พจนานุกรม ไทย – ไทย ช

【 ช ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช
แซนด์วิช.
【 ช ๒ 】แปลว่า: ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า
เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิด
ในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้งหมายถึงพราหมณ์, นก.
【 ชก 】แปลว่า: ก. ต่อยด้วยหมัดหรือกําปั้น.
【 ชกมวย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ชกา 】แปลว่า: ชะ น. นกสาลิกา. (กล่อมช้างของเก่า).
【 ชค 】แปลว่า: ชะคะ น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัย
แผ่นดิน. (ป., ส.).
【 ชคดี 】แปลว่า: [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ
เดียรดาษชคดี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
【 ชคัตตรัย 】แปลว่า: ชะคัดไตฺร น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอด
ของ โลก ๓. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 ชคดี 】แปลว่า: /ดู ชค/.
【 ชคัตตรัย 】แปลว่า: /ดู ชค/.
【 ชง ๑ 】แปลว่า: ก. เทนํ้าร้อนลงบนใบชาหรือยาเป็นต้นเพื่อให้รสออก.
【 ชง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า.
【 ชงคา 】แปลว่า: (กลอน) น. ราชโองการ เช่น ชุลีกรรับชงคาครรไล.
(นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
【 ชงโค 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Bauhinia purpurea/ L. ในวงศ์
Leguminosae ดอกสีชมพูอมแดง หรือม่วงแดง.
【 ชงฆ, ชงฆ์, ชงฆา 】แปลว่า: [ชงคะ] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
(ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา).
【 ชงโลง ๑ 】แปลว่า: น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวน
เข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ,
โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น–อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).
(รูปภาพ ชงโลง)
【 ชงโลง ๒ 】แปลว่า: /ดู กดเหลือง/.
【 ชฎา 】แปลว่า: [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
【 ชฎากลีบ 】แปลว่า: น. ชฎารูปเหมือนชฎาเดินหน แต่มีกลีบเป็นลาย ประดับมาก.
【 ชฎาธาร 】แปลว่า: น. ผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา.
【 ชฎาเดินหน 】แปลว่า: น. ชฎายอดงอนที่มีกลีบ.
【 ชฎาแปลง 】แปลว่า: น. ชฎารูปเหมือนชฎากลีบแต่ไม่มีลวดลาย.
【 ชฎาพอก 】แปลว่า: น. ชฎาที่ทําสําหรับสวมพระศพเจ้านาย.
【 ชฎามหากฐิน 】แปลว่า: น. ชฎาที่ทํายอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปักตอนบน, ชฎาห้ายอด
ก็เรียก.
【 ชฎามังษี, ชฎามังสี 】แปลว่า: น. โกฐชฎามังษี. /(ดู โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี ที่ โกฐ)./
【 ชฎิล 】แปลว่า: น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี.
(ป., ส.).
【 ชด 】แปลว่า: ก. ทําให้ชุ่มชื่น, ใช้แทนที่เสียไป. ว. อ่อน, ช้อย, งอนอย่าง งอนรถ.
【 ชดช้อย 】แปลว่า: ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทาง งดงาม เช่น
คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า.
【 ชดเชย 】แปลว่า: ก. ใช้แทนสิ่งที่เสียไป, เพิ่มเติม.
【 ชดใช้ 】แปลว่า: ก. ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว, ให้ทดแทน สิ่งที่ใช้ หรือเสียไป.
【 ชทึง 】แปลว่า: ชะ น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศ พระราชพิธี),
ใช้ว่า จทึง ฉทึงชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
【 ชน ๑ 】แปลว่า: ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ ชนฝา; บรรจบ
เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่
เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
【 ชนช้าง 】แปลว่า: ก. ขี่ช้างรบกัน.
【 ชน ๒, ชน 】แปลว่า: [ชนนะ] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.).
【 ชนบท 】แปลว่า: [ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป.
(ป., ส. ชนปท).
【 ชนกลุ่มน้อย, ชนหมู่น้อย 】แปลว่า: น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือ
เชื้อชาติอื่นที่มีจํานวนมากกว่า.
【 ชนินทร์ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร).
【 ชนก, ชนก 】แปลว่า: [ชะนก, ชะนะกะ] น. ชายผู้ให้เกิด, พ่อ. (ป., ส.).
【 ชนกกรรม 】แปลว่า: [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดี
หรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่าย
กุศล. (อรรถศาสน์).
【 ชนนี 】แปลว่า: [ชนนะนี] น. หญิงผู้ให้เกิด, แม่. (ป., ส.).
【 ชนม, ชนม์ 】แปลว่า: [ชนมะ, ชน] น. การเกิด. (ส. ชนฺมนฺ).
【 ชนมพรรษา 】แปลว่า: [ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปี ที่เกิดมา).
【 ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี 】แปลว่า: [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้ว
ก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน.
(ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
【 ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี 】แปลว่า: /ดู ชนม, ชนม์/.
【 ชนวน ๑ 】แปลว่า: [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด
มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง
สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียนหนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วย
แผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไป
ติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน;
เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยายหมายความว่า
ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
【 ชนวน ๒ 】แปลว่า: [ชะ] /ดู ฉนวน ๔/.
【 ชนะ ๑ 】แปลว่า: [ชะ] ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้.
【 ชนะ ๒ 】แปลว่า: [ชะ] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกลองแขก ใช้ตีด้วยไม้
ใช้เฉพาะในงานหลวง.
【 ชนัก 】แปลว่า: [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มี
ด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอช้างทําด้วย
เชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบ
กันตก.
(รูปภาพ ชนัก)
【 ชนักติดหลัง 】แปลว่า: (สํา) น. ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่.
【 ชนา 】แปลว่า: ชะ น. ชน เช่น เอาลวดถักคั่นกันชนา. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
【 ชนาง 】แปลว่า: [ชะ] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายราย รอบปาก
ชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.).
【 ชนิด 】แปลว่า: [ชะ] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จําพวก เช่น คนชนิดนี้.
【 ชนินทร์ 】แปลว่า: /ดู ชน ๒, ชน/.
【 ชเนตตี 】แปลว่า: [ชะเนดตี] น. แม่ เช่น ชเนตตีสมะนามกร. (ฉันท์วรรณพฤติ).
(ป.; ส. ชนยิตฺรี).
【 ชบา 】แปลว่า: [ชะ] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Hibiscus rosasinensis/ L. ในวงศ์ Malvaceae
ดอกมีสีต่าง ๆ พันธุ์ที่สีแดงดอกและยอดใช้ ทํายาได้.
【 ชบาหนู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล /Malvaviscus/ วงศ์ Malvaceae ลักษณะคล้าย
ดอกชบาแต่ดอกเล็กกว่าและไม่บาน ชนิด /M. arboreus/ Cav.ดอกตั้ง ชนิด
/M. penduliflorus/ DC. ดอกห้อยลง.
【 ชปโยค 】แปลว่า: ชะปะโยก น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค.
(เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
【 ชม ๑ 】แปลว่า: ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของในร้าน,
ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.
【 ชมชัว 】แปลว่า: ก. ชื่นชม, รื่นรมย์, เช่น สองฟากนํ้าพลชมชัว. (สมุทรโฆษ), ชัวชม ก็ว่า.
【 ชมชาญ 】แปลว่า: ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ. (สมุทรโฆษ).
【 ชมเชย 】แปลว่า: ก. ยกย่อง, สรรเสริญ; แสดงกิริยาเสน่หา.
【 ชมไช 】แปลว่า: (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คําหลวง
มหาพน).
【 ชมเปาะ 】แปลว่า: ก. ชมไม่ขาดปาก, ชมด้วยความจริงใจ.
【 ชม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ชม เช่น ชมดง
ชมตลาด.
【 ชมดชม้อย 】แปลว่า: [ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย.
【 ชมนาด 】แปลว่า: [ชมมะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Vallaris glabra/ Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae
ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก,
เขียนเป็น ชํามะนาด ก็มี.
【 ชมบ 】แปลว่า: [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น
เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
【 ชมพู ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. ไม้หว้า. (ป., ส. ชมฺพุ).
【 ชมพูทวีป 】แปลว่า: (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศ
ในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ของเขา พระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔
ทวีปได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรือ อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และ
อมรโคยานทวีป.
【 ชมพูนท, ชมพูนุท 】แปลว่า: น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า
ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
【 ชมพู ๒ 】แปลว่า: ว. สีแดงอ่อน, สีแดงเจือขาว.
【 ชมพู่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล /Syzygium/ วงศ์ Myrtaceae
ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [/S. samarangense/ (Blume) Merr. et
L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [/S. jambos/ (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก
[/S. malaccensis/ (L.) Merr. et L.M. Perry].
【 ชมพูพาดบ่า 】แปลว่า: น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
【 ชมรม 】แปลว่า: น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์
เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมนักวรรณศิลป์ ชมรม
พุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
【 ชมเลาะ 】แปลว่า: (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
(ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
【 ชมสวนสวรรค์ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ชม้อย 】แปลว่า: [ชะ] ก. ช้อนตาลอบชําเลืองดูด้วยความสนใจ.
【 ชมัน 】แปลว่า: [ชะ] /ดู กระโดงแดง (๑)/.
【 ชมา 】แปลว่า: [ชะ] น. แมว. (ข.).
【 ชม้าย 】แปลว่า: [ชะ] ก. ชายหางตาดูด้วยความสนใจ.
【 ชไม 】แปลว่า: [ชะ] ว. ทั้งคู่, ทั้ง ๒. (ข.).
【 ชย, ชย 】แปลว่า: [ชะยะ] น. การชนะ. (ป., ส.). (ดู ชัย).
【 ชยา 】แปลว่า: ชะ น. สายธนู. (ป. ชิยา; ส. ชฺยา).
【 ชโย 】แปลว่า: [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พร
หรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
【 ชร ๑ 】แปลว่า: [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
【 ชร ๒ 】แปลว่า: [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 ชร ๓ 】แปลว่า: [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น
ชทึง เป็น ชรทึง.
【 ชรงำ 】แปลว่า: ชฺระ ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ).
【 ชรทึง 】แปลว่า: [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี.
(ข. สฺทึง ว่า คลอง).
【 ชรโมล 】แปลว่า: ชฺระโมน น. ทโมน, ลิงตัวผู้ขนาดใหญ่, เช่น มีชระมดชรโมลตาม.
(สมุทรโฆษ). (ข. โฌฺมล ว่า สัตว์ตัวผู้).
【 ชรไม 】แปลว่า: [ชฺระ] ว. ชไม, ทั้งคู่.
【 ชรราง 】แปลว่า: ชฺระ ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง.
(แช่งนํ้า).
【 ชรริน 】แปลว่า: ชฺระ ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู
เพรี้ยมพราย. (สมุทรโฆษ).
【 ชรเรือด 】แปลว่า: ชฺระ ก. แทรก เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดูเพรี้ยมพราย.
(สมุทรโฆษ). (ข. เชฺรียต, เชียต).
【 ชรแรง 】แปลว่า: ชฺระ ว. แรง ๆ, ขลัง, เช่น เยียชรแรง. (แช่งนํ้า).
【 ชรแร่ง 】แปลว่า: ชฺระ ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู.
(แช่งนํ้า).
【 ชรโลง 】แปลว่า: ชฺระ ก. ชโลง, จูง, พยุง, โยง.
【 ชรอกชรัง 】แปลว่า: [ชฺรอกชฺรัง] ก. ซอกซอน, ซอกแซก.
【 ชรออบ 】แปลว่า: ชฺระ ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบ ชีนอน.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 ชรอัด 】แปลว่า: ชฺระ ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คําหลวง
มหาราช).
【 ชรอ่ำ 】แปลว่า: ชฺระ ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย.
(แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
【 ชรอื้อ 】แปลว่า: ชฺระ ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น
ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก),
ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
【 ชรอุ่ม 】แปลว่า: ชฺระ ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชรอุ่มอับ
ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
【 ชระ ๑ 】แปลว่า: [ชฺระ] ว. สะอาด, บริสุทธิ์, เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ. (สมุทรโฆษ).
【 ชระ ๒ 】แปลว่า: [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
【 ชระงม 】แปลว่า: ชฺระ น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น
อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 ชระง่อน 】แปลว่า: ชฺระ น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่น
ออกมาจากเขา.
【 ชระงำ 】แปลว่า: ชฺระ ว. คลุ้ม, มืด, งำ.
【 ชระดัด 】แปลว่า: ชฺระ ก. ดัด.
【 ชระดื่น 】แปลว่า: ชฺระ ว. ดื่น.
【 ชระเดียด 】แปลว่า: ชฺระ ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น
ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
ชระเดียดชระดัด (กลอน) ว. เกลื่อนกล่น, ดาษดื่น.
【 ชระบอบ 】แปลว่า: ชฺระ ก. บอบชํ้า, เมื่อยล้า.
【 ชระบาบ 】แปลว่า: ชฺระ ว. ราบเรียบ, เสมอ.
【 ชระมด 】แปลว่า: ชฺระ น. ชะมด.
【 ชระมัว 】แปลว่า: ชฺระ ว. ขมุกขมัว, ยังไม่สว่าง, เช้าตรู่, มืด, เช่น ชระมัวทั่ว
ทิศเอียง อากาศ. (นิ. นรินทร์).
【 ชระมื่น 】แปลว่า: ชฺระ ว. ทะมื่น เช่น ผีพรายชระมื่น ดําช่วยดู. (แช่งนํ้า).
【 ชระมุกชระมอม 】แปลว่า: ชฺระ ว. ขะมุกขะมอม.
【 ชระมุ่น 】แปลว่า: ชฺระ ว. มุ่น, นุ่ม, เช่น ลานโลมวิไลแถงชระมุ่น อกเอย.
(นิ. นรินทร์).
【 ชระเมียง 】แปลว่า: ชฺระ ก. เมียง, มองดู.
【 ชระเมียน 】แปลว่า: ชฺระ ก. ชม, ดู
【 ชระลอ 】แปลว่า: ชฺระ ก. ชะลอ, พยุงให้เคลื่อนไป, ประคองไว้.
【 ชระลอง, ชระล่อง 】แปลว่า: [ชฺระ] น. ทางล่อง, ซอกเขา, ลําธาร, เช่น ผู้ชระลองล่วงห้วงมหรรณพ.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ชระลั่ง 】แปลว่า: ชฺระ ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่ง
คอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 ชระลัด 】แปลว่า: ชฺระ น. ทางลัดไปได้.
【 ชระล้ำ 】แปลว่า: ชฺระ ก. ลํ้า. (ดุษฎีสังเวย).
【 ชระลุ 】แปลว่า: ชฺระ ก. ปรุ, สลัก, ฉลุ.
【 ชระแลง 】แปลว่า: ชฺระ น. ชะแลง.
【 ชระอับ 】แปลว่า: ชฺระ ว. อับ, มืดมัว, มืดคลุ้ม.
【 ชระอาบ 】แปลว่า: ชฺระ ก. อาบ, ชโลม, ทา, ทําให้ซึมซาบ.
【 ชระเอม 】แปลว่า: ชฺระ ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ชรัด 】แปลว่า: ชฺรัด ก. ซัด เช่น หมู่หนึ่งชรัดด้วยทองแดง. (ม. คําหลวง
มหาราช).
【 ชรัว 】แปลว่า: [ชฺรัว] น. ซอกเขา, หุบเขา.
【 ชรา 】แปลว่า: [ชะ] ว. แก่ด้วยอายุ, ชํารุดทรุดโทรม. (ป., ส.).
【 ชราธรรม 】แปลว่า: ว. มีชราเป็นธรรมดา, มีความแก่ความชํารุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา.
【 ชราภาพ 】แปลว่า: น. ความแก่ด้วยอายุ, ความชํารุดทรุดโทรม, เช่น อันทุพพลชรา
ภาพแล้ว. (โลกนิติ).
【 ชรากากี 】แปลว่า: [ชะ] น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. (โอสถพระนารายณ์).
【 ชราบ 】แปลว่า: ชฺราบ ก. ทราบ. (ข. ชฺราบ).
【 ชราบชรับ 】แปลว่า: [ชฺราบชฺรับ] ก. ซึมซาบ.
【 ชรายุ 】แปลว่า: ชฺรา น. คราบงู, รกที่ห่อหุ้มลูกคนหรือลูกสัตว์. (ส.).
【 ชริน 】แปลว่า: [ชะ] ก. ประดับ เช่น กรุงชรินไว้.
【 ชรุก 】แปลว่า: ชฺรุก ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น
ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 ชรูบ 】แปลว่า: ชฺรูบ ว. ซูบ.
【 ชล, ชล 】แปลว่า: [ชน, ชนละ] น. นํ้า. (ป., ส.).
【 ชลจร 】แปลว่า: น. ทางนํ้า, สัตว์นํ้า, เช่น ค้าวเขือเชื้อชลจรและ ช่อนสลับ. (สมุทรโฆษ).
【 ชลจัณฑ์ 】แปลว่า: น. นํ้าจัณฑ์ เช่น ชื่อชลจัณฑ์ ดุมุเมามน. (จิตรปทาฉันท์).
【 ชลชาติ 】แปลว่า: น. นํ้า เช่น ประพรมพระเจ้าด้วยชลชาติ. (ม. คําหลวง มัทรี); สัตว์นํ้า
เช่น ลงดําสํ่ามัจฉา ชลชาติ. (โลกนิติ).
【 ชลธาร 】แปลว่า: น. ลํานํ้า, ลําคลอง, ร่องนํ้า, ห้วย, ทะเลสาบ.
【 ชลธารก 】แปลว่า: น. สายนํ้า, กระแสนํ้า.
【 ชลธิศ 】แปลว่า: น. ชลธี, ทะเล.
【 ชลธี 】แปลว่า: น. ทะเล. (ป.).
【 ชลนัยน์, ชลนา, ชลเนตร 】แปลว่า: (กลอน) น. นํ้าตา.
【 ชลประทาน 】แปลว่า: [ชนละ, ชน] น. การทดนํ้าและระบายนํ้าเพื่อการเพาะปลูกเป็นต้น.
【 ชลมารค 】แปลว่า: [มาก] น. ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารค.
(ส.).
【 ชลสถาน 】แปลว่า: น. บ่อ, สระ. (ส.).
【 ชลัมพุ 】แปลว่า: (แบบ) น. นํ้า เช่น และไขชลัมพุธารา. (อภิไธยโพธิบาทว์). (ป. ชล + อมฺพุ).
【 ชลาธาร 】แปลว่า: น. บ่อ, สระ. (ส.).
【 ชลาพุช, ชลามพุช 】แปลว่า: น. สัตว์ที่เกิดในครรภ์. (ป.; ส. ชรายุช).
【 ชลาลัย 】แปลว่า: น. ทะเล, แม่นํ้า. (ป., ส. ชล + อาลย = ที่อยู่ของนํ้า).
【 ชลาศัย 】แปลว่า: น. บ่อ, สระ, ทะเล; ปลา. (ส.; ป. ชลาสย).
【 ชลาสินธุ์ 】แปลว่า: น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุ
พัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์
ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
【 ชโลทร 】แปลว่า: [ชะโลทอน] น. แม่นํ้า, ทะเล, ห้วงนํ้า, ท้องนํ้า. (ป., ส. ชล + อุทร).
【 ชลัมพุ 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลาธาร 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลาพุช, ชลามพุช 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลาลัย 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลาศัย 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลาสินธุ์ 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชลี 】แปลว่า: (กลอน) ก. อัญชลี, ไหว้, เช่น ชลีกรงอนงามกิริยา. (อิเหนา).
(ตัดมาจาก อัญชลี).
【 ชลูกา 】แปลว่า: (แบบ) น. ปลิง, ชัลลุกา ก็ใช้. (ส., ป. ชลุกา, ชลูกา).
【 ชเล 】แปลว่า: (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร
ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
【 ชโลง 】แปลว่า: ชะ ก. พยุงไว้ไม่ให้เซ, จรรโลง, จูง เช่น ให้เป็นหลัก
ชโลงจิต. (กฎ. ราชบุรี).
【 ชโลทร 】แปลว่า: /ดู ชล, ชล/.
【 ชโลม 】แปลว่า: [ชะ] ก. ลูบไล้ให้เปียก เช่น ชโลมยา ชโลมนํ้ามันยาง; ทำให้
ชุ่มชื่น เช่น ชโลมใจ.
【 ชว 】แปลว่า: ชะวะ ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ
ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
【 ช่วง ๑ 】แปลว่า: น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
【 ช่วงเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. เมืองเล็กที่ขึ้นแก่ประเทศราช.
【 ช่วง ๒ 】แปลว่า: ว. สว่าง, รุ่งโรจน์.
【 ช่วงโชติ 】แปลว่า: ก. สว่างรุ่งโรจน์, โชติช่วง ก็ว่า.
【 ช่วง ๓ 】แปลว่า: ก. มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ใช้ เป็น ช่วงใช้. (ไทยใหญ่ ช่วง ว่า ใช้).
【 ช่วงใช้ 】แปลว่า: ก. รับใช้ เช่น เป็นข้าช่วงใช้.
【 ช่วงบาท 】แปลว่า: น. ผู้อยู่ในระยะเท้า “คือ ใกล้เท้า หมายความ ว่า ผู้รับใช้”.
【 ช่วง ๔ 】แปลว่า: ก. แย่ง, ชิง, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ชิง เป็น ช่วงชิง หรือ ชิงช่วง.
【 ช่วงชัย 】แปลว่า: น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์
มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง
ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้า
เป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้
แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้
มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้าง
หนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
【 ช่วงชิง 】แปลว่า: ก. แย่งชิง.
【 ช่วงทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. เอาทรัพย์สินอันหนึ่งแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีฐานะ
ทางกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน.
【 ช่วงสิทธิ์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. เข้าสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่
โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง.
【 ชวด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๑ ของรอบปีนักษัตร มีหนูเป็นเครื่องหมาย.
(ข. ชูต).
【 ชวด ๒ 】แปลว่า: ก. ผิดหวัง, ไม่ได้ดังหวัง.
【 ชวด ๓ 】แปลว่า: (ปาก) น. พ่อหรือแม่ของปู่ ย่า ตา ยาย, ทวด ก็ว่า.
【 ชวน ๑ 】แปลว่า: ก. จูงใจ, โน้มนํา, เช่น ชวนกิน; ชักนํา, ขอให้ทําตาม, เช่น ชวนไปเที่ยว.
【 ชวนหัว 】แปลว่า: ว. ที่ทําให้ขบขัน เช่น เรื่องชวนหัว ละครชวนหัว.
【 ชวน ๒ 】แปลว่า: ชะวะนะ น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือ
ความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).
【 ชวนชม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Adenium obesum/ Balf. ในวงศ์ Apocynaceae
ดอกมีหลายสี เช่น สีแดง ขาว ชมพู ม่วง ปลูกเป็นไม้ประดับ.
【 ชวย 】แปลว่า: ก. พัดอ่อน ๆ, พัดเรื่อย ๆ, (ใช้แก่ลม).
【 ช่วย 】แปลว่า: ก. ส่งเสริมเพื่อให้สําเร็จประโยชน์; ป้องกัน เช่น ช่วยไม่ได้.
【 ช่วยเหลือ 】แปลว่า: ก. ช่วยกิจการของเขาเพื่อให้พร้อมมูลขึ้น.
【 ชวร, ชวระ 】แปลว่า: ชวน, ชะวะระ น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
【 ชวลิต 】แปลว่า: ชะวะลิด ว. รุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, สว่าง.
(ส. ชฺวลิต; ป. ชลิต).
【 ชวัก 】แปลว่า: ชะ ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม
พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
【 ชวา 】แปลว่า: [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศ
อินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวา
ว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
【 ชวาล 】แปลว่า: ชะ น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ;
ความสว่าง. ว. ซึ่งลุกโพลง, สว่างโพลง. (ส. ชฺวาล; ป. ชาลา).
【 ชวาลา 】แปลว่า: ชะ น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งหรือแขวน มีรูปเป็นหม้อกลม
สำหรับใส่น้ำมันมีพวยยื่นมาใช้ใส่ ไส้จุดไฟ.
【 ช่อ ๑ 】แปลว่า: น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้บางชนิด
เช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นพวงว่า
ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นพวง,
โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟ
【 ช่อฟ้า 】แปลว่า: น. ชื่อตัวไม้ที่ติดอยู่บริเวณหน้าจั่ว รูปเหมือนหัวนาคชูขึ้นเบื้องบน.
【 ช่อม่วง 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง. (เห่เรือ); ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง.
【 ช่อ ๒ 】แปลว่า: ก. ชักรอก.
【 ชอก 】แปลว่า: ก. ชํ้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ชํ้า เป็น ชอกชํ้า หรือ ชํ้าชอก.
【 ชอกช้ำ 】แปลว่า: ก. บอบชํ้ามาก, ชํ้าชอก ก็ว่า.
【 ช็อก 】แปลว่า: น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก
กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น
จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
【 ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต 】แปลว่า: น. ขนมหวานทําจากเมล็ดโกโก้และนํ้าตาล บางชนิดก็มีไส้หวาน.
ว. เรียกสีอย่างสีนํ้าตาลไหม้ ว่า สีช็อกโกเลต หรือ สีช็อกโกแลต.
(อ. chocolate).
【 ชอง 】แปลว่า: น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมากทางตอน
เหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สําเร หรือ ตําเหรด,
เขมรเรียกว่า พวกปอร.
【 ช่อง 】แปลว่า: น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม;
โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
【 ช่องกุด 】แปลว่า: น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวังชั้นนอก
เป็นทางเข้าออก.
【 ช่องเขา 】แปลว่า: น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามจากทิวเขาด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง,
ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก.
【 ช่องแคบ 】แปลว่า: น. ทางนํ้ายาวที่อยู่ระหว่างแผ่นดินหรือเกาะ เชื่อมต่อทะเลทั้ง ๒ ข้าง.
【 ช่องดาล 】แปลว่า: น. รูสําหรับสอดลูกดาลเข้าไปเขี่ยดาลที่ขัดบานประตู.
【 ช่องตีนกา 】แปลว่า: น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาทใต้แนวใบเสมาของ
กำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
【 ช่องไฟ 】แปลว่า: น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่เว้นไว้เป็น
พื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
【 ช่องว่าง 】แปลว่า: น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น
ช่องว่างระหว่างวัย.
【 ช้อง 】แปลว่า: น. ผมสําหรับเสริมผมให้ใหญ่หรือยาว.
【 ช้องนาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Thunbergia erecta/ T. Anders. ในวงศ์ Acanthaceae
ดอกสีม่วงนํ้าเงินเข้มหรือขาว หลอดดอกด้านในสีเหลืองเข้ม.
【 ช้องนางคลี่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้อิงอาศัยไร้ดอกชนิด /Lycopodium phlegmaria/ L. ในวงศ์
Lycopodiaceae ลําต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่ ๆ.
【 ช้องแมว 】แปลว่า: /ดู ซ้องแมว/.
【 ชองระอา 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Strychnos thorelii/ Pierre ex Dop. ในวงศ์
Strychnaceae ดอกสีขาวนวลผลกลม ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้เถา
ชนิด /Securidaca inappendiculata/ Hassk. ในวงศ์ Polygalaceae
ดอกสีเหลือง ผลมีปีก.
【 ชอน 】แปลว่า: ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น
รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่างแสงแดดแสงไฟ)
เช่น แสงตะวันชอนตา.
【 ช่อน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Channa striatus/ ในวงศ์ Channidae ลําตัว
ทรงกระบอกส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนวเส้นข้างตัว
ราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลําตัวเป็นสีนํ้าตาลเทาหรือค่อนข้าง
ดํา ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดําพาดเฉียงท้องสีขาว ครีบ
ต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดํา พบชุกชุม ทั่วไป อาจยาวได้ถึง
๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
【 ช้อน 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า
คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูปคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่งใหญ่กว่าสวิง ถักเป็น
ร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือวงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่
อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง;
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ
เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น
ช้อนตา.
【 ช้อนหอย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกช้อนกระเบื้อง.
【 ช้อนนาง 】แปลว่า: น. ต้นรางจืด. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ช้อนหอย ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ช้อน/.
【 ช้อนหอย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม
หากินในนํ้าตื้นกินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ
ช้อนหอยขาว หรือ กุลาขาว (/Threskiornis melanocephalus/) ช้อนหอยดํา
หรือ กุลาดํา (/Pseudibis davisoni/) ช้อนหอยใหญ่ หรือ กุลาใหญ่ (/P./
/gigantea/) และ ช้อนหอยดำเหลือบ(/Plegadis falcinellus/), กุลา หรือ ค้อนหอย
ก็เรียก.
【 ชอบ 】แปลว่า: ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว;
เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก,
บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน;
มีสิทธิ์ เช่น ชอบที่จะทําได้.
【 ชอบกล 】แปลว่า: ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, แปลก, น่าคิด.
【 ชอบใจ 】แปลว่า: ก. ถูกใจ, ยินดี, พอใจ.
【 ชอบธรรม 】แปลว่า: ว. ถูกตามหลักธรรม, ถูกตามนิตินัย.
【 ชอบพอ 】แปลว่า: ก. รักใคร่กัน, ถูกอัธยาศัยกัน.
【 ชอบมาพากล 】แปลว่า: ว. ชอบกล, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ชอบมาพากล.
【 ชอม ๑ 】แปลว่า: ก. ชม.
【 ชอม ๒ 】แปลว่า: ก. จ่อม, จม.
【 ช่อย 】แปลว่า: (โบ) ก. ช่วย. (จารึกสยาม).
【 ช้อย 】แปลว่า: ว. งอนงาม.
【 ช้อยชด 】แปลว่า: ว. อ่อนช้อย, งามกิริยาท่าทาง, ชดช้อย ก็ว่า.
【 ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ 】แปลว่า: /ดู กระช้อยนางรํา/.
【 ชอล์ก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปน
อยู่เล็กน้อยเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจาก
ซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยใน ทะเล, หินดินสอพอง ก็เรียก.
(อ. chalk).
【 ชอล์ก ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจากแคลเซียมซัลเฟต
ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสี
สําเร็จรูป เรียกว่า ชอล์กสี. (อ. chalk).
【 ช่อลำดวน 】แปลว่า: /ดู สำลี ๓/.
【 ช่ออินทนิล 】แปลว่า: /ดู สร้อยอินทนิล/.
【 ชอ่ำ 】แปลว่า: [ชะ] ว. มืดมัว, มืดครึ้ม.
【 ชอื้อ 】แปลว่า: [ชะ] ว. ชื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง.
【 ชอุ่ม 】แปลว่า: [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้าจนเห็นเป็น
มืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
【 ชะ ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะและอาการ
อย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน
ฝนชะช่อมะม่วง.
【 ชะ ๒, ชะชะ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะช้า หรือ
ชัดช้า ก็ว่า.
【 ชะคราม 】แปลว่า: [คฺราม] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Suaeda maritima/ (L.) Dumort.
ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามเลนใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบ
พองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้,
ชักคราม ก็เรียก.
【 ชะงอก 】แปลว่า: น. หินที่งอกออกไป.
【 ชะง่อน 】แปลว่า: น. หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา.
【 ชะงัก 】แปลว่า: ก. หยุดลงกลางคันทันที.
【 ชะงัด 】แปลว่า: ว. แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง, เช่น ยาขนานนี้แก้โรคปวดหัว
ได้ชะงัดนัก.
【 ชะงาบ 】แปลว่า: ว. อ้าปากงาบ ๆ ด้วยอาการชัก.
【 ชะง้ำ 】แปลว่า: ว. สูงและยื่นงํ้าออกมา.
【 ชะงุ้ม 】แปลว่า: ว. เป็นเพิงงุ้มลงมา.
【 ชะเง้อ 】แปลว่า: ก. ชูคอขึ้นดู.
【 ชะเงื้อม 】แปลว่า: ว. ยื่นออกจากที่สูง.
【 ชะแง้ 】แปลว่า: ก. เหลียวแลดู, เฝ้าคอยดู.
【 ชะโงก 】แปลว่า: ก. ยื่นหน้าหรือส่วนหน้าออกไป.
【 ชะโงกผา 】แปลว่า: น. หินซึ่งยื่นออกไปจากหน้าผา.
【 ชะฉ่า 】แปลว่า: ว. เสียงลูกคู่ที่รับเพลงปรบไก่.
【 ชะช่อง 】แปลว่า: น. ช่อง, รูที่ผ่านได้, โอกาส, ทาง.
【 ชะช้า 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ
หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
【 ชะชิด 】แปลว่า: ก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.
【 ชะดีชะร้าย 】แปลว่า: (ปาก) ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, โดยปรกติมักใช้
ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นตาม
ที่คาดไว้.
【 ชะโด 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Channa micropeltes/ ในวงศ์ Channidae
รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี
จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้าง
ลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ
เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่
ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด
ก็เรียก.
【 ชะตา 】แปลว่า: น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบ
ในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิด
สําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอก
ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลา
สร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น
๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
【 ชะต้า 】แปลว่า: (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา
เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
【 ชะนี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก
ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้
สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่
แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน
ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (/Hylobates lar/) สีดําและ
นํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (/H. pileatus/) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา,
ชะนีมือดํา (/H. agilis/) สีดํา นํ้าตาล และเทา.
【 ชะนีร่ายไม้ 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ชะนี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
【 ชะนุง 】แปลว่า: น. ไม้คู่สําหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวีเพื่อแยก
เส้นด้าย.
【 ชะเนาะ 】แปลว่า: น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขันบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการทํานั่งร้าน,
ลูกชะเนาะ ก็เรียก.
【 ชะเนียง 】แปลว่า: (ถิ่นจันทบุรี) น. ต้นเนียง. /(ดู เนียง ๒)./
【 ชะพลู 】แปลว่า: [พฺลู] /ดู ช้าพลู/.
【 ชะเพลิง 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง/.
【 ชะมด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว
กับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล
มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็น
ปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน
ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (/Viverricula malaccensis/)
เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง
(/Viverra zibetha/), ชะมดแผงสันหางดํา(/V. megaspila/), อีสานเรียก
เห็นอ้ม.
【 ชะมด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง.
【 ชะมด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล
กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว
ทอดน้ำมัน.
【 ชะมดเชียง 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่น
เครื่องหอมและทํายาได้. /(ดู กวางชะมด ประกอบ)./
【 ชะมดต้น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Abelmoschus moschatus/ Medic. subsp.
/moschatus/ ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสีนํ้าตาล
เข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทํายาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก.
【 ชะมบ 】แปลว่า: น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายสําหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน. (ปรัดเล).
【 ชะมวง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Garcinia cowa/ Roxb. ในวงศ์ Guttiferae
ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก.
【 ชะมัง 】แปลว่า: /ดู ทํามัง/.
【 ชะมัด 】แปลว่า: ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า.
【 ชะแม่ 】แปลว่า: น. หัวหน้าโขลน.
【 ชะรอย 】แปลว่า: ว. เห็นจะ, เห็นทีจะ, ท่าจะ, บางที, ในบทกลอนใช้ว่า รอย ก็มี.
【 ชะลอ 】แปลว่า: ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้,
ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์,
ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทําให้ช้าลง, ทําให้ช้าลง เพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา
ชะลอการเกิด.
【 ชะลอม 】แปลว่า: น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอก เป็นต้น
ตาห่าง ๆ สําหรับใส่สิ่งของ, อีสานเรียก กระลอม ก็มี.
【 ชะล่า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ท้องแบน หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย หัวตัด
ท้ายตัดมีขนาดยาวมาก.
【 ชะล่า ๒ 】แปลว่า: ก. เหิมใจ, ได้ใจ, กําเริบ, กล้าล่วงเกิน.
【 ชะลาน 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลานเพราะ
มักตกในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
【 ชะลิน 】แปลว่า: /ดู นวลจันทร์ทะเล/.
【 ชะลูด ๑ 】แปลว่า: ว. เรียวยาวสูงขึ้นไป.
【 ชะลูด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Alyxia reinwardtii/ Blume ในวงศ์ Apocynaceae
เปลือกหอม ใช้ทํายาและปรุงเครื่องหอม.
【 ชะลูด ๓ 】แปลว่า: ก. ลงท้อง, ท้องเดิน, (ใช้แก่ช้าง).
【 ชะเลง 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่งคล้ายชนาง.
【 ชะเลย 】แปลว่า: ก. ชะล่า เช่น พระทําเฉยจะให้นางชะเลยใจ. (อิเหนา).
【 ชะแล็ก 】แปลว่า: (ปาก) น. เชลแล็ก. (อ. shellac).
【 ชะแลง 】แปลว่า: น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทําด้วยท่อนเหล็กมีปลายแบน สําหรับ
งัดสิ่งของหรือขุดดิน.
【 ชะวัง 】แปลว่า: น. ชื่อหวายชนิดหนึ่งผิวงาม โดยมากใช้ทําไม้ถือ.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 ชะวาก 】แปลว่า: น. ช่องที่เวิ้งว้างเข้าไป.
【 ชะวากทะเล 】แปลว่า: น. ฝั่งทะเลที่เว้าเป็นช่องเข้าไปยังปากแม่นํ้า ซึ่งนํ้าจืดไหลมาผสม
กับนํ้าทะเล.
【 ชะวาด 】แปลว่า: น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม. (เห่เรือ).
【 ชะวุ้ง 】แปลว่า: ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
【 ชะเวิกชะวาก 】แปลว่า: ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก.
【 ชะแวง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).
【 ชะอม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Acacia pennata/ (L.) Willd. subsp.
/insuavis/ (Lace) Nielsen ในวงศ์ Leguminosae มีหนาม
กลิ่นแรง ใบเล็กเป็นฝอยยอดและใบอ่อนกินได้.
【 ชะอ้อน 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง,
แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้.
【 ชะเอม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Myriopteron extensum/ (Wight) K. Schum.
ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบ
โดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดใน
วงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (/Albizia/
/myriophylla/ Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายา
ได้, ชะเอมเทศ (/Glycyrrhiza glabra/ L.) และ ชะเอมขาไก่
(/G. uralensis/ Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ
ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
【 ชะโอน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคม
ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลา
เนื้ออ่อนมี ๒ ชนิด คือ ชนิด /Ompok bimaculatus/ ซึ่งมีครีบหลัง
ปากเชิดขึ้นเหนือครีบอกมีจุดกลมสีดํา ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น
สยุมพรหรือ นาง ก็เรียก; และชนิด /Kryptopterus apogon/ ไม่มีครีบ
หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, เนื้ออ่อน แดง
นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.
【 ชัก ๑ 】แปลว่า: ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้น
เคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา,
ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น
ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้า
ชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยก
เอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร
ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง;
สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม,
เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
【 ชักกระบี่สี่ท่า 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ชักครอก 】แปลว่า: [คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตาม พ่อเป็นฝูง ๆ ว่า
ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
【 ชักโครก 】แปลว่า: [โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
【 ชักเงา 】แปลว่า: ก. ทําให้เกิดเงา. ว. ที่ทําให้เกิดเงา เช่น นํ้ามันชักเงา.
【 ชักจูง 】แปลว่า: ก. จูงใจเพื่อให้เห็นคล้อยตาม.
【 ชักชวน 】แปลว่า: ก. ชวนให้ทําด้วยกัน.
【 ชักซอสามสาย 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ชักซุงตามขวาง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความลําบาก; ขัดขวาง
ผู้มีอํานาจย่อมได้รับความเดือดร้อน.
【 ชักตะพานแหงนเถ่อ 】แปลว่า: (สํา) ก. ตั้งใจทําอะไรแล้วไม่เป็นผลสําเร็จ ต้องคอยค้างอยู่.
【 ชักนำ 】แปลว่า: ก. เกลี้ยกล่อมหรือโน้มนําให้เห็นคล้อยตาม.
【 ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน 】แปลว่า: (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
【 ชักเนื้อ 】แปลว่า: ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่า
จํานวนที่เขากําหนดไว้ แล้วเรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.
【 ชักใบให้เรือเสีย 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออก
นอกเรื่องไป.
【 ชักแป้งผัดหน้า 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ชักพระ 】แปลว่า: น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสําคัญ
นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า
เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา
คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง
คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญ
พระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะ
แล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป
ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลาก
ไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มัก
จะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน
บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
【 ชักแม่น้ำทั้งห้า 】แปลว่า: (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น
เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ.
(ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 ชักยันต์ 】แปลว่า: ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา;
ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
【 ชักเย่อ 】แปลว่า: [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย
แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือก
ขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้
โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือก
คาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือก
ไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการ
ให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้
กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึง
กึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะ
แข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด.
ก. ดึง, รั้ง.
【 ชักใย 】แปลว่า: (สํา) ก. บงการอยู่เบื้องหลัง.
【 ชักรอก 】แปลว่า: ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอก
เพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ
สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน
เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
【 ชักรูป 】แปลว่า: ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุ
ใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ถ่ายรูป ก็ว่า.
【 ชักศพ 】แปลว่า: ก. ถือสายสิญจน์ที่โยงจากศพและนําศพให้เคลื่อนที่ไปยังที่เก็บ
ที่ตั้ง หรือที่เผาศพ (ใช้แก่พระ).
【 ชักสองแถว 】แปลว่า: ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดําขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
【 ชักสีหน้า 】แปลว่า: ก. ทำสีหน้าโกรธไม่พอใจ, ชักหน้า ก็ว่า.
【 ชักสื่อ 】แปลว่า: ก. แนะนําชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว.
【 ชักหน้า ๑ 】แปลว่า: ก. ทําสีหน้าโกรธไม่พอใจ เช่น นางนั่งก้มพักตร์แล้วชักหน้า.
(อิเหนา), ชักสีหน้า ก็ว่า.
【 ชักหน้าไม่ถึงหลัง 】แปลว่า: (สำ) ก. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย.
【 ชัก ๒ 】แปลว่า: ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง
มักมีอาการมือเท้าเกร็ง.
【 ชักคราม 】แปลว่า: [คฺราม] /ดู ชะคราม/.
【 ชักช้า 】แปลว่า: ว. โอ้เอ้, ล่าช้า.
【 ชักหน้า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ชัก ๑/.
【 ชักหน้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับ
นํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
【 ชัค 】แปลว่า: ชักคะ น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว
กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
【 ชัง 】แปลว่า: ก. เกลียด, ไม่ชอบ, ไม่รัก.
【 ชั่ง 】แปลว่า: น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตําลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง;
ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตําลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมี
น้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีน มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐
กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทําให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่อง
ชั่งหรือตราชูเป็นต้น.
【 ชั่งใจ 】แปลว่า: ก. คิดให้แน่ก่อนที่จะตัดสินใจ.
【 ชั่งหลวง 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราชั่งของหลวง มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม.
【 ชังคา 】แปลว่า: (กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา.
(พาลีสอนน้อง).
【 ชังฆ 】แปลว่า: ชังคะ น. ชงฆ์, แข้ง. (ป., ส.).
【 ชังฆวิหาร 】แปลว่า: น. การเดินไปมา.
【 ชัชวาล 】แปลว่า: [ชัดชะวาน] ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลงขึ้น. (ส. ชฺวาล).
【 ชัฏ 】แปลว่า: ชัด น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
【 ชัด 】แปลว่า: ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน,
ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
【 ชัดเจน 】แปลว่า: ว. ถูกต้องแน่นอน.
【 ชัดช้า 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ
หรือ ชะช้า ก็ว่า.
【 ชัน ๑ 】แปลว่า: น. ยางไม้สําหรับยาเรือเป็นต้น.
【 ชันพอน 】แปลว่า: น. ชันชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองนวล สําหรับใช้พอนเรือเป็นต้น, ลาพอน ก็ว่า.
【 ชันสน 】แปลว่า: น. ของแข็งลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอําพัน ได้จากการกลั่นยางสน.
/(ดู ยางสน ที่ ยาง ๓ ประกอบ)./
【 ชัน ๒ 】แปลว่า: ก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน.
ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.
【 ชันคอ 】แปลว่า: ก. เริ่มตั้งคอได้ (ใช้แก่เด็ก).
【 ชั้น 】แปลว่า: น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด;
สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น
ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น.
ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
【 ชั้นฉาย 】แปลว่า: น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่าเหยียบชั้น
คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้งโบราณกําหนด
เวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว
๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงา
เป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕
องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
【 ชั้นชั่ว 】แปลว่า: ว. อย่างตํ่า.
【 ชั้นเชิง 】แปลว่า: น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
【 ชั้นเดียว 】แปลว่า: น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่าสองชั้นเท่าตัว
หรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว,
เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว
เพลงชั้นเดียว.
【 ชันกาด ๑ 】แปลว่า: [ชันนะ] น. ชื่อหญ้าชนิด /Panicum repens/ L. ในวงศ์ Gramineae
ใช้ทํายาได้.
【 ชันกาด ๒ 】แปลว่า: [ชันนะ] /ดู ตะกาด ๒/.
【 ชันชี 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. สัญญา, นัดหมาย, ตกลงกัน. (ม. janji).
【 ชันตาฆระ 】แปลว่า: ชันตาคะระ น. เรือนไฟ, ห้องสําหรับรมไฟเพื่อให้เหงื่อ
ออก. (ป.).
【 ชันตุ 】แปลว่า: (แบบ) น. สัตว์เกิด, สัตว์, คน, ต้นไม้. (ป., ส.).
【 ชันนะตุ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อราบนผิว
หนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง
(มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
【 ชันนุ, ชันนุกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. เข่า. (ป., ส. ชานุ). /(ดู ชานุ, ชานุกะ)./
【 ชันโรง 】แปลว่า: [ชันนะ] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด
/Trigona terminata, Melipona apicalis/ โดยทั่วไปมีขนาดลําตัว
ยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่
รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงาน
เหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้งธรรมดา รังทําจาก
ขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ขนาดหอยโข่ง หรือตะโหงกวัว จึงมัก
จะเรียกผึ้งหอยโข่งหรือผึ้งตะโหงกวัวแต่มีชื่ออื่นอีกมากมาย
แตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก
ขี้สูด.
【 ชันษา 】แปลว่า: [ชันนะสา] น. อายุ. (ย่อมาจาก ชนมพรรษา).
【 ชันสูตร 】แปลว่า: [ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐานข้อเท็จจริง
เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.
【 ชันสูตรพลิกศพ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน
เมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย.
【 ชัปนะ 】แปลว่า: ชับปะนะ น. การพูดพึมพำ, การสวดมนต์พึมพำ.
(ป., ส. ชปน).
【 ชัพ 】แปลว่า: ชับ ว. เร็ว. (ป., ส. ชว).
【 ชัมพูนท 】แปลว่า: [ชําพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า
เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า.
(ป.; ส. ชามฺพูนท).
【 ชัย, ชัย 】แปลว่า: [ไช, ไชยะ] น. การชนะ, ความชนะ. (ป., ส.).
【 ชัยบาน 】แปลว่า: [ไชยะ] น. เครื่องดื่มในการมีชัย. (ป.).
【 ชัยเภรี 】แปลว่า: [ไชยะ] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง. (ส.).
【 ชัยศรี 】แปลว่า: [ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบกับชื่อต่าง ๆ
ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
【 ชัยพฤกษ์ ๑ 】แปลว่า: [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cassia javanica/ L. ในวงศ์
Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ
ฝักเกลี้ยงใช้ทํายาได้.
【 ชัยพฤกษ์ ๒ 】แปลว่า: [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
【 ชัยภูมิ 】แปลว่า: [ไชยะพูม] น. ทําเลที่เหมาะ. (ป., ส.).
【 ชัลลุกา 】แปลว่า: ชันลุกา น. ปลิง. (ป. ชลุกา, ชลูกา; ส. ชลูกา).
【 ชั่ว ๑ 】แปลว่า: น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา,
สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
【 ชั่วคน 】แปลว่า: น. ช่วงเวลาประมาณชั่วอายุ.
【 ชั่วคราว 】แปลว่า: ว. ชั่วระยะเวลาไม่นาน, ไม่ประจํา, ไม่ตลอดไป.
【 ชั่วเบา 】แปลว่า: (โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ.
【 ชั่วโมง 】แปลว่า: น. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที.
【 ช่างฟิต 】แปลว่า: (ปาก) น. ช่างแก้เครื่องยนต์.
【 ช่างไฟ 】แปลว่า: น. ผู้ควบคุมไฟในรถไฟเรือไฟเป็นต้น, ช่างแก้ไฟฟ้า.
【 ช่าง ๒ 】แปลว่า: ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
【 ช่างปะไร 】แปลว่า: (ปาก) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว, ไม่เอาธุระ.
【 ช้าง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Elephas maximus/ ในวงศ์
Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงา
ยาว เรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อ
ตกมันมีความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มี
งาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่
ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
【 ช้างงวง 】แปลว่า: น. ช้างไม่มีงา, ช้างสีดอ.
【 ช้างชนะงา 】แปลว่า: น. ช้างที่โรยเชือกผ่อนให้เข้าไปใกล้ช้างอีกตัวหนึ่งจนประงา
หรือเอางากระทบและเป็นฝ่ายชนะ.
【 ช้างชำนิ 】แปลว่า: น. ช้างสําหรับขี่, ช้างที่นั่ง.
【 ช้างชูงวง 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 ช้างต่อ 】แปลว่า: น. ช้างที่หมอเฒ่าขี่ในการจับช้าง.
【 ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด 】แปลว่า: (สํา) น. ความชั่วหรือความผิดร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไร
ก็ไม่มิด.
【 ช้างทำลายโรง 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ช้างน้อย 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวแมว ดาวมูล หรือ
ดาวมูละ ก็เรียก.
【 ช้างน้ำ 】แปลว่า: น. สัตว์ในนิยาย มีรูปร่างเหมือนช้าง มีงวงและงาคล้ายช้าง
หางเป็นปลา.
【 ช้างเนียม 】แปลว่า: (กฎ) น. ช้างที่มีลักษณะ ๓ ประการ คือ พื้นหนังดำงามีลักษณะ
ดังรูปปลีกล้วย และเล็บดำ.
【 ช้างประสานงา 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
【 ช้างผะชด 】แปลว่า: น. ช้างต่อ.
【 ช้างเผือก ๑ 】แปลว่า: น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์
ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา
เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึง
คนดีมีวิชาเป็นต้นที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
【 ช้างพลาย 】แปลว่า: น. ช้างตัวผู้; ชื่อดาวฤกษ์บุรพาษาฒ.
【 ช้างพัง 】แปลว่า: น. ช้างตัวเมีย; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวงูเหลือม
ดาวสวาตี หรือ ดาวสวัสดิ ก็เรียก.
【 ช้างยืนแท่น 】แปลว่า: น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน
พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.
【 ช้างยืนโรง 】แปลว่า: น. เรียกช้างที่อยู่ประจำโรงว่า ช้างยืนโรง.
【 ช้างร้อง 】แปลว่า: น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง.
【 ช้างสะบัดหญ้า 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ช้างสาร 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
【 ช้างสำคัญ 】แปลว่า: (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาว เพดานปากขาว
เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว และ
อัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่.
【 ช้างสีดอ 】แปลว่า: น. ช้างพลายที่มีงาสั้นโผล่ออกมาเล็กน้อยผิดกับช้างสามัญ.
【 ช้างสีปลาด 】แปลว่า: ปะหฺลาด น. ช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน
๗ อย่าง คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว
หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว หรืออัณฑโกศขาวหรือสีคล้าย
หม้อใหม่.
【 ช้างใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชิงชายา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวคอนาค
ดาวแพะ หรือ ดาวเชิงชายะ ก็เรียก.
【 ช้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Rhynchostylis gigantea/ Ridl. ในวงศ์
Orchidaceae กลีบดอกสีขาว มีประสีม่วงหรือแดง กลิ่นหอม
พันธุ์ที่กลีบดอกชั้นในมีประที่โคนเรียก ช้างดํา, พันธุ์ที่มีประ
ทั่วทุกกลีบดอก เรียก ช้างกระหรือ ช้างค่อม (/R. gigantea/
Ridl. var. /illustris/ Rchb.f.), พันธุ์ที่กลีบดอกสีขาวสะอาด
เรียก ช้างเผือก (/R. gigantean/ Ridl. var. /harrissoniana/ Holtt.),
พันธุ์ที่กลีบดอกสีแดง เรียก ช้างแดง (/R. gigantea/ Ridl. var.
/rubra/ Hort.).
【 ช้าง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อซางวันศุกร์.
【 ช้าง ๔ 】แปลว่า: ก. เศร้าโศกมาก, ใช้ประกอบกับคํา ไห้ เป็น ไห้ช้าง.
【 ช่างกระไร 】แปลว่า: คํากล่าวเนื่องจากติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง.
【 ช่างทอง 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ช้างน้าว 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Dendrobium pulchellum/ Roxb.
ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ สีนํ้าตาลอมชมพูหรือนวล
มีแต้มสีเลือดหมูที่กลีบกระเป๋า ๒ แต้ม. (๒) /ดู ตานเหลือง./
【 ช้างเผือก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ช้าง ๑/.
【 ช้างเผือก ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
【 ช้างเผือก ๓ 】แปลว่า: น. แสงกลุ่มดาวที่แผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า เรียกว่า
ทางช้างเผือก.
【 ช้างเผือก ๔ 】แปลว่า: น. (๑) (ถิ่นพายัพ) ต้นคงคาเดือด. /(ดู คงคาเดือด)./
(๒) /ดู ช้าง ๒./
【 ช้างเหยียบ 】แปลว่า: /ดู หมอช้างเหยียบ/.
【 ช่างเหล็ก 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ช้าช่อน 】แปลว่า: (กลอน) ว. งาม.
【 ชาญ 】แปลว่า: ว. ชํานาญ.
【 ชาด 】แปลว่า: น. วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ทํายาไทย
หรือประสมกับนํ้ามันสําหรับประทับตราหรือทาสิ่งของ, ชาดที่
มาจากเมืองจอแสประเทศจีนเรียก ชาดจอแส, ชาดที่มาจาก
เมืองอ้ายมุ่ยประเทศจีนเรียก ชาดอ้ายมุ่ย. ว. สีแดงสด
อย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด.
【 ชาดหรคุณ 】แปลว่า: [ชาดหอระ] น. ชาดประสมกับปรอทและกํามะถันเพื่อจะให้ชาด
จับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และเพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).
【 ชาดก 】แปลว่า: [ชาดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้
ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่
เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).
【 ชาต, ชาตะ 】แปลว่า: [ชาตะ] ก. เกิด. (ป.).
【 ชาตรูป 】แปลว่า: น. ทอง. (ป., ส.).
【 ชาตสระ 】แปลว่า: [สะ] น. สระธรรมชาติ. (ป.).
【 ชาตบุษย์ 】แปลว่า: [ชาดตะบุด] น. ชื่อบัวชนิดหนึ่ง.
【 ชาตรี 】แปลว่า: [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น
ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป
มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัว
ยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี;
ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง
ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
【 ชาตา 】แปลว่า: น. เวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้น
ที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
【 ชาติ ๑, ชาติ ๑ 】แปลว่า: [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด
เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ
ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม
เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น
คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
【 ชาติธรรม 】แปลว่า: [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของ
ตระกูล).
【 ชาติภูมิ 】แปลว่า: [ชาดติพูม] น. ถิ่นที่เกิด.
【 ชาติมาลา 】แปลว่า: [ชาติ] น. สาขาแห่งชาติ, โครงแห่งตระกูล, แผนเครือญาติ. (ส.).
【 ชาติ ๒, ชาติ ๒ 】แปลว่า: [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ,
กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์
ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน
หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
【 ชาตินิยม 】แปลว่า: [ชาดนิยม] น. ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่, ความรักชาติ.
【 ชาติพันธุ์ 】แปลว่า: [ชาดติพัน] น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์
ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้า
ด้วยกัน. (อ. ethnos).
【 ชาติพันธุ์วรรณนา 】แปลว่า: [ชาดติพันวันนะนา] น. ชาติพันธุ์วิทยาสาขาหนึ่งที่พรรณนาถึง
วัฒนธรรมแบบต่าง ๆ. (อ. ethnography).
【 ชาติพันธุ์วิทยา 】แปลว่า: [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์
กําเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะ
เฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
【 ชาติ ๓, ชาติ ๓ 】แปลว่า: [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
【 ชาติรส 】แปลว่า: [ชาติรด, ชาดติรด] น. รสโดยกําเนิด เช่นรสหวานแห่งนํ้าตาล. (ป.).
【 ชาน ๑ 】แปลว่า: น. กากอ้อยหรือกากหมากที่เคี้ยวแล้วเป็นต้น เช่น ชานอ้อย
ชานหมาก.
【 ชาน ๒ 】แปลว่า: น. เรียกพื้นเรือนนอกชายคาว่า นอกชาน, พื้นที่นอกตัวเรือน
ตัวเมืองหรือตัวกําแพง เป็นต้น ออกไป เช่น ชานเมือง
ชานกําแพง ชานเขื่อน.
【 ชานคลอง 】แปลว่า: (กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลองขนานไปกับคลอง.
【 ชานฉัตร 】แปลว่า: น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า.
【 ชานชาลา 】แปลว่า: น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสารมารอขึ้นรถ;
ที่โล่งหน้าสถานที่สําคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้า
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.
【 ชานุ, ชานุกะ 】แปลว่า: น. เข่า, ชันนุ หรือ ชันนุกะ ก็ใช้. (ป., ส.).
【 ชานุมณฑล 】แปลว่า: น. สะบ้าเข่า. (ป., ส.).
【 ช้าปี่ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 ชาปีไหน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Caloenas nicobarica/ ในวงศ์ Columbidae ลําตัว
สีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขี้อาย
มักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของ
ประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
【 ช้าแป้น 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Solanum erianthum/ D. Don ในวงศ์
Solanaceae ผลคล้ายมะเขือพวงแต่มีขน กินเมา อาจถึง
ตายได้ รากใช้ทํายา.
【 ช้าพลู 】แปลว่า: [พฺลู] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Piper sarmentosum/ Roxb. ในวงศ์
Piperaceae ใบคล้ายพลู กินได้ ต้นและใบมีรสเผ็ด ราก
และผลใช้ทํายาได้, ชะพลู ก็เรียก.
【 ชาม 】แปลว่า: น. ภาชนะรูปคลุ่ม ๆ ชนิดหนึ่ง สําหรับใส่อาหารเป็นต้น.
【 ชามอีโน 】แปลว่า: (โบ) น. ชามขนาดใหญ่อย่างชามโคม.
【 ชามพูนท 】แปลว่า: [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าเกิด
ใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า
เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
【 ชามาดร, ชามาดา, ชามาตุ 】แปลว่า: [–ดอน] น. ลูกเขย. (ป. ชามาตุ; ส. ชามาตฺฤ).
【 ชาย ๑ 】แปลว่า: น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
【 ชายชาตรี 】แปลว่า: น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.
【 ชายสามโบสถ์ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตําหนิว่า
เป็นคนที่ไม่น่าคบ.
【 ชายโสด 】แปลว่า: น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
【 ชาย ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร,
ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล.
【 ชายกระเบน 】แปลว่า: น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบ
ผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
【 ชายกระเบนเหน็บ 】แปลว่า: น. อวัยวะตรงที่เหน็บชายกระเบน.
【 ชายครุย 】แปลว่า: น. ชายผ้าที่เป็นเส้น ๆ, ครุย ก็ว่า.
【 ชายคา 】แปลว่า: น. ส่วนที่สุดของหลังคาที่ยื่นพ้นตัวเรือนออกมา.
【 ชายแครง 】แปลว่า: น. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).
【 ชายตา 】แปลว่า: ก. ชําเลือง, ดูทางหางตา.
【 ชายทะเล 】แปลว่า: (ภูมิ) น. เขตระหว่างแนวนํ้าทะเลลงตํ่าสุดกับแนวนํ้าทะเลขึ้นสูงสุด.
【 ชายธง ๑ 】แปลว่า: น. รูปที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่ว;
ชื่อมีดพกที่มีรูปเช่นนั้น; ที่ดินซึ่งมีรูปเช่นนั้น.
【 ชายฝั่ง 】แปลว่า: (ภูมิ) น. แถบแผ่นดินนับจากแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณ
ที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด.
【 ชายพก 】แปลว่า: น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือแล้วดึงชายข้างใด
ข้างหนึ่งให้มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอวใส่เงินหรือหมาก
เป็นต้นได้.
【 ชายเฟือย 】แปลว่า: น. ริมนํ้าที่มีหญ้ารก ๆ หรือมีไม้นํ้าปกคลุม; ที่ที่สะดวก, ที่ที่ง่าย,
เช่น หากินตามชายเฟือย.
【 ชายไหว 】แปลว่า: น. ผ้าห้อยหน้าอยู่ระหว่างชายแครง.
【 ชาย ๓ 】แปลว่า: ก. พัดอ่อน ๆ เช่น ลมชาย; คล้อย, บ่าย, เช่น ตะวันชาย; เดิน
เลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู.
【 ชาย ๔ 】แปลว่า: ว. เห็นจะ, ค่อนข้าง, เช่น ชายจะเบากว่าพ่อชาลี. (ม. ร่ายยาว).
【 ชายธง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ชาย ๒/.
【 ชายธง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูทะเลมีพิษในวงศ์ Hydrophiidae ตลอดตัวมักมีลายคล้าย
ธงราวสีจาง ๆ หางแบนเป็นพาย พบในเขตพื้นท้องทะเลทั้งที่เป็น
ทรายและที่เป็นโคลน มีหลายชนิดและหลายสกุล เช่น ชายธงนวล
(/Aipysurus eydouxii/) ชายธง ท้องบาง (/Praescutata/ “/viperina/).
【 ชายผ้าสีดา 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล /Platycerium/ วงศ์
Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับต้นไม้
เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบติดอยู่กับต้น
ตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง
ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
【 ชายา ๑ 】แปลว่า: (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์,
ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์
เรียกว่า พระชายา.
【 ชายา ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง,
นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
【 ชายาชีพ 】แปลว่า: (โบ) น. นักเต้นรํา. (ส.).
【 ชายานุชีพ 】แปลว่า: (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).
【 ชาเยนทร์, ชาเยศ 】แปลว่า: (กลอน) น. เมีย. (ส.).
【 ชาเยนทร์, ชาเยศ 】แปลว่า: /ดู ชายา ๒/.
【 ชาระ 】แปลว่า: (แบบ) น. ชายชู้, ชายที่รัก. (ป., ส.).
【 ชารี 】แปลว่า: (แบบ) น. หญิงชู้, หญิงที่รัก. (ป., ส.).
【 ชาล, ชาล 】แปลว่า: ชาน, ชาละ น. ตาข่าย, ร่างแห; ใยแมงมุม. (ป., ส.).
【 ชาลกรรม 】แปลว่า: น. การจับปลา. (ส.).
【 ชาลา ๑ 】แปลว่า: น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
【 ชาลา ๒ 】แปลว่า: น. ชานเรือน, พื้นภายนอกเรือน.
【 ชาลินี 】แปลว่า: (แบบ) น. สิ่งที่มีข่าย; ตัณหา. (ป., ส.).
【 ช้าเลือด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Caesalpinia mimosoides/ Lam. ในวงศ์
Leguminosae เถามีหนามมาก ใบเป็นฝอยคล้ายใบมะขาม
ดอกเป็นช่อสีเหลือง มีฝัก ใบและช่อมีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่น
ตัวเรือด ใช้ทํายาได้, ปู่ย่า ก็เรียก.
【 ชาว 】แปลว่า: น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรืออยู่ใน
ถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมีอาชีพอย่าง
เดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนา
ร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
【 ชาวนอก 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกไทยทางปักษ์ใต้.
【 ชาวน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลม
มลายู, ฉลาง หรือ ชาวเล ก็เรียก.
【 ชาวม่าน 】แปลว่า: น. เรียกเจ้าพนักงานที่ทําหน้าที่ไขพระวิสูตรในงานพระราชพิธีต่าง ๆ.
【 ชาวเล 】แปลว่า: น. ชาวนํ้า.
【 ชาววัง 】แปลว่า: น. พวกผู้หญิงที่อยู่ในวัง.
【 ชาวี 】แปลว่า: น. ชาวชวามลายู เช่น มสุชวาชาวี. (สมุทรโฆษ).
【 ช้าหมอง 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ชำ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อร้านหรือเรือขายของแห้งต่าง ๆ ที่เป็นอาหารเป็นต้น เรียกว่า
ร้านชํา หรือ เรือชํา.
【 ชำ ๒ 】แปลว่า: ก. เอากิ่งไม้ที่ตัดหรือตอนมาปักไว้ที่ที่ดินแฉะ ๆ หรือแช่นํ้า
ไว้ชั่วคราว เพื่อให้รากงอก.
【 ช่ำ 】แปลว่า: ว. มากพอแก่ความต้องการจนสมอยาก เช่น เที่ยวเสียชํ่า
กินเสียชํ่า.
【 ช่ำใจ 】แปลว่า: ว. มากพอสมกับที่ใจอยาก.
【 ช่ำปอด 】แปลว่า: (ปาก) ว. มากพอสมกับที่ใจอยาก.
【 ช้ำ 】แปลว่า: ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือบ่อย ๆ
เช่น, มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอยฟกชํ้าดําเขียว.
【 ช้ำใจ 】แปลว่า: ก. เจ็บใจ, ระทมใจ.
【 ช้ำชอก 】แปลว่า: ก. บอบชํ้ามาก, ชอกชํ้า ก็ว่า.
【 ช้ำเลือดช้ำหนอง 】แปลว่า: ว. มีเลือดและหนองคั่งอยู่, สีที่มีลักษณะคล้ายมีเลือดและหนองปน
กันออกสีม่วง ๆ เรียกว่า สีชํ้าเลือดชํ้าหนอง.
【 ชำงัด 】แปลว่า: ว. ชะงัด, แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง.
【 ชำงาย ๑ 】แปลว่า: ว. ชาย, สาย, บ่าย, (ใช้แก่เวลา).
【 ชำงาย ๒ 】แปลว่า: ก. ฉงน, สนเท่ห์, แคลงใจ, เช่น และเย็นตระชักสิชํางาย.
(สมุทรโฆษ).
【 ชำงือ 】แปลว่า: (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่น
ชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก;
ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
【 ช่ำชอง 】แปลว่า: ก. ชํานิชํานาญ.
【 ช่ำช่า 】แปลว่า: ว. ไม่มีรส, ชืด.
【 ชำนน 】แปลว่า: ก. ชนกัน, โดนกัน. (แผลงมาจาก ชน).
【 ชำนรร 】แปลว่า: ก. เหยียบ. (ข.).
【 ชำนะ 】แปลว่า: ก. ชนะ, ทําให้เขาพ่ายแพ้. (แผลงมาจาก ชนะ).
【 ชำนัญ 】แปลว่า: ก. รู้.
ชำนัญพิเศษ น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใด
เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะว่า ผู้ชํานัญพิเศษ; เรียกองค์การต่าง ๆ
ในสังกัดองค์การสหประชาชาติว่า ทบวงการชํานัญพิเศษ.
【 ชำนัน 】แปลว่า: ก. เหยียบ. (ข. ชัน ว่า เหยียบ; ชาน่, ชํนาน่ ว่า คราว, สมัย).
【 ชำนาญ 】แปลว่า: ก. เชี่ยวชาญ, จัดเจน.
【 ชำนาญเกลากลอน 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง.
(ดึกดําบรรพ์).
【 ชำนิ ๑ 】แปลว่า: ก. ขี่ เช่น ชํานิโคคําแหงแรง; พาหนะ เช่น ควรชํานิพระองค์.
(สมุทรโฆษ).
【 ชำนิ ๒ 】แปลว่า: ก. รู้ชัดเจน, เชี่ยวชาญ, คล่องแคล่ว.
【 ชำนิชำนาญ 】แปลว่า: ก. เชี่ยวชาญมาก, สันทัดจัดเจน.
【 ชำเนียน 】แปลว่า: ก. เจียน, สลัก, เช่น ชําเนียนชรเนียรเอมอร. (สมุทรโฆษ).
ว. ฉลุเฉลา, เกลี้ยงเกลา.
【 ชำเนียร ๑ 】แปลว่า: ว. แก่ครํ่าคร่า, ชํารุด. (แผลงมาจาก เชียร).
【 ชำเนียร ๒ 】แปลว่า: ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชําเนียรในศิลป์. (สรรพสิทธิ์).
【 ชำมะนาด 】แปลว่า: น. ชมนาด.
【 ชำมะเลียง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Lepisanthes fruticosa/ Leenh. ในวงศ์
Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดํา กินได้ รสหวาน
ปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก.
【 ชำร่วย 】แปลว่า: น. ของตอบแทนผู้มาช่วยงานเช่นงานแต่งงานและงานศพ
เรียกว่า ของชําร่วย.
【 ชำระ 】แปลว่า: ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชําระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุงแก้ไข
ให้ดีขึ้น, เช่น ชําระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณา
ตัดสิน เช่น ชําระความ; ใช้ในคําว่า ชําระหนี้.
【 ชำระคดี 】แปลว่า: (กฎ) ก. พิจารณาตัดสินคดี.
【 ช้ำรั่ว 】แปลว่า: น. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของกระเพาะ
ปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทําให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออกเป็นครั้งคราวหรือตลอด
เวลาก็ได้.
【 ชำรุด 】แปลว่า: ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนถึงบกพร่องเสียหายหรือบุบสลายไป
เช่น หนังสือชํารุด เกวียนชํารุด.
【 ชำเรา ๑ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ร่วมประเวณี, กระทําการร่วมเพศ.
【 ชำเรา ๒ 】แปลว่า: ก. ลึก, ลับ, เช่น หน้าตาชําเรา. (สุบิน). (ข.).
【 ชำเราะ 】แปลว่า: น. ซอก, หลืบ, เช่น ชําเราะชระลองดอมไพร. (สมุทรโฆษ).
ก. เซาะ.
【 ชำแรก 】แปลว่า: ก. แทรก, แหวก, แทรกลงไป, เจือปน.
【 ชำแระ 】แปลว่า: น. ที่แฉะ, ที่เลน, เช่น ชายชําแระข้างในตรงร่องนํ้า.
(เชมสบรุก).
【 ชำลา 】แปลว่า: ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า
เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
【 ชำเลือง 】แปลว่า: ก. ชายตาดู, ดูทางหางตา.
【 ชำแหละ 】แปลว่า: [–แหฺละ] ก. แล่เป็นแผ่น ๆ, เฉือนเป็นชิ้น ๆ, เชือด. (แผลงมาจาก
แฉละ).
【 ชิ, ชิชะ, ชิชิ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
【 ชิง ๑ 】แปลว่า: ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.
【 ชิงคม 】แปลว่า: ก. รีบซ้อนกลทําร้ายเสียก่อน เช่น ชะอ้ายแก้วชิงคมเอากูได้.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ชิงช่วง 】แปลว่า: ก. แย่ง. น. การเล่นชนิดหนึ่ง เอาลูกไม้หรือของที่ลอยทิ้งลงในนํ้า
แล้วแย่งชิงกัน.
【 ชิงชัย 】แปลว่า: ก. รบกัน.
【 ชิงเชิง 】แปลว่า: น. ชื่อเศษด้ายที่ตัดออกจากผ้าซึ่งติดอยู่ที่ฟืม. ก. แย่งชั้นเชิงกัน,
คอยเอาทีกัน.
【 ชิงดวง 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่งเป็นลายแย่งดอกกัน หรือเป็นดอกเกี่ยวกัน,
แก้วชิงดวง ก็เรียก.
【 ชิงดีชิงเด่น 】แปลว่า: ก. แย่งกันเอาหน้าหรือเอาดีเอาเด่น, ขัดขวางความเจริญก้าวหน้า
ของผู้อื่น เพื่อให้ตนดีเด่นแต่ผู้เดียว.
【 ชิงทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความ
สะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่ง
ทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทําความผิด
นั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
【 ชิงเปรต 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตาย
ไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว
ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
【 ชิงสุกก่อนห่าม 】แปลว่า: (สํา) ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึง
การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า
อย่าชิงสุกก่อนห่าม.
【 ชิงไหวชิงพริบ 】แปลว่า: ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
【 ชิง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ต้นกะพ้อ. /(ดู กะพ้อ ๒)./
【 ชิ่ง ๑ 】แปลว่า: ว. คด, โกง, เก, ฉิ่ง, เช่น ขาชิ่ง.
【 ชิ่ง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ต้นกะพ้อ. /(ดู กะพ้อ ๒)./
【 ชิงเกิล 】แปลว่า: น. ชื่อทรงผมผู้หญิงที่ซอยผมด้านหลังไล่ระดับกันลงมา
ถึงต้นคอ เรียกว่าผมชิงเกิล. (อ. shingle).
【 ชิงชัง 】แปลว่า: ก. เกลียดชัง, เกลียดมาก.
【 ชิงชัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dalbergia oliveri/ Gamble ในวงศ์ Leguminosae
เนื้อไม้แข็ง แก่นสีแดงเข้มถึงสีม่วงแก่, ประดู่ชิงชัน ก็เรียก.
【 ชิงช้า 】แปลว่า: น. ที่นั่งผูกด้วยเชือกเป็นต้น ๒ ข้าง แขวนตามกิ่งไม้หรือที่สูง
สําหรับนั่งหรือยืนไกวไปมา.
【 ชิงช้าสวรรค์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุก
และในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะขนาดใหญ่
คู่ขนานกันหมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่
มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่ เป็นช่วงระหว่างโครงของ
ล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
【 ชิงช้าชาลี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Tinospora baenzigeri/ Forman ในวงศ์
Menispermaceae คล้ายบอระเพ็ด แต่เถาค่อนข้างเกลี้ยง
ใช้ทํายาได้.
【 ชิงชี่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Capparis micracantha/ DC. ในวงศ์
Capparidaceae สูง ๒๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบ
โคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง
ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลํากิ่งเหนือ
ง่ามใบตับละ ๒๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง
ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก.
【 ชิงพลบ 】แปลว่า: [พฺลบ] ว. จวนคํ่า, โพล้เพล้.
【 ชิงฮื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีหนวด ชนิด /Mylopharyngodon/ /aethiops/
ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลําตัวยาว
ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มี
แผงฟันในบริเวณลําคอเพียงแถวเดียว ที่สําคัญคือ ทั่ว
ลําตัวและครีบสีออกดํา มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีนนําเข้า
มาเลี้ยงเป็นอาหาร.
【 ชิณณะ 】แปลว่า: ว. แก่, เก่า, ครํ่าคร่า. (ป.).
【 ชิด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเนื้อในลูกไม้ชนิดหนึ่งได้จากต้นตาว (/Arenga/ /pinnata/)
มีเนื้อคล้ายลูกจาก เรียกว่า ลูกชิด. /(ดู ตาว ๒,/ “/ต๋าว ประกอบ)./
【 ชิด ๒ 】แปลว่า: ก. ใกล้จวนติดหรือใกล้จนติดกัน เช่น นั่งชิดกัน ชิดเข้าไป
อีกหน่อย.
【 ชิเดนทรีย์ 】แปลว่า: ชิเดนซี น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สํารวมอินทรีย์.
(ป., ส. ชิต + อินฺทฺริย).
【 ชิต, ชิต 】แปลว่า: [ชิด, ชิตะ] ก. ชนะแล้ว. (ป., ส.).
【 ชิตินทรีย์ 】แปลว่า: ชิตินซี น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สํารวมอินทรีย์.
(ป., ส. ชิตนฺทฺริย).
【 ชิตินทรีย์ 】แปลว่า: /ดู ชิต, ชิต/.
【 ชิน ๑ 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้
ทําพระเครื่อง; (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).
【 ชิน ๒ 】แปลว่า: ก. เคยมาแล้วบ่อย ๆ, คุ้นหรือเจน.
【 ชินชา 】แปลว่า: ว. เคยบ่อย ๆ จนเลิกเอาใจใส่.
【 ชิน ๓ 】แปลว่า: ก. บุอย่างบุทองแดง.
【 ชิน ๔ 】แปลว่า: [ชินะ, ชินนะ] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคําอื่นเป็น
ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
【 ชินบุตร 】แปลว่า: [ชินนะบุด] น. พระสงฆ์. (ส. ชินปุตะ; ป. ชินปุตฺต).
【 ชิโนรส 】แปลว่า: น. พระสงฆ์. (ป.).
【 ชิน ๕ 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ, เชน หรือ
ไชนะ ก็ว่า. (ส.).
【 ชิ่น 】แปลว่า: ก. สิ้น, หมด.
【 ชิ้น ๑ 】แปลว่า: น. ก้อนหรือแผ่นเล็กที่ตัด แล่ แบ่ง แยก หรือ แตกออกจากส่วนใหญ่
เช่น ชิ้นปลา ชิ้นเนื้อ ชิ้นกระเบื้อง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นก้อนเป็น
แผ่นเล็ก ๆ เช่นนั้น เช่น ผ้าชิ้นหนึ่ง เนื้อ ๒ ชิ้น.
【 ชิ้นเอก 】แปลว่า: ว. ดีเด่น เช่น งานชิ้นเอก.
【 ชิ้น ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. คู่รัก.
【 ชินโต 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งมีคําสอน
ให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.
【 ชิโนรส 】แปลว่า: /ดู ชิน ๔/.
【 ชิม 】แปลว่า: ก. ลองลิ้มรสดูด้วยปลายลิ้น, ทดลองให้รู้รส.
【 ชิมลาง 】แปลว่า: ก. หยั่งดูท่าทีหรือเหตุการณ์ว่าจะดีหรือร้าย.
【 ชิมแปนซี 】แปลว่า: น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ
บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขายาวเกือบ
เท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด /Pan troglodytes/ และ ชิมแปนซีแคระ
(/P. paniscus/) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง
ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัด
ให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
【 ชิยา 】แปลว่า: น. สายธนู. (ป.; ส. ชฺยา).
【 ชิรณ, ชิรณะ 】แปลว่า: [ชิระนะ] ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชํารุด. (ป. ชีรณ; ส. ชีรฺณ).
【 ชิรณัคคิ 】แปลว่า: [ชิระนักคิ] น. ไฟธาตุที่ทําอาหารให้ย่อย, ชีรณัคคิ ก็ว่า.
(ส. ชีรณ + ป. อคฺคิ).
【 ชิรณัคคิ 】แปลว่า: /ดู ชิรณ, ชิรณะ/.
【 ชิระ 】แปลว่า: ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชํารุด. (ป.).
【 ชิวหา 】แปลว่า: น. ลิ้น. (ป.; ส. ชิหฺวา).
【 ชิวหาสดมภ์ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลม ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าทําให้มีอาการลิ้น
กระด้างคางแข็ง.
【 ชิวหินทรีย์ 】แปลว่า: น. ลิ้นซึ่งเป็นใหญ่ในการลิ้มรส. (ป. ชิวฺหา + อินฺทฺริย).
【 ชิสา, ชีสา 】แปลว่า: สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
【 ชี ๑ 】แปลว่า: น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้ว
โกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมาย
แห่งความยกย่อง).
【 ชีต้น 】แปลว่า: น. พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์.
【 ชีปะขาว ๑ 】แปลว่า: น. นักบวชนุ่งขาว.
【 ชีเปลือย 】แปลว่า: น. นักบวชจําพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย, โดยปริยาย
ใช้เรียกคนที่ไม่นุ่งผ้า.
【 ชีพุก 】แปลว่า: น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึง
อย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
【 ชีมืด 】แปลว่า: น. ชีในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ที่ปฏิญาณตนว่าจะบวช
ตลอดชีวิต ต้องอยู่แต่ในสํานักของตน จะออกไปติดต่อกับบุคคลอื่น
แม้แต่ญาติของตนก็ไม่ได้.
【 ชี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Coriandrum sativum/ L. ในวงศ์ Umbelliferae
ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลม
มีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก.
【 ชีฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Eryngium foetidum/ L. ในวงศ์ Umbelliferae
ใบยาวรีขอบจัก กลิ่นฉุน ใช้แต่งกลิ่นอาหาร.
【 ชีล้อม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Oenanthe javanica/ (Blume) DC. ในวงศ์
Umbelliferae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบแบนรีขอบจัก ใช้เป็นผัก
ดอกเป็นกระจุกสีขาว ผลกลมค่อนข้างยาว, อ้น หรือ อ้นอ้อ
ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก หนอกช้าง.
【 ชีลาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Anethum graveolens/ L. ในวงศ์ Umbelliferae
ใบเป็นเส้นฝอย ๆ ใช้เป็นผัก ดอกเล็กเป็นช่อสีเหลือง ผลแก่แห้ง
รูปไข่แบน เรียก เทียนตาตั๊กแตน ใช้ทํายาได้.
【 ชี ๓ 】แปลว่า: /ดู ชีปะขาว ๒ (๒)/.
【 ชี ๔ 】แปลว่า: ก. ทําสิ่งที่เป็นปุยอย่างสําลีหรือที่เป็นเส้นอย่างกลุ่มยาเส้น
ให้กระจายตัวออก.
【 ชี่ 】แปลว่า: น. ยาสีฟันโบราณ ใช้สีเพื่อให้ฟันดํา, สี้ ก็เรียก.
【 ชี้ 】แปลว่า: น. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้. ก. เหยียดนิ้วชี้เป็นต้น
ตรงไปที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องการ, เหยียดตรง เช่น หางชี้;
แนะนํา, บอกให้, เช่น ชี้ทาง.
【 ชี้ขาด 】แปลว่า: ก. สั่งเด็ดขาด, วินิจฉัยเด็ดขาด.
【 ชี้แจง 】แปลว่า: ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน.
【 ชี้ช่อง 】แปลว่า: ก. แนะลู่ทางให้.
【 ชี้ตาไม่กระพริบ 】แปลว่า: (สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา
ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิ ยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว
กุมาร).
【 ชี้ตัว 】แปลว่า: (กฎ) น. กระบวนการทางการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทําผิด
โดยให้ผู้เสียหายหรือพยานชี้ว่าผู้ใดเป็นผู้ต้องหา.
【 ชี้นกบนปลายไม้ 】แปลว่า: (สํา) ก. หวังในสิ่งที่อยู่ไกลตัว.
【 ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ 】แปลว่า: (สํา) ไม่ว่าผู้มีอํานาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไป
อย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ.
【 ชี้นำ 】แปลว่า: ก. ชี้แนะ.
【 ชี้นิ้ว 】แปลว่า: ก. ได้แต่สั่งการให้ผู้อื่นทํา ไม่ลงมือทําเอง.
【 ชี้แนะ 】แปลว่า: ก. แนะแนวทางให้, ชี้นํา ก็ว่า.
【 ชีปะขาว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ชี ๑/.
【 ชีปะขาว ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อแมลงที่เป็นผีเสื้อของหนอนกอข้าว อันได้แก่ชนิด
/Scirpophaga incertulas, Chilo suppressalis, Chilotraea/
/polychrysa/ ในวงศ์ Pyralidae เป็นผีเสื้อกลางคืน เมื่อเกาะ
จะหุบปีกเป็นรูปหลังคาหุ้มตัวยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีก
และลําตัวสีเหลืองอ่อนคล้ายสีฟางข้าว มีเกล็ดละเอียด
เหมือนฝุ่นปกคลุมตัว ที่หัวมีส่วนของปากยื่นยาวออกไป
เป็นกลีบ ตาโตเห็นได้ชัด มักมาเล่นไฟ เกาะฝาเป็นกลุ่ม
ตัวหนอนเป็นหนอนกอทําลายข้าว, ชีผ้าขาว ชีผะขาว หรือ
สับปะขาว ก็เรียก. /(ดู หนอนกอ ที่ หนอน ๑)./ (๒) ชื่อ
แมลงในอันดับ Ephemeroptera มีลําตัวอ่อนมาก หนวดสั้น
มองแทบไม่เห็น ปีกบางรูปสามเหลี่ยมมีเส้นปีกมากมาย
เมื่อเกาะจะตั้งปีกตรงบนสันหลัง ที่ปลายท้องมีหางยาว
คล้ายเส้นด้าย ๒-๓ เส้น ลําตัวและปีกสีขาว เช่น ชนิด
/Ephemera/ spp.ในวงศ์ Ephemeridae, ชี ก็เรียก.
【 ชีผะขาว, ชีผ้าขาว 】แปลว่า: /ดู ชีปะขาว ๒ (๑)/.
【 ชีพ, ชีพ 】แปลว่า: [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความเป็นอยู่,
ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
【 ชีพจร 】แปลว่า: [ชีบพะจอน] น. อาการที่เส้นเลือดเต้นอยู่ตามร่างกายเช่น
ที่ข้อมือ.
【 ชีพิต 】แปลว่า: น. ความเป็นอยู่. (ป., ส. ชีวิต).
【 ชีพิตักษัย 】แปลว่า: (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย.
(ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
【 ชีพิต 】แปลว่า: /ดู ชีพ, ชีพ/.
【 ชีพิตักษัย 】แปลว่า: /ดู ชีพ, ชีพ/.
【 ชีฟอง 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อนิ่ม บาง และเบา ใช้ตัดเสื้อผ้าสตรี.
(ฝ. chiffon).
【 ชี้ฟ้า 】แปลว่า: น. ชื่อพริกชนิด /Capsicum annuum/ L. ในวงศ์ Solanaceae.
【 ชีรณ, ชีรณะ 】แปลว่า: [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา
ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
【 ชีรณัคคิ 】แปลว่า: [ชีระนักคิ] น. ไฟธาตุที่ทําอาหารให้ย่อย, ชิรณัคคิ ก็ว่า. (ส. ชีรณ +
ป. อคฺคิ).
【 ชีระ ๑ 】แปลว่า: (แบบ) ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชํารุด. (ป.).
【 ชีระ ๒ 】แปลว่า: ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว. (ส.).
【 ชีว, ชีวะ 】แปลว่า: [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
【 ชีวเคมี 】แปลว่า: น. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของ
สิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบ
เหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ ควบคุมการเปลี่ยนแปลง
นั้น ๆ. (อ. biochemistry).
【 ชีวงคต 】แปลว่า: (กลอน) ก. ตาย.
【 ชีวประวัติ 】แปลว่า: น. ประวัติชีวิตบุคคล.
【 ชีวภาพ 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตและสิ่งที่สืบเนื่องมาจากสิ่งมีชีวิต เช่น
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ.
【 ชีวโลก 】แปลว่า: น. โลกของสัตว์เป็น, ตรงข้ามกับ โลกผี; เหล่าสัตว์, มนุษยชาติ. (ส.).
【 ชีววาร 】แปลว่า: น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ พฤหัสปติวาร ก็ว่า.
【 ชีววิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยสิ่งที่มีชีวิต.
【 ชีวัน 】แปลว่า: (กลอน) น.ชีวิต, สิ่งที่มีชีวิต.
【 ชีวันตราย 】แปลว่า: น. อันตรายต่อชีวิต, อันตรายถึงตาย. (ป., ส.).
【 ชีวา, ชีวี 】แปลว่า: (กลอน) น. ชีวิต. (ส. ชีวี ว่า สัตว์มีชีวิต).
【 ชีวาตม์ 】แปลว่า: (กลอน) น. ชีวิตของตน.
【 ชีวาลัย 】แปลว่า: (กลอน) น. ชีวิต เช่น ก็สิ้นชีวาลัยไปเมืองฟ้า. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ก. ตาย เช่น เพียงศรีอนุชาชีวาลัย.
【 ชีวิต 】แปลว่า: น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).
【 ชีวิตชีวา 】แปลว่า: ว. สดชื่นคึกคัก.
【 ชีวิตักษัย 】แปลว่า: น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย.
【 ชีวิตินทรีย์ 】แปลว่า: น. ชีวิต. (ป., ส.).
【 ชีวิน 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้เป็นอยู่, ผู้มีชีวิต. (ส.).
【 ชีวงคต 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวัน 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวันตราย 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวา, ชีวี 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวาตม์ 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวาลัย 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวิต 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวิตชีวา 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวิตักษัย 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวิตินทรีย์ 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีวิน 】แปลว่า: /ดู ชีว, ชีวะ/.
【 ชีโว 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. /(ดู ยาม)./
【 ชืด 】แปลว่า: ว. จืด, หมดรสชาติ.
【 ชื่น ๑ 】แปลว่า: ก. แจ่มใส เช่น หน้าค่อยชื่นขึ้น. ว. เบิกบาน, ยินดี, เช่น ชื่นใจ ชื่นตา.
【 ชื่นกลิ่น 】แปลว่า: ก. ชื่นใจด้วยกลิ่น.
【 ชื่นชม, ชื่นชมยินดี 】แปลว่า: ก. ปีติยินดี.
【 ชื่นบาน 】แปลว่า: ว. เบิกบาน.
【 ชื่นมื่น 】แปลว่า: ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น. (สังข์ทอง).
【 ชื่น ๒ 】แปลว่า: /ดู อ้ายชื่น/.
【 ชื้น 】แปลว่า: ว. มีไอนํ้าซึมซาบอยู่ เช่น อากาศชื้น, ไม่แห้งทีเดียว เช่น ผ้าชื้น.
【 ชื่อ 】แปลว่า: น. คําที่ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของโดยทั่ว ๆ ไป
หรือโดยเฉพาะเจาะจง.
【 ชื่อตัว 】แปลว่า: น. ชื่อที่ตั้งให้แก่เด็กตั้งแต่เกิด, ชื่อที่ปรากฏในทะเบียนสํามะโนครัว,
ชื่อจริง; (กฎ) ชื่อประจําบุคคล.
【 ชื่อย่อ 】แปลว่า: น. ชื่อที่ย่อมาจากชื่อเต็ม.
【 ชื่อรอง 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว.
【 ชื่อเล่น 】แปลว่า: น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติหรือผู้ใกล้ชิด.
【 ชื่อว่า 】แปลว่า: สัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงามดังเรือนท้าว.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ชื่อสกุล 】แปลว่า: น. ชื่อประจําวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับ
อนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล; (กฎ)
ชื่อประจําวงศ์สกุล.
【 ชื่อเสียง 】แปลว่า: น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
【 ชื้อ 】แปลว่า: ว. เย็นเยือก, ชื้น, ร่ม.
【 ชุ 】แปลว่า: (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
(ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
【 ชุก 】แปลว่า: ว. มีดื่น, มีมากมาย, เช่น มะม่วงชุก, มีบ่อย ๆ เช่น ฝนชุก.
【 ชุกชุม 】แปลว่า: ว. มีดื่นดาษ.
【 ชุกชี 】แปลว่า: [ชุกกะ] น. ฐานปูนสําหรับประดิษฐานพระประธานเป็นต้น,
จุกชี ก็ว่า.
【 ชุ่ง 】แปลว่า: (โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้าย
โชยชาย. (ลอ).
【 ชุ้ง 】แปลว่า: ว. โค้ง, คด.
【 ชุณห 】แปลว่า: ชุนหะ ว. ขาว, สว่าง. (ป.).
【 ชุณหปักษ์ 】แปลว่า: น. ข้างขึ้น. (ป. ชุณฺหปกฺข; ส. โชฺยตฺสฺนปกฺษ).
【 ชุด ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ถักด้วยหวายหรือเถาวัลย์เป็นตา;
สิ่งที่ถักด้วยหวายหรือเถาวัลย์เป็นตาห่าง ๆ รูปคล้ายกระชุ
สําหรับใส่หมูเป็น.
【 ชุด ๒ 】แปลว่า: น. ด้ายหรือนุ่นเป็นต้นสําหรับเป็นเชื้อให้ไฟติดในเวลา
ตีหินเหล็กไฟเป็นต้น.
【 ชุด ๓ 】แปลว่า: น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น
พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ
โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม
เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง;
การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน
ชุดแขก.
【 ชุดสากล 】แปลว่า: น. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ
เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.
【 ชุติ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความโพลง, ความรุ่งเรือง, ความสว่างไสว; ดวงดาว.
(ป.; ส. ชฺยุติ).
【 ชุติมา 】แปลว่า: น. ผู้มีความรุ่งเรือง. (ป.; ส. ชฺยุติมตฺ).
【 ชุน 】แปลว่า: ก. ซ่อมผ้าหรือแหเป็นต้นที่ขาดทะลุเป็นรูให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ด้วยการถักหรือด้วยวิธีอื่น ๆ. น. เครื่องมือสําหรับถัก. (ข. ชุล).
【 ชุบ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้เปียก
ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
จุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสารละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น
ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียนหนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
【 ชุบชีวิต 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทําให้มีชีวิตขึ้น เช่น
ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บํารุงให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น.
【 ชุบตัว 】แปลว่า: ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัว
ให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราช
ชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไป
ศึกษาอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึง
ในยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
【 ชุบมือเปิบ 】แปลว่า: (สํา) ก. ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง.
【 ชุบย้อม 】แปลว่า: ก. บํารุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
【 ชุบเลี้ยง 】แปลว่า: ก. บํารุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
【 ชุบสรง 】แปลว่า: น. ผ้าผลัดอาบนํ้าเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบสรง.
【 ชุบอาบ 】แปลว่า: น. ผ้าผลัดอาบนํ้า เรียกว่า ผ้าชุบอาบ.
【 ชุบชู 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานอย่างหนึ่ง คล้ายลอยแก้ว.
【 ชุม 】แปลว่า: ก. มารวมกันจากที่ต่าง ๆ เช่น ชุมพล; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น
ขโมยชุม ยุงชุม.
【 ชุมชน 】แปลว่า: น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ใน
อาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน.
【 ชุมทางรถไฟ 】แปลว่า: น. สถานีที่รวมทางแยกรถไฟ.
【 ชุมสายโทรศัพท์ 】แปลว่า: น. ศูนย์กลางคู่สายโทรศัพท์ และเป็นที่ที่สายโทรศัพท์หมายเลข
ต่าง ๆ เชื่อมติดต่อกัน.
【 ชุ่ม 】แปลว่า: ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
【 ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจ 】แปลว่า: ก. อิ่มเอิบใจ.
【 ชุ่มชื่น 】แปลว่า: ก. รู้สึกสดชื่น, สดชื่น.
【 ชุ่มชื้น 】แปลว่า: ว. มีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่.
【 ชุมนุม 】แปลว่า: น. กอง, หมู่, พวก. ก. ประชุม, รวมกัน.
【 ชุมนุมชน 】แปลว่า: น. หมู่ชนที่รวมกันอยู่หนาแน่น, หมู่ชนที่มารวมกันมาก ๆ.
【 ชุมพร ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมะเดื่อชนิดหนึ่ง. /(ดู มะเดื่อ)./ (เลือนมาจาก อุทุมพร).
【 ชุมพร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาเนื้ออ่อน. (เลือนมาจาก สลุมพร).
【 ชุมพา 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ขนยาวคล้ายขนแกะ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ชุมเพ็ด 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ชุมแพรก 】แปลว่า: [แพฺรก] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Heritiera javanica/ Kosterm
ในวงศ์ Sterculiaceae เนื้อไม้ใช้ทําบ้านและเครื่องเรือนเป็นต้น.
【 ชุมรุม 】แปลว่า: น. ที่พัก, ที่อาศัย.
【 ชุมสาย 】แปลว่า: น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่ง
สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับ
ในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็น
แท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อยว่า
พระที่นั่งชุมสาย.
(รูปภาพ ชุมสาย)
【 ชุมแสง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Xanthophyllum lanceatum/ (Miq.) J.J. Sm.
ในวงศ์ Xanthophyllaceae ใช้ทํายาได้.
【 ชุมเห็ด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล /Senna/ วงศ์ Leguminosae คือ
ชุมเห็ดไทย [/S. tora/ (L.) Roxb.] ใบเล็ก และ ชุมเห็ดเทศ
[/S. alata/ (L.) Roxb.] ใบใหญ่, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้.
【 ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ 】แปลว่า: ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ
ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.
【 ชุ่ย ๒ 】แปลว่า: (วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้าย
พลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ชุลมุน 】แปลว่า: [ชุนละ] ว. อาการที่เป็นไปอย่างสับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ
เช่น เดินกันชุลมุน ชกต่อยกันชุลมุน.
【 ชุลี 】แปลว่า: (กลอน) น. การประนมมือ, การไหว้. (ตัดมาจาก อัญชลี).
【 ชุษณ, ชุษณะ 】แปลว่า: ชุดสะนะ ว. ขาว, สว่าง. (ส. โชฺยตฺสฺนา).
【 ชุษณปักษ์ 】แปลว่า: น. ข้างขึ้น. (ส. โชฺยตฺสฺนปกฺษ; ป. ชุณฺหปกฺข).
【 ชู 】แปลว่า: ก. ยกขึ้นสูงกว่าระดับเดิม เช่น ชูมือ, บํารุงให้ดีขึ้น เช่น ชูกําลัง.
【 ชูกลิ่น 】แปลว่า: ก. ส่งกลิ่น.
【 ชูคอ 】แปลว่า: ก. ชะเง้อคอ, อาการที่นั่งยืดคอวางท่าภาคภูมิ.
【 ชูใจ 】แปลว่า: ก. ทําให้ใจมีกําลังขึ้น.
【 ชูชีพ 】แปลว่า: น. เครื่องช่วยพยุงตัวในนํ้าหรือในอากาศ เช่น พวงมาลัยชูชีพ
ร่มชูชีพ.
【 ชูรส 】แปลว่า: ว. ที่ทําให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น ผงชูรส.
【 ชูโรง 】แปลว่า: น. ตัวแสดงที่ทําให้คณะดีขึ้น.
【 ชูหน้าชูตา 】แปลว่า: ก. ทําให้มีหน้ามีตาขึ้น, เชิดหน้าชูตา ก็ว่า.
【 ชู้ 】แปลว่า: น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น
เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย
ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี
อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ
หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
【 ชู้สาว 】แปลว่า: ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว.
【 ชู้เหนือขันหมาก 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงคู่หมั้นของชายอื่น.
【 ชู้เหนือผัว 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงซึ่งสามียังมีชีวิตอยู่.
【 ชู้เหนือผี 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงที่สามีตายขณะที่ศพสามี
ยังอยู่บนเรือน.
【 เช็ค 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย
สั่งธนาคารให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคล
อีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า
ผู้รับเงิน. (อ. cheque).
【 เช็คขีดคร่อม 】แปลว่า: (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้าและจะใช้เงิน
ตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น.
【 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ 】แปลว่า: (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้าและในระหว่าง
เส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อธนาคารใดธนาคารหนึ่งลงไว้โดยเฉพาะ
และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารนั้น.
【 เช็คขีดคร่อมทั่วไป 】แปลว่า: (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า กับมีหรือไม่มี
คำว่า “และบริษัท” หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ใน
ระหว่างเส้นทั้งสองนั้น และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่
ธนาคารเท่านั้น.
【 เช็คไปรษณีย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชนเพื่อประโยชน์ในการ
ส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้
เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้
แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุนามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
【 เช้ง, เช้งวับ 】แปลว่า: (ปาก) ว. สวยเพราะตกแต่งงามเป็นพิเศษ เช่น งามเช้ง
แต่งตัวเสียเช้งวับ.
【 เชงเลง 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ทําด้วยซีกไม้ไผ่มัดด้วยหวาย
รูปคล้ายขวด.
【 เช็ด 】แปลว่า: ก. ทําให้แห้งหรือให้สะอาดโดยใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผ้าหรือกระดาษ
เป็นต้น เช่น เช็ดนํ้าตา เช็ดพื้น เช็ดถ้วยชาม, โดนถาก ๆ เช่น
โดนหมัดเช็ดหน้าไป.
【 เช็ดน้ำ 】แปลว่า: น. เรียกวิธีหุงข้าวด้วยการรินนํ้าข้าวออกจากหม้อเพื่อให้แห้งว่า
การหุงเช็ดนํ้า.
【 เช็ดหม้อ 】แปลว่า: ก. รินนํ้าข้าวออกจากหม้อเพื่อให้แห้งในการหุงข้าวด้วยวิธีเช็ดนํ้า.
【 เช็ดหน้า 】แปลว่า: น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, กรอบเช็ดหน้า หรือ วงกบ ก็เรียก.
【 เชน 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ
นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษา
ปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและ
มังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).
【 เช่น 】แปลว่า: น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน,
ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้,
เช่นใด ว่า อย่างใด.
【 เชย 】แปลว่า: ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่
เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัด
มาเฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา;
(ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
【 เชยชม 】แปลว่า: ก. จับต้องเล้าโลม, กอดจูบ.
【 เชรา 】แปลว่า: เชฺรา น. ซอกผา, ห้วย. (ข.).
【 เชราะ 】แปลว่า: เชฺราะ น. ทาง, ซอก, ทางนํ้าเซาะ. ก. เซาะให้ลึก
เข้าไปหรือเป็นทางเข้าไป.
【 เชริด 】แปลว่า: เชฺริด น. เทริด, เครื่องสวมศีรษะ.
【 เชลง 】แปลว่า: ชะเลง ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข.).
【 เชลย 】แปลว่า: [ชะเลย] น. ผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวได้. (ข.).
【 เชลยศักดิ์ 】แปลว่า: ว. อยู่นอกทําเนียบนอกทะเบียน เช่น หมอเชลยศักดิ์นักสืบเชลยศักดิ์.
【 เชลยศึก 】แปลว่า: น. ผู้ที่ถูกคู่สงครามจับตัวได้.
【 เชลแล็ก 】แปลว่า: น. ของแข็งที่สกัดได้จากครั่ง ลักษณะเป็นแผ่นบาง สีค่อนข้าง
เหลือง ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ใช้ประโยชน์เคลือบผิววัตถุ
หรือชักเงาผิวไม้, (ปาก) ชะแล็ก. (อ. shellac).
【 เชลียง 】แปลว่า: [ชะเลียง] น. ชื่อเครื่องดินเผาที่ทํามาจากเมืองเชลียง ซึ่งอยู่ใน
อําเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย.
【 เชวง 】แปลว่า: ชะเวง ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า
ปรีชารุ่งเรือง).
【 เชษฐ- ๑ 】แปลว่า: [เชดถะ] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ).
ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺฐ), (ราชา) ถ้า ใช้ว่า พระเชษฐภคินี
หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดาหมายถึง พี่ชาย, ถ้า
ใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
【 เชษฐ- ๒ 】แปลว่า: [เชดถะ] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์เชษฐาเรียกว่า
เชษฐมาสคือ เดือน ๗ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนมิถุนายน,
ถ้าพระจันทร์เพ็ญเกี่ยวมาทางดาวฤกษ์มูลา เรียกว่า
เชษฐมูลมาส. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ, ไชฺยษฐ).
【 เชษฐ- ๓, เชษฐะ 】แปลว่า: [เชดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้างหรือ
คอนาค เช่น อัษฐรัศนักษัตรสมบุรณยล บัญญัติเชษฐดารา.
(สรรพสิทธิ์), ดาวเชษฐา ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค
หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
【 เชิงชายา ๑ 】แปลว่า: เชดถา น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.
【 เชิงชายา ๒ 】แปลว่า: [เชดถา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้าง
หรือคอนาค, ดาวเชิงชายะ ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่
ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
【 เชอ 】แปลว่า: ก. เป็นคําใช้เข้าคู่กับคํา บําเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บําเรอ
เชอภักดิ์. (ม. คําหลวง ชูชก), จํานําบําเรอเชอถนอม. (สรรพสิทธิ์).
【 เช่า 】แปลว่า: ก. เข้าใช้ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ของผู้อื่นชั่วคราว โดย
ให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
【 เช่าช่วง 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่ผู้เช่าเอาทรัพย์สินที่ตนเช่าไปให้ผู้อื่นเช่าอีกทอดหนึ่ง.
【 เช่าซื้อ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้
คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็น
สิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจํานวนเท่านั้น
เท่านี้คราว.
【 เช่าถือสวน 】แปลว่า: ก. เช่าที่สวน.
【 เช่าทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้
บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน
ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่า
ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
【 เช่าพระ 】แปลว่า: ก. ซื้อพระพุทธรูปหรือพระเครื่องไปบูชา.
【 เช้า ๑ 】แปลว่า: น. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง.
ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า;
เร็วกว่าเวลาที่กําหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า;
โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กําหนด.
【 เช้าตรู่ 】แปลว่า: น. เวลาสาง ๆ, เวลาที่แสงเงินแสงทองขึ้น, รุ่งอรุณ.
【 เช้ามืด 】แปลว่า: น. เวลาจวนสว่าง.
【 เช้า ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. กระเช้า เช่น ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า. (ม. คําหลวง มัทรี).
【 เชาว์ 】แปลว่า: ว. เร็ว. (แผลงมาจาก ป., ส. ชว).
【 เชาวน์ 】แปลว่า: [เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมา
จาก ป., ส. ชวน).
【 เชิง ๑ 】แปลว่า: น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา
เชิงกําแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น
เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้าน
ล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่นเชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
【 เชิงกรวย 】แปลว่า: (กลอน) น. กรวยเชิง เช่น ภูษาเชิงกรวยรูจี. (อิเหนา).
【 เชิงกราน 】แปลว่า: น. เตาไฟปั้นด้วยดินยกตั้งได้ มีชานสําหรับวางฟืน; เรียกกระดูก
ตะโพกที่มีสัณฐานอย่างเชิงกรานว่า กระดูกเชิงกราน.
(รูปภาพ เชิงกราน)
【 เชิงกลอน 】แปลว่า: น. ไม้ประกับปลายเต้าตลอดชายคาเรือนแบบเก่า; ไม้ประกับ
ปลายจันทันตลอดชายคาเรือนแบบใหม่ที่ไม่มีเต้า.
【 เชิงชาย 】แปลว่า: น. ไม้เครื่องเรือนรูปแบน สําหรับรับชายคาเรือนที่ไม่มีกลอน,
ถ้าเรือนมีกลอน เรียกว่า เชิงกลอน.
【 เชิงตะกอน 】แปลว่า: น. ฐานที่ทําขึ้นสําหรับเผาศพ.
【 เชิงทรง 】แปลว่า: น. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีกว่า นาเชิงทรง,
นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
【 เชิงเทิน 】แปลว่า: น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ว่างภายในป้อม
สําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือต่อสู้ข้าศึก.
【 เชิงแป 】แปลว่า: น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้รองรับกลอน.
【 เชิง ๒ 】แปลว่า: ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น
คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
【 เชิงชั้น 】แปลว่า: น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
【 เชิงเดิน 】แปลว่า: น. ค่าป่วยการที่วิ่งเต้นทําธุระให้ เรียกว่า ค่าเชิงเดิน.
【 เชิงกล 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับเครื่องกล.
【 เชิงกอบ 】แปลว่า: (โบ) ก. ผูก, มัด, จังกอบ ก็เรียก.
【 เชิงซ้อน 】แปลว่า: ว. ซับซ้อน, ซ้อนกัน, เช่น ภาพเชิงซ้อน, มีส่วนประกอบหลายอย่าง
เช่น จํานวนเชิงซ้อน.
【 เชิงเดียว 】แปลว่า: ว. ไม่ซับซ้อน, ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน.
【 เชิงเดี่ยว 】แปลว่า: ว. เดี่ยวโดด, โดดเดี่ยว, ไม่มีคู่.
【 เชิงมุม 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับมุม เช่น ระยะสูงเชิงมุม.
【 เชิงเวียน 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์).
【 เชิงอรรถ 】แปลว่า: น. คําอธิบายหรือข้ออ้างอิงที่เขียนหรือพิมพ์ไว้ที่ส่วนล่างของหน้า
หนังสือหรือตอนท้ายของเรื่อง.
【 เชิญ 】แปลว่า: ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
ความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทาน
อาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพเช่น เชิญ
พระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาต
ให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น
เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.
【 เชิด 】แปลว่า: ก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยาย
หมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคําว่า ถูกเชิด. ว. ที่ยื่น
หรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลง
ไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาไปมาอย่างรวดเร็ว
หรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง
เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขนท่าหนึ่ง.
【 เชิดจีน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 เชิดชู 】แปลว่า: ก. ยกย่อง, ชมเชย.
【 เชิดหนัง 】แปลว่า: ก. ยกชูตัวหนังตะลุงขึ้นให้เคลื่อนไหวไปตามบทบาท,ยกชูตัว
หนังใหญ่แล้วผู้เชิดเยื้องกรายประกอบไปตามบทบาท.
【 เชิดหน้าชูตา 】แปลว่า: ก. ทําให้มีหน้ามีตาขึ้น, ชูหน้าชูตา ก็ว่า.
【 เชิดหุ่น 】แปลว่า: ก. ยกชูหุ่นขึ้นให้แสดงกิริยาท่าทางไปตามบทบาท.
【 เชิ้ต 】แปลว่า: น. เสื้อคอปกชนิดหนึ่ง. (อ. shirt).
【 เชีย 】แปลว่า: (โบ) ก. ไหว้ เช่น เชียเชิงเจ้าพ่อผัวแม่แง่. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 เชี้ย 】แปลว่า: (โบ) ก. เชื้อ, มักใช้ประกอบกับคํา เชิญ เป็น เชี้ยเชิญ.
【 เชียง ๑ 】แปลว่า: น. คําเรียกเมืองทางภาคพายัพและเหนือขึ้นไป เช่น เชียงใหม่
เชียงราย เชียงตุง.
【 เชียง ๒ 】แปลว่า: น. เรียกเครื่องหอมชนิดหนึ่งว่า ชะมดเชียง. /(ดู ชะมดเชียง)./
【 เชียง ๓ 】แปลว่า: น. โกฐเชียง. /(ดู โกฐเชียง ที่ โกฐ)./
【 เชียด 】แปลว่า: (ปาก) น. พ่อหรือแม่ของทวด, เทียด ก็ว่า.
【 เชี่ยน, เชี่ยนหมาก 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับใส่เครื่องหมากพลู.
【 เชียบ 】แปลว่า: ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
【 เชี่ยม 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เชียร ๑ 】แปลว่า: ว. แก่ครํ่าคร่า, ชํารุด. (แผลงมาจาก ชีระ).
【 เชียร ๒ 】แปลว่า: ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า. (แช่งนํ้า).
(แผลงมาจาก ชีระ).
【 เชียร์ 】แปลว่า: ก. ให้กำลังใจด้วยการตะโกนโห่ร้อง ใช้ในการแข่งขัน (อ. cheer).
【 เชียรณ์ 】แปลว่า: ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ. (แผลงมาจาก ชีรณ).
【 เชียว 】แปลว่า: ว. เทียว, ทีเดียว.
【 เชี่ยว 】แปลว่า: ว. อาการที่สายนํ้าไหลแรง เรียกว่า นํ้าไหลเชี่ยว.
【 เชี่ยวชาญ 】แปลว่า: ว. สันทัดจัดเจน, ชํ่าชอง, มีความชํานิชํานาญมาก.
【 เชื่อ 】แปลว่า: ก. เห็นตามด้วย, มั่นใจ, ไว้ใจ; ซื้อหรือขายโดยติดค้างไว้ ไม่ต้อง
ชําระเงินทันที.
【 เชื่อใจ 】แปลว่า: ก. ไว้ใจ.
【 เชื่อถือ 】แปลว่า: ก. นับถือ.
【 เชื่อฟัง 】แปลว่า: ก. ทําตามหรือประพฤติตามคําสั่งหรือคําสอน.
【 เชื่อมือ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เชื่อฝีมือ, เชื่อความรู้ความสามารถ.
【 เชื้อ ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน
เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือเผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา
เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
【 เชื้อชาติ 】แปลว่า: น. ผู้ที่ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน.
【 เชื้อเพลิง 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําให้ไฟติดง่าย; สิ่งที่ทําให้เกิดการเผาไหม้.
【 เชื้อไฟ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําให้ไฟติดง่ายเช่นกระดาษหรือไม้ที่เกรียกเป็นชิ้นเล็ก ๆ.
【 เชื้อไม่ทิ้งแถว 】แปลว่า: (สํา) ว. เป็นไปตามเผ่าพันธุ์.
【 เชื้อรา 】แปลว่า: น. เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในกลุ่มพืชชั้นตํ่า บางชนิดทําให้เกิดโรค เช่น
กลาก เกลื้อนได้.
【 เชื้อโรค 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีชีวิต เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์แล้วทําให้เกิดโรค
ได้; (กฎ) เชื้อจุลินทรีย์หรือผลิตผลจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค
ในคนหรือสัตว์.
【 เชื้อสาย 】แปลว่า: น. เผ่าพันธุ์.
【 เชื้อหมัก 】แปลว่า: น. จุลินทรีย์พวกราที่มีขนาดเล็ก สามารถเปลี่ยนนํ้าตาลให้เป็น
แอลกอฮอล์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้. (อ. yeast).
【 เชื้อ ๒ 】แปลว่า: ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่
กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้
เนื่องในการอธิษฐาน.
【 เชื้อเชิญ 】แปลว่า: ก. เชิญด้วยความสุภาพ, เชิญด้วยความอ่อนน้อม.
【 เชือก 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําด้วยด้ายหรือป่านปอเป็นต้น มักฟั่นหรือตีเกลียว
สําหรับผูกหรือมัด; ลักษณนามเรียกช้างบ้าน เช่น ช้างเชือกหนึ่ง
ช้าง ๒ เชือก.
【 เชือกเขา 】แปลว่า: น. เถาวัลย์.
【 เชือกบาศ 】แปลว่า: น. เชือกที่ทําเป็นบ่วงผูกปลายไม้คันจามสําหรับคล้องเท้าช้าง.
【 เชื่อง 】แปลว่า: ว. ไม่เปรียว, ที่คุ้นกับคน, (ใช้แก่สัตว์).
【 เชื่องช้า 】แปลว่า: ว. อืดอาด, ยืดยาด, ไม่ว่องไว.
【 เชือด 】แปลว่า: ก. ใช้ของมีคมเช่นมีดโกนตัดให้ลึกเข้าไปในเนื้อ เช่น เชือดคอ.
【 เชือน 】แปลว่า: ว. ชักช้า.
【 เชือนแช 】แปลว่า: ว. ไถล, เถลไถลไม่ตรงไปตรงมา, แชเชือน ก็ว่า.
【 เชื่อม ๑ 】แปลว่า: ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว
ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย,
เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม.
ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ
เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ
ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
【 เชื่อม ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทําให้ประสาน
กัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
【 เชื่อม ๓ 】แปลว่า: ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
【 เชื่อวัน 】แปลว่า: ว. คําใช้เข้าคู่กับคํา ทุกเมื่อ เป็น ทุกเมื่อเชื่อวัน หมายความว่า
ทุกขณะ, ทุกวัน, เสมอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 แช 】แปลว่า: ว. เถลไถลไม่ตรงไปตรงมา, มักใช้เข้าคู่กับคํา เชือน เป็น
แชเชือน หรือ เชือนแช.
【 แช่ 】แปลว่า: ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่ชักช้า
อยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
【 แช่เบ้า 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ทําประโยชน์อะไร.
【 แช่เย็น 】แปลว่า: ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า
เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
【 แช่อิ่ม 】แปลว่า: ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
【 แช่ง 】แปลว่า: ก. กล่าวด้วยตั้งใจมุ่งร้ายเพื่อให้เขาเป็นเช่นนั้น.
【 แช่งชักหักกระดูก 】แปลว่า: ก. แช่งด่ามุ่งร้ายให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง.
【 แช่งน้ำ 】แปลว่า: น. พิธีทํานํ้าให้ศักดิ์สิทธิ์ในการถือนํ้า.
【 แชงมา 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.
【 แชบ๊วย 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด /Penaeus merguiensis/ ในวงศ์ Penaeidae
ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดํา ตัวสีอ่อนใส เปลือกขาว พบทั่วไป
ในทะเลชายฝั่งและในนํ้ากร่อย.
【 แช่ม 】แปลว่า: ว. แจ่มใส, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น แช่มช้อย แช่มชื่น.
【 แช่มช้อย 】แปลว่า: ว. มีกิริยามารยาทนุ่มนวลน่ารัก.
【 แช่มชื่น 】แปลว่า: ว. มีสีหน้าแจ่มใสเบิกบาน.
【 แชร์ 】แปลว่า: น. การลงหุ้นเป็นจํานวนเงินและตามวาระที่กําหนดแล้วประมูล
ว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงิน
ก่อน เวียนไปจนครบจํานวนผู้เล่น, เรียกการลงหุ้นเช่นนั้นว่า
เล่นแชร์. (อ. share).
【 แชรง 】แปลว่า: แชฺรง ก. แซง.
【 แชล่ม 】แปลว่า: [ชะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แฉล้ม หรือ แสล้ม ก็ใช้.
【 แชสซี 】แปลว่า: น. โครงของรถยนต์ตามความยาวตัวถังรถ ทำด้วยโลหะแข็งแรง
ซึ่งไม่รวมตัวถังเครื่องยนต์ และล้อ, คัสซี ก็ว่า (อ. chassis).
【 แชะ 】แปลว่า: (โบ) ว. แฉะ เช่น บเปื้อนแชะชํชล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 โชก, โชก ๆ 】แปลว่า: ว. มากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เสื้อเปียกโชก เหงื่อโชก
ราดนํ้าแกงโชก ๆ.
【 โชกโชน 】แปลว่า: (ปาก) ว. ลักษณะที่ได้ผ่านการต่อสู้หรือมีประสบการณ์มาอย่าง
มากมายเช่น ต่อสู้มาอย่างโชกโชน ผจญภัยมาอย่างโชกโชน.
【 โชค 】แปลว่า: น. สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย,
มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
【 โชงโลง 】แปลว่า: น. เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับ
ขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, ชงโลง ก็ว่า,
(ถิ่นอีสาน) กะโซ้.
【 โชดก 】แปลว่า: น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป. โชตก).
【 โชดึก 】แปลว่า: น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป. โชติก).
【 โชต 】แปลว่า: ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลง. (ป.).
【 โชตกะ 】แปลว่า: [โชตะกะ] น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป.).
【 โชติ, โชติ 】แปลว่า: [โชด, โชติ] น. ความรุ่งเรือง, ความโพลง, ความสว่าง.
(ป.; ส. โชฺยติสฺ).
【 โชติช่วง 】แปลว่า: [โชด] ว. สว่างรุ่งโรจน์, ช่วงโชติ ก็ว่า.
【 โชติรส 】แปลว่า: [โชติ] น. แก้ววิเศษชนิดหนึ่งมีรัศมีรุ่งเรือง. (ป.).
【 โชติก 】แปลว่า: [โชติกะ] น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป.).
【 โชน 】แปลว่า: ว. อาการที่ไหม้ทั่วเต็มที่ เช่น ไฟลุกโชน; แรง, เร็ว, เช่น
ไหลโชน พุ่งโชน.
【 โชมโรม 】แปลว่า: น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคล
ที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น
โชมโรมนักวรรณศิลป์ โชมโรมพุทธศาสตร์; ชมรม ก็ว่า.
【 โชย, โชยชาย 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมพัดอ่อน ๆ เช่น ลมโชย กลิ่นโชย; เดินกรีดกราย.
【 โชยงการ 】แปลว่า: [ชะโยง] (กลอน; ตัดมาจาก ราชโยงการ) น. พระดํารัสของ
พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ภูวไนยผายโอษฐอื้นโชยงการ.
(ตะเลงพ่าย).
【 โชยติส 】แปลว่า: [ชะโยติด] น. ดาราศาสตร์. (ส.; ป. โชติ).
【 โชรม 】แปลว่า: โชฺรม ก. โซม.
【 โชว์ 】แปลว่า: ก. เปิดอวดให้ดู, แสดงให้คนทั่วไปได้ดูได้ชม เช่น โชว์สินค้า.
(อ. show).
【 โชโหว 】แปลว่า: /ดู อีเพา/.
【 ใช่ 】แปลว่า: ว. คํารับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่;
บางทีก็ใช้เป็นคําปฏิเสธหมายความว่า ไม่ใช่ เช่น ใช่คน
ใช่สัตว์ ใช่ว่า.
【 ใช้ 】แปลว่า: ก. บังคับให้ทํา เช่น ใช้งาน; จับจ่าย เช่น ใช้เงิน; เอามาทํา
ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เรือ ใช้รถ; ชําระ ในคําว่า ใช้หนี้;
ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เมื่อเขาเลี้ยงเราเราต้องเลี้ยงใช้เขา.
【 ใช้กรรม 】แปลว่า: ก. ชดใช้กรรมที่ได้ทําไว้.
【 ใช้กำลังประทุษร้าย 】แปลว่า: (กฎ) ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะ
ทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมถึง
การกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่
ไม่สามารถขัดขืนได้ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต
หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน.
【 ใช้ได้ 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างดี.
【 ใช้เนื้อ 】แปลว่า: ก. จ่ายให้หรือทดแทนส่วนที่ขาดไป.
【 ใช้บน 】แปลว่า: ก. แก้บน.
【 ใช้ใบ 】แปลว่า: ก. กางใบแล่นเรือ.
【 ใช้เรือ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ใช้สอย 】แปลว่า: ก. เอามาทําให้เกิดประโยชน์, จับจ่าย, บังคับให้ทํา.
【 ไช 】แปลว่า: ก. เจาะเข้าไป เช่น หนอนไช ไชรู, แยงเข้าไป เช่น เอานิ้วไชจมูก.
【 ไช้เท้า 】แปลว่า: น. ผักกาดหัว. /(ดู กาด ๑)./
【 ไชนะ 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ, ชิน หรือ
เชน ก็ว่า. (ส.).
【 ไชย, ไชย 】แปลว่า: [ไช, ไชยะ] ว. ดีกว่า, เจริญกว่า. (ป., ส. เชยฺย).
【 ไชยเภท 】แปลว่า: [ไชยะเพด] น. เด็กที่มีอายุแต่เดือนที่ ๑ ไป.
【 ไชโย 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพรเป็นต้น.

【 ชั่วแล่น 】แปลว่า: น. ระยะเวลาที่เป็นไปชั่วครู่ชั่วคราว.
【 ชั่ว ๒ 】แปลว่า: ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณี
เป็นต้น เช่น คนชั่ว.
【 ชั่วช้า 】แปลว่า: ว. เลวทราม.
【 ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ 】แปลว่า: (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
【 ชั่ว ๓ 】แปลว่า: บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
【 ชั่วนาตาปี 】แปลว่า: ว. ตลอดปี.
【 ชั้ว ๑ 】แปลว่า: น. ที่สําหรับวางตั้งของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานข้างตลอด
เป็นเชิง.
【 ชั้ว ๒ 】แปลว่า: น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และขาย ๑ ประตู
โปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่
ลูกค้าขายเจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่น นอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย.
【 ชัวชม 】แปลว่า: ก. ชื่นชม, รื่นรมย์, ชมชัว ก็ว่า.
【 ชั่วแต่ว่า 】แปลว่า: ว. เสียแต่ว่า, เว้นแต่ว่า, เพียงแต่ว่า.
【 ชา ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Camellia sinensis/ (L.) Kuntze
ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็น
เครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดใน
หลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (/Acalypha/
/siamensis/ Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยม
ปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [/Carmona retusa/ (Vahl)
Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (/Malpighia/
/coccigera/ L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
【 ชา ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึก
ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่
จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
【 ชาเย็น 】แปลว่า: ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการ
ชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.
【 ชา ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและ
นํ้าหอมเป็นต้น.
【 ชา ๔ 】แปลว่า: ก. หมายไว้, กําหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลาง
ลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคํา กฎ เป็น กําหนด
กฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก),
เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบ เรือชา. (สมุทรโฆษ).
【 ชา ๕ 】แปลว่า: ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย,
ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
【 ชา ๖ 】แปลว่า: ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
【 ช้า ๑ 】แปลว่า: ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า; ล่า,
ไม่ทันเวลาที่กําหนด, เช่น มาช้า.
【 ช้าก่อน 】แปลว่า: เป็นคําขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน.
【 ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม 】แปลว่า: (สํา) ว. ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทําแล้วจะสําเร็จผล.
【 ช้านาน 】แปลว่า: ว. ล่วงเลยมานานแล้ว (ใช้แก่เวลา).
【 ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ 】แปลว่า: (สํา) ว. ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทํา ดีกว่าด่วนทํา.
【 ช้า ๒ 】แปลว่า: ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคย
ลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
【 ช้า ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร
อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ
ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
【 ช้านางนอน 】แปลว่า: น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
【 ช้าลูกหลวง 】แปลว่า: น. การขับร้องเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอที่ขึ้นพระอู่.
【 ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมในพิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมัก
เรียกว่า กล่อมหงส์.
【 ชาคระ 】แปลว่า: ชาคะระ น. ความเพียร, ความตื่นอยู่. (ป., ส.).
【 ชาคริต 】แปลว่า: [–คฺริด] ก. ตื่น, ระวัง. (ส.).
【 ชาคริยานุโยค 】แปลว่า: [ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชําระใจ
ให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).
【 ช่าง ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อ
ช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด
ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ
ช่าง เก่งจริง ๆ.
【 ช่างเครื่อง 】แปลว่า: น. ผู้ควบคุมเครื่อง.
【 ช่างฝีมือ 】แปลว่า: น. ผู้มีความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยเฉพาะด้านหัตถกรรม
เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และวิศวกรรม.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!