การใช้บุพบท (介词)
“对”、”跟”、”给”
โดยทั่วไป บุพบท (介词) ในภาษาจีน (ตามด้วย “กรรมของบุพบท”) จะวางอยู่หน้าคำกริยา หรือภาคแสดง ทำหน้าที่ขยายภาคแสดง (ที่เรียกว่า 状语) ซึ่งอยู่ในรูป
(“对/跟/给” + กรรม) + คำกริยา หรือภาคแสดง
การใช้บุพบท “对”、”跟”、”给”
1. บุพบท 3 ตัวนี้ ใช้แทนกันได้ในบางกรณี เพื่อบอก/แสดงเป้าหมาย (对象)ของกริยา/การกระทำ เช่น
他对/跟/给我使了一个眼色。
把你的想法对/跟/给大家说一说。
แต่บุพบท 3 คำนี้ ก็ยังมีความแตกต่างกันในด้านความหมาย หรือจุดที่ต้องการเน้น (ดูข้อ 2.)
2. ถ้าต้องการเน้น/สื่อความหมายที่ต่างกัน ในกรณีเช่นนี้ บุพบท 3 คำนี้จะใช้แทนกันไม่ได้ กล่าวคือ
“对” (ต่อ) จะเน้น หรือหมายถึงการเผชิญหน้ากับเป้าหมาย หรือแสดงถึงสภาพ/สภาวะของเป้าหมายที่เกิดจากกริยา/การกระทำนั้น
“跟” (กับ, และ) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย (เช่น คน หรือสิ่งของ) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง หรือร่วมกระทำกริยา/การกระทำนั้น
“给” (ให้) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย เป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำ เช่น
这种方法的学习对我很有帮助。(วิธีการศึกษาแบบนี้มีส่วนช่วย (มีประโยชน์) ต่อ (การเรียนของ) ฉัน)
我对你抱有大的希望。(ฉันคาดหวัง (มีความหวัง) ต่อตัวเธอมาก)
他不想跟我见面。(เขาไม่อยากพบหน้า (กับ) ฉัน)
这份计划还需要跟老师商量商量。(แผนงานนี้ยังต้องปรึกษากับอาจารย์)
你给小李去个电话吧。(คุณโทรศัพท์ให้กับเสียวหลี่หน่อย)
他要把自己的全部知识才能献给科学事业。(เขาต้องการนำความรู้ความสามารถทั้งหมดทุ่มเท (เสียสละ) ให้กับงานด้านวิทยาศาสตร์
3. ถ้าต้องการสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ในเชิงการปฏิบัติ (รักษา) ระหว่างคน หรือสิ่งของ ต้องใช้ “对” เท่านั้น กรณีนี้ “对” มีความหมายเน้นในเชิงการปฏิบัติ (การกระทำ) ในทิศทางเดียว เช่น หมอรักษาคนไข้
你是什么人我不管,我只知道我是医生,我要对病人负责。
听说他对你很有意思,你呢?
4. ถ้าต้องการเน้นกริยา/การกระทำมีความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือกันทำ (กริยา/การกระทำนั้น) หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันน ต้องใช้ “跟” เท่านั้น
ประโยคที่ใช้ “跟” ในบางกรณี คำกริยาจะมีลักษณะของการทำกริยา/การกระทำร่วมกัน เช่น
商量 (ปรึกษา), 讨论 (ถกเถียง), 谈话 (พูดคุย, เจรจา), 见面 (พบหน้า), 聊天儿 (คุย (เล่น)), 联系 (ติดต่อ), 交涉 (ติดต่อเจรจา), 交涉 (ก่อกวน)
และ (ในประโยคที่ใช้ “跟”) มักจะมีส่วนประกอบอื่น (มักเป็นกริยาวิเศษณ์) ที่บอกถึงการร่วมกันทำกริยา/การกระทำ (ทำด้วยกัน) เช่น 一起, 一块儿, 一同 (พร้อมกัน, ด้วยกัน), 一道 (ด้วยกัน)
我去跟他交涉,你们在这儿等着。
这是我跟他一起完成的课题。
5. ถ้าต้องการแสดงถึงผู้รับผลของกริยา/การกระทำ ต้องใช้ “给” เท่านั้น เช่น
听说前不久他还给你写了一封信。
我们的责任就是给老人们送温暖、送关怀。
我要给他一点颜色看看。
6. ส่วนข้อสังเกต (ข้อแตกต่าง) ในด้านไวยากรณ์ของการใช้บุพบท 3 ตัวนี้ คือ
โดยทั่วไป (“给” + กรรมของบุพบท) สามารถวางไว้ได้ 2 ตำแหน่ง คือหน้าคำกริยา หรือหลังคำกริยา
ส่วนบุพบท “对”、”跟” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น เช่น
我给他送一封信。หรือ 我送给他一封信。
王师傅亲自给他做示范。
他对我有意见。
老师们对工作很负责任。
他跟这件事没关系。
我跟他很要好。
“给” เมื่อเป็นบุพบท (介词) จะมี ความหมาย ดังนี้
1.มีความหมายเหมือนบุพบท “向”、“对”、“朝” ทั้งนี้ กรรมที่ตามหลังบุพบท “给” จะเป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำนั้น เช่น
你应该给她赔礼道歉去。
2.หมายถึง “替” (ทำ (แทน))、“为” (wèi) เป้าหมาย (对象) หรือกรรมของบุพบท คือผู้ได้รับผล (หรือบริการ) ของกริยานั้น เช่น
医生给我动了手术。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
老师正在给学生们上课。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
我给你当翻译吧。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
你去邮局的话,能不能给我寄一封信? (ความหมายเดียวกับ “替”)
王老师病了,今天我给他代课。 (ความหมายเดียวกับ “替”)
3.มีความหมายของ “被” กรรมของบุพบท คือผู้กระทำกริยานั้น เช่น
那本书给他借走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
树给大风吹到了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
我的钱包给人偷走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
ทั้งนี้ ถ้า “给” หมายถึง “替” 、“为” (wèi) (ข้อ 2.) หรือ “被” (ข้อ 3.)
“给” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น
4. นอกจากนั้น “给” ยังใช้เป็นคำเสริม (助词) ได้ด้วย โดย “给” จะวางไว้หน้าคำกริยา หมายถึง (สิ่งของนั้น) ถูกกระทำ (被动) หรือเป็นคำเสริมน้ำเสียง (助词语气) เพื่อเป็นการเน้นโดยใช้น้ำเสียงก็ได้ เช่น
屋子给打扫干净了。(ถูกกระทำ)
这件事你就给办一下吧。(เป็นคำเสริมน้ำเสียง – จะสังเกตเห็นว่ากรณีนี้ “给” ตามด้วยคำกริยาโดยตรงได้เลย)
5. ตำแหน่งของ “给” มีวิธีการวาง “给” อยู่ 3 ตำแหน่ง
ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้กันก่อน
给他奇一封信 (หน้าคำกริยา) = 寄给他一封信 (หลังคำกริยา) = 奇一封信给他 (หลังกรรม)
给他打一个电话 (หน้าคำกริยา) = 打给他一个电话 (หลังคำกริยา) = 打一个电话给他 (หลังกรรม)
给他留一个纸条 (หน้าคำกริยา) = 留给他一个纸条 (หลังคำกริยา) = 留一个纸条给他 (หลังกรรม)
(ตัวอย่างข้างบน “给” สามารถวางไว้ตรงไหนก็ได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน)
แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่สามารถวางตำแหน่งของ “给” ไว้ตรงไหนก็ได้ (ทั้ง 3 ตำแหน่ง) โดยที่ความหมายยังเหมือนเดิม เพราะเราต้องดูว่าคำกริยา (ในประโยค) มีความหมายอย่างไรด้วย
ซึ่งโดยหลักทั่วไป (หลักที่ใช้กับคำกริยาส่วนใหญ่) “给” มีวิธีการใช้ หรือตำแหน่งในการวางอยู่ 2 ตำแหน่ง (คือหน้าคำกริยา กับหลังคำกริยา) ตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ (ดูเนื้อหาตอนที่ 1)
ลองมาดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ (ถ้าวางหน้าคำกริยา หรือหลังกรรม (แล้วแต่กรณี) ความหมายจะเปลี่ยนไป)
卖给他一件衣服 (หลังคำกริยา) = 卖一件衣服给他 (หลังกรรม)
交给他五十块钱 (หลังคำกริยา) = 交五十块钱给他 (หลังกรรม)
给他买一本书 (หน้าคำกริยา) = 买一本书给他 (หลังกรรม)
给他打一件毛衣 (หน้าคำกริยา) = 打一件毛衣给他 (หลังกรรม)
6. (ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม) มีคำกริยาบางคำไม่สามารถตามด้วยกรรมคู่ (双宾语) โดยตรง ต้องมี “给” แทรกกลาง (ระหว่างคำกริยากับกรรม) ตรงกันข้ามกับคำกริยาบางคำที่สามารถตามด้วยกรรมคู่ หรือคำที่ทำหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน (ที่เรียกว่า 兼语) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมี “给”เช่น
我不愿给他添麻烦 。(ต้องมี “给他”)
他 (给我) 教我踢足球。(ไม่ต้องมี “给我” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)
小李 (给他) 告诉他这个消息。(ไม่ต้องมี “给他” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)
CR.Gunthasith Lertpraingam