中国古代的各种衣裳、冠帽、鞋袜等服装,在世界上自成一系,其结构与款式随着生产与生活方式的发展而逐渐变化。通过对古代服装的研究,可以认识历代人物的风貌。在鉴定有关文物时,服装也是断代的重要尺度。古代服装存世不多,在研究中除依据实物外,古代雕塑、绘画中的人物形象,也往往是重要的参考资料。
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับประดับตกแต่งร่างกายของชาวจีนแต่ละประเภทในสมัยบรรพกาล ทั้งเสื้อผ้าก็ดี เครื่องประดับศีรษะก็ดี หรือพวกรองเท้าต่างๆนั้น ล้วนแต่เป็นแบบเดียวกันกับชนเผ่าอื่นๆบนโลก ส่วนรูปแบบและโครงสร้างจะค่อยๆถูกพัฒนาไปตามวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่าในภายหลัง จากการวิจัยและค้นคว้าทางโบราณคดีด้านเครื่องแต่งกายโบราณ ก็จะเห็นได้ถึงความมีเอกลักษณ์ของเสื้อผ้ายุคดึกดำบรรพ์ ส่วนในการประเมินค่าโบราณวัตถุชิ้นต่างๆ เครื่องแต่งกายถือเป็นบรรทัดฐานในการแบ่งยุคสมัยได้ด้วย เครื่องแต่งกายโบราณที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้นมีจำนวนไม่มากนัก ชิ้นโบราณวัตถุ เครื่องประดับ ประติมากรรมรูปสลักต่างๆหรือจารึกโบราณที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย นอกจากจะเอาไว้ใช้ศึกษาแล้ว ก็ยังเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากๆอีกด้วยเช่นกัน
ยุคหิน 石器时代
旧石器时代晚期的人类已知缝衣,周口店山顶洞人的文化遗存中曾发掘出骨针。到了新石器时代晚期,在不同地区和族别的人们中间,服饰款式已各不相同。以发型为例,大地湾文化中有剪短的披发,马家窑文化中有后垂的编发,大汶口文化中有用猪獠牙制成的发箍,龙山文化中则用骨笄束发,陕西龙山文化之神木石峁遗址出土的玉人头像,头顶有髻,可能就是用笄束发的反映。骨笄在相当于夏代的二里头文化的二里头类型与东下冯类型诸遗址中均曾出土,形制与商代的同类器物相同。因此得知束发为髻在远古时已是华夏族服装的特征。
มนุษย์ยุคหินเก่าตอนปลายได้รู้จักการเย็บปักถักร้อยกันแล้ว มีการขุดพบเข็มกระดูกของมนุษย์ถ้ำบริเวณแหล่งวัฒนธรรมหมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยน จนกระทั่งถึงตอนปลายของยุคหินใหม่ การเป็นชนเผ่าคนละเผ่าซึ่งอาศัยอยู่ในคนละดินแดนกัน ก็ทำให้รูปแบบของเครื่องแต่งกายมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่นทรงผม บริเวณแหล่งวัฒนธรรมอ่าวต้าตี้นิยมตัดผมทรงปะบ่า แหล่งวัฒนธรรมหม่าเจียเหยาก็มักถักผมเปียไว้ด้านหลัง ทางแหล่งวัฒนธรรมต้าเวิ่นโข่วมีการใช้เขี้ยวหมูป่ามาทำเป็นที่คาดผมหรือบริเวณแหล่งวัฒนธรรมลุงชาน (หลงซาน) ที่มีการใช้ปิ่นปักผมซึ่งทำมาจากกระดูก ณ เนินหินเสินมู่ บริเวณแหล่งวัฒนธรรมลุงชานมณฑลส่านซีมีการขุดพบหยกสลักรูปศีรษะมนุษย์ซึ่งปรากฏทรงผมที่แสดงให้เห็นถึงการใช้กระดูกสัตว์มาทำเป็นปิ่นปักผม และยังขุดพบปิ่นกระดูกที่ชุมชนโบราณเอ้อหลี่โถวและชุมชนโบราณตงเซี่ยเฝิงในบริเวณแหล่งวัฒนธรรมเอ้อหลี่โถวสมัยราชวงศ์เซี่ย ทั้งข้าวของเครื่องใช้ในหมู่บ้านแห่งนี้ก็ยังมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่อยู่ในสมัยซาง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทราบว่าการรวบผมและจัดแต่งทรงผมเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ในอดีตอันยาวนานอย่างหนึ่งของชนชาติจีน
先秦的服饰
เครื่องแต่งกายยุคก่อนสมัยฉิน
约公元前21世纪—公元前221年
ประมาณ 2100 -221 ปีก่อนคริสตกาล
先秦包括夏、商、西周、春秋、战国等五个时期。中国的服饰制度在夏、商、西周时期已基本确立。春秋五霸、战国七雄,诸子论辩、百家争鸣,春秋战国时期动荡的社会局面和活跃的思想状态,使服饰得到了广泛的交流和快速的发展。作为社会物质文化和精神文化的表征,先秦时期服饰的整体特征是以“礼教”为中心的,其中反映了一些中国早期朴素的宇宙观和道德观,它对于维护当时的统治秩序产生了重要作用。
ยุคสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน ซึ่งประกอบด้วย ยุคเซี่ย ยุคซาง ยุคโจวตะวันออก ยุคชุนชิวและยุคจ้านกว๋อ รวมทั้งสิ้น 5 ยุค เครื่องแต่งกายจีนนั้นก็ได้ยึดแบบแผนและพัฒนามาจากการแต่งกายในยุคเซี่ย ซาง และโจวตะวันออกนี้เอง ห้ามหาราชชุนชิว เจ็ดผู้ยิ่งใหญ่จ้านกว๋อ เวทีนักปราชญ์ บรรดาราษฎร์ห้ำหั่น ซึ่งแสดงถึงสภาวะทางความคิดของราษฎรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความกระตือรือร้นอันเนื่องมาจากความไม่สงบของสังคมในยุคชุนชิวจ้านกว๋อ ทำให้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้มีการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอย่างรวดเร็ว กลายเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมทางสังคม ลักษณะโดยรวมของเครื่องแต่งกายในช่วงเวลาก่อนยุคฉินจะยึดตามแนวทางของลัทธิขงจื่อเป็นหลักสำคัญ ซึ่งสะท้อนแนวคิดทางจักรวาลวิทยาและแนวคิดทางจริยธรรมที่เรียบง่ายของจีนในยุคเริ่มแรก อันมีบทบาทสำคัญต่อระบบแบบแผนการปกครองในช่วงเวลานั้นด้วย
商与西周 สมัยซางและโจวตะวันตก
商与西周时的衣着无实物存世,据安阳侯家庄墓及妇好墓所出玉、石人像,可知商代贵族上身穿交领衣,腰束绅带,下身着裳,腹前系市(蔽膝)。西周时遗留下来的人像材料更少。从洛阳出土的玉人及铜制人形车辖来看,衣、裳、带、市仍是贵族男装的基本组成部分。其衣用正色(青、赤、黄、白、黑),裳用间色(橙、绿、紫),并特别重视裳前之市。西周铜器铭文记载周王在册命典礼上颁赐的服装中,常有“朱市、葱黄”(《毛公鼎》)“市、黄”(《询簋》)等物。市、黄即古文献中的、衡,指蔽膝,衡则指包括系玉之组和玉件在内的整套佩饰。河南信阳长台关与湖北江陵纪南城战国墓所出之俑,均在腹前系玉佩。贵族则在玉佩下衬以色彩特殊的,因而引人瞩目,成为代表身份地位的一种标志。
เครื่องแต่งกายโบราณสมัยซางและโจวตะวันตกไม่มีเหลือสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันแต่จากเครื่องหยกและรูปเหมือนมนุษย์ที่ขุดพบจากสุสานโบราณโหวเจียจวงเมืองโบราณอันหยาง [อยู่ในมณฑลซีอัน ในอดีตเรียกว่าฉางอันหรือเตียงอัน] และสุสานโบราณฟู่ห่าวทำให้พอทราบว่าสตรีชั้นสูงราชสำนักซางสวมเสื้อที่ปกคอไขว้กัน สวมกระโปรง ผูกผ้าพันเอว และมีแพรแถบด้านหน้าที่ยาวถึงเข่า ส่วนวัตถุโบราณที่เป็นรูปเหมือนคนในสมัยโจวตะวันตกที่หลงเหลือนั้นก็มีอยู่ไม่มาก เมื่อสังเกตจากหยกแกะสลักรูปมนุษย์โบราณในแหล่งวัฒนธรรมลั่วหยาง(ลกเอี๊ยง) และรูปหล่อทองแดงรูปคนและรถม้า ทั้งเสื้อ กระโปรง เข็มขัด แถบผ้า ล้วนเป็นเป็นส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายพื้นฐานของบุรุษชั้นสูง สีของเสื้อจะเป็นกลุ่มสีเจิง (เขียวเข้ม แดง เหลือง ขาว ดำ) กระโปรงใช้กลุ่มสีเจียน (ส้ม เขียว ม่วง) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับแถบผ้าที่ใช้เย็บกระโปรงมาก เครื่องหล่อทองแดงจากสมัยโจวตะวันตกได้จารึกข้อความของโจวอ๋องถึงเรื่องเครื่องแต่งกายในพิธีแต่งตั้งเลื่อนขั้นว่า กระโปรงใช้朱zhū市shì、葱cōng黄huáng(มาจากจารึกในหม้อสำฤทธิ์เหมากง) 市、黄(มาจากจารึกในหม้อโลหะมีฝาปิดชนิดหนึ่ง) เป็นต้น ตัวอักษร市黄และ衡héngหมายถึงแพรแถบ ซึ่งตัวอักษร 衡 จะมีความหมายรวมไปถึงแพรแถบที่ห้อยเครื่องหยก รูปปั้นที่พบที่สุสานสมัยจ้านกว๋อทั้งที่ซิ่นหยาง-ฉางไถในมณฑลเหอหนานและที่สุสานเจียงหลิง-จี้หนานในมณฑลหูเป่ย ทุกตัวต่างแขวนแพรแถบประดับไว้ด้านหน้าทั้งสิ้น การที่เหล่าผู้ดีต่างๆแขวนหยกไว้ที่กระโปรงนั้นทำให้แลดูมีสีสันสดใส ซึ่งเป็นที่ดึงดูดของคนรอบข้างทั้งยังเป็นสัญลักษณ์บนร่างกายที่แสดงถึงตำแหน่งอีกด้วย
春秋战国 ชุนชิวจ้านกว๋อ
这时深衣和胡服开始推广。由于上衣下裳并不方便,便有了深衣制的改革,把衣、裳连在一起包住身子,分开裁但是上下缝合。由于当时人没有穿裤子的习惯,需要以衣物紧密包裹才不至于暴露身体,深衣因为“被体深邃”,因而得名。深衣的衣缘形式主要有两种:一为交领曲裾式,一为交领直裾式。
深衣在战国时相当流行,周王室及赵、中山、秦、齐等国的遗物中,均曾发现穿深衣的人物形象。楚墓出土木俑的深衣,细部结构表现得更为明确。短袖衣是楚服的一项特征。江陵马山 1号楚墓曾出短袖的“衣”,衣即衣,据《说文》的解释,这是一种短衣。根据曾侯乙编钟之钟金人的服装看,应即短袖之衣。
สมัยนี้ชุดเซินอีและชุดหูฝูได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเนื่องจากการใส่เสื้อกับกระโปรงนั้นไม่ค่อยสะดวก จึงทำให้มีการปรับปรุงและสร้างเสื้อเซินอีขึ้นมา โดยนำเสื้อและกระโปรงมาเย็บเป็นชุดเดียวกัน แล้วสวมในลักษณะของชุดคลุม โดยแหวกช่องสำหรับเป็นสาบเสื้อด้านหน้า แต่ด้านหลังยังติดกันอยู่( ลักษณะคล้ายเสื้อเชิ้ตตัวใหญ่ที่สามารถใส่คลุมได้ถึงเข่า) และเนื่องจากคนสมัยนั้นยังไม่สวมกางเกง จึงต้องใช้ผ้าพันร่างกายไว้แน่นๆถึงจะได้ไม่โป๊มาก เนื่องจากเสื้อเซินอีสวมพันร่างกายไว้อย่างหนาแน่น จึงได้เป็นที่มาของชื่อ ก็คือ เซินอี แปลว่าชุดรัด สาบเสื้อของเซินอี หลักๆมีสองแบบ คือสาบเสื้อแหลม และสาบเสื้อตรง เสื้อเซินอีได้รับความนิยมในสมัยจ้านกว๋อบริเวณซากโบราณสถานของเมืองต่างๆ เช่น ปราสาทโจวหวางอ๋องเมืองจ้าว เมืองจงซาน เมืองฉิน และเมืองฉีได้ขุดพบเจอโบราณวัตถุลักษณะคล้ายคนสวมชุดเซินอีและรูปคนสวมเสื้อเซินอีแกะสลักจากไม้จากสุสานแคว้นฉู่มีรายละเอียดต่างๆที่แสดงให้เห็นบนเสื้อผ้าอย่างชัดเจน
男子的曲裾深衣 |
穿深衣的楚国妇女(湖南长沙陈家大山楚墓出土帛画) |
เสื้อแขนสั้นเป็นหนึ่งในจุดเด่นของเสื้อผ่าของชาวแคว้นฉู่ บริเวณสุสานหมายเลข ๑ ของแคว้นฉู่ที่ภูเจียงหลิงหม่าได้ขุดพบ “เสื้อ”แขนสั้นที่เรียกว่า อีจี๋อี ในบันทึก ซัวเหวิน กล่าวไว้ว่ามันคือเสื้อแขนสั้นชนิดหนึ่ง สังเกตจากเครื่องแต่งกายรูปคนที่แกะสลักอยู่บนระฆังชุดเฉิงโหวอี มองเห็นเป็นคนสวมเสื้อแขนสั้น (เฉิงโหวอี คือระฆังที่สามารถเคาะบรรเลงเป็นเพลงได้ เพราะลูกระฆังแขวนไล่ระดับเสียงกันสามออกเตฟหรือมากกว่า)
胡服主要指衣裤式的服装,尤以着长裤为特点,是中国北方草原民族的服装。为骑马方便,他们多穿较窄的上衣、长裤和靴。这种服制据《史记•赵世家》说,是赵武灵王首先用来装备赵国军队的。山西长治分水岭所出铜武士像,上身穿矩领直襟上衣,下身着长裤,腰系绦带,佩剑,正是采用胡服的赵国战士的形象。
เครื่องแต่งกายของชาวหู
(ชาวหูคือคำที่ชาวฮั่นใช้เรียกคนต่างเผ่า เช่น อินเดีย เปอร์เซีย ชนกลุ่มน้อยทางเหนือ หรือชาวตะวันออกกลาง)
เครื่องแต่งกายของชาวหู ปกติเป็นเสื้อกับกางเกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกางเกงขายาวที่มีเอกลักษณ์ อันเป็นเครื่องแต่งกายของชนเผ่าบนทุ่งหญ้าทางเหนือของจีน ซึ่งสะดวกต่อการขี่ม้า ชาวหูส่วนมากสวมเสื้อรัดรูป กางเกงและรองเท้า เครื่องแต่งกายลักษณะนี้ ในบันทึกของจ้าวซื่อเจีย ได้ระบุว่า อ๋องเจ้าซื่อหลิงได้นำมาใช้สำหรับเป็นเครื่องแบบของทหารในกองทัพ รูปเหมือนของทหารที่ค้นพบ ณ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฉางจื้อ ส่วนบนเป็นเสื้อปกคอตรง ส่วนล่างเป็นกางเกงขายาว บริเวณเอวมีเข็มขัดรัด ห้อยกระบี่ ซึ่งก็คือรูปแบบการแต่งกายของชาวหูที่ถูกนำมาใช้ในกองทัพแคว้นเจ้า
冕冠 มาลามงกุฎ(เหมี่ยนกวาน)
中国的皇帝,又称“天子”,意思是“上天之子”,代表天的旨意。冕冠就是这种君权神授的象征。它是在一个圆筒式的帽卷上面,覆盖一块木制的冕板。冕板前圆后方,象征中国古人认为的天圆地方;冕板上面涂青黑色,下面涂黄赤色,象征天玄地黄;用五彩的丝绳把玉珠串起来,挂在冕板的前后,象征岁月流转;用丝棉做成球饰,垂挂在耳边,提醒君王不能听信谗言。天子的冕冠戴在头上时要前低后高,象征“天子”对百姓的关怀,这也是“冕”字的本意。
จักรพรรดิของจีนซึ่งได้รับการขนานพระนามกันว่าเป็นโอรสแห่งสวรรค์นั้น มีความหมายว่า บุตรของพระเจ้า เป็นตัวแทนของพระราชโองการแห่งพระเจ้า‘เหมี่ยนกวาน’ หรือมาลามงกุฎ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระจักรพรรดิ เหมี่ยนกวานมีลักษณะเป็นหมวกที่มีรูปทรงคล้ายกระบอกม้วนอยู่บนศีรษะ คลุมด้านบนด้วยแผ่นมงกุฎที่ทำจากไม้ ซึ่งแผ่นไม้นั้นด้านหน้ากลมมน ด้านหลังเรียบตรง ตามความเชื่อของคนโบราณที่ว่าสวรรค์กลมน พสุธาเรียบตรง โดยส่วนบนของแผ่นไม้เป็นสีดำ ส่วนล่างเป็นสีเหลือง มีความหมายถึงสรวงสวรรค์และผืนแผ่นดิน นอกจากนี้ยังแขวนลูกปัดหยก ๕ สีที่ด้านหน้าและด้านหลังอีกด้วย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงวันเวลาหนึ่งปีที่ไหลเวียนไปไม่หยุด และยังมีสายห้อยลูกปัดหยกถ่วงยาวลงมาประดับหูข้างละหนึ่งเม็ด เป็นสิ่งเตือนให้พระจักรพรรดิอย่าได้เชื่อคำพูดใสร้ายของคนง่ายๆ เหมี่ยนกวานของพระจักรพรรดินั้นเวลาสวมใส่แล้วมีลักษณะเทลาด หมายถึงการดูแลอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ตามความเชื่อดั้งเดิมของโอรสแห่งสวรรค์ และนี่ก็เป็นความหมายของตัวอักษร “冕(miǎn)”
冕冠图 |
冕服 ฉลองพระองค์ในพระราชพิธี หรือ “เหมี่ยนฝู”
中国古代的帝王在祭祀时要穿华美的礼服——冕服。冕服由冕冠和礼服两部分组成,一般与腰带和赤舄(红色的鞋子)相配。其中,礼服又是由上衣和下裳(裙子)组成的。上衣采用青黑色,象征天;下裳黄赤色,象征地。上衣画有六种不同的纹样,而下裳则绣有六种不同的纹样,这些纹样合称十二章纹。
พระจักรพรรดิของจีนในสมัยโบราณนั้นมีฉลองพระองค์ที่วิจิตรงดงามไว้สำหรับสวมใส่ในเวลาประกอบพระราชพิธี เรียกว่า ‘เหมี่ยนฝู’ โดยเหมี่ยนฝูนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน คือส่วนฉลองพระองค์อย่างทางการ และส่วนมาลามงกุฎหรือเหมี่ยนกวาน ซึ่งทั่วไปจะทรงสวมเข้าชุดกับเข็มขัดและฉลองพระบาทสีแดง(หรือ Chì xì)ที่เหมาะสมกัน ซึ่งนอกจากเข็มขัดและรองเท้าแล้วจะมีเสื้อคลุมยาวคล้ายกระโปรงเป็นส่วนประกอบด้วย ฉลองพระองค์ส่วนบนจะใช้สีดำซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์ ส่วนล่างใช้สีเหลืองที่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นพิภพ โดยที่ตัวฉลองพระองค์ส่วนบนปักเป็นภาพที่แตกต่างกันหกภาพ และเสื้อส่วนล่างจะปักภาพที่แตกต่างกันอีกหกภาพ ภาพทั้งสิบสองนี้เรียกรวมกันว่า “สัญลักษณ์๑๒ ประการแห่งจักรพรรดิ ”
皇帝冕服图(据后世史料描绘) |
赤舄图(据后世史料描绘) |
十二章纹
古代帝王服饰的十二章纹是指日、月、星辰、山、龙、华虫、火、宗彝、藻、粉米、黼、黻等12种图案。这12种图案各有寓意。日、月、星辰代表光辉,山代表稳重,龙代表变化,华虫(雉鸡)代表文彩,火代表热量,粉米代表滋养,藻代表纯净,宗彝代表智勇双全,黼代表决断,黻代表去恶存善。
สัญลักษณ์ ๑๒ ประการแห่งจักรพรรดิ
สัญลักษณ์ ๑๒ ประการแห่งจักรพรรดิ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ กลุ่มดาว ภูเขา มังกร ไก่ฟ้า จอกบูชา สาหร่าย เมล็ดข้าว เปลวไฟ ขวาน และอักษรฝู ซึ่งภาพทั้ง ๑๒ นั้นต่างก็มีความหมายแตกต่างกันไป ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาว แสดงถึงความรุ่งโรจน์ ภูเขาแสดงถึงความมั่นคง มังกรแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง ไก่ฟ้าแสดงถึงความละเอียดอ่อนทางภาษา ไฟแสดงถึงความร้อน(อัจฉริยะภาพอันสว่างสุกใสของพระองค์) ข้าวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ สาหร่ายแสดงถึงความบริสุทธิ์ไร้มลทิน จอกบูชาแสดงถึงคุณธรรมของจักรพรรดิในการเทิดทูนบรรพชน ขวานแสดงถึงการตัดสิน และอักษรฝูแสดงถึงความสามารถในการจำแนกผิดชอบชั่วดี
笄(jī)
笄主要是用来固定发髻和冠帽的,材料使用骨、蚌、玉、铜、银、金等,上面也常有绿松石做装饰。中国古代女子年满15周岁就算成人了,可以订婚,届时要举行“笄礼”,由一个已婚女子给适龄的女子梳一个发髻,插上一支笄,礼仪结束后再将笄取下;如果没有订婚,女子在20岁时也要举行“笄礼”。笄是中国古代极其重要的头饰,上面常刻有鸳鸯或几何纹装饰,后来演化成了簪。
ปิ่น
ปิ่นใช้ในการตรึงมวยผมและใช้ในเวลาสวมหมวกกวาน ทำจากวัสดุหลายอย่าง เช่น กระดูก, เปลือกหอย, หยก, ทองแดง, เงิน, ทอง เป็นต้น บนตัวปิ่นมักมีหินสีเขียวขุ่นตกแต่งอยู่ข้างบน สตรีชาวจีนในสมัยโบราณ หากมีอายุ 15ปีบริบูรณ์ก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วและสามารถประกอบพิธีหมั้นได้ ซึ่งจะต้องจัดพิธี ‘ปักปิ่น’ เป็นพิธีที่หญิงซึ่งแต่งงานแล้วหวีมวยผมให้แก่หญิงสาวที่เข้าพิธีและปักปิ่นผมให้เมื่อสิ้นสุดพิธีการ ถ้าหากสตรีนั้นยังมิได้ประกอบพิธีหมั้นก็จะจัดพิธีปักปิ่นขึ้นเมื่ออายุ 20 ปี ปิ่นถือได้ว่าเป็นเครื่องประดับศีรษะที่สำคัญอย่างมากในจีนในสมัยโบราณ บนตัวปิ่นมักสลักลวดลายต่างๆ และปิ่นนี้ภายหลังก็ได้ได้ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นกิ๊บติดผมในที่สุด
商代笄饰男女 |
|
商代骨笄 (传世实物,原件现藏上海博物馆) ปิ่นที่ทำจากกระดูกในยุคซาง |
玉 佩 เครื่องหยก
孔子认为,玉的美可以象征君子的高贵品德,所以中国古人非常重视佩戴玉制的饰物,玉佩的种类也因此丰富多彩。先秦的玉佩有人纹佩、龙纹佩、鸟纹佩、兽纹佩等,也有将多件玉佩用彩绳串联悬挂于腰带上的组佩,还有透空活环套扣的玉佩,可谓精美绝伦。
ขงจื้อมีความเชื่อว่า หยกที่สวยงามเป็นสัญลักษณ์ของความสูงศักดิ์แห่งบุรุษเพศ ดังนั้นชาวจีนในสมัยโบราณจึงให้ความสำคัญกับเครื่องหยกเป็นอย่างมาก เครื่องหยกจึงมีหลายประเภทด้วยกัน เครื่องประดับที่ทำจากหยกก่อนยุคฉินนั้นก็เช่น หยกสลักลายคน หยกสลักลายมังกร หยกสลักลายปักษา หยกสลักลายสัตว์ป่า และอื่นๆ และมีเครื่องหยกอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้เชือกร้อยเป็นพวง บ้างก็ใช้เป็นหัวเข็มขัดหรือใช้กลัดคอเสื้อ แลสวยงามยิ่งนัก
战国晚期玉镂空龙凤合体纹佩 |
鹦鹉玉佩 |
变形玉璧 |
西周时期的玉玦样式 |
周代男服
周代的男子服装较为宽松,袖子有宽,领子呈矩型。这个时期因为还没出现纽扣,所以一般在腰部系带,并在带子上悬挂玉制的饰物。在穿着者的腹部,还常常佩戴一片上边窄下边宽的斧形装饰布,它原本是用来遮羞的,后来则演化成表示着衣人“决断”的象征物。
เครื่องแต่งกายของผู้ชายสมัยโจว
เสื้อผ้าของผู้ชายในสมัยโจว เป็นเสื้อผ้าแบบหลวมๆ แขนเสื้อกว้าง ปกเสื้อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากในยุคนี้ยังไม่มีเข็มขัดหนัง จึงใช้ผ้ารัดแทน และมักห้อยเครื่องประดับหยกไว้ที่ผ้ารัดเอวนั้นด้วย นอกจากนี้บริเวณท้องของผู้สวมใส่มักห้อยแพรแถบที่ข้างบนแคบข้างล่างกว้างสำหรับประดับให้สวยงาม ซึ่งเดิมทีแพรแถบถูกนำมาใช้เพื่อปิดบังส่วนที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็น แต่ภายหลังก็ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขจนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกชนชั้นผ่านเครื่องแต่งกาย
带 钩
带钩是装在革带的顶端、用来束腰的钩子。先秦时期的贵族非常喜欢把带钩作为一种装饰,这种风气使得带钩的形式更加多样,制作也日趋精美。除了束腰和装饰功能以外,带钩还可以装在腰侧,用以悬挂宝剑、镜子、印章或其它物件。
ตะขอ (สำหรับใช้เกี่ยวสายรัดเอว)
ตะขอชนิดนี้ใช้เกี่ยวไว้ที่ปลายปลายสายรัดเอวสำหรับยึดให้แน่น ผู้ดีในช่วงเวลาก่อนยุคฉินนิยมใช้ตะขอเหล่านี้มาเป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่ง และแฟชั่นช่วงนี้ยิ่งทำให้การใช้ตะขอเกี่ยวสายรัดเอวมีความหลากหลายมากขึ้นไปอีก การผลิตก็ยิ่งมีความน่าสนใจ นอกจากใช้สำหรับคาดเอวและประดับตกแต่งแล้ว ตะขอนี้ก็ยังสามารถห้อยไว้ที่เอวสำหรับแขวนดาบ กระจก ตราประทับหรือสิ่งของอื่นได้อีกด้วย
金银错带钩 |
黄金嵌玉带钩 传世实物,原件现在美国哈佛大学弗格美术馆 |
包金嵌玉银带钩 (河南辉县出土战国实物) |
金银错铲形带钩 (传世实物,原件现在美国福克美术馆) |
嵌宝螭龙纹带钩(传世实物,原件现在美国福克美术馆) |
盔甲
先秦时的军队大多用铜盔和革甲防身。铜盔的顶端一般留有插羽毛的孔,而最常插的羽毛便是 羽,因为为鸟凶猛好斗,至死方休,所以往往以此来激励将士。革甲包括犀牛甲、野牛甲等,一般是将革分割成长方块横排,再以带串连成甲衣,上施彩绘。各种颜色鲜明的甲衣和旗帜,不但可以助振军威,还便于识别身份,分清敌我。
หมวกสำหรับออกรบ
ส่วนใหญ่ในกองทัพในช่วงเวลาก่อนยุคฉินจะใช้หมวกทองแดงและเสื้อเกราะหนังเพื่อป้องกันตัวเอง โดยบนยอดหมวกทองแดงจะมีรูสำหรับเสียบพู่อยู่หนึ่งรู พู่ที่ใช้เสียบทีรูบนหมวกมักเป็นพู่ขนนก เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่สู้จนตัวตาย จึงเปรียบเสมือนเป็นการกระตุ้นทหารให้สู้อย่างนก เสื้อเกราะหนังก็มีทั้งเสื้อเกราะหนังแรด เสื้อเกราะวัวป่า โดยทั่วไปจะนำหนังสัตว์เหล่านั้นมาแผ่ออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และใช้เชือกเย็บทำเป็นเสื้อเกราะ ประดับลวดลายสวยงาม เป็นเสื้อเกราะหลากสีสันสวยงามประกอบธง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการประกาศแสนยานุภาพเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการจำแนกกลุ่มให้เห็นได้ชัดว่าเป็นมิตรหรือศัตรู
商代铜盔(北京故宫博物院藏) |
春秋时期的青铜盔帽 |
战国时期的武士服装(按照河南汲县山彪镇出土的铜鉴纹饰摹绘) |
纹样
先秦时期的服饰纹样以龙凤、动物、几何纹等为主,具有一定的象征意义。当时最主要使用的是龙凤纹,它既寓意宫廷昌隆,又象征婚姻的美满,而鹤与鹿则象征长寿,猫头鹰寓意胜利……在这些图案当中,常常用写实与变体相结合的穿枝花草、藤蔓纹等穿插其中,使整体纹样生动灵巧,繁而不乱。先秦纹样多以刺锈工艺完成。
ลวดลาย
ลวดลายในช่วงเวลาก่อนยุคฉินมักเป็นลาย มังกร หงส์ สัตว์ เป็นหลัก ซึ่งมีความหมายในตัว ลายที่แพร่หลายที่สุดในสมัยนั้นคือหงส์และมังกร ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งและพระบารมีของพระราชวงศ์ และยังเป็นการแสดงถึงความยินดีในพิธีมงคลสมรส นกกระเรียนและกวางแสดงถึงการมีอายุยืนยาว นกฮูกแสดงถึงชัยชนะ ในรูปภาพเหล่านี้มักใช้ภาพธรรมชาติและภาพเหนือธรรมชาติมารวมกันไว้บนลายกิ่งก้านบุปผาชาติหรือเถาวัลย์ ทำให้ภาพเหล่านั้นแลดูมีชีวิตชีวา สลับซับซ้อนแต่ไม่รกรุงรัง ซึ่งลวดลายต่างๆบนเสื้อในยุคก่อนสมัยฉินนี้มักเป็นงานปัก
皇帝冕服上的纹样 |
湖北江陵马山砖厂1号战国楚墓出土龙凤虎纹刺绣 |