Z (จือ)
ฐานปลายลิ้น - หลังฟัน เสียงระเบิด – เสียดแทรกไม่มีลม เวลาออกเสียง ปลายลิ้นยื่นไปแตะหลังฟันบน แล้วขยับปลายลิ้นออกห่างเล็กน้อย ให้ลมหายใจเสียดแทรกออกมาจากช่องปาก เส้นเสียงไม่สั่นสะเทือน
C (ชือ)
ฐานปลายลิ้น-หลังฟัน เสียงระเบิด-เสียดแทรกมีลม ฐานที่เกิดเสียงเหมือนกับ z โดยส่วนใหญ่ แต่ต้องให้ลมหายใจพุ่งออกมาโดยแรงเต็มที่
S (ซือ)
ฐานปลายลิ้น-หลังฟัน เสียงเสียดเเทรก เวลาออกเสียง ปลายลิ้นอยู่ใกล้หลังฟันล่าง ลมหายใจจะเสียดแทรกออกมาจากช่องว่างระหว่างกลางลิ้นกับหลังฟันบน
สระของ zi, ci, si คือ สระปลายลิ้นส่วนหน้า เสียง (อือ) จะใช้ตัว i มาแสดง เนื่องจากเสียง [i] อี ไม่ปรากฎอยู่หลัง Z, C,S ฉะนั้นสระ i (อือ) ใน zi, ci, si จะอ่านเป็นเสียง [i] (อี) ไม่ได้เป็นอันขาด
J (จี)
ฐานกลางลิ้น เสียงระเบิด-เสียดเทรกไม่มีลม เวลาออกเสียง ส่วนหน้าของกลางลิ้นแตะเพดานแข็ง ปลายลิ้นแตะหลังฟันล่าง ลมหายใจระเบิดและเสียดแทรกออกมาจากช่องระหว่างส่วนหน้าของกลางลิ้นกับเพดานแข็ง เส้นเสียงไม่สั่นสะเทือน
Q (ชี)
ฐานกลางลิ้น เสียงระเบิด-เสียดแทรกมีลม ฐานที่เกิดเสียงเหมือนกับ j โดยส่วนใหญ่ แต่ต้องปล่อยลมหายใจแรงเต็มที่
X (ซี)
ฐานกลางลิ้น เสียงเสียดแทรก เวลาออกเสียง ส่วนหน้าของกลางลิ้นจะอยู่ใกล้กับเพดานแข็ง ลมหายใจเสียดแทรกออกมาตรงช่องนี้ เส้นเสียงไม่สั่นสะเทือน
Zh (จรือ)
ฐานปลายลิ้น-เพดานแข็ง เสียงระเบิด-เสียดแทรกไม่มีลม เวลาออกเสียงปลายลิ้นห่อตัวกระดกขึ้นไปเตะเพดานแข็ง จากนั้นจึงลดระดับลิ้นลงมา เกร็งปลายลิ้นเล็กน้อย พร้อมกับออกเสียง ลมหายใจระเบิดและเสียคแทรกออกมาระหว่างปลายลิ้น กับเพดานแข็ง เส้นเสียงไม่สั่นสะเทือน
Ch (ชรือ)
ฐานปลายลิ้น-เพดานแข็ง เสียงระเบิด-เสียดแทรกมีลม เวลาออกเสียง ฐานที่เกิดเสียงเหมือนกับ zh โดยส่วนใหญ่ แต่ต้องปล่อยลมหายใจแรงเต็มที่
Sh (ซรือ)
ฐานปลายลิ้น-เพดานแข็ง เสียงเสียดแทรกแบบชัด เวลาออกเสียงปลายลิ้นห่อตัวกระดกขึ้นไปอยู่ใกล้กับเพดานแข็ง ลมหายใจเสียดแทรกออกมาระหว่างปลายลิ้นกับเพดานแข็ง เส้นเสียงไม่สั่นสะเทือน
R (รือ)
ฐานปลายลิ้น-เพดานแข็ง เสียงเสียดแทรกแบบไม่ชัด เสียงข้างลิ้น เวลาเปล่งเสียง ตำแหน่งของลิ้นจะไกล้เคียงกับตำแหน่ง sh แต่ R เป็นเสียงเสียดแทรกซึ่งเส้นเสียงต้องสั่นสะเทือน
zhi chi shi ri นั้น เป็นสระปลายลิ้นส่วนหลัง สระที่เกาะอยู่ข้างหลัง เสียงอือ จะใช้ตัว i มาแทนเสียง เนื่องจากเสียง i (อี ) ในภาษาจีนกลางจะไม่ปรากฎอยู่หลัง Zh Ch Sh R ฉะนั้นสระ i ซึ่งอยู่หลัง Zhi Chi Shi Ri จะอ่านเป็น ( อี ) ไม่ได้
Y (อี)
เสียงกึ่งสระ ใช้เขียนหน้ารูปสระ i และ ü ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น เช่น 1.ia เขียนเป็น ya 2.ün เขียนเป็น yun
w (อู)
เสียงกึ่งสระ ใช้เขียนหน้ารูปสระ u ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น เช่น ua เขียนเป็น wa