พจนานุกรม ไทย – ไทย ก

【 กัลยาเยี่ยมห้อง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 กัลยาณ – 】แปลว่า: [กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ
= คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี.
(ป., ส.).
【 กัลยาณมิตร 】แปลว่า: [กันละยานะมิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 กัลยาณี 】แปลว่า: [กันละยานี] น. นางงาม, หญิงงาม. (ป., ส.).
【 กัลเว้า 】แปลว่า: [กันเว้า] ว. พูดอ่อนหวาน, พูดเอาใจ, เช่น ก็มีพระราชโองการ
อนนกัลเว้า. (ม. คําหลวง มหาราช).
【 กัลหาย 】แปลว่า: [กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนน จวนจวบ
สร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 กัลโหย 】แปลว่า: [กัน-] ก. กรรโหย เช่น สารเสียงหงสกัลโหย. (สมุทรโฆษ).
【 กัลออม 】แปลว่า: [กันละ – ] น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง
ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ, กะออม กระออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
【 กัลเอา 】แปลว่า: [กัน-] ว. กรรเอา, กลมกล่อม. (ข. กฺรเอา).
【 กัศมล 】แปลว่า: กัดสะมน ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์
นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
【 กัศยป 】แปลว่า: กัดสะหฺยบ น. เต่า. (ส.).
【 กัษณ 】แปลว่า: กัดสะหฺนะ น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ.
(ม. คําหลวง สักบรรพ).
【 กา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Corvus macrorhynchos/ ในวงศ์ Corvidae ตัวดํา
ร้องกา ๆ, อีกา ก็เรียก; ชื่อดาวฤกษ์ธนิษฐา เช่น แม้นดาวกามา
ใกล้ในมนุษย์. (อภัย).
【 กาคาบพริก 】แปลว่า: (สํา) ว. ลักษณะที่คนผิวดําแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง.
【 กาจับหลัก ๑ 】แปลว่า: น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลักมีวัตถุ
รูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้ายของ
โบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น
เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
【 กาฟักไข่ 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้นสมมุติ
เป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษา
สิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
【 กาลักน้ำ 】แปลว่า: น. เครื่องมืออย่างง่ายซึ่งอาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ถ่ายเท
ของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อที่ใช้ถ่ายเทของเหลว
จากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ต่ากว่า โดยไหลผ่านระดับที่สูงกว่าระดับ
ทั้ง ๒ นั้น. (อ. siphon).
【 กาสัก ๑ 】แปลว่า: น. นกที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์กายสิทธิ์บินมาไม่เห็นตัว ถ้าได้ขน
มันไว้ก็หายตัวได้.
【 กาหลงรัง 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอม
กลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
**
【 กา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Morulius chrysophekadion/ ในวงศ์
Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบ
มีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย
ก็เรียก.
【 กา ๓ 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสําหรับหิ้วหรือจับ,
ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
【 กาเวียน 】แปลว่า: น. กาต้มน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในถังซึ่งมีเตาไฟ.
【 กา ๔ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๐.
【 กา ๕ 】แปลว่า: ก. ทําเครื่องหมายเป็นรูปกากบาท, ทำเครื่องหมายไว้ให้สังเกตได้
เช่น ดูเฉพาะที่กาไว้.
【 กาชาด 】แปลว่า: น. เครื่องหมายรูปกากบาท ( + ) สีแดงชาดบนพื้นขาว เป็น
เครื่องหมายกาชาดสากล.
【 ก๋า ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่ทําท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า.
【 ก๋ากั่น 】แปลว่า: ว. อวดกล้า (มักใช้แก่ผู้หญิง).
【 ก๋า ๒ 】แปลว่า: /ดู หมอช้างเหยียบ/.
【 กาก 】แปลว่า: น. สิ่งที่เหลือเมื่อคั้นหรือคัดเอาส่วนดีออกแล้ว เช่น กากมะพร้าว;
หยากเยื่อ; เดนเลือก (ใช้เป็นคําด่า) เช่น กากมนุษย์ คนกาก.
【 กากขยาก 】แปลว่า: น. กากที่หยาบ, หยากเยื่อ.
【 กากข้าว 】แปลว่า: น. ข้าวเปลือกที่ปนอยู่ในข้าวสารหรือข้าวสุก.
【 กากเพชร 】แปลว่า: น. ส่วนของเพชรที่คัดออก; ผงแวววาวคล้ายกระจกสําหรับ
โรยแต่งเครื่องประดับเป็นต้น; เครื่องใช้ตัดกระจก; เครื่องใช้
เจียระไนรัตนชาติ; เครื่องบดวาล์ว, เรียกเครื่องลับมีดเป็นต้น
ชนิดหนึ่ง ว่า หินกากเพชร.
【 กากรุน, กากกะรุน 】แปลว่า: น. ผงของกะรุนที่เอามาผสมครั่งขัดของแข็งเช่นป้าน.
【 กากหมู 】แปลว่า: น. มันหมูที่เจียวเอาน้ำมันออกแล้ว.
【 กาก-, กากะ 】แปลว่า: (แบบ) น. กา (นก). (ป., ส.).
【 กากคติ 】แปลว่า: [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอนอย่างกา
ที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน
ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา.
(ชุมนุมตํารากลอน).
【 กากณึก 】แปลว่า: [กากะหฺนึก] น. ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกาพาไปได้;
ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด. (ป. กากณิกา).
【 กากบาท 】แปลว่า: [กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x ;
ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
【 กากภาษา 】แปลว่า: [กากะพาสา] น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์ เศียร
เป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา. (คําพากย์).
【 กากะทิง 】แปลว่า: /ดู กระทิง ๒/.
【 กากะเยีย 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับวางหนังสือใบลาน ทําด้วยไม้ ๘ อันร้อยเชือก
ไขว้กัน.
(รูปภาพ กากะเยีย)
【 กากี ๑ 】แปลว่า: น. กาตัวเมีย. (ป., ส.).
【 กากี ๒ 】แปลว่า: น. หญิงมากชู้หลายผัว. (เป็นคําด่า มีเค้าเรื่องมาจาก กากาติชาดก).
【 กากี ๓ 】แปลว่า: ว. สีน้าตาลปนเหลือง, สีสนิมเหล็ก.
【 กากีแกมเขียว 】แปลว่า: ว. สีเขียวขี้ม้า.
【 กาง ๑ 】แปลว่า: ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป
เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก
เช่น กางหนังสือ. ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก
หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.
【 กางเวียน 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม
หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม
ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลม
ทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน
หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้า
ทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคลทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
【 กาง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคาง. /(ดู คาง ๒)./
【 กางขี้มอด 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Acrocarpus fraxinifolius/
Wight et Arn.ในวงศ์ Leguminosae มีฝักแบน ๆ, ขางแดง
หรือ แดงน้ำ ก็เรียก.
【 ก้าง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนแข็งที่ประกอบเป็นโครงร่างของปลา โดยปรกติหมาย
เอาชิ้นที่แหลมเล็ก ๆ.
【 ก้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Channa gachua/ ในวงศ์ Channidae
คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน
เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ดขอบ
ครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
【 ก้าง ๓ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กั้ง, กั้น, ขวาง, เช่น สองท้าวยินสองสายใจ
จักก้างกลใด บดีบันโดยดังถวิล. (สรรพสิทธิ์).
【 ก้างขวางคอ 】แปลว่า: น. ผู้ขัดขวางมิให้ทําการได้สะดวก, ผู้ขัดขวางให้ผู้อื่นเสียประโยชน์.
【 กางเกง 】แปลว่า: น. เครื่องนุ่งมี ๒ ขา.
【 กางเกียง 】แปลว่า: ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, รวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง
ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไป
จากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง
หรือ กําเกียง ก็ว่า.
【 กางเกี่ยง 】แปลว่า: /ดู กางเกียง/.
【 กางของ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นปีบ. /(ดู ปีบ ๑)./
【 กางเขน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Copsychus saularis/ ในวงศ์ Turdidae ตัวขนาด
นกปรอด ส่วนบนลําตัวสีดํา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปสี
ขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ
กินแมลง, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้.
【 ก้างปลา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Phyllanthus/ และ /Securinega/
วงศ์ Euphorbiaceae ใบยาวรี ปลายใบทู่ ออกดอกเป็นกลุ่ม
อยู่ตามง่ามใบแถวปลายกิ่ง ชนิดผลสีขาว เรียก ก้างปลาขาว
(/S. virosa/ Baill.) ชนิดผลสีคล้ำ เรียก ก้างปลาแดง
(/S. leucopyrus/ Muell. Arg.) และชนิด /P. reticulatus/ Poir.
ชนิดหลังนี้เรียกกันว่า ก้างปลาเครือ ใช้ทํายาได้.
【 กาจับหลัก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กา ๑/.
【 กาจับหลัก ๒ 】แปลว่า: (๑) /ดู กาสามปีก (๑)./ (๒) /ดู ราชดัด./
【 ก๊าซ 】แปลว่า: น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ
ปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจาก
การจุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยา
กับน้ำว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. (อ. gas).
【 ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า 】แปลว่า: น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S
เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย
กํามะถันในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ในบ่อน้ำร้อน
และในแหล่งน้ำแร่บางแห่ง. (อ. hydrogen sulphide).
【 ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อย 】แปลว่า: น. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม
นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก
ก๊าซมีตระกูล, แก๊สมีตระกูล (noble gases) หรือ ก๊าซหายาก,
แก๊สหายาก (rare gases). (อ. inert gases).
【 ก๊าซชีวภาพ, แก๊สชีวภาพ 】แปลว่า: น. แก๊สที่เกิดจากการเสื่อมสลายผุพังของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่ง
ที่สืบเนื่องจากสิ่งมีชีวิต ติดไฟได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นต้น.
【 ก๊าซน้ำตา, แก๊สน้ำตา 】แปลว่า: น. สารที่อยู่ในสภาพที่แพร่กระจายเป็นไอหรือควันทําให้ระคาย
เคืองนัยน์ตาอย่างรุนแรง น้ำตาไหล และมองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่ง.
(อ. tear gas).
【 ก๊าซหุงต้ม, แก๊สหุงต้ม 】แปลว่า: น. แก๊สที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่ติดไฟได้ง่าย ใช้ในการหุงต้ม
เป็นต้น.
【 กาซะลอง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นปีบ. /(ดู ปีบ ๑)./
【 กาซะลองคำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Radermachera ignea/ (Kurz) Steenis
ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้น
ทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง,
อ้อยช้าง ก็เรียก.
【 กาญจน-, กาญจนา 】แปลว่า: กานจะนะ- น. ทอง. (ส.; ป. ก?ฺจน).
【 กาญจนาภิเษก 】แปลว่า: น. พระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินกระทำเมื่อครองราชสมบัติ
ได้ ๕๐ ปี.
【 กาฐ 】แปลว่า: กาด น. ไม้ฟืน เช่น คือโกยกาฐอันกองแลนองธรณิภาค
กลาดกล่นถกลหลาก อนันต์. (สรรพสิทธิ์), กาษฐะ ก็ใช้.
(ป. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
【 กาด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุล บางชนิดใช้ใบ บางชนิดใช้หัว
เป็นผัก เช่น ผักกาดกวางตุ้ง (/Brassica chinensis/ Jusl.) ผักกาดขม
หรือ ผักกาดเขียว (/B. juncea/ Czern. et Coss.) ผักกาดขาว หรือ
แป๊ะช่าย (/B. chinensis/ Jusl. var. /pekinensis/ Rupr.) ผักกาดหัว
หรือไช้เท้า (/Raphanus sativus/ L.) ในวงศ์ Cruciferae, ผักกาดหอม
(/Lactuca sativa/ L.) ในวงศ์ Compositae, ผักเหล่านี้เป็นพรรณไม้
ที่นําเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร.
【 กาด ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ตลาด.
【 ก๊าด 】แปลว่า: น. เรียกน้ำมันชนิดหนึ่งที่ใช้ตามตะเกียงว่า น้ำมันก๊าด. (อ. kerosene).
【 กาน 】แปลว่า: ก. ตัดเพื่อให้แตกใหม่ เช่น กานต้นมะขาม, ตัดเพื่อให้ลําต้นเปลา
เช่น กานต้นสน; ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้ยืนต้นตาย
เช่น กานต้นสัก, ควั่นเปลือกและกระพี้ต้นไม้เพื่อให้มีลูก เช่น
กานต้นมะพร้าว.
【 ก่าน 】แปลว่า: ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหาง
นวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า,
กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตน
สื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ก้าน ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด; กระดูกกลางแห่ง
ใบไม้บางอย่าง เช่น มะพร้าวจาก.
【 ก้านขด 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่งที่เขียนเป็นลายขดไปขดมา.
【 ก้านแข็ง 】แปลว่า: น. เรียกกําไลชนิดหนึ่งว่า กําไลก้านแข็ง.
【 ก้านคอ 】แปลว่า: น. ลําคอด้านหลัง.
【 ก้านตอง 】แปลว่า: น. ไม้ขนาบข้างเรือรูปกลม ๆ คล้ายทางกล้วย.
【 ก้านต่อดอก 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบท
ชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทม
กรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พร่ากําสรวลครวญ.
【 ก้านบัว 】แปลว่า: น. กําไลเท้า.
【 ก้านแย่ง 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปโครงเป็นตาข่าย แย่งดอกแย่งก้านกัน.
【 ก้าน ๒ 】แปลว่า: น. ก่าน, กล้า, เช่น รู้ไป่ทันแก่ก้าน กล่าวถ้อยกลางสนาม.
(โลกนิติ).
【 ก๊าน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ค้าน, แพ้, สู้ไม่ได้, เช่น ก๊านพ่ายหนี.
【 กานดา 】แปลว่า: น. หญิงที่รัก. (ส. กานฺตา; ป. กนฺตา).
【 กานต์ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส
เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึก
ที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของ
พระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. (ส.).
【 กานท, กานท์ 】แปลว่า: (โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ.
(ยวนพ่าย).
【 กานน ๑ 】แปลว่า: -นน น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
【 กานน ๒ 】แปลว่า: [-นน] ดู ตีนนก (๑).
【 ก้านพร้าว 】แปลว่า: น. โกฐก้านพร้าว. /(ดู โกฐก้านพร้าว ที่ โกฐ)./
【 กานพลู 】แปลว่า: [-พฺลู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Syzygium aromaticum/ (L.)
Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน
ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทํายา. (ทมิฬ กิรามบู).
【 ก้านมะพร้าว 】แปลว่า: /ดู ทางมะพร้าว/.
【 ก้านยาว 】แปลว่า: น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง; (ปาก) ผู้ที่มีรูปร่างผอมสูงกว่าปรกติ.
【 ก้านเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Nauclea orientalis/
(L.) L. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระทุ่ม ขึ้นตามริมน้ำ
เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ในการก่อสร้าง.
【 กาน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Canarium album/ (Lour.) Raeusch. ในวงศ์
Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกําเนิด
ในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก.
【 กาน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Phalacrocoracidae ตัวสีดํา คอยาว ว่ายน้ำ
เหมือนเป็ด ดําน้ำจับปลากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง
ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กาน้ำใหญ่ (/Phalacrocorax carbo/)
กาน้ำปากยาว (/P. fuscicollis/) และ กาน้ำเล็ก (/P. niger/).
【 กาบ ๑ 】แปลว่า: น. เปลือกหุ้มชั้นนอกของผล ช่อดอก หรือลําต้นของต้นไม้
บางชนิด ลอกออกได้ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย,
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น.
【 กาบเขียง 】แปลว่า: น. ส่วนที่หุ้มจั่นหมาก จั่นมะพร้าว.
【 กาบปูเล 】แปลว่า: น. ส่วนล่างของทางใบที่หุ้มรอบลําต้นหมากเมื่อแก่จัด
แล้วหลุดลงมา.
【 กาบพรหมศร 】แปลว่า: น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่งที่ประกอบกับโคนเสา เช่น
เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร.
【 กาบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Unionidae
และ Amblemidae เปลือกบางหรือหนาแล้วแต่ชนิดและวัย
มีหลายขนาด ผิวนอกเป็นสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ด้านใน
เป็นมุก เช่น ชนิด /Chamberlainia hainesiana/, กาบน้ำจืด ก็เรียก.
【 กาบ ๓ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือตรงกับเลข ๑.
【 ก้าบ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องของเป็ด.
【 กาบกี้ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่ชนิด /Uniandra contradens/ ในวงศ์
Amblemidae เป็นหอยกาบขนาดกลาง, กี ก็เรียก.
【 กาบคู่ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกหอยในชั้น Bivalvia หรือ Pelecypoda เปลือกหุ้ม
ตัวมีลักษณะเป็น ๒ กาบ ปิดและเปิดได้.
【 กาบเดียว, กาบเดี่ยว 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกหอยในชั้น Gastropoda มีเปลือกต่อกันเป็นชิ้นเดียว
โดยเวียนเป็นวงซ้อนกัน และมีช่องให้ตัวหอยโผล่ออกมาจาก
เปลือกได้.
【 กาบน้ำจืด 】แปลว่า: /ดู กาบ ๒/.
【 กาบบัว 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด /Mycteria leucocephala/ ในวงศ์
Ciconiidae ตัวใหญ่ คอและขายาว ลําตัว หัว และคอสีขาว
มีแถบดําคาดขวางหน้าอก ขนคลุมปีก ตอนปลายสีชมพู
ปากยาวสีเหลือง อาศัยอยู่ตามบึงและหนองน้ำ กินปลา.
【 กาบหอยแครง 】แปลว่า: /ดู ว่านกาบหอย ที่ ว่าน/.
【 กาบุรุษ 】แปลว่า: กาบุหฺรุด น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
【 กาบู 】แปลว่า: น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่น
วางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบน
มีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้น
เป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับ
ระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็น
แผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย
ก็เรียก.
【 กาเปี้ยด 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ต้นหนอนตายหยาก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กาฝาก 】แปลว่า: น. ชื่อพืชเบียนหลายชนิดในหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดน้ำและ
แร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้อื่น
ส่วนใหญ่มักใช้เรียกไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ
ในวงศ์ Loranthaceae, Santalaceae และ Viscaceae.
【 กาพย์ 】แปลว่า: น. คําร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น กาพย์ฉบัง
กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี กาพย์ขับไม้. (ส. กาวฺย).
กาพย์กลอน น. คําร้อยกรอง.
【 กาเฟอีน 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทพิวรีน มีสูตรเคมี C8H10O2N4
ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีในใบชา เมล็ดกาแฟ เป็นยาเสพติด
อย่างอ่อน มีฤทธิ์อย่างแรงต่อหัวใจ ใช้ในการแพทย์. (ฝ. caf้ine).
【 กาแฟ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ทํามาจากเมล็ดต้นกาแฟ.
【 กาแฟ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Coffea/ วงศ์ Rubiaceae เช่น
ชนิด /C. arabica/ L., /C. canephora/ Pierre ex Froehner
และ /C. liberica/ Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่
ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ
เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี
ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
【 กาม, กาม- 】แปลว่า: [กามมะ-] น. ความใคร่, ความใคร่ทางเมถุน. (ป., ส.).
【 กามกรีฑา 】แปลว่า: น. ชั้นเชิงในทางกาม. (ส.).
【 กามกิจ 】แปลว่า: น. การร่วมประเวณี.
【 กามคุณ 】แปลว่า: น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส;
ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
【 กามฉันท์ 】แปลว่า: น. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
【 กามตัณหา 】แปลว่า: น. ความอยากในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
【 กามท- 】แปลว่า: [กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช
จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง. (ม. คําหลวง
หิมพานต์). (ป., ส.).
【 กามเทพ 】แปลว่า: น. เทพเจ้าแห่งความรัก. (ป.).
【 กามน 】แปลว่า: [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน.
(สุธน). (ป., ส.).
【 กามภพ 】แปลว่า: น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม
ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ)
มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา
ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑,
กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
【 กามราค, กามราคะ 】แปลว่า: [กามมะราก, กามมะ-] น. ความกําหนัดในกาม. (ป., ส.).
【 กามโรค 】แปลว่า: น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกันโดยใช้
สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ
หรือ โรคผู้หญิง.
【 กามวิตก 】แปลว่า: น. ความครุ่นคิดในกาม, ความคิดคำนึงในทางกาม. (ป.).
【 กามวิตถาร 】แปลว่า: [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ,
การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติ
ทางเพศเช่นนั้น.
【 กามสมังคี 】แปลว่า: ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข.
(ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
【 กามัช 】แปลว่า: ว. เกิดแต่กาม. (ป., ส.).
【 กามา 】แปลว่า: (กลอน) น. กาม เช่น เข้าแต่หอล่อกามา. (มูลบท).
【 กามาทีนพ 】แปลว่า: น. โทษแห่งกาม. (ป. กาม + อาทีนว).
【 กามาพจร, กามาวจร 】แปลว่า: ว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
【 กามามิศ 】แปลว่า: น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
【 กามารมณ์ 】แปลว่า: น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. (ป. กาม + อารฺมณ).
【 กามิศ, กาเมศ 】แปลว่า: ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยัง ติดแม่.
(ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย. (ทวาทศมาส).
【 กาโมทย 】แปลว่า: -โมด ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่ง
ความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณี
สาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
【 ก้าม 】แปลว่า: น. อวัยวะของสัตว์บางชนิดเช่นปูและกุ้ง สําหรับหนีบอาหารเป็นต้น.
【 ก้ามกราม 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด /Macrobrachium rosenbergii/ ในวงศ์ Palaemonidae
ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามสีฟ้า มีหนาม วางไข่ในน้ำกร่อย,
กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
【 ก้ามกุ้ง 】แปลว่า: /ดู ผกากรอง/.
【 ก้ามเกลี้ยง 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด /Macrobrachium sintangense/ ในวงศ์
Palaemonidae ตัวเล็กกว่ากุ้งก้ามกราม ก้ามเล็กเรียบไม่มีหนาม.
【 ก้ามดาบ 】แปลว่า: /ดู เปี้ยว ๑/.
【 ก้ามปู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Albizia saman/ (Jacq.) F. Muell.
ในวงศ์ Leguminosae เรือนยอดทึบแบนแผ่สาขากว้างใหญ่จึง
ให้ร่มเงาได้ดี ช่อดอกเป็นพู่สีชมพูแก่ ฝักแก่สีน้ำตาลไหม้
ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร รสหวาน เป็นไม้ที่นําเข้ามาปลูก
เดิมเรียก จามจุรีแดง แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า จามจุรี, พายัพเรียก
ฉำฉา หรือ สำสา.
【 ก้ามปูหลุด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Tradescantia zebrina/ Hort. ex Bosse
ในวงศ์ Commelinaceae ลําต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อย
ไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว
ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู.
【 กามัช 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามา 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามาทีนพ 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามาพจร, กามาวจร 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามามิศ 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามารมณ์ 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กามินี 】แปลว่า: น. หญิง เช่น จงกามินีปน รสร่วม กันนา. (ลอ). (ป. ว่า หญิงมี
ความใคร่).
【 กามิศ, กาเมศ 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กาเมสุมิจฉาจาร 】แปลว่า: [-มิดฉาจาน] น. การประพฤติผิดในประเวณี. (ป.).
【 กาโมทย 】แปลว่า: /ดู กาม, กาม-/.
【 กาย, กาย- 】แปลว่า: [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง
เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก,
เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
【 กายกรรม 】แปลว่า: น. การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่น
ห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
【 กายทวาร 】แปลว่า: น. ทางกาย. (ป., ส. กาย + ทฺวาร).
【 กายทุจริต 】แปลว่า: [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑
การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
【 กายบริหาร 】แปลว่า: [กายบอริหาน] น. การบริหารร่างกาย, การออกกำลังกาย.
【 กายพันธน์ 】แปลว่า: น. เครื่องรัดตัว คือ รัดประคด. (ป., ส.).
【 กายภาพ 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, เกี่ยวกับสสารและพลังงาน, เช่น
วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) ศึกษาเกี่ยวกับ
สสารและพลังงาน; เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโลก
เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) ศึกษาเกี่ยวกับ
ธรรมชาติของผิวดิน บรรยากาศ อากาศ พืช และสัตว์ในถิ่นต่าง ๆ.
【 กายภาพบำบัด 】แปลว่า: น. การรักษาโรคโดยอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์แทนการใช้ยา เช่น
โดยการนวด การฉายรังสี การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้กระแสน้ำ
ความร้อน หรือการออกกําลังกาย. (อ. physical therapy).
【 กายวิภาคศาสตร์ 】แปลว่า: [-วิพากคะสาด] น. วิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาหนึ่ง ว่าด้วย
เรื่องโครงสร้างของร่างกายโดยศึกษาเป็นส่วน ๆ. (อ. anatomy).
【 กายสิทธิ์ 】แปลว่า: ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด]
น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑
การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑.
【 กายาพยพ 】แปลว่า: [กายาพะยบ] น. ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า.
(ป., ส. กาย + อวยว).
【 กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ 】แปลว่า: น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
【 ก่าย 】แปลว่า: ก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้าง
อยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้า
คู่กับคํา เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย.
【 ก่ายกอง 】แปลว่า: ว. มักใช้เข้าคู่กับคํา มากมาย เป็น มากมายก่ายกอง หมายความว่า
มากเกิน, ล้นหลาม.
【 กายาพยพ 】แปลว่า: /ดู กาย, กาย-/.
【 กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ 】แปลว่า: /ดู กาย, กาย-/.
【 กาเยน 】แปลว่า: น. ยางไม้ชนิดหนึ่ง สีเหลืองแก่ ใสคล้ายแก้ว.
【 การ ๑ 】แปลว่า: น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน
เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า
เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง,
ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
【 การกลั่นทำลาย 】แปลว่า: น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสาร
ที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลายขี้เลื่อย ให้ผล
เป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลาย
ถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน
ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่
เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
【 การขนส่งมวลชน 】แปลว่า: น. ระบบการขนส่งผู้โดยสารครั้งละมาก ๆ.
【 การครัว 】แปลว่า: น. การหุงหาอาหาร.
【 การคลัง 】แปลว่า: น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ
การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการเงิน
ของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ
การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ
กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหา
รายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และ
ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการ
ซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน
รวมทั้งการค้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ
สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
【 การเงิน 】แปลว่า: น. กิจการเกี่ยวกับเงิน, เรื่องเกี่ยวกับเงิน เช่น เดือนนี้การเงินไม่ค่อยดี.
【 การจร 】แปลว่า: น. งานซึ่งไม่ได้ทําเป็นประจําหรือที่คาดไม่ถึง.
【 การต่างประเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ.
【 การทะเบียนราษฎร 】แปลว่า: (กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บ
ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร.
【 การนำ 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนําหรือฉนวน;
(ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุโดยวิธี
การซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก
โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
【 การบ้าน 】แปลว่า: น. งานที่ครูกําหนดให้นักเรียนไปทําที่บ้าน (เฉพาะโรงเรียน),
งานที่เกี่ยวกับบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น การบ้านการเมือง
การบ้านการเรือน.
【 การบ้านการเมือง 】แปลว่า: น. กิจการบ้านเมืองทั่ว ๆ ไป.
【 การบ้านการเรือน 】แปลว่า: /ดู การเรือน/.
【 การบุเรียน 】แปลว่า: (โบ) น. การเปรียญ.
【 การประกอบโรคศิลปะ 】แปลว่า: (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อ
มนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค
การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์
แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
อื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
【 การเปรียญ 】แปลว่า: [-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสําหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า
ศาลาการเปรียญ.
【 การแผ่รังสี 】แปลว่า: (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนในลักษณะเป็นคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง
เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไว้ได้ คลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อนเป็นผลให้เทหวัตถุ
นั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม.
【 การพา 】แปลว่า: (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลวหรือ
แก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป.
การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง
ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ.
(๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร
ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย
ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร
ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่
อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร)
การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น
แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
【 การเรือน 】แปลว่า: น. งานของแม่บ้าน เช่น หุงต้มอาหารเย็บปักถักร้อย, การบ้านการเรือน
ก็ว่า.
【 การสื่อสาร 】แปลว่า: น. วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือ
สถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง.
【 -การ ๒ 】แปลว่า: น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น
กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมาย
เป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
【 -การ ๓ 】แปลว่า: คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน
การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
【 การก 】แปลว่า: [กา-รก] น. ผู้ทํา. (ไว) ก. กริยาที่ทําหน้าที่ประธาน กรรม หรือ
ส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก
กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).
【 การณ์ 】แปลว่า: [กาน] น. เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์.
(ป., ส.).
【 การ์ด 】แปลว่า: (ปาก) น. บัตรเชิญในโอกาสต่าง ๆ เช่น การ์ดแต่งงาน การ์ดงานศพ.
【 การ์ตูน ๑ 】แปลว่า: น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียน
เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน,
หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ
มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
【 การ์ตูน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล /Amphiprion/ วงศ์
Pomacentridae ลําตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือ
แดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดําคล้ำ มักมีแถบ
สีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลําตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิด
หรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับ
ดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.
【 การเต 】แปลว่า: [กาน-] น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต. (ทวาทศมาส).
【 การบูร 】แปลว่า: [การะบูน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cinnamomum camphora/ (L.) J.S.
Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อน
ซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทํายา.
(ส. กฺรบูร).
【 การบูรป่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Adenosma indiana/ (Lour.) Merr. ในวงศ์
Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ต้นสูง
ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบ
จักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า
ดอกเล็ก สีม่วงออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลาย
ยอด,กระต่ายจาม ข้าวคํา หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก.
【 การย์ 】แปลว่า: กาน น. หน้าที่, กิจ, ธุระ, งาน. (ส.).
【 การละเล่น 】แปลว่า: น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง.
【 การวิก 】แปลว่า: [การะวิก] น. นกการเวก เช่น การวิกรวังวนกุณาล พเพรียกพร้อง
กระแสงใส. (สมุทรโฆษ). (ป. กรวีก; ส. กรวีก, กลวิงฺก).
【 การเวก ๑ 】แปลว่า: [การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์
บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.
【 การเวก ๒ 】แปลว่า: [การะ-] น. ชื่อนกในวงศ์ Paradisaeidae มีหลายสกุล หลายชนิด
ทุกชนิดมีสีสันสวยงามพบเฉพาะในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง
และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ
ชนิด /Paradisaea apoda/.
【 การเวก ๓ 】แปลว่า: [การะ-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Artabotrys siamensis/ Miq.
ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมอ่อน กลีบดอกคล้ายกระดังงาจีน
แต่ขนาดเล็กกว่า, กระดังงัว กระดังงาเถา หรือ หนามควายนอน
ก็เรียก.
【 การเวก ๔ 】แปลว่า: [การะ-] น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง เรียกว่า การเวกตัวผู้ การเวก
ตัวเมีย หรือ การเวกใหญ่.
【 การะเกด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มเพศผู้ชนิด /Pandanus tectorius/ Blume ในวงศ์
Pandanaceae มักขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมน้ำ ใบแคบและยาว
ขอบใบมีหนามห่าง ๆ ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม, ลําเจียกหนู
ก็เรียก.
【 การะบุหนิง 】แปลว่า: น. ดอกแก้ว. (ช.).
【 การัณย์ 】แปลว่า: [การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคช
สำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
【 การันต์ 】แปลว่า: [การัน] น. ”ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต
กํากับไว้ เช่นตัว ”ต์” ในคําว่า “การันต์”, (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มี
ไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์.
【 การางหัวขวาน 】แปลว่า: /ดู กะรางหัวขวาน/.
【 การิตการก 】แปลว่า: การิดตะ- น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้
หน้ากริยา ”ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางานทั้งกลางวัน
และกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ”ยัง” หรือ
กริยานุเคราะห์ ”ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้
ลูกจ้างทํางาน.
【 การิตวาจก 】แปลว่า: การิดตะ- ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้
รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก
คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ”ถูก” ”ถูก-ให้”
หรือ ”ถูกให้” เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
【 การุญ, การุณย์ 】แปลว่า: [การุน] น. ความกรุณา. (ป., ส.).
【 กาเรการ่อน 】แปลว่า: น. ต้นกะเรกะร่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กาเรียน 】แปลว่า: /ดู กระเรียน ๑/.
【 กาเรียนทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. /(ดู กระเรียน ๒)./
【 กาล ๑, กาล- 】แปลว่า: [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
【 กาลกิริยา 】แปลว่า: [กาละ-, กาน-] น. ความตาย เช่น ถึงซึ่งกาลกิริยา. (ป.).
【 กาลเทศะ 】แปลว่า: [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
【 กาลโยค 】แปลว่า: กาละ- น. การกําหนด วัน ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่
ละปี เป็น ธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ.
【 กาลสมุตถาน 】แปลว่า: [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะธาตุไม่เป็นไปตามเวลา
ปรกติ. (แพทย์).
【 กาล ๒ 】แปลว่า: กาน น. คําประพันธ์.
【 กาลกรรณี, กาลกิณี 】แปลว่า: [กาละกันนี, กานละกันนี, กาละกินี, กานละกินี] น. เสนียดจัญไร,
ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. (ส. กาลกรฺณี; ป. กาลกณฺณี).
【 กาลจักร 】แปลว่า: [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕
อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ
เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
【 กาลัญญุตา 】แปลว่า: [กาลันยุตา] น. ความเป็นผู้รู้กาล. (ป.).
【 กาลัญญู 】แปลว่า: [กาลันยู] น. ผู้รู้กาล. (ป.).
【 กาลัด 】แปลว่า: น. แก้วหุง; สายหยุด. (ช.).
【 กาลานุกาล 】แปลว่า: (โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใด
กาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).
【 กาลิก 】แปลว่า: น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง
คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน
ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว
เพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก-
ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
【 กาลี ๑ 】แปลว่า: ว. ชั่วร้าย, เสนียดจัญไร. (ส. กลิ).
【 กาลี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี,
ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่า
มีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. (ส.).
【 กาแล 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไป
ไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลัก
ลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.
【 กาแล็กซี 】แปลว่า: น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์
เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้าน
กาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง.
(อ. galaxy).
【 กาแล็กโทส 】แปลว่า: (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิด
แอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวานน้อยกว่า
น้ำตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ?ซ-๑๖๘ ?ซ. โมเลกุล
ของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุล
ของแล็กโทสซึ่งมีในน้ำนม. (อ. galactose).
【 กาว ๑ 】แปลว่า: น. ของเหนียวที่เคี่ยวมาจากเอ็น หนัง กีบสัตว์ เป็นต้น สําหรับ
ใช้ติดหรือผนึกสิ่งของ.
【 กาว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นเทียนกิ่ง. /(ดู เทียนกิ่ง)./
【 ก้าว 】แปลว่า: น. ระยะทางชั่วยกเท้าย่างไปครั้งหนึ่ง. ก. ยกเท้าย่างไป.
【 ก้าวก่าย 】แปลว่า: ก. ล่วงล้ำเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ผู้อื่น, เหลื่อมล้าไม่เป็นระเบียบ
เช่น งานก้าวก่ายกัน.
【 ก้าวเฉียง 】แปลว่า: ก. เดินเป็นฟันปลา (ใช้แก่การแล่นเรือ); โดยปริยายใช้แก่การพูด
ไม่ตรงหรือพูดเลี่ยง เช่น นงลักษณ์แกล้งกล่าวก้าวเฉียง. (อิเหนา).
【 ก้าวร้าว 】แปลว่า: ว. เกะกะระราน (ใช้แก่กิริยาและวาจาที่กระด้างและล่วงเกินผู้อื่น).
【 ก้าวล่วง 】แปลว่า: ก. ละเมิด เช่น ภิกษุก้าวล่วงสิกขาบท.
【 ก้าวหน้า 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนแปลงของเดิมให้ดีขึ้นตามลําดับ, เจริญวัฒนาเร็วกว่าปรกติ.
【 กาววาว 】แปลว่า: ว. แวววาว, ฉูดฉาด, บาดตา, (ใช้แก่สี).
【 กาวาง 】แปลว่า: น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยวจัด.
【 กาแวน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Crypsirina temia/ ในวงศ์ Corvidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว
กับกา รูปร่างคล้ายนกแซงแซวแต่ปลายหางกว้างกว่า, กระแวน
ก็เรียก.
【 กาศิก, กาศิก- 】แปลว่า: กาสิกะ- ว. ที่มาจากแคว้นกาสี, เหมือนไหม, แกมไหม.
(ส.; ป. กาสิก).
【 กาศิกพัสตร์ 】แปลว่า: น. ผ้าเนื้อละเอียดมาจากแคว้นกาสี. (ส.).
【 กาษฐะ 】แปลว่า: กาดสะถะ น. ไม้ฟืน; ไม้วัด (คือใช้ในมาตราวัด).
(ส.; ป. กฏฺ?).
【 กาษา, กาสา ๑ 】แปลว่า: น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗),
และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละ
สํารับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตําราทํานายฝัน).
(ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).
【 กาสร 】แปลว่า: -สอน น. ควาย. (ส.).
【 กาสะ 】แปลว่า: (ราชา) น. การไอ, ใช้ว่า พระกาสะ. (ป., ส.).
【 กาสัก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กา ๑/.
【 กาสัก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Leea macrophylla/ Roxb. ex Hornem.
ในวงศ์ Leeaceae ใบใหญ่ ใช้ทํายาได้, พญากาสัก เสือนั่งร่ม
หรือ ตาลปัตรฤๅษี ก็เรียก.
【 กาสา 】แปลว่า: น. แร่ชนิดหนึ่งมีสีเขียว.
【 กาสามปีก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Vitex peduncularis/ Wall. ex Schauer ในวงศ์
Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํายาได้, กาจับหลัก
หรือ ตีนนก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Flemingia/ /sootepensis/
Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทํา
ยาได้. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Pueraria striata/ Kurz ในวงศ์
Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กมาก
สีม่วง รูปดอกถั่ว ฝักมี ๘-๑๐ เมล็ด. (๔) /ดู ตีนนก (๑)./
【 กาสาร 】แปลว่า: -สาน น. สระ, บ่อ, ทะเลสาบ. (ส.).
【 กาสาว, กาสาวะ 】แปลว่า: [กาสาวะ-] น. ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).
【 กาสาวพัสตร์ 】แปลว่า: น. ผ้าย้อมฝาด คือผ้าเหลืองพระ. (ป. กาสาว + ส. วสฺตร = ผ้า).
【 กาสิโน 】แปลว่า: น. สถานการพนันขนาดใหญ่และโอ่โถง มีการพนันหลายชนิด
เช่น รูเล็ตต์ ไพ่. (ฝ. casino).
【 กาหล 】แปลว่า: -หน น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคม
แตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน,
ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
【 กาหลง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Bauhinia acuminata/ L. ในวงศ์ Leguminosae
ปลายใบหยักเว้าลึก ดอกใหญ่ สีขาว ออกเป็นช่อสั้นตาม
ง่ามใบ.
【 กาหลา ๑ 】แปลว่า: [-หฺลา] ว. เหมือนดอกไม้. (ช.).
【 กาหลา ๒ 】แปลว่า: /ดู กะลา ๒/.
【 กาหัก 】แปลว่า: น. นกเงือก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กาเหว่า 】แปลว่า: /ดู ดุเหว่า/.
【 กาไหล่ 】แปลว่า: ก. กะไหล่.
【 กาฬ, กาฬ- 】แปลว่า: [กาน, กาละ-, กานละ-] น. รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อ
ตายแล้ว. ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).
【 กาฬจักร 】แปลว่า: [กาละจัก] น. กาลจักร.
【 กาฬปักษ์ 】แปลว่า: [กาละ-] ว. ฝ่ายดํา คือ ข้างแรม.
【 กาฬปักษี 】แปลว่า: [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้วได้ ๕ เดือน
ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับ
สะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
【 กาฬมุข 】แปลว่า: น. เกียรติมุข.
【 กาฬโรค 】แปลว่า: [กานละ-, กาละ-] น. ชื่อโรคระบาดอย่างร้ายแรงชนิดหนึ่ง
มักมีอาการบวมนูนที่รักแร้เป็นต้น.
【 กาฬวาต 】แปลว่า: [กานละ-] น. ลมพายุใหญ่อย่างหนึ่ง เช่น ด้วยกําลังกาฬวาต
โบกเบียน.
【 กาฬพฤกษ์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cassia grandis/ L.f. ในวงศ์ Leguminosae
ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็น
สีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็น
พรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก.
【 กาฬาวก 】แปลว่า: [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐
ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสี
น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี
สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี
สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา
ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี
สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่
ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
【 กาฮัง 】แปลว่า: /ดู กะวะ ๒/.
【 กำ ๑ 】แปลว่า: ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่
กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัด
รอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร
เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตรของกลมนั้นเรียกว่า
มีขนาด ๑ กํา, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กําสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด
หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กําเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด
หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กําสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ
๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น
ผักกําหนึ่ง หญ้า ๒ กํา.
【 กำเกรียก 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันใช้กําเบี้ยหรือเม็ดอื่น ๆ แล้วทายกัน.
【 กำขี้ดีกว่ากำตด 】แปลว่า: (สํา) ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย.
【 กำตัด 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือน
กําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือ
ชักออกก็ได้.
【 กำถั่ว 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างเดียวกับโปกำ แต่ใช้มือกำเบี้ยแทนการใช้
ถ้วยครอบ. /(ดู โปกำ ประกอบ)./
【 กำปั้น 】แปลว่า: น. มือที่กําเข้าให้แน่นเพื่อจะทุบเป็นต้น.
【 กำมา 】แปลว่า: น. ศอกตูม คือ ศอกที่กํานิ้วมือ, กํา ก็เรียก เช่น ๒ ศอกกํา คือ
๒ ศอกกับอีกศอกตูมหนึ่ง.
【 กำมือ 】แปลว่า: น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า; กำ ก็ว่า; มาตรา
ตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ
๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ
๘ กำมือ = ๑ จังออน.
【 กำหมัด 】แปลว่า: น. มือที่กําเข้าให้แน่นเพื่อจะชกหรือต่อย.
【 กำ ๒ 】แปลว่า: น. ซี่ล้อรถหรือเกวียน.
【 กำ ๓, กำม 】แปลว่า: (โบ) น. กรรม เช่น ไข้เจ็บหมอตั้งกําไว้, ท่านว่าเป็นกํามของเขาเอง.
(อัยการเบ็ดเสร็จ).
【 ก่ำ 】แปลว่า: ว. สุกใส, เข้ม, จัด, (มักใช้แก่สีแดงหรือทองที่สุก).
【 ก้ำ 】แปลว่า: (โบ) น. ด้าน, ฝ่าย, ทิศ.
【 กำกวม ๑ 】แปลว่า: น. นกขนปีกสีเขียว ปากแดง กินกุ้งและปลา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กำกวม ๒ 】แปลว่า: ว. เคลือบคลุม, คลุมเครือ, มีความหมายได้หลายนัย.
【 กำกัด 】แปลว่า: ก. จํากัดเข้า, จํากัดให้แคบเข้า.
【 กำกับ 】แปลว่า: ก. ดูแล, ควบคุม; ควบ ในความเช่น มีหนังสือกํากับมาด้วย.
【 ก้ำกึ่ง 】แปลว่า: ว. เกือบเท่า ๆ กัน, พอ ๆ กัน, ไล่เลี่ยกัน, เช่น ฝีมือก้ำกึ่งกัน.
【 กำกูน 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เช่น คูนกํากูนกํายาน. (ลอ), กําคูน ก็ว่า.
【 ก้ำเกิน 】แปลว่า: ว. ล่วงเกิน, เกินเลย.
【 กำเกียง 】แปลว่า: /ดู กางเกียง/.
【 กำคูน 】แปลว่า: น. กํากูน เช่น กรรบูรแกมกําคูนคันธ์. (สมุทรโฆษ).
【 ก่ำเคือ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นมะกล่ำตาหนู. /(ดู มะกล่า)./
【 กำจร 】แปลว่า: [-จอน] ก. ฟุ้งไป. (ส. ขจร ว่า ไปในอากาศ).
【 กำจัด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Zanthoxylum rhetsa/
(Roxb.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม
ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก ขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลาง ๖-๗ มิลลิเมตร ผิวขรุขระ มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่น
ลูกผักชี เมล็ดกลมดําเป็นมัน ผลใช้เป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส,
พายัพเรียก มะข่วง หรือ หมากข่วง.
【 กำจัด ๒ 】แปลว่า: ก. ขับไล่, ปราบ, ทําให้สิ้นไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
【 กำจาย ๑ 】แปลว่า: ก. กระจาย. (ข. ขฺจาย).
【 กำจาย ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Caesalpinia digyna/ Rottler ในวงศ์
Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง
ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้
เมล็ดสีดําให้น้ามันจุดไฟ. (๒) /ดู ขี้อ้าย (๑)./
【 กำจาย ๓ 】แปลว่า: น. เรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ว่า งากําจาย.
(ปรัดเล).
【 กำชับ 】แปลว่า: ก. สั่งย้าให้แน่นอน.
【 กำชับกำชา 】แปลว่า: ก. ย้ำแล้วย้ำอีก เช่น แล้วกําชับกําชาข้าไท. (คาวี).
【 กำชำ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นมะหวด. /(ดู มะหวด)./
【 กำโชก 】แปลว่า: (โบ) ก. กรรโชก.
【 กำซาบ 】แปลว่า: ก. ซึมเข้าไป, ทา, อาบ, หมายถึงศรที่อาบยาพิษก็ได้ เช่น
สายกําซาบ.
【 กำซำ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นมะหวด. /(ดู มะหวด)./
【 กำด้น 】แปลว่า: น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอ
กําด้นลูกสาวศรี. (มณีพิชัย).
【 กำดัด 】แปลว่า: ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก.
(โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย
ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง
มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่
อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
【 กำดาล 】แปลว่า: (กลอน) ก. ดาล เช่น กําเดาะกําดาลทวี. (บวรราชนิพนธ์).
【 กำเดา 】แปลว่า: น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน);
แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
【 กำเดาะ 】แปลว่า: ว. กระเตาะ, รุ่น, เพิ่งแตกเนื้อสาว. (ปาเลกัว).
【 ก่ำต้น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นมะกล่าตาช้าง. /(ดู มะกล่า)./
【 กำตาก 】แปลว่า: น. สิทธิพิเศษในค่าภาษีอากรขนอนตลาดที่พระเจ้าแผ่นดิน
ยกให้แก่พระยาแรกนาขวัญในระหว่างพิธี ๓ วันในครั้งโบราณ.
【 กำทวน 】แปลว่า: ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร
กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
【 กำธร 】แปลว่า: [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท
กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร
ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
【 กำนล 】แปลว่า: [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ
พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน
มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ,
ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
【 กำนัด 】แปลว่า: กำหฺนัด ก. กําหนัด เช่น พิศเพี้ยนพระพนิดาทุกขานล
กํานัด ดัดรัตนธารี มาดู. (สมุทรโฆษ).
【 กำนัน 】แปลว่า: น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกํานันพระแสง;
(กฎ) ตําแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอํานาจหน้าที่ปกครอง
ราษฎรที่อยู่ในเขตตําบล. ก. กัน, ถือ, เช่น พระจงกํานันกําหนด
สัญญา. (สุธน).
【 กำนัล ๑ 】แปลว่า: ก. ให้ของกันด้วยความนับถือ.
【 กำนัล ๒ 】แปลว่า: น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับ
พระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม
เรียกว่า นางกำนัล.
【 กำเนิด 】แปลว่า: [กําเหฺนิด] น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กําเนิดแก่บุตร,
มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกําเนิดมาอย่างไร. ก. เกิด,
มีขึ้น, เป็นขึ้น, เช่น โลกกําเนิดมาจากดวงอาทิตย์.
【 กำเนียจ 】แปลว่า: [กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น
กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กํานยจก
ยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 กำบด 】แปลว่า: ก. บัง เช่น มีโลมกําบดบัง ปลายเท้า สองแฮ. (โชค-โบราณ).
【 กำบน 】แปลว่า: ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู
แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง
ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).
【 กำบัง ๑ 】แปลว่า: ก. บัง เช่น หาที่กําบังฝน, บังอย่างมิดชิด เช่น กําบังกายเข้าไป.
【 กำบัง ๒ 】แปลว่า: น. ช่อดอกไม้. (ช.).
【 กำบัง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบ
เขียว เนื้อในขาว ใช้สําหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกัน
ว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กำบัด 】แปลว่า: ก. ปัด.
【 กำบิด 】แปลว่า: (โบ) น. กรรบิด, มีด. (ข. กําบิต).
【 ก่ำบึ้ง 】แปลว่า: /ดู บึ้ง ๑/.
【 กำเบ้อ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Mussaenda/ วงศ์
Rubiaceae ดอกสีเหลืองหรือแสด กลีบหนึ่งของวงกลีบนอก
ใหญ่แผ่ออกเป็นใบขาว ดูไกล ๆ คล้ายผีเสื้อเกาะดอกไม้.
【 กำเบ้อ ๒, ก่ำเบ้อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางวัน. /(ดู ผีเสื้อ ๑)./
【 กำโบล ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง-
กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).
【 กำโบล ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ลูบ, ลูบคลํา, ลูบไล้, เช่น ฤๅอาจกําโบลปิยุทร์นงเยาว์
ฤๅอาจอุกเอา กระมลยุคลมามือ. (สรรพสิทธิ์), คำโบล ก็ใช้.
【 กำปอ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงเขมรชนิดหนึ่ง เรียกว่า เขมรกําปอ. (วิวาห์พระสมุทร).
【 กำปั่น ๑ 】แปลว่า: น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม
ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่น
ออกไป สําหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า
กําปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดิน
ด้วยกําลังเครื่องจักรไอน้า เรียกว่า กําปั่นไฟ. (เทียบมลายู
หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).
【 กำปั่น ๒ 】แปลว่า: น. หีบทําด้วยเหล็กหนา สําหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้าง
เป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทําเป็นช่องเล็ก
เพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสําหรับใส่กุญแจ เดิมทําเป็น
หีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว.
【 กำปั่น ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
【 กำผลา 】แปลว่า: [-ผฺลา] น. ง้าว.
【 กำพง 】แปลว่า: น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร.
(ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า
ตําบล).
【 กำพด 】แปลว่า: น. จอมประสาทหัวช้าง เช่น โขมดสารกําพด ทรงเทริด.
(ตําราช้างคําโคลง).
【 กำพต 】แปลว่า: [-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกําพต พาดสายศิลป
คือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).
【 กำพร้า ๑ 】แปลว่า: [-พฺร้า] น. เรียกหนังที่เป็นผิวชั้นนอกของคนและสัตว์ว่า หนังกําพร้า.
【 กำพร้า ๒ 】แปลว่า: [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูก
ร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี
แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้
ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
【 กำพร้า ๓ 】แปลว่า: /ดู ไก่เตี้ย/.
【 กำพราก 】แปลว่า: [-พฺราก] น. ไม้รวกหรือไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายให้แหลม ใช้สําหรับขุด
เรียกว่า ไม้กําพราก.
【 กำพวด ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
【 กำพวด ๒ 】แปลว่า: น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาว
นายภิมเสน). /(ดู จุมพรวด)./
【 กำพอง 】แปลว่า: น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กระพอง ก็เรียก.
【 กำพืด 】แปลว่า: น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทํานองหยาม) เช่น รู้กําพืด.
【 กำพุด 】แปลว่า: /ดู จุมพรวด/.
【 กำพู ๑ 】แปลว่า: น. ไม้กลึงสําหรับเป็นที่รวมร้อยซี่ร่ม ซี่ฉัตร หรือ ซี่พุ่ม.
(ข. กํพูล ว่า ยอด).
【 กำพู ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. กัมพู.
【 กำเพลิง 】แปลว่า: [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง).
【 กำแพง 】แปลว่า: น. เครื่องกั้น เครื่องล้อม ที่ก่อด้วยอิฐ ดิน หรือ หิน เป็นต้น.
(ข. กํแพง).
【 กำแพงแก้ว 】แปลว่า: น. กําแพงเตี้ย ๆ ที่ทําล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ เป็นต้น เพื่อให้
ดูงาม.
【 กำแพงเขย่ง 】แปลว่า: [-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้าย
เขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า
พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า
พระกำแพงศอก.
【 กำแพงเจ็ดชั้น ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมนตร์.กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา)
น. การที่จะพูดหรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับ
เพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
【 กำแพงเศียร 】แปลว่า: น. ไก่พันทาง มีหงอนเป็นจัก ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กำแพ้ง 】แปลว่า: น. เรียกไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็นว่า
กําแพ้ง, กระแพ้ง ก็ว่า.
【 กำแพงขาว 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว
มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย
ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา,
อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล.
(กบิลว่าน).
【 กำแพงเจ็ดชั้น ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กําแพง/.
【 กำแพงเจ็ดชั้น ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Lithosanthes biflora/ Blume ในวงศ์
Rubiaceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน
ดอกสีขาว เนื้อไม้เป็นชั้น ๆ ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มรอ
เลื้อยชนิด /Salacia chinensis/ L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้น
ตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอก
สีเขียวอมเหลือง ใช้ทํายาได้, ตะลุ่มนก หรือ น้านอง ก็เรียก.
(๓) /ดู ขมิ้นเครือ./
【 กำภู 】แปลว่า: (โบ) น. กัมพู.
【 กำมพฤกษ์ 】แปลว่า: -มะพฺรึก น. กัลปพฤกษ์ เช่น พวกประจํากํามพฤกษ์บังคมไหว้.
(รามเกียรติ์ ร. ๒).
【 กำมลาศน์ 】แปลว่า: -มะลาด น. กมลาสน์.
【 กำมเลศ 】แปลว่า: -มะเลด น. กมเลศ.
【 กำมะถัน 】แปลว่า: น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ,
สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ
ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย
เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีด
ไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและ
ประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็นองค์ประกอบด้วย.
(อ. sulphur).
【 กำมะลอ 】แปลว่า: น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า
เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือนรูปต้นไม้
ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ;
เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับ
ใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลาย
ที่เขียนที่เครื่องกํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทอง
แทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ;
เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อยที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า
ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
【 กำมะหยี่ ๑ 】แปลว่า: [-หฺยี่] น. ผ้าชนิดหนึ่ง มีขนด้านเดียวอ่อนนุ่ม เป็นมัน.
【 กำมะหยี่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อดาวเรืองพันธุ์หนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กำมะหริด 】แปลว่า: [-หฺริด] น. ผ้าที่ทอด้วยขนสัตว์แกมไหม.
【 กำมังละการ 】แปลว่า: น. ตําหนัก. (ช.).
【 กำมังวิลิต 】แปลว่า: น. ตําหนักในสระ. (ช.).
【 กำมัชพล 】แปลว่า: [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณ
มาจากจุลศักราช.
【 กำยาน ๑ 】แปลว่า: น. วัตถุหอมชนิดหนึ่ง เกิดจากยางใสกลิ่นหอมที่ออกจากเปลือก
ของต้นกำยานบางชนิด เกิดขึ้นได้เนื่องจากเปลือกถูกกรีดหรือ
มีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับ
ลำต้น แกะออกมาได้.
【 กำยาน ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล /Styrax/ วงศ์
Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบน
สีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้ บางชนิดเมื่อ
เปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา
เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า
กำยาน. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า
กล้วยกํายาน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กำยำ 】แปลว่า: ว. ใหญ่โตแข็งแรง เช่น รูปร่างกํายําล่าสัน.
【 กำรอ 】แปลว่า: ว. เข็ญใจ เช่น แก่ฝูงมนุษย์ผู้กํารอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 กำราก, กำหราก 】แปลว่า: น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง
แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหราก
เหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
【 กำราบ 】แปลว่า: [-หฺราบ] ก. ทําให้เข็ดหลาบ, ทําให้กลัว, ทําให้สิ้นพยศ,
ทําให้สิ้นฤทธิ์.
【 กำราล 】แปลว่า: -ราน น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกําราลไพโรจน์
ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กํราล).
【 กำรู 】แปลว่า: (โบ) ก. กรู, รวมหมู่กันเข้ามา, ประดังกันเข้ามา, เช่น กํารู
คลื่นเป็นเปลว. (แช่งน้ำ).
【 กำเริบ 】แปลว่า: ก. รุนแรงขึ้น เช่น โรคกําเริบ กิเลสกําเริบ.
【 กำเริบเสิบสาน 】แปลว่า: ก. ได้ใจ, เหิมใจ.
【 กำไร 】แปลว่า: น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมี
สี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
【 กำลอง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม
จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).
【 กำลัง ๑ 】แปลว่า: น. แรง, สิ่งที่ทําให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง.
【 กำลังกิน 】แปลว่า: ว. เหมาะที่จะกิน.
【 กำลังกินกำลังนอน 】แปลว่า: (สำ) ว. อยู่ในวัยกินวัยนอน เช่น เด็กกําลังกินกําลังนอน.
【 กำลังใจ 】แปลว่า: น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้นพร้อมที่จะ
เผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
【 กำลังดี 】แปลว่า: ว. พอดี.
【 กำลังเทียน 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่างของแหล่งกําเนิดแสง,
แรงเทียน ก็ว่า, ปัจจุบันใช้หน่วยแคนเดลา.
【 กำลังภายใน 】แปลว่า: น. กําลังที่เร้นอยู่ภายใน, กําลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะ
ในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็ง
จนสามารถทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้.
【 กำลังม้า 】แปลว่า: (วิทยา) น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงานโดยกำหนด
ว่า ๑ กำลังม้า คืออัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุต-ปอนด์
ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า.
(อ. horse power).
【 กำลังวังชา 】แปลว่า: น. กําลัง.
【 กำลังเหมาะ 】แปลว่า: ว. พอเหมาะ.
【 กำลัง ๒ 】แปลว่า: น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า
๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน
ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียน
เป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางานก็เรียก;
ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก)
เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
【 กำลังช้างเผือก 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล /Hiptage/ วงศ์ Malpighiaceae
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยัก
ตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด /H. bengalensis/
Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด /H. candicans/ Hook.f.
เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
【 กำลังช้างสาร 】แปลว่า: /ดู ตานเหลือง/.
【 กำลังวัวเถลิง 】แปลว่า: [-ถะเหฺลิง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Anaxagorea luzonensis/ A. Gray
ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว ออกสลับกัน ดอกสีขาวกลิ่นหอม,
โคเถลิง ก็เรียก.
【 กำลุง 】แปลว่า: (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน
หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
【 กำลูน 】แปลว่า: (โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทด
กําลูนสลดชีวา. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป. กลูน).
【 กำเลา 】แปลว่า: (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตน
เต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ).
(ข. กํเลา จาก เขฺลา).
【 กำเลาะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึง
ความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
【 กรรบิด 】แปลว่า: [กัน-] น. มีด, ราชาศัพท์ว่า พระกรรบิด. (ข. กำบิต ว่า มีด).
【 กรรบูร 】แปลว่า: กันบูน น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร-
บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจรมา. (สมุทรโฆษ).
【 กรรปุระ 】แปลว่า: กัน- น. ศอก. /(ดู กโบร)./
【 กรรพุม, กรรพุ่ม 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; แผลงมาจาก กระพุ่ม) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม.
(ม. คําหลวง ทศพร); พุ่ม เช่น กรรพุมมาลย์ = พุ่มดอกไม้.
【 กรรภิรมย์ 】แปลว่า: [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุง
ปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย
พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา
พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา
และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช
หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น
กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
【 กรรม ๑, กรรม- ๑ 】แปลว่า: [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม
ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.
(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไป
ในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.
(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย
ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
【 กรรมกร 】แปลว่า: [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร =
ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
【 กรรมกรณ์ 】แปลว่า: [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำ
ควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ =
การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
【 กรรมการ ๑ 】แปลว่า: [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกัน
ทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็น
คณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม +
การ; ป. กมฺม + การ).
【 กรรมการ ๒ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่า
จะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).
【 กรรมการิณี 】แปลว่า: [กํามะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
【 กรรมขัย 】แปลว่า: กำมะไข น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควร
ตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
【 กรรมคติ 】แปลว่า: [กํามะคะติ] น. ทางดําเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).
【 กรรมชรูป 】แปลว่า: [กํามะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).
【 กรรมชวาต 】แปลว่า: [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร
ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิด
ลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม +
ช = เกิด + วาต = ลม).
【 กรรมฐาน 】แปลว่า: [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ
คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบาย
เรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
【 กรรมบถ 】แปลว่า: [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือกุศลกรรมบถ
และอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
【 กรรมพันธุ์ 】แปลว่า: [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง.
น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลาน
สืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม +
พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
【 กรรมวาจา 】แปลว่า: [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา
= คำ; ป. กมฺม + วาจา).
【 กรรมวาจาจารย์ 】แปลว่า: [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด.
(ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
【 กรรมวิธี 】แปลว่า: [กํามะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลง
ไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทําขึ้นอันดําเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็น
ลําดับ, กระบวนวิธีดําเนินการในประดิษฐกรรม.
【 กรรมวิบาก 】แปลว่า: [กํามะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).
【 กรรมเวร 】แปลว่า: [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปางก่อน; คำแสดง
ความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง
๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม
ก็ว่า.
【 กรรมศาลา 】แปลว่า: [กํามะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).
【 กรรมสัมปาทิก 】แปลว่า: [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้
รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการของสมาคม. (ส. กรฺม +
สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
【 กรรมสิทธิ์ 】แปลว่า: [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของ
มีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิ
ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้า
เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ =
ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
【 กรรมสิทธิ์รวม 】แปลว่า: (กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
【 กรรม ๒, กรรม- ๒ 】แปลว่า: กํา, กํามะ- น. ผู้ถูกกระทํา เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรม
ของกริยา กิน.
【 กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก 】แปลว่า: ว. อ้วนกลมน่าเอ็นดู.
【 กระปุ่ม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก
รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
【 กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม 】แปลว่า: ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา.
【 กระเป๋า ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง
สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ
หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ
หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก)
เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
【 กระเป๋าฉีก 】แปลว่า: (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่าย
เงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
【 กระเป๋าตุง 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไรจึงกระเป๋าตุง
กลับมา.
【 กระเป๋าเบา 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
【 กระเป๋าแฟบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของ
เสียกระเป๋าแฟบเลย.
【 กระเป๋าหนัก 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว
สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
【 กระเป๋าแห้ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
【 กระเป๋า ๒ 】แปลว่า: (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
【 กระเปาะ 】แปลว่า: น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า
กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชร
พลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ ๒); (วิทยา) ส่วน
ของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
【 กระเปาะเหลาะ 】แปลว่า: ว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระปั้ว เป็น กระปั้วกระเปี้ย.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระป้อ เป็น กระป้อกระแป้.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระปอด เป็น กระปอดกระแปด.
【 กระโปก ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้.
【 กระโปก ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ.
【 กระโปรง 】แปลว่า: [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์
หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุง
รูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง
ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือ
มะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับ
ใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขัง
ไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
【 กระโปรงทอง 】แปลว่า: /ดู กะทกรก (๒)/.
【 กระผม 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนาม
บุรุษที่ ๑.
[-ผฺลาม] ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม.
【 กระผลีกระผลาม 】แปลว่า: [-ผฺลี-ผฺลาม] ว. รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ.
【 กระผาน 】แปลว่า: น. ตะโพก. (ปาเลกัว).
【 กระผีก 】แปลว่า: น. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ.
ว. เล็กน้อย.
【 กระผีกริ้น 】แปลว่า: (ปาก) ว. นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย.
【 กระพรวน 】แปลว่า: [-พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน
เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน
หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
【 กระพริ้ม 】แปลว่า: (กลอน) ว. พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม.
(นิ. เดือน).
【 กระพอก ๑ 】แปลว่า: น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปล
ร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก
จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน.
(อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
【 กระพอก ๒ 】แปลว่า: ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
【 กระพอกวัว 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กระพอง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ
กะพอง ก็ว่า.
【 กระพอง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง
ก็เรียก.
【 กระพ้อม 】แปลว่า: น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม
ก็เรียก; (ถิ่น-อีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่
เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.
【 กระพัก 】แปลว่า: น. โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็น
กระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ตะพัก ก็ว่า.
【 กระพัง ๑ 】แปลว่า: น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก.
(เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
【 กระพัง ๒ 】แปลว่า: น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่น้ำทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิ
๒ ชั้น.
【 กร้าว 】แปลว่า: [กฺร้าว] ว. แข็งกระด้าง, แข็งมากหรือแข็งเกินพอดีซึ่งอาจแตกบิ่น
ได้ง่าย, ไม่นุ่มนวล.
【 กราวด่าง 】แปลว่า: /ดู ม่านลาย/.
【 กราวรูด 】แปลว่า: กฺราว- ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
【 กราสิก 】แปลว่า: [กฺรา-] (โบ; กลอน) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาสิก; ส. กาศิก).
【 กรำ 】แปลว่า: [กฺรํา] ว. ตรํา, ฝ่า, ทนลําบาก, เช่น กรําแดด กรําฝน,
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ากรําไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
【 กร่ำ ๑ 】แปลว่า: [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูป
กลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อ
เวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียน
เป็น กล่ำ ก็มี.
【 กร่ำ ๒ 】แปลว่า: [กฺร่ำ] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน.
【 กร่ำ ๓ 】แปลว่า: กฺร่ำ น. ไม้ปักที่หมายร่องน้ำที่ทะเล. (ปรัดเล).
【 กร่ำ ๔ 】แปลว่า: กฺร่ำ ว. ใช้ประกอบกับอาการเมา เช่น เมาเหล้า ว่า
เมากร่ำ หมายความว่า เมาเรื่อยไป.
【 กร่ำกรุ่น 】แปลว่า: [กฺร่ำกฺรุ่น] ว. สีมัว ๆ ไม่ชัด เช่น สีกร่ำกรุ่นเป็นอย่างไรฉันไม่เคย.
【 กริก, กริ๊ก 】แปลว่า: [กฺริก, กฺริ๊ก] ว. เสียงของแข็ง เช่น แก้ว โลหะ กระทบกัน.
【 กริกกริว 】แปลว่า: [กฺริกกฺริว] ว. ขี้ริ้ว, เลว, เช่น โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้า
กริกกริว. (ลอ).
【 กริกกรี 】แปลว่า: กฺริกกฺรี ว. มีทีท่าเจ้าชู้.
【 กริ่ง ๑ 】แปลว่า: [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่อง
ที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะคลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า
พระกริ่ง.
[กฺริ่ง] ก. นึกแคลง, นึกระแวง, นึกสงสัย.
【 กริ่งเกรง 】แปลว่า: ก. ระแวงกลัวไป.
【 กริ่งใจ 】แปลว่า: ก. นึกแคลงใจ.
【 กริ๊ง 】แปลว่า: [กฺริ๊ง] ว. เสียงแหลมเบาอย่างเสียงของแข็งเช่นแท่งโลหะกระทบกัน.
【 กริงกริว 】แปลว่า: [กฺริงกฺริว] ว. เล็ก เช่น มนุษย์น้อยกริงกริวผิวเนื้อเหลือง.
【 กริ้งกริ้ว 】แปลว่า: [กฺริ้งกฺริ้ว] (ถิ่น – ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, ผอม, เช่น รูปร่างกริ้งกริ้ว
คือ รูปร่างเล็ก.
【 กริช 】แปลว่า: [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรง
ก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.
【 กริณี, กรินี 】แปลว่า: กะ- น. ช้างพัง, ใช้ว่า กิริณี หรือ กิรินี ก็มี. (ส. กริณี;
ป. กรินี).
【 กริตย- 】แปลว่า: [กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา เช่น พระบาทสญไชยก็ชําระ
กริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
【 กริน 】แปลว่า: กะ- น. ช้าง, ช้างพลาย, เช่น กรินไกรอาสนอัศวาชี.
(ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส.).
【 กรินทร์ 】แปลว่า: น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์
หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร
= กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
【 กรินทร์ 】แปลว่า: /ดู กริน/.
【 กรินี 】แปลว่า: [กะ-] /ดู กริณี/.
【 กริบ 】แปลว่า: [กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือมีเสียง
เช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียน
ด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ;โดยปริยายหมายความว่า
เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
【 กริม 】แปลว่า: [กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล /Trichopsis/ วงศ์ Anabantidae
พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่า
และสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบ
มากได้แก่ กริมข้างลาย (/T. vittatus/), กัดป่า ก็เรียก.
【 กริ่ม 】แปลว่า: [กฺริ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, อิ่มใจ. ว. อาการที่เมาเหล้าอย่างใจดี
เรียกว่า เมากริ่ม.
【 กริยา 】แปลว่า: กฺริยา, กะริยา น. คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม.
(ส. กฺริยา; ป. กิริยา).
【 กริยานุเคราะห์ 】แปลว่า: (ไว) น. กริยาที่ใช้ช่วยกริยาอื่น เช่น คง จะ ถูก น่า, กริยาช่วย ก็ว่า.
【 กริยาวิเศษณ์ 】แปลว่า: (ไว) น. คําวิเศษณ์ใช้ประกอบคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ด้วยกัน
ให้มีความแปลกออกไป.
【 กริยาวิเศษณ์วลี 】แปลว่า: (ไว) น. ท่อนความที่มีคํากริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยาย
กริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็น
กริยาวิเศษณ์วลี.
【 กริยาวิเศษณานุประโยค 】แปลว่า: -วิเสสะนานุปฺระโหฺยก น. อนุประโยคที่ประกอบกริยา
หรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.
【 กริว ๑ 】แปลว่า: [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน),
จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
【 กริวลาย 】แปลว่า: /ดู ม่านลาย/.
【 กัจฉะ 】แปลว่า: กัดฉะ น. รักแร้, ใช้ว่า พระกัจฉะ. (ป.; ส. กกฺษ).
【 กัจฉา 】แปลว่า: กัดฉา น. สายรัดท้องช้าง. (ป.; ส. กกฺษา, กกฺษฺยา).
【 กัญ 】แปลว่า: (แบบ) น. กันย์, ชื่อราศีหนึ่งใน ๑๒ ราศี เช่น อีกกัญเป็นชื่อราศี.
(ไวพจน์ประพันธ์). (ป. กญฺ?า).
【 กัญจุก, กัญจุการา 】แปลว่า: (แบบ) น. เสื้อ. (ป., ส.).
【 กัญชา 】แปลว่า: [กัน-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Cannabis sativa/ L. ในวงศ์
Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก
ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน
ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับ
ยาสูบ มีสรรพคุณทําให้มึนเมา เปลือกลําต้นใช้ทําเชือกป่าน
และทอผ้า.
【 กัญญา ๑ 】แปลว่า: [กันยา] น. สาวรุ่น, สาวน้อย. (ป.; ส. กนฺยา).
【 กัญญา ๒ 】แปลว่า: [กันยา] น. เครื่องบังแดดรูปหลังคา ใช้สําหรับแคร่หามหรือเรือยาว
เพื่อเป็นเกียรติยศ, เรียกแคร่หามหรือเรือยาวที่มีกัญญาว่า
แคร่กัญญา เรือกัญญา.
【 กัญญา ๓ 】แปลว่า: [กันยา] น. เรียกข้าวเหนียวดําพันธุ์หนึ่งที่เมล็ดดําเป็นมันว่า
ข้าวกัญญา.
【 กัฐ 】แปลว่า: (แบบ) น. ไม้ฟืน; ไม้วัด (คือใช้ในมาตราวัด). (ป., ส. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
【 กัณฏกะ, กัณฐกะ 】แปลว่า: กันตะกะ, กันถะกะ น. หนาม. (ป., ส. กณฺฏก).
【 กัณฐ-, กัณฐา 】แปลว่า: กันถะ- น. คอ. (ป.).
【 กัณฐชะ 】แปลว่า: (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจาก
เพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค กคือ ก ข ค ฆ ง และอักษร
ที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา.
(ป.; ส. กณฺ?วฺย).
【 กัณฐกะ 】แปลว่า: [-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือ กลวิมลกัณ-
ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
【 กัณฐัศ, กัณฐัศว์ 】แปลว่า: [กันถัด] น. ชื่อม้าตระกูลหนึ่ง, ในบทกลอนใช้เรียกม้าทั่วไป.
【 กัณฐี 】แปลว่า: กันถี น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น.
(ม. คําหลวง มหาราช).
【 กัณฑ์ 】แปลว่า: [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ,
ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก
กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง
เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
【 กัณฑ์เทศน์ 】แปลว่า: น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับ
ถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงิน
ติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือสิ่งของบูชาธรรม
เนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
【 กัณณ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. หู. (ป.; ส. กรฺณ).
【 กัณห- 】แปลว่า: [กันหะ-] ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.; ส. กฺฤษฺณ).
【 กัณหธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมฝ่ายดํา คือ อกุศล.
【 กัณหปักษ์ 】แปลว่า: น. ฝ่ายดํา คือ ข้างแรม.
【 กัด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้
ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น
เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสีย
จนไม่มีชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป
เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้
เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัด
ฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือ
จับปลาทะเลชนิดอวน.
【 กัดติด, กัดไม่ปล่อย 】แปลว่า: ก. ติดตามอย่างไม่ละวาง, ทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง
เช่น เขาทำงานแบบกัดไม่ปล่อย.
【 กัดฟัน 】แปลว่า: ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึงความอดกลั้น,
โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันในเวลานอนหลับ.
【 กัดลาก 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง. /(ดู อวนลาก)./
【 กัดวาง 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง. /(ดู อวนลอย)./
【 กัดหางตัวเอง 】แปลว่า: (สํา) ว. พูดวนไปวนมา.
【 กัด ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด /Betta splendens/ ในวงศ์
Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย
มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว
ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
【 กัดป่า 】แปลว่า: /ดู กริม/.
【 กัด ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. พิกัด. ก. กะ เช่น ซ้นนกัดค่าพระราชกุมาร. (ม. คําหลวง
กุมาร).
【 กัด ๔ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๖.
【 กัตติกมาส 】แปลว่า: [กัดติกะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา
คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. (ป.).
【 กัตติกา 】แปลว่า: [กัด-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหาง
เรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียน
เป็น กฤติกา ก็มี. (ป. กตฺติกา; ส. กฺฤตฺติกา).

【 กำไล 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องประดับสําหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทําด้วยเงิน
หรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกําไลมือว่า ทองพระกร
กําไลเท้าว่า ทองพระบาท.
【 กำไลคู่ผี 】แปลว่า: น. กําไลขื่อผี. /(ดู ขื่อผี)./
【 กำสรด 】แปลว่า: -สด ก. สลด, แห้ง, เศร้า, เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหา
แต่องคเอกา จะแสนกำสรดลำเค็ญ. (สุธนู).
【 กำสรวล 】แปลว่า: -สวน ก. โศกเศร้า, คร่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรด
สงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง
ทานกัณฑ์). (โบ กําสรวญ).
【 กำเสาะ 】แปลว่า: ก. กระเสาะ, เสาะ, เช่น เสือกซบสยบสกลลง กำเสาะโศก
ระด้าวดาล. (สุธน).
【 กำแสง 】แปลว่า: (โบ) ก. กันแสง เช่น กําแสงสมรมี กําเสาะจิตรจาบัลย์.
(สูตรธนู).
【 กำหนด 】แปลว่า: [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้;
(เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมาก
เป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจําพวก เช่น
พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหาร
และพลเรือน.
【 กำหนดการ 】แปลว่า: น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงานที่จะต้องทําตามลําดับ.
【 กำหนัด 】แปลว่า: [-หฺนัด] น. ความใคร่ในกามคุณ. ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น
เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกําหนัดใน. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
【 กำเหน็จ 】แปลว่า: [-เหฺน็ด] น. ค่าจ้างทําเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ.
【 กำแหง 】แปลว่า: [-แหงฺ] ว. แข็งแรง, กล้าแข็ง, เข้มแข็ง. ก. อวดดี.
【 กิก, กิ๊ก 】แปลว่า: ว. เสียงของแข็งกระทบกัน.
【 กิ่ง 】แปลว่า: น. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยก
ออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอําเภอ
กิ่งสถานีตํารวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่ง
ในกระบวนพยุหยาตรา.
【 กิ่งก้อย 】แปลว่า: (สำ) ว. เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว. น. นิ้วเล็ก
เช่น จะชนะไม่เท่ากิ่งก้อย. (สังข์ทอง).
【 กิ่งทองใบหยก 】แปลว่า: (สํา) ว. เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน).
【 กิ่งอำเภอ 】แปลว่า: (กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจาก
อำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก
หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็น
อำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้า
ปกครอง.
【 กิ้งก่า 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ตัวมีเกล็ด หางยาว
ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น
กิ้งก่าบ้านหัวน้าเงิน (/Calotes mystaceus/) กิ้งก่าเขา
(/Acanthosaura armata/), อีสานเรียก ปอม หรือ กะปอม.
【 กิ้งกือ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง
ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้อง
ตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้
สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่
จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขา
เพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบ
บ่อย ๆ อยู่ในสกุล /Graphidostreptus/ ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่
ในสกุล /Cylindroiulus/ ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
【 กิ้งกือเหล็ก 】แปลว่า: น. ชื่อกิ้งกือขนาดเล็กชนิด /Polydesmus/ spp. ในวงศ์ Polydesmidae
โตขนาดก้านไม้ขีดไฟ ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร สีดําเป็นมัน
ขอบข้างลําตัวและท้องสีครีมอ่อน หากินอยู่ตามกองขยะ
ปุ๋ยหมัก มักซุกอยู่ในที่มืดและชื้น.
【 กิ้งโครง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ลักษณะคล้ายนกเอี้ยงซึ่งอยู่ในวงศ์
เดียวกัน กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น
กิ้งโครงคอดํา (/Sturnus nigricollis/) กิ้งโครงแกลบปีกขาว
(/S. sinensis/), คลิ้งโคลง ก็เรียก.
【 กิ้งโครง ๒ 】แปลว่า: น. จั่นมะพร้าวแห้ง.
【 กิงบุรุษ 】แปลว่า: (แบบ) น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
【 กิ่งหาย 】แปลว่า: /ดู หิ่งหาย/.
【 กิจ, กิจ – 】แปลว่า: [กิด, กิดจะ-] น. ธุระ, งาน. (ป. กิจฺจ).
【 กิจกรรม 】แปลว่า: น. การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้;
กิจการ.
【 กิจการ 】แปลว่า: น. การงานที่ประกอบ, ธุระ.
【 กิจวัตร 】แปลว่า: น. กิจที่ทําเป็นประจํา.
【 กิจจะ 】แปลว่า: (กลอน) น. กิจ เช่น กอบกิจจะคุ้มขัง. (ชุมนุมตํารากลอน). (ป.).
【 กิจจะลักษณะ 】แปลว่า: ว. เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว, เป็นระเบียบเรียบร้อย.
【 กิจจา 】แปลว่า: กิด- น. เรื่องราว, ข้อความ.
【 กิจจานุกิจ 】แปลว่า: [กิดจานุกิด] น. การงานน้อยใหญ่ หมายเอาการงานทั่วไป. (ป.).
【 กิดาการ 】แปลว่า: น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น
กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย).
(ป. กิตฺติ + อาการ).
【 กิดาหยัน 】แปลว่า: [-หฺยัน] น. มหาดเล็ก. (ช.).
【 กิตติ 】แปลว่า: [กิดติ] น. คําเล่าลือ, คําสรรเสริญ. (ป.).
【 กิตติกรรมประกาศ 】แปลว่า: น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคล
ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้น
ของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
【 กิตติคุณ 】แปลว่า: น. คุณที่เลื่องลือ.
【 กิตติมศักดิ์ 】แปลว่า: [-ติมะ-] ว. ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ เช่น ปริญญากิตติมศักดิ์
สมาชิกกิตติมศักดิ์.
【 กิตติศัพท์ 】แปลว่า: น. เสียงเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, เสียงยกย่อง. (ป. กิตฺติ = สรรเสริญ,
ยกย่อง + ส. ศพฺท = เสียง).
【 กิตติมศักดิ์ 】แปลว่า: /ดู กิตติ/.
【 กิน 】แปลว่า: ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ,
ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่า
เปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน
หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้
โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
【 กินกริบ 】แปลว่า: ก. หาประโยชน์ใส่ตัวได้อย่างแนบเนียน.
【 กินกัน 】แปลว่า: ก. เอาเงินกันในระหว่างคู่ขาการพนัน, มักใช้ในความปฏิเสธว่า
ไม่กินกัน.
【 กินกำไร 】แปลว่า: ก. กินเศษกินเลย, เบียดแว้ง, เบียดบัง.
【 กินเกลียว 】แปลว่า: ก. เข้ากันได้สนิท, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเกลียวกัน.
【 กินเกลือกินกะปิ 】แปลว่า: (สํา) ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือ
กินกะปิมาด้วยกัน.
【 กินแกลบกินรำ 】แปลว่า: -แกฺลบ- ว. โง่ เช่น ฉันไม่ได้กินแกลบกินรำนี่ จะได้ไม่รู้
เท่าทันคุณ.
【 กินขวา, กินซ้าย 】แปลว่า: ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนล้ำไปทางขวาหรือซ้าย
มากเกินควร.
【 กินขาด 】แปลว่า: (ปาก) ว. ดีกว่ามาก, เหนือกว่ามาก, ชนะเด็ดขาด.
【 กินข้าวต้มกระโจมกลาง 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อนไม่พิจารณาให้รอบคอบ
มักเป็นผลเสียแก่ตน.
【 กินแขก 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน.
【 กินความ 】แปลว่า: ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
【 กินงาย 】แปลว่า: ก. กินอาหารมื้อเช้า.
【 กินเจ, กินแจ 】แปลว่า: ก. ถือศีลอย่างญวนหรือจีน โดยกินอาหารจำพวกผักล้วน
ไม่มีเนื้อสัตว์.
【 กินใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกแหนงใจ, สะดุดใจ, กระทบใจ; ซาบซึ้งใจ.
【 กินช้อน 】แปลว่า: ก. กินอาหารด้วยช้อน.
【 กินดอก, กินดอกเบี้ย 】แปลว่า: ก. ได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากทุนหรือเงินให้กู้.
【 กินดอง 】แปลว่า: ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทําเมื่อ
ผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทําพิธีแปลง
ออกครบ ๓ ปี.
【 กินด่าง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่ง ทําเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกัน ๒ คน.
【 กินดาย 】แปลว่า: ก. กินดะไปจนหมด (ใช้เฉพาะการเล่นหมากแยก).
【 กินดิบ ๑ 】แปลว่า: ก. ชนะโดยง่ายดาย.
【 กินตะเกียบ 】แปลว่า: ก. กินอาหารด้วยตะเกียบ.
【 กินตัว 】แปลว่า: ก. ผุหรือขาดกร่อนไปเองอย่างผ้าขนสัตว์; ริบสิ่งที่นํามาพนันขันต่อ
กันจากผู้แพ้.
【 กินตา 】แปลว่า: ก. ลวงตาให้เห็นขนาดผิดไป.
【 กินตามน้ำ 】แปลว่า: (สำ) ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง (มักใช้แก่
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ).
【 กินตำแหน่ง 】แปลว่า: ก. ได้ครองตําแหน่ง.
【 กินโต๊ะ 】แปลว่า: ก. กินเลี้ยงด้วยอาหารอย่างดีแบบนั่งโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า
รุมทําร้าย.
【 กินแถว 】แปลว่า: ก. เอาตัวหมากออกจากกระดานตลอดทั้งแถว (ใช้เฉพาะการเล่น
หมากแยก). ว. กระทบกระเทือนทุกคนในพวกนั้น, ถูกลงโทษทุกคน
ในพวกนั้น.
【 กินทาง 】แปลว่า: ว. ล้าทาง (ใช้แก่ยวดยาน) เช่น ขับรถกินทาง.
【 กินที่ 】แปลว่า: ก. เปลืองที่.
【 กินที่ลับไขที่แจ้ง 】แปลว่า: (สํา) ก. เปิดเผยเรื่องที่ทํากันในที่ลับ.
【 กินนอกกินใน 】แปลว่า: ก. เอากําไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและนอกราคาที่กําหนด.
【 กินนอน 】แปลว่า: น. เรียกโรงเรียนที่จัดให้นักเรียนกินอยู่หลับนอนในโรงเรียนว่า
โรงเรียนกินนอน, เรียกนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนกินนอนว่า
นักเรียนกินนอน.
【 กินน้ำ 】แปลว่า: ก. มีท้องเรือจมลึกลงไปในน้า เช่น เรือกินน้ำตื้น เรือกินน้ำลึก.
【 กินน้ำตา 】แปลว่า: (สํา) ก. ร้องไห้, เศร้าโศก.
【 กินน้ำตาต่างข้าว 】แปลว่า: (สำ) ก. ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน.
【 กินน้ำใต้ศอก 】แปลว่า: (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า,
(มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
【 กินน้ำพริกถ้วยเก่า 】แปลว่า: (สำ) ก. อยู่กับเมียคนเดิม.
【 กินน้ำพริกถ้วยเดียว 】แปลว่า: (สํา) ก. อยู่กับเมียคนเดียว.
【 กินน้ำไม่เผื่อแล้ง 】แปลว่า: (สํา) ก. มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า.
【 กินน้ำเห็นปลิง 】แปลว่า: (สํา) ก. รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินน้ำเห็นปลิงอยู่ในน้ำ
ก็กินไม่ลง.
【 กินใน 】แปลว่า: ก. แหนงใจ, กินใจ.
【 กินบนเรือนขี้บนหลังคา 】แปลว่า: (สํา) ก. เนรคุณ.
【 กินบวช 】แปลว่า: ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา
ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนดของการถือ
พรตในลัทธิศาสนา.
【 กินบ้านกินเมือง 】แปลว่า: ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก)
ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
【 กินบ้านผ่านเมือง 】แปลว่า: (โบ) ก. ครองเมือง.
【 กินบุญ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน, ชาวไทยอิสลาม) ก. กินเลี้ยงในงานทําบุญ.
【 กินบุญเก่า 】แปลว่า: (สํา) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็น
สํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).
【 กินแบ่ง 】แปลว่า: น. เรียกสลากที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับรางวัลในการเสี่ยงโชค
โดยผู้จําหน่ายหักส่วนลดเป็นกําไรว่า สลากกินแบ่ง.
【 กินปิ่นโต 】แปลว่า: ก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, ผูกปิ่นโต
ก็ว่า, (ปาก) ว่าปิ่นโต.
【 กินปูนร้อนท้อง 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอาการมีพิรุธขึ้นเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง.
【 กินเปล่า 】แปลว่า: [-เปฺล่า] ก. ได้ประโยชน์เปล่า ๆ ไม่ต้องตอบแทน. น. เรียกเงิน
ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกันว่า
เงินกินเปล่า. ว. ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว เช่น เตะกินเปล่า.
【 กินผัว 】แปลว่า: ว. มีผัวกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
【 กินเพรา 】แปลว่า: [-เพฺรา] น. กินอาหารมื้อเย็น.
【 กินมือ 】แปลว่า: ก. กินอาหารด้วยมือ.
【 กินเมีย 】แปลว่า: ว. มีเมียกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
【 กินเมือง 】แปลว่า: ก. ครอบครองเมือง.
【 กินไม่ลง 】แปลว่า: (ปาก) ก. เอาชนะไม่ได้.
【 กินรังแตน 】แปลว่า: (สํา) ก. มีอารมณ์เสียหงุดหงิดบ่นว่าเกินกว่าเหตุ.
【 กินรุก 】แปลว่า: ก. เดินหมากเข้าไปกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วอยู่ในตำแหน่ง
ที่จะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่งทันที (ใช้ในการเล่นหมากรุก).
【 กินรูป 】แปลว่า: ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก,
ซ่อนรูป ก็ว่า.
【 กินแรง 】แปลว่า: ก. เอาเปรียบผู้อื่นในการทํางานหรือในการเลี้ยงชีพ; หนักแรง,
ต้องใช้แรงมาก.
【 กินลม 】แปลว่า: ก. ต้านลม, รับลม, เช่น ว่าวกินลม ใบเรือกินลม.
【 กินลมกินแล้ง 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย.
【 กินล้างกินผลาญ 】แปลว่า: ก. กินครึ่งทิ้งครึ่ง, กินทิ้งกินขว้าง, กินอย่างสุรุ่ยสุร่าย.
【 กินลึก 】แปลว่า: ว. มีเล่ห์ลึกซึ้ง.
【 กินเลี้ยง 】แปลว่า: ก. กินอาหารร่วมกันหลายคนเพื่อสังสรรค์กันเป็นต้น.
【 กินเวลา 】แปลว่า: ก. เปลืองเวลา, ใช้เวลามาก.
【 กินเศษกินเลย 】แปลว่า: (สำ) ก. กินกําไร, ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจํานวนเล็กน้อยไว้,
ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน,เอาเพียงบางส่วนไว้เป็นของตน.
【 กินส้อม 】แปลว่า: ก. กินอาหารด้วยส้อม.
【 กินสั่ง 】แปลว่า: ก. กินมากผิดปรกติเมื่อถึงคราวจะตาย, โดยปริยายหมายความ
ถึงกินจุเกินควร.
【 กินสำรับ 】แปลว่า: ก. กินอาหารที่เขาจัดมาเป็นสํารับ, (สำ) กินอาหารอย่างดี.
【 กินสินบน 】แปลว่า: ก. รับเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้นเพื่อให้ทำประโยชน์แก่ผู้ให้ใน
ทางมิชอบ.
【 กินสี่ถ้วย 】แปลว่า: ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย
ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง),
มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีน้ำกะทิใส่ชาม
อยู่กลาง].
【 กินเส้น 】แปลว่า: ก. ชอบกัน, เข้ากันได้, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเส้นกัน.
【 กินหน้า, กินหลัง, กินหาง 】แปลว่า: ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า,
ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง
เรียกว่า กินหาง.
【 กินหู้ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ผิดคาด. (มาจากเรื่องแทงหวย ถูกตัวเช้า กินตัวค่า).
【 กินเหนียว 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. กินเลี้ยงในงานแต่งงาน.
【 กินเหมือนหมู อยู่เหมือนหมา, กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา 】แปลว่า: (สํา) ว. เละเทะไม่มีระเบียบ.
【 กินเหล็กกินไหล 】แปลว่า: (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อยหรือความเจ็บปวดได้อย่าง
ผิดปรกติ.
【 กินแหนง 】แปลว่า: ก. สงสัย, ระแวง, ไม่แน่ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แคลงใจ เป็น
กินแหนงแคลงใจ.
【 กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง 】แปลว่า: (สํา) ก. รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทําเป็นไม่รู้.
【 กินอยู่พูวาย 】แปลว่า: ก. กินอย่างอิ่มหนําสําราญ.
【 กินเครา 】แปลว่า: [-เคฺรา] น. ชื่อนกในวรรณคดี เช่น นกพริกจิกจอกกินเครา.
(สมุทรโฆษ).
【 กินชัน 】แปลว่า: /ดู ชันโรง/.
【 กินดิบ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กิน/.
【 กินดิบ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง.
【 กินนร 】แปลว่า: [-นอน] น. อมนุษย์ในนิยาย มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคน
ครึ่งนก ท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่าง
เหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็ใส่ปีกใส่หางบินไป.
【 กินนรเก็บบัว 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฉิใจฉะใจกระไรสมร หวัง
สวาทปลิดสวาทบําราศจร ตัดอาลัยตัดอาวรณ์ให้นอนเดียว.
【 กินนรฟ้อนโอ่ 】แปลว่า: น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง.
【 กินนรรำ 】แปลว่า: น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์);
ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบ
พักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
【 กินนรเลียบถ้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินรินเลียบถ้ำ ก็ว่า.
【 กินปลิง 】แปลว่า: น. นกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กินปลี 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Nectariniidae ตัวเล็ก ปากยาวโค้งงองุ้ม
ปลายแหลมเล็ก กินแมลง น้ำหวานในปลีกล้วยและดอกไม้
ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กินปลีอกเหลือง (/Nectarinia/
/jugularis/) กินปลีแก้มสีทับทิม (/Anthreptes singalensis/).
【 กินเปี้ยว 】แปลว่า: น. ชื่อนกกระเต็นชนิด /Halcyon chloris/ ในวงศ์ Alcedinidae
ปากแบนข้างสีดําปลายแหลม ลําตัวด้านบนสีน้ำเงินเขียว
คอและใต้ท้องสีขาว หากินในป่าแสม ป่าโกงกาง กินปูเปี้ยว
และปลา.
【 กินริน, กินรี 】แปลว่า: กินนะริน, กินนะรี น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง
พักตราแพ่งมานุษย์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 กินรินเลียบถ้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อท่ารำแม่บทท่าหนึ่ง, กินนรเลียบถ้ำ ก็ว่า.
【 กิ๊บ 】แปลว่า: น. ที่หนีบผมทําด้วยโลหะหรือพลาสติกเป็นต้น สําหรับบังคับผม
ให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการหรือเพื่อประดับตกแต่ง.
【 กิมตึ๋ง 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหมายถ้วยปั้นชนิดหนึ่งที่สั่งมาจากประเทศจีน. (จ.).
【 กิมิชาติ 】แปลว่า: (แบบ) น. หนอน, หมู่หนอน. (ป.).
【 กิมิวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยหนอน.
【 กิโมโน 】แปลว่า: น. เครื่องแต่งกายประจําชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม
แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มี
ลักษณะเช่นนั้น.
【 กิโยตีน 】แปลว่า: น. เครื่องมือประหารชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วยใบมีดขนาดใหญ่
ด้านคมมีลักษณะเฉียง เลื่อนลงมาตามร่องเสาให้ตัดคอนักโทษ.
(ฝ. guillotine).
【 กิระ 】แปลว่า: ว. เล่าลือ เช่น คํากิระ หมายความว่า คําเล่าลือ. (ป.).
【 กิริณี 】แปลว่า: น. ช้างพัง. (โบ เขียนเป็น กิรินี). (ป.).
【 กิรินท 】แปลว่า: -ริน, น. ช้างสําคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน
สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คําหลวง
วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).
【 กิริเนศวร 】แปลว่า: [-เนสวน, -เนด] น. ช้างสําคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 กิริยา 】แปลว่า: น. การกระทํา; อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย, มารยาท,
บางทีใช้ในอาการที่ดี เช่น มีกิริยา หมายความว่า มีกิริยาดี. (ป.).
【 กิริยาสะท้อน 】แปลว่า: น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอํานาจ
สั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยง
อันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
【 กิเลน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตําราของจีนว่า หัวเป็นมังกร
มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.
【 กิเลส, กิเลส- 】แปลว่า: [-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ
โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท
ในคําว่า กิเลสหยาบ.
【 กิเลสมาร 】แปลว่า: น. กิเลสซึ่งนับเป็นมารอย่างหนึ่ง. (ป.). /(ดู มาร)./
【 กิโล, กิโล- 】แปลว่า: เป็นคําประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า
พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง;
คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
【 กิโลกรัม 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราชั่งน้ำหนัก เท่ากับ ๑,๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก.,
(ปาก) เรียกสั้น ๆว่า กิโล หรือ โล. (ฝ. kilogramme).
【 กิโลไซเกิล 】แปลว่า: น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่า
เท่ากับ ๑,๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์.
(อ. kilocycle).
【 กิโลเมตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑,๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก)
เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล. (ฝ. kilometre).
【 กิโลลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวง เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร หรือ ๑ ลูกบาศก์เมตร,
อักษรย่อว่า กล. (ฝ. kilolitre).
【 กิโลเฮิรตซ์ 】แปลว่า: น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ
ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ เฮิรตซ์
หรือเท่ากับ ๑,๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. (อ. kilohertz).
【 กิโลมกะ 】แปลว่า: [-มะกะ] น. พังผืด. (ป.).
【 กิ่ว 】แปลว่า: ว. คอดมาก, เล็กตอนกลาง, เช่น คอกิ่ว ท้องกิ่ว หางกิ่ว;
(ถิ่น-พายัพ) คอด.
【 กิ๋ว ๑, กิ๋ว ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป
ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กุ๋ย หรือ กุ๋ย ๆ ก็ว่า.
【 กิ๋ว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ขนที่ขึ้นบนไฝดํา, ขนเพชร.
【 กี 】แปลว่า: /ดู กาบกี้/.
【 กี่ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องทอผ้า, เครื่องเย็บสมุด; ที่ตั้งพระกลดหรือ
พระแสงง้าวเป็นต้น.
【 กี่กระตุก 】แปลว่า: น. เครื่องทอผ้าชนิดหนึ่งที่มีสายกระตุกเพื่อให้กระสวย
พุ่งไปได้เอง.
【 กี่ ๒ 】แปลว่า: ว. คําประกอบหน้าคําอื่น หมายความว่า เท่าไร เช่น กี่วัน
กี่บาท, ใช้ตามหลังคําว่า ไม่ เป็น ไม่กี่ หมายความว่า ไม่มาก
ไม่หลาย เช่น ไม่กี่วัน ไม่กี่บาท. (โบ ว่า ขี หรือ ขี่).
【 กี่มากน้อย 】แปลว่า: ว. เท่าไร.
【 กี้, กี๊ 】แปลว่า: น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่
หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊
เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
【 กี๋ 】แปลว่า: น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ
มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะ
มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
【 กีฏ- 】แปลว่า: กีตะ- น. แมลง. (ป. กีฏ ว่า ตั๊กแตน).
【 กีฏวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยแมลง. (อ. entomology).
【 กีด 】แปลว่า: ก. กั้น, ขวาง, เกะกะ.
【 กีดกัน 】แปลว่า: ก. กันไม่ให้ทําได้โดยสะดวก.
【 กีดกั้น 】แปลว่า: ก. ขัดขวางไว้.
【 กีดขวาง 】แปลว่า: ก. ขวางกั้นไว้, ขวางเกะกะ.
【 กีดหน้าขวางตา 】แปลว่า: ก. เกะกะขัดขวางทําให้เขาไม่สะดวกใจ.
【 กีตาร์ 】แปลว่า: น. เครื่องดีดชนิดหนึ่ง รูปคล้ายซอฝรั่ง มี ๖ สาย ใช้มือดีด.
(อ. guitar).
【 กีบ ๑ 】แปลว่า: น. เล็บเท้าสัตว์บางชนิดในพวกกินหญ้าอย่างม้าและวัว.
【 กีบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหน่วยเงินตราของลาว.
【 กีบแรด 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินชนิด /Angiopteris evecta/ Hoffm. ในวงศ์ Marattiaceae
ทางใบยาวแยกแขนง ที่โคนก้านใบมีส่วนคล้ายกีบแรดหรือ
กีบม้ากํากับอยู่ ใช้ทํายาได้, ว่านกีบแรด หรือ ว่านกีบม้า ก็เรียก.
【 กีรติ 】แปลว่า: กีระติ น. เกียรติ. (ส.).
【 กีฬา 】แปลว่า: น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลินเพื่อความ
แข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียด
ทางจิต. (ป.). /(ดู กรีฑา)./
【 กึก 】แปลว่า: ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน)
ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
【 กึกก้อง 】แปลว่า: ว. ดังสนั่น, ดังมาก.
【 กึกกัก 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น, ติด ๆ ขัด ๆ.
【 กึกกือ 】แปลว่า: ว. ใช้เข้าคู่กับคํา พิลึก ว่า พิลึกกึกกือ หมายความว่า แปลกประหลาด
มาก, ผิดปรกติมาก, ชอบกลมาก.
【 กึง 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น, ดังก้อง.
【 กึงกัง 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างล้อเกวียนกระทบพื้นที่แข็ง.
【 กึ่ง 】แปลว่า: ว. ครึ่ง.
【 กึ่งกลาง 】แปลว่า: ว. ใจกลาง, ตรงกลาง.
【 กึ่งราชการ 】แปลว่า: ว. ไม่ใช่ทางราชการแท้.
【 กึ๋น 】แปลว่า: น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหาร
ต่อจากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและ
เหนียวสําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็น
เครื่องช่วย.
【 กุ ๑ 】แปลว่า: ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นโดยไม่มีมูล.
【 กุ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง, กล้วยสั้น ก็เรียก.
【 กุ ๓ 】แปลว่า: (โบ) ก. กรุ เช่น กุกดดดาน คือ กรุกระดาน. (จารึกสยาม).
【 กุก 】แปลว่า: ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น
เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง
เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง
แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น;
เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
【 กุ๊ก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกเค้า เรียกว่า นกกุ๊ก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กุ๊ก ๒ 】แปลว่า: น. คนทำอาหารในโรงแรมหรือภัตตาคารเป็นต้น. (อ. cook).
【 กุ๊ก ๓ 】แปลว่า: /ดู อ้อยช้าง (๑)/.
【 กุกกัก, กุก ๆ กัก ๆ 】แปลว่า: ว. กึกกัก, ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก; เสียงดังเช่นนั้น.
【 กุ๊กกิ๊ก, กุ๊ก ๆ กิ๊ก ๆ 】แปลว่า: ก. พูดหรือเล่นกันเงียบ ๆ; ประจบ เช่น ไปกุ๊กกิ๊กกับแม่
ไม่นานก็ได้เงินมา.
【 กุกกุฏ- 】แปลว่า: -กุตะ- น. ไก่, ไก่ป่า, เช่น กุกกุฏ สังวัจฉร (ปีระกา). (ป.).
【 กุกกุร- 】แปลว่า: -กุระ- น. สุนัข, ลูกสุนัข, เช่น กุกกุร สังวัจฉร (ปีจอ). (ป.).
【 กุกขี้หมู 】แปลว่า: /ดู รักหมู ที่ รัก ๑/.
【 กุกรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. การชั่ว, การไม่ดี. (ส.; ป. กุกมฺม).
【 กุก่อง 】แปลว่า: (โบ) ว. รุ่งเรือง, สุกใส, เช่น กุก่องกนกมี. (สมุทรโฆษ).
【 กุกะ 】แปลว่า: ว. ขรุขระ เช่น ทั้งน้ำใจก็ดื้อดันดุกุกะไม่คิดกลัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กุกะมะเทิ่ง 】แปลว่า: ว. ทะลึ่งตึงตัง.
【 กุกุธภัณฑ์ 】แปลว่า: กุกุดทะ- น. กกุธภัณฑ์.
【 กุ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ
Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบน
หรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุม
มาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและ
ขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม
มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด
กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
【 กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล /Alpheus/
ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่ง
โตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะเมื่อ
กระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย
หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและ
น้ำกร่อย ยกเว้นชนิด /Alpheus microrhynchus/ ที่พบอยู่ใน
น้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
【 กุ้งนาง 】แปลว่า: น. กุ้งก้ามกรามเพศเมียลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้
เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน.
【 กุ้งฝอย 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ มีหลายชนิด ที่พบในทะเล คือ ชนิด /Penaeopsis/
/avirostris/ ในวงศ์ Penaeidae ที่พบในน้ำจืด คือ สกุล /Caridina/
และ สกุล /Atyopsis/ ในวงศ์ Atyidae และชนิด /Macrobrachium/
lanchesteri ในวงศ์ Palaemonidae.
【 กุ้งฟัด 】แปลว่า: น. กุ้งแห้งที่เอาเปลือกออก.
【 กุ้งมังกร 】แปลว่า: /ดู หัวโขน ๓/.
【 กุ้งไม้ 】แปลว่า: น. กุ้งที่ปอกเปลือกเสียบไม้ตากแห้ง.
【 กุ้งส้ม 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ
และกระเทียม.
【 กุ้งหนามใหญ่ 】แปลว่า: /ดู หัวโขน ๓/.
【 กุ้งหลวง 】แปลว่า: /ดู ก้ามกราม/.
【 กุ้งเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด /Penaeus latisulcatus/ ในวงศ์ Penaeidae
ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดํา ลําตัวสีเหลืองปนน้ำตาล ขอบของ
ส่วนท้องสีม่วง แพนหางสีฟ้า, กุ้งเหลืองหางฟ้า ก็เรียก.
【 กุ้งเหลืองหางฟ้า 】แปลว่า: /ดู กุ้งเหลือง/.
【 กุ้งแห 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด /Macrobrachium equidens/ ในวงศ์
Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย
พบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล.
【 กุ้งแห้ง 】แปลว่า: น. กุ้งทะเลที่ตากแห้ง, โดยปริยายหมายความว่า ผอมมาก.
【 กุ้ง ๒ 】แปลว่า: ว. โกงน้อย ๆ, ใช้แก่หลังว่า หลังกุ้ง คือ หลังโกงน้อย ๆ.
【 กุ้งเต้น 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์หลายชนิดในวงศ์ Talitridae, Hyalidae และ
Acanthogammaridae เป็นต้น ลักษณะคล้ายกุ้ง ลําตัว
มีขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง
หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗
ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัวโต
กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัด
มามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่ สุดท้ายสั้นแข็งใช้
สําหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งน้ำหรือที่ชื้นแฉะ
ชนิดที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทยได้แก่
/Orchestia floresiana/.
【 กุ้งยิง 】แปลว่า: น. ฝีหัวเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการอักเสบที่ต่อมขอบตา.
【 กุงอน 】แปลว่า: [-งอน] น. นกช้อนหอย เช่น มีกุโงกกุงานและกุงอน.
(สมุทรโฆษ).
【 กุงาน 】แปลว่า: น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ.
(สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิต
พยุหยาตรา).
【 กุโงก 】แปลว่า: น. นกยูง, กระโงก ก็ใช้. (ข. โกฺงก).
【 กุจี 】แปลว่า: (แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจํานง. (สุธน).
【 กุญแจ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลัก
ไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก
มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา
ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
【 กุญแจกล 】แปลว่า: น. กุญแจที่เปิดโดยใช้รหัส.
【 กุญแจประจำหลัก 】แปลว่า: น. กุญแจเสียง.
【 กุญแจปากตาย 】แปลว่า: น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง รูปร่างตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง
คล้ายก้ามปู มีขนาดปากตายตัว ใช้สําหรับขันหรือคลาย
นอตเป็นต้น.
【 กุญแจผี 】แปลว่า: น. ลูกกุญแจหรือเส้นลวดเป็นต้นที่ทําขึ้นสําหรับไขกุญแจ
มักใช้เพื่อการทุจริต.
【 กุญแจมือ 】แปลว่า: น. ห่วงเหล็กมีกุญแจไข สําหรับเจ้าหน้าที่ใช้ใส่ข้อมือผู้ต้องหา.
【 กุญแจรหัส 】แปลว่า: น. กุญแจที่ใช้ระบบสัญลักษณ์; สมุดประมวลรหัส เพื่อใช้
เข้ารหัสและถอดรหัส บรรจุข้อความที่เข้ารหัสไว้ด้านหนึ่ง
และข้อความที่ถอดรหัสแล้วไว้อีกด้านหนึ่ง.
【 กุญแจเลื่อน 】แปลว่า: น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบสําหรับเลื่อนเพื่อ
ปรับขนาดปากได้ ใช้สําหรับขันหรือคลายนอตเป็นต้น.
【 กุญแจเสียง 】แปลว่า: น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียงดนตรีสากล
เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนดระดับเสียง
ของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก.
(รูปภาพ กุญแจเสียง)
【 กุญแจแหวน 】แปลว่า: [-แหฺวน] น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง ตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง
มีลักษณะคล้ายแหวน ขอบเหลี่ยม มีขนาดตายตัว ใช้สําหรับ
ขันหรือคลายนอต เป็นต้น.
【 กุญชร 】แปลว่า: กุนชอน น. ช้าง. (ป.).
【 กุฎ, กุฎา 】แปลว่า: กุด, กุดา น. ยอด เช่น มัชฌิมากุฎาประมาณ.
(สมุทรโฆษ). (ป., ส. กูฏ).
【 กุฎาคาร 】แปลว่า: น. เรือนยอดเช่นปราสาท เช่น ธก็แต่งกุฎาคาร ปราสาท. (ลอ.).
【 กุฎาธาร 】แปลว่า: น. ยอด เช่น กุฎาธารธาษตรี. (ยอพระเกียรติ ร. ๒).
【 กุฎี 】แปลว่า: น. กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ, เรือนหรือตึก
สําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส. กุฏิ).
【 กุฎุมพี 】แปลว่า: /ดู กระฎุมพี./ (ป. กุฏุมฺพิก; ส. กุฏุมฺพินฺ).
【 กุฏฐัง 】แปลว่า: น. โรคเรื้อนซึ่งทําให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป. (ป.).
【 กุฏไต 】แปลว่า: (แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า
เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ
ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสําหรับทหาร).
【 กุฏิ ๑ 】แปลว่า: [กุด, กุดติ, กุติ] น. เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่.
(ป., ส.).
【 กุฏิ ๒ 】แปลว่า: [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้
นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).
【 กุณฑ์ 】แปลว่า: น. ไฟ เช่น เกิดกุณฑ์วุ่นวายทั้งเวียงชัย. (อิเหนา). (ส.).
【 กุณฑล 】แปลว่า: [-ทน] น. ตุ้มหู. (ป., ส.).
【 กุณฑี 】แปลว่า: [-ที] น. คนที, หม้อน้ำ, หม้อน้ำมีหู, เต้าน้ำ, เช่น
พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้. (โลกนิติ). (ป., ส.).
【 กุณโฑ 】แปลว่า: [-โท] น. คนโท, หม้อน้ำ.
【 กุณาล 】แปลว่า: -นาน น. นกดุเหว่า เช่น การวิกระวังวน กุณาล.
(สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
【 กุณิ, กุณี 】แปลว่า: น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุด
ธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี.
(ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 กุด 】แปลว่า: ก. ตัด ในคําว่า กุดหัว ว่า ตัดหัว. ว. ด้วนสั้นหรือเหี้ยนเข้า
ไป เช่น ยอดกุด นิ้วกุด หางกุด. (ถิ่น-อีสาน) น. บึง, ลําน้ำ
ที่ปลายด้วน.
【 กุดัง 】แปลว่า: (ปาก) น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, โกดัง ก็เรียก;
เรียกรถบรรทุกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า รถกุดัง. (ม. gudang
ว่า โรงงาน, โรงเก็บของ, ร้านขายของ).
【 กุดั่น 】แปลว่า: น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก
เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น
คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็น
ดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า
ประจํายาม.
【 กุดา 】แปลว่า: (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์.
(ม. คําหลวง มัทรี).
【 กุทัณฑ์ 】แปลว่า: น. เกาทัณฑ์, ธนู.
【 กุน 】แปลว่า: น. ชื่อปีที่ ๑๒ ของรอบปีนักษัตร มีหมูเป็นเครื่องหมาย.
【 กุ๊น 】แปลว่า: ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียง
เย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่
คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น.
【 กุนเชียง 】แปลว่า: น. ไส้กรอกอย่างจีน.
【 กุนที 】แปลว่า: [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนที
น้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย +
นที = แม่น้ำ).
【 กุโนกามอ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปัตตานี) น. ต้นคนทีเขมา. /(ดู คนทีเขมา ที่ คนที ๒)./
【 กุบ 】แปลว่า: น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดใน
กระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ในซองหนังนั้น
ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่นและพวก
เงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
【 กุบกับ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 กุม 】แปลว่า: ก. เอาอุ้งมือปิด ป้อง กัน หรือ จับไว้ เช่น กุมขมับ กุมมือ
กุมดาบ; คุม เช่น กุมตัว กุมสติ กุมอํานาจ.
【 กุมลัคน์ 】แปลว่า: (โหร) ก. ลักษณาการที่ดาวพระเคราะห์อยู่ประจำในเรือนเดียว
กับลัคน์ เรียกว่ากุมลัคน์.
【 กุ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นในสกุล /Crateva/ วงศ์ Capparidaceae ใบเป็น
ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว
แล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ผิวนอกแข็งและ
สาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [/C. adansonii/ DC. subsp.
/trifoliata/ (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [/C. magna/
(Lour.) DC. และ /C. religiosa/ Forst.f.].
【 กุมฝอย 】แปลว่า: น. ขยะ, เศษของที่ทิ้งแล้ว, คุมฝอย หรือ มูลฝอย ก็ว่า.
【 กุมภ-, กุมภ์ 】แปลว่า: [กุมพะ-] น. หม้อ; ชื่อกลุ่มดาวรูปหม้อ เรียกว่า ราศีกุมภ์
เป็นราศีที่ ๑๐ ในจักรราศี. (ป.).
【 กุมภการ 】แปลว่า: น. ช่างหม้อ. (ป.).
【 กุมภาพันธ์ 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มต้นด้วยเดือนมกราคม
มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่ง
เริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. กุมฺภ = หม้อ + อาพนฺธ = ผูก
= เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกุมภ์).
【 กุมภนิยา 】แปลว่า: น. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.
【 กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ 】แปลว่า: [-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร
โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น
ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).
【 กุมภัณฑยักษ์ 】แปลว่า: น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลม
นี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน.
(แพทย์).
【 กุมภา 】แปลว่า: (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อม
เสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
【 กุมภิล, กุมภีล์ 】แปลว่า: กุมพิน, -พี น. จระเข้. (ป. กุมฺภีล; ส. กุมฺภีร).
【 กุมเหง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กําลังหรืออํานาจทําให้เดือดร้อน,
คุมเหง ก็ว่า.
【 กุมาร 】แปลว่า: [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง);
ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
【 กุมารลฬิตา 】แปลว่า: [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย
๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ
หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า
กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี
ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 กุมารา 】แปลว่า: (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความ
แสนเสนหาพยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี.
(ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
【 กุมารี 】แปลว่า: น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
【 กุมุท 】แปลว่า: กุมุด น. บัว, บัวขาว, บัวสาย. (ป., ส.); เลขนับ
จํานวนสูงเท่ากับ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ยกกําลัง๑๕ หรือ ๑ มี
๐ ตามหลัง ๑๐๕ ตัว.
【 กุย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด /Saiga tatarica/ ในวงศ์ Bovidae
มีถิ่นกําเนิดในแถบไซบีเรียตอนใต้มองโกเลียตะวันตก
และจีนตะวันตกเฉียงเหนือ เขามีราคาแพง ใช้ทํายาได้.
【 กุย ๒ 】แปลว่า: น. ชาวป่าพวกหนึ่งคล้ายพวกมูเซอ.
【 กุย ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. หมัด, กําปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลูก ว่า
ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี. (ขุนช้างขุนแผน).
【 กุ๊ย 】แปลว่า: น. คนเลว, คนโซ. (จ. กุ๊ย ว่า ผี).
【 กุ๋ย, กุ๋ย ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป
ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
【 กุยช่าย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Allium tuberosum/ Roxb. ในวงศ์ Alliaceae
คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามา
ปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
【 กุยเฮง 】แปลว่า: น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม
มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. (จ.).
【 กุรระ, กุรุระ 】แปลว่า: กุระระ, กุรุระ น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น
แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
(ป., ส. กุรร).
【 กุระ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Sapium indicum/
Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและ
ริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยก
ออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
【 กุรุง 】แปลว่า: (โบ) น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์
อดิเรกประดับบริพาร. (บุณโณวาท).
【 กุรุพินท์ 】แปลว่า: น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์.
(ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
【 กุรุส 】แปลว่า: น. มาตรานับจำนวน เท่ากับ ๑๒ โหล หรือ ๑๔๔. (อ. gross).
【 กุเรา 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล
/Eleutheronema/ และ /Polynemus/ วงศ์ Polynemidae
ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม
๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด
/E. tetradactylum, P. sextarius/, กุเลา ก็เรียก.
【 กุล ๑, กุล- 】แปลว่า: [กุน, กุนละ-, กุละ-] น. ตระกูล, สกุล. (ป., ส.).
【 กุลทูสก 】แปลว่า: [กุละทูสก] น. ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุที่ประจบ
ตระกูลต่าง ๆด้วยอาการที่ผิดวินัย. (ป.).
【 กุลธิดา 】แปลว่า: [กุนละ-] น. ลูกหญิงผู้มีตระกูล.
【 กุลบดี 】แปลว่า: [กุนละ-] น. หัวหน้าตระกูล. (ส.).
【 กุลบุตร 】แปลว่า: [กุนละ-] น. ลูกชายผู้มีตระกูล.
【 กุลสตรี 】แปลว่า: [กุนละ-] น. หญิงผู้มีตระกูลและมีความประพฤติดี.
【 กุลสัมพันธ์ 】แปลว่า: [กุนละ-] ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล. (ป.).
【 กุล ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นพิกุล. /(ดู พิกุล)./
【 กุลา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า,
ว่าวจุฬา ก็เรียก.
【 กุลา ๒ 】แปลว่า: น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุหล่า หรือ คุลา ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ)
ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่งว่า กุลาขาว, เรียก
ชนชาติแขกว่า กุลาดํา.
【 กุลาซ่อนผ้า 】แปลว่า: น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง.
【 กุลาตีไม้, กุลาตีอก 】แปลว่า: น. การเล่นชนิดหนึ่งในงานพระราชพิธี. (กฎ. ราชบุรี; ดึกดําบรรพ์).
【 กุลา ๓ 】แปลว่า: /ดู ช้อนหอย ๒/.
【 กุลาดำ 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด /Penaeus monodon/ ในวงศ์ Penaeidae
ตัวแบนข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำ
และสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว.
【 กุลาลาย 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด /Penaeus semisulcatus/ ในวงศ์ Penaeidae
รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดํา สีน้ำตาลอมแดง แต่มี
ลายน้อยกว่ากุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
【 กุลาหล 】แปลว่า: -หน ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล.
(รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 กุลี ๑ 】แปลว่า: น. คนรับจ้างทํางานหนักมีหาบหามเป็นต้น.
【 กุลี ๒ 】แปลว่า: เพี้ยนมาจาก กลี เช่น เกิดการกุลี. (กฎ. ราชบุรี).
【 กุลี ๓ 】แปลว่า: ลักษณนามบอกปริมาณ คือผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน
(ใช้แก่ผ้าลาย ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า และโสร่ง เป็นต้น).
【 กุลีกุจอ 】แปลว่า: ก. ช่วยจัดช่วยทําอย่างเอาจริงเอาจัง.
【 กุเลา 】แปลว่า: น. ปลากุเรา. (ดู กุเรา).
【 กุแล 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล /Sardinella/ และ /Herklotsichthys/
วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม
เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียง
ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก
ซี่เหงือกมีจํานวนมากไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน
เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือก
มักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดําคล้ำ
อมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล
ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล
/Dussumieria/ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่
มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน
เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร,
อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ
อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย,
หลังเขียว ก็เรียก.
【 กุเวร 】แปลว่า: [-เวน] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศอุดร,
ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. (ป., ส.).
【 กุศราช 】แปลว่า: [กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้าย
ผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง.
(สังข์ทอง).
【 กุศล 】แปลว่า: [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
【 กุศลกรรมบถ 】แปลว่า: [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ
กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
【 กุศโลบาย 】แปลว่า: [กุสะ-, กุดสะ-] น. อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).
【 กุสล 】แปลว่า: -สน น. กุศล. (ป.; ส. กุศล).
【 กุสุม, กุสุม- 】แปลว่า: กุสุมะ-, กุสุมมะ- น. ดอกไม้. (ป.).
【 กุสุมวิจิตร 】แปลว่า: น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ
ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตาม
แบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา
ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 กุสุมภ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกคํา. (ป.).
【 กุสุมา 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกไม้. (ป.).
【 กุสุมาลย์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกไม้. (ป.).
【 กุสุมิตลดาเวลลิตา 】แปลว่า: [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนด
ด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ
บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา
กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ
ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
【 กุหนี 】แปลว่า: -หฺนี น. กระสอบป่าน, งู่หนี ก็ว่า. (ส. โคณี ว่า
กระสอบป่าน).
【 กุหนุง 】แปลว่า: [-หฺนุง] น. เขาสูง. (ช.).
【 กุหร่า 】แปลว่า: [-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสี
ชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า
กะบังหน้า).
【 กุหล่า 】แปลว่า: [-หฺล่า] น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ คุลา ก็ว่า.
【 กุหลาบ 】แปลว่า: [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล /Rosa/ วงศ์ Rosaceae
ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก
ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียก
ชื่อต่าง ๆ กันดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ
หรือ ยี่สุ่น (/R. damascena/ Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่ม
หรือไม้ต้นขนาดเล็กในสกุล /Rhododendron/ วงศ์ Ericaceae
ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (/R. simsii/ Planch.)
กุหลาบขาว (/R. ludwigianum/ Hoss.).
【 กุแหละ 】แปลว่า: [-แหฺละ] น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว
หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบ
ปากน้ำ สําหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
【 กู 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 กู่ ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน.
(ม. คําหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
【 กู่ ๒ 】แปลว่า: ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
【 กู่ไม่กลับ 】แปลว่า: (สํา) ก. ไม่ฟังคําทัดทาน, ห้ามไม่อยู่.
【 กู้ ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่
เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากน้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.
【 กู้ภัย 】แปลว่า: ก. ช่วยให้รอดปลอดภัย.
【 กู้หน้า 】แปลว่า: (ปาก) ก. ช่วยทําให้ชื่อเสียงคงดีอยู่.
【 กู้ ๒, กู้ยืม 】แปลว่า: ก. ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ย.
【 กู๊ก 】แปลว่า: น. นกกุ๊ก.
【 กูฏ, กูฏา 】แปลว่า: กูด, กูตา น. ยอด. (ป., ส.).
【 กูฏาคาร 】แปลว่า: (แบบ) น. เรือนยอด. (ป., ส.).
【 กูณฑ์ 】แปลว่า: น. ไฟ, หลุมไฟ, หม้อไฟ. (ส.).
【 กูด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ ชนิดที่กินได้
เช่น กูดขาว หรือ ผักกูด (/Diplazium esculentum/ Sw.) กูดกิน
[/Pteridium aquilinum/ (L.) Kuhn var. /yarrabense/
Domin] กูดแดง (/Stenochlaena palustris/ Bedd.);ทางเหนือ
และอีสาน เรียกเฟินว่า กูด.
【 กูด ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน, ปักษ์ใต้) ว. หงิก เช่น ผักกูด คือ ผักยอดใบหงิก.
【 กูน 】แปลว่า: น. ลูก. (ข.).
【 กูบ 】แปลว่า: น. ประทุนหลังช้าง, ประทุนรถเช่นรถม้าที่มีรูปโค้ง, ลักษณนามว่า
หลัง.
【 กูปรี 】แปลว่า: [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด /Bos sauveli/ ในวงศ์ Bovidae
ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่
ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่
ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ
จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า
โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย
ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
【 กูรม-, กูรมะ 】แปลว่า: [กูระมะ] น. เต่า. (ส.).
【 กูรมาวตาร 】แปลว่า: [-วะตาน] น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์.
(ส.).
【 กูรมาวตาร 】แปลว่า: /ดู กูรม-, กูรมะ/.
【 กูรำ 】แปลว่า: /ดู เลียงผา ๑/.
【 เก 】แปลว่า: ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา)
เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร;
(ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
【 เก่ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เข้าที เช่น ว่าไม่เป็นเก่ คือ ว่าไม่เข้าที.
【 เก๊ 】แปลว่า: ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่
ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่าไม่มีราคา,
ใช้การไม่ได้. (จ.).
【 เก๋ 】แปลว่า: ว. งามเข้าที.
【 เกก 】แปลว่า: ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า
เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้าง
หนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า
เขื่อนเกก.
【 เก๊ก 】แปลว่า: (ปาก) ก. วางท่า; ขับไล่. (จ.).
【 เก๊กหน้า 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตีหน้าขรึมหรือทําหน้าตายเป็นต้น.
【 เกกมะเหรก 】แปลว่า: [-มะเหฺรก] ว. เกเร.
【 เก๊กฮวย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Chrysanthemum/ วงศ์ Compositae
ชนิด /C. indicum/ L.ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน
ก็เรียก, และชนิด /C. morifolium/ Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว
กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชง
กับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.
【 เก้กัง, เก้ๆ กังๆ 】แปลว่า: ว. ขวาง ๆ รี ๆ, กีดเกะกะ, (ใช้แก่กิริยายืนและเดิน).
【 เก็ง 】แปลว่า: ก. กะ, คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ, เช่น เก็งหมัด เก็งข้อสอบ.
【 เก็งกำไร 】แปลว่า: ก. หวังหากําไรด้วยการเสี่ยง.
【 เก่ง 】แปลว่า: ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง,
เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง
ลืมเก่ง.
【 เก่งกาจ 】แปลว่า: ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร.
【 เก่งแต่ปาก 】แปลว่า: ว. ดีแต่พูด ทําไม่ได้, ไม่เก่งจริง.
【 เก้ง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล
จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขา
และเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง
หรือฟาน (/Muntiacus muntjak/) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ
เก้งดํา (/M. feae/) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา
ที่หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก
กวางจุก.
【 เก๋ง 】แปลว่า: น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและ
หลังคาแบนสําหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะ
เช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.
【 เก๋งพั้ง 】แปลว่า: น. เรือสําปั้นขนาดใหญ่มีเก๋งกลางลํา เช่น เรือเก๋งพั้งทั้งสอง
สํารองเสร็จ. (นิ. ลอนดอน).
ใช้เข้าคู่กับคํา เขย่ง เป็น เขย่งเกงกอย. (ไทยใหญ่ เกง ว่า
กระโดดตีนเดียวเนื่องในการเล่น).
【 เก้งก้าง 】แปลว่า: ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางดูเกะกะไม่เรียบร้อย.
【 เกงเขง, เกงเคง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเจี๊ยบเปรี้ยว. /(ดู กระเจี๊ยบเปรี้ยว ที่ กระเจี๊ยบ)./
【 เก็จ ๑ 】แปลว่า: น. แก้วประดับ.
【 เก็จ ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนที่ยื่นออกมาจากหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กําแพง ฐาน
หรือเชิงกลอน.
【 เกจิอาจารย์ 】แปลว่า: น. ”อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ
ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
【 เกชา, เกอิชา 】แปลว่า: น. ผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีศิลปะและวิชาชีพในการปรนนิบัติผู้ชาย. (ญิ.).
【 เกณฑ์ 】แปลว่า: น. หลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์, หลักวินิจฉัย เช่น
ถือความรู้เป็นเกณฑ์. ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น
เกณฑ์ประชาชนมาทําถนน.
【 เกณฑ์ทหาร 】แปลว่า: (ปาก) ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร
กองประจำการในยามปรกติ.
【 เกณฑ์เมืองรั้ง 】แปลว่า: น. ตําแหน่งเก่าในราชการ ซึ่งเป็นตําแหน่งสํารองเจ้าเมือง.
【 เกณฑ์หัด 】แปลว่า: น. ทหารลูกหมู่เลกสมที่ให้หัดตามแบบทหารสมัยใหม่.
【 เกณฑ์ตะพัด 】แปลว่า: น. เครื่องผูกสําหรับหัดช้างให้เดินฝีเท้าเรียบ. (สิบสองเดือน).
【 เกด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Manilkara hexandra/ (Roxb.)
Dubard ในวงศ์ Sapotaceae ผลคล้ายละมุดสีดา สุกแล้ว
มีรสหวาน กินได้.
【 เกด ๒ 】แปลว่า: /ดู เนื้ออ่อน และ สายยู/.
【 เกด ๓ 】แปลว่า: น. ลูกองุ่นแห้งชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกเกด. (อ. raisin คงเพี้ยน
มาจาก grape = องุ่น).
【 เก็ด 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Dalbergia/ วงศ์
Leguminosae เช่น เก็ดดํา เก็ดแดง เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือนได้.
【 เกตุ, เกตุ- 】แปลว่า: [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙
หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี
ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก
ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู.
(ป., ส.).
【 เกตุมาลา 】แปลว่า: [เก-ตุมาลา, เกดมาลา] น. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียร
ของพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 เกน ๑ 】แปลว่า: น. นาง. (ช.).
【 เกน ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. เกณฑ์.
【 เกน ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ,
เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์
ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน. (ม. คำหลวง ชูชก).
【 เก่น 】แปลว่า: ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกาย
เก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 เก็บ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่
เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่
ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา
เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้า
ประกอบหลังคํานามหมายความว่าที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ =
ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บ
ไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ดเป็นก้อนแข็ง
เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
【 เก็บกวาด 】แปลว่า: ก. เก็บข้าวของให้เข้าที่และกวาดทำความสะอาด.
【 เก็บกิน 】แปลว่า: ก. เก็บผลประโยชน์เอาไว้ใช้สอยยังชีพ เช่น มีห้องแถวอยู่
๒ ห้องได้อาศัยเก็บกินค่าเช่า.
【 เก็บเกี่ยว 】แปลว่า: ก. เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้.
【 เก็บข้าว 】แปลว่า: ก. เอาข้าวมาจากลูกหนี้แทนเงินที่ยืมไปใช้ก่อน, ใช้คู่กับคำ
ตกข้าว.
【 เก็บข้าวตก 】แปลว่า: ก. เก็บรวงข้าวที่เก็บเกี่ยวตกหล่นในท้องนา.
【 เก็บความ 】แปลว่า: ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
【 เก็บงำ 】แปลว่า: ก. รักษาไว้ให้มิดชิด, รักษาไว้ให้ดี.เก็บดอกไม้ร่วมต้น (สำ)
ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกัน
ในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
【 เก็บตก 】แปลว่า: ก. เก็บของที่ผู้อื่นทําตกไว้.
【 เก็บตัว ๑ 】แปลว่า: ก. กักตัวไว้.
【 เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว 】แปลว่า: ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคม
กับใคร.
【 เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน 】แปลว่า: (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย
โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
【 เก็บผม 】แปลว่า: ก. เอากรรไตรเล็มผมให้เสมอกัน.
【 เก็บไร 】แปลว่า: ก. ถอนผมที่ไรออกเพื่อรักษาไรผมให้งาม.
【 เก็บเล็กผสมน้อย 】แปลว่า: ก. เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย.
【 เก็บเล็ม 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ เก็บทีละน้อย.
【 เก็บเล่ม 】แปลว่า: ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับ
เลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
【 เก็บสี 】แปลว่า: ก. รักษาสีไม่ให้จางตกไป.
【 เก็บหน้าผ้า 】แปลว่า: ก. ทอกันหน้าผ้าไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกมา.
【 เก็บหอมรอมริบ 】แปลว่า: ก. เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย.
【 เก็บ ๒ 】แปลว่า: น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป
ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง
เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
【 เกม ๑ 】แปลว่า: น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อ
ความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม
เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธี
หรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนาม
เรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วยการแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ
เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
【 เกม ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. สิ้นสุด, จบ, เช่น เรื่องนี้เกมไปนานแล้ว. (อ. game).
【 เกย ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด ว่า แม่เกย หรือ มาตราเกย.
【 เกย ๒ 】แปลว่า: น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จ
ขึ้นหรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท
หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง
มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี.
ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่
ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน.
(รูปภาพ เกย)
【 เกยลา 】แปลว่า: น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านายรองจาก
พระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
【 เกยแห้ง 】แปลว่า: ก. ขึ้นไปค้างอยู่บนบก.
【 เกยูร 】แปลว่า: -ยูน น. สร้อยอ่อน, สายสร้อย, ทองต้นแขน, กําไล.
(ป., ส.).
【 เกรง 】แปลว่า: [เกฺรง] ว. นึกกลัวไปเอง, นึกวิตกไปเอง, เช่น เกรงว่าเขาจะเดือดร้อน.
【 เกรงกลัว 】แปลว่า: ก. กลัว.
【 เกรงขาม 】แปลว่า: ก. คร้าม, เกรง.
【 เกรงใจ, เกรงอกเกรงใจ 】แปลว่า: ก. ไม่อยากจะให้ผู้อื่นรู้สึกลําบากเดือดร้อนรําคาญใจ.
【 เกร็ง 】แปลว่า: [เกฺร็ง] ก. ทํากล้ามเนื้อให้แข็ง เช่น เกร็งข้อ เกร็งแขน.
ว. อาการที่กล้ามเนื้อเป็นต้นแข็งอย่างงอไม่ได้ เช่น
มือเกร็ง เท้าเกร็ง.
【 เกร็ด ๑ 】แปลว่า: [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน
ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
【 เกร็ด ๒ 】แปลว่า: [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ
ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล
สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียน
เล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะ
มีผลสรุปออกมา.
【 เกรน 】แปลว่า: [เกฺรน] น. มาตราชั่งอย่างหนึ่งของอังกฤษ ๑ เกรน เท่ากับ
๖๔.๗๙๙ มิลลิกรัม. (อ. grain).
【 เกร่อ 】แปลว่า: [เกฺร่อ] ว. ลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกินเรื่องใช้เป็นต้นที่
คนโดยมากมักทํากัน เช่นกินกันเกร่อ เที่ยวกันเกร่อ ใช้กันเกร่อ.
【 เกรอะ 】แปลว่า: [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น
อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะ
น้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้น
ซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
【 เกรอะกรัง 】แปลว่า: [เกฺรอะกฺรัง] ว. หมักหมมแห้งติดอยู่.
【 เกราะ ๑ 】แปลว่า: [เกฺราะ] น. เครื่องสวมใส่หรือเครื่องหุ้มสําหรับป้องกันอาวุธ
หรืออันตราย เช่น เสื้อเกราะ รถเกราะ.
【 เกราะ ๒ 】แปลว่า: [เกฺราะ] น. เครื่องสัญญาณทําด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง.
【 เกราะ ๓ 】แปลว่า: [เกฺราะ] ว. แห้งจนกรอบในลักษณะอย่างหญ้าแห้งหวายแห้ง
เป็นต้น เช่น ฟางแห้งเกราะ มะขามเกราะ.
【 เกราะ ๔ 】แปลว่า: [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา.
(รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ
ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
【 เกริก 】แปลว่า: [เกฺริก] ว. กึกก้อง, ดังสนั่น, เลื่องลือ, ยิ่ง.
【 เกริน 】แปลว่า: [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่
๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
【 เกรินบันไดนาค 】แปลว่า: น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญ
พระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
【 เกรินบุษบก 】แปลว่า: น. เกรินที่ต่อออกไปทางด้านข้างฐานบุษบกมาลาทั้ง ๒ ข้าง
เพื่อส่งรูปฐานบุษบกให้งอนแอ่นขึ้นคล้ายหัวและหางเรือ.
【 เกรินราชรถ 】แปลว่า: น. เกรินที่ส่วนหัวและท้ายราชรถ.
【 เกริ่น ๑ 】แปลว่า: [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชาย
ร้องนําในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญ
ฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
【 เกริ่น ๒ 】แปลว่า: เกฺริ่น น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วย
ไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
【 เกรียก ๑ 】แปลว่า: [เกฺรียก] ก. เอามีดสับ ผ่า หรือจักชิ้นไม้ให้ฉีกออกไปตามเนื้อไม้
เพื่อให้เป็นซีกเป็นเสี้ยวน้อย ๆ เช่น เกรียกไม้ทำเชื้อไฟ.
【 เกรียก ๒ 】แปลว่า: [เกฺรียก] น. ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่น
ยาวแค่เกรียก.
【 เกรียง ๑ 】แปลว่า: [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็ก
เป็นรูปแบน ๆ.
【 เกรียง ๒ 】แปลว่า: [เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สําเนียงเกรียงระงม.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 เกรียงไกร 】แปลว่า: [-ไกฺร] ว. ใหญ่ยิ่ง.
【 เกรียด 】แปลว่า: [เกฺรียด] ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้า
ขบเคี้ยว. (นิ. เพชร).
【 เกรียน ๑ 】แปลว่า: [เกฺรียน] ว. สั้นเกือบติดหนังหัว ผิวหนังหรือพื้นที่ เช่น ผมเกรียน
หมาขนเกรียน หญ้าเกรียน.
【 เกรียน ๒ 】แปลว่า: [เกฺรียน] /ดู เลี่ยน ๑/.
【 เกรียน ๓ 】แปลว่า: [เกฺรียน] น. แป้งซึ่งนวดด้วยน้ำร้อนแล้วไม่น่ายเป็นเม็ดปนอยู่
เม็ดนั้นเรียกว่า เกรียน; เรียกปลายข้าวขนาดเล็กว่า
ข้าวปลายเกรียน.
【 เกรียบ 】แปลว่า: [เกฺรียบ] น. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเพื่อให้แข็ง เรียกว่า
ตะกั่วเกรียบ; เรียกของกินทําด้วยข้าวเป็นแผ่น ๆ มีหลายอย่าง
เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบอ่อน.
【 เกรียม 】แปลว่า: [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูก
ความร้อนมีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น
ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
【 เกรียมกรม 】แปลว่า: ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เตรียมตรม
หรือ ตรมเตรียม ก็ได้.
【 เกรียว 】แปลว่า: [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว,
ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียง
เอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
【 เกรียวกราว 】แปลว่า: ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า
ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
【 เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ 】แปลว่า: [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น
อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
【 เกรี้ยวกราด 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรง
ด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
【 เกรี้ยวโกรธ 】แปลว่า: ก. โกรธจัด, โกรธเกรี้ยว ก็ว่า.
【 เกเร 】แปลว่า: ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบ
เขา, มักใช้เข้าคู่กับคํา พาล เป็น พาลเกเร.
【 เกเรเกตุง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่เอางานเอาการ, ไม่เอาเรื่องเอาราว.
【 เกเรเกเส 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่ตรงไปตรงมา.
【 เกล็ด 】แปลว่า: น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ
สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ
คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด,
โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ.ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อ
กินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม
นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น
เกล็ดไพ่.
【 เกล็ดกระดี่ 】แปลว่า: ว. เรียกอาการโรคที่เกิดขึ้นที่ตาเด็กว่า ตาเกล็ดกระดี่.
【 เกล็ดกระโห้ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมทําด้วยแป้ง น้ำตาล ไข่ เป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ด
ปลากระโห้ ผิงให้สุกกรอบ.
【 เกล็ดนาค 】แปลว่า: น. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.
【 เกล็ดเลือด 】แปลว่า: น. เม็ดเลือดขนาดเล็ก เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
มาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด.
【 เกล็ดถี่ 】แปลว่า: /ดู นางเกล็ด/.
【 เกล็ดปลาช่อน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Phyllodium pulchellum/ (L.) Desv. ในวงศ์
Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว
ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไป
ตามแนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
【 เกล็ดหอย 】แปลว่า: น. (๑) เทียนเกล็ดหอย. /(ดู เทียนเกล็ดหอย ที่ เทียน ๓)./
(๒) /ดู หญ้าเกล็ดหอย/.
【 เกลศ 】แปลว่า: กะเหฺลด น. กิเลส เช่น ตัดมูลเกลศมาร. (ส.).
【 เกลอ 】แปลว่า: [เกฺลอ] น. เพื่อนสนิท.
【 เกลา 】แปลว่า: [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น
เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน
หนังสือ เกลานิสัย.
【 เกลากลึง 】แปลว่า: ว. งามเกลี้ยงเกลา, กลึงเกลา ก็ว่า.
【 เกล้า 】แปลว่า: [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง)
เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก
เกล้ามวย.
【 เกล้ากระผม 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพ
มากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า
หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 เกล้ากระหม่อม 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้า
วรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จ
พระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน,
เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 เกลาะ 】แปลว่า: [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง.
(อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา.
(รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 เกลี่ย 】แปลว่า: [เกฺลี่ย] ก. กระจายของออกไปให้เสมอกัน.
【 เกลี่ยไกล่ 】แปลว่า: ก. พูดจาให้ตกลงกัน, พูดให้ปรองดองกัน; ทําให้เรียบร้อย,
ทําให้มีส่วนเสมอกัน, ไกล่เกลี่ย ก็ว่า.
【 เกลี้ย 】แปลว่า: เกฺลี้ย ก. ชักชวน, ทําให้ไล่เลี่ยกัน, เช่น เกลี้ยกระมล
บันโดย. (ตะเลงพ่าย).
【 เกลี้ยกล่อม 】แปลว่า: ก. ชักชวนจูงใจให้ร่วมพวก, พูดจูงใจให้คล้อยตามหรือ
ปฏิบัติตาม.
【 เกลียง 】แปลว่า: [เกฺลียง] น. หญ้า เช่น เกลียงอ่อนห่อนโคลด ละไว้. (โลกนิติ).
【 เกลี้ยง ๑ 】แปลว่า: [เกฺลี้ยง] ว. เรียบ ๆ ไม่ขรุขระหรือไม่มีลวดลาย; หมดไม่มีเหลือ
ไม่มีอะไรติดอยู่ เช่น หมดเกลี้ยง กินเสียเกลี้ยง.
【 เกลี้ยงเกลา 】แปลว่า: ว. หมดจดหรือเรียบร้อย เช่น หน้าตาเกลี้ยงเกลา หนังสือเล่มนี้
สํานวนเกลี้ยงเกลา.
【 เกลี้ยง ๒ 】แปลว่า: น. ส้มเกลี้ยง. /(ดู ส้ม ๑)./
【 เกลียด 】แปลว่า: [เกฺลียด] ก. ชัง, รังเกียจมาก, ไม่ชอบจนรู้สึกไม่อยากพบ
อยากเห็นเป็นต้น, บางทีใช้คู่กับคํา ชัง ว่า เกลียดชัง.
【 เกลียดตัวกินไข่ 】แปลว่า: (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้
เข้าคู่กับ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ว่า เกลียดตัวกินไข่
เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
【 เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง 】แปลว่า: (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา,
มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ ว่า เกลียดตัวกินไข่
เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
【 เกลียว 】แปลว่า: [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอย
ต่อเนื่องอย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น,
ลักษณะของเชือกที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น
เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน
แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก
๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย
เพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า
สับเกลียว หรือ สับเชือก.ว. โดยปริยายหมายความว่า
ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น
เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวก
หรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
【 เกลียวกลม 】แปลว่า: ก. กลมเกลียว.
【 เกลียวข้าง 】แปลว่า: น. กล้ามเนื้อที่สีข้าง.
【 เกลียวคอ 】แปลว่า: น. กล้ามเนื้อที่คอ สําหรับทําให้เอี้ยวคอได้สะดวก.
【 เกลียวหวาน 】แปลว่า: น. เกลียวของนอตเป็นต้นที่ชำรุดไม่กินเกลียวกัน.
【 เกลี่ยวดำ 】แปลว่า: [เกฺลี่ยว-] น. โรคเปลี่ยวดํา.
【 เกลือ 】แปลว่า: [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไป
ได้มาจากน้ำทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่ง
ประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
【 เกลือกรด 】แปลว่า: (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปรสภาพเป็น
ไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือหมู่ธาตุที่
เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต
(NaHSO4). (อ. acid salt).
【 เกลือแกง 】แปลว่า: น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึก
สีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม,
เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่นเรียกว่า น้ำเกลือ
สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่
อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
【 เกลือเงิน 】แปลว่า: น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็น
ผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรม
ชุบโลหะให้เป็นเงิน.
【 เกลือจิ้มเกลือ 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อ
คนเค็มมาพบกัน.
【 เกลือจืด 】แปลว่า: น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทํานาเกลือ มีปน
อยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือ เกลือที่
ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก.
【 เกลือด่าง 】แปลว่า: น. เกลือเบสิก.
【 เกลือด่างคลี 】แปลว่า: น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตํารายาไทย.
【 เกลือเบสิก 】แปลว่า: (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยอนุมูลกรดเข้าไปแทนที่หมู่ไฮดรอกซิล
(OH) ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของเบสไม่หมด เช่น เลดไฮดรอกซีคลอไรด์
[Pb(OH)Cl], เกลือด่าง ก็ว่า. (อ. basic salt).
【 เกลือปรกติ 】แปลว่า: (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปรสภาพเป็น
ไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือหมู่ธาตุที่
เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต
(Na2SO4). (อ. normal salt).
【 เกลือเป็นหนอน 】แปลว่า: (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคน
ในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.
【 เกลือฟอง 】แปลว่า: น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตํารายาไทย.
【 เกลือยูเรต 】แปลว่า: น. เกลือของกรดยูริก.
【 เกลือสมุทร 】แปลว่า: น. เกลือที่ได้จากน้ำทะเล.
【 เกลือสินเธาว์ 】แปลว่า: น. เกลือที่ได้จากดินเค็ม.
【 เกลื้อ 】แปลว่า: [เกฺลื้อ] ก. เกลือก, เกลี้ย, กลั้ว, ระคน, เจือ.
【 เกลือก ๑ 】แปลว่า: [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น,
เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา.
เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล;
ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว.
เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บน
ที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้
หรือด้วยความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความ
ทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
【 เกลือก ๒ 】แปลว่า: [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า
เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำ
เข้ามาประสมประสาน เกลือกว่าเหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 เกลื้อน 】แปลว่า: [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (/Malassezia furfur/)
ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
【 เกลื่อน ๑ 】แปลว่า: [เกฺลื่อน] ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน
หล่นเกลื่อน. ก. ทําให้ยุบหรือราบลง เช่น เกลื่อนที่ เกลื่อนฝี.
เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด ว. เกลื่อน.
【 เกลื่อน ๒, เกลื่อนความ 】แปลว่า: [เกฺลื่อน] ก. เสความ.
【 เกไล 】แปลว่า: (โบ) น. ลักษณะนุ่งผ้าแบบหนึ่งสําหรับขี่ช้างเช่นช้างน้ำมัน.
(ตําราขี่ช้าง).
【 เกวัฏ 】แปลว่า: เกวัด น. ชาวประมง, พรานเบ็ด, พรานแห, พรานปลา.
(ป. เกวฏฺฏ).
【 เกวียน 】แปลว่า: [เกฺวียน] น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม,
ลักษณนามว่า เล่ม; ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น
๑ เกวียน.เกวียนหลวง น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตรา
เท่ากับ ๒,๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว.
【 เกศ, เกศ- 】แปลว่า: เกด, เกดสะ- น. ผม, ในบทกลอนใช้หมายถึง หัว ก็มี
เช่น ก้มเกศ.
【 เกศธาตุ 】แปลว่า: น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศา
ของพระพุทธเจ้า.
【 เกศพ, เกศวะ 】แปลว่า: [-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์
หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).
【 เกศา 】แปลว่า: (กลอน) น. หัว; ผม.
【 เกศากันต์ 】แปลว่า: ก. ตัดจุก, โกนจุก, (ใช้เฉพาะเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า).
【 เกศินี 】แปลว่า: น. นางผู้มีผมงาม เช่น โฉมแก้วเกศินีนาฏ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
(ส.).
【 เกศี 】แปลว่า: (กลอน) น. หัว; ผม.
【 เกษตร 】แปลว่า: [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร.
(ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
【 เกษตรกร 】แปลว่า: [กะเสดตฺระกอน] น. ผู้ทําเกษตรกรรม. (ส.).
【 เกษตรกรรม 】แปลว่า: [กะเสดตฺระกํา] น. การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้ง
การเลี้ยงสัตว์ การประมงและการป่าไม้. (ส.).
【 เกษตรและสหกรณ์ 】แปลว่า: น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร การเศรษฐกิจการเกษตร
การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์
การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน และการสหกรณ์.
【 เกษตรศาสตร์ 】แปลว่า: [กะเสดตฺระสาด] น. วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม. (ส. เกฺษตฺร +
ศาสฺตฺร = วิชา).
【 เกษม 】แปลว่า: [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น
เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี).
(ส.; ป. เขม).
【 เกษมศานต์, เกษมสันต์ 】แปลว่า: ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป.
【 สนฺต). 】แปลว่า:
【 เกษียณ 】แปลว่า: [กะเสียน] ก. สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกําหนดอายุ) เช่น
เกษียณอายุราชการ. (ส. กฺษีณ; ป. ขีณ).
【 เกษียณอายุ 】แปลว่า: [กะเสียน-] ก. ครบกําหนดอายุรับราชการ, สิ้นกําหนดเวลารับราชการ
หรือการทํางาน, พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มี.
【 เกษียน 】แปลว่า: [กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียน
ไว้บนหัวกระดาษคําสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน.
ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).
【 เกษียร 】แปลว่า: กะเสียน น. น้ำนม. (ส. กฺษีร; ป. ขีร).เกษียรสมุทร
น. ทะเลน้ำนม, ที่ประทับของพระนารายณ์. (ส. กฺษีร + สมุทฺร).
【 เกส, เกสา, เกสี 】แปลว่า: น. เกศ, เกศา, เกศี. (ป.).
【 เกสร 】แปลว่า: [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว,
เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี
ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้;
(แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล.
(ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).
【 เกสรทั้งห้า 】แปลว่า: น. เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอกบุนนาค
เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.
【 เกสรี 】แปลว่า: เกสะรี, เกดสะรี น. สิงโต, สิงห์, ราชสีห์. (ป.).
【 เก้อ 】แปลว่า: ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป
เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ,
ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น
แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่
เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ
ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
【 เก้อเขิน 】แปลว่า: ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
【 เกะ 】แปลว่า: ว. สั้น เช่น ควายเขาเกะแค่หู. (สิบสองเดือน).
【 เกะกะ 】แปลว่า: ว. กีด, ขวาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น วางของเกะกะ; ประพฤติเป็น
พาลเกเร เช่น คนเกะกะ.
【 เกา 】แปลว่า: ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น,
อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
【 เกาสมอ 】แปลว่า: ก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะในขณะที่กำลัง
กว้านสมอขึ้นเก็บ.
【 เก่า 】แปลว่า: ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า,
คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน
แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ,
หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
【 เก้า 】แปลว่า: น. จํานวนแปดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙
ตกในราวเดือนสิงหาคม.
【 เก๋า 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Serranidae ที่มีสีต่าง ๆ เป็นแต้ม
ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้าทึบ เช่น ตุ๊กแก (/Epinephelus salmoides/)
หมอทะเล (/Promicrops lanceolatus/).
【 เกาต์ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป
เป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ
เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทําให้มี
อาการบวมและปวด. (อ. gout).
【 เกาทัณฑ์ 】แปลว่า: น. ธนู, กุทัณฑ์ ก็ใช้. (ป., ส. โกทณฺฑ).
【 เกาทุมพร 】แปลว่า: [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่า
ควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
【 เกาบิน 】แปลว่า: น. ผ้าปิดของลับ. (ส. เกาปิน; ป. โกปิน).
【 เกาบิล 】แปลว่า: [-บิน] น. ชื่อแหวนคู่กับสายธุรําในพิธีพราหมณ์.
【 เกามาร 】แปลว่า: -มาน น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสอง
พระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 เกาลัด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Sterculia monosperma/ Vent. ในวงศ์
Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผล
หนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง
สีน้ำตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้.
【 เกาลัดจีน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Castanea mollissima/ Blume
ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน
เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน
เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้.
【 เกาลิน 】แปลว่า: น. ดินเกาเหลียง. (อ. kaolin).
【 เกาไศย 】แปลว่า: -ไส น. ผ้าไหม. (ส. เกาเศยฺย; ป. โกเสยฺย).
【 เกาหลี 】แปลว่า: [-หฺลี] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่ง อยู่ในคาบสมุทรทาง
ตะวันออกของทวีปเอเชีย.
【 เกาเหลา 】แปลว่า: [-เหฺลา] น. แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด. (จ.).
【 เกาเหลียง ๑ 】แปลว่า: [-เหฺลียง] น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
【 เกาเหลียง ๒ 】แปลว่า: [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี,
ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
【 เก้าอี้ 】แปลว่า: น. ที่สําหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด
ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่าเก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า
เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. (จ.).
【 เกาะ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก
ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ
หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 เกาะ ๒ 】แปลว่า: ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา,
เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้,
โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ
หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่
วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
【 เกาะกิน 】แปลว่า: ก. อาศัยกินอยู่กับคนอื่นโดยเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว
ไม่ช่วยทํางานหรือช่วยเหลือจุนเจือผู้นั้น, ทําตัวดุจกาฝาก.
【 เกาะ ๓ 】แปลว่า: ว. เสียงเคาะ.
【 เกาะแกะ 】แปลว่า: ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เช่น มันเกาะแกะเกิน
ก้ำเป็นธรรมดา. (ขุนช้างขุนแผน), เคาะแคะ ก็ว่า.
【 เกิง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน.
(ทวาทศมาส).
【 เกิ้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. กั้น, บัง, มุง, เช่น เอาผ้าเกิ้งแดด เกิ้งหลังคา.
น. ฉัตร.
【 เกิด 】แปลว่า: ก. เป็นขึ้น, มีขึ้น, กําเนิด; มีขึ้นเป็นขึ้นโดยกะทันหัน เช่น เกิดตาย
ไปเสียก่อนที่จะได้รับมรดก เกิดฝนตกลงมา.
【 เกิดสูรย์ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เกิดสุริยุปราคา, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกิดจันทร์ เป็น
เกิดสูรย์เกิดจันทร์.
【 เกิน 】แปลว่า: ว. พ้น, เลย, คํานี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากําหนด
เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร.
【 เกินการ 】แปลว่า: ก. มากกว่าที่ต้องประสงค์ เช่น แก่เกินการ เอาของมาเกินการ.
【 เกินกิน 】แปลว่า: ว. กินไม่ดีเพราะแก่เกินไป เช่น อ้อยท่อนนี้แก่เกินกิน.
【 เกินคน 】แปลว่า: ว. ยิ่งกว่าคนสามัญ เช่น ฉลาดเกินคน เลวเกินคน.
【 เกินงาม 】แปลว่า: ว. มากไปจนหมดงาม เช่น แต่งตัวเกินงาม.
【 เกินดี 】แปลว่า: ว. เลยไปจนหมดดี เช่น ทําเกินดี คือใช้ให้ไปทําอะไร แต่ทําจน
เกินต้องการ เรียกว่า ทําเกินดี.
【 เกินตัว 】แปลว่า: ว. เกินฐานะ เช่น ใช้จ่ายเกินตัว, เกินสภาพปรกติ เช่น รู้เกินตัว
ทำงานเกินตัว.
【 เกินไป 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายคําวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่า
เกินกําหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
【 เกินเลย 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมล้ำทาง
จํานวน.
【 เกินหน้า, เกินหน้าเกินตา 】แปลว่า: ว. เกินกว่า เด่นกว่า หรือดีกว่าฐานะของตนเองหรือของคนอื่น.
【 เกิบ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. เกือก.
【 เกิบ ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. กําบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์.
(สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา. (สรรพสิทธิ์).
【 เกียกกาย ๑ 】แปลว่า: น. กองเสบียง (เป็นส่วนหนึ่งในกองทัพ), หัวหน้าแห่งกองเสบียงนั้น.
【 เกียกกาย ๒ 】แปลว่า: ก. ตะเกียกตะกาย, ขวนขวาย, เช่น ค่อยเกียกกายหาเลี้ยงตน.
(สุบิน).
【 เกียง 】แปลว่า: ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใด
อันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล. (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.
【 เกี่ยง 】แปลว่า: ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทําเพราะกลัวจะเสียเปรียบกัน
เป็นต้น.
【 เกี่ยงงอน 】แปลว่า: ก. เกี่ยงอย่างมีเงื่อนไข, เกี่ยงเอาเชิง.
【 เกี่ยงตาย 】แปลว่า: ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม
จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
【 เกี๋ยง ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย.
【 เกี๋ยง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ขีดกา, ขีดไขว้.
【 เกี๋ยงคำ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลําเจียก. /(ดู ลำเจียก)./
【 เกียจ 】แปลว่า: [เกียด] ก. คด, ไม่ซื่อ, โกง, คร้าน.
【 เกียจกล 】แปลว่า: ก. ซ่อนกล.
【 เกียจคร้าน 】แปลว่า: ก. ขี้เกียจ, ไม่อยากทํางาน.
【 เกียด ๑ 】แปลว่า: น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสําหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำ
นวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.
【 เกียด ๒ 】แปลว่า: ก. กัน, กั้น.
【 เกียดกัน 】แปลว่า: ก. กันไม่ให้ทําโดยสะดวก.
【 เกียด ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ปาดให้เสมอ.
【 เกียน 】แปลว่า: น. อ่าว, ทะเล, เช่น เกาะเกียน. (ข.).
【 เกี้ยมไฉ่ 】แปลว่า: น. ผักดองเค็มชนิดหนึ่ง. (จ.).
【 เกี้ยมอี๋ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง.
(จ. ว่า เจียมอี๊).
【 เกียร์ 】แปลว่า: น. กลอุปกรณ์ที่ส่งผ่านกําลังและการเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไป
ยังอีกส่วนหนึ่งของเครื่องกล; ส่วนหนึ่งของรถยนต์ เรือยนต์
เป็นต้น ต่อจากคลัตช์ ทําหน้าที่เปลี่ยนอัตราส่วนการทดรอบ
ระหว่างเครื่องยนต์กับล้อ, เขียนเป็น เกีย ก็มี. (อ. gear).
【 เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ 】แปลว่า: [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ,
ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
【 เกียรติคุณ 】แปลว่า: [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
【 เกียรตินิยม 】แปลว่า: [เกียดนิยม] น. ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปรกติที่มหาวิทยาลัย
กําหนดไว้.
【 เกียรติประวัติ 】แปลว่า: [เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น. ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ,
ประวัติที่เลื่องลือ.
【 เกียรติภูมิ 】แปลว่า: [เกียดติพูม] น. เกียรติเพราะความนิยม.
【 เกียรติยศ 】แปลว่า: [เกียดติยด] น. เกียรติโดยฐานะตําแหน่งหน้าที่หรือชาติชั้นวรรณะ.
【 เกียรติศักดิ์ 】แปลว่า: [เกียดติสัก] น. เกียรติ, เกียรติตามฐานะของแต่ละบุคคล.
【 เกียรติมุข 】แปลว่า: [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปน
หน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง
ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู
เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง
นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่
ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐาน
พระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
【 เกี่ยว 】แปลว่า: ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอ
ให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือ
เหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว,
ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย,
เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น
หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า
เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
【 เกี่ยวก้อย 】แปลว่า: (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อย
กันไปเที่ยวเชียงใหม่.
【 เกี่ยวข้อง 】แปลว่า: ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า.
【 เกี่ยวข้าว 】แปลว่า: น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า
เพลงเกี่ยวข้าว.
【 เกี่ยวดอง 】แปลว่า: ว. นับเป็นญาติกันทางเขยหรือสะใภ้.
【 เกี่ยวดองหนองยุ่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. เกี่ยวดองกันอย่างซับซ้อน.
【 เกี่ยวเบ็ด 】แปลว่า: ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด.
【 เกี่ยวแฝกมุงป่า 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําอะไรเกินกําลังความสามารถของตัว.
【 เกี่ยวพัน 】แปลว่า: ก. ติดเนื่องกัน, พัวพัน.
【 เกี่ยวโยง 】แปลว่า: ก. ต่อเนื่องไปถึง.
【 เกี้ยว ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก,
ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง
เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางที
เข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น
เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักใน
เชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
【 เกี้ยวเกไล 】แปลว่า: น. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสําหรับขี่ช้าง.
【 เกี้ยวคอไก่ 】แปลว่า: น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้แล้วเหน็บให้แน่น.
【 เกี้ยวนวม 】แปลว่า: น. เกี้ยวที่ใส่หัวและนวมที่สวมคอ.
【 เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี 】แปลว่า: ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว.
【 เกี้ยว ๒ 】แปลว่า: น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
【 เกี้ยวประทีป 】แปลว่า: น. ซุ้มไฟทําเป็นรูปอย่างเกี้ยว.
【 เกี๊ยว 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลี ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
【 เกี๊ยะ 】แปลว่า: น. เกือกไม้แบบจีน. (จ.).
【 เกื้อ, เกื้อกูล 】แปลว่า: ก. อุดหนุน, เจือจาน, เอื้อเฟื้อ, เผื่อแผ่.
【 เกือก 】แปลว่า: (ปาก) น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า
รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท.
【 เกือกม้า 】แปลว่า: น. เหล็กรูปโค้งสําหรับรองกีบม้า.
【 เกือบ 】แปลว่า: ว. จวน, เจียน, แทบ, หวิด.
【 เกือบไป 】แปลว่า: ก. จวนเจียน, จักแหล่น.
【 แก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Corvus splendens/ ในวงศ์ Corvidae รูปร่าง
คล้ายกา แต่ตัวและปากเล็กกว่า ด้านหลังท้ายทอยสีเทา,
อีแก ก็เรียก.
【 แก ๒ 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง,
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 แก่ ๑ 】แปลว่า: ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น,
อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว
แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปใน
ทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
【 แก่กล้า 】แปลว่า: ก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า.
【 แก่ดีกรี 】แปลว่า: (ปาก) ว. ดื่มสุราหรือเมรัยมาก.
【 แก่แดด 】แปลว่า: ว. ทําเป็นผู้ใหญ่เกินอายุ (มักใช้แก่เด็ก).
【 แก่ตัว 】แปลว่า: ว. ย่างเข้าวัยแก่.
【 แก่บ้าน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน.
【 แก่ไฟ 】แปลว่า: ว. ใช้ไฟแรงเกินไป (มักใช้แก่การหุงหรือต้มที่ใช้ไฟแรงจนเกือบไหม้).
【 แก่แรด 】แปลว่า: ว. จัดจ้านเกินอายุ, แก่เกินอายุ, แก่มาก.
【 แก่วัด 】แปลว่า: ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับการอบรม
จากวัดหรืออยู่วัดนาน; รู้มาก.
【 แก่ ๒ 】แปลว่า: บ. ใช้นําหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก.
【 แก่ ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. ลาก เช่น แก่เกวียน.
【 แก้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สําหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย
เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. /(ดู เบี้ยแก้ ประกอบ)./
【 แก้ ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่
เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น,
ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น,
เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ
แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้;
ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น
ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
【 แก้เกี้ยว 】แปลว่า: ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว.
【 แก้ขวย, แก้เขิน 】แปลว่า: ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.
【 แก้ขัด 】แปลว่า: ก. แก้ข้อขัดข้องให้ลุล่วงไปชั่วคราว.
【 แก้ไข 】แปลว่า: ก. ทําส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, แก้ ก็ว่า.
【 แก้เคล็ด 】แปลว่า: ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือ
ป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.
【 แก้แค้น 】แปลว่า: ก. ทําตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น.
【 แก้เชิง 】แปลว่า: ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง
หรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง.
【 แก้ตก 】แปลว่า: ก. แก้ให้สําเร็จลุล่วงไปได้.
【 แก้ตัว 】แปลว่า: ก. พูดหรือทําเพื่อปลดเปลื้องความผิดหรือข้อผิดพลาดของตน.
【 แก้ต่าง 】แปลว่า: (กฎ) ก. ว่าความแทนจําเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง
ว่าความแทนโจทก์.
【 แก้ที 】แปลว่า: ก. แก้ตาเดิน (ใช้แก่การเล่นหมากรุก).
【 แก้โทษ 】แปลว่า: ก. ลุแก่โทษ.
【 แก้บน 】แปลว่า: ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.
【 แก้บาป 】แปลว่า: ก. สารภาพความผิดเพื่อให้พ้นบาป.
【 แก้ผ้า 】แปลว่า: ก. เอาผ้าที่นุ่งอยู่ออกจากตัว, เปลือยกายไม่นุ่งผ้า, เช่น เด็กนอน
แก้ผ้า เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
【 แก้เผ็ด 】แปลว่า: ก. ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
【 แก้ฝัน 】แปลว่า: ก. เล่าฝันให้ผู้อื่นทํานาย, ทํานายฝัน.
【 แก้ฟ้อง 】แปลว่า: (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
【 แก้มือ 】แปลว่า: ก. ขอสู้ใหม่, ทําสิ่งที่เสียแล้วเพื่อให้ดีขึ้น.
【 แก้ลำ 】แปลว่า: ก. ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น.
【 แก้หน้า 】แปลว่า: ก. ทําให้พ้นอาย.
【 แกง 】แปลว่า: น. กับข้าวประเภทที่เป็นน้า มีชื่อต่าง ๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง
เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ดูที่คํานั้น ๆ). ก. ทํากับข้าวประเภท
ที่เป็นแกง.
【 แกงคั่ว 】แปลว่า: น. แกงกะทิชนิดหนึ่ง คล้ายแกงเผ็ดแต่มีรสออกเปรี้ยว เช่น
แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
【 แกงจืด 】แปลว่า: น. กับข้าวที่ปรุงเป็นน้า รสไม่เผ็ด.
【 แกงบวด 】แปลว่า: น. ของหวานที่ใช้ผลไม้ เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น ต้มกับ
น้ำตาลและกะทิ.
【 แกงป่า 】แปลว่า: น. แกงเผ็ดที่ไม่ใส่กะทิ.
【 แกงเผ็ด 】แปลว่า: น. แกงพวกหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องเผ็ดร้อนเช่นเครื่องเทศ กะทิ
มีรสเผ็ด.
【 แกงร้อน 】แปลว่า: น. ชื่อแกงจืดชนิดหนึ่งใส่วุ้นเส้น.
【 แกงส้ม 】แปลว่า: น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ
กะทิ หรือ น้ำมัน มีรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้
หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อ
ตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ
แกงส้มดอกแค.
【 แก่ง 】แปลว่า: น. พืดหินหรือโขดหินที่กีดขวางทางน้ำ มักจะมีตามต้นแม่น้ำ.
【 แก้ง 】แปลว่า: ก. ขูดให้หมด; เคล็ด, ยอก, เช่น คอแก้ง.
【 แก้งก้น 】แปลว่า: น. เรียกไม้ชําระว่า ไม้แก้งก้น.
【 แก๊ง 】แปลว่า: (ปาก) น. กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี)
เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล. (อ. gang).
【 แกงขม 】แปลว่า: น. เครื่องกินกับขนมจีนน้ายา มีมะระหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แล้วลวกให้สุก.
【 แกงได 】แปลว่า: น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ,
ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง
๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
【 แกงแนง 】แปลว่า: น. ไม้ค้ายันไขว้เป็นรูปกากบาทระหว่างเสาเพื่อป้องกันโครงสร้าง
มิให้เซหรือรวน.
【 แก่งแย่ง 】แปลว่า: ก. พยายามเอารัดเอาเปรียบกันหรือจะเอาแต่ได้ข้างเดียว,
ไม่ปรองดองกัน.
【 แกโดลิเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๔ สัญลักษณ์ Gd เป็นโลหะที่หายากมาก
ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่๑๓๑๒? ซ. (อ. gadolinium).
【 แกน 】แปลว่า: น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็ง
ที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น
ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ
เต็มแกน.
【 แกนทราย 】แปลว่า: น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทย
ด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและ
เหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน
แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูปตาม
ที่ต้องการ.
【 แก่น 】แปลว่า: น. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลัก
สําคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.
【 แก่นแก้ว 】แปลว่า: ว. ยิ่งในทางที่เลว, เก่งในทางซุกซนหรือในทางไม่สู้ดี. (ถิ่น-พายัพ)
น. เพชร.
【 แก่นสาร 】แปลว่า: น. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ, คุณประโยชน์, (มักใช้ใน
ความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร.
【 แกนะ 】แปลว่า: กะแหฺนะ ก. แกะ, สลัก, เจาะ.
【 แกแน 】แปลว่า: น. เรียกเด็กที่ทําตัวอวดรู้เป็นผู้ใหญ่ว่า เด็กแกแน.
【 แก๊ป 】แปลว่า: น. ชื่อหมวกของทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้น
ที่มีกะบังหน้า เรียกว่า หมวกแก๊ป; เครื่องที่ทําให้ระเบิดเป็น
ประกายติดดินปืน เดิมมีรูปเหมือนหมวกแก๊ปแต่ไม่มีกะบัง
ปิดหน้า; ชื่อปืนชนิดหนึ่ง มีนกสับ ใช้ยัดกระสุนและดินปืนทาง
ปาก และสับแก๊ป เรียกว่า ปืนแก๊ป. (อ. cap).
【 แกม 】แปลว่า: ว. ปน เช่น ด้ายแกมไหม คือ ด้ายปนไหม, แต่มีความหมาย
ไปในทางที่ว่า สิ่งที่ปนมีอยู่เป็นส่วนน้อย.
【 แก้ม 】แปลว่า: น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง,
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่
๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
【 แก้มช้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด /Puntius orphoides/ ในวงศ์ Cyprinidae
รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า
โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิด
เหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่าง
ดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
【 แก้มแดง 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L.
【 แกมมา 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงาน
สูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่
ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอํานาจใน
การเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตร
ได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม
ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของ
ธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร.
(อ. gamma).
【 แก้มแหม่ม 】แปลว่า: น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด /Eugenia javanica/ Lam.
ผลกลมแป้น สีชมพูเรื่อ ๆ.
【 แกรก 】แปลว่า: [แกฺรก] ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจาก
การย่องหรือเล็ดลอด.
【 แกร่ง 】แปลว่า: [แกฺร่ง] ว. แข็ง, แข็งกร้าว.
【 แกร็น 】แปลว่า: [แกฺร็น] ว. ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช).
【 แกรนิต 】แปลว่า: [แกฺร-] น. หินอัคนีชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหินเขี้ยวหนุมาน
หินฟันม้า และแร่กลีบหินเป็นส่วนใหญ่ มีหลายสี ขัดให้เป็น
เงาได้ กรดไม่กัด แข็งและทนทานมาก. (อ. granite).
【 แกรไฟต์ 】แปลว่า: [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก
(plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่น
บาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อน
และไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่น
บางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุม
จํานวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
【 แกร่ว 】แปลว่า: [แกฺร่ว] ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน.
【 แกระ ๑ 】แปลว่า: [แกฺระ] น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสําหรับตัดรวงข้าว ใช้ทางปักษ์ใต้.
ก. ตัด, แทง, เช่น กฤชกรดแกระทรวง. (ขุนช้างขุนแผน).
【 แกระ ๒ 】แปลว่า: แกฺระ น. กรับ.
【 แกล 】แปลว่า: แกฺล น. หน้าต่าง, ใช้ว่า พระแกล เช่น เปิดพระแกล.
【 แกล่ 】แปลว่า: แกฺล่ ว. ใกล้, เกือบ, เช่น สามลักษณะนี้ใกล้ แกล่แม้นไป่มี.
(โลกนิติ).
【 แกล้ง 】แปลว่า: [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น
เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใด
อย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด
เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ)
ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 แกล้งเกลา 】แปลว่า: ว. ประณีต, ประดิดประดอย.
【 แกลน 】แปลว่า: [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร.
(สรรพสิทธิ์).
【 แกลบ ๑ 】แปลว่า: [แกฺลบ] น. เปลือกข้าวที่สีหรือตําแตกออกจากเมล็ดข้าว.
【 แกลบ ๒ 】แปลว่า: [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า
คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน
รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว
ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกอง
แกลบที่ผุพัง เช่นชนิด /Pycnocelis surinamensis/ ในวงศ์ Blaberidae
แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะ
มูลฝอย เช่น ชนิด /Blattella germanica, Supella supellectilium/
ในวงศ์ Blattellidae.
【 แกลบ ๓ 】แปลว่า: [แกฺลบ] น. เรียกม้าพันธุ์เล็กว่า ม้าแกลบ; เรียกวิหาร
ขนาดเล็กว่า วิหารแกลบ.
【 แกลบ ๔ 】แปลว่า: [แกฺลบ] น. เทียนแกลบ. /(ดู เทียนแกลบ ที่ เทียน ๓)./
【 แกลบหนู, แกลบหูหนู 】แปลว่า: [แกฺลบ-] /ดู กระดูกอึ่ง/.
【 แกล้ม 】แปลว่า: [แกฺล้ม] น. ของกินกับเหล้า, กับแกล้ม ก็ว่า. ว. ไปด้วยกัน,
ควบคู่กันไป, แกมกัน, (ใช้แก่กิริยากิน) เช่น กินแกล้มเหล้า.
【 แกลลอน 】แปลว่า: [แกน-] น. หน่วยวัดปริมาตรของอังกฤษ ๑ แกลลอน = ๔.๕๔๖๐๙
ลิตร (British Imperial gallon), หน่วยวัดปริมาตรของสหรัฐอเมริกา
๑ แกลลอน = ๓.๗๘๕๔๔ ลิตร (U.S. gallon). (อ. gallon).
【 แกลเลียม 】แปลว่า: [แกน-] น. ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน
ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙.๗๘ บซ เดือดที่ ๒๑๐๐ บซ.
ใช้ทําเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้วัดอุณหภูมิสูง ๆ สารประกอบแกลเลียม
อาร์เซไนด์ใช้ประโยชน์เป็นวัตถุกึ่งตัวนํา. (อ. gallium).
【 แกล้ว 】แปลว่า: [แกฺล้ว] ว. กล้า, องอาจ, เก่ง, ว่องไว.
【 แกละ 】แปลว่า: [แกฺละ] น. ผมเด็กผู้ชายที่เอาไว้เป็นแหยมตรงแง่ศีรษะ
เรียกว่า ผมแกละ.
【 แกแล ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน
ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากจั่ว อาจสลักลวดลาย
ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
【 แกแล ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งชนิด /Maclura cochinchinensis/
(Lour.) Corner ในวงศ์ Moraceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม
แก่นเหลืองใช้ย้อมผ้าและทํายา, กะแล หรือ เข ก็เรียก.
【 แกว ๑ 】แปลว่า: น. คนชาติหนึ่งในเขตตังเกี๋ย.
【 แกว ๒ 】แปลว่า: น. เรียกไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลายสําหรับชักกบในรูว่า ขอแกว.
【 แกว ๓ 】แปลว่า: น. เบาะแส, ระแคะระคาย, ในคําว่า รู้แกว.
【 แกว ๔ 】แปลว่า: น. (๑) พริกแกว. /[ดู ขี้หนู ๑ (๑)]./ (๒) มันแกว. /(ดู มันแกว ที่ มัน ๑)./
【 แก้ว ๑ 】แปลว่า: น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย,
ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว
เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น
ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น;
เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว;
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อัน
หมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่า
สิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว
ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว
ข้าวเหนียวแก้ว.
【 แก้วก๊อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม.
【 แก้วกุ้ง 】แปลว่า: น. รังไข่ของกุ้งที่เจริญเต็มที่ มีสีแดงอมส้มหรือสีส้ม, ชาวบ้าน
เข้าใจว่าเป็นมันกุ้งที่เป็นก้อนอยู่ในหัวกุ้ง.
【 แก้วแกลบ 】แปลว่า: [-แกฺลบ] น. ตะกรันเกิดจากเถ้าแกลบที่แข็ง มีสีขาว; ชื่อแร่
หินชนิดหนึ่ง.
【 แก้วชิงดวง 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เป็นลายแย่งดอกกันหรือเป็นดอกเกี่ยวกัน,
ชิงดวง ก็ว่า.
【 แก้วตา 】แปลว่า: น. ส่วนสําคัญของตาที่ทําให้แลเห็น, ส่วนใสของดวงตามีรูปกลม
นูนทั้ง ๒ ข้าง ลักษณะใส แต่พื้นหลังนูนออกมากกว่าพื้นหน้า
ตั้งอยู่ภายในดวงตา (ข้างหลังกระจกตา กั้นอยู่ระหว่าง posterior
chamber กับ vitreous body ของดวงตา); โดยปริยายใช้เรียก
สิ่งที่รักยิ่ง.
【 แก้วผลึก 】แปลว่า: น. แก้วหินสีขาวสลัว. (อ. milky quartz).
【 แก้วมรกต 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นและในปาก
มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทําให้หน้าเขียว บางทีก็เหลืองหรือดํา
ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกํา เท้างอ. (แพทย์).
【 แก้ววิเชียร 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นหรือเพดานหรือ
กระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้อง
นับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
【 แก้วสารพัดนึก 】แปลว่า: น. แก้วที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดมีอยู่แล้ว นึกอะไรได้อย่างใจ.
【 แก้วสีไม้ไผ่ 】แปลว่า: น. ไพฑูรย์, เพชรตาแมว.
【 แก้วหิน 】แปลว่า: น. แร่เขี้ยวหนุมาน สีขาวใสหรือมัว.
【 แก้วหู 】แปลว่า: น. เยื่อในหูสําหรับรับเสียง.
【 แก้ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากมี
หลายสี เช่น แดง เหลือง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและ
ผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แก้วโม่ง (/Psittacula/
/eupatria/) แก้วหัวแพร (/P. roseata/).
【 แก้ว ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ ตามลําตัวมีขนน้อย
และมักเป็นขนสั้น ๆ ผิวลําตัวเป็นมันเลื่อมคล้ายแก้ว มีสีสัน
ต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวปนเหลือง และบางชนิดมีลาย
เป็นดวง ๆ บางชนิดจะปล่อยสารใสคล้ายแก้วเห็นเป็นทางเมื่อ
เคลื่อนผ่านไปเช่น หนอนแก้วส้ม (เช่น ชนิด /Papilio demoleus/)
ในวงศ์ Papilionidae.
【 แก้ว ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด /Otolithoides biauritus/
ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม
ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และ
นูนเป็นสัน ลําตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น
ยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก.
【 แก้ว ๕ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Murraya paniculata/
(L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสี
เขียวสดเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย
ใช้ทําด้ามมีดและไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera/
/indica/ L.นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. /(ดู ส้ม ๑)./ (๔)
(ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. /(ดู พิกุล)./
【 แก้วกาหลง 】แปลว่า: น. ต้นกระเบาใหญ่ที่มีแต่ดอกเพศผู้. /(ดู กระเบา ๑)./
【 แกว่ง 】แปลว่า: [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน
หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า
ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
【 แกว่งกวัด 】แปลว่า: [แกฺว่งกฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น
แกว่งกวัดอาวุธ, ไม่อยู่ที่ เช่น จิตแกว่งกวัด, กวัดแกว่ง ก็ว่า.
【 แกว่งไกว 】แปลว่า: ก. แกว่งไปมา.แกว่งตีนหาเสี้ยน, แกว่งเท้าหาเสี้ยน (สํา)
ก. รนหาเรื่องเดือดร้อน.
【 แกว่น 】แปลว่า: แกฺว่น น. แก่น. ว. แกล้วกล้า, ว่องไว.
【 แก๊ส 】แปลว่า: น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตร
ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการจุดอะเซทิลีน
(acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำปฏิกิริยากับน้ำว่า
ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. (อ. gas).
【 แกะ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในสกุล /Ovis/ วงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ
แต่มีขนเป็นปุยหนา ใช้ทําเครื่องนุ่งห่ม.
【 แกะดำ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี).
【 แกะ ๒ 】แปลว่า: ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่ง
ที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทําเช่นนั้น, ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ
ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า
เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า
เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่นหรือ
กอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กําแน่น.
【 แกะรอย 】แปลว่า: ก. ติดตามหาร่องรอย.
【 แกะแร 】แปลว่า: ก. แกะพื้นผิวโลหะให้เป็นเส้นหรือเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูคล้าย
ฝังเพชร.
【 แกะสะเก็ด 】แปลว่า: ก. เป็นคําเปรียบหมายความว่ารื้อฟื้นเรื่องเก่าขึ้นมาพูดให้เจ็บใจ.
【 โก่, โก้ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. กู่ตะโกน, เรียกดัง ๆ.
【 โก้ ๒, โก้หร่าน 】แปลว่า: ว. หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
【 โก๋เก๋ 】แปลว่า: ว. หรูหรางามเข้าที (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
【 โก๋ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาลทราย
อัดใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ.
【 โกก ๑ 】แปลว่า: น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือ
คอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก
ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
【 โกกเกก 】แปลว่า: ก. คดโกง, เกะกะระราน, เกกมะเหรก, เช่น มีกิริยาโกกเกก
ร้ายกาจ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
【 โกก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. คอก เช่น แขนโกก ว่า แขนคอก.
【 โกกนุท 】แปลว่า: [โกกะนุด] น. บัวแดง. (ป., ส. โกกนท).
【 โกกิล-, โกกิลา 】แปลว่า: [-ละ-] น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์.
(ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป., ส.).
【 โกโก้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดื่มที่ทํามาจากเมล็ดผลโกโก้.
【 โกโก้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Theobroma cacao/ L. ในวงศ์ Sterculiaceae
ดอกเล็ก สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู ออกตามกิ่งและลําต้น
ผลคล้ายมะละกอขนาดเล็ก ผิวแข็งขรุขระ สีน้ำตาล เมล็ดแก่คั่ว
แล้วบดเป็นผง ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มและทําขนมได้.
【 โกง 】แปลว่า: ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อ
ไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
【 โก่ง 】แปลว่า: ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทําให้โค้ง, เช่น โก่งศร โก่งคอ, ก่ง ก็ว่า;
บอกราคาเกินสมควร เช่น โก่งราคา. ว. โค้ง เช่น คิ้วโก่ง, ก่ง ก็ว่า.
【 โกงกาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นในสกุล /Rhizophora/ วงศ์ Rhizophoraceae
ขึ้นตามป่าเลนชายทะเล นิยมใช้ทําฟืนและเผาถ่านกันมาก
เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลักษณะเรียวยาวคล้ายฝัก มี ๒ ชนิด
คือ โกงกางใบใหญ่ หรือ กงกอน (/R. mucronata/ Poir.) และ
โกงกางใบเล็ก (/R. apiculata/ Blume) ชนิดนี้นิยมใช้ทำฟืนและ
เผาถ่านกันมาก, พังกา ก็เรียก.
【 โก้งเก้ง 】แปลว่า: ว. มีลักษณะหรือท่าทางสูงโย่งเย่ง.
【 โกงโก้ 】แปลว่า: ว. กงโก้.
【 โก้งโค้ง 】แปลว่า: ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, ก้งโค้ง ก็ว่า.
น. ที่เทลูกบาศก์สกา รูปคล้ายครก.
【 โกเชาว์ 】แปลว่า: (แบบ; กลอน) น. ผ้าทําด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกําราล
กาฬโกเชาว์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกชว).
【 โกญจ- 】แปลว่า: โกนจะ-,
【 โกญจา 】แปลว่า: (กลอน) น. นกกระเรียน เช่น แขกเต้าดุเหว่าแก้ว โกญจา.
(โลกนิติ). (ป.).
【 โกญจนะ 】แปลว่า: โกนจะนะ ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้าง
ก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
【 โกญจนาท 】แปลว่า: น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง,
(โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
【 โกฏิ 】แปลว่า: [โกด] น. ชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน.
【 โกฐ 】แปลว่า: [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ
ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ
โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก
โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และ
มีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า,
ตํารายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์
ก็มี. (ป. โกฏฺ?).
【 โกฐกระดูก 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเหง้าแห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Saussurea lappa/ C.B.
Clarke ในวงศ์ Compositae.
【 โกฐกะกลิ้ง 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของต้นแสลงใจ (/Strychnos nux-vomica/ L.)
ในวงศ์ Strychnaceae.
【 โกฐกักกรา 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Anacyclus pyrethrum/ (L.)
DC. ในวงศ์ Compositae.
【 โกฐก้านพร้าว 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Picrorhiza kurroa/ Royle
ex Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae, โกฐก้านมะพร้าว ก็เรียก.
【 โกฐเขมา 】แปลว่า: [-ขะเหฺมา] น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิด
ในสกุล /Atractylodes/ วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด /A. lyrata/
Sieb. et Zucc., โกฐหอม ก็เรียก.
【 โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล
”/Artemisia/ วงศ์ Compositae เช่น ชนิด /A. vulgaris/ L.
【 โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Nardostachys
【 jatamansi/ DC. 】แปลว่า:
ในวงศ์ Valerianaceae.
【 โกฐเชียง 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Livisticum officinale/
Koch. ในวงศ์ Umbelliferae.
【 โกฐน้ำเต้า 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของพืช ๖ ชนิด ในสกุล
/Rheum/ วงศ์ Polygonaceae เช่น ชนิด /R. officinale/
Baillon., /R. palmatum/ L.
【 โกฐพุงปลา 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้นหลายชนิด
ในสกุล /Terminalia/ วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย
(/T. chebula/ Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
【 โกฐสอ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Angelica/
วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด /A. sylvestris/ L., /A. glabra/
/Makino./
【 โกฐหอม 】แปลว่า: /ดู โกฐเขมา/.
【 โกฐหัวบัว 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเหง้า ราก ใบ และดอกแห้งของไม้ล้มลุก ๓ ชนิด
ในวงศ์ Umbelliferae คือ ชนิด /Cnidium officinale/ Makino,
/Conioselinum univittatum/ Turcz. และ /Licusticum wallichii/
Franchet.
【 โกฐาส 】แปลว่า: โกดถาด น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็น
โกฐาสถ้อย. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺ?าส).
【 โกณก, โกณะ 】แปลว่า: -นก น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทก
เพ็ญพยง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป.).
【 โกดัง 】แปลว่า: น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, กุดัง ก็เรียก.
【 โกตไต 】แปลว่า: น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา),
กุฏไต ก็ว่า.
【 โกทัณฑ์ 】แปลว่า: น. เกาทัณฑ์. (ป., ส.).
【 โกน ๑ 】แปลว่า: น. ลูก. (ข. กูน).
【 โกน ๒ 】แปลว่า: ก. ขูดผมหรือขนด้วยคมมีด. น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทย
ปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่า หรือ แรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือน
ขาดก็เป็นแรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ; (ปาก)
ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ ค่า ขึ้น ๑๔ ค่า
แรม ๗ ค่า และแรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ ค่า
เรียกว่า วันโกน.
【 โก่น 】แปลว่า: ก. ก่น.
【 โก๋น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. โพรงไม้, รูที่อยู่ตามลําต้นไม้. ว. เรียก
ผึ้งที่ทํารังในโพรงไม้ว่า ผึ้งโก๋น.
【 โกปินำ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ผ้าปิดของลับ เช่น แล้วเกี่ยวรัดโกปินํา.
(รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. โกปิน).
【 โกมล ๑ 】แปลว่า: ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก-
มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
【 โกมล ๒ 】แปลว่า: น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คําหลวง มหาราช).
(ป. กมล).
【 โกมุท 】แปลว่า: น. บัวแดง. (ป.).
【 โกเมน 】แปลว่า: น. พลอยสีแดงเข้ม. (ส. โกเมท ว่า พลอยซึ่งได้มาจากเทือกเขา
หิมาลัยและแม่น้ำสินธุ มีลักษณะ ๔ ประเภท คือ สีขาว สีเหลืองซีด
สีแดง สีน้ำเงิน).
【 โกเมศ 】แปลว่า: น. ดอกบัว, บัว. (เลือนมาจาก โกมุท).
【 โกย 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว
ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจํานวนมาก;
(ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
【 โกยท้อง 】แปลว่า: ก. ฝืนท้อง, ใช้มือทั้ง ๒ ช้อนท้องเพื่อให้หายแน่นท้องเป็นต้น.
【 โกร้ 】แปลว่า: ว. ค้า, เช่น ยืนโกร้.
【 โกรก 】แปลว่า: [โกฺรก] ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกน้ำ, เทให้
ไหลลงไป เช่น เอาน้ำโกรกหัว; เลื่อยกระดานไปตามยาว
หรือตามแนวที่กําหนด เช่น โกรกไม้; พัดอยู่เรื่อย ๆ เช่น
ลมโกรก. น. ซอกลึกของเขา, โตรก ก็ว่า.
【 โกรกไกร 】แปลว่า: น. โตรกไตร, โกรก หรือ โตรก ก็ว่า.
【 โกรกธาร 】แปลว่า: น. หุบผาลึกชันและแคบมาก มีหน้าผาชัน ๒ ข้าง มักมีลําธาร
อยู่เบื้องล่าง.
【 โกรกหวัด 】แปลว่า: ก. โกรกหัวโดยใช้น้ำต้มกับหัวหอมและใบมะขามเพื่อแก้หวัด.
【 โกรกกราก 】แปลว่า: [โกฺรกกฺราก] น. ชื่อเครื่องมือสําหรับไชไม้; กระบอกไม้ไผ่
มีหลักปักอยู่กลางเติ่งสําหรับทอดดวด.
(รูปภาพ โกรกกราก)
【 โกรง 】แปลว่า: [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง.
(สุบิน).
【 โกร่ง ๑ 】แปลว่า: [โกฺร่ง] น. เครื่องบดยารูปคล้ายครกหรือถ้วย มีสากสําหรับ
บดให้ละเอียด, ลักษณนามว่า ใบ; ภาชนะรูปอย่างกล่อง
มีลิ้น ใช้ตามบ่อนเบี้ยสําหรับใส่อีแปะ.
【 โกร่ง ๒ 】แปลว่า: [โกฺร่ง] น. โลหะรูปโค้งที่ด้ามกระบี่หรือดาบบางชนิด สําหรับ
ป้องกันไม่ให้อาวุธถูกมือ; ส่วนที่เป็นรูปโค้งเหนือคอระฆัง.
【 โกร่ง ๓ 】แปลว่า: [โกฺร่ง] น. เรียกจิ้งหรีดชนิด /Brachytrypes portentosus /
ว่า อ้ายโกร่ง, จิ้งโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. /(ดู จิ้งโกร่ง)./
【 โกร่ง ๔ 】แปลว่า: [โกฺร่ง] น. เกราะยาว เช่น พิณพาทย์ฆ้องกลองดังทั้งเกราะโกร่ง.
(อิเหนา).
【 โกร่งกร่าง 】แปลว่า: [โกฺร่งกฺร่าง] ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่าง
กระทืบเท้า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 โกรงเกรง 】แปลว่า: [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
【 โกร๋งเกร๋ง 】แปลว่า: [โกฺร๋งเกฺร๋ง] ว. โหรงเหรง, ไม่หนาแน่น.
【 โกรญจ 】แปลว่า: โกฺรนจะ น. โกญจ, นกกระเรียน, เช่น กาโกรญจโกกิล.
(สมุทรโฆษ).
【 โกรด 】แปลว่า: โกฺรด ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น
ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง,
เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
【 โกรต๋น 】แปลว่า: [โกฺร-] /ดู โกสน/.
【 โกรธ 】แปลว่า: [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า
”ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา).
(ส. โกฺรธ).
【 โกรธเกรี้ยว 】แปลว่า: ก. โกรธจัด, เกรี้ยวโกรธ ก็ว่า.
【 โกรธขึ้ง 】แปลว่า: ก. โกรธเอาจริงเอาจัง, โกรธมาก, ขึ้งโกรธ ก็ว่า.
【 โกรธา 】แปลว่า: โกฺร- ก. โกรธ.
【 โกร๋น 】แปลว่า: [โกฺร๋น] ว. ร่วงโรยเกือบหมด, มีอยู่น้อย, มีห่าง ๆ, เช่น ต้นไม้
ใบโกร๋น, มีผมน้อย ในคำว่า หัวโกร๋น.โกร๋นเกร๋น (ปาก)
ว. โกร๋น.
【 โกรม 】แปลว่า: โกฺรม ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนย
หน่อเหน้าเหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
【 โกรมธาตุ 】แปลว่า: (โบ) น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 โกรย 】แปลว่า: [โกฺรย] น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า. (ยวนพ่าย),
อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง. (ทวาทศมาส). (ข.).
【 โกรศ 】แปลว่า: [โกฺรด] น. เสียงร้อง; มาตราวัด เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู. (ส.).
【 โกโรโกเต 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่แน่นหนา, จวนพัง.
【 โกโรโกโรก 】แปลว่า: (ปาก) ว. แบบบาง, ไม่มั่นคง; ผอมแห้ง, ขี้โรค.
【 โกโรโกโส 】แปลว่า: (ปาก) ว. โกรงเกรง, ไม่มั่นคง, เช่น กระท่อมโกโรโกโส; ต่ำต้อย
เช่น คนโกโรโกโส.
【 โกลง 】แปลว่า: โกฺลง ว. โคลง เช่น โกลงกลึงถึงสถานเปรียบแป้น.
(ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก).
【 โกลน 】แปลว่า: [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอด
เท้ายันในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ
เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ
ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีก
เจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือ แต่
ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน.
(รูปภาพ โกลน)
【 โกลาหล 】แปลว่า: [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน)
ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์),
พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
【 โกไล 】แปลว่า: น. กุ้ง. (อนันตวิภาค).
【 โกวิท 】แปลว่า: -วิด ว. ฉลาด, ชํานิชํานาญ, รอบรู้ในการอันใดอันหนึ่ง,
เช่น อัศวโกวิท ว่า ผู้มีความชํานาญในเรื่องม้า. (ป., ส.).
【 โกวิฬาร 】แปลว่า: -ลาระ น. ไม้ทองหลาง. (ป.).
【 โกศ ๑ 】แปลว่า: [โกด] น. ที่ใส่ศพนั่ง เป็นรูปกลมทรงกระบอก ฝาครอบมียอด,
ที่ใส่กระดูกผี มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด; คลัง. (ส.).
【 โกศ ๒ 】แปลว่า: [โกด] น. ฝัก, กระพุ้ง; ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อไม้เหมือนแก้ม
โกศเกลา. (ทวาทศมาส).
【 โกศล 】แปลว่า: [-สน] ว. ฉลาด. (ส.).
【 โกษ ๑ 】แปลว่า: โกด น. โกศ. /(ดู โกศ ๑)./
【 โกษ ๒ 】แปลว่า: [โกด] (โบ; กลอน) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น
ดลเท้าแท่นพรหมโกษ. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส. โกฺษณิ).
【 โกษม 】แปลว่า: [กะโสม] น. ผ้าใยไม้ (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, เช่น
อีกโกษมสวัสดิวรรณึก. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. เกฺษามฺ).
【 โกษย 】แปลว่า: โกไส น. โกไสย เช่น ผ้าแพรทองโกษย. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์).
【 โกษีย์ 】แปลว่า: (โบ) น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์. (ม. คําหลวง หิมพานต์).
【 โกส 】แปลว่า: โกด น. ผอบ เช่น ในโกสทอง. (จารึกสยาม).
【 โกสน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Codiaeum variegatum/ (L.) Blume
ในวงศ์ Euphorbiaceae ถิ่นกําเนิดในแหลมมลายูและแปซิฟิก
มีหลายพันธุ์ ใบมีรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ,
โกรต๋น ก็เรียก.
【 *โกสัช * 】แปลว่า: -สัด น. ความเกียจคร้าน. (ป. โกสชฺช).
【 โกสินทร์ 】แปลว่า: [-สิน] น. พระอินทร์. (ตัดมาจาก ป. โกสิย + ส. อินฺทฺร).
【 โกสีย์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์ เช่น ล้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า. (ทวาทศมาส).
(ป. โกสิย).
【 โกสุม 】แปลว่า: น. ดอกไม้. (ป. กุสุม; ส. เกาสุม).
【 โกไสย 】แปลว่า: [-ไส] น. ผ้าทําด้วยไหม เช่น โกไสยวัตถาภรณ์. (ม. ร่ายยาว
นครกัณฑ์). (ป. โกเสยฺย).
【 โกหก 】แปลว่า: ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ).
(ป., ส. กุหก).
【 โกหวา 】แปลว่า: [-หฺวา] น. เรียกแพรชนิดหนึ่ง. (พงศ. ร. ๓).
【 ใกล้ 】แปลว่า: [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง.ใกล้เกลือกินด่าง (สํา)
ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์
แก่ตนกลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับ
ไม่ได้ดี.
【 ไก ๑ 】แปลว่า: น. ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนเป็นต้นลั่นออกไป เช่น ไกปืน
ไกหน้าไม้.
【 ไก ๒ 】แปลว่า: น. ผักไก. /(ดู เทา ๒)./
【 ไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ปีกจําพวกนก มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากิน
ตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และ
เดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา.
【 ไก่กอและ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก
ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
【 ไก่แก่แม่ปลาช่อน 】แปลว่า: (สํา) น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก
และมีกิริยาจัดจ้าน.
【 ไก่แก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง เช่น ไก่แก้วขันไจ้ไจ้. (ลอ).
【 ไก่เขี่ย 】แปลว่า: ว. หวัด, ยุ่งจนเกือบอ่านไม่ออก, (มักใช้แก่ลายมือ).
【 ไก่ชน 】แปลว่า: น. ชื่อไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ตีกัน.
【 ไก่ต่อ 】แปลว่า: น. ไก่ตัวเมียที่เลี้ยงไว้เพื่อนำไปต่อไก่ป่า.
【 ไก่เถื่อน 】แปลว่า: น. ไก่ป่า.
【 ไก่บ้าน 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิด /Gallus gallus/ ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มี
สายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ
กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น
สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำ
ให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
【 ไก่บินไม่ตกดิน 】แปลว่า: (สำ) น. บริเวณที่มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่นแออัด.
【 ไก่ป่า 】แปลว่า: น. ชื่อไก่ชนิด /Gallus gallus/ ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้ม
สดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมีย
สีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหาง
สีขาวอาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด
ย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (/G. g. gallus/) และไก่ป่าติ่งหูแดง
(/G. g. spadiceus/) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
【 ไก่รองบ่อน 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้.
【 ไก่สามอย่าง 】แปลว่า: น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้
เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
【 ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ 】แปลว่า: (สํา) ว. ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน.
【 ไก่โห่ 】แปลว่า: (ปาก) น. เวลารุ่งสาง, ก่อนเวลา, เช่นพูดว่า มาตั้งแต่ไก่โห่.
【 ไก่อ่อน, ไก่อ่อนสอนขัน 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้มีประสบการณ์น้อยยังไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน.
【 ไก้ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กระจง. /(ดู กระจง)./
【 ไก๊ ๑ 】แปลว่า: น. ปีกุน. (ไทยเหนือ).
【 ไก๊ ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะเคียนเผือก/.
【 ไก๋ ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไถลทําเป็นไม่รู้.
【 ไก๋ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Ternstroemia/
/gymnanthera/ Bedd. ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามป่าโปร่ง
และป่าเขาสูง ดอกคล้ายสารภีป่า ผลสีแดง เปลือกมีน้ำเมือก
เหนียว ๆ ใช้ผสมปูนโบก, ไก๋แดง ก็เรียก.
【 ไก่กอม 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล /Ehretia/
วงศ์ Ehretiaceae คือ ชนิด /E. acuminata/ R. Br. ขอบใบจักถี่
ผลกลมเล็ก กินได้ และชนิด /E. timorensis/ Decne. ดอกเล็กมาก
สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลิ่นหอม.
【 ไก๋แดง 】แปลว่า: /ดู ไก๋ ๒/.
【 ไก่เตี้ย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Canavalia maritima/ (Aubl.) Thouars ในวงศ์
Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว
หรือม่วง, กําพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก.
【 ไก่นา 】แปลว่า: น. ชื่อนกคุ่มสีชนิด /Coturnix chinensis/ และนกหลายชนิด
ในวงศ์ Rallidae เช่น กวัก (/Amaurornis phoenicurus/)
อีล้า (/Gallinula chloropus/) อีโก้ง (/Porphyrio porphyrio/).
(ปาก) ว. โง่, เซ่อ.
【 ไกพัล 】แปลว่า: ไกพัน น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า
ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
【 ไก่ฟ้า 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Phasianidae ตัวโตขนาดไก่บ้าน
ขาและปากแข็งแรงมาก ตัวผู้มีหางยาว สีสันสวยงามกว่าตัวเมีย
บินเก่งแต่ในระยะทางสั้น ๆ ทํารังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ผลไม้สุก
และแมลง มีหลายชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว (/Lophura nycthemera/)
พญาลอ หรือ ไก่ฟ้าพญาลอ (/L. diardi/).
【 ไก่ฟ้าพญาลอ 】แปลว่า: /ดู พญาลอ/.
【 ไกร ๑ 】แปลว่า: [ไกฺร] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล /Ficus/ วงศ์ Moraceae
ลักษณะคล้ายต้นไทร มี ๒ ชนิด คือ ชนิด /F. concinna/ Miq.
เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบเล็ก ช่อดอกรูปคล้ายผล ออก
เป็นคู่ตามง่ามใบ ผลสีชมพู มีกระสีจาง ๆ, ไฮฮี ก็เรียก และ
ชนิด /F. superba/ Miq. เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอก
คล้ายชนิดแรก ผลสีชมพู, ไทรเลียบ ก็เรียก.
【 ไกร ๒ 】แปลว่า: [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา.
(ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
【 ไกรพ 】แปลว่า: [-รบ] น. บัวสาย เช่น ไกรพแกมสโรช. (ม. คําหลวง มัทรี).
(ส. ไกรว).
【 ไกรลาส, ไกลาส 】แปลว่า: [ไกฺรลาด, ไกลาด] น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็น
ที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. ว. สีขาวเหมือน
เงินยวง. (ส. ไกลาส).
【 ไกรศร, ไกรสร 】แปลว่า: ไกฺรสอน น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอน
กาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
(แผลงมาจาก เกสรี).
【 ไกรศรี ๑ 】แปลว่า: [ไกฺรสี] ว. ผู้ยิ่งด้วยสิริ. (ไกร + ศรี).
【 ไกรศรี ๒, ไกรสรี 】แปลว่า: ไกฺรสี น. สิงโต. (แผลงมาจาก เกสรี).
【 ไกรสิทธิ 】แปลว่า: [ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็น
ราชไกรสิทธิ. (ม. คําหลวง มัทรี).
【 ไกล 】แปลว่า: [ไกฺล] ว. ห่าง, ยืดยาว, นาน.
【 ไกลปืนเที่ยง 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.
【 ไกล่ 】แปลว่า: [ไกฺล่] ก. ทา, ไล้.
【 ไกล่เกลี่ย 】แปลว่า: ก. พูดจาให้ปรองดองกัน, พูดจาให้ตกลงกัน; ลูบไล้;
ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เกลี่ยไกล่ ก็ว่า.
【 ไกว 】แปลว่า: [ไกฺว] ก. ทําสิ่งที่ห้อยอยู่ให้แกว่งไปมา.
【 ไกวัล ๑ 】แปลว่า: [ไกวัน] ว. ทั่วไป. (ป., ส. เกวล).
【 ไกวัล ๒ 】แปลว่า: [ไกวัน] น. ชั้นสวรรค์ เช่น พิราลัยก็ไคลยังนภมน-
ทิรทิพยไกวัล. (สมุทรโฆษ).
【 ไก่ไห้ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Capparis flavicans/ Kurz ในวงศ์
Capparidaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลําต้น
มีหนาม, กะอิด ตะลุ่มอิด งวงช้าง หรือ งัวเลีย ก็เรียก.
(๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Opuntia ficusindica/
(L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ สีเขียว
ไม่มีหนาม เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกกันเป็นไม้ประดับ,
ว่านไก่ไห้ ก็เรียก.
【 ก 】แปลว่า: พยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.
【 ก กา 】แปลว่า: น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกดว่า
แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา.
【 ก ข 】แปลว่า: [โบ อ่านว่า กอข้อ] น. พยัญชนะแต่ ก ถึง ฮ.
【 ก ข ไม่กระดิกหู 】แปลว่า: โบ อ่านว่า กอข้อ- น. ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้.
【 ก หัน 】แปลว่า: น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัว
สะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
【 ก็ ๑ 】แปลว่า: สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
【 ก็ ๒ 】แปลว่า: นิ. ไขความ เช่น ถึงแก่กรรมก็ตายนั่นเอง ประสาทพิการก็บ้านั่นเอง,
เน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้ง เช่น ทั้งฟืนเจ้าก็หัก ทั้งผักเจ้าก็หา.
【 ก็ดี 】แปลว่า: นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มีน้ำหนักเท่ากัน เช่น
บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
【 ก็ได้ ๑ 】แปลว่า: นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มีน้ำหนักเท่ากัน เช่น
บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
【 ก็ได้ ๒ 】แปลว่า: นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
【 ก็ตาม 】แปลว่า: นิ. ใช้อย่าง ก็ดี, แต่บางแห่งมีแววความหมายเท่ากับ ก็ตามใจ ก็ตามที
ก็ตามเรื่อง แล้วแต่กรณีที่ใช้ โดยอาศัยพฤติการณ์ของเรื่องเป็นเครื่อง
แวดล้อม.
【 ก็แหละ 】แปลว่า: นิ. คําขึ้นต้นใหม่ต่อข้อความเดิม เช่น ก็แหละการที่บุคคลจะมีความ
เจริญได้นั้น จะต้องมีคุณธรรม.
【 กก ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ
มาตรากก.
【 กก ๒ 】แปลว่า: น. โคน เช่น กกไม้, ต้น เช่น กกขา, ลําต้น เช่น กกเสา.
【 กกหู 】แปลว่า: น. บริเวณหลังใบหู.
【 กก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลม
ใช้ทอหรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ /(Cyperus corymbosus/
Rottb., /C. tegetiformis/ Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา
(/C. alternifolius/ L.) กกสามเหลี่ยม [/Schoenoplectus grossus/ (L.f.)
Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (/C. difformis/ L.).
【 กก ๔ 】แปลว่า: ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก,
โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.
【 กก ๕ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ตัด, บั่น, เช่น กกกิ่ง กกยอด.
【 กก ๖ 】แปลว่า: น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้าน
หลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบาน
หน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
【 กก ๗ 】แปลว่า: /ดู กะวะ ๒./
【 ก๊ก 】แปลว่า: น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊ก
เป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
【 กกขนาก 】แปลว่า: /ดู กก ๓./
【 กกช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Typha angustifolia/ L. ในวงศ์ Typhaceae ขึ้นใน
น้ำ ช่อดอกคล้ายธูปขนาดใหญ่, กกธูป ธูปฤๅษี ปรือ หรือ เฟื้อ ก็เรียก.
【 กกธูป 】แปลว่า: /ดู กกช้าง./
【 กกุธภัณฑ์ 】แปลว่า: [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่แสดงไว้ใน
บรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี
๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวม
เรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็น
พระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘
ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทน
ธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและ
ธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ
และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.
(รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์)
วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาล
อย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูก
กว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึง
สร้าง”แส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง
๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
【 กง ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
【 กง ๒ 】แปลว่า: น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็น
กง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่และกั้นเป็นขอบเขตไว้.
(กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสอง
จุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้,
ร่ายกง คือไร่ที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้).
【 กงเกวียน 】แปลว่า: น. ล้อเกวียน.
【 กงเกวียนกำเกวียน 】แปลว่า: (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น
ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนอง
เดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
【 กงจักร 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
【 กงพัด ๑ 】แปลว่า: น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด
กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ
๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับพัดด้าย.
【 กงพัด ๒ 】แปลว่า: น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่
บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตี
ขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บนหมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
【 กงเวียน 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ
ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอ
เป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียน
บนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
【 กง ๓ 】แปลว่า: น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ
เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่าไม้กง หรือ
ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง;
พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ
เรียกว่า เสลี่ยงกง.
【 กงข้าง 】แปลว่า: น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
【 กงค้าง 】แปลว่า: น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
【 กงวาน 】แปลว่า: น. กงที่มีรูสําหรับน้ำเดินที่ท้องเรือ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 กง ๔ 】แปลว่า: น. ปลามังกง. (ประถม ก กา ในจินดามณี).
【 กง ๕ 】แปลว่า: /ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง/.
【 ก่ง 】แปลว่า: ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทำให้โค้ง, เช่น ก่งศร ก่งคอ, โก่ง ก็ว่า. ว. โค้ง
เช่น คิ้วก่ง, โก่ง ก็ว่า.
【 ก้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. ลาย, ด่าง, เช่น แมวก้ง ผ้าตาก้ง (คือ ผ้าตาโต ๆ ที่มี
สีต่าง ๆ กัน).
【 ก๊ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้น
ตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. (จ.).
【 กงกอน 】แปลว่า: /ดู โกงกาง./
【 กงการ 】แปลว่า: (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการ
ของฉัน.
【 กงโก้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้;
เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้ กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
【 ก้งโค้ง 】แปลว่า: ก. โก่งก้นให้โด่ง, โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, โก้งโค้ง ก็ว่า.
【 กงฉาก 】แปลว่า: น. เครื่องยึดมุมฉาก.
【 กงไฉ่ 】แปลว่า: น. ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน. (จ. ก้งไฉ่ ว่า ผักดองเค็ม).
【 กงเต๊ก 】แปลว่า: น. การทําบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการ
สวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
【 กงสี 】แปลว่า: น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท.
(จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
【 กงสุล 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อ
ทําหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ใน
เมืองต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของ
ประเทศผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล
มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการ
ของประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับ
แต่งตั้งซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคน
ชาติของประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่ง
เป็นหัวหน้าสถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล
รองกงสุล และตัวแทนฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น
สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงานฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
【 กช, กช- 】แปลว่า: [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัว
อันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับ
คํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
【 กชกร 】แปลว่า: กดชะกอน น. ”ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกร
ต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
【 กฎ 】แปลว่า: กด ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก
หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา
ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ”พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้”
กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย. (พงศ. ๑๑๓๖).
(เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช
เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖);
(กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น
กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่
ค้นคว้าได้. (อ. law).
【 กฎกระทรวง 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอํานาจ
ตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่า
พระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกําหนด,
เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
【 กฎเกณฑ์ 】แปลว่า: น. ข้อกําหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์.
【 กฎข้อบังคับ 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการ
ปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
【 กฎทบวง 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอํานาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.
【 กฎธรรมชาติ 】แปลว่า: น. กฎในเรื่องธรรมชาติ.
【 กฎธรรมดา 】แปลว่า: น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์
และสังคม.
【 กฎบัตร 】แปลว่า: (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกําหนดอํานาจหน้าที่ของ
องค์การ.
【 กฎบัตรกฎหมาย 】แปลว่า: (ปาก) น. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย.
【 กฎบัตรสหประชาชาติ 】แปลว่า: น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การระหว่างประเทศที่
เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ.
【 กฎมณเฑียรบาล, กฎมณเทียรบาล 】แปลว่า: (โบ) น. กฎมนเทียรบาล.
【 กฎมนเทียรบาล 】แปลว่า: (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และ
ระเบียบการปกครองในราชสํานัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล
หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
【 กฎยุทธวินัย 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัยและการลงอาญาทหาร
บกฐานละเมิดยุทธวินัย.
【 กฎศีลธรรม 】แปลว่า: น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.
【 กฎเสนาบดี 】แปลว่า: (เลิก) /ดู กฎกระทรวง/.
【 กฎหมู่ 】แปลว่า: น. อํานาจกดดันที่บุคคลจํานวนมากนํามาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่ง
กระทําหรือเว้นกระทําสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไป
ตามตัวบทกฎหมาย).
【 กฎแห่งกรรม 】แปลว่า: น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
【 กฎอัยการศึก 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจําเป็น
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม
การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมี
อํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์
การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาล
ทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศ
ระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
【 กฎหมาย 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิด
ขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหาร
ประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ)
ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้
ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือ
ร้องเรียนกฎหมายว่า…. (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด
เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมาย
มิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมาย
งานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป
เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น
ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
【 กฎหมายนานาประเทศ 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. ชื่อเดิมของกฎหมายระหว่างประเทศ. /(ดู กฎหมาย/
ระหว่างประเทศ).
【 กฎหมายปกครอง 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับ
การจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่าย
ปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะรวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพัน
ในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. (อ. administrative
law).
【 กฎหมายปิดปาก 】แปลว่า: (กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไป
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
นั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).
【 กฎหมายพาณิชย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจ
ระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์
การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
【 กฎหมายแพ่ง 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับ
สถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมาย
ว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สินครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
【 กฎหมายมหาชน 】แปลว่า: (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน
ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
【 กฎหมายระหว่างประเทศ 】แปลว่า: (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและ
ความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับ
องค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ, เดิม
เรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
【 กฎหมายรัฐธรรมนูญ 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์
ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนด
โครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและ
การดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย.
(อ. constitutional law).
【 กฎหมายเหตุ 】แปลว่า: น. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ;โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติ
ที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
【 กฎหมายอาญา 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่กําหนดลักษณะของการกระทําที่ถือว่าเป็น
ความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับความผิดนั้น.
(อ. criminal law).
【 กฎหมายเอกชน 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือ
ระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับ
สถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวม
ทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
【 กฏิ 】แปลว่า: (แบบ) น. สะเอว. (ป.).
【 กฏุก, กฏุก- 】แปลว่า: [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยา
ที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
【 กฏุกผล 】แปลว่า: กะตุกะผน น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตํารากลอน ปาราชิตฉันท์).
【 กฐิน, กฐิน- 】แปลว่า: [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์
เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้า
ที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา /กฐิน/ นี้ ใช้ประกอบกับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน
ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้เรียกว่า /ผ้ากฐิน/ ในฤดูกาลเรียกว่า
/กฐินกาล/ [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑
ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า /เทศกาลกฐิน/
[เทดสะกานกะถิน] /ฤดูกฐิน/ หรือ /หน้ากฐิน/ ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้
ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานง
ว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานง
ล่วงหน้านี้ เรียกว่า /จองกฐิน/ การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า /ทอดกฐิน/
พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ในพระวินัย
เรียกว่า /ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน/ หรือ/* องค์ครองกฐิน/ เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า /องค์กฐิน/ ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสําหรับ ถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า /เครื่องกฐิน/ หรือ /บริวารกฐิน/ [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า /แห่กฐิน/ ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า /ฉลองกฐิน/ การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขา ทอดกฐิน เรียกว่า /อนุโมทนากฐิน/ [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น /ผู้กรานกฐิน/ ด้วย ผลของการ ทอดกฐิน เรียกว่า /อานิสงส์กฐิน/, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่ง มีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า /อานิสงส์กฐิน*/ เช่นกัน. /(ดู /
/กรานกฐิน และ จุลกฐิน)/.
【 กฐินทาน 】แปลว่า: [กะถินนะทาน] น. การทอดกฐิน.
【 กฐินัตถารกรรม 】แปลว่า: [กะถินัดถาระกํา] น. การกรานกฐิน. (ป. ก??น + อตฺถาร + ส. กรฺม).
【 กฐินัตถารกรรม 】แปลว่า: /ดู กฐิน, กฐิน-./
【 กณิกนันต์ 】แปลว่า: กะนิกนัน ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กณิก ว่า น้อย + อนนฺต ว่า ไม่มีที่สุด).
【 กณิการ์ 】แปลว่า: น. ไม้กรรณิการ์. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
【 กด ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส
สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
【 กด ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลัง
ตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็น
ครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล /Arius/ ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขต
น้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (/A. caelatus/) บางชนิดพบใน
ทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (/A. thalassinus/), ที่อยู่ในสกุล
/Ketengus/ ได้แก่ กดหัวโต (/K. typus/), ในสกุล /Hemipimelodus/
เช่น กดโป๊ะ (/H. borneensis/). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล
/Mystus/ วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง
ชงโลง หรือ กดขาว (/M. nemurus/) กดคัง (/M. wyckii/).
【 กด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น นกกดอดทนสู้ พบงูเห่าเอาปีกบัง.
(ประพาสธารทองแดง).
【 กด ๔ 】แปลว่า: ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง
กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา
กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
【 กดขี่ 】แปลว่า: ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่
กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
【 กดคอ 】แปลว่า: (ปาก) ก. บังคับเอา.
【 กดดัน 】แปลว่า: ก. บีบคั้น.
【 กดน้ำ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ใช้กําลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในน้ำ ในความว่า จับกดน้ำ
จับหัวกดน้ำ.
【 กดหัว 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําให้หือไม่ขึ้น.
【 กด ๕ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๗.
【 กดขาว 】แปลว่า: /ดู กดเหลือง./
【 กดเหลือง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Mystus nemurus/ ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด
หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ
มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง
ก็เรียก.
【 กตเวทิตา 】แปลว่า: [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน,
เป็นคําคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
【 กตเวที 】แปลว่า: [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ
กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้,
ผู้ประกาศ].
【 กตัญชลี 】แปลว่า: กะตันชะลี ก. ยกมือไหว้. (ป. กต ว่า อันเขาทําแล้ว + อญฺชลี
ว่า กระพุ่มมือ).
【 กตัญญุตา 】แปลว่า: [กะตัน-] น. ความกตัญญู, ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ความ
เป็นผู้รู้คุณท่าน. (ป.).
【 กตัญญู 】แปลว่า: [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ
กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
【 กตาธิการ 】แปลว่า: กะตาทิกาน น. อธิการ (บารมีอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอธิการที่
ทําไว้, มีบารมีที่สั่งสมไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทําแล้ว + อธิการ).
【 กตาภินิหาร 】แปลว่า: กะตาพินิหาน น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหาร
ที่ทําไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทําแล้ว + อภินิหาร).
【 กติกา 】แปลว่า: [กะ-] น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกําหนดขึ้น
เป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (กฎ) หนังสือสัญญา;
ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).
【 กติกาสัญญา 】แปลว่า: (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศ. (อ. pact).
【 กถา 】แปลว่า: [กะ-] น. ถ้อยคํา, เรื่อง, คําอธิบาย, คํากล่าว. (ป.).
【 กถามรรค 】แปลว่า: [-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่ง
ว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).
【 กถามรรคเทศนา 】แปลว่า: [-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา.
(ส. -เทศนา ว่า การแสดง).
【 กถามุข 】แปลว่า: น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง. (ป.; ส. -มุข ว่า หน้า).
【 กถิกาจารย์ 】แปลว่า: กะถิกาจาน น. อาจารย์ผู้กล่าว.
(ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
【 กทรรป 】แปลว่า: กะทับ ก. กําหนัด เช่น ตรูกามกทรรปหฤทัย. (สมุทรโฆษ).
(ส. กนฺทรฺป ว่า กามเทพ).
【 กทลี 】แปลว่า: กะทะ- น. กล้วย. (ป.).
【 กน ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ
มาตรากน.
【 กน ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. มัว, คอย, เฝ้า, เช่น จะกนกินแต่น้ำตาอนาทร. (นิ. ลอนดอน).
【 ก่น ๑ 】แปลว่า: (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์).
【 ก่น ๒ 】แปลว่า: ก. ขุดโค่น.
【 ก่นโคตร 】แปลว่า: ก. ขุดโคตรขึ้นมาด่า.
【 ก่นแต่ 】แปลว่า: ก. เฝ้าแต่, มัวแต่, เช่น ก่นแต่จะร้องไห้.
【 ก่นสร้าง 】แปลว่า: (โบ) ก. ขุดโค่นต้นไม้ตอไม้และแผ้วถางเพื่อปลูกสร้าง, โก่นสร้าง ก็ว่า.
【 ก้น 】แปลว่า: น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ
ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ,
ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับ
ปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
【 ก้นกบ 】แปลว่า: น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน,
โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
【 ก้นกระดก 】แปลว่า: (สำ) ว. ลืมตัวเพราะถูกเยินยอ.
【 ก้นกุฏิ 】แปลว่า: -กุดติ ว. ที่สนิทเป็นที่ไว้วางใจได้.
【 ก้นครัว 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่ได้ออกหน้าออกตา.
【 ก้นตะกรน 】แปลว่า: น. ก้นที่มีขี้ตะกอน. ว. เดนคัด, เดนเลือก, ขนาดเล็กมาก, ในคำว่า
มะม่วงก้นตะกรน.
【 ก้นบึ้ง 】แปลว่า: น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
【 ก้นปอด 】แปลว่า: น. ก้นที่สอบเล็กผิดปรกติ, ก้นที่ไม่ใคร่มีเนื้อ.
【 ก้นปิด 】แปลว่า: ว. เรียกใบไม้ที่มีก้านติดอยู่ภายในของใบ เช่น ใบบัว ใบมะละกอ ว่า
ใบก้นปิด.
【 ก้นแมลงสาบ 】แปลว่า: ว. แหลมมนอย่างก้นแมลงสาบ, เรียกเครื่องมือเหล็กที่มีลักษณะเช่นนั้น
ว่า เหล็กก้นแมลงสาบ.
【 ก้นย้อย 】แปลว่า: น. เนื้อก้น ๒ ข้างที่ยุ้ยออกมา.
【 ก้นหนัก 】แปลว่า: ว. ไปนั่งคุยอยู่นาน ไม่ยอมกลับง่าย ๆ.
【 ก้นหย่อน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ก้นกบ.
【 ก้นหอย 】แปลว่า: น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอยมีที่นิ้วมือเป็นต้น,
โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ม้วนผมแบบ
ก้นหอย.
【 ก้นอ้อย 】แปลว่า: น. เนื้อก้น ๒ ข้างตรงที่นั่งทับ.
【 กนก 】แปลว่า: กะหฺนก น. ทองคํา เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมาก
ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ).
(ป.; ส.).
【 ก้นขบ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Cylindrophis ruffus/ ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae
สีดําแกมม่วง มีลายขาวเป็นปล้อง ๆ ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษ
ข้างหางเพราะชูและแผ่หางซึ่งปลายมีสีแดงส้ม.
【 ก้นปล่อง 】แปลว่า: น. ชื่อยุงในสกุล /Anopheles/ วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็น
สามัญเช่น ชนิด /A. minimus/ ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคน
หรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด
ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือน
กับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการ
นําโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวาน
จากดอกไม้.
【 ก้นปูด 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. นกกะปูด. (ดู กะปูด).
【 กนิษฐ-,กนิษฐ์ 】แปลว่า: [กะนิดถะ-, กะนิด] ว. ”น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺ?), (ราชา) ถ้าใช้ว่า
พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา
หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.
(ส.; ป. กนิฏฺ?).
【 กนิษฐภคินี 】แปลว่า: น. น้องหญิง. (-ป., ส. ภคินี ว่า น้องหญิง).
【 กนิษฐภาดา 】แปลว่า: น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).
【 กนิษฐา 】แปลว่า: (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า
พระกนิษฐา. (ส.).
【 กบ ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด ว่า แม่กบ หรือ
มาตรากบ.
【 กบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบน
มีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ
เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา
หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหาร
ชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (/Rana tigerina/).
【 กบเต้น 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้น
มีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่น
ตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
【 กบเต้นกลางสระบัว 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
【 กบเต้นต่อยหอย 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้น ยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
【 กบเต้นสลักเพชร 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่าง จางรักให้ใจเรียมหวน.
【 กบเต้นสามตอน 】แปลว่า: น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคําจําคิดจิตขวย.
【 กบทูด 】แปลว่า: น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ชนิด /Rana blythii/ ในวงศ์ Ranidae ขนาดใหญ่
ที่สุดที่พบในประเทศไทย ตัวยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ลําอาศัยใน
ป่าดงดิบชื้นตามธารบนภูเขา.
【 กบนา 】แปลว่า: น. ชื่อกบชนิด /Rana tigerina/ ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลายสีเข้ม
มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
【 กบในกะลาครอบ 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.
【 กบบัว 】แปลว่า: น. ชื่อกบชนิด /Rana erythraea/ ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่า
กบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ
บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
【 กบเลือกนาย 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
【 กบ ๓ 】แปลว่า: /ดู คางคก ๒./
【 กบ ๔ 】แปลว่า: น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว
ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์
ใช้เหลาดินสอ.
【 กบ ๕ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล /Geodorum/
วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่าใช้ในทางอยู่ยง
คงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
【 กบ ๖ 】แปลว่า: ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
【 กบ ๗ 】แปลว่า: ก. ประกบ.
【 กบแจะ 】แปลว่า: (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยน
หลุม โดยโยนสตางค์หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
【 กบ ๘ 】แปลว่า: น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่างหรือประตู
ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่อง
เจาะตัวไม้ธรณี.
【 กบฏ 】แปลว่า: [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้าย
ต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร,
ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําความผิด
ต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลง
รัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ
ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจปกครองในส่วน
ใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ.
(ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
【 กบดาน 】แปลว่า: ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึง
หลบซ่อนตัวไม่ออกมา.
【 กบทู 】แปลว่า: น. สันแห่งหลังคาเรือน, ไม้ข่มข้างกลอน.
【 กบาล 】แปลว่า: [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น
ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า
กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนําไปทิ้งที่ทาง
สามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะ
ที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้าง
ขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน.
(จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
【 กบินทร์ 】แปลว่า: กะ- น. พญาลิง, กเบนทร์ ก็ว่า. (ป., ส. กปิ = ลิง + ส. อินฺทฺร
= ผู้เป็นใหญ่).
【 กบิล ๑ 】แปลว่า: กะบิน น. ลิง. (ส. กปิล).
【 กบิล ๒ 】แปลว่า: [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง;
กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น
กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
【 กบี่ 】แปลว่า: [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
【 กบี่ธุช 】แปลว่า: /ดู กระบี่ธุช ที่ กระบี่ ๑./
【 กบูร 】แปลว่า: กะบูน ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร
ขบูร ขบวร.
【 กเบนทร์ 】แปลว่า: กะ- /ดู กบินทร์./
【 กโบร 】แปลว่า: กะโบน น. ศอก, ข้อศอก. (พจน.). (ป. กปฺปร; ส. กูรฺปร).
【 กโบล 】แปลว่า: [กะโบน] น. แก้ม. (ป. กโปล).
【 กปณ 】แปลว่า: [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน)
เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์
ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
【 กปณก 】แปลว่า: [กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี
เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง
ชูชก). (ป.).
【 กปณา 】แปลว่า: [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น
แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี).
(ป. กปณ)
【 กปิ 】แปลว่า: กะ- น. ลิง เช่น ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน. (พากย์). (ป., ส.).
【 กปิตัน 】แปลว่า: (โบ) น. กัปตัน, นายเรือ; หัวหน้าหมู่ชน.
【 กม ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด ว่า แม่กม หรือ มาตรากม.
【 กม ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวาง
ตัวตู. (เสือโค).
【 ก้ม 】แปลว่า: ก. ทําให้ต่าลงโดยอาการน้อม (ใช้เฉพาะ หัว หน้า และหลัง) เช่น
ก้มหัว ก้มหน้า ก้มหลัง.
【 ก้มหน้า 】แปลว่า: (สํา) ก. จําทน เช่น ต้องก้มหน้าทําตามประสายาก.
【 ก้มหน้าก้มตา 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทําโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทําไป
จนกว่าจะสําเร็จ.
【 ก้มหลัง 】แปลว่า: ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
【 ก้มหัว 】แปลว่า: ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า
ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
【 กมณฑลาภิเษก 】แปลว่า: กะมนทะ- น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก.
(ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้า + ส. อภิเษก = รด).
【 กมณฑโลทก 】แปลว่า: กะมนทะ- น. น้ำในหม้อ เช่น ชําระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก.
(ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = น้ำ).
【 กมล 】แปลว่า: กะมน น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล.
ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์),
บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
【 กมล- , กมลา 】แปลว่า: [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ
สลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ
เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลาย
เลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม;
ส. ว่า พระลักษมี).
【 กมลาศ 】แปลว่า: กะมะลาด น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).
【 กมลาสน์ 】แปลว่า: กะมะลาด น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม.
(ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
【 กมเลศ 】แปลว่า: กะมะเลด น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จ
กมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว
ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า
ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา =
พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
【 กมัณฑลุ 】แปลว่า: กะมันทะ- น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำ
เล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา
ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ.
(ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชา
ชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
【 กมุท 】แปลว่า: กะมุด น. บัว เช่น ส่งดวงกมุทให้กัณหา. (ม. คําหลวง มัทรี).
(ป., ส. กุมุท ว่า บัวสายดอกขาว).
【 กร ๑ 】แปลว่า: [กอน] น. ผู้ทํา, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร
เกษตรกร. (ป.).
【 กร ๒ 】แปลว่า: [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อน
ดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
【 กรกช 】แปลว่า: กอระกด น. ”ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกช
ประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย).
/(ดู กช)./
【 กร ๓ 】แปลว่า: [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
【 กรก, กรก- 】แปลว่า: กะหฺรก, กะระกะ- น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ.
(ป., ส.).
【 กรกัติ 】แปลว่า: กฺระกัด ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา.
(สรรพสิทธิ์).
【 กรกฎ, กรกฏ 】แปลว่า: กอระกด น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน);
ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ในจักรราศี.
(ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
【 กรกฎาคม 】แปลว่า: [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วย
เดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่
อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่ม
ด้วยเดือนเมษายน.
【 กรง 】แปลว่า: [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่กับที่หรือยก
ไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมใน
พระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
【 กรงทอง 】แปลว่า: (ราชา) น. เรียกเปลที่ทําเป็นลูกกรง ว่า พระกรงทอง.
【 กรงเล็บ 】แปลว่า: น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
【 กรชกาย 】แปลว่า: กะระชะ- น. ร่างกาย. /(ดู กรัชกาย)./
【 กรณฑ์ ๑ 】แปลว่า: [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์
หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุในสุวรรณกรณฑ์.
(เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
【 กรณฑ์ ๒ 】แปลว่า: กฺรน น. เรียกเครื่องหมาย ?ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธี
หาค่าจากจํานวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น ?
จะได้ ๗ ? จะได้ -๓.
【 กรณิการ์ 】แปลว่า: [กะระ-] น. กรรณิการ์.
【 กรณี 】แปลว่า: [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้.
(ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
【 กรณีย-, กรณีย์, กรณียะ 】แปลว่า: [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทํา, อันพึงทํา. (ป.).
【 กรณียกิจ 】แปลว่า: น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทํา.
【 กรด ๑ 】แปลว่า: [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทําให้สิ่งอื่น
แปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็น
หลักกําหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และ
เมื่อสารนี้ละลายน้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมด
หรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน
(H3O+)สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสี
แดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้แก่สารอื่นได้; สารเคมี
ที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่งมาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
【 กรด ๒ 】แปลว่า: [กฺรด] ว. คมมีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้ เช่น น้ำกรด =
น้ำที่คม ลมกรด = ลมที่คม.
【 กรด ๓ 】แปลว่า: [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Combretum tetralophum/ C.B. Clarke
ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง
ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน
เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง
คือ /C. trifoliatum/ Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี
๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด
เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
【 กรด ๔ 】แปลว่า: [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือน
คนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
【 กรด ๕ 】แปลว่า: กฺรด ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
【 กรน 】แปลว่า: [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอหอย
หรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
【 กรนทา 】แปลว่า: กฺรน- น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน).
【 กรนนเช้า 】แปลว่า: กฺรัน- น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้า
ไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
【 กรบ 】แปลว่า: [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะ
คล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
【 กรบูร 】แปลว่า: [กะระบูน] น. การบูร.
【 กรพินธุ์ 】แปลว่า: [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณราย
แพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะ
เพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
【 กรภุม 】แปลว่า: กอระ- น. กระพุ่ม เช่น สนธยากรภุม บุษปบังคมบําบวงสรณ.
(อนิรุทธ์).
【 กรม ๑ 】แปลว่า: [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น
กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ],
ตรม ก็ว่า.
【 กรมกรอม 】แปลว่า: ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, ตรมตรอม ก็ว่า.
【 กรมเกรียม 】แปลว่า: ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ
เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม. (กฤษณา).
【 กรม ๒ 】แปลว่า: กฺรม น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ).
[ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น
มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
【 กรมศักดิ์ 】แปลว่า: [กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกําหนด
ระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรงหนักเบา
ของความผิดที่กระทํา. (สามดวง).
【 กรม ๓ 】แปลว่า: [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของแผ่นดินตาม
ลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึก
สงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้อง
เข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม
มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้า
แผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม
แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม
ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม
เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตาม
ศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ
พระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่า
เดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจาก
หมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็น
พระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ใน
ราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน
เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร
เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น
กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ใน
กระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวง
ยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น
กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็น
กระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์).
(ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางรองจาก
กระทรวงและทบวง.
【 กรม ๔ 】แปลว่า: กฺรม ย่อมาจากคําว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ย
มิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
【 กรม ๕ 】แปลว่า: [กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคําว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี-
กรมเสร็จกํานนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
【 กรม ๖ 】แปลว่า: [กฺรม] /ดู เหมือดโลด (๑)/.
【 กรมการ 】แปลว่า: กฺรมมะ- น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ
และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖
เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ
และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
【 กรมการจังหวัด 】แปลว่า: น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบ
ของคณะกรมการจังหวัด. /(ดู คณะกรมการจังหวัด)./
【 กรมการนอกทำเนียบ 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่
ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ
แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัด
จำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
【 กรมการในทำเนียบ 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน
ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร
และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี
แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
【 กรมการพิเศษ 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่
ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ
แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัด
จำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
【 กรมการอำเภอ 】แปลว่า: (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละคนที่เป็น
องค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
【 กรมท่า 】แปลว่า: [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรม
พระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า
ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
【 กรมท่าขวา 】แปลว่า: [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับชนชาวแขก.
【 กรมท่าซ้าย 】แปลว่า: [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับชนชาวจีน.
【 กรมธรรม์ 】แปลว่า: [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอมให้กรมการ
อำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์
หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้
ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย.
(ส. กรฺม + ธรฺม).
【 กรมธรรม์ประกันภัย 】แปลว่า: (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดง
วัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อ
ผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่
กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่
ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์.
(อ. policy of insurance).
【 กรมนา 】แปลว่า: [กฺรมมะ-] /ดู กรม ๓/.
【 กรมวัง 】แปลว่า: [กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสํานัก;
ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).
【 กรร ๑ 】แปลว่า: กัน ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
【 กรร ๒ 】แปลว่า: กัน ก. กัน เช่น เรือกรร.
【 กรร- ๓ 】แปลว่า: [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน
กระ เช่น กรรชิง – กันชิง – กระชิง, กรรเช้า – กรนนเช้า – กระเช้า,
กรรเชอ – กนนเชอ – กระเชอ, กรรโชก – กันโชก – กระโชก, กรรพุ่ม –
กระพุ่ม, กรรลึง – กระลึง.
【 กรรกง 】แปลว่า: กัน- น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
【 กรรกฎ 】แปลว่า: กันกด น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์.
(สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
【 กรรกศ 】แปลว่า: กันกด ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่า
พระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคตใจแลไปกรรกษ บารนี ฯ.
(ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
【 กรรเกด 】แปลว่า: กัน- น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์.
(ทวาทศมาส).
【 กรรไกร 】แปลว่า: [กันไกฺร] น. ตะไกร. (เลือนมาจาก กรรไตร). /(ดู ตะไกร ๑)./
【 กรรเจียก 】แปลว่า: [กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้ว
แพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่า หู].
【 กรรเจียกจอน 】แปลว่า: น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลัก
ลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
【 กรรชิง 】แปลว่า: [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้าง
เผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้ายร่ม, โบราณ
ใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้า
แดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงิน
สลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง
หรือ กันชิง ก็เรียก.
【 กรรชิด 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
【 กรรเชอ 】แปลว่า: กัน- น. กระเชอ.
【 กรรเช้า 】แปลว่า: กัน- น. กระเช้า.
【 กรรเชียง 】แปลว่า: [กัน-] น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับพาด
ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง
ก็มี.
【 กรรเชียงปู 】แปลว่า: [กัน-] น. เรียกขาคู่สุดท้ายของปูในวงศ์ Portunidae เช่น ปูม้า ปูทะเล
ซึ่งปล้องปลายมีลักษณะแบนคล้ายใบพาย, กระเชียงปู ก็เรียก.
【 กรรโชก 】แปลว่า: [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ
กําโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา
ฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์
ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญ
ว่าจะทําอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน
ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่า
นั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
【 กรรซ้นน 】แปลว่า: กันซั้น ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 กรรแซง 】แปลว่า: กัน- น. กองทําหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกัน
จอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทําหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ.
/(ดู กันแซง ที่ กัน ๓)./
【 กรรฐ์, กรรฐา 】แปลว่า: [กัน, กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
【 กรรณ, กรรณ- 】แปลว่า: [กัน, กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือ
กลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ.
(ส. กรฺณ).
【 กรรณยุคล 】แปลว่า: [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวง
มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
【 กรรณา 】แปลว่า: กัน- /ดู กรรณ, กรรณ-/.
【 กรรณิกา 】แปลว่า: กัน- น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ.
(สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).
【 กรรณิการ์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Nyctanthes arbortristis/ L. ในวงศ์
Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบขาว หลอดดอกสีแสด
ใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี.
【 กรรดิ 】แปลว่า: [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี.
(ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
【 กรรดิก, กรรดึก 】แปลว่า: กัน- น. เดือน ๑๒. /(ดู กัตติกมาส)./
【 กรรตุ, กรรตุ- 】แปลว่า: กัด, กัดตุ- น. ผู้ทํา. (ป. กตฺตุ; ส. กรฺตฺฤ).
【 กรรตุการก 】แปลว่า: กัดตุ- น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งใน
๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น
กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยค
ที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก.
(ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
【 กรรตุวาจก 】แปลว่า: กัดตุ- ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือ
ผู้ใช้ให้ทำ, เช่น กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น
กรรตุการกคือเป็นผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทํา เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธาน
เป็นผู้ทํา) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทํา).
(ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
【 กรรตุสัญญา 】แปลว่า: [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอัน
สุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม,
ชื่อ).
【 กรรไตร 】แปลว่า: [กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).
【 กรรทบ 】แปลว่า: กัน- ก. กระทบ เช่น ฟองฟัดซัดดล กรรทบนาวี.
(สรรพสิทธิ์).
【 กรรแทก 】แปลว่า: [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ไล่ปาม
เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).
【 กรรแทรก 】แปลว่า: กันแซก น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตราเพื่อ
ป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อป้องกัน
จอมทัพ. /(ดู กันแทรก ที่ กัน ๓)./
【 กรรบาสิก, กรรปาสิก 】แปลว่า: กับบา-, กับปา- ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป.
【 กปฺปาสิก). 】แปลว่า:
【 กรรบาสิกพัสตร์ 】แปลว่า: [กับบาสิกะ-] น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว
นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). (ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
【 กรรมการก 】แปลว่า: กํามะ- น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยค
ที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการ
ให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
【 กรรมวาจก 】แปลว่า: กํามะ- ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็น กรรมการกหรือผู้ถูกทํา, กริยา
ของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยา
ของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางที
ก็มีกริยานุเคราะห์ ”ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำ
ความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ”ถูก” เช่น หนังสือ
เล่มนี้แต่งดีมาก.
【 กรรม์ 】แปลว่า: กัน น. กรรม
【 กรรม์ภิรมย์ 】แปลว่า: /ดู กรรภิรมย์/.
【 กรรมัชวาต 】แปลว่า: [กํามัดชะ-] /ดู กรรมชวาต ที่ กรรม ๑, กรรม- ๑/.
【 กรรมาชีพ 】แปลว่า: [กํา-] น. คําเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้าง
แรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).
【 กรรมาธิการ 】แปลว่า: [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็น
คณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษา
เรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อ
สภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ
และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบ
ด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของ
สภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภา
เลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.
【 กรรมาร 】แปลว่า: กํามาน น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร;
ป. กมฺมาร).
【 กรรลี 】แปลว่า: [กัน-] น. โทษ. (ส. กลี แผลงเป็น กระลี และแผลง กระลี เป็น
กรรลี).
【 กรรลึง 】แปลว่า: [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระลึง) ก. จับ.
【 กรรษก 】แปลว่า: กัดสก น. ชาวนา. (ส. กรฺษก; ป. กสฺสก).
【 กรรสะ 】แปลว่า: กัน- ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).
【 กรรแสง ๑ 】แปลว่า: [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษี
สรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
【 กรรแสง ๒ 】แปลว่า: กัน- น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). /(ดู กันแสง)./
【 กรรหาย 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ),
ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
【 กรรเหิม 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; กลอน) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า. (ม. คําหลวง
ฉกษัตริย์).
【 กรรโหย 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; กลอน) ก. โหย, คร่ำครวญ เช่น มีกระเรียนร้องก้องกรรโหย.
(สมุทรโฆษ).
【 กรรเอา 】แปลว่า: [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะ
รสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
【 กรรุณา 】แปลว่า: กฺระ- น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา. (สามดวง).
【 กรลุมพาง 】แปลว่า: กระ น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง
ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
【 กรวด ๑ 】แปลว่า: [กฺรวด] น. ก้อนหินเล็ก ๆ เขื่องกว่าเม็ดทราย. (ข. คฺรัวสฺ).
【 กรวด ๒ 】แปลว่า: [กฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุด
ชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด,
คู่กับ หลังคาดาด, ในคําประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็
วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กรวด ๓ 】แปลว่า: [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมือ
อินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
【 กรวดน้ำ 】แปลว่า: ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ตัดขาด
ไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, มักใช้ว่า กรวดน้ำคว่ำกะลา หรือ กรวดน้ำคว่ำขัน.
【 กรวน 】แปลว่า: กฺรวน น. กลอยทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
【 กรวบ, กร๊วบ 】แปลว่า: [กฺรวบ, กฺร๊วบ] ว. เสียงดังเช่นเคี้ยวถูกของแข็ง.
【 กรวม 】แปลว่า: [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวม
พนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวมตอ ปลูกเรือนกรวมทาง;
รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ.
(ปาเลกัว).
【 กร้วม 】แปลว่า: ว. เสียงเคี้ยวสิ่งของที่เปราะให้แตก หรือเสียงของแข็งกระทบกัน
อย่างแรง.
【 กรวย ๑ 】แปลว่า: น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย
แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า
ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยง
สําหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า
กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐาน
กลมและแหลมเรียวไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
【 กรวยเชิง 】แปลว่า: น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ
กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่
เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
【 กรวย ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Horsfieldia irya/ (Gaertn.) Warb. ในวงศ์
Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียว
และนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก.
(๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Casearia grewiifolia/ Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae
ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่า
เป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
【 กรวย ๓ 】แปลว่า: (โบ) ก. สักหรือแทงด้วยแหลน เช่น กรวยปลา.
【 กรวยบ้าน 】แปลว่า: /ดู กรวย ๒ (๑)/.
【 กรวยป่า 】แปลว่า: /ดู กรวย ๒ (๒)/.
【 กรวิก ๑ 】แปลว่า: กะระ-, กอระ- น. นกการเวก. (ไตรภูมิ). (ป., ส. กรวีก).
【 กรวิก ๒ 】แปลว่า: [กะระ-, กอระ-] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น
วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). /(ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์)./
【 กรสานต์ 】แปลว่า: [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ,
เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
【 กรสาปน, กรสาปน์ 】แปลว่า: กฺระสาบ น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง
ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน
ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
【 กรสุทธิ์ 】แปลว่า: [กะระ-] น. ”การชําระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์
ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน,
กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
【 กรอ ๑ 】แปลว่า: ก. ม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร; ควง เช่น
กรเกาะขอกรอธาร เงือดง้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
【 กรอ ๒ 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชาย
หนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลง
หนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอ
ผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มี
ผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
【 กรอกรุย 】แปลว่า: ก. ทําท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน.
(มณีพิชัย).
【 กรอ ๓ 】แปลว่า: ก. แต่งให้เรียบ เช่น กรอฟัน กรอไม้.
【 กรอ ๔ 】แปลว่า: ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก,
ลำบาก).
【 กร้อ 】แปลว่า: น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่น
ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญเรียกว่า
ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
(รูปภาพ กร้อ)
【 กรอก ๑ 】แปลว่า: [กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้
โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจํานวนเลข
เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม
ว่า หมากกรอก มะขามกรอก.
【 กรอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด
คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (/Ardeola bacchus/) หัวสีน้าตาลแดง
หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (/A. speciosa/)
หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอก
พันธุ์อินเดีย (/A. grayii/) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสี
น้ำตาลเหลือง กินปลา.
【 กร็อกกร๋อย 】แปลว่า: ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์.
【 กรอกแกรก ๑ 】แปลว่า: [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
【 กรอกแกรก ๒ 】แปลว่า: กฺรอกแกฺรก น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
【 กรอง ๑ 】แปลว่า: [กฺรอง] ก. ร้อย เช่น กรองมาลัย = ร้อยดอกไม้; ถัก, ทอ, เช่น
กรองแฝก กรองคา.
【 กรองทอง 】แปลว่า: น. ผ้าโปร่งอันทอหรือถักด้วยเส้นลวดทองหรือไหมทอง.
【 กรอง ๒ 】แปลว่า: [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย,
เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ,
ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากน้ำหรือ
สิ่งที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
【 กรอง ๓ 】แปลว่า: กฺรอง น. กําไล, โดยมากใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ เช่น
กรองเชิง = กําไลเท้า กรองได = กําไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ,
สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา).
[ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].
【 กรอง ๔ 】แปลว่า: กฺรอง น. กระชอน.
【 กรองกรอย 】แปลว่า: ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์; ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), ตองตอย
ก็ใช้; (กลอน; ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจน
กรองกรอย. (สังข์ทอง).
【 กรอด ๑ 】แปลว่า: [กะหฺรอด] /ดู ปรอด/.
【 กรอด ๒ 】แปลว่า: [กฺรอด] ว. เซียวลง เช่น ผอมกรอด; เสียงดังอย่างเสียงกัดฟัน.
【 กร่อน 】แปลว่า: ก. หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, ร่อยหรอ, สึกหรอ.
【 กรอบ ๑ 】แปลว่า: [กฺรอบ] น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยาย
หมายความว่า ขอบเขตกําหนด เช่น ทํางานอยู่ในกรอบ.
【 กรอบเช็ดหน้า 】แปลว่า: น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, เช็ดหน้า หรือ วงกบ ก็เรียก.
【 กรอบหน้า 】แปลว่า: น. เครื่องประดับขอบหน้าผากเป็นรูปกระจังเป็นต้น.
(รูปภาพ กรอบหน้า)
【 กรอบ ๒ 】แปลว่า: ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดํารง
ตนไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
【 กรอบเกรียบ 】แปลว่า: (โบ) ว. มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ,
เกรียบกรอบ ก็ว่า.
【 กรอบแกรบ 】แปลว่า: ว. เต็มที เช่น แห้งกรอบแกรบ จนกรอบแกรบ; มีเสียงดังอย่าง
เสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ.
【 กรอม ๑ 】แปลว่า: [กฺรอม] ว. ปกหรือคลุมยาวลงมาเกินควร เช่น นุ่งผ้าซิ่นกรอมส้น.
【 กรอม ๒ 】แปลว่า: [กฺรอม] ว. ระทม, เจ็บช้ำอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ.
【 กร่อม, กร่อม ๆ 】แปลว่า: (โบ) ว. ช้า ๆ เงื่อง ๆ แต่ทําเรื่อยไป (มักใช้แก่การเดิน พายเรือ
หรือลุยน้ำ) เช่น เดินกร่อม ๆ กรําฝนฟ้า พายเรือกร่อม ๆ.
(อักษรประโยค).
【 กร่อย 】แปลว่า: [กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ,
โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น
เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
【 กระ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเต่าทะเลชนิด /Eretmochelys imbricata/ ในวงศ์ Cheloniidae
หลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุง
หลังคาสีน้ำตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็น
พาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐
ฟอง. (ข. กราส่).
【 กระ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Elateriospermum tapos/ Blume
ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ
เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี
เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว
กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
【 กระ ๓ 】แปลว่า: น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือ
สิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
【 กระ ๔ 】แปลว่า: ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล –
กระบิล, กําแพง – กระแพง, กุฎี – กระฎี, ขจัด – กระจัด, ตวัด –
กระหวัด, สะท้อน – กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น
ตระกูล – กระกูล, ตระลาการ – กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
(๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม – กระซุ้ม,
โดด – กระโดด, พุ่ม – กระพุ่ม, ยาจก – กระยาจก, เติมให้มี
ความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา – กระทํา, ทุ้ง – กระทุ้ง,
เสือกสน – กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก
ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น
กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น
กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
【 กระกร 】แปลว่า: (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี
ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
【 กระกรับกระเกรียบ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์
ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 กระกรี๊ด 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ
เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด.
(ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 กระกรุ่น 】แปลว่า: (กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
【 กระกลับกลอก 】แปลว่า: (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอก
พราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
【 กระกวด 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด
กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
【 กระกอง 】แปลว่า: (แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม.
(เสือโค).
【 กระกัด 】แปลว่า: (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง),
ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
【 กระกัติ 】แปลว่า: (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล
ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
【 กระกี้ 】แปลว่า: น. ต้นตะเคียน. (ข.).
【 กระกูล 】แปลว่า: (เลิก) น. ตระกูล. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
【 กระเกรอก 】แปลว่า: -เกฺริก ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอก
ทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
【 กระเกริก 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา.
(อุเทน).
【 กระเกริ่น 】แปลว่า: (กลอน) ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
ใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.
【 กระเกรียม 】แปลว่า: (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียม
พร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
【 กระเกรียว 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว.
(สุธน).
【 กระเกรี้ยว 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว.
(ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
【 กระเกลือก 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. เกลือกไปมา เช่น กล่ำตากระเลือก กระเกลือก
กลอกตากลม. (ลอ).
【 กระคน 】แปลว่า: (กลอน) น. ประโคน คือ สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้างหลัง
ขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกัน โยงใต้ท้องช้างและที่หน้าขาหน้า
ไปจากสายชนักที่คอช้าง.
(รูปภาพ กระคน)
【 กระคาย 】แปลว่า: (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน.
(ม. ฉันท์ มหาราช).
【 กระคุก 】แปลว่า: (โบ) ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า. (ไตรภูมิ).
【 กระงกกระงัน 】แปลว่า: (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อย
พี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กระงกกระเงิ่น 】แปลว่า: ว. งก ๆ เงิ่น ๆ.
【 กระง่องกระแง่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด,
กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
ใช้เข้าคู่กับคำ กระเง้า เป็น กระเง้ากระงอด.
【 กระง่อนกระแง่น 】แปลว่า: ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, ง่อนแง่น ก็ว่า.
【 กระเง้ากระงอด 】แปลว่า: ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, เง้างอด หรือ เง้า ๆ งอด ๆ
ก็ว่า.
【 กระโงก 】แปลว่า: (กลอน) น. นกยูง, กุโงก ก็ว่า. (เทียบ ข. โกฺงก).
【 กระจก 】แปลว่า: น. แก้วที่ทําเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก.
(ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
【 กระจกเงา 】แปลว่า: น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงิน
หรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้าเป็นต้น,
มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์
ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือ
แสงสะท้อนกลับได้.
【 กระจกตา 】แปลว่า: น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออกพื้นหลัง
หวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตรประกอบอยู่เบื้องหน้าของ
ดวงตา.
【 กระจกนูน 】แปลว่า: น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวคว่ำ สามารถสะท้อนแสง
ให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.
【 กระจกฝ้า 】แปลว่า: น. กระจกโปร่งแสงคือแสงลอดผ่านได้บ้าง แต่ตาไม่สามารถ
มองทะลุผ่านไปเห็นวัตถุอีกข้างหนึ่งได้.
【 กระจกเว้า 】แปลว่า: น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถสะท้อนแสง
ให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.
【 กระจกหุง 】แปลว่า: น. กระจกสีชนิดบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีสีต่าง ๆ ใช้ประดับ
อาคาร วัตถุ หรือเครื่องใช้เป็นต้น.
【 กระจง 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้าย
กวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้
เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (/Tragulus napu/) สูงราว
๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (/T. javanicus/) สูงราว ๒๕
เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
【 กระจร ๑ 】แปลว่า: (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง.
(พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
【 กระจร ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง).
(แผลงมาจาก ขจร).
【 กระจอก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Passeridae ตัวลาย มี ๔ ชนิด
ชนิดที่มีชุกชุมอาศัยตามชายคาบ้านเรือน เรียก กระจอกบ้าน
(/Passer montanus/) อีก ๓ ชนิด คือ กระจอกตาล (/P. flaveolus/)
กระจอกป่าท้องเหลือง (/P. rutilans/) และกระจอกใหญ่
(/P. domesticus/).
【 กระจอก ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้าเล็กลาน หล็อนแฮ.
(ตําราช้างคําโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
【 กระจอก ๓ 】แปลว่า: ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย,
เช่น เรื่องกระจอก, .ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
【 กระจอกงอกง่อย 】แปลว่า: ว. ยากจนเข็ญใจ.
【 กระจอก ๔ 】แปลว่า: น. ลักษณะแมวอย่างหนึ่ง สีตัวดําทั้งหมด มีขนสีเทาล้อมรอบ
ปาก ตาสีเหลือง เรียกว่า แมวกระจอก. (โชค-โบราณ).
【 กระจอกชวา 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด /Padda oryzivora/ ในวงศ์ Estrildidae
มีถิ่นกําเนิดในเกาะชวาและเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
เคยนํามาเลี้ยงใช้เสี่ยงทาย จึงเรียกว่า นกหมอดู.
【 กระจอกเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด /Struthio camelus/ ในวงศ์ Struthionidae
ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกําเนิด
ในทวีปแอฟริกา.
【 กระจองงอง, กระจองงอง ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ
เจ้าข้าเอ๊ย.
【 กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
【 กระจองอแง 】แปลว่า: ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรําคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็ก
แดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.
【 กระจ้อน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Menetes berdmorei/ ในวงศ์ Sciuridae
เป็นสัตว์จำพวกกระรอก ตัวสีน้ำตาล มีลายสีดําและน้ำตาลอ่อนตาม
ยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง วิ่งหากินตามพื้นดิน.
【 กระจ้อน ๒ 】แปลว่า: ว. เล็ก, ไม่โต.
【 กระจอนหู 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ตุ้มหู. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑).
【 กระจ้อย 】แปลว่า: ว. จ้อย, เล็กน้อย, เช่น เดินร่อยเรี่ยงามตรูกระจ้อย.
(ประพาสธารทองแดง).
【 กระจ้อยร่อย 】แปลว่า: ว. จ้อย, น้อย ๆ, เล็กนิด.
【 กระจ๋อหวอ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เปิด, โจ่งแจ้ง.
【 กระจะ 】แปลว่า: ว. แจ่มแจ้ง, ชัดเจน.
【 กระจัก 】แปลว่า: (กลอน) ก. เป็นจัก ๆ เช่น กระจักกระจังบัลลังก์บัวหงาย
ธูปรองทองทราย สลับด้วยแก้วแกมนิล. (พากย์).
【 กระจัง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ใช้เป็นลวดลายสําหรับเครื่องประดับ
ที่อยู่บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์
กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ,
เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับหลัง
เฟี้ยมลับแลและอื่น ๆ.
【 กระจัง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด /Periophthalmodon schlosseri/
ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง
การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลา
จุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน
ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลน
และผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น
กะจัง ก็มี.
【 กระจังหลังเบี้ย 】แปลว่า: น. ใบไม้เล็ก ๆ เป็นหยัก ๆ. (ปาเลกัว).
【 กระจัด ๑ 】แปลว่า: ก. ขับไล่; แยกย้ายออกไป เช่น ลูกหลานกระจัดพลัดพราย. (คาวี).
(แผลงมาจาก ขจัด).
【 กระจัดกระจาย 】แปลว่า: ว. เรี่ยรายไป, แตกฉานซ่านเซ็นไป, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน.
(แผลงมาจาก ขจัดขจาย).
【 กระจัดพลัดพราย 】แปลว่า: ก. แตกฉานซ่านเซ็นไป, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน.
【 กระจัด ๒ 】แปลว่า: ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
【 กระจับ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้น้ำชนิด /Trapa bicornis/ Osbeck ในวงศ์ Trapaceae
ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา
คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ;
เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้าย
ฝักกระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับ
ยันคางศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่
ป้องกันอวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
【 กระจับ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวาย
หรือไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชาย
ทั้ง ๒ ข้างเสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีน
กระทบกันเอง.
【 กระจับบก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าต่าตามที่น้ำท่วม มักขึ้นปะปน
กับเถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่
ใกล้หรือติดกับก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูป
สามเหลี่ยม ไม้ใช้ทําฟืน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กระจับปิ้ง 】แปลว่า: น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนาก
เป็นต้น, จะปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
【 กระจับปี่ 】แปลว่า: น. พิณ ๔ สาย. (ช. จาก ส. กจฺฉปี, อธิบายว่า มีรูปคล้ายเต่า).
【 กระจ่า 】แปลว่า: น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ,
จวัก จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
【 กระจ่าง 】แปลว่า: ก. สว่าง, สุกใส, ชัดเจน, แจ่ม.
【 กระจาด 】แปลว่า: น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียก
เครื่องสานที่ทําเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ
สําหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ.
【 กระจาน 】แปลว่า: น. แผ่นตะกั่วหรือโลหะแผ่นเล็ก ๆ บาง ๆ ที่ติดอยู่เหนือเบ็ด
สําหรับล่อปลา.
【 กระจาบ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบ
ธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (/Ploceus philippinus/) กระจาบ
อกลาย (/P. manyar/) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ
ปากรังอยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (/P. hypoxanthus/) ทํารัง
ด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่
รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
ใช้เข้าคู่กับคำ กระโจม เป็น กระโจมกระจาม.
【 กระจาย 】แปลว่า: ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ
แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้
เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย.
(แผลงมาจาก ขจาย).
【 กระจายนะมณฑล 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อกลบทวรรคต้นใช้อักษรสูงนําหน้า วรรคที่ ๒ ใช้
อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรต่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระ
ศิริวิบุลกิตติ์ กําจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณ
พระชนมา. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 กระจายเสียง 】แปลว่า: ก. ส่งเสียงแพร่ไกลออกไป.
【 กระจายหางดอก 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว
มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ด
ตําละลายกับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า.
(กบิลว่าน).
【 กระจาว 】แปลว่า: น. กระเจา. /(ดู กระเชา)./
ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุก เป็น กระจุกกระจิก.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุ๋ง เป็น กระจุ๋งกระจิ๋ง.
【 กระจิด 】แปลว่า: ว. เล็กน้อย เช่น ตัวกระจิดนิดกว่าแมว. (ประพาสธารทองแดง).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุบ เป็น กระจุบกระจิบ.
【 กระจิบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ร้องเสียงจิบ ๆ มีหลายชนิด
เช่น กระจิบธรรมดา (/Orthotomus sutorius/) กระจิบคอดํา
กระจิบหัวแดง (/O. atrogularis/) (/O. sepium/) กินแมลง.
【 กระจิบ ๒ 】แปลว่า: น. ถ้วยขนาดเล็กที่สุดสําหรับจิบ.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระจุ๋ม เป็น กระจุ๋มกระจิ๋ม.
【 กระจิริด 】แปลว่า: [กฺระจิหฺริด] ว. เล็กนิด. [เทียบมลายู เกาะจิลฺ, เกะจิก = เล็ก).
【 กระจิ๋ว 】แปลว่า: ว. เล็ก ๆ, จิ๋ว.
【 กระจิ๋วหลิว 】แปลว่า: (ปาก) ว. เล็กมาก.
【 กระจี้ 】แปลว่า: (ถิ่น-โคราช) น. เมล็ดของต้นแสลงใจ.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระจู๋ เป็น กระจู๋กระจี๋.
【 กระจุก 】แปลว่า: น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกัน
เป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. ก. รวม
กันอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ธุรกิจใหญ่ ๆ กระจุกกันอยู่ในตัวเมือง.
【 กระจุกกระจิก 】แปลว่า: ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่
ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
【 กระจุกกระจุย 】แปลว่า: ว. กระจายจากกันอย่างสับสนไม่เป็นระเบียบ.
【 กระจุ๋งกระจิ๋ง 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ ทําเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
ก. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู,
จุ๋งจิ๋ง ก็ว่า.
【 กระจุบ, กระจุ๊บ 】แปลว่า: น. ส่วนของโคมตรงที่สวมหลอด; ส่วนหนึ่งของตะเกียงที่ไส้
ผ่านสําหรับจุดไฟ.
【 กระจุบกระจิบ 】แปลว่า: (โบ) ว. จุบจิบ.
【 กระจุ๋มกระจิ๋ม 】แปลว่า: ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, จุ๋มจิ๋ม ก็ว่า.
【 กระจุย 】แปลว่า: ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก
เป็น กระจุกกระจุย.
【 กระจุยกระจาย 】แปลว่า: ว. กระจายยุ่งเหยิง.
【 กระจู้ 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อ
คอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, เรียกว่า อีจู้
หรือ จู้ ก็มี.
【 กระจู๋กระจี๋ 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า. ว. อาการ
ที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, จู๋จี๋ ก็ว่า.
【 กระจูด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Lepironia articulata/ (Retz.) Domin
ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลมภายในกลวง และมีเยื่ออ่อนหยุ่น
คั่นเป็นข้อ ๆ ใช้สานเสื่อหรือกระสอบ. (เทียบมลายู kerchut).
【 กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง 】แปลว่า: ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร
กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก
กระเจิดกระเจิงไป.
【 กระเจา 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Corchorus/ วงศ์ Tiliaceae
ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ
เช่น ปอกระเจาฝักกลม (/C. capsularis/ L.) ผลป้อม
เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ
ปอกระเจาฝักยาว (/C. olitorius/ L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ด
ของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้น
ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. /(ดู กระเชา)./
【 กระเจ่า, กระเจ้า ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. นกยาง เช่น กระจาบกระเจ้าจับ ซ้องศัพทอึงอล.
【 กระเจ้า ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. /(ดู กระเชา)./
【 กระเจาะ ๑ 】แปลว่า: ว. มีแผลเป็นที่ลูกตา เรียกว่า ตากระเจาะ.
【 กระเจาะ ๒ 】แปลว่า: น. เบี้ยเล็ก ๆ. (ปาเลกัว).
【 กระเจิง 】แปลว่า: ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ
กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
【 กระเจิดกระเจิง 】แปลว่า: ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูกตีแตก
กระเจิดกระเจิงไป. /(ดู กระเจอะกระเจิง)./
【 กระเจี้ยง 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด /Epigeneium amplum/ (Lindl.)
Summerh. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ ทั้งกลีบนอกและกลีบใน
สีเหลืองประแดง, เอื้องศรีเที่ยง ก็เรียก.
【 กระเจี๊ยบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Abelmoschus esculentus/ (L.) Moench
ในวงศ์ Malvaceae ผลสีเขียว ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร
ใช้เป็นผัก, กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย หรือ มะเขือมอญ ก็เรียก.
【 กระเจี๊ยบเปรี้ยว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Hibiscus sabdariffa/ L. ในวงศ์ Malvaceae
เปลือกต้นมีปอเหนียวทนทาน ผลสีแดง ใช้ทําแยม, กระเจี๊ยบแดง
ก็เรียก, พายัพเรียก เกงเขง หรือ เกงเคง.
【 กระเจียว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Curcuma sessilis/ Gage ในวงศ์
Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน
ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาว อยู่ระหว่าง
กาบสีขาวปลายสีม่วงใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง.
【 กระเจี๊ยว 】แปลว่า: (ปาก) น. อวัยวะสืบพันธุ์เด็กชายเล็ก ๆ, เจี๊ยว หรือ อ้ายเจี๊ยว ก็ว่า.
【 กระแจะ ๑ 】แปลว่า: น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสําหรับทาหรือเจิม
โดยปรกติมีเครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม
ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น.
【 กระแจะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Naringi crenulata/ (Roxb.)
Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและ
กิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาว
ประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็น
เครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทํายา, กะแจะ กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง
หรือ พญายา ก็เรียก.
【 กระแจะ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสําหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐาน
ปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกําลังหดตัวให้ปลาย
จดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทําด้วยเหล็กปลายแหลม
ข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สําหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวง
ให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้
ใช้สําหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะ
ได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้าง
กําลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถ
จะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือกำไลเหล็ก
ที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้าง
เดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.
【 กระโจน 】แปลว่า: ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า.
【 กระโจม ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบัง
แดดลมเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็น
ลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น
ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อ
ออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า;
(ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้ว
เครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
【 กระโจมทอง 】แปลว่า: น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับหลังช้าง
พระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
【 กระโจมไฟ 】แปลว่า: น. หอสูงซึ่งตามไฟฉายแสงอย่างแรงไว้บนยอดเพื่อใช้บอก
สัญญาณในการเดินเรือเป็นต้น, ประภาคาร หรือ เรือนตะเกียง
ก็เรียก.
【 กระโจมอก 】แปลว่า: ก. นุ่งผ้าสูงปิดอก. ว. อาการที่นุ่งผ้าสูงปิดอก ในความว่า
นุ่งผ้ากระโจมอก.
【 กระโจม ๒ 】แปลว่า: ก. โถมเข้าไป เช่น ไม่ได้ทีอย่ากระโจมเข้าโรมรัน.
(รามเกียรติ์ ร. ๒); ข้ามลําดับไป ในความว่า กินข้าวต้ม
กระโจมกลาง.
【 กระโจมกระจาม 】แปลว่า: ก. พรวดพราดอย่างลุกลน (เป็นคําใช้ในทางที่ติ).
【 กระฉง 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงประเภทมวนพวกหนึ่ง ดูดกินเมล็ดอ่อนบนรวงข้าว
ทําให้ข้าวลีบ ลําตัวแคบยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาล,
ในสกุล /Leptocorisa/ วงศ์ Alydidae มี ๕-๖ ชนิดด้วยกัน
ที่สําคัญ ได้แก่ ชนิด /L. varicornis/ และชนิด /L. acuta/, ฉง สิง
หรือ สิงห์ ก็เรียก.
【 กระฉอก 】แปลว่า: ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง
เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม),
ฉอก ก็เรียก.
【 กระฉอกกระแฉก 】แปลว่า: (ปาก) ก. กระฉอก, กระเพื่อมออกมา.
【 กระฉ่อน 】แปลว่า: ว. อื้อฉาว, แพร่สนั่นไป, อึงไปทั่ว.
【 กระฉับกระเฉง 】แปลว่า: ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ
เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
【 กระฉิ่ง 】แปลว่า: น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง. /(ดู กรรชิง)./
【 กระฉีก 】แปลว่า: น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึก
ให้เข้ากัน อบด้วยควันเทียนให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม
เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้ มีไส้เป็นหน้ากระฉีก
ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
【 กระฉูด 】แปลว่า: ก. พุ่งออกโดยแรง (ใช้แก่ของเหลว) เช่น น้ำกระฉูด; ไสไป
โดยแรง เช่น ช้างกระฉูดเท้า. (เทียบ ข. กญฺฌูส ว่า เตะดิน,
ตะกุยดิน, เตะไสดินให้ฝุ่นฟุ้ง).
【 กระเฉก 】แปลว่า: ว. เขยก. (ปาเลกัว).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระฉับ เป็น กระฉับกระเฉง.
【 กระเฉด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้น้ำชนิด /Neptunia oleracea/ Lour. ในวงศ์ Leguminosae
ขึ้นลอยอยู่ในน้ำ ลําต้นอ่อนอุ้มน้ำ มีปลอกเป็นปุยขาว ๆ เป็นทุ่น
เรียกว่า นม ใบย่อยเล็กเมื่อถูกสัมผัสก็หุบราบไป ดอกเหลืองเล็ก
ออกชิดกันเป็นก้อนกลม ลําต้นและใบใช้เป็นอาหารได้, คำสุภาพ
เรียกว่า ผักรู้นอน, พายัพ เรียก ผักหนอง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระฉอก เป็น กระฉอกกระแฉก.
【 กระแฉ่น 】แปลว่า: (โบ) ก. ดังสนั่น เช่น ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู. (แช่งน้ำ).
【 กระโฉกกระเฉก 】แปลว่า: ว. โขยกเขยก. (ปาเลกัว).
【 กระโฉม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Limnophila rugosa/ Merr. ในวงศ์
Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ
สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้าน
ใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู
กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของ
ไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก
เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
【 กระชง 】แปลว่า: (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น.
(นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
【 กระชดกระช้อย 】แปลว่า: ว. ชดช้อย.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระชุ่ม เป็น กระชุ่มกระชวย.
【 กระชอก 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์.
(ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).
【 กระชอน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น.
【 กระชอน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงชนิด /Gryllotalpa orientalis/ ในวงศ์ Gryllotalpidae
ลําตัวยาว ขนาดย่อมกว่านิ้วก้อยเล็กน้อย สีน้ำตาล ปีกสั้น บินได้
ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นแบน รูปร่างคล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนาม
แข็ง ใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ.
【 กระชอม 】แปลว่า: (โบ) ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี. (ม. คําหลวง
มหาพน).
【 กระชอมดอก 】แปลว่า: น. ดอกไม้เพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ ซึ่งเรียก
กันว่า ดอกถวายพระ.
【 กระช้อย 】แปลว่า: ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน),
และใช้เข้าคู่กับคํา กระชด เป็น กระชดกระช้อย.
【 กระช้อยนางรำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Codariocalyx motorius/ Ohashi ในวงศ์
Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่าง
เล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ
นางรํา ก็เรียก.
【 กระชัง ๑ 】แปลว่า: น. บังสาดที่ปิดและเปิดได้. (เทียบ ช. กระรันชัง = กระจาด).
กระชังหน้าใหญ่ (สํา) ว. จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง, เช่น
แม่กระชังหน้าใหญ่.
【 กระชัง ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน
แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบน
เจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ
เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลา
หรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วย
ไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่
กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาด
ใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภค
หรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
【 กระชัง ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. น้ำปัสสาวะแห่งทารก, น้ำคร่ำ, เขียนเป็น กะชัง ก็มี.
(มิวเซียม).
【 กระชั้น 】แปลว่า: ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลา
กระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้น
เสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
【 กระชับ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Xanthium strumarium/ L. ในวงศ์
Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมน้ำ ลําต้น
และใบคาย ใบมนเว้า ขอบจักโคนใบแหลม ดอกเล็กรวม
เป็นกระจุก ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลาย
งอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้
ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น
ก็เรียก.
【 กระชับ ๒ 】แปลว่า: ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย
บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น
กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
【 กระชาก 】แปลว่า: ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง,
โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น
พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น
กระโชกกระชาก.
【 กระช่าง 】แปลว่า: (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร),
กระซ่าง ก็ว่า.
【 กระชาเดิม 】แปลว่า: (โบ) น. ร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอม
เป็นต้น.
【 กระชาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Boesenbergia rotunda/ (L.) Mansf.
ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลําต้น
อยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบน้ำ
ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร,
พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน.
【 กระชิง 】แปลว่า: น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิง
หุ้มผ้าแดงได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิง
หุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). /(ดู กรรชิง)./
【 กระชิด ๑ 】แปลว่า: ว. ชิดทีเดียว เช่น ว่องไวไล่กระชิดติดพัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
【 กระชิด ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นข่อยหนาม. /(ดู ข่อยหนาม ที่ ข่อย)./
【 กระชุ ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานรูปกลมสูง สําหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน,
กระชุก ก็ว่า.
【 กระชุ ๒ 】แปลว่า: น. ต้นกระทุ. /(ดู กระทุ)./
【 กระชุก ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานรูปกลมสูง สําหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน,
กระชุ ก็ว่า; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ
๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง.
【 กระชุก ๒ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สําหรับ
ใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก.
【 กระชุน 】แปลว่า: /ดู กระทุน/.
【 กระชุ่มกระชวย 】แปลว่า: ว. มีผิวพรรณสดใสหรือมีอาการกระปรี้กระเปร่า.
【 กระเชอ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ
ปากกว้าง ใช้กระเดียด; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ
๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด, กันเชอ ก็เรียก.
(เทียบ ข. ก?ฺเชิ).
(รูปภาพ กระเชอ)
【 กระเชอก้นรั่ว 】แปลว่า: (สํา) ว. สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ, ขาดการประหยัด.
【 กระเชา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด /Holoptelea integrifolia/
(Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบน
บางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็น
สีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก
มากนัก ทําเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ,
บางทีเรียก กระเจา, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว
หรือ ขเจา.
【 กระเช้า 】แปลว่า: น. ภาชนะสานมีหูเป็นวงโค้งขึ้นไปสําหรับหิ้ว.
【 กระเช้าสวรรค์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุก
และในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะขนาดใหญ่
คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่
มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครงของ
ล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
【 กระเช้าผีมด 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Aristolochia tagala/ Cham. ในวงศ์
Aristolochiaceae ผลเมื่อแก่ตอนโคนแยกออกเป็น ๖ สาย
คล้ายสาแหรก รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด
/Hydnophytum formicarium/ Jack ในวงศ์ Rubiaceae
ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลําต้นทรงกลมอวบน้ำ
มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทํายาได้,
หัวร้อยรู ก็เรียก.
【 กระเช้าสีดา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Aristolochia indica/ L. ในวงศ์ Aristolochiaceae
ผลคล้ายผลกระเช้าผีมด (๑) แต่ขนาดใหญ่กว่า รากใช้ทํายาได้.
【 กระเชียง 】แปลว่า: น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับพาด ใช้
เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกระเชียง, กรรเชียง ก็ว่า.
【 กระเชียงปู 】แปลว่า: /ดู กรรเชียงปู/.
【 กระแชง 】แปลว่า: น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บ
เป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผง
สำหรับคลุมเรือหรือรถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติด
กับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อ
ควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง;
ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม
ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
【 กระแชะ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด
สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา. (คาวี).
【 กระโชก 】แปลว่า: ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว,
ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก
วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
【 กระโชกกระชั้น 】แปลว่า: ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.
【 กระโชกกระชาก 】แปลว่า: ว. อาการพูดอย่างตวาดหรืออย่างกระแทกเสียง.
【 กระโชกโฮกฮาก 】แปลว่า: ว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง,
โฮกฮาก ก็ว่า.
【 กระซวย 】แปลว่า: (ถิ่น) น. กรวย เช่น กระซวยหมากพลู.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระซิก เป็น กระซิกกระซวย.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระซี้ เป็น กระซี้กระซ้อ.
【 กระซ่องกระแซ่ง 】แปลว่า: ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า.
【 กระซับ 】แปลว่า: น. ชื่อพนักงานพวกหนึ่งในเรือเดินทะเล มีหน้าที่รักษาพัสดุ
ตลอดจนสินค้าทั่วไปในระวางเรือด้วย เรียกเต็มว่า
กระซับปากเรือ.
【 กระซ่าง 】แปลว่า: (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ),
กระช่าง ก็ว่า.
【 กระซาบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้
เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
【 กระซิก ๑ 】แปลว่า: ก. ค่อยเบียดเข้าไป.
【 กระซิก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ.
【 กระซิกกระซวย 】แปลว่า: ก. ค่อยกระแซะเข้าไป เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระซิกกระซวย.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กระซิกกระซี้ 】แปลว่า: ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, ซิกซี้ ก็ว่า.
【 กระซิก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Dalbergia parviflora/ Roxb.
ในวงศ์ Leguminosae มีทางปักษ์ใต้ เนื้อไม้สีแดงคล้ำ
คล้ายไม้ชิงชัน, ครี้ หรือ สรี้ ก็เรียก.
【 กระซิบ 】แปลว่า: ก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา
กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.
【 กระซิบกระซาบ 】แปลว่า: ก. บอกความหรือคุยกันด้วยเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระซิก และ กระเซ้า เป็น กระซิกกระซี้ และ
กระเซ้ากระซี้.
【 กระซี้กระซ้อ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดสนิทชิดเชื้อเพื่อความเสน่หา.
【 กระซุง 】แปลว่า: น. พนักงาน, ตําแหน่ง. (พจน). (เทียบ กระทรวง).
【 กระซุบกระซิบ 】แปลว่า: ก. พูดกันเบา ๆ.
【 กระซุ้ม 】แปลว่า: น. ซุ้ม.
【 กระซู่ 】แปลว่า: น. ชื่อแรดชนิด /Dicerorhinus sumatrensis/ ในวงศ์ Rhinocerotidae
มี ๒ นอ ขนดกกว่าแรดชนิดอื่น เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระโซ เป็น กระโซกระเซ.
【 กระเซ็น 】แปลว่า: ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นกระเด็นเป็นฝอย.
【 กระเซอ 】แปลว่า: ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์
พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
【 กระเซอะกระเซอ 】แปลว่า: ก. เซ่อเซอะ เช่น ชังน้ำหน้าบ้าเคอะกระเซอะกระเซอ. (คาวี).
【 กระเซอะกระเซิง 】แปลว่า: ว. อาการที่ซัดเซไปโดยไม่มีที่มุ่งหมายว่าจะไปแห่งไร.
【 กระเซ้า 】แปลว่า: ก. พูดรบเร้า, พูดเย้าแหย่.
【 กระเซ้ากระซี้ 】แปลว่า: ก. พูดรบเร้าร่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, เซ้าซี้ ก็ว่า.
【 กระเซิง 】แปลว่า: ว. ยุ่งเหยิง, รุงรัง, เช่น ผมเป็นกระเซิง, เซิง ก็ว่า.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซิง.
【 กระแซ ๑ 】แปลว่า: น. คนเชื้อสายชาวอินเดียเมืองมณีปุระ (เมืองหนึ่งในแคว้นอัสสัม).
【 กระแซ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือพายชนิดหนึ่งอยู่ในกระบวนเรือรบหลวง เรียกว่า เรือกระแซ.
【 กระแซง 】แปลว่า: น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้าง
ผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้าง
จับเมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.
【 กระแซะ 】แปลว่า: ก. ขยับกระทบเข้าไป เช่น ขยับตัวกระแซะเข้าไป พูดเลียบเคียง
กระแซะเข้าไป.
【 กระโซกระเซ 】แปลว่า: ว. โซ ๆ เซ ๆ.
【 กระฎี 】แปลว่า: น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (แผลงมาจาก กุฎี).
【 กระฎุมพี 】แปลว่า: น. ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี.
(ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี).
【 กระดก ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้ปลายข้างหนึ่งยกสูงขึ้น, เผยอขึ้นข้างหนึ่ง.
【 กระดกกระดนโด่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตั้งอยู่อย่างไม่เรียบร้อย, ท่าทางเก้กังไม่เรียบร้อย.
【 กระดก ๒ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว
แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 กระด้ง 】แปลว่า: น. ภาชนะรูปแบน ขอบกลม สําหรับฝัดข้าวเป็นต้น, ถ้าขนาด
ใหญ่ เรียกว่า กระด้งมอญ, ถ้ามีตาห่าง เรียกว่า ตะแกรง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระดก เป็น กระดกกระดนโด่.
【 กระดวง 】แปลว่า: (ปาก; เพี้ยนมาจาก กราดวง) น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน
สําหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก.
【 กระดวน 】แปลว่า: (ปาก; เพี้ยนมาจาก ประดวน) ก. ยอน, แยง.
【 กระด้วมกระเดี้ยม 】แปลว่า: ว. กระต้วมกระเตี้ยม.
【 กระดอ 】แปลว่า: น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
【 กระดอง 】แปลว่า: น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล.
(ทางเหนือว่า ออง).
【 กระดองหาย 】แปลว่า: น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้
กระตักและไม้กระดองหาย. (ลักษณะธรรมนูญ), ดอง ดองหาย
ดองฉาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก.
(รูปภาพ กระดองหาย)
【 กระดอน 】แปลว่า: ก. สะท้อนขึ้น.
【 กระดอม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด /Gymnopetalum cochinchinense/
(Lour.) Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ
ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทํายาได้, ขี้กาดง หรือ
ขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
【 กระดักกระเดี้ย 】แปลว่า: ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น
เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น
หากินกระดักกระเดี้ย.
【 กระดังงัว 】แปลว่า: /ดู การเวก ๓/.
【 กระดังงา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cananga odorata/ (Lam.) Hook.f. et
Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ
ดอกใช้กลั่นน้ำมันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ
สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบมลายู canaga, kananga); พรรณไม้
ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็นไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ
หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [/Cananga odorata/ Hook.f.
et Thomson var. /fruticosa/ (Craib) J. Sinclair].
【 กระดังงาจีน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Artabotrys hexapetalus/ (L.f.) Bhandari
ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมจัด กลีบหนา มี ๖ กลีบ ก้านดอก
เป็นขอ, สะบันงาจีน ก็เรียก.
【 กระดังงาเถา 】แปลว่า: /ดู การเวก ๓/.
【 กระดังงาลนไฟ 】แปลว่า: (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิง
ทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
【 กระดาก ๑ 】แปลว่า: ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด
หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
【 กระดากกระเดื่อง 】แปลว่า: ก. สะทกสะเทิ้น, ขวยเขิน.
【 กระดาก ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น,
สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก
ว่า กระเดาะปาก).
【 กระดาก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดําดง. (ม. ฉันท์
มหาพน).
【 กระด้าง ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อถั่วชนิด /Vigna sinensis/ (L.) Savi ex Hassk.
var. /cylindrica/ (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae
เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา,
บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Lasianthus hookeri/
C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขน
สาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติด
กับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้,
พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae
ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด /Daedaleaopsis/
confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด
สีน้ำตาลแดงสลับน้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู
เนื้อในเห็ดแข็ง.
【 กระด้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูน้ำชนิด /Erpeton tentaculatum/ ในวงศ์ Colubridae
ลําตัวสีน้ำตาลและดํา มีหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ๒ เส้น
อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าเป็น
อันตรายต่อมนุษย์ ชอบทําตัวแข็งทื่อ จึงเรียกว่า งูกระด้าง.
【 กระด้าง ๓ 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างแข็ง หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อน, ไม่นิ่มนวล,
เช่น ลิ้นกระด้าง ข้าวกระด้าง; ขัดแข็ง หมายถึง กิริยาวาจา
ไม่อ่อนตาม เช่น มีกิริยากระด้างขึ้น; เรียกน้ำที่ฟอกสบู่ไม่เป็น
ฟองว่า น้ำกระด้าง.
【 กระด้างกระเดื่อง 】แปลว่า: ก. แข็ง เช่น หนึ่งโสดฝุ่นทรายตรึงตรา นอนแนบหินผา
กระด้างกระเดื่องทั้งตัว. (ดุษฎีสังเวย). ว. ไม่อ่อนน้อม,
เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.
【 กระดางลาง 】แปลว่า: ว. มรรยาทหยาบ, สัปดน, เช่น อ้ายเฒ่าแก่กากกลีกระดางลาง
ยังมันนี้ใครเขามีบ้างที่เมืองคน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กระดาด, กระดาดขาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Alocasia indica/ Schott ในวงศ์ Araceae
มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า
ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทํายา หัวทําให้สุก
แล้วกินได้, เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก.
【 กระดาดดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล /Alocasia/ และ /Xanthosoma/
วงศ์ Araceae คือ ชนิด /Alocasia macrorrhizos/ (L.) G. Don
ลักษณะคล้ายกระดาด ใบสีเขียวเข้มหรือม่วงดำ ใช้ทํายาได้, ปึมปื้อ
หรือ เอาะลาย ก็เรียก; และชนิด /Xanthosoma nigrum/ (Vell.) Mansf.
ใบสีเขียวเข้มหรือม่วง โคนใบเว้าลึกคล้ายหัวลูกศร หัว ใบ และก้าน
กินได้.
【 กระดาดแดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Alocasia indica/ Schott var. /metallica/
Schott ในวงศ์ Araceae โคนใบเว้าลึกและห่างไม่มาก ก้านใบ
สีม่วงแดง กาบหุ้มช่อดอกด้านในสีเหลืองหรือม่วงแดง ใช้ทํายาได้.
【 กระดาน ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ; ลักษณนามเรียกการแข่งขัน
ที่เดินบนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่นว่าเล่นหมากรุกชนะ
๒ กระดาน; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
【 กระดานชนวน 】แปลว่า: น. กระดานทําด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ทำด้วยไม้ทาสมุกบ้างสําหรับ
เขียนหนังสือ.
【 กระดานชัย 】แปลว่า: น. ชื่อการออกถั่วใหญ่ ๓ ครั้งแรก.
【 กระดานดำ 】แปลว่า: น. กระดานใหญ่ มักทาสีดำ ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนการเรียน.
【 กระดานโต้คลื่น 】แปลว่า: น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดย
ผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป.
(อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น.
(อ. surf-riding).
【 กระดานถีบ 】แปลว่า: น. แผ่นกระดานที่ใช้ถีบไปบนเลนเพื่อเก็บหอยปู โดยมากใช้กัน
ในจังหวัดชลบุรี.
(รูปภาพ กระดานถีบ)
【 กระดานพิง 】แปลว่า: น. แผ่นสําหรับรับหมอนพิงหลังเช่นใช้ที่ธรรมาสน์.
【 กระดานไฟ 】แปลว่า: น. กระดานสําหรับนอนอยู่ไฟเมื่อคลอดบุตรแล้ว.
【 กระดานลื่น 】แปลว่า: น. เรียกกระดานที่ตั้งสูงทอดต่าลงไปด้านหนึ่ง ให้เด็กเล่นโดยนั่ง
ไถลตัวลง, ไม้ลื่น ก็เรียก.
【 กระดานเลียบ 】แปลว่า: น. ไม้กระดานแผ่นเดียวที่ปูไว้หน้าเรือน สําหรับนั่งหรือวางสิ่งของ
ต่าง ๆ, กราบเรือส่วนที่เป็นไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตาม
แนวนอนสำหรับเดิน.
【 กระดานหก 】แปลว่า: น. เครื่องดักสัตว์อย่างหนึ่งทําด้วยไม้กระดาน หกได้; เครื่องเล่น
สำหรับเด็กอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นไม้กระดาน ระหว่างกึ่งกลางความ
ยาวของไม้มีขาซึ่งตรึงติดกับแผ่นไม้ ผู้เล่นนั่งที่ปลายไม้ทั้ง ๒ ข้าง
ผลัดกันกระดกไม้กระดานให้ขึ้นลง.
【 กระดาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด /Thenus orientalis/ ในวงศ์ Scyllaridae
หัวและลําตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีน้ำตาล ส่วนหัวและหนวด
คู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง ปรกติงอพับอยู่ใต้ส่วนท้อง
อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไปขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร
มักเรียกกันทั่วไปว่า กั้งกระดาน.
【 กระดานพน 】แปลว่า: /ดู กระเบียน (๒)/.
【 กระดาษ 】แปลว่า: น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทําจากใยเปลือกไม้ ฟาง
หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือ
ห่อของและอื่น ๆ.
【 กระดาษแก้ว 】แปลว่า: น. กระดาษที่มีเนื้อใส.
【 กระดาษข่อย 】แปลว่า: น. กระดาษที่ทําจากเปลือกข่อย ใช้ทำสมุดไทย.
【 กระดาษไข 】แปลว่า: น. กระดาษอาบไขที่ใช้ในการทําแบบ ลวดลาย หรือพิมพ์อัด
สําเนาแม่พิมพ์ในการพิมพ์โดยเครื่องอัดสําเนา.
【 กระดาษเงินกระดาษทอง 】แปลว่า: น. กระดาษสีเงินสีทองด้านหนึ่งที่คนจีนใช้เผาไฟในพิธีไหว้เจ้า
เป็นต้น.
【 กระดาษซับ 】แปลว่า: น. กระดาษที่ทําเนื้อยุ่ย ๆ สําหรับซับหมึกหรือน้ำ.
【 กระดาษทราย 】แปลว่า: น. กระดาษที่มีด้านหนึ่งเป็นเม็ด ๆ อย่างทราย ใช้สําหรับขัดไม้
เป็นต้น.
【 กระดาษเพลา 】แปลว่า: [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วย
ดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและ
หุ่นอื่น ๆ.
【 กระดาษฟาง 】แปลว่า: น. กระดาษที่ทําจากฟางข้าว เนื้อบางฟ่าม.
【 กระดาษว่าว 】แปลว่า: น. กระดาษที่ใช้ทําว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่ว
ไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจาก
ญี่ปุ่น.
【 กระดาษสา 】แปลว่า: น. กระดาษที่ทําจากเปลือกต้นสา ใช้ทําร่มเป็นต้น.
【 กระดาษเทศ 】แปลว่า: (โบ) น. ตาดเทศ เช่น อันทําด้วยกระดาษเทศทอพราย.
(ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 กระดำกระด่าง 】แปลว่า: ว. ดํา ๆ ด่าง ๆ, สีไม่เสมอกัน.
【 กระดิก 】แปลว่า: ก. ไหว, ทําปลายอวัยวะเช่นมือหรือเท้าให้ไหว.
【 กระดิกกระเดี้ย 】แปลว่า: ก. ไหวน้อย ๆ, พอไหวได้บ้าง.
【 กระดิ่ง 】แปลว่า: น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง
แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิด
เสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น กระดิ่งจักรยาน.
【 กระดิ่งทอง 】แปลว่า: /ดู ม่าเหมี่ยว ๑/.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระดุ้ง เป็น กระดุ้งกระดิ้ง.
【 กระดิบ, กระดิบ ๆ 】แปลว่า: ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายน้ำ
กระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระดุบ
เป็น กระดุบกระดิบ.
【 กระดี่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล /Trichogaster/ วงศ์ Anabantidae
เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็น
เส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (/T. trichopterus/) ข้างตัวมีลาย
หลายเส้นพาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ
๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (/T. microlepis/)
สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (/T. leeri/) พบเลี้ยง
กันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
【 กระดี่ได้น้ำ 】แปลว่า: (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
【 กระดี่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกบสําหรับไสไม้ทําเป็นร่อง เรียกว่า กบกระดี่.
【 กระดี่ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหม้อดินเผาขนาดใหญ่ ปากกว้าง มีขีดเป็นรอยโดยรอบ
ใช้เป็นหม้อแกง เรียกว่า หม้อกระดี่.
【 กระดี้กระเดียม 】แปลว่า: ก. รู้สึกจักจี้.
【 กระดึง 】แปลว่า: น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบ
แขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอ
สัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
【 กระดึงช้างเผือก 】แปลว่า: /ดู ขี้กาแดง/.
【 กระดึงพระราม 】แปลว่า: /ดู เขนงนายพราน/.
【 กระดืบ 】แปลว่า: ก. อาการที่ค่อย ๆ คืบไปอย่างหนอน.
【 กระดุ 】แปลว่า: น. การตีหม้อด้วยหินดุให้เข้ารูป.
【 กระดุกกระดิก 】แปลว่า: ว. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, ดุกดิก ก็ว่า.
【 กระดุ้งกระดิ้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ทําท่าทางสะบัดสะบิ้งดีดดิ้น (โดยมากใช้แก่ผู้หญิง).
【 กระดุบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เต้นตุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น, ดุบ ๆ ก็ว่า; อาการที่
เคลื่อนที่ไปอย่างช้า ๆ เช่น เด็กคลานกระดุบ ๆ.
【 กระดุบกระดิบ 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไหวน้อย ๆ.
【 กระดุม 】แปลว่า: น. เครื่องกลัดส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน
ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุมสําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็น
เครื่องประดับ, ดุม ลูกดุม หรือ ลูกกระดุม ก็เรียก.
【 กระดูก ๑ 】แปลว่า: น. โครงร่างกายมีลักษณะแข็ง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงร่างกาย;
เรียกผลไม้ที่มีเนื้อน้อยเช่น มะปรางว่า มะปรางกระดูก.
【 กระดูกแข็ง 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่ตายง่าย ๆ.
【 กระดูกงู 】แปลว่า: น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลําเรือสําหรับตั้งกง.
【 กระดูกร้องได้ 】แปลว่า: (สํา) น. ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทําให้จับตัวผู้กระทําผิดมา
ลงโทษได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายร้องบอก.
【 กระดูกสันหลัง 】แปลว่า: น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลําตัว เป็นแกน
ของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณ
คอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน
อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ,
ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
【 กระดูกอ่อน 】แปลว่า: (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้
กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
【 กระดูก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโกฐชนิดหนึ่ง เรียกว่า โกฐกระดูก. /(ดู โกฐกระดูก ที่ โกฐ)./
【 กระดูก ๓ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ตระหนี่, ขี้เหนียว.
【 กระดูกขัดมัน 】แปลว่า: (ปาก) ว. ตระหนี่มาก.
【 กระดูกกบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาพุ่มรอเลื้อยชนิด /Hymenopyramis brachiata/
Wall. ในวงศ์ Labiatae กิ่งอ่อนสี่เหลี่ยม ใบออกตรงข้ามกัน
ดอกเล็กสีขาวออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ผลกลมมีกระเปาะหุ้ม,
กระพัดแม่ม่าย ก็เรียก.
【 กระดูกไก่ดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล /Justicia/ วงศ์ Acanthaceae
ชนิด/J. gendarussa/ Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น
กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียง
พร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด /J. grossa/ C.B.
Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่
แตกตามยาว.
【 กระดูกเขียด 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง/.
【 กระดูกค่าง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diospyros undulata/ Wall. ex G. Don
var./cratericalyx/ (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้น
ในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ,
จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้
หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
【 กระดูกดำ 】แปลว่า: /ดู กระดูกไก่ดำ/.
【 กระดูกอึ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล /Dendrolobium/ และ /Dicerma/
วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด /Dendrolobium triangulare/
(Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝัก
เล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง
ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก;
ชนิด /D. lanceolatum/ (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบ
ที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ,
กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่
ก็เรียก; และชนิด /Dicerma biarticulatum/ (L.) DC. ชอบขึ้น
ตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็ก
คล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระโดก เป็น กระโดกกระเดก.
【 กระเด้ง 】แปลว่า: ก. ดีดหรือดันขึ้นเมื่อถูกกดหรือถูกบีบเป็นต้น, กระดอนขึ้น,
เด้ง ก็ว่า.
【 กระเด็น 】แปลว่า: ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็ว
เพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง.
【 กระเด้า 】แปลว่า: ก. ทําก้นขึ้น ๆ ลง ๆ, เด้า ก็ว่า.
【 กระเด้าดิน 】แปลว่า: /ดู เด้าดิน/.
【 กระเด้าลม 】แปลว่า: /ดู เด้าลม/.
【 กระเดาะ 】แปลว่า: ก. เดาะให้กระเด็นขึ้นเบา ๆ.
【 กระเดาะปาก 】แปลว่า: ก. ทําให้เกิดเสียงดังด้วยการใช้ลิ้นดันเพดาน เป็นต้นแล้วสลัดลง.
【 กระเดิด ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ปลากระดี่. /(ดู กระดี่ ๑)./
【 กระเดิด ๒ 】แปลว่า: ก. ลงกันไม่สนิท, กระดกสูงกว่าพื้น, เช่น กระดานกระเดิด.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระดัก และ กระดิก เป็น กระดักกระเดี้ย และ
กระดิกกระเดี้ย.
【 กระเดียด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาเข้าข้างสะเอว เช่น กระเดียดกระจาด. (ข. กณฺเฎียต).
【 กระเดียด ๒ 】แปลว่า: ว. ค่อนข้าง, หนักไปทาง, เช่น กระเดียดเปรี้ยว หน้าตา
กระเดียดไปทางแม่.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระดี้ เป็น กระดี้กระเดียม.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระด้วม เป็น กระด้วมกระเดี้ยม.
【 กระเดือก ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอ
เหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย เรียกว่า ลูกกระเดือก.
【 กระเดือก ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. กลืนอย่างลําบาก เช่น กระเดือกไม่ลงคอ
เต็มกระเดือก.
【 กระเดือกๆ 】แปลว่า: ว. กระเสือกกระสนไปด้วยความลำบาก เช่น ว่ายน้ำกระเดือก ๆ.
【 กระเดื่อง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว
มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้ว
ถีบลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง;
(รูปภาพ กระเดื่อง)
เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า
กระเดื่อง.
【 กระเดื่อง ๒ 】แปลว่า: ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี
เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้อง
ยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว
กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
【 กระเดื่อง ๓ 】แปลว่า: ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน);
กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้
เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
【 กระแด็ก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นกระแด็ก ๆ ชักกระแด็ก ๆ
ติดกระแด็ก ๆ, แด็ก ๆ ก็ว่า.
【 กระแด้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง
แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).
【 กระแด้แร่ 】แปลว่า: ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทําดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย.
(มณีพิชัย).
【 กระแด่ว ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ ในคําว่า ดิ้นกระแด่ว ๆ, แด่ว ๆ ก็ว่า.
【 กระแดะ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ดัดจริต, ทำในสิ่งที่ไม่น่าทำ.
【 กระแดะกระแด๋ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ดัดจริตดีดดิ้น, แดะแด๋ ก็ว่า.
【 กระโดก 】แปลว่า: ว. โอนไปโอนมา, ยกขึ้นยกลง.
【 กระโดกกระเดก 】แปลว่า: ว. มีกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย; โยกเยก, โอนไปโอนมา, โดกเดก
ก็ว่า.
【 กระโดง ๑ 】แปลว่า: น. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลา
บางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้าย
ใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).
【 กระโดง ๒ 】แปลว่า: น. กิ่งไม้ที่แตกออกตรงขึ้นไปจากกิ่งใหญ่; ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุด
จากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน เรียกว่า ลํากระโดง,
ลำประโดง ก็ว่า.
【 กระโดงคาง 】แปลว่า: น. ปลายคาง.
【 กระโดงแดง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Bhesa robusta/ (Roxb.)
Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาว
ปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน
ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด
(/Chionanthus microstigma/ (Gagnep.) Kiew ในวงศ์
Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้าม
กัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง
หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด /C. sangda/ (Gagnep.) Kiew
ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อน
ไปทางไม้พุ่ม.
【 กระโดด 】แปลว่า: ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์
กระโดด.
【 กระโดดร่ม 】แปลว่า: ก. กระโดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่
พื้นดินโดยอาศัยร่มชูชีพ, โดดร่ม ก็ว่า.
【 กระโดดโลดเต้น 】แปลว่า: ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอก
ดีใจเป็นต้น.
【 กระโดน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Careya sphaerica/ Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae
ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก
เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร
ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน
จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
【 กระโดนดิน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด /Careya herbacea/ Roxb. ในวงศ์
Lecythidaceae ชอบขึ้นตามที่ลุ่มดินทราย ลักษณะทั่วไปคล้าย
กระโดน สูงไม่เกิน ๑ เมตร ผลมีขนาดย่อมกว่า, กระโดนเบี้ย ก็เรียก.
【 กระใด 】แปลว่า: (โบ) ว. กระไร, อะไร, ทําไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู.
(สมุทรโฆษ).
【 กระได 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง, บันได ก็ว่า.
【 กระไดแก้ว 】แปลว่า: น. ชั้นสําหรับวางพาดสิ่งของเช่นใบลาน หรืออาวุธเป็นต้น.
【 กระไดลิง ๑ 】แปลว่า: น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูง หรือไต่
ลงที่ต่า, บันไดลิง ก็ว่า.
【 กระไดลิง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Bauhinia scandens/ L. var.
/horsfieldii/ (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae
ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตาม
ริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้าย
ขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือก
เหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา
บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
【 กระตรกกระตรำ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน
กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
【 กระตร้อ 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว
สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา
เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้.
(สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
【 กระตรับ 】แปลว่า: /ดู หมอช้างเหยียบ/.
【 กระตราก 】แปลว่า: ก. ล่ามโซ่, ทุกข์ทรมานในคุก. (ปาเลกัว).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระตรก เป็น กระตรกกระตรํา.
【 กระตรุด 】แปลว่า: น. ตะกรุด, กะตรุด หรือ กะตุด ก็ว่า.
【 กระตรุม 】แปลว่า: (กลอน) น. นกตะกรุม เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่
สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
【 กระต้วมกระเตี้ยม 】แปลว่า: ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่
กิริยาเดินหรือคลาน), ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม
ก็มี.
【 กระต้อ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระต้อพลอดกิ่งพลับ. (เพชรมงกุฎ).
【 กระต่องกระแต่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, ต่องแต่ง ก็ว่า.
【 กระต๊อบ 】แปลว่า: น. กระท่อมเล็ก ๆ. (พายัพและอุดรว่า ตูบ).
【 กระต้อยตีวิด 】แปลว่า: /ดู ต้อยตีวิด/.
【 กระตัก 】แปลว่า: (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทง
สัตว์พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก.
(ลักษณะธรรมนูญ).
【 กระตั้ว 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล
และหลายวงศ์ ลักษณะคล้ายนกแก้วแต่ตัวโตกว่า พบในทวีป
ออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง เช่น กระตั้วหงอนเหลือง
(/Cacatua galerita/) กระตั้วดํา (/Probosciger aterrimus/).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระโตก เป็น กระโตกกระตาก.
【 กระต่าย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย
หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ
กระต่ายป่า (/Lepus peguensis/) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว
อาศัยในโพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและ
หลายสี เช่น ชนิด /Oryctolagus cuniculus/.
【 กระต่ายชมจันทร์ 】แปลว่า: น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวก
เพลงเกร็ด.
【 กระต่ายต้องแร้ว 】แปลว่า: น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).
【 กระต่ายตื่นตูม 】แปลว่า: (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทัน
สํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
【 กระต่ายเต้น 】แปลว่า: น. เพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงเร็ว, ถ้ารับร้องเป็นเพลง ๒ ชั้น.
【 กระต่ายสามขา 】แปลว่า: (สํา) ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า.
【 กระต่ายหมายจันทร์ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า.
【 กระต่าย ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กะเทาะกะลาออก.
【 กระต่ายจีน 】แปลว่า: น. เครื่องมือขูดมะพร้าว ใช้ลวดตอกเป็นฟันถี่ ๆ บนหน้ากระดาน
สำหรับขูดมะพร้าวที่กะเทาะกะลาออกแล้ว.
【 กระต่ายขูด 】แปลว่า: /ดู สีกรุด/.
【 กระต่ายจันทร์ 】แปลว่า: /ดู กระต่ายจาม (๑)/.
【 กระต่ายจาม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Centipeda minima/ (L.) A. Br. et
Aschers ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ แฉะ ต้นเตี้ย
ติดดินคล้ายต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลม
คล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทํายาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์,
กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด
ก็เรียก. (๒) /ดู การบูรป่า./
【 กระติก 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำติดตัวในเวลาเดินทาง เช่น กระติกของ
ทหารหรือลูกเสือ, ภาชนะสำหรับใส่น้ำเพื่อเก็บความร้อนหรือ
รักษาความเย็นเป็นต้น, ถ้าใช้ใส่น้ำร้อน เรียกว่า กระติกน้ำร้อน,
ถ้าใช้ใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กระติกน้ำแข็ง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระตุก เป็น กระตุกกระติก.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระตุ้ง เป็น กระตุ้งกระติ้ง.
【 กระติ๊ด ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Estrildidae ใช้หญ้าทํารังเป็นรูป
กลมอยู่บนต้นไม้ ปากรังอยู่ด้านล่าง มีหลายชนิด เช่น กระติ๊ด
เขียว หรือ ไผ่ (/Erythrura prasina/) กระติ๊ดแดง หรือ สีชมพูดง
(/Amandava amandava/) กระติ๊ดท้องขาว (/Lonchura/
/leucogastra/) กินเมล็ดพืช, กะทิ ก็เรียก.
【 กระติ๊ดขี้หมู 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด /Lonchura punctulata/ ในวงศ์ Estrildidae
สีน้ำตาลกระขาว อกขาวมีลายสีน้ำตาลคล้ายเกล็ดปลา ปากดํา
อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินเมล็ดพืช.
【 กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุม
เม็ดกระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ
ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
【 กระติบ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานรูปกลม มีฝาครอบ สําหรับบรรจุ
ข้าวเหนียวนึ่ง.
【 กระตือรือร้น 】แปลว่า: ก. รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน.
【 กระตุก 】แปลว่า: ก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก,
อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.
【 กระตุกกระติก 】แปลว่า: ว. ตุก ๆ ติก ๆ, อาการที่ห้อยแกว่งไปมา.
【 กระตุ้งกระติ้ง 】แปลว่า: ว. มีกิริยาท่าทางกระชดกระช้อย, ตุ้งติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า.
【 กระตุ่น 】แปลว่า: น. ตัวตุ่น เช่น กระต่ายเต้นกระตุ่นขุด. (บุณโณวาท).
【 กระตุ้น 】แปลว่า: ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยาย
หมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน,
ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้น
ต่อไป.
【 กระตูบ 】แปลว่า: น. กระท่อม, กระต๊อบ, ตูบ ก็ว่า. /(ดู ตูบ ๑)./
【 กระเตง 】แปลว่า: ก. อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวหรือสะพายของโตงเตงไป.
【 กระเต็น 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น
ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด
สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลาย
ชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (/Ceryle rudis/)
กระเต็นน้อยธรรมดา (/Alcedo atthis/) กระเต็นอกขาว
(/Halcyon smyrnensis/).
【 กระเต็นปักหลัก 】แปลว่า: /ดู ปักหลัก ๒ (๑)./
【 กระเตอะ 】แปลว่า: ว. จวนแก่ (ใช้แก่หมาก) ในคําว่า หมากกระเตอะ หรือ
หมากหน้ากระเตอะ.
【 กระเตาะ ๑ 】แปลว่า: /ดู กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน ที่ กุ้ง ๑/.
【 กระเตาะ ๒ 】แปลว่า: ว. แรกรุ่น, เพิ่งแตกเนื้อสาว.
【 กระเตาะกระแตะ 】แปลว่า: ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ,
เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง,
มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระต้วม เป็น กระต้วมกระเตี้ยม.
【 กระเตื้อง 】แปลว่า: ก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น
เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.
【 กระแต ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Tupaiidae รูปร่างคล้าย
กระรอก แต่อยู่ต่างวงศ์กันและมีขนาดเล็กกว่า ปากแหลม
ไม่มีฟันแทะกินทั้งสัตว์และผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด
เช่น กระแตธรรมดา (/Tupaia glis/) กระแตเล็ก (/T. minor/)
กระแตหางขนนก (/Ptilocercus lowi/) เชื่อกันทางวิชาการ
ว่า เป็นสัตว์กลุ่มต้นกําเนิดสายวิวัฒนาการของลิงและมนุษย์;
ดอกไม้ประดิษฐ์เป็นรูปกระแตเกาะติดกับช่อใบแก้ว ทำด้วย
ดอกพุทธชาดเป็นต้น ใช้เป็นของชำร่วย.
【 กระแต ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้าน
ฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมี
ลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้ สำหรับถือตีเป็นสัญญาณ
ในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ เรียกว่า ฆ้องกระแต.
【 กระแต ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงร้อง เดิมเป็นของไทยทางเหนือ เรียกว่า กระแตเล็ก,
ถ้าทําโหมโรงสําหรับเสภา เรียกว่า กระแตใหญ่.
【 กระแตไต่ไม้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกลบท ตัวอย่างว่า หมายหมองมาดสวาทน้องมาดหมอง
หมาย; ชื่อเพลง เดิมเป็นของชาวเหนือพวกกะเหรี่ยง บัดนี้ใช้
เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงเสภา ทําตอนรื่นเริง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระต่อง เป็น กระต่องกระแต่ง.
【 กระแตแต้แว้ด ๑ 】แปลว่า: /ดู ต้อยตีวิด/.
【 กระแตแต้แว้ด ๒ 】แปลว่า: น. ใช้เปรียบผู้หญิงที่ชอบจุ้นจ้านเจ้ากี้เจ้าการ.
【 กระแตไต่ไม้ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กระแต ๓/.
【 กระแตไต่ไม้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด /Drynaria quercifolia/ (L.) J.
Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่
ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต
ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร
เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็น
จุด ๆ สีน้ำตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาด
ประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่
กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่
กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ
หัวว่าว ก็เรียก.
【 กระแตวับ 】แปลว่า: (วรรณ) ก. หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ.
(อภัย).
【 กระแตเวียน 】แปลว่า: น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่
ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอน
บนสอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะเดิน.
(รูปภาพ กระแตเวียน)
ใช้เข้าคู่กับคํา กระเตาะ เป็น กระเตาะกระแตะ.
【 กระโตกกระตาก 】แปลว่า: ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยาย
หมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
【 กระโตน 】แปลว่า: ก. กระโจน เช่น น้ำเชี่ยวเกลียวโยน กระโตนฉ่า ๆ. (สุบิน).
【 กระไตร 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ชื่อเหยี่ยวชนิดหนึ่ง เรียกว่า เหยี่ยวกระไตร
เช่น กระไตรตระไนตรู. (เสือโค), เขาคุ่มกระตรุมกระไตร.
(สรรพสิทธิ์), ตะไกร ก็เรียก.
【 กระถด 】แปลว่า: ก. ถดถอย, กระเถิบ, ขยับ.
【 กระถอบ 】แปลว่า: น. แผ่นทองคําฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สําหรับ
เสียบห้อยที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญ
เรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียก
กันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ.
【 กระถั่ว 】แปลว่า: น. นกอีเพา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กระถาง 】แปลว่า: น. ภาชนะปากกว้าง มีรูปต่าง ๆ สําหรับปลูกต้นไม้ หรือใส่น้ำ
และอื่น ๆ.
【 กระถิก, กระถึก 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้าย
กระรอกซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลําตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดํา
พาดขนานตามยาวของลําตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่
ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด
คือ กระถิกขนปลายหูยาว (/Tamiops rodolphei/) และกระถิก
ขนปลายหูสั้น (/T. macclellandi/), กระเล็น ก็เรียก.
【 กระถิน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด /Leucaena leucocephala/
(Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล
ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน
กระถินยักษ์ หรือสะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา; ชื่อพรรณไม้
หลายชนิดในสกุล /Acacia/ วงศ์ Leguminosae เช่น กระถินพิมาน
(/A. tomentosa/ Willd.).
【 กระถินหอม 】แปลว่า: /ดู คําใต้/.
【 กระเถิบ 】แปลว่า: ก. เขยิบไปจากที่เดิม.
【 กระโถน 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับบ้วนหรือทิ้งของต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ.
(เทียบ ข. กนฺโถรฺ).
【 กระโถนท้องพระโรง 】แปลว่า: น. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลาลูกขุนใน
สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สํา)
ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
【 กระโถนปากแตร 】แปลว่า: น. กระโถนทรงกลมมีปากผายออกคล้ายแตร.
【 กระโถนฤๅษี 】แปลว่า: น. ชื่อพืชเบียนชนิด /Sapria himalayana/ Griff. ในวงศ์
Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนที่รากเครือเขาน้ำ
(/Tetrastigma lanceolarium/ Planch.) ดอกรูปกระโถน
ปากแตร กลิ่นเหม็น กลีบดอกสีน้ำตาลแดงประเหลือง ใช้ทํา
ยาได้.
【 กระทก 】แปลว่า: ก. กระตุก เช่น เงื่อนกระทก, กระตุกเร็ว ๆ เช่น กระทกข้าว
คือ เอาข้าวใส่กระด้งร่อนพลางกระตุกพลาง เพื่อให้กากข้าว
แยกจากข้าวสาร.
【 กระทง ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง
สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดย
รอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ
ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น
เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร
มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดาน
ที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบ
มลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนาม
ของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทํา
ความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทง
ความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์
หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทง
หนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.
【 กระทงแถลง 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ส่วนสําคัญในสํานวนความที่เป็นประเด็นและ
ที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
【 กระทงน้อย 】แปลว่า: /ดู กระทงลอย/.
【 กระทงป่า 】แปลว่า: น. ไม้พาดปากมาดเรือโกลนชั่วคราว.
【 กระทงเพชร 】แปลว่า: น. ไม้ติดขวางรองแคร่เกวียนเพื่อยึดไม่ให้แคร่แยกออกไป.
【 กระทงลอย 】แปลว่า: น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้เครื่องรับมโหรี ทําตอนเสี่ยง
เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน,
กระทงน้อย หรือ บ้าบ่น ก็เรียก.
【 กระทงเหิน 】แปลว่า: น. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, หูกระต่าย ก็เรียก;
ขื่อกระดูกเชิงกราน.
【 กระทง ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้ควบกับคํา รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ
๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สําหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า
ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกําลังแตกเนื้อหนุ่มเป็น
เชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.
【 กระทงลาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Celastrus paniculatus/ Willd.
ในวงศ์ Celastraceae ใบรูปไข่ปลายแหลม ขอบจักถี่ ดอกเล็ก
ขาว ๆ เหลือง ๆ ออกเป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา
เมื่อแก่แตกเป็น ๓ กลีบ น้ามันจากเมล็ดใช้ทํายา ตามไฟ หรือ
เคลือบกระดาษกันน้ำซึม, กระทุงลาย หรือ มะแตก ก็เรียก.
【 กระทด 】แปลว่า: (โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตํารา
ช้างคําโคลง), ไม้กระทดกระทําทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).
【 กระทดกระทวย 】แปลว่า: ว. ไหวน้อย ๆ แต่พองาม, กิริยาย่างกรายอย่างนวยนาด.
【 กระทดกระทัน 】แปลว่า: (โบ) ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทัน
นั้นก็มีอยู่มากหลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
【 กระทบ 】แปลว่า: ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น
พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น
ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น
ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
【 กระทบกระทั่ง 】แปลว่า: ก. แตะต้อง, ทําให้กระเทือนถึง, ทําให้กระเทือนใจ.
【 กระทบกระเทียบ 】แปลว่า: ว. เปรียบเปรยให้กระทบถึง.
【 กระทบกระเทือน 】แปลว่า: ก. กระเทือนไปถึง, พาดพิงไปถึงให้รู้สึกสะเทือนใจ.
【 กระทบกระแทก 】แปลว่า: ว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใดผู้หนึ่งอย่างแรง.
【 กระทรวง ๑ 】แปลว่า: [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง.
(ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่า
เพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้น
ทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์),
แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะ
หัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา.
(ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป.
(สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวง
สัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). /(ดู กระซุง)./
【 กระทรวง ๒ 】แปลว่า: -ซวง น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง
ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ
ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น
กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป
แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ
ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง).
(เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
【 กระทวย 】แปลว่า: น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น
กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ
กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
【 กระทอก 】แปลว่า: ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก
เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน).
(เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).
【 กระท้อน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Sandoricum koetjape/ (Burm.f.)
Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง
เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.
【 กระท้อน ๒ 】แปลว่า: ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า.
【 กระท่อนกระแท่น 】แปลว่า: ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.
【 กระท่อม ๑ 】แปลว่า: น. เรือนเล็ก ๆ ทําพออยู่ได้. (เทียบ ข. ขฺทม).
【 กระท่อม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Mitragyna speciosa/ (Korth.)
Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมน้ำทั่วไป ใบเดี่ยว ออก
ตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลม
สีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็น
ยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.
【 กระท่อมขี้หมู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล /Mitragyna/ วงศ์ Rubiaceae
ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด /M. diversifolia/ (Wall. ex G. Don)
Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด
/M. rotundifolia/ (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาด
ใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว
ก็เรียก.
【 กระท้อมกระแท้ม 】แปลว่า: ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้ม
ไปวันหนึ่ง ๆ.
【 กระท่อมเลือด 】แปลว่า: น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง
ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่
เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะ
เช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาด
กระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือ
ระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กระทะ ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะก้นตื้นปากผาย ใช้สําหรับหุงต้มเป็นต้น.
【 กระทะใบบัว 】แปลว่า: น. กระทะขนาดใหญ่.
【 กระทะ ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะกรับ ๓ (๑)/.
【 กระทั่ง 】แปลว่า: ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา.
(นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก;
ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี),
นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง,
จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น
กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยัง
ไม่เว้น.
【 กระทั่งติด 】แปลว่า: /ดู มวก/.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.
【 กระทา 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ
ไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากิน
เมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มี
หลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (/Francolinus pintadeanus/)
กระทาดงแข้งเขียว (/Arborophila chloropus/).
【 กระทาชาย 】แปลว่า: (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.
【 กระทาย 】แปลว่า: น. กระบุงเล็ก ปากผาย; เครื่องตวงครึ่งกระบุง ใช้ตวงข้าว
สมัยโบราณ. ก. กระทกของเอากากออก.
(รูปภาพ กระทาย)
【 กระทายเหิน 】แปลว่า: /ดู มหาหงส์/.
【 กระทาสี 】แปลว่า: (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี.
(นิ. สุรสีห).
【 กระทาหอง 】แปลว่า: /ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง/.
【 กระทำ ๑ 】แปลว่า: ก. ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทําการใด ๆ
ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่
กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทํา
เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.
【 กระทำโดยเจตนา 】แปลว่า: (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกัน
ผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น.
【 กระทำโดยประมาท 】แปลว่า: (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจาก
ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและ
พฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
【 กระทำ ๒ 】แปลว่า: ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน
มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูก
เวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
【 กระทิกกระทวย 】แปลว่า: ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่น
จนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กระทิง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด /Bos gaurus/ ในวงศ์ Bovidae
ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็น
สีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจาก
เหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา.
【 กระทิงโทน 】แปลว่า: น. กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจหรือถูกตัวผู้อื่นไล่
ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว.
【 กระทิง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Calophyllum inophyllum/ L. ในวงศ์
Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผล
กลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น,
สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก.
【 กระทิง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล /Mastacembelus/ วงศ์ Mastacembelidae
ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย
ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสด
สวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลองและที่ลุ่ม
มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด /M. armatus/, /M. favus/
และกระทิงไฟ (/M. erythrotaenia/) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
【 กระทึง 】แปลว่า: น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมี
ยางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง.
(สุธน). (๒) /ดู กระทิง ๒./
【 กระทืบ 】แปลว่า: ก. ยกเท้ากระแทกลงไป.
【 กระทืบธรณี 】แปลว่า: น. อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า
ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี.
【 กระทืบยอบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ /Biophytum adiantoides/
Wight ex Edgew. et Hook.f., /B.petersianum/ Klotzsch
และ /B. sensitivum/ (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ
ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง,
กระทืบยอด ก็เรียก.
【 กระทุ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Rhodomyrtus tomentosa/ Wight ในวงศ์
Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่
ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้าน
ล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลา
ขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี
ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่
หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
【 กระทุง 】แปลว่า: น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ
ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่
สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล
ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด /Pelecanus philippensis/.
【 กระทุ้ง 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยาย
หมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้ง
ให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
【 กระทุ้งเส้า 】แปลว่า: ก. เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย.
【 กระทุงลาย 】แปลว่า: /ดู กระทงลาย/.
【 กระทุงหมาบ้า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Dregea volubilis/ (L.f.) Benth. ex Hook.f.
ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่
ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตาม
ลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.
【 กระทุงเหว 】แปลว่า: น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae
ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ
เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก
น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้ำจืด
เช่น กระทุงเหวเมือง (/Xenentodon cancila/) ส่วนใหญ่พบในเขต
น้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล /Hemirhamphus/,
/Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura/
และ /Zenarchopterus/ ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ
คือ กระทุงเหวบั้ง (/Ablennes hians/) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
【 กระทุน 】แปลว่า: /ดู กะทุน/.
【 กระทุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด /Anthocephalus/
/chinensis/ (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae
ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบ
รูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลม
สีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และ
เยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก.
(เทียบ ป. กทมฺพ).
【 กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู 】แปลว่า: /ดู กระท่อมขี้หมู/.
【 กระทุ่ม ๒ 】แปลว่า: ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ
ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า
ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
【 กระทู้ ๑ 】แปลว่า: น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย
เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา.
(ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การ
สงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอา
ข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่ง
ตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
【 กระทู้ ๒ 】แปลว่า: น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม.
กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก
สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ
เป็นหนังสือ. (อ. question).
【 กระทู้ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ
Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัว
น้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบ
หรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาด
ตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม
๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้
เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่
ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควาย
พระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (/Mythimna separata/)
ที่ทําลายต้นข้าว.
【 กระเท่ 】แปลว่า: ว. เท่, เอียง.
【 กระเท่เร่ 】แปลว่า: ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น
เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.
【 กระเทียม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Allium sativum/ L. ในวงศ์ Alliaceae
คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ด
ร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก
หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
【 กระเทียมหอม 】แปลว่า: น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
【 กระเทือน 】แปลว่า: ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น
นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด
ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว
เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่
กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน,
สะเทือน ก็ว่า.
【 กระเทือนใจ 】แปลว่า: ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ
(มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
【 กระเทือนซาง 】แปลว่า: (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ
อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
【 กระเทื้อม 】แปลว่า: ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย).
【 กระแทก 】แปลว่า: ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ
แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้า
คู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
【 กระแทกกระทั้น 】แปลว่า: ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
【 กระแท่น 】แปลว่า: ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ใน
ความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา
กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม.
【 กระแทะ 】แปลว่า: น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบ
ไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา,
ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. (ข. รเทะ).
【 กระไทชาย 】แปลว่า: (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชาย
ผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
【 กระนก 】แปลว่า: [-หฺนก] (โบ; แผลงมาจาก กนก) น. ทองคํา. (ไตรภูมิ).
/(ดู กนก)./
【 กระน่อง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับ
ลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
【 กระนั้น 】แปลว่า: ว. นั้น, ดังนั้น, อย่างนั้น.
【 กระนี้ 】แปลว่า: ว. นี้, ดังนี้, อย่างนี้.
【 กระแนะกระแหน 】แปลว่า: [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน
ก็ว่า.
【 กระโน้น 】แปลว่า: ว. โน้น, เช่นโน้น, อย่างโน้น.
【 กระไน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร
ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
【 กระบก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Irvingia malayana/ Oliv. ex
A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอก
หรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน
กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.
【 กระบกคาย 】แปลว่า: /ดู กระโดงแดง (๑)/.
【 กระบถ 】แปลว่า: [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทาง
อาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
【 กระบม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ
ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียว
นึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะ
รองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก.
(รูปภาพ กระบม)
【 กระบวน 】แปลว่า: น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น
ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น
แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง);
วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยม
ใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
【 กระบวนกระบิด 】แปลว่า: (กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง.
(ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.
【 กระบวนการ 】แปลว่า: น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมี
ระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโต
ของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่อง
กันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี
เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
【 กระบวนการยุติธรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และ
ให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคลโดยบุคลากร
และองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม
ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน
พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และ
กรมราชทัณฑ์.
【 กระบวนความ 】แปลว่า: น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วน
กระบวนความ.
【 กระบวนจีน 】แปลว่า: น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือ
ประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม
และมัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมาก
เป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน.
【 กระบวย 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับตักน้ำ เดิมทําด้วยกะลามะพร้าว
มีด้ามถือ, พายัพว่า น้ำโบย.
【 กระบวร 】แปลว่า: [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
【 กระบอก ๑ 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน
สําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓
กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว
ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า
เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง
ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด
ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก;
(เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลาย
ทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ
รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรง
ซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).
(รูปภาพ กระบอก)
【 กระบอกเพลา 】แปลว่า: น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน
สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.
【 กระบอกสูบ 】แปลว่า: น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอก
อยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา.
【 กระบอกหัว 】แปลว่า: (โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า.
(ม. คําหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.
【 กระบอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำกร่อยและทะเลในสกุล /Liza, Valamugil/,
/Oedalechilus/ และ /Mugil/ วงศ์ Mugilidae ลําตัว
ค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน
มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้
(/L. vaigiensis/) กระบอกดํา (/L. parsia/) กระบอกขาว
(/V. seheli/), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับ
ปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.
【 กระบอก ๓ 】แปลว่า: น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ
กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง – กชเกศเอาใจ.
(เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่
หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).
【 กระบอก ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบ
ด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎ
ต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
【 กระบอกเสียง 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
【 กระบอง 】แปลว่า: น. ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลอง
แต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. (ข. ฏํบง; ปักษ์ใต้ บอง).
【 กระบองกลึง 】แปลว่า: น. ไม้กลึงเป็นรูปกระบองอย่างยาวสําหรับถือเข้าขบวนแห่ช้าง
สําคัญ.
【 กระบองกัน 】แปลว่า: /ดู ตะบองกัน/.
【 กระบองเพชร ๑ 】แปลว่า: น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระ สําหรับใช้ในพิธีตรุษและ
โกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก.
【 กระบองเพชร ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Cereus hexagonus/ (L.) Miller ในวงศ์
Cactaceae ลําต้นสูง ๓-๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็น
ร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บาน
กลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก
เขียะ หรือ หนามเขียะ.
【 กระบองราหู 】แปลว่า: น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง
ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
【 กระบะ 】แปลว่า: น. ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี;
ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ
เรียกว่า รถกระบะ.
【 กระบัด ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย.
(สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
【 กระบัด ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
【 กระบั้วกระเบี้ย 】แปลว่า: ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว
(อย่างผู้รื้อไข้).
【 กระบ่า, กระบ้า 】แปลว่า: /ดู ตบยุง/.
【 กระบาก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล /Anisoptera/ ในวงศ์
Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลําต้นตรง สูง ๓๐-๔๐
เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนัก โดยมากใช้
เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต.
【 กระบาย 】แปลว่า: น. ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม
ก้นสี่เหลี่ยม.
【 กระบาล 】แปลว่า: [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ)
เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี
เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน
ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง;
ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
【 กระบิ ๑ 】แปลว่า: น. แท่ง แผ่น ชิ้น.
【 กระบิ ๒ 】แปลว่า: น. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิ
ในหนองเป็นสองหน. (ไกรทอง).
【 กระบิ้ง 】แปลว่า: น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, ตะบิ้ง ก็เรียก.
【 กระบิด 】แปลว่า: ก. บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม.
【 กระบิดกระบวน 】แปลว่า: น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว
ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ
เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
【 กระบิล 】แปลว่า: น. ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล).
【 กระบี่ ๑ 】แปลว่า: (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจม
โจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
【 กระบี่ธุช 】แปลว่า: น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปัก
ไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกัน
ซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและ
ด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อ
คันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและ
ขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ
ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน
พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการ
พระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่
ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
【 กระบี่ ๒ 】แปลว่า: น. อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือ
ทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก.
【 กระบี่กระบอง 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบอง
เป็นต้น.
【 กระบี่ลีลา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ
เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรํา ๒ ชั้น
ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลาย
รัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎ
ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
【 กระบือ 】แปลว่า: น. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ.
(ข. กรฺบี; มลายู เกรฺเบา).
【 กระบือเจ็ดตัว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Excoecaria cochinchinensis/ Lour.
ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑-๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว
ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก,
จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง.
【 กระบุง 】แปลว่า: น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม.
【 กระบุงโกย 】แปลว่า: (ปาก) ว. มากมาย เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย ถูกบ่นตั้ง
กระบุงโกย.
【 กระบุ่มกระบ่าม 】แปลว่า: ว. บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม.
【 กระบู้กระบี้ 】แปลว่า: ว. บู้ ๆ บี้ ๆ, บุบ, บุบแฟบ.
【 กระบูน 】แปลว่า: น. ตะบูนขาว. /(ดู ตะบูน)./
【 กระบูนเลือด 】แปลว่า: น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว
หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว
ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส
หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับ
มดลูกให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
【 กระบูร 】แปลว่า: [-บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).
【 กระเบง 】แปลว่า: (กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง,
กระเบญ ก็ใช้.
【 กระเบญ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. (สมุทรโฆษ).
【 กระเบ็ดกระบวน 】แปลว่า: น. กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง.
【 กระเบน 】แปลว่า: น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และ
หลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก
ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและ
ด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่
ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิด
ครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วน
ยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว
บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่ง
ด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว
สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมี
เงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณ
โคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้
คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้ว
สอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับ
บั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น
ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
【 กระเบนเหน็บ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.
【 กระเบนเนื้อดำ 】แปลว่า: /ดู ยี่สน/.
【 กระเบา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล
/Hydnocarpus/ วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่
หรือ กระเบาน้ำ (/H. anthelminthica/ Pierre ex Laness.)
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล
ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ
กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอก
เพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (/H. ilicifolia/
King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา
ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
【 กระเบา ๒ 】แปลว่า: น. กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า
กระเบาหางกระเบน.
【 กระเบิก 】แปลว่า: (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก
ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
【 กระเบียด 】แปลว่า: น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน
๔ ส่วนของนิ้ว.
【 กระเบียดกระตัก 】แปลว่า: ก. เกี่ยงให้ตัวได้มาก.
【 กระเบียดกระเสียร 】แปลว่า: ก. พยายามใช้จ่ายอย่างจํากัดจําเขี่ย.
【 กระเบียน 】แปลว่า: น. (๑) กระเบากลัก. /(ดู กระเบา ๑)./ (๒) ชื่อไม้ต้น
ผลัดใบขนาดเล็กชนิด /Gardenia turgida/ Roxb. ในวงศ์
Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม
ห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็น
สีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน
มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
【 กระเบื้อง 】แปลว่า: น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุ
อย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดิน
ประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็น
มัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่อง
กระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ
สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทําด้วยดินเผา แต่
ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่าเป็นต้น
ที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
【 กระเบื้องกาบกล้วย 】แปลว่า: น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒
แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้
ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย
ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่
ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง
แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความ
คงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
【 กระเบื้องเกล็ดเต่า 】แปลว่า: น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตาม
เนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.
【 กระเบื้องขนมเปียกปูน 】แปลว่า: น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วย
ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว
ก็เรียก.
【 กระเบื้องถ้วยกะลาแตก 】แปลว่า: น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยาย
หมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุด
หมดราคา.
【 กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู 】แปลว่า: น. กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสําหรับกรุตามผนังหรือกําแพง
ให้มีช่องลม.
【 กระเบื้องว่าว 】แปลว่า: น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วย
ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้อง
หน้าวัว ก็เรียก.
【 กระเบื้องหน้างัว 】แปลว่า: /ดู กระเบื้องหน้าวัว/.
【 กระเบื้องหน้าวัว 】แปลว่า: น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับ
มุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย
และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก.
【 กระเบื้องถ้วย 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะอวม. /(ดู กะอวม)./
【 กระแบ่ 】แปลว่า: (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่
จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง
กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
【 กระแบก 】แปลว่า: น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คําหลวง จุลพน),
ตระแบก ก็ว่า.
【 กระแบกงา 】แปลว่า: ก. แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้นจนปลาย.
(ตําราช้างคําโคลง).
【 กระแบะ ๑ 】แปลว่า: น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.
【 กระแบะ ๒, กระแบะมือ 】แปลว่า: น. ขนาดเท่าฝ่ามือ.
【 กระโบม ๑ 】แปลว่า: ก. ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยมแลกระโบม
ถนอมพนิดไคล. (สรรพสิทธิ์).
【 กระโบม ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลม
มีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือ
คนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว
หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
【 กระปมกระปำ, กระปมกระเปา 】แปลว่า: ว. ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน.
【 กระปรอก ๑, กระปอก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือน
ไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สําหรับหา
หอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
【 กระปรอก ๒, กระปอก ๒ 】แปลว่า: น. นุ่น. (เทียบมลายู กระป๊อก ว่า ต้นนุ่น).
【 กระปรอก ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-ตะวันออก, ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิด
ในสกุล /Drynaria/ และ /Platycerium/ วงศ์ Polypodiaceae.
【 กระปรอกว่าว 】แปลว่า: /ดู กระแตไต่ไม้ ๒/.
【 กระปรี้กระเปร่า 】แปลว่า: ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา,
กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ.
【 กระป้อกระแป้ 】แปลว่า: ว. ป้อแป้มาก, กําลังน้อย.
【 กระป่อง 】แปลว่า: (กลอน) ว. ป่อง เช่น สักหน่อยหนึ่งมึงจะท้องกระป่องเหยาะ.
(อภัย).
【 กระป๋อง 】แปลว่า: น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็น
ทรงกระบอก สําหรับบรรจุของ ต่างๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
【 กระปอดกระแปด 】แปลว่า: ว. อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นร่าไร.
【 กระป๋อหลอ 】แปลว่า: ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ.
(มณีพิชัย).
【 กระปั้วกระเปี้ย 】แปลว่า: ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ.
【 กระป่ำ ๑ 】แปลว่า: ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร),
มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.
【 กระป่ำ ๒ 】แปลว่า: ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร; มัทรี).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม.
【 กระปุก 】แปลว่า: น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ
ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลาย
ของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํากระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒
กระปุก.
ไสยศาสตร์ เรียกว่า กระพังน้ำ'' ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับ หม้อน้ำมนตร์ของเรา. 【 กระพังเหิร 】แปลว่า: น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง). 【 กระพังโหม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Oxystelma secamone/ (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็น คู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถา ใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก. 【 กระพัด 】แปลว่า: น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดิน ขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วย ไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก). 【 กระพัดแม่ม่าย 】แปลว่า: /ดู กระดูกกบ/. 【 กระพัตร 】แปลว่า: [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้อง ผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้าย ช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า. 【 กระพัน 】แปลว่า: ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. (เทียบมลายู กะบัล). 【 กระพั่น 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้าสําหรับม้วนผ้า. 【 กระพา 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว. 【 กระพาก 】แปลว่า: น. ปลาตะพาก. (ประพาสไทรโยค). /(ดู ตะพาก)./ 【 กระพี้ 】แปลว่า: น. ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร. 【 กระพี้เขาควาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด /Dalbergia cultrata/ Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ. 【 กระพี้นางนวล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dalbergia cana/ Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียว แหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาว อมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. 【 กระพือ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วย อาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว. 【 กระพุ้ง 】แปลว่า: น. ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น. 【 กระพุ่ม 】แปลว่า: น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญจนแมน มาเลขา. (อนิรุทธ์). 【 กระพุ่มมือ 】แปลว่า: ก. พนมมือ. น. มือที่พนม. 【 กระเพลิด 】แปลว่า: [-เพฺลิด] (โบ) ก. ตะเพิด. (ปรัดเล). 【 กระเพลิศ 】แปลว่า: [-เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพึด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒). 【 กระเพาะ 】แปลว่า: น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับ ตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก. 【 กระเพาะปลา 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น. 【 กระเพิง 】แปลว่า: น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). 【 กระเพื่อม 】แปลว่า: ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม. 【 กระแพง 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. (จารึกวัดโพธิ์). 【 กระแพ้ง 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า. 【 กระฟัดกระเฟียด 】แปลว่า: ว. อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ. ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย. 【 กระฟูมกระฟาย 】แปลว่า: ก. ฟูมฟาย. ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด. 【 กระมล 】แปลว่า: [-มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ. 【 กระมอบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด /Gardenia obtusifolia/ Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบ คายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อม กว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้. 【 กระมอมกระแมม 】แปลว่า: ว. มอมแมมมาก, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน. 【 กระมัง ๑ 】แปลว่า: ว. คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี. 【 กระมัง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Puntioplites proctozysron/ ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้น แข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัว เป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก. 【 กระมัน 】แปลว่า: /ดู กระโห้/. 【 กระมิดกระเมี้ยน 】แปลว่า: ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า. 【 กระมึน 】แปลว่า: (โบ) ว. สูงค้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาด เด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น. 【 กระมุท 】แปลว่า: น. บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท). 【 กระเมาะ 】แปลว่า: น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. /(ดู กระบอก ๒)/. ใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน. ใช้เข้าคู่กับคํา กระมอม เป็น กระมอมกระแมม. 【 กระย่อง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด. ใช้เข้าคู่กับคํา กระยิ้ม เป็น กระยิ้มกระย่อง. 【 กริ่ง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า. 【 กระย่อน 】แปลว่า: ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ). 【 กระย่อม 】แปลว่า: /ดู ระย่อม/. 【 กระยา 】แปลว่า: น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อม ช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรด มานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง). 【 กระยาคชวาง 】แปลว่า: [-คดชะวาง] น. ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศเป็นพิธีของพระหมอ เฒ่าในการรับช้างเผือก. 【 กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย 】แปลว่า: (โบ) น. สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นา ให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน. 【 กระยาทาน 】แปลว่า: น. เครื่องบริจาค. (จารึกสยาม). 【 กระยาทิพย์ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก. 【 กระยาบวช 】แปลว่า: น. เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว. 【 กระยาเบี้ย 】แปลว่า: (โบ) น. เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้. 【 กระยารงค์ 】แปลว่า: น. สีสําหรับวาดเขียน. 【 กระยาเลย 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก). 【 กระยาสนาน 】แปลว่า: (ราชา) น. เครื่องสรง. 【 กระยาสังเวย 】แปลว่า: น. เครื่องเซ่น. 【 กระยาสังแวง 】แปลว่า: น. ข้าวเภาในพิธีรับช้างเผือก. 【 กระยาสารท 】แปลว่า: [-สาด] น. ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับ น้ำตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท. 【 กระยาเสวย 】แปลว่า: (ราชา) น. เครื่องเสวย. 【 กระยาหาร 】แปลว่า: น. เครื่องกินมีข้าวเป็นต้น. 【 กระยาง ๑ 】แปลว่า: น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปน เชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์). 【 กระยาง ๒ 】แปลว่า: น. นกยาง. /(ดู ยาง ๑)./ 【 กระยาจก 】แปลว่า: (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก). ใช้เข้าคู่กับคํา กระยืด เป็น กระยืดกระยาด. 【 กระยาหงัน 】แปลว่า: น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืน กระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ ของเทวดา). 【 กระยิก 】แปลว่า: ก. ขะยิก. 【 กระยิ้มกระย่อง 】แปลว่า: ก. แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า. 【 กระยึกกระยือ 】แปลว่า: ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, ยึกยือ ก็ว่า. 【 กระยึกกระหยัก 】แปลว่า: ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า. 【 กระยืดกระยาด 】แปลว่า: ว. ยืดยาดมาก, เนิบนาบ, ช้า, ไม่ฉับไว. 【 กระเย้อกระแหย่ง 】แปลว่า: [-แหฺย่ง] ก. เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า. ใช้เข้าคู่กับคํา กระย่อง เป็น กระย่องกระแย่ง. 【 กระรอก 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและ หลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (/Callosciurus finlaysoni/) พญากระรอกดํา (/Ratufa bicolor/). 【 กระรอกน้ำข้าว 】แปลว่า: /ดู เขยตาย/. 【 กระเรียน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด /Grus antigone/ ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบ ลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก. 【 กระเรียน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้ารับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้อง ตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลง กระเรียนทองแล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี. 【 กระโรกน้ำข้าว 】แปลว่า: /ดู เขยตาย/. 【 กระโรกใหญ่ 】แปลว่า: /ดู ชิงชี่/. 【 กระไร 】แปลว่า: ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร). 【 กระลด 】แปลว่า: [-หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ). 【 กระลบ 】แปลว่า: [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน). 【 กระลอก 】แปลว่า: [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก. 【 กระลอม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า. 【 กระละหล่ำ 】แปลว่า: ก. กล้า, เกือบ, เช่น กระละหล่าจกกเป็นแต่กี้. (ทวาทศมาส). 【 กระลัด 】แปลว่า: [-หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัด ในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ). 【 กระลับ 】แปลว่า: [-หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์). 【 กระลับกระเลือก 】แปลว่า: [-เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก. 【 กระลัมพร 】แปลว่า: น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี. 【 กระลา ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคล คนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา). 【 กระลา ๒ 】แปลว่า: น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา). 【 กระลาการ 】แปลว่า: (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไป โดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง). 【 กระลาพิม 】แปลว่า: น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล). 【 กระลายกระลอก 】แปลว่า: [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ). 【 กระลาศรี 】แปลว่า: น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล). 【 กระลำ 】แปลว่า: (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). /(ดู กลัมพร)./ 【 กระลำพร 】แปลว่า: (โบ) น. กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. /(ดู กลัมพร)./ 【 กระลำพัก 】แปลว่า: น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (/Euphorbia/ /antiquorum/ L.) และต้นตาตุ่มทะเล (/Excoecaria agallocha/ L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้. 【 กระลำพุก 】แปลว่า: /ดู ตะลุมพุก ๓/. 【 กระลิง 】แปลว่า: (กลอน) ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง. 【 กระลี 】แปลว่า: น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค. 【 กระลึง 】แปลว่า: (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ). 【 กระลุมพาง 】แปลว่า: น. กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี. 【 กระลุมพุก ๑ 】แปลว่า: (ปาก) น. ไม้ตะลุมพุก. 【 กระลุมพุก ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียด สุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). /(ดู ตะลุมพุก ๒)./ 【 กระลุมพุก ๓ 】แปลว่า: /ดู ตะลุมพุก ๓/. 【 กระลุมพู 】แปลว่า: น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. (ม. ร่ายยาว มหาพน). /(ดู ลุมพู)./ 【 กระลูน 】แปลว่า: (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิต สวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน). 【 กระลู่น์ 】แปลว่า: ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน). 【 กระเล็น 】แปลว่า: /ดู กระถิก, กระถึก/. 【 กระเลียด 】แปลว่า: [-เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียด และกระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์). 【 กระเลือก 】แปลว่า: [-เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้า คู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก. 【 กระโลง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่งใช้อย่าง กระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร. 【 กระวน 】แปลว่า: (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์). 【 กระวนกระวาย 】แปลว่า: ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข. 【 กระวัด 】แปลว่า: [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์). 【 กระว่า 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา). ใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด. 【 กระวาน ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Amomum krervanh/ Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ /Elettaria cardamomum/ (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด /Laurus nobilis/ L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา. 【 กระวาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ). 【 กระวาย 】แปลว่า: (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย. 【 กระวายกระวน 】แปลว่า: ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). 【 กระวิน ๑ 】แปลว่า: น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน เหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัด เอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน) 【 กระวิน ๒ 】แปลว่า: (โบ) ว. สีน้ำตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล). 【 กระวี ๑ 】แปลว่า: น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัย พร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี). 【 กระวีชาติ 】แปลว่า: น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุข พร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรง พระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกิน พระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง). 【 กระวี ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี). 【 กระวีกระวาด 】แปลว่า: ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ. 【 กระวูดกระวาด 】แปลว่า: ว. กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด. 【 กระเวน ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ตระเวน, เที่ยวไป. (เทียบ ข. กฺรแวล ว่า คอยดู, กองตระเวน). 【 กระเวน ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์). 【 กระเวนกระวน 】แปลว่า: (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช). 【 กระเวน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลง จับทองยั้ว. (ลอ). 【 กระเวยกระวาย 】แปลว่า: ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง. 【 กระแวน 】แปลว่า: น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). /(ดู กาแวน)./ 【 กระโวยกระวาย 】แปลว่า: ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความ ไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า. 【 กระศก 】แปลว่า: [-สก] (โบ) ก. ข้อน. (จินดามณี). 【 กระศัย 】แปลว่า: (เลิก) น. กระษัย. 【 กระษัตริย์ 】แปลว่า: [-สัด] (โบ) น. กษัตริย์. 【 กระษัตรี 】แปลว่า: [-สัดตฺรี] (โบ) น. ผู้หญิง. 【 กระษัย 】แปลว่า: [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม). 【 กระษัยกล่อน 】แปลว่า: [-ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกาย ผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน. 【 กระษาปณ์ 】แปลว่า: [-สาบ] น. เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. (ส. การฺษาปณ; ป. กหาปณ). 【 กระษิร 】แปลว่า: [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวาริน กระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์). 【 กระเษม 】แปลว่า: (โบ) น. เกษม. 【 กระเษมสานต์ 】แปลว่า: น. เกษมสันต์. (ส. เกฺษม + ศานฺต; ส. เกฺษม + ป. สนฺต). 【 กระเษียร 】แปลว่า: (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. น้ำนม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์). 【 กระสง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Channa lucius/ ในวงศ์ Channidae รูปร่าง คล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอน ขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุด ประหรือริ้วสีดํา. ใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน. 【 กระสบ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน. 【 กระสม 】แปลว่า: น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว). 【 กระสรวล 】แปลว่า: [-สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์). 【 กระสร้อย 】แปลว่า: น. ปลาสร้อย. /(ดู สร้อย ๒)./ 【 กระสวน 】แปลว่า: น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริต ผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือ ทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ. 【 กระสวย 】แปลว่า: น. เครื่องบรรจุด้ายสําหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า. 【 กระสอบ 】แปลว่า: น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับ บรรจุข้าวและของอื่น ๆ. 【 กระสอบทราย 】แปลว่า: น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุ ทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็น อุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่าย แดงถลุงเป็นกระสอบทราย. 【 กระสะ 】แปลว่า: น. ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้า แก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่. 【 กระสัง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Peperomia pellucida/ Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบน้ำ. 【 กระสัง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียก นกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค). 【 กระสัน 】แปลว่า: ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ใน ไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ. 【 กระสับกระส่าย 】แปลว่า: ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. 【 กระสา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะ ยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (/Ciconia ciconia/) กระสาคอดํา (/Ephippiorhynchus/ /asiaticus/). 【 กระสา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ). 【 กระสา ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Broussonetia papyrifera/ Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทํา กระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. 【 กระสานติ์ 】แปลว่า: (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรง กรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ). 【 กระสาบ ๑ 】แปลว่า: น. หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. (ปาเลกัว). 【 กระสาบ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓). 【 กระสาย 】แปลว่า: น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย. ใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย. 【 กระสินธุ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. แม่น้ำ เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ). 【 กระสือ ๑ 】แปลว่า: น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟ ในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า. 【 กระสือดูด 】แปลว่า: น. เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. (ปาก) ว. เรียกคนที่ซูบซีด. 【 กระสือ ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสี แตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด /chlorosplenium aeruginascens/ (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลา กลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ชอบไปเที่ยว หากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอก ชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทําให้ขายหน้า จึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. 【 กระสือ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด /Lamprophorus tardus/ ไม่มีปีก ต้องคลาน ไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบ เป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. /(ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ)./ 【 กระสุงกระสิง 】แปลว่า: ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว). 【 กระสุน 】แปลว่า: น. เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน. 【 กระสุนปืน 】แปลว่า: น. ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน. 【 กระสุนวิถี 】แปลว่า: น. ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า. 【 กระสูทธิ์ 】แปลว่า: น. กรสุทธิ์. /(ดู กรสุทธิ์)./ 【 กระสูบ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (/Hampala/ /macrolepidota/) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (/H. dispar/) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอน กลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. 【 กระเสด 】แปลว่า: น. หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นน้ำ. 【 กระเส็นกระสาย 】แปลว่า: น. เศษเล็กเศษน้อย. ว. นิดหน่อย. 【 กระเส่า, กระเส่า ๆ 】แปลว่า: ว. สั่นเครือและเบา (ใช้แก่เสียง). 【 กระเสาะกระแสะ 】แปลว่า: ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า. 【 กระเสียน 】แปลว่า: ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล). (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล). 【 กระเสียร 】แปลว่า: [-เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร). 【 กระเสือกกระสน 】แปลว่า: ว. ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น. 【 กระแส 】แปลว่า: น. น้ำหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสน้ำ กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วย หวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก). 【 กระแสการเงิน 】แปลว่า: น. การหมุนเวียนของเงินตรา. 【 กระแสความ 】แปลว่า: น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน. 【 กระแสจิต 】แปลว่า: น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับ ต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่าง จิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัย ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต. 【 กระแสตรง 】แปลว่า: น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. (อ. direct current เขียนย่อว่า D.C.). 【 กระแสน้ำ 】แปลว่า: น. สายน้ำ. 【 กระแสพระราชดำรัส 】แปลว่า: [-ราดชะ-] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส. 【 กระแสรับสั่ง 】แปลว่า: (ราชา) น. คําพูด. 【 กระแสลม 】แปลว่า: น. สายลมพัด. 【 กระแสสลับ 】แปลว่า: [-สะหฺลับ] น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอด เวลา. (อ. alternating current เขียนย่อว่า A.C.). 【 กระแสเสียง 】แปลว่า: น. เสียงที่แล่นไป, น้ำเสียง. 【 กระแสง ๑ 】แปลว่า: น. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา). 【 กระแสง ๒ 】แปลว่า: น. แสง, รัศมี; สี. 【 กระแสะ 】แปลว่า: ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิว กระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. 【 กระโสง 】แปลว่า: (กลอน) น. ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. (สรรพสิทธิ์). 【 กระไส 】แปลว่า: น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). 【 กระหง่อง, กระหน่อง ๑ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. 【 กระหน 】แปลว่า: (โบ) ก. ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. (ข. กฺรหล่). 【 กระหนก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดน้ำ ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี. 【 กระหนก ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด. 【 กระหนกกินรี, กระหนกนฤมิต 】แปลว่า: /ดู กระหนกนารี/. 【 กระหนกนารี 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Rhektophyllum mirabile/ N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนก นฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก. 【 กระหน่อง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก. 【 กระหนาก 】แปลว่า: (แผลงมาจาก ขนาก) /ดู ขนาก/. 【 กระหนาบ 】แปลว่า: ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการ ที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนก กระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมา จากขนาบ). 【 กระหนาบคาบเกี่ยว 】แปลว่า: ว. ประชิดเหลื่อมล้ากัน. 【 กระหน่ำ 】แปลว่า: ว. ซ้า ๆ ลงอย่างหนัก. 【 กระหมวด ๑ 】แปลว่า: ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด). 【 กระหมวด ๒ 】แปลว่า: น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สาย ประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะ ช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา. 【 กระหมอบ 】แปลว่า: (กลอน) ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. (คาวี). 【 กระหม่อม 】แปลว่า: น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมา ใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อน ปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้ จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่า กระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคํา ที่ขึ้นต้น ว่าเกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้า
ทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น
ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูล
เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็น
สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย
ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม).
(แผลงมาจาก ขม่อม).
【 กระหม่อมบาง 】แปลว่า: (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อย
ก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
【 กระหมั่ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อกระหมั่ง. (ลอ).
【 กระหม่า 】แปลว่า: (โบ) ก. ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้า
กระหม่ามะเมอ. (สมุทรโฆษ).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
【 กระหมิบ 】แปลว่า: ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่
กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ).
ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
【 กระหมุดกระหมิด 】แปลว่า: ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัด
กระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กระหมุ่น 】แปลว่า: (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น น้ำใช้และน้ำฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น.
(ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).
【 กระหมุบ 】แปลว่า: ก. เต้นตุบ ๆ. (แผลงมาจาก ขมุบ).
【 กระหมุบกระหมิบ 】แปลว่า: ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว,
อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบ
กระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
【 กระหย่ง ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง
หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง
หรือ โหย่ง ก็ว่า.
【 กระหย่ง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อ
ทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง
วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ปลายเท้าและส้น
เท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลง
ที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง
หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
【 กระหยด 】แปลว่า: (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า
นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
【 กระหยบ 】แปลว่า: (โบ) ก. หมอบ เช่น ฟุบกบกระหยบเงียบมิเกรียบไว้. (มโนห์รา);
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) แอบ, ซ่อน, ซุก.
【 กระหย่อน 】แปลว่า: (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แล
กระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ;
สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
【 กระหย่อม 】แปลว่า: น. หย่อม คือ หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ.
【 กระหยะ 】แปลว่า: น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแล
ผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
【 กระหยัง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑);
ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
【 กระหยับ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑;
ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).
【 กระหยาง 】แปลว่า: /ดู กระยาง ๑/.
【 กระหยิ่ม 】แปลว่า: ก. กริ่ม คือ ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น
กระหยิ่มยิ้มย่อง. (แผลงมาจาก ขยิ่ม).
【 กระหรอด 】แปลว่า: [-หฺรอด] น. นกกรอด. /(ดู ปรอด)./
【 กระหริ่ง 】แปลว่า: น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น
จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน),
กะริง ก็ว่า.
【 กระหวน 】แปลว่า: (กลอน) ก. หวนถึง เช่น และกระหวนกระโหยหา. (ดุษฎีสังเวย).
【 กระหวัด 】แปลว่า: ก. ตวัด, วัดเข้ามาโดยเร็ว, รัดรึง; ย้อน เช่น เจ้าหวนคิดกระหวัดวน.
(พากย์นางลอย).
【 กระหวัดเกล้า 】แปลว่า: น. วิธีรําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน).
【 กระหว่า 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่า
กระหว่าคนหรือนนทรี. (มโนห์รา).
【 กระหอง 】แปลว่า: /ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง/.
【 กระหัง 】แปลว่า: น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย
ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง
ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ
โสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น
ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
【 กระหัด 】แปลว่า: (ปาก) น. คฤหัสถ์.
【 กระหาง 】แปลว่า: น. กระหัง.
【 กระหาย 】แปลว่า: ก. รู้สึกคอแห้งด้วยอยากดื่มน้ำเพราะมีอาการร้อนในเป็นต้น;
อยากเป็นกําลัง.
【 กระหายเลือด 】แปลว่า: ว. เหี้ยมโหดทำทารุณจนถึงเลือดตกยางออก.
【 กระหึม, กระหึ่ม 】แปลว่า: ว. เสียงดังหึ่มอย่างน่ากลัว เช่น พายุพัดกระหึ่ม, เสียงก้องกังวาน
เช่น เสียงดนตรีดังกระหึ่ม.
【 กระหืดกระหอบ 】แปลว่า: ว. มีอาการรีบร้อนอย่างเหนื่อยหอบ เช่น วิ่งกระหืดกระหอบ.
【 กระเห็น 】แปลว่า: น. อีเห็น เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 กระเหน็จ 】แปลว่า: (โบ) น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ. (ม. คําหลวง
นครกัณฑ์).
【 กระเหน็จกระแหน่ 】แปลว่า: (โบ) น. เชิงชั้น, เล่ห์กล, เช่น กระเหน็จกระแหน่รณรงค์. (สมุทรโฆษ).
【 กระเหนียด ๑ 】แปลว่า: [-เหฺนียด] ก. เสียด.
【 กระเหนียด ๒ 】แปลว่า: [-เหฺนียด] /ดู เสนียด ๑/.
【 กระเหม็ดกระเหมียด 】แปลว่า: [-เหฺม็ด-เหฺมียด] ก. ประหยัด. (ปาเลกัว).
【 กระเหม็ดกระแหม่ 】แปลว่า: [-แหฺม่] ก. เขม็ดแขม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพราะเกรงว่า
จะไม่พอใช้.
【 กระเหม่น 】แปลว่า: [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง
ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น
กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก
เขม่น).
【 กระเหม่า 】แปลว่า: [-เหฺม่า] น. เขม่า, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า
กระเหม่าซาง. (แผลงมาจาก เขม่า).
【 กระเหลียก 】แปลว่า: -เหฺลียก ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมี
กรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น
ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า
เหลือบดู).
【 กระเหว่า 】แปลว่า: [-เหฺว่า] น. นกดุเหว่า เช่น กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว. (โลกนิติ),
กาเหว่า ก็ว่า. /(ดู ดุเหว่า)./
【 กระเห่อ 】แปลว่า: ก. เห่อ เช่น คนห่ามกระเห่อทํา อวดรู้. (พระนลคําหลวง อารัมภกถา).
【 กระเหิม 】แปลว่า: ว. เหิม, กําเริบ, คะนอง.
【 กระเหี้ยนกระหือรือ 】แปลว่า: ก. แสดงความกระตือรือล้นเอาจริงเอาจังอย่างออกนอกหน้า.
【 กระแห, กระแหทอง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Puntius schwanenfeldii/ ในวงศ์ Cyprinidae
รูปร่างป้อมคล้ายปลาตะเพียนทอง มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ
เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบบนล่างของครีบหาง
มีสีดํา, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก
ลำปำ.
[-แหฺน] ใช้เข้าคู่กับคํา กระหนอ และ กระแหนะ เป็น กระหนอ
กระแหน และ กระแหนะกระแหน.
【 กระแหน่ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่
แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).
【 กระแหนบ 】แปลว่า: -แหฺนบ ก. แหนบ, ถอน, เช่น แนบนิทรลวดแลบ
ก็กระแหนบที่หนวดเครา. (บุณโณวาท).
【 กระแหนะ 】แปลว่า: [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย;
กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการ
ช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือ
รูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์
หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ
ก็ว่า.
【 กระแหนะกระแหน 】แปลว่า: [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน
ก็ว่า.
【 กระแหม็บ, กระแหม็บ ๆ 】แปลว่า: [-แหฺม็บ] ว. แขม็บ, หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง,
(โบ) เขียนเป็น กระแหมบ ก็มี เช่น กระแหมบกระเหม่นทรวง.
(อนิรุทธ์). (แผลงมาจาก แขม็บ).
【 กระแหม่ว 】แปลว่า: [-แหฺม่ว] ก. แขม่ว, ผ่อนลมหายใจให้ท้องยุบลง, บังคับกล้ามเนื้อท้อง
ให้ท้องยุบลง. (แผลงมาจาก แขม่ว).
【 กระแหย่ง 】แปลว่า: [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ
เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 กระแหร่ม 】แปลว่า: [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อมิให้น้ำมูก
ลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
【 กระแหล่ง 】แปลว่า: [-แหฺล่ง] น. วัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน ทําด้วยเหล็ก
ใช้แขวนคอม้า โค กระบือ.
【 กระโห้ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Catlocarpio siamensis/ ในวงศ์ Cyprinidae
หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลังสีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำ
หรือส้ม พบในแม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ
ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีขนาด
ใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน
ก็เรียก.
【 กระโหนด 】แปลว่า: [-โหฺนด] น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคันกลมคันแบน
ใหญ่น้อย. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). (แผลงมาจาก โตนด).
【 กระโหม 】แปลว่า: -โหมฺ ก. โหม เช่น ศัพท์ส้าวกระโหมโครม. (บุณโณวาท).
【 กระโหย 】แปลว่า: -โหยฺ ก. โหย คือ ร้องไห้, คร่ำครวญ.
【 กระโหย่ง ๑ 】แปลว่า: [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกัน
ให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง
หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
【 กระโหย่ง ๒ 】แปลว่า: [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทํา
ให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง,
เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง,
อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า
นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระอัก เป็น กระอักกระอ่วน.
【 กระอวล 】แปลว่า: (กลอน) ว. อวล, หอมตลบ.
【 กระอ้อกระแอ้ 】แปลว่า: ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูด
ไม่ชัดอย่างคนเมา.
【 กระออดกระแอด 】แปลว่า: ว. ออดแอด, อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ.
【 กระออบ 】แปลว่า: ว. มีกลิ่นหอม. (ข. กฺรอูบ).
【 กระออม ๑ 】แปลว่า: /ดู โคกกระออม/.
【 กระออม ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ
ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานน้ำทิพย์สิบกระออม. (คาวี), กะออม
กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
【 กระอ้อมกระแอ้ม 】แปลว่า: ว. อ้อมแอ้ม, ไม่ฉะฉาน, ไม่ชัดเจน, ไม่เต็มปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
【 กระอัก 】แปลว่า: ก. ทะลักออกมาจากคอ เช่น กระอักเลือด.
【 กระอักกระอ่วน 】แปลว่า: ว. ป่วน, พิพักพิพ่วน, ลังเลใจ, ตกลงใจไม่ได้, อักอ่วน ก็ว่า.
【 กระอักกระไอ 】แปลว่า: ว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทําเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น
พูดจากุกกักกระอักกระไอ (ไกรทอง).
【 กระอั้วแทงควาย 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก
กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว.
【 กระอ้า 】แปลว่า: น. โรคพืชชนิดหนึ่งเกิดแก่ใบยาสูบ ทําให้ใบเฉาเหี่ยวแห้ง
หรือตายนึ่ง.
【 กระอาน 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเต่าน้ำกร่อยชนิด /Batagur baska/ ในวงศ์
Emydidae สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำจืดได้ พบเฉพาะทาง
ภาคใต้, กะอาน ก็เรียก.
【 กระอิด 】แปลว่า: (กลอน) ว. อิดโรย เช่น อกกระอิดกว่าชื่นแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
【 กระอิดกระเอื้อน 】แปลว่า: ก. อิดเอื้อน, ไม่กล้าที่จะพูด, กล่าวไม่เต็มปาก; แสดงอาการ
ไม่สู้เต็มใจ.
【 กระอึก 】แปลว่า: (กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒;
ม. คําหลวง จุลพน).
【 กระอึกกระอัก 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า
เป็นต้น, อึกอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า.
【 กระอึด 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ก. อึดอัด, สะอึก, เช่น กระอึดอกเซนเซน
ช่วยเหน้า. (กําสรวล).
【 กระอืด 】แปลว่า: ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์),
จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
【 กระอุ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุอุระประปราณ. (สมุทรโฆษ;
สรรพสิทธิ์), หนึ่งรัศมีพระสุริยเย็น รัศมีพระจันทร์เป็น กระอุแล
กลับร้อนรน. (อภิไธยโพธิบาทว์), ใช้เป็น กระอุก หรือ ประอุก ก็มี.
【 กระอุก 】แปลว่า: (กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุกกระลับร้อน, ใช้เป็น
กระอุ หรือ ประอุก ก็มี.
【 กระเอบ 】แปลว่า: (กลอน) ว. อร่อย, หอมหวาน, เช่น ลิ้มไล้โอชกระเอบหวาน.
(ม. คําหลวง จุลพน).
【 กระเอา 】แปลว่า: (กลอน) ว. กลมกล่อม.
【 กระเอิก 】แปลว่า: (กลอน) ว. เอิกเกริก เช่น พลเกรอกกระเออกอึง. (สรรพสิทธิ์).
【 กระเอิบ 】แปลว่า: (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล.
(ม. คําหลวง กุมาร).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระอ้อ เป็น กระอ้อกระแอ้.
【 กระแอก ๑ 】แปลว่า: น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒
ข้างผูกกับสายสําอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับ
ควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ ประแอก ก็เรียก.
【 กระแอก ๒ 】แปลว่า: น. อีกา. (ข. แกฺอก).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระออด เป็น กระออดกระแอด.
【 กระแอบ 】แปลว่า: /ดู ตะขาบ ๑./ (ข. แกฺอบ).
【 กระแอม ๑ 】แปลว่า: ก. ทําเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ
เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระไอ เป็น
กระแอมกระไอ.
【 กระแอม ๒ 】แปลว่า: น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่าง
ลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่าลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่า
ได้ทําอะไรแปลกไปจากการประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น
เรียกว่า ตัวกระแอม.
ใช้เข้าคู่กับคํา กระอ้อม เป็น กระอ้อมกระแอ้ม.
【 กระไอ ๑ 】แปลว่า: น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอ
จวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด
เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
【 กระไอ ๒ 】แปลว่า: ก. ไอ, ใช้เข้าคู่กับคํา กระอัก หรือ กระแอม เป็น กระอักกระไอ
กระแอมกระไอ หรือ กระไอกระแอม.
【 กระไอกระแอม 】แปลว่า: ก. ทําเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอม
แอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กรัก 】แปลว่า: [กฺรัก] น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า; (โบ) โรงกรัก คือ โรงที่ต้มกรักในวัด.
(ตะเลง ว่า แก่นไม้; ข. กราก่ ว่า แก่นขนุน).
【 กรักขี 】แปลว่า: [กฺรัก-] /ดู สักขี ๒/.
【 กรัง ๑ 】แปลว่า: [กฺรัง] ก. แห้ง เช่น เสบียงกรัง, แห้งติดแน่นอยู่ เช่น ขี้มูกขี้ตากรัง.
【 กรัง ๒ 】แปลว่า: [กฺรัง] น. เนิน เช่น กึกก้องไพรกรัง. (อนิรุทธ์), อเนกทั่วไพรกรัง.
(ดุษฎีสังเวย).
【 กรัชกาย 】แปลว่า: กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ- น. ร่างกาย เช่น
เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย).
[ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ
(น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่
ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจาก
ธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ
(บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย =
กายที่เกิดจากธุลีที่น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) +
กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดา
กระทำแล้ว].
【 กรัณฑ-, กรัณฑ์ 】แปลว่า: กะรันทะ-, กะรัน น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ =
ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลัง
ขังน้ำทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). /(ดู กรณฑ์ ๑)./
【 กรัณฑก 】แปลว่า: /ดู กรณฑ์ ๑/.
【 กรัณย์ 】แปลว่า: [กะรัน] น. กิจ. ว. อันพึงทํา เช่น ราชกรัณย์. (ป. กรณีย).
【 กรัน ๑ 】แปลว่า: [กฺรัน] ว. เล็ก, แคระ, เช่น กรวดกรันขราราย. (สุธน).
【 กรัน ๒ 】แปลว่า: [กฺรัน] น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด /Musa sapientum/ L. ผลสั้นป้อม
มีเมล็ดมาก, กล้วยเต่า ก็เรียก.
【 กรับ ๑ 】แปลว่า: [กฺรับ] น. ไม้สําหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วย
ไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร
กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับ
ให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น ”กรับ ๆ” เช่น รัวกรับ
ขยับกรับ.
【 กรับขยับ 】แปลว่า: น. กรับเสภา.
【 กรับคู่ 】แปลว่า: น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็น
จังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง.
【 กรับพวง 】แปลว่า: น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือ
แผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน และมีไม้แก่นหรืองาประกับ ๒ ข้าง
อย่างด้ามพัด ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือ
ข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามือ
อีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง
หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ.
【 กรับเสภา 】แปลว่า: น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน เป็นรูปสี่เหลี่ยม
ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร
ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัว
กระทบกันได้สะดวก ใช้ประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับ
เสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ถือไว้ข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับ
กรับแต่ละคู่ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ, กรับขยับ ก็เรียก.
【 กรับ ๒ 】แปลว่า: กฺรับ ก. แห้งติดอยู่เหมือนกาวติดชาม ว่า กรับแห้ง. (ปรัดเล).
【 กรัม 】แปลว่า: [กฺรํา] น. หน่วยมาตราชั่งน้ำหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา =
๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตรา
ประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก.
(ฝ. gramme).
【 กราก 】แปลว่า: [กฺราก] ก. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. ว. รวดเร็ว
เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก; เรียกสิ่งที่หุงหรือนึ่งสวยมากเกินไปว่า
สวยกราก เช่น ข้าวสวยกราก ถั่วสวยกราก, แข็งอย่างผ้าลาย
ที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้าที่ลงแป้งจนแข็ง; เสียงอย่างเสียงลากกิ่งไม้.
【 กราง ๑ 】แปลว่า: [กฺราง] ก. ถูไปถูมาด้วยบุ้ง ตะไบ หรือหนังกระเบน.
【 กราง ๒ 】แปลว่า: [กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัด
กระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็น
เอาใจโลกย์ ลําโล้โบกใบกราง. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 กรางเกรียง 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง.
(พากย์; สุธน).
【 กร่าง 】แปลว่า: [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Ficus altissima/
Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่
ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง
หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจา
วางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
【 กราด ๑ 】แปลว่า: [กฺราด] น. ไม้กวาดที่ทําเป็นซี่ยาว ๆ ห่าง ๆ มีด้ามยาวสําหรับ
ใช้กวาดที่ลานวัดเป็นต้น. (ข. จฺราศ). ก. กวาดด้วยกราด.
【 กราด ๒ 】แปลว่า: [กฺราด] น. เครื่องขูดไคลม้าทําด้วยเหล็ก มีฟันคล้ายกระต่าย
ขูดมะพร้าว; เครื่องจีมไม้ให้แน่น.
【 กราด ๓ 】แปลว่า: [กฺราด] น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบกับเรือ,
บางถิ่นเรียกว่า กรีด หรือ เรือกรีด, เวลาจับสัตว์น้ำใช้แจวไป
ตามฝั่งคลองหรือแม่น้ำ โดยให้ไม้สําหรับกรีดนั้นระไปในน้ำ.
【 กราด ๔ 】แปลว่า: [กฺราด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Dipterocarpus intricatus/ Dyer
ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าเต็งรัง ต้นมียางเหนียว เจาะ
เอาน้ำมันยางได้, ยางกราด เหียงกราด ตะแบง หรือ สะแบง ก็เรียก.
【 กราด ๕ 】แปลว่า: [กฺราด] ก. กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, กวดให้อยู่ในบังคับ เช่น
กราดควาย กราดเด็ก; พ่นน้ำนกและไก่แล้วเอาออกผึ่งแดด;
ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น
ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด.
【 กราดเกรี้ยว 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นอย่างรุนแรง
ด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
【 กราด ๖ 】แปลว่า: กฺราด ว. เล็ก, แคระ, แกร็น.
ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด เป็น กรีดกราด.
【 กราดวง 】แปลว่า: [กฺรา-] น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้านหรือ
หวีด้ายทอหูก, เสียงที่พูดกันเป็นกระดวง.
【 กราน ๑ 】แปลว่า: กฺราน น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน. (กฤษณา).
【 กราน ๒ 】แปลว่า: [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัว
ลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น
ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานใน
กลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไป
ไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
【 กรานกฐิน 】แปลว่า: [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง
เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของ
สงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธี
ทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้น
ทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทําพินทุกัปปะอธิษฐาน
เป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี).
/(ดู กฐิน)./ (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
【 กร้าน 】แปลว่า: [กฺร้าน] ว. มีผิวด้าน, มีผิวไม่สดใส; กระด้าง, แข็ง, หยาบ.
【 กราบ ๑ 】แปลว่า: [กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม,
ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสําหรับเดิน, เรียกส่วน
ด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.
【 กราบ ๒ 】แปลว่า: [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก
แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนม
อยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อม
ศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น
กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ
กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบติดพื้น และหน้าผาก
จดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพ
อย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่าง
กราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
【 กราบ ๓ 】แปลว่า: กฺราบ ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 กราบ ๔ 】แปลว่า: กฺราบ ว. ตราบ เช่น กราบเท่ากัลปาวสาน. (พงศ. อยุธยา).
【 กราฟ 】แปลว่า: น. แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเป็นต้น เพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลง
ค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปร
ตัวอื่น; (คณิต) เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามที่กําหนด
ขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. (อ. graph).
【 กราม 】แปลว่า: [กฺราม] น. ฟันที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร.
【 กรามช้าง ๑ 】แปลว่า: น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งขึ้นที่
แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง
ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
【 กรามช้าง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยชนิดหนึ่ง เรียกว่า กล้วยกรามช้าง. (ตําราปลูกไม้ผล).
【 กรามพลู 】แปลว่า: กฺรามพฺลู น. กานพลู เช่น แห้วหมูพิชกรามพลูก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน). (เทียบทมิฬ กฺรามปู).
【 กราย ๑ 】แปลว่า: [กฺราย] น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด /Notopterus chitala/ ในวงศ์
Notopteridae หัวและลําตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง
ท้องเป็นสันคม ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่อง
กับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม บริเวณเหนือครีบก้นมี
จุดสีดํา ๕-๑๐ จุด เรียงเป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง
๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก.
【 กราย ๒ 】แปลว่า: [กฺราย] น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก
กระหายน้ำ. (แพทย์).
【 กราย ๓ 】แปลว่า: [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น
ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง.
(คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มี
คารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ
กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
【 กราย ๔ 】แปลว่า: [กฺราย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Xylopia malayana/
Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae เนื้อไม้ผ่าง่าย
ใช้ทําฟืนและกระเบื้องไม้มุงหลังคา.
【 กร่าย 】แปลว่า: [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง
ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
【 กราล 】แปลว่า: กฺราน /ดู กราน ๒/.
【 กราว ๑ 】แปลว่า: [กฺราว] (โบ; คําเดียวกับ จราว) น. ตะพาบน้า เช่น ตัวกราว
มีกริวพ่นชลสินธุ์. /(ดู ตะพาบ, ตะพาบน้า)./
【 กราว ๒ 】แปลว่า: [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ
ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คนจํานวน
มากตบมือพร้อม ๆ กัน.
【 กราว ๓ 】แปลว่า: [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการ
ร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้
ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลง
กราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้อง
หน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น
กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ
และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน,
ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง
ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้า
ประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ
เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีน
ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน
【 กริว ๒ 】แปลว่า: [กฺริว] ว. เกรียว เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น. (ม. ฉันท์ มหาพน).
【 กริวกราว 】แปลว่า: ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบก
ธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว.
【 กริ้ว 】แปลว่า: กฺริ้ว ก. โกรธ, เคือง, ในบทกลอนโบราณใช้ในที่สามัญ
ก็มี เช่น ฝูงมหาชนท้งงหลายกริ้วโกรธ. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 กรี ๑ 】แปลว่า: กะรี น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี. (ม. คําหลวง
มหาราช).
【 กรี ๒ 】แปลว่า: กฺรี ย่อมาจาก กรีธา เช่น ให้เรานี้กรีพลออกเดินไพร.
(อิเหนา).
【 กรี ๓ 】แปลว่า: [กฺรี] น. โครงแข็งแหลมที่หัวกุ้ง.
【 กรีฑา 】แปลว่า: [กฺรีทา] น. กีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นประเภทลู่และประเภท
ลาน; การเล่นสนุก เช่น กรีฑาร่าเริงรื่น; การเล่นสมพาส เช่น
ในกามกรีฑากล. (กฤษณา); การประลองยุทธ์. (ส.).
【 กรีฑากร 】แปลว่า: ก. ทํากรีฑา เช่น ปางกรีฑากร อนงค์ในแท่นทอง. (สมุทรโฆษ).
【 กรีฑาภิรมย์ 】แปลว่า: ว. น่ารื่นรมย์ยิ่งในกรีฑา, (โบ) ใช้ว่า กรีธา ก็มี เช่น แห่งอรอาตมชายา
อันกรีธาภิรมย์. (ม. คําหลวง ทศพร).
【 กรีฑารมย์ 】แปลว่า: ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์.
(สมุทรโฆษ).
【 กรีด ๑ 】แปลว่า: กฺรีด น. เครื่องจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง. /(ดู กราด ๓)./
【 กรีด ๒ 】แปลว่า: [กฺรีด] ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ.
【 กรีดกราย 】แปลว่า: ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
【 กรีดน้ำตา 】แปลว่า: ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้
ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
【 กรีดนิ้ว 】แปลว่า: ก. กรายนิ้ว, ใช้นิ้วมือหยิบอย่างมีท่าทีหยิบหย่ง.
【 กรีดเล็บ 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้เล็บเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีท่างาม เช่น กรีดเล็บ
เก็บพวงสุมาลี นารีขับเพลงวังเวงใจ. (เงาะป่า).
【 กรีด ๓ 】แปลว่า: [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก
เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ
กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ
แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
【 กรีดไพ่ 】แปลว่า: ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่
แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจน
หมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
【 กรีด ๔ 】แปลว่า: [กฺรีด] ว. อาการที่ร้องเสียงแหลม. ก. ร้องเสียงแหลม เช่น
กรีดร้อง กรีดเสียง.
【 กรีดกราด 】แปลว่า: [-กฺราด] ว. อาการที่ร้องอุทานเพื่อเรียกร้องความสนใจเป็นต้น.
【 กรี๊ด 】แปลว่า: ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องดังเช่นนั้นด้วยความตกใจหรือโกรธ
เป็นต้น.
【 กรี๊ดกร๊าด 】แปลว่า: ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องอุทานแสดงความพอใจเป็นต้น.
【 กรีธา 】แปลว่า: [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการ
ยกทัพ).
【 กรีธาทัพ 】แปลว่า: ก. ยกกระบวนทัพ, เดินกองทัพ.
【 กรีธาพล 】แปลว่า: ก. รวมพลเข้าเป็นกระบวน.
【 กรีษ 】แปลว่า: กะหฺรีด น. คูถ, อุจจาระ, ขี้. (ส.; ป. กรีส).
【 กรีส 】แปลว่า: [กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส
ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ)
มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕
ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน.
(ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).
【 กรึกถอง 】แปลว่า: กรึกฺถองฺ ว. มากมาย, ตรึกถอง ก็ใช้.
【 กรึง 】แปลว่า: กฺรึง ก. ตรึง, ปักแน่น, ทําให้อยู่กับที่, เช่น ต้องศรพรหมาสตร์
ฤทธิรณ กรึงแน่นทรวงบน ตลอดจนยอดปฤษฎางค์. (พากย์).
【 กรึ๊บ 】แปลว่า: [กฺรึ๊บ] ว. เสียงเกิดจากการกลืนของเหลวเช่นเหล้าอย่างรวดเร็ว,
ลักษณนามเรียกการดื่มเหล้าอึกหนึ่ง ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น เช่น
ดื่มเหล้ากรึ๊บหนึ่ง ดื่มเหล้า ๒ กรึ๊บ. (ปาก) ก. ดื่ม (มักใช้แก่เหล้า).
【 กรึ่ม 】แปลว่า: [กฺรึ่ม] ว. อาการที่เมาเหล้าตลอดทั้งวัน เรียกว่า เมากรึ่ม.
【 กรุ ๑ 】แปลว่า: [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูป
และสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการ
ในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ
เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บ
เข้ากรุ.
【 กรุ ๒ 】แปลว่า: [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น
กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย.
(เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.
【 กรุก 】แปลว่า: [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่
ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น
ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
【 กรุกกรัก 】แปลว่า: ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี).
ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม.
”(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กรุกกรู๊ 】แปลว่า: ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า.
【 กรุง 】แปลว่า: [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึง
ประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทน
เห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
【 กรุ้งกริ่ง 】แปลว่า: [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า.
【 กรุงเขมา 】แปลว่า: [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Cissampelos pareira/ L. var. /hirsuta/
(Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยม
ปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
【 กรุงพาลี 】แปลว่า: [กฺรุง-] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวาง
เครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ, เรียกสั้น ๆ
ว่า บัตรพลี. (มาจากชื่อท้าวพลี). (รามเกียรติ์ ร. ๖).
【 กรุณ 】แปลว่า: กะรุน น. กรุณา.
【 กรุณา 】แปลว่า: [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร
๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดง
ความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็น
สรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
【 กรุณาทฤคุณ 】แปลว่า: [-ทฺรึคุน] (โบ; แบบ) น. กรุณาธิคุณ, คุณอันยิ่งใหญ่ คือ กรุณา.
【 กรุณาธิคุณ 】แปลว่า: น. คุณอันยิ่งใหญ่ คือ กรุณา. (ป. กรุณา + อธิ + คุณ).
【 กรุน 】แปลว่า: [กฺรุน] ก. ตัด, ทําลาย, เช่น จะกรุนจะกราดสงคราม. (ม. ฉันท์
มหาราช). (ถิ่นพายัพ กุน ว่า ตัด, ทําลาย, ใช้คู่กับ กาด ว่า
ทําให้ราบลง).
【 กรุ่น 】แปลว่า: [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่น
อยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น
ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
【 กรุบ 】แปลว่า: [กฺรุบ] ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่แตกง่าย. น. ขนมปั้น
ก้อนชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมกรุบ; เรียกกะลาอ่อนของมะพร้าวว่า
กรุบมะพร้าว.
【 กรุบกริบ 】แปลว่า: ว. เสียงกุกกิก.
【 กรุ่ม 】แปลว่า: [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง)
เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น
ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบาย
เรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน,
ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
【 กรุ้มกริ่ม 】แปลว่า: [กฺรุ้มกฺริ่ม] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้ เช่น เห็น
ผู้หญิงเดินผ่านมาก็ทำกรุ้มกริ่มขึ้นมาทันที, กรุ้งกริ่ง ก็ว่า.
【 กรุย ๑ 】แปลว่า: [กฺรุย] น. หลักที่ปักรายไว้เป็นเครื่องหมาย เช่น ปักกรุย. ก. ปักหลัก
หรือถางเป็นแนวไว้ เช่น กรุยทาง. (ข. ตฺรุย).
【 กรุย ๒ 】แปลว่า: [กฺรุย] ว. ทําทีท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน.
(มณีพิชัย).
【 กรุยกราย 】แปลว่า: ว. เดินทําทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย
ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทําฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).
【 กรุยเกรียว 】แปลว่า: กฺรุย- ว. เกรียวกราว เช่น แสรกเสียงกรุยเกรียว.
(ดุษฎีสังเวย).
【 กรู ๑ 】แปลว่า: [กฺรู] ว. อาการที่ไปพร้อม ๆ กันโดยเร็ว เช่น วิ่งกรูกันไป.
【 กรู ๒ 】แปลว่า: [กฺรู] น. ข้าวชนิดที่ทําเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท
เรียกว่า ข้าวกรู.
【 กรูด ๑ 】แปลว่า: กฺรูด น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร.
(ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
【 กรูด ๒ 】แปลว่า: [กฺรูด] ว. เสียงอย่างเสียงที่ลากของหนักถูไปกับพื้น; อาการที่ถอย
อย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบหรืออย่างตั้งตัวไม่ติด ในคําว่า ถอยกรูด.
【 กรูด ๓ 】แปลว่า: [กฺรูด] น. โรคหูด.
【 กรูม 】แปลว่า: [กฺรูม] ว. กรอม, คลุม, เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน.
(มณีพิชัย).
【 กเรณุ 】แปลว่า: กะเรนุ น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี-
พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์).(ป.).
【 กเรนทร, กเรนทร์ 】แปลว่า: (กลอน; แผลงมาจาก กรินทร์) น. ช้าง เช่น พลคชคณหาญหัก
กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย. (สมุทรโฆษ).
【 กฤช 】แปลว่า: กฺริด น. กริช.
【 กฤด- 】แปลว่า: กฺริดะ- ว. อันกระทําแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของ
สมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).
【 กฤดาญชลี 】แปลว่า: [กฺริดานชะลี] ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี = มีกระพุ่มมืออัน
ทําแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี
กฤษฎา กฤษฎาญ กฤษฎาญชลี กฤษฎาญชุลี กฤษฎาญชลิต
กฤษฎาญชวลิตวา กฤษฎาญชวลิศ กฤษฎาญชวเลศ.
【 กฤดาธิการ 】แปลว่า: [กฺริดาทิกาน] น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทําไว้. ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทํา
ไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี.
【 กฤดาภินิหาร 】แปลว่า: [กฺริดาพินิหาน] น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหาร
ที่ทําไว้, (ส.; ป. กตาภินิหาร), ในบทกลอนใช้แผลงเป็น กฤษฎา
หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี.
【 กฤดยาเกียรณ 】แปลว่า: กฺริดดะยาเกียน ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบ
กอปรกฤดยากยรณ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
【 กฤดา, กฤดาการ 】แปลว่า: [กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมา
จาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ.
อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
【 กฤดาญชลี 】แปลว่า: /ดู กฤด-/.
【 กฤดาธิการ 】แปลว่า: /ดู กฤด-/.
【 กฤดาภินิหาร 】แปลว่า: /ดู กฤด-/.
【 กฤดายุค 】แปลว่า: [กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้
มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาว
ที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). /(ดู จตุรยุค)./
【 กฤดาอัญชลี 】แปลว่า: [กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคําจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ-
ชลีโอนศิโรจร. (ตําราช้างคําฉันท์).
【 กฤดิ 】แปลว่า: [กฺริดดิ] (โบ; กลอน) น. เกียรติ เช่น วรกฤดิโอฬาร.
(ชุมนุมตํารากลอน). (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ).
【 กฤดีกา, กฤตยฎีกา 】แปลว่า: [กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา
แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คําหลวง กุมาร), ชําระกฤตยฎีกา.
(ไวพจน์พิจารณ์).
【 กฤตติกา 】แปลว่า: [กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม
มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยมหรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ)
เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
【 กฤตย- 】แปลว่า: [กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา. (ส.).
【 กฤตยา ๑ 】แปลว่า: [กฺริดตะ-] (โบ; กลอน) น. เกียรติ
เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ. (ตะเลงพ่าย).
【 กฤตยา ๒, กฤติยา 】แปลว่า: [กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น
มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า
หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).
【 กฤติกา 】แปลว่า: กฺริดติ- น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม
มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน.
(สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก.
(ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
【 กฤษฎา ๑ 】แปลว่า: [กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทําแล้ว เช่น
เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทํามาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
【 กฤษฎา ๒, กฤษฎาภินิหาร 】แปลว่า: [กฺริดสะ-] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาภินิหาร เช่น เชิญชม
ชื่นกฤษฎา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
【 กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, 】แปลว่า:
【 กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี 】แปลว่า: [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา,
-ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก
กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า.
(ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง),
กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา.
(มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์.
(เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
【 กฤษฎาธาร 】แปลว่า: [กฺริดสะดาทาน] น. พระที่นั่งที่ทําขึ้นสําหรับเกียรติยศ (?)
เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
【 กฤษฎี 】แปลว่า: [กฺริดสะดี] (แบบ; กลอน) น. รูป เช่น พระอินทราธิราชแปรกฤษฎี.
(สมุทรโฆษ). (ส. อากฺฤติ = รูป).
【 กฤษฎีกา 】แปลว่า: [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด
แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บท
กฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร
เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย
กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า
คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะ
เป็นกฎหมาย.
【 กฤษณา 】แปลว่า: [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล
พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด /Aquilaria crassna/ Pierre ex H. Lec.
และ /A. malaccensis/ Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม
ใช้ทํายาได้.
【 กล, กล- 】แปลว่า: [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด
เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง;
เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก,
เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น
เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ.
(กฎหมาย).
【 กลไก 】แปลว่า: [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็น
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคล
ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร,
ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง;
(วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก
การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ
สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
【 กลฉ้อฉล 】แปลว่า: กน- น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอัน
เป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลง
ผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล
เป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
【 กลบท 】แปลว่า: [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิง
ยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
【 กลพยาน 】แปลว่า: [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
【 กลไฟ 】แปลว่า: [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง
มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร ว่า
เรือกลไฟ.
【 กลเม็ด ๑ 】แปลว่า: [กนละเม็ด] น. วิธีที่แยบคายหรือพลิกแพลง, กัลเม็ด ก็ว่า.
【 กลยุทธ์ 】แปลว่า: [กนละ-] น. การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม, วิธีการที่ต้องใช้กลอุบายต่าง ๆ,
เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้.
【 กลวิธี 】แปลว่า: [กนละ-] น. วิธีพลิกแพลง โดยอาศัยความรู้ความชํานาญ.
【 กลศาสตร์ 】แปลว่า: [กนละ-] น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกระทํา
ของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้นภายหลัง
ที่ถูกแรงมากระทํา. (อ. mechanics).
【 กลอักษร 】แปลว่า: [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน
ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกล
ไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจ
กระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง).
(จารึกวัดโพธิ์).
【 กลอุปกรณ์ 】แปลว่า: [กนอุปะกอน, กนอุบปะกอน] น. อุปกรณ์เชิงกลที่ออกแบบ
หรือผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 กลด ๑ 】แปลว่า: [กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่า
ก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทาน
สมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม
สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มี
แสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด
ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).
【 กลดกำมะลอ 】แปลว่า: น. ร่มชนิดหนึ่ง พื้นขาวโรยทองเป็นเครื่องยศ.
【 กลดพระสุเมรุ 】แปลว่า: น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ
ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
【 กลด ๒ 】แปลว่า: กฺลด น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์. /(ดู กลศ)./
【 กล่น 】แปลว่า: [กฺล่น] ก. เกลื่อนกลาด, ดื่นดาษ, เรี่ยรายอยู่.
【 กลบ 】แปลว่า: [กฺลบ] ก. กิริยาที่เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง, เอาดิน
หรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็ม
หรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น
กลบความ, ใช้เนื้อ, ทดแทน, เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย.
(กฎ. ราชบุรี), กลบลบ ก็ว่าเช่น หักกลบลบหนี้.
【 กลบเกลี่ย 】แปลว่า: ก. ปิดให้เรียบสนิท.
【 กลบเกลื่อน 】แปลว่า: ก. ทําให้เรื่องเลือนหายไป.
【 กลบบัตรสุมเพลิง 】แปลว่า: น. ชื่อพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง ทําแก้เสนียด.
【 กลม ๑ 】แปลว่า: [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละคร
รำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้,
และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
【 กลม ๒ 】แปลว่า: [กฺลม] /ดู เหมือดโลด (๑)/.
【 กลม ๓ 】แปลว่า: [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภทที่บรรจุใน
ภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม.
ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า
ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลากเป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมี
ยาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน,
ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัว
และท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้น
จนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจ
พระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำ
กลอกใบบัว.
【 กลมกล่อม 】แปลว่า: ว. ที่เข้ากันพอดี (ใช้แก่รสหรือเสียง).
【 กลมกลืน 】แปลว่า: ก. เข้ากันได้ดี, ไม่ขัดแย้งกัน.
【 กลมกลืนกลอน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้
แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า
แสนเสียดายหายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่าง
นาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
【 กลมเกลียว 】แปลว่า: ว. ที่เข้ากันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
【 กลมดิก 】แปลว่า: ว. กลมทีเดียว, กลิ้งไปได้รอบตัว, โดยปริยายหมายความว่า กลิ้งกลอก.
【 กลมเป็นลูกมะนาว, กลิ้งเป็นลูกมะนาว 】แปลว่า: (สํา) ว. หลบหลีกไปได้ คล่องจนจับไม่ติด
【 (มักใช้ในทางไม่ดี). 】แปลว่า:
【 กลม ๔ 】แปลว่า: [กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมือง
แก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้อง
ว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
【 กลมภะ 】แปลว่า: กะลมพะ ว. หลายอย่างรวมกัน เช่น จําหลักจําหลอกกลม-
ภบังอวจจําหลักกราย. (สมุทรโฆษ). (ทมิฬ กลมฺป).
【 กลเม็ด ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กล, กล-/.
【 กลเม็ด ๒ 】แปลว่า: [กนละ-] น. ชื่อเทียนชนิดหนึ่ง ซึ่งตามประเพณีเดิมจุดตั้งแต่วันเกิด
มาและเลี้ยงไฟต่อกันไว้จนถึงวันตาย เมื่อถึงวันเผาก็ใช้ไฟนั้นเผา
เรียกว่า เทียนกลเม็ด, เทียนจุดคู่ชีพเวลาจะสิ้นใจ.
【 กลละ 】แปลว่า: กะละละ น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา
เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น
น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
【 กลวง ๑ 】แปลว่า: [กฺลวง] ว. เป็นรูเป็นโพรงข้างใน, ไม่ตัน.
【 กลวง ๒ 】แปลว่า: [กฺลวง] น. บริเวณ, ที่ว่าง, ท่ามกลาง, เช่น ในกลวงป่าตาลนี้
มีศาลาสองอัน. (จารึกสยาม).
【 กลวง ๓ 】แปลว่า: กฺลวง น. โรงถลุงดีบุก, คลวง ก็ว่า.
【 กลวม 】แปลว่า: กฺลวม ก. กรวม, สวม; ทับ เช่น บงงเมฆกลวมกลุ้มหล้า
หล่อแสง. (ยวนพ่าย).
【 กล้วย ๑ 】แปลว่า: [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล /Musa/ วงศ์ Musaceae
จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุก
เนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่
กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น
กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วย
เมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
【 กล้วย ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ง่ายมาก เช่น เรื่องกล้วย ๆ ของกล้วย ๆ.
【 กล้วยกล้าย 】แปลว่า: /ดู กล้าย/.
【 กล้วยแขก 】แปลว่า: น. กล้วยน้ำว้าชุบแป้งทอด.
【 กล้วยงวงช้าง 】แปลว่า: /ดู ร้อยหวี/.
【 กล้วยใต้ 】แปลว่า: (ถิ่น-เชียงใหม่) น. กล้วยน้ำว้า. /(ดู น้ำว้า)/.
【 กล้วยสั้น 】แปลว่า: /ดู กุ ๒/.
【 กล้วย ๒ 】แปลว่า: [กฺล้วย] น. (๑) ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด /Stolephorus indicus/
ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างกลมยาว ที่สันท้องระหว่างครีบท้อง
กับครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๕ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาด
ตลอดข้างลําตัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง อาจปนกับปลาชนิด
อื่นในสกุลเดียวกันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และอาจมีชื่อเรียกปะปนกัน
เช่น กะตัก หัวอ่อน มะลิ ไส้ตัน หัวไม้ขีด เส้นขนมจีน เก๋ย.
(๒) /ดู ซ่อนทราย (๑)./
【 กล้วยน้อย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Xylopia vielana/ Pierre ในวงศ์
Annonaceae กิ่งสีน้ำตาลดําดอกหอม รากสีดํา กลิ่นเหมือน
น้ำมันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู.
【 กล้วยไม้ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae
ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆกัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้
และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมี
กลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. (๒) (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ต้นจุกโรหินี.
/(ดู จุกโรหินี)./
【 กล้วยหมูสัง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Uvaria grandiflora/ Roxb.
ในวงศ์ Annonaceae มีแถบปักษ์ใต้ ดอกสีแดงเลือดนก,
ย่านนมควาย ก็เรียก.
【 กลศ 】แปลว่า: [กฺลด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ มีลักษณะเหมือน
คนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น
กลด ก็มี. (ส.; ป. กลส).
【 กลหาย 】แปลว่า: [กะละ-] (โบ; กลอน) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลาย
หื่นกลหายสาหัส. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 กลเหย 】แปลว่า: กะละ- ก. ระเหย, ซ่านออก.
【 กล้อ ๑ 】แปลว่า: [กฺล้อ] น. เรือโกลน. ว. กลม. ก. ทําให้กลม; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โคลง
เช่น เรือกล้อ ว่า เรือโคลง.
【 กล้อ ๒ 】แปลว่า: กฺล้อ น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไห
ไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). /(ดู กร้อ)./
(เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).
【 กลอก 】แปลว่า: [กฺลอก] ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมาภายในเขต
ของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทําให้มีอาการเช่นนั้น
เช่น กลอกน้ำร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
【 กลอกกลับ 】แปลว่า: ว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก
ก็ว่า.
【 กลอกแกลก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เหลวไหล, ไม่แน่นอน.
【 กลอง ๑ 】แปลว่า: [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วย
หนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายใน
เวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลม
แบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยง
เข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย
เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า
กลองทัด.
【 กลองเพล 】แปลว่า: [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา ๑๑
นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
【 กลอง ๒ 】แปลว่า: [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก
ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา
ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้,
อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง
เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก
แต่ในตอนนี้รํากริช.
【 กลองโยน 】แปลว่า: /ดู ทะแยกลองโยน/.
【 กล่อง 】แปลว่า: [กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทํา
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุ
ไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
【 กล่องเสียง 】แปลว่า: น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของ
หลอดลม.
【 กล้อง ๑ 】แปลว่า: [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่าง
ที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มี
รูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ
เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น
กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
【 กล้องจุลทรรศน์ 】แปลว่า: น. กล้องขยายดูของเล็กให้เห็นเป็นของใหญ่. (อ. microscope).
【 กล้องตาเรือ 】แปลว่า: น. กล้องปริทรรศน์.
【 กล้องตุด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กล้องไม้ซาง.
【 กล้องโทรทรรศน์ 】แปลว่า: น. กล้องสำหรับดูของไกลให้เห็นใกล้, กล้องส่องทางไกล ก็ว่า.
(อ. telescope).
【 กล้องปริทรรศน์ 】แปลว่า: [ปะริทัด] น. กล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบัง
ขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตาผู้มอง
เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
【 กล้องระดับ 】แปลว่า: น. กล้องสํารวจชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องวัดระดับชนิดฟองน้ำที่ใช้
ประกอบกับกล้องส่องเพื่อใช้หาระดับสูงต่ำของพื้นที่.
【 กล้องวัดมุม 】แปลว่า: น. กล้องสํารวจชนิดหนึ่ง สําหรับวัดมุมแนวนอนและแนวยืนได้ใน
ขณะเดียวกัน ไม่ว่าที่หมายเล็งจะอยู่บนพื้นดินหรือในท้องฟ้าก็ตาม
ประกอบด้วยจานองศาแนวนอนกับแนวยืนเพื่อใช้วัดมุม.
(อ. theodolite).
【 กล้องสนาม 】แปลว่า: น. กล้องส่องทางไกล มี ๒ ตา.
【 กล้องสลัด 】แปลว่า: น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม); กล้องส่องทางไกล
มีตาเดียว.
【 กล้องส่องทางไกล 】แปลว่า: น. กล้องโทรทรรศน์, กล้องสําหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้.
【 กล้องสำรวจ 】แปลว่า: น. กล้องที่ใช้ในงานรังวัดและสํารวจทําแผนที่ มีหลายชนิด
เช่น กล้องระดับ กล้องวัดมุม กล้องถ่ายรูปทางอากาศ.
【 กล้อง ๒ 】แปลว่า: [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ
เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือก
หลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
【 กล้องแกล้ง 】แปลว่า: [กฺล้องแกฺล้ง] ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น; มีท่าทาง
เป็นเชิงเจ้าชู้.
【 กลอน ๑ 】แปลว่า: [กฺลอน] น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง;
ไม้ที่พาดบนแปสําหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น.
【 กลอน ๒ 】แปลว่า: [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็น
โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้น
เรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว
คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับ
ขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับ
อ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
【 กลอนด้น 】แปลว่า: น. คํากลอนที่ว่าดะไปไม่คํานึงถึงหลักสัมผัส.
【 กลอนตลาด 】แปลว่า: น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ
นิทานคำกลอน.
【 กลอนบทละคร 】แปลว่า: น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้องขึ้นต้นด้วย
เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
【 กลอนเพลงยาว 】แปลว่า: น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรักหรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น
ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
【 กลอนลิลิต 】แปลว่า: น. คํากลอนที่แต่งอย่างร่าย. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 กลอนสด 】แปลว่า: น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน,
โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดย
มิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
【 กลอนสวด 】แปลว่า: น. กลอนที่อ่านเป็นทํานองสวด แต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ หรือ
กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ข้อความที่แต่ง
มักเป็นเรื่องในศาสนา.
【 กลอนสุภาพ 】แปลว่า: น. กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียกว่า กลอนตลาด.
【 กลอน ๓ 】แปลว่า: [กฺลอน] น. ลูกตุ้ม, ขลุบ, เช่น แกว่งกลอนยรรยงยุทธ์. (อนิรุทธ์).
【 กล่อน 】แปลว่า: [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจาก
ของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า
กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า
กล่อนหนอง.
【 กล้อน 】แปลว่า: [กฺล้อน] ก. ตัดหรือทําให้เกรียน (ใช้แก่ผมหรือขนสัตว์). ว. เลี่ยน,
โล้น.
【 กล่อม ๑ 】แปลว่า: [กฺล่อม] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กล่ำ.
【 กล่อม ๒ 】แปลว่า: [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้;
โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อม
กลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
【 กล่อมเกลา 】แปลว่า: [-เกฺลา] ก. ทําให้เรียบร้อย, ทําให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า
อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
【 กล่อมเกลี้ยง 】แปลว่า: ก. อบรมเลี้ยงดูให้มีนิสัยดี.
【 กล่อมท้อง 】แปลว่า: ก. ใช้ฝ่ามือคลึงบริเวณท้องเบา ๆ เพื่อให้คลอดง่าย.
【 กล่อมมดลูก 】แปลว่า: ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นโดยการประคบบริเวณท้อง.
【 กล่อม ๓ 】แปลว่า: [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่ง
เรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็น
เครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ
กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์
เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย
ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ
กล่อมอารมณ์.
【 กล่อมหอ 】แปลว่า: ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงานบ่าวสาว
ก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
【 กล้อมแกล้ม 】แปลว่า: [กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด;
พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป;
กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
【 กลอย ๑ 】แปลว่า: [กฺลอย] น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด /Dioscorea hispida/ Dennst.
ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบ
ประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่น้ำ
ไหลและนํามานึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้.
【 กลอย ๒ 】แปลว่า: [กฺลอย] ก. คล้อย, ร่วม, เช่น กลอยใจ กลอยสวาท.
【 กลัก 】แปลว่า: [กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของเล็ก ๆ
น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ,
ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า
กลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
【 กลัง 】แปลว่า: กฺลัง น. คลัง คือ ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับ
ล่ามสัตว์. (สุธน).
【 กลัด 】แปลว่า: [กฺลัด] น. สวะที่ติดขวางคลองแน่นอยู่. ก. เสียบขัดไว้ให้อยู่
ด้วยของแหลม เช่น กลัดไม้กลัด กลัดเข็มกลัด; โดยปริยาย
เรียกอาการที่สิ่งบางอย่างคั่งอยู่ข้างใน เช่น กลัดหนอง.
【 กลัดกลุ้ม 】แปลว่า: ก. ขัดข้องกลุ้มอยู่ในอก.
【 กลัดมัน 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกในทางกามารมณ์อย่างรุนแรง.
【 กลั่น 】แปลว่า: [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธี
ต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น
กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
【 กลั่นกรอง 】แปลว่า: ก. คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ.
【 กลั่นแกล้ง 】แปลว่า: ก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ.
【 กลั้น 】แปลว่า: [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้
แสดงออกหรือหลุดออกมา.
【 กลั้นใจ 】แปลว่า: ก. อั้นลมหายใจ.
【 กลันทะ, กลันทก์ 】แปลว่า: กะลันทะ น. กระแต, กระรอก. (ป. กลนฺท, กลนฺทก;
ส. กลนฺทก, กลนฺตก).
【 กลับ 】แปลว่า: [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้า
เป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้า
เป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทํา
ตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ
เขากลับด่าเอา.
【 กลับกลอก 】แปลว่า: ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจา
กลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า.
【 กลับกลาย 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป.
【 กลับเกลือก 】แปลว่า: ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), กระลับกระเลือก ก็ว่า.
【 กลับคำ 】แปลว่า: ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.
【 กลับคืน 】แปลว่า: ก. กลับที่เดิม, สู่สภาพเดิม.
【 กลับตาลปัตร 】แปลว่า: [กฺลับตาละปัด] ว. ผิดความคาดหมายอย่างตรงกันข้ามแบบพลิก
หน้ามือเป็นหลังมือ.
【 กลับเนื้อกลับตัว 】แปลว่า: (สํา) ก. เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี.
【 กลับไปกลับมา 】แปลว่า: ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา)
ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือ
เป็นหลังมือ ก็ว่า.
【 กลัมพก, กลัมพัก 】แปลว่า: กะลํา- น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก
พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
【 กลัมพร 】แปลว่า: กะลําพอน น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น
มาทํากลัมพรภัย. (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย. (สมุทรโฆษ),
ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กระลําพร หรือ กระลํา ก็มี.
【 กลัว 】แปลว่า: [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป
กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น
กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
【 กลัวน้ำ 】แปลว่า: น. โรคพิษสุนัขบ้า เรียกว่า โรคกลัวน้ำ.
【 กลัวลาน 】แปลว่า: ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่.
【 กลั้ว 】แปลว่า: [กฺลั้ว] ก. เอาน้ำหรือของเหลวเข้าไปสัมผัสพอให้ชุ่ม.
【 กลั้วเกลี้ย 】แปลว่า: ก. คลุกคลี. ว. มีเล็กน้อยไม่ถึงกับมากทีเดียว, พอมีอยู่บ้าง,
จวนหมด, หวุดหวิด, เช่น น้ำกลั้วเกลี้ยคลอง แกงมีน้ำกลั้วเกลี้ย;
พอเป็นไปได้, พอประทังไปได้.
【 กลั้วคอ 】แปลว่า: ก. ดื่มน้ำแต่น้อย ๆ พอให้ชุ่มคอ.
【 กลา 】แปลว่า: กะลา น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน;
ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย),
ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
【 กล่า 】แปลว่า: [กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหวว
มึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 กล้า ๑ 】แปลว่า: [กฺล้า] น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลม
เรียกพืชที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกในที่อื่นว่า กล้า เช่น กล้าพริก
กล้ามะเขือ.
【 กล้า ๒ 】แปลว่า: [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า,
แรง เช่น เวทนากล้า.
【 กล้าได้กล้าเสีย 】แปลว่า: ว. ใจป้ำ, ใจเป็นนักเลง, ไม่กลัวขาดทุน.
【 กล้านักมักบิ่น 】แปลว่า: (สํา) ว. กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย.
【 กลาก 】แปลว่า: [กฺลาก] น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา
ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, ขี้กลาก ก็ว่า, (ราชา) โรคดวงเดือน.
【 กลากลาด 】แปลว่า: กฺลากฺลาด ว. มากหลาย, เกลื่อนกล่น, เช่น
มากลากลาดกันแดน. (ลอ).
【 กลาง 】แปลว่า: [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า
ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขา
ย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
【 กลางเก่ากลางใหม่ 】แปลว่า: ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
【 กลางคน 】แปลว่า: ว. มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาว แต่ยังไม่แก่.
【 กลางคัน 】แปลว่า: ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ.
【 กลางค่ำ 】แปลว่า: (โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น
กลางค่ากลางคืน. /(ดู ค่า)./
【 กลางคืน 】แปลว่า: น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์
ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
【 กลางแจ้ง 】แปลว่า: น. นอกร่มไม้ชายคา.
【 กลางใจมือ 】แปลว่า: น. อุ้งมือ.
【 กลางช้าง 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพนักงานประจํากลางหลังช้าง.
【 กลางดิน 】แปลว่า: น. นอกที่มุงที่บัง เช่น นอนกลางดินกินกลางทราย.
【 กลางดึก 】แปลว่า: น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
【 กลางเดือน 】แปลว่า: น. วันเพ็ญ เช่น กลางเดือน ๖.
【 กลางทาสี 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า
เมียกลางทาสี. (สามดวง).
【 กลางนอก 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่ชายสู่ขอมาเลี้ยงเป็นอนุภริยาว่า เมียกลางนอก.
(สามดวง).
【 กลางบ้าน 】แปลว่า: ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
【 กลางแปลง 】แปลว่า: ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง
คล้องช้างกลางแปลง.
【 กลางเมือง 】แปลว่า: น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน;
การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิง
ที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง.
(สามดวง).
【 กลางวัน 】แปลว่า: น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหาร
ระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
【 กลางหาว 】แปลว่า: น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกัน
กลางหาว.
【 กลาด 】แปลว่า: [กฺลาด] ว. ดาษดื่น, ใช้เข้าคู่กับคํา เกลื่อน เป็น เกลื่อนกลาด หรือ
กลาดเกลื่อน.
【 กลาดเกลื่อน 】แปลว่า: [กฺลาด-] ว. ดาษดื่น, เรี่ยรายอยู่มาก, เกลื่อนกลาด ก็ว่า.
【 กลาบาต 】แปลว่า: [กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มี
แสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย,
อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคําตัดมาจาก ”อุกลาบาต” /ดูอุกกา/).
【 กลาป 】แปลว่า: กะหฺลาบ น. หมวด, ฟ่อน, กํา, มัด; ฝูงใหญ่. (ป., ส.).
【 กล้าม 】แปลว่า: [กฺล้าม] น. เนื้อมะพร้าวห้าว; มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคน
และสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ.
【 กลาย 】แปลว่า: [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็น
หน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร
เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ใน
ความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม),
จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรีศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน.
(โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือ
เปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
【 กล้าย 】แปลว่า: [กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล /Musa/ วงศ์
Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอม
เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้
สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.
【 กลายกลอก 】แปลว่า: [-กฺลอก] /ดู กระลายกระหลอก/.
【 กล่าว 】แปลว่า: [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลา
อรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอน
แก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน
เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติ
ในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
【 กล่าวเกลี้ยง 】แปลว่า: (กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).
【 กล่าวขวัญ 】แปลว่า: ก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทําของคนอื่น.
【 กล่าวโทษ 】แปลว่า: ก. แจ้งว่ากระทําผิด.
【 กล่าวหา 】แปลว่า: ก. ฟ้อง, กล่าวโทษ.
【 กล่าวโอม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ก. สู่ขอ.
【 กลาโหม 】แปลว่า: [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ
มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่
เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก
ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
【 กล่ำ ๑ 】แปลว่า: [กฺล่ำ] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กล่ำ คือ อัฐ, ๒
กล่ำ เป็น ๑ ไพ. (กล่ำ ได้แก่ มะกล่ำตาช้าง, กล่อม ได้แก่
มะกล่ำตาหนู).
【 กล่ำ ๒ 】แปลว่า: [กฺล่ำ] น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง. /(ดู กร่ำ ๑)./
【 กล่ำ ๓ 】แปลว่า: [กะหฺล่ำ] (โบ; กลอน) ใช้เข้าคู่กับคํา กระเลือก หมายความว่า
กลอกไปกลอกมา.
【 กล้ำ 】แปลว่า: [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน,
เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ.
(โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ),
กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
【 กล้ำกราย 】แปลว่า: ก. เข้าไปปะปน, ล่วงเข้าไป.
【 กล้ำกลืน 】แปลว่า: ก. ฝืนใจ, อดกลั้นไม่แสดงให้เห็น.
【 กลิ่ง 】แปลว่า: [กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว.
(ม. คําหลวง ทศพร).
【 กลิ้ง 】แปลว่า: [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครก
กลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก
กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น
คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม
เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
【 กลิ้งกลอก 】แปลว่า: ก. กลับไปกลับมาเอาแน่ไม่ได้.
【 กลิ้งเกลือก 】แปลว่า: ก. พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้ เช่น ยากจน
ก็กลิ้งเกลือกไปตามบุญตามกรรมไม่ขอพึ่งใคร, เกลือกกลิ้ง ก็ใช้.
【 กลิ้งเป็นลูกมะนาว 】แปลว่า: (สํา) ว. หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี),
กลมเป็นลูกมะนาว ก็ว่า.
【 กลิ้งกลางดง 】แปลว่า: [กฺลิ้งกฺลาง-] น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล /Dioscorea/ วงศ์
Dioscoreaceae ตามง่ามใบมีหัวกลมขรุขระ.
【 กลิงค์ 】แปลว่า: [กะลิง] น. เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์,
กลึงค์ หรือ กะเล็ง ก็ว่า. (คํานี้เดิมหมายถึงชาวอินเดียที่มาจาก
แคว้นกลิงคราษฎร์).
【 กลิ่น ๑ 】แปลว่า: [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้
หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
【 กลิ่นอาย 】แปลว่า: น. กลิ่น. (เป็นคําที่มีความหมายซ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).
【 กลิ่น ๒ 】แปลว่า: [กฺลิ่น] น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ, ถ้าทําให้
ผูกแขวนคว่าลงมา เรียกว่า กลิ่นคว่า, ถ้าทําให้ผูกแขวนตะแคง
เรียกว่า กลิ่นตะแคง.
【 กลิ้ม 】แปลว่า: [กฺลิ้ม] ก. เล็มหน้าผ้า, เย็บหน้าผ้าให้เป็น ตะเข็บเพื่อมิให้ชายผ้า
หลุดออก.
【 กลี 】แปลว่า: [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว
ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือ
ผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า
กาลี. (ป., ส. กลิ).
【 กลียุค 】แปลว่า: [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้
ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับใน
สมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลงโดยไม่มีกำหนดเวลา
แน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). /(ดู จตุรยุค)./
【 กลียุคศักราช 】แปลว่า: น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย
๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
【 กลี่ 】แปลว่า: [กฺลี่] น. ภาชนะสําหรับใส่หมากบุหรี่ โดยมากมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีลิ้นข้างใน ยกออกได้.
【 กลีบ 】แปลว่า: [กฺลีบ] น. ส่วนของดอกไม้ที่เรียงหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รอบเกสร
โดยปรกติเป็นแผ่นบาง ๆ, ใช้เรียกของอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น
กลีบตา กลีบผ้า กลีบเมฆ.
【 กลีบตา 】แปลว่า: น. เปลือกตา.
【 กลีบบัว 】แปลว่า: น. เรียกพานที่ริมปากทําเป็นรูปกลีบบัวโดยรอบว่า พานกลีบบัว.
【 กลีบหิน 】แปลว่า: น. แร่ไมกา. /(ดู ไมกา)./
【 กลึง 】แปลว่า: [กฺลึง] ก. ทําให้กลมหรือให้เป็นรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องหมุน.
【 กลึงเกลา 】แปลว่า: ว. งามเกลี้ยงเกลา, เกลากลึง ก็ว่า.
【 กลึ้ง 】แปลว่า: กฺลึ้ง น. กลิ้ง คือ ร่ม. (กฎมนเทียรบาล ในกฎหมายราชบุรี).
【 กลึงกล่อม 】แปลว่า: [-กฺล่อม] น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด /Polyalthia suberosa/ (Roxb.)
Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว
กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม
เมื่อสุกสีแดง.
【 กลึงค์ 】แปลว่า: [กะลึง] น. แขกกลิงค์. /(ดู กลิงค์)/.
【 กลืน 】แปลว่า: [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ
ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น
ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์
กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
【 กลืนไม่เข้าคายไม่ออก 】แปลว่า: ก. พะอืดพะอม.
【 กลุ่ม 】แปลว่า: [กฺลุ่ม] น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่ ๆ หรือเป็นกลุ่มก้อน
เช่น กลุ่มคน กลุ่มมด กลุ่มดาว กลุ่มด้าย; อาการที่เข้ามารวมกันเช่นนี้
เรียกว่า จับกลุ่ม; ลักษณนามเรียกของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม.
【 กลุ้ม 】แปลว่า: [กฺลุ้ม] ก. รวมประดังคับคั่ง เช่น พูดกันกลุ้ม, ปกคลุมอยู่ทําให้มืดคลุ้ม
เช่น ควันกลุ้ม เมฆกลุ้ม; รู้สึกอัดอั้นยุ่งใจ เช่น คิดไม่ออกกลุ้มเหลือเกิน;
ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม.
【 กลุ้มใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกรําคาญหรือยุ่งยากใจ ไม่รู้ว่าจะทําอย่างไร.
【 กลุ้มรุม 】แปลว่า: ก. ประดังห้อมล้อมเข้ามา.
【 กลุ้มอกกลุ้มใจ 】แปลว่า: ก. กลุ้มใจ.
【 กลู่ 】แปลว่า: [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่
กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 กลูโคส 】แปลว่า: กฺลู- น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์
ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่
๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวาน
เป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็น
โรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก.
(อ. glucose).
【 กลูน, กลูน์ 】แปลว่า: กะลูน, กะลู ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร
ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร
เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
【 กเลวระ 】แปลว่า: กะเลวะระ น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่ง
กเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน. (ม. ร่ายยาว มัทรี),
ใช้ว่า กเฬวราก ก็มี. (ป., ส.).
【 กวด 】แปลว่า: ก. ทําให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู,
เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็ก
เครื่องมือสําหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.
【 กวดขัน 】แปลว่า: ว. เอาจริงเอาจัง, เร่งรัดให้ยิ่งขึ้น.
【 กวน ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสาน
สมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น
บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
【 กวน ๒ 】แปลว่า: ก. คนให้เข้ากัน, คนให้เข้ากันจนข้น, เช่น กวนขนม, คนให้ทั่วกัน
หรือให้วนไปโดยรอบ เช่น กวนน้ำ; รบกวนทําให้เกิดความรําคาญ
เช่น กวนใจ, ก่อกวนทําให้วุ่นวาย เช่น กวนบ้านกวนเมือง, ชวนให้
เกิดความรําคาญ ชวนให้ทําร้าย เช่น กวนมือ กวนตีน. น. เรียก
ของกินที่ทําด้วยผลไม้เป็นต้น เคี่ยวกับน้ำตาลแล้วคนให้เข้ากัน
จนข้น เช่น ขนมกวนทุเรียนกวน สับปะรดกวน.
【 กวนน้ำให้ขุ่น 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.
【 กวม 】แปลว่า: (โบ) ก. ครอบงํา เช่น มืดมนกวมกลุ้ม.
【 กวย ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ตะกร้า.
【 กวย ๒ 】แปลว่า: น. ชาติข่า ในตระกูลมอญ-เขมร.
【 กวยจั๊บ 】แปลว่า: น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งที่ใช้ทําเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็น
ชิ้นใหญ่ ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ).
【 กวยจี๊ 】แปลว่า: น. เมล็ดแตงโมต้มแล้วตากให้แห้ง ใช้ขบเคี้ยว. (จ).
【 ก๋วยเตี๋ยว 】แปลว่า: น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นเส้น ๆ ลวกสุก
แล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ).
【 กวะ 】แปลว่า: กะวะ ว. (ราว)-กะว่า, (ราว)-กับว่า, เช่น นกกระจอก
ทํารังราวกวะไม้. (จารึกวัดโพธิ์).
【 กวะกวัก 】แปลว่า: [กฺวะกฺวัก] ก. กวัก เช่น กวะกวักคือกวักทักถาม. (สรรพสิทธิ์).
ว. กวัก ๆ, เป็นเสียงนกกวักร้อง, เช่น นกกวักลักแลเพื่อนพลาง
กวักปีกกวักหาง ก็ร้องกวะกวักทักทาย. (สมุทรโฆษ).
【 กวะแกว่ง 】แปลว่า: [กฺวะแกฺว่ง] ก. แกว่งไปมา เช่น ช่อช้อยกวะแกว่งไกว. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 กวัก ๑ 】แปลว่า: [กฺวัก] น. ชื่อนกชนิด /Amaurornis phoenicurus/ ในวงศ์ Rallidae
ลําตัวสั้น ขาและนิ้วยาว หน้าผากและลําตัวด้านล่างสีขาว อาศัย
อยู่ตามหนองน้ำ เดินหากินบนใบพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน
ในตอนเช้าหรือพลบค่ำ ร้องเสียงดัง ”กวัก ๆ”.
【 กวัก ๒ 】แปลว่า: [กฺวัก] ก. อาการที่ใช้สิ่งแบน ๆ พุ้ยเข้าหาตัว, ใช้มือทําอาการเช่นนั้น
เพื่อเป็นสัญญาณให้เข้ามาหา เรียกว่า กวักมือ, อาการที่นกใช้ปีกพุ้ย
อากาศบินไป เรียกว่า นกกวักปีก.
【 กวัด 】แปลว่า: [กฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา, ใช้เข้าคู่กับคํา
แกว่ง เป็น กวัดแกว่ง หรือ แกว่งกวัด หรือใช้เข้าคู่กับคำ ไกว เป็น
กวัดไกว.
【 กวัดแกว่ง 】แปลว่า: [กฺวัดแกฺว่ง] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น กวัดแกว่งอาวุธ,
ไม่อยู่ที่ เช่น จิตกวัดแกว่ง, แกว่งกวัด ก็ว่า.
【 กวัดไกว 】แปลว่า: [กฺวัดไกฺว] ก. วัดเหวี่ยงไปมา, ไม่อยู่ที่.
【 กวัดไกวไสส่ง 】แปลว่า: ก. ไล่ไปให้พ้น.
【 กวา 】แปลว่า: [กฺวา] น. แตงกวา. /(ดู แตง)./
【 กว่า 】แปลว่า: [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ
เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง
มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุก
งาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ…ก็ เป็น กว่าจะ…ก็ หรือ กว่า…จะ…ก็,
โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์);
ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน),
ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี
เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
【 กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ 】แปลว่า: (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหา
ได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป ดุจเอาถั่ว
กับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
【 กว่าเพื่อน 】แปลว่า: ว. คําใช้เปรียบเทียบ หมายถึง ที่สุดในหมู่ เช่น ดีกว่าเพื่อน
เลวกว่าเพื่อน.
【 กว้า 】แปลว่า: กฺว้า ว. หรือ, อะไร, ทําไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า,
หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).
【 กวาง ๑ 】แปลว่า: [กฺวาง] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องหลายชนิด ในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์
กีบคู่ ลำตัวเพรียว คอและขายาว หางสั้น ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีทั้ง
ชนิดมีเขาและไม่มีเขาในเพศเดียวกันหรือต่างเพศ เช่น กวางป่า
(Cervus unicolor).
【 กวางแขม 】แปลว่า: /ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ ๒/.
【 กวางจุก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เก้ง. /(ดู เก้ง)./
【 กวางเดินดง 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง
หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาด
จริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคย
สงวนงาม. (กลบท).
【 กวางทราย 】แปลว่า: /ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ ๒/.
【 กวาง ๒ 】แปลว่า: [กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae
และ Balistidae. /(ดู งัว ๕ ประกอบ)./ (๒) ปลาม้า. /(ดู ม้า ๓)./
【 กว่าง 】แปลว่า: [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด /Xylotrupes gideon/ ในวงศ์
Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มี
ขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาว
เป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก
กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่
ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ
กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียก
แมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.
【 กว้าง 】แปลว่า: [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง
ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง; เผื่อแผ่ เช่น มีน้ำใจ
กว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
【 กว้างใหญ่ 】แปลว่า: ก. แผ่ออกไปไกล.
【 กวางเขน 】แปลว่า: กฺวาง- น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ).
【 กวางโจน 】แปลว่า: [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย
เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว
กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป.
【 กว่างชน 】แปลว่า: /ดู กว่าง/.
【 กวางชะมด 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล /Moschus/ วงศ์ Moschidae
ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยว
สั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อม
กลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา
เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัย
อยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่
กวางชะมดไซบีเรีย (/M. moschiferus/) กวางชะมดเขาสูง
(/M. chrysogaster/) กวางชะมดดำ (/M. fuscus/) และ
กวางชะมดป่า (/M. berezovskii/) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมา
เลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
【 กว่างโซ้ง 】แปลว่า: /ดู กว่าง/.
【 กวางตุ้ง ๑ 】แปลว่า: [กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษา
ของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง.
【 กวางตุ้ง ๒ 】แปลว่า: [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. /(ดู กาด ๑)./
【 กวางทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 กวางป่า 】แปลว่า: น. ชื่อกวางชนิด /Cervus unicolor/ ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่
ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง
ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์,
กวางม้า ก็เรียก.
【 กวางผา 】แปลว่า: [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Naemorhedus goral/ ในวงศ์
Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทา
หรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่า
ตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย.
【 กวางม้า 】แปลว่า: /ดู กวางป่า/.
【 กวาด 】แปลว่า: [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น,
ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ,
โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น
กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า
กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น
มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า
ไม้กวาดทางมะพร้าว.
【 กวาดต้อน 】แปลว่า: ก. รวบรวมคนหรือสัตว์พาหนะเป็นต้น เอามาเป็นของตน.
【 กวาดตา 】แปลว่า: ก. ส่ายตาดูทั่วไป.
【 กวาดล้าง 】แปลว่า: ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย.
【 กวาน, กว่าน 】แปลว่า: [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน
ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่าน
บ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย).
【 กว้าน ๑ 】แปลว่า: [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่ง
ปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน.
【 กว้าน ๒ 】แปลว่า: [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน,
ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น
กว้านสินค้ามากักตุนไว้.
【 กว๊าน 】แปลว่า: กฺว๊าน น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน.
【 กว้าว 】แปลว่า: [กฺว้าว] /ดู ขว้าว/.
【 กวาวเครือ 】แปลว่า: [กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Pueraria candollei/ Grah. var.
/mirifica/ (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham
ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่
โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้.
【 กวิน 】แปลว่า: กะวิน ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ).
(ทมิฬ แปลว่า งาม).
【 กวี 】แปลว่า: [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น
๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา
๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
【 กวีนิพนธ์ 】แปลว่า: น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง.
【 กษณะ 】แปลว่า: กะสะหฺนะ น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ).
【 กษมา ๑ 】แปลว่า: กะสะ- น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมา
เสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า
ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา).
【 กษมา ๒ 】แปลว่า: กะสะ- น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา).
【 กษัตร 】แปลว่า: กะสัด น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต).
【 กษัตรา 】แปลว่า: กะสัดตฺรา น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).
กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน.
【 กษัตริย์ 】แปลว่า: [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะ
ที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะ
กษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย,
ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียก
รูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน
เรียกว่า สามกษัตริย์.
【 กษัตริยชาติ 】แปลว่า: [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็นกษัตริยชาติ.
(ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
【 กษัตรี 】แปลว่า: กะสัดตฺรี น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี.
(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า
แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น
จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
【 กษัตรีย์ 】แปลว่า: กะสัดตฺรี น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ);
เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 กษัตรีศูร 】แปลว่า: กะสัดตฺรีสูน น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลี
เป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร).
【 กษัย, กษัย- 】แปลว่า: [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป;
ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการ
ผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี.
(ส. กฺษย).
【 กษัยกล่อน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคทางตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ผอมแห้ง ซึ่งเกิดจาก
โรคกล่อน, เขียนเป็น กระษัยกล่อน ก็มี.
【 กษัยการ 】แปลว่า: [กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัดหรือ
กระจัดกระจายไปเพราะพลังลมพลังน้ำ หรือปฏิกิริยาเคมี.
(อ. erosion).
【 กษัยน้ำ 】แปลว่า: น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง หรือ เสมหะเป็นพิษ ถ้ารวมทั้ง
๓ ประการ เรียกว่า กษัยเลือด.
【 กษัยเลือด 】แปลว่า: น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ.
【 กษาปณ์ 】แปลว่า: กะสาบ น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง
(= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กษิดิ, กษีดิ 】แปลว่า: กะสิดิ, กะสีดิ น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็น
ส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว.
(ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร),
อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
【 กษีณาศรพ 】แปลว่า: กะสีนาสบ น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์,
เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น
อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพ
ทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร
จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง
ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
【 กษีร-, กษีระ 】แปลว่า: กะสีระ น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
【 กษีรธารา 】แปลว่า: น. สายน้ำนม เช่น ให้เสวยโภชนและกษีรธารา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
【 กษีรรส 】แปลว่า: น. น้ำนม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือน้ำนมสดขาวสะอาด.
(ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
【 กษีรามพุ 】แปลว่า: น. น้ำนม เช่น ดูดดื่มกษีรามพุ. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษีร + อมฺพุ).;
【 กษีรารณพ 】แปลว่า: [กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว).
【 กษีรามพุ 】แปลว่า: /ดู กษีร-, กษีระ/.
【 กษีรารณพ 】แปลว่า: /ดู กษีร-, กษีระ/.
【 กสานติ์ 】แปลว่า: กะ- ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์.
(เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
【 กสิ, กสิ- 】แปลว่า: [กะ-] น. การทํานา, การเพาะปลูก. (ป.).
【 กสิกร 】แปลว่า: [กะสิกอน] น. ผู้ทําไร่ไถนา.
【 กสิกรรม 】แปลว่า: น. การทําไร่ไถนา.
【 กสิณ 】แปลว่า: [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ
๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี)
๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว),
ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
【 กหังปายา 】แปลว่า: [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข
๑๑๘๑.
【 กหาปณะ 】แปลว่า: กะหาปะนะ น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก
หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.).
【 กเฬวราก 】แปลว่า: กะเลวะราก น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวราก
ซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ.
(มาลัยคําหลวง).
【 กอ ๑ 】แปลว่า: น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม
กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า
เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย.
【 กอ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. /(ดู ก่อ ๒)./
【 กอ ๓ 】แปลว่า: /ดู หนอนกอ ที่ หนอน ๑/.
【 ก่อ ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
【 ก่อกรรมทำเข็ญ 】แปลว่า: ก. ก่อความเดือดร้อนให้ร่ำไป.
【 ก่อกวน 】แปลว่า: ก. ก่อให้เกิดความรําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้.
【 ก่อการ 】แปลว่า: ก. ริเริ่มการ.
【 ก่อตั้ง 】แปลว่า: ก. จัดตั้งขึ้น, ริเริ่มตั้งขึ้น.
【 ก่อร่างสร้างตัว 】แปลว่า: ก. ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน.
【 ก่อฤกษ์ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเริ่มก่อสร้าง เช่น วางอิฐวางหิน.
【 ก่อแล้วต้องสาน 】แปลว่า: (สํา) ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ.
【 ก่อสร้าง 】แปลว่า: ก. ก่อและสร้างโดยใช้อิฐและปูนเป็นส่วนใหญ่.
【 ก่อหวอด 】แปลว่า: ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ก่อ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี
เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ.
【 ก่อ ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. /(ดู ช่อน)./
【 ก่อ ๔ 】แปลว่า: ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ).
【 ก้อ ๑ 】แปลว่า: ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
【 ก้อร่อก้อติก 】แปลว่า: ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้.
【 ก้อ ๒ 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทางแถบเหนือ
ของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก.
【 ก๊อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กอก ๑ 】แปลว่า: ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม
ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด.
【 กอก ๒ 】แปลว่า: น. มะกอก.
【 ก๊อก ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock).
【 ก๊อก ๒ 】แปลว่า: น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด /Quercus suber/ L. ในวงศ์
Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก.
【 กอแก 】แปลว่า: ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย.
【 กอง ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น
กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของ
ทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหาร
หรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือ
ร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง
เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รอง
จากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น
โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
【 กองกลาง 】แปลว่า: น. สิ่งที่กันไว้เป็นส่วนรวม หรือเป็นสาธารณะ.
【 กองกูณฑ์ 】แปลว่า: น. กองไฟที่ใช้ในพิธีบูชาไฟ.
【 กองเกิน 】แปลว่า: น. ผู้ขึ้นทะเบียนรับราชการทหาร แต่ทางการยังไม่เรียกเข้ารับราชการ.
【 กองเกียรติยศ 】แปลว่า: น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประมุข
ของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น
ธงชัยเฉลิมพล.
【 กองข้าว 】แปลว่า: น. พิธีอย่างหนึ่งที่ชาวชนบทห่อข้าวพร้อมด้วยของหวานพากัน
ไปเซ่นผีตามป่าในหน้าแล้ง.
【 กองโจร 】แปลว่า: น. หน่วยกําลังที่ทําการรบแบบโจร.
【 กองทัพ 】แปลว่า: น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วย
อื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง
หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
【 กองทัพน้อย 】แปลว่า: น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่
แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพ
น้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
【 กองทุน 】แปลว่า: น. เงินหรือทรัพย์สินที่เอามารวมเป็นก้อนเดียวกันเพื่อวัตถุประสงค์
อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในการสมรส.
【 กองพล 】แปลว่า: น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ
เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ
ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการ
กองพลเป็นผู้บังคับบัญชา.
【 กองพัน 】แปลว่า: น. หน่วยทหารซึ่งประกอบด้วยทหาร ๔ กองร้อย มีผู้บังคับกองพัน
เป็นผู้บังคับบัญชา.
【 กองฟอน 】แปลว่า: น. กองขี้เถ้าศพที่เผาแล้ว.
【 กองมรดก 】แปลว่า: /ดู มรดก/.
【 กองร้อย 】แปลว่า: น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหาร ๔ หมวด มีผู้บังคับกองร้อย
เป็นผู้บังคับบัญชา.
【 กองหนุน 】แปลว่า: น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจากกองเกินเมื่ออายุ
ครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือสับเปลี่ยนแนวหน้า.
【 กอง ๒ 】แปลว่า: /ดู รกฟ้า/.
【 กอง ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน.
【 ก่อง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับหน้าอก; ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า
ที่หญิงรุ่นสาวใช้.
【 ก่อง ๒ 】แปลว่า: ว. สุกใส, สว่าง, งาม.
【 ก่อง ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย
ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่ง
ถ่วงด้วยหิน และอีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่า
ปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา.
【 ก่อง ๔ 】แปลว่า: น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ก้อง ๑ 】แปลว่า: ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น
เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง.
【 ก้อง ๒ 】แปลว่า: น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.).
【 กองกอย 】แปลว่า: น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้อง
เดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคน
ที่นอนหลับพักแรมในป่า.
【 ก๊อซ 】แปลว่า: น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze).
【 กอด 】แปลว่า: ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน 】แปลว่า: ก. ประจบประแจง.
【 ก่อน 】แปลว่า: ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม
บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้
ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น
ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่าให้ระงับ
ยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณีหมายความว่า
ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
【 ก้อน 】แปลว่า: น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนด
รูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็น
ก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตก
ออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้าง
กลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น
เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น
ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕
สตางค์).
【 ก้อนขี้หมา 】แปลว่า: น. ปุ่มเหนือปลายปากบนของจระเข้, ขี้หมา หรือ หัวขี้หมา ก็เรียก.
【 ก้อนเส้า 】แปลว่า: น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา;
ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง.
【 กอบ 】แปลว่า: ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น.
น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียก
ปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
【 กอบโกย 】แปลว่า: ก. ขนเอาไปเป็นจํานวนมาก, รวบเอาไปเป็นจํานวนมาก.
【 กอบด้วย 】แปลว่า: ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก
เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย.
【 กอบนาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Chilocarpus costatus/ Miq. ในวงศ์ Apocynaceae
พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก.
【 ก๊อบปี้ 】แปลว่า: น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon
paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา
๒ ก๊อบปี้. (อ. copy).
【 กอปร 】แปลว่า: [กอบ] ก. ประกอบ.
【 ก้อม 】แปลว่า: (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม.
【 กอมก้อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. /(ดู กะเพรา)./
【 ก่อมก้อ 】แปลว่า: ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ).
【 กอย 】แปลว่า: น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก.
【 ก๋อย 】แปลว่า: /ดู อีก๋อย/.
【 ก้อย ๑ 】แปลว่า: น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะหรือ
โยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือเหรียญกระษาปณ์
ว่าด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยายหมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่า
กิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า
ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง.
【 ก้อย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง;
(ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ
คล้ายพล่า.
【 ก้อร่อก้อติก 】แปลว่า: ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้.
【 กอริลลา 】แปลว่า: น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด /Gorilla gorilla/ ในวงศ์ Pongidae เป็นลิง
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและแข็งแรง
กว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
【 กอล์ฟ 】แปลว่า: น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี
ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่
กําหนด. (อ. golf).
【 กอและ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่าง
ยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้
อย่างสวยงาม.
【 กอและ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก
ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
【 กอเอี๊ยะ 】แปลว่า: น. ขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน. (จ.).
【 กะ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด
เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น
กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
【 กะเกณฑ์ 】แปลว่า: ก. บังคับ, กําหนดเป็นเชิงบังคับ.
【 กะ ๒ 】แปลว่า: ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้า
ผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน.
สัน. ใช้แทนคําว่า กับเช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ.
(เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
【 กะ ๓ 】แปลว่า: น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้าง
สำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ.
【 กะสมอ 】แปลว่า: ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือ
ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.
【 กะ ๔ 】แปลว่า: น. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ
เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน
เรียกว่า กะห่วง.
【 กะ- ๕ 】แปลว่า: พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ
สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็น
พยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคําหน้ามานํา เช่น
นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น
ลูก-กะดุม.ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้,
ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :-กะเกริก, กะเกริ่น.กะง่อนกะแง่น,
กะเง้ากะงอด.กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ,
กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้,
กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋,
กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง,
กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม.กะฉอก,
กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม.กะชดกะช้อย,
กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง.
กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ,
กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ.กะดก, กะด้ง, กะดวง,
กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม,
กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน,
กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก,
กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ,
กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว,
กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได.กะตรกกะตรํา, กะต้อ,
กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ,
กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก,
กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ,
กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก.กะถด, กะถั่ว,
กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน.กะทง, กะทบ, กะทอก,
กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด,
กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง,
กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก.กะนั้น,
กะนี้, กะโน้น, กะไน.กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก,
กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้,
กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา,
กะแบะ.กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด,
กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ,
กะโปก.กะผลีกะผลาม, กะผีก.กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง,
กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ,
กะเพิง, กะเพื่อม.กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย.กะมัง,
กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ.กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง,
กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด.กะรอก, กะเรียน,
กะไร.กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู.กะวาน, กะวิน,
กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน.กะสง,
กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน,
กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ,
กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน,
กะแสง, กะแสะ.กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม,
กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้.กะอ้อกะแอ้,
กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
【 กะกร่อม 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่
จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม,
ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา
ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่
หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
【 กะกร้าว 】แปลว่า: (กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าว
ก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง.
(ม. คําหลวง มหาราช).
【 กะกลิ้ง 】แปลว่า: น. โกฐกะกลิ้ง. /(ดู โกฐกะกลิ้ง ที่ โกฐ)./
【 กะก่อง 】แปลว่า: (กลอน) ว. งดงาม เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณฐกะก่องคือแสงสรวล.
(สมุทรโฆษ).
【 กะกัง 】แปลว่า: น. พี่ชาย. (ช. kakang).
【 กะกึก 】แปลว่า: (กลอน) ว. กึก ๆ เช่น ดังกะกึกกุกกักชักสายพาดขึ้นกับไก.
(ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 กะเกาะ 】แปลว่า: (กลอน) ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคาะพระทวารดังกะเกาะก้องกึก.
(ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 กะโกระ 】แปลว่า: -โกฺระ น. ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยใบเตย
รูปร่างคล้ายครุ.
【 กะง้องกะแง้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ว. คดไปคดมา, งอไปงอมา.
【 กะจัง 】แปลว่า: /ดู กระจัง ๒/.
【 กะแจะ 】แปลว่า: /ดู กระแจะ ๒/.
【 กะชะ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป
สําหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ
เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น;
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.
【 กะชัง 】แปลว่า: (โบ) น. น้ำปัสสาวะแห่งทารก, น้ำคร่ำ, เขียนเป็น กระชัง ก็มี.
(มิวเซียม). /(ดู กระชัง ๓)./
【 กะชามาศ 】แปลว่า: น. ทองที่เกิดในน้ำ. (ปาเลกัว).
【 กะชิง ๑ 】แปลว่า: /ดู กรรชิง/.
【 กะชิง ๒ 】แปลว่า: /ดู กะพ้อ ๒/.
【 กะชึ่กกะชั่ก 】แปลว่า: ว. ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก.
【 กะแช่ 】แปลว่า: น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยัง
มิได้กลั่นเป็นสุรา.
【 กะซวก 】แปลว่า: (ปาก) ก. แทง เช่น กะซวกไส้.
【 กะซ้าหอย 】แปลว่า: /ดู กะส้าหอย/.
【 กะซี่ 】แปลว่า: น. ผลหมากที่แกนไม่มีไส้ขาว, กะซี้ ก็ว่า เช่น กินหมากกะซี้
เป็นหนี้เขาจนตาย.
【 กะโซ่, กะโซ้ ๑ 】แปลว่า: น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะ
คล้ายเขมร. (วิทยาจารย์).
【 กะโซ้ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องวิดน้ำรูปร่างคล้ายเรือครึ่งท่อน, โชงโลง.
【 กะดก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กาบ เช่น กะดกหมาก = กาบหมาก,
ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ดก.
【 กะดง 】แปลว่า: /ดู ชาปีไหน/.
【 กะดวน 】แปลว่า: ก. ตอกลิ่มเข้าไปในไม้. (ปาเลกัว).
【 กะดอก ๆ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เปล่า ๆ, เฉย ๆ.
【 กะดะ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. สอย, กระทุ้ง.
【 กะดังบาย 】แปลว่า: /ดู กะตังใบ/.
【 กะดัด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นราชดัด. /(ดู ราชดัด)./
【 กะด้าง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระด้าง. /[ดู กระด้าง ๑ (๒)]./
【 กะดำกะด่าง 】แปลว่า: ว. ดํา ๆ ด่าง ๆ, สีไม่เสมอกัน.
【 กะดี 】แปลว่า: น. โรงที่ประชุมทําพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็น เช่น
กะดีเจ้าเซ็นแขกเต้น ตีอก. (นิ. ประธม). (เทียบ ฮินดี คัดดี ว่า
พระแท่น).
【 กะดี่ 】แปลว่า: ก. ดีดหรืองัดของหนักขึ้น เช่น กะดี่ซุง กะดี่เสา.
【 กะดุ้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายยอยก,
เรียกเป็นสามัญว่า สะดุ้ง.
【 กะเด้ 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. ประเดี๋ยว เช่น รอกะเด้ = รอประเดี๋ยว, เดี๋ยวนี้
เช่น ไปกะเด้ = ไปเดี๋ยวนี้.
【 กะเดก 】แปลว่า: ว. โยก, โคลง.
【 กะเดี๋ยว 】แปลว่า: (ปาก) ว. ประเดี๋ยว.
【 กะได 】แปลว่า: (โบ) ว. เคย เช่น เดาะกะไดไดเลียม ลอดเคล้น. (นิ. นรินทร์).
【 กะตรุด 】แปลว่า: -ตฺรุด น. ตะกรุด เช่น พระกะตรุดเลศเลขลง เลิศแล้ว.
(พยุหยาตรา), กะตุด ก็ใช้.
【 กะตอก 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระโถน.
【 กะต่อย ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, ลีบ, เช่น สะตอกะต่อย ว่า ลูกสะตอลีบ.
【 กะต่อย ๒ 】แปลว่า: น. พลูป่า เรียกว่า พลูกะต่อย. (ปรัดเล).
【 กะตัก 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล /Encrasicholina/ และ
/Stolephorus/ ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบน
ข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้อง
และครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียง
แถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง
อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด
มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
【 กะตั้ก, กะตั้ก ๆ 】แปลว่า: (ปาก) น. กองใหญ่, จำนวนมากมาย, เช่น เขามีเงินเป็นกะตั้ก ๆ.
【 กะตัง 】แปลว่า: น. การขึ้นเกล็ด.
【 กะตังมูตร 】แปลว่า: [-มูด] น. ปัสสาวะที่ขึ้นเกล็ดที่ผิวหน้า.
【 กะตังกะติ้ว ๑ 】แปลว่า: น. น้ำยางที่ได้จากไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Apocynaceae เช่น
มวก (/Parameria barbata/ Schum.) กะตังกะติ้ว หรือ คุยช้าง
(/Willughbeia edulis/ Roxb.) และ ตังติ้ว (/Urceola esculenta/ Benth.).
【 กะตังกะติ้ว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Willughbeia edulis/ Roxb. ในวงศ์
Apocynaceae มีน้ำยางขาว, คุยช้าง ก็เรียก.
【 กะตังใบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล /Leea/ วงศ์ Leeaceae คือ ชนิด
/L. indica/ (Burm.f.) Merr.ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่
ปลายแหลม ดอกเล็ก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อตามยอด
ผลสีเขียว ใบใช้ทํายาได้, กะดังบาย ก็เรียก; และชนิด /L. rubra/
Blume ex Spreng. ดอกมีก้านช่อ ดอกและผลสีแดง, เขือง ก็เรียก.
【 กะต่า 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ตะกร้า, ตะกร้ามีหูหิ้ว; หูก.
【 กะต๊าก 】แปลว่า: ว. เสียงไก่ตัวเมียร้องเมื่อตกใจหรือออกไข่.
【 กะต้ำ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก
๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อ
ให้ปลาเข้าอยู่, ต้อน ก็ว่า.
【 กะติ๊กริก 】แปลว่า: ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก). ก. จริตจะก้าน, ระริก.
【 กะติงกะแตง 】แปลว่า: ก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ.
(ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.
【 กะตีบ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นมะแฟน. /(ดู มะแฟน)./
【 กะตึงกะแตง 】แปลว่า: ก. กะติงกะแตง.
【 กะตุ๊ก, กะตูก 】แปลว่า: ก. ร้องกระแทกเสียงที่ริมหูคนอื่นว่า ”กะตุ๊ก” จนหูอื้อ เป็นการ
ล้อกันเล่น เรียกว่า กะตูกที่หู.
【 กะตุด 】แปลว่า: (ปาก) น. ตะกรุด, บางทีเรียก กะตรุด ก็มี.
【 กะตุมู 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นขมิ้นอ้อย. /(ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น)./
【 กะเตก 】แปลว่า: ก. ไสช้างให้เดิน, มักพูดสั้น ๆ ว่า เตก.
【 กะเตง 】แปลว่า: ก. พาหรือเอาไปด้วย เช่น จะกะเตงกระเป๋าไปให้เกะกะทำไม
กะเตงลูกไปตามหาพ่อ.
【 กะเตง ๆ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง
เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่
ไปอย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.
【 กะเตงเรง 】แปลว่า: ว. กะเตง ๆ.
【 กะแตว 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ไปรบกวนบ่อย ๆ, หย่อย ๆ, เซ้าซี้.
【 กะแต่ว 】แปลว่า: ว. แสดงลักษณะของการร้องหรือการทวงสิ่งของบ่อย ๆ ว่า
ร้องกะแต่ว ๆ.
【 กะโต๊ก 】แปลว่า: ว. เสียงไก่ตัวผู้ร้อง.
【 กะโตงกะเตง 】แปลว่า: ว. โตง ๆ เตง ๆ, ติดอยู่รุงรัง, พัวพัน.
【 กะโต้งโห่ง 】แปลว่า: ว. เสียงนกยูงร้อง.
【 กะถัว 】แปลว่า: น. นกกระตั้ว. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กะทกรก 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Olax scandens/ Roxb. ในวงศ์
Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว
อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็น
สมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, น้ำใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดร
เรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด /Passiflora foetida/ L. ในวงศ์
Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม
เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนํามาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ
เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.
【 กะทอ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่งอย่างชะลอม รูปร่างเป็นกระบอก
สําหรับใส่เสื้อผ้าและของอื่น ๆ ใช้กันมากในภาคอีสาน.
【 กะทัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Litsea monopetala/ (Roxb.)
Pers. ในวงศ์ Lauraceae มีมากทางปักษ์ใต้ ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นฉุนคล้าย
การบูร ไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนได้.
【 กะทังหัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Calophyllum thorelii/ Pierre
ในวงศ์ Guttiferae ดอกสีขาว ผลเล็ก รูปไข่ เนื้อไม้ใช้ทําพื้น ฝา เสาบ้าน
และเสากระโดงเรือได้.
【 กะทัดรัด 】แปลว่า: ว. สมทรง, สมส่วน, เหมาะเจาะ.
【 กะทัน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. /(ดู พุทรา)./
【 กะทันหัน 】แปลว่า: ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
【 กะทับ 】แปลว่า: น. นกตะขาบ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กะทำ 】แปลว่า: (โบ) ก. กระทํา, ทํา.
【 กะทิ ๑ 】แปลว่า: น. น้ำที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือน้ำบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นจาก
เนื้อมะพร้าวขูดล้วน ๆ เรียกว่า หัวกะทิ, ของหวานทําด้วยน้ำตาล
กวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้น้ำตาลมากกว่า เรียกว่า
น้ำตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีน้ำข้น เนื้ออ่อนกล้ามหนา เรียกว่า
มะพร้าวกะทิ. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ
เรียกว่า หัวกะทิ.
【 กะทิ ๒ 】แปลว่า: /ดู กระติ๊ด ๑/.
【 กะทิขูด 】แปลว่า: /ดู สีกรุด/.
【 กะทือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Zingiber zerumbet/ (L.) Smith ในวงศ์
Zingiberaceae ดอกสีเหลือง ผลกลมสีแดง เหง้าสีเหลืองอ่อน
กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ เมื่ออ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่อดอกอ่อนใช้เป็นผัก.
【 กะทุน 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกแมลงปอ แมลงปอเข็ม และแมลงช้างตัวเต็มวัยซึ่งมี
ลักษณะคล้ายแมลงปอ แต่มีหนวดยาว, ในบางจังหวัดเช่น นครปฐม
ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ เรียก
กระทุน กระชุน หรือ ปะทุน.
【 กะเทย 】แปลว่า: น. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการ
ตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลําไยกะเทย.
(อะหม ว่า เทย).
【 กะเทยนางหมั่น 】แปลว่า: น. ชื่อลิ้นจี่พันธุ์หนึ่งที่เคยปลูกในกรุงเทพมหานคร.
【 กะเทาะ 】แปลว่า: ก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทําให้ล่อนหลุดออก
เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมา
จากพื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.
【 กะแท้ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกมวนขนาดเล็ก ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่าง
คล้ายโล่ สีน้ำตาลแก่อมดําหรือสีเกือบดํา เมื่อจับต้องตัวจะปล่อย
กลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน มีหลายชนิด
ที่พบกันแพร่หลาย ได้แก่ ชนิด /Geotomus pygmaeus/ ในวงศ์
Podopidae.
【 กะแท่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล /Amorphophallus/ วงศ์ Araceae ต้นเล็ก
ราวเท่านิ้วมือ เวลาออกดอกไม่มีใบ ก้านช่อดอกอ่อน ๆ ใช้แกงได้,
พายัพเรียก ดอกก้าน.
【 กะแทน 】แปลว่า: /ดู มะแฟน/.
【 กะนวล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Garcinia merguensis/ Wight
ในวงศ์ Guttiferae มียางสีเหลืองจาง ๆ.
【 กะนัด 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ไม้แบน ๒ อันนอกตะกอสําหรับขัดเส้นด้าย
เพื่อกันด้ายยุ่ง.
【 กะบอนกะบึง 】แปลว่า: (กลอน) ก. โกรธอย่างแสนงอน, โดยมากใช้ กะบึงกะบอน.
ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยาบ่น) เช่น คอยสะบัด
ปัดกรกะบอนกะบึง. (อิเหนา), โดยมากใช้ กะบึงกะบอน.
【 กะบ่อนกะแบ่น 】แปลว่า: ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่เสมอทั่วกัน, ไม่เรียบเสมอกัน, เช่น
ตัดผมกะบ่อนกะแบ่น ทาสีกะบ่อนกะแบ่น.
【 กะบัง ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องบัง เช่น กะบังหมวก, เครื่องกั้น, เครื่องรับ, เช่น กะบังหอก.
【 กะบังลม 】แปลว่า: น. แผ่นกั้นประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อพังผืดแยกช่องท้อง
ออกจากช่องอก มีอาการยืดและหดได้เพื่อช่วยในการหายใจ.
【 กะบังหน้า 】แปลว่า: น. กรอบหน้าเป็นเครื่องประดับ.
【 กะบัง ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย
และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง
อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น
ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย
ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
【 กะบัง ๓ 】แปลว่า: น. ดอกไม้.
【 กะบัง ๔ 】แปลว่า: น. ดินขาว.
【 กะบั้ง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. บ้องไม้ไผ่.
【 กะบังรังเฝือก 】แปลว่า: /ดู กะบัง ๒/.
【 กะบิ้ง 】แปลว่า: น. ของที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ, ลักษณนามบอกสัณฐาน
สําหรับที่ดินน้อย ๆ แปลงหนึ่ง ๆ ว่า กะบิ้งหนึ่ง ๆ.
【 กะบิล 】แปลว่า: น. ระเบียบ, หมู่. /(ดู กบิล ๒)./
【 กะบึงกะบอน 】แปลว่า: ก. โกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. ว. ไม่รู้จักจบ,
เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยาบ่น), กะบอนกะบึง ก็ว่า.
【 กะบุด 】แปลว่า: /ดู กัง/.
【 กะเบ้อ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางวัน. /(ดู ผีเสื้อ ๑)./
【 กะเบียน 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ถาดไม้ใช้เป็นสํารับ, กระบะ.
【 กะเบือ 】แปลว่า: น. เรียกครกดินหรือสากที่ตําข้าวเบือว่า ครกกะเบือ สากกะเบือ.
(เพี้ยนมาจาก ข้าวเบือ).
【 กะปริดกะปรอย 】แปลว่า: [-ปฺริด-ปฺรอย] ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง
ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่าเป็นสัน, กะปริบกะปรอย ก็ว่า.
【 กะปริบ 】แปลว่า: [-ปฺริบ] ก. กะพริบ, มักใช้ซ้ำคําว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า
กะพริบถี่ ๆ เช่น ทําตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.
【 กะปริบกะปรอย 】แปลว่า: [-ปฺริบ-ปฺรอย] ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง
ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่ำเป็นสัน, กะปริดกะปรอย
ก็ว่า.
【 กะปลกกะเปลี้ย 】แปลว่า: [-ปฺลก-เปฺลี้ย] ว. อ่อนเพลีย, อ่อนเปลี้ย, ไม่แข็งแรง.
【 กะปวกกะเปียก 】แปลว่า: ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจทรงตัวได้ตามลําพัง, ปวกเปียก ก็ว่า.
【 กะปอม 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. กิ้งก่า. /(ดู กิ้งก่า)./
【 กะปอมขาง 】แปลว่า: /ดู ปอมข่าง/.
【 กะปะ 】แปลว่า: น. ชื่องูพิษชนิด /Calloselasma rhodostoma/ ในวงศ์ Viperidae
ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลาย
รูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน
ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก,
ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.
【 กะปั่น 】แปลว่า: (โบ) น. กําปั่น. (ตํานานอักษรไทย ของเซเดส์).
【 กะป้ำกะเป๋อ 】แปลว่า: ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
【 กะปิ 】แปลว่า: น. ของเค็มทําด้วยเคยกับเกลือโขลกและหมักไว้ใช้ปรุงอาหาร,
เยื่อเคย ก็ว่า. (พม่า ว่า งาปิ).
【 กะปู 】แปลว่า: (ปาก) น. ตะปู.
【 กะปูด 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Centropodidae ขนปีกสีน้ำตาลแดง ลําตัวสีดํา
ร้องเสียง ”ปูด ๆ” เดินหรือวิ่งหากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะ
ทางสั้น ๆ มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ (/Centropus sinensis/) กะปูดเล็ก
(/C. bengalensis/) และกะปูดนิ้วสั้น (/C. rectunguis/), ปูด ก็เรียก,
พายัพเรียก ก้นปูด.
【 กะปูดหลูด 】แปลว่า: ก. บวมไปทั้งตัว. (ปาเลกัว).
【 กะเปะ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับตักน้ำขึ้นมาจากบ่อ.
【 กะเปิ๊บกะป๊าบ 】แปลว่า: (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง,
มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
【 กะเปียด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Premna tomentosa/ Willd.
ในวงศ์ Labiatae ลักษณะคล้ายต้นสัก แต่ใบเล็กกว่า รูปไข่หรือรี
ปลายแหลมก้านยาว เนื้อไม้ละเอียด ใช้ทําประโยชน์ได้, พายัพเรียก
สักขี้ไก่.
【 กะแป้น 】แปลว่า: น. เรือหางแมงป่องขนาดเล็ก มีใช้มากตามลําน้ำปิง.
【 กะแปะ 】แปลว่า: น. เงินปลีกโบราณ เช่น กะแปะทองแดง กะแปะดีบุก, อีแปะ ก็เรียก.
【 กะโปรง 】แปลว่า: [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือ
ฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง
ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้าย
กระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะ
เย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้สำหรับใส่ของต่าง ๆ; กระโปรง ก็ใช้.
【 กะโปโล 】แปลว่า: ว. ไม่ได้เรื่องราว; มอมแมม เช่น เด็กกะโปโล.
【 กะผลุบกะโผล่ 】แปลว่า: [-ผฺลุบ-โผฺล่] ว. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ.
【 กะเผ่น 】แปลว่า: (กลอน) ว. เผ่น, ลอย, เช่น ชมบรรพตเสลาสูงกะเผ่น. (พงศ. เหนือ).
【 กะเผลก 】แปลว่า: [-เผฺลก] ก. อาการเดินไม่ปรกติ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง.
【 กะโผลกกะเผลก 】แปลว่า: [-โผฺลก-เผฺลก] ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับ
กับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความ
ลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก
ก็ว่า.
【 กะพง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย
หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น
กะพงแดง (/Lutjanus malabaricus/) ในวงศ์ Lutjanidae,
กะพงขาว (/Lates calcarifer/) ในวงศ์ Centropomidae,
กะพงลาย (/Datnioides quadrifasciatus/) ในวงศ์ Lobotidae.
【 กะพง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Musculista senhousia/ ในวงศ์ Mytilidae
เปลือกบางยาวรีสีเขียว มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล อาศัยอยู่ตามพื้น
ท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่
เป็นแผ่นใหญ่.
【 กะพง ๓ 】แปลว่า: /ดู สมพง/.
【 กะพรวดกะพราด 】แปลว่า: [-พฺรวด-พฺราด] ว. พรวด ๆ พราด ๆ, ลุกลน, ลนลาน.
【 กะพร่องกะแพร่ง 】แปลว่า: [-พฺร่อง-แพฺร่ง] ว. ขาด ๆ วิ่น ๆ, มีบ้างขาดบ้าง, ไม่สม่ำเสมอ;
ไม่เต็มที่, ไม่ครบถ้วน, ไม่พอเพียง, (ตามที่คาดหมายไว้).
【 กะพริบ 】แปลว่า: [-พฺริบ] ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
【 กะพรุน 】แปลว่า: [-พฺรุน] น. แมงกะพรุน.
【 กะพรูดกะพราด 】แปลว่า: [-พฺรูด-พฺราด] ว. มีเสียงดังพรูดพราด.
【 กะพล้อ, กะพ้อ ๑ 】แปลว่า: น. กระบอกตักน้ำ ปากแฉลบอย่างปากพวยกา.
【 กะพ้อ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล /Licuala/ วงศ์ Palmae มีหลายชนิด
เช่น ชนิด /L. spinosa/ Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล
หรือในที่ซึ่งน้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว
ขอบก้านมีหนาม, ชนิด /L. peltata/ Roxb. ขึ้นตามป่า
ดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำ
อยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุง
หลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก
ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม
กฤษณา. (โลกนิติ).
【 กะพ้อ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กะพอง 】แปลว่า: น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง ตระพอง
หรือ ตะพอง ก็ว่า.
【 กะเพรา 】แปลว่า: [-เพฺรา] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Ocimum tenuiflorum/ L. ในวงศ์
Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียว
อมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กอมก้อ.
【 กะเพียด, กะเพียดช้าง, กะเพียดหนู 】แปลว่า: /ดู หนอนตายหยาก (๑)/.
【 กะมง, กะม่ง 】แปลว่า: /ดู ม่ง ๑/.
【 กะเม็ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด /Eclipta prostrata/ L. ในวงศ์
Compositae ขึ้นอยู่ทั่วไป ลําต้นสีม่วงคล้ำ ใบเขียวมีขนคาย
ดอกสีขาว ใช้ทํายาได้, กะเม็งตัวเมีย หรือ คัดเม็ง ก็เรียก.
【 กะเม็งตัวผู้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Wedelia chinensis/ (Osbeck) Merr.
ในวงศ์ Compositae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ทอดลําต้นและ
ออกรากตอนโคน ใบคาย ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
【 กะเมีย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Uncaria gambier/ Roxb. ในวงศ์
Rubiaceae ใบและกิ่งหมักแล้วนําไปสกัดได้สารที่เรียกว่า
สีเสียด ใช้ทํายาได้.
【 กะยุ 】แปลว่า: (โบ) ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา. (เสือโค),
กะยุบาทเบื้องปลายตีน. (พิชัยสงคราม).
【 กะร่องกะแร่ง 】แปลว่า: ว. ร่องแร่ง, ติดห้อยอยู่นิด ๆ หน่อย ๆ, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน,
ไม่สมบูรณ์.
【 กะระตะ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ขับม้าให้วิ่ง เช่น กะระตะอาชาชิงชัย. (อิเหนา).
(ช. g้rtak).
【 กะระหนะ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยของเก่า เป็นเพลงเครื่องสายประสมปี่พาทย์
ทําตอนชมสวนหรือเล่นสนุก เช่น ในเรื่องอิเหนาตอนอุณากรรณ
เล่นมโหรีกับพวกในสวนดอกไม้เมืองกาหลัง.
【 กะรัง ๑ 】แปลว่า: น. ปะการัง. /(ดู ปะการัง)./
【 กะรัง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล
/Epinephelus, Cephalopholis/ และ /Plectopomus/ วงศ์
Serranidae รูปร่างยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว
และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหิน
ใกล้ฝั่งหรือเกาะ.
【 กะรัต 】แปลว่า: [-หฺรัด] น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม
หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน, ปริมาณทองคําแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดย
กําหนดทองคําและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคํา
๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคํา ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วน
เป็นธาตุอื่นประสม. (อ. carat).
【 กะรัตหลวง 】แปลว่า: น. มาตราน้ำหนักตามวิธีประเพณี ใช้สําหรับชั่งเพชรพลอยเท่านั้น
เป็นเมตริกกะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม, อักษรย่อว่า กต.
【 กะราง, กะลาง 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวขนาดนกเอี้ยง หากินเป็นฝูงตาม
พื้นดิน มีหลายชนิด เช่น กะรางหัวหงอก (/Garrulax leucolophus/)
กะรางคอดํา (/G. chinensis/). (ในรําพันนามพฤกษา ฯลฯ ว่ากะราง,
ในพระลอ ว่า กะลาง).
【 กะรางหัวขวาน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Upupa epops/ ในวงศ์ Upupidae ปากยาวแหลม
โค้งสีดํา หงอนสีส้มขอบดํา ลักษณะหงอนเหมือนหมวกของ
อินเดียนแดง ขนตามลําตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดําขาวสลับกัน,
การางหัวขวาน ก็เรียก.
【 กะริง 】แปลว่า: น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดด เช่นเนื้อและกวาง.
(ประพาสมลายู), กระหริ่ง ก็ใช้.
【 กะริงกะเรียด 】แปลว่า: (โบ) ว. คําพ้อชนิดหนึ่งว่าทําเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทํา
ก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทํากะริงกะเรียด
ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
【 กะรุงกะรัง 】แปลว่า: ว. อาการที่ห้อยหรือแขวนเครื่องประดับเป็นต้น จนดูรุงรัง.
【 กะรุ่งกะริ่ง 】แปลว่า: ว. ขาดออกเป็นริ้ว ๆ, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย.
【 กะรุน 】แปลว่า: น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมี
สิ่งอื่นผสมอยู่ทําให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้า
เป็นสีน้ำเงิน เรียกว่า พลอยสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่อง
หรือ เขียวมรกต, อินเดีย เรียก คอรุน.
(อ. corundum).
【 กะเร 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นต้นตายใบเป็น. /(ดู ต้นตายใบเป็น)./
【 กะเรกะร่อน 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล /Cymbidium/ วงศ์ Orchidaceae
อิงอาศัยตามต้นไม้ ใบเขียวหนา ยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร
เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว (/C. bicolor/ Lindl.) ดอกสีขาว กะเรกะร่อน
ปากเป็ด (/C. finlaysonianum/ Lindl.) ดอกสีเหลือง ปากสีแดงคล้ำ.
【 กะเร่กะร่อน 】แปลว่า: ก. เร่ร่อนเรื่อยไป, ไม่อยู่ประจําที่.
【 กะเร่อ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เซ่อ, เซอะ.
【 กะเร่อกะร่า 】แปลว่า: อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่า
ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนน
เลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่น
การพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทาง
กะเร่อกะร่าอย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
【 กะเรี่ยกะราด 】แปลว่า: ว. เรี่ยราย, กระจัดกระจาย, หกเรี่ยราด; วางหน้าไม่สนิท.
【 กะโรกะเร 】แปลว่า: ก. ง่อนแง่น, จวนจะล้ม. (ปาเลกัว).
【 กะลวย 】แปลว่า: น. เรียกขนหางไก่ตัวผู้ที่ยื่นยาวกว่าเส้นอื่นว่า หางกะลวย.
【 กะลอ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล /Macaranga/
วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้
โคนใบ เช่น ชนิด /M. tanarius/ Muell. Arg.
【 กะล่อกะแล่ 】แปลว่า: ว. ทีเล่นทีจริง. (ปาเลกัว).
【 กะลอจี๊ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวทอดไฟอ่อน ๆ
เวลากินคลุกงาผสมน้ำตาลทรายขาว.
【 กะล่อน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงชนิด /Mangifera caloneura/ Kurz ในวงศ์
Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่น
หอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
【 กะล่อน ๒ 】แปลว่า: ว. พูดคล่อง แต่ไม่จริงเป็นส่วนมาก.
【 กะล่อมกะแล่ม 】แปลว่า: ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอ
ให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
【 กะล่อยกะหลิบ 】แปลว่า: ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู; ดูเหมือน
เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง, ดูเหมือนไม่นาน, เช่น ดูกะล่อยกะหลิบเมื่อไม่นาน
มานี่เอง ล่วงเข้ามาหลายเดือนแล้ว.
【 กะละปังหา 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่าง
ทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งหุ้มลําตัว
มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่มโครงซากทับถม
กันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมี
ขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนํามาทําเป็นลูกปัดเครื่องประดับ
พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้มม่วง พวกที่
อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดํา, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู
kalam pangha).
【 กะละมัง 】แปลว่า: น. เรียกชามที่ทําด้วยโลหะเคลือบว่า ชามกะละมัง.
【 กะละแม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียว กะทิ และ น้ำตาล
กวนจนเหนียวเป็นสีดํา.
【 กะละออม 】แปลว่า: น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้
ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. (ทมิฬ กะละยัม
แผลงมาจาก ส. กลศ).
【 กะลังตังไก่ 】แปลว่า: /ดู ตําแย ๑/.
【 กะลัน 】แปลว่า: น. ลัน, เครื่องดักปลาไหล ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่ มีงาแซง.
【 กะลันทา 】แปลว่า: /ดู คนทา/.
【 กะลา ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลา
ตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบ
หนาว่า ชามกะลา; = ”เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรง
กะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา
หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น
ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
【 กะลาซอ 】แปลว่า: (ปาก) ว. คล้ายกะลาที่ทําซอ, เรียกผมที่ตัดแล้วเป็นรูปอย่างนั้น.
【 กะลา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Etlingera elatior/ (Jack) R.M. Smith ในวงศ์
Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูม
แต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน
ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อน
ใช้เป็นอาหาร, กาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ปุดกะลา.
【 กะลาสี 】แปลว่า: น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือ
ปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ
จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
【 กะลำพอ 】แปลว่า: น. ต้นหลุมพอ เช่น โพกพายโพกะลําพอ. (ประชุมเชิญขวัญ).
/(ดู หลุมพอ)./
【 กะลิง 】แปลว่า: น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด /Psittacula finschii/ ในวงศ์
Psittacidae หัวสีเทา ตัวสีเขียวปากแดง หางยาว.
【 กะลิงปลิง 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กะลิ้มกะเหลี่ย 】แปลว่า: ว. แสดงอาการให้รู้ว่าอยากได้.
【 กะลิอ่อง 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กล้วยน้ำว้า. /(ดู น้าว้า)./
【 กะลุมพี 】แปลว่า: น. ชื่อปาล์มชนิด /Eleiodoxa conferta/ (Griff.) Burr. ในวงศ์
Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็น
ช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มี
หนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้น
เหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก
หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).
【 กะเล็ง 】แปลว่า: น. แขกกลิงค์.
【 กะเล่อกะล่า 】แปลว่า: ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่า
ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนน
เลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่น
การพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทาง
กะเล่อกะล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
【 กะเลิด 】แปลว่า: น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน
สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, เลื่อน ก็เรียก.
【 กะเลียว 】แปลว่า: น. สีของม้าชนิดหนึ่ง ลักษณะเขียวอมดํา, เรียกม้าที่มีสีเช่นนั้น
ว่า ม้ากะเลียว หรือ ม้าสีกะเลียว.
【 กะแล ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน
ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลัก
ลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียกว่า แกแล.
【 กะแล ๒ 】แปลว่า: /ดู แกแล ๒/.
【 กะโล่ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของ
มีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด
แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาด
ใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจ
มากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม
มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้ว
หุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่.
(รูปภาพ กะโล่)
【 กะโล่ยาชัน 】แปลว่า: น. อาการที่หน้าบานเพราะถูกใจหรือบวมมากเพราะถูกตบ
เป็นต้น เรียกว่า หน้าบานเป็นกะโล่ยาชัน หรือ หน้าบวมเป็น
กะโล่ยาชัน.
【 กะโลง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ลังไม้ฉําฉา, หีบไม้; (ถิ่น-พายัพ) โคลง.
【 กะวอกกะแวก 】แปลว่า: ว. อาการหลุกหลิกอย่างลิง.
【 กะวะ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง สําหรับรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่ง
แม่น้ำ ลําคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างตา
ละเอียดแขวนอยู่ ใช้ไสตามริมฝั่งเพื่อจับกุ้งเล็ก ๆ หรือเคย.
【 กะวะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกเงือกชนิด /Buceros bicornis/ ในวงศ์ Bucerotidae
โคนปากด้านบนมีลักษณะโหนกคล้ายกล่องขนาดใหญ่ คอ
สีขาว ปีกสีดําพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางสีขาวพาดดํา,
กก หรือ กาฮัง ก็เรียก.
【 กะส้มชื่น 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นว่านน้ำ. /(ดู ว่านน้ำที่ ว่าน)./
【 กะสัง 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะสัง. /(ดู มะสัง)./
【 กะส้าหอย 】แปลว่า: น. เปลือกซากหอยต่าง ๆ ที่ทับถมกันอยู่ ใช้ทําปูนขาวที่เรียกว่า
ปูนหอย. (ไกลบ้าน), กะซ้าหอย ก็ว่า.
【 กะหนอกะแหน 】แปลว่า: [-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.
【 กะหน็องกะแหน็ง 】แปลว่า: ว. แปร่ง, ไม่ชัด, ฟังไม่ออก, (ใช้แก่การพูด), หน็องแหน็ง หรือ
อีหน็องอีแหน็ง ก็ว่า.
【 กะหนะ 】แปลว่า: น. ทางของต้นจากที่ใช้กรุฝา.
【 กะหนุงกะหนิง 】แปลว่า: ว. เสียงพูดจู๋จี๋ระหว่างคู่รักเป็นต้น.
【 กะหมอก 】แปลว่า: [-หฺมอก] น. ไฟ. (ดิกชนารีไทย).
【 กะหร่อง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ผอมเกร็ง.
【 กะหรอด 】แปลว่า: [-หฺรอด] น. นกกรอด. /(ดู ปรอด)./
【 กะหร็อมกะแหร็ม 】แปลว่า: ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ผมขึ้น
กะหร็อมกะแหร็ม, หร็อมเเหร็ม หรือหย็อมเเหย็ม ก็ว่า.
【 กะหราน 】แปลว่า: (ปาก) ว. อร่าม, ใช้ประกอบกับแดงหรือเหลือง เช่น แดงกะหราน
เหลืองกะหราน.
【 กะหรี่ 】แปลว่า: น. แกงชนิดหนึ่ง สีเหลือง ปรุงด้วยเครื่องแกงกะหรี่; เรียกเครื่อง
แกงกะหรี่ซึ่งประกอบด้วยขมิ้นและเครื่องเทศอื่น ๆ บดเป็นผงว่า
ผงกะหรี่. (มลายู มาจากทมิฬว่า ผัด; อ. curry).
【 กะหรี่ปั๊บ 】แปลว่า: น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีห่อไส้ผสมผงกะหรี่ แล้วจับจีบ
คล้ายหอยแครง ทอดน้ำมัน.
【 กะหลาป๋า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย,
ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่
อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ
มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป
ว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ
ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี
๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
【 กะหลาป๋า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด /Syzygium samalangense/ (Blume)
Merr. et L.M. Perry ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า
เป็นพรรณไม้ชวา.
【 กะหล่ำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Brassica oleracea/ L. ในวงศ์ Cruciferae
มีหลายพันธุ์ เช่น กะหล่าปลี หรือ กะหล่าใบ (/B. oleracea/ L. var.
/capitata/ L.) กะหล่าดอก หรือ กะหล่าต้น (/B. oleracea/ L. var.
/botrytis/ L.) กะหล่าดาว หรือ กะหล่าหัวลําต้น[/B. oleracea/ L. var.
/gemmifera/ (DC.) Thell.] และ กะหล่าปม (/B. oleracea/ L. var.
/gongylodes/ L.).
【 กะหลีกะหลอ 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
【 กะหลี่กัญชา 】แปลว่า: น. ใบและช่อดอกเพศเมียของกัญชาที่แห้ง ใช้สูบปนกับยาสูบ.
【 กะหลุกกะหลิก 】แปลว่า: ก. หลุก ๆ หลิก ๆ.
【 กะหำ 】แปลว่า: น. ไข่หํา, ลูกอัณฑะ.
【 กะหำแพะ 】แปลว่า: น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด /Solanum melongena/ L.
【 กะหือ 】แปลว่า: ว. เสียงครวญคราง.
【 กะหูด 】แปลว่า: (ถิ่น) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี
รูปร่างคล้ายกรวย ทําด้วยไม้ไผ่.
【 กะเหรี่ยง 】แปลว่า: น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตก
ของประเทศไทย, โซ่ ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี.
【 กะเหลาะเปาะ 】แปลว่า: ว. กลมน่าดู, ตะเหลาะเปาะ ก็ว่า.
【 กะแหยก 】แปลว่า: [-แหฺยก] /ดู แสยก ๒/.
【 กะแหะ 】แปลว่า: ก. แหะ ๆ.
【 กะโหลก 】แปลว่า: [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า
กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลกมะพร้าว
โดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่หุ้ม
มันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น
เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่
ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
【 กะโหล้ง 】แปลว่า: -โล่ง น. กะโหลก.
【 กะไหล่ 】แปลว่า: น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้
ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบนโลหะ
ที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่
ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทองด้วย
กรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง.
(เทียบทมิฬ กะลายิ).
【 กะอวม 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Acronychia pedunculata/
(L.) Miq. ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก สีเขียวอ่อนหรือสีนวล กินได้,
เปล้าขลิบทอง ไพรสามกอ มะงัน หรือ กระเบื้องถ้วย ก็เรียก.
【 กะออม 】แปลว่า: น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ,
กระออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
【 กะอาน 】แปลว่า: /ดู กระอาน/.
【 กะอาม 】แปลว่า: น. กะอวม เช่น กะอามลั่นทมชวน ใจรื่น รมย์นา. (พงศ. เหนือ).
【 กะอิด 】แปลว่า: /ดู ไก่ไห้ (๑)/.
【 กะอูบ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะใส่ใน
กระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
【 กะเอว 】แปลว่า: น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม
เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
【 กะแอ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องบังแดดมีคันปักดิน หมุนได้ตามต้องการ.
【 กะแอ ๒ 】แปลว่า: ว. อ่อน, เล็ก, เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า
ลูกกะแอ, ลูกแหง่ ก็ว่า.
【 กะแอน 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระชาย. /(ดู กระชาย)./
【 กัก 】แปลว่า: ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว,
กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักน้ำ. ว. หยุดชะงัก
เช่น หยุดกัก.
【 กักกัน 】แปลว่า: ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อความปลอดภัย
อย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทําความผิดติดนิสัย
ไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย
และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
【 กักขัง 】แปลว่า: ก. บังคับให้อยู่ในสถานที่อันจํากัด, เก็บตัวไว้ในสถานที่อันจํากัด.
(กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษไว้ใน
สถานที่ซึ่งกําหนดไว้อันมิใช่เรือนจํา.
【 กักคุม 】แปลว่า: ก. บังคับให้อยู่ในอารักขา.
【 กักด่าน 】แปลว่า: ก. กักกุมไว้เพื่อตรวจตรา เช่นตรวจโรคติดต่อ.
【 กักตัว 】แปลว่า: ก. ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป.
【 กักตุน 】แปลว่า: ก. เก็บสินค้าไว้เป็นจํานวนมากเพื่อเก็งกําไร, ตุน ก็ว่า. (กฎ)
น. มีโภคภัณฑ์ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จําเป็นสําหรับ
ใช้จ่ายส่วนตัว และไม่นําออกจําหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ.
【 กักบริเวณ 】แปลว่า: ก. บังคับให้อยู่ในบริเวณที่กําหนดไว้.
【 กั๊ก 】แปลว่า: น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน
๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของ
น้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้น
เสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด
ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง
ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒
ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒
ประตูที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
【 กักกรา 】แปลว่า: [-กฺรา] น. โกฐกักกรา. /(ดู โกฐกักกรา ที่ โกฐ)./
【 กักการุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน
อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก. (สมุทรโฆษ). (ป.).
【 กักขฬะ 】แปลว่า: [กักขะหฺละ] ว. หยาบคายมาก. (ป.; ส. กกฺขฏ).
【 กัง 】แปลว่า: น. ชื่อลิงชนิด /Macaca nemestrina/ ในวงศ์ Cercopithecidae
ขนสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นงอโค้งขึ้นไปทางด้านหลัง ทาง
ปักษ์ใต้ใช้เก็บมะพร้าว, กะบุด ก็เรียก.
【 กั้ง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ
Stomatopoda มีหลายวงศ์ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Squillidae
หายใจด้วยเหงือก ลําตัวแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือก
ที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๕ แต่ไม่ถึงปล้องที่
๘ กรีมีลักษณะแบนราบ มี ๖ ขา, กั้งตั๊กแตน ก็เรียก.
【 กั้ง ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กั้น.
【 กั้ง ๓ 】แปลว่า: (โบ) น. กะเหรี่ยง. (อนันตวิภาค).
【 กั้งกระดาน 】แปลว่า: /ดู กระดาน ๒/.
【 กังกะ 】แปลว่า: (แบบ) น. เหยี่ยว เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา
บินมาวว่อนร่อน ก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
【 กังก้า 】แปลว่า: ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก
ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
【 กังเกียง 】แปลว่า: /ดู กางเกียง/.
【 กังขา 】แปลว่า: น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป.).
【 กังฉิน 】แปลว่า: ว. คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (จ. กังฉิน ว่า อำมาตย์ทุจริต, อำมาตย์ทรยศ).
【 กั้งตั๊กแตน 】แปลว่า: /ดู กั้ง ๑/.
【 กังฟู 】แปลว่า: น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไปในทาง
ฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.
【 กังวล 】แปลว่า: ก. ห่วงใย, มีใจพะวงอยู่. (ข.).
【 กังวาน 】แปลว่า: ว. ก้องอยู่ได้นาน เช่น เสียงระฆังกังวาน,
มีกระแสเสียงก้องและแจ่มใส.
【 กังเวียน 】แปลว่า: น. ขอบผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้.
(ตําราช้างคําโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑).
【 กังสดาล 】แปลว่า: [-สะดาน] น. ระฆังวงเดือน เช่น แว่วสําเนียงเสียงระฆังกังสดาล.
(อิเหนา).
【 กังสะ 】แปลว่า: (แบบ) น. สัมฤทธิ์ เช่น ดั่งดามพะกังสกล่อมเกลา. (สมุทรโฆษ). (ป.).
【 กังไส 】แปลว่า: น. เครื่องถ้วยปั้นที่ทํามาจากแคว้นเกียงสีในประเทศจีน.
【 กังหัน 】แปลว่า: น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า,
โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้
เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ,
กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่อง
หมุนด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่าง
กังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนาม
ว่าต้น.(ข. กงฺหาร).
【 กังหันใบพัด 】แปลว่า: น. เครื่องยนต์ซึ่งใช้กังหันขับใบพัด.
【 กังหันไอพ่น 】แปลว่า: น. เครื่องยนต์ซึ่งใช้กังหันขับเครื่องอัดอากาศ, เครื่องยนต์ไอพ่น
ก็ว่า.
【 กัจฉปะ 】แปลว่า: กัดฉะปะ น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์.
(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
【 กัตติเกยา 】แปลว่า: น. การตามเพลิงในพิธีพราหมณ์.
【 กัตรทัณฑ์ 】แปลว่า: กัดตฺระ- น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์.
(ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า;
ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).
【 กัตรา 】แปลว่า: [กัดตฺรา] น. เรือผีหลอก.
【 กัทลี 】แปลว่า: กัดทะลี น. กล้วย เช่น คิดพ่างผลกัทลี ฆ่ากล้วย. (โลกนิติ).
(ป., ส. กทลี).
【 กัน ๑ 】แปลว่า: (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย
ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
【 กันและกัน 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทําร่วมกันหรือต่อกัน
โดยมีบุรพบทประกอบหน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์
ของกันและกัน.
【 กัน ๒ 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
แสดงการกระทําร่วมกัน อย่างเดียวกันหรือต่อกัน เช่น
คิดกัน หารือกัน.
【 กันเขากันเรา 】แปลว่า: (ปาก) ว. พวกเขาพวกเรา.
【 กันเอง 】แปลว่า: ว. เป็นพวกเดียวกัน, สนิทสนมกัน, เช่น ราคากันเอง.
【 กัน ๓ 】แปลว่า: ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น
กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อ
จ่ายในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง
มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนด
ให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มี
หลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง
และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ
ว่า เรือกัน.
【 กันกง 】แปลว่า: ก. ล้อมวง, กันรอบ.
【 กันชน 】แปลว่า: น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์,
เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาท
กันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
【 กันชีพ 】แปลว่า: น. สายห้อยใช้สะพายเฉวียงบ่า ๒ ข้าง หรือข้างเดียว.
【 กันแซง ๑ 】แปลว่า: น. กองทําหน้าที่แซงในพยุหยาตรา, คู่กันกับ กันแทรก คือ
กองทําหน้าที่แทรกทั้งนี้เพื่อป้องกันจอมทัพ.
【 กันแดด 】แปลว่า: น. ชื่อหมวกชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วย
ไม้ก๊อกหรือไม้ฉำฉาหรือไม้โสน หุ้มด้วยผ้า, หมวกกะโล่ ก็เรียก.
ว. ที่ลดความเข้มของแสง เช่น แว่นกันแดด หมวกกันแดด.
【 กันตัว 】แปลว่า: ก. ป้องกันตัว, รักษาตัว.
【 กันท่า 】แปลว่า: (ปาก) ก. แสดงกิริยาอาการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นกระทําการ
อย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก.
【 กันแทรก 】แปลว่า: [-แซก] น. กองทําหน้าที่แทรก เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ
กันแซง.
【 กันพิรุณ 】แปลว่า: น. กรรภิรมย์.
【 กันสาด 】แปลว่า: น. เพิงที่ต่อชายคาสําหรับกันฝน, บังสาด ก็เรียก.
【 กัน ๔ 】แปลว่า: ก. โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันคอ กันหน้า. (ข. กาล่).
【 กั่น ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธหรือเครื่องมือเป็นต้น สําหรับ
หยั่งลงไปในด้าม.
【 กั่น ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) ก. ดุ.
【 กั้น 】แปลว่า: ก. กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา
เช่น กั้นกลด ภูเขากั้นเขตแดน กั้นถนน.
【 กั้นกาง 】แปลว่า: ก. กางแขนออกขวางทางไว้, โดยปริยายหมายถึง ทําอย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นการขัดขวางเพื่อไม่ให้ไปดังประสงค์.
【 กันเกรา 】แปลว่า: [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด /Fagraea fragrans/
Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ
ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาว
แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม
ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น
เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา
หรือ มันปลา ก็เรียก.
【 กันไกร, กันไตร 】แปลว่า: [-ไกฺร,-ไตฺร] /ดู กรรไตร/.
【 กันฉิ่ง 】แปลว่า: /ดู กรรชิง/.
【 กันชิง 】แปลว่า: น. กรรชิง.
【 กันเชอ 】แปลว่า: น. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ
ปากกว้าง ใช้กระเดียด, กระเชอ ก็เรียก.
【 กั้นซู่ 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนถุง
อย่างเดียวกับโพงพาง หรือเป็นไม้ซึ่งปักเป็นปีกของเครื่องมือ
ประจําที่ซึ่งเรียก กั้นซู่รั้วไซมาน หรือ ซู่กั้นรั้วไซมาน.
【 กันแซง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน กัน ๓/.
【 กันแซง ๒ 】แปลว่า: น. กระแชง เช่น หลังคากันแซง. (พงศ. ร. ๓/๘).
【 กันดอง 】แปลว่า: (โบ) น. ถ่องแถว เช่น เทเพนทรพฤกษนุกันดอง. (กล่อมช้างของเก่า).
【 กันดาร 】แปลว่า: [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก,
แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น
เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก.
(ป. กนฺตาร).
【 กันดาล 】แปลว่า: [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อน
น้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
【 กันได 】แปลว่า: น. หลักฐานที่ยึดถือ เช่น กรมธรรม์กันได. (กฎหมาย เล่ม ๒).
【 กันต์ 】แปลว่า: ก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ,
เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น
กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
【 กันตัง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นมีใบคัน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 กันไตร 】แปลว่า: [-ไตฺร] น. กรรไตร.
【 กันทร 】แปลว่า: -ทอน น. ถ้า, ซอกเขา (ที่เป็นเองหรือช่างทําขึ้น). (ป., ส.).
【 กันทรากร 】แปลว่า: -ทะรากอน น. ภูเขา. (ป., ส.).
【 กันทะ 】แปลว่า: (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี
ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒
ตอนศึกไมยราพณ์).
【 กั้นบัง 】แปลว่า: น. ว่านกั้นบัง. /(ดู กําบัง ๓)./
【 กันภัย, กันภัยมหิดล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Afgekia mahidolae/ Burtt et Chermsir. ในวงศ์
Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ
ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอก
เป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
【 กันภิรมย์ 】แปลว่า: /ดู กรรภิรมย์/.
【 กันเมียง 】แปลว่า: น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี
อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง =
เด็ก).
【 กันย์ 】แปลว่า: น. สาวรุ่น, สาวน้อย; ชื่อกลุ่มดาวรูปหญิงสาว เรียกว่า ราศีกันย์
เป็นราศีที่ ๕ ในจักรราศี.
【 กันยา 】แปลว่า: น. สาวรุ่น, สาวน้อย. (ส.; ป. ก?ฺ?า).
【 กันยายน 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน,
(เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา
= นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่
ราศีกันย์).
【 กันลง, กันลอง ๑ 】แปลว่า: น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
(ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
【 กันลอง ๒ 】แปลว่า: ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยม
กันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
【 กันลึง 】แปลว่า: (โบ) ก. จับ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 กันแสง 】แปลว่า: (ราชา) ก. ร้องไห้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ
ทรงกันแสง. (ข. กนฺแสง ว่า ผ้าเช็ดปาก, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าเช็ดหน้า).
【 กั้นหยั่น 】แปลว่า: น. มีดปลายแหลม มีคม ๒ ข้าง ส่วนของใบมีดตั้งแต่กั่นถึงปลาย
ใหญ่เท่ากัน เป็นอาวุธ ใช้เหน็บเอว, จีนใช้เป็นเครื่องหมายกันจัญไร
เช่นในรูปสิงโตคาบกั้นหยั่น.
【 กันเอา 】แปลว่า: ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์.
(อนิรุทธ์).
【 กับ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลิ้นหรือไก เมื่อไปกระทบเข้าก็จะปิด
หรืองับทันที, โดยปริยายหมายถึงอุบายที่ใช้ล่อให้หลงเชื่อ.
【 กับระเบิด 】แปลว่า: น. วัตถุระเบิดที่วางดักไว้ เมื่อไปเหยียบหรือกระทบเข้าก็จะ
ระเบิดทันที.
【 กับ ๒ 】แปลว่า: เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน
หรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
【 กับ ๓ 】แปลว่า: ลักษณนามเรียกใบลานซึ่งจัดเข้าแบบสําหรับจารหนังสือ
ประมาณ ๘๐๐ ใบ.
【 กับ ๔, กับข้าว 】แปลว่า: น. อาหารซึ่งปรกติใช้กินพร้อมข้าว.
【 กับแก้ ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ล้มลุกไร้ดอกชนิด /Selaginella argentea/
(Wall. ex Hook. et Grev.) Spring ในวงศ์ Selaginellaceae
ใช้ทำยาได้ ใบอ่อนใช้เป็นผัก, พ่อค้าตีเมีย ก็เรียก.
【 กับแก้ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) น. ตุ๊กแก. /(ดู ตุ๊กแก ๑)./
【 กับแกล้ม 】แปลว่า: [-แกฺล้ม] น. ของกินกับเหล้า, แกล้ม ก็ว่า.
【 กับบุเรศ 】แปลว่า: [-เรด] (แบบ; กลอน) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน). (ป. กปฺปุร).
【 กัป 】แปลว่า: [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลา
ที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น
ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป).
/(ดู กัลป-, กัลป์)./
【 กัปตัน 】แปลว่า: น. นายเรือ. (อ. captain).
【 กัปนก 】แปลว่า: กับปะหฺนก ว. กําพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่า
พราหมณชรา ชีณกัปนก. (ม. คําหลวง ชูชก).
(ป. กปณก).
【 กัปบาสิก, กัปปาสิก 】แปลว่า: (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. /(ดู กรรบาสิก)./
【 กัปปิย- , กัปปิยะ 】แปลว่า: [กับปิยะ] ว. สมควร. (ป.).
【 กัปปิยการก 】แปลว่า: [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร
ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
【 กัปปิยภัณฑ์ 】แปลว่า: น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร
ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
【 กัปปิยโวหาร 】แปลว่า: น. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์,
ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
【 กัปปีย์ 】แปลว่า: กับปี น. กับข้าว (ใช้เฉพาะภิกษุสามเณร), มักใช้
เข้าคู่กับ จังหัน ว่า กัปปีย์จังหัน.
【 กัมบน 】แปลว่า: กําบน ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน).
(ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
【 กัมป- , กัมปน- 】แปลว่า: [กําปะ-, กําปะนะ-] น. การหวั่นไหว, แผ่นดินไหว. (ป., ส.).
【 กัมปนาการ 】แปลว่า: น. อาการคือการหวั่นไหว. (ป.).
【 กัมปนาท 】แปลว่า: น. เสียงสนั่นหวั่นไหว. (ป. กมฺป + นาท).
【 กัมประโด 】แปลว่า: น. ผู้ทําหน้าที่หาลูกค้าให้บริษัทหรือธนาคาร. (โปรตุเกส).
【 กัมปี 】แปลว่า: (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล
สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง
ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
【 กัมพล 】แปลว่า: กํา- น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์. (ป.).
【 กัมพุช ๑, กัมพุช- 】แปลว่า: [กําพุด, กําพุดชะ-] น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทาง
ตอนเหนือของอินเดีย, กัมโพช ก็ใช้.
【 กัมพุชพากย์ 】แปลว่า: น. ภาษาเขมร.
【 กัมพุช ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 กัมพู 】แปลว่า: (แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท),
ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กําพู
กําภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
【 กัมพูชา 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศเขมร.
【 กัมโพช 】แปลว่า: [กําโพด] น. แคว้นเขมร, (โบ) ชื่อแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย,
กัมพุช ก็ใช้.
【 กัมมัชวาต 】แปลว่า: กํามัดชะวาด น. กรรมชวาต, ลมเบ่ง. (ป.).
【 กัมมัฏฐาน 】แปลว่า: /ดู กรรมฐาน/.
【 กัมมันตภาพรังสี 】แปลว่า: [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม
ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา
ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง
ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงาน
ความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของ
นิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
【 กัมมันตรังสี 】แปลว่า: [กํามันตะ-] ว. ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุหรือสาร).
(อ. radioactive).
【 กัมมาร 】แปลว่า: กํามาน น. กรรมาร, ช่างทอง, ช่างเหล็ก. (ป.; ส. กรฺมาร).
【 กัมลาศ 】แปลว่า: กํามะลาด น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศ
ลงมาดิน. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส. กมลาสน).
【 กัยวิกัย 】แปลว่า: ไกยะวิไก น. การซื้อและการขาย. (ป. กยวิกย).
【 กัลชาญ 】แปลว่า: [กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ.
(ม. คําหลวง ทศพร).
【 กัลบก 】แปลว่า: กันละ- น. ช่างตัดผม, ช่างโกนผม. (ส.; ป. กปฺปก).
【 กัลป-, กัลป์ 】แปลว่า: [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้าง
เสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลา
กลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ
๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลก
ด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจน
ถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้น
กัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุ
ของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา
กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
【 กัลปพฤกษ์ ๑ 】แปลว่า: [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จตามความ
ปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานในงานเมรุหลวง
และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้น
ว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า
ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา
กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
【 กัลปาวสาน 】แปลว่า: [กันละปาวะสาน] น. ที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา
๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์. (ส. กลฺป + อวสาน).
【 กัลปนา 】แปลว่า: [กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่ง
เจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทํา
อุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).
【 กัลปพฤกษ์ 】แปลว่า: [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cassia bakeriana/ Craib
ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ
ดอกสีชมพูอ่อนออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่
ฝักมีขนนุ่ม.
【 กัลปังหา 】แปลว่า: [กันละ-] /ดู กะละปังหา/.
【 กัลปาวสาน 】แปลว่า: /ดู กัลป-, กัลป์/.
【 กัลปิต 】แปลว่า: กันละปิด ว. สําเร็จแล้ว; ควรแล้ว; ตัดแล้ว. (ส.; ป. กปฺปิต).
【 กัลพุม 】แปลว่า: กันพุม น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสาร
โกสุม ศิโรจม์. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์); พุ่ม เช่น จับพฤกษางกูรกัลพุม
โดยกุสุมฤดูกาล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
【 กัลเม็ด 】แปลว่า: [กันละ-] น. กลเม็ด, วิธีที่แยบคาย, สิ่งที่แยบคาย; แหวนที่มี
ก้านหัวเป็นเกลียวถอดออกจากเรือนได้ เรียกว่า แหวนกัลเม็ด,
ขวดที่มีจุกเป็นเกลียวเรียกว่า ขวดกัลเม็ด.
【 กัลยา 】แปลว่า: [กันละยา] น. นางงาม.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!