พจนานุกรม ไทย – ไทย ส

【 สุดา 】แปลว่า: น. ลูกสาว. (ป., ส. สุตา); หญิงสาว.
【 สุต ๑ 】แปลว่า: [สุด] น. ลูกชาย (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส). (ป., ส.).
【 สุต– ๒ 】แปลว่า: [สุตะ–, สุดตะ–] ก. ได้ยิน, ได้ฟังแล้ว.
【 สุตกวี 】แปลว่า: [สุตะกะวี, สุดตะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรอง
ตามที่ได้ยินมา. (ป.; ส. ศฺรุต).
【 สุตตนิบาต 】แปลว่า: น. คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน.
【 สุตตะ 】แปลว่า: [–ตะ] ก. หลับแล้ว. (ป.; ส. สุปฺต). น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธ-
ศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วน ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
【 สุตตันตปิฎก, สุตตันตะ 】แปลว่า: [สุดตันตะปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก. (ป.).
【 สุตะ 】แปลว่า: ก. ไหลไป. (ป.; ส. สฺรุต).
【 สุติ ๑ 】แปลว่า: น. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรุติ).
【 สุติ ๒ 】แปลว่า: น. การได้ยินได้ฟัง; ขนบธรรมเนียม; เสียง. (ป.; ส. ศฺรูติ).
【 สุทธ–, สุทธ์ 】แปลว่า: ว. หมดจด, สะอาด; ล้วน, แท้. (ป.).
【 สุทธาวาส 】แปลว่า: น. ชื่อพรหมโลกซึ่งเป็นที่ที่พระอนาคามีไปเกิด. (ป.).
【 สุทธาวาส 】แปลว่า: /ดู สุทธ–, สุทธ์./
【 สุทธิ 】แปลว่า: [สุดทิ] ว. แท้ ๆ, ล้วน ๆ, เช่น กาแฟขวดนี้น้ำหนักสุทธิ ๑๐๐ กรัม.
(ป.; ส. ศุทฺธิ).
【 สุทรรศน์, สุทัศน์ 】แปลว่า: [–ทัด] ว. สวย, งดงาม, น่าดู. (ส. สุทรฺศน; ป. สุทสฺสน).
【 สุทัสนะ 】แปลว่า: [–ทัดสะนะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๔ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อม
เป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. สุทสฺสน; ส. สุทรฺศน).
/(ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์)./
【 สุธา ๑ 】แปลว่า: น. นํ้าอมฤต, อาหารทิพย์.
【 สุธาโภชน์ 】แปลว่า: น. ของกินอันเป็นทิพย์. (ป.).
【 สุธารส 】แปลว่า: สุทารด น. นํ้ากิน, ใช้ว่า พระสุธารส.
【 สุธารสชา 】แปลว่า: สุทารดชา น. นํ้าชา, ใช้ว่า พระสุธารสชา.
【 สุธาสินี, สุธาสี 】แปลว่า: น. “ผู้กินอาหารทิพย์” คือ เทวดา. (ป.; ส. สุธาศินฺ).
【 สุธา ๒ 】แปลว่า: น. ปูนขาว; เครื่องโบกและทา. (ป., ส.).
【 สุธาการ 】แปลว่า: น. ช่างอิฐช่างปูน. (ส.).
【 สุธี 】แปลว่า: น. คนมีปัญญา, นักปราชญ์. (ป., ส.).
【 สุนทร, สุนทร– 】แปลว่า: [–ทอน, –ทอนระ–, –ทอระ–] ว. งาม, ดี, ไพเราะ, เช่น วรรณคดี
เป็นสิ่งสุนทร, มักใช้เข้าสมาสกับคำอื่น เช่น สุนทรพจน์ สุนทร
โวหาร. (ป., ส.).
【 สุนทรพจน์ 】แปลว่า: [สุนทอนระ–, สุนทอระ–] น. คําพูดที่ประธานหรือบุคคลสําคัญ
เป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เช่น นายก
รัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.
【 สุนทรี 】แปลว่า: [–ทะรี] น. หญิงงาม, นางงาม, หญิงทั่วไป. (ส., ป.).
【 สุนทรีย–, สุนทรียะ 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับความนิยม ความงาม.
【 สุนทรียภาพ 】แปลว่า: น. ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ ที่แต่ละบุคคลสามารถ
เข้าใจและรู้สึกได้, ความเข้าใจและรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อ
ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ.
【 สุนทรียศาสตร์ 】แปลว่า: น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความงาม และสิ่งที่งามในธรรมชาติ
หรืองานศิลปะ.
【 สุนทรี 】แปลว่า: /ดู สุนทร, สุนทร–./
【 สุนทรีย–, สุนทรียะ 】แปลว่า: /ดู สุนทร, สุนทร–./
【 สุนทรียภาพ 】แปลว่า: /ดู สุนทร, สุนทร–./
【 สุนทรียศาสตร์ 】แปลว่า: /ดู สุนทร, สุนทร–./
【 สุนัข 】แปลว่า: น. หมา (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สุนัขตำรวจ. (ป. สุนข; ส. ศุนก).
【 สุนันท์ 】แปลว่า: ว. เป็นที่ยินดี, น่าสบาย. (ป.).
【 สุโนก 】แปลว่า: น. นก.
【 สุบดี 】แปลว่า: [–บอดี] น. ผัวที่ดี, เจ้านายที่ดี. (ป., ส. สุ + ปติ).
【 สุบรรณ 】แปลว่า: [–บัน] น. ครุฑ. (ส. สุปรฺณ; ป. สุปณฺณ).
【 สุบิน 】แปลว่า: น. ความฝัน, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสุบิน. (ป. สุปิน).
【 สุปรีดิ์ 】แปลว่า: น. ความยินดียิ่ง. (ส. สุ + ปฺรีติ; ป. สุ + ปีติ).
【 สุปรีย์ 】แปลว่า: ว. เป็นที่รักยิ่ง. (ส. สุ + ปฺรีย; ป. สุ + ปิย).
【 สุปาณี 】แปลว่า: ว. ฝีมือเก่ง, คล่องแคล่ว. (ส.).
【 สุพพัต 】แปลว่า: [สุบพัด] น. ผู้ประพฤติดี. (ป. สุพฺพต; ส. สุวรฺต).
【 สุพรรณ, สุพรรณ– 】แปลว่า: [สุพัน, สุพันนะ–] น. ทองคํา. (ส. สุวรฺณ; ป. สุวณฺณ).
【 สุพรรณบัฏ 】แปลว่า: สุพันนะบัด น. แผ่นทองคํารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึก
พระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์
เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า
พระสุพรรณบัฏ; แผ่นทองคํารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึก
ราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะ ขุนนางชั้นสมเด็จเจ้า
พระยา และขุนนางชั้นเจ้าพระยาบางคน ที่ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ; (โบ) แผ่นทองคำที่จารึกพระราชสาส์น.
【 สุพรรณภาชน์ 】แปลว่า: สุพันนะพาด น. ภาชนะสําหรับใส่พระกระยาหาร
ทําด้วยทองคําทั้งชุด, ใช้ว่า พระสุพรรณภาชน์; โต๊ะเท้าช้าง.
【 สุพรรณราช 】แปลว่า: สุพันนะราด น. กระโถนใหญ่, ใช้ว่า พระสุพรรณราช.
【 สุพรรณศรี 】แปลว่า: สุพันนะสี น. กระโถนเล็ก, ใช้ว่า พระสุพรรณศรี.
【 สุพรรณถัน 】แปลว่า: [สุพันนะ–] น. กํามะถัน.
【 สุพรรณิการ์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในสกุล /Cochlospermum /
วงศ์ Cochlospermaceae คือ ชนิด /C. regium/ (Mart.
et Schrank) Pilger ผลมีขน ก้านชูอับเรณูสีเหลืองครึ่ง
หนึ่งสีแดงครึ่งหนึ่ง และชนิด /C. religiosum/ (L.) Alston
ผลเกลี้ยงไม่มีขน ก้านชูอับเรณูสีเหลืองตลอด, ฝ้ายคํา
ก็เรียก.
【 สุภ– 】แปลว่า: [สุบพะ–] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ป.; ส. ศุภ).
【 สุภร 】แปลว่า: [–พอน] ว. เลี้ยงง่าย. (ป.).
【 สุภัค 】แปลว่า: ว. งาม, มีโชค. (ส.).
【 สุภา 】แปลว่า: น. ตุลาการ.
【 สุภาพ 】แปลว่า: ว. เรียบร้อย เช่น เขาแต่งกายสุภาพตามกาลเทศะและความ
นิยม, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, เช่น เขาพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ
ไม่กระโชกโฮกฮาก.
【 สุภาพชน 】แปลว่า: น. ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย, ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน พูดจา
เรียบร้อย รู้กาลเทศะ, เช่น สุภาพชนย่อมไม่ส่งเสียงดังในห้อง
สมุด.
【 สุภาพบุรุษ 】แปลว่า: น. ชายที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะและมีคุณธรรม
เช่น เขาช่วยเหลือเธอตามหน้าที่สุภาพบุรุษ.
【 สุภาพสตรี 】แปลว่า: น. หญิงที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะและมีคุณธรรม
เช่น ท่าทางเธอเรียบร้อยสมเป็นสุภาพสตรี.
【 สุภาษิต 】แปลว่า: น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มี
ความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ ต่อ
นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคําที่กล่าวดี
แล้ว).
【 สุม 】แปลว่า: ก. วางทับซ้อน ๆ กันลงไปจนสูงเป็นกองอย่างไม่มีระเบียบ เช่น
สุมหญ้า สุมฟาง สุมหนังสือไว้เต็มโต๊ะ, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ความทุกข์สุมอก. (โบ) น. ต้นไม้
ใหญ่ที่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น สุมม่วง คือ ป่าม่วง. (จารึกสุโขทัย).
【 สุมกระหม่อม 】แปลว่า: ก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้
หวัดเป็นต้น, สุมหัว ก็ว่า.
【 สุมขอน 】แปลว่า: ก. สุมไฟที่ขอน, เรียกไฟที่ยังไหม้ขอนกรุ่นอยู่ว่า ไฟสุมขอน.
【 สุมควัน 】แปลว่า: ก. สุมไฟให้เป็นควันเพื่อไล่ยุง, สุมไฟไล่ยุง ก็ว่า.
【 สุมพล 】แปลว่า: ก. ประชุมพล, รวมพล, ชุมนุมพล.
【 สุมไฟ 】แปลว่า: ก. เอาฟืนหรือแกลบเป็นต้นทับลงบนกองไฟเพื่อให้ไฟติดกรุ่น
อยู่เสมอ.
【 สุมยุง 】แปลว่า: ก. สุมไฟไล่ยุง.
【 สุมหัว 】แปลว่า: ก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้
หวัดเป็นต้น, สุมกระหม่อม ก็ว่า; มั่วสุม (มักใช้ในทางไม่ดี)
เช่น สุมหัวนินทาเจ้านาย.
【 สุ่ม ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มักสานด้วยไม้ไผ่เป็นตา ๆ ลักษณะ
คล้ายทรงกระบอก ด้านบนสอบเข้า มีช่องให้มือล้วงลงไปได้ เรียก
ว่า สุ่มปลา; เครื่องสานตาห่าง ๆ มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือโอควํ่า
ข้างบนมีช่องกลม ๆ ใช้สําหรับครอบขังไก่เป็นต้น เรียกว่า สุ่มไก่,
โดยปริยายเรียกกระโปรงที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายสุ่มไก่ว่า กระโปรง
ทรงสุ่มไก่. ก. อาการที่เอาสุ่มครอบเพื่อจับปลาเป็นต้น, โดยปริยาย
เรียกอาการที่เดาโดยนึกเอาเองอย่างสุ่มปลาว่า เดาสุ่ม; พูนสูงขึ้น
จนล้น เช่น ข้าวสุ่มจาน.
(รูปภาพ สุ่มปลา)
【 สุ่ม ๒, สุ่ม ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำไปโดยไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือไม่, ไม่เฉพาะ
เจาะจง, เช่น ทำสุ่มไปไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ลองถามสุ่ม ๆ
ไปเผื่อจะมีใครไปด้วย.
【 สุ่มตัวอย่าง 】แปลว่า: ก. หาตัวอย่างเพื่อแทนกลุ่มโดยไม่เฉพาะเจาะจง เช่น
สุ่มตัวอย่างสินค้าเพื่อตรวจคุณภาพ.
【 สุ่มสี่สุ่มห้า 】แปลว่า: ว. ซุ่มซ่าม, ไม่ระมัดระวังให้ดี, ไม่ดูให้ดี, เช่น เดินสุ่มสี่สุ่มห้า
เลยตกบันได กินอาหารสุ่มสี่สุ่มห้าเลยท้องเสีย.
【 สุมทุม 】แปลว่า: น. ที่ซึ่งมีต้นไม้หรือเถาวัลย์ปกคลุมให้ร่มครึ้ม, มักใช้เข้าคู่
กับคำ พุ่มไม้ เป็น สุมทุมพุ่มไม้.
【 สุมน 】แปลว่า: ว. ใจดี, พอใจ. (ส.).
【 สุมนะ, สุมนา 】แปลว่า: [สุมะ–] น. ดอกไม้, ดอกมะลิ. (ป., ส.).
【 สุมนัส 】แปลว่า: [สุมะนัด] ว. ใจดี; ดีใจ, พอใจ. (ส.).
【 สุ้มเสียง 】แปลว่า: น. กระแสเสียง, (โบ) เขียนเป็น ซุ่มเสียง ก็มี เช่น จึงตั้งนะโม
ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
【 สุมะ 】แปลว่า: (แบบ) น. พระจันทร์. (ป., ส. โสม).
【 สุมาลี 】แปลว่า: น. ดอกไม้, พวงดอกไม้.
【 สุเมธ 】แปลว่า: [–เมด] น. คนมีปัญญาดี, นักปราชญ์. (ป., ส.).
【 สุเมรุ 】แปลว่า: [–เมน] น. เขาสิเนรุ, ชื่อภูเขาซึ่งถือว่าเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์. (ไตรภูมิ). (ส.).
【 สุร– ๑ 】แปลว่า: [–ระ–] น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; พระอาทิตย์. ว. กล้าหาญ, เข้มแข็ง.
(ป. สูร; ส. ศูร).
【 สุร– ๒ 】แปลว่า: [–ระ–] น. เทวดา. ว. ทิพย์. (ป., ส.).
【 สุรคต 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดินบางประเทศ).
【 สุรเชษฐ์ 】แปลว่า: น. พระพรหม. (ส. สุรเชฺยษฺ?; ป. สุรเชฏ?).
【 สุรบดี 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส. สุรปติ).
【 สุรบถ 】แปลว่า: น. ฟ้า, สวรรค์. (ส. สุรปถ).
【 สุรภาพ 】แปลว่า: น. อํานาจแห่งเทวดา.
【 สุรโลก 】แปลว่า: น. สวรรค์. (ส.).
【 สุรสีหนาท 】แปลว่า: น. พระดํารัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวงเหมือนเสียง
ของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียงตวาดของ
นักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก.
【 สุรเสียง 】แปลว่า: น. เสียงก้องกังวาน หมายความว่า เสียงของผู้มีอํานาจ.
【 สุรางคนา ๑ 】แปลว่า: น. นางสวรรค์. (ส.).
【 สุรางคนา ๒, สุรางคนางค์ 】แปลว่า: น. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ
เช่นตัวอย่างกาพย์
อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย
ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย
มุ่งร้ายภรรดา.
(กฤษณา),
ตัวอย่างฉันท์
ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค
ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก
ก็แลไสว.
(หลักภาษาไทย),
ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น
กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย
แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย
ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ.
(กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).
【 สุรารักษ์ 】แปลว่า: น. เทวดาผู้คุ้มครอง.
【 สุราลัย 】แปลว่า: น. ที่อยู่ของเทวดา, สวรรค์. (ส.).
【 สุรินทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส.; ป. สุรินฺท).
【 สุเรนทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์. (ส.).
【 สุรงค์, สุรังค์ 】แปลว่า: ว. มีสีดี, มีสีงาม, งามฉูดฉาด, งามเรืองรอง, ใช้เพี้ยนไปเป็น
สุหร่ง ก็มี. (ป., ส.).
【 สุรภี ๑ 】แปลว่า: [สุระ–] น. ต้นสารภี.
【 สุรภี ๒ 】แปลว่า: [สุระ–] น. เครื่องหอม. (ป.; ส. สุรภิ).
【 สุรัติ 】แปลว่า: [สุรัด] น. ความปลาบปลื้มหรือความยินดียิ่ง. (ส. สุ + รติ).
【 สุรัสวดี 】แปลว่า: [—รัดสะวะดี] น. สรัสวดี; ชื่อกรมในสมัยโบราณมีหน้าที่
เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลกหรือชายฉกรรจ์, เรียกเต็ม
ว่า กรมพระสุรัสวดี.
【 สุรา 】แปลว่า: น. เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น, (มักใช้เป็นทางการ), เช่น
ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ. (ป., ส.).
【 สุราบาน 】แปลว่า: น. การดื่มเหล้า; นํ้าเหล้า.
【 สุรางค์จำเรียง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สุรางคนา ๑ 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุรางคนา ๒, สุรางคนางค์ 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุรารักษ์ 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุราลัย 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุรินทร์ 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุรินทราหู 】แปลว่า: [สุรินทะราหู] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สุริย–, สุริยะ 】แปลว่า: [–ริยะ–] น. พระอาทิตย์, ดวงตะวัน. (ป. สุริย; ส. สูรฺย);
(โหร) ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./
【 สุริยกันต์, สุริยกานต์ 】แปลว่า: น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทําให้
เกิดไฟ, สูรยกานต์ ก็ว่า. (ป. สุริยกนฺต; ส. สูรฺยกานฺต).
【 สุริยการ 】แปลว่า: น. แสงพระอาทิตย์.
【 สุริยกาล 】แปลว่า: น. เวลากลางวัน.
【 สุริยคติ 】แปลว่า: [สุริยะคะติ] น. วิธีนับวันและเดือนแบบสากล โดยถือกําหนด
ตําแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก เช่น วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๓๑ เป็น
การนับวันทางสุริยคติ เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม เป็น
การนับเดือนทางสุริยคติ.
【 สุริยคราส, สูรยคราส 】แปลว่า: สุริยะคฺราด, สูระยะคฺราด น. “การกลืนดวงอาทิตย์” ตาม
ความเข้าใจของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวง อาทิตย์, สุริยุ
ปราคา ก็เรียก.
【 สุริยเคราะห์ 】แปลว่า: น. สุริยคราส.
【 สุริยภิม 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกทองที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนาย
สุริยุปราคาได้ถูกต้องว่า ทองสุริยภิม ในข้อความว่า เมื่อ
สุริยุปราคาได้ทองสุริยภิมคนแลบาทด้วยกัน. (สามดวง).
【 สุริยมณฑล 】แปลว่า: น. ดวงหรือวงตะวัน, สูรยพิมพ์ หรือ สูรยมณฑล ก็ว่า.
(ป.; ส. สูรยมณฺฑล).
【 สุริยวงศ์ 】แปลว่า: น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระอาทิตย์, คู่กับ จันทรวงศ์. (ส.).
【 สุริยง, สุริยา, สุริเยนทร์, สุริเยศ, สุริโย 】แปลว่า: (กลอน) น. พระอาทิตย์.
【 สุริยน, สุริยัน 】แปลว่า: น. พระอาทิตย์. (ทมิฬ).
【 สุริยุปราคา 】แปลว่า: [–ยุปะราคา, –ยุบปะราคา] น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวง
อาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ดวง
จันทร์จึงบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก เป็นเหตุให้เห็นดวง
อาทิตย์มืดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) สุริยคราส หรือ
สูรยคราส.
【 สุรีย์ 】แปลว่า: น. พระอาทิตย์, ดวงตะวัน.
【 สุรุ่ยสุร่าย 】แปลว่า: ว. ชอบจับจ่ายใช้สอยสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีนิสัย
สุรุ่ยสุร่าย เงินเดือนจึงไม่พอใช้.
【 สุเรนทร์ 】แปลว่า: /ดู สุร– ๒./
【 สุลต่าน 】แปลว่า: [สุนละ–] น. ประมุขของบางประเทศหรือเจ้าครองนครบาง
รัฐที่นับถือศาสนาอิสลาม. (อ. sultan).
【 สุว– 】แปลว่า: [–วะ–] คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤตแปลว่า ดี,
งาม, ง่าย, สําหรับเติมหน้าคํา เช่น สุวคนธ์. (ป., ส. สุ).
【 สุวภาพ 】แปลว่า: ว. สุภาพ.
【 สุวรรณ, สุวรรณ– 】แปลว่า: [–วัน, –วันนะ–] น. ทอง. (ส. สุวรฺณ; ป. สุวณฺณ).
【 สุวรรณภูมิ 】แปลว่า: [สุวันนะพูม] น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณ
ครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซียและสิงคโปร์.
【 สุวะ 】แปลว่า: [–วะ] น. นกแขกเต้า. (ป.; ส. ศุก).
【 สุวาน 】แปลว่า: น. หมา. (ป.; ส. ศฺวาน).
【 สุวินัย 】แปลว่า: ว. สอนง่าย, ว่าง่าย, ดัดง่าย. (ป., ส.).
【 สุวิมล 】แปลว่า: ว. กระจ่างหรือบริสุทธิ์แท้. (ส.).
【 สุษิระ 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีที่ใช้เป่า มีขลุ่ย ปี่ เป็นต้น. (ส.).
【 สุสาน 】แปลว่า: น. สถานที่สำหรับฝังหรือเผาศพ. (ป.; ส. ศฺมศาน).
【 สุหนัต 】แปลว่า: น. พิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด
ในศาสนาอิสลาม.
【 สุหร่ง 】แปลว่า: ว. มีสีดี, มีสีงาม, งามฉูดฉาด, งามเรืองรอง, เพี้ยนมา
จาก สุรงค์.
【 สุหร่าย 】แปลว่า: [–หฺร่าย] น. เครื่องโปรยนํ้า รูปทรงคล้ายภาชนะกรวดน้ำ
คอสูง ปากมีจุกปิดและเจาะรูอย่างฝักบัว สำหรับสลัดน้ำ
ให้เป็นฝอย. (เปอร์เซีย surahi).
【 สุหฤท, สุหัท 】แปลว่า: [–หะริด, –หัด] น. เพื่อน, ผู้มีใจดี, ใช้ว่า โสหัท หรือ เสาหฤท
ก็มี. (ส. สุหฺฤท; ป. สุหท).
【 สุเหร่า 】แปลว่า: [–เหฺร่า] น. ที่ประชุมทำศาสนกิจของมุสลิม, มัสยิด ก็เรียก.
【 สู ๑ 】แปลว่า: (วรรณ) ว. อาย เช่น มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู.
(ตะเลงพ่าย).
【 สู ๒ 】แปลว่า: (โบ) ส. ท่าน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 สูเจ้า 】แปลว่า: (โบ) ส. ท่าน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 สู่ 】แปลว่า: ก. ไปเยี่ยม เช่น ไปมาหาสู่กัน; แบ่งให้ เช่น มีอะไรก็เอามา
สู่กันกิน. บ. ถึง, ยัง, เช่น หันหน้าสู่ทิศเหนือ ขอจงไปสู่สุคติ.
【 สู่ขวัญ 】แปลว่า: ก. ประกอบพิธีทำขวัญ เช่น ทำพิธีสู่ขวัญ.
【 สู่ขอ 】แปลว่า: ก. เจรจาขอหญิงจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเพื่อการแต่งงาน
เช่น เขาขอให้พ่อแม่ไปสู่ขอลูกสาวกำนัน.
【 สู่รู้ 】แปลว่า: ก. อวดรู้ เช่น ถ้าไม่รู้จริง อย่าสู่รู้.
【 สู่สม 】แปลว่า: (วรรณ) ก. อยู่ร่วมกันเสมือนผัวเมีย, อยู่ร่วมกันอย่างผัวเมีย,
เขียนเป็น สู่สํ ก็มี เช่น ดินฤขัดเจ้าหล้า สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
【 สู่สุขคติ 】แปลว่า: ก. ตาย.
【 สู่หา 】แปลว่า: ก. ไปมาหากัน.
【 สู้ 】แปลว่า: ก. เอาชนะกันด้วยกำลังกาย อาวุธ หรือสติปัญญาความ
สามารถเป็นต้น เช่น ชกสู้เขาไม่ได้จึงยอมแพ้ทหารสู้กันใน
สนามรบ เล่นหมากรุกสู้กัน; มีสติปัญญาความสามารถ
เป็นต้นทัดเทียมกันหรือเหนือกว่า เช่น มีสติปัญญาสู้เขา
ได้; ยอมทน เช่น พูดไปก็ไม่ดี สู้นิ่งไม่ได้.
【 สู้คดี, สู้ความ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เป็นความ, มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล.
【 สู้คน 】แปลว่า: ก. มีใจกล้าไม่ยอมแพ้ใคร เช่น เขาเป็นคนสู้คน, บางทีก็
ใช้เรียกคนที่ขี้ขลาดไม่ยอมสู้ใครว่า เป็นคนไม่สู้คน.
【 สู้ครู 】แปลว่า: ก. มีความรู้พอ ๆ กับครูหรือเหนือกว่า เช่น ความรู้ของเขา
สู้ครูได้; (โหร) เรียกคนที่ดวงชะตามีพฤหัสอยู่ในราศีสิงห์
มีอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนว่า พฤหัสสู้ครู ซึ่งหมายความว่า
มีใจกล้า มีใจเข้มแข็งพอที่จะสู้กับผู้รู้หรือผู้ชำนาญชั้นครูได้.
【 สู้แดดสู้ฝน 】แปลว่า: ก. ทนแดดทนฝน.
【 สู้ตา, สู้สายตา 】แปลว่า: ก. กล้าสบตา เช่น ว่าแล้วยังสู้สายตาอีก.
【 สู้ตาย, สู้จนตัวตาย 】แปลว่า: ก. สู้อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน, สู้ถวายหัว ก็ว่า.
【 สู้ถวายหัว 】แปลว่า: ก. สู้อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน, สู้ตาย หรือ สู้จนตัวตาย ก็ว่า.
【 สู้ปาก, สู้ฝีปาก 】แปลว่า: ก. เถียงกัน เช่น สู้ปากเขาไม่ได้, สู้สีปาก ก็ว่า.
【 สู้ยิบตา 】แปลว่า: (สำ) ก. สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะ
สะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวน
เกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา).
【 สู้รบตบมือ 】แปลว่า: ก. ต่อสู้, ทะเลาะวิวาท, เช่น เราจะเอากำลังที่ไหนไปสู้รบ
ตบมือกับคนมีอำนาจอย่างเขา เขาไม่ยอมสู้รบตบมือด้วย.
【 สู้ราคา 】แปลว่า: ก. มีกำลังที่จะซื้อได้ เช่น ไม่ว่าของชิ้นนี้จะแพงสักเท่าใด
ฉันก็จะสู้ราคา.
【 สู้หน้า 】แปลว่า: ก. รอหน้า, เผชิญหน้า, เช่น เขาทำผิด เลยไม่กล้าสู้หน้าฉัน.
【 สู้เหมือนหมาจนตรอก 】แปลว่า: (สํา) ก. ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี เช่น พอจนมุมเข้า เขาก็สู้เหมือน
หมาจนตรอก.
【 สูกษมะ 】แปลว่า: [สูกสะมะ] ว. สุขุม, ละเอียด. (ส. สูกฺษม; ป. สุขุม).
【 สูง 】แปลว่า: ว. มีระยะที่วัดตรงขึ้นไปตามแนวตั้งฉากกับพื้น เช่น ต้นไม้
สูง ภูเขาสูง; เหนือระดับปรกติ เช่น อุณหภูมิสูงไข้สูง ความ
สามารถสูง; แหลม เช่น เสียงสูง, ระดับเหนือเสียงกลาง
เช่น อักษรสูง; ตรงข้ามกับ ต่ำ เช่น จิตใจสูง.
【 สูงค่า 】แปลว่า: ว. มีค่ามาก เช่น แจกันลายครามใบนี้สูงค่ามากเพราะเป็น
สมบัติตกทอดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว, มีค่าสูง, มีราคาสูง,
เช่น แหวนเพชรวงนี้สูงค่ามาก.
【 สูงชั่วนกเขาเหิน, สูงเท่านกเขาเหิน 】แปลว่า: (สํา) ว. สูงระดับที่นกเขาบิน.
【 สูงเทียมเมฆ 】แปลว่า: (สํา) ว. สูงมาก.
【 สูงศักดิ์ 】แปลว่า: ว. มียศศักดิ์หรือตระกูลสูง เช่น เจ้านายเป็นบุคคลที่
สูงศักดิ์ เขาสืบเชื้อสายมาจากขุนนางผู้สูงศักดิ์.
【 สูงส่ง 】แปลว่า: ว. ที่ยกย่องกันว่าดีเด่น เช่น วรรณคดีเรื่องนี้ยกย่องกันว่ามี
ค่าทางวรรณศิลป์สูงส่ง.
【 สูงสุด 】แปลว่า: ว. มากที่สุด เช่น ตัวเลขสูงสุด เขาได้คะแนนคณิตศาสตร์
สูงสุดในชั้น.
【 สูงสุดสอย, สูงสุดเอื้อม 】แปลว่า: (สํา) ว. สูงเกินกว่าที่จะสอยหรือเอื้อมได้, โดยปริยายใช้
หมายถึงหญิงสูงศักดิ์ที่ยากเกินกว่าที่คนธรรมดาสามัญ
จะเอามาเป็นภรรยาได้.
【 สูงเสียดฟ้า 】แปลว่า: (สำ) ว. สูงมากจนเสมือนว่าจดฟ้า.
【 สูงอายุ 】แปลว่า: ว. มีอายุมาก.
【 สูจกะ 】แปลว่า: [–จะกะ] น. ผู้ชี้แจง; ผู้นําจับ; ผู้ส่อเสียด. (ป., ส.).
【 สูจนะ 】แปลว่า: [–จะนะ] น. การชี้แจง; การนําจับ; การส่อเสียด. (ป., ส.).
【 สูจิ 】แปลว่า: น. เข็ม; เครื่องชี้; รายการ; สารบัญ. (ป., ส.).
【 สูจิบัตร 】แปลว่า: น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพ
เป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา.
【 สูญ 】แปลว่า: ก. ทําให้หายสิ้นไป เช่น คนโบราณใช้ปูนแดงสูญฝี, หายไป
เช่น ทรัพย์สมบัติสูญไปในกองเพลิง. ว. ที่หมดไป ในคำว่า
หนี้สูญ. (ป. สุ?ฺ?; ส. ศูนฺย).
【 สูญขี้ผึ้ง 】แปลว่า: น. กรรมวิธีหนึ่งในการหล่อโลหะ ใช้ขี้ผึ้งพอกหุ้มแกนทราย
ให้เป็นหุ่น แล้วทาไล้ด้วยดินเหนียวผสมขี้วัวและน้ำ จึงเข้า
ดินเป็นพิมพ์ นำไปเผาไฟสำรอกขี้ผึ้งให้ละลายออกจากพิมพ์
จากนี้เทโลหะหลอมเหลวเข้าแทนที่ขี้ผึ้ง.
【 สูญเปล่า 】แปลว่า: ว. หมดสิ้นไปโดยไร้ประโยชน์ เช่น ลงทุนครั้งนี้สูญเปล่าจริง ๆ
นอกจากไม่ได้กำไรแล้วยังขาดทุนอีกด้วย.
【 สูญสิ้น 】แปลว่า: ก. หมดไปโดยไม่มีอะไรเหลือ เช่น เขาสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
เพราะเป็นทาสการพนัน.
【 สูญเสีย 】แปลว่า: ก. สูญไปทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น สูญเสียชีวิต สูญเสีย
ทรัพย์สมบัติ สูญเสียอวัยวะ.
【 สูญหาย 】แปลว่า: ก. หายไป เช่น พี่น้องสูญหายไปในสงคราม.
【 สูด ๑ 】แปลว่า: ก. หายใจเข้าไปโดยแรง เช่น สูดลมหายใจ สูดอากาศ; เดิน
หมากรุกข้ามตาตรงไปโดยไม่เป็นไปตามกําหนดที่วางไว้
(ใช้เฉพาะเม็ดและขุน); ส่งให้สูง.
【 สูด ๒ 】แปลว่า: /ดู กระสูบ./
【 สูต 】แปลว่า: น. ผู้ขับรถหรือนายม้าต้น, สารถี. (ป., ส.).
【 สูตร ๑ 】แปลว่า: [สูด] น. กฎสําหรับจดจํา เช่น สูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์;
ส่วนประกอบที่กำหนดขึ้นในการปรุงยา อาหาร เครื่องดื่ม
เป็นต้น. (ส.; ป. สุตฺต).
【 สูตรเคมี 】แปลว่า: น. หมู่สัญลักษณ์ของธาตุซึ่งเขียนขึ้นแทนสารใดสารหนึ่งเพื่อ
แสดงให้ทราบว่า ๑ โมเลกุลของสารนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุ
ใดบ้าง และมีอย่างละกี่อะตอม เช่น H2O เป็นสูตรเคมีที่เขียน
ขึ้นแทนนํ้า เพื่อแสดงว่านํ้า ๑ โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุ
ไฮโดรเจน ๒ อะตอม และธาตุออกซิเจน ๑ อะตอม.
【 สูตร ๒ 】แปลว่า: [สูด] น. ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร
เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียง
ร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร
สูตรสนธิ.
【 สูตร ๓ 】แปลว่า: น. มุ้ง, ม่าน, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสูตร หรือ พระวิสูตร.
【 สูติ, สูติ– 】แปลว่า: [สู–ติ–] น. การเกิด, กําเนิด, การคลอดบุตร. (ส.).
【 สูติกรรม 】แปลว่า: น. การทำคลอด.
【 สูติบัตร 】แปลว่า: น. เอกสารที่แสดงถึงสัญชาติ วัน เดือน ปี เวลา สถานที่
เกิด และชื่อบิดามารดาของบุคคลโดยนาย ทะเบียนเป็น
ผู้ออกให้.
【 สูตินรีเวช 】แปลว่า: [–นะรีเวด] น. วิชาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และ
โรคเฉพาะสตรี.
【 สูติแพทย์ 】แปลว่า: น. แพทย์ทำคลอดและรักษาโรคที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์.
【 สูติศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติรักษาเรื่องการตั้งครรภ์ การทำ
คลอด และภาวะหลังคลอด.
【 สูท, สูท– 】แปลว่า: [สูด, สูทะ–] น. คนครัว. (ป., ส.).
【 สูทกรรม 】แปลว่า: [สูทะ–] น. การทํากับข้าวของกิน. (ส. สูทกรฺมนฺ).
【 สูทศาสตร์ 】แปลว่า: [สูทะ–] น. วิชาทํากับข้าว.
【 สูนะ 】แปลว่า: (แบบ) ก. เกิด, เป็นขึ้น; บาน, ผลิ, (ใช้แก่ดอกไม้). (ส.).
【 สูนุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ลูก, ลูกเล็ก ๆ, เด็ก. (ป., ส.).
【 สูบ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับดูดของเหลวเช่นนํ้าให้เคลื่อนจากระดับ
เดิมไปสู่ระดับใหม่, เครื่องสำหรับดูดหรืออัดลม. ก. ดูด
เข้าไป เช่น สูบบุหรี่ สูบกัญชา, ดูดออกมา เช่น สูบส้วม
สูบน้ำออกจากนา.
【 สูบเลือด, สูบเลือดสูบเนื้อ 】แปลว่า: ก. เรียกเอาเงินหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยอาการขูดรีด
หรือเอารัดเอาเปรียบอย่างยิ่ง.
【 สูบ ๒ 】แปลว่า: /ดู กระสูบ./
【 สูป–, สูปะ 】แปลว่า: [สูปะ–] น. ของกินที่เป็นนํ้า, แกง, ของต้มที่เป็นนํ้า, มักใช้เข้าคู่
กับคํา พยัญชนะ เป็น สูปพยัญชนะ หมายความว่า กับข้าว.
(ป., ส.).
【 สูปการ 】แปลว่า: น. คนครัว.
【 สูร 】แปลว่า: [สูน, สูระ] น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; พระอาทิตย์. (ป., ส.).
ว. กล้าหาญ, เข้มแข็ง. (ป.; ส. ศูร).
【 สูรย– 】แปลว่า: [สูระยะ–] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของ
สมาส. (ส.; ป. สุริย).
【 สูรยกานต์ 】แปลว่า: น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทําให้
เกิดไฟ, สุริยกันต์ หรือ สุริยกานต์ ก็ว่า. (ส. สูรฺยกานฺต;
ป. สุริยกนฺต).
【 สูรยคราส, สุริยคราส 】แปลว่า: น. “การกลืนดวงอาทิตย” ตามความเข้าใจของคนโบราณ
ที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงอาทิตย์, สุริยุปราคา ก็เรียก.
【 สูรยพิมพ์ 】แปลว่า: น. ดวงหรือวงตะวัน, สุริยมณฑล หรือ สูรยมณฑล ก็ว่า.
【 สูรยมณฑล 】แปลว่า: น. ดวงหรือวงตะวัน, สุริยมณฑล หรือ สูรยพิมพ์ ก็ว่า.
(ส.; ป. สุริยมณฺฑล).
【 สูรยวาร 】แปลว่า: น. วันอาทิตย์, อาทิจจวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า.
【 สูรย์ 】แปลว่า: สูน น. สุริยุปราคา ในคำว่า เกิดสูรย์.
【 สูริ 】แปลว่า: น. คนมีปัญญา. (ป., ส.); ผู้กล้าหาญ. (ป.; ส. ศูริ).
【 สูสี 】แปลว่า: ก. เกี่ยวพัน, ข้องแวะ, เช่น อย่าไปสูสีกับคนพาล; ไล่เลี่ย,
พอ ๆ กัน, เช่น ฝีมือของ ๒ คนนี้สูสีกัน สอบได้คะแนนสูสีกัน.
【 เส 】แปลว่า: ก. เฉ, ไถล, เช่น เสไปพูดเรื่องอื่น, เชือนแช เช่น เสความ.
【 เสความ 】แปลว่า: ก. ทําเนื้อความให้เชือนแชหรือไถลไปเป็นเรื่องอื่น.
【 เสสรวล 】แปลว่า: [–สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น,
สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า.
【 เสแสร้ง 】แปลว่า: [–แส้ง] ก. แกล้งทําให้เข้าใจเป็นอื่น, แกล้งทำไม่ตรงกับใจ,
เช่น เขาเสแสร้งทำดีด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบคนคนนั้น.
【 เสก 】แปลว่า: ก. ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำล้างหน้า
เสกแป้งผัดหน้า, ร่ายมนตร์เพื่อทำให้สิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่ง
หนึ่ง เช่น เสกหญ้าให้เป็นหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อ
ตัวแตน, ร่ายมนตร์เพื่อให้เกิดพลังส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปทำร้าย
ศัตรู เช่น เสกหนังเข้าท้อง.
【 เสกคาถา 】แปลว่า: ก. ร่ายมนตร์.
【 เสกเป่า 】แปลว่า: ก. ร่ายมนตร์หรือคาถาแล้วเป่าลงไป.
【 เสกสมรส 】แปลว่า: ก. แต่งงาน (ใช้แก่เจ้านาย).
【 เสกสรร 】แปลว่า: [–สัน] ก. เลือกทำหรือพูดเอาเอง เช่น เขามีเงินมีทอง จะเสก
สรรอะไรก็ทำได้.
【 เสกสรรปั้นแต่ง, เสกสรรปั้นเรื่อง 】แปลว่า: ก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจ
ผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจ
กันอยู่เสมอ.
【 เสกข–, เสกขะ 】แปลว่า: [–ขะ–] น. ผู้ยังต้องศึกษาอยู่, พระอริยบุคคลผู้ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตผล. (ป.; ส. ไศกฺษ).
【 เสกขบุคคล, เสขบุคคล 】แปลว่า: น. ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ หมายถึง พระอริยะที่ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตผล. (ป.).
【 เสข–, เสขะ 】แปลว่า: [เสขะ–] น. เสกขะ.
【 เสขบุคคล, เสกขบุคคล 】แปลว่า: น. ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ หมายถึง พระอริยะที่ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตผล. (ป.).
【 เส็ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. พาลเกะกะ.
【 เส็งเคร็ง 】แปลว่า: ว. เลว, ไม่ดี, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา, เช่น ของเส็งเคร็งไม่มีใคร
ต้องการ ป่านี้ไม้ดี ๆ ถูกตัดไปหมดแล้ว เหลือแต่ไม้เส็งเคร็ง.
【 เส้ง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Sterculiaceae คือ ชนิด
/Pentapetes phoenicea/ L. ใบเรียวยาว ดอกสีแดงคลํ้า และ
ชนิด /Melochia corchorifolia/ L. ดอกสีชมพูอ่อน. (๒) (ถิ่น–
พายัพ) ปอกระเจา. /[ดู กระเจา (๑)]/; ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด
/Triumfetta bartramia/ L. ในวงศ์ Tiliaceae ดอกสีเหลือง
ผลกลมเล็ก มีขนแข็งคล้ายหนาม.
【 เสงี่ยม 】แปลว่า: [สะเหฺงี่ยม] ก. สํารวมกิริยาวาจาด้วยเจียมตัว. ว. สุภาพ
เรียบร้อย. (ข. เสฺงี่ยม).
【 เสงี่ยมเจียมตัว 】แปลว่า: [สะเหฺงี่ยม–] ก. สำรวมกิริยาวาจาด้วยเจียมตัว. ว. สุภาพ
เรียบร้อย.
【 เสงี่ยมหงิม 】แปลว่า: [สะเหฺงี่ยม–] ก. สำรวมกิริยาไม่ค่อยพูดจา.
【 เสฏฐี 】แปลว่า: น. เศรษฐี, คนมั่งมี. (ป.; ส. เศฺรษฺ??นฺ).
【 เสณี 】แปลว่า: น. แถว, สาย; พวก, หมวด. (ป.; ส. เศฺรณี).
【 เสด 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) น. ปีจอ.
【 เสด็จ 】แปลว่า: [สะเด็ด] น. คําเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและ
หลานเธอซึ่งพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน. (ราชา) ก. ไป เช่น
เสด็จประพาส, อยู่ เช่น เสด็จประทับ.
【 เสด็จในกรม 】แปลว่า: (ปาก) น. คําเรียกเจ้านายที่ทรงกรม.
【 เสด็จพระราชดำเนิน 】แปลว่า: ก. ไป (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จ
พระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จ
พระบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทาง
ลาดพระบาท เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง.
【 เสต– 】แปลว่า: –ตะ– ว. เศวต, สีขาว. (ป.; ส. เศฺวต).
【 เสตุ 】แปลว่า: น. สะพาน, ทํานบ. (ป., ส.).
【 เสถียร, เสถียร– 】แปลว่า: [สะเถียน, –เถียนระ–] ว. มั่นคง, แข็งแรง, คงตัว. (ส. สฺถิร;
ป. ถิร).
【 เสถียรภาพ 】แปลว่า: [สะเถียนระ–] น. ความมั่นคง, ความคงตัว, ความไม่เปลี่ยน
แปลง, เช่น เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาล
ก็ไม่มีเสถียรภาพ.
【 เสทะ, เสโท 】แปลว่า: น. เหงื่อ, เหงื่อไคล. (ป.; ส. เสฺวท).
【 เสน ๑ 】แปลว่า: น. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร
Pb3O4 ลักษณะเป็นผงละเอียด สีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์
ในอุตสาหกรรมทําสีทาและทําแก้ว, ตะกั่วแดง ก็เรียก.
(อ. red lead, minium). /(ดู ตะกั่วแดง ที่ ตะกั่ว)./
【 เสน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อลิงชนิด /Macaca arctoides/ ในวงศ์ Cercopithecidae
ตัวใหญ่ สีนํ้าตาลแดง หน้าแดง ก้นแดง หางสั้นมาก.
【 เสน– ๓ 】แปลว่า: น. เสนา, กองทหาร, หมู่ทหาร. (ป., ส. เสนา).
【 เส้น 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นสาย แถว แนว ที่ไม่จำกัดความยาว
เช่น เส้นผม เส้นขน เส้นโลหิต; เส้นเลือด เส้นเอ็น และเส้น
ประสาท; รอยที่ปรากฏเป็นทางบนพื้นเป็นแนว เช่น เส้นขอบ
ฟ้า; ชื่อมาตราวัด ๒๐ วา เป็น ๑ เส้น; (คณิต) สิ่งซึ่งมีแต่
ความยาว ไม่มีความกว้างและความหนา.
【 เส้นแกงร้อน 】แปลว่า: น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อแช่
นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่นแกงร้อน, วุ้นเส้น
ก็เรียก.
【 เส้นขนาน 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากัน
โดยตลอด; (ภูมิ) เส้นหรือวงกลมเล็กบนผิวโลกที่ขนาน
กับเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นนี้มีค่าละติจูดเท่ากัน,
เรียกเต็มว่า เส้นขนานละติจูด.
【 เส้นแข็ง 】แปลว่า: น. อาการที่กล้ามเนื้อตึงจนแข็งทำให้เลือดลมเดินไม่
สะดวก; (ปาก) ผู้มีอํานาจสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง.
【 เส้นจม 】แปลว่า: น. อาการที่เส้นเลือดถูกกล้ามเนื้อที่ตึงแข็งกดให้อยู่ลึก
ลงไปกว่าปรกติ.
【 เส้นชัย 】แปลว่า: น. เส้นที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ.
【 เส้นตรง 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นที่สั้นที่สุดระหว่างจุด ๒ จุด.
【 เส้นตั้งฉาก 】แปลว่า: น. เส้นตรงที่ทำมุม ๙๐? กับอีกเส้นตรงหนึ่ง.
【 เส้นตาย 】แปลว่า: น. วันเวลาที่กําหนดเป็นขั้นเด็ดขาด ใช้ว่า ขีดเส้นตาย หรือ
กำหนดเส้นตาย เช่น กำหนดเส้นตายให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ไปให้หมดภายใน ๓๐ วัน.
【 เส้นตึง 】แปลว่า: น. อาการที่กล้ามเนื้อตึงเกิดจากเลือดลมเดินไม่สะดวกหรือ
ออกกำลังกายไม่ถูกวิธีเป็นต้น.
【 เส้นตื้น 】แปลว่า: ว. ที่ทําให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ง่าย เช่น เขาเป็นคนเส้นตื้น
ได้ยินเรื่องขำขันนิดหน่อยก็หัวเราะ.
【 เส้นทแยง 】แปลว่า: น. เส้นตรงที่ลากในแนวเอียงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง.
【 เส้นทแยงมุม 】แปลว่า: น. เส้นตรงที่ลากจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม.
【 เส้นทาง 】แปลว่า: น. ทาง, แนวทาง, เช่น ไปสำรวจเส้นทางก่อนเดินทาง.
【 เส้นบรรทัด 】แปลว่า: น. เส้นที่ตีหรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์
【 เสน่ห์ 】แปลว่า: [สะเหฺน่] น. ลักษณะที่ชวนให้รัก เช่น เธอเป็นคนมีเสน่ห์;
วิธีการทางไสยศาสตร์ที่ทำให้คนอื่นรัก เช่น เขาถูกเสน่ห์.
เสน่ห์ปลายจวัก (สํา) น. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหาร
ให้โอชารส.
【 เสนห–, เสนหา, เสน่หา 】แปลว่า: [สะเนหะ–, สะเน–, สะเหฺน่–] น. ความรัก. (ส.).
【 เสน่ห์จันทร์ขาว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด /Alocasia lindenii/ Rod. ในวงศ์
Araceae, ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ก็เรียก.
【 เสน่ห์จันทร์แดง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Homalomena rubescens/ Kunth
ในวงศ์ Araceae เหง้ามีกลิ่นหอมใช้ทํายาได้, ว่านเสน่ห์
จันทร์แดง ก็เรียก.
【 เสนอ 】แปลว่า: [สะเหฺนอ] ก. ยื่นเรื่องราว ความเห็น ญัตติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบ
ให้พิจารณา หรือให้สั่งการ เช่น เสนอรายงานการเดินทางให้
ผู้บังคับบัญชาทราบ เสนอโครงการให้พิจารณาเสนอบันทึก
ความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ ลูก ๆ เสนอให้ไปพักผ่อนชาย
ทะเล, แสดงให้เห็น เช่น เสนอตัวอย่างสินค้า เสนอละครเรื่องใหม่.
【 เสนอตัว 】แปลว่า: ก. แสดงความจำนงมอบตัวให้พิจารณาเพื่อแต่งตั้งหรือรับไว้
ทำงานเป็นต้น เช่น เขาเสนอตัวรับใช้ประชาชนเขาเสนอตัว
เป็นนายกสมาคม.
【 เสนอหน้า 】แปลว่า: ก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้
มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดง
ตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกัน
จะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย.
【 เสนะ 】แปลว่า: [เส–นะ] น. เหยี่ยว. (ป.; ส. เศฺยน).
【 เสนา ๑ 】แปลว่า: [เส–นา] น. ไพร่พล. (ป., ส.).
【 เสนาธิการ 】แปลว่า: น. ตำแหน่งนายทหารผู้ทำหน้าที่หาและให้ข่าวสารประมาณ
การ ให้ข้อเสนอแนะ ทำแผนและคำสั่ง กำกับดูแลทางฝ่าย
อำนวยการ และติดต่อประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชา
กับหน่วยทหาร แต่ไม่มีหน้าที่สั่งการบังคับบัญชาหน่วยทหาร.
【 เสนาธิปัต 】แปลว่า: น. ฉัตรผ้าขาวองค์ ๑ ใน ๓ องค์ ซึ่งเป็นชุดที่เรียกว่าพระกรรภิรมย์,
เสมาธิปัต ก็ว่า.
【 เสนาบดี 】แปลว่า: –บอดี น. แม่ทัพ; ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่; เจ้ากระทรวง
ซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการในปัจจุบัน. (ป., ส.).
【 เสนาพยุห์, เสนาพยูห์ 】แปลว่า: [–พะ–] น. กระบวนทัพ. (ป., ส.).
【 เสนา ๒ 】แปลว่า: [เส–นา] น. วัดนา, ตรวจสอบที่นา, แสนา ก็ว่า. (เทียบ ข. แสฺร = นา).
【 เสน่า 】แปลว่า: [สะเหฺน่า] น. มีดสั้นสำหรับเหน็บประจำตัว.
【 เสนากุฎ 】แปลว่า: [เส–นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสีรูป
สิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สําหรับแต่งเข้ากระบวนแห่
ของหลวง.
【 เสนางค์, เสนางคนิกร 】แปลว่า: [เส–นาง, –คะนิกอน] น. ส่วนแห่งกองทัพโบราณมี ๔ ส่วน
คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า. (ป.).
【 เสนานี 】แปลว่า: น. ผู้นําทัพ. (ป., ส.).
【 เสนาสนะ 】แปลว่า: [เส–นาสะ–] น. ที่นอนและที่นั่ง, ที่อยู่. (ใช้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร).
(ป. เสน + อาสน).
【 เสนาะ ๑ 】แปลว่า: [สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู;
(กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหย
ครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข.
สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).
【 เสนาะ ๒ 】แปลว่า: [สะเหฺนาะ] น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น บ้างสวมใส่เสนาะเกราะพราย.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 เสนี 】แปลว่า: (กลอน) น. เสนา.
【 เสนีย์, เสนียะ 】แปลว่า: น. จอมทัพ, ผู้นําทัพ. (ป.).
【 เสนียด ๑ 】แปลว่า: [สะเหฺนียด] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Justicia adhatoda/ L. ในวงศ์
Acanthaceae ใบยาวรีออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวออกเป็น
ช่อตามยอด มีกาบหุ้ม ใบใช้ทํายาได้, กระเหนียด ก็เรียก.
【 เสนียด ๒ 】แปลว่า: [สะเหฺนียด] น. เรียกหวีที่มีซี่ละเอียดทั้ง ๒ ข้างว่าหวีเสนียด.
(ข. สฺนิต).
【 เสนียด ๓ 】แปลว่า: [สะเหฺนียด] ว. จัญไร, อัปมงคล, เช่น อย่าทำตัวเป็นเสนียด
แผ่นดิน.
【 เสบย 】แปลว่า: สะเบย ก. สบาย เช่น วันนี้ดูหน้าตาไม่เสบย. (ข. เสฺบิย).
【 เสบียง 】แปลว่า: [สะเบียง] น. อาหารที่จะเอาไปกินระหว่างเดินทางไกล,
อาหารที่เก็บไว้สำหรับบริโภค, มักใช้เข้าคู่กับคำ อาหาร
เป็น เสบียงอาหาร, เขียนว่า สะเบียง ก็มี.
【 เสบียงกรัง 】แปลว่า: น. อาหารที่เก็บไว้กินได้นาน ๆ, อาหารรองรัง, เช่น ในยาม
สงครามต้องเตรียมเสบียงกรังไว้มาก ๆ.
【 เสพ 】แปลว่า: ก. คบ เช่น ซ่องเสพ; กิน, บริโภค, เช่น เสพสุรา; ร่วม
ประเวณี เช่น เสพเมถุน. (ป., ส.).
【 เสเพล 】แปลว่า: [–เพฺล] ว. ชอบประพฤติเหลวไหล, ไม่เอางานเอาการ, เช่น
คนเสเพล, มีความประพฤติเหลวแหลก ในคำว่า หญิงเสเพล.
【 เสภา 】แปลว่า: น. ชื่อกลอนชนิดหนึ่ง นิยมแต่งเล่าเรื่องค่อนข้างยาว ใช้ขับ
เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน, เวลาขับมีกรับเป็นเครื่องประกอบ
จังหวะ ต่อมาใช้ปี่พาทย์รับ.
【 เสภาทรงเครื่อง 】แปลว่า: น. เสภาที่ใช้ปี่พาทย์บรรเลงรับเวลาร้องส่ง บางทีมี
เพลงหน้าพาทย์ประกอบ, เสภาส่งเครื่อง ก็ว่า.
【 เสภารำ 】แปลว่า: น. เสภาทรงเครื่องที่มีตัวละครออกมารำประกอบการขับ.
【 เสม็ด 】แปลว่า: [สะเหฺม็ด] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Melaleuca cajuputi/ (Powell) L.
ในวงศ์ Myrtaceae ใช้เปลือกและเนื้อไม้ผุคลุกกับนํ้ามันยาง
ทําไต้ เรียกว่า ไต้เสม็ด ใบให้น้ำมันเขียว ใช้ทํายาได้.
【 เสมหะ 】แปลว่า: [เสม–] น. เสลด, เมือกที่ออกจากลำคอ ทรวงอก และลำไส้.
(ป.; ส. เศฺลษฺม).เสมอ ๑ [สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน,
เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใคร
ชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่
ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.
【 เสมอใจ 】แปลว่า: ว. เหมือนใจ, ได้ดังใจ.
【 เสมอต้นเสมอปลาย 】แปลว่า: ว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี
เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบา
อาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย.
【 เสมอตัว 】แปลว่า: ว. ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ขาดทุน, เช่น เขาลงทุนครั้งนี้มีแต่เสมอตัว
ไม่มีหวังได้กำไร.
【 เสมอบ่าเสมอไหล่ 】แปลว่า: ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะ
จนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ
เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.
【 เสมอภาค 】แปลว่า: ว. มีส่วนเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น ในปัจจุบันบุรุษและสตรี
มีสิทธิเสมอภาคกัน.
【 เสมอสอง 】แปลว่า: (วรรณ) ว. เทียบเท่า, เทียบคู่, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น
พระสังข์ครั้งนี้จะถอดเงาะ งามเหมาะไม่มีเสมอสอง.
(สังข์ทอง).
【 เสมอหน้า 】แปลว่า: ว. ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน, ทัดเทียม, ไม่โอนเอียงเข้าข้างใด
ข้างหนึ่ง, เช่น รักลูกเสมอหน้ากัน.
【 เสมอเหมือน 】แปลว่า: ว. เทียบเท่า, เทียบเหมือน, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น
ผู้หญิงคนนี้งามไม่มีใครเสมอเหมือน เด็กคนนั้นซนไม่มี
ใครเสมอเหมือน.
【 เสมอ ๒ 】แปลว่า: [สะเหฺมอ] ก. เข้าข้าง, คาดว่าจะชนะ, เช่น มวยคู่นี้คุณจะเสมอ
ฝ่ายไหน.
【 เสมอนอก 】แปลว่า: ว. เข้าข้างอยู่ภายนอก เช่น ในการแข่งขันชกมวยผู้ดูเป็น
ฝ่ายเสมอนอก.
【 เสมอ ๓ 】แปลว่า: [สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้อง
กราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียก
ว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอ
นาง เสมอมาร.
【 เสมอ ๆ 】แปลว่า: [สะเหฺมอสะเหฺมอ] ว. เรียบราบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, เช่น ปรับ
พื้นให้เสมอ ๆ กัน; ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ, เช่น เขา
มาหาเสมอ ๆ.
【 เสมา ๑ 】แปลว่า: [เส–มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มี
ลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพง
เมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อย
คอมีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
【 เสมา ๒ 】แปลว่า: [เส–มา] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล /Opuntia/ วงศ์ /Cacta-/
/ceae/ ลําต้นแบนอวบนํ้า มีหนามแข็งเป็นกระจุกทั่วไปคือ
ชนิด /O.elatior/ Miller และชนิด /O. vulgaris/ Miller.
【 เสมา ๓ 】แปลว่า: [สะเหฺมา] น. หญ้า. (ข. เสฺมา).
【 เสมียน 】แปลว่า: [สะเหฺมียน] น. เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ, (โบ) ตำแหน่ง
เจ้าหน้าที่ระดับล่างที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือ
เป็นต้น.
【 เสมียนตรา 】แปลว่า: –ตฺรา น. เรียกตำแหน่งเจ้ากรมหนึ่งในกระทรวงกลาโหม
ว่า เจ้ากรมเสมียนตรา.
【 เสมือน 】แปลว่า: [สะเหฺมือน] ว. เหมือนกับ, เหมือนกัน, คล้ายคลึงกัน, เช่น
รักกันเสมือนญาติ.
【 เสย 】แปลว่า: ก. ช้อนขึ้น เช่น ช้างเสยงา, เอาหวีหรือนิ้วมือไสผมขึ้นไป
ในคำว่า เสยผม, เกย เช่น เสยหัวเรือเข้าตลิ่ง, โดยปริยาย
หมายถึงอาการอย่างอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เอาหมัด
เสยคาง.
【 เสร็จ 】แปลว่า: [เส็ด] ก. จบ, สิ้น, เช่น พอเสร็จงานเขาก็กลับบ้าน; (ปาก) สมใจ
หมาย เช่น ถ้าเขาเชื่อเรา เขาก็เสร็จเราแน่; เสียที, เสียรู้, เช่น
ถ้าเราไว้ใจคนขี้โกง เราก็เสร็จเขาแน่; เสียหาย, พัง, เช่น เกิด
พายุใหญ่ นาเสร็จไปหลายร้อยไร่; ตาย เช่น ใครที่ป่วยเป็น
มะเร็งถึงขั้นนี้แล้ว อีกไม่นานก็เสร็จแน่; เกิดผลร้าย เช่น ขืน
เสนอเรื่องนี้ขึ้นไป มีหวังเสร็จแน่. ว. แล้วเช่น พอพูดเสร็จก็เดิน
ออกไป.
【 เสร็จกัน, เสร็จเลย 】แปลว่า: (ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงความผิดหวัง เช่น เสร็จกัน ยัง
ไม่ทันได้ออกแสดง เสื้อผ้าก็เปื้อนหมดแล้ว เสร็จเลย ลืมเอา
กระเป๋าสตางค์มา.
【 เสร็จสรรพ 】แปลว่า: ว. เสร็จหมดทุกอย่าง เช่น เมื่อปฏิบัติงานเสร็จสรรพ เขาก็
ไปพักผ่อน.
【 เสร็จสิ้น 】แปลว่า: ก. สำเร็จแล้ว, หมดแล้ว, เช่น ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้น
แล้ว.
【 เสริด 】แปลว่า: [เสิด] ก. ห่าง, หนี, หลีกหนี, หนีรอด. ว. พ้น, เร็ว.
【 เสริม 】แปลว่า: [เสิม] ก. เพิ่ม, เติม, ต่อเติม, หนุน, เช่น เสริมคันกั้นน้ำ เสริม
กราบเรือให้สูงขึ้น เสริมจมูก. ว. ที่เพิ่มเติม เช่น อาหารเสริม
เก้าอี้เสริม พูดเสริม.
【 เสริมส่ง 】แปลว่า: ก. เกื้อหนุนให้เจริญขึ้น เช่น ครอบครัวที่ดีย่อมเสริมส่งให้
หัวหน้าครอบครัวประสบความสำเร็จ.
【 เสริมสร้าง 】แปลว่า: ก. เพิ่มพูนให้ดีหรือมั่นคงยิ่งขึ้น เช่น เสริมสร้างเอกลักษณ์ของ
ชาติ เสริมสร้างสัมพันธไมตรีอันดี.
【 เสริมสวย 】แปลว่า: ก. ตกแต่งให้ดูสวยงามขึ้น (มักใช้แก่สตรี). น. เรียกสถานที่
รับแต่งผม แต่งหน้า แต่งเล็บ เป็นต้น ว่า ห้องเสริมสวยหรือ
ร้านเสริมสวย.
【 เสรี 】แปลว่า: ว. ที่ทำได้โดยอิสระ, มีสิทธิที่จะทําจะพูดได้โดยไม่ละเมิด
สิทธิของผู้อื่น. (ป.; ส. ไสฺวรินฺ).
【 เสรีไทย 】แปลว่า: น. ขบวนการของชาวไทยที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา
และอังกฤษ มีความมุ่งหมายที่จะช่วยให้ประเทศชาติรอดพ้น
จากการยึดครองของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๔–
๒๔๘๘).
【 เสรีธรรม 】แปลว่า: น. หลักเสรีภาพ.
【 เสรีนิยม 】แปลว่า: น. ลัทธิเศรษฐกิจสังคมที่ต้องการให้รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวควบคุม
การดำเนินการทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของเอกชน
น้อยที่สุด; ทัศนคติทางสังคมที่ต้องการให้บุคคลมีสวัสดิการ
ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและกระจายไปยังคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง.
ว. ชอบเสรีภาพ, ที่เป็นไปในทางส่งเสริมเสรีภาพ.
【 เสรีภาพ 】แปลว่า: น. ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนา
โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพใน
การนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิด
สิทธิของผู้อื่น.
【 เสล–, เสลา ๑ 】แปลว่า: [–ละ–, –ลา] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล).
【 เสลบรรพต 】แปลว่า: น. ภูเขาหิน. (ป. เสลปพฺพต; ส. ไศลปรฺวต).
【 เสลด 】แปลว่า: [สะเหฺลด] น. เสมหะ, เมือกที่ออกจากลําคอ ทรวงอก และ
ลำไส้. (เทียบ ส. เศฺลษฺม).
【 เสลดหางวัว 】แปลว่า: น. เมือกข้นเหนียวที่ตีขึ้นมาจุกที่คอและปิดหลอดลม ทําให้
หายใจไม่ออก, เสลดหางงัว ก็เรียก.
【 เสลดพังพอน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Barleria lupulina/ Lindl. ในวงศ์ Acan-
thaceae มีหนามแหลมสีแดงตามข้อ เส้นกลางใบสีแดง
ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง.
【 เสลา ๒ 】แปลว่า: [สะเหฺลา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Lagerstroemia tomentosa /
Presl ในวงศ์ Lythraceae ใบมีขน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ
ใหญ่ตามปลายกิ่ง.
【 เสลา ๓ 】แปลว่า: [สะเหฺลา] ว. สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, เปลา, โปร่ง, เฉลา ก็ว่า.
【 เสลี่ยง 】แปลว่า: [สะเหฺลี่ยง] น. ที่นั่งมีคานหามคู่หนึ่งสอดรับ เป็นเครื่องแสดง
อิสริยยศ, ถ้าหามไป เรียกว่า เสลี่ยงหาม, ถ้าหิ้วไป เรียกว่า
เสลี่ยงหิ้ว.
【 เสลี่ยงกง 】แปลว่า: น. เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ.
【 เสลี่ยงกลีบบัว 】แปลว่า: น. เสลี่ยงชนิดที่เชิงแคร่ที่นั่งแกะไม้เป็นลายกลีบบัวโดยรอบ.
【 เสลือกสลน 】แปลว่า: [สะเหฺลือกสะหฺลน] ว. เถลือกถลน.
【 เสโล 】แปลว่า: น. เครื่องกันอาวุธ, โล่.
【 เสวก 】แปลว่า: [–วก] น. ข้าราชการในราชสํานัก. (ป.; ส. เสวก = คนใช้).
【 เสวกามาตย์ 】แปลว่า: [–วะกามาด] น. เสวกและอํามาตย์.
【 เสวกามาตย์ 】แปลว่า: /ดู เสวก./
【 เสวนะ, เสวนา 】แปลว่า: [เสวะ–] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนา
กับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้
พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).
【 เสวย ๑ 】แปลว่า: สะเหฺวย ก. กิน, เสพ, เช่น เสวยพระกระยาหาร
เสวยพระสุธารส; ครอง เช่น เสวยราชย์. (ข. โสฺวย).
【 เสวย ๒ 】แปลว่า: [สะเหฺวย] ก. ได้รับ, ได้ประสบ, เช่น เสวยทุกขเวทนา, ได้รับ
ประโยชน์ เช่น เสวยสิทธิ์. (ข. โสฺวย).
【 เสวยกรรม 】แปลว่า: (วรรณ) ก. ตาย เช่น หนหลังเกรงแหล่งหล้า พระบาทคิด
หนหน้า อยู่เกล้าเสวยกรรมฯ. (ลอ).
【 เสวยพระชาติ 】แปลว่า: ก. เกิด (ใช้แก่พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเกิดเป็นพระโพธิสัตว์).
【 เสวียน 】แปลว่า: [สะเหฺวียน] น. ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยหญ้า หวาย หรือฟาง
เป็นต้น ถักหรือมัดเป็นวงกลม มักมีหู ๒ ข้างสำหรับหิ้ว ใช้
รองก้นหม้อที่หุงต้มด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่าน, ของใช้ชนิดหนึ่ง
ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลม สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ
มีพ้อมข้าวเป็นต้น.
【 เสสรวง 】แปลว่า: [–สวง] ก. บน, บูชา, เซ่น, สรวงเส ก็ใช้.
【 เสสรวล 】แปลว่า: [–สวน] ก. หัวเราะเล่น.
【 เสา ๑ 】แปลว่า: น. ท่อนไม้สำหรับใช้เป็นหลักหรือเป็นเครื่องรองรับสิ่งอื่นมี
เรือนเป็นต้น เช่น เสาเรือน เสาโทรเลข, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้
ในลักษณะเช่นนั้น.
【 เสากระโดง 】แปลว่า: น. เสาสําหรับกางใบเรือ, เสาในเรือเดินทะเลใหญ่ ๆ ที่ไม่
ใช้ใบเช่นเรือรบ สำหรับติดไฟ ธงเครื่องหมาย ธงสัญญาณ
และธงรหัสต่าง ๆ ติดเรดาร์ ติดเสาอากาศสำหรับรับส่งคลื่น
วิทยุ บนยอดเสามีรังกาเป็นที่สำหรับยามยืนเฝ้าตรวจสิ่ง
ต่าง ๆ มีข้าศึก หินโสโครก เรืออื่น ๆ เป็นต้น.
【 เสาเกียด 】แปลว่า: น. ไม้ที่ปักขึ้นเป็นหลักกลางลาน สำหรับผูกควายหรือวัวให้
ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ, เกียด ก็ว่า.
【 เสาเข็ม 】แปลว่า: น. ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น สําหรับ
ฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เข็ม ก็ว่า. /(ดู เข็ม ๑)./
【 เสาเขื่อน 】แปลว่า: น. ไม้หรือวัสดุอย่างอื่น มีลักษณะเป็นท่อนกลมหรือเป็นเหลี่ยม
ปักล้อมเป็นรั้วกั้นเขตในวัดเป็นต้น.
【 เสาค่าย 】แปลว่า: น. ไม้หรือไม้ไผ่ปักรายล้อมหมู่บ้าน เมือง หรือที่ตั้งค่ายทหาร
ในสมัยโบราณ, เสาระเนียด ก็ว่า.
【 เสาโคม 】แปลว่า: น. ไม้ ไม้ไผ่ หรือเสาหินเป็นต้น ที่ปักสำหรับติดตั้งโคมหรือ
ชักโคมขึ้นไปแขวนให้แสงสว่าง.
【 เสาชี้ 】แปลว่า: น. เสาที่ยื่นออกไปทางหัวเรือ.
【 เสาดั้ง 】แปลว่า: น. เสาเรือนเครื่องสับ ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอดขึ้นไปรับอกไก่,
ดั้ง ก็ว่า.
【 เสาโด่ 】แปลว่า: น. เสาเรือนเครื่องผูก มักใช้ไม้ไผ่ ตั้งอยู่กึ่งกลางบนหลังรอด
ขึ้นไปรับอกไก่.
【 เสาตรี 】แปลว่า: น. เสาเรือนที่ตั้งถัดเสาโทไปทางทิศตะวันตก.
【 เสาตอม่อ 】แปลว่า: น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือน
เครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง,
ตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ย
ม่อต้อเหมือนเสาตอม่อ; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วย
ค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, ตอม่อ หรือ เสาหมอ
ก็ว่า.
【 เสาตะเกียบ 】แปลว่า: น. เสาสั้นคู่หนึ่งที่ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือ
พื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ตั้งตรง
มีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสากลางลง
มาได้, ตะเกียบ ก็ว่า.
【 เสาตะลุง 】แปลว่า: น. ไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปักเป็น
หลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น, ตะลุง
ก็ว่า.
【 เสาโตงเตง 】แปลว่า: น. เสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียด
ให้ช้างเข้าออก, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออก
มีเสาโตงเตงชั้นเดียว, โตงเตง ก็ว่า.
【 เสาไต้ 】แปลว่า: น. เสาที่ปักขึ้นไว้สำหรับปักไต้จุดให้แสงสว่างในสมัยโบราณ.
【 เสาทุบเปลือก 】แปลว่า: น. เสาไม้เนื้ออ่อนลำขนาดย่อม ซึ่งทุบแล้วลอกเอาเปลือก
ออก แต่ไม่ได้ถากแต่ง ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว เป็นต้น.
【 เสาโท 】แปลว่า: น. เสาเรือนที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเสาเอก.
【 เสาธง 】แปลว่า: น. เสาที่ใช้ชักธงขึ้นสู่ยอดเสา.
【 เสานางจรัล 】แปลว่า: น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร
สำหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, เสานางเรียง ก็ว่า.
【 เสานางแนบ 】แปลว่า: น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้าสำหรับ
ประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมี
ส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, เสาบังอวด ก็ว่า.
【 เสานางเรียง 】แปลว่า: น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร
สําหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, เสานางจรัล ก็ว่า.
【 เสาในประธาน 】แปลว่า: น. เสาที่ทำขึ้นเป็น ๒ แถวเรียงเป็นคู่ ๆ ต่อออกมาทางด้านหน้า
ฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานในอุโบสถ วิหาร เป็นต้น.
【 เสาบังอวด 】แปลว่า: น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้าสำหรับ
ประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมี
ส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, เสานางแนบ ก็ว่า.
【 เสาประโคน 】แปลว่า: น. เสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมือง
เป็นต้น, ประโคน ก็ว่า.
【 เสาปอง 】แปลว่า: น. เสาเตี้ย ๆ สำหรับผูกเท้าหลังช้าง เช่น ผูกช้างยืนโรง
ผูกช้างในการเล่นผัดช้าง, ปอง ก็ว่า.
【 เสาพล 】แปลว่า: น. เสาเรือนทั้งหมดที่มิใช่เสาเอก เสาโท และเสาตรี.
【 เสาแพนก 】แปลว่า: [–พะแนก] น. ฝาผนังส่วนนอกที่ก่อให้นูนหนาขึ้นดูคล้ายเสา
เพื่อช่วยเสริมฝาผนังให้มั่นคงสำหรับรับขื่อ.
【 เสาระเนียด 】แปลว่า: น. เสาค่าย.
【 เสาราย 】แปลว่า: น. เสาที่ทำตั้งขึ้นเป็นแถวเพื่อรับชายคาอุโบสถ วิหาร ระเบียง
เป็นต้น.
【 เสาหงส์ 】แปลว่า: น. เสาที่ทำรูปหงส์ติดไว้ที่ยอด มักปักอยู่ตามหน้าวัดของ
ชาวรามัญ.
【 เสาหมอ 】แปลว่า: น. เสาขนาดสั้นสําหรับช่วยรองรับรอดทางด้านสกัดหัวท้าย
เรือนเครื่องผูก; เสานําสําหรับปักเสาใหญ่ลงในนํ้า; เสาชาน
เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน,
ตอม่อ หรือ เสาตอม่อ ก็ว่า; เสาที่มั่นคงสําหรับผูกช้าง.
【 เสาหลัก 】แปลว่า: (สำ) น. บุคคลที่สังคมยอมรับนับถือว่าเป็นหลักของบ้านเมือง
ในด้านสติปัญญาหรือด้านวิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น.
【 เสาหลักเมือง 】แปลว่า: น. เสาที่สร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของเมือง มักทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์.
【 เสาหาน 】แปลว่า: น. เสาเล็กตั้งอยู่เหนือบัลลังก์ รายเป็นวงล้อมก้านฉัตรรอง
รับขอบบัวฝาละมีในเจดีย์ทรงลังกา; เสาคู่ที่ตั้งอยู่หน้าสุด
ของมุขเด็จสำหรับรับหน้าบัน.
【 เสาเอก 】แปลว่า: น. เสาเรือนต้นแรกที่ยกขึ้นตามฤกษ์ในการปลูกเรือน มักนิยม
ตั้งไว้ทางทิศตะวันออก.
【 เสา ๒ 】แปลว่า: น. มันเสา. /(ดู มันเสา ที่ มัน ๑)./
【 เส้า 】แปลว่า: น. ไม้หลักหรือวัตถุที่ตั้งหรือปักเป็น ๓ มุมสําหรับรองรับ เช่น
เอาก้อนอิฐมาวางให้เป็น ๓ เส้า.
【 เสาร์ 】แปลว่า: น. ชื่อวันที่ ๗ ของสัปดาห์. (ส.; ป. โสร); ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่
๖ ในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์
ประมาณ ๑,๔๒๗ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนว
เส้นศูนย์สูตร ๑๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร มีวงแหวนล้อมรอบที่เห็น
ได้ในกล้องโทรทรรศน์. (ส.).
【 เสารภย์ 】แปลว่า: [–รบ] น. กลิ่นหอม. (ส. เสารภฺย; ป. สุรภี).
【 เสารี 】แปลว่า: น. ชื่อวันที่ ๗ ของสัปดาห์; ชื่อดาวพระเสาร์; (โหร) ชื่อยาม
หนึ่งใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./ (ส. เสาริ).
【 เสาว– 】แปลว่า: [–วะ–] ว. ดี, งาม. (แผลงมาจาก สว สุ โส เช่น เสาวภาพ แผลง
มาจาก สวภาพ, เสาวคนธ์ แผลงมาจาก สุคนธ์, เสาวภา แผลง
มาจาก โสภา).
【 เสาวคนธ์ ๑, เสาวคันธ์ 】แปลว่า: น. ของหอม, เครื่องหอม, กลิ่นหอม.
【 เสาวธาร 】แปลว่า: น. นํ้าหอม.
【 เสาวภา 】แปลว่า: ว. งาม. (ป. โสภา).
【 เสาวภาคย์ 】แปลว่า: น. ความสุขเกษม, ความเจริญ, โชคลาภ, ความสําเร็จ.
(ส. เสาวภาคฺย; ป. โสภคฺค).
【 เสาวภาพ 】แปลว่า: ว. สุภาพ, เรียบร้อย, อ่อนโยน, ประพฤติดี, ละมุนละม่อม.
【 เสาวรภย์ 】แปลว่า: น. เสารภย์, กลิ่นหอม. (ส.).
【 เสาวรส ๑ 】แปลว่า: ว. มีรสอร่อย, มีรสดี. (ป., ส. สุรส).
【 เสาวลักษณ์ 】แปลว่า: น. ลักษณะดี, ลักษณะงาม. ว. มีลักษณะดี, มีลักษณะงาม.
(ส. สุลกฺษณ).
【 เสาวคนธ์ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เสาว–./
【 เสาวคนธ์ ๒ 】แปลว่า: /ดู รสสุคนธ์./
【 เสาวณิต 】แปลว่า: ก. ฟังแล้ว, รับสั่ง.
【 เสาวนะ, เสาวนา, เสาวนาการ 】แปลว่า: น. การฟัง, การได้ฟัง. (ป. สวน, สวนาการ).
【 เสาวนีย์ 】แปลว่า: น. คําสั่งของพระราชินี, ใช้ว่า พระราชเสาวนีย์; (กลอน) คําสั่ง
ของท้าวพระยา. (ป. สวนีย).
【 เสาวรส ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เสาว–./
【 เสาวรส ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Passiflora laurifolia/ L. ในวงศ์ Passi-
floraceae ดอกสีม่วง กลิ่นหอม.
【 เสาหฤท 】แปลว่า: [–หะริด] น. เพื่อน, ผู้มีใจดี. (ส. เสาหฺฤท).
【 เสาะ ๑ 】แปลว่า: ก. ค้น, สืบ, แสวง, เช่น เสาะหา. ว. ไม่เข้มแข็ง ในคำว่า ใจเสาะ.
【 เสาะด้าย, เสาะไหม 】แปลว่า: ก. สาวด้ายหรือไหมที่จะเอามาทอผ้า.
【 เสาะท้อง 】แปลว่า: ว. ที่ทำให้ท้องเสีย เช่น กินของเปรี้ยวจัดหรือเผ็ดจัดทำให้
เสาะท้อง.
【 เสาะป่าน 】แปลว่า: ก. สาวเชือกป่านว่าวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเพื่อให้หายยุ่ง.
【 เสาะแสวง 】แปลว่า: ก. ใช้ความพยายามมากเพื่อค้นหา เช่น ของชิ้นนี้เป็นของ
หายาก เขาอุตส่าห์ไปเสาะแสวงมาให้.
【 เสาะ ๒ 】แปลว่า: (โบ; วรรณ) ก. ทรุดลง, ห่อเหี่ยวลง, ใช้ว่า เสราะ ก็มี เช่น
ก็เสาะและเสราะใจจง. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. โสะ = จืด,
ชืด, ขาดรสชาติ, หมด).
【 เสาะแสะ 】แปลว่า: ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, กระเสาะกระแสะ ก็ว่า.
【 เสิร์จ 】แปลว่า: น. ชื่อผ้าเนื้อลายสองชนิดหนึ่ง มักทําด้วยขนแกะ. (อ. serge).
【 เสิร์ฟ 】แปลว่า: ก. ยกอาหารหรือเครื่องดื่มมาบริการ เช่น บริกรเสิร์ฟอาหาร
ให้ลูกค้า; (กีฬา) เริ่มส่งลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับ เช่น ฝ่ายไทย
เป็นฝ่ายได้เสิร์ฟก่อน. (อ. serve).
【 เสีย ๑ 】แปลว่า: ก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสีย
ชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์;
ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมด
ทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัด
เรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสีย
หมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนม
ปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่าย
เงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไป
เพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลาย
ปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระ
ร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย;
พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.
【 เสียกบาล 】แปลว่า: น. กรรมวิธีเซ่นผีโดยเอาเครื่องเซ่นพร้อมตุ๊กตาดินปั้นเป็นต้น
ใส่กระบะกาบกล้วยไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือลอยน้ำ เพื่อ
มิให้ผีร้ายมานำตัวเด็กที่เจ็บป่วยไป, เรียกตุ๊กตาที่ใช้ในการ
นี้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาล.
【 เสียกระบวน 】แปลว่า: ก. ไม่เป็นกระบวน เช่น กองทัพถูกตีร่นจนเสียกระบวน,
ไม่เป็นไปตามลำดับรูปแบบที่กำหนด เช่น จัดรถบุปผชาติ
ให้เป็นไปตามลำดับ อย่าให้เสียกระบวน.
【 เสียกล 】แปลว่า: ก. พลาดไปเพราะรู้ไม่ทันเล่ห์กลของเขา เช่น บัดนี้สุครีพ
ฤทธิรณ เสียกลกุมภัณฑ์ยักษา. (รามเกียรติ์).
【 เสียการ 】แปลว่า: ก. ทำให้สิ่งที่มุ่งหมายไว้ไม่เป็นผล เช่น ขอให้กำชับผู้ใต้บังคับ
บัญชาให้ทำงานอย่างรอบคอบ อย่าให้เสียการได้.
【 เสียการเสียงาน 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยาก
จะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ
ก็ว่า.
【 เสียกำซ้ำกอบ, เสียกำแล้วซ้ำกอบ 】แปลว่า: (สํา) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่าง
เชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ
เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
【 เสียกำได้กอบ, เสียกำแล้วได้กอบ 】แปลว่า: (สํา) ก. เสียน้อยไปก่อนแล้วจะได้มากในภายหลัง เช่น เสีย
หนึ่งนิ่งไว้นานไปคงได้สองเสมือนหนึ่งของท่านหายมีที่ไว้
ข้าพเจ้าคงจะหามาให้ไม่ให้เดือดร้อนยอมเสียกำไปก่อน
นั่นแหละ จึงจะได้กอบ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 เสียกำลังใจ 】แปลว่า: ก. ทำให้กำลังใจตกหรือลดลง, รู้สึกท้อใจ, เช่น นักมวยชกแพ้
เพราะเสียกำลังใจ.
【 เสียกิริยา 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาที่สังคมถือว่าไม่สมควร, เสียมารยาท ก็ว่า.
【 เสียขวง 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) ก. เสียผี, ให้ผีกินเปล่าเสียก่อนเพื่อให้หมดเคราะห์.
【 เสียขวัญ 】แปลว่า: ก. หมดกำลังใจเพราะสิ้นหวังและหวาดกลัว เช่น ทหารตกอยู่
ในที่ล้อม ขาดเสบียง ทำให้เสียขวัญ.
【 เสียคน 】แปลว่า: ก. กลายเป็นคนเสื่อมเสียเพราะประพฤติไม่ดีเป็นต้น เช่น
เขาติดการพนันจนเสียคน.
【 เสียคำพูด 】แปลว่า: ก. ไม่ทําตามที่พูดไว้, ไม่รักษาคําพูด.
【 เสียงาน 】แปลว่า: ก. ทำให้สิ่งหรือเรื่องที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จหรือบกพร่อง เช่น
เพื่อน ๆ รับปากว่าจะมาช่วยแล้วไม่มา ทำให้เสียงานหมด.
【 เสียงานเสียการ 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น
เขามัวแต่ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ จนเสียงานเสียการ, เสีย
การเสียงาน ก็ว่า.
【 เสียจริต 】แปลว่า: ว. เป็นบ้า, มีสติวิปลาส, วิกลจริต.
【 เสียใจ 】แปลว่า: ก. ไม่สบายใจเพราะมีเรื่องไม่สมประสงค์หรือผิดประสงค์
เช่น เด็กเสียใจเมื่อรู้ว่าทำผิด; (วรรณ) คลุ้มคลั่ง เช่น กลัว
ศัตรูฝ่ายหน้า หลังพระเสียใจข้า ดุจดับแก้วสองดวง. (ลอ).
【 เสียโฉม 】แปลว่า: ก. มีตำหนิตามร่างกายโดยเฉพาะที่ใบหน้า ทำให้ความงาม
ลดลง เช่น เธอประสบอุบัติเหตุ ถูกกระจกบาดหน้า เลยเสีย
โฉม, โดยปริยายใช้แก่สิ่งของที่มีตำหนิ เช่น แจกันใบนี้ปาก
บิ่นไปหน่อย เลยเสียโฉม.
【 เสียชาติเกิด 】แปลว่า: (ปาก) ก. เกิดมาแล้วควรจะทำให้ได้ แต่กลับไม่ได้ทำหรือ
ทำไม่สำเร็จ หรือทำความดีไม่ได้ ก็ไม่น่าจะเกิดมาเป็นคน
เช่น เกิดเป็นไทย ใจเป็นทาส เสียชาติเกิด เกิดมาเป็นคน
ทั้งที ต้องทำความดีให้ได้ จะได้ไม่เสียชาติเกิด.
【 เสียชีพ, เสียชีวิต 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น เขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเมื่อวานนี้.
【 เสียชื่อ 】แปลว่า: ก. ทําให้ชื่อเสียงไม่ดี เช่น เขาติดยาเสพติดและเป็น
นักการพนัน เลยทำให้เสียชื่อ.
【 เสียเช่น 】แปลว่า: (วรรณ) ว. มีกำเนิดไม่ดี เช่น บ้างก็ดุเดือดด่าขู่เขี้ยวเข็ญ
ว่าอีชาติชั่วอีเสียเช่นชาติมันไม่ดี. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 เสียเชิง 】แปลว่า: ก. เสียท่า, พลาดท่า, เช่น ผู้ใหญ่ยังอาจเสียเชิงเด็กได้.
【 เสียเชิงชาย 】แปลว่า: ก. เสียชั้นเชิงที่ผู้ชายพึงมีให้ผู้หญิงดูแคลน เช่น ถูกผู้หญิง
หลอกจนขายหน้าอย่างนี้ เสียเชิงชายหมด.
【 เสียดาย 】แปลว่า: ก. รู้สึกอยากได้สิ่งที่เสียไปพลาดไปเป็นต้น ให้กลับคืนมา เช่น
เธอเสียดายแหวนเพชรที่หายไป, รู้สึกว่าพลาดโอกาสที่ควรจะ
มีจะได้ เช่น เสียดายที่เขาไม่เชิญฉันไปงานนี้ด้วย, รู้สึกไม่อยาก
ให้เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น เปิดน้ำเปิดไฟทิ้งไว้ น่าเสียดาย;
อาลัยถึงสิ่งที่จากไป เช่น เขาเสียดายที่คนดี ๆ ตายในอุบัติเหตุ
ครั้งนี้หลายคน.
【 เสียเด็ก 】แปลว่า: ก. กลายเป็นเด็กนิสัยไม่ดี ทำตามใจตัว เป็นต้น เช่น อย่าตาม
ใจลูกมากนัก จะเสียเด็ก.
【 เสียตัว 】แปลว่า: ก. ถูกชายร่วมประเวณี (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียเนื้อเสียตัว ก็ว่า;
(ถิ่น–อีสาน) ตาย.
【 เสียตา 】แปลว่า: ก. สูญเสียนัยน์ตาไป; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น
ของอย่างนี้ ฉันไม่อยากดูให้เสียตาหรอก, เสียสายตา ก็ว่า.
【 เสียตีน 】แปลว่า: ก. สูญเสียตีนไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น
บ้านของเขา ฉันไม่ไปเหยียบให้เสียตีนหรอก.
【 เสียแต่, เสียที่ 】แปลว่า: สัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตา
ก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.
【 เสียแต้ม 】แปลว่า: ก. เสียคะแนน เช่น นักกีฬาทำผิดกติกาเลยเสียแต้ม, ขาย
หน้า เช่น วันนี้เสียแต้ม นัดไปเลี้ยงเพื่อนแล้วลืมเอากระเป๋า
สตางค์ไป, เสียความนิยม เช่น ถ้านักการเมืองพูดไม่ถูกใจ
ประชาชน ก็จะเสียแต้ม.
【 เสียเถอะ, เสียเถิด 】แปลว่า: ว. คําประกอบท้ายกริยา แสดงการเกลี้ยกล่อมหรือขอร้อง
เช่น ไปเสียเถิด.
【 เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร 】แปลว่า: (สำ) ก. ไม่ยอมยกสามีให้หญิงอื่นแม้จะแลกกับทรัพย์สินเงินทอง
จำนวนมากก็ตาม.
【 เสียท่า 】แปลว่า: ก. พลาดท่า เช่น ตั้งใจจะไปต่อว่าเขา แต่เสียท่าถูกเขาว่า
กลับมา.
【 เสียที ๑ 】แปลว่า: ก. พลาดท่วงที เช่น คนซื่อเกินไปมักเสียทีคนปลิ้นปล้อน.
ว. เสียแรง, เสียโอกาส, เสียเที่ยว, เช่น เสียทีที่มาหาแล้ว
ก็ไม่พบ.
【 เสียเที่ยว 】แปลว่า: ก. เดินทางไปหรือมาแล้วไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ เช่น
เดินทางไปหาเพื่อนแล้วไม่พบ เสียเที่ยวเปล่า.
【 เสียธรรมเนียม 】แปลว่า: ก. ผิดไปจากแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อเวลาไป
ไหว้พระควรมีดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย อย่าให้เสียธรรมเนียม.
【 เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย 】แปลว่า: (สำ) ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่า
เดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรก
แตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสีย
น้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.
【 เสียน้ำใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกน้อยใจเนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นคุณค่าหรือความ
ตั้งใจดีของตนเป็นต้น เช่น เขาอุตส่าห์เอาของมาให้แต่ไม่รับ
ทำให้เขาเสียน้ำใจ.
【 เสียน้ำตา 】แปลว่า: ก. ร้องไห้ เช่น ละครเรื่องนี้เศร้าจริง ๆ ทำให้ฉันต้องเสีย
น้ำตา คนเลว ๆ อย่างนี้ตายไปก็ไม่น่าจะเสียน้ำตาให้.
【 เสียนิสัย 】แปลว่า: ก. มีนิสัยไม่ดี เช่น พ่อแม่มีลูกคนเดียว จึงตามใจจนลูกเสีย
นิสัย เอาแต่ใจตัวเอง.
【 เสียเนื้อเสียตัว 】แปลว่า: ก. ถูกชายร่วมประเวณี (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียตัว ก็ว่า.
【 เสียบน 】แปลว่า: ก. ใช้บน, แก้บนแก่ผีสางเทวดา.
【 เสียปาก 】แปลว่า: ก. พูดออกไปเปล่าประโยชน์ เช่น เด็กดื้ออย่างนี้เตือนไป
ก็เสียปากเปล่า ๆ; ไม่คู่ควรที่จะกิน เช่น ของอย่างนี้ฉัน
ไม่กินให้เสียปาก.
【 เสียเปรียบ 】แปลว่า: ก. เป็นรอง, ด้อยกว่า, เช่น คนซื่อมักเสียเปรียบคนโกง.
【 เสียเปล่า 】แปลว่า: ก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสีย
เปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็น
ลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสีย
เปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.
【 เสียผี 】แปลว่า: ก. ทำพิธีเซ่นผีเพื่อขอขมาในความผิดเชิงชู้สาวตามประเพณี
ท้องถิ่น.
【 เสียผู้ใหญ่ 】แปลว่า: ก. เสียคุณลักษณะของผู้ใหญ่ ทําให้ไม่เป็นที่เคารพเชื่อถือ
ของผู้อื่น เช่น เธอมาขอให้ฉันไปตกลงหมั้นกับฝ่ายโน้น
เรียบร้อยแล้ว มาเปลี่ยนใจเสียเช่นนี้ ฉันก็เสียผู้ใหญ่.
【 เสียแผน 】แปลว่า: ก. ผิดไปจากแผนการที่วางไว้ เช่น วางแผนจะไปเที่ยว
แต่ฝนตกหนักจนไปไม่ได้ เลยเสียแผนหมด.
【 เสียพรหมจรรย์ 】แปลว่า: ก. ขาดจากความเป็นนักบวชเพราะล่วงละเมิดการประพฤติ
พรหมจรรย์.
【 เสียพรหมจารี 】แปลว่า: ก. ผ่านการร่วมประเวณีครั้งแรก (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียสาว ก็ว่า.
【 เสียเพศ 】แปลว่า: (วรรณ) ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยัง
เมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา. (สมุทรโฆษ),
เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ
ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็น
พญามหากระษัตราธิราช. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
【 เสียภูมิ 】แปลว่า: ก. ถูกลบฐานะ, เสียฐานะท่าที, เช่น เป็นถึงนักมวยชั้นครู
มาแพ้นักมวยหัดใหม่ เสียภูมิหมด ปัญหาง่าย ๆ ที่นักเรียน
ถาม ครูตอบไม่ได้ เสียภูมิหมด.
【 เสียมารยาท 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาที่สังคมถือว่าไม่สมควร, เสียกิริยา ก็ว่า.
【 เสียมือ 】แปลว่า: ก. สูญเสียมือไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น
คนอย่างนี้ ฉันไม่ไหว้ให้เสียมือหรอก.
【 เสียมือเสียตีน, เสียมือเสียเท้า 】แปลว่า: ก. สูญเสียมือและตีนไป, สูญเสียมือและเท้าไป, โดยปริยาย
หมายถึงเสียบุคคลที่รับใช้ใกล้ชิดหรือไว้วางใจไป เช่น เด็ก
คนนี้รับใช้ใกล้ชิดจนรู้ใจท่านสมภารมานาน ตายไปก็เท่ากับ
ท่านเสียมือเสียตีนไป.
【 เสียยุบเสียยับ 】แปลว่า: ก. เสียแล้วเสียอีก (มักใช้แก่เงินทอง) เช่น ไปเที่ยวงานคราวนี้
เสียยุบเสียยับ.
【 เสียรอย 】แปลว่า: (วรรณ) ก. ทํารอยให้หลงเข้าใจผิด เช่น แล้วเสียรอยถอย
หลังลงสู่สระศรี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
【 เสียรังวัด 】แปลว่า: ก. พลอยได้รับผิดด้วยในเหตุที่เกิดขึ้น, พลอยเสียหายไปด้วย,
เช่น เด็กในบ้านไปขโมยมะม่วงของเพื่อนบ้าน เขามาต่อว่า
เจ้าของบ้านก็พลอยเสียรังวัดไปด้วย.
【 เสียราศี 】แปลว่า: ก. เสียสง่า, เสียเกียรติยศ, เสียศักดิ์ศรี, เสียสิริมงคล, เช่น
คบคนชั่วทำให้เสียราศี.
【 เสียรำคาญ 】แปลว่า: ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเซ้าซี้ขอให้ช่วยซื้อ
ของก็เลยต้องซื้อเพราะอดเสียรำคาญไม่ได้, ตัดรำคาญ ก็ว่า.
【 เสียรู้ 】แปลว่า: ก. แพ้เพราะโง่กว่าเขาหรือไม่ทันชั้นเชิงเขา.
【 เสียรูป 】แปลว่า: ก. ผิดรูปผิดร่างไป เช่น กระเป๋าใบนี้ใส่ของอัดแน่นจนเกินไป
ทำให้เสียรูปหมด.
【 เสียรูปคดี 】แปลว่า: (ปาก) ก. เป็นผลให้คดีเปลี่ยนไปในทางที่เสียเปรียบ.
【 เสียรูปทรง, เสียรูปเสียทรง 】แปลว่า: ก. ผิดไปจากรูปทรงเดิม, ผิดไปจากรูปทรงที่ถือว่างาม, เช่น
เขาป่วยหนักมา ๓ เดือน ผอมมากจนเสียรูปเสียทรงหมด
ตอนสาว ๆ ก็รูปร่างดี พอมีอายุมากขึ้น อ้วนเผละจนเสีย
รูปทรงหมด.
【 เสียแรง 】แปลว่า: ก. เสียเรี่ยวแรง เช่น งานนี้ทำไปก็เสียแรงเปล่า ๆ ได้ผลประโยชน์
ไม่คุ้ม. ว. ที่น้อยใจหรือผิดหวังที่ลงแรงไปแล้วแต่ไม่ได้ผลสม
ประสงค์ เช่น เสียแรงไว้วางใจให้รู้ความลับของบริษัทกลับเอาไป
เปิดเผยให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ได้.
【 เสียฤกษ์ 】แปลว่า: ก. ทำไม่ได้ในระหว่างเวลามงคลที่กำหนดไว้ (ใช้ในทาง
โหราศาสตร์) เช่น เจ้าสาวเป็นลมหมดสติในระหว่างพิธี
รดน้ำสังข์ เลยทำให้เสียฤกษ์; ไม่ทันเวลาที่นัดหมาย เช่น
นัดกันจะไปธุระแต่เขามาไม่ทัน เสียฤกษ์หมด.
【 เสียเลือดเนื้อ, เสียเลือดเสียเนื้อ 】แปลว่า: ก. บาดเจ็บล้มตาย เช่น ในการสู้รบกัน ย่อมเสียเลือดเสียเนื้อ
เป็นธรรมดา.
【 เสียเวลา 】แปลว่า: ก. ใช้เวลาหมดไป เช่น วันหนึ่ง ๆ เขาเสียเวลาคอยรถประจำ
ทางเป็นชั่วโมง, โดยปริยายหมายความว่า หมดเวลาไปโดย
ไม่ได้ประโยชน์คุ้ม เช่น หนังสือเล่มนี้เสียเวลาอ่าน.
【 เสียศูนย์ 】แปลว่า: ก. ผิดจากแนวที่ถูกต้อง เช่น ปืนเสียศูนย์ ยิงได้ไม่แม่นยำ.
【 เสียเศวตฉัตร 】แปลว่า: ก. เสียความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, เสียราชสมบัติ, เสียบ้านเสียเมือง,
เสียเอกราช, ใช้พูดย่อว่า เสียฉัตร ก็มี.
【 เสียสติ 】แปลว่า: ว. มีสติฟั่นเฟือน, คุ้มดีคุ้มร้าย.
【 เสียสมอง 】แปลว่า: ก. สิ้นเปลืองความคิด เช่น เรื่องนี้คิดไปก็เสียสมองเปล่า ๆ
ปัญหาข้อนี้ยากมาก เสียสมองอยู่นานกว่าจะคิดออก, เสีย
หัว ก็ว่า.
【 เสียสละ 】แปลว่า: ก. ให้โดยยินยอม, ให้ด้วยความเต็มใจ, เช่น ทหารเสียสละ
ชีวิตเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ พ่อแม่เสียสละทุกสิ่งทุก
อย่างได้เพื่อลูก.
【 เสียสัตย์ 】แปลว่า: ก. ละทิ้งคำมั่นสัญญา เช่น ยอมเสียชีวิตดีกว่าเสียสัตย์.
【 เสียสันดาน 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสียอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น
เด็กคนนี้เสียสันดาน ชอบลักขโมยของคนอื่น.
【 เสียสายตา 】แปลว่า: ก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือใน
ที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ใน
ความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก,
เสียตา ก็ว่า.
【 เสียสาว 】แปลว่า: ก. ผ่านการร่วมประเวณีครั้งแรก (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียพรหมจารี
ก็ว่า.
【 เสียเส้น 】แปลว่า: ก. เสียจังหวะ เช่น เขากำลังเล่าเรื่องตื่นเต้น เธอก็พูดขัดคอ
ขึ้นมา ทำให้เสียเส้นหมด, พลาดโอกาสที่หวังไว้หรือที่ตั้งใจ
ไว้ เช่น เตรียมจัดงานใหญ่โตเพื่อต้อนรับผู้ใหญ่ แต่ปรากฏ
ว่าท่านไม่มา ทำให้เสียเส้นหมด.
【 เสียหน้า 】แปลว่า: ก. ขายหน้า เช่น ลูกประพฤติตัวไม่ดี พลอยทำให้พ่อแม่
เสียหน้าไปด้วย.
【 เสียหลัก 】แปลว่า: ก. ผิดไปจากหลักการ หลักเกณฑ์ หรือความถูกต้องเป็นต้น
เช่น เป็นผู้ใหญ่มีคนเขานับถือ ทำสิ่งใดอย่าให้เสียหลัก; ซวด
เซ, พลาดท่า, ทรงตัวไม่ได้, เช่น คนเมาเสียหลักเลยพลัดตก
ลงไปในคลอง.
【 เสียหลาย 】แปลว่า: ก. เสียทรัพย์สินเงินทองเป็นต้นไปมาก เช่น งานนี้เสียหลาย
แล้ว ยังไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย; เสียเปล่า (ใช้ในความ
ปฏิเสธ) เช่น เด็กกำพร้าคนนี้ เลี้ยงไว้จนโตก็พึ่งได้ ไม่เสีย
หลาย งานวิจัยชิ้นนี้ทำไปก็ได้ประโยชน์ ไม่เสียหลาย.
【 เสียหัว 】แปลว่า: ก. สูญเสียหัวไป; สิ้นเปลืองความคิด เช่น ปัญหาโลกแตก
อย่างนี้ อย่าคิดให้เสียหัวเลย เลขข้อนี้กว่าจะทำได้ก็เสีย
หัวไปหลายชั่วโมง, เสียสมอง ก็ว่า; (ถิ่น–อีสาน) เสียภาษี.
【 เสียหาย 】แปลว่า: ก. เสื่อมเสีย เช่น เขาประพฤติตัวไม่ดี ทำให้วงศ์ตระกูลพลอย
เสียหายไปด้วย; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนตกหนัก น้ำท่วม
ไร่นาเสียหายหมด, เสีย ก็ว่า.
【 เสียหู 】แปลว่า: ก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้
สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.
【 เสียหูเสียตา 】แปลว่า: ก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยาก
ดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสีย
หูเสียตาหรอก.
【 เสียเหลี่ยม 】แปลว่า: ก. เสียชั้นเชิงท่าที เช่น ในการเจรจาอย่าให้เสียเหลี่ยมเขาได้,
ถูกลบเหลี่ยม เช่น นักเลงโตเสียเหลี่ยม ถูกนักเลงรุ่นน้องดัก
ตีหัว, เสียเหลี่ยมเสียคม ก็ว่า.
【 เสียเหลี่ยมเสียคม 】แปลว่า: ก. เสียเหลี่ยม.
【 เสียอารมณ์ 】แปลว่า: ก. หงุดหงิด เช่น รถติดมากเลยทำให้เสียอารมณ์.
【 เสีย ๒ 】แปลว่า: คําประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมาย
หรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.
【 เสียซิ, เสียซี 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงคำสั่งหรือแนะนำเป็นต้น เช่น
กินเสียซิ ไปเสียซี.
【 เสียได้ 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจ
มาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.
【 เสียเถอะ, เสียเถิด 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงการเกลี้ยกล่อมหรือขอร้อง
เป็นต้น เช่น ไปเสียเถิด.
【 เสียที ๒ 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงความตั้งใจมั่นหมาย เช่น วันนี้
มีเวลาว่าง จะได้จัดโต๊ะหนังสือเสียที, คำประกอบท้ายกริยา
แสดงความโล่งใจ เช่น เขามานั่งคุยอยู่นานกลับไปเสียที
เราจะได้ทำอย่างอื่นบ้าง.
【 เสียแล้ว 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้
พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.
【 เสียหน่อย 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา แสดงความอ้อนวอนหรือความไม่เต็ม
ใจเป็นต้น เช่น กินเสียหน่อยนะ ไปงานเขาเสียหน่อย ทำเสีย
หน่อย.
【 เสียหนัก 】แปลว่า: คำประกอบท้ายกริยา หมายความว่า มาก เช่น งานอย่างนี้
ทำมาเสียหนักแล้ว.
【 เสียง 】แปลว่า: น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงเพลง เสียงพูด;
ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้
เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,
คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้าง
มาก.
【 เสียงกระเส่า 】แปลว่า: น. เสียงสั่นเครือและเบา.
【 เสียงกร้าว 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดด้วยเสียงแข็งกระด้าง เช่น เขาพูดเสียงกร้าว
ไม่ยำเกรงใคร.
【 เสียงก้อง 】แปลว่า: น. เสียงดังมากอย่างเสียงในที่จำกัด เช่นในโบสถ์; เสียงดัง
ไปได้ไกล.
【 เสียงกังวาน 】แปลว่า: น. เสียงแผ่กระจายอยู่ได้นาน; กระแสเสียงแจ่มใส.
【 เสียงเกรี้ยว 】แปลว่า: ว. อาการที่เปล่งเสียงอย่างโกรธจัด เช่น เขาคงกำลังโกรธอยู่
เราพูดด้วยดี ๆ กลับตวาดเสียงเกรี้ยว, เสียงเขียว ก็ว่า.
【 เสียงเขียว 】แปลว่า: ว. อาการที่เปล่งเสียงอย่างโกรธจัด เช่น เขาเข้าไปผิดจังหวะ
หัวหน้ากำลังโกรธอยู่ เลยถูกตวาดเสียงเขียว, เสียงเกรี้ยว
ก็ว่า.
【 เสียงแข็ง 】แปลว่า: ว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียง
เสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่
สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี
เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.
【 เสียงเงียบ 】แปลว่า: (สำ) น. กลุ่มชนที่ยังไม่ออกเสียงแสดงความคิดเห็นของตน
ให้ปรากฏชัดว่าจะสนับสนุนฝ่ายใด.
【 เสียงดี 】แปลว่า: น. เสียงเพราะ; โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงหนาแน่น
เช่น เขาเป็นนักการเมืองที่มีคนนิยมมาก ลงสมัครรับเลือก
ตั้งแต่ละครั้งมีเสียงดีเสมอ.
【 เสียงตก 】แปลว่า: น. ความสามารถในการร้องเพลงต่ำกว่าระดับเดิม เพราะ
ร้องมากไปหรืออายุมากขึ้นเป็นต้น เช่น นักร้องคนนี้เคยเสียง
ดี แต่เวลานี้เสียงตกไปมาก เพราะอายุมากขึ้น; โดยปริยาย
หมายถึงคะแนนเสียงต่ำลง เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงตกไป
มาก สงสัยว่าเลือกตั้งครั้งนี้คงจะไม่ได้รับเลือก.
【 เสียงตามสาย 】แปลว่า: น. เสียงที่ส่งออกไปโดยใช้สายเป็นสื่อ.
【 เสียงแตก 】แปลว่า: น. เสียงพูดในตอนแตกเนื้อหนุ่ม เช่น เด็กคนนี้พูดเสียงแตก
แสดงว่าเริ่มจะเป็นหนุ่มแล้ว; โดยปริยายหมายถึงคะแนน
เสียงแตกแยก เช่น เรื่องนี้ยังลงมติไม่ได้ เพราะในที่ประชุม
ยังมีเสียงแตกกัน.
【 เสียงแตกพร่า, เสียงพร่า 】แปลว่า: น. น้ำเสียงที่ไม่ชัดเจนแจ่มใส แหบเครือ ไม่สม่ำเสมอ คล้าย
มี ๒ เสียงปนกัน เช่น เปิดวิทยุไม่ตรงคลื่น ทำให้เสียงแตก
พร่า ฟังไม่รู้เรื่อง.
【 เสียงทอง 】แปลว่า: ว. มีเสียงเพราะเป็นพิเศษทำให้มีคนนิยมมาก เช่น เขาเป็น
นักร้องเสียงทอง.
【 เสียงเท่าฟ้าหน้าเท่ากลอง 】แปลว่า: (สำ) น. เสียงอึกทึกครึกโครมแสดงว่ามีความสนุกสนานร่าเริง
เต็มที่, เสียงดังมาก.
【 เสียงนกเสียงกา 】แปลว่า: (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่
น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง.
【 เสียงปร่า 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่แสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตรงข้ามกับความรู้สึกที่
แท้จริง, เสียงตอบรับที่แสดงอารมณ์ไม่พอใจ.
【 เสียงแปร่ง 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่นนั้น ๆ.
【 เสียงแปร่งหู 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจากปรกติ เนื่องจากมีอารมณ์ไม่พอใจ
แฝงอยู่.
【 เสียงพยัญชนะ 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและ
คอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียง
สระ, พยัญชนะ ก็เรียก.
【 เสียงเพี้ยน 】แปลว่า: น. เสียงดนตรีหรือเสียงร้องเพลงที่คลาดเคลื่อนไปจากระดับ
เล็กน้อย, เสียงพูดที่มีสำเนียงคลาดเคลื่อนเล็กน้อย.
【 เสียงเล็กเสียงน้อย 】แปลว่า: น. น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เล็กหรือเบากว่าปรกติในลักษณะออด
อ้อนเป็นต้น.
【 เสียงเลื่อน 】แปลว่า: น. เสียงร้องเพลงที่ผิดระดับไปทีละน้อย ๆ.
【 เสียงเลื้อน 】แปลว่า: (โบ) น. เสียงอ่านหรือสวดทำนองเสนาะ เช่น เสียงเลื้อนเสียงขับ.
(จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
【 เสียงสระ 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและ
ริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใด
ส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระ
ร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่าง
เดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.
【 เสียงสวรรค์ 】แปลว่า: น. เสียงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลควร
รับฟัง ในความว่า เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์.
【 เสียงสะท้อน 】แปลว่า: น. เสียงที่ย้อนกลับมามีลักษณะคล้ายเสียงเดิม เนื่องจากคลื่น
เสียงไปกระทบสิ่งขวางกั้นแล้วย้อนกลับ อย่างเสียงในถ้ำใน
หุบเขาเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงความคิดเห็นของกลุ่มชน
ที่มีปฏิกิริยาต่อการกระทำบางอย่างของอีกฝ่ายหนึ่ง.
【 เสียงหลง 】แปลว่า: น. เสียงที่แผดดังผิดปรกติ เช่น เธอตกใจร้องจนเสียงหลง;
เสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรี เช่น เขาเป็นนักร้องไม่ได้ เพราะ
ร้องเสียงหลงอยู่เสมอ.
【 เสียงหวาน 】แปลว่า: น. น้ำเสียงไพเราะนุ่มนวลน่าฟัง.
【 เสียงห้าว 】แปลว่า: น. เสียงใหญ่ เช่น ผู้ชายมักมีเสียงห้าวกว่าผู้หญิง.
【 เสียงเหน่อ 】แปลว่า: น. เสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน.
【 เสียงแหบ 】แปลว่า: น. เสียงที่แห้งไม่แจ่มใส; ชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูงเป็น
พิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ใน.
【 เสียงอ่อน 】แปลว่า: น. คําพูดที่เพลาความแข็งลง.
【 เสียงอ่อนเสียงหวาน 】แปลว่า: น. น้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง, น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เบา ช้าลง
และไพเราะน่าฟัง เพื่อประจบเป็นต้น.
【 เสี่ยง ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนย่อยที่แตกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาทำแจกันตกแตก
เป็นหลายเสี่ยง.
【 เสี่ยง ๒ 】แปลว่า: ก. ลองเผชิญดู, ลองทำดูในสิ่งที่อาจให้ผลได้ ๒ ทาง คือ ดี
หรือไม่ดี แต่หวังว่าจะได้ผลทางดี เช่น งานนี้ไม่แน่ใจว่าจะ
สำเร็จหรือไม่ ต้องเสี่ยงทำดู.
【 เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม 】แปลว่า: ก. ลองทำดูโดยเชื่อว่าสุดแต่บุญหรือบาปจะบันดาลให้เป็นไป
เช่น ลองเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมขอเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดู ถ้าเขา
มีบุญก็จะได้ดิบได้ดีต่อไป.
【 เสี่ยง ๓ 】แปลว่า: ก. มีโอกาสจะได้รับทุกข์หรืออันตรายเป็นต้น เช่น พูดอย่างนี้
เสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง.
【 เสี่ยงชีวิต 】แปลว่า: ก. ยอมทำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ทหารเสี่ยงชีวิต
เข้ากู้กับระเบิด.
【 เสี่ยงภัย 】แปลว่า: ก. ทำลงไปโดยไม่เกรงอันตราย เช่น ตำรวจดับเพลิงเสี่ยงภัย
เข้าไปช่วยคนที่ติดอยู่ในบ้านที่ไฟกำลังไหม้.
【 เสี่ยง ๔ 】แปลว่า: ก. ตั้งจิตอธิษฐานใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเครื่องเสี่ยงเพื่อทราบ
ความเป็นไปในอนาคตของตนหรือผู้อื่น, ถ้าใช้เทียนเสี่ยง
เรียกว่า เสี่ยงเทียน, ถ้าใช้ดอกบัวเสี่ยง เรียกว่า เสี่ยงดอกบัว,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เสี่ยงบุญ
เสี่ยงบารมี เสี่ยงโชค เสี่ยงวาสนา.
【 เสี่ยงทาย 】แปลว่า: ก. หาคำทำนายโชคชะตาของตนจากสลากหรือใบเซียมซี
โดยการสั่นติ้วหรือโยนไม้เสี่ยงทายเป็นต้น.
【 เสียด 】แปลว่า: ก. เบียดกัน เช่น เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด. (นิ. นรินทร์); เสียบ,
แทรก, แซง, เช่น สูงเสียดฟ้า; อาการที่รู้สึกอึดอัดหรือแทงยอก
ในท้องหรืออกเนื่องจากมีลมอยู่ ในคำว่า เสียดท้อง เสียดอก.
【 เสียดแทง 】แปลว่า: ว. อาการที่กล่าวให้เจ็บใจด้วยความริษยาเป็นต้น เช่น วาจา
เสียดแทงย่อมทำลายมิตร.
【 เสียดแทรก 】แปลว่า: ก. เบียดเข้าไปในระหว่างกลุ่มคนหรือของจำนวนมากที่อยู่
ชิด ๆ กัน.
【 เสียดใบ 】แปลว่า: ก. แล่นก้าวให้ใบเฉียงลม.
【 เสียดสี 】แปลว่า: ก. ถูกัน เช่น กิ่งไม้เสียดสีกันจนเกิดไฟไหม้ป่า. ว. อาการ
ที่ว่ากระทบกระเทียบเหน็บแนมด้วยความอิจฉาเป็นต้น
เช่น เธอไม่ชอบเขา จึงพูดเสียดสีเขาเสมอ ๆ.
【 เสี้ยน ๑ 】แปลว่า: น. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียก
สิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก
เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึก
สยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).
【 เสี้ยนแผ่นดิน, เสี้ยนหนามแผ่นดิน 】แปลว่า: น. ข้าศึก, ผู้ที่คิดคดทรยศต่อแผ่นดิน.
【 เสี้ยนศึก 】แปลว่า: (โบ) น. ข้าศึกศัตรูที่ก่อการร้าย.
【 เสี้ยนหนาม 】แปลว่า: น. ข้าศึกศัตรูที่ก่อความเดือดร้อนให้.
【 เสี้ยน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diplospora singularis/ Korth. ในวงศ์
Rubiaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อสั้นตามง่ามใบ ผลกลม.
【 เสียบ ๑ 】แปลว่า: ก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง,
เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบ
บนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู;
ยืนตัวแข็งทื่อต่อหน้าผู้ใหญ่เป็นการแสดงกิริยาไม่อ่อนน้อม
เรียกว่า ยืนเสียบ.
【 เสียบยอด 】แปลว่า: น. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยตัดกิ่งต้นที่จะขยายซึ่ง
มีตาติดอยู่ ปาดปลายให้เป็นรูปลิ่มแล้วนำไปเสียบที่กิ่งของ
อีกต้นหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยผ่าบากกิ่งไว้ให้เสียบได้
พันด้วยแถบพลาสติกให้แน่น. ก. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการ
เช่นนั้น.
【 เสียบหนู 】แปลว่า: น. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน;
ไม้ฝนทองที่เขียนบนพินทุอิ เป็น สระอี.
【 เสียบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ เช่น
ชนิด /Donax faba/ ในวงศ์ Donacidae เปลือกรูปสามเหลี่ยม
สีเหลืองนวล ลายสลับสีเข้มหลากสี เช่น นํ้าตาลเข้ม ฝังตัว
อยู่ตามหาดทรายในระดับนํ้าขึ้นนํ้าลง นํามาดองนํ้าปลา.
【 เสียม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องมือสําหรับขุด แซะ และพรวนดินชนิดหนึ่งทำด้วย
เหล็ก มีด้ามยาว.
【 เสียม ๒ 】แปลว่า: น. เมืองไทย, ไทย. (เป็นสําเนียงที่ชาวต่างประเทศเรียกเพี้ยน
จากคํา สยาม).
【 เสี่ยม 】แปลว่า: (โบ) ว. เสงี่ยม.
【 เสี่ยมสาร 】แปลว่า: ว. เสงี่ยมงาม.
【 เสี้ยม 】แปลว่า: ก. ทําให้แหลม เช่น เสี้ยมไม้; โดยปริยายหมายความว่า ยุแหย่
ให้เขาแตกกันหรือทะเลาะกัน. ว. มีลักษณะค่อนข้างแหลม ใน
คำว่า หน้าเสี้ยม คางเสี้ยม.
【 เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน 】แปลว่า: (สํา) ก. ยุยงให้โกรธ เกลียด หรือวิวาทกัน.
【 เสี้ยมสอน 】แปลว่า: ก. สอนโดยยุยงให้ใช้เล่ห์กล เช่น เขาถูกเสี้ยมสอนให้กระด้าง
กระเดื่องต่อฝ่ายปกครอง เขาเสี้ยมสอนลูกให้เป็นโจร.
【 เสียว 】แปลว่า: ก. รู้สึกแปลบเพราะเจ็บ เช่น รู้สึกเสียวที่ข้อเท้าเพราะเท้า
แพลง,เกิดอาการที่ทําให้ขนลุกหรือกลัว เช่น เดินเข้าไปใน
ป่าช้าเวลาค่ำ ๆ ได้ยินเสียงแกรกกรากก็รู้สึกเสียว พอเห็น
เข็มฉีดยาก็เสียวเสียแล้ว, รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความ
กําหนัด; โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกเกรง เช่น เขาไม่ได้
ส่งการบ้านเสียวอยู่ตลอดเวลาว่าครูจะเรียกไปลงโทษ.
【 เสียวซ่าน 】แปลว่า: ก. รู้สึกวาบวับเข้าไปในหัวใจด้วยความกำหนัดยินดี.
【 เสียวฟัน 】แปลว่า: ก. รู้สึกแปลบที่ฟันเพราะเคลือบฟันสึกหรือฟันเป็นรูเป็นต้น.
【 เสียวสยอง 】แปลว่า: ก. รู้สึกหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน
คนตายเป็นจำนวนมาก เห็นแล้วเสียวสยอง.
【 เสียวสันหลัง 】แปลว่า: ว. รู้สึกหวาดกลัว เช่น เดินในป่าช้ายามดึก รู้สึกเสียวสันหลัง,
หนาวสันหลัง ก็ว่า.
【 เสียวไส้ 】แปลว่า: ก. รู้สึกหวาดเมื่อได้เห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับสิ่งที่น่ากลัวว่าอาจ
ทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เด็กเอาปืนมาเล่นกัน เห็นแล้วเสียว
ไส้. ว. อาการที่รู้สึกหวาดเมื่อได้เห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับสิ่งที่
น่ากลัวว่าอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เขาขับรถเร็วมากจน
น่าเสียวไส้.
【 เสี่ยว ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. เพื่อน, เกลอ.
【 เสี่ยว ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. เฉี่ยว, ขวิด.
【 เสี้ยว 】แปลว่า: น. ส่วน ๑ ใน ๔ เช่น เขาผ่าแตงโมออกเป็น ๔ เสี้ยว, ส่วน
ย่อย เช่น เขาผ่าฟักทองเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ. ว. เฉ, ไม่ตรง,
เช่น เธอตัดผ้าเสี้ยว.
【 เสือ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว
กับแมว แต่ตัวใหญ่กว่า เป็นสัตว์กินเนื้อ หากินเวลากลางคืน
มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง (/Panthera tigris/) เสือดาว หรือ
เสือดํา (/P. pardus/), โดยปริยายใช้เรียกคนเก่งคนดุร้าย; ชื่อ
หนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวต่อมนํ้า ดาวตาจระเข้
หรือ ดาวไต้ไฟ ก็เรียก.
【 เสือกระดาษ 】แปลว่า: (ปาก) น. ประเทศ องค์การ หรือผู้ที่ทําท่าทีประหนึ่งมีอํานาจมาก
แต่ความจริงไม่มี.
【 เสือกระต่าย 】แปลว่า: /ดู แมวป่า ที่ แมว ๑./
【 เสือกินวัว 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสขีด
เป็นตา ๑๖ ตา มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย ฝ่ายเสือมี ๔ ตัว ฝ่ายวัวมี ๑๒
ตัว โดยฝ่ายเสือวางเสือ ๔ ตัวไว้ที่มุมทั้ง ๔ แล้วฝ่ายวัวจะวาง
วัวลงในช่องทีละตัว พยายามไม่ให้เสือกินได้ การเดินต้องเดิน
ทางตรงทีละช่อง เวลาเสือกินวัวต้องข้ามวัวไป ๑ ช่อง ถ้าเสือ
ถูกล้อมจนเดินไม่ได้ ฝ่ายเสือก็แพ้ ถ้าฝ่ายวัวถูกเสือกินหมด
ฝ่ายวัวก็แพ้.
【 เสือเก่า 】แปลว่า: (ปาก) น. คนที่เคยมีความเก่งกล้าสามารถหรือมีอํานาจมาก่อน.
【 เสือข้ามห้วย 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นโดยใช้วิธีกระโดดข้ามกัน.
【 เสือจนท่า ข้าจนทาง 】แปลว่า: (สํา) จำเป็นต้องยอมเพื่อเอาตัวรอด.
【 เสือซ่อนเล็บ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่มีความเก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงออกมา
ให้ปรากฏ, ผู้มีเล่ห์กลอยู่ในใจ, ผู้เก็บความรู้สึกไว้ได้ดี; ชื่อ
เรียกอาวุธชนิดหนึ่ง อย่างมีดพก ๒ เล่ม สอดประกบกันสนิท
ดูเหมือนว่าเป็นไม้แท่งเดียว.
【 เสือเฒ่าจำศีล, เสือเฒ่าเจ้าเล่ห์ 】แปลว่า: (สํา) น. ชายสูงอายุที่มีท่าทีสงบเสงี่ยมน่านับถือ แต่เจ้ามารยา
มีเล่ห์เหลี่ยมมาก.
【 เสือดาว ๑ 】แปลว่า: /ดู ดาว ๒./
【 เสือดำ 】แปลว่า: /ดู ดาว ๒./
【 เสือตกถัง 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดักหนูชนิดหนึ่ง มีเหยื่อห้อยไว้เหนือแผ่นกระดก
เมื่อหนูไปเหยียบปลายแผ่นกระดกเพื่อจะกินเหยื่อ ปลายแผ่น
ก็กระดกลงเพราะน้ำหนักตัวของหนู เมื่อหนูตกลง แผ่นกระดก
ก็กลับคืนที่ ปิดช่องไว้ หนูออกไม่ได้; ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง วิธีเล่น
ต้องขีดเส้นตรง ๒ เส้นตัดกันแล้วเขียนวงกลมไว้ระหว่างเส้น
แห่งใดแห่งหนึ่ง สมมุติให้เป็นถัง ผู้เล่นมี ๒ ฝ่ายสมมุติเป็นเสือ
ฝ่ายละ ๒ ตัว แต่ละฝ่ายจะสลับกันเดิน โดยเดินจากปลายเส้น
หนึ่งไปยังปลายอีกเส้นหนึ่ง หรือจากปลายเส้นมายังจุดกลาง
ก็ได้ ถ้าเสือฝ่ายใดเดินแล้วตกถัง ก็เป็นฝ่ายแพ้.
【 เสือตบก้น 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดักหนูชนิดหนึ่ง มีไม้ตบตัวหนูให้ติดอยู่กับปาก
กระบอกเมื่อไกลั่น.
【 เสือติดจั่น 】แปลว่า: (สำ) ว. อาการที่เดินงุ่นง่านวนไปมาเหมือนเสือที่ติดอยู่ในจั่นหับ.
【 เสือทลายห้าง ช้างทลายโรง 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่แสดงกิริยาเอะอะตึงตัง.
【 เสือนอนกิน 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกําไรโดยไม่ต้องลงทุน
ลงแรง.
【 เสือในร่างสมัน 】แปลว่า: (สํา) น. คนร้ายที่แฝงมาในร่างของคนดี.
【 เสือบอง 】แปลว่า: /ดู แมวป่า ที่ แมว ๑./
【 เสือปลา 】แปลว่า: น. ชื่อเสือชนิด /Felis viverrina/ ในวงศ์ Felidae พื้นลําตัวสีเทา
มีลายสีดําเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วตัว กินปลาและสัตว์ขนาด
เล็ก, ทางภาคตะวันออกเรียกเสือปลาที่มีขนาดใหญ่ว่า
เสือแผ้ว.
【 เสือป่า 】แปลว่า: (เลิก) น. ผู้ช่วยพลรบซึ่งมีหน้าที่สอดแนมเพื่อสนับสนุนกองทหาร.
【 เสือป่าแมวเซา, เสือป่าแมวมอง 】แปลว่า: (เลิก) น. กองทหารโบราณ มีหน้าที่สอดแนมและซุ่มคอยดักตี
ข้าศึกเพื่อตัดเสบียงอาหาร.
【 เสือไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อเสือชนิด /Felis temmincki/ ในวงศ์ Felidae รูปร่างเพรียว
สูงขนาดสุนัข ขนสีนํ้าตาลแกมแดงตลอดตัว หรือที่หายาก
มีสีดำ หางยาวไล่เลี่ยกับลำตัว เวลาเดินยกหางขนานกับ
พื้น อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง กินสัตว์ขนาดเล็ก.
【 เสือแมลงภู่ 】แปลว่า: /ดู ดาว ๒./
【 เสือร้องไห้ 】แปลว่า: น. เนื้อส่วนคอของวัวหรือควายที่มีพังผืดมาก, อาหารชนิดหนึ่ง
ปรุงด้วยเนื้อส่วนที่เรียกว่า เสือร้องไห้.
【 เสือรู้ 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่มีไหวพริบหรือฉลาดรู้จักเอาตัวรอด.
【 เสือลากหาง 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ทําท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจ
แล้วเข้าทําการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทําท่า
อย่างเสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เช่น ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็น
ท่าทาง ทีเสือลากหางให้นางกลัว. (สังข์ทอง).
【 เสือลำบาก 】แปลว่า: น. เสือที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บ มีความดุร้ายมากกว่าปรกติ,
โดยปริยายหมายถึงคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 เสือสมิง 】แปลว่า: น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา
สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้, เสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อ
กันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่าง
เป็นคนได้.
【 เสือสิ้นตวัก 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต, มักพูดเข้าคู่กับ สุนัขจนตรอก
ว่า เสือสิ้นตวัก สุนัขจนตรอก.
【 เสือสิ้นลาย 】แปลว่า: น. เสือแก่ที่หมดลายดูคล้ายเสือขาวออกหากินตามปรกติไม่ได้,
โดยปริยายหมายถึงคนที่เคยมีความเก่งกล้าสามารถมาก่อน
ต่อมาเมื่อร่างกายทุพพลภาพหรืออายุมากขึ้น ความเก่งกล้า
สามารถก็เสื่อมลง.
【 เสือหิว 】แปลว่า: (ปาก) น. คนที่อยากได้ผลประโยชน์หรือลาภสักการะโดยไม่
เลือกว่าควรหรือไม่ควร.
【 เสือ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาหลายชนิดและหลายวงศ์ซึ่งมีลายพาดขวางลําตัว
เช่น เสือพ่นนํ้า (/Toxotes jaculator/) ในวงศ์ Toxotidae เสือตอ
(/Datnioides microlepis/) ในวงศ์ Lobotidae.
【 เสื่อ 】แปลว่า: น. สาด, เครื่องสานชนิดหนึ่งสําหรับปูนั่งและนอน.
【 เสื่อกก 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนั่งหรือนอน ทำด้วยต้นกก ทอหรือ
สานเป็นผืนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า.
【 เสื่อกระจูด 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนั่งหรือนอน ทำด้วยต้นกระจูด สาน
เป็นผืนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า.
【 เสื่อเงิน 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนั่ง ทำด้วยแผ่นเงินตัดเป็นเส้นอย่าง
ตอก สานเป็นผืนตามขนาดพื้นที่ที่ปูลาด.
【 เสื่อน้ำมัน 】แปลว่า: น. พรมนํ้ามัน. /(ดู พรมนํ้ามัน ที่ พรม ๑)./
【 เสื่อผืนหมอนใบ 】แปลว่า: น. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดย
เรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติ
หรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถ
ตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็ก
น้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.
【 เสื่อไม้ไผ่ 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนอน ทำด้วยไม้ไผ่ สับเป็นริ้วละเอียด
อย่างฟาก คลี่ออกและต่อกันเป็นผืน.
【 เสื่อลวด 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืนหน้า
กว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด.
【 เสื่อลำแพน 】แปลว่า: น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง มักสานด้วยตอกไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ
แบน ๆ ซึ่งเรียกว่า ตอกปื้น ที่ทําด้วยหวายหรือเส้นใยเปลือก
ไม้ก็มี ใช้ปูหรือทําเป็นแผงใช้กั้นหรือกรุเป็นฝาเรือนเป็นต้น.
【 เสื่ออ่อน 】แปลว่า: น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนั่งหรือนอน ทำด้วยใบเตยหรือใบ
ลำเจียก จักเป็นเส้นอย่างตอก สานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า.
【 เสื้อ ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องสวมกายท่อนบนทําด้วยผ้าเป็นต้น เรียกชื่อต่าง ๆ กัน
เช่น เสื้อกั๊ก เสื้อเชิ้ต.
【 เสื้อกระบอก 】แปลว่า: น. เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอ
บั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง.
【 เสื้อกล้าม 】แปลว่า: น. เสื้อชั้นในมักทําด้วยผ้ายืด ไม่มีแขน ไม่มีปก.
【 เสื้อกั๊ก 】แปลว่า: น. เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด
ติดกระดุมหรือไม่ติดก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต.
【 เสื้อกุยเฮง 】แปลว่า: น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม มีแขน ผ่าอกตลอด ติดกระดุม
มีกระเป๋าล่าง ๒ ข้าง.
【 เสื้อเกราะ 】แปลว่า: น. เสื้อที่ใช้สวมใส่สำหรับป้องกันอาวุธหรืออันตราย.
【 เสื้อครุย 】แปลว่า: น. เสื้อชนิดหนึ่ง มีหลายแบบ ใช้สวมหรือคลุม เป็นเครื่องประกอบ
เกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
【 เสื้อสามารถ 】แปลว่า: น. เสื้อที่มอบให้เพื่อแสดงว่าผู้รับมีคุณสมบัติดีเด่นในด้านกีฬา.
【 เสื้อแสง 】แปลว่า: น. เสื้อและกางเกง, เครื่องนุ่งห่ม.
【 เสื้อ ๒ 】แปลว่า: น. เชื้อสาย; ผีหรืออมนุษย์จําพวกหนึ่ง เรียกเต็มว่า ผีเสื้อ, ถ้าอยู่
ในนํ้า เรียกว่า ผีเสื้อนํ้า หรือ เสื้อนํ้า, ถ้าเป็นยักษ์ เรียกว่า ผีเสื้อ
ยักษ์, ถ้าอยู่รักษาเมือง เรียกว่า ผีเสื้อเมือง เสื้อเมือง หรือ พระ
เสื้อเมือง.
【 เสื้อน้ำ 】แปลว่า: น. เทวดาที่รักษาน่านน้ำ, ผีเสื้อน้ำ ก็เรียก.
【 เสื้อเมือง 】แปลว่า: น. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, ผีเสื้อเมือง หรือ พระเสื้อเมือง ก็เรียก;
(โบ) พระเชื้อเมือง.
【 เสือก 】แปลว่า: ก. ไสไป, ผลักไป; สาระแน, (เป็นคำไม่สุภาพ).
【 เสือกกะโหลก 】แปลว่า: –กะโหฺลก ว. สาระแนเข้าไปทําการโดยไม่มีใครต้องการ
ให้ทํา.
【 เสือกคลาน 】แปลว่า: /ดู เลื้อยคลาน./
【 เสือกสน 】แปลว่า: ก. กระเสือกกระสน.
【 เสือกไส 】แปลว่า: ก. ส่งไปที่อื่นเพื่อให้พ้นไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไล่ส่ง เป็น เสือกไส
ไล่ส่ง.
【 เสือข้างลาย 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด /Puntius partipentazona /
ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างและลักษณะคล้ายปลาตะเพียน
มีลายดำ ๕ แถบ พาดขวางได้จังหวะกัน.
【 เสือดาว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เสือ ๑./
【 เสือดาว ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะกรับ ๓ (๑)./
【 เสือทะเล 】แปลว่า: /ดู พิมพา./
【 เสือนั่งร่ม 】แปลว่า: /ดู กาสัก ๒./
【 เสื่อม 】แปลว่า: ก. น้อยลง, หย่อนลง, เช่น เครื่องจักรเมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพ
ก็ค่อย ๆ เสื่อมไป, เสีย เช่น เสื่อมเกียรติ, ค่อย ๆ ลดลง เช่น
ความจำเสื่อม, ต่ำกว่าระดับเดิม เช่น เมื่อความเจริญทางวัตถุ
มีมากขึ้น คุณธรรมของคนก็เสื่อมลง, ถอยความขลัง เช่น
มนตร์เสื่อม.
【 เสื่อมคลาย 】แปลว่า: ว. น้อยลง, ลดลง, เช่น มิตรภาพเสื่อมคลายลงเพราะต่าง
ฝ่ายต่างเอาเปรียบกัน.
【 เสื่อมถอย 】แปลว่า: ว. หย่อนลง, ไม่ดีเหมือนเดิม, เช่น เขาป่วยคราวนี้ทำให้
สมรรถภาพในการทำงานเสื่อมถอยไปมาก.
【 เสื่อมทราม 】แปลว่า: ก. เลวลง (มักใช้แก่ความประพฤติ) เช่น ตั้งแต่เขาไปมั่วสุม
กับคนพาล ชีวิตของเขาก็เสื่อมทรามลง. ว. ที่เลวลง (มักใช้
แก่ความประพฤติ) เช่น เขามีความประพฤติเสื่อมทราม.
【 เสื่อมโทรม 】แปลว่า: ก. เลวลง, มีฐานะตกต่ำกว่าเดิม, เช่น ภาวะเศรษฐกิจกำลัง
เสื่อมโทรม.
【 เสื่อมสลาย 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ แปรสภาพไป เช่น อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้
เสื่อมสลายไปแล้ว.
【 เสื่อมสิทธิ์ 】แปลว่า: ก. มีสิทธิน้อยลง, ทําให้สิทธิเสียไป.
【 เสื่อมสูญ 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปจนหมดสิ้น เช่น มีผู้พยากรณ์ว่า
พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมสูญไป พอครบ ๕,๐๐๐ ปีก็
สูญสิ้น.
【 เสื่อมเสีย 】แปลว่า: ก. เสียหาย เช่น เพราะถูกกล่าวหาว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง
จึงทำให้ชื่อเสียงของเขาเสื่อมเสียไปมาก. ว. ที่เสียหาย
เช่น เขามีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่ควรจ้างให้มาทำงาน
ด้วย.
【 เสือแมลงวัน 】แปลว่า: น. แมงมุมตัวขนาดเล็ก กินแมลงวัน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เสือหมอบ 】แปลว่า: /ดู สาบเสือ./
【 แส ๑ 】แปลว่า: ก. แฉ, ชําระ, สะสาง. น. หญิงสาว, มักใช้ประกอบกับคํา
สาว ว่า สาวแส.
【 แสนา 】แปลว่า: ก. วัดนา, ตรวจสอบที่นา, เสนา ก็ว่า.
【 แส ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Jacquemontia pentantha/ (Jacq.)
G. Don ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกเล็ก สีคราม,
แสเถา ก็เรียก.
【 แส่ 】แปลว่า: ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องของคนอื่นหรือเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน
อยู่เนือง ๆ (เป็นคำไม่สุภาพ) เช่น แส่ไม่เข้าเรื่อง แส่หาเรื่อง.
【 แส้ 】แปลว่า: น. ชื่ออุปกรณ์สำหรับปัดยุงหรือแมลง ทำด้วยขนหางม้า หรือ
ทางจากที่ทุบปลายข้างหนึ่งเป็นเส้น เป็นต้น ลักษณะเป็นพู่
ยาว มีด้าม; ชื่ออุปกรณ์สำหรับตีม้า ทำด้วยหวายหรือหนัง
สัตว์ถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว เรียกว่า แส้ม้า,
ไม้หรือเหล็กกลมยาวสําหรับกระทุ้งดินในลํากล้องปืนให้แน่น
เรียกว่า แส้ปืน; ใช้ประกอบกับคํา สาว เป็น สาวแส้ หมาย
ความว่า หญิงสาว.
【 แส้จามรี 】แปลว่า: น. แส้ที่ทำด้วยขนหางจามรี เป็น ๑ ในเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์.
【 แส้ม้า ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ผมแผงคอม้า.
【 แสก ๑ 】แปลว่า: น. แนวที่อยู่ระหว่างกลาง ในคำว่า แสกผม แสกหน้า. ก. แบ่ง
ผมออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน เรียกว่า แสกกลาง, ถ้าไม่เท่ากัน
เรียกว่า แสกข้าง. ว. เรียกผมที่หวีแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ
กันว่า ผมแสกกลาง, เรียกผมที่หวีแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนไม่เท่า
กันว่า ผมแสกข้าง.
【 แสกหน้า 】แปลว่า: น. ส่วนหน้าผากกึ่งกลางระหว่างคิ้ว.
【 แสก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Tytonidae ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ
แสก (/Tyto alba/) พบอาศัยหลบพักตามต้นไม้หรือชายคา
และ แสกแดง (/Phodilus badius/) ชนิดนี้ไม่พบอาศัยตาม
บ้านเรือน.
【 แสก ๓ 】แปลว่า: น. เรียกชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร.
【 แสก ๆ 】แปลว่า: ว. แจ้ง ๆ เช่น กลางวันแสก ๆ.
【 แสง ๑ 】แปลว่า: น. ความสว่าง, สิ่งที่ทําให้ดวงตาแลเห็น; เพชรพลอย เช่น
ตาวจิ้มแสง ว่า ดาบฝังพลอย.
【 แสงเงินแสงทอง 】แปลว่า: น. แสงที่ปรากฏบนขอบฟ้าทางทิศตะวันออก เมื่อเวลาจะ
รุ่งสว่าง เมื่อแรกเป็นสีขาว เรียกว่า แสงเงิน แล้วแปรเป็น
สีแดง เรียกว่า แสงทอง.
【 แสงสว่าง 】แปลว่า: น. แสงที่มีความสว่าง.
【 แสง ๒ 】แปลว่า: น. อาวุธ, ศัสตรา, เครื่องมีคม, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระแสง เช่น
พระแสงดาบ พระแสงปืน.
【 แสง ๓ 】แปลว่า: น. กางเกง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เสื้อ เป็น เสื้อแสง หมายความว่า
เสื้อและกางเกง.
【 แสงจันทร์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Pisonia grandis/ R. Br. ในวงศ์ Nyctaginaceae
ใบบาง สีเหลืองอมเขียว.
【 แสงอาทิตย์ 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Xenopeltis unicolor/ ในวงศ์ Xenopeltidae
โตเต็มวัยยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ตัวสีนํ้าตาลม่วง
เป็นเงามัน ท้องขาว หัวแบน ตาเล็ก ออกหากินเวลากลาง
คืน ไม่มีพิษ.
【 แสด ๑ 】แปลว่า: ว. มีสีเหลืองปนแดง เรียกว่า สีแสด.
【 แสด ๒ 】แปลว่า: /ดู คําแสด (๑)./
【 แสดง 】แปลว่า: [สะแดง] ก. ชี้แจง, อธิบาย, บอกข้อความให้รู้, เช่น แสดงธรรม
แสดงปาฐกถา, ทําให้ปรากฏออกมา เช่น แสดงตัว แสดงหลัก
ฐาน; เล่น เช่น แสดงละคร แสดงภาพยนตร์. (ข. แสฺฎง).
【 แสดงออก 】แปลว่า: ก. แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น หรือความสามารถเป็นต้น
ให้ปรากฏ เช่น ภาพวาดนี้ย่อมแสดงออกซึ่งอารมณ์และความ
สามารถของเขาได้เป็นอย่างดี.
【 แสตมป์ 】แปลว่า: [สะแตม] น. ดวงตราไปรษณียากร, ตราไปรษณียากร ก็เรียก.
(อ. stamp).
【 แสเถา 】แปลว่า: /ดู แส ๒./
【 แสน 】แปลว่า: ว. สิบหมื่น; มากยิ่ง, เหลือเกิน, เช่น แสนลําบาก. น. ตําแหน่ง
นายทหารครั้งโบราณทางภาคพายัพ.
【 แสนกล 】แปลว่า: ว. มีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายมาก, เจ้าเล่ห์แสนกล ก็ว่า.
【 แสนเข็ญ 】แปลว่า: ว. มากเหลือเกิน (มักใช้เกี่ยวกับความยากจน) เช่น เขาเป็น
คนยากแค้นแสนเข็ญ.
【 แสนเข็น 】แปลว่า: ว. ยากแก่การที่จะอบรมสั่งสอนให้ดีได้ เช่น เด็กคนนี้ดื้อ
แสนเข็น.
【 แสนงอน 】แปลว่า: ว. มีแง่งอนมาก เช่น เธอมีนิสัยแสนงอนมาตั้งแต่เด็ก.
【 แสนรู้ 】แปลว่า: ว. ฉลาดช่างรู้ เช่น ช้างแสนรู้ สุนัขแสนรู้.
【 แสนง 】แปลว่า: [สะแหฺนง] น. เสนง.
【 แสนย–, แสนย์ 】แปลว่า: [แสนยะ–, แสน] น. คนในกองทัพ, ทหาร เช่น จ่าแสนย์ ว่า
ผู้ควบคุมทหาร. (ส. ไสนฺย).
【 แสนยากร 】แปลว่า: [–กอน] น. หมู่ทหาร, กองทัพ. (ส. ไสนฺย + อากร).
【 แสนยานุภาพ 】แปลว่า: น. อํานาจทางทหาร เช่น ทหารเดินสวนสนามเพื่อแสดง
แสนยานุภาพของกองทัพ. (ส. ไสนฺย + อานุภาว).
【 แสนยากร 】แปลว่า: /ดู แสนย–, แสนย์./
【 แสนยานุภาพ 】แปลว่า: /ดู แสนย–, แสนย์./
【 แสนเสนาะ 】แปลว่า: [–สะเหฺนาะ] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 แสบ 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกเจ็บปวดหรือระคายเคือง เช่น แสบตา แสบ
ตัว แสบหน้า, อาการที่รู้สึกเผ็ดร้อน เช่น แสบปาก แสบลิ้น.
【 แสบแก้วหู, แสบหู 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกระคายหูเพราะเสียงดังหรือเสียงแหลม
เกินขนาด เช่น เสียงรถจักรยานยนต์ดังแสบแก้วหู เสียง
ร้องกรี๊ด ๆ ฟังแล้วแสบหู.
【 แสบตา 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกเจ็บปวดหรือระคายเคืองตา, โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะของสีบางชนิดที่จัดจ้าบาดลูกนัยน์ตา
เช่น เขาใส่เสื้อสีแดงสดแสบตา.
【 แสบท้อง, แสบท้องแสบไส้ 】แปลว่า: ก. อาการที่หิวจัด เช่น หิวจนแสบท้อง, แสบไส้ หรือ แสบไส้
แสบพุง ก็ว่า.
【 แสบเนื้อแสบตัว 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง เช่น เดินตากแดดร้อนจัด
แสบเนื้อแสบตัวไปหมด.
【 แสบร้อน 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกทั้งแสบทั้งร้อน.
【 แสบไส้ 】แปลว่า: ก. อาการที่หิวจัด เช่น หิวจนแสบไส้, แสบท้อง แสบท้องแสบไส้
หรือ แสบไส้แสบพุง ก็ว่า; มีรสจัด ในคำว่า หวานแสบไส้, โดย
ปริยายหมายถึงรุนแรงอย่างยิ่ง เช่น ด่าได้แสบไส้จริง ๆ.
【 แสบไส้แสบพุง 】แปลว่า: ก. อาการที่หิวจัด เช่น หิวจนแสบไส้แสบพุง, แสบท้อง แสบท้อง
แสบไส้ หรือ แสบไส้ ก็ว่า.
【 แสบหูแสบตา 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกระคายเคืองตาอย่างมาก เช่น ข้างบ้านสุมไฟ
เผาขยะ ควันเต็มไปหมด ทำให้แสบหูแสบตา.
【 แสบก 】แปลว่า: [สะแบก] น. หนังสัตว์ เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ เปน
บรรพบุรณะ นเรนทรราชบรรหาร. (สมุทรโฆษ). (ข.).
【 แสม ๑ 】แปลว่า: [สะแหฺม] น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล /Avicennia/ วงศ์
Avicenniaceae คือ แสมขาว (/A. alba/ Blume) แสมทะเล
(/A. marina/ Vierh.) และ แสมดํา (/A. officinalis/ L.) มีราก
หายใจ ลักษณะเป็นแท่งตั้งตรง. (๒) /ดู โปรง./
【 แสม ๒ 】แปลว่า: [สะแหฺม] น. ชื่อปูหลายชนิดในสกุล /Neoepisesarma/ วงศ์
Grapsidae อยู่ตามป่าแสม.
【 แสม ๓ 】แปลว่า: [สะแหฺม] น. ชื่อลิงชนิด /Macaca fascicularis/ ในวงศ์ Cer-
copithecidae เป็นลิงไทยที่มีหางยาวที่สุด คือ ยาวเท่ากับ
ความยาวของหัวและลําตัวรวมกัน ตัวสีนํ้าตาลอมเทา ขน
หัวสั้นและวนเป็นรูปขวัญ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง พบทุก
ภาคของประเทศไทย กินพืช แมลง และปูแสม.
【 แสม ๔ 】แปลว่า: [สะแหฺม] น. ชื่อกุ้งทะเลหลายชนิดในสกุล /Parapenaeopsis /
วงศ์ Penaeidae ลักษณะคล้ายกุ้งแชบ๊วย แต่มีสันกลางด้าน
หลังปล้องท้อง เช่น ชนิด /P. hungerfordi./
【 แสมสาร 】แปลว่า: [สะแหฺมสาน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cassia garrettiana/ Craib
ในวงศ์ Leguminosae แก่นใช้ทําลูกประสักเรือ ใบและแก่น
ใช้ทํายาได้.
【 แส้ม้า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน แส้./
【 แส้ม้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิตัวกลมในวงศ์ Trichuridae ลักษณะคล้ายแส้
ตีม้า ตัวสีขาว ยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร ส่วนหัวและ
ลำตัวบางเรียวยาวคล้ายเส้นผม ส่วนท้ายหนา อาศัย
ดูดกินเลือดอยู่ในลําไส้ใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ เช่น ชนิด
/Trichuris trichiura./
【 แส้ม้าทะลาย 】แปลว่า: /ดู ชิงชี่./
【 แสยก ๑ 】แปลว่า: [สะแหฺยก] ก. แยกเขี้ยวแสดงอาการให้เห็นน่ากลัว.
【 แสยก ๒ 】แปลว่า: [สะแหฺยก] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Pedilanthus tithymaloides/ Poit.
ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบหนา ดอกสีแดง ใช้ปลูกทําเป็นขอบ
สนาม, กะแหยก ก็เรียก.
【 แสยง 】แปลว่า: [สะแหฺยง] ก. หวาดเกรง เช่น ตับตายหลายเหลือสังขยา
ศพสูงเพียงผา แลดูพันฦกนิเห็นแสยง. (สมุทรโฆษ), มัก
ใช้ว่า แหยง.
【 แสยงขน 】แปลว่า: ก. ขนลุกด้วยความกลัวหรือเกลียดเป็นต้น.
【 แสยะ 】แปลว่า: [สะแหฺยะ] ก. อาการของปากที่แบะออก แสดงให้รู้ว่า เกลียด
เกลียดกลัว เยาะเย้ย หรือ ดูแคลน.
【 แสรก 】แปลว่า: [สะแหฺรก] น. สาแหรก เช่น กรนนเช้าแสรกคานก็พลัดจาก
อังษา. (ม. คำหลวง มัทรี). (ข. สงฺแรก).
【 แสร้ง 】แปลว่า: [แส้ง] ก. แกล้ง, จงใจทําให้ผิดจากความจริง, จงใจทํา, เช่น
รังไรโรยด้วยแป้ง เหมือนนกแสร้งทำรังรวง. (กาพย์เห่ชม
เครื่องคาวหวาน).
【 แสร้งว่า 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยกุ้งปรุงเป็นเครื่องจิ้ม.
【 แสลง 】แปลว่า: [สะแหฺลง] ว. ไม่ถูกกับโรค เช่น แสลงโรค, ขัด เช่น แสลงหู
แสลงตา.
【 แสลงใจ ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกกระทบกระเทือนใจเหมือนถูกของมีคม
บาดหัวใจ เช่น พอเห็นคนรักเก่าเดินไปกับหญิงคนใหม่
ก็รู้สึกแสลงใจ.
【 แสลงใจ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน แสลง./
【 แสลงใจ ๒ 】แปลว่า: [สะแหฺลง–] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Strychnos nux—vomica/ L.
ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน
มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็น
สารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ด
แก่แห้งใช้ทํายาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง.
【 แสลงเบื่อ 】แปลว่า: สะแหฺลง– น. ต้นแสลงใจ. /(ดู แสลงใจ ๒)./
【 แสล้ม 】แปลว่า: [สะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แฉล้ม หรือ แชล่ม ก็ใช้.
【 แสวง 】แปลว่า: [สะแหฺวง] ก. เที่ยวหา, ค้นหา, เสาะหา. (ข.).
【 แสอก 】แปลว่า: [สะแอก] น. เวลาพรุ่งนี้. (ข. แสฺอก).
【 แสะ 】แปลว่า: น. ม้า. (ข.).
【 โสก ๑ 】แปลว่า: น. โศก. (ป.).
【 โสก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. โฉลก, ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี
ถ้าดีเรียกว่า ถูกโสก ถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโสก มักกำหนด
ด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับจำนวน เป็นต้น ของคน
สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล.
【 โสกโดก 】แปลว่า: [โสกกะโดก] ว. สัปดน, หยาบโลน.
【 โสกันต์ 】แปลว่า: (ราชา) ก. โกนจุก (ใช้แก่พระองค์เจ้าขึ้นไป).
【 โสกาดานา 】แปลว่า: น. คนใช้, ขอเฝ้า. (ช.).
【 โสโครก 】แปลว่า: [โสโคฺรก] ว. สกปรก, เปื้อนเปรอะน่ารังเกียจ, โดยปริยาย
หมายความว่า เลว เช่น คนโสโครก ของโสโครก เรื่องโสโครก.
น. เรียกแนวพืดหินหรือโขดหินใต้นํ้าใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล
อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่
การเดินเรือ ว่า หินโสโครก.
【 โสณ– 】แปลว่า: [–นะ–] น. ทองคํา. ว. แดง. (ป.; ส. โศณ).
【 โสณฑ์ 】แปลว่า: น. นักเลง, นักเลงเหล้า. (ป.; ส. เศาณฺฑ).
【 โสณะ ๑ 】แปลว่า: น. หมา. (ป.; ส. ศฺวาน).
【 โสณะ ๒ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓). (ป.; ส. โศณ).
【 โสณิ, โสณี 】แปลว่า: น. ตะโพก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระโสณี. (ป.; ส. โศฺรณี).
【 โสด 】แปลว่า: น. กระทงความส่วนหนึ่ง, ส่วน, แผนก, เช่น อีกโสดหนึ่ง.
ว. ทีเดียว; เดี่ยว, โดด, ไม่มีคู่, ยังไม่มีสามีหรือภรรยา,
เช่น ชายโสด หญิงโสด.
【 โสดก 】แปลว่า: สะโดก ว. เล็กน้อย, น้อยหนึ่ง. (ส. โสฺตก; ป. โถก).
【 โสดม 】แปลว่า: สะโดม ก. สรรเสริญ, ชมเชย. (ส. โสฺตม; ป. โถม).
【 โสดา ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ฟัง. (ป. โสตา; ส. โศฺรตฺฤ).
【 โสดา ๒, โสดาบัน 】แปลว่า: น. “ผู้แรกถึงกระแสธรรม (พระนิพพาน)” เป็นชื่อพระอริยบุคคล
ชั้นต้นใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระโสดา. (ป. โสตาปนฺน;
ส. โสฺรตสฺ + อาปนฺน).
【 โสดาปัตติผล 】แปลว่า: [–ปัดติผน] น. ธรรมที่พระโสดาบันได้บรรลุ, บางทีก็กร่อนเป็น
โสดา เช่น บรรลุโสดา. (ป. โสตาปตฺติผล; ส. โสฺรตสฺ + อาปตฺติ
+ ผล).
【 โสดาปัตติมรรค 】แปลว่า: [–ปัดติมัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระโสดาบัน.
(ป. โสตาปตฺติมคฺค; ส. โสฺรตสฺ + อาปตฺติ + มารฺค).
【 โสต, โสต– ๑ 】แปลว่า: [โสด, โสตะ–] น. หู, ช่องหู. (ป.; ส. โศฺรตฺร).
【 โสตทัศนวัสดุ 】แปลว่า: โสตะทัดสะนะวัดสะดุ, โสดทัดสะนะวัดสะดุ น. งาน
อันประกอบด้วยลำดับของภาพ โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะ
มีลักษณะอย่างใดอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้
เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และหมายความรวม
ถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี.
【 โสตทัศนอุปกรณ์ 】แปลว่า: [โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน] น. อุปกรณ์
การสอนสําหรับฟังและดู เช่นวิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนู-
ปกรณ์ ก็มี.
【 โสตินทรีย์ 】แปลว่า: น. หูซึ่งเป็นใหญ่ในการฟังเสียง. (ป. โสต + อินฺทฺริย).
【 โสต– ๒ 】แปลว่า: [โสตะ–] น. กระแส, สายนํ้า. (ป.; ส. โสฺรตสฺ).
【 โสตถิ 】แปลว่า: [โสดถิ] น. ความสวัสดี, ความเจริญรุ่งเรือง, เช่น เป็นประโยชน์
โสตถิผล. (ป.; ส. สฺวสฺติ).
【 โสตินทรีย์ 】แปลว่า: /ดู โสต, โสต– ๑./
【 โสทก 】แปลว่า: [–ทก] น. นํ้า; ลําคลอง, ทางนํ้า. ว. กอบด้วยนํ้า. (ป., ส.).
【 โสทร 】แปลว่า: [–ทอน] น. พี่น้องร่วมท้องกัน. (ป., ส.).
【 โสธก 】แปลว่า: [–ทก] น. ผู้ชําระ, ผู้ทําให้สะอาด. (ป.; ส. โศธก).
【 โสธนะ 】แปลว่า: [–ทะนะ] น. การทําความสะอาด, การชําระล้าง. (ป.; ส. โศธน).
【 โสน ๑ 】แปลว่า: [สะโหฺน] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Sesbania javanica/ Miq. ในวงศ์
Leguminosae ใบเล็ก ๆ คล้ายใบมะขาม ดอกสีเหลืองกินได้,
โสนกินดอก หรือ โสนหิน ก็เรียก.
【 โสนคางคก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Aeschynomene aspera/ L. ในวงศ์
Leguminosae ขึ้นตามที่น้ำขัง เนื้อไม้ใช้ทำหมวกกะโล่.
【 โสนหางไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Aeschynomene indica/ L. ในวงศ์
Leguminosae ขึ้นในน้ำ ยอดและดอกกินได้.
【 โสน ๒ 】แปลว่า: [สะโหฺน] /ดู ด้วงโสน./
【 โสนกินดอก 】แปลว่า: /ดู โสน ๑./
【 โสนหิน 】แปลว่า: /ดู โสน ๑./
【 โสภ–, โสภา, โสภี 】แปลว่า: [โสพะ–] ว. งาม เช่น สาวโสภา, (ปาก) งาม, ดี, เช่น พูดอย่าง
นี้ไม่โสภาเลย. (ป. สุภ; ส. ศุภ).
【 โสภณ 】แปลว่า: [โสพน] ว. งาม. (ป.; ส. โศภน).
【 โสภิณี, โสเภณี 】แปลว่า: น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, นครโสเภณี หญิง
นครโสเภณี หญิงงามเมือง หรือ หญิงหากิน ก็ว่า. (ป. โสภิณี
ว่า หญิงงาม; ส. โศภินี).
【 โสม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัว ๒ ชนิดในสกุล /Talinum/ วงศ์ Portulaca-
ceae ใบอวบนํ้า คือ ชนิด /T. paniculatum/ Gaertn. ใบกินได้
และใช้ทํายาได้ และชนิด /T. triangulare/ Willd. ใบและยอด
กินได้.
【 โสม ๒ 】แปลว่า: น. นํ้าคั้นจากต้นของไม้เถาชนิดหนึ่ง กรองแล้วนำมาผสม
กับเนยใส เพื่อใช้เซ่นสรวงพระอินทร์และเทพอื่น ๆ. (ส.).
【 โสม ๓ 】แปลว่า: น. พระจันทร์ เช่น เห็นนางนวลศรีมีโฉม ดังโสมส่องหล้า
ราศี. (กนกนคร). (ป., ส.).
【 โสมวาร 】แปลว่า: [โสมมะวาน] น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ จันทรวาร ก็ว่า.
【 โสม ๔ 】แปลว่า: (โบ) น. ทอง, ในวรรณคดีนิยมเขียนเป็น โสรม เช่น ในทาบทอง
แล้วเนื้อ นอกโสรม. (กำสรวล).
【 โสมนัส ๑ 】แปลว่า: [โสมมะนัด] น. ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม, ความเบิกบาน.
(ป. โสมนสฺส).
【 โสมนัส ๒ 】แปลว่า: [โสมมะนัด] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวคั่ว ไข่ขาว และ
น้ำตาลทราย หยอดเป็นก้อนกลม แล้วผิงให้กรอบ, โบราณเรียก
โคมะนัส เพี้ยนมาจาก coconut.
【 โสมม 】แปลว่า: [โส–มม] ว. สกปรกเลอะเทอะ, น่าขยะแขยง, เช่น ของโสมม
จิตใจโสมม.
【 โสมย์ 】แปลว่า: [โสม] ว. เป็นที่พอใจ, เป็นที่พึงใจ. (ส.; ป. โสมฺม).
【 โสมส่องแสง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 โสร่ง 】แปลว่า: [สะโหฺร่ง] น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายู
นุ่งเป็นต้น. (ม. sarung, sarong).
【 โสร่งแขก 】แปลว่า: /ดู ผีเสื้อเงิน./
【 โสรจ 】แปลว่า: [โสด] ก. อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (ข. โสฺรจ; ป. โสจ;
ส. เศาจ).
【 โสรจสรง 】แปลว่า: โสดสง ก. อาบนํ้า.
【 โสรวาร 】แปลว่า: [โสระวาน] น. วันเสาร์, ศนิวาร ก็ว่า. (ป.).
【 โสโร 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยาม ในเวลากลางคืน. /(ดู ยาม)./
【 โสวรรณ 】แปลว่า: [–วัน] ว. เป็นทอง, ทําด้วยทอง. (ป. โสวณฺณ; ส. เสาวรฺณ).
【 โสหัท 】แปลว่า: น. เพื่อน, ผู้มีใจดี. (ป., ส.).
【 โสหุ้ย 】แปลว่า: น. ค่าใช้จ่าย. (จ.).
【 โสฬส 】แปลว่า: [–ลด] ว. สิบหก. น. ชั้นพรหมโลก ๑๖ ชั้น ถือกันว่าเป็นที่มีสุข
อย่างยอดยิ่ง; ตําราเล่นการพนันครั้งโบราณสําหรับเล่นหวย
เล่นถั่ว; เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๑๖ อัน เป็น ๑ เฟื้อง, เรียกย่อ
ว่า ฬส. (ป.).
【 ใส 】แปลว่า: ว. แจ่มกระจ่าง เช่น ฟ้าใส, ไม่ขุ่น, ไม่มัว, เช่น น้ำใส กระจกใส.
【 ใส่ 】แปลว่า: ก. สวม เช่น ใส่เสื้อ ใส่กางเกง, เอาไว้ข้างในภาชนะหรือสถานที่
เป็นต้น เช่น กรอกน้ำใส่ขวด นำนักโทษไปใส่คุก, บรรทุก เช่น เอา
สินค้าใส่รถ.
【 ใส่ไข่ 】แปลว่า: (สำ) อาการที่พูดขยายความให้เกินความจริง, ใส่สีสัน หรือ
ใส่สีใส่สัน ก็ว่า.
【 ใส่ความ 】แปลว่า: ก. พูดหรือเขียนให้ร้ายป้ายสี, กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับ
ความเสียหาย, เช่น เขามีนิสัยไม่ดี ชอบใส่ความคนอื่น.
【 ใส่คะแนนไม่ทัน 】แปลว่า: (ปาก) ว. เร็วมาก, คล่องมาก, (ใช้แก่กริยาพูด), เช่น เธอพูด
เร็วมากจนใส่คะแนนไม่ทัน.
【 ใส่ไคล้ 】แปลว่า: ก. หาความใส่ร้ายผู้อื่นด้วยเล่ห์กล.
【 ใส่จริต 】แปลว่า: ก. แสร้งทำกิริยาท่าทางหรือวาจาให้ดูน่ารักเพื่อเรียกร้อง
ความสนใจเป็นต้น (มักใช้แก่หญิง).
【 ใส่ใจ 】แปลว่า: ก. ใส่ไว้ในใจ, จดจำ, เช่น จำใส่ใจไว้ให้ดีนะ, เอาใจจดจ่อ เช่น
นักเรียนควรใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนให้มาก.
【 ใส่ตะกร้าล้างน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําให้หมดราคี, ทําให้หมดมลทิน, (ใช้แก่ผู้หญิงที่มี
ราคีคาว) เช่น หญิงที่มีราคีแล้ว ถึงจะใส่ตะกร้าล้างน้ำก็ไม่
หมดราคีคาว.
【 ใส่ถ้อยร้อยความ 】แปลว่า: (สํา) ก. ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง.
【 ใส่ไฟ 】แปลว่า: ก. เติมเชื้อเพลิง เช่น คอยเอาฟืนใส่ไฟไว้นะ อย่าให้ไฟดับ;
จุดไฟเผาศพ; โดยปริยายหมายถึงให้ร้ายผู้อื่นทำให้ได้รับ
ความเสียหาย เช่น เขาใส่ไฟผม อย่าไปเชื่อ.
【 ใส่ยา 】แปลว่า: ก. เอายาโรยหรือทาเป็นต้นที่บาดแผล.
【 ใส่ร้าย, ใส่ร้ายป้ายสี 】แปลว่า: ก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย เช่น เขาใส่ร้าย
ฉันว่าขโมยของเพื่อน.
【 ใส่สาแหรกแขวนไว้ 】แปลว่า: (สํา) ก. เลี้ยงดูอย่างพะเน้าพะนอไม่ต้องให้ทําอะไร.
【 ใส่สีสัน, ใส่สีใส่สัน 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่พูดขยายความให้เกินความจริง, ใส่ไข่ ก็ว่า.
【 ใส่ไส้ 】แปลว่า: ก. สอดไส้ไว้ข้างใน, เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้น
เป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าว
เจ้า ผสมกะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือ
ใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมใส่ไส้, ขนมสอดไส้ ก็ว่า.
【 ใส่หน้ากาก 】แปลว่า: (สํา) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง,
แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากาก
เข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า.
【 ใส่หน้ายักษ์ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําหน้าถมึงทึงแสดงอาการเกรี้ยวกราด ดุดัน,
ตีหน้ายักษ์ ก็ว่า.
【 ใส่หม้อถ่วงน้ำ 】แปลว่า: ก. ใช้เวทมนตร์คาถาเรียกวิญญาณผีใส่หม้อดิน แล้วเอา
ผ้าขาวปิดปากหม้อ เอาเชือกผูกคอหม้อ เสกคาถาขัง
วิญญาณไว้ในนั้น แล้วเอาไปถ่วงน้ำเพื่อไม่ให้วิญญาณ
ออกมาอาละวาดอีก.
【 ใส่หม้อลอยน้ำ 】แปลว่า: ก. ขนันศพเด็กทารกแรกเกิดใส่หม้อดิน เอาผ้าขาวปิด
ปากหม้อพร้อมกับร่ายคาถากำกับ แล้วเอาไปลอยน้ำ.
【 ไส ๑ 】แปลว่า: ก. เสือกไป, ผลักไป, ส่งไป, รุนไป, ดันไป.
【 ไสกบ 】แปลว่า: ก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้
เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสไม้ ก็เรียก.
【 ไสน้ำแข็ง 】แปลว่า: ก. ดันก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไสที่เป็นม้าไม้ ๒ ขาเตี้ย ๆ ตรง
กลางมีใบกบฝังจากข้างล่าง ให้คมอยู่ข้างบน เพื่อย่อยน้ำแข็ง
ให้เป็นฝอย, เรียกน้ำแข็งที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า น้ำแข็งไส.
【 ไสไม้ 】แปลว่า: ก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้
เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสกบ ก็เรียก.
【 ไสหัว 】แปลว่า: ก. ขับไล่อย่างไม่เกรงใจ เช่น ไสหัวออกไปจากบ้าน.
【 ไส ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๔ ว่า ลูกไส.
【 ไส้ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหาร
กับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปขดมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่
ย่อย ดูดซึมอาหารและนํ้า พักและขับถ่ายกากอาหาร, ลําไส้
ก็เรียก; เรียกของที่อยู่ข้างในซึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไส้
ตะเกียง หรือที่ใส่ข้างใน เช่น ไส้ขนม ไส้ดินสอ; โดยปริยาย
หมายความว่า ความลับ เช่น สาวไส้ให้กากิน รู้ไส้; คนใน
ครอบครัว, คนภายใน, คนใกล้ชิด, เช่น เห็นขี้ดีกว่าไส้ ไส้เป็น
หนอน.
【 ไส้กรอก 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเนื้อสัตว์หรือข้าวสุกผสม
เครื่องปรุงยัดในไส้หมูเป็นต้น.
【 ไส้ไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเส้นอย่างไส้ขดเป็นวง,
เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ขดหลอดแก้วในเครื่อง
ควบแน่นสำหรับทำให้ไอร้อนกลั่นตัวเป็นของเหลว ไส้ไก่
หัวสูบลมรถจักรยาน.
【 ไส้แขวน 】แปลว่า: ว. หิวจัด มักใช้เข้าคู่กับคำ ไส้กิ่ว เป็น ไส้กิ่วไส้ แขวน เช่น
หิวจนไส้กิ่วไส้แขวน, ท้องกิ่วท้องแขวน ก็ว่า.
【 ไส้ตัน ๑ 】แปลว่า: น. ไส้ติ่ง; (ปาก) มดลูกหมู.
【 ไส้ติ่ง 】แปลว่า: น. ไส้ที่เป็นติ่งย้อยจากลําไส้ใหญ่ของคน, ไส้ตัน ก็ว่า.
【 ไส้เป็นน้ำเหลือง 】แปลว่า: (สํา) ว. อดอยากยากแค้น, ไม่มีอะไรกิน.
【 ไส้เป็นหนอน 】แปลว่า: (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือ
คนในบ้าน คิดคดทรยศ, เกลือเป็นหนอน ก็ว่า.
【 ไส้ละมาน 】แปลว่า: น. หนังหรือหวายที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของกลอง
สําหรับให้หนังเรียดร้อยกลับไปกลับมาในระหว่างหนังทั้ง ๒
หน้าจนรอบตัวกลองเพื่อเร่งเสียง.
【 ไส้เลื่อน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคที่ลําไส้ลงมาตุงที่ถุงอัณฑะ.
【 ไส้ศึก 】แปลว่า: น. ผู้ที่นําความลับในหมู่ที่ตัวร่วมด้วยไปบอกฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์.
【 ไส้แห้ง 】แปลว่า: ว. ยากจน, อดอยาก.
【 ไส้อั่ว 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกกับเครื่อง
ปรุงแล้วยัดในไส้หมู อาจย่างหรือทอดให้สุกเกรียมก็ได้.
【 ไส้ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ปีมะเส็ง.
【 ไส้เดือน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด บางชนิดลําตัวมี
ปล้อง บางชนิดไม่มี ชนิดที่รู้จักดี คือ ไส้เดือนดิน (/Pheretima /
/peguana/) ในวงศ์ Megascolecidae ลําตัวเป็นปล้อง มักมี
ชุกชุมตามดินชื้นร่วนซุย ตามใต้กองขยะมูลฝอย, ไส้เดือน
ฝอยรากปม (/Meloidogyne javanica/) ในวงศ์ Heteroderidae
ลําตัวเป็นริ้วไม่เป็นปล้อง เป็นปรสิตตามรากผัก ถั่ว และ
ต้นไม้.
【 ไส้เดือน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิทางเดินอาหารในวงศ์ Ascaridae เป็นพยาธิ
ตัวกลมขนาดใหญ่ ลําตัวสีขาวหม่น หัวแหลมท้ายแหลม
อาศัยอยู่ในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์ ถ้ามีมากจะทําให้
เกิดลําไส้อักเสบหรือลําไส้อุดตันได้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด
/Ascaris lumbricoides/ พบในลําไส้ของคน, ชนิด /A. suum /
พบในลําไส้ของหมู.
【 ไส้ตัน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ไส้ ๑./
【 ไส้ตัน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลในสกุล /Stolephorus/ วงศ์ Engraulidae
เป็นปลาสกุลหนึ่งในกลุ่มปลากะตัก เนื้อใส มีแถบสีเงิน
พาดกลางลําตัวจากแนวตาถึงโคนหาง ขนาดยาวได้ถึง
๒๐ เซนติเมตร ใช้หมักทํานํ้าปลา. /(ดู กะตัก)./
【 ไส้ตัน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Aganosma marginata /
G. Don ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม.
【 ไสย, ไสย– 】แปลว่า: [ไส, ไสยะ–] น. ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถาซึ่งเชื่อว่า
ได้มาจากพราหมณ์ เช่น ถูกคุณถูกไสย.
【 ไสยเวท, ไสยศาสตร์ 】แปลว่า: [ไสยะเวด, ไสยะสาด] น. ตําราทางไสย, วิชาทางไสย.
【 ไสยา 】แปลว่า: น. การนอน, ที่นอน. (ป. เสยฺยา; ส. ศยฺยา).
【 ไสยาสน์ 】แปลว่า: [ไสยาด] ก. นอน, เรียกพระพุทธรูปในท่านอนว่า พระไสยาสน์
หรือ พระพุทธไสยาสน์, เรียกพระพุทธรูปปางนอนว่า พระปาง
ไสยาสน์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอน
ตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์
ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวาง
อยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ป. เสยฺย (นอน)
+ อาสน (นั่ง)].
【 ไสยาสน์ 】แปลว่า: /ดู ไสยา./
【 ไสร้ 】แปลว่า: ไส้ ว. ไซร้, คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า
มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
【 ไสว 】แปลว่า: [สะไหฺว] ว. อาการที่ชูสะพรั่งอยู่ไหว ๆ เช่น ธงโบกสะบัดอยู่
ไสว; ทั่วไป ในคำว่า สว่างไสว.
【 ส ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะ
ตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและ
สันสกฤตเป็นต้นเช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
【 ส ๒ 】แปลว่า: คําประกอบหน้าคําอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
บ่งความว่ากอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อม
ด้วยเทวดา. (ป., ส.).
【 สก ๑ 】แปลว่า: [สะกะ] ว. ของตน. (ป.; ส. สฺวก).
【 สกวาที 】แปลว่า: น. ผู้กล่าวถ้อยคําฝ่ายตน คือ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายถาม, คู่กับ ปรวาที. (ป.).
【 สก ๒ 】แปลว่า: น. ผม. (ข. สก่).
【 สก ๓ 】แปลว่า: (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง
เรียกว่า สก.
【 สกฏ, สกฏะ 】แปลว่า: [สะกะตะ] น. เกวียน. (ป.).
【 สกฏภาระ 】แปลว่า: [พาระ] น. ของบรรทุกเกวียน.
【 สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล 】แปลว่า: [สะกะ, สะกิ] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล,
สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). /(ดู ผล)./
【 สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิมรรค 】แปลว่า: [มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส.
【 สกฺฤทาคามินฺ + 】แปลว่า:
มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). /(ดู มรรค)./
【 สกทาคามี, สกิทาคามี 】แปลว่า: [สะกะ, สะกิ] น. “ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง” เป็นชื่อพระอริยบุคคล
ชั้นที่ ๒ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและ
พระอรหันต์, บางทีก็เรียก สั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา.
(ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
【 สกนธ์ 】แปลว่า: [สะกน] น. ขันธ์, กอง, ส่วนร่างกาย, ร่างกาย. (ส.; ป. ขนฺธ).
【 สกปรก 】แปลว่า: [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง
ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว,
ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา
ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
【 สกรณีย์ 】แปลว่า: สะกะระ น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทํา. (ป.).
【 สกรรจ์ 】แปลว่า: [สะกัน] ว. ร้าย, ดุร้าย, เก่งกาจ, แข็งแรง, โดยมากใช้ ฉกรรจ์.
【 สกรรถ 】แปลว่า: [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย
คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น
นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ
เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
【 สกรรมกริยา 】แปลว่า: สะกํากฺริยา, สะกํากะริยา น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทํา
มารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
【 สกล, สกล 】แปลว่า: [สะกน, สะกนละ] ว. สากล. (ป., ส.).
【 สกลโลก 】แปลว่า: น. ทั้งโลก, โลกทั้งสิ้น, ทั่วโลก.
【 สกลมหาสังฆปริณายก 】แปลว่า: สะกนมะหาสังคะปะรินายก น. ตําแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช
ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอํานาจบัญชาการ
คณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ
กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.
【 สกัด 】แปลว่า: ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน
ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือ
กะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น
สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).
【 สกัดแคร่ 】แปลว่า: น. โคลงทวารประดับ.
【 สกา 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกา
ตามแต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
【 สกาว 】แปลว่า: [สะกาว] ว. ขาว, สะอาด, หมดจด.
【 สกิทาคามี 】แปลว่า: น. สกทาคามี.
【 สกี 】แปลว่า: น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕๒.๔ เมตร มีที่
สําหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่น
ยืนบนแผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะ
ปกคลุม โดยมีไม้คู่หนึ่งสําหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
【 สกีน้ำ 】แปลว่า: น. กีฬาอย่างหนึ่งคล้ายสกี แต่เล่นในนํ้า ใช้เรือยนต์ลาก.
(อ. water ski).
【 สกุณ 】แปลว่า: น. นก. (ป.; ส. ศกุน).
【 สกุณา, สกุณี 】แปลว่า: (กลอน) น. นก.
【 สกุน 】แปลว่า: น. รก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสกุน.
【 สกุนต์ 】แปลว่า: น. นก. (ป.; ส. ศกุนฺต).
【 สกุล 】แปลว่า: [สะกุน] น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์; เชื้อชาติผู้ดี เช่น เป็นคน
มีสกุล ผู้ดีมีสกุล.
【 สกุลรุนชาติ 】แปลว่า: [สะกุนรุนชาด] น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ.
【 สเกต 】แปลว่า: น. ที่สวมเท้าทําด้วยโลหะมีล้อเล็ก ๆ ใช้สวมเวลาเล่นสเกต; ชื่อ
การเล่นอย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมสเกตวิ่งไปมาบนพื้นเรียบ ๆ.
(อ. roller skate).
【 สเกตน้ำแข็ง 】แปลว่า: น. รองเท้าหุ้มข้อซึ่งมีพื้นติดแผ่นโลหะคล้ายสันมีดสําหรับแล่นลื่น
ไปบนลานนํ้าแข็ง; ชื่อการเล่นอย่างหนึ่งที่ผู้เล่นต้องสวมรองเท้า
สเกตเช่นนั้นแล้วแล่นลื่นไปบนลานน้ำแข็ง. (อ. skate).
【 สแกนเดียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๑ สัญลักษณ์ Sc เป็นโลหะที่หายาก ลักษณะ
เป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๕๓๙ ? ซ. (อ. scandium).
【 สขะ, สขา, สขิ 】แปลว่า: (แบบ) น. เพื่อน, สหาย. (ป., ส.).
【 สง 】แปลว่า: ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น
สงข้าวสงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่
หมาก) ในคำว่า หมากสง.
【 ส่ง 】แปลว่า: ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง
ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ;
หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน
ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ
มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ
ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ
เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
【 ส่ง ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น พูดส่ง ๆ พอเอาตัวรอด, ส่งเดช ก็ว่า.
【 ส่งกระแสจิต 】แปลว่า: ก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่ง
กับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัส
ทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ส่งกลิ่น 】แปลว่า: ก. กระจายออกไปจนได้กลิ่น เช่น อาหารส่งกลิ่นหอมน่ากิน.
【 ส่งกลีบ 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้เข็มร้อยมาลัยให้กลีบดอกไม้หรือใบไม้ยื่นยาว
ออกมาจากเข็มเสมอกัน.
【 ส่งข่าว 】แปลว่า: ก. บอกข่าว เช่น จะเดินทางเมื่อไรก็ส่งข่าวด้วยนะ.
【 ส่งข้าวส่งน้ำ, ส่งปิ่นโต 】แปลว่า: ก. เอาข้าวปลาอาหารเป็นต้นไปให้แก่ผู้ต้องหาหรือนักโทษ เช่น
ถ้าติดตะรางใครจะส่งข้าวส่งน้ำให้ ญาติติดคุกเลยต้องส่งปิ่นโต
ให้เป็นประจำ.
【 ส่งความสุข 】แปลว่า: ก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญ
ในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.
【 ส่งใจ 】แปลว่า: ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น
ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
【 ส่งดอก 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้เข็มร้อยก้านดอกไม้เช่นดอกพุด ดอกมะลิ ให้แต่ละ
ดอกยื่นยาวจากเข็มได้ระยะเสมอกัน; นําดอกเบี้ยไปส่งให้,
ชําระดอกเบี้ย.
【 ส่งเดช 】แปลว่า: (ปาก) ว. ลวก ๆ, มักง่าย, เช่น ทำส่งเดชพอให้พ้นตัว, ส่ง ๆ ก็ว่า.
【 ส่งตัว 】แปลว่า: ก. นําตัวเจ้าสาวไปส่งให้แก่เจ้าบ่าวตามฤกษ์ เช่น ได้ฤกษ์ส่งตัว.
【 ส่งท้าย 】แปลว่า: ก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัย
นายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทําท้ายสุดเพื่ออําลา เช่น
เขียนบทส่งท้ายต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.
【 ส่งทุกข์ 】แปลว่า: ก. ถ่ายอุจจาระ.
【 ส่งพระเคราะห์ 】แปลว่า: (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่กำลัง
จะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อ
ทางโหราศาสตร์.
【 ส่งภาษา 】แปลว่า: ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น
ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร;
พูดเป็นภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่ง
ภาษาจีนกัน เขาส่งภาษาถิ่นมาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
【 ส่งลำ 】แปลว่า: ก. ร้องเพลงส่งให้ปี่พาทย์รับบรรเลงตามทํานองที่ร้อง (ใช้แก่
การขับเสภาและสักวา); กระทําครั้งสุดท้าย เช่น เตะส่งลำ.
【 ส่งวิญญาณ 】แปลว่า: ก. ทำพิธีเพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปเกิดในสุคติตามคติความ
เชื่อถือของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.
【 ส่งส่วย 】แปลว่า: ก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่สุจริต)
เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น.
【 ส่งสัมผัส 】แปลว่า: ก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจอง
กับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.
【 ส่งสายตา 】แปลว่า: ก. มองโดยมีเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าตนมีความรู้สึกพอใจ
ไม่พอใจ อ้อนวอน หรือเพื่อเป็นการปรามเป็นต้น เช่น ส่งสายตา
ปรามไม่ให้เพื่อนพูด.
【 ส่งเสริม 】แปลว่า: ก. เกื้อหนุน, ช่วยเหลือสนับสนุนให้ดีขึ้น, เช่น ส่งเสริมการลงทุน
ส่งเสริมการศึกษา.
【 ส่งเสีย 】แปลว่า: ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
【 ส่งเสียง 】แปลว่า: ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล
ส่งเสียงอื้ออึง.
【 สงกร 】แปลว่า: กอน น. การปะปน, การคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
【 สงกรานต์ ๑ 】แปลว่า: [กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตาม
สุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวัน
มหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก.
(ส. สงฺกฺรานฺติ).
【 สงกรานต์ ๒ 】แปลว่า: [กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae
ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่
ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณ
น้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า
ตัวสงกรานต์.
【 สงกา 】แปลว่า: น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).
【 สงโกจ 】แปลว่า: โกด ก. หดเข้า, สั้นเข้า; สยิ้ว, หน้านิ่วคิ้วขมวด. (ป. สงฺโกจ;
ส. สํโกจ).
【 สงค์ 】แปลว่า: น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค).
【 สงคร 】แปลว่า: คอน น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร;
ส. สํคร).
【 สงคราม 】แปลว่า: [คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก.
(ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).
【 สงครามกลางเมือง 】แปลว่า: น. สงครามระหว่างชนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน.
【 สงครามนิวเคลียร์ 】แปลว่า: น. สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์.
【 สงครามเย็น 】แปลว่า: น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธแต่ใช้
อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
【 สงครามโลก 】แปลว่า: น. สงครามใหญ่ที่มีประเทศมหาอำนาจเป็นคู่สงคราม.
【 สงเคราะห์ 】แปลว่า: [เคฺราะ] น. การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์;
การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์
เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห).
【 สงฆ์ 】แปลว่า: น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ
ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ
พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า
รูปหรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔
รูปขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม
แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธี
ธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า
สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม
และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป
เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง
ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด
อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป
เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามาก
กว่าจํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ;
ส. สํฆ).
【 สงบ 】แปลว่า: [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก,
หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์
สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการ
ไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจร
ผู้ร้าย.
【 สงบเงียบ 】แปลว่า: ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้าน
สงบเงียบ.
【 สงบปากสงบคำ 】แปลว่า: ก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปาก
สงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.
【 สงบราบคาบ 】แปลว่า: ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง
เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
【 สงบเสงี่ยม 】แปลว่า: ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลาอยู่ต่อหน้า
ผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
【 สงวน 】แปลว่า: [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์
(โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว
สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน.
【 สงวนท่าที, สงวนทีท่า 】แปลว่า: ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน
เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัด
ระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวน
ทีท่าไว้บ้าง.
【 สงวนปากสงวนคำ 】แปลว่า: ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจา
อะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
【 สงเษป 】แปลว่า: เสบ น. สังเขป เช่น สวมแสดงบันทึกสาร สงเษป
ไส้พ่อ. (ยวนพ่าย). (ส. สํเกฺษป; ป. สงฺเขป).
【 ส่งสการ 】แปลว่า: น. สังสการ.
【 สงสัย 】แปลว่า: ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล
เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก;
ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก
สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมา
หรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
【 สงสาร ๑, สงสาร 】แปลว่า: [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด;
โลก. (ป., ส. สํสาร).
【 สงสารทุกข์ 】แปลว่า: น. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด.
【 สงสารวัฏ 】แปลว่า: น. การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า.
【 สงสาร ๒ 】แปลว่า: [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น,
รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก
สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
【 สงัด 】แปลว่า: [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ,
สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
【 สงัดคลื่น 】แปลว่า: ก. ไม่มีเสียงคลื่น.
【 สงัดคลื่นสงัดลม 】แปลว่า: ก. ไม่มีคลื่นไม่มีลม เช่น ทะเลสงัดคลื่นสงัดลม.
【 สงัดผู้สงัดคน 】แปลว่า: ก. เงียบเชียบเพราะไม่มีผู้คนผ่านไปมา.
【 สงัดลม 】แปลว่า: ก. ไม่มีลมพัด.
【 สง่า 】แปลว่า: [สะหฺง่า] ว. มีลักษณะผึ่งผายเป็นที่น่ายำเกรงหรือน่านิยมยกย่อง
เช่น ผู้นำจะต้องมีบุคลิกลักษณะสง่า, เป็นที่น่าเกรงขาม เช่น
เสือโคร่งมีท่าทางสง่า.
【 สง่างาม 】แปลว่า: ว. มีท่าทางภูมิฐานแลดูงาม.
【 สง่าผ่าเผย 】แปลว่า: ว. มีท่าทางองอาจผึ่งผาย.
【 สง่าราศี 】แปลว่า: ว. มีท่าทางภูมิฐานผิวพรรณมีน้ำมีนวล.
【 สฐะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. โกง, ล่อลวง; โอ้อวด. (ป.).
【 สณฑ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ชัฏ, ดง, ที่รก, ที่ทึบ. (ป. สณฺฑ; ส. ษณฺฑ).
【 สด 】แปลว่า: ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง
ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง
และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด
ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ
ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด
เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
【 สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ 】แปลว่า: ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามา
จากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิตออกจากโรงงานสด ๆ
ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะ
เจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพร
เป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
【 สดคาว 】แปลว่า: ว. ดิบ ๆ และยังมีคาวอย่างปลาสดหรือเนื้อสด เช่น เขาชอบ
กินอาหารสดคาว, อาหารที่แสลงแก่โรค เช่น เป็นโรคริดสีดวง
ห้ามกินของสดคาว.
【 สดชื่น 】แปลว่า: ว. ใหม่และบริสุทธิ์ทำให้เบิกบานใจและกระปรี้กระเปร่าขึ้น
เช่น จิตใจสดชื่น อากาศสดชื่น ดอกไม้บานสดชื่น ผิวพรรณ
สดชื่นหน้าตาสดชื่น.
【 สดใส 】แปลว่า: ว. ผ่องใส, ไม่ขุ่นมัว, เช่น หน้าตาสดใส สีสันสดใส.
【 สดก 】แปลว่า: สะดก น. หมวด ๑๐๐, จํานวนร้อย. (ป. สตก; ส. ศตก).
【 สดน, สดัน 】แปลว่า: สะดน, สะ น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
【 สดมภ์ 】แปลว่า: [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการ
ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ).
【 สดับ 】แปลว่า: [สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคํา
ตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา
ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
【 สดับตรับฟัง 】แปลว่า: ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา.
【 สดับปกรณ์ 】แปลว่า: [สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกา
บังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ;
ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์).
【 สดำ 】แปลว่า: [สะ] ว. ขวา. (ข. สฺฎำ).
【 สดี 】แปลว่า: [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี).
【 สดุดี 】แปลว่า: [สะ] น. คํายกย่อง, คําสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็น
พิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. (ส. สฺตุติ; ป. ถุติ).
【 สดูป 】แปลว่า: สะดูบ น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สําหรับบรรจุ
ของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สตูป ก็ว่า.
(ส. สฺตูป; ป. ถูป).
【 สต, สตะ ๑ 】แปลว่า: [สะตะ] น. ร้อย (๑๐๐). (ป.; ส. ศต).
【 สตมาหะ 】แปลว่า: น. วันที่ครบ ๑๐๐.
【 สตะ ๒ 】แปลว่า: ว. ระลึกได้, จําได้. (ป.; ส. สฺมฺฤต).
【 สตกะ 】แปลว่า: [สะตะ] น. หมวด ๑๐๐, จํานวนร้อย. (ป.).
【 สตน, สตัน 】แปลว่า: สะตน, สะ น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
【 สตภิสชะ, ศตภิษัช 】แปลว่า: [สะตะพิดชะ, สะตะพิสัด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็น
รูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
【 สตรอนเชียม 】แปลว่า: [สะตฺรอน] น. ธาตุลําดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ
ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยา
เคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ ? ซ. (อ. strontium).
【 สตริกนิน 】แปลว่า: [สะตฺริก] น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร
C21H22N2 O2 ลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว ละลายได้เล็ก
น้อยในนํ้าหลอมละลายที่ ๒๖๘ ? ๒๙๐ ? ซ. เป็นพิษอย่างแรง.
(อ. strychnine).
【 สตรี 】แปลว่า: [สัดตฺรี] น. ผู้หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ, (ใช้ในลักษณะที่สุภาพ).
(ส.; ป. อิตฺถี, ถี).
【 สตรีเพศ 】แปลว่า: น. เพศหญิง, คู่กับ บุรุษเพศ.
【 สตรีลิงค์, สตรีลึงค์ 】แปลว่า: (ไว) น. เพศของคําที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี,
อิตถีลิงค์ ก็ว่า. (ส. สฺตรีลิงฺค; ป. อิตฺถีลิงฺค).
【 สตันย์ 】แปลว่า: สะ น. นํ้านม. (ส.; ป. ถ?ฺ?).
【 สตัพธ์ 】แปลว่า: สะตับ ว. แข็งกระด้าง, เย่อหยิ่ง. (ส. สฺตพฺธ; ป. ถทฺธ).
【 สตัฟฟ์ 】แปลว่า: [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่าน
กรรมวิธีทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้
ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
【 สตัมภ์ 】แปลว่า: สะ น. เสา, หลัก; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สฺตมฺภ, สฺตมฺพ; ป. ถมฺภ).
【 สตางค์ 】แปลว่า: [สะตาง] น. เหรียญกระษาปณ์ปลีกย่อย ๑๐๐ สตางค์ เป็น
๑ บาท, อักษรย่อว่า สต., โดยปริยายหมายถึงเงินที่ใช้สอย
เช่น วันนี้ไม่มีสตางค์ติดตัวมาเลย เขาเป็นคนมีสตางค์; ชื่อ
มาตราชั่งตามวิธีประเพณีสําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงิน
หนัก ๐.๑๕ กรัม; (โบ) มาตราวัดน้ำฝนเท่ากับ ๑ ใน ๑๐
ของทศางค์.
【 สติ 】แปลว่า: [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ,
ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ
กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).
【 สติแตก 】แปลว่า: ก. ควบคุมสติไม่ได้.
【 สติปัญญา 】แปลว่า: น. ปัญญารอบคอบ, ปัญญารู้คิด, เช่น เขาเป็นคนมีสติปัญญาดี.
【 สติปัฏฐาน 】แปลว่า: น. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต
ธรรม. (ป.).
【 สติฟั่นเฟือน 】แปลว่า: ว. คุ้มดีคุ้มร้าย.
【 สติไม่ดี 】แปลว่า: ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน
ผิดพลาดบ่อย ๆ.
【 สติลอย 】แปลว่า: ว. เหม่อ, เผลอสติ, เช่น เขาเดินสติลอยเลยถูกรถชน.
【 สติวินัย 】แปลว่า: น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา
เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลย
ไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
【 สติวิปลาส 】แปลว่า: [วิปะลาด] ว. มีสติฟั่นเฟือนคล้ายคนบ้า, สัญญาวิปลาส ก็ว่า.
【 สติสัมปชัญญะ 】แปลว่า: น. ความระลึกได้และความรู้ตัว, ความรู้สึกตัวด้วยความ
รอบคอบ, เช่น จะทำอะไรต้องมีสติสัมปชัญญะ.
【 สติอารมณ์ 】แปลว่า: น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมาก
ไปเลย. (ป.).
【 สตี 】แปลว่า: [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี; ธรรมเนียมที่ผู้หญิง
ชาวฮินดูเผาตัวบนกองไฟพร้อมกับศพสามีเพื่อแสดงถึง
ความจงรักภักดีและความบริสุทธิ์. (ส.).
【 สตู 】แปลว่า: [สะ] น. อาหารคาวชนิดหนึ่ง นำเนื้อหรือไก่เป็นต้นเคี่ยวใน
น้ำสต๊อกให้นุ่มด้วยไฟอ่อน ๆ ใส่ผัก เช่น มะเขือเทศ ถั่วแขก
มันฝรั่ง มีน้ำข้น. (อ. stew).
【 สตูป 】แปลว่า: สะตูบ น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สําหรับบรรจุ
ของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สดูป ก็ว่า.
(ส.; ป. ถูป).
【 สเต๊ก 】แปลว่า: [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วย
เนื้อสันหรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไป
ย่างหรือทอดกินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด
ใส่เครื่องปรุงรสตามชอบ. (อ. steak).
【 สถน 】แปลว่า: สะถน น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
【 สถบดี 】แปลว่า: สะถะบอดี น. ช่างก่อสร้าง, ช่างไม้. (ส. สฺถปติ; ป. ถปติ).
【 สถล, สถล 】แปลว่า: [สะถน, สะถนละ] น. ที่บก, ที่ดอน, ที่สูง. (ส.; ป. ถล).
【 สถลทิน 】แปลว่า: น. ชื่อสถานที่สําหรับทําพิธีเกี่ยวกับรับช้างเผือก ทําเป็นเนิน
ดินมีเสาโครงเพดานผ้าขาวเป็นที่หุงข้าวเภาและปักต้นอ้อย.
【 สถลบถ, สถลมารค 】แปลว่า: น. ทางบก เช่น กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. (ส.).
【 สถวีระ 】แปลว่า: สะถะวีระ น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท
เรียกว่านิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่,
ผู้สูงอายุ; ป. เถร).
【 สถาน ๑ 】แปลว่า: [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถาน
พักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่,
แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน
สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
【 สถานกงสุล 】แปลว่า: น. ที่ทำการของกงสุล.
【 สถานที่ 】แปลว่า: น. ที่ตั้ง, แหล่ง, เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตากอากาศ
สถานที่พักผ่อนย่อนใจ.
【 สถานทูต 】แปลว่า: น. ที่ทำการของทูต.
【 สถานธนานุเคราะห์ 】แปลว่า: น. โรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์.
【 สถานธนานุบาล 】แปลว่า: น. โรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร, โรงรับจำนำของเทศบาล.
【 สถานบริการ 】แปลว่า: (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า
ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ
ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา
น้ำชาหรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอ
สำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมี
บริการนวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้
บริการให้แก่ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม
อย่างอื่นจำหน่ายโดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใด
เพื่อการบันเทิง.
【 สถานประกอบการ 】แปลว่า: (กฎ) น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็น
ประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือ
เก็บสินค้าเป็นประจำด้วย.
【 สถาน ๒, สถานะ 】แปลว่า: [สะถานะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะ
ยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะ
ปรกติเป็นของเหลว.
【 สถานการณ์ 】แปลว่า: น. เหตุการณ์ที่กําลังเป็นไป เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเป็นปรกติดี.
【 สถานการณ์ฉุกเฉิน 】แปลว่า: (กฎ) น. สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ
ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่
ในภาวะคับขัน หรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
【 สถานภาพ 】แปลว่า: น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่งค้นคว้า
และบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ปรากฏ
ในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี;
สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทาง
ครอบครัวเป็นบิดา.
【 สถานี 】แปลว่า: [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานี
ตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐาน
ส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ
๓ แห่ง เรียกว่าสถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ
สถานีทหารเรือสงขลาสถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลัง
บำรุงหน่วยย่อยสำหรับการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง
เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานี
เรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของ
เรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทางขวา
ของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำ
เพื่อปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอด
เรือ สถานีออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของ
ทางทะเล; ที่ที่มีหน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสาร
ดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์สถานีตรวจอากาศ.
【 สถานีอนามัย 】แปลว่า: น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการ
สาธารณสุขทุกสาขาและส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่
ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, เดิมเรียกว่า สุขศาลา.
【 สถาบก 】แปลว่า: สะ ก. สร้าง. (จารึกสยาม). (ส. สฺถาปก ว่า ผู้ตั้ง, ผู้สร้าง).
【 สถาบัน 】แปลว่า: สะ น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น
เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิต
ของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบัน
พระมหากษัตริย์สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบัน
การเงิน. (ส.).
【 สถาปนา 】แปลว่า: [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้สูงศักดิ์
ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มักใช้แก่หน่วย
ราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย)
เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน
วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
【 สถาปนิก 】แปลว่า: [สะถาปะ] น. ผู้ทรงคุณวุฒิในการสร้างสรรค์ทางออกแบบ
ก่อสร้าง. (ส.).
【 สถาปนียพยากรณ์ 】แปลว่า: [นียะ] น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.
【 สถาปนียวาที 】แปลว่า: [นียะ] น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยการนิ่ง.
【 สถาปัตยกรรม 】แปลว่า: [สะถาปัดตะยะกํา] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).
【 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 】แปลว่า: [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการออกแบบงาน
ก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
【 สถาปัตยเรขา 】แปลว่า: [สะถาปัดตะยะ] น. แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง.
【 สถาปัตยเวท 】แปลว่า: [สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของ อุปเวท.
(ส. สฺถาปตฺย + เวท). /(ดู อุปเวท ประกอบ)./
【 สถาพร, สถาวร 】แปลว่า: [สะถาพอน, วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร
สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
【 สถาล 】แปลว่า: สะถาน น. ภาชนะใส่ของ, จาน, ชาม. (ส. สฺถาล; ป. ถาล).
【 สถิต 】แปลว่า: [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคล
ที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ พระมหากษัตริย์
สถิตบนพระที่นั่งสมเด็จพระสังฆราชสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร.
(ส. สฺถิต; ป. ??ต).
【 สถิตยศาสตร์ 】แปลว่า: [สะถิดตะยะ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทํา
ต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่.
(อ. statics).
【 สถิติ 】แปลว่า: [สะ] น. หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสําหรับเปรียบเทียบ
หรือใช้อ้างอิง เช่น สถิติในการส่งสินค้าออกปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว.
(ส. สฺถิติ; ป. ??ติ).
【 สถิติศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยสถิติ. (อ. statistics).
【 สถิร 】แปลว่า: [สะถิระ] ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (ส. สฺถิร; ป. ถิร).
【 สถีรวาท 】แปลว่า: สะถีระวาด น. ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า
นิกายสถีรวาท หรือ สถวีระ.
【 สถุล 】แปลว่า: [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล,
มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ;
ป. ถูล).
【 สถูป 】แปลว่า: [สะถูบ] น. สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของ
ควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น,
บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เจดีย์ เป็น สถูปเจดีย์ เช่น เดินเวียนเทียน
รอบพระสถูปเจดีย์. (แบบ) สดูป, สตูป. (ป. ถูป; ส. สฺตูป).
【 สทิง 】แปลว่า: [สะ] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี.
(ข. สฺทึง ว่า คลอง).
【 สทึง 】แปลว่า: [สะ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สรทึง ก็มี.
(ข. สฺทึง ว่า คลอง).
【 สทุม 】แปลว่า: [สะ] น. เรือน. (ป.; ส. สทฺมนฺ).
【 สธนะ 】แปลว่า: [สะทะนะ] ว. มีเงิน, รํ่ารวย. (ป., ส.).
【 สธุสะ, สาธุสะ 】แปลว่า: คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียว
กับคํา ศุภมัสดุ.
【 สน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ
【 สนองไข 】แปลว่า: ก. กล่าวตอบ, อธิบาย.
【 สนองได 】แปลว่า: (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
【 สนอบ 】แปลว่า: สะหฺนอบ น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
ใช้นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หรือในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).
【 สนอม 】แปลว่า: [สะหฺนอม] ก. ถนอม.
【 สนะ 】แปลว่า: [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
【 สนัด 】แปลว่า: [สะหฺนัด] ก. ถนัด, สันทัด, มั่นเหมาะ. ว. ชัด, แม่นยํา.
【 สนัดใจ 】แปลว่า: ว. ถนัดใจ.
【 สนั่น 】แปลว่า: [สะหฺนั่น] ว. กึกก้อง, ดังลั่น, ดังมาก, เช่น ฟ้าผ่าเสียงดังสนั่น.
【 สนับ ๑ 】แปลว่า: [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของ
ช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่
โทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
【 สนับแข้ง 】แปลว่า: น. เครื่องสวมแข้ง.
【 สนับงา 】แปลว่า: น. เนื้อหุ้มที่โคนงาช้าง.
【 สนับนิ้ว, สนับนิ้วมือ 】แปลว่า: น. ปลอกโลหะสวมปลายนิ้วมือสําหรับดุนก้นเข็มเพื่อไม่ให้
เจ็บนิ้วมือ.
【 สนับเพลา 】แปลว่า: [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว
นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
【 สนับมือ 】แปลว่า: น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือ
มักทําด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสําหรับ
สวมนิ้วมือเวลาชก.
【 สนับ ๒, สนับทึบ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์นํ้าเค็มไม่มีกระดูกสันหลังในสกุล/ Lepas/ วงศ์
Lepadidae, เพรียงคอห่าน ก็เรียก.
【 สนับสนุน 】แปลว่า: ก. ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, อุปการะ, เช่น สนับสนุนการกีฬา
สนับสนุนการศึกษา.
【 สนาดก 】แปลว่า: สะนา น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการ
ศึกษาแล้วซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิต
ขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ
คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).
【 สนาน 】แปลว่า: [สะหฺนาน] น. การอาบนํ้า. (ส. สฺนาน; ป. นหาน).
【 สนาบก 】แปลว่า: [สะนา] น. คนที่มีหน้าที่อาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส. สฺนาปก; ป. นหาปก).
【 สนาบัน 】แปลว่า: [สะนา] น. การอาบนํ้า, การอาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส.; ป. นหาปน).
【 สนาม 】แปลว่า: [สะหฺนาม] น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม
เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น
สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว.
【 สนามกีฬา 】แปลว่า: น. สถานที่สำหรับฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬา.
【 สนามเด็กเล่น 】แปลว่า: น. สถานที่ที่จัดให้เด็กเล่น มักมีอุปกรณ์การเล่น เช่น ชิงช้า ไม้ลื่น.
【 สนามบิน 】แปลว่า: น. (กฎ) พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ทั้งหมด
หรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน
รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและบริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนาม
บินนั้น; (ปาก) ท่าอากาศยาน.
【 สนามบินอนุญาต 】แปลว่า: (กฎ) น. สนามบินที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัติการเดินอากาศและสนามบินที่รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด.
【 สนามเพลาะ 】แปลว่า: น. คูที่ขุดกำบังตัวในเวลารบ.
【 สนามไฟฟ้า 】แปลว่า: (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจไฟฟ้า, บริเวณที่มีเส้นแรงไฟฟ้าผ่าน.
【 สนามแม่เหล็ก 】แปลว่า: (วิทยา) น. บริเวณที่มีอำนาจแม่เหล็ก, บริเวณที่มีเส้นแรง
แม่เหล็กผ่าน.
【 สนามรบ 】แปลว่า: น. บริเวณที่คู่สงครามต่อสู้กัน เช่น เขาได้ผ่านสนามรบมา
มากแล้ว.
【 สนามวัด 】แปลว่า: น. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้
กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลี
สนามหลวง.
【 สนามสอบ 】แปลว่า: น. สถานที่สำหรับจัดสอบไล่หรือสอบคัดเลือก.
【 สนามหลวง 】แปลว่า: น. สถานซึ่งกําหนดให้เป็นที่สอบไล่นักธรรมและบาลี
ในคำว่า สอบธรรมสนามหลวง สอบบาลีสนามหลวง.
【 สนายุ 】แปลว่า: สะนา น. เอ็น. (ส. สฺนายุ).
【 สนิกะ 】แปลว่า: สะนิกะ ว. ค่อย ๆ, เบา ๆ. (ป.).
【 สนิท 】แปลว่า: [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท
เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม,
กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดู
ประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตู
ปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้
จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมด
โดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท
ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
【 สนิทใจ 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ,
ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะ
พึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือใน
ห้องน้ำรวมใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
【 สนิทปาก 】แปลว่า: ว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้สนิท
ปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.
【 สนิทสนม 】แปลว่า: ก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่
ยังเป็นเด็ก. ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม
เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
【 สนิธ 】แปลว่า: สะหฺนิด ว. สนิท.
【 สนิม ๑ 】แปลว่า: [สะหฺนิม] น. ส่วนของผิวโลหะที่แปรสภาพไปจากเดิมเนื่อง
ด้วยปฏิกิริยาเคมีเป็นสาเหตุให้เกิดการผุกร่อน เช่น มีดขึ้น
สนิม; (ปาก) มลทิน เช่น สนิมในใจ.
【 สนิมขุม 】แปลว่า: น. สนิมซึ่งเกิดที่ผิวโลหะแล้วทำให้ผิวโลหะเป็นจุด ๆ หรือ
เป็นรู ๆ เช่น พระพุทธรูปสัมฤทธิ์เกิดสนิมขุม.
【 สนิม ๒ 】แปลว่า: [สะหฺนิม] น. ถนิม, เครื่องประดับ ในคำว่า สนิมพิมพาภรณ์.
(ข. ธฺนิม).
【 สนิมสร้อย 】แปลว่า: [สะหฺนิมส้อย] ว. ถนิมสร้อย, หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็น
เหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ), เช่น ดุว่า
นิดหน่อยก็น้ำตาร่วง ทำเป็นแม่สนิมสร้อยไปได้.
【 สนุก 】แปลว่า: [สะหฺนุก] ว. ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน, ทำให้เบิกบานใจ, เช่น
หนังสือเรื่องนี้อ่านสนุก ภาพยนตร์เรื่องนี้สนุก. (ข. สฺรณุก).
【 สนุกสนาน 】แปลว่า: ว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่น
สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน.
【 สนุกเกอร์ 】แปลว่า: [สะนุก] น. ชื่อกีฬาในร่มชนิดหนึ่งเล่นบนโต๊ะบิลเลียด ผู้เล่น
ใช้ไม้แทงลูกเรียกว่า ไม้คิว แทงลูกกลมสีขาวให้กระทบลูก
กลมสีต่าง ๆ ซึ่งมีลูกแดง ๑๕ ลูก ลูกดํา ชมพู นํ้าเงิน นํ้าตาล
เขียว และเหลือง อีกอย่างละ ๑ ลูก ให้ลงหลุมทีละลูกตามที่
กําหนดไว้ในกติกา หรือทําให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถแทงลูกสีขาว
ให้กระทบกับลูกที่ต้องถูกกระทบได้ซึ่งเรียกว่า ทําสนุก.
(อ. snooker).
【 สนุข 】แปลว่า: [สะหฺนุก] น. สุข. (แผลงมาจาก สุข).
【 สนุต 】แปลว่า: [สะนุด] ว. ไหล, ย้อย, (ใช้แก่น้ำนมแม่). (ส.).
【 สนุ่น ๑ 】แปลว่า: [สะหฺนุ่น] น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Salix tetrasperma/ Roxb. ในวงศ์
Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้า ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือก
และรากใช้ทํายา, ตะไคร้บก ก็เรียก.
【 สนุ่น ๒ 】แปลว่า: [สะหฺนุ่น] น. สวะหรือซากผุพังของพืชพรรณที่ซับซ้อนกันมาก ๆ
ในบึงหรือหนองนํ้า สามารถเหยียบเดินไปได้.
【 สบ 】แปลว่า: ก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก,
ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒
สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่ แม่น้ำบีคี่ใหญ่
ห้วยซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลง
สู่แม่น้ำแควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย
ว่า ทุกสมัย. (ข.).
【 สบประมาท 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกดูหมิ่นซึ่ง ๆ หน้า เช่น เขาถูกสบประมาท
ในที่ประชุม, ประมาทหน้า.
【 สบสังวาส 】แปลว่า: ว. อยู่ร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกันร่วมทําสังฆกรรม
ด้วยกันได้ เรียกว่า สงฆ์สบสังวาส.
【 สบง 】แปลว่า: [สะบง] น. ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร. (ข. สฺบ่ง).
【 สบจ 】แปลว่า: สะบด น. คนชาติตํ่าช้า. (ป. สปจ; ส. ศฺวปจ).
【 สบถ 】แปลว่า: [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติ
ตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
【 สบเสีย ๑ 】แปลว่า: ก. ชอบพอ, โปรดปราน.
【 สบเสีย ๒ 】แปลว่า: ก. ดูถูก.
【 สบัน 】แปลว่า: สะ ก. สาบาน. (ป. สปน).
【 สบาย 】แปลว่า: [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงาน
หมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะ
มีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบาย
ไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้
เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย;
พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย;ไม่ลำบากกาย เช่น เขา
ทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้
เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส
เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
【 สบายใจ 】แปลว่า: ว. ไม่มีทุกข์มีร้อน เช่น ลูก ๆ เรียนจบหมดแล้วก็สบายใจ
ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วสบายใจ.
【 สบายอารมณ์ 】แปลว่า: ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไปอย่าง
สบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
【 สบู่ ๑ 】แปลว่า: [สะ] น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล /Jatropha/ วงศ์ Euphorbiaceae
คือ สบู่ขาว หรือ สบู่ดํา (/J. curcas/ L.) ก้านใบและใบอ่อนสีเขียว
และ สบู่แดง (/J. gossypifolia/ L.) ก้านใบและใบสีแดง, ทั้ง ๒ ชนิด
มียางใส เมล็ดนําไปหีบได้นํ้ามันใช้เป็นเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
ทุกส่วนเป็นพิษ.
【 สบู่ ๒ 】แปลว่า: [สะ] น. สิ่งที่ผลิตขึ้นโดยนําไขสัตว์เช่นไขวัว หรือนํ้ามันพืชเช่น
นํ้ามันมะพร้าวนํ้ามันมะกอกไปต้มกับด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
จะได้สบู่แข็ง หรือนําไปต้มกับด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
จะได้สบู่อ่อน ใช้ชําระล้างและซักฟอก. (โปรตุเกส sapu).
【 สบู่เลือด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถามีหัวชนิด /Stephania venosa/ (Blume) Spreng.
ในวงศ์ Menispermaceae ใบ เถา และผิวของหัวมีนํ้ายาง
สีแดง.
【 สไบ 】แปลว่า: [สะ] น. ผ้าแถบ, ผ้าคาดอกผู้หญิง. (ข. ไสฺบ).
【 สไบกรองทอง 】แปลว่า: น. ผ้าสไบที่ถักด้วยไหมทองไหมเงินให้เป็นลวดลาย
โปร่งรูปดอกไม้เป็นต้น และมีผ้าซับในอีกชั้นหนึ่ง.
【 สไบเฉียง 】แปลว่า: น. วิธีห่มผ้าสไบให้เฉวียงบ่าข้างใดข้างหนึ่ง เรียกว่า
ห่มสไบเฉียง.
【 สไบปัก 】แปลว่า: น. ผ้าสไบที่ปักด้วยดิ้นเงินหรือดิ้นทองและสอดไส้ด้วย
ไหมสีต่าง ๆ.
【 สไบนาง 】แปลว่า: /ดู กระแตไต่ไม้ ๒./
【 สปริง 】แปลว่า: [สะปฺริง] น. สิ่งที่ยืดหรือหดแล้วคืนตัวได้เอง มักทำด้วยโลหะ
เช่น นาฬิกาเรือนนี้สปริงหลุด จึงไม่เดิน. ว. ที่ยืดหรือหดแล้ว
คืนตัวได้เอง เช่น เบาะสปริง เตียงสปริง. (อ. spring).
【 สปริงตัว 】แปลว่า: ก. ดีดตัวออก เช่น นักบินสปริงตัวออกจากเครื่องบิน.
【 สปอร์ 】แปลว่า: น. หน่วยขยายพันธุ์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่คล้ายเมล็ดพืชแต่
ไม่มีเอ็มบริโอเมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะเจริญเป็นต้นใหม่
ได้. (อ. spore).
【 สปาเกตตี 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารอิตาลีชนิดหนึ่ง ทําจากแป้งสาลี เป็นเส้นกลมตัน
คล้ายเส้นขนมจีนแต่โตกว่าเล็กน้อย. (อ. spaghetti).
【 สเปกตรัม 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้า
ถูกแยกออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่น
หรือความถี่ขององค์ประกอบนั้น ๆ. (อ. spectrum).
【 สเปกโทรสโกป 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ใช้ศึกษาการวิเคราะห์สเปกตรัม. (อ. spectroscope).
【 สไปริลลัม 】แปลว่า: น. แบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเส้นหรือท่อนที่งอไปงอมาหรือบิด
เป็นเกลียว. (อ. spirillum).
【 สพั้น 】แปลว่า: [สะ] น. ทองเหลือง, ทองแดง. (ข. สฺพาน่).
【 สพาบ 】แปลว่า: [สะ] ว. พังพาบ เช่น ก็มาให้มึงล้มสพาบ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข.).
【 สภา 】แปลว่า: น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร
สภาสตรีแห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).
【 สภากาชาด 】แปลว่า: น. องค์การพยาบาลและบรรเทาทุกข์.
【 สภาจาร 】แปลว่า: น. ขนบธรรมเนียมขององค์การหรือสถานที่ประชุม. (ส.).
【 สภานายก, สภาบดี 】แปลว่า: น. ผู้เป็นประธานในที่ประชุม. (ส.).
【 สภาผู้แทนราษฎร 】แปลว่า: (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับวุฒิสภาแล้ว
ประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก
จำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่
พรรคการเมืองจัดทำขึ้นจำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมา
จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่
ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการ
แผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
【 สภาค 】แปลว่า: [สะพาก] ว. ร่วมกัน, อยู่หมวดเดียวกัน; เหมือนกัน, เท่ากัน. (ป.).
【 สภาพ 】แปลว่า: น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพ
ความเป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ,
ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
【 สภาพเดิม 】แปลว่า: น. ลักษณะหรือภาวะหรือธรรมชาติที่เป็นมาแต่แรก.
【 สภาพธรรม 】แปลว่า: น. หลักแห่งความเป็นเอง.
【 สภาว, สภาวะ 】แปลว่า: [สะพาวะ] น. สภาพ เช่น สภาวะดินฟ้าอากาศ. (ป.).
【 สภาวการณ์ 】แปลว่า: น. เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น บ้านเมือง
ตกอยู่ในสภาวการณ์เดือดร้อนเพราะภัยธรรมชาติ.
【 สม ๑ 】แปลว่า: ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน
เขาแต่งตัวสมฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้
กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน
เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน
สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น
สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
【 สมควร 】แปลว่า: ว. ควรยิ่ง, เหมาะสมยิ่ง, เช่น เขาทำงานดีสมควรขึ้น
เงินเดือนให้ ๒ ขั้น.
【 สมคะเน 】แปลว่า: ก. เหมาะกับที่คาด, ตรงกับที่คิดไว้.
【 สมจริง 】แปลว่า: ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง
บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น
เขาทำได้สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่
ความจริงทั้งหมดเช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
【 สมจริงสมจัง 】แปลว่า: ว. คล้ายกับที่เป็นจริงมาก เช่น เขาเล่าถึงเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ได้สมจริงสมจัง.
【 สมใจ 】แปลว่า: ก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว
วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.
【 สมนอก 】แปลว่า: น. เลกของเจ้านายที่ทรงกรมหรือขุนนางที่มีสิทธิ์มีเลก.
【 สมนัย 】แปลว่า: ก. สอดคล้องกับ, สอดคล้องกัน.
【 สมน้ำสมเนื้อ 】แปลว่า: ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ
กันดีแล้ว.
【 สมน้ำหน้า 】แปลว่า: ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น
ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า
เช่น สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
【 สมใน 】แปลว่า: น. เลกของเจ้านายฝ่ายใน.
【 สมบุญ 】แปลว่า: ว. เหมาะแก่ที่มีบุญ.
【 สมประกอบ 】แปลว่า: ว. มีอวัยวะสมบูรณ์เป็นปรกติ เช่น เขาเป็นคนมีร่างกาย
สมประกอบ.
【 สมพรปาก 】แปลว่า: คํารับคำหวังดีต่อผู้ที่พูดอวยพรให้เป็นมงคล เช่น ขอให้
สมพรปากนะ.
【 สมสัก 】แปลว่า: (โบ) น. เรียกชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปี นับว่าเป็นชายฉกรรจ์
ควรจะสักข้อมือประจําการรับราชการแผ่นดินว่า เลกสมสัก.
【 สมส่วน 】แปลว่า: ว. มีส่วนสัดเหมาะเจาะ เช่น การออกกำลังกายทำให้
ร่างกายสมส่วน, รับกันพอเหมาะพอดี เช่น หลังคากับ
ตัวเรือนสมส่วนกันดี.
【 สมหน้าสมตา 】แปลว่า: ว. เหมาะแก่เกียรติและฐานะ เช่น ลูกสาวบ้านนั้นเขา
แต่งงานไปอย่างสมหน้าสมตา.
【 สมหวัง 】แปลว่า: ก. ได้ดังที่หวัง.
【 สมเหตุสมผล 】แปลว่า: ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจงของเขา
สมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
【 สมอ้าง 】แปลว่า: ก. รับรองถ้อยคําที่เขากล่าว.
【 สม ๒ 】แปลว่า: ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน
รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
【 สมคบ 】แปลว่า: ก. ร่วมคบคิดกัน (ใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาสมคบกันไปปล้น.
【 สมจร 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้
ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า
ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนาง
นาคสมจรกับงูดิน.
【 สมทบ 】แปลว่า: ก. รวมเข้าด้วย เช่น เดินล่วงหน้าไปก่อนแล้วจะตามไปสมทบ.
【 สมยอม 】แปลว่า: ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี)
เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่.
【 สมรัก 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่าน
ก็ดี สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ.
(สามดวง).
【 สมรู้ 】แปลว่า: ก. ร่วมคิดกัน, เป็นใจกัน, (มักใช้ในทางที่ไม่ดี) เช่น เขาสมรู้กัน
ในทางทุจริต, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ร่วมคิด เป็น สมรู้ร่วมคิด เช่น
เขาสมรู้ร่วมคิดกันในการฉ้อราษฎร์บังหลวง.
【 สมสอง 】แปลว่า: (วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น
ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).
【 สมสู่ 】แปลว่า: ก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง
สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น
เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.
【 สม ๓ 】แปลว่า: [สะมะ, สมมะ, สม] ว. เท่ากัน, เสมอกัน.
【 สมการ 】แปลว่า: สะมะกาน, สมมะกาน น. ข้อความที่แสดงความ
เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบ
ค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความ
ย่อย ๒ ข้อความที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของ
เครื่องหมาย =. (อ. equation).
【 สมการเคมี 】แปลว่า: (เคมี) น. สมการที่เขียนขึ้นโดยอาศัยสัญลักษณ์ของธาตุเพื่อ
แสดงปฏิกิริยาเคมีและปริมาณของธาตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใน
ปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ. (อ. chemical equation).
【 สมจารี 】แปลว่า: [สะมะ] น. ผู้ประพฤติสมํ่าเสมอ. (ป.).
【 สมดุล 】แปลว่า: [สะมะดุน, สมดุน] ว. เสมอกัน, เท่ากัน. (อ. equilibrium).
【 สมมูล 】แปลว่า: [สะมะมูน, สมมูน] ว. มีค่าเท่าเทียมกัน, เสมอเหมือนกัน,
เปลี่ยนแทนกันได้. (อ. equivalent).
【 สมมูลเคมี 】แปลว่า: น. จํานวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทําปฏิกิริยาโดย
ทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียว
กันของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของ
ธาตุออกซิเจน. (อ. chemical equivalent).
【 สมวัย 】แปลว่า: [สะมะ] ว. มีวัยเสมอกัน, รุ่นราวคราวเดียวกัน. (ป.;
อ. contemporary).
【 ส้ม ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล /Citrus/
วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน
ผลรสเปรี้ยวหรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (/C. aurantium/ L.)
ส้มโอ [/C. maxima/ (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (/C. nobilis/
Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (/C. reticulata/
Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (/C. sinensis/ Osbeck), ถ้า
ผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น
ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง
เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
【 ส้มทับ 】แปลว่า: น. ส้มจีนขนาดเล็กที่เชื่อมแล้วทับให้แห้ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ส้ม ๒ 】แปลว่า: ว. เปรี้ยว เช่น สารส้ม. น. คําใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้
และของกินที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก.
【 ส้มกุ้ง ๑ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่งทําด้วยกุ้ง ใช้หมักด้วยข้าวสุก เกลือ
และกระเทียม มีรสเปรี้ยว, กุ้งส้ม ก็ว่า.
【 ส้มจี๊ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้พุทราตากแห้งป่นให้ละเอียด กวน
กับน้ำตาลทรายให้งวด อัดเป็นแท่ง.
【 ส้มฉุน 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้งใส่
น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
【 ส้มตำ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตํา
ประสมกับเครื่องปรุงมีกระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง
เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตําส้ม.
【 ส้มแผ่น 】แปลว่า: น. มะม่วงสุกที่กวนแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
【 ส้มฟัก 】แปลว่า: น. อาหารทําด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมัก
เกลือกระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้
จนมีรสเปรี้ยว.
【 ส้มมะขาม 】แปลว่า: น. เนื้อในมะขามเปรี้ยวที่แก่จัด ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร
ให้มีรสเปรี้ยว, ถ้าปั้นเป็นก้อนเรียก มะขามเปียก.
【 ส้มลิ้ม ๑ 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้ง
ใส่น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มฉุน ก็เรียก;
มะม่วงสุกที่กวนแล้วแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ, ส้มแผ่น ก็เรียก.
【 ส้มกุ้ง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ส้ม ๒./
【 ส้มกุ้ง ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Ampelocissus martinii/ Planch.
ในวงศ์ Vitaceaeเถาและใบมีขนสีแดง ผลกลมออกเป็น
พวงคล้ายองุ่น. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด /Embelia ribes/ Burm.f.
ในวงศ์ Myrsinaceae เถาและใบเกลี้ยง ผลกลมออกเป็น
ช่อ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด /Rubus moluccanus/ L.
ในวงศ์ Rosaceae เถามีขนและหนาม ผลออกเป็นกระจุก
สุกสีแดงกินได้. (๔) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Begonia inflata/ C.B.
Clarke ในวงศ์ Begoniaceae ต้นและใบอวบนํ้า ใบมีรสเปรี้ยว.
【 ส้มชื่น 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ต้นเขยตาย./ (ดู เขยตาย)./
【 ส้มเช้า 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด /Euphorbia ligularia/ Roxb. ในวงศ์
Euphorbiaceaeต้นคล้ายต้นสลัดได แต่มีใบซึ่งมีรสเปรี้ยว
ในเวลาเช้า. (๒) /ดู ต้นตายใบเป็น./
【 สมญา 】แปลว่า: [สมยา] น. ชื่อที่ตั้งให้ กร่อนมาจากคำว่า สมัญญา.
【 สมญานาม 】แปลว่า: [สมยานาม] น. สมญา.
【 สมเญศ 】แปลว่า: สมเยด น. ชื่อ.
【 สมณ, สมณะ 】แปลว่า: [สะมะนะ] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุ
ในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).
【 สมณบริขาร 】แปลว่า: น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนามี
๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีด
ตัดเล็บ เข็มประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก),
อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).
【 สมณโวหาร 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่ควรแก่สมณะ เช่น อาตมา ฉันจังหัน
กัปปิยภัณฑ์. (ป.).
【 สมณศักดิ์ 】แปลว่า: น. ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้น
มีพัดยศเป็นเครื่องกําหนด.
【 สมณสารูป 】แปลว่า: ว. ที่สมควรแก่พระ (ใช้แก่กิริยามารยาทเป็นต้น). น. กิริยา
มารยาทเป็นต้นที่สมควรแก่สมณะ เช่น ภิกษุพูดจาควรมี
สมณสารูป. (ป. สมณสารุปฺป).
【 สมณสาสน์ 】แปลว่า: [-สาด] น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุข
ของประเทศ ซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรี
ระหว่างประเทศ.
【 สมเด็จ 】แปลว่า: น. คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง
หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี
สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ,
ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
【 สมเด็จพระสังฆราช 】แปลว่า: (กฎ) น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง
สถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก.
【 สมถ, สมถะ 】แปลว่า: [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น
อารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบ
ง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
【 สมถยานิก 】แปลว่า: น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อน
แล้วจึงเจริญวิปัสสนา. (ป.).
【 สมถวิปัสสนา 】แปลว่า: น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการเจริญกรรมฐาน
ทางพุทธศาสนา. (ป.)./ (ดู วิปัสสนา ประกอบ)./
【 สมนาคุณ 】แปลว่า: [สมมะนาคุน] ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือ
แรงงานเป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ
ธนาคารให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของ
เป็นต้นที่ให้ในลักษณะเช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.
【 สมบัติ ๑ 】แปลว่า: น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้น
ที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงาน
มาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
【 สมบัตินักเลง 】แปลว่า: น. ทรัพย์สมบัติที่ได้มาด้วยการเสี่ยงโชค.
【 สมบัติบ้า 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น
คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติ
บ้าเต็มตู้ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
【 สมบัติผู้ดี 】แปลว่า: น. มารยาทของผู้ที่มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา
และความคิด.
【 สมบัติพัสถาน 】แปลว่า: [สมบัดพัดสะถาน] น. ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน.
【 สมบัติ ๒ 】แปลว่า: (วิทยา) น. ลักษณะประจําของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติ
เป็นอโลหะลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดําเป็นเงาวาว หลอม
ละลายที่ ๑๑๔ ?ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.
【 สมบุกสมบัน 】แปลว่า: ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุก
สมบันจึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัย
หรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว
ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
【 สมบูรณ์ 】แปลว่า: ก. บริบูรณ์ เช่น สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ สมบูรณ์ด้วยข้าทาส
บริวาร, ครบถ้วน เช่น หลักฐานยังไม่สมบูรณ์; อ้วนท้วน, แข็งแรง,
เช่น เขาสมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้สุขภาพเขาสมบูรณ์ดีแล้ว. ว. มี
คุณสมบัติหรือคุณลักษณะครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์
ตามกำหนด; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพ
สมบูรณ์. (ส.).
【 สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 】แปลว่า: [สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์
มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy).
【 สมประดี, สมปฤดี, สมปฤๅดี 】แปลว่า: [สมปฺระ, สมปะรึ, สมปะรือ] น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ
สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
【 ส้มป่อย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Acacia concinna/ (Willd.) DC. ในวงศ์
Leguminosaeใบเป็นฝอยคล้ายใบชะอมแต่รสเปรี้ยว ใช้ทํา
ยาได้ฝักใช้สระ หัวต่างสบู่และใช้ทํายาได้.
【 สมปัก 】แปลว่า: น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสําหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์
เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).
【 สมผุส 】แปลว่า: ผุด น. การคํานวณชนิดหนึ่งเกี่ยวกับโลกและดาว
พระเคราะห์เล็งร่วมกัน.
【 สมพง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Tetrameles nudiflora/ R. Br.
ในวงศ์ Datiscaceae ชอบขึ้นริมนํ้า โคนต้นเป็นพอนแผ่กว้าง
เปลือกสีเทาหรือเทาแกมนํ้าตาลเลื่อมเป็นมัน ใบมน ทิ้งใบ
หมดต้นในฤดูร้อน เนื้อไม้อ่อนเบา ใช้ทําก้านไม้ขีดไฟ เรือขุด
และฝ้าเพดานได้, กะพง ก็เรียก.
【 สมพงศ์ 】แปลว่า: น. การร่วมวงศ์หรือตระกูลกัน, (โหร) วิธีคํานวณว่าหญิงชาย
ที่จะเป็นคู่ครองกันมีชะตาต้องกันหรือไม่.
【 สมพล ๑ 】แปลว่า: [พน] น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง; (โบ) แบบวิธี
เลขไทยในการฝึกหัดให้คูณคล่อง.
【 สมพล ๒, สัมพล 】แปลว่า: น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
【 สมพัตสร 】แปลว่า: [พัดสอน] น. อากรสวนใหญ่เก็บจากผลของไม้ยืนต้น
เป็นรายปี. (ส. สํวตฺสร ว่า ปี).
【 สมพาส 】แปลว่า: [พาด] น. การอยู่ร่วม, การร่วมประเวณี. (ป., ส. สํวาส).
【 สมเพช 】แปลว่า: [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคน
อนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น
สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
【 สมโพธน์ 】แปลว่า: น. คําร้องเรียก, คําอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก,
การปราศรัย).
【 สมโพธิ 】แปลว่า: [โพด] น. การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 สมภพ 】แปลว่า: [พบ] น. การเกิด, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชสมภพ และ
พระบรมราชสมภพ. (ป., ส. สมฺภว).
【 สมภาร 】แปลว่า: [พาน] น. พระที่เป็นเจ้าอาวาส. (ป., ส. สมฺภาร).
【 สมโภค 】แปลว่า: [โพก] น. การเสวยสุขกายใจอันเป็นไปในทางโลก. (ป., ส.).
【 สมโภช 】แปลว่า: [โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งาน
ฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภช
กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ
(ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
【 สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ 】แปลว่า: [สมมด, สมมด, สมมดติ, สมมุด, สมมุดติ] ก.
【 รู้สึกนึกเอาว่า 】แปลว่า:
เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น
สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่า
ถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับ
ตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น
สมมติเทพ.
【 สมมติฐาน, สมมุติฐาน 】แปลว่า: [สมมดติ, สมมุดติ] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐาน
แห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).
【 สมมติเทพ 】แปลว่า: น. เทวดาโดยสมมติ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน.
【 สมมาตร 】แปลว่า: [สมมาด] น. ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น
๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านํารูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรก
ไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒
ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป
๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).
【 ส้มมือ 】แปลว่า: น. ชื่อส้มชนิด /Citrus medica/ L. var. /sarcodactylis/ Swing.
ในวงศ์ Rutaceae ส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้
ทํายาดมได้.
【 สมโมท 】แปลว่า: [โมด] ก. ยินดี, ร่าเริง, พอใจ, สัมโมท ก็ว่า. (ป., ส. สมฺโมท).
【 สมโยค 】แปลว่า: [โยก] ก. ร่วมประเวณี. (ส.).
【 สมร ๑, สมร 】แปลว่า: [สะหฺมอน, สะหฺมอนระ, สะหฺมอระ] น. การรบ, การสงคราม.
(ป., ส.).
【 สมรภูมิ 】แปลว่า: [สะหฺมอนระพูม, สะหฺมอระพูม] น. สนามรบ. (ส.).
【 สมร ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมอน] น. นางงามซึ่งเป็นที่รัก. (ส. สฺมร ว่า กามเทพ).
【 สมรด 】แปลว่า: น. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปัก
ด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอว
ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่งเป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณ
ใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สํารด หรือ
ผ้าแฝง ก็เรียก.
【 สมรรถ, สมรรถ 】แปลว่า: [สะมัด, สะมัดถะ, สะหมัดถะ] ว. สามารถ. (ส. สมรฺถ ว่า
ผู้สามารถ; ป.สมตฺถ).
【 สมรรถภาพ 】แปลว่า: [สะมัดถะ, สะหฺมัดถะ] น. ความสามารถ เช่น เขาเป็นคน
มีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.
【 สมรรถนะ 】แปลว่า: [สะมัดถะนะ] น. ความสามารถ (ใช้แก่เครื่องยนต์) เช่น
รถยนต์แบบนี้มีสมรรถนะดี เยี่ยมเหมาะสำหรับเดินทางไกล.
【 สมรส 】แปลว่า: [รด] ก. แต่งงาน เช่น นาย ก สมรสกับนางสาว ข.
ว. ที่เกี่ยวกับการแต่งงาน เช่น พิธีมงคลสมรส.
【 สมฤดี, สมฤๅดี 】แปลว่า: [สมรึดี, สมรือดี] น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี
หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
【 สมฤติ 】แปลว่า: [สะมะรึติ] น. ชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งแต่งขึ้นภายหลัง
คัมภีร์พวกศรุติ เช่น คัมภีร์เวทางคศาสตร์ ศูตระ รามายณะ
มหาภารตะ ปุราณะ ธรรมศาสตร์. (ส.).
【 ส้มลิ้ม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ส้ม ๒./
【 ส้มลิ้ม ๒ 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 สมวายะ 】แปลว่า: [สะมะวายะ] น. หมู่, พวก, ประชุม. (ป., ส.).
【 ส้มสันดาน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Cissus hastata /Miq. ในวงศ์ Vitaceae
ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้.
【 สมเสร็จ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Tapirus indicus/ ในวงศ์
Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ ลําตัวตอนกลางสีขาว
ส่วนหัวและท้ายสีดําขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่น
ยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ หางสั้น ลูกเกิดใหม่
ตัวมีลายสีขาวตามยาว กินหญ้า ใบไม้และผลไม้ เป็นสัตว์
ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
【 ส้มเสี้ยว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Bauhinia malabarica/ Roxb. ในวงศ์
Leguminosae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้.
【 สมอ ๑ 】แปลว่า: [สะหฺมอ] น. หิน. (ข. ถฺม); ของหนักที่ล่ามโซ่หรือเชือกอยู่กับเรือ
เวลาจอดเรือใช้ทอดลงไปในนํ้าให้เกาะพื้นเพื่อไม่ให้เรือเคลื่อน
ไปที่อื่น.
【 สมอเกา 】แปลว่า: ก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้น
ท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ.
【 สมอ ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมอ] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Terminalia/ วงศ์
Combretaceae ใช้ทํายาได้ เช่น สมอไทย (/T. chebula/
Retz.), สมอพิเภก [/T. bellirica/ (Gaertn.) Roxb.], สมอดีงู
[/T. citrina/ (Gaertn.) Roxb. ex Flem.].
【 สมอ ๓ 】แปลว่า: [สะหฺมอ] น. ลูกฝ้าย.
【 สมอกานน 】แปลว่า: /ดู ตีนนก (๑)./
【 สมอง 】แปลว่า: [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะ
นุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก
ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด
เช่น เขาเป็นคนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
【 สมองตาย 】แปลว่า: ว. สภาวะที่สมองถูกทําลายจนสูญเสียการทํางานโดยสิ้นเชิง
ถือว่าสิ้นชีวิตแล้ว.
【 สมองฝ่อ 】แปลว่า: น. เนื้อสมองน้อยลงเนื่องจากมีการเสื่อมสลายของเซลล์
ประสาทและเนื้อเยื่อของสมองหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง.
(อ. cerebral atrophy).
【 สมอจีน 】แปลว่า: /ดู กาน้ำ./
【 สมอทะเล 】แปลว่า: /ดู กุระ./
【 สมอสำเภา 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาว
พวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวบุษย์
ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 สมะ 】แปลว่า: น. ความสงบ, ความราบคาบ. (ป.).
【 สมัคร 】แปลว่า: [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วม
ในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิก
สมาคม สมัครเข้าทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย
ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการเน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร,
สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ;
ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
【 สมัครใจ 】แปลว่า: ก. สมัครด้วยความเต็มใจ เช่น งานนี้เขาสมัครใจเป็นแม่ครัว
ชาวเขาสมัครใจย้ายถิ่นฐาน. น. ความเต็มใจ เช่น ทำโดยสมัครใจ.
【 สมัครพรรคพวก 】แปลว่า: น. ผู้เข้าร่วมเป็นพวกด้วย เช่น เขาเป็นคนกว้างขวางมีสมัคร
พรรคพวกมาก.
【 สมัครสมา 】แปลว่า: [สะหฺมักสะมา] ก. ขอขมาในความผิดที่ได้กระทําไปแล้ว.
【 สมัครสมาน 】แปลว่า: [สะหฺมักสะหฺมาน] ก. เชื่อมสามัคคี เช่น จะทำการงาน
อะไรขอให้สมัครสมานกัน.
【 สมังคี 】แปลว่า: [สะมัง] ว. ประกอบด้วย, พร้อมเพรียงด้วย. (ป.).
【 สมัช, สมัชชา 】แปลว่า: [สะมัด] น. การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะ เช่น ไปร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติ; ที่ประชุม
เช่น สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ. (ป.).
【 สมัญญา 】แปลว่า: [สะมันยา] น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้า
ได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้
เองโดยชอบ ศาสดาของศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า
มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. (ป.).
【 สมัต 】แปลว่า: [สะมัด] ก. จบแล้ว, จบข้อความ, สําเร็จแล้ว; เต็ม, บริบูรณ์.
(ป. สมตฺต).
【 สมัน 】แปลว่า: [สะหฺมัน] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด /Cervus schomburgki/
ในวงศ์ Cervidae ขนาดเล็กกว่ากวางป่า ขนสีนํ้าตาล
หางสั้น เขาแตกแขนงมากกว่ากวางชนิดอื่น เป็นกวาง
ที่มีเขาสวยงามมาก และมีถิ่นกําเนิดเฉพาะในประเทศ
ไทยเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าสงวนซึ่งสูญพันธุ์แล้ว, เนื้อสมัน
ก็เรียก.
【 สมันต์ 】แปลว่า: [สะมัน] ว. โดยรอบ, ใกล้เคียง. (ป., ส.).
【 สมัย 】แปลว่า: [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง
สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
【 สมัยเก่า 】แปลว่า: น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้น
สมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิด
อย่างคนสมัยเก่า.
【 สมัยนิยม 】แปลว่า: น. ความนิยมในแต่ละสมัย เช่น แต่งตัวตามสมัยนิยม
ไว้ผมตามสมัยนิยม.
【 สมัยใหม่ 】แปลว่า: น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่.
ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคน
สมัยใหม่.
【 สมา ๑ 】แปลว่า: [สะมา] ก. ขมา.
【 สมา ๒ 】แปลว่า: [สะมา] น. ปี. (ป., ส.).
【 สมาคม 】แปลว่า: [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า;
แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมี
จุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม
สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการ
ใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผล
กําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมีข้อบังคับและ
จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับ
คนพาลให้สมาคมกับนักปราชญ์.
【 สมาคมการค้า 】แปลว่า: (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจ
จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่
เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
【 สมาจาร 】แปลว่า: [สะมาจาน] น. ความประพฤติที่ดี, ธรรมเนียม, ประเพณี. (ป., ส.).
【 สมาชิก ๑ 】แปลว่า: [สะมา] น. ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือ
กิจกรรมใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคม
ศิษย์เก่า สมาชิกวารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้
สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุนที่ร้านเลย. (ป., ส.).
【 สมาชิกวุฒิสภา 】แปลว่า: น. สมาชิกของวุฒิสภา, (ปาก) วุฒิสมาชิก.
【 สมาชิก ๒ 】แปลว่า: สะมา น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง
เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มี
สมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น
(ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่ง (ที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิก
ตัวหลัง. อ. element, member).
【 สมาทาน 】แปลว่า: [สะมา] ก. รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. (ป., ส.).
【 สมาธิ 】แปลว่า: [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่
เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).
【 สมาน ๑ 】แปลว่า: [สะมานะ, สะหฺมานนะ] ว. เสมอกัน, เท่ากัน. (ป., ส.).
【 สมานคติ 】แปลว่า: [สะมานะ] น. การดําเนินอย่างเดียวกัน, การมี ความเห็น
พ้องกัน. (ส.).
【 สมานฉันท์ 】แปลว่า: [สะมานะ, สะหฺมานนะ] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็น
พ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).
【 สมานสังวาส 】แปลว่า: [สะมานะ] น. การอยู่ร่วมเสมอกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีล
เสมอกัน ทําอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้). (ป. สมานสํวาส).
【 สมาน ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมาน] ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิท, เช่น ยาสมานแผล
การสมานเนื้อไม้; เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี.
【 สมาบัติ 】แปลว่า: [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจาก
การที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูง
ด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ
ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ
มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
【 สมาพันธรัฐ 】แปลว่า: [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบาง
อย่างโดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มี
อํานาจหน้าที่เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอม
มอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation
of states).
【 สมาส 】แปลว่า: [สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็น
ศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต
เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์
อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).
【 สม่ำเสมอ 】แปลว่า: [สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ,
เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่
ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.
【 สมิง 】แปลว่า: [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้า
แล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคน
มาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถ
จำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่าเสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่
ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
【 สมิงพราย 】แปลว่า: น. เจ้าผี.
【 สมิงมิ่งชาย 】แปลว่า: น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย.
【 สมิงทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สมิต ๑ 】แปลว่า: [สะมิด] ก. ยิ้ม, เบิกบาน. (ส.; ป. สิต).
【 สมิต ๒ 】แปลว่า: [สะมิด] ก. ประสม, รวบรวม. (ป.).
【 สมิต ๓ 】แปลว่า: [สะมิด] น. กิ่งแห้งของต้นไม้บางชนิด เช่นต้นโพใช้เป็นเชื้อไฟ
ในพิธีโหมกูณฑ์. (ส.); ใบไม้ ๓ ชนิด คือ ใบมะม่วง ใบทอง และ
ใบตะขบที่ถวายพระเจ้าแผ่นดินในพิธีอภิเษก เช่นราชาภิเษก.
【 สมิต ๔ 】แปลว่า: /ดู สมิทธ์, สมิทธิ./
【 สมิติ 】แปลว่า: [สะ] น. ที่ประชุม. (ป., ส.).
【 สมิทธ์, สมิทธิ 】แปลว่า: [สะมิด, สะมิดทิ] ว. สําเร็จพร้อม, สมบูรณ์, สัมฤทธิ์, เขียนว่า
สมิต ก็มี. (ป.).
【 สมี ๑ 】แปลว่า: [สะหฺมี] น. คําเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก; (โบ)
คําใช้เรียกพระภิกษุ.
【 สมี ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมี] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Sesbania sesban/ (L.) Merr. ในวงศ์
Leguminosae ดอกสีเหลืองมีประสีนํ้าตาล ใบคล้ายใบโสนใช้
ทํายาและใช้ในพิธีพลีกูณฑ์. (ส. ศมี).
【 สมีปะ 】แปลว่า: สะมี ว. ใกล้ เช่น สมีปสร้อยสระศรี. (สมุทรโฆษ). (ป.).
【 สมีระ 】แปลว่า: [สะมี] น. ลม. (ป., ส. สมีรณ).
【 สมุก ๑ 】แปลว่า: [สะหฺมุก] น. ถ่านทําจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่น
ให้เป็นผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สําหรับทารองพื้นบนสิ่ง
ต่าง ๆ เช่นบานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียน
ลายรดนํ้าปิดทอง.
【 สมุก ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมุก] น. ภาชนะสานก้น ๔ มุม มีฝาสวมครอบ สําหรับใส่
สิ่งของต่าง ๆ. (ป. สมุคฺค ว่า หีบ, ตะกร้า).
【 สมุจจัย 】แปลว่า: [สะหฺมุดไจ] น. การรวบรวม. (ป., ส.).
【 สมุจเฉท, สมุจเฉท 】แปลว่า: [สะหฺมุดเฉด, เฉดทะ] น. การตัดขาด. (ป., ส.).
【 สมุจเฉทปหาน 】แปลว่า: [ปะหาน] น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์.
【 สมุฏฐาน 】แปลว่า: [สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค
โรคนี้มีจิตเป็นสมุฏฐาน. (ป.).
【 สมุด 】แปลว่า: [สะหฺมุด] น. กระดาษที่ทําเป็นเล่ม มีหลายชนิดเรียกชื่อตาม
ประโยชน์ใช้สอย เช่น สมุดวาดเขียน สมุดแผนที่ สมุดแบบ
ฝึกหัดคัดลายมือ.
【 สมุดข่อย 】แปลว่า: น. สมุดไทย.
【 สมุดไทย 】แปลว่า: น. สมุดที่ทําด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทาง
ขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดํา, สมุดข่อย ก็เรียก.
【 สมุดปูมเดินทาง 】แปลว่า: น. สมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการ
เดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทางจํานวน
ชั่วโมง ฯลฯ.
【 สมุดรายงาน 】แปลว่า: น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของ
นักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
【 สมุตถาน 】แปลว่า: [สะหฺมุดถาน] น. สมุฏฐาน. (ส.; ป. สมุฏฺฺ?าน).
【 สมุทร ๑, สมุทร 】แปลว่า: [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมี
แผ่นดินโอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรแปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท).
【 สมุทรโจร 】แปลว่า: [สะหฺมุดทฺระ] น. โจรสลัด.
【 สมุทรศาสตร์ 】แปลว่า: [สะหฺมุดทฺระ] น. วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับ
ลักษณะสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของนํ้าทะเล ชีววิทยา
ทะเล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของทะเลและมหาสมุทร.
(อ. oceanography).
【 สมุทรเสนา 】แปลว่า: สะหฺมุดทฺระ น. เรียกลูกเสือพวกหนึ่งตามจังหวัด
ชายทะเลว่า ลูกเสือสมุทรเสนา.
【 สมุทร ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมุด] น. ดาวเนปจูน.
【 สมุทรโคดม 】แปลว่า: [สะหฺมุดทฺระ] น. ข้าวฟ่างสมุทรโคดม. /(ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว)./
【 สมุทัย 】แปลว่า: [สะหฺมุไท, สะหฺมุดไท] น. ต้นเหตุ, ที่เกิด, ในคำว่า ทุกขสมุทัย
หมายถึง ต้นเหตุหรือที่เกิดแห่งทุกข์. (ป., ส.).
【 สมุน ๑ 】แปลว่า: [สะหฺมุน] น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ, มักเรียกว่า ลูกสมุน.
【 สมุน ๒ 】แปลว่า: [สะหฺมุน] น. จาก คา หรือใบไม้ที่ใช้มุงหลบหลังคา.
【 สมุน ๓ 】แปลว่า: [สะหฺมุน] น. สวะหญ้าขนาดใหญ่ที่อยู่ชายฝั่ง.
【 สมุน ๔ 】แปลว่า: [สะหฺมุน] น. หมอทําพิธีเบิกไพรเพื่อป้องกันภัยในป่า.
【 สมุนไพร 】แปลว่า: [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ
ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง
ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน)
เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
【 สมุลแว้ง 】แปลว่า: [สะหฺมุนละ] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cinnamomum thailandica/ Kosterm.
ในวงศ์ Lauraceae เปลือกมีกลิ่นหอมร้อน ใช้ทํายาได้.
【 สมุห, สมุห์ 】แปลว่า: [สะหฺมุหะ, สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าใน
ตําแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี;
ตําแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.
สมุหกลาโหม, สมุหพระกลาโหม น. ตําแหน่งข้าราชการชั้น
อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ.
【 สมุหเทศาภิบาล 】แปลว่า: น. ผู้สําเร็จราชการมณฑลสมัยโบราณ.
【 สมุหนาม 】แปลว่า: (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกัน
อยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
【 สมุหนายก 】แปลว่า: น. ตําแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน
ครั้งโบราณ.
【 สมุหประธาน 】แปลว่า: (โบ) น. เสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา.
【 สโมธาน 】แปลว่า: [สะโมทาน] น. การประชุม, การรวมกัน. (ป.; ส. สมวธาน).
【 สโมสร 】แปลว่า: [สะโมสอน] น. ที่สําหรับร่วมประชุมคบหากัน เช่น สโมสรข้าราชการ
【 สโมสรทหารบก 】แปลว่า: ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ;
ส. สมวสรณ).
【 สโมสรสันนิบาต 】แปลว่า: น. งานชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เช่น รัฐบาลจัดงาน
สโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาลเนื่องในพระราชพิธีเฉลิม
พระชนมพรรษา.
【 สยด 】แปลว่า: [สะหฺยด] ก. ใจหายวาบขึ้นทันที เพราะความหวาดกลัว
ต่อสิ่งที่ได้เห็น.
【 สยดสยอง 】แปลว่า: [สะหฺยดสะหฺยอง] ว. รู้สึกหวาดเสียวมีอาการขนลุกขนพองตาม
มาด้วย เช่น เห็นเขาใช้ดาบแทงกันจนไส้ทะลักรู้สึกสยดสยอง.
【 สยดแสยง 】แปลว่า: ก. สยดโดยมีอาการขยะแขยงทั้งเกลียดทั้งกลัวตามมาด้วย.
【 สยนะ 】แปลว่า: [สะยะ] น. ที่นอน; การนอน. (ป.).
【 สยบ 】แปลว่า: [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม
สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
【 สยมพร 】แปลว่า: [สะหฺยมพอน] น. พิธีเลือกคู่ของกษัตริย์สมัยโบราณ; การเลือกผัว
ของนางกษัตริย์สมัยโบราณ, สยัมพร สยุมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้.
(ป. สยํวร; ส. สฺวยํวร).
【 สยมภู 】แปลว่า: [สะหฺยมพู] น. พระผู้เป็นเอง, พระอิศวร, สวยมภู ก็ใช้. (ป. สยมฺภู;
ส. สฺวยมฺภู).
【 สยอง 】แปลว่า: [สะหฺยอง] ว. อาการที่ขนลุกขนชันเพราะความหวาดกลัว
ในความว่า ขนพองสยองเกล้า.
【 สยองขวัญ 】แปลว่า: ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
【 สยอน 】แปลว่า: [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว.
【 สยัมพร 】แปลว่า: [สะหฺยําพอน] น. สยมพร, สยุมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้.
【 สยัมวรา 】แปลว่า: [สะยําวะ] น. หญิงที่เลือกคู่เอาเอง. (ป.; ส. สยํวรา, สฺวยํวรา).
【 สยาม, สยาม 】แปลว่า: [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
【 สยามานุสติ 】แปลว่า: [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึง
ประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
【 สยามินทร์ 】แปลว่า: [สะหฺยามิน] น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์
ของประเทศไทย.
【 สยามรัฐ 】แปลว่า: [สะหฺยามมะ] น. แคว้นไทย, ประเทศไทย.
【 สยาย 】แปลว่า: [สะหฺยาย] ก. คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็นกลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่
กระจายออก เช่น สยายผม. ว. ที่คลี่หรือคลายสิ่งที่มุ่นหรือเป็น
กลุ่มก้อนอยู่ให้แผ่กระจายออก เช่น ผมสยาย.
【 สยิว 】แปลว่า: [สะหฺยิว] ก. รู้สึกเย็นเยือก, รู้สึกเสียวซ่าน, รู้สึกวาบหวาม เช่น
สยิวกาย สยิวใจ.
【 สยิ้ว 】แปลว่า: [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย
ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
【 สยุ่น 】แปลว่า: [สะหฺยุ่น] น. เครื่องมือกลึงไม้ชนิดหนึ่ง รูปเหมือนสิ่ว ตัวทำด้วย
เหล็กด้ามทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก มีหน้าต่าง ๆ เช่น
หน้าตัด หน้าสามเหลี่ยม หน้าโค้ง.
【 สยุมพร ๑ 】แปลว่า: [สะหฺยุมพอน] น. สยมพร, สยัมพร หรือ สวยมพร ก็ใช้.
【 สยุมพร ๒ 】แปลว่า: /ดู ชะโอน./
【 สยุมภู 】แปลว่า: [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รก
อย่างเป็นเองตามธรรมชาติ.
【 สร ๑ 】แปลว่า: [สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
【 สร ๒ 】แปลว่า: [สอระ] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์.
(ป., ส. สุร).
【 สร ๓ 】แปลว่า: [สฺระ] คํานําหน้าคําอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย
เช่น ดื่น เป็นสรดื่น, คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส
ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
【 สรกะ 】แปลว่า: [สะระกะ] น. จอก, ขัน. (ป., ส.).
【 สรง 】แปลว่า: [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.).
【 สร่ง ๑ 】แปลว่า: [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่
ทําให้โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร
เรียกว่า ตัดสร่ง.
【 สร่ง ๒ 】แปลว่า: [สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับราก
ผักชีพริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก
ทอดให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม.
【 สรฏะ 】แปลว่า: [สะระ] น. กิ้งก่า. (ป., ส.).
【 สรณ, สรณะ 】แปลว่า: [สะระนะ] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
【 สรณคมน์, สรณาคมน์ 】แปลว่า: น. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง
การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์
หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.).
【 สรณตรัย 】แปลว่า: น. ที่พึ่งทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
【 สรดัก 】แปลว่า: สฺระ ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป.
【 สรดึ่น 】แปลว่า: สฺระ ก. ตื่นใจ. ว. เป็นพืดไป.
【 สรดื่น 】แปลว่า: สฺระ ว. เกลื่อนกลาด, ดาษดื่น.
【 สรตะ 】แปลว่า: [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน
มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาด
คะเนตามข้อสังเกตหรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาด
หมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้
ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
【 สรตัก 】แปลว่า: สฺระ ก. เต็มไป, ดาษไป, แน่นไป.
【 สรทะ 】แปลว่า: [สะระ] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).
【 สรทึง 】แปลว่า: สฺระ น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง
หรือ สทึง ก็มี. (ข. สฺทึงว่า คลอง).
【 สรแทบ 】แปลว่า: สฺระ ว. ไม่นูน, ราบ.
【 สรนุก 】แปลว่า: สฺระหฺนุก ว. สนุก.
【 สรไน 】แปลว่า: [สฺระ] น. ปี่ไฉน เช่น นักคุณแคนคู่ฆ้อง สรไน. (หริภุญชัย).
【 สรบ 】แปลว่า: [สฺรบ] (โบ; กลอน) ว. ทั่ว, พร้อม, เขียนเป็น สรับ ก็มี.
【 สรบบ 】แปลว่า: สฺระ น. สารบบ.
【 สรบับ 】แปลว่า: สฺระ น. สารบับ.
【 สรพะ 】แปลว่า: [สะระพะ] ว. เสียงดัง, เอ็ดอึง. (ป.; ส. ศรว).
【 สรเพชญ 】แปลว่า: [สฺระเพด] น. สรรเพชญ. (ส. สรฺวชฺ?).
【 สรภะ 】แปลว่า: [สะระ] น. สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกําลังยิ่งกว่าราชสีห์.
(ป.; ส. ศรภ).
【 สรภัญญะ 】แปลว่า: [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่
เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ
ทำนองสรภัญญะ. (ป.).
【 สรภู 】แปลว่า: [สะระ] น. ตุ๊กแก. (ป.).
【 สรม 】แปลว่า: [สฺรม] ก. ขอ, มักใช้ว่า สรวม. (ข. สูม). ว. พร้อม.
【 สรร 】แปลว่า: [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. (ข. สรัล).
【 สรรแสร้ง 】แปลว่า: ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.
【 สรรหา 】แปลว่า: ก. เลือกมา, คัดมา, เช่น สรรหาของมาตกแต่งบ้าน คณะกรรมการ
สรรหาอธิการบดี.
【 สรรค์ 】แปลว่า: [สัน] ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็น
สรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. (ส. สรฺค ว่า สร้างอย่าง
พระพรหมสร้างโลก).
【 สรรพ, สรรพ 】แปลว่า: [สับ, สับพะ] ว. ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ
งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ).
【 สรรพคราส 】แปลว่า: น. สุริยุปราคาหมดดวง.
【 สรรพคุณ 】แปลว่า: น. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ
เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ).
【 สรรพนาม 】แปลว่า: (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อ
ไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
【 สรรพสามิต 】แปลว่า: [สับพะ, สันพะ] น. อากรที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้น
ภายในประเทศ เรียกว่า อากรสรรพสามิต.
【 สรรพากร 】แปลว่า: [สันพากอน] น. อากรที่เก็บจากสิ่งที่เป็นเองหรือมีบ่อเกิด
เป็นรายได้.
【 สรรพางค์ 】แปลว่า: [สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น
สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์
ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).
【 สรรพัชญ 】แปลว่า: (แบบ) น. สรรเพชญ. (ส. สรฺวชฺ?).
【 สรรพากร 】แปลว่า: /ดู สรรพ, สรรพ./
【 สรรพางค์ 】แปลว่า: /ดู สรรพ, สรรพ./
【 สรรเพชญ 】แปลว่า: (แบบ) น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า,
สรรพัชญ ก็เรียก. (ส. สรฺวชฺ?; ป. สพฺพญฺญู).
【 สรรเพชุดา 】แปลว่า: สันเพดชุ น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น
พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
【 สรรเพชุดาญาณ 】แปลว่า: น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของพระพุทธเจ้า.
(ส. สรฺวชฺ?าน; ป. สพฺ??ฺญุต?าณ).
【 สรรวง 】แปลว่า: สฺระรวง น. สรวง.
【 สรรเสริญ 】แปลว่า: [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น
สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือ
เยินยอคุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ,
สรเสริญ ก็ใช้.
【 สรลน 】แปลว่า: สฺระหฺลน ว. สลอน, แน่น; เชิดชู.
【 สรลม 】แปลว่า: สฺระหฺลม ว. สล้าง, ดาษ, ระกะ.
【 สรลมสลวน 】แปลว่า: [สะหฺลวน] ว. แน่นหนา, ดาดาษ, สล้าง, สลอน.
【 สรลอด 】แปลว่า: สฺระหฺลอด น. สลอด.
【 สรลอน 】แปลว่า: สฺระหฺลอน ว. สลอน.
【 สรละ 】แปลว่า: สฺระหฺละ ก. สละ.
【 สรล้าย 】แปลว่า: สฺระหฺล้าย ก. สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็น
แนวติด ๆ กันไป.
【 สรลิด 】แปลว่า: สฺระหฺลิด น. ดอกสลิด.
【 สรเลข 】แปลว่า: [สอระ] น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองในสมัยโบราณ.
【 สรวง 】แปลว่า: [สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน.
【 สรวงเส 】แปลว่า: ก. บูชา, เสสรวง ก็ว่า.
【 สรวป 】แปลว่า: สะหฺรวบ ก. สรุป. (แผลงมาจาก สรุป).
【 สรวม 】แปลว่า: [สวม] ก. ขอ. (ข.).
【 สรวมชีพ 】แปลว่า: ก. ขอชีวิต, ขอจงให้ชีวิตหรือปกป้องชีวิต, ใช้ขึ้นต้นคํา
กราบบังคมทูลอย่างขอเดชะ.
【 สรวล 】แปลว่า: [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล.
【 สรวลสันหรรษา 】แปลว่า: ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น
บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุม
ศิษย์เก่าประจำปี.
【 สรวลเส, สรวลเสเฮฮา 】แปลว่า: ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น
เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเส
เฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.
【 สรสรก 】แปลว่า: [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง
เลือดตกพลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง
กุมาร).
【 สรเสริญ 】แปลว่า: สฺระ ก. สรรเสริญ.
【 สรเหนาะ, สระเหนาะ 】แปลว่า: สฺระเหฺนาะ ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ,
เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะ
น้ำคว่วงคว้วงควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึก
สังเวช สงสารวังเวงใจอาลัยถึง).
【 สร้อย ๑ 】แปลว่า: [ส้อย] น. ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต;
เครื่องประดับที่ทําเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ,
สายสร้อย ก็เรียก.
【 สร้อยระย้า ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อตุ้มหูชนิดหนึ่งที่มีระย้าห้อยลงมา.
【 สร้อยสน 】แปลว่า: น. สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง;
ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
【 สร้อยอ่อน 】แปลว่า: น. สร้อยขนาดเล็กตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปเรียงกัน มีหัวเป็นที่ร้อย.
【 สร้างฐานะ 】แปลว่า: ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง.
【 สร้างเนื้อสร้างตัว 】แปลว่า: ก. สร้างฐานะให้ดีขึ้น, สร้างฐานะให้มั่นคง.
【 สร้างวิมานในอากาศ 】แปลว่า: (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวังจะมีหรือเป็น
อะไรอย่างเลิศลอย.
【 สร้างสถานการณ์ 】แปลว่า: ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูลเพื่อหวัง
ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 สร้างสรรค์ 】แปลว่า: ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์
ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี
เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
【 สร้างเสริม 】แปลว่า: ก. ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษา
สร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี.
【 สร้าง ๒ 】แปลว่า: [ส้าง] น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สำหรับพระสงฆ์นั่ง
สวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมพระเมรุ, ซ่าง คดซ่าง คดสร้าง
สำซ่าง หรือสำสร้าง ก็เรียก. (เทียบ ส. ศมฺศาน; ป. สุสาน).
【 สราญ 】แปลว่า: [สะ] ว. สําราญ.
【 สร้าวเสียว 】แปลว่า: [ส้าว] ก. เร่ง; เตือนใจ.
【 สริตะ 】แปลว่า: [สะริตะ] น. แม่นํ้า, ลําธาร. (ส.; ป. สริตา).
【 สรี้ 】แปลว่า: [สะรี้] /ดู กระซิก ๒./
【 สรีร, สรีระ 】แปลว่า: [สะรีระ] น. ร่างกาย. (ป.; ส. ศรีร).
【 สรีรกิจ 】แปลว่า: น. การทํากิจเกี่ยวกับร่างกาย เช่น ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ;
การปลงศพ.
【 สรีรธาตุ 】แปลว่า: น. กระดูกของศพที่เผาแล้ว.
【 สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ของอินทรีย์ต่าง ๆ
ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology).
【 สรีรังคาร, สรีรางคาร 】แปลว่า: [สะรีรังคาน, สะรีรางคาน] น. เถ้าถ่านที่ปะปนกับกระดูก
ชิ้นเล็กชิ้นน้อยของศพที่เผาแล้ว.
【 สรีรังคาร, สรีรางคาร 】แปลว่า: /ดู สรีร, สรีระ./
【 สรีสฤบ 】แปลว่า: [สะรีสฺริบ] น. สัตว์เลื้อยคลาน, งู. (ส.; ป. สิรึสป).
【 สรุก 】แปลว่า: [สฺรุก] น. เมือง. (ข. สฺรุก).
【 สรุกเกรา 】แปลว่า: [เกฺรา] น. บ้านนอก. (ข. สฺรุกเกฺรา).
【 สรุง 】แปลว่า: สุง น. อํานาจ, เดช.
【 สรุโนก 】แปลว่า: [สฺรุ] น. นก. (แผลงมาจาก สุโนก).
【 สรุป, สรูป 】แปลว่า: [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่อง
เป็นประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณ
ใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
【 สรุสระ 】แปลว่า: [สะหฺรุสะหฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบร้อย.
【 สโรชะ 】แปลว่า: น. ดอกบัว, บัว. (ส. ว่า เกิดในสระ).
【 สฤก 】แปลว่า: [สฺริก] น. บัวขาว. (ส.).
【 สฤคาล 】แปลว่า: [สฺริคาน] น. หมาจิ้งจอก. (ส.).
【 สฤต 】แปลว่า: [สฺริด] ก. ผ่านไป, พ้นไป, ล่วงไป. (ส.).
【 สฤษฎิ, สฤษฎี, สฤษฏ์ 】แปลว่า: [สะหฺริดสะ, สะหฺริด] น. การทํา, การสร้าง, ใช้ว่า สฤษดิ์
ก็มี. (ส.).
【 สฤษดิ์ 】แปลว่า: น. สฤษฏ์.
【 สลด 】แปลว่า: [สะหฺลด] ก. สังเวชใจ, รู้สึกรันทดใจ; เผือด, ถอดสี, เช่น
หน้าสลด; เฉา, เหี่ยว, (ใช้แก่ใบไม้ดอกไม้ซึ่งขาดนํ้าเลี้ยง
หรือถูกความร้อน) เช่น ต้นไม้ถูกความร้อนมาก ๆ ใบสลด.
【 สลดใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว
คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย
รู้สึกสลดใจ.
【 สลบ 】แปลว่า: [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ
เป็นลมล้มสลบ.
【 สลบแดด 】แปลว่า: ก. อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือ
ความร้อน.
【 สลบไสล 】แปลว่า: ก. อาการที่แน่นิ่งไม่ไหวติง, อาการที่หลับใหลจนไม่รู้สึกตัว,
เช่น อดนอนมาหลายวัน วันนี้เลยนอนสลบไสล.
【 สลบเหมือด 】แปลว่า: (ปาก) ก. สลบไสล.
【 สลวน 】แปลว่า: [สนละวน] ก. สาละวน.
【 สลวย 】แปลว่า: [สะหฺลวย] ว. ลักษณะของเส้นผมที่ละเอียด อ่อนนุ่ม ทิ้งตัว
และมีปลายช้อยงอนงาม เช่น ผมสลวยจัดทรงง่าย, ลักษณะ
ชายผ้าที่ทิ้งตัวห้อยลง เช่น ผ้าม่านทิ้งชายห้อยสลวย.
【 สลอด 】แปลว่า: [สะหฺลอด] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Croton tiglium/ L. ในวงศ์
Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ.
【 สลอน 】แปลว่า: [สะหฺลอน] ว. เห็นเด่นสะพรั่ง เช่น นั่งหน้าสลอน ยกมือสลอน.
【 สลอย 】แปลว่า: สะหฺลอย ว. งาม.
【 สละ ๑ 】แปลว่า: [สะละ] น. ขนเม่น. (ป.).
【 สละ ๒ 】แปลว่า: [สะหฺละ] น. ชื่อปาล์มชนิด /Salacca edulis/ Reinw. ในวงศ์
Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกํา ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อ
สีขาวหนาล่อนรสหวาน (เทียบ ม. salak); ชื่อระกําพันธุ์หนึ่ง
ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว.
【 สละ ๓ 】แปลว่า: [สะหฺละ] น. ชื่อปลาทะเลชนิด/ Scomberoides sanctipetri/
ในวงศ์ Carangidae ลําตัวแบนข้างและกว้างมาก มีจุด
ดําใหญ่อยู่บนเส้นข้างตัว ๕๘ จุด ตาเล็กอยู่ค่อนไปทาง
ด้านสันหัว ขนาดโตได้ถึง ๑.๕ เมตร.
【 สละ ๔ 】แปลว่า: [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ
ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือน
ออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับ
ตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลี
บูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
【 สละชีพเพื่อชาติ 】แปลว่า: ก. ยอมเสียชีวิตเพื่อปกป้องประเทศชาติ.
【 สละราชสมบัติ 】แปลว่า: ก. สละความเป็นพระมหากษัตริย์.
【 สละสลวย 】แปลว่า: [สะหฺละสะหฺลวย] ว. ที่กล่าวหรือเรียบเรียงได้เนื้อถ้อยกระทง
ความและมีสำนวนกลมกลืนไพเราะระรื่นหู (ใช้แก่ถ้อยคำ
สำนวน) เช่น บทความนี้มีสำนวนสละสลวย.
【 สลัก ๑ 】แปลว่า: [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่อง
กั้นหรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อ
ไม่ให้เลื่อนหรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.
【 สลักเกลียว 】แปลว่า: น. แท่งโลหะที่หัวมีลักษณะกลมหรือเหลี่ยม ตอนปลาย
มีเกลียวสําหรับใส่ขันยึดกับนอต. /(ดู นอต ๒)./
【 สลักเพชร 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบเรือน
ไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้
และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่ง
บากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดัน
ให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะ
อยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรงตะโพกกับหัวกระดูก
ต้นขาทําให้ขากางออกได้.
【 สลัก ๒ 】แปลว่า: [สะหฺลัก] ก. ทําให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วสกัด
ตัด ตอก ดุน เป็นต้น เช่น สลักไม้ สลักลูกนิมิต หรือใช้สิ่งอื่นขูด
ขีดให้เป็นตัวหนังสือเป็นต้น เช่น สลักชื่อบนหีบบุหรี่. (เทียบ
ม. selak).
【 สลักเสลา 】แปลว่า: [สะเหฺลา] ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น
เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว
สลักเสลาเสาหินเป็นลายเทพนม.
【 สลักหลัง 】แปลว่า: (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไป
ซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลก
เงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลัก
หลังรูปให้ไว้เป็นที่ระลึก.
【 สลักเต้ 】แปลว่า: [สะหฺลัก] น. ใบชา. (ข. สฺลึกแต).
【 สลักสำคัญ 】แปลว่า: ว. สําคัญมาก, สําคัญยิ่ง, เช่น เรื่องนี้สลักสำคัญมาก ไม่เห็น
สลักสำคัญอะไรเลย.
【 สลัด ๑ 】แปลว่า: [สะหฺลัด] น. ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วย
ผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ
แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำ
ปรุงรสที่เรียกว่าน้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัด
เนื้อสัน สลัดแขก.
【 สลัดผลไม้ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้
หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม
หรือใช้โรยหน้าไอศกรีม.
【 สลัด ๒ 】แปลว่า: [สะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล เรียกว่า โจรสลัด. (เทียบ
ม. salat ว่า ช่องแคบ).
【 สลัดอากาศ 】แปลว่า: น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
【 สลัด ๓ 】แปลว่า: [สะหฺลัด] ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ติดอยู่ให้หลุดไปโดยวิธีสะบัด
ซัดหรือกระพือ เป็นต้น เช่น สลัดรองเท้าให้หลุดจากเท้า เม่น
สลัดขน เขาสลัดมีดสั้นไปที่คู่ต่อสู้ ไก่สลัดขนปีก, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สลัดรัก.
【 สลัดได ๑ 】แปลว่า: [สะหฺลัด] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Euphorbia/ วงศ์
Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนาม ไม่มีใบ เช่น ชนิด
/E. lacei/ Craib, สลัดไดป่า (/E. antiquorum/ L.) ส่วนที่ใช้
ทํายาได้เรียก กระลําพัก.
【 สลัดได ๒ 】แปลว่า: [สะหฺลัด] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่ง
เป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง นพศูล นภศูล
ฝักเพกา หรือ ลําภุขัน ก็เรียก.
【 สลับ 】แปลว่า: [สะหฺลับ] ว. คั่นเป็นลําดับ เช่น เขียวสลับแดง ผู้หญิงผู้ชาย
นั่งสลับกันสร้อยทับทิมสลับเพชร; สับเปลี่ยน เช่น สลับคู่.
【 สลับฉาก 】แปลว่า: น. เรียกการแสดงสั้น ๆ ที่คั่นระหว่างการแสดงละครแต่ละ
ฉากเพื่อให้มีเวลาสําหรับเปลี่ยนฉากละครว่า การแสดง
สลับฉาก.
【 สลับฟันปลา 】แปลว่า: ว. สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา
ยืนสลับฟันปลา.
【 สลับเรือน 】แปลว่า: (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกัน
ในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครอง
เรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์
ไปครองเรือนเกษตรพุธราศีกันย์.
【 สลับสล้าง 】แปลว่า: [สะหฺลับสะล่าง] ว. เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มองจาก
ที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้น
สลับสล้างเต็มไปหมด.
【 สลัว, สลัว ๆ 】แปลว่า: [สะหฺลัว] ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็น
ได้ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ.
【 สลา 】แปลว่า: [สะหฺลา] น. หมาก. (ข.).
【 สลาเหิน 】แปลว่า: น. หมากที่ถือกันว่าเมื่อเสกแล้วเป็นตัวแมลงภู่ ทําให้ผู้กิน
แล้วลุ่มหลงรัก.
【 สลาก ๑ 】แปลว่า: [สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น
ซึ่งทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทาย
เป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค
เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก).
【 สลากกินแบ่ง 】แปลว่า: น. สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงโชค
โดยมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือ
สลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่กำหนด, ลอตเตอรี่
หวย หรือ หวยเบอร์ ก็เรียก.
【 สลากกินรวบ 】แปลว่า: น. สลากชนิดที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับสิ่งของเป็นรางวัล
ในการเสี่ยงโชคโดยผู้จําหน่ายรวบเงินค่าสลากไว้ทั้งหมด.
【 สลากภัต 】แปลว่า: [สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดย
วิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน.
(ป. สลากภตฺต).
【 สลาก ๒ 】แปลว่า: [สะหฺลาก] /ดู กระดี่ ๑./
【 สลาง 】แปลว่า: /ดู กระดี่ ๑./
【 สล้าง 】แปลว่า: [สะล่าง] ว. ที่ตั้งอยู่สูงเด่นเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ต้นสักสูงสล้าง.
【 สลาด 】แปลว่า: [สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์
Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก
ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มี
ขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่อง
กับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มี
จุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร,
ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.
【 สลาตัน 】แปลว่า: [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลม
พายุที่มีกําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน,
โดยปริยายใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา
หรือเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่าง
กับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
【 สลาบ 】แปลว่า: [สะหฺลาบ] น. ปีกของนก; ขน. (ข.).
【 สลาย 】แปลว่า: [สะหฺลาย] ก. สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
หมอกก็สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลาย
พิษงู, ฉลาย ก็ว่า.
【 สลายตัว 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนสภาพ เช่น ยาบางชนิดสลายตัวในน้ำ; อาการ
ที่ฝูงชนซึ่งรวมตัวกันเพื่อประท้วงเป็นต้นแล้วต่อมาได้แยก
ย้ายกันไป เช่น กลุ่มชนที่มาประท้วงได้สลายตัวไปหมดแล้ว.
【 สลิด ๑ 】แปลว่า: [สะหฺลิด] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Telosma minor /Craib ในวงศ์
Asclepiadaceae ใบมนป้อม ผลเรียวยาว ดอกสีเขียว
อมเหลือง กลิ่นหอม กินได้, ขจร ก็เรียก.
【 สลิด ๒ 】แปลว่า: [สะหฺลิด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Trichogaster pectoralis/ ในวงศ์
Anabantidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มี
เกล็ดเล็กและไม่มีจุดดําข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาด
เฉียงตลอดข้างลําตัว และมีขนาดโตกว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบ
ตามแหล่งนํ้านิ่ง เช่น หนอง คลองบึงทั่วไป ทํารังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า,
ราชาศัพท์เรียกว่าปลาใบไม้.
【 สลิล 】แปลว่า: [สะลิน] น. นํ้า. (ป., ส.).
【 สลึก 】แปลว่า: [สะหฺลึก] น. ใบไม้. (ข.).
【 สลึง 】แปลว่า: [สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ
๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (รูปภาพ) หมายความว่า
๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนัก
เท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.
【 สลุต 】แปลว่า: [สะหฺลุด] ก. คํานับ เช่น ยิงสลุต. (อ. salute).
【 สลุบ 】แปลว่า: [สะหฺลุบ] น. เรือใบเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบชาวตะวันตก.
(อ. sloop).
【 สลุมพร 】แปลว่า: [สะหฺลุมพอน] น. ปลาเนื้ออ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
【 สแลง 】แปลว่า: น. ถ้อยคําหรือสํานวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะ
เวลาหนึ่งไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. (อ. slang).
【 สว 】แปลว่า: [สะวะ] น. ของตนเอง. (ส.; ป. สก).
【 สวกรรม 】แปลว่า: น. งานส่วนตัว. (ส. สฺวกรฺมนฺ).
【 สวการย์ 】แปลว่า: น. หน้าที่หรือธุระของตนเอง. (ส. สฺวการฺย).
【 สวภาพ 】แปลว่า: น. สภาพ, ความเป็นอยู่ของตนเอง. (ส. สฺวภาว).
【 สวราชย์ 】แปลว่า: น. ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. (ส. สฺวราชฺย).
【 สวก ๑ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อไม่แน่นและไม่ซุย (ใช้แก่ลักษณะหัวเผือกหัวมันและ
ผลไม้บางชนิด).
【 สวก ๒ 】แปลว่า: [สะหฺวก] น. สวิงขนาดเล็กชนิดหนึ่งสําหรับตักปลา.
【 ส้วง 】แปลว่า: น. ช่อง, โพรง, (โดยมากมักใช้แก่ทวารหนัก).
【 สวด 】แปลว่า: ก. ว่าเป็นทํานองอย่างพระสวดมนต์ เช่น สวดสังคหะ สวด
พระอภิธรรม; (ปาก) นินทาว่าร้าย, ดุด่า, ว่ากล่าว, เช่น ถูก
แม่สวด.
【 สวน ๑ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจํานวนมาก เช่น สวนทุเรียน สวน
ยาง สวนกุหลาบ สวนผัก, โดยปริยายหมายถึงสถานที่ซึ่งมี
ลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี เช่น สวนสัตว์ สวนงู.
【 สวนครัว 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก
มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา.
【 สวนญี่ปุ่น 】แปลว่า: น. สวนที่จัดตามแบบญี่ปุ่น มีสิ่งประดับที่สำคัญคือไม้ดอก
ไม้ใบ สะพาน โคม เป็นต้น.
【 สวนป่า 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็น
ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิด
รวมกันก็ได้เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์
พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้
ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
【 สวนพฤกษศาสตร์ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้มากชนิดทั้งในและต่างประเทศ
รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ มักเขียนป้ายบอกชื่อสามัญและ
ชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและ
พักผ่อนหย่อนใจเป็นต้น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ที่พุแค
จังหวัดสระบุรี. (อ. botanic garden, botanical garden).
【 สวนรุกขชาติ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้น
ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียน
ป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อน
หย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่.
(อ. arboretum).
【 สวนสนุก 】แปลว่า: น. สถานที่ที่รวบรวมบรรดาสิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
เพลิดเพลินไว้บริการประชาชน.
【 สวนสมุนไพร 】แปลว่า: น. บริเวณที่ปลูกพืชที่ใช้เป็นสมุนไพร.
【 สวนหย่อม 】แปลว่า: น. สวนไม้ประดับขนาดเล็ก จัดในเนื้อที่จำกัด.
【 สวน ๒ 】แปลว่า: อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน
มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด
สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ
ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา
หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้
อุจจาระออก.
【 สวนควัน 】แปลว่า: ว. อาการที่ย้อนตอบทันที เช่น พูดสวนควัน ยิงสวนควัน
เตะสวนควัน.
【 สวนความ 】แปลว่า: ก. สอบเปรียบเทียบข้อความ.
【 สวนคำ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวน
คำไป.
【 สวนแทง 】แปลว่า: ก. แทงตอบทันที.
【 สวนปากสวนคำ 】แปลว่า: ก. สอบปากคํายันกันดู.
【 สวนสนาม 】แปลว่า: น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่าผ่าเผย
ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์
ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหาร
ที่ตั้งอยู่คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
【 สวน ๓ 】แปลว่า: ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง
ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, เซ็น ก็ว่า.
【 สวน ๔, สวนะ ๑ 】แปลว่า: [สะวะนะ] น. การฟัง. (ป.; ส. ศฺรวณ).
【 สวนาการ 】แปลว่า: น. อาการฟัง. (ป.).
【 สวนะ ๒ 】แปลว่า: น. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรวณ).
【 ส่วน 】แปลว่า: น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม
เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก
เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่
พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง
ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน.
สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน
ไปเชียงใหม่.
【 ส่วนกลาง 】แปลว่า: น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
【 ส่วนเกิน 】แปลว่า: น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ
ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
【 ส่วนควบ 】แปลว่า: (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย
จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็น
อยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะ
ทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลง
รูปทรงหรือสภาพไป.
【 ส่วนได้ส่วนเสีย 】แปลว่า: น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้
การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี
ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
【 ส่วนตัว 】แปลว่า: ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว.
【 ส่วนท้องถิ่น 】แปลว่า: น. เขตเทศบาล.
【 ส่วนบุญ 】แปลว่า: น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
【 ส่วนแบ่ง 】แปลว่า: น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่ง
มรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน.
【 ส่วนประกอบ 】แปลว่า: น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ
ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ,
องค์ประกอบ ก็เรียก.
【 ส่วนผสม 】แปลว่า: น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสม
ของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์.
【 ส่วนพระองค์ 】แปลว่า: (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป)
เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
【 ส่วนภูมิภาค 】แปลว่า: น. ส่วนหัวเมือง.
【 ส่วนรวม 】แปลว่า: น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วนที่ใช้
ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
【 ส่วนร่วม 】แปลว่า: น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม
ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมใน
การลงทุนบริษัท.
【 ส่วนลด 】แปลว่า: น. ส่วนที่หักจากจํานวนเงินที่เก็บมาได้ หรือจากจํานวนที่
ซื้อหรือที่ใช้ตามส่วนที่กําหนดไว้.
【 ส่วนสัด 】แปลว่า: น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม
เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนด
ขึ้นให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
【 ส่วนหน้า 】แปลว่า: น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ
ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับ
บัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียก
กองบัญชาการทหารสูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุด
ส่วนหน้า.
【 ส่วนหลัง 】แปลว่า: น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง
บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
【 ส่วนองค์ 】แปลว่า: (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
【 สวนาการ 】แปลว่า: /ดู สวน ๔, สวนะ ๑./
【 สวนิต 】แปลว่า: สะวะ ก. ยิน, ฟัง.
【 สวนีย 】แปลว่า: [สะวะนียะ] น. คําที่น่าฟัง, คําไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย).
【 สวบ, สวบ ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ
สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ
ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ
ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
【 สวม 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง
เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย,
นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่
เช่น สวมตําแหน่ง.
【 สวมกอด 】แปลว่า: ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เช่น แม่สวมกอดลูก,
ส้วมกอด ก็ว่า.
【 สวมเขา 】แปลว่า: ก. ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้
ระแคะระคาย.
【 สวมบท, สวมบทบาท 】แปลว่า: ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวมบทบาทผู้ร้าย;
แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจ
บาปสวมบทนักบุญ.
【 สวมรอย 】แปลว่า: ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็น
ตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.
【 สวมวิญญาณ 】แปลว่า: ก. เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ในจิตใจ
ของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า.
【 สวมหน้ากาก 】แปลว่า: (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง,
แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก
เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
【 สวมหมวกหลายใบ 】แปลว่า: (สำ) ก. ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน.
【 สวมหัวโขน 】แปลว่า: ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรง
ตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัว
ชอบแสดงอำนาจ.
【 ส้วม ๑ 】แปลว่า: น. สถานที่ที่สร้างไว้สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะโดยเฉพาะ
มักทำเป็นห้อง.
【 ส้วมชักโครก 】แปลว่า: น. ส้วมแบบส้วมซึมชนิดหนึ่ง ต่างกันตรงที่เมื่อถ่ายแล้วใช้
กดหรือชักให้น้ำที่อยู่ในถังด้านหลังหรือข้างบนหัวส้วมไหล
ชำระสิ่งที่ถ่ายแทนการราดน้ำ.
【 ส้วมซึม 】แปลว่า: น. ส้วมที่ตั้งถังซีเมนต์ซ้อนกันลงไปในดินหลาย ๆ ถังมีหัว
ส้วมสำหรับนั่งถ่ายอยู่เหนือถังบนสุด เมื่อถ่ายแล้วต้องราด
น้ำเพื่อชำระสิ่งที่ถ่ายให้ลงสู่ถังส้วมแล้วซึมหายไปในดิน.
【 ส้วมหลุม 】แปลว่า: น. ส้วมที่ขุดหลุมแล้วใช้ไม้กระดานหรือไม้ท่อนใหญ่ทอด
พาดปากหลุมสำหรับนั่งถ่าย.
【 ส้วม ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ห้องนอน.
【 ส้วม ๓ 】แปลว่า: ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างโอบรัดเข้าไว้ในวงแขน เรียกว่า ส้วมกอด,
สวมกอด ก็ว่า.
【 สวย 】แปลว่า: ว. งามน่าพึงพอใจ, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาม เป็น สวยงาม,
ในบทกลอนใช้ว่า ส้วย ก็มี; ไม่เปียก (ใช้แก่ข้าวสุก) เช่น
หุงข้าวสวยดี ไม่ดิบ ไม่แฉะ.
【 สวยแต่รูป จูบไม่หอม 】แปลว่า: (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และ
กิริยามารยาทไม่ดี.
【 ส่วย ๑ 】แปลว่า: น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธี
เรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตาม
ที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหาร
เป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
【 ส่วย ๒ 】แปลว่า: น. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญเขมรพวกหนึ่ง อยู่ทาง
ภาคอีสาน.
【 ส้วย ๑ 】แปลว่า: ก. ชําแหละ, ผ่าล้าง.
【 ส้วย ๒ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่เป็นมุมแหลมออกไป.
【 ส้วยเสี้ยว 】แปลว่า: น. ของที่มีมุม ๓ มุม เช่นใบเรือที่อยู่ตอนหัวเรือ. (ปรัดเล).
【 สวยม 】แปลว่า: [สะวะหฺยม] ว. ด้วยตัวเอง. (ส.).
【 สวยมพร 】แปลว่า: น. สยมพร, สยัมพร หรือ สยุมพร ก็ใช้.
【 สวยมภู 】แปลว่า: น. สยมภู.
【 สวรรค, สวรรค์ 】แปลว่า: [สะหฺวันคะ, สะหฺวัน] น. โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค;
ป. สคฺค).
น. สยมภู.
【 สวรรคต 】แปลว่า: [สะหฺวันคด] ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์สําหรับ
พระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระ
บรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับ
พระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์).
【 สวรรคบดี 】แปลว่า: [สะหฺวันคะบอดี] น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. (ส. สฺวรฺคปติ).
【 สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ 】แปลว่า: (สํา) น.
【 ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ 】แปลว่า:
ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.
【 สวรรคาลัย 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), (กลอน) ตาย.
【 สวรรคาลัย 】แปลว่า: /ดู สวรรค, สวรรค์./
【 สวรรยา 】แปลว่า: สะหฺวันยา น. สมบัติ.
【 สวระ 】แปลว่า: น. เสียง. (ส.).
【 สวะ ๑ 】แปลว่า: [สะหฺวะ] น. ต้นหญ้า ต้นผัก หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ลอยเป็นแพอยู่ในนํ้า.
【 สวะ ๒, สวะ ๆ 】แปลว่า: สะหฺวะ ว. เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ;
ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ.
【 สวะ ๓ 】แปลว่า: สะหฺวะ ก. สละ เช่น สวะบาปแสวงบุญบท ที่แล้ว.
(ยวนพ่าย).
【 สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ 】แปลว่า: [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] น. ความดี, ความงาม, ความเจริญ
รุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มี
ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดี
มีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ).
【 สวัสดิการ 】แปลว่า: น. การให้สิ่งที่เอื้ออํานวยให้ผู้ทํางานมีชีวิตและสภาพ
ความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล
ให้ที่พักอาศัยจัดรถรับส่ง.
【 สวัสดิภาพ 】แปลว่า: น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจ
ออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน.
【 สวัสดิมงคล 】แปลว่า: น. สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐาน
พระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล.
【 สวัสดิ์ ๒, สวัสดี ๒ 】แปลว่า: [สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน
เช่น อรุณสวัสดิ์ ราตรีสวัสดิ์ สวัสดีปีใหม่ สวัสดีครับคุณครู.
【 สวัสติ, สวาตี 】แปลว่า: [สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้าง
พังเหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ
ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ).
【 สวัสติกะ 】แปลว่า: [สะหฺวัดติกะ] น. สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา
ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐาน
กันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. (ส. สฺวสฺติกา).
【 สวา 】แปลว่า: [สะหฺวา] น. ลิง. (ข.).
【 สวาปาม 】แปลว่า: [สะหฺวา] ก. ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, (ปาก)
กินอย่างตะกละ.
【 สวาคตะ 】แปลว่า: [สะหฺวาคะตะ] น. คํากล่าวต้อนรับ. (ป., ส.).
【 สวาง 】แปลว่า: [สะหฺวาง] น. ผี, สาง ก็เรียก.
【 สว่าง 】แปลว่า: [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น
สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์
สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด
เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หาย
ง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
【 สว่างไสว 】แปลว่า: [สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมี
แสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข
เช่น โลกนี้ช่างสว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว
ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น.
【 สวาด 】แปลว่า: [สะหฺวาด] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Caesalpinia bonduc /(L.)
Roxb. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ฝักมีหนามละเอียด
เมล็ดกลม เปลือกแข็งสีเทาอมเขียว. ว. สีเทาอมเขียวอย่างสีเมล็ด
สวาด เรียกว่า สีสวาด, เรียกแมวที่มีสีเช่นนั้นว่า แมวสีสวาด ว่า
เป็นแมวไทยที่ชาวต่างประเทศนิยมเลี้ยงและมีราคาแพง.
【 สวาดิ ๑ 】แปลว่า: [สะหฺวาด] /ดู สวัสติ./
【 สวาดิ ๒ 】แปลว่า: สะหฺวาด ก. รักใคร่, ยินดี.
【 สวาท 】แปลว่า: [สะหฺวาด] น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทาง
กามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. (ปาก) ก. รัก
ยินดี หรือ พอใจ เป็นต้น (มักใช้ในเชิงปฏิเสธ) เช่น หน้าตาน่า
สวาทนักนี่ คุณคิดว่าเขาสวาทคุณนักหรือ. (ส. สฺวาท ว่า
รสอร่อย, รสหวาน).
【 สว่าน 】แปลว่า: [สะหฺว่าน] น. เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสําหรับ
เจาะไชมี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลม
ในตัวสําหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่าง
คล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสําหรับมือกด
ตรงกลางมีที่สําหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับ
ปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา.
【 สว้าน 】แปลว่า: [สะว่าน] ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนัก
จวนจะสิ้นใจ.
【 สวาบ 】แปลว่า: [สะหฺวาบ] น. ส่วนกายของคนและสัตว์สี่เท้า อยู่ระหว่างชาย
โครงกับสันกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูก.
【 สวามิ, สวามี 】แปลว่า: [สะหฺวา] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี;
เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ).
【 สวามินี 】แปลว่า: น. หญิงผู้เป็นใหญ่เป็นเจ้าของ. (ส. สฺวามินี).
【 สวามิภักดิ์ 】แปลว่า: ก. ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามาสวามิภักดิ์,
สามิภักดิ์ ก็ว่า. (ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า).
【 สวาย ๑ 】แปลว่า: [สะหฺวาย] น. ต้นมะม่วง. (ข. สฺวาย).
【 สวายสอ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงชนิดหนึ่ง. (ข.).
【 สวาย ๒ 】แปลว่า: [สะหฺวาย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด /Pangasius pangasius/
ในวงศ์ Schilbeidae ลําตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ
๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดเหนือครีบอก ขนาดยาวได้
ถึง ๑.๖ เมตร.
【 สวาสดิ์ 】แปลว่า: [สะหฺวาด] ก. รักใคร่, ยินดี.
【 สวาหะ 】แปลว่า: [สะหฺวาหะ] คํากล่าวเมื่อจบการเสกเป่า. (ส. สฺวาหา).
【 สวิง 】แปลว่า: [สะหฺวิง] น. เครื่องช้อนปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นร่างแห ลักษณะ
เป็นถุงมักใช้ไม้หรือหวายทําเป็นขอบปาก.
【 สวิงสวาย 】แปลว่า: [สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้
ตาพร่าจะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย;
โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย.
【 สวิญญาณกทรัพย์ 】แปลว่า: [สะวินยานะกะซับ, สะวินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่
มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว
ควาย, ตรงข้ามกับ อวิญญาณกทรัพย์, วิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
【 สวิตช์ 】แปลว่า: [สะวิด] น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้สําหรับปิดเปิดหรือ
เปลี่ยนวงจรไฟฟ้า. (อ. switch).
【 สสาร, สสาร 】แปลว่า: [สะสาน, สานระ] น. สิ่งที่มีมวลสาร ต้องการที่อยู่ และสัมผัส
ได้อาจมีเพียงสารเดียว เช่น ทองคํา เงิน แก้ว เกลือ น้ำ หรือ
ประกอบด้วยสารหลายสาร เช่น ดินปืน อากาศ ก็ได้.
【 สสารนิยม 】แปลว่า: น. วัตถุนิยม.
【 สสุระ 】แปลว่า: [สะ] น. พ่อตา, พ่อผัว. (ป.; ส. ศฺวศุร).
【 สสุรี, สัสุรี 】แปลว่า: [สะ, สัดสุ] น. แม่ยาย, แม่ผัว. (ป.; ส. ศฺวศฺรู).
【 สห 】แปลว่า: [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบ
หน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.).
【 สหกรณ์ 】แปลว่า: น. งานร่วมมือกัน เช่นทางธุรกิจหรืออุตสาหกรรม เพื่อหา
กําไรหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในงานนั้น ๆ ร่วมกัน, (กฎ)
คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดําเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันและได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์
ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์.
【 สหการ 】แปลว่า: น. การร่วมมือกัน.
【 สหจร 】แปลว่า: น. ผู้ร่วมทาง, เพื่อน, สหาย. (ส.).
【 สหชาต, สหชาติ 】แปลว่า: น. ผู้เกิดวันเดือนปีเดียวกัน, ผู้เกิดร่วมปีนักษัตรในรอบ
เดียวกัน. (ป.); (ราชา) รก.
【 สหธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน.
【 สหธรรมิก 】แปลว่า: [สะหะทํามิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์
ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็นสหธรรมิกกัน.
(ป. สหธมฺมิก).
【 สหบาน 】แปลว่า: น. การดื่มร่วมกัน.
【 สหประชาชาติ 】แปลว่า: (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทน
สันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ
ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี
วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรอง
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณี
ที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อ
เต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization).
【 สหพันธ์ 】แปลว่า: น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคม
ขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตาม
วัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น
เช่น สหพันธ์กรรมกร.
【 สหพันธรัฐ 】แปลว่า: น. รัฐหลายรัฐที่รวมกันเป็นรัฐรวม โดยมีรัฐบาลกลางเป็น
ผู้ดําเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวมตามที่
กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ละรัฐมีอํานาจเฉพาะกิจการ
ภายในรัฐของตนเท่านั้น. (อ. federal state).
【 สหภาพ 】แปลว่า: น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทํา
กิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์
ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพ
รัฐสภา; ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐ
ขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า; องค์การของลูกจ้าง เช่น สหภาพ
แรงงาน. (อ. union).
【 สหภาพแรงงาน 】แปลว่า: (กฎ) น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและ
คุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริม
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่าง
ลูกจ้างด้วยกัน เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
สหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต.
【 สหศึกษา 】แปลว่า: น. การศึกษาที่ให้นักเรียนชายและหญิงเรียนรวมในสถาน
ศึกษาเดียวกัน.
【 สหัช 】แปลว่า: ว. ที่มีมาแต่กําเนิด. (ป., ส.).
【 สหาย 】แปลว่า: น. เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข. (ป., ส.).
【 สหัช 】แปลว่า: /ดู สห./
【 สหัมบดี 】แปลว่า: [สะหําบอดี] น. ชื่อท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง. (ป.).
【 สหัส, สหัสสะ 】แปลว่า: [สะหัดสะ] ว. หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). (ป.; ส. สหสฺร).
【 สหัสธารา 】แปลว่า: [สะหัดสะ] น. เครื่องโปรยนํ้าให้เป็นฝอย (ใช้ในการอภิเษก),
โดยปริยายหมายถึงการสรงนํ้าของพระเจ้าแผ่นดิน.
(ป. สหสฺสธารา; ส. สหสฺรธารา).
【 สหัสนัยน์, สหัสเนตร 】แปลว่า: [สะหัดสะ] น. พันตา หมายถึง พระอินทร์. (ป. สหสฺสเนตฺต,
สหสฺสนยน; ส. สหสฺรเนตฺร, สหสฺรนยน).
【 สหัสรังสี 】แปลว่า: [สะหัดสะ] น. พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. (ป. สหสฺสรํสิ).
【 สหัสา 】แปลว่า: [สะหัดสา] ว. โดยเร็ว, ทันใด, โดยตรง; ยิ่งนัก. (ป., ส. สหสา).
【 สหาย 】แปลว่า: /ดู สห./
【 สอ ๑ 】แปลว่า: ว. ขาว เช่น ดินสอพอง. (เทียบเขมร ส ว่า ขาว).
【 สอปูน 】แปลว่า: ก. นําปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน.
【 สอ ๒ 】แปลว่า: ว. ประดังกัน เช่น วิ่งสอกันมารับหน้า, หลั่งออกมาออ ในคำว่า
น้ำลายสอ.
【 สอ ๓ 】แปลว่า: น. คอ. (ข.).
【 สอ ๔ 】แปลว่า: น. โกฐสอ. (ดู โกฐสอ ที่ โกฐ).
【 ส่อ 】แปลว่า: ก. แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น
สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ;
(โบ) ฟ้อง.
【 ส่อเสียด 】แปลว่า: ก. อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน.
【 สอง 】แปลว่า: น. จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า
เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม.
【 สองเกลอ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้
ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๒ ที่.
【 สองแง่สองง่าม 】แปลว่า: ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดาและ
ความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย)
เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย.
【 สองแง่สองมุม 】แปลว่า: ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตาย
ใน ๗ วัน.
【 สองจิตสองใจ 】แปลว่า: ว. ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไปเชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดี
ยังสองจิตสองใจอยู่.
【 สองใจ 】แปลว่า: ว. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
【 สองชั้น 】แปลว่า: น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่า
ชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า
อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า
หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
【 สองต่อสอง 】แปลว่า: ว. แต่ลําพัง ๒ คน โดยเฉพาะในที่ลับหูลับตาคนอื่น (มักใช้
แก่ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งที่อยู่ด้วยกันตามลําพัง).
【 สองตาก็ไม่แล, สองตาก็ไม่อยากแล 】แปลว่า: (สำ) คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตร
ไมตรีกันอีกต่อไป.
【 สองผม 】แปลว่า: ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า
คนสองผม.
【 สองฝักสองฝ่าย 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่ทําตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกันโดยหวัง
ประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทํา
ตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน.
【 สองไม้ 】แปลว่า: น. ทํานองเพลงที่ใช้หน้าทับทําจังหวะ.
【 สองสลึงเฟื้อง 】แปลว่า: (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง
บ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
【 สองหน้า 】แปลว่า: น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตี
ทั้ง ๒ ข้าง. (สํา) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน
โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่า
ไว้ใจเขานักนะ.
【 ส่อง 】แปลว่า: ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง
ตะวันส่องหน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง
ส่องกบ; เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน; (ปาก)
ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
【 ส่องกระจก 】แปลว่า: ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า
ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการ
ที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.
【 ส้อง 】แปลว่า: (กลอน) น. ซ่อง, ประชุม.
【 สองฤดู 】แปลว่า: /ดู คริสต์มาส ๒./
【 สอด 】แปลว่า: ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด
จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอด
สนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้
ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะ
ที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
【 สอดคล้อง 】แปลว่า: ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้องกัน
ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
【 สอดแทรก 】แปลว่า: ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไป
สอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
【 สอดแนม 】แปลว่า: ก. ลอบเข้าไปสืบความ เช่น ส่งทหารไปสอดแนมข้าศึก.
【 สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น 】แปลว่า: ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น
ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขา
เป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
【 สอดส่อง 】แปลว่า: ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้อง
สอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
【 สอดส่าย 】แปลว่า: ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่าย
สายตาหาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย,
โดยปริยายหมายถึงส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่
จะลักขโมยเป็นต้น.
【 สอดสี 】แปลว่า: ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์
สอดสี.
【 สอดใส่ 】แปลว่า: ก. ใส่โดยวิธีสอดเข้าไป.
【 สอดไส้ 】แปลว่า: ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง
แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้
ธนบัตรปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็น
ประโยชน์แก่ตนปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอ
เซ็น. ว. เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อน
หุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำแล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ
และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่ง
ให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
【 สอดหมุด 】แปลว่า: ก. สอดผ้ากอซเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับของเหลวภายใน.
【 สอน 】แปลว่า: ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดง
ให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่ว
เป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอน
เท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาต
ต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
【 สอนขัน 】แปลว่า: ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน,
โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยม
ของคน.
【 สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
【 สอนใจ 】แปลว่า: ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ.
【 สอนเดิน 】แปลว่า: ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัด
เดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้อง
สอนเดินใหม่.
【 สอนนาค 】แปลว่า: ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้
รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวช
นั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง.
【 สอนพูด 】แปลว่า: ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
【 สอนยาก 】แปลว่า: ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้
เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก.
【 สอนยืน 】แปลว่า: ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
【 สอนลูกให้เป็นโจร 】แปลว่า: (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดีเมื่อลูก
ไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูก
ก็กลายเป็นโจร.
【 สอนสั่ง 】แปลว่า: ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
【 สอนหนังสือสังฆราช, บอกหนังสือสังฆราช 】แปลว่า: (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว.
【 ส่อน 】แปลว่า: ว. เรียกตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติว่า ตาส่อน.
【 สอบ ๑ 】แปลว่า: ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง
หรือ วัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบ
ตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา
สอบพิมพ์ดีด.
【 สอบข้อเขียน 】แปลว่า: ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ.
【 สอบเขตที่ดิน 】แปลว่า: ก. ตรวจสอบที่ดินโดยพนักงานที่ดินและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทราบเนื้อที่และแนวเขตที่แน่นอน.
【 สอบแข่งขัน 】แปลว่า: ก. สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุนหรือ
บรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น.
【 สอบความถนัด 】แปลว่า: ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง,
ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษา
หรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
【 สอบซ่อม 】แปลว่า: ก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก.
【 สอบซ้อม 】แปลว่า: ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
【 สอบถาม 】แปลว่า: ก. ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น สอบถามเวลาเดินรถ.
【 สอบทาน 】แปลว่า: ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับ
หรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
【 สอบเทียบ, สอบเทียบความรู้ 】แปลว่า: ก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทาง
ราชการกำหนดหรือไม่.
【 สอบใบขับขี่ 】แปลว่า: ก. สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถ
ขับขี่ยานยนต์ได้.
【 สอบประวัติส่วนบุคคล 】แปลว่า: ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่งจะบรรจุ
เข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนา
ครั้งสุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
【 สอบปากคำ 】แปลว่า: ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา,
กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา.
【 สอบปากเปล่า 】แปลว่า: ก. สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา.
【 สอบพยาน 】แปลว่า: ก. ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง.
【 สอบราคา 】แปลว่า: ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร,
ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนดไว้
หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่ง
ต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด.
【 สอบไล่ 】แปลว่า: ก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร
แต่ละขั้นหรือทั้งหมด.
【 สอบสวน 】แปลว่า: (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น
ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา
เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะ
เอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ.
【 สอบสวนทวนพยาน 】แปลว่า: (สํา) ก. สอบพยาน.
【 สอบสัมภาษณ์ 】แปลว่า: ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ
ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตาม
ที่ต้องการหรือไม่.
【 สอบอารมณ์ 】แปลว่า: ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนา
กรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.
【 สอบ ๒ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะเรียวลงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ใช้แก่รูปทรง
ของภาชนะหรือสิ่งที่มีลักษณะกลวง เช่น พ้อมก้นสอบปากสอบ
เสื้อแขนสอบ กางเกงขาสอบ.
【 สอพลอ 】แปลว่า: [สอพฺลอ] ก. กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มี
ฐานะสูงกว่าเกลียดชังผู้นั้นเพื่อประโยชน์ของตน.
【 ส้อม 】แปลว่า: น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร
กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ
เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม
ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
【 ส้อมเสียง 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด
เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็น
ความถี่อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
【 สอย ๑ 】แปลว่า: ก. เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้
ลูกไม้เป็นต้นลงมา; แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้
เป็นตะเข็บ.
【 สอยดอกฟ้า 】แปลว่า: (สํา) ก. หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็นคู่ครอง.
【 สอยดาว 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัด
ที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว.
【 สอยผม 】แปลว่า: ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เรียบเรียงเส้น.
【 สอยไร 】แปลว่า: ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เห็นรอยไร.
【 สอย ๒ 】แปลว่า: ก. ใช้, ใช้เข้าคู่กันเป็น ใช้สอย.
【 ส่อเสียด 】แปลว่า: ก. อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน.
【 สะ ๑, สะสวย 】แปลว่า: ว. สวย.
【 สะ ๒ 】แปลว่า: ก. ใส่หรือสุมเพื่อกันไว้ เช่น เอาหนามสะ.
【 สะกด 】แปลว่า: ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์
ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ
ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด
แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ
ข. สงฺกด).
【 สะกดจิต 】แปลว่า: ก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทําตาม
ความต้องการของตน.
【 สะกดทัพ 】แปลว่า: ก. ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่าย
ตรงข้ามหลับ.
【 สะกดผี 】แปลว่า: ก. ใช้เวทมนตร์สะกดไม่ให้ผีอาละวาดหรือให้อยู่ในอำนาจ
เป็นต้น.
【 สะกดรอย 】แปลว่า: ก. ตามไปติด ๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัว.
【 สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์ 】แปลว่า: ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือ
ที่กำลังประสบ.
【 สะกอ 】แปลว่า: ว. ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่
เป็นพวก ๆ. (ข. สรกอ ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน).
【 สะกาง 】แปลว่า: น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อ
ลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.
【 สะการะ 】แปลว่า: น. ดอกไม้. (ช.).
【 สะการะตาหรา 】แปลว่า: น. ดอกกรรณิการ์. (ช.).
【 สะกิด 】แปลว่า: ก. เอาปลายเล็บหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเขี่ยหรือแคะแต่เบา ๆ
เพื่อให้รู้ตัวหรือเพื่อให้หลุดหรือให้แตกออกเป็นต้น เช่น เอามือ
สะกิดสีข้างใช้เข็มสะกิดฝีให้หนองออก; โดยปริยายหมายความ
ว่า เตือนให้นึกถึง.
【 สะกิดใจ 】แปลว่า: ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา
เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็
รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้.
【 สะกิดสะเกา 】แปลว่า: ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้กระทบ
ใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
【 สะเก็ด 】แปลว่า: น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วน
ใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่
ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษ
เล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ด
อย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
【 สะเก็ดตีนเมรุ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ
จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี.
【 สะแก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Combretum quadrangulare/ Kurz ในวงศ์
Combretaceae นิยมใช้ทําฟืน เมล็ดใช้ทํายาได้.
【 สะแกวัลย์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด/ Combretum punctatum/ Blume
ในวงศ์ Combretaceae.
【 สะแก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งคล้ายสกา.
【 สะแกแสง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Cananga latifolia/ Finet et Gagnep. ในวงศ์
Annonaceae ใช้ทํายาได้.
【 สะคร้อ 】แปลว่า: /ดู ตะคร้อ./
【 สะคราญ 】แปลว่า: น. หญิงงาม เช่น โฉมสะคราญ. ว. งาม, สวย, เช่น สะคราญตา
สะคราญใจ.
【 สะค้าน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล/ Piper/ วงศ์ Piperaceae ใช้ทํายาได้,
ตะค้าน ก็เรียก.
【 สะเงาะสะแงะ 】แปลว่า: ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจา
สะเงาะสะแงะ.
【 สะใจ 】แปลว่า: ว. หนําใจ, สาแก่ใจ, สมใจอยาก, เช่น อยากกินหูฉลาม
มานานแล้ววันนี้ต้องกินให้สะใจเสียที เขาโมโหน้องมาก
เลยตีเสียสะใจ.
【 สะดม 】แปลว่า: ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว,
ใช้เข้าคู่กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ).
【 สะดวก 】แปลว่า: ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวก
กว่าสมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
【 สะดัก, สังดัก 】แปลว่า: ก. คอย, กั้นไว้.
【 สะดิ้ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้ง
ให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า.
【 สะดึง 】แปลว่า: น. กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบ
สําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึง
เปล มี ๔ ด้าน.
【 สะดือ 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป.
【 สะดือจุ่น 】แปลว่า: น. สะดือที่มีลักษณะโปนออกมา.
【 สะดือทะเล 】แปลว่า: น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไป
ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล.
【 สะดืออ่าง 】แปลว่า: น. รูเหนือท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างอาบน้ำเป็นต้น
สำหรับให้น้ำไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้ง.
【 สะดุ้ง ๑ 】แปลว่า: ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือ
ไม่ได้นึกคาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิด
ก็สะดุ้งสุดตัว.
【 สะดุ้งมาร 】แปลว่า: (ปาก) น. เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร
ว่า พระสะดุ้งมาร.
【 สะดุ้งสะเทือน 】แปลว่า: ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น
ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐี
เสียเงินล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก.
【 สะดุ้ง ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายยอยก, อีสาน
เรียก กะดุ้ง.
【 สะดุ้งสะดิ้ง 】แปลว่า: ว. ดัดจริตดีดดิ้น, สะดิ้ง ก็ว่า.
【 สะดุด ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้
ก้าวผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหิน
ล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
【 สะดุดขาตัวเอง 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง.
【 สะดุดใจ 】แปลว่า: ก. ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมา
กระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ.
【 สะดุดตา 】แปลว่า: ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตา
จริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขา
มีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตา
ทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง
สะดุดตาแต่ไกล.
【 สะดุดหู 】แปลว่า: ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น
เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึง
ความหลังได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
【 สะดุด ๒, สะดุด ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง)
เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็ก
คนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักร
เดินสะดุด ๆ.
【 สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ 】แปลว่า: ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น
เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ.
【 สะเด็ด ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น กับข้าววันนี้อร่อยสะเด็ด.
【 สะเด็ดยาด 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น ผู้หญิงคนนั้นสวยสะเด็ดยาด.
【 สะเด็ด ๓ 】แปลว่า: /ดู หมอ ๒./
【 สะเดา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Azadirachta indica/ Juss. var. /siamensis/
Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกิน
ได้และใช้ทํายาได้.
【 สะเดาอินเดีย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Azadirachta indica/ Juss. var. /indica/ Juss.
ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ
ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนา
ที่ใช้เปลือกสกัดเป็นยาควินิน.
【 สะเดาดิน 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Hydrolea zeylanica/ (L.) Vahl ในวงศ์
Hydrophyllaceae ขึ้นในนา ใบยาวคล้ายหญ้า. (๒) ชื่อไม้
ล้มลุกชนิด /Lobelia alsinoides/ Lam. ในวงศ์ Campanulaceae
ต้นเล็กกว่าชนิดแรกใบค่อนข้างป้อม. (๓) /ดู ขวง ๑./
【 สะเดาะ 】แปลว่า: ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน
สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญ
สะเดาะเคราะห์ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
【 สะตอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Parkia speciosa/ Hassk. ในวงศ์ Leguminosae
ฝักแบน เมล็ดในกินได้ มีมากทางภาคใต้.
【 สะตอเบา 】แปลว่า: /ดู กระถิน./
【 สะตาหมัน 】แปลว่า: น. สวน. (ช. สะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน).
【 สะตึ, สะตึ ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้
สะตึดูแล้วเสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก.
【 สะตือ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Crudia chrysantha/ Schum. ในวงศ์
Leguminosae ฝักแบนกลม ใช้ทํายาได้.
【 สะตือ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Notopterus borneensis/ ในวงศ์
Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดําเด่น
มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว.
【 สะตุ 】แปลว่า: ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี
ให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่
ไม่ต้องการสลายกลายเป็นควันไป.
【 สะเต๊ะ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรส
แล้วเสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด.
【 สะโตก 】แปลว่า: น. ขันโตก.
【 สะทกสะท้าน 】แปลว่า: ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสีย
จนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่าง
ไม่สะทกสะท้าน.
【 สะทน 】แปลว่า: ก. สะท้อน, หวั่นไหว.
【 สะท้อน ๑ 】แปลว่า: ก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยาย
หมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.
【 สะท้อนใจ 】แปลว่า: ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจ
เป็นต้น.
【 สะท้อน ๒ 】แปลว่า: /ดู กระท้อน ๑./
【 สะท้าน 】แปลว่า: ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจน
ตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาว
สะท้านเหมือนจะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมา
หลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน;
ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้อง
ไปทั้งกรุง.
【 สะทึก 】แปลว่า: ก. ใจเต้นตึก ๆ.
【 สะทึน, สะทึ่น 】แปลว่า: (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น
สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ).
【 สะเทิน ๑ 】แปลว่า: ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว
หรือ อยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน.
【 สะเทินน้ำสะเทินบก 】แปลว่า: ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบกเช่น การรบ
สะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบิน
สะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและ
บนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
【 สะเทิน ๒ 】แปลว่า: (เคมี) ก. ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้.
【 สะเทิน ๓ 】แปลว่า: ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน.
【 สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย
(มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็
รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
【 สะเทือน, สะเทื้อน 】แปลว่า: ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น
นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำ
ให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น
เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน,
กระเทือน ก็ว่า.
【 สะเทือนใจ 】แปลว่า: ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงในเมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ไม่น่า
พอใจ เช่น เห็นภาพแม่กอดศพลูกร้องไห้แล้วรู้สึกสะเทือนใจ.
【 สะเทือนอารมณ์ 】แปลว่า: ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ
ทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่านเรื่อง
เศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
【 สะบะ 】แปลว่า: น. ตะกร้อ. (ช.).
【 สะบัก 】แปลว่า: น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไป
ข้างหลัง ปลายด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด.
(รูปภาพ สะบัก)
【 สะบักจม 】แปลว่า: ก. อาการที่ปวดเมื่อยบริเวณสะบักเพราะเลือดเดินไม่สะดวก.
【 สะบักสะบอม 】แปลว่า: ก. บอบชํ้าเต็มที เช่น ถูกชกเสียสะบักสะบอม.
【 สะบัด 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง
เพื่อให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติด
อยู่หลุดกระเซ็นไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมว
คาบหนูสะบัดไปมาหรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น
เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัด
มาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน
หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่งเช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือ
หรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้วเกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด,
สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดยปริยายหมายความว่า
อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง,
กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
【 สะบัด ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียง แสดงความไม่พอใจ
เช่น แม่ค้าไม่พอใจที่ลูกค้าต่อราคามากไป จึงพูดสะบัด ๆ.
【 สะบัดก้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น
เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธ
สะบัดก้นไปแล้ว.
【 สะบัดช่อ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น สวยสะบัดช่อ.
【 สะบัดมือ 】แปลว่า: ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง
ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
【 สะบัดย่าง 】แปลว่า: ว. อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับ
สะบัดหางด้วย ในความว่า ม้าเดินสะบัดย่าง.
【 สะบัดร้อนสะบัดหนาว 】แปลว่า: ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว
ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่า
ร้อนใจกลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่
ทำความผิดไว้ พอเห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อน
สะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
【 สะบัดลุกสะบัดนั่ง 】แปลว่า: ก. ผุดลุกผุดนั่ง, มีอาการคล้ายกระวนกระวายใจเพราะ
เดี๋ยวลุกเดี๋ยวนั่ง.
【 สะบัดสะบิ้ง 】แปลว่า: ก. แสดงอาการกะบึงกะบอนแสนงอน เช่น เวลางอน
ก็ทำกิริยาสะบัดสะบิ้ง. น. ชื่อกลบทแบบหนึ่ง.
【 สะบัดหน้า 】แปลว่า: ก. ไม่พอใจโดยผินหรือเบือนหน้าไปทันที เช่น สะบัดหน้าหนี.
【 สะบั้น 】แปลว่า: ว. อาการที่แยกหรือขาดจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น
สัมพันธภาพขาดสะบั้น ความรักขาดสะบั้น, โดยปริยาย
หมายความว่า อย่างยิ่ง, อย่างมาก, เช่น กินสะบั้น.
【 สะบั้นหั่นแหลก 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น โกงสะบั้นหั่นแหลก บู๊สะบั้นหั่นแหลก.
【 สะบันงา 】แปลว่า: /ดู กระดังงา./
【 สะบันงาจีน 】แปลว่า: /ดู กระดังงาจีน ที่ กระดังงา./
【 สะบันงาต้น 】แปลว่า: / ดู กระดังงา./
【 สะบ้า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Entada rheedii/ Spreng. ในวงศ์
Leguminosae ฝักมีเมล็ดกลมแบนแข็ง เรียกว่า ลูกสะบ้า
ใช้ขัดสมุดไทยและทํายาได้, สะบ้ามอญ ก็เรียก; ชื่อการเล่น
ชนิดหนึ่ง ใช้ลูกสะบ้าหรือของกลม ๆ อย่างงบนํ้าอ้อยล้อหรือ
ทอยเป็นต้น.
【 b>สะบ้าหัวเข่า 】แปลว่า: น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็น
ยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง
ประกอบเป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, ลูกสะบ้า ก็ว่า.
【 สะบ้ามอญ 】แปลว่า: /ดู สะบ้า./
【 สะบู 】แปลว่า: น. ดอกไม้ (?) เช่น ถนัดดั่งสะบูบังใบ แม่เร้น. (กําสรวล).
【 สะแบง ๑ 】แปลว่า: /ดู กราด ๔./
【 สะแบง ๒ 】แปลว่า: ก. สะพาย, ตระแบง ก็ว่า.
【 สะเปะสะปะ 】แปลว่า: ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น
คนเมาเดินสะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขา
ก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อย
ไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
【 สะพรัก 】แปลว่า: ว. พร้อม.
【 สะพรั่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่สิ่งอย่างเดียวกันจำนวนมากปรากฏพร้อม ๆ กัน
เช่น ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง มะม่วงออกช่อสะพรั่ง เขามี
ลูกสาว ๓ คน กำลังเป็นสาวสะพรั่ง.
【 สะพรึงกลัว 】แปลว่า: ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน
น่าสะพรึงกลัว.
【 สะพรึบ, สะพรึ่บ, สะพรึบพร้อม, สะพรึ่บพร้อม 】แปลว่า: ว. พร้อมพรั่งอยู่มากมายอย่างเต็มที่ เช่น
【 พากันมาพร้อม 】แปลว่า:
สะพรึบ มากันสะพรึบพร้อม.
【 สะพัก 】แปลว่า: น. ผ้าห่มเฉียงบ่า ราชาศัพท์ใช้ว่า ผ้าทรงสะพัก. ก. ห่มผ้า,
ห่มคลุม, เช่น สะพักพระถันปทุเมศ. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
【 สะพัง 】แปลว่า: น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตะพัง ตระพัง หรือ กระพัง ก็ว่า. (เทียบ
ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
【 สะพัด ๑ 】แปลว่า: ก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ.
(ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้า
ไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.
【 สะพัด ๒ 】แปลว่า: (วรรณ) ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็
สะพัดสามรอบ. (ลอ), กระพัด ก็ว่า.
【 สะพั้น 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการ
ชักมือเท้ากํา ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะ
ผิดอากาศเป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.
【 สะพาน 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง เป็นต้น บางที
ทํายื่นลงในนํ้าสําหรับขึ้นลง, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับ
รับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความ
ว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จัก
กับพี่สาว, ตะพาน ก็ว่า.
【 สะพานแขวน 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างแขวนไว้กับโซ่หรือสายลวด ไม่ใช้เสา
รับนํ้าหนักสะพาน แต่อาจมีเสาคํ้าสายลวดให้สูงตํ่า
ตามต้องการ.
【 สะพานชัก 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างให้ยกเก็บได้เมื่อไม่ต้องการใช้.
【 สะพานช้าง 】แปลว่า: น. สะพานที่ทำแข็งแรงสำหรับให้ช้างข้ามในสมัยโบราณ,
ตะพานช้าง ก็ว่า.
【 สะพานเชือก 】แปลว่า: น. สะพานชั่วคราวที่ทําด้วยเชือกสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง.
【 สะพานเดินเรือ 】แปลว่า: น. พื้นที่ยกสูงขึ้นจากดาดฟ้าเรือ สําหรับนายเรือหรือ
นายยามเรือเดิน หรือสําหรับต้นหน กัปตันเรือ หรือผู้บังคับการเรือ
ควบคุมและสั่งการเกี่ยวกับการนําเรือในน่านนํ้าให้ปลอดภัย, (โบ)
สะพานเดินเรือใช้เป็นหอบังคับการด้วย.
【 สะพานทุ่น 】แปลว่า: น. สะพานชั่วคราวที่ใช้ทุ่นรองไม้กระดานเป็นต้นสําหรับ
ข้ามแม่นํ้าลําคลอง.
【 สะพานเบี่ยง 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างขึ้นใช้ชั่วคราวโดยเบี่ยงจากสะพาน
ที่กําลังสร้างหรือซ่อมอยู่.
【 สะพานปลา 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างทอดยาวออกไปในนํ้า ใช้เป็นท่าเทียบ
เรือประมงเพื่อขนปลาเป็นต้นขึ้นจากเรือ.
【 สะพานโป๊ะ 】แปลว่า: น. สะพานที่ทอดจากฝั่งไปที่โป๊ะเรือ ทำด้วยไม้กระดาน
เป็นต้น มีไม้ตอกประกับทางด้านขวางสำหรับเดิน.
【 สะพานไฟ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ไฟฟ้าคล้ายสวิตช์ สําหรับตัดกระแสไฟฟ้า
จากวงจร, (ปาก) สวิตช์ขนาดใหญ่.
【 สะพานเรือก 】แปลว่า: น. สะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวาย
หรือเชือก.
【 สะพานลอย 】แปลว่า: น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น
ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง
กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย
สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้
รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
【 สะพานเสี้ยว 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างให้ปลายโค้งเลี้ยวไปทางขวาหรือซ้าย.
【 สะพานหก 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างให้ส่วนหนึ่งยกขึ้นได้เพื่อเปิดทางให้เรือ
แล่นผ่าน.
【 สะพานหนู 】แปลว่า: น. ไม้กระดานเล็กตรึงทับบนไม้เชิงกลอน, ตะพานหนู ก็ว่า.
【 สะพานหัน 】แปลว่า: น. สะพานที่สร้างให้บางส่วนหันเบนออกไปทางซ้ายหรือขวา
เพื่อปิดทางให้เรือแล่นผ่าน.
【 สะพาย 】แปลว่า: น. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น สะพายย่าม สะพายกระเป๋า, ตะพาย ก็ว่า.
【 สะพายเฉียง 】แปลว่า: ก. ห่มเฉียงบ่า.
【 สะพายแล่ง 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.
【 สะเพร่า 】แปลว่า: [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน,
ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า
ไม่สะอาด.
【 สะโพก 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง
๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคน
ขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.
【 สะเภา ๑ 】แปลว่า: น. เรือสําเภา, ตะเภา ก็เรียก.
【 สะเภา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพพสุ มี ๓ ดวง, ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง
ดาวยามเกา ดาวตาเรือชัย หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก.
【 สะใภ้ 】แปลว่า: น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ
ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
【 สะโมง 】แปลว่า: /ดู กระแตไต่ไม้ ๒./
【 สะระตะ 】แปลว่า: (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น
ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ
เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
【 สะระแหน่ 】แปลว่า: [แหฺน่] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Mentha cordifolia/ Opiz ในวงศ์ Labiatae
ใบมีกลิ่นฉุน กินได้.
【 สะละปะตุ่น 】แปลว่า: (โบ) น. ไหมชนิดหนึ่ง.
【 สะลาง 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง./
【 สะลาบ 】แปลว่า: น. ผิวของพิมพ์หล่อพระที่แตกออกเป็นกาบเล็ก ๆ เมื่อความร้อน
ลดลงกะทันหัน.
【 สะลึมสะลือ 】แปลว่า: ว. ครึ่งหลับครึ่งตื่นหรืองัวเงียเพราะเมาหรือง่วง เช่น พอเมาได้ที่ก็นั่ง
สะลึมสะลือ เมื่อคืนนอนดึก ตื่นขึ้นมาเลยสะลึมสะลือ.
【 สะวี้ดสะว้าด 】แปลว่า: (ปาก) ว. รวดเร็ว, ฉวัดเฉวียน, เช่น ขับรถสะวี้ดสะว้าด; ฉูดฉาด,
นำสมัยแบบโลดโผน, เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรแต่งตัวสะวี้ดสะว้าด.
【 สะสม 】แปลว่า: ก. สั่งสม, รวบรวมให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ, เช่น เขาสะสมนาฬิกาเป็น
งานอดิเรก.
【 สะสวย 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ
แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.
【 สะสาง 】แปลว่า: ก. ทําเรื่องที่มีปัญหาหรือสิ่งที่สะสมหมักหมมอยู่ให้เสร็จสิ้นไป เช่น
สะสางงานที่คั่งค้าง สะสางคดี.
【 สะเหล่อ 】แปลว่า: ว. ทั้งเซ่อและเล่อ, ทั้งเซ่อซ่าและเล่อล่า.
【 สะอาง 】แปลว่า: ว. งามสะอาดหมดจด เช่น สาวสะอาง สวยสะอาง สะอางองค์.
【 สะอาด 】แปลว่า: ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด,
ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น
คนใจซื่อมือสะอาด.
【 สะอาดสะอ้าน 】แปลว่า: ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน.
【 สะอ้าน 】แปลว่า: ว. หมดจด, สะอาด, มักใช้เข้าคู่กับคํา สะอาด เป็น สะอาดสะอ้าน.
【 สะอิ้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินเอวอ่อนไปอ่อนมา เช่น เดินสะอิ้ง. น. สายรัดเอว เป็น
เครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะเอ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่ แอ้ง ว่า เอว).
【 สะอิดสะเอียน 】แปลว่า: ก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่
เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน
เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.
【 สะอึก 】แปลว่า: ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง
ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า
ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
【 สะอึกเข้าใส่ 】แปลว่า: ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย
ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
【 สะอึกสะอื้น 】แปลว่า: ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลังจากหยุด
ร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียงสะอื้น
เป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
【 สะอื้น 】แปลว่า: ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจ
เป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.
【 สะเอ้ง ๑ 】แปลว่า: น. สายรัดเอว เป็นเครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะอิ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่
แอ้ง ว่า เอว).
【 สะเอ้ง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Pternandra caerulescens/ Jack ในวงศ์
Melastomataceae ใบมีเส้นตามยาว ๓ เส้น ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน.
【 สะเอว 】แปลว่า: น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง
๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ เอว ก็ว่า.
【 สะเออะ ๑ 】แปลว่า: ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี
หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้า
พูดเป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็
สะเออะรายงาน.
【 สะเออะ ๒ 】แปลว่า: น. เรียกนํ้าที่ได้จากเนื้อสัตว์สดเช่นกุ้ง เนื้อที่คั้นกับนํ้ามะนาว
ตั้งไฟให้สุก ใช้ปรุงรส ว่า นํ้าสะเออะ.
【 สะโอดสะอง 】แปลว่า: ว. งามอย่างมีรูปร่างระหง เช่น นางแบบคนนี้รูปร่างสะโอดสะอง.
【 สะไอ 】แปลว่า: น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีสะไอจวนจะบูด
แล้ว, กระไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็น
สะไอ, กระไอ ก็ว่า.
【 สัก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Tectona grandis/ L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็ง
และคงทน ปลวกไม่กิน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทําเครื่องเรือน
ใบและเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
【 สักขี้ไก่ 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกะเปียด. /(ดู กะเปียด)./
【 สัก ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้ตึง, ทําให้แน่น, เช่น สักว่าว สักที่นอน.
【 สักที่นอน 】แปลว่า: ก. เย็บกรึงที่นอนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นุ่นเป็นต้นอยู่คงที่
ไม่เลื่อนไปเลื่อนมา.
【 สักว่าว 】แปลว่า: ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็น
ตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.
【 สัก ๓ 】แปลว่า: ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น
สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้
เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย
หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สัก
นํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนัง
เพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็น
ชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็น
ผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
【 สักกระหม่อม 】แปลว่า: ก. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงลงกลางศีรษะให้เป็น
อักขระหรือเครื่องหมาย.
【 สักหมาย 】แปลว่า: (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ใน
หมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว.
(ตราสามดวง).
【 สัก ๔ 】แปลว่า: ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน.
【 สักแต่ว่า, สักว่า 】แปลว่า: ว. เพียงแต่ว่า…เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมีขี้ผงอยู่เลย
สักว่าทำพอให้พ้นตัว.
【 สักกะ ๑ 】แปลว่า: (แบบ) น. พระอินทร์. (ป.; ส. ศกฺร).
【 สักกะ ๒, สักยะ 】แปลว่า: น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์, ศากยะ ก็ว่า.
(ป.; ส. ศากฺย). /(ดู ศากย, ศากยะ)./
【 สักกัจจะ 】แปลว่า: ว. ด้วยความเคารพ. (ป.).
【 สักกาย 】แปลว่า: [กายะ] น. กายของตน. (ป.; ส. สฺวกาย).
【 สักกายทิฐิ 】แปลว่า: น. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ??).
【 สักการ, สักการะ 】แปลว่า: [การะ] ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน,
บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
【 สักขรา 】แปลว่า: [ขะรา] น. นํ้าตาล, นํ้าตาลกรวด. (ป.; ส. ศฺรกรา).
【 สักขี ๑ 】แปลว่า: น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง, มักใช้เข้าคู่กับคํา พยาน
เป็นสักขีพยาน. (ป.; ส. สากฺษี).
【 สักขีพยาน 】แปลว่า: น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง.
【 สักขี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด/ Dalbergia candenatensis/ Prain
ในวงศ์ Leguminosae แก่นแดง มีเสี้ยนดํา ใช้ทํายาได้, กรักขี
หรือ ขรี ก็เรียก.
【 สักฏะ, สักตะ 】แปลว่า: สักกะตะ น. ภาษาสันสกฤต. (ป. สกฺกฏ, สกฺกต).
【 สักวา 】แปลว่า: [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา
“สักวา” และลงท้ายด้วยคํา “เอย”, ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น
ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
【 สักหลาด 】แปลว่า: [สักกะหฺลาด] น. ผ้าทําด้วยขนสัตว์. (ฮินดูสตานี sakalet).
【 สัขยะ 】แปลว่า: สักขะยะ น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
【 สัค, สัคคะ 】แปลว่า: น. สวรรค์. (ป.; ส. สฺวรฺค).
【 สัง 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ต้นมะสัง. /(ดู มะสัง)./
【 สั่ง ๑ 】แปลว่า: ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ
การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝน
สั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
【 สั่งลา 】แปลว่า: ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน
เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
【 สั่งสม 】แปลว่า: ก. สะสม, รวบรวมให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ, เช่น พระโพธิสัตว์
สั่งสมบารมี.
【 สั่งสอน 】แปลว่า: ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็นคนดี,
สอนสั่ง ก็ว่า.
【 สั่งเสีย 】แปลว่า: ก. เตือน, กําชับ, บอกให้เข้าใจ, เช่น พอแม่จะออกจากบ้านก็สั่งเสีย
ลูกให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป,
บอกเป็นการอำลา, เช่น เขาตายโดยไม่ได้สั่งเสียลูกเมีย.
【 สั่ง ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้ลมดันนํ้ามูกออกจากจมูกโดยแรง ในคำว่า สั่งน้ำมูก.
【 สังกมทรัพย์ 】แปลว่า: [สังกะมะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของ
อื่นอันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ
อสังกมทรัพย์.
【 สังกร 】แปลว่า: [กอน] น. ความปะปน, ความคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
【 สังกรณี 】แปลว่า: [กะระนี, กอระนี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Barleria strigosa/ Willd.
ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้า รากใช้ทํายาได้.
【 สังกรประโยค 】แปลว่า: [สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยค
เล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความ
สำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบ
ประโยคหลัก.
【 สังกะตัง 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ติดแน่นเป็นปมเหนียวที่ผมหรือขนสัตว์สางไม่ออก เช่น
ผมเป็นสังกะตัง.
【 สังกะวัง 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Pangasius polyuranodon/ ในวงศ์
Schilbeidae ลักษณะรูปร่างคล้ายปลาสวาย หนวดยาว
ถึงหรือเลยครีบอก ขนาดโตได้ถึง ๕๒ เซนติเมตร.
【 สังกะวาด 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล /Pangasius/ วงศ์ Schilbeidae
ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น
สังกะวาดท้องโต (/P. micronemus/) สังกะวาดเหลือง (/P. siamensis/).
【 สังกะสี 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาวแกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น
นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม.
(อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่าง
ลูกฟูก ใช้มุงหลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
【 สังกัด 】แปลว่า: ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.
น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษา
อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็น
หลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็น
หลักแหล่ง หมายถึงคนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
【 สังกัปปะ 】แปลว่า: น. ความดําริ. (ป.).
【 สังกา 】แปลว่า: น. สงกา. (ป.).
【 สังการ 】แปลว่า: (แบบ) น. หยากเยื่อ, ขยะกุมฝอย. (ป.).
【 สังกาศ 】แปลว่า: ว. คล้าย, เหมือน, เปรียบ. (ส.).
【 สังกิเลส 】แปลว่า: น. เครื่องทําให้ใจเศร้าหมอง. (ป.).
【 สังเกต 】แปลว่า: ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู,
จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง
เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
【 สังเกตการณ์ 】แปลว่า: ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียก
ผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
【 สังข, สังข์ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ
(/Turbinella pyrum/) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำ
พระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (/Chalonia tritonis/)
เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
ตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).
【 สังขกร 】แปลว่า: [สังขะกอน] น. ผู้มีสังข์อยู่ในมือคือ พระนารายณ์. (ป.).
【 สังขต, สังขตะ 】แปลว่า: [ขะตะ] ว. ที่ปรุงแต่งขึ้น (ใช้ในทางศาสนา). (ป.).
【 สังขตธรรม 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).
【 สังขยา ๑ 】แปลว่า: [ขะหฺยา] น. การนับ, การคํานวณ. (ป. สงฺขฺยา; ส. สํขฺยา).
【 สังขยา ๒ 】แปลว่า: [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ
กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่
น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ
กินกับขนมปัง.
【 สังขลิก, สังขลิกา 】แปลว่า: [ขะลิก, ขะลิกา] น. เครื่องจองจํา, โซ่ตรวน. (ป.).
【 สังขาร, สังขาร 】แปลว่า: [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้น
เป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง;
ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
(ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
【 สังขารธรรม 】แปลว่า: [สังขาระ] น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง.
【 สังขารโลก 】แปลว่า: [สังขานระ] น. ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวง. (ป.).
【 สังขารา 】แปลว่า: น. ชื่อทำนองเพลงไทย ใช้ขับร้องในการเล่นหุ่นกระบอก.
【 สังเขป 】แปลว่า: น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
【 สังโขภ 】แปลว่า: โขบ น. ความปั่นป่วน เช่น ธาตุสังโขภ ว่า ความปั่นป่วน
แห่งธาตุ. (ป.; ส. สํโกฺษภ).
【 สังค, สังค์ 】แปลว่า: [สังคะ, สัง] น. ความข้องอยู่, การติดอยู่. (ป.; ส. สํค).
【 สังคญาติ 】แปลว่า: (ปาก) น. บรรดาญาติ, ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน, เช่น คนทั้งหมู่บ้าน
ล้วนเป็นสังคญาติกันทั้งนั้น.
【 สังคม, สังคม 】แปลว่า: [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ
กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ
หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ
การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
【 สังคมนิยม 】แปลว่า: [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มีหลักการให้
รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจําแนก
แจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
【 สังคมวิทยา 】แปลว่า: [สังคมมะ, สังคม] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.
【 สังคมศาสตร์ 】แปลว่า: [สังคมมะ, สังคม] น. ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับสังคม มีหมวด
ใหญ่ ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับสังคม) มานุษยวิทยา สังคม
วิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยาสังคม.
【 สังคมศึกษา 】แปลว่า: [สังคมมะ, สังคม] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.
【 สังคมสงเคราะห์ 】แปลว่า: [สังคมสงเคฺราะ] น. การดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือบุคคลให้
สามารถช่วยตนเองได้.
【 สังคหะ 】แปลว่า: (แบบ) น. การรวบรวม; การย่อ; ความเกื้อกูล, ความเอื้อเฟื้อ;
การสงเคราะห์. (ป.; ส. สํคฺรห).
【 สังคัง 】แปลว่า: (ปาก) น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา (/Epidermophyton/
/floccosum/) บางรายเกิดจากเชื้อราในสกุล Trichophyton เกิดที่ถุงอัณฑะ
ลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด มีอาการคันมาก.
【 สังคาตา 】แปลว่า: น. พ่อ. (ช.).
【 สังคายนา, สังคายนาย 】แปลว่า: [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ
เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก)
ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
【 สังคีต 】แปลว่า: [คีด] น. การร้องรําทําเพลง เช่น สังคีตศิลป์. (ป.; ส. สํคีต).
【 สังคีติ 】แปลว่า: น. สังคายนา, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุม
ชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ป.).
【 สังเค็ด 】แปลว่า: น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์
หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
【 สังเคราะห์ 】แปลว่า: (เคมี) ก. ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ, ทําให้สาร
ประกอบมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบอื่น. ว. ที่สร้างขึ้นโดย
กรรมวิธีทางเคมี เช่น ใยสังเคราะห์. (อ. synthesise).
【 สังฆ 】แปลว่า: [สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
【 สังฆกรรม 】แปลว่า: [สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทําภายใน
สีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ;
ป. สงฺฆกมฺม).
【 สังฆการี 】แปลว่า: น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
【 สังฆเถระ 】แปลว่า: น. ภิกษุผู้เป็นใหญ่ในพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ๆ, ภิกษุผู้เป็นประธาน
ในที่ประชุมสงฆ์. (ป.).
【 สังฆทาน 】แปลว่า: น. ทานที่ทายกถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุโดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง,
คู่กับ บุคลิกทาน. (ป.).
【 สังฆนายก 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
【 สังฆปาโมกข์ 】แปลว่า: น. หัวหน้าสงฆ์. (ป.).
【 สังฆภัต 】แปลว่า: น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติ
ทายกนําอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทําอปโลกนกรรม
แบ่งกัน. (ป.).
【 สังฆเภท 】แปลว่า: [เพด] น. การที่ภิกษุทําให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็น
อนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).
【 สังฆมณฑล 】แปลว่า: [มนทน] น. วงการคณะสงฆ์.
【 สังฆมนตรี 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การของ
คณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
【 สังฆราช 】แปลว่า: [ราด] น. ตําแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล. (ป.).
【 สังฆสภา 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
【 สังฆาณัติ 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช
ทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ
พระสังฆราช. (ป.).
【 สังฆาทิเสส 】แปลว่า: [เสด] น. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก. (ป.).
【 สังฆาธิการ 】แปลว่า: น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่
ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส
เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
【 สังฆานุสติ 】แปลว่า: น. การระลึกถึงคุณพระสงฆ์ เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง. (ป.).
【 สังฆาวาส 】แปลว่า: น. บริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ประกอบด้วยกุฏิ หอฉัน
ศาลาการเปรียญ เป็นต้น.
【 สังฆาฏิ 】แปลว่า: น. ผ้าคลุมกันหนาวที่ภิกษุใช้ทาบบนจีวร ตามปรกติใช้พับพาด
บ่าซ้ายในพิธีสงฆ์. (ป.; ส. สํฆาฏิ).
【 สังฆาณัติ 】แปลว่า: /ดู สังฆ./
【 สังฆาทิเสส 】แปลว่า: /ดู สังฆ./
【 สังฆาธิการ 】แปลว่า: /ดู สังฆ./
【 สังฆานุสติ 】แปลว่า: /ดู สังฆ./
【 สังฆาวาส 】แปลว่า: /ดู สังฆ./
【 สังปะติแหงะ, สังปะลิเหงะ 】แปลว่า: [แหฺงะ, เหฺงะ] น. ฤษี. (ช.).
【 สังยุตนิกาย 】แปลว่า: [สังยุดตะ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า
หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
【 สังโยค 】แปลว่า: น. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ
๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะ
ที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ?.
(ป. สํโยค, สญฺโ?ค; ส. สํโยค).
【 สังโยชน์ 】แปลว่า: น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร
มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น
ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
【 สังวร 】แปลว่า: [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม,
เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส
หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร
ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติ
ผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
【 สังวัจฉระ 】แปลว่า: [วัดฉะระ] น. ปี. (ป. สํวจฺฉร; ส. สํวตฺสร).
【 สังวัธยาย 】แปลว่า: [วัดทะ] ก. ท่องบ่น, อ่านดัง ๆ เพื่อให้จําได้, สวดท่องให้จําได้.
(ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
【 สังวาล 】แปลว่า: น. สร้อยเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้คล้องเฉวียงบ่า. (ป. เสวาล;
ส. เศวาล, ไศวาล ว่าสาหร่าย).
【 สังวาลพราหมณ์ 】แปลว่า: น. สายธุรําของพราหมณ์.
【 สังวาส 】แปลว่า: น. การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน; การร่วมประเวณี. ก. ร่วม
ประเวณี, มักใช้ว่า ร่วมสังวาส หรือ เสพสังวาส. (ป., ส. สํวาส).
【 สังเวคะ 】แปลว่า: น. ความสลด. (ป., ส. สํเวค).
【 สังเวช, สังเวช 】แปลว่า: [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา
หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่
เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว
สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง
ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
【 สังเวชนียสถาน 】แปลว่า: [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ
ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่
ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา
ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ
ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ
ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
【 สังเวย 】แปลว่า: ก. บวงสรวง, เซ่นสรวง, เช่น สังเวยเทวดา.
【 สังเวียน ๑ 】แปลว่า: น. คอกหรือวงล้อมสําหรับชนไก่เป็นต้น; ที่ต่อสู้ เช่น สังเวียนมวย.
【 สังเวียน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
【 สังสกฤต 】แปลว่า: [สะกฺริด] น. สันสกฤต.
【 สังสการ 】แปลว่า: สะกาน น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า เช่น
รุดเร่งส่งสการ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. สํสการ).
【 สังสดมภ์ 】แปลว่า: น. ความแข็งทื่อ, การต้านทาน; เครื่องคํ้าจุน. (ส. สํสฺตมฺภ).
【 สังสนทนา, สั่งสนทนา 】แปลว่า: ก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. (ป. สํสนฺทนา
ว่า การเทียบเคียงกัน).
【 สังสรรค์ 】แปลว่า: ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน
สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน
ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ
สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
【 สังสารวัฏ 】แปลว่า: [สาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า.
(ป. สํสารวฏฺฏ).
【 สังสิทธิ 】แปลว่า: [สิดทิ] น. ความสําเร็จ, ความเรียบร้อย, ความดีเลิศ; ผลสุดท้าย.
(ส. สํสิทฺธิ).
【 สังสุทธ์, สังสุทธิ 】แปลว่า: [สุด, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด; การชําระ, การล้าง.
(ส. สํศุทฺธ, สํศุทฺธิ).
【 สังหร, สังหรณ์ 】แปลว่า: [หอน] ก. รู้สึกคล้ายมีอะไรมาดลใจ ทําให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น (มักใช้
แก่เหตุร้าย) เช่น สังหรณ์ว่าจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นที่บ้าน. (เทียบ ส. สํหรณ
ว่า ยึดไว้).
【 สังหรรษ 】แปลว่า: [หัด] น. ความเต็มตื้นด้วยความยินดี, ความปีติยินดี; ความเสียวซ่าน.
(ส. สํหรฺษ).
【 สังหาร 】แปลว่า: [หาน] ก. ฆ่า, ผลาญชีวิต. (ส.).
【 สังหาริมทรัพย์, สังหาริมะ 】แปลว่า: [หาริมะ, หาริมมะ] น. ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้,
คู่กับอสังหาริมทรัพย์; (กฎ) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์
และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.
【 สังหิต 】แปลว่า: ก. รวมไว้, ผูกหรือติดเข้าด้วยกัน. (ส. สํหิต).
【 สัจ, สัจ, สัจจะ 】แปลว่า: [สัด, สัดจะ] น. ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมี
สัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).
【 สัจกิริยา 】แปลว่า: [สัดจะ] น. การตั้งความสัตย์.
【 สัจญาณ 】แปลว่า: [สัดจะ] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนา
ประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจ?าณ).
【 สัจธรรม 】แปลว่า: [สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึงสัจธรรม.
【 สัจนิยม 】แปลว่า: สัดจะ น. คตินิยมในการสร้างสรรค์
วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง;
(ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียว
กับจิตและมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).
【 สัจพจน์ 】แปลว่า: [สัดจะ] น. ข้อความที่ยอมรับในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์. (อ. postulate, axiom).
【 สัชฌ, สัชฌะ, สัชฌุ 】แปลว่า: น. เงิน. (ป.).
【 สัชฌกร, สัชฌการ, สัชฌุกร, สัชฌุการ 】แปลว่า: น. ช่างเงิน. (ป.).
【 สัชฌายะ 】แปลว่า: ก. สังวัธยาย. (ป.; ส. สฺวาธฺยาย).
【 สัญจร 】แปลว่า: [จอน] ก. ผ่านไปมา เช่น ทางสัญจร. น. ช่องทาง, ถนน; การผ่าน
ไปมา. (ป., ส.).
【 สัญจรโรค 】แปลว่า: น. กามโรค. ว. เรียกหญิงโสเภณีว่า หญิงสัญจรโรค.
【 สัญจาระ 】แปลว่า: [ระ] น. การเดินไป, การเที่ยวไป. (ป., ส.).
【 สัญเจตนา 】แปลว่า: [เจดตะนา] น. ความตั้งใจ, ความจงใจ.
【 สัญชาต 】แปลว่า: [ชาตะ, ชาดตะ] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.).
【 สัญชาตญาณ 】แปลว่า: [ชาดตะ] น. ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิดของคนและสัตว์ทําให้มี
ความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น
สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่,
สัญชาตเวค ก็ว่า. (อ. instinct).
【 สัญชาติ 】แปลว่า: [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ
ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย
หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก
ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม
กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของประเทศ
ใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
【 สัญฌา 】แปลว่า: น. เวลาเย็น. (ป.; ส. สนฺธฺยา).
【 สัญญา 】แปลว่า: น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทํา
การหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น
เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ
ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
【 สัญญาบัตร 】แปลว่า: น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง
เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตรพระครู
สัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
【 สัญญาประกันชีวิต 】แปลว่า: (กฎ) /ดู ประกันชีวิต./
【 สัญญาประกันภัย 】แปลว่า: (กฎ) /ดู ประกันภัย./
【 สัญญาวิปลาส 】แปลว่า: ว. มีสติฟั่นเฟือนคล้ายคนบ้า, สติวิปลาส ก็ว่า. (ป. สญฺ?าวิปลฺลาส).
【 สัญญาณ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่
ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่
บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น
สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
【 สัญญาณจราจร 】แปลว่า: (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ
แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า
หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
【 สัญญี 】แปลว่า: ว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจําได้. (ป.).
【 สัญโญชน์ 】แปลว่า: น. สังโยชน์. (ป.).
【 สัญนิยม 】แปลว่า: [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม
สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย
การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน.
(อ. convention).
【 สัญประกาศ 】แปลว่า: [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา
หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้
ก็เรียก.
【 สัญโยค 】แปลว่า: น. สังโยค. (ป.).
【 สัญลักษณ์ 】แปลว่า: [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง
เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ
ไฮโดรเจน + – x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์.
(อ. symbol).
【 สัฐิ 】แปลว่า: [สัดถิ] ว. หกสิบ. (ป. สฏฺ??; ส. ษษฺฏิ).
【 สัณฐาน 】แปลว่า: น. รูปทรง, ลักษณะ, เช่น ป้อมปราการมีสัณฐานแปดเหลี่ยม โลกมี
สัณฐานกลมอย่างผลส้ม. (ป.; ส. สํสฺถาน).
【 สัณฐิติ 】แปลว่า: น. ความตั้งมั่น. (ป.; ส. สํสฺถิติ).
【 สัณฑ์ 】แปลว่า: น. สณฑ์. (ป.; ส. ษณฺฑ).
【 สัณห์ 】แปลว่า: ว. เกลี้ยงเกลา; อ่อน, นุ่ม; นุ่มนวล, สุภาพ; งาม, ละมุนละม่อม,
ละเอียด. (ป.; ส. ศฺลกฺษฺณ).
【 สัด ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว;
เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก
ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ
๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
【 สัดส่วน 】แปลว่า: น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการผสม
ปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน
๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า
อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของ
ปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐
บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม ๒
กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม :
๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
【 สัด ๒ 】แปลว่า: ก. ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่สัตว์).
【 สัดจอง 】แปลว่า: น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, จัดจอง ก็ว่า. (ข.).
【 สัต ๑, สัต ๑ 】แปลว่า: [สัด, สัดตะ] ว. ดี, งาม; น่านับถือ. (ส.).
【 สัตการ 】แปลว่า: น. การยกย่อง, การนับถือ; การรับรอง. (ส.).
【 สัตบถ 】แปลว่า: น. ทางที่ถูก, คติที่ชอบ. (ส.).
【 สัตบุรุษ 】แปลว่า: [สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม
ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).
【 สัต ๒, สัต ๒, สัตตะ ๑ 】แปลว่า: [สัด, สัดตะ] ว. เจ็ด. (ป. สตฺต; ส. สปฺต).
【 สัตตาห 】แปลว่า: น. เจ็ดวัน.
【 สัตตาหกรณียะ 】แปลว่า: [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุ
ให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน
๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้
หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
【 สัตตาหกาลิก 】แปลว่า: น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ
เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).
【 สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ 】แปลว่า: [สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขา
พระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ
ชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร
กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้น
มีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).
【 สัตภัณฑ์ ๒ 】แปลว่า: [พัน] น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วติดไม้
กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลง
มาคล้ายกรอบหน้าบัน.
【 สัตม 】แปลว่า: ว. ที่ ๗. (ป. สตฺตม).
【 สัตมวาร 】แปลว่า: [สัดตะมะวาน] น. วันที่ครบ ๗, วันทำบุญครบ ๗ วันของผู้ตาย.
【 สัตมหาสถาน 】แปลว่า: [สัดตะมะหาสะถาน] น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าเสวย
วิมุติสุขภายหลังตรัสรู้.
【 สัตโลหะ 】แปลว่า: [สัดตะ] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑
และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ
เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียว
เป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด
คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ.
(ตำราสร้างพระพุทธรูป).
【 สัตวาร 】แปลว่า: น. สัปดาห์หนึ่ง, ๗ วัน. (ป. สตฺตวาร).
【 สัตสดก 】แปลว่า: [สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหาทาน
เป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).
【 สัตตบงกช 】แปลว่า: [สัดตะบงกด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).
【 สัตตบรรณ 】แปลว่า: [สัดตะบัน] น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).
【 สัตตบุษย์ 】แปลว่า: [สัดตะบุด] น. (๑) ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. /(ดู บัว)./ (๒) เทียนสัตตบุษย์.
/(ดู เทียนสัตตบุษย์ ที่ เทียน ๓)./
【 สัตตะ ๒ 】แปลว่า: ก. ข้องอยู่, ติดอยู่, พัวพัน. น. สัตว์. (ป.).
【 สัตตาห 】แปลว่า: /ดู สัต ๒, สัต ๒, สัตตะ ๑./
【 สัตตาหกาลิก 】แปลว่า: /ดู สัต ๒, สัต ๒, สัตตะ ๑./
【 สัตตู 】แปลว่า: น. ข้าวตู. (ป. สตฺตุ; ส. สกฺตุ).
【 สัตถ ๑ 】แปลว่า: สัดถะ น. คัมภีร์, ตํารา. (ป.; ส. ศาสฺตฺร).
【 สัตถ ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. เกวียน. (ป.; ส. สารฺถ).
【 สัตถ ๓ 】แปลว่า: (แบบ) น. อาวุธ, มีด, หอก. (ป.; ส. ศสฺตฺร).
【 สัตถันดร, สัตถันดรกัป 】แปลว่า: [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคน
เสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง
เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดร
พึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
【 สัตถา 】แปลว่า: (แบบ) น. ครู, ผู้สอน. (ป.; ส. ศาสฺตฺฤ).
【 สัตถิ 】แปลว่า: (แบบ) น. ขา. (ป.; ส. สกฺถิ).
【 สัตถุ 】แปลว่า: น. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).
【 สัตถุศาสนา 】แปลว่า: น. คําสั่งสอนของพระศาสดา คือพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศาสฺตฺฤ).
【 สัตบรรณ 】แปลว่า: [สัดตะ] ดู ตีนเป็ด. (ป. สตฺตปณฺณ; ส. สปฺตปรฺณ).
【 สัตย, สัตย์ 】แปลว่า: [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น
เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์,
มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
【 สัตยพรต 】แปลว่า: น. การถือคํามั่นสัญญา. (ส. สตฺย + วฺรต).
【 สัตยวาที 】แปลว่า: น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน
สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
【 สัตยาเคราะห์ 】แปลว่า: น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคําสั่งที่ไม่ยุติธรรม แต่
ไม่ใช้วิธีรุนแรง. (ส. สตฺยาคฺรห).
【 สัตยาธิษฐาน 】แปลว่า: น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน
อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายใน
สากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
【 สัตยาบัน 】แปลว่า: น. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทํา
ขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรมนั้น
สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย +
อาปนฺน).
【 สัตยาเคราะห์ 】แปลว่า: /ดู สัตย, สัตย์./
【 สัตยาธิษฐาน 】แปลว่า: /ดู สัตย, สัตย์./
【 สัตยาบัน 】แปลว่า: /ดู สัตย, สัตย์./
【 สัตว, สัตว์ 】แปลว่า: [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก
มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น
สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
【 สัตวชาติ 】แปลว่า: น. สัตว์, หมู่สัตว์.
【 สัตวบาล 】แปลว่า: น. การเลี้ยงและดูแลสัตว์; ผู้เลี้ยงและดูแลสัตว์.
【 สัตวแพทย์ 】แปลว่า: น. หมอรักษาสัตว์.
【 สัตวโลก 】แปลว่า: น. หมู่สัตว์.
【 สัตววิทยา 】แปลว่า: น. วิทยาศาสตร์ชีวภาพสาขาหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องของสัตว์.
(อ. zoology).
【 สัตว์หิมพานต์ 】แปลว่า: [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ เช่น
คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี ใช้
บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
【 สัตวา 】แปลว่า: [สัดตะวา] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียว
เกือบเป็นสีคราม. (พจน. ๒๔๙๓).
【 สัทธรรม 】แปลว่า: [สัดทํา] น. คําสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสัทธรรม, ธรรม
ของสัตบุรุษหรือคนดี. (ส. สทฺธรฺม; ป. สทฺธมฺม).
【 สัทธา 】แปลว่า: น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.; ส. ศฺรทฺธา).
【 สัทธาจริต 】แปลว่า: ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคนสัทธาจริต
เชื่ออะไรง่าย. (ป.).
【 สัทธาธิกะ 】แปลว่า: น. ผู้ยิ่งด้วยศรัทธา. (ป.).
【 สัทธินทรีย์ 】แปลว่า: น. ความมีใจเชื่อ, ความเลื่อมใส. (ป.).
【 สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก 】แปลว่า: น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์
องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ
อุปัชฌาย์). (ป.).
【 สัทธินทรีย์ 】แปลว่า: /ดู สัทธา./
【 สัทวิทยา 】แปลว่า: [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา
โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น.
(อ. phonology).
【 สัทศาสตร์ 】แปลว่า: [สัดทะ] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและ
การเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
【 สัทอักษร 】แปลว่า: [สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียง
ประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).
【 สัน ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น สันหลังคา สันหน้าแข้ง
ดั้งจมูกเป็นสัน; ส่วนหนาของมีดหรือขวานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคม.
【 สันเขา 】แปลว่า: น. ส่วนสูงของภูเขาที่ยาวเป็นทิวพืดไป.
【 สันดอน 】แปลว่า: น. ดินหรือกรวดทรายเป็นต้นซึ่งนํ้าพัดเอามารวมกัน ปรากฏ
นูนยาวอยู่ใต้นํ้า ทําให้สูงเป็นสันขึ้น, หลังเต่า ก็เรียก.
【 สันปันน้ำ 】แปลว่า: น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขา
หรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละด้าน
ของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ
ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
【 สันมือ 】แปลว่า: น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ.
【 สันหลัง 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกเป็นแนวนูนลงมา
ตลอดหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ตั้งมั่นของสิ่งใด ๆ.
【 สันหลังยาว 】แปลว่า: (สํา) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว
หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า.
【 สัน ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ) น. ปีวอก.
【 สั่น 】แปลว่า: ก. ไหวถี่ ๆ เช่น กลัวจนตัวสั่น หนาวจนคางสั่น, ทําให้ไหวถี่ ๆ เช่น
สั่นกระดิ่ง สั่นหัว.
【 สั่นงั่ก 】แปลว่า: ก. สั่นสะท้าน.
【 สั่นเทา 】แปลว่า: ก. สั่นรัว ๆ อย่างคนเป็นไข้.
【 สั่นเทิ้ม 】แปลว่า: ก. สั่นไปทั้งตัว.
【 สั้น 】แปลว่า: ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น
ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ
กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ,
มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน
เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
【 สันดาน ๑ 】แปลว่า: น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก)
มักใช้ไปในทางไม่สู้จะดี เช่น สันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไป
ถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).
【 สันดาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่งมีอาการให้จุกเสียดเรื้อรังอยู่เสมอ เรียกว่า
ลมสันดาน.
【 สันดาป 】แปลว่า: [ดาบ] น. ความเร่าร้อน, ความแผดเผา; การเผาไหม้; ชื่อนรกขุมหนึ่ง.
(ป., ส.).
【 สันเดก 】แปลว่า: (โบ) น. สันติกะ, สํานัก. (ป. สนฺติก).
【 สันโดษ 】แปลว่า: [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
สันโดษ. (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ;
ป. สนฺโตส).
【 สันต์ 】แปลว่า: ว. เงียบ, สงบ, สงัด. (ป.; ส. ศานฺต).
【 สันตติ 】แปลว่า: [ตะติ] น. ความสืบต่อ เช่น สืบสันตติวงศ์. (ป.; ส. สํตติ ว่า ลูกหลาน).
【 สันตะปาปา 】แปลว่า: น. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก, โป๊ป ก็เรียก.
【 สันตะวา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้นํ้าชนิด /Ottelia alismoides/ (L.) Pers. ในวงศ์
Hydrocharitaceae ใบบาง สีเขียวอมนํ้าตาล กินได้.
【 สันติ 】แปลว่า: น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).
【 สันติบาล 】แปลว่า: น. ผู้รักษาความสงบ.
【 สันติภาพ 】แปลว่า: น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกันรักษา
สันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
【 สันติวิธี 】แปลว่า: น. วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี.
【 สันติสุข 】แปลว่า: น. ความสุขที่เกิดจากความสงบ เช่น รัฐบาลบริหารประเทศ
เพื่อสันติสุขของประชาชน.
【 สันติกะ 】แปลว่า: น. สํานัก, ที่ใกล้. (ป.).
【 สันตุฏฐี 】แปลว่า: น. สันโดษ. (ป.; ส. สํตุษฺฏิ).
【 สันถระ 】แปลว่า: น. ที่นอน, เสื่อ. (ป.).
【 สันถว, สันถวะ 】แปลว่า: [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน;
ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
【 สันถวไมตรี 】แปลว่า: น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วยสันถวไมตรี
ทูตสันถวไมตรี.
【 สันถัต 】แปลว่า: น. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. (ป. สนฺถต ว่า ปูแล้ว, ลาดแล้ว).
【 สันถาร 】แปลว่า: น. การปูลาด; ที่ปูลาด, พื้น. (ป.; ส. สํสฺตาร).
【 สันทนะ 】แปลว่า: น. รถ, รถศึก. (ป.; ส. สฺยนฺทน).
【 สันทะ 】แปลว่า: ว. หนาทึบ. (ป.; ส. สานฺทฺร).
【 สันทัด 】แปลว่า: ก. ถนัด, จัดเจน, เช่น เรื่องนี้เขาไม่สันทัด เขาสันทัดในด้านคำนวณ.
ว. ปานกลาง, ไม่ใหญ่ไม่เล็ก, ไม่สูงไม่ตํ่า, (ใช้แก่รูปร่าง), เช่น รูปร่าง
สันทัด.
【 สันทัดกรณี 】แปลว่า: [สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้
สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
【 สันทัสนะ 】แปลว่า: [สันทัดสะนะ] น. การแสดง, การชี้แจง. (ป. สนฺทสฺสน).
【 สันทาน 】แปลว่า: น. สายป่าน, เชือก, เครื่องผูกพัน. (ป., ส.).
【 สันทิฐิก 】แปลว่า: สันทิดถิกะ ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง.
(ป. สนฺทิฏฺ??ก; ส. สานฺทฺฤษฺฏิก).
【 สันทิส 】แปลว่า: [ทิด] ก. สนทิศ. (ส. สํ + ทิศ).
【 สันเทส 】แปลว่า: [เทด] น. สนเทศ. (ป.).
【 สันเทหะ 】แปลว่า: น. สนเท่ห์. (ป., ส.).
【 สันธาน 】แปลว่า: น. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คําพวกที่เชื่อม
ประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง
น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).
【 สันนิธิ 】แปลว่า: น. การสะสม, การรวบรวม; ที่ใกล้, ที่ต่อหน้า. (ป., ส.).
【 สันนิบาต ๑ 】แปลว่า: น. การประชุม, ที่ประชุม, เช่น สังฆสันนิบาต สันนิบาตชาติ,
งานชุมนุม เช่น รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาล.
【 สันนิบาตเทศบาล 】แปลว่า: น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาลเมืองพัทยา
และกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือ
สนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มี
จุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
【 สันนิบาต ๒ 】แปลว่า: น. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต
เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).
【 สันนิวาส 】แปลว่า: น. ที่อยู่, ที่พัก; การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน. (ป., ส.).
【 สันนิเวส 】แปลว่า: น. การตระเตรียม, การตั้งลง. (ป.; ส. สนฺนิเวศ).
【 สันนิษฐาน 】แปลว่า: [นิด] ก. ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน. (ป. สนฺนิฏ?าน
ว่า ลงความเห็นในที่สุด).
【 สันพร้านางแอ 】แปลว่า: /ดู เฉียงพร้านางแอ./
【 สันพร้ามอญ 】แปลว่า: /ดู กระดูกไก่ดํา./
【 สันพร้าหอม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Eupatorium stoechadosmum/ Hance ในวงศ์
Compositae ใช้ทํายาได้.
【 สันรวง 】แปลว่า: (กลอน) น. สรวง.
【 สันลึก 】แปลว่า: น. ใบตาล. (ข. สฺลึก ว่า ใบไม้).
【 สันสกฤต 】แปลว่า: [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดีย
โบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของ
พราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า
สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลา
แล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
【 สับ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น
สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม
เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ
หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียวขึ้น
ไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของสับที่
ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
【 สับเกลียว, สับเชือก 】แปลว่า: ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓
ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้นโดยคลายเกลียวที่
ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบเข้า
ด้วยกันได้จนตลอด.
【 สับโขก 】แปลว่า: ก. ดุด่าว่าให้เจ็บใจอยู่เสมอ ๆ, โขกสับ ก็ว่า.
【 สับเงา 】แปลว่า: ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
【 สับนก 】แปลว่า: ว. เรียกแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตัวเล็ก ๆ สับละเอียดทั้งเนื้อ
และก้างว่า แกงสับนก.
【 สับเปลี่ยน 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น สับเปลี่ยนตําแหน่ง.
【 สับไพ่ 】แปลว่า: ก. นำไพ่ทั้งสำรับมาตัดเป็นกอง ๆ แล้วรวมโดยสับกองกัน.
【 สับสน 】แปลว่า: ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล
ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
【 สับหลีก 】แปลว่า: (ปาก) ก. เปลี่ยนทางหลีกของรถไฟ, โดยปริยายหมายความว่า
เปลี่ยนหรือกำหนดนัดไม่ให้ผู้มาหาตนพบกับอีกคนหนึ่ง (มักใช้
ในทางชู้สาว).
【 สับหว่าง 】แปลว่า: ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น
นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง.
【 สับ ๒ 】แปลว่า: (โบ) ว. สรรพ.
【 สับ ๓ 】แปลว่า: ว. ถ้วน, พอดี, เช่น ห้าสองหนเป็นสิบสับ. (มูลบทบรรพกิจ).
【 สับปลับ 】แปลว่า: ว. กลับกลอกเชื่อไม่ได้ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดสับปลับ เขา
เป็นคนสับปลับ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ สับปลี้ เป็น สับปลี้สับปลับ.
【 สับปลี้ 】แปลว่า: ก. พูดกลับกลอกเชื่อไม่ได้ มักใช้ประกอบกับคํา สับปลับ เป็น สับปลี้
สับปลับ หรือสับปลับสับปลี้.
【 สับปะขาว 】แปลว่า: /ดู ชีปะขาว ๒ (๑)./
【 สับปะรด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Ananas comosus /Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae
ไม่มีลําต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทําสิ่งทอ ขอบใบ
มีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของ
พรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า
ไหมสับปะรด.
【 สัปคับ 】แปลว่า: [สับปะคับ] น. ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง.
【 สัปคับช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพอาษาฒ มี ๓ ดวง, ดาวราชสีห์ตัวผู้
ดาวปุรพษาฒ หรือ ดาวบุพพาสาฬหะ ก็เรียก.
【 สัปด 】แปลว่า: [สับดะ] ว. เจ็ด. (ส. สปฺต; ป. สตฺต).
【 สัปดปกรณ์, สัปดประกรณ์ 】แปลว่า: น. พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์. (ส. สปฺตปฺรกรณ).
【 สัปดสดก 】แปลว่า: [สะดก] น. หมวดละ ๑๐๐ ๗ หมวด. (ส. สปฺตสตก).
【 สัปดาห์, สัปดาหะ 】แปลว่า: [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึง
วันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
【 สัปดน 】แปลว่า: [สับปะดน] ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอก
แบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมา
แล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน.
【 สัปดาห์, สัปดาหะ 】แปลว่า: /ดู สัปด./
【 สัปต 】แปลว่า: [สับตะ] ว. เจ็ด. (ส.).
【 สัปตศก 】แปลว่า: น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลูสัปตศก
จุลศักราช ๑๓๔๗. (ส.).
【 สัปทน 】แปลว่า: [สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่อง
แสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้า
หรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือ
พระพุทธรูป เป็นต้น.
【 สัปปะ 】แปลว่า: [สับ] น. งู. (ป.; ส. สรฺป).
【 สัปปิ 】แปลว่า: [สับ] น. เนยใส. (ป.; ส. สรฺปิสฺ).
【 สัปปุริส, สัปปุรุษ 】แปลว่า: [สับปุริสะ, สับปุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา
ในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม.
(ป. สปฺปุริส; ส. สตฺปุรุษ).
【 สัประยุทธ์ 】แปลว่า: [สับปฺระยุด] ก. รบพุ่งชิงชัยกัน.
【 สัปหงก 】แปลว่า: [สับปะหฺงก] ว. อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
【 สัปเหร่อ 】แปลว่า: [สับปะเหฺร่อ] น. ผู้ที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง
จนกระทั่งนำศพไปฝังหรือเผา.
【 สัพ, สัพพะ 】แปลว่า: ว. สรรพ, ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ป. สพฺพ; ส. สรฺว).
【 สัพพัญญู 】แปลว่า: [สับ] น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว; พระนามพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 สัพเพเหระ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ
เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
【 สัพยอก 】แปลว่า: [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัว
แต่งตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอก
เท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
【 สัมบูรณ์ 】แปลว่า: ว. สมบูรณ์ยิ่ง เช่น ความชื้นสัมบูรณ์. (อ. absolute).
【 สัมปชัญญะ 】แปลว่า: [สําปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่
กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
【 สัมปทา 】แปลว่า: [สําปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา =
ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).
【 สัมปทาน 】แปลว่า: สําปะทาน น. การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ
หรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและ
ตามเงื่อนไขที่รัฐกําหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจําทาง สัมปทาน
ทําไม้ในป่าสัมปทาน. (ป.).
【 สัมปยุต 】แปลว่า: [สําปะยุด] ก. ประกอบด้วย. (ป. สมฺปยุตฺต; ส. สมฺปฺรยุกฺต).
【 สัมปโยค 】แปลว่า: [สําปะโยก] น. การประกอบกัน. (ป.; ส. สมฺปฺรโยค).
【 สัมประสิทธิ์ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนจริงที่มีค่าคงตัวซึ่งคูณอยู่กับตัวแปร. (อ. coefficient).
【 สัมประหาร 】แปลว่า: น. การสู้รบกัน, การต่อสู้กัน. (ส. สมฺปฺรหาร; ป. สมฺปหาร).
【 สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ 】แปลว่า: [ปะรายะ, ปะราย, ปะรายิกะ] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
【 สัมปัตติ 】แปลว่า: น. สมบัติ. (ป., ส.).
【 สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ 】แปลว่า: [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป;
ส. สมฺปฺรลาป).
【 สัมผัส 】แปลว่า: ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้
เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน
เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก
เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป
ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น
ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้
เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
【 สัมผัสนอก 】แปลว่า: น. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่งฉันทลักษณ์
ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน เช่น (รูปภาพกลอน) (อภัย),
(ตะเลงพ่าย).
【 สัมผัสใน 】แปลว่า: น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระ
และสัมผัสอักษร เช่น (รูปภาพ ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง
เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา). (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวม
ถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย
คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรี
เสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).
【 สัมผัสสระ 】แปลว่า: น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน
เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย
โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย).
(นิ. วัดสิงห์).
【 สัมผัสอักษร 】แปลว่า: น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น
จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก
ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
【 สัมพล, สมพล 】แปลว่า: [สําพน, สมพน] น. อาหาร, เสบียง. (ป.; ส. ศมฺพล).
【 สัมพหุลา 】แปลว่า: (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด
ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
【 สัมพัจฉร 】แปลว่า: [สําพัดฉะระ] น. ปี. (ป. สํวจฺฉร; ส. สํวตฺสร).
【 สัมพัจฉรฉินท์ 】แปลว่า: น. พิธีสิ้นปี, ตรุษ. (ป.).
【 สัมพัตสร 】แปลว่า: น. สมพัตสร. (ส.; ป. สํวจฺฉร).
【 สัมพัทธ์ 】แปลว่า: ว. ที่เปรียบเทียบกัน เช่น ความเร็วสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์. (ป., ส.).
【 สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ 】แปลว่า: [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน
ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น.
การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว
บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
【 สัมพันธภาพ 】แปลว่า: น. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพระหว่าง
สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ.
【 สัมพันธมิตร 】แปลว่า: น. เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต
อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่าย
อักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร.
【 สัมพันธไมตรี 】แปลว่า: น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทยมีสัมพันธไมตรี
กับประเทศเพื่อนบ้าน.
【 สัมพาธะ 】แปลว่า: น. ความคับแคบ, การเบียดเสียด, การยัดเยียด, การอัดแอ. (ป., ส.).
【 สัมพาหน์, สัมพาหะ 】แปลว่า: น. การนวดฟั้น. (ป.; ส. สํวาหน).
【 สัมพุทธ, สัมพุทธะ 】แปลว่า: น. ผู้รู้พร้อม, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้สว่างแล้ว; พระนามพระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
【 สัมโพธิ 】แปลว่า: [โพทิ] น. สมโพธิ. (ป., ส.).
【 สัมภวะ 】แปลว่า: [สำพะ] น. สมภพ. (ป., ส.).
【 สัมภเวสี 】แปลว่า: [สำพะ] น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคน
ที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใด
กำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. (ป.; ส. สมฺภเวษินฺ).
【 สัมภัต, สัมภัตตะ 】แปลว่า: น. ผู้ร่วมคบหากัน, เพื่อนร่วมกินร่วมนอน. (ป. สมฺภตฺต; ส. สมฺภกฺต).
【 สัมภาระ 】แปลว่า: [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง
สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ
สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
【 สัมภาษณ์ 】แปลว่า: ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ
วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์
นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน.
น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก
อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่
ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ
ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า
สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์.
(ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
【 สัมเภทะ 】แปลว่า: น. การปะปน, การรวมกัน; การแยก, การแตกออก, การแบ่ง. (ป., ส.).
【 มโภคกาย 】แปลว่า: [สําโพกคะ] น. พระกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมี
รุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป และจะปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ แม้
จนบัดนี้. (ส.).
【 สัมมนา 】แปลว่า: น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ
ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
【 สัมมัปธาน 】แปลว่า: [สํามับปะทาน] น. ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบ. (ป. สมฺมปฺปธาน;
ส. สมฺยกฺปฺรธาน).
【 สัมมา 】แปลว่า: ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ.
(ป.; ส. สมฺยกฺ).
【 สัมมากัมมันตะ 】แปลว่า: น. “การงานชอบ” คือ ประพฤติกายสุจริต.(ป.).
【 สัมมาคารวะ 】แปลว่า: น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมีสัมมาคารวะ.
【 สัมมาจริยา 】แปลว่า: น. การประพฤติชอบ. (ป.).
【 สัมมาชีพ 】แปลว่า: น. อาชีพที่สุจริต, อาชีพที่ชอบธรรม, เช่น การทำไร่ทำนานับว่า
เป็นสัมมาชีพอย่างหนึ่ง. (ป. สัมมา + อาชีว).
【 สัมมาทิฐิ 】แปลว่า: น. ความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺ??).
【 สัมมาวาจา 】แปลว่า: น. “การเจรจาชอบ” คือ ประพฤติวจีสุจริต. (ป.).
【 สัมมาวายามะ 】แปลว่า: น. ความพยายามชอบ. (ป.).
【 สัมมาสติ 】แปลว่า: น. ความระลึกชอบ. (ป.).
【 สัมมาสมาธิ 】แปลว่า: น. สมาธิชอบ, ความตั้งใจชอบ. (ป.).
【 สัมมาสังกัปปะ 】แปลว่า: น. ความดําริในทางที่ชอบ. (ป.).
【 สัมมาอาชีวะ 】แปลว่า: น. การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ. (ป.).
【 สัมโมทนียกถา 】แปลว่า: [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่
ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
【 สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ 】แปลว่า: [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือ
ชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์
หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
【 สัมฤทธิศก 】แปลว่า: [สำริดทิสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ เช่น ปีมะโรง
สัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๓๕๐, ปีสําเร็จ (ครบรอบ คือ ปีที่ ๑๐ ของ
รอบ ๑๐ ปีของจุลศักราช) ซึ่งตั้งต้นด้วยเอกศก โทศก เป็นลําดับ
ไปจนนพศก แล้วสัมฤทธิศก เป็นครบรอบแล้วตั้งต้นใหม่.
【 สัยน์ 】แปลว่า: [ไส] น. สยนะ. (ป.; ส. ศยน).
【 สัลลาป 】แปลว่า: [สันลาปะ] น. การพูดจากัน. (ป.; ส. สํลาป).
【 สัลเลข 】แปลว่า: [สันเลขะ] น. การขัดเกลากิเลส. (ป.; ส. สํเลข).
【 สัสดี 】แปลว่า: [สัดสะดี] น. ผู้รวบรวมบัญชีคน, เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร; การรวมบัญชีคน.
【 สัสต 】แปลว่า: [สัดสะตะ] ว. เที่ยง, แน่นอน, คงที่, ถาวร. (ป. สสฺสต; ส. ศาศฺวต).
【 สัสตทิฐิ 】แปลว่า: น. ลัทธิที่ถือว่าโลกและวิญญาณเป็นของเที่ยงไม่เสื่อมสูญ.
(ป. สสฺสตทิฏฺ??).
【 สัสสะ 】แปลว่า: [สัดสะ] น. ข้าวกล้า. (ป.; ส. ศสฺย).
【 สัสสุ, สัสสู 】แปลว่า: [สัด] น. แม่ยาย, แม่ผัว. (ป.; ส. ศฺวศฺรู).
【 สา ๑ 】แปลว่า: น. หมา. (ป.; ส. ศฺวนฺ).
【 สา ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกระสา. /(ดู กระสา ๓),/ ชื่อกระดาษที่ทำจากเปลือก
ต้นกระสา ใช้ทำร่มเป็นต้น เรียกว่า กระดาษสา.
【 สา ๓ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง
งูลายสอบ้าน (/Xenochrophis piscator/) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา //
(/Bungarus candidus/) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง
(/Rhabdophis subminiatus/).
【 สา ๔ 】แปลว่า: สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
【 ส่า 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นเชื้อทําให้ปรากฏเป็นฟอง รา หรือเม็ดผื่นเป็นต้นแก่สิ่งอื่น
บางลักษณะ.
【 ส่าขนุน 】แปลว่า: น. ดอกขนุนที่เกิดขึ้นก่อนแล้วร่วงไป ซึ่งเป็นเครื่องหมายว่า
ขนุนนั้นจะมีลูก.
【 ส่าไข้ 】แปลว่า: น. เม็ดผื่นขึ้นตามตัวก่อนจะเป็นไข้, เรียกไข้ที่มีเม็ดผื่นเช่นนั้นว่า ไข้ส่า.
【 ส่าเลือด 】แปลว่า: น. เม็ดผื่นที่ขึ้นตามตัวเนื่องจากความผิดปรกติของเลือดประจําเดือน.
【 ส่าเห็ด 】แปลว่า: น. ราที่ขึ้นตามพื้นดินก่อนที่เห็ดจะขึ้น.
【 ส่าเหล้า ๑ 】แปลว่า: น. ส่าที่เติมลงไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้มีเอทิลแอลกอฮอล์
เกิดขึ้น.
【 สาก ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับตําอย่างหนึ่ง, คู่กับ ครก.
【 สากกะเบือ 】แปลว่า: น. สากไม้สําหรับตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกเป็นต้น, ใช้คู่กับ
ครกกะเบือ.
【 สาก ๒ 】แปลว่า: /ดู นํ้าดอกไม้ ๓./
【 สาก ๓ 】แปลว่า: ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล
เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนัก
ตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิว
สากเพราะยังไม่ได้ไสกบ.
【 สากหยาก 】แปลว่า: [สากกะหฺยาก] ว. ขรุขระ, น่าสะอิดสะเอียนอย่างหนังคางคก.
【 สากรรจ์ 】แปลว่า: คําเลือนมาจาก ฉกรรจ์.
【 สากะ 】แปลว่า: น. ผัก. (ป.; ส. ศาก).
【 สากล 】แปลว่า: ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยม
ทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า
ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา “ระหว่างประเทศ” ก็มี
เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
【 สากษิน, สากษี 】แปลว่า: [สากสิน, สี] น. สักขี. (ส.; ป. สกฺขี).
【 สากัจฉา 】แปลว่า: น. การพูดจา, การปรึกษา. (ป.).
【 สากัลย์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ความรวมกันของสิ่งทั้งหมด. (ป., ส.).
【 สากิย, สากิยะ 】แปลว่า: น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์
หรือ สากิยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ หรือ สากิยะ,
ถ้าเพศหญิงใช้ว่า สากิยา หรือ สากิยานี. (ป.; ส. ศากฺย).
【 สากิยบุตร 】แปลว่า: น. สาวกของพระพุทธเจ้า.
【 สากิยมุนี 】แปลว่า: น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. (ป.).
【 สาเก 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกขนุนสําปะลอพันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด. /(ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน ๑)./
(เทียบทมิฬ sakki ว่า ขนุน).
【 สาแก่ใจ 】แปลว่า: ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้ว
ว่าอย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก
ต้องจ่ายให้สาแก่ใจ.
【 สาขา 】แปลว่า: น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย,
ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชา
วิทยาศาสตร์ ธนาคารออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
【 สาคร ๑ 】แปลว่า: [คอน] น. แม่นํ้า, ทะเล. (ป., ส.).
【 สาคเรศ 】แปลว่า: คะเรด น. แม่นํ้า, ทะเล.
【 สาคร ๒ 】แปลว่า: [คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง
ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก
คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับ
ผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.
【 สาคเรศ 】แปลว่า: /ดู สาคร ๑./
【 สาคู ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล/ Metroxylon/ วงศ์ Palmae คือ
ชนิด /M. sagus/ Rottb. กาบใบไม่มีหนาม และชนิด /M. rumphii/
Mart. กาบใบมีหนาม, ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้มุงหลังคา ไส้ในลําต้น
แก่ใช้ทําแป้ง เรียกว่า แป้งสาคู. (เทียบ ม. sagu). (๒) ชื่อไม้ล้มลุก
ชนิด/ Maranta arundinacea /L. ในวงศ์ Marantaceae ต้นขนาด
ต้นขมิ้น เหง้าใช้ทําแป้งและต้มกิน.
【 สาคูน้ำเชื่อม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยสาคูเม็ดใหญ่ใส่น้ำเชื่อม.
【 สาคูเปียก 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล
จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอด
หน้าด้วยกะทิ.
【 สาคูลาน 】แปลว่า: น. แป้งสาคูที่เอาเยื่อในลําต้นแก่ของสาคูชนิดคล้ายต้นลานมาทํา
เป็นแป้งเม็ดโต ๆ ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ซุปสาคู สาคู
น้ำเชื่อม, สาคูเม็ดใหญ่ ก็ว่า.
【 สาคูวิลาด 】แปลว่า: น. สาคูที่มาจากต่างประเทศ หมายถึงแป้งสาคูเม็ดเล็ก ๆ.
【 สาคูไส้หมู 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยสาคูเม็ดเล็กนวดน้ำร้อนให้ดิบ ๆ
สุก ๆ ปั้นเป็นก้อน มีเนื้อหมูเป็นต้นสับผัดกับเครื่องปรุงทำเป็นไส้
แล้วนึ่ง.
【 สาคู ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดหมูชนิด /Taenia solium/ ในวงศ์ Taeniidae
ฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของหมู ลักษณะเป็นถุงรูปคล้ายเม็ดสาคู
ภายในมีหัวของตัวตืด.
【 สาง ๑ 】แปลว่า: น. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง; กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์
เช่น เหม็นสาบเหม็นสาง, โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็น
คล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 สาง ๒ 】แปลว่า: น. สัตว์ในนิยาย เข้าใจกันว่ามีรูปร่างอย่างเสือ.
【 สาง ๓ 】แปลว่า: (วรรณ) น. ช้าง เช่น เสือสางสรรโสงสรรพและไกร สรร้องสำเทินสาร.
(สมุทรโฆษ).
【 สาง ๔ 】แปลว่า: น. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลง ๆ
ตามลําดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง. ก. ทําให้
แจ้งให้กระจ่าง เช่น สางคดี, ทําให้หายยุ่ง เช่น สางผม.
【 สาง ๕ 】แปลว่า: น. หวี, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสาง.
【 ส้าง 】แปลว่า: น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างในสําหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม
อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง หรือ สําซ่าง ก็เรียก.
【 สางคลื่น 】แปลว่า: น. คลื่นที่ยอดไม่แตก, คลื่นใต้นํ้า.
【 สางห่า 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อจิ้งเหลนหางยาวชนิด /Takydromus sexlineatus/
ในวงศ์ Lacertidae ตัวเล็ก หางยาวประมาณ ๕ เท่าของความยาว
ลําตัวพบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่า
มีพิษร้ายแรง.
【 สาชล 】แปลว่า: (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง
สวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
【 สาฎก 】แปลว่า: [สาดก] น. ผ้า. (ป. สาฏก; ส. ศาฏก).
【 สาฏิก 】แปลว่า: [สาติกะ] น. เสื้อ, เสื้อคลุม; ผ้า. (ป.; ส. ศาฏิกา).
【 สาณ 】แปลว่า: [สานะ] น. ผ้าหยาบ, ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณ).
【 สาณี 】แปลว่า: น. ม่าน, ฉาก, มู่ลี่; ผ้าป่าน. (ป.; ส. ศาณี).
【 สาด ๑ 】แปลว่า: น. เสื่อ, มักใช้ประกอบหลังคํา เสื่อ เป็น เสื่อสาด.
【 สาด ๒ 】แปลว่า: ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออก
ไปโดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด,
ซัดหรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน
สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้
แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
【 สาดโคลน 】แปลว่า: โคฺลน] (สํา) ก. ใส่ร้ายป้ายสี.
【 สาดน้ำรดกัน 】แปลว่า: (สํา) ก. กล่าวให้ร้ายซึ่งกันและกัน, ก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่กันและกัน.
【 สาดเสียเทเสีย 】แปลว่า: ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบทําให้เสียหาย
อย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
【 สาต 】แปลว่า: ว. สําราญ, ยินดี, เป็นที่พอใจ. (ป.; ส. ศาต).
【 สาตรา 】แปลว่า: สาดตฺรา น. ของมีคม. (ส. ศสฺตฺร; ป. สตฺถ).
【 สาไถย 】แปลว่า: น. การแสร้งทําให้เขาหลงผิดเข้าใจผิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มารยา
เป็น มารยาสาไถย. (ป. สาเ?ยฺย; ส. ศา?ฺย).
【 สาทร 】แปลว่า: [–ทอน] ก. เอื้อเฟื้อ, เอาใจใส่. (ป., ส.).
【 สาทิส, สาทิส– 】แปลว่า: [สาทิด, สาทิดสะ–] ว. เหมือนกัน, คล้ายกัน, เช่นกัน. (ป. สาทิสฺส;
ส. สาทฺฤศฺย).
【 สาทิสลักษณ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ภาพเขียนเหมือนบุคคลจริง, ใช้ว่า พระบรม
สาทิสลักษณ์ หรือ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์.
【 สาทุ 】แปลว่า: ว. หวาน, อร่อย; น่าปรารถนา. (ป.; ส. สฺวาทุ).
【 สาโท 】แปลว่า: น. น้ำเมาที่ได้จากการหมัก เช่น น้ำขาว อุ กะแช่. (ป. สาโท ว่า ยินดี).
【 สาธก 】แปลว่า: [–ทก] ก. ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น. (ป.; ส. ว่า ช่วยทํา, ทําให้สําเร็จ).
【 สาธย–, สาธยะ 】แปลว่า: [–ทะยะ–] ว. ควรทําให้สําเร็จ. (ปรัชญา) น. สิ่งหรือเรื่องที่อนุมาน.
(ส. สาธฺย).
【 สาธยาย 】แปลว่า: [สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น
สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ
ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).
【 สาธารณ–, สาธารณะ 】แปลว่า: [สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์
สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ
อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).
【 สาธารณชน 】แปลว่า: น. ประชาชนทั่วไป.
【 สาธารณประโยชน์ 】แปลว่า: น. ประโยชน์ทั่วไปแก่ประชาชน เช่น บริจาคเงินสร้างโรงพยาบาล
เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์.
【 สาธารณภัย 】แปลว่า: น. ภัยที่เกิดแก่คนหมู่มากอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม เช่น หน่วยบรรเทา
สาธารณภัย; (กฎ) อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ตลอดจนภัยอื่น ๆ อัน
มีมาเป็นสาธารณะ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทําให้เกิดขึ้น
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสีย
หายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ.
【 สาธารณรัฐ 】แปลว่า: น. ประเทศหรือการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น
สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
เกาหลี. (อ. republic).
【 สาธารณสถาน 】แปลว่า: (กฎ) น. สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้.
【 สาธารณสมบัติ 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินส่วนรวมของประชาชน เช่น ถนนสาธารณะ แม่นํ้า
ลําคลอง.
【 สาธารณสมบัติของแผ่นดิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
หรือ สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และ
ที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดย
ประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
และทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ.
【 สาธารณสุข 】แปลว่า: น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ การสาธารณสุข
การควบคุมอาหารและยา รวมทั้งสิ่งที่อาจเป็นพิษหรือเป็นภัยแก่
สุขภาพ และควบคุมกิจการกาชาด; กิจการเกี่ยวกับการป้องกัน
การบําบัดโรค การรักษา และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน.
(อ. public health).
【 สาธารณูปการ 】แปลว่า: น. กิจการเกี่ยวกับการสงเคราะห์บุคคลที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้
เช่น คนชรา คนพิการ เด็กกําพร้า. (อ. public assistance); การ
ก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ทางศาสนา เช่น งานด้านสาธารณูปการ.
【 สาธารณูปโภค 】แปลว่า: น. บริการสาธารณะที่จัดทําเพื่ออํานวยประโยชน์แก่ประชาชนใน
สิ่งอุปโภคที่จําเป็นต่อการดําเนินชีวิต เช่น การไฟฟ้า การประปา
การเดินรถประจําทาง โทรศัพท์. (อ. public utility).
【 สาธารณ์ 】แปลว่า: [สาทาน] ว. ตํ่า, เลว; ชั่วช้า, เช่น ดังกากาจชาติช้าสาธารณ์ จะ
ประมาณหมายหงส์พงศ์พระยา. (อิเหนา), บางทีใช้เข้าคู่กับคำ
ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสาธารณ์; ทั่ว ๆ ไป เช่น ของสาธารณ์. (ป., ส. ว่า
ทั่วไป, สามัญ).
【 สาธารณูปการ 】แปลว่า: /ดู สาธารณ–, สาธารณะ./
【 สาธารณูปโภค 】แปลว่า: /ดู สาธารณ–, สาธารณะ./
【 สาธิต 】แปลว่า: ก. แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น สาธิตการสอน สาธิตการทำขนม. ว.
ที่แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น แปลงสาธิต โรงเรียนสาธิต. (ส., ป. ว่า
ให้สําเร็จ).
【 สาธุ 】แปลว่า: ว. ดีแล้ว, ชอบแล้ว, (เป็นคําที่พระสงฆ์เปล่งวาจาเพื่อยืนยัน
หรือรับรองพิธีทางศาสนาที่กระทําไป). (ปาก) ก. เปล่งวาจา
แสดงความเห็นว่าชอบแล้วหรืออนุโมทนาด้วย, มักใช้เข้าคู่กับ
คำ โมทนา เป็น โมทนาสาธุ; ไหว้ (เป็นคําบอกให้เด็กแสดง
ความเคารพตามธรรมเนียม กร่อนเสียง เป็น ธุ ก็มี). (ป., ส.).
【 สาธุการ 】แปลว่า: น. การเปล่งวาจาว่าชอบแล้วเมื่อเวลาเห็นควรหรือยกย่อง
สรรเสริญ เช่น แซ่ซ้องสาธุการ กล่าวสาธุการขึ้นพร้อม ๆ กัน;
ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชา
หรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อ
แสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้า
โหมโรงเย็น. (ป., ส.).
【 สาธุชน 】แปลว่า: น. คนดี, คนที่มีคุณงามความดี, (ใช้ในการยกย่อง). (ป.).
【 สาน 】แปลว่า: ก. อาการที่ใช้เส้นตอกทําด้วยไม้ไผ่ หวาย กก ใบลาน เป็นต้น
ขัดกันให้เป็นผืนเช่นเสื่อ หรือทําขึ้นเป็นวัตถุมีรูปร่างต่าง ๆ เช่น
กระบุง กระจาด.
【 ส่าน 】แปลว่า: น. ผ้าขนสัตว์โบราณ. (เปอร์เซีย).
【 สานตวะ 】แปลว่า: [–ตะวะ] น. การปลอบโยน, การเกลี้ยกล่อม; คําอ่อนโยนและ
ไพเราะ. (ส.).
【 สานะ 】แปลว่า: น. หมา. (ป.; ส. ศฺวาน).
【 สานุ, สานู 】แปลว่า: น. ยอดเขา, เนินเขา, ไหล่เขา. (ป., ส.).
【 สานุศิษย์ 】แปลว่า: น. ศิษย์น้อยใหญ่. (กร่อนมาจาก ส. ศิษฺยานุศิษฺย; ป. สิสฺสานุสิสฺส).
【 สาบ ๑ 】แปลว่า: น. กลิ่นเหม็นชนิดหนึ่ง เช่นกลิ่นเสื้อผ้าที่ใช้แล้วแต่ยังไม่ได้ซัก,
กลิ่นตัวที่มีประจําอยู่กับสัตว์บางชนิด เช่น สาบเสือ สาบแพะ,
กลิ่นอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 สาบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงแกลบแต่ตัวโตกว่า ลําตัว
ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่านี้ รูปร่างรูปไข่
ค่อนข้างแบนราบ หัวซ่อนอยู่ใต้อก หนวดยาวคล้ายเส้น
ด้าย ขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่
มีปีก ที่พบบ่อยเป็นพวกอาศัยตามบ้านเรือน ได้แก่ ชนิด
/Periplaneta americana/ และชนิด /Blatta orientalis/ ใน
วงศ์ Blattidae.
【 สาบ ๓ 】แปลว่า: น. เรียกผ้าทาบที่อกเสื้อสําหรับติดดุมและเจาะรังดุมว่า สาบ
เสื้อ, ปัจจุบันอนุโลมเรียกผ้าทาบที่คอ แขน กระเป๋า เป็นต้น
เพื่อให้หนาขึ้น ว่า สาบคอ สาบแขน สาบกระเป๋า.
【 สาบ ๔ 】แปลว่า: น. เรียกห้วงนํ้าใหญ่คล้ายบึง แต่โตกว่า ว่า ทะเลสาบ.
(ข. สาบ ว่า จืด).
【 สาบขนุน 】แปลว่า: /ดู ใบขนุน (๑)./
【 สาบแร้ง 】แปลว่า: /ดู กระต่ายจาม (๑)./
【 สาบแร้งสาบกา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Compositae ใบมีขน กลิ่นฉุน
คือ ชนิด /Ageratum conyzoides/ L. ดอกสีฟ้าอ่อน และชนิด
/Blumea aurita/ (L.) DC. ดอกสีขาว ต้นสูงกว่าชนิดแรก.
【 สาบสูญ 】แปลว่า: ก. สูญหายไปอย่างไม่ทิ้งร่องรอย. (กฎ) น. เรียกบุคคลซึ่งได้ไป
จากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมี
ชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคน
สาบสูญ ว่า คนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปี ดังกล่าว ลดลงเหลือ
๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ใน
การรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูก
ทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอก
จากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าวข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้น
ตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
【 สาบเสือ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Chromolaena odorata/ (L.) R.M. King
ในวงศ์ Compositae เป็นวัชพืชขึ้นทั่วไป ใบมีกลิ่นเหม็นใช้ทํา
ยาได้, เสือหมอบ ก็เรียก.
【 สาบาน 】แปลว่า: ก. กล่าวคําปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน, ประเพณี
เดิมจะต้องดื่มนํ้าพระพุทธมนต์ นํ้าเทพมนตร์ หรือ สุราผสม
เลือดที่ผู้ร่วมกล่าวคำปฏิญาณกรีดให้หยดลงไปด้วย เช่น สาบาน
เป็นพี่น้องกัน เพื่อนร่วมสาบาน; (กฎ) กล่าวคําปฏิญาณตาม
ลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตนว่า จะให้การ
ตามสัตย์จริง. (ป. สปน; ส. ศปน).
【 สาบานธง 】แปลว่า: ก. กล่าวปฏิญาณตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล (ใช้แก่ทหาร).
【 สาป, สาปสรร 】แปลว่า: น. คําแช่งให้เป็นไปต่าง ๆ ของผู้มีฤทธิ์อำนาจ เช่นเทวดา ฤๅษี
แม่มด. (ป.; ส. ศาป).
【 สาปแช่ง 】แปลว่า: ก. กล่าวมุ่งร้ายให้ผู้อื่นเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เช่น สาปแช่ง
ไม่ให้ผุดให้เกิด.
【 สาปส่ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คนคนนี้ฉันขอสาปส่ง
ไม่คบอีก.
【 สาปไตย 】แปลว่า: [สาปะไต] น. ทรัพย์, สมบัติ. (ป. สาปเตยฺย; ส. สฺวาปเตย).
【 สาม ๑ 】แปลว่า: น. จํานวนสองบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๓
ตกในราวเดือนกุมภาพันธ์.
【 สามกษัตริย์ 】แปลว่า: น. รูปพรรณที่ในชิ้นเดียวกันมีทั้งทอง นาก และเงินสลับกัน
โบราณถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้สวม เช่น สายสร้อยสามกษัตริย์
กําไลสามกษัตริย์.
【 สามเกลอ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อน
กลม มีที่จับสำหรับยก ๓ ที่; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้ง
ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ มีไส้หน้ากระฉีก ร้อย
ด้วยตอกให้ติดกัน ๓ ก้อน แล้วนำไปทอด.
【 สามขา 】แปลว่า: น. เครื่องวางภาชนะต้มนํ้าเป็นต้น ทําด้วยโลหะ มี ๓ เส้า;
ชื่อตะเกียงที่มีพวยใส่ไส้จุดไฟ ๓ พวย; เต้าเสียบไฟฟ้าชนิด
ที่มีขาเสียบ ๓ ขา.
【 สามขุม 】แปลว่า: น. เรียกท่าเดินเข้าหาคู่ต่อสู้หรือถอยจากคู่ต่อสู้ของนักมวย
นักกระบี่กระบองเป็นต้น โดยเดินก้าวย่างเป็นสลับฟันปลา
มีตำแหน่งวางเท้าเป็น ๓ เส้า ว่า ย่างสามขุม.
【 สามคาน, สามลำคาน 】แปลว่า: น. เรียกพระยานมาศขนาดใหญ่มีคานสําหรับแบก ๓ คานว่า
พระยานมาศสามลำคาน.
【 สามง่าม 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กที่แยกออกเป็น ๓ แฉกเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน,
เรียกอาวุธที่มีปลายแหลมเป็น ๓ แฉกเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน
ด้ามยาว ว่า สามง่าม, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะเช่นนั้น.
【 สามชั้น 】แปลว่า: น. เรียกเนื้อหมูส่วนท้องที่ชำแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อว่า
หมูสามชั้น; จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้น
เท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น,
เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสามชั้น เพลง
สามชั้น.
【 สามชาย 】แปลว่า: น. เรียกธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชาย
ลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ใน
พระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทอง
ขวางเป็นลวดลาย ว่า ธงสามชาย.
【 สามแซ่ 】แปลว่า: น. ชื่อของหวานประเภทน้ำเชื่อม ประกอบด้วยของ ๓ อย่าง
คือ วุ้น ลูกพลับแห้ง และชิ้นฟักแช่อิ่ม.
【 สามตา 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับหลักทั้ง ๓ เวียนไป มักใช้ทาย
เกี่ยวกับของหาย เรียกว่า ยามสามตา; เต้ารับไฟฟ้าที่มีรู ๓ คู่
สําหรับนําเต้าเสียบมาเสียบเพื่อนํากระแสไฟฟ้าออกไปใช้ได้
๓ วงจร.
【 สามบาน 】แปลว่า: น. การแสดงกระบี่กระบองแบบหนึ่ง ใช้อาวุธหลายชนิดเข้า
ต่อสู้กันโดยไม่จับคู่กับอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กระบองคู่
กับดาบสองมือ ง้าวคู่กับดาบดั้ง.
【 สามใบเถา 】แปลว่า: น. เรียกตลับหรือโถแป้งเป็นต้น ๓ ใบที่มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก
รวมเป็นชุดหนึ่ง เช่น ตลับหมากสามใบเถา โถแป้งสามใบเถา,
(ปาก) เรียกพี่น้องผู้หญิง ๓ คนเรียงกันว่า สามใบเถา.
【 สามเพลงตกม้าตาย 】แปลว่า: (สํา) ว. แพ้เร็ว, ยุติเร็ว, ใช้สั้น ๆ ว่า ตกม้าตาย ก็มี.
【 สามแพร่ง 】แปลว่า: น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็น
มุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง เรียกว่า ทางสามแพร่ง, โบราณ
ถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสีย
กบาลที่ทางสามแพร่ง.
【 สามเมา 】แปลว่า: (ปาก) ว. เรียกคนติดเหล้า กัญชา และยาฝิ่น ว่า คนสามเมา.
【 สามรส ๑ 】แปลว่า: น. เรียกอาหารที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาเก๋าสามรส.
【 สามล้อ 】แปลว่า: น. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีล้อ ๓ ล้อ เรียกเต็ม
คําว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อ
เครื่อง หรือ จักรยานสามล้อเครื่อง.
【 สามโลก 】แปลว่า: น. โลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก.
【 สามวันดีสี่วันไข้ 】แปลว่า: ว. เจ็บออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ.
【 สามเศียร 】แปลว่า: น. ไพ่ตองที่เข้าเศียร แล้ว ๓ ชุด.
【 สามสบ 】แปลว่า: น. บริเวณที่แม่น้ำ ๓ สายมาบรรจบกัน.
【 สามสลึงเฟื้อง 】แปลว่า: (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง
บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
【 สามสาย 】แปลว่า: น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้หนัง
ปิดด้านหนึ่ง มีสาย ๓ สาย คันชักอยู่ต่างหาก.
【 สามสี ๑ 】แปลว่า: น. เรียกแมวที่มีสีดำ เหลืองและขาว ในตัวเดียวกันว่า แมว
สามสี; พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต
เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ
จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง เรียกว่า พลอยสามสีหรือ
เจ้าสามสี.
【 สามเส้า 】แปลว่า: ก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน.
๒๔๙๓); ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สามหมุด 】แปลว่า: น. ชื่อมีดสําหรับปอกหรือฝานชนิดที่ตรึงกั่นติดกับด้ามด้วย
หมุด ๓ ตัวว่า มีดสามหมุด.
【 สามหยิบ 】แปลว่า: น. เรียกหมวกลูกเสือที่มีรอยบุ๋ม ๓ รอยตรงด้านบนหมวกว่า
หมวกสามหยิบ.
【 สามหาบ 】แปลว่า: น. เรียกอาหารคาว ๑ หาบ หวาน ๑ หาบ และเครื่องหุงต้ม
๑ หาบที่เจ้าภาพหาบเดินรอบเมรุแล้วถวายพระสงฆ์ใน
เวลาเก็บอัฐิ ว่า สามหาบ, เรียกการเดินในพิธีเช่นนั้นว่า
เดินสามหาบ.
【 สามเหลี่ยม ๑ 】แปลว่า: น. รูปเหลี่ยมที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรง ๓ เส้น ปลายเส้น
จดกัน.
【 สามเหลี่ยมด้านเท่า 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านทั้ง ๓ ยาวเท่ากัน.
【 สามเหลี่ยมมุมฉาก 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก.
【 สามเหลี่ยมมุมป้าน 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งเป็นมุมป้าน.
【 สามเหลี่ยมมุมแหลม 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมทั้ง ๓ เป็นมุมแหลม.
【 สามเหลี่ยมหน้าจั่ว 】แปลว่า: น. รูปสามเหลี่ยมที่มีด้านคู่หนึ่งยาวเท่ากัน.
【 สามแหยม 】แปลว่า: น. เรียกปอยผมที่แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนเพื่อเตรียมโกนจุก
(ใช้แก่พระองค์เจ้าลงมาถึงสามัญชน).
【 สาม– ๒ 】แปลว่า: [สามะ–, สามมะ–] น. บทสรรเสริญ; การสรรเสริญ. (ส.).
【 สามเวท 】แปลว่า: [สามะเวด, สามมะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวทประพันธ์
เป็นฉันท์ ส่วนใหญ่คัดมาจากฤคเวท สำหรับขับในพิธีบูชาด้วย
น้ำโสม. (ส.). /(ดู เวท, เวท ประกอบ)./
【 สามแก้ว 】แปลว่า: /ดู ดุกทะเล./
【 สามเขี้ยว 】แปลว่า: /ดู ขยุย ๒./
【 สามชุก 】แปลว่า: น. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สําหรับ
ใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, กระชุก ก็เรียก. /(ดู กระชุก ๒)./
【 สามเณร 】แปลว่า: [สามมะเนน] น. ผู้ดํารงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐,
เรียกสั้น ๆ ว่า เณร. (ป.).
【 สามเณรี 】แปลว่า: [สามมะ–] น. หญิงที่บวชเป็นสามเณร. (ป.).
【 สามนต–, สามนต์ 】แปลว่า: [สามนตะ–] ว. รอบ ๆ, ใกล้เคียง. (ป.).
【 สามนตราช 】แปลว่า: น. พระราชาแห่งแคว้นที่ใกล้เคียง, เจ้าประเทศราช.
【 สามยทรัพย์ 】แปลว่า: สามะยะ– น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของได้รับ
ประโยชน์เหนืออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่ตกอยู่ในภาระ
จํายอม, คู่กับ ภารยทรัพย์.
【 สามรส ๑ 】แปลว่า: /ดูใน สาม ๑./
【 สามรส ๒ 】แปลว่า: /ดู ปากแตร ๒./
【 สามล 】แปลว่า: [–มน] ว. สีคลํ้า, สีดํา. (ป.; ส. ศฺยามล).
【 สามสิบกลีบ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องในวัว คือ กระเพาะอาหารหยาบ ข้างในเป็นกลีบ.
【 สามสี ๑ 】แปลว่า: /ดูใน สาม ๑./
【 สามสี ๒ 】แปลว่า: /ดู ราชินี ๒./
【 สามหาว ๑ 】แปลว่า: ว. หยาบคาย, โอหังก้าวร้าวผู้หลักผู้ใหญ่, (ใช้แก่วาจา) เช่น
เด็กพูดจาสามหาวกับผู้ใหญ่.
【 สามหาว ๒ 】แปลว่า: (ราชา) น. เรียกผักตบชนิด /Monochoria hastata/ (L.) Solms.
ว่า ผักสามหาว เช่น นางสงกรานต์ทัดดอกสามหาว.
【 สามเหลี่ยม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน สาม ๑./
【 สามเหลี่ยม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูพิษชนิด /Bungarus fasciatus/ ในวงศ์ Elapidae โตเต็ม
วัยยาวประมาณ ๑.๓ เมตร สีสวย ลายปล้องดําสลับเหลือง
หลังเป็นสันทําให้ลําตัวมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลาย
หางทู่ออกหากินในเวลากลางคืน.
【 สามัคคี 】แปลว่า: น. ความพร้อมเพรียงกัน, ความปรองดองกัน. ว. ที่พร้อมเพรียง
กันทำ, ที่ร่วมมือร่วมใจกันทำ, เช่น กฐินสามัคคี ผ้าป่าสามัคคี.
(ป.; ส. สามคฺรี).
【 สามัญ– ๑ 】แปลว่า: [สามันยะ–] น. ความเป็นสมณะ เช่น สามัญผล. (ป. สาม?ฺ?;
ส. ศฺรามณฺย).
【 สามัญ ๒ 】แปลว่า: [สามัน] ว. ปรกติ, ธรรมดา, เช่น ชนชั้นสามัญ คนสามัญ.
(ป. สาม?ฺ?; ส. สามานฺย).
【 สามัญชน 】แปลว่า: น. คนธรรมดาที่มิใช่เจ้า.
【 สามัญสำนึก 】แปลว่า: น. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไป
ควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่น
ทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร.
【 สามัตถิยะ 】แปลว่า: น. ความสามารถ, อํานาจ, ความแข็งแรง. (ป. สมตฺถิย;
ส. สามารฺถฺย).
【 สามะ 】แปลว่า: น. สีดํา, สีนิล. (ป.; ส. ศฺยาม).
【 สามานย– 】แปลว่า: [สามานนะยะ–, สามานยะ–] ว. ปรกติ, ธรรมดา, เช่น สามานยนาม.
(ส. สามานฺย; ป. สาม?ฺ?).
【 สามานยนาม 】แปลว่า: สามานยะ– น. คํานามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และ
สิ่งของ เช่น เด็ก นก หนังสือ ลม ใจ.
【 สามานย์ 】แปลว่า: ว. เลวทรามตํ่าช้า เช่น ลูกสามานย์ทำร้ายพ่อแม่, มักใช้
เข้าคู่กับคำ ชั่วช้า เป็น ชั่วช้าสามานย์. (ส. สามานฺย).
【 สามารถ 】แปลว่า: [สามาด] เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้ เช่น
เขาสามารถเดินได้ชั่วโมงละ ๕ กิโลเมตร เพื่อนฉันสามารถขี่
จักรยานไต่ลวดได้. ว. มีคุณสมบัติที่จะทำได้ โดยเฉพาะทาง
ความรู้หรือความชำนาญเป็นต้น เช่น ลูกเขาเป็นคนสามารถ
เรียนอะไรก็เรียนได้. (ส. สมรฺถ; ป. สมตฺถ).
【 สามิกะ 】แปลว่า: น. เจ้าของ; ผัว. (ป.).
【 สามิต 】แปลว่า: น. ความเป็นเจ้าของ. (ป. สามิตฺต).
【 สามินี 】แปลว่า: น. หญิงผู้เป็นเจ้าของ. (ป.; ส. สฺวามินี).
【 สามิภักดิ์ 】แปลว่า: น. ความจงรักภักดีต่อเจ้านาย, การยอมตนหรือมอบตนอยู่
ใต้อํานาจ. ก. จงรักภักดีเจ้านาย, ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้
อำนาจ, สวามิภักดิ์. (ป. สามิ + ส. ภกฺติ; ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ).
【 สามี 】แปลว่า: น. ผัว, ชายที่เป็นคู่ครองของหญิง, คู่กับ ภรรยา หรือ ภริยา;
นาย, เจ้าของ. (ป.; ส. สฺวามินฺ).
【 สามีจิกรรม 】แปลว่า: น. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรใน
ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับ
สัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่าง
ผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า. (ส.; ป. สามีจิกมฺม).
【 สาย ๑ 】แปลว่า: น. เวลาระหว่างเช้ากับเที่ยงประมาณ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๐.๐๐ น.
เช่น พอสายก็ออกเดินทาง. ว. ช้ากว่าเวลาที่กําหนด, ล่าช้า,
เช่น มาทำงานสาย, โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะ
แก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้ เช่น เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไป
เสียแล้ว.
【 สาย ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว เช่น สายสร้อย สาย
ไฟฟ้า สายรุ้ง สายนาฬิกา สายเข็มขัด, ทาง, เส้นทาง, เช่น
รถไฟสายเหนือ รถไฟสายใต้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ
สายงาน; ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้ว
แยกเป็นสกุลย่อยออกไป; ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความ
เคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระวังคนใช้เป็นสายให้
โจร; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาวว่า สาย เช่น
สายสะพาย ๒ สาย ทาง ๓ สาย.
【 สายกระได 】แปลว่า: น. เชือกถักที่ผูกเหนือจอมแห ใช้สาวดึงแหกลับ.
【 สายง่อง 】แปลว่า: น. สายโยงใต้คางม้าไม่ให้เงย.
【 สายใจ 】แปลว่า: น. กระแสแห่งความรักและความผูกพัน, เรียกผู้ที่เป็นที่รัก
ดังดวงใจ.
【 สายชนวน 】แปลว่า: น. กระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น ใช้จุดให้ไฟลุกแล่นเข้า
ไปติดดินระเบิด.
【 สายซุง 】แปลว่า: น. เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผูกกับอกว่าว ห่างกันพอสมควรสําหรับ
ต่อกับสายป่านเพื่อให้ว่าวต้านลมได้ตรงตัว, ซุง ก็เรียก.
【 สายดำ 】แปลว่า: น. แถบผ้าสีดำที่แสดงว่าผู้ที่ได้รับมีความสามารถระดับสูงสุด
ในการเล่นยูโด ใช้คาดเอว.
【 สายดิ่ง 】แปลว่า: น. เชือกที่ปลายด้านหนึ่งผูกติดกับลูกดิ่งสำหรับวัดความลึก
ของน้ำหรือตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่ง
หรือไม่, เชือกที่ผูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นเป็นคู่สกัดหัวท้าย
ดอกจำปาของว่าวจุฬา.
【 สายดิน 】แปลว่า: น. สายตัวนําไฟฟ้าที่ต่อกับจุดใด ๆ ในวงจรไฟฟ้าให้เชื่อมกับ
พื้นโลก โดยประสงค์ให้จุดนั้น ๆ มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับศักย์ไฟฟ้า
ของโลก.
【 สายตรวจ 】แปลว่า: น. เรียกผู้ตรวจผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยหรือความถูกระเบียบ
เป็นย่าน ๆ ไป เช่น สายตรวจสรรพสามิต ตำรวจสายตรวจ.
【 สายตะพาย 】แปลว่า: น. เชือกที่ร้อยจมูกวัวควาย.
【 สายตัว 】แปลว่า: น. เนื้อตัว เช่น ทํางานสายตัวแทบขาด.
【 สายตัวแทบขาด 】แปลว่า: (สำ) ว. เหน็ดเหนื่อยเพราะทำงานหนักแทบไม่ได้พักผ่อน เช่น
เพราะสามีตาย ภรรยาจึงต้องทำงานสายตัวแทบขาดเพื่อเลี้ยง
ลูก ๕ คน.
【 สายทิ้ง 】แปลว่า: น. สายที่ห้อยโยงกับนาฬิกาพกหรือกำไลเป็นต้น.
【 สายน้ำ 】แปลว่า: น. กระแสนํ้าที่ไหลเห็นเป็นสายยาวไป เช่น เรือล่องลอยไป
ตามสายน้ำ.
【 สายบังเหียน 】แปลว่า: น. สายที่ผูกปลายบังเหียนทั้ง ๒ ข้างสำหรับโยงไปให้ผู้ขี่ม้า
ถือเพื่อบังคับม้า.
【 สายบัว 】แปลว่า: น. ก้านดอกบัวสายที่เป็นเส้นยาว ๆ มีลักษณะอ่อน ไม่มีหนาม
ใช้กินเป็นผัก.
【 สายพาน 】แปลว่า: น. เส้นด้ายที่คล้องโยงในเครื่องไนหูก, สายหนังหรือสายยาง
เป็นต้นสําหรับคล้องโยงเครื่องยนต์ต่าง ๆ เพื่อพาให้หมุนไป
ด้วยกัน เช่น สายพานจักรเย็บผ้า สายพานพัดลมเป่าหม้อ
น้ำรถยนต์.
【 สายฟ้า 】แปลว่า: น. แสงที่เป็นสายแวบวาบเมื่อเวลาฟ้าแลบฟ้าผ่า; ใยแมงมุม
ที่ลอยอยู่ในอากาศ.
【 สายไฟฟ้า 】แปลว่า: น. เส้นโลหะตัวนำไฟฟ้า ใช้เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านอาจมี
ฉนวนหุ้มหรือไม่มีก็ได้, ถ้าไม่มีฉนวนหุ้มเรียก สายเปลือย.
【 สายมงคล 】แปลว่า: น. สายธุรําของพราหมณ์, ยัชโญปวีต ก็เรียก.
【 สายยงยศ 】แปลว่า: น. สายที่ข้าราชการทหารหรือตำรวจใช้เพื่อแสดงสถานะ มี
๓ ชนิด ได้แก่ สายยงยศราชองครักษ์สายยงยศเสนาธิการ
และสายยงยศนายทหารคนสนิท.
【 สายยาง 】แปลว่า: น. ยางหรือวัสดุอื่นที่ทำเป็นเส้นยาว กลวง ใช้เป็นอุปกรณ์ฉีด
น้ำรดน้ำต้นไม้เป็นต้น.
【 สายยู ๑ 】แปลว่า: น. เหล็กยาวประมาณ ๑ คืบ ๒ ท่อนเกี่ยวกันเป็นสายด้านหนึ่ง
ใช้ติดกับบานประตูขนาดใหญ่ เพื่อล่ามบานประตูให้ติดกับห่วง
เหล็กที่ธรณีประตู สําหรับลั่นกุญแจ เช่น สายยูโบสถ์วิหาร,
อุปกรณ์สําหรับติดโต๊ะตู้เป็นต้นสําหรับลั่นกุญแจ มี ๒ ชิ้น ชิ้น
หนึ่งมีลักษณะเป็นช่องหรือห่วงเพื่อพับลงมาคล้องบนอีกชิ้นหนึ่ง
ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้าควํ่า.
【 สายโยก 】แปลว่า: น. สายถลกบาตรสําหรับคล้องที่ไหล่.
【 สายใย 】แปลว่า: น. โลหะเส้นเล็ก ๆ ขดเป็นวงในเครื่องนาฬิกาชนิดที่ไม่มีลูกตุ้ม
ทําให้เกิดแรงเหวี่ยง บังคับให้นาฬิกาเดินเที่ยงตรง, โดยปริยาย
หมายถึงความผูกพัน เช่น สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูก.
【 สายรก 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อระหว่างผนังมดลูกกับสายสะดือเด็ก.
【 สายระเดียง 】แปลว่า: น. หวายหรือสายลวดเป็นต้นที่ขึงสําหรับตากผ้า (ใช้แก่
ภิกษุสามเณร).
【 สายระยาง, สายระโยง 】แปลว่า: น. สายเชือกหรือลวดที่รั้งเสากระโดงเรือเป็นต้น.
【 สายรัดคาง 】แปลว่า: น. สายหนังหรือเชือกที่โยงจากขอบหมวกหรือชฎาเป็นต้น
สำหรับรัดคางกันหลุด.
【 สายรัดทึบ 】แปลว่า: น. สายรัดท้องม้าเพื่อยึดอานให้แน่น.
【 สายรุ้ง 】แปลว่า: น. กระดาษม้วนสีต่าง ๆ ทำเป็นแถบเล็กยาว ใช้ตกแต่งสถานที่
หรือใช้ขว้างให้คลี่ออกแสดงความรื่นเริง.
【 สายล่อฟ้า 】แปลว่า: น. แท่งโลหะปลายแหลมใช้ติดบนหลังคาอาคารสูง ๆ โดยโยง
ต่อกับพื้นดินด้วยลวดโลหะ เพื่อทําหน้าที่เป็นตัวนําไฟฟ้าให้
อิเล็กตรอนจํานวนมากเคลื่อนที่ได้ระหว่างเมฆกับพื้นโลก เป็น
การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า.
【 สายลับ 】แปลว่า: น. ผู้เข้าไปสืบความลับ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการจารกรรม
ของสายลับ, สาย ก็ว่า.
【 สายเลือด 】แปลว่า: น. ญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน, ลูก, เช่น เด็กคนนี้เป็น
สายเลือดของเขาแท้ ๆ เขายังไม่เอาใจใส่เลย; โดยปริยาย
หมายถึงนิสัย, สันดาน, เช่น เขาชอบเล่นการพนันอยู่ใน
สายเลือด.
【 สายโลหิต 】แปลว่า: น. ญาติพี่น้องที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน.
【 สายวัด 】แปลว่า: น. เครื่องวัดระยะชนิดหนึ่งเป็นแถบเล็กยาว มีหน่วยวัดระยะ
ใช้วัดสิ่งต่าง ๆ เช่น สายวัดตัวของช่างเย็บเสื้อ สายวัดของ
ช่างไม้.
【 สายส่ง 】แปลว่า: น. ผู้ดำเนินกิจการเป็นตัวแทนในการส่งหนังสือหรือสินค้าอื่น
ให้แก่ผู้รับ.
【 สายสนกลใน 】แปลว่า: น. เลศนัยสลับซับซ้อน (มักใช้ในทางไม่บริสุทธิ์) เช่น เรื่องนี้มี
สายสนกลในมาก ต้องใช้นักสืบมืออาชีพสืบดู.
【 สายสมร 】แปลว่า: [–สะหฺมอน] น. หญิงที่รัก, นาง.
【 สายสร้อย 】แปลว่า: น. เครื่องประดับที่ทำเป็นเส้น เช่น สายสร้อยคอ สายสร้อย
ข้อมือ, สร้อย ก็ว่า.
【 สายสวน 】แปลว่า: น. สายยางหรือท่อโลหะที่ใช้สวนปัสสาวะ.
【 สายสวาท 】แปลว่า: น. ผู้เป็นที่รัก.
【 สายสะดือ 】แปลว่า: น. ส่วนที่ต่อระหว่างรกกับสะดือเด็ก.
【 สายสะพาย 】แปลว่า: น. แพรแถบสีเดียวหรือหลายสี เป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ใช้สะพายบ่า.
【 สายสัมพันธ์ 】แปลว่า: น. ความผูกพันกันมาช้านาน, ความเกี่ยวข้องเป็นมิตรไมตรี
กันมานาน, เช่น ไทยกับจีนมีสายสัมพันธ์อันดีมาหลายร้อย
ปีแล้ว.
【 สายสำอาง 】แปลว่า: น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ผูกติดกับรัด
ประคนทั้ง ๒ ข้าง ปรกติทอดขนานลำตัวช้างไปผูกติดกับ
กระวินคล้องกับระวิงหรือซองหาง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบ ใช้
สายสำอางนี้สอดผูกเพื่อช่วยรั้งมิให้เลื่อนไปทางหัวช้าง
ขณะเดินลงที่ลาด.
【 สายสิญจน์ 】แปลว่า: น. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธี
ทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์
ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.
【 สายสืบ 】แปลว่า: น. ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีก
ฝ่ายหนึ่ง, สาย ก็ว่า.
【 สายสูตร 】แปลว่า: น. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน; เส้นด้ายที่เจ้านายหรือ
สมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา
เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น.
【 สายสูบ 】แปลว่า: น. สายส่งน้ำทำด้วยวัสดุทนไฟ ปลายสายทั้ง ๒ ข้างมีข้อต่อ
สำหรับต่อกับถังน้ำบนรถหรือต่อกับหัวประตูน้ำดับเพลิง อีก
ข้างหนึ่งสวมเข้ากับหัวฉีดน้ำ, ถ้าใช้ในการชลประทาน หรือ
ส่งน้ำให้ประชาชนใช้ เรียกว่า สายสูบส่งน้ำ, ถ้าใช้ในการ
ดับเพลิง เรียกว่า สายสูบส่งน้ำดับเพลิง; สายที่ทำด้วยสาร
สังเคราะห์ ปลายสายทั้ง ๒ ข้างมีข้อต่อสำหรับต่อกับถังบน
รถ อีกข้างหนึ่งจุ่มลงในของเหลวหรือสิ่งปฏิกูลแล้วสูบขึ้นมา.
【 สายหยก 】แปลว่า: น. เชือกผูกรั้งตรวนเพื่อให้นักโทษเดินสะดวกขึ้น เช่น มือถือ
สายหยกยกสะเทิน พลั้งเท้าก้าวเกินก็ล้มลง. (ขุนช้างขุนแผน).
【 สายเหา 】แปลว่า: น. สายเชือกหรือหนังที่รั้งอานหรือเบาะม้า แล้วมาโยงกับ
โคนหางม้า.
【 สายไหม 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาลซึ่งใช้เครื่องปั่นจนเป็นเส้น
ฝอย ๆ คล้ายเส้นไหม ห่อด้วยแผ่นโรตีหรือแผ่นเปาะเปี๊ยะ,
ถ้าห่อด้วยแผ่นโรตี เรียกว่า โรตีสายไหม.
【 สายอากาศ 】แปลว่า: น. สายลวดที่ขึงไว้เพื่อส่งหรือรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า.
【 สายเอก 】แปลว่า: น. สายสมอเรือสําเภา ทําด้วยเชือกเหนียวกว่าเชือกอื่น
สําหรับลงสมอเมื่อพายุแรง; เรียกสายเครื่องดนตรีที่เป็น
เสียงสูงว่า สายเอก, ส่วนสายที่มีเสียงรองลงมาเรียกว่า
สายทุ้ม.
【 ส่าย ๑ 】แปลว่า: ก. แกว่งไปมา เช่น ส่ายผ้าอ้อมในน้ำ, ย้ายไปมา เช่น ส่ายหัว
ส่ายสะโพก ว่าวส่าย. น. กระโปรงยาวที่ผู้หญิงนุ่ง.
【 ส่ายตา 】แปลว่า: ก. กวาดตามองทั่ว ๆ เช่น เขาส่ายตามองหาคนรู้จัก.
【 ส่ายศึก, ส่ายเศิก 】แปลว่า: ก. กวาดล้างให้หมดสิ้นข้าศึกศัตรู เช่น ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า
ราญราบหน้าเภริน. (นิ. นรินทร์).
【 ส่ายหน้า 】แปลว่า: ก. อาการที่ทำหน้าหันไปมาช้า ๆ แสดงถึงความหมดหวัง หมด
ศรัทธา หมดปัญญาเป็นต้น เช่น หมอเห็นผลการตรวจคนไข้แล้ว
ส่ายหน้า.
【 ส่าย ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากผ้าแพรเนื้อหนาแข็งเสียดสีกัน
เช่น ได้ยินเสียงแพรส่าย.
【 ส้าย 】แปลว่า: ก. กําจัด, สู้.
【 สายชู 】แปลว่า: น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖
มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร เรียกว่า นํ้าส้มสายชู, นํ้าส้ม
ก็เรียก.
【 สายตา 】แปลว่า: น. ระยะที่ตาจะมองเห็นได้ เช่น สุดสายตา อยู่ในสายตา,
โดยปริยายหมายความว่า ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด
เช่น ความประพฤติของนักเรียนอยู่ในสายตาของครูอาจารย์,
ความสอดส่องจับตาดูอยู่เสมอ เช่น พวกนักเลงอยู่ในสายตา
ของตำรวจ, ความสนใจ เช่น คนจนไม่อยู่ในสายตาของพวก
เศรษฐี.
【 สายตาไกล 】แปลว่า: ว. สามารถคิดและคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในภาย
หน้าได้ค่อนข้างจะถูกต้อง เช่น ผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้มีสายตา
ไกล, สายตากว้างไกล ก็ว่า.
【 สายตาพิการ 】แปลว่า: น. ความพิการในการเห็น, สายตาที่บกพร่องมองเห็นไม่เหมือน
คนปรกติ เช่นตาบอดสี, การเห็นไม่ดีจนเป็นอุปสรรคต่อการงาน
ซึ่งต้องใช้การมองเห็นเป็นหลัก.
【 สายตายาว 】แปลว่า: น. ความสามารถของนัยน์ตาที่มองเห็นชัดเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกล
เท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ใกล้มองเห็นพร่าไม่ชัดเจน ช่วยได้โดยสวม
แว่นที่เป็นเลนส์นูน.
【 สายตาสั้น 】แปลว่า: น. ความสามารถของนัยน์ตาที่มองเห็นชัดเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้
เท่านั้น ส่วนสิ่งที่อยู่ไกลมองเห็นพร่าไม่ชัดเจน ช่วยได้โดยสวม
แว่นที่เป็นเลนส์เว้า.
【 สายตาเอียง 】แปลว่า: น. ความบกพร่องของนัยน์ตาที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในแนวระดับ
หรือในแนวดิ่งไม่ได้ชัดสม่ำเสมอกัน ช่วยได้โดยสวมแว่นที่เป็น
เลนส์รูปกาบกล้วย.
【 สายติ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้นํ้าชนิด /Nymphoides parvifolium/ Kuntze ในวงศ์
Menyanthaceae กินได้, บัวสายติ่ง หรือ บัวสายทิ้ง ก็เรียก.
【 สายน้ำผึ้ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Lonicera japonica/ Thunb. ในวงศ์
Caprifoliaceae ดอกสีนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม
ใช้ทํายาได้.
【 สายม่าน 】แปลว่า: น. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวเล็กเรียวยาว ส่วน
มากสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายทองเหลือง ว่องไว
ปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบน
ต้นไม้ มีหลายชนิดและชุกชุมทุกภาคของประเทศไทย เช่น
สายม่านลิ้นแดง (/Dendrelaphis pictus/) สายม่านหลังทอง
(/D. formosus/) ไม่มีพิษ.
【 สายยู ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาน้ำจืดในวงศ์ Schilbeidae ตัวเรียวยาว มีหนวดยาว
๔ คู่ และมีครีบหลัง ๒ ตอน เฉพาะตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาด
เล็กมาก ได้แก่ ชนิด /Platytropius siamensis,/ เกด ก็เรียก.
【 สายหยุด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Desmos chinensis/ Lour. ในวงศ์
Annonaceae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม พอสายก็หมดกลิ่น.
【 สายัณห์, สายาห์ 】แปลว่า: น. เวลาเย็น. (ป. สายณฺห; ส. สายาหฺน).
【 สายา 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น สายาอยู่ในถนน
ถามข่าว รยมฤๅ. (กำสรวล).
【 สาร ๑, สาร– ๑ 】แปลว่า: [สาน, สาระ–] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น
แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร
สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียน
สาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
【 สารกรมธรรม์ 】แปลว่า: [สานกฺรมมะ–] /ดู กรมธรรม์./
【 สารคดี 】แปลว่า: [สาระ–] น. เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จาก
จินตนาการ เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ.
【 สารตรา 】แปลว่า: [สาน–] (กฎ; โบ) น. หนังสือราชการที่เชิญพระบรมราชโองการ
ซึ่งประทับตราใหญ่; หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลง
ชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมา
เรียกว่า ท้องตรา.
【 สารธรรม 】แปลว่า: [สาระ–] น. ธรรมเป็นหลักฐาน, ธรรมที่มั่นคง.
【 สารนิเทศ 】แปลว่า: [สาระนิเทด] น. การชี้แจงแนะนําเกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูล
ต่าง ๆ. (ส. สาร + นิรฺเทศ; ป. สาร + นิทฺเทส).
【 สารบบ, สารบับ 】แปลว่า: [สาระ–] น. คําบอกเรื่อง, บัญชีเรื่อง, เช่น เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในสารบบ.
【 สารบบความ 】แปลว่า: น. บัญชีคดีความต่าง ๆ ของศาล.
【 สารบรรณ 】แปลว่า: [สาระ–] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน, เรียกงานที่เกี่ยวกับ
การบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง
การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร ว่า งาน
สารบรรณ.
【 สารบัญ, สารบาญ 】แปลว่า: [สาระ–] น. บัญชีเรื่อง, รายชื่อเรื่อง. (ตัดจาก สารบัญชี และ
สารบาญชี).
【 สารบาญชี 】แปลว่า: [สาระ–] น. การจัดวิธีเกณฑ์คนเข้ารับราชการฝ่ายทหาร
และพลเรือนในสมัยโบราณตั้งเป็นกรม เรียกว่า กรมพระ
สุรัสวดี คือ สัสดี เดี๋ยวนี้.
【 สารประโยชน์ 】แปลว่า: [สาระ–] น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร เช่น สารประโยชน์ของ
กฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน, สารัตถ-
ประโยชน์ ก็ว่า.
【 สารสนเทศ 】แปลว่า: [สาระสนเทด, สานสนเทด] น. ข่าวสาร; การแสดงหรือ
ชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ. (ส. สาร + สนฺเทศ; ป. สาร
+ สนฺเทส).
【 สาร ๒ 】แปลว่า: [สาน] น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติ
เฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่ง
แยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่าง
ออกไปได้; (โบ) เรียกธาตุจําพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรก
ในต้นไม้ว่า สาร.
【 สารประกอบ 】แปลว่า: (เคมี) น. สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปมารวมตัว
กันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ.
(อ. compound).
【 สารละลาย 】แปลว่า: (เคมี) น. ของผสมเนื้อเดียวล้วน ซึ่งประกอบด้วยสารต่าง
ชนิดกันตั้งแต่ ๒ สารขึ้นไป แผ่กระจายผสมรวมกันอยู่อย่าง
สมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น ของแข็งละลาย
ในของเหลว ของเหลวละลายในของเหลว ของแข็งละลาย
ในของแข็ง แก๊สละลายในแก๊ส. (อ. solution).
【 สารส้ม 】แปลว่า: น. เกลือเคมีประเภทหนึ่ง ทั่วไปรู้จักกันเฉพาะชนิดที่ใช้
ประโยชน์ทําให้นํ้าใสสะอาด ชนิดนี้มีสูตร K2SO4Al2
(SO4)3?24H2O ลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีขาว มีรสเปรี้ยว
ฝาด.
【 สารหนู 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓๓ สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง
มี ๓ อัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดํา และสารหนูสี
เหลือง เป็นธาตุที่มีพิษอย่างร้ายแรง. (อ. arsenic).
【 สารหนูขาว 】แปลว่า: น. สารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งมีธาตุสารหนูและออกซิเจนเป็น
องค์ประกอบ มีสูตร As2O3 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีพิษ
อย่างร้ายแรง ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทําสีบางประเภท
และยาฆ่าแมลง, ชาวบ้าน เรียกว่า สารหนู.
【 สาร ๓ 】แปลว่า: น. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร.
【 สาร ๔ 】แปลว่า: น. ข้าวที่สีหรือตําเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร.
【 สาร– ๒ 】แปลว่า: [สาระ–] คําประกอบหน้าคํา แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก,
เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว
ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค
เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).
【 สารทุกข์สุกดิบ 】แปลว่า: (ปาก) น. ข่าวคราวความเป็นไปหรือความเป็นอยู่ เช่น
ไม่พบกันมานาน เพื่อน ๆ ต่างก็ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่ง
กันและกัน.
【 สารถี 】แปลว่า: [สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า
ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).
【 สารถีชักรถ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓
ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า
เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ
กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง
ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์
ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้า
เสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).
【 สารท ๑ 】แปลว่า: [สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืช
พรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และ
ข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).
【 สารท ๒, สารทฤดู 】แปลว่า: [สาด, สาระทะรึดู] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ในประเทศเขตอบอุ่นทาง
ซีกโลกเหนือ ซึ่งแบ่งฤดูกาลออกเป็น ๔ ฤดู คือ ฤดูหนาว
(เหมันตฤดู) ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู)
และฤดูใบไม้ร่วง (สารทฤดู) นั้น ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นในเดือน
กันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน. (อ. autumn).
【 สารทา 】แปลว่า: [สาระทา] น. ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี.
【 ส้ารบับ 】แปลว่า: [ส้าระบับ] น. ผ้าเยียรบับ.
【 สารพัด 】แปลว่า: [สาระพัด] ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทุก, ทุกอย่าง, เช่น ร้านชำ
มีของขายสารพัด, เขียนเป็น สารพัตร ก็มี.
【 สารพัน 】แปลว่า: [สาระพัน] ว. สารพัด เช่น สารพันปัญหา, มักใช้เข้าคู่กัน เป็น
สารพัดสารพัน ก็มี.
【 สารพางค์ 】แปลว่า: [สาระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น
สารพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสารพางค์กาย, สรรพางค์
ก็ว่า. /(ดู สรรพ, สรรพ–)./
【 สารภาพ 】แปลว่า: [สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมย
ของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.
【 สารภี 】แปลว่า: [สาระพี] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Mammea/ วงศ์ Guttiferae
ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ คือ ชนิด /M. harmandii /
Kosterm. ดอกใหญ่ และชนิด /M. siamensis/ (Miq.) T. Anderson
ดอกเล็ก. (ป., ส. สุรภิ).
【 สารภีทะเล 】แปลว่า: /ดู กระทิง ๒./
【 สารภีป่า 】แปลว่า: /ดู พะวา./
【 สารไมย 】แปลว่า: [สาระไม] น. หมา. (ป. สารเมยฺย; ส. สารเมย).
【 สารวัตร 】แปลว่า: [สาระวัด] น. ผู้ตรวจงานทั่วไป เช่น สารวัตรจราจร สารวัตร
ปราบปราม.
【 สารวัตรทหาร 】แปลว่า: น. ทหารที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจสั่งใช้ให้ปฏิบัติหน้าที่ เช่น
สอดส่อง ตรวจตรา ตักเตือน จับกุมทหาร ข้าราชการพลเรือน
และคนงานสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำความผิดหรือไม่
อยู่ในระเบียบวินัยซึ่งอยู่ภายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร.
【 สารวัตรนักเรียน 】แปลว่า: น. เจ้าหน้าที่ตรวจตราดูแลและควบคุมความประพฤติของ
นักเรียน.
【 สาระ 】แปลว่า: น. ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น เขียนมายืดยาวแต่มีสาระ
น้อย ทำดีย่อมได้ดีเป็นสาระสำคัญของเรื่องนี้; ประโยชน์ เช่น
เรื่องไม่เป็นสาระ ไร้สาระ.
【 สาระโกก 】แปลว่า: ว. โกงเกะกะเกเร, เป็นพาล.
【 สาระแน 】แปลว่า: ว. ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องของคนอื่น, ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่
หน้าที่ของตน, เช่น เขากำลังทำงานกันอยู่ดี ๆ ก็สาระแนเข้า
ไปทำงานเขาเสีย; ยุแหย่ให้เขาผิดใจกัน, ยุยงให้เขาแตกกัน,
เช่น พูดอะไรให้ฟัง ก็สาระแนไปบอกเขาหมด.
【 สาระพา, สาระพาเฮโล 】แปลว่า: ว. เสียงร้องพร้อม ๆ กันเพื่อบอกจังหวะให้ออกแรงพร้อมกัน
เมื่อเวลาลากหรือยกของหนักเป็นต้น, เฮโลสาระพา ก็ว่า.
【 สาระยำ 】แปลว่า: ก. ชั่วมาก เช่น ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระยำ.
(พระไชยสุริยา).
【 สาระวอน 】แปลว่า: ก. พูดออดอ้อน เช่น สาระวอนอยู่นั่นแล้ว ไม่รู้จักเลิก.
【 สาระวารี 】แปลว่า: น. ดอกการะเกด. (ช.).
【 สาระสะมา 】แปลว่า: น. ดอกชมพู่. (ช.).
【 สารัตถ–, สารัตถะ 】แปลว่า: [สารัดถะ–] น. เนื้อหาหลัก, ใจความสําคัญ, ความคิดสําคัญ
ของเรื่อง.
【 สารัตถประโยชน์ 】แปลว่า: น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร, สารประโยชน์ ก็ว่า.
【 สารัตถศึกษา 】แปลว่า: น. การศึกษาวิชาที่เป็นพื้นฐาน เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ประวัติศาสตร์.
【 สารัทธ์ 】แปลว่า: ว. ปั่นป่วน, ฉุนเฉียว, รุนแรง. (ป.).
【 สารัมภ์ 】แปลว่า: ก. เริ่ม. (ป.).
【 สาราณีย–, สาราณียะ 】แปลว่า: [–นียะ–] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก. (ป.; ส. สฺมรณีย).
【 สาราณียธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน. (ป. สาราณีย +
ส. ธรฺม).
【 สาราณียกร 】แปลว่า: [–นียะกอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ของสมาคมหรือสถาบัน
การศึกษาเป็นต้น ทําหน้าที่อย่างบรรณาธิการ.
【 สารานุกรม 】แปลว่า: น. หนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงหรือเฉพาะแขนงใด
แขนงหนึ่ง มักเรียงตามลําดับอักษร. (อ. encyclopaedia).
【 สารีริกธาตุ 】แปลว่า: [–ริกกะทาด] น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, ใช้ว่า พระบรม
สารีริกธาตุ. (ป. สารีริก + ธาตุ).
【 สารูป 】แปลว่า: ว. เหมาะ, สมควร, เช่น สมณสารูป ว่า สมควรแก่สมณะ.
(ป. สารุปฺป; ส. สารูปฺย).
【 สาโรช 】แปลว่า: [–โรด] น. บัว. (ป., ส. สโรช).
【 สาละ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Shorea robusta/ Roxb. ในวงศ์
Dipterocarpaceae. (ป., ส.).
【 สาละวน 】แปลว่า: ก. วุ่นอยู่กับการงาน เช่น มัวสาละวนอยู่กับการเย็บเสื้อ
จนลืมทำกับข้าว.
【 สาลิ, สาลี ๑ 】แปลว่า: น. ข้าว; ข้าวสาลี. (ป.).
【 สาลิกา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Acridotheres tristis/ ในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็น
วงศ์เดียวกับนกกิ้งโครง ลําตัวสีนํ้าตาลเข้ม หัวสีดํา ขอบตา
และปากสีเหลือง มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว กินแมลง
และผลไม้ พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย, เอี้ยง หรือ เอี้ยง
สาริกา ก็เรียก. (ป.; ส. ศาริกา).
【 สาลิกา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อตะกรุดดอกเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง ใช้ในทางเมตตามหานิยม.
【 สาลิกาแก้ว 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 สาลิกาเขมร 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 สาลิกาชมเดือน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
【 สาลินี 】แปลว่า: น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คํา วรรคหน้ามี ๕ คํา
เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คํา คําที่ ๑ และคําที่ ๔ เป็นลหุ
นอกนั้นเป็นครุ เช่น
(รูปภาพ)
พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน
ราชาวัชชีสรร– พจักสู้พินาศสม.
(สามัคคีเภท). (ป.).
【 สาลี ๒ 】แปลว่า: น. ข้าวสาลี. /(ดู ข้าวสาลี ที่ ข้าว)./
【 สาลี่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Pyrus pyriflora/ L. ในวงศ์ Rosaceae
ผลเนื้อกรอบ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม. (จ.).
【 สาลี่ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีตีกับไข่และน้ำตาล
จนฟู แล้วนึ่งจนสุก.
【 สาลี่กรอบ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีนวดกับไข่ มะพร้าว
ผสมน้ำตาล และกะทิ ผิงหรืออบจนหน้าเกรียม.
【 สาลี่ ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องบรรทุกของหนักมี ๒ ล้อ ใช้ลากหรือผลักไป.
【 สาลี่ ๔ 】แปลว่า: น. คันเหล็กติดอยู่บนหลังคารถราง ปลายมีลูกรอกยันอยู่
กับสายไฟฟ้า เพื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องรถ.
(อ. trolley).
【 สาลู 】แปลว่า: น. ผ้าขาวเนื้อบางละเอียด, ในปัจจุบันอนุโลม เรียกผ้า
ขาวบางเนื้อนุ่ม มักใช้ทําเป็นผ้าอ้อม ว่า ผ้าสาลู ด้วย.
【 สาโลหิต 】แปลว่า: (แบบ) น. สายโลหิต, มักใช้เข้าคู่กับคํา ญาติ เป็น ญาติสาโลหิต.
(ป.).
【 สาว ๑ 】แปลว่า: น. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕–๓๐
ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือน
เด็ก ๆ, ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ใช้คําว่า นางสาว นําหน้าชื่อ. ว.
เรียกคนและสัตว์ที่มีท้องครั้งแรกว่า ท้องสาว, เรียกต้นไม้ที่
เริ่มผลิดอกออกผลครั้งแรก เช่น หมากสาว มะพร้าวสาว,
เรียกหญิงที่ยังไม่แก่ตามวัย เช่น แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยัง
ดูสาวอยู่, เรียกหญิงที่ยังไม่แต่งงาน เช่น จะพูดอะไรให้เกรงใจ
เขาบ้าง ถึงเขาจะอายุมากแล้วแต่ก็ยังเป็นสาวอยู่.
【 สาวแก่ 】แปลว่า: น. หญิงที่มีอายุเลยวัยสาว แต่ยังไม่ได้แต่งงาน.
【 สาวใช้ 】แปลว่า: น. หญิงลูกจ้างช่วยแม่บ้านทำงาน.
【 สาวน้อย 】แปลว่า: น. หญิงที่อยู่ในวัยรุ่น.
【 สาวน้อยร้อยชั่ง 】แปลว่า: น. หญิงที่มีค่าตัวสูง มีคุณสมบัติและรูปสมบัติเป็นที่ยกย่อง.
【 สาวทึนทึก, สาวทึมทึก 】แปลว่า: น. สาวใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงาน, สาวเทื้อ ก็ว่า.
【 สาวเทื้อ 】แปลว่า: น. สาวแก่, สาวทึนทึก, สาวทึมทึก.
【 สาวพรหมจารี 】แปลว่า: น. สาวที่ยังไม่มีสามี, หญิงที่ยังไม่มีระดู, เช่น ตามที่ถือกันว่า
ผู้ซึ่งสำหรับกวนข้าวทิพย์นั้นต้องเป็นสาวพรหมจารี คือที่ยัง
ไม่มีสามีนั้นประการหนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือหญิงซึ่งยังไม่มีระดู
กล่าวว่าเป็นพรหมจารีแท้… (สิบสองเดือน); สาวบริสุทธิ์,
หญิงที่ยังบริสุทธิ์, หญิงที่ยังไม่เคยร่วมประเวณี.
【 สาวรุ่น 】แปลว่า: น. หญิงที่เพิ่งแตกเนื้อสาว.
【 สาวศรี 】แปลว่า: (กลอน) น. สาววัยรุ่น.
【 สาวศรีสาวใช้ 】แปลว่า: (สำ) น. สาวใช้.
【 สาวสะ 】แปลว่า: น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว
ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็ม
ยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่ง
ตัวสะ หรือ นางสะ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสาวรุ่น.
【 สาวสะเทิน 】แปลว่า: น. หญิงที่อยู่ในวัยระหว่างสาวกับเด็กก้ำกึ่งกัน.
【 สาวแส้ 】แปลว่า: น. หญิงสาว.
【 สาวใหญ่ 】แปลว่า: น. หญิงที่อยู่ในวัยกลางคน.
【 สาว ๒ 】แปลว่า: ก. ชักหรือดึงสิ่งที่เป็นเส้นยาว ๆ ออกจากที่เข้าหาตัว เช่น
สาวไหม สาวเชือก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย
คลึงเช่นนั้น เช่น สาวความ.
【 สาวก้าว 】แปลว่า: ก. ก้าวยาวอย่างเร็ว, เดินเร็ว.
【 สาวเท้า 】แปลว่า: ก. ก้าวยาว ๆ เร่งฝีเท้าให้เร็ว.
【 สาวไส้ 】แปลว่า: ก. นําความลับที่ไม่ควรเปิดเผยไปให้คนอื่นรู้, มักใช้ใน
ทางไม่ดี.
【 สาวไส้ให้กากิน 】แปลว่า: (สํา) ก. นำความลับของฝ่ายตนไปเปิดเผยให้คนอื่นรู้
เป็นการประจานตนหรือพรรคพวกของตน.
【 สาว– ๓ 】แปลว่า: [สาวะ–] ว. สีดําแดง, สีนํ้าตาลแก่. (ป.; ส. ศฺยาว).
【 สาวก 】แปลว่า: น. ศิษย์ของศาสดา. (ป.; ส. ศฺราวก).
【 สาวกระทืบหอ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L..
【 สาวน้อยเล่นน้ำ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สาวนะ ๑, ศรวณะ, ศระวณะ 】แปลว่า: [สาวะนะ, สะระวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็น
รูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก.
【 สาวนะ ๒ 】แปลว่า: [สาวะนะ] น. เดือน ๙. (ป.; ส. ศฺราวณ).
【 สาวิกา 】แปลว่า: น. ศิษย์ผู้หญิงของศาสดา. (ป.; ส. ศฺราวิกา).
【 สาวิตร 】แปลว่า: [–วิด] ว. เกี่ยวเนื่องกับพระอาทิตย์. (ส.).
【 สาวิตรี 】แปลว่า: [–วิดตฺรี] น. คําสดุดีพระอาทิตย์บทหนึ่งในฤคเวท. (ส.).
【 สาสน, สาสน–, สาสน์, สาส์น 】แปลว่า: [สาน, สาสะนะ–, สาดสะนะ–, สาด, สาน] น. คําสั่ง,
【 คําสั่งสอน, 】แปลว่า:
เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุข
สงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็น
จดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียน
เป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมาย
ของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน
หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช
เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
เรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).
【 สาสนธรรม 】แปลว่า: น. คําสั่งสอนทางศาสนา.
【 สาสนา 】แปลว่า: [สาดสะหฺนา] น. ศาสนา, คําสั่งสอนของศาสดา. (ป. สาสน;
ส. ศาสน).
【 สาสม 】แปลว่า: [สา–สม] ว. เหมาะ, สมควร, เช่น ต้องลงโทษให้สาสม
แก่ความผิด.
【 สาหร่าย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีลําต้น ใบ และรากที่แท้จริง แต่มี
คลอโรฟิลล์ บ้างเป็นเซลล์เดียว บ้างเป็นกลุ่มเซลล์เป็น
สาย หรือเป็นต้นคล้ายพืชชั้นสูง ขึ้นทั่วไปในนํ้าหรือที่
ชื้นแฉะ เช่น สาหร่ายไส้ไก่ [/Enteromorpha /
/intestinalis/ (L.) Link] ในวงศ์ Ulvaceae; ชื่อพืชชั้นสูง
ที่มีดอกบางชนิดซึ่งขึ้นอยู่ในนํ้า เช่น สาหร่ายพุงชะโด
(/Ceratophyllum demersum/ L.) ในวงศ์ Cerato-
phyllaceae สาหร่ายเส้นด้าย (/Najas graminea /
Del.) ในวงศ์ Najadaceae.
【 สาหร่าย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อลายประเภทเครื่องห้อยแบบหนึ่งนิยมประดับริม
เสามุขเด็จพระมหาปราสาทหรือพระอุโบสถเป็นต้น.
【 สาหรี 】แปลว่า: [–หฺรี] ว. งาม, น่ารัก, ดี. (ช.).
【 ส่าหรี 】แปลว่า: [–หฺรี] น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้น
ยาวประมาณ ๕–๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่มส่วน
ที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่
เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า
โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมา
คลุมหัวก็ได้.
【 สาหัตถ–, สาหัตถิก– 】แปลว่า: [–ถะ–, –ถิกะ–] ว. ที่ทําด้วยมือของตนเอง. (ป.).
【 สาหัส 】แปลว่า: [–หัด] ว. ร้ายแรง เช่น บาดเจ็บสาหัส, รุนแรงเกินควร เช่น
ถูกลงโทษอย่างสาหัส. (ป., ส.).
【 สาหัสสากรรจ์ 】แปลว่า: ว. แสนสาหัส, ร้ายแรงมาก, คอขาดบาดตาย, เช่น ได้รับ
ทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์, โดยปริยายหมายความ
ว่า ลำบากยิ่ง เช่น ทางนี้ทุรกันดารสาหัสสากรรจ์ บุกป่า
ฝ่าดงอย่างสาหัสสากรรจ์.
【 สาเหตุ 】แปลว่า: [สาเหด] น. ต้นเหตุ เช่น ความประมาทเป็นสาเหตุทำให้
เกิดอุบัติเหตุ บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง.
【 ส่าเหล้า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ส่า./
【 ส่าเหล้า ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Desmos cochinchinensis /
Lour. ในวงศ์ Annonaceae ใบด้านล่างเป็นคราบขาว
ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม.
【 สาแหรก ๑ 】แปลว่า: [–แหฺรก] น. เครื่องใส่ของสําหรับหิ้วหรือหาบเป็นต้น ปรกติ
ทําด้วยหวาย มี ๔ สาย ตอนบนทําเป็นหูสําหรับหิ้วหรือสอด
ไม้คาน ตอนล่างขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสําหรับวางกระจาด
เป็นต้น. (เทียบ ข. สงฺแรก).
【 สาแหรก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อชมพู่ชนิด /Syzygium malaccensis/ (L.) Merr. et L.M.
Perry ในวงศ์ Myrtaceae ผลใหญ่ สีชมพู เนื้อหนา มีลาย
สีแดงเข้มเป็นเส้น ๆ ตามยาว.
【 สาแหรก ๓ 】แปลว่า: น. ร่องที่อยู่บนข้าวเปลือก ถ้าร่องนั้นลึกก็จะปรากฏบน
เมล็ดข้าวด้วย.
【 สาฬุระ 】แปลว่า: น. หมา. (ป.); กบ, เขียด. (ส. สาลูร ว่า กบ, ศาลูร ว่า กบ,
เขียด).
【 สำ 】แปลว่า: ก. ซับซ้อนกัน, ปะปนกัน, ไม่เป็นลําดับ, ไม่เป็นระเบียบ.
【 สำส่อน 】แปลว่า: ก. ปะปนโดยไม่เลือกเช่นในการคบค้าสมาคมหรือในการ
ซ่องเสพเป็นต้น เช่น สำส่อนทางเพศ จะเป็นเอดส์ไม่รู้ตัว
อย่าสำส่อนในการกินอาหาร. ว. ที่ปะปนในลักษณะเช่น
นั้น เช่น เที่ยวสำส่อน กินสำส่อน.
【 ส่ำ 】แปลว่า: น. หมู่, เหล่า, พวก, ชนิด, เช่น สํ่าสัตว์.
【 สำคัญ 】แปลว่า: ว. เป็นพิเศษกว่าธรรมดา เช่น เรื่องสําคัญ, มีคุณค่า เช่น ของ
สําคัญ, มีชื่อเสียง เช่น คนสําคัญ; ควรกําหนดจดจํา เช่น
หัวข้อสำคัญ. ก. เข้าใจ เช่น สำคัญตนผิด สำคัญว่าเชือกเป็น
งู, คะเน, คาดว่า, เช่น ลงทุนไปแล้วก็สำคัญว่าจะได้กำไรมาก.
น. เครื่องหมาย, เครื่องจดจํา, เช่น ถือหลักเขตเป็นสําคัญ ให้ไว้
เป็นสำคัญ ประทับตราบัวแก้วไว้เป็นสำคัญ.
【 สำซ่าง 】แปลว่า: น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สําหรับพระสงฆ์นั่งสวด
พระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง ซ่าง สร้าง
หรือ ส้าง ก็เรียก.
【 สำแดง ๑ 】แปลว่า: ก. แสดง, ทําให้เห็นปรากฏ, เช่น สําแดงฤทธิ์ สําแดงเดช
ปีศาจสำแดงตน. (แผลงมาจาก แสดง).
【 สำแดง ๒ 】แปลว่า: น. ของแสลงที่ทำให้โรคกำเริบ, สำแลง ก็ว่า, ใช้ในคำว่า
ผิดสำแดง หรือ ผิดสำแลง.
【 สำแดง ๓ 】แปลว่า: คํากล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็น
สํานวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระ
สาวก เช่น สําแดงอานนท์.
【 สำทับ 】แปลว่า: ก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จ
ใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำ
อีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจ
มิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.
【 สำนวด 】แปลว่า: สําหฺนวด ก. สวด. (แผลงมาจาก สวด).
【 สำนวน 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สํานวนโวหาร
เช่น สารคดีเรื่องนี้สํานวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สํานวน
โวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคําหรือข้อความ
ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตาม
ตัวหรือมีความหมายอื่น แฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า
รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคําที่แสดงออกมาเป็นข้อความ
พิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สํานวนฝรั่ง สํานวนบาลี,
ชั้นเชิงหรือท่วงทํานองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สํานวน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สํานวนยาขอบ สํานวนไม้ เมืองเดิม;
ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น
อิเหนามีหลายสํานวน บทความ ๒ สํานวน.
【 สำนวนความ 】แปลว่า: (กฎ) น. บรรดาคําคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษ
ไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาล
ได้ทําขึ้น ซึ่งประกอบเป็นสํานวนของคดี.
【 สำนอง 】แปลว่า: ก. รับผิดชอบ, ต้องรับใช้แทน. (แผลงมาจาก สนอง).
【 สำนัก 】แปลว่า: น. ที่อยู่อาศัย เช่น อยู่สำนักวัดมหาธาตุ, ที่ทําการ เช่น
สํานักนายกรัฐมนตรี; แหล่งศึกษาอบรม เช่น สํานัก
วิปัสสนาวัดปากน้ำ สำนักทิศาปาโมกข์. ก. อยู่ เช่น
เวลานี้สํานักที่ไหน. (โบ เขียนเป็น สํานักนิ).
【 สำนักงาน 】แปลว่า: น. สถานที่ทำการของรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทห้างร้านเป็นต้น
เช่น สำนักงานสลากกินแบ่ง สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน
สำนักงานทนายความ.
【 สำนักพิมพ์ 】แปลว่า: น. สถานที่ดำเนินธุรกิจจัดพิมพ์และจำหน่ายตำราหรือ
หนังสือสารคดี นวนิยาย เป็นต้น.
【 สำนักสงฆ์ 】แปลว่า: น. วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา.
【 สำนาน 】แปลว่า: น. เสียง, เสียงพูด.
【 สำนึก 】แปลว่า: ก. รู้สึกซาบซึ้ง เช่น สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำนึก
ถึงบุญคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์.
【 สำนึกผิด 】แปลว่า: ก. รู้สึกตระหนักในความผิดที่ได้ทำไป เช่น ผู้ร้ายสำนึกผิด
จึงได้สารภาพ, บางทีก็ใช้ว่า สำนึก เช่น ทำผิดถูกลงโทษ
แล้วยังไม่สำนึกอีก.
【 สำนึง 】แปลว่า: ก. อยู่. (แผลงมาจาก สึง).
【 สำเนา 】แปลว่า: น. ข้อความหรือภาพเป็นต้นที่ผลิตซํ้าจากต้นแบบหรือ
ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกจํานวนแผ่นหรือชุดที่ผลิต
ซํ้าจากต้นแบบหรือต้นฉบับ. ก. คัดหรือถ่ายข้อความ
หรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ เช่น ก่อนส่ง
ใบเสร็จรับเงินไปให้ลูกค้า ควรสําเนาไว้ก่อน.
【 สำเนียง 】แปลว่า: น. เสียง, นํ้าเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง, เช่น สําเนียง
ส่อภาษา สําเนียงไม่ชัด พูดภาษาไทยแต่สำเนียงเป็นฝรั่ง.
【 สำบอก 】แปลว่า: น. เปลือก. (ข. สํบก).
【 สำบัดสำนวน 】แปลว่า: ก. พูดจาหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใจตรง ๆ, ใช้คารมพลิกแพลง,
เล่นลิ้น, เช่น อย่าสำบัดสำนวนให้มากนัก. น. สํานวน,
คารมพลิกแพลง, เช่น เขาพูดมีสำบัดสำนวนมาก บทความ
ของเขาเต็มไปด้วยสำบัดสำนวน.
【 สำปะลอ 】แปลว่า: น. ขนุนสําปะลอ. /(ดู ขนุนสําปะลอ ที่ ขนุน ๑)./
【 สำปะหลัง 】แปลว่า: น. ชื่อมันชนิด /Manihot esculenta/ Crantz ในวงศ์
Euphorbiaceae หัวดิบเป็นพิษ, สําโรง ก็เรียก.
【 สำปั้น ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบชนิดหนึ่ง เดิมทําด้วยไม้กระดาน
๓ แผ่น ท้ายสูงกว่าหัวเรือ ใช้แจวหรือพาย.
【 สำปั้น ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L..
【 สำปันนี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างเรือมาด แต่เพรียวกว่า
หัวและท้ายแบนโตเรี่ยนํ้า.
【 สำปันนี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งมัน ตั้งไฟกวนกับกะทิและ
น้ำตาลทรายให้เข้ากันพอปั้นได้ ตักใส่พิมพ์อัดให้เป็นรูป
แล้วเคาะออก อบด้วยควันเทียนอบ.
【 สำเภา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบจีน แล่นด้วยใบ.
【 สำเภา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Chaetocarpus castanocarpus/
(Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามป่าดิบ
ทั่วไป ผลมีหนามละเอียดโดยรอบ, ขี้หนอน ก็เรียก.
【 สำเภาทอง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวสะเภา ดาว
ยามเกา ดาวตาเรือชัย ดาวหัวสําเภา หรือ ดาวปุนัพพสู
ก็เรียก.
【 สำมะงา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Clerodendrum inerme/ Gaertn.
ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าชายเลน ใช้ทํายาได้.
【 สำมะโน 】แปลว่า: (กฎ) น. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากร เคหะ
การเกษตร อุตสาหกรรม ธุรกิจ และการอื่น เพื่อใช้
ประโยชน์ในทางสถิติ โดยการแจงนับจากทุกหน่วย
เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ.
【 สำมะโนครัว 】แปลว่า: น. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนราษฎรใน
แต่ละครัวเรือน.
【 สำมะโนประชากร 】แปลว่า: น. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและลักษณะ
ต่าง ๆ ของราษฎรทุกคนในทุกครัวเรือน ในระยะเวลา
ใดเวลาหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในทางสถิติ.
【 สำมะลอ 】แปลว่า: น. สําปะลอ.
【 สำมะเลเทเมา 】แปลว่า: ก. คบหากันอย่างเลอะเทอะ เช่น พอตกเย็นก็พากันไป
สำมะเลเทเมา, ประพฤติเหลวไหลเช่นกินเหล้าเมายา
เป็นต้น เช่น เขาชอบสำมะเลเทเมา กลางวันเล่นม้า
กลางคืนกินเหล้า.
【 สำมะหาอะไร 】แปลว่า: ว. นับประสาอะไร, จะพูดไปทำไมมี, จะกล่าวไปทำไม,
เช่น งานเล็ก ๆ เช่นนี้ยังทำไม่สำเร็จ สำมะหาอะไรจะ
ไปทำงานใหญ่, สำหาอะไร ก็ว่า.
【 สำรด 】แปลว่า: น. ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลาย
ต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์,
สมรด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.
【 สำรวจ 】แปลว่า: [สำหฺรวด] ก. ตรวจสอบ เช่น สํารวจสํามะโนครัว สำรวจ
พฤติกรรม, ตรวจหา เช่น สํารวจแหล่งแร่.
【 สำรวม ๑ 】แปลว่า: ก. ระมัดระวัง เช่น สํารวมกิริยามารยาท สำรวมตา
สำรวมปาก, เหนี่ยวรั้ง, ครอง, เช่น สํารวมสติ.
【 สำรวมใจ 】แปลว่า: ก. ทําใจให้แน่วแน่, ทำใจให้สงบ, เช่น เวลานั่งสมาธิต้อง
สำรวมใจ.
【 สำรวมอินทรีย์ 】แปลว่า: ก. ระมัดระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
【 สำรวม ๒ 】แปลว่า: ว. รวม, ประสม, ปนกัน, เช่น อาหารสำรวม.
【 สำรวย 】แปลว่า: ว. ทํากิริยากรีดกรายหยิบหย่ง, เอาแต่แต่งตัว, เช่น ท่าทาง
สำรวยอย่างนี้ คงจะทำงานหนักไม่ไหว. (แผลงมาจาก
สวย).
【 สำรวล 】แปลว่า: ก. หัวเราะ, รื่นเริง. (แผลงมาจาก สรวล).
【 สำรอก 】แปลว่า: ก. ขย้อนเอาสิ่งที่กลืนลงไปในกระเพาะแล้วออกมา
ทางปาก เช่น สำรอกอาหาร; ทำให้สิ่งที่ติดอยู่กับผิว
หลุดออกมา เช่น สำรอกทอง สำรอกสี.
【 สำรอง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Scaphium scaphigerum /
(G. Don) Guib. et Planch. ในวงศ์ Sterculiaceae ผล
แช่นํ้าแล้วพองเป็นวุ้น ใช้กินกับนํ้าตาลและใช้ทํายาได้
เรียก พุงทะลาย.
【 สำรอง ๒ 】แปลว่า: ว. ที่เตรียมเผื่อไว้ เช่น อาหารสำรอง ตัวสำรอง.
【 สำรับ 】แปลว่า: น. ของหรือคนที่รวมกันเข้าได้ไม่ผิดหมู่ผิดพวกเป็นชุดเป็น
วงเป็นต้น เช่น ไพ่ ๒ สำรับ พระพิธีธรรม ๑ สำรับ มี ๔ รูป
นักสวดคฤหัสถ์ ๑ สำรับ มี ๔ คน, ภาชนะเช่นถาดเป็นต้น
ใส่ถ้วยชามพร้อมบรรจุอาหารคาวหรือหวานเป็นชุด เช่น
สำรับคาว สำรับหวาน.
【 สำราก 】แปลว่า: ก. พูดกระโชกโฮกฮาก เช่น อย่ามาสำรากกับฉันนะ.
【 สำราญ 】แปลว่า: ก. สุขสบาย เช่น วันอาทิตย์จะนอนให้สำราญเลย.
ว. ที่ทำให้มีความสุขสบาย เช่น เรือสำราญ. (ข. สํราล).
【 สำราญกาย 】แปลว่า: ก. สบายกาย.
【 สำราญใจ 】แปลว่า: ก. สบายใจ.
【 สำริด 】แปลว่า: (โบ) น. สัมฤทธิ์.
【 สำเร็จ 】แปลว่า: ก. เสร็จ เช่น สำเร็จการศึกษา; ถึง, บรรลุ, เช่น สําเร็จโสดา.
ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น เครื่องแกงสำเร็จ, ได้ผลสม
ประสงค์ เช่น วางแผนการขายสินค้าได้สำเร็จ.
【 สำเร็จโทษ 】แปลว่า: (โบ; ราชา) ก. ประหารชีวิต.
【 สำเร็จรูป 】แปลว่า: ว. ที่ทำไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น เสื้อผ้าสําเร็จรูป อาหาร
สําเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูป.
【 สำเรา 】แปลว่า: ก. ทุเลา, อาการไข้ที่สร่างจากตัวร้อน, ยังมีอาการ
ตัวร้อนน้อย ๆ.
【 สำเริง 】แปลว่า: ก. รื่นเริง, ร่าเริง, เช่น นวนิยายให้ความสำเริงอารมณ์,
มักใช้เข้าคู่กับคำ สำราญ เป็น สำเริงสำราญ หรือ
สำราญสำเริง.
【 สำโรง 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Sterculia foetida/ L. ในวงศ์
Sterculiaceae ดอกมีกลิ่นเหม็น เมล็ดให้นํ้ามัน
เรียกว่า นํ้ามันลูกไม้. (ข.). (๒) /ดู สําปะหลัง./
【 สำลัก 】แปลว่า: ก. อาการที่เกิดเมื่ออาหารหรือนํ้าเข้าไปในหลอดลม; แช่จม
อยู่ในนํ้านาน ๆ เช่น ผักบุ้งสําลักนํ้า ต้นข้าวสําลักนํ้า. น.
เรียกป้านสีขาว เนื้อไม่แน่นละเอียด นํ้าซึมออกมาได้ ว่า
ป้านสําลัก.
【 สำลาน 】แปลว่า: ว. สีเหลืองปนแดง.
【 สำลี ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Gossypium barbadense /
L. var. /acuminatum/ (Roxb.) Mast. ในวงศ์ Malvaceae
เมล็ดมีปุยขาวใช้ทอผ้าได้; ชื่อเรียกปุยของเมล็ดฝ้ายหรือ
เมล็ดสําลี. (๒) อ้อยสําลี. /[ดู ตะเภา ๔ (๑)]./
【 สำลี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกปุยฝ้ายที่นํามาฟอกให้ขาวปราศจากไขมัน
และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เพื่อใช้ในทางการแพทย์เป็นต้น;
เรียกผ้าชนิดหนึ่ง มีขนเนื้อนุ่ม มักใช้ห่มหรือตัดเสื้อกัน
หนาว ว่า ผ้าสําลี.
【 สำลี ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Seriolina nigrofasciata/ ในวงศ์
Carangidae ลําตัวค่อนข้างกลม สีเทาคลํ้า เกล็ดเล็ก
คอดหางกิ่ว, ช่อลำดวน ก็เรียก.
【 สำแลง 】แปลว่า: น. ของแสลงที่ทําให้โรคกําเริบ, สำแดง ก็ว่า, ใช้ในคําว่า
ผิดสําแลง หรือ ผิดสำแดง.
【 สำสร้าง 】แปลว่า: /ดู สําซ่าง./
【 สำสา 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ต้นก้ามปู. /(ดู ก้ามปู)./
【 สำเส็ด 】แปลว่า: น. ต้นไม้ขนาดเล็ก ลูกเหมือนลูกชมพู่. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ส่ำเสีย 】แปลว่า: ก. เสียหายอย่างป่นปี้.
【 สำหรวด 】แปลว่า: น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลัก
ซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้
แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง
ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่
อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาสําหรวด.
【 สำหรับ 】แปลว่า: ว. คู่กับ, ควรกับ, เช่น ช้อนกับส้อมเป็นของสำหรับกัน
หมากพลูกับเชี่ยนเป็นของสำหรับกัน. บ. เพื่อ เช่น
ของสำหรับถวายพระ วันนี้ฉันทำกับข้าวเป็นพิเศษ
สำหรับเธอ.
【 สำหาอะไร 】แปลว่า: ว. นับประสาอะไร, จะพูดไปทำไมมี, จะกล่าวไปทำไม,
เช่น เรียนชั้นมัธยมยังสอบตก สำหาอะไรจะไปเรียน
มหาวิทยาลัย, สำมะหาอะไร ก็ว่า.
【 สำเหนียก 】แปลว่า: [สำเหฺนียก] ก. ฟัง, คอยเอาใจใส่, กําหนดจดจํา, เช่น ผู้ใหญ่
สอนอะไรก็ให้สำเหนียกไว้ให้ดี.
【 สำเหร่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Melastoma malabathricum/ L.
ในวงศ์ Melastomataceae ดอกสีชมพู.
【 สำออย 】แปลว่า: ก. พูดพรํ่ารําพันให้เอ็นดูสงสาร, ร้องออดอ้อนจะเอาสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง เช่น เจ็บนิดเดียว สำออยอยู่นั่นแหละ ลูกสำออย
พ่อแม่ขอซื้อตุ๊กตา.
【 สำอาง 】แปลว่า: น. เครื่องแป้งเครื่องหอม เรียกว่า เครื่องสําอาง, ปัจจุบัน
หมายถึง สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม
เป็นต้นให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชา
ศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสําอาง. ว. ที่ทําให้งามสะอาดหมด
จด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น
เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย.
【 สิ 】แปลว่า: คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ
ให้สละสลวย เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ
เชิงชวน หรือรับคำ เป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ หรือ ซี ก็ว่า.
【 สิกข์, สิข 】แปลว่า: น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อ คุรุนานัก; ชื่อ
ชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่
ในแคว้นปัญจาป ประเทศอินเดีย; ซิก หรือ ซิกข์ ก็ว่า.
【 สิกขมานา 】แปลว่า: (โบ) น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็น
ภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี.
(ป.).
【 สิกขา 】แปลว่า: น. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า
ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า
ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การ
เล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).
【 สิกขากาม– 】แปลว่า: [–กามะ–] ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดย
เคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง
บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. (ป.).
【 สิกขาบท 】แปลว่า: น. ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (ป.).
【 สิขร 】แปลว่า: [–ขอน] น. จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ป.; ส. ศิขร).
【 สิขรี 】แปลว่า: [–ขะรี] น. ภูเขา. (ป.; ส. ศิขรินฺ).
【 สิขเรศ 】แปลว่า: (กลอน) น. ภูเขา.
【 สิขา 】แปลว่า: น. เปลวไฟ; ยอด, ปลาย. (ป.; ส. ศิขา).
【 สิขานล 】แปลว่า: น. เปลวไฟ. (ป.).
【 สิขี 】แปลว่า: น. เปลวไฟ; นกยูง; พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.
(ป.; ส. ศิขินฺ).
【 สิคาล 】แปลว่า: [–คาน] น. หมาจิ้งจอก, หมาป่า, สิงคาล ก็ว่า.
(ป.; ส. ศฺฤคาล).
【 สิง ๑ 】แปลว่า: ก. อยู่, เข้าแทรกอยู่ เช่น ผีสิง, สึง ก็ว่า, (ปาก) อยู่, มาอาศัย
อยู่, เช่น เพื่อน ๆ ของลูกมาสิงอยู่ที่บ้านหลายคน, สิงสู่ ก็ว่า.
(ข.).
【 สิงสถิต 】แปลว่า: ก. อยู่, มาอาศัยอยู่, (มักใช้แก่เทวดา), เช่น ต้นไม้ต้นนี้มี
รุกขเทวดาสิงสถิต.
【 สิงสู่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. อยู่, มาอาศัยอยู่, เช่น โรงเรียนปิดเทอมแล้วไม่
ยอมกลับบ้าน มัวสิงสู่อยู่ที่หอพัก, สิง ก็ว่า.
【 สิง ๒ 】แปลว่า: /ดู ตะลาน ๑./
【 สิง ๓ 】แปลว่า: /ดู กระฉง./
【 สิ่ง 】แปลว่า: น. ของต่าง ๆ โดยไม่จำกัดว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เช่น คน
สัตว์ และพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ก้อนหินเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ทองคำ
เป็นสิ่งมีค่า; ภาวะ, ความมีความเป็น, เช่น สิ่งที่มีคุณค่า
ในสังคมอย่างหนึ่งคือ ความยุติธรรม, อย่าง, อัน, เช่น ใน
กระเป๋ามีของกี่สิ่ง.
【 สิ่งก่อสร้าง 】แปลว่า: น. อาคารบ้านเรือนเป็นต้นที่สร้างโดยใช้อิฐและปูนเป็น
ส่วนใหญ่.
【 สิ่งของ 】แปลว่า: น. วัตถุต่าง ๆ เช่น ก่อนลงจากรถควรตรวจสิ่งของให้
ครบถ้วน, ของ หรือ ข้าวของ ก็ว่า.
【 สิ่งตีพิมพ์ 】แปลว่า: (ไปร) น. ไปรษณียภัณฑ์ประเภทข้อความ รูป หรือรอย
ประดิษฐ์บนกระดาษ กระดาษแข็ง หรือวัสดุที่ใช้กัน
ทั่วไปในกิจการพิมพ์ ซึ่งทำขึ้นเป็นหลายสำเนาเหมือน
กันทุกประการ ด้วยกระบวนการทางเครื่องกลไก หรือ
การถ่ายภาพอันเกี่ยวข้องกับการใช้แม่พิมพ์ต้นแบบ
กระดาษไข เนกาทีฟ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้กันโดยทั่วไปใน
กิจการพิมพ์.
【 สิ่งปฏิกูล 】แปลว่า: น. สิ่งสกปรกน่ารังเกียจ เช่น ขยะเป็นสิ่งปฏิกูล.
【 สิ่งปลูกสร้าง 】แปลว่า: น. อาคารบ้านเรือนที่ทำโดยวิธีฝังเสาลงในดิน.
【 สิ่งพิมพ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอด
ทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี
ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน.
【 สิ่งละอันพันละน้อย 】แปลว่า: น. อย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง, อย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น
ของขายมีสิ่งละอันพันละน้อย. ว. มีอย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง,
มีอย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น แม่ค้าเก็บของสิ่งละอัน
พันละน้อยมาขาย.
【 สิ่งแวดล้อม 】แปลว่า: น. สิ่งต่าง ๆ ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมที่อยู่รอบ ๆ
มนุษย์มีทั้งที่ดีและไม่ดี เช่น โรงเรียนสร้างสวนดอกไม้ให้
เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่นักเรียน ชุมชนที่มีการทะเลาะวิวาท
กันหรือเล่นการพนันเป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีแก่เด็ก.
【 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 】แปลว่า: น. สิ่งหรือภาวะที่เชื่อว่ามีอำนาจเหนือธรรมชาติ สามารถ
บันดาลให้เป็นไปหรือให้สำเร็จได้ดังปรารถนา เช่น ขอให้
สิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้เขาหายจากโรคร้าย.
【 สิงขร 】แปลว่า: [–ขอน] น. สิขร.
【 สิงค์ 】แปลว่า: น. เขาสัตว์ต่าง ๆ; เขา, ยอดเขา, ที่ที่สูงสุด. (ป.).
【 สิงคลิ้ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. งามอย่างสง่า เช่น บพิตรพ่องามสิงคลิ้ง. (ลอ).
【 สิงคลี 】แปลว่า: [–คฺลี] ว. วุ่นวาย, พัลวัน.
【 สิงคาร 】แปลว่า: [–คาน] น. ศฤงคาร, สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ
ความรัก. (ป.; ส. ศฺฤงฺคาร).
【 สิงคาล 】แปลว่า: [–คาน] น. หมาป่า, หมาจิ้งจอก, สิคาล ก็ว่า. (ป. สิคาล;
ส. ศฺฤคาล).
【 สิงคี 】แปลว่า: น. สัตว์มีเขา, วัว, ควาย; ชื่อปลาชนิดหนึ่ง; ทองคํา; ชื่อผัก
ชนิดหนึ่ง. (ป.; ส. ศฺฤงฺคี).
【 สิงโต ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ในจินตนาการของจีน ถือว่ามีกําลังมากและมี
หน้าตาดุร้าย.
【 สิงโต ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิด /Panthera leo/
ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว ขนาดไล่เลี่ย
กับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะ
มีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ อาศัยอยู่เป็นฝูง
ตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทําหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกําเนิดใน
ทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย.
【 สิงโต ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลในสกุล /Pterois/ วงศ์ Scorpaenidae ครีบ
ต่าง ๆ แผ่กว้างโดยเฉพาะครีบอก สีฉูดฉาดสวยงาม
เป็นริ้วลาย หนามและก้านครีบแข็งเป็นพิษ ขนาดยาว
ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร มีหลายชนิด เช่น ชนิด /P. russelli, /
/P. volitans./
【 สิงโตทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ซึ่งอาศัยอยู่
ตามริมทะเล มีใบหูเห็นได้ชัด ลําคอยาว ขาไม่มีขนปกคลุม
นิ้วไม่มีเล็บ ขาคู่หน้ายาวและอ่อนไปมาช่วยในการยันตัว
และว่ายนํ้า ขาคู่หลังแยกออกจากหางช่วยในการเคลื่อน
ไหว มีหลายชนิด เช่น ชนิด /Zalophus californianus, /
Otaria byronia.
【 สิงสาราสัตว์ 】แปลว่า: น. สัตว์ต่าง ๆ มักหมายถึงสัตว์ป่า เช่น ในป่าใหญ่มีสิงสารา
สัตว์นานาชนิด.
【 สิงห–, สิงห์ ๑ 】แปลว่า: [สิงหะ–] น. สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกําลัง
มาก, ราชสีห์ ก็เรียก; ชื่อกลุ่มดาวรูปสิงห์ เรียกว่า ราศีสิงห์
เป็นราศีที่ ๔ ในจักรราศี. (ส. สึห; ป. สีห).
【 สิงหนาท 】แปลว่า: น. พระราชดํารัสอันเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั้งปวง เหมือน
เสียงของราชสีห์เป็นที่น่าเกรงขามของสัตว์ทั้งปวง, เสียง
ตวาดของนักรบเพื่อให้เป็นที่เกรงขามของข้าศึก, สีหนาท
ก็ว่า. (ส. สึห + นาท; ป. สีห + นาท).
【 สิงหบัญชร 】แปลว่า: น. หน้าต่างที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกรับแขกเมืองเป็นต้น,
สีหบัญชร ก็ว่า.
【 สิงหรา 】แปลว่า: สิงหะ– น. สิงห์, สิงห์ตัวเมีย.
【 สิงหราช 】แปลว่า: น. พญาราชสีห์, สีหราช ก็ว่า.
【 สิงหาคม 】แปลว่า: น. ชื่อเดือนที่ ๘ ของปีสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี
๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๕ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือน
เมษายน. (ส. สึห + อาคม).
【 สิงหาสน์ 】แปลว่า: น. ราชอาสน์หรือที่ประทับ ทําเป็นแท่นหรือเตียงจมูกสิงห์.
【 สิงห์ ๒ 】แปลว่า: /ดู กระฉง./
【 สิงหรา 】แปลว่า: /ดู สิงห–, สิงห์ ๑./
【 สิงหล 】แปลว่า: [–หน] น. ชื่อเรียกประเทศศรีลังกาในสมัยโบราณ, สิงหลทวีป
ก็เรียก, เรียกชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของศรีลังกาว่า ชาวสิงหล,
เรียกภาษาของชาวสิงหลว่า ภาษาสิงหล. (ส. สึหล; ป. สีหล).
【 สิงหลก– 】แปลว่า: [–หะละกะ–] น. ชาวสิงหล. ว. เกี่ยวกับเกาะสิงหล. (ส. สึหลก;
ป. สีหลก).
【 สิงหาคม 】แปลว่า: /ดู สิงห–, สิงห์ ๑./
【 สิงหาสน์ 】แปลว่า: /ดู สิงห–, สิงห์ ๑./
【 สิญจ–, สิญจน์ 】แปลว่า: [สินจะ–, สิน] ก. รดนํ้า; รดนํ้ามนต์, สรงมุรธาภิเษก. (ป., ส.).
【 สิต– 】แปลว่า: [–ตะ–] ว. ขาว. (ป., ส.).
【 สิตางศุ์ 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส.).
【 สิตะ 】แปลว่า: ว. ยิ้ม, ยิ้มแย้ม. (ป.; ส. สฺมิต).
【 สิตางศุ์ 】แปลว่า: /ดู สิต–./
【 สิถิล 】แปลว่า: ว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มี
กลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ,
(ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียง
เบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓
ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).
【 สิทธ–, สิทธ์ 】แปลว่า: [สิดทะ–, สิด] น. ผู้สําเร็จ, ฤษีผู้สําเร็จ, เช่นที่พูดว่า นักสิทธ์.
(ป., ส.).
【 สิทธัตถะ 】แปลว่า: น. ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว; พระนามพระพุทธเจ้า.
(ป. สิทฺธตฺถ).
【 สิทธา 】แปลว่า: (กลอน) น. ฤษี.
【 สิทธาจารย์ 】แปลว่า: น. อาจารย์ผู้สําเร็จ, ฤษี.
【 สิทธานต์ 】แปลว่า: น. ลัทธิหรือความเห็นที่ตกลงกันแล้ว; หลัก. (ส.).
【 สิทธารถ 】แปลว่า: [สิดทาด] น. ผู้ที่สําเร็จความมุ่งหมายแล้ว; พระนามพระพุทธเจ้า.
(ส. สิทฺธารฺถ).
【 สิทธา 】แปลว่า: /ดู สิทธ–, สิทธ์./
【 สิทธาจารย์ 】แปลว่า: /ดู สิทธ–, สิทธ์./
【 สิทธานต์ 】แปลว่า: /ดู สิทธ–, สิทธ์./
【 สิทธารถ 】แปลว่า: /ดู สิทธ–, สิทธ์./
【 สิทธิ, สิทธิ์ 】แปลว่า: [สิดทิ, สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและ
หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป., ส.);
(กฎ) อํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับ
การรับรองจากกฎหมาย. (อ. right).
【 สิทธิกร 】แปลว่า: ว. ให้ผล, ให้ความสําเร็จ.
【 สิทธิการิยะ 】แปลว่า: คำขึ้นต้นในตำราโบราณ เช่น ตำรายา ตำราหมอดู หรือ
คาถาเมตตามหานิยม เป็นการอธิษฐานขอให้การกระทำ
นั้น ๆ ประสบความสำเร็จ.
【 สิทธิ์ขาด 】แปลว่า: ว. เด็ดขาด เช่น ในสมัยโบราณแม่ทัพมีอำนาจสิทธิ์ขาด
ในการบัญชาการรบ.
【 สิทธิชัย 】แปลว่า: น. ผู้มีความรู้ขลังในเวทมนตร์; ใช้เรียกหัวหน้าพราหมณ์พฤฒิบาศ.
【 สิทธิโชค 】แปลว่า: น. ฤกษ์ยามที่จะนําความสําเร็จมาให้.
【 สิทธิบัตร 】แปลว่า: (กฎ) น. หนังสือสําคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่กําหนดโดยกฎหมาย
ว่าด้วยสิทธิบัตร. (อ. patent).
【 สิทธิสภาพนอกอาณาเขต 】แปลว่า: (กฎ) น. สิทธิพิเศษที่จะใช้กฎหมายของประเทศหนึ่งบังคับ
แก่บุคคลที่เป็นพลเมืองของตนที่ไปอยู่ในดินแดนของอีก
ประเทศหนึ่ง.
【 สิธยะ 】แปลว่า: [สิดทะยะ] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาว
ปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวบุษย์
ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 สิน ๑ 】แปลว่า: น. เงิน, ทรัพย์, เช่น ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ
ทรัพย์ เป็น ทรัพย์สิน หรือ สินทรัพย์.
【 สินค้า 】แปลว่า: น. สิ่งของที่ซื้อขายกัน เช่น ร้านนี้มีสินค้านานาชนิด.
【 สินค้าเข้า 】แปลว่า: น. สินค้าที่นําเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง
เครื่องจักร เป็นสินค้าเข้าที่สำคัญ.
【 สินค้าออก 】แปลว่า: น. สินค้าที่ส่งออกต่างประเทศ เช่น ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป
อัญมณี เป็นสินค้าออกที่สำคัญ.
【 สินจ้าง 】แปลว่า: น. เงินค่าบําเหน็จตอบแทน; (กฎ) ค่าตอบแทนที่นายจ้าง
หรือผู้ว่าจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง.
【 สินเชื่อ 】แปลว่า: น. เงินที่ให้เป็นหนี้ไว้ด้วยความเชื่อ.
【 สินใช้ 】แปลว่า: น. เงินที่ต้องรับผิดชอบจ่ายตามมูลค่าของหุ้น.
【 สินเดิม 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีอยู่แล้ว
ก่อนสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่าง
เป็นสามีภรรยาโดยทางพินัยกรรม หรือมีผู้ยกให้โดย
เสน่หาเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นแสดงไว้ว่าให้
เป็นสินเดิม.
【 สินไถ่ 】แปลว่า: น. (กฎ) จํานวนเงินที่ชําระเป็นค่าไถ่ทรัพย์ ที่ทําสัญญา
ขายฝากไว้คืน; เรียกทาสที่เอาเงินไปซื้อมาว่า ทาสสินไถ่.
【 สินทรัพย์ 】แปลว่า: น. บรรดาทรัพย์สินซึ่งบุคคลเป็นเจ้าของ. (อ. asset).
【 สินน้ำใจ 】แปลว่า: น. เงินหรือทรัพย์ที่ให้เป็นรางวัล.
【 สินบน 】แปลว่า: (โบ) น. ทรัพย์หรือสิ่งของที่จะให้เป็นเครื่องบูชาคุณหรือ
ตอบแทนผู้ที่จะช่วยให้สําเร็จตามประสงค์; (กฎ) ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นกระทํา
การหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง ไม่ว่าการนั้น
ชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่; เงินตราที่จ่ายให้แก่ผู้นําจับ.
【 สินบริคณห์ 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) น. สินเดิมและสินสมรส.
【 สินระบาด 】แปลว่า: น. ทรัพย์ของผู้ตายที่กระจัดกระจายอยู่.
【 สินแร่ 】แปลว่า: น. แร่จากเหมืองที่ยังไม่ได้ถลุง.
【 สินสมรส 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือ
โดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้
ระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของ
สินส่วนตัว.
【 สินส่วนตัว 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส หรือที่
เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ
กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นใน
การประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก
หรือโดยการให้โดยเสน่หา หรือทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น.
【 สินสอด 】แปลว่า: น. เงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหญิงที่จะแต่งงานเป็น
ค่านํ้านม ข้าวป้อน; (กฎ) ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดา
มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้ว
แต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส; (โบ) สินบน.
【 สินหัวบัวนาง 】แปลว่า: (กฎ; โบ) น. สินสอดที่ตกเป็นของหญิงในกรณีที่หญิงได้
เสียตัวแก่ชายและชายนั้นได้ตายไปโดยยังมิได้แต่งการ
มงคล ตามข้อความที่ว่า ถ้าหญิงได้เสียเพราะว่าสีนนั้น
ตัวแก่ชาย ๆ ตายสีนสอดนั้นให้ตกอยู่แก่หญิงจงสิ้น เปน
สีนหัวบัวนาง. (สามดวง).
【 สินไหม 】แปลว่า: (โบ) น. เงินค่าปรับ.
【 สินไหมทดแทน 】แปลว่า: (กฎ) ดู ค่าสินไหมทดแทน.
【 สิน ๒ 】แปลว่า: ก. ตัด, ฟันให้ขาด, เช่น สินมือสินเท้า, ใช้ของมีคมตัดและ
แต่งให้เรียบร้อย เช่น สินหัวไม้.
【 สิ้น 】แปลว่า: ก. หมด, จบ, เช่น กินอาหารมื้อนี้สิ้นเงินไป ๕๐๐ บาท
สิ้นปีนี้เขาจะย้ายไปอยู่เชียงใหม่; ตาย เช่น พ่อแม่เขา
สิ้นไปหมดแล้ว.
【 สิ้นกรรม, สิ้นกรรมสิ้นเวร, สิ้นเวร, สิ้นเวรสิ้นกรรม 】แปลว่า: ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น
【 เมื่อเขามีชีวิต 】แปลว่า:
อยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวร
สิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ
หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
【 สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ 】แปลว่า: (สำ) ก. หมดอำนาจวาสนา, สิ้นฤทธิ์, หมดเขี้ยวหมดงา
หรือ หมดเขี้ยวหมดเล็บ ก็ว่า.
【 สิ้นคิด 】แปลว่า: ก. หมดปัญญาจะแก้ปัญหา, หมดหนทางคิดอ่าน, เช่น
บางคนพอสิ้นคิดเข้าจริง ๆ ก็ฆ่าตัวตาย. ว. ที่หมดปัญญา
จะแก้ปัญหา, ที่หมดหนทางคิดอ่าน, เช่น เขาทำตัวเหมือน
คนสิ้นคิด เที่ยวลักขโมยเขากิน.
【 สิ้นใจ 】แปลว่า: ก. ขาดใจ, ตาย, เช่น เขาพึ่งสิ้นใจเมื่อเที่ยงนี้เอง, สิ้นลม
หมดลม หรือ หมดอายุ ก็ว่า.
【 สิ้นชาติ 】แปลว่า: ก. เสียเอกราช เช่น ถ้าโกงกินกันมาก ๆ วันหนึ่งจะต้อง
สิ้นชาติอย่างแน่นอน; โดยปริยายหมายความว่า ตัด
ความสัมพันธ์, ตัดไมตรี, เช่น สิ้นชาติขาดกันจนวันตาย.
【 สิ้นชีพ 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น เขาสิ้นชีพในสงคราม.
【 สิ้นชีพตักษัย, สิ้นชีพิตักษัย 】แปลว่า: (ราชา) ก. ตาย (ใช้เฉพาะหม่อมเจ้า), ถึงชีพิตักษัย ก็ใช้.
【 สิ้นชีวิต 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น บิดามารดาเขาสิ้นชีวิตไปนานแล้ว.
【 สิ้นชื่อ 】แปลว่า: ก. หมดชื่อเสียง เช่น เขาชกแพ้หลายครั้งติด ๆ กัน เลยสิ้นชื่อ;
ตาย เช่น เขาถูกแทงทะลุหัวใจ เลยสิ้นชื่อ.
【 สิ้นเชิง 】แปลว่า: ก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้
เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง
เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น,
ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง
โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
【 สิ้นซาก 】แปลว่า: ก. ไม่มีร่องรอยเหลืออยู่ เช่น รื้อตลาดเก่าออกไปจนสิ้นซาก.
【 สิ้นตำรา 】แปลว่า: (สํา) ว. จนปัญญา, หมดทาง, หมดฝีมือ, เช่น หมอช่วยคนไข้
จนสิ้นตำรา คนไข้ก็ไม่ฟื้น, หมดตํารา ก็ว่า.
【 สิ้นแต้ม 】แปลว่า: ก. หมดตาเดิน, ไม่มีตาเดิน, (มักใช้แก่การเล่นสกา), โดย
ปริยายหมายความว่า หมดหนทางคิดอ่าน เช่น พอมีปัญหา
ประดังกันเข้ามามาก ๆ เขาก็สิ้นแต้ม ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร.
【 สิ้นท่า 】แปลว่า: ก. หมดกระบวนท่าในการต่อสู้, ไม่มีทางต่อสู้, เช่น เขา
เป็นคนเก่งแต่ปาก พอประสบปัญหาเข้าจริง ๆ ก็สิ้นท่า.
【 สิ้นเนื้อประดาตัว 】แปลว่า: ว. ไม่มีทรัพย์สมบัติเหลือติดตัว เช่น เขากลายเป็นคน
สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะหมกมุ่นในการพนัน กิจการ
ค้าของเขาล้มเหลวจนสิ้นเนื้อประดาตัว.
【 สิ้นบุญ 】แปลว่า: ก. หมดบุญ, ตาย, เช่น เขาเป็นลูกกำพร้า พ่อแม่สิ้นบุญ
ไปหลายปีแล้ว.
【 สิ้นประตู 】แปลว่า: (สํา) ว. ไม่มีทาง.
【 สิ้นแผ่นดิน 】แปลว่า: ก. ไม่มีแผ่นดินอยู่ เช่น บ้านเมืองที่เสียเอกราช คนในชาติ
ก็สิ้นแผ่นดิน; สิ้นรัชสมัย เช่น สิ้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
【 สิ้นฝีมือ 】แปลว่า: ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่; หมดความสามารถ; หมดฝีมือ
ก็ว่า; ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทอง
ทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี
สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว. (ขุนช้างขุนแผน).
【 สิ้นพระชนม์ 】แปลว่า: (ราชา) ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระ
สังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช).
【 สิ้นไร้ไม้ตอก 】แปลว่า: ว. ยากไร้, ขัดสนถึงที่สุด, เช่น เขาเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก บ้าน
ไม่มีจะอยู่ เสื้อผ้าแทบไม่มีจะใส่.
【 สิ้นฤทธิ์ 】แปลว่า: ก. หมดฤทธิ์ เช่น เสือโคร่งพอถูกยิงด้วยลูกดอกยาสลบก็
สิ้นฤทธิ์, หมดพยศ เช่น เด็กทำฤทธิ์ไม่ยอมกินข้าว พอหิว
ก็สิ้นฤทธิ์ จึงยอมกินแต่โดยดี.
【 สิ้นลม 】แปลว่า: ก. ขาดใจ, ตาย, เช่น เขาสิ้นลมไปด้วยอาการสงบ, สิ้นใจ
หมดลม หรือ หมดอายุ ก็ว่า.
【 สิ้นลมปราณ 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น เขาสิ้นลมปราณไปตั้งแต่เมื่อคืนนี้.
【 สิ้นลาย 】แปลว่า: ก. หมดชั้นเชิง, ไม่มีชั้นเชิงเหลืออยู่, เช่น เสือปล้นธนาคาร
ถูกตำรวจจับ เลยสิ้นลาย.
【 สิ้นสติ 】แปลว่า: ก. สลบ, หมดความรู้สึก, เช่น เขาตกใจแทบสิ้นสติ เขาถูก
ต่อยจนสิ้นสติ. ว. อาการที่ขาดความรู้สึกตัว เช่น เที่ยว
ดึก ๆ ทุกคืน พอกลับถึงบ้านก็นอนหลับเหมือนสิ้นสติ.
【 สิ้นสังขาร 】แปลว่า: (วรรณ) ก. ตาย เช่น ร้องประกาศแก่พหลพลยักษ์ อันราม
ลักษมณ์สุดสิ้นสังขาร. (รามเกียรติ์).
【 สิ้นสุด 】แปลว่า: ก. ถึงที่สุด, จบ, เช่น การแข่งขันบาสเกตบอลสิ้นสุดลง
เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. การเจรจายุติสงครามสิ้นสุดลง
แล้ว, สุดสิ้น ก็ว่า.
【 สิ้นไส้สิ้นพุง 】แปลว่า: ว. อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น ผู้ร้าย
สารภาพจนสิ้นไส้สิ้นพุง; หมดความรู้; ที่ออกมาจน
หมดท้อง เช่น เขาเมารถ อาเจียนเสียสิ้นไส้สิ้นพุง,
หมดไส้หมดพุง ก็ว่า.
【 สิ้นหวัง 】แปลว่า: ก. ไม่มีความหวังเหลืออยู่เลย, หมดหวัง ก็ว่า.
【 สิ้นอายุขัย 】แปลว่า: ก. ตาย (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ).
【 สินทูระ 】แปลว่า: น. ชาด, เสน, ตะกั่วแดง. (ส.).
【 สินเทา 】แปลว่า: น. พื้นที่ว่างซึ่งกันไว้เป็นพื้นหลังของรูปภาพเพื่อแบ่งภาพ
เป็นตอน ๆ โดยเขียนล้อมด้วยเส้นแผลงหรือด้วยเส้นฮ่อ
เป็นต้น มักเขียนในงานจิตรกรรมฝาผนัง.
(รูปภาพ สินเทา)
【 สินธพ 】แปลว่า: น. ม้าพันธุ์ดี, เดิมหมายถึงม้าพันธุ์ดีที่เกิดในลุ่มแม่น้ำ
สินธุ. (ป. สินฺธว; ส. ไสนฺธว).
【 สินธุ 】แปลว่า: น. ลํานํ้า, แม่นํ้า, สายนํ้า, นํ้า, ทะเล, มหาสมุทร, ใช้ว่า
สินธุ์ หรือ สินธู ก็มี เช่น สุวรรณหงส์เหินเห็จฟ้า ชมสินธุ์
(พยุหยาตรา), สินสมุทรสุดรักพระธิดา เอาใส่บ่าแบก
ว่ายสายสินธู. (อภัย); ชื่อแม่นํ้าสําคัญสายหนึ่งในชมพู
ทวีป ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียและปากีสถาน. (ป., ส.).
【 สินธุ์ 】แปลว่า: (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร,
เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้
ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี.
【 สินธุระ 】แปลว่า: น. ช้าง. (ป., ส.).
【 สินธู 】แปลว่า: (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร,
เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี.
(อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี.
【 สินเธาว์ 】แปลว่า: น. เกลือที่ได้จากดินเค็มที่ห่างไกลจากฝั่งทะเล เรียกว่า
เกลือสินเธาว์. (ป. สินฺธว).
【 สินาด 】แปลว่า: น. หน้าไม้, ปืน.
【 สินิทธ์ 】แปลว่า: ว. สนิท, เกลี้ยงเกลา, อ่อนโยน, รักใคร่. (ป.; ส. สฺนิคฺธ).
【 สินี 】แปลว่า: น. นางผู้มีผิวเนื้อขาวงาม. (ส.).
【 สิเนรุ 】แปลว่า: [–เน–รุ] น. ชื่อหนึ่งของเขาพระสุเมรุ. (ป.).
【 สิเนหก 】แปลว่า: น. เพื่อน. (ป.).
【 สิเนหนียะ 】แปลว่า: [–หะนียะ] ว. น่ารัก. (ป.).
【 สิเนหะ, สิเนหา, สิเน่หา 】แปลว่า: [สิเหฺน่หา] น. ความรัก, ความมีเยื่อใย, เช่น เขาให้สร้อย
เส้นนี้แก่ฉันด้วยความสิเน่หา. (ป.; ส. เสฺนห).
【 สิบ ๑ 】แปลว่า: น. จํานวนเก้าบวกหนึ่ง; เรียกเดือนที่ ๑๐ ทางจันทรคติ
ว่า เดือน ๑๐ ตกในราวเดือนกันยายน.
【 สิบเบี้ยใกล้มือ 】แปลว่า: (สํา) น. ของเล็กน้อยที่จะได้แน่ ๆ ควรเอาไว้ก่อน.
【 สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น 】แปลว่า: (สำ) น. การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่นหลาย ๆ คน ก็ไม่เท่ากับ
พบเห็นด้วยตนเอง.
【 สิบแปดมงกุฎ 】แปลว่า: น. เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี
๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดย
ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.
【 สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง 】แปลว่า: (สำ; โบ) น. พ่อค้าหลายคนเลี้ยงก็สู้ขุนนางผู้ใหญ่คนเดียว
เลี้ยงไม่ได้.
【 สิบสองพระกำนัล 】แปลว่า: (โบ) น. กำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง
ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย
กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระ
บังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์
กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์. (กาพย์ขับไม้).
【 สิบห้าหยก ๆ สิบหกหย่อน ๆ 】แปลว่า: น. หญิงที่อยู่ในวัยแรกรุ่น.
【 สิบ ๒ 】แปลว่า: น. ยศทหารบกหรือตำรวจชั้นประทวน ต่ำกว่าจ่า เช่น
สิบตรี สิบตำรวจโท.
【 สิปปะ 】แปลว่า: น. ศิลปะ. (ป.; ส. ศิลฺป).
【 สิพนะ 】แปลว่า: [สิบพะ–] น. การเย็บ. (ป. สิพฺพน).
【 สิมพลี 】แปลว่า: [–พะลี] น. ไม้งิ้ว. (ป.; ส. ศาลฺมลี).
【 สิร–, สิระ 】แปลว่า: [–ระ–] น. หัว, ยอด, ที่สุด. (ป.; ส. ศิรา).
【 สิโรดม, สิโรตม์ 】แปลว่า: น. หัว, เบื้องสูงสุดของหัว. (ป. สิร + อุตฺตม).
【 สิริ ๑ 】แปลว่า: ก. ผสม เช่น สามีภรรยาสิริอายุเข้าด้วยกัน ๑๕๐ ปี,
รวม เช่น สิริอายุได้ ๗๒ ปี.
【 สิริ ๒, สิรี 】แปลว่า: น. ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่
กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระ
สิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).
【 สิโรดม, สิโรตม์ 】แปลว่า: /ดู สิร–, สิระ./
【 สิลา 】แปลว่า: น. หิน, หินก้อน. (ป.; ส. ศิลา).
【 สิโลก 】แปลว่า: น. โศลก, บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
(ป.; ส. โศฺลก).
【 สิว ๑ 】แปลว่า: น. ตุ่มเม็ดเล็ก ๆ ที่มีหนองเป็นไตสีขาว ๆ อยู่ข้างใน มักขึ้น
ตามหน้า.
【 สิวเสี้ยน 】แปลว่า: น. สิวเม็ดเล็ก ๆ หัวสิวมักขาว เมื่อบีบหัวสิวจะเคลื่อนออก
มาลักษณะเหมือนเสี้ยน มีมากบริเวณจมูก.
【 สิวหัวช้าง 】แปลว่า: น. สิวที่เป็นตุ่มใหญ่ มีสีแดง เพราะอักเสบค่อนข้างรุนแรง
จากเชื้อแบคทีเรีย อาจมีหนองและปวด มักขึ้นบริเวณแก้ม
และจมูก.
【 สิว– ๒, สิวะ 】แปลว่า: [สิวะ–] น. ความดี, สิริมงคล; พระศิวะ, พระอิศวร. (ป.; ส. ศิว).
【 สิวาลัย 】แปลว่า: น. ศิวาลัย, ที่ประทับของพระศิวะ; ที่อยู่อันเกษมสุข.
【 สิ่ว 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องมือของช่างไม้ช่างทองเป็นต้น มีทั้งชนิดมี
คมและไม่มีคม สําหรับใช้ตอก เจาะ สลัก เซาะ ดุน แร
เป็นต้น.
【 สิ่วน่อง 】แปลว่า: น. สิ่วชนิดหนึ่งตัวหนาเป็นสี่เหลี่ยม มีคม.
【 สิวาลัย 】แปลว่า: /ดู สิว– ๒, สิวะ./
【 สิวิกา, สีวิกา 】แปลว่า: น. วอ, เสลี่ยง, คานหาม. (ป.).
【 สี ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องสําหรับหมุนบดข้าวเปลือกเพื่อทำให้เปลือก
แตกเป็นข้าวกล้อง. ก. ถู เช่น ช้างเอาตัวสีกับต้นไม้ ลม
พัดแรงทำให้ลำไม้ไผ่สีกัน, ครู่, ครูด, รู่, ชัก เช่น สีซอ; ทำ
ให้เปลือกออกด้วยเครื่องอย่างสีข้าว.
【 สีซอให้ควายฟัง 】แปลว่า: (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.
【 สีผึ้ง 】แปลว่า: น. ขี้ผึ้งที่ปรุงแล้วใช้สําหรับสีปาก, บางทีเรียกว่า สีผึ้งสีปาก.
【 สีฝัด 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องฝัดข้าวโดยใช้หมุนกงพัดให้เกิดลมพัดแกลบ
และรําออกจากเมล็ดข้าว.
【 สีไฟ ๑ 】แปลว่า: ก. เอาไม้ไผ่แห้ง ๒ อันถูกันให้เกิดเป็นไฟ.
【 สีไฟ ๒ 】แปลว่า: น. เรียกไม้ที่สีให้เกิดไฟว่า ไม้สีไฟ.
【 สีไฟ ๓ 】แปลว่า: น. เรียกโรงงานที่สีข้าวด้วยเครื่องจักรว่า โรงสีไฟ.
【 สีลม 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องสีข้าวซึ่งใช้กําลังลมหมุนใบพัดให้หมุนเครื่องจักร.
【 สี ๒ 】แปลว่า: น. ลักษณะของแสงสว่าง ปรากฏแก่ตาให้เห็นเป็น ขาว
ดํา แดง เขียว เป็นต้น; สิ่งที่ทําให้ตาเห็นเป็น ขาว ดํา
แดง เขียว เป็นต้น เช่น สีทาบ้าน สีย้อมผ้า สีวาดภาพ.
【 สีจาง 】แปลว่า: (ศิลปะ) น. สีที่เจือสีขาวเพื่อลดประกายสดใสให้อ่อนลง
อย่างสีแดงเจือสีขาว เป็นสีชมพู.
【 สีชอล์ก 】แปลว่า: น. สีสำหรับวาดเขียนชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีผสมกับ
ยางสนหรือกาวบางชนิด อัดเป็นแท่งกลม ขนาดสั้น ๆ.
【 สีถ่าน 】แปลว่า: น. ถ่านสำหรับวาดเขียน ทำขึ้นจากไม้เนื้ออ่อนชิ้นเล็ก ๆ
ที่เผาหรืออบด้วยความร้อนจนเป็นสีดำสนิท มีทั้งชนิด
เป็นแท่งและเป็นผง.
【 สีเทียน 】แปลว่า: น. สีสำหรับวาดเขียนชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีผสมกับ
ขี้ผึ้ง อัดเป็นแท่งกลมขนาดสั้น ๆ.
【 สีน้ำ 】แปลว่า: น. สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ใช้น้ำเจือให้ละลายก่อนจะใช้
ระบาย.
【 สีน้ำมัน 】แปลว่า: น. สีสำหรับระบายรูปหรือใช้ทาผนังชนิดหนึ่ง ทำขึ้นมา
จากผงสีผสมกับน้ำมันลินสีดเป็นต้น มีลักษณะข้นและ
เหนียวไม่ละลายน้ำ.
【 สีโปสเตอร์ 】แปลว่า: น. สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีชนิดที่เรียกว่า
สีฝุ่น ผสมกับกาวหนังสัตว์ ยางไม้ หรือ ไข่แดง เนื้อสีค่อน
ข้างข้น.
【 สีฝุ่น 】แปลว่า: น. สีสำหรับระบายชนิดหนึ่ง ทำขึ้นจากผงสีซึ่งมีลักษณะ
ละเอียด เนื้อสีค่อนข้างข้น.
【 สีสด 】แปลว่า: (ศิลปะ) น. สีแท้หรือสีที่เปล่งประกายสดใสอย่างสีแดง
เหลือง ส้ม เขียว.
【 สีสวรรค์ 】แปลว่า: น. สีสําหรับย้อมผ้าหรือกระดาษ ลักษณะเป็นผงละเอียด
ละลายนํ้าได้ มีสมบัติติดทน และสีสดใส.
【 สีหม่น 】แปลว่า: (ศิลปะ) น. สีที่เจือสีดำเพื่อลดประกายสดใสให้คล้ำลง
อย่างสีแดงเจือสีดำ เป็นสีแดงเลือดหมู.
【 สี ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ปีมะโรง.
【 สี่ 】แปลว่า: น. จํานวนสามบวกหนึ่ง; เรียกเดือนที่ ๔ ทางจันทรคติว่า
เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม.
【 สี่เหลี่ยม 】แปลว่า: น. รูปเหลี่ยมที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรง ๔ เส้นปลายเส้น
จดกัน.
【 สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มี
มุมภายในเป็นมุมฉาก, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ก็เรียก.
【 สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด 】แปลว่า: น. สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน.
【 สี่เหลี่ยมคางหมู 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านขนานกันเพียงคู่เดียว.
【 สี่เหลี่ยมจัตุรัส 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก.
【 สี่เหลี่ยมด้านขนาน 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านคู่ตรงข้ามขนานกัน.
【 สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมที่ไม่มีด้านเท่ากันเลย.
【 สี่เหลี่ยมผืนผ้า 】แปลว่า: น. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านขนานคู่หนึ่งยาวกว่าอีก
คู่หนึ่ง และมีมุมภายในเป็นมุมฉาก.
【 สี้ 】แปลว่า: น. ยาสีฟันโบราณ ใช้สีเพื่อให้ฟันดํา, ชี่ ก็เรียก.
【 สีกรุด 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Pomadasys maculatum/ ในวงศ์
Pomadasyidae ลักษณะคล้ายปลาจวด ใต้คางมีรู ๒
รู ลําตัวสีเงิน แนวสันหลังสีเข้มเป็นแถบและจุดยาว
ส่งเสียงดังเมื่อถูกจับพ้นผิวนํ้า, มโหรี กระต่ายขูด กะทิ
ขูด หรือ หัวขวาน ก็เรียก.
【 สีกา 】แปลว่า: (ปาก) น. คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก.
(ตัดมาจาก อุบาสิกา).
【 สีกุน 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์
Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง
ลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย มักมีจุดดําใหญ่ที่มุม
แผ่นปิดเหงือก โดยเฉพาะชนิดที่มีแถบสีเหลืองพาด
จากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองพาดข้างตัว
โดยเฉพาะสีกุนข้างเหลือง (/Selaroides leptolepis/)
สีกุนทอง อันได้แก่ ชนิด /Selar boops, S. crumenop-/
/thalmus, Alepis melanoptera/ และ /A. djeddaba /
เป็นต้น.
【 สีขน 】แปลว่า: /ดู หางกิ่ว (๑)./
【 สีข้าง 】แปลว่า: น. ข้างทั้ง ๒ ของร่างกาย ถัดรักแร้ลงมาถึงสะเอว.
【 สีฆ– 】แปลว่า: [–คะ–] ว. เร็ว, ไว. (ป.).
【 สีจัก 】แปลว่า: น. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง
๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, ฝีจัก ก็ว่า.
【 สีชมพูดง 】แปลว่า: /ดู กระติ๊ด./
【 สีชมพูสวน 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Dicaeum cruentatum/ ในวงศ์ Dicaeidae
ตัวเล็ก ปากเล็กแหลม ตัวผู้สีขาว มีสีแดงเป็นแถบ
ตั้งแต่หัวถึงโคนหางด้านล่าง ตัวเมียสีนํ้าตาลอมเทา
ตะโพกแดง กินแมลง.
【 สีด 】แปลว่า: (โบ) ก. สูดเข้าไป เช่น สีดน้ำมูก.
【 สีดอ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกช้างตัวผู้ที่ไม่มีงาหรืองาสั้น.
【 สีดา 】แปลว่า: น. ชื่อตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นมเหสีของพระราม.
【 สีต– 】แปลว่า: [–ตะ–] ว. เย็น, หนาว. (ป.).
【 สีโตทก 】แปลว่า: น. นํ้าเย็น. (ป.).
【 สีต้น 】แปลว่า: น. ชีต้น, พระสงฆ์.
【 สีตล– 】แปลว่า: [–ตะละ–] ว. เย็น, หนาว. (ป.).
【 สีตลรัศมี 】แปลว่า: ว. มีรัศมีเย็น หมายถึง พระจันทร์ คู่กับ อุษณรัศมี มีรัศมี
ร้อน หมายถึง พระอาทิตย์.
【 สีตลหฤทัย 】แปลว่า: ว. มีใจเยือกเย็น.
【 สีตโลทก 】แปลว่า: น. นํ้าเย็น.
【 สีตโลทก 】แปลว่า: /ดู สีตล–./
【 สีโตทก 】แปลว่า: /ดู สีต–./
【 สีทันดร 】แปลว่า: [–ดอน] น. ชื่อทะเล ๗ แห่ง อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุ
กับภูเขายุคนธร ๑ ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร
๑ ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก ๑ ระหว่างภูเขา
กรวิกกับภูเขาสุทัสนะ ๑ ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขา
เนมินธร ๑ ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ ๑
ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอัสกัณ ๑. /(ดู บริภัณฑ์ ๑)./
【 สี่บท 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สีฟันคนทา 】แปลว่า: /ดู คนทา./
【 สีฟันนางแอ 】แปลว่า: /ดู เฉียงพร้านางแอ./
【 สีมันต์ 】แปลว่า: น. เขต, แดน. (ป.).
【 สีมา 】แปลว่า: น. เขต, แดน; เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์ มักทําด้วยแผ่น
หินหรือหลักหินเป็นต้น เรียกว่า ใบพัทธสีมา, ใบสีมา หรือ
ใบเสมา ก็ว่า. (ป., ส.).
【 สีละมัน 】แปลว่า: /ดู ลิ้นจี่./
【 สีวิกา 】แปลว่า: น. สิวิกา, วอ, เสลี่ยง, คานหาม.
【 สีสอ 】แปลว่า: /ดู คนทีสอ ที่ คนที ๒./
【 สีสะ ๑ 】แปลว่า: น. ตะกั่ว. (ป., ส.).
【 สีสะ ๒ 】แปลว่า: น. ศีรษะ. (ป.; ส. ศีรฺษ).
【 สีสา 】แปลว่า: (ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น
เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.
【 สีสุก 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในสกุล /Bambusa/ วงศ์ Gramineae แขนงมี
หนาม คือ ชนิด /B. blumeana/ Schult. ลําต้นใหญ่ตรง และ
ชนิด /B. flexuosa Munro/ ลําต้นเล็กไม่ค่อยตรง. (ข. ฤสฺสีสฺรุก).
【 สีเสียด ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Acacia catechu/ Willd. ในวงศ์
Leguminosae กิ่งมีหนาม เนื้อไม้ให้สารที่เรียกว่า สี
เสียด ใช้ผสมปูนกินกับหมาก ย้อมผ้า และฟอกหนัง,
สีเสียดแก่น หรือ สีเสียดเหนือ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด
/Pentace burmanica/ Kurz ในวงศ์ Tiliaceae เปลือก
รสขมฝาดใช้กินกับหมาก, สีเสียดเปลือก ก็เรียก.
【 สีเสียด ๒ 】แปลว่า: น. สารที่สกัดได้จากเนื้อไม้ของต้นสีเสียด (/Acacia /
/catechu/ Willd.) และใบกิ่งของต้นกะเมีย (/Uncaria /
/gambier/ Roxb.) ชนิดหลัง สีเสียดเทศ ก็เรียก.
【 สีเสียด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Scomberoides tol/ ในวงศ์ Carangidae
ตัวเรียวเล็กกว่าปลาสละ ตาโต ลําตัวด้านบนสีนํ้าเงิน ด้าน
ข้างสีเงิน โคนหางสีเหลือง ปลายครีบหลังและครีบหางสีดํา
ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, ขานกยาง ก็เรียก.
【 สีเสียดแก่น 】แปลว่า: /ดู สีเสียด ๑ (๑)./
【 สีเสียดเปลือก 】แปลว่า: /ดู สีเสียด ๑ (๒)./
【 สีเสียดเหนือ 】แปลว่า: /ดู สีเสียด ๑ (๑)./
【 สีเสื้อน้อย 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ต้นคนทีสอ. /(ดู คนทีสอ ที่ คนที ๒)./
【 สีห–, สีห์, สีหะ 】แปลว่า: น. ราชสีห์ เช่น ราชสีห์อาจจะตั้งใจหมายความว่า สีหะ
ตัวที่เป็นนายฝูง. (สาส์นสมเด็จ). /(ดู สิงห–, สิงห์ ๑)./ (ป.).
【 สีหนาท 】แปลว่า: น. สิงหนาท.
【 สีหบัญชร 】แปลว่า: น. หน้าต่างที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกรับแขกเมือง
เป็นต้น, สิงหบัญชร ก็ว่า.
【 สีหราช 】แปลว่า: น. พญาราชสีห์, สิงหราช ก็ว่า.
【 สีหไสยา, สีหไสยาสน์ 】แปลว่า: น. ท่านอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา แขนซ้าย
พาดไปตามลำตัว เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา มือขวารอง
รับศีรษะด้านข้าง.
【 สีหน้า 】แปลว่า: น. อารมณ์ที่ปรากฏทางหน้า เช่น วันนี้สีหน้าเขาไม่ดีเลย
คงจะโกรธใครมา พอถูกดุก็ทำสีหน้าไม่พอใจ.
【 สึก ๑ 】แปลว่า: ก. กร่อนไป, ร่อยหรอไป, เช่น รองเท้าสึก บันไดสึก.
【 สึกหรอ 】แปลว่า: ก. กร่อนไป เช่น เครื่องจักรสึกหรอ, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การด่าว่าไม่ทำให้สึกหรอ
อะไร.
【 สึก ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ลาสิกขา, ลาสึก ก็ว่า.
【 สึก ๓ 】แปลว่า: น. การรู้ตัว, การระลึกได้, การจําได้, มักใช้ควบกับคํา
รู้ เป็น รู้สึก และแผลงว่า สํานึก ก็มี.
【 สึง 】แปลว่า: ก. สิง, อยู่, ประจํา, แทรก. /(ดู สิง ๑)./
【 สืบ ๑ 】แปลว่า: ก. ต่อเนื่องเป็นลําดับ เช่น สืบราชสมบัติ สืบตระกูล.
【 สืบเชื้อสาย 】แปลว่า: ก. สืบสกุล, สืบสาย ก็ว่า.
【 สืบทอด 】แปลว่า: ก. รับช่วงปฏิบัติต่อ เช่น เขาสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ.
【 สืบเท้า 】แปลว่า: ก. เหยียดขาเลื่อนเท้าไปข้างหน้าโดยไม่งอเข่า เช่น สืบเท้า
ก้าวเดินไป ตำรวจสืบเท้าเข้าไปประชิดตัวผู้ร้าย.
【 สืบไป 】แปลว่า: ว. ต่อไป, ต่อเนื่องไป, เช่น ขอให้ดำเนินงานสืบไป ขอให้อยู่
เป็นสุขสืบไปชั่วกาลนาน.
【 สืบพันธุ์ 】แปลว่า: ก. ทําให้เกิดลูกหลานสืบเนื่องต่อไป.
【 สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 】แปลว่า: ก. สืบพันธุ์โดยไม่ต้องมีการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น
การแบ่งตัวของแบคทีเรีย.
【 สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 】แปลว่า: ก. สืบพันธุ์โดยการผสมของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การผสม
ของเชื้ออสุจิกับไข่ของเพศหญิง.
【 สืบราชวงศ์ 】แปลว่า: ก. สืบวงศ์พระมหากษัตริย์.
【 สืบราชสกุล 】แปลว่า: ก. สืบตระกูลฝ่ายพระราชา.
【 สืบราชสมบัติ 】แปลว่า: ก. เป็นพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องแทน, สืบราชบัลลังก์ ก็ว่า.
【 สืบราชสันตติวงศ์ 】แปลว่า: ก. ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน
ซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการ
สืบราชสันตติวงศ์, สืบสันตติวงศ์ ก็ว่า.
【 สืบศาสนา 】แปลว่า: ก. ต่ออายุพระศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป.
【 สืบสกุล 】แปลว่า: ก. สืบวงศ์ตระกูล, สืบเชื้อสาย.
【 สืบสันดาน 】แปลว่า: ก. สืบเชื้อสายมาโดยตรง.
【 สืบสาย 】แปลว่า: ก. สืบสกุล, สืบเชื้อสาย ก็ว่า.
【 สืบหูก 】แปลว่า: ก. ต่อหูก คือ เอาด้ายยาวที่จะทอเป็นผืนผ้ามาต่อกับด้ายซัง.
【 สืบ ๒ 】แปลว่า: ก. เสาะหา, แสวงหา, เช่น สืบความลับ สืบข้อเท็จจริง สืบข่าว.
【 สืบค้น 】แปลว่า: ก. ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
จนกว่าจะได้ผล เช่น สืบค้นหาสมบัติตามลายแทง.
【 สืบพยาน 】แปลว่า: (กฎ) ก. สอบปากคําพยาน เพื่อให้เบิกความเกี่ยวกับพยาน
หลักฐานในคดี.
【 สืบสวน 】แปลว่า: (กฎ) ก. แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตํารวจได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่ เพื่อ
รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ
รายละเอียดแห่งความผิด.
【 สืบสาว 】แปลว่า: ก. สืบให้ได้เรื่องถึงที่สุด เช่น เรื่องนี้จะต้องสืบสาวหาตัว
คนผิดให้ได้.
【 สืบสาวราวเรื่อง 】แปลว่า: ก. ค้นคว้าให้ได้เรื่อง เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้สืบสาวราวเรื่องได้ว่า
เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร.
【 สืบเสาะ 】แปลว่า: ก. ค้นหา, แสวงหา, เช่น ตำรวจสืบเสาะหาแหล่งผลิตเฮโรอีน.
【 สื่อ 】แปลว่า: ก. ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนําให้รู้จักกัน.
น. ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนําให้รู้จักกัน เช่น
เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน กุหลาบแดงเป็นสื่อของ
ความรัก, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้
แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่าง ๆ
ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตาม
แนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม.
【 สื่อการศึกษา 】แปลว่า: น. วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสื่อใน
การศึกษา.
【 สื่อผสม 】แปลว่า: น. วัสดุที่ใช้สำหรับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ร่วมกัน
ตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป เช่น สีน้ำที่มีคุณลักษณะบางสดใส
กับสีโปสเตอร์ที่มีคุณสมบัติหนาทึบ ดินสอกับหมึก.
【 สื่อมวลชน 】แปลว่า: น. สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภท
ไปสู่มวลชน เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์,
(ปาก) นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น.
【 สื่อสาร 】แปลว่า: ก. นำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือ เป็นต้น ของฝ่ายหนึ่งส่ง
ให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยมีสื่อนำไป.
【 สื่อสารมวลชน 】แปลว่า: น. กระบวนการติดต่อสื่อสารสู่มวลชนโดยส่งสารผ่าน
สื่อมวลชน.
【 สุ ๑ 】แปลว่า: ก. ซักสบงจีวรวิธีหนึ่งโดยใช้นํ้าร้อนหรือมะกรูดมะนาวเป็นต้น,
มักใช้ว่า ซักสุ.
【 สุ ๒, สุ ๆ 】แปลว่า: ว. เสีย แต่ยังไม่เน่า (มักใช้แก่แตงโม) เช่น แตงโมใบนี้สุแล้ว
แตงโมสุ ๆ.
【 สุ ๓ 】แปลว่า: คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม
ง่าย สําหรับเติมข้างหน้าคํา เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).
【 สุก ๑ 】แปลว่า: ก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วย
กรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุก
แล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น
ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อน
จนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวช
เป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว
เช่น ทองเนื้อสุกดี.
【 สุกก่อนห่าม 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่ทําสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา
(มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน) เช่น
ใครเขาจะเอาเยี่ยงอย่างอีซนซุก อีสุกก่อนห่าม มันมา
อยู่สักกี่วันกี่เดือน นี่มันจะมาตั้งเตือนต่อก่อความให้
ขุ่นไปทั้งบ้าน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 สุกงอม 】แปลว่า: ก. แก่จัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น มะม่วงสุกงอมคาต้น,
โดยปริยายหมายความว่า เต็มที่ เช่น ความรักของเขา
สุกงอม แก่แล้วก็เหมือนผลไม้ที่สุกงอม.
【 สุกดิบ 】แปลว่า: ว. เรียกวันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดวันงานพิธี
๑ วันว่า วันสุกดิบ.
【 สุก ๆ ดิบ ๆ 】แปลว่า: ว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ.
【 สุกแดด 】แปลว่า: ว. ที่ถูกแดดเผาให้สุกก่อนเวลาที่ควรจะสุก (ใช้แก่ผลไม้)
เช่น มะม่วงสุกแดด.
【 สุกปลั่ง 】แปลว่า: ว. สุกใสเป็นมันแวววาว เช่น ทองสุกปลั่ง ขัดถาดทองเหลือง
เสียสุกปลั่ง.
【 สุกใส 】แปลว่า: ว. แวววาว, แจ่มใส, เช่น ดวงตามีประกายสุกใส คืนนี้ท้องฟ้า
มีดาวสุกใส.
【 สุกเอาเผากิน 】แปลว่า: (สํา) ว. อาการที่ทำลวก ๆ, อาการที่ทำพอเสร็จไปคราว
หนึ่ง ๆ เช่น เขาทำงานสุกเอาเผากิน พอให้พ้นตัวไป.
【 สุก ๒ 】แปลว่า: น. นกแก้ว, นกแขกเต้า. (ป.; ส. ศุก).
【 สุก– ๓ 】แปลว่า: [สุกกะ–] ว. ขาว, สว่าง, สะอาด, ดี, เช่น สุกธรรม. (ป. สุกฺก).
【 สุก ๔ 】แปลว่า: ก. เดินจบพ้นกระดานไปแล้ว (ใช้แก่การเล่นดวด).
【 สุกข์ 】แปลว่า: ก. แห้ง, แล้ง. (ป.).
【 สุกร 】แปลว่า: [สุกอน] น. หมู (มักใช้เป็นทางการ) เช่น เนื้อสุกร สุกรชําแหละ.
(ป.; ส. ศูกร, สูกร).
【 สุกรม 】แปลว่า: [สุกฺรม] น. ชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบรี ผลเมื่อสุกสีแดง ใช้ทํายา.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 สุกำศพ 】แปลว่า: ก. อาการที่เจ้าพนักงานภูษามาลาหรือเจ้าพนักงานสนม
พลเรือนเอาผ้าขาวห่อศพและใช้ด้ายดิบมัดตราสัง แล้ว
บรรจุศพลงโกศหรือหีบศพซึ่งมีกระดาษฟางปูรองรับ เช่น
เจ้าหน้าที่จะสุกําศพ, ทําสุกําศพ ก็ว่า เช่น เมื่อทําสุกําศพ
เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ยกโกศหรือหีบศพขึ้นตั้ง.
【 สุกียากี้ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ เต้าหู้
และผักบางชนิด, ไทยนำมาดัดแปลงโดยใช้เนื้อสัตว์ ผักต่าง ๆ
วุ้นเส้น และไข่ เป็นต้น ลวกในน้ำซุป กินกับน้ำจิ้ม, บางทีเรียก
สั้น ๆ ว่า สุกี้.
【 สุข, สุข– 】แปลว่า: [สุก, สุกขะ–] น. ความสบายกายสบายใจ เช่น ขอให้อยู่ดี
มีสุข เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง, มักใช้เข้าคู่กับคำเป็น เช่น
ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้เป็นสุข ๆ นะ. ว. สบายกายสบาย
ใจ เช่น เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี. (ป., ส.).
【 สุขนาฏกรรม 】แปลว่า: [สุกขะนาดตะกํา] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร
ที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา
ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์
ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็น
เหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกําลําบากในวัยเด็ก
แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.
【 สุขภัณฑ์ 】แปลว่า: น. เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับห้องนํ้า เช่นอ่างล้างหน้า อ่าง
อาบน้ำ โถส้วม.
【 สุขภาพ 】แปลว่า: น. ภาวะที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ
การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ.
【 สุขลักษณะ 】แปลว่า: น. ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจาก
โรคภัยไข้เจ็บ เช่น สร้างบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ มีอากาศ
ถ่ายเทได้สะดวก ส้วมที่ถูกสุขลักษณะย่อมไม่แพร่กระจาย
เชื้อโรค.
【 สุขวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา.
【 สุขศาลา 】แปลว่า: [สุกสาลา] น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจํา
ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้าน
อนามัยแก่ประชาชนในระดับตําบลและหมู่บ้าน, ปัจจุบัน
เรียกว่า สถานีอนามัย.
【 สุขศึกษา 】แปลว่า: [สุกขะ–, สุก–] น. การศึกษาที่ว่าด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับ
สุขภาพ.
【 สุขา 】แปลว่า: สุ– น. ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตาม
สถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา
ก็เรียก.
【 สุขาภิบาล 】แปลว่า: สุ– น. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีฐานะตํ่ากว่า
เทศบาล มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยนายอําเภอ
ปลัดอําเภอ กํานัน เป็นต้น โดยมีนายอําเภอหรือปลัดอําเภอ
ผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทํา
กิจการภายในเขตที่รับผิดชอบ เช่น จัดให้มีและบํารุงทาง
นํ้า ทางบก และระบายนํ้า รักษาความสะอาดถนนหนทาง
กําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. (ป. สุข + อภิบาล).
【 สุขารมณ์ 】แปลว่า: [สุ–] น. อารมณ์ที่มีสุข เช่น เขาเดินผิวปากอย่างสุขารมณ์; เรียก
ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบันเป็น
สิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิตว่า คติสุขารมณ์.
(ป. สุข + อารมฺมณ).
【 สุขาวดี 】แปลว่า: [สุขาวะดี] น. แดนอันมีความสุขตามความเชื่อของลัทธิมหายาน.
(ส. สุขาวดี ว่า สวรรค์ของพระอมิตาภพุทธเจ้าของฝ่ายมหายาน).
【 สุขา 】แปลว่า: /ดู สุข, สุข–./
【 สุขาภิบาล 】แปลว่า: /ดู สุข, สุข–./
【 สุขารมณ์ 】แปลว่า: /ดู สุข, สุข–./
【 สุขาวดี 】แปลว่า: /ดู สุข, สุข–./
【 สุขิน, สุขี 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้มีความสุข. ว. สบาย. (ป. สุขี; ส. สุขินฺ).
【 สุขี ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีความสุข, มีความสบาย, เช่น ขอให้สุขี ๆ ถือไม้เท้า
ยอดทอง กระบองยอดเพชร.
【 สุขุม 】แปลว่า: ว. ประณีต, ลึกซึ้ง, รอบคอบ, ไม่วู่วาม, เช่น เขาจะไม่ด่วน
ตัดสินใจ ก่อนที่จะพิจารณาอย่างสุขุมทั้งทางได้และทาง
เสีย เขามีปัญญาสุขุม, บางครั้งใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น
สุขุมคัมภีรภาพ สุขุมรอบคอบ สุขุมลึกซึ้ง. (ป.; ส. สูกฺษม).
【 สุขุมาล 】แปลว่า: [สุขุมาน] ว. ละเอียดอ่อน, อ่อนโยน, นุ่มนวล; ผู้ดี, ตระกูลสูง.
(ป.; ส. สุกุมาร).
【 สุขุมาลชาติ 】แปลว่า: [สุขุมานละชาด] ว. มีตระกูลผู้ดี, มีตระกูลสูง, โดยปริยาย
หมายความว่า มีลักษณะอย่างผู้ดี เช่น เขาเป็นคนสุขุมาล-
ชาติ กิริยามารยาทเรียบร้อย.
【 สุโข 】แปลว่า: (ปาก) ว. เป็นสุข เช่น นอนหลับอย่างสุโข.
【 สุคต 】แปลว่า: [–คด] น. ผู้ไปดีแล้ว; พระนามพระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
【 สุคติ 】แปลว่า: [สุคะติ, สุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย,
สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ. (ป., ส.).
【 สุคนธ–, สุคนธ์, สุคันธ์ 】แปลว่า: [สุคนทะ–] น. กลิ่นหอม; เครื่องหอม, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่อง
พระสุคนธ์. (ป., ส.).
【 สุคนธชาติ 】แปลว่า: น. ความหอม, กลิ่นหอม; กลิ่นหอมที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของ
ต้นไม้ ได้แก่ ราก แก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด น้ำในต้น ใบ
ดอก และผล.
【 สุคนธรส, สุคันธรส 】แปลว่า: น. กลิ่นหอม, ของหอม, เครื่องหอม.
【 สุงก–, สุงกะ 】แปลว่า: [สุงกะ–] น. ส่วย. ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้า
และขาออก. (ป.; ส. ศุลฺก).
【 สุงกากร 】แปลว่า: น. ศุลกากร, ค่าอากรที่เรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและขาออก.
(ป.; ส. ศุลฺก + อากร).
【 สุงกากร 】แปลว่า: /ดู สุงก–, สุงกะ./
【 สุงสิง 】แปลว่า: ก. เล่นหัวกันอย่างสนิทสนม, ติดต่ออย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง,
เช่น เด็ก ๒ บ้านนี้ชอบมาสุงสิงกัน เขาเป็นคนหัวสูงไม่ชอบ
สุงสิงกับใคร.
【 สุงสุมาร, สุงสุมารี 】แปลว่า: น. จระเข้. (ป.; ส. ศิศุมาร, ศึศุมาร).
【 สุจริต 】แปลว่า: [สุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบ. (ป., ส.).
【 สุจริตใจ 】แปลว่า: ว. บริสุทธิ์ใจ, จริงใจ, เช่น เขาช่วยเหลือเด็กคนนั้นด้วยความ
สุจริตใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน.
【 สุจหนี่ 】แปลว่า: [สุดจะหฺนี่] น. เครื่องปูลาดชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า ทําด้วยผ้าเยียรบับไหมทอง สําหรับทอดถวาย
พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เป็นที่ประทับหรือ
ทรงยืน เรียกว่า พระสุจหนี่. (ม. suji ว่า ผ้าเครื่องปัก).
【 สุจะ 】แปลว่า: น. ริ้น. (ข.).
【 สุจิ 】แปลว่า: ว. สะอาด, หมดจด, ผ่องใส. (ป.; ส. ศุจิ).
【 สุจิต 】แปลว่า: ว. สั่งสมด้วยดี. (ป., ส.).
【 สุจิตร 】แปลว่า: [–จิด] ว. หลายสี, หลายชั้นหลายเชิง; เด่น, ยิ่งใหญ่. (ส. สุ + จิตฺร).
【 สุชน 】แปลว่า: น. คนดี, คนประพฤติดี. (ป., ส.).
【 สุชัมบดี 】แปลว่า: น. ชื่อพระอินทร์. (ป. สุชมฺปติ ว่า ผัวของนางสุชาดา).
【 สุชา, สุชาดา 】แปลว่า: น. ผู้มีกําเนิดดี, ลูกผู้มีสกุลดี. (ป. สุ + ชา, สุ + ชาต).
【 สุญ, สุญ–, สุญญ– 】แปลว่า: [สุน, สุนยะ–] ว. ว่างเปล่า. (ป. สุ?ฺ?; ส. ศูนฺย).
【 สุญญากาศ 】แปลว่า: [สุนยากาด] น. ที่ที่ไม่มีอากาศ เช่น อยู่ในสุญญากาศ.
ว. ที่ไม่มีอากาศ เช่น ขวดสุญญากาศ หลอดสุญญากาศ.
【 สุญตา 】แปลว่า: [สุนยะตา] น. ความว่างเปล่า. (ป. สุญฺ?ตา; ส. ศูนฺยตา).
【 สุญนิยม 】แปลว่า: น. (ศาสน) ลัทธิที่ถือว่าคนและสัตว์เกิดหนเดียว ตายแล้ว
สูญ บุญบาป พระเป็นเจ้า นรก สวรรค์ ไม่มี; (อภิปรัชญา)
ลัทธิที่ถือว่าไม่มีอะไรตั้งอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร; (จริย) ลัทธิ
ที่ถือว่าคุณค่าทางศีลธรรมจรรยาไม่มี; (สังคม) ลัทธิที่ถือว่า
ความเจริญก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็โดยวิธีทําลายองค์การ
ทางสังคมที่มีอยู่เดิมให้หมดไป. (อ. nihilism).
【 สุญญากาศ 】แปลว่า: /ดู สุญ, สุญ–, สุญญ–./
【 สุณ 】แปลว่า: น. หมา. (ป.; ส. ศุนก).
【 สุณหา 】แปลว่า: [สุน–] น. ลูกสะใภ้. (ป.).
【 สุณิสา 】แปลว่า: น. ลูกสะใภ้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสุณิสา. (ป.; ส. สฺนุษา).
【 สุด 】แปลว่า: ก. สิ้น เช่น สุดกระแสความ สุดความ, หมด เช่น รักสุดหัวใจ,
จบ เช่น สุดสายรถประจำทาง. ว. ปลายหรือท้าย เช่น สุด
แดน สุดแผ่นดิน ในที่สุด, ปลายทางใดทางหนึ่ง เช่น เหนือสุด
ขวาสุด บนสุด; อย่างมาก, อย่างยิ่งยวด, เช่น สุดรัก สุดเสีย
ดาย สุดอาลัย, เต็มที่เต็มกำลัง, เช่น สู้จนสุดชีวิต งานนี้เขา
ทุ่มจนสุดตัว; เกินกว่าจะทำได้ เช่น สุดกลั้น สุดไขว่คว้าสุดทน.
【 สุดกั่น, สุดด้าม ๑, สุดลิ่ม ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่ใช้มีดหรือของมีคมแทงเข้าไปจนจมถึงด้าม,
มิดด้าม ก็ว่า.
【 สุดกำลัง 】แปลว่า: ว. เต็มที่, เต็มกำลังทั้งหมดที่มีอยู่, เช่น ออกแรงยกของจนสุด
กำลัง ช่วยจนสุดกำลัง.
【 สุดกู่ 】แปลว่า: ว. ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงกู่ เช่น เขาไปปลูกบ้านเสียจน
สุดกู่, อยู่ท้าย ๆ เช่น สอบได้ที่สุดกู่ จอดรถไว้สุดกู่.
【 สุดขอบฟ้า 】แปลว่า: ว. ไกลมากที่สุด เช่น ต่อให้หนีไปอยู่สุดขอบฟ้า ก็จะตามให้พบ,
สุดหล้าฟ้าเขียว ก็ว่า.
【 สุดขีด 】แปลว่า: ว. เต็มที่, มากที่สุด, เช่น กลัวสุดขีด โมโหสุดขีด.
【 สุดคน 】แปลว่า: ว. ยอดคน.
【 สุดความสามารถ 】แปลว่า: ว. เต็มที่, เต็มความสามารถที่มีอยู่, เช่น หมอช่วยจนสุดความ
สามารถแล้ว คนไข้ก็ยังไม่ดีขึ้น.
【 สุดคิด 】แปลว่า: ว. หมดปัญญาที่จะคิดอ่านต่อไป, ใช้ปัญญาจนหมดแล้วก็ยัง
คิดไม่ออก.
【 สุดจิต, สุดใจ 】แปลว่า: ว. ยอดรัก, อย่างยอด.
【 สุดด้าม ๒ 】แปลว่า: ว. ที่สุดทางใดทางหนึ่ง.
【 สุดแต่ 】แปลว่า: ว. แล้วแต่ เช่น สุดแต่จะพิจารณา สุดแต่จะโปรด, สุดแล้วแต่
ก็ว่า.
【 สุดโต่ง 】แปลว่า: ว. ไกลมาก, ปลายไกลสุด, เช่น บ้านของเขาอยู่สุดโต่ง ไปมา
ลำบาก แถวลูกเสือยาวเหยียดลูกผมยืนอยู่เสียสุดโต่ง เลย
มองไม่เห็น; มากเกินขอบเขตที่ควรเป็น, ตึงหรือหย่อนเกินไป,
เช่น การปฏิบัติสุดโต่ง.
【 สุดท้อง 】แปลว่า: ว. ที่เกิดทีหลังเพื่อน เช่น ลูกคนสุดท้อง น้องสุดท้อง.
【 สุดท้าย 】แปลว่า: ว. ทีหลังเพื่อน, หลังสุด, เช่น เขาเป็นแขกคนสุดท้ายที่มาใน
งาน เด็กคนนั้นทำการบ้านเสร็จเป็นคนสุดท้าย, เหลือเพียง
หนึ่งเดียว เช่น สมบัติชิ้นสุดท้ายที่เหลืออยู่คือบ้าน โอกาส
สุดท้ายแล้วที่จะแก้ตัวได้.
【 สุดท้ายปลายโต่ง 】แปลว่า: (ปาก) ว. หลังสุด, ท้ายสุด, (มักใช้ในเชิงตำหนิหรือเย้ยหยัน),
เช่น ทำไมมาเสียสุดท้ายปลายโต่ง ไหนเคยคุยว่าเก่ง ทำไม
ถึงสอบได้ที่สุดท้ายปลายโต่ง.
【 สุดที่รัก 】แปลว่า: น. ผู้เป็นยอดรักหรือเป็นที่รักยิ่ง เช่น เธอเป็นสุดที่รักของผม.
ว. ยอดรัก, ที่รักยิ่ง, เช่น ลูกสุดที่รัก.
【 สุดปัญญา 】แปลว่า: ว. ใช้ปัญญาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น เลขข้อนี้คิดจนเกือบ
สุดปัญญาจึงทำได้ ฉันช่วยเขาจนสุดปัญญาแล้วก็ยัง
ไม่สำเร็จ.
【 สุดฝีมือ 】แปลว่า: ว. เต็มที่, เต็มกำลังความสามารถที่มีอยู่, เช่น อาหารมื้อนี้
เขาทำสุดฝีมือ.
【 สุดแรงเกิด 】แปลว่า: (ปาก) ว. สุดกําลัง, เต็มแรงที่มีอยู่, เช่น เขาตกใจ วิ่งหนีสุด
แรงเกิด.
【 สุดลิ่ม ๒ 】แปลว่า: ว. ถึงที่สุด, เต็มกําลัง.
【 สุดลูกหูลูกตา 】แปลว่า: ว. กว้างไกลมาก เช่น เขามีที่ดินมากมายสุดลูกหูลูกตา
ทะเลเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตา.
【 สุดวิสัย 】แปลว่า: ว. พ้นกําลังความสามารถ, พ้นความสามารถที่ใครจะอาจ
ป้องกันได้, เช่น ภัยธรรมชาติเป็นเหตุสุดวิสัย.
【 สุดสวาทขาดใจ 】แปลว่า: ว. ยอดรัก, อย่างยอด.
【 สุดสายตา 】แปลว่า: ว. สุดระยะที่ตาจะมองเห็น เช่น มองจนสุดสายตา ก็ไม่เห็น
ต้นไม้สักต้น, สุดวิสัยที่จะมองเห็น เช่น ลูกอยู่สุดสายตาที่
พ่อแม่จะตามไปดูแล.
【 สุดสายป่าน 】แปลว่า: ว. สุดกําลังความสามารถที่จะควบคุมดูแลหรือดึงกลับได้
เช่น ตามใจลูกเสียจนสุดสายป่านจะไม่เสียเด็กได้อย่างไร.
【 สุดสิ้น 】แปลว่า: ก. ถึงที่สุด เช่น เธอกับฉันสุดสิ้นกันนับแต่วันนี้, จบ เช่น
การสัมมนาได้สุดสิ้นลงแล้ว, สิ้นสุด ก็ว่า.
【 สุดเสียง 】แปลว่า: ว. อาการที่ตะโกนหรือเปล่งเสียงเต็มที่ เช่น ฉันตะโกน
เรียกจนสุดเสียงแล้วเขาก็ยังไม่ได้ยิน เขาร้องให้คนช่วย
จนสุดเสียง แต่ไม่มีใครมาช่วย.
【 สุดเสียงสังข์ 】แปลว่า: (สำ) ว. ที่ผายออกมาก (ใช้แก่ตะโพกหญิง) ในความว่า
ตะโพกสุดเสียงสังข์.
【 สุดหนทาง 】แปลว่า: ว. สุดทางที่จะไป เช่น สุดหนทางบกแล้ว ต่อไปก็เป็น
ทางน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีทางอื่นให้เลือก
เช่น เมื่อสุดหนทางเข้าจริง ๆ ก็เลยต้องยอมแพ้เขา.
【 สุดหล้าฟ้าเขียว 】แปลว่า: ว. ไกลมากที่สุด เช่น เขาหนีไปอยู่สุดหล้าฟ้าเขียว ยากที่
ใครจะตามไปถึง, สุดขอบฟ้า ก็ว่า.
【 สุดเหวี่ยง 】แปลว่า: ว. เต็มที่ เช่น สนุกจนสุดเหวี่ยง.
【 สุดเอื้อม 】แปลว่า: ว. เกินระยะที่มือจะเอื้อมถึง เช่น มะม่วงลูกนั้นอยู่สูงสุด
เอื้อม สอยไม่ถึง, โดยปริยายหมายความว่า เกินฐานะ
และความสามารถเป็นต้นที่จะเอามาเป็นของตนได้ เช่น
เธอเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ สุดเอื้อมที่จะได้เธอมาเป็นคู่ครอง.
【 สุดสงวน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

【 เส้นบังคับ 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กําหนด
บังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาค
ตัดกรวย, เดิมใช้ว่า ไดเรกตริกซ์.
【 เส้นผมบังภูเขา 】แปลว่า: (สํา) น. เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่.
【 เส้นผมผ่าแปด 】แปลว่า: (ปาก) ว. เฉียดกันนิดเดียว เช่น เขายิงพลาดเป้าไปเพียง
เส้นผมผ่าแปด; เล็กมาก, ละเอียดมาก, เช่น เรื่องนี้ไม่ต้อง
อธิบายถี่ถ้วนอย่างเส้นผมผ่าแปด, เส้นยาแดงผ่าแปด
ก็ว่า.
【 เส้นผ่านศูนย์กลาง, เส้นผ่าศูนย์กลาง 】แปลว่า: (คณิต) น. คอร์ดของวงกลมหรือของวงรี ซึ่งลากผ่านจุด
ศูนย์กลาง.
【 เส้นแผลง 】แปลว่า: [–แผฺลง] น. เส้นที่เยื้องไปเยื้องมามีลักษณะเหมือนฟันปลา
ใช้เขียนแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนัง.
【 เส้นยาแดงผ่าแปด 】แปลว่า: (ปาก) ว. เฉียดกันนิดเดียว เช่น เขายิงพลาดเป้าไปเพียง
เส้นยาแดงผ่าแปด; เล็กมาก, ละเอียดมาก, เช่น เรื่องนี้
ไม่ต้องอธิบายถี่ถ้วนอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด, เส้นผมผ่า
แปด ก็ว่า.
【 เส้นยึด 】แปลว่า: น. อาการที่เส้นตึงหรือแข็งยึดทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก.
【 เส้นใย 】แปลว่า: น. วัสดุที่เป็นเส้น ใช้ประโยชน์นําไปทําสิ่งทอเช่นเสื้อผ้า
พรม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เส้นใยธรรมชาติประเภทนี้
มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เส้นใยที่ได้จากขนสัตว์ ฝ้าย นุ่น
ป่าน ปอ ไหม แร่ซิลิเกต และเส้นใยสังเคราะห์ประเภทนี้
ไม่มีในธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่สร้างขึ้นโดยวิธีทางเคมี
เช่น ไนลอน ไหมเทียม เส้นใยแก้ว.
【 เส้นใยแก้ว 】แปลว่า: น. เส้นใยสังเคราะห์ทําจากแก้วให้เป็นเส้นเล็ก ๆ มีขนาดเส้น
ผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า ๑/๔๐๐ เซนติเมตร นําไปทอให้เป็น
แผ่นแล้วชุบฉาบด้วยเรซินซึ่งเป็นสารประเภทพลาสติก ผล
ที่ได้เป็นแผ่นวัสดุที่เหนียวแข็งแรง ใช้ประโยชน์ทําเป็นแผ่น
ฉนวนความร้อน กันเสียง เสื้อเกราะกันกระสุน สร้างเรือ
ขนาดเล็ก สร้างส่วนตัวถังรถยนต์ เป็นต้น. (อ. glass fibre).
【 เส้นรอบวง 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นโค้งที่เป็นแนวขอบทั้งหมดของรูปวงกลมหรือ
ของวงรี.
【 เส้นรัศมี 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงที่เชื่อมจุดศูนย์กลางของวงกลมกับจุดใด ๆ
บนเส้นรอบวง.
【 เส้นรุ้ง 】แปลว่า: น. ละติจูด.
【 เส้นแร 】แปลว่า: น. เส้นที่แกะบนไม้หรือบนผิวโลหะ.
【 เส้นลายมือ 】แปลว่า: น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว, ลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า
เส้นลายพระหัตถ์.
【 เส้นลึก 】แปลว่า: ว. ที่ทําให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ยาก เช่น เขาเป็นคนเส้นลึก
แม้จะได้ยินเรื่องขำขันอย่างไรก็ไม่หัวเราะ; อาการที่เก็บความ
รู้สึกได้ดีจนยากที่จะสังเกตได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใด เช่น
เขาจับเส้นเจ้านายไม่ถูก เพราะเป็นคนเส้นลึกมาก. น. เส้นที่
อยู่ในตำแหน่งลึกของร่างกายเช่น อยู่ชิดหรือใกล้ซอกกระดูก
หรือในท้อง ทำให้กดหรือจับยาก.
【 เส้นเลือด 】แปลว่า: น. หลอดเลือด. (อ. blood vessel), โดยปริยายหมายถึง
เส้นทางนําความสมบูรณ์ไปหล่อเลี้ยงแหล่งต่าง ๆ เช่น
แม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงภาคกลาง
ของประเทศไทย.
【 เส้นวันที่ 】แปลว่า: (ภูมิ) น. เส้นสมมุติซึ่งนานาชาติได้ตกลงกันโดยกําหนดให้ใช้
เป็นเขตการเปลี่ยนวันที่เมื่อเดินทางข้ามเส้นนี้ไป. (อ. date line).
【 เส้นแวง 】แปลว่า: น. ลองจิจูด.
【 เส้นศูนย์สูตร 】แปลว่า: น. เส้นวงกลมสมมุติที่ลากรอบโลก และแบ่งโลกออกเป็น
ส่วนซีกโลกเหนือกับส่วนซีกโลกใต้.
【 เส้นสมมาตร 】แปลว่า: น. เส้นตรงซึ่งแบ่งรูปใด ๆ ออกเป็น ๒ ส่วนที่มีรูปร่างและ
ขนาดเท่ากันทุกประการ.
【 เส้นสัมผัส 】แปลว่า: (คณิต) น. เส้นตรงที่ตัดเส้นโค้งเส้นหนึ่ง ณ ตำแหน่งที่จุดตัด
ทั้ง ๒ ใกล้ชิดกันมากจนถือได้ว่าเป็นจุดเดียวกัน.
【 เส้นสาย 】แปลว่า: น. ระบบเส้นของร่างกาย โดยปริยายหมายความว่า พวก
พ้องหรือผู้ช่วยเหลือที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้.
【 เส้นเสียง 】แปลว่า: น. แผ่นเอ็นบาง ๆ ที่อยู่ในกล่องเสียง เป็นส่วนสำคัญในการ
เปล่งเสียง.
【 เส้นหมี่ 】แปลว่า: น. แป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามา
ตากแห้ง.
【 เส้นเอ็น 】แปลว่า: น. เอ็น.
【 เส้นฮ่อ 】แปลว่า: น. ลายเส้นที่เขียนเป็นไพรคิ้ว ไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ
ด้วยเส้นสีแดง ดินแดง และสีทอง, ลายฮ่อ ก็เรียก.
【 เสนง, เสน่ง 】แปลว่า: [สะเหฺนง, สะเหฺน่ง] น. เขาสัตว์, เขนง, แสนง ก็ใช้. (ข.).
【 เส้นด้าย 】แปลว่า: น. ชื่อพยาธิชนิด /Enterobius vermicularis/ ในวงศ์
Oxyuridae ลําตัวเรียวยาว สีขาวหม่น ตัวผู้ยาว ๒–๕
มิลลิเมตร ตัวเมียยาว ๘–๑๓ มิลลิเมตร หางแหลม
เป็นปรสิตอยู่ในลําไส้ใหญ่ของมนุษย์และลิงชิมแปนซี.
หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (/Pinus merkusii/ Jungh. de Vriese),
สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (/P. kesiya/ Royle ex Gordon)
ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง ๒ ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก, พายัพเรียก
จ๋วง; สนหางกระรอก (/Dacrydium elatum/ Blume) ในวงศ์
Cupressaceae; สนฉําฉา หรือ สนญี่ปุ่น [/Podocarpus/
/macrophyllus/ (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae;
สนทราย หรือ สนสร้อย (/Baeckea frutescens/ L.) ในวงศ์
Myrtaceae สนทะเล (/Casuarina equisetifolia/ J.R. et G.
Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae.
【 สนแผง, สนหางสิงห์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Thuja orientalis/ L. ในวงศ์ Cupressaceae
ใบเป็นแผง ใบและเมล็ดใช้ทํายาได้.
【 สน ๒ 】แปลว่า: ก. ร้อยด้วยเชือกหรือด้ายเป็นต้น เช่น สนเข็ม สนตะพาย.
【 สนเข็ม 】แปลว่า: ก. ร้อยด้ายหรือไหมเป็นต้นเข้าไปในรูเข็ม.
【 สนตะพาย 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า
ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้
เขาสนตะพายหมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วย
ความจําใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา.
【 ส้น 】แปลว่า: น. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียก
เต็มว่าส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.
【 ส้นตีน 】แปลว่า: (ปาก) น. ส้นเท้า, (มักใช้เป็นคำด่า).
【 ส้นตีนส้นมือ, ส้นมือส้นตีน 】แปลว่า: (ปาก) ว. ไร้สาระ, ไม่มีแก่นสาร, เช่น เรื่องส้นมือส้นตีนเท่านี้
ก็ต้องมาฟ้องด้วย, ใช้เป็นคำด่า.
【 ส้นมือ 】แปลว่า: น. ส่วนท้ายของฝ่ามือ.
【 ส้นรองเท้า 】แปลว่า: น. ส่วนล่างตอนท้ายของรองเท้าที่รองรับส้น.
【 สนใจ 】แปลว่า: ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจ
วิชาคณิตศาสตร์มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขา
สนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.
【 สนเดก 】แปลว่า: (แบบ) น. สํานัก. (ป. สนฺติก).
【 สนทนา 】แปลว่า: [สนทะ] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น
สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน,
ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาใน
นวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า
การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).
【 สนทรรศ 】แปลว่า: [ทัด] น. ภาพ, สิ่งที่ปรากฏ. (ส. สํ + ทรฺศ).
【 สนทรรศน์ 】แปลว่า: [ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
【 สนทิศ 】แปลว่า: ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
【 สนเทศ 】แปลว่า: น. คําสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก. (ส.; ป. สนฺเทส).
【 สนเท่ห์ 】แปลว่า: ก. สงสัย, ฉงน, ไม่แน่ใจ, เช่น รู้สึกสนเท่ห์, มักใช้เข้าคู่กับคำ
ฉงน เป็น ฉงนสนเท่ห์. (ป., ส. สนฺเทห).
【 สนธยา 】แปลว่า: [สนทะ] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา;
ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่
พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก. (ส.).
【 สนธิ 】แปลว่า: น. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมา
เชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์
บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็นพจนานุกรม
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ
เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
【 สนธิสัญญา 】แปลว่า: น. หนังสือสัญญาที่สําคัญยิ่งและทําเป็นตราสารสมบูรณ์
แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทําขึ้น
ระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
【 สนธิอลงกต 】แปลว่า: [อะลงกด] น. โคลงนาคพันธ์.
【 สนน 】แปลว่า: [สะหฺนน] น. ถนน.
【 สนนราคา 】แปลว่า: [สะหฺนน] น. ราคา.
【 สนม ๑ 】แปลว่า: [สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรง
พระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทาน
หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).
【 สนมเอก 】แปลว่า: น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบ
หมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัย
โบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์
ท้าวอินทรเทวีและท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
【 สนม ๒ 】แปลว่า: [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสํานักทําหน้าที่เกี่ยวกับ
พิธีศพทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ
โกศ หีบเป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. สฺนุํ).
【 สนม ๓ 】แปลว่า: สะหฺนม น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มี
ฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาท
ชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียก
ลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่าติดสนม.
【 สนวน 】แปลว่า: [สะหฺนวน] ดู ฉนวน ๔.
【 สนอง 】แปลว่า: [สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น
สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้
ตอบ เช่นกรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขาย
สนองซื้อ. (ข. สฺนง).
【 สร้อย ๒ 】แปลว่า: [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่
รวมกันเป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้น
ไปหากินในแหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและ
มีจุดคลํ้าหรือจุดดําบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบ
พาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (/Cirrhinus jullieni/),
กระสร้อย ก็เรียก.
【 สร้อย ๓ 】แปลว่า: [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบท
ร้อยกรองเพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียง
และความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี
แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำ
อื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา,
คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา
มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชา
สยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหา
สวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
【 สร้อย ๔ 】แปลว่า: [ส้อย] น. ผู้หญิง, นาง, เช่น จําใจจําจากสร้อย. (ตะเลงพ่าย).
【 สร้อย ๕ 】แปลว่า: [ส้อย] น. ดอกไม้ เช่น สร้อยสลา.
【 สร้อย ๖ 】แปลว่า: [ส้อย] ก. โศก.
【 สร้อยเศร้า 】แปลว่า: ก. เศร้าสร้อย.
【 สร้อยทอง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Solidago polyglossa/ DC. ในวงศ์
Compositae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ.
【 สร้อยทะแย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 สร้อยนกเขา 】แปลว่า: น. (๑) /ดู ข้างตะเภา. /(๒) /ดู ขี้ขม และ ทองลิน./
【 สร้อยน้ำผึ้ง 】แปลว่า: /ดู รากกล้วย./
【 สร้อยระย้า ๑ 】แปลว่า: /ดูใน สร้อย ๑./
【 สร้อยระย้า ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด /Otochilus fusca/ Lindl. ในวงศ์
Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒)
ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด /Medinilla magnifica/ Lindl. ในวงศ์
Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล
ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง.
【 สร้อยอินทนิล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Thunbergia grandiflora/ Roxb. ในวงศ์
Acanthaceae ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือขาว ออกเป็นพวงห้อย
ระย้า, ช่ออินทนิล หรือ ม่านอินทนิล ก็เรียก.
【 สระ ๑ 】แปลว่า: [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
【 สระ ๒ 】แปลว่า: [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหว
ของลิ้นและริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะ
ส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียง
สระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่าง
เดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ
า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
【 สระ ๓ 】แปลว่า: [สะ] ก. ฟอกให้สะอาดหมดจด ในคำว่า สระหัว สระผม,
ชำระล้างให้สะอาด เช่น สระหวี.
【 สระ ๔ 】แปลว่า: [สฺระ] คําที่แผลงมาจากคําที่ขึ้นต้นด้วยคํา สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน
เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.
【 สระ ๕ 】แปลว่า: [สะระ] น. เสียง. (ป.; ส. สฺวร).
【 สระกอ 】แปลว่า: สฺระ ว. สะกอ.
【 สระคราญ 】แปลว่า: สฺระ ว. สะคราญ.
【 สระดะ 】แปลว่า: สฺระ ว. ระดะไป, เกะกะไป, ดาษไป, แน่นไป.
【 สระท้อน 】แปลว่า: สฺระ ว. สะท้อน; อ่อน. (ข.).
【 สระพรั่ง 】แปลว่า: สฺระ ว. สะพรั่ง.
【 สระสม 】แปลว่า: สฺระ ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ).
【 สระอาด 】แปลว่า: สฺระ ว. สะอาด.
【 สระอื้น 】แปลว่า: สฺระ ก. สะอื้น.
【 สรั่ง 】แปลว่า: [สะหฺรั่ง] น. หัวหน้ากะลาสี. (เปอร์เซีย).
【 สรัสวดี 】แปลว่า: [สะรัดสะวะดี] น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู
เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มี
หลายชื่อ เช่น ภารตีพราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี.
(ส. สรสฺวตี).
【 สร่าง 】แปลว่า: [ส่าง] ก. คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไป
ของร่างกายหรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น
สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยังไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง.
【 สร้าง ๑ 】แปลว่า: [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น
พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้
ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง
สร้างศัตรูสร้างชื่อเสียง.
【 สร้างชาติ 】แปลว่า: ก. ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง.
เขาพูดไม่หยุด.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!