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน 】แปลว่า: ว. ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน.
【 ถะ 】แปลว่า: น. พระเจดีย์แบบจีน. (จ.).(รูปภาพ ถะ).
【 ถะกัด 】แปลว่า: (กลอน) ก. ตระกัด, ยินดี.
【 ถะเกิน 】แปลว่า: (กลอน) ว. สูง, ชู, คํ้า.
【 ถะโกน 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ตะโกน.
【 ถะถั่น 】แปลว่า: (กลอน) ว. เร็ว ๆ, พลัน ๆ; เป็นหลั่น ๆ.
【 ถะถับ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงดีดนิ้วมือ.
【 ถะถุนถะถัน 】แปลว่า: (กลอน) ว. หยาบช้า เช่น คําถะถุนถะถันว่า คําหยาบช้า.
【 ถะมัดถะแมง 】แปลว่า: (โบ) ว. ทะมัดทะแมง, ขึงขัง, เอาจริงเอาจัง. (ดึกดําบรรพ์).
【 ถัก 】แปลว่า: ก. เอาเส้นเชือกหรือหวายเป็นต้นไขว้สอดประสานกันให้เป็น
ลวดลายต่าง ๆ บ้าง ให้เป็นเส้นและเป็นผืนบ้าง ให้ติดต่อกันบ้าง.
【 ถัง 】แปลว่า: น. ภาชนะจําพวกหนึ่ง ทําด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ
กันโดยมากใช้ตักนํ้า หรือตวงสิ่งของเป็นต้น; ชื่อมาตราตวงเท่ากับ
๒๐ ทะนาน.
【 ถั่ง 】แปลว่า: ก. ไหลอย่างเท, ไป, ถึง.
【 ถั่งถ้อย 】แปลว่า: (กลอน) ก. พูดพลั่ง ๆ ออกมา, เบิกความ.
【 ถัณฑิล, ถัณฑิลญ 】แปลว่า: ถันทิน, ถันทินละ– น. แผ่นดิน. (ป.).
【 ถัณฑิลสายี 】แปลว่า: ว. นอนเหนือแผ่นดิน. (ป.).
【 ถัด ๑ 】แปลว่า: ก. ขยับไปด้วยก้น. ว. รองลงไป, ต่อไป.
【 ถัด ๒ 】แปลว่า: ว. ชิดทางนอก (บอกวัวควายเวลาไถนา), ถาด ก็ว่า.
【 ถัทธ 】แปลว่า: ถัด ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).
【 ถัน 】แปลว่า: น. เต้านม; นํ้านม. (ป. ถน ว่า เต้านม; ถญฺ? ว่า นํ้านม).
【 ถั่น 】แปลว่า: ก. ไหล; กระชั้น เช่น ถั่นคํ่าขีณแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ถั่น ๆ 】แปลว่า: ว. เร็ว ๆ, พลัน ๆ; เป็นหลั่น ๆ.
【 ถับ, ถับ ๆ 】แปลว่า: ว. ทันใด, เร็ว, พลัน.
【 ถัมภ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. หลัก, เสา; ความดื้อ, ความกระด้าง. (ป.).
【 ถัว 】แปลว่า: ก. ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เฉลี่ย. (จ.).
【 ถั่ว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Leguminosae ใช้ฝักหรือ
เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเขียว [/Vigna radiata/ (L.) R. Wilezek]
ถั่วเหลืองหรือถั่วแระ [/Glycine max/ (L.) Merr.].
【 ถั่วคร้า 】แปลว่า: /ดู ไก่เตี้ย./
【 ถั่วค้าง 】แปลว่า: /ดู ถั่วฝักยาว./
【 ถั่วงอก 】แปลว่า: น. เมล็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดถั่วเหลืองที่เอามาเพาะให้งอกแล้วใช้เป็น
อาหารต่างผัก, ถั่วเพาะ ก็เรียก.
【 ถั่วดำ 】แปลว่า: น. เมล็ดแก่ของถั่วฝักยาวชนิดที่เมล็ดสีดํา [/Vigna unguiculata/
(L.) Walp. subsp. /cylindrica /(L.) Van Elseltine] ในวงศ์ Leguminosae.
【 ถั่วน้อย 】แปลว่า: /ดู ถั่วลันเตา./
【 ถั่วนา 】แปลว่า: /ดู กระด้าง ๑ (๑)./
【 ถั่วเน่า 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ถั่วเหลือง, ถั่วเหลืองที่ทำเป็นเต้าเจี้ยวเป็นแผ่นตากแห้ง.
【 ถั่วแปบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Dolichos lablab /L. ในวงศ์ Leguminosae
ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ; ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเหนียวต้ม
คลุกกับมะพร้าว มีไส้ถั่วเขียวเราะเปลือกนึ่ง มีลักษณะแบน ๆ
คล้ายถั่วแปบ โรยงา นํ้าตาล.
【 ถั่วแปบช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Afgekia sericea/ Craib ในวงศ์ Leguminosae
พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ด้านล่าง
ของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้งสีชมพู ฝักสั้นป้อม
แบน ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน.
【 ถั่วฝักพร้า 】แปลว่า: / ดู ถั่วพร้า./
【 ถั่วฝักยาว 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด /Vigna unguiculata/ (L.) Walp. subsp. /sesquipedalis/
(L.) Verdc. ในวงศ์ Leguminosae ฝักกลมยาวคล้ายฝักแค, ถั่วค้าง
ก็เรียก.
【 ถั่วพร้า 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด/ Canavalia gladiata/ (Jacq.) DC. ในวงศ์ Leguminosae
ฝักยาวแบนคล้ายมีด กินได้, ถั่วฝักพร้า ก็เรียก.
【 ถั่วพู 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด/ Psophocarpus tetragonolobus/ (L.) DC. ในวงศ์
Leguminosae ฝักมีครีบตามยาว ๔ ครีบ.
【 ถั่วเพาะ 】แปลว่า: /ดู ถั่วงอก./
【 ถั่วแม่ตาย 】แปลว่า: /ดู ถั่วเหลือง./
【 ถั่วยี่สง 】แปลว่า: /ดู ถั่วลิสง./
【 ถั่วแระ 】แปลว่า: /ดู ถั่วเหลือง./
【 ถั่วลันเตา 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด/ Pisum sativum/ L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา
มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็ก ดอกสีขาว
พันธุ์ฝักใหญ่ ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. (ลัน
ย่อมาจาก ฮอลแลนด์ หรือ ฮอลันดา, เตา มาจาก เต้า ในภาษาจีน).
【 ถั่วลิสง 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด /Arachis hypogaea/ L. ในวงศ์ Leguminosae
มีฝักอยู่ใต้ดิน, ถั่วยี่สง ก็เรียก.
【 ถั่วเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อถั่วชนิด/ Glycine /max Merr. ในวงศ์ Leguminosae ฝักเป็นขน
เมล็ดสีเหลืองให้นํ้ามัน, ถั่วแม่ตาย หรือ ถั่วแระ ก็เรียก.
【 ถั่ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น
เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน
ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ
๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู
แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี
แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
【 ถั่วขาว 】แปลว่า: /ดู รุ่ย ๑./
【 ถา 】แปลว่า: ก. ถลา, โผลง; ลับ, ถูให้คม. (ไทยเดิม ถา ว่า โกน).
【 ถาโถม 】แปลว่า: ก. ถลาเข้าไป, โจมเข้าไป.
【 ถ้า 】แปลว่า: สัน. คําแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก.
ถ้าว่า, ถ้าหากว่า สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
【 ถาก 】แปลว่า: ก. ฟันเอาเปลือกหรือส่วนนอกออก เช่น ถากเปลือกไม้ ถากเสา,
ใช้จอบเป็นต้นดายให้เตียน เช่น ถากหญ้า ถากดิน. ว. เฉียง ๆ,
ถูกผิว ๆ, เช่น ฟันถากไป.
【 ถากถาง 】แปลว่า: ก. ค่อนว่า, มีเจตนาว่าให้เจ็บใจ.
【 ถาง 】แปลว่า: ก. ใช้มีดเป็นต้นฟันให้เตียน เช่น ถางหญ้า ถางป่า.
【 ถ่าง 】แปลว่า: ก. แยกปลายออกให้ห่างจากกัน เช่น ถ่างขา, กางออก.
【 ถ่างตา 】แปลว่า: ก. พยายามเบิกตาให้กว้าง.
【 ถาด ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะใส่สิ่งของ ทําด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น รูปเตี้ย ๆ แบน
มีขอบ.
【 ถาด ๒ 】แปลว่า: ว. ชิดทางนอก (บอกวัวควายเวลาไถนา), ถัด ก็ว่า.
【 ถาน 】แปลว่า: น. ส้วมของพระ.
【 ถ่าน ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ที่เผาแล้วจนสุกมีสีดํา โดยมากสําหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง.
【 ถ่านโค้ก 】แปลว่า: น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้วประกอบ
ด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ในการถลุงแร่
เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
【 ถ่านไฟเก่า 】แปลว่า: (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้าง
กันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น.
【 ถ่านไฟฉาย 】แปลว่า: น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาดเล็กภายในบรรจุ
ผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์
ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้มอยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็น
ขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอกสังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของ
กระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิดไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอน
เท่านั้นที่โผล่พ้นพื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
【 ถ่านไฟแช็ก 】แปลว่า: น. โลหะเจือประเภทไพโรฟอริก เช่น โลหะซีเรียมผสมเหล็ก เป็นสาร
แข็งลักษณะเป็นแท่งกลมสั้น เมื่อครูดกับจักรโลหะจะเกิดประกายไฟ.
【 ถ่านหิน 】แปลว่า: น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปรสภาพ
ของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก.
【 ถ่าน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ถาบ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. ตบ, ตี, เช่น นกถาบปีก, ทาบ ก็ใช้.
【 ถาม 】แปลว่า: ก. พูดเพื่อรับคําตอบ.
【 ถามค้าน 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความฝ่ายที่
อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.
【 ถามติง 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
【 ถามไถ่ 】แปลว่า: ก. ถาม, สอบถาม, ไถ่ถาม หรือ ไต่ถาม ก็ว่า.
【 ถามนำ 】แปลว่า: (กฎ) ก. การถามพยานโดยแนะคําตอบไว้ในคําถามนั้นด้วย.
【 ถามปากคำ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคําผู้ต้องหา,
(ปาก) สอบปากคํา.
【 ถามะ 】แปลว่า: (แบบ) น. กําลัง, เรี่ยวแรง. (ป.).
【 ถ่าย 】แปลว่า: ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่ง
หนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด;
รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.
【 ถ่ายเดียว 】แปลว่า: ว. ฝ่ายเดียว เช่น เอาแต่ได้ถ่ายเดียว เห็นแต่ประโยชน์ถ่ายเดียว.
【 ถ่ายทอด 】แปลว่า: ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่นหรือสถาน
ที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่านําเรื่องที่
รู้ไปเล่าต่อ.
【 ถ่ายทุกข์ 】แปลว่า: ก. ขี้, ถ่ายอุจจาระ.
【 ถ่ายเท 】แปลว่า: ก. ให้ระบายเข้าออกได้ (มักใช้แก่อากาศหรือนํ้า); ยักย้ายหลีกเลี่ยง
ด้วยอุบาย, มักใช้ว่า ยักย้ายถ่ายเท.
【 ถ่ายแบบ 】แปลว่า: ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอมา, เช่น
ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
【 ถ่ายปัสสาวะ 】แปลว่า: ก. เยี่ยว.
【 ถ่ายภาพยนตร์ 】แปลว่า: ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วย
เครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้เหมือนจริง,
(ปาก) ถ่ายหนัง.
【 ถ่ายยา 】แปลว่า: ก. กินยาถ่าย.
【 ถ่ายรูป 】แปลว่า: ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุใส
เช่นฟิล์มกระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
【 ถ่ายสำเนา 】แปลว่า: ก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับด้วย
เครื่องถ่ายเอกสาร.
【 ถ่ายอุจจาระ 】แปลว่า: ก. ขี้, ถ่ายทุกข์ ก็ว่า.
【 ถ่าว 】แปลว่า: (กลอน) ว. รุ่นสาว, รุ่นหนุ่ม, เช่น นงถ่าว, แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี.
(ม. คําหลวงทศพร).
【 ถาวร, ถาวร 】แปลว่า: [วอน, วอระ, วะระ] ว. มั่นคง, ยั่งยืน, คงทน. (ป.).
【 ถาวรวัตถุ 】แปลว่า: [ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืน
เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ. (ป.).
【 ถาวรธิรา 】แปลว่า: [วะระ] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
【 ถ้ำ 】แปลว่า: น. โพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา.
【 ถ้ำชา 】แปลว่า: น. ภาชนะที่โดยมากทําด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สําหรับใส่ใบชารูปร่าง
คล้ายขวดมีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้
ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).
【 ถ้ำมอง 】แปลว่า: น. ตู้หรือหีบที่มีแว่นขยายสําหรับดูภาพยนตร์สั้น ๆ หรือ รูปต่าง ๆ
ทีละคน. (ปาก) ก. แอบดู.
【 ถ้ำยาดม 】แปลว่า: น. ภาชนะรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก มีฝา ชั้นในเจาะเป็นรูมีส้มมือ
ผสมเครื่องยาบรรจุภายใน ใช้ดม.
【 ถิ่น 】แปลว่า: น. ที่, แดน, ที่อยู่, เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย.
【 ถิร 】แปลว่า: ถิระ ว. มั่นคง, แข็งแรง. (ป.).
【 ถี 】แปลว่า: (แบบ) น. หญิง. (ป.).
【 ถี่, ถี่ ๆ 】แปลว่า: ว. มีระยะหรือช่องว่างชิด ๆ กัน เช่น ตะแกรงตาถี่ หวีซี่ถี่, มีระยะ
เวลากระชั้นชิดกัน, ไม่ห่าง, เช่น รถมาถี่ มีลูกถี่ ซอยเท้าถี่ ๆ.
【 ถี่ถ้วน 】แปลว่า: ว. ละเอียดลออ, รอบคอบ, โดยปริยายหมายความว่า เหนียวแน่น,
ถ้วนถี่ ก็ว่า.
【 ถี่เท้า 】แปลว่า: (กลอน) ว. เดินเร็ว.
【 ถี่ยิบ 】แปลว่า: ว. ถี่มาก.
【 ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น 】แปลว่า: (สํา) ว. ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วนแต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัด
ในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด.
【 ถีน 】แปลว่า: ถีนะ น. ความง่วงเหงา, ความคร้านกาย. (ป.).
【 ถีบ 】แปลว่า: ก. งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้ากระแทกออกไป, งอเข่าแล้วใช้ฝ่าเท้าดันไป
โดยแรง เช่น ถีบรถ ถีบจักร; ดัน เช่น ว่าวถีบสูง.
【 ถีบกระดาน 】แปลว่า: ก. อาการที่นั่งบนกระดานแล้วเอาเท้าถีบเลนให้กระดานแล่นไป.
【 ถีบจักร 】แปลว่า: ก. เย็บผ้าด้วยจักรโดยกดเท้าลงบนตะแกรงจักรให้ตะแกรงกระดก
ขึ้นลงให้ล้อจักรหมุน. น. เรียกหนูชนิดหนึ่งตัวเล็กซึ่งเลี้ยงไว้ให้เข้า
ไปถีบในเครื่องหมุนว่า หนูถีบจักร.
【 ถีบจักรยาน, ถีบรถ 】แปลว่า: ก. ใช้แรงเท้าถีบที่บันไดรถจักรยานให้รถแล่นไป, เรียกรถที่ใช้ถีบ
เช่นนั้นว่า รถถีบ หรือ รถจักรยาน.
【 ถีบตัว 】แปลว่า: ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นว่าว
ถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจนถีบตัว
อยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
【 ถีบทาง 】แปลว่า: (กลอน) ก. เดิน.
【 ถีบหัวส่ง 】แปลว่า: (สํา) ก. ไล่ไปให้พ้น, ไม่ไยดีอีกต่อไป.
【 ถีบฉัด 】แปลว่า: น. ชื่อช้างเร็ว.
【 ถึก 】แปลว่า: ว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ไทยเดิม
ใช้หมายความว่า ตัวผู้, ถ้าตัวเมียใช้ แม่ เช่น ม้าแม่ หมาแม่).
【 ถึง 】แปลว่า: ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย
หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง
ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่,
กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น,
ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ.
สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น
ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
【 ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง 】แปลว่า: (สำ) ก. ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร.
【 ถึงกัน 】แปลว่า: ก. ติดต่อไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ เช่น นาย ก กับ นาย ข เขาถึงกัน.
【 ถึงแก่กรรม 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคําพูดที่สุภาพ), ถึงมรณกรรม หรือ
ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
【 ถึงแก่น 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรปิดบัง.
【 ถึงแก่พิราลัย 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าประเทศราช หรือ ผู้อื่นที่มี
ฐานันดรเทียบเท่า).
【 ถึงแก่มรณกรรม 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรมหรือ ถึงมรณกรรม
ก็ว่า.
【 ถึงแก่มรณภาพ 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น),
ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี.
【 ถึงแก่อนิจกรรม 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่พระยาพานทองหรือเทียบเท่า).
【 ถึงแก่อสัญกรรม 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าพระยาหรือเทียบเท่า).
【 ถึงขนาด 】แปลว่า: ว. ได้ขนาด, เต็มที่, มากพอ.
【 ถึงคราว 】แปลว่า: ก. ถึงกําหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้
ตามลําพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
【 ถึงฆาต 】แปลว่า: ก. ถึงที่ตาย เช่น ชะตาถึงฆาต.
【 ถึงเงิน 】แปลว่า: ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, เงินถึง ก็ว่า.
【 ถึงใจ 】แปลว่า: ว. จุใจ, สะใจ, สาแก่ใจ.
【 ถึงชีพิตักษัย 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้เฉพาะหม่อมเจ้า).
【 ถึงชีวิตันตราย 】แปลว่า: ก. ประสบอันตรายถึงตาย.
【 ถึงที่ 】แปลว่า: ก. ถึงคราวตาย.
【 ถึงเป็นถึงตาย 】แปลว่า: ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้กันอย่างถึง
เป็นถึงตาย.
【 ถึงผ้า 】แปลว่า: ก. มีระดู.
【 ถึงพริกถึงขิง 】แปลว่า: (สำ) ว. เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึงพริกถึงขิง.
【 ถึงมรณกรรม 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม
ก็ว่า.
【 ถึงมรณภาพ 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น),
มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ.
【 ถึงลูกถึงคน 】แปลว่า: ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตาม
อย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
【 ถึงว่า 】แปลว่า: (ปาก) คํากล่าวแสดงความคล้อยตาม เช่น คนหนึ่งพูดด้วยความ
แปลกใจว่า ไม่นึกเลยว่าเขาจะเป็นคนเกะกะ” อีกคนหนึ่งก็คล้อยตาม
ว่า”ถึงว่าซี”.
【 ถึงไหนถึงกัน 】แปลว่า: ว. จนถึงที่สุด.
【 ถือ 】แปลว่า: ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้;
เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็น
ญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัป
มงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา;
เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
【 ถือกำเนิด 】แปลว่า: ก. เกิด.
【 ถือโกรธ 】แปลว่า: ก. คุมแค้น, ผูกใจโกรธ.
【 ถือเขาถือเรา 】แปลว่า: ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเราถือเขา ก็ว่า.
【 ถือใจ 】แปลว่า: ก. มั่นใจ, สําคัญใจ.
【 ถือดี 】แปลว่า: ก. ทะนงตัว, อวดดี, สําคัญว่ามีดีในตน, (มักเป็นไปในเชิงก้าวร้าว
คนอื่นเป็นต้น).
【 ถือตัว 】แปลว่า: ก. ไว้ตัวไม่ยอมลดตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตนเป็นต้น.
【 ถือท้าย 】แปลว่า: ก. ทําหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทาง; โดยปริยายหมายความว่า
เข้าข้าง เช่น ถือท้ายเด็ก; ควบคุม เช่น ถือท้ายรัฐนาวา.
【 ถือน้ำ 】แปลว่า: ก. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา.
【 ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 】แปลว่า: ก. ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกสั้น ๆ ว่า ถือนํ้า ก็มี.
【 ถือบวช 】แปลว่า: ก. ประพฤติพรตตามลัทธิศาสนา.
【 ถือบังเหียน 】แปลว่า: ก. มีอํานาจบังคับให้เป็นไปตามต้องการ.
【 ถือบ้านถือเมือง 】แปลว่า: ก. ครองเมือง.
【 ถือปูน 】แปลว่า: ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
【 ถือผิว 】แปลว่า: ก. ถือว่าเป็นคนละเชื้อชาติ (โดยเฉพาะใช้แก่พวกผิวขาวที่มีความรู้สึก
รังเกียจพวกผิวดํา).
【 ถือพล 】แปลว่า: ก. คุมกําลังทัพ.
【 ถือเพศ 】แปลว่า: ก. ดำรงสภาพ เช่น ถือเพศเป็นนักบวช.
【 ถือยศ, ถือยศถือศักดิ์ 】แปลว่า: ก. ไว้ยศ, ปั้นยศ.
【 ถือเราถือเขา 】แปลว่า: ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเขาถือเรา
ก็ว่า.
【 ถือว่า 】แปลว่า: ก. จัดว่า, นัยว่า, ยอมรับว่า; ถือตัวว่า.
【 ถือวิสาสะ 】แปลว่า: ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือเพื่อนไป
โดยไม่บอก.
【 ถือศักดินา 】แปลว่า: (โบ) ก. มีศักดิ์โดยถือเอานาเป็นหลักในการกําหนดอํานาจและ
ปรับไหม.
【 ถือศีล 】แปลว่า: ก. รักษาศีล.
【 ถือสา 】แปลว่า: ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่น
เรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา.
【 ถือสิทธิ์ 】แปลว่า: ก. อ้างสิทธิ์หรืออํานาจที่มีอยู่, ลุอํานาจ.
【 ถือหาง 】แปลว่า: ก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใดตัวหนึ่ง
ในการต่อรอง).
【 ถือโอกาส 】แปลว่า: ก. ฉวยโอกาส.
【 ถุง 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของ ทําด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด
ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สําหรับสวมมือ
สวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียก
สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของ
ผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกันว่า ผ้าถุง.
【 เถรี 】แปลว่า: น. พระเถระผู้หญิง. (ป.).
【 เถรานุเถระ 】แปลว่า: /ดู เถร, เถร-, เถระ./
【 เถรี 】แปลว่า: /ดู เถร, เถร-, เถระ./
【 เถลไถล 】แปลว่า: [ถะเหฺลถะไหฺล] ว. ไม่ตรงไปตรงมาเที่ยวแวะโน่นแวะนี่.
【 เถลิก 】แปลว่า: [ถะเหฺลิก] ว. เถิก, เลิกขึ้นไป, เช่น ขากางเกงเถลิกขึ้นไป.
【 เถลิง 】แปลว่า: [ถะเหฺลิง] ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอํานาจ. ว. ขึ้นหนุ่ม, ขึ้นเปลี่ยว,
เช่น วัวเถลิง.
【 เถลิงศก 】แปลว่า: น. วันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว
เรียกว่า วันเถลิงศกขึ้นจุลศักราชใหม่ อยู่ต่อจากวันเนาปรกติตรงกับ
วันที่ ๑๕ เมษายน, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่.
【 เถลือกถลน 】แปลว่า: [ถะเหฺลือกถะหฺลน] ว. ลุกลน, ลนลาน, รีบร้อนจนขาดความระมัดระวัง,
ถลีถลํา ก็ว่า.
【 เถ่อ 】แปลว่า: ว. ค้างอยู่ (ใช้แก่อาการยืนหรือแหงน) เช่น หน้าแหงนเถ่อ ยืนเถ่อ.
【 เถอะ 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ
ชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
【 เถอะน่า 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอน
เป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
【 เถะ, เถะ ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรปิดบัง (ใช้แก่ร่างกายที่ค่อนข้างอ้วน) เช่น อ้วนเถะ เนื้อเถะ ๆ.
【 เถา 】แปลว่า: น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง
ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง
ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า
เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ
สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น
ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน
แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลงติดต่อ
กันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา
เพลงราตรีประดับดาวเถา.
【 เถาดาน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้วลามลงไป
ถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
【 เถ้า ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดของสิ่งที่เหลือจากไฟเผามอดแล้ว, ขี้เถ้า ก็ว่า.
【 เถ้ารึง 】แปลว่า: น. กองเถ้าที่ไม่มีถ่านไฟ แต่ยังมีความร้อนระอุอยู่, เท่ารึง ก็ใช้.
【 เถ้า ๒ 】แปลว่า: ว. แก่, มีอายุมาก, โดยมากใช้ เฒ่า.
【 เถ้าแก่ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธาน
ในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี,
เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).
【 เถ้าแก่เนี้ย 】แปลว่า: น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.
【 เถาคัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในวงศ์ Vitaceae ขอบใบหยัก มีมือเกาะออกตรงข้าม
ใบ ชนิด/ Cayratia trifolia/ (L.) Domin ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ
พันธุ์ใบแดงเรียก เถาคันแดง, อีกชนิดหนึ่งคือ/ Cissus repens /Lam. ใบเดี่ยว.
【 เถาคันเหล็ก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด/ Ventilago cristata/ Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae
ใบเดี่ยว ผลมีปีก.
【 เถาเงาะ 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๒)./
【 เถามวก 】แปลว่า: /ดู มวก./
【 เถาวัลย์ 】แปลว่า: น. พรรณไม้ที่เป็นเถา, พรรณไม้เลื้อย. (ป., ส. วลฺลิ, วลฺลี).
【 เถาวัลย์กรด 】แปลว่า: /ดู กรด ๓./
【 เถาวัลย์เขียว 】แปลว่า: /ดู ย่านาง ๒./
【 เถาวัลย์ปูน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด/ Cissus repanda /Vahl ในวงศ์ Vitaceae เถามีคราบขาว.
【 เถาวัลย์เปรียง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด/ Derris scandens /(Roxb.) Benth. ในวงศ์
Leguminosae เถาใช้ทํายาได้.
【 เถาวัลย์ยอดด้วน 】แปลว่า: /ดู เถาหัวด้วน./
【 เถาวัลย์เหล็ก 】แปลว่า: /ดู รางแดง./
【 เถาสิงโต 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๒)/
【 เถาหัวด้วน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาไร้ใบ ๒ ชนิดในสกุล /Sarcostemma/ วงศ์ Asclepiadaceae
คือ ชนิด /S. acidum /J. Voigt และชนิด/ S. brunonianum/ Wight et Arn.
ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทำยาได้, เถาวัลย์ยอดด้วน ก็เรียก.
【 เถาะ 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๔ ของรอบปีนักษัตร มีกระต่ายเป็นเครื่องหมาย.
【 เถิก 】แปลว่า: ว. เถลิก, ลักษณะของหน้าผากที่ผมถอยร่นสูงขึ้นไปหรือขึ้นอยู่สูงกว่า
ปรกติ.
【 เถิง 】แปลว่า: ก. ถึง.
【 เถิด 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ
ชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.
【 เถิดน่า 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอน
เป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
【 เถิดเทิง 】แปลว่า: น. กลองยาว.
【 เถิน 】แปลว่า: ว. ตอน, เป็นเนิน, สูง.
【 เถียง ๑ 】แปลว่า: ก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอน
ปลายเถียงกัน.
【 เถียง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สําหรับอยู่เฝ้าข้าว.
【 เถียร 】แปลว่า: ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (แผลงมาจาก ถิร).
【 เถือ 】แปลว่า: ก. เชือดเฉือนลงไปอย่างแรงด้วยของมีคม เช่น หนังเหนียวเถือไม่เข้า.
【 เถือก 】แปลว่า: ว. ดาษไป, ทั่วไป, (ใช้แก่สีแดง ในคําว่า แดงเถือก); จ้า, โพลง, พราว,
เช่น เถือกถ่อง เถือกทินกร.
【 เถื่อน 】แปลว่า: น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกล
จากความเจริญ, มักใช้ประกอบคํา ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตาม
กฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.
【 แถ ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่นกเป็นต้นเอียงปีกร่อนลง, อาการที่ของแบน ๆ เช่นกระเบื้อง
หรือรูป แฉลบหรือร่อนไปเฉียง ๆ, โดยปริยายเรียกอาการที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น วัน ๆ ไม่เห็นทำการทำงานได้แต่แถไปโน่นไปนี่.
【 แถ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) ก. ทําให้เตียน, ทําให้โล่ง, เช่น แถผม แถหัว หมายถึง
โกนผม โกนหัว.
【 แถก 】แปลว่า: ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น
บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ.
(ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก
เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร);
กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา
มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว
อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น
แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์
ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
【 แถง 】แปลว่า: [ถะแหฺง] น. ดวงเดือน, เดือน.
【 แถน 】แปลว่า: น. เทวดา, ฟ้า.
【 แถบ 】แปลว่า: ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป
แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น–พายัพ)
เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
【 แถบบันทึกภาพ 】แปลว่า: น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณภาพ.
【 แถบบันทึกเสียง 】แปลว่า: น. แถบเคลือบสารแม่เหล็ก ใช้บันทึกสัญญาณเสียง.
【 แถบเหล็กพืด 】แปลว่า: น. เหล็กเหนียวชนิดหนึ่งเป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถัง.
【 แถม 】แปลว่า: ก. เติมให้, เพิ่มให้, (มักใช้ในการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือให้). ว. ที่เติมให้,
ที่เพิ่มให้, เช่น ของแถม.
【 แถมพก 】แปลว่า: ก. ให้สิ่งของตอบแทนเป็นไมตรี, แถมให้เป็นพิเศษ, เช่น แถมพก
แก่ผู้มาซื้อของ.
【 แถลง 】แปลว่า: [ถะแหฺลง] ก. บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น แถลงข่าว,
กล่าวอธิบาย เช่น จะแถลงให้ทราบ; แสวง เช่น บัดแถลง.
【 แถลงการณ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจ
ในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ
ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
【 แถลงการณ์ร่วม 】แปลว่า: น. คําแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนามร่วมกันเพื่อ
แถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ.
【 แถลงข่าว 】แปลว่า: ก. ให้ข่าวเป็นทางการ.
【 แถลงคารม 】แปลว่า: (ปาก; โบ) ก. แถลงการณ์ด้วยวาจา.
【 แถลบ 】แปลว่า: [ถะแหฺลบ] ว. เอียง เช่น นกบินแถลบ, มักใช้ว่า แฉลบ.
【 แถว 】แปลว่า: น. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.
【 โถ ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะโดยมากทําด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบปากกว้าง
มีฝาปิด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โกศโถ.
【 โถเครื่องแป้ง 】แปลว่า: น. โถที่ทําด้วยแก้วเจียระไนเป็นต้น มีรูปและสีต่าง ๆ ใช้ใส่แป้งนวล.
【 โถปริก 】แปลว่า: [–ปฺริก] น. โถเครื่องแป้งเป็นต้นที่ฝามียอดทําด้วยทองอย่างหัวแหวน
นพเก้า.
【 โถส้วม 】แปลว่า: น. สุขภัณฑ์ชนิดหนึ่งสําหรับนั่งถ่ายอุจจาระ.
【 โถ ๒ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.
【 โถง 】แปลว่า: ว. ที่เปิดโล่งแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รถโถง คือรถที่เปิดหลังคาได้
เรือโถง คือเรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก, เรียกห้องขนาด
ใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ ว่า ห้องโถง.
【 โถงเถง 】แปลว่า: ว. สูงง่อนแง่น.
【 โถบ 】แปลว่า: ก. พุ่งลงด้วยแรงกําลัง เช่น นกโถบลงจากอากาศ, ใช้ว่า โถบถา หรือ
ถาโถบ ก็มี.
【 โถม 】แปลว่า: ก. โผเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น โถมตัวเข้าหา; รวมกําลังพุ่งเข้าใส่ เช่น
โถมกําลัง.
【 โถมนาการ 】แปลว่า: โถมะนา– น. การชมเชย. (ป. โถมน + อาการ).
【 ไถ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือทําไร่ทํานาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล
หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน, คันไถ ก็ว่า. ก. เอา
ไถเทียมควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน; เคลื่อนไปไถลไป
เช่น นั่งไม้ลื่นไถลงมา; (ปาก) ขอร้องแกมบังคับ, รีดไถ.
【 ไถกลบ 】แปลว่า: ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จแล้ว
(ใช้แก่การทํานาหว่าน).
【 ไถดะ 】แปลว่า: ก. ไถตะลุยไปในการไถครั้งแรก.
【 ไถนา 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ทำนาตอนพลิกดิน.
【 ไถแปร 】แปลว่า: ก. ไถขวางรอยที่ไถจากครั้งแรก.
【 ไถ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหมู่ดาวฤกษ์ ซึ่งปรากฏเด่นชัดบนท้องฟ้า.
【 ไถ่ ๑ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย
ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก
เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
【 ไถ่ถอน 】แปลว่า: (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อปลดเปลื้องพันธะในทรัพย์สินที่จํานองไว้ให้
หลุดจากการเป็นประกัน.
【 ไถ่บาป 】แปลว่า: ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้นบาป
ตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน);
(ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
【 ไถ่ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ) ก. ถาม, พูดคุย.
【 ไถ่ถาม 】แปลว่า: ก. ถาม, สอบถาม, ไต่ถาม หรือ ถามไถ่ ก็ว่า.
【 ไถ้ 】แปลว่า: น. ถุงยาว ๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง สําหรับใส่เงินหรือสิ่งของ โดยมาก
ใช้คาดเอว.
【 ไถง 】แปลว่า: [ถะไหฺง] น. ตะวัน; วัน. (ข. ไถฺง).
【 ไถย 】แปลว่า: [ไถยะ] น. ความเป็นขโมย เช่น ไถยจิต. (ป. เถยฺย).
【 ไถล 】แปลว่า: [ถะไหฺล] ก. ลื่นไปไม่ตรงทาง. ว. เชือนแช, ไม่ตรงไปตรงมา.
【 ถุงเค้า 】แปลว่า: น. ต้นทุนในการพนัน; ผู้ถือต้นทุนในการพนัน.
【 ถุงตะเครียว, ถุงตะเคียว 】แปลว่า: น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้นเป็นตาโปร่งมีหูรูด สําหรับหุ้ม
ถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
【 ถุงย่าม 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสาย
ในตัวสําหรับสะพาย, ย่าม ก็ว่า.
【 ถุงสำเร็จ 】แปลว่า: น. กระโปรงผู้หญิงที่ตัดเย็บแบบผ้านุ่งป้าย.
【 ถุน 】แปลว่า: (ปาก) ก. กินหรือเสพพอแก้ขัด เช่น ถุนขี้ยา.
【 ถุย 】แปลว่า: ก. ถ่ม เช่น ถุยของในปากออกมา, ถ่มนํ้าลายมีเสียงดังเช่นนั้น;
ออกเสียงดังเช่นนั้นแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น.
【 ถุล-, ถุลละ 】แปลว่า: ถุนละ- ว. อ้วน, พี; หยาบ. (ป. ถูล, ถุลฺล; ส. สฺถูล).
【 ถู 】แปลว่า: ก. สี เช่น ถูขี้ไคล ถูฟัน ถูเนื้อถูตัว, เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไป
ไถมาให้สะอาด เช่น ถูบ้าน.
【 ถูไถ 】แปลว่า: ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ก็ทน
ใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
【 ถูลู่ถูกัง 】แปลว่า: ก. อาการที่ลากดึงหรือฉุดไปให้ได้โดยไม่ปรานีปราศรัย; ถูไถ
เช่น ถูลู่ถูกังใช้ไปก่อน.
【 ถูก ๑ 】แปลว่า: ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น
ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย
แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้
ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.
【 ถูกกระทำ 】แปลว่า: ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น.
【 ถูกกัน 】แปลว่า: ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน.
【 ถูกขา 】แปลว่า: ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา).
【 ถูกคอ 】แปลว่า: ก. ชอบพอ, ถูกอัธยาศัยกัน, มีรสนิยมเข้ากันได้.
【 ถูกคู่ 】แปลว่า: ก. เข้าคู่กันได้.
【 ถูกใจ 】แปลว่า: ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า.
【 ถูกโฉลก 】แปลว่า: ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล.
【 ถูกชะตา 】แปลว่า: ก. ถูกใจกันแต่แรกเห็น.
【 ถูกตา 】แปลว่า: ว. งาม, น่าดู, ต้องตา.
【 ถูกน้อย 】แปลว่า: (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ.
(อิเหนา).
【 ถูกปาก 】แปลว่า: ว. อร่อย.
【 ถูกส่วน 】แปลว่า: ว. ได้สัดส่วน, สมส่วน.
【 ถูกเส้น 】แปลว่า: (ปาก) ว. เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ.
【 ถูกใหญ่ 】แปลว่า: (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว.
【 ถูกอกถูกใจ 】แปลว่า: ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.
【 ถูก ๒ 】แปลว่า: ว. จริง, ชอบ เช่น ถูกใจ, เหมาะสม, ไม่ผิด เช่น คิดถูก ทําถูก; มีราคาตํ่า,
ไม่แพง.
【 ถูป- 】แปลว่า: ถูปะ- น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สําหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูกของ
บุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
【 ถูปารหบุคคล 】แปลว่า: [–ระหะ–] น. บุคคลที่ควรนํากระดูกบรรจุสถูปไว้บูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า
เป็นต้น. (ป.).
【 ถูล- 】แปลว่า: ถูละ- ว. อ้วน, พี; หยาบ. (ป.; ส. สฺถูล).
【 เถกิง 】แปลว่า: [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดําเกิง ก็มี.
(ข. เถฺกีง).
【 เถน 】แปลว่า: น. นักบวชที่เป็นอลัชชี. (ป. เถน ว่า ขโมย).
【 เถย- 】แปลว่า: [เถยยะ-] น. ความเป็นขโมย (มักใช้นําหน้าสมาส). (ป. เถยฺย).
【 เถยจิต 】แปลว่า: น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
【 เถยเจตนา 】แปลว่า: น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
【 เถยสังวาส 】แปลว่า: น. ลักเพศ. (ป. เถยฺยสํวาส).
【 เถร, เถร-, เถระ 】แปลว่า: [เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกําหนดว่า พระมีพรรษา
ตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).
【 เถรตรง 】แปลว่า: (สํา) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว,
ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา.
【 เถรภูมิ 】แปลว่า: [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น
๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง
คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ
เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
【 เถรวาท 】แปลว่า: [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทําสังคายนา
ไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
【 เถรส่องบาตร 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ทําอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว.
【 เถรานุเถระ 】แปลว่า: น. พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. (ป.).