Site icon ENLIGHTENTH

พจนานุกรม ไทย – ไทย ศ

【 ศ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น
และเป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษา
อื่น เช่น ศาลา อากาศไอศกรีม วงศ์.
【 ศก ๑ 】แปลว่า: น. ผม เช่น พระศกพระพุทธรูป. (ข.).
【 ศก ๒ 】แปลว่า: น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา
เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน
โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น,
บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี
หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒
… หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒
เรียกว่า โทศก … ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น
ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
【 ศกฏะ 】แปลว่า: [สะกะตะ] น. เกวียน. (ส.; ป. สกฏ).
【 ศกละ 】แปลว่า: [สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล).
【 ศกุน 】แปลว่า: น. นก. (ส.; ป. สกุณ).
น. นก. (ส.; ป. สกุนฺต).
【 ศกุนิ 】แปลว่า: น. นก. (ส.; ป. สกุณิ).
【 ศกุนี 】แปลว่า: น. นกตัวเมีย. (ส.; ป. สกุณี).
【 ศงกา 】แปลว่า: น. ความสงสัย. (ส. ศงฺกา; ป. สงฺกา).
【 ศจี 】แปลว่า: น. ชายาพระอินทร์. (ส.).
【 ศฐะ 】แปลว่า: [สะ-] น. คนโกง, คนล่อลวง; คนโอ้อวด. (ส.; ป. ส?).
【 ศดก 】แปลว่า: [สะดก] น. หมวด ๑๐๐. (ส. ศตก; ป. สตก).
【 ศต, ศตะ 】แปลว่า: [สะตะ] น. ร้อย (๑๐๐). (ส.; ป. สต).
【 ศตบาท, ศตปที 】แปลว่า: น. ตะขาบ, ตะเข็บ, กิ้งกือ. (ส.).
【 ศตภิษัช, สตภิสชะ 】แปลว่า: [พิสัด, พิดสะชะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง
เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
【 ศตวรรษ, ศตพรรษ 】แปลว่า: [สะตะวัด, พัด] น. รอบ ๑๐๐ ปี. (ส.).
【 ศตสังวัตสร์ 】แปลว่า: น. เวลานานชั่ว ๑๐๐ ปี. (ส.).
【 ศตัฆนี 】แปลว่า: [สะตักคะนี] น. อาวุธอย่างร้ายแรงฆ่าคนได้ทีละ ๑๐๐ คน.
【 ศตกะ 】แปลว่า: [สะตะกะ] น. หมวด ๑๐๐, มีจํานวน ๑๐๐, ใช้ ศดก ก็มี.
(ส.; ป. สตก).
【 ศตัฆนี 】แปลว่า: /ดู ศต, ศตะ./
【 ศนิ 】แปลว่า: [สะ] น. ดาวพระเสาร์. (ส.).
【 ศนิวาร 】แปลว่า: น. วันเสาร์, โสรวาร ก็ว่า. (ส.).
【 ศพ 】แปลว่า: น. ซากผี, ร่างคนที่ตายแล้ว. (ส. ศว; ป. ฉว).
【 ศพละ 】แปลว่า: [สะพะละ] ว. หลายสี, ด่าง, ลาย, พร้อย, กระ; วุ่น, รําคาญ.
(ส.; ป. สพล).
【 ศมะ 】แปลว่า: [สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม).
【 ศมนะ 】แปลว่า: [สะมะนะ] น. การทําให้สงบ. (ส.; ป. สมน).
【 ศยะ 】แปลว่า: [สะ-] ก. นอน; หลับ; อยู่, พักผ่อน, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส. (ส.).
【 ศยนะ 】แปลว่า: [สะยะ] น. การนอน, การหลับ; ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. สยน).
【 ศยาม 】แปลว่า: [สะหฺยาม] ว. ดํา, คลํ้า. (ส.).
【 ศยามล 】แปลว่า: [สะหฺยามน] น. สีดํา. ว. ผิวคลํ้า, ดํา. (ส.).
【 ศร 】แปลว่า: [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร
กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร,
เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
【 ศรศิลป์ไม่กินกัน 】แปลว่า: (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศร
【 ศิลป์ไม่กินกัน. 】แปลว่า: (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สํา) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน,
ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใด
ต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
【 ศรายุธ 】แปลว่า: [สะรายุด] น. อาวุธคือศร. (ส. ศร + อายุธ).
【 ศราวรณ์ 】แปลว่า: [สะราวอน] น. เครื่องกําบังลูกศร คือ โล่. (ส.).
【 ศราสน์ 】แปลว่า: [สะราด] น. คันศร. (ส.).
【 ศรนารายณ์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มแตกกอชนิด /Agave sisalana/ Perrine ในวงศ์
Agavaceae ใบใหญ่หนาและแข็ง ปลายเป็นหนามแหลม ใบให้ใย
ใช้ทําสิ่งทอได้.
【 ศรภะ 】แปลว่า: [สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้าง
และสิงโต. (ส.).
【 ศรมณะ 】แปลว่า: [สะระมะ] น. ผู้ปฏิบัติบําเพ็ญพรต, พระสงฆ์. (ส.; ป. สมณ).
【 ศรรกรา 】แปลว่า: [สักกะรา] น. ก้อนกรวด; นํ้าตาลกรวด. (ส. ศรฺกรา; ป. สกฺกร).
[สะระวะนะ, สาวะนะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็น
รูปหามผีหรือโลง, ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี ก็เรียก. (ส.).
【 ศรวณีย์ 】แปลว่า: [สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย).
【 ศรวิษฐา 】แปลว่า: [สะระวิดถา] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ
ดาวเศรษฐี หรือดาวธนิษฐะ ก็เรียก.
【 ศรัณย์ 】แปลว่า: [สะรัน] ว. ซึ่งเป็นที่พึ่ง. (ส. ศรณฺย).
【 ศรัณยู 】แปลว่า: [สะรันยู] น. ผู้เป็นที่พึ่ง. (ส. ศรณฺยุ).
【 ศรัถนะ 】แปลว่า: [สะรัดถะนะ] น. การปล่อย, การหย่อน. (ส.).
【 ศรัท 】แปลว่า: [สะรัด] น. ฤดูสารท. (ส. ศรท; ป. สรท).
【 ศรัทธา 】แปลว่า: [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน
ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา
ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน
โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
【 ศรัย 】แปลว่า: [ไส] น. ที่พักพิง, ที่พึ่ง, ที่อาศัย, ที่ร่มเย็น. (ส. ศฺรย).
【 ศราทธ, ศราทธ์ 】แปลว่า: [สาดทะ, สาด] น. การทําบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. (ส.).
【 ศราทธพรต 】แปลว่า: [สาดทะพฺรด] น. พิธีทําบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว.
(ส. ศฺราทฺธ+ วฺรต).
【 ศราพ 】แปลว่า: [สะราบ] น. การได้ยิน, การฟัง. (ส. ศฺราว).
【 ศราพก, ศราวก 】แปลว่า: [สะราพก, วก] น. สาวก, ศิษย์. (ส. ศฺราวก; ป. สาวก).
【 ศรายุธ 】แปลว่า: /ดู ศร./
【 ศราวณะ 】แปลว่า: [สะราวะนะ] น. ชื่อเดือนที่ ๙ แห่งจันทรคติ. ว. เกี่ยวกับดาวศรวณะ.
(ส.).
【 ศราวรณ์ 】แปลว่า: /ดู ศร./
【 ศราสน์ 】แปลว่า: /ดู ศร./
【 ศรี ๑ 】แปลว่า: [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม,
ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น
การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
(ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
【 ศรี ๒ 】แปลว่า: [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.
【 ศรี ๓ 】แปลว่า: [สี] น. ผู้หญิง. (ข. สี).
【 ศรี ๔ 】แปลว่า: สี น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรง
พระสรวลเห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).
【 ศรีตรัง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Jacaranda filicifolia/ D. Don ในวงศ์ Bignoniaceae
สูงประมาณ ๑๐ เมตร ใบเป็นฝอยเล็ก ดอกสีนํ้าเงินปนม่วง.
【 ศรีสังคีต 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ศรุตะ 】แปลว่า: [สะรุตะ] ก. ได้ยิน, ได้ฟัง; มีชื่อเสียง, มีผู้รู้จัก. (ส.).
【 ศรุติ 】แปลว่า: [สะรุติ] น. สิ่งที่ได้ยิน, กิตติศัพท์; พระเวท. (ส.).
【 ศฤคาล, สฤคาล 】แปลว่า: [สฺริคาน] น. หมาจิ้งจอก. (ส.).
【 ศฤงค์ 】แปลว่า: [สฺริง] น. เขาสัตว์; ยอดของสถานที่ต่าง ๆ. (ส.).
【 ศฤงคาร 】แปลว่า: [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ
ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส.
ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
【 ศฤงคารรส 】แปลว่า: สะหฺริงคานระรด น. รส ๑ ใน ๙ รสของ
วรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมี
เนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
【 ศฤงคาริน, ศฤงคารี 】แปลว่า: ว. ผู้มีศฤงคาร. (ส. ศฺฤงฺคาริน).
【 ศลภะ 】แปลว่า: [สะละพะ] น. แมลงมีปีก. (ส.).
【 ศลัถ 】แปลว่า: [สะลัด] น. ลุ่ย, หลุด; หลวม, ไม่แน่น. (ส.).
【 ศลิษฏ์ 】แปลว่า: [สะหฺลิด] ว. ติด, แนบ, เกี่ยวข้อง. (ส.).
【 ศลิษา 】แปลว่า: [สะลิ] น. การกอดรัด. (ส.).
【 ศวะ 】แปลว่า: น. ศพ. (ส.; ป. ฉว).
【 ศวศุระ 】แปลว่า: น. พ่อตา, พ่อผัว. (ส. ศฺวศุร; ป. สสฺสุร).
【 ศวัส 】แปลว่า: [สะวัด] น. วันพรุ่งนี้. (ส. ศฺวสฺ; ป. เสฺว).
【 ศวัสนะ 】แปลว่า: น. การหายใจ. (ส. ศฺวสน).
【 ศวา, ศวาน 】แปลว่า: [สะวา, สะวาน] น. หมา. (ส. ศฺวา, ศฺวานฺ).
【 ศวาสะ 】แปลว่า: น. การหายใจ, ลมหายใจ. (ส. ศฺวาส).
【 ศศ, ศศะ 】แปลว่า: [สะสะ] น. กระต่าย, รอยดําที่ปรากฏในดวงจันทร์ ซึ่งถือกันว่า
คล้ายกระต่าย. (ส.; ป. สส).
【 ศศธร 】แปลว่า: น. ทรงไว้ซึ่งรูปกระต่าย คือ ดวงจันทร์. (ส.).
【 ศศพินทุ์, ศศลักษณ์ 】แปลว่า: น. ดวงจันทร์. (ส.).
【 ศศิ ๑, ศศิน, ศศี 】แปลว่า: [สะสิ, สะสิน, สะสี] น. “ซึ่งมีกระต่าย” คือ ดวงจันทร์. (ส.).
【 ศศิกษัย 】แปลว่า: น. พระจันทร์แรม. (ส.).
【 ศศิขัณฑ์ 】แปลว่า: น. เสี้ยวพระจันทร์. (ส.).
【 ศศิเคราะห์ 】แปลว่า: น. จันทรคราส. (ส. ศศิคฺรห).
【 ศศิธร 】แปลว่า: น. ดวงจันทร์. (ส. ว่า พระอิศวรผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น).
【 ศศิมณฑล 】แปลว่า: น. ดวงพระจันทร์. (ส.).
【 ศศิวิมล 】แปลว่า: ว. บริสุทธิ์เพียงจันทร์. (ส.).
【 ศศิ ๒ 】แปลว่า: สะสิ น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
【 ศสา 】แปลว่า: [สะ] น. แตงกวา. (ส.).
【 ศอ 】แปลว่า: น. คอ, ราชาศัพท์ ว่า พระศอ.
【 ศอก 】แปลว่า: น. ส่วนของแขน ตรงข้ามกับข้อพับ, ข้อศอก ก็ว่า; ช่วงของแขน
ตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง; มาตราวัดตามวิธี
ประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ.
【 ศอกกลับ 】แปลว่า: ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง;
โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น
พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
【 ศอกกำ, ศอกกำมา, ศอกตูม 】แปลว่า: น. ระยะตั้งแต่ข้อศอกจนสุดกํามือ
โบราณใช้เป็นหน่วยวัดระยะ เช่น ๔ ศอกกับศอกกํามาหนึ่ง.
【 ศอกคู้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์หัสตะ มี ๕ ดวง, ดาวศีรษะช้าง
ดาวหัสต หรือ ดาวหัฏฐะ ก็เรียก.
【 ศักดา 】แปลว่า: (ปาก) น. อํานาจ เช่น อวดศักดา แผลงศักดา. (ส.).
【 ศักดิ, ศักดิ์ 】แปลว่า: น. อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ
เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว.
(ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).
【 ศักดินา 】แปลว่า: น. (โบ) อํานาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกัน
ตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มี
ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่.
(สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่า
พวกศักดินา.
【 ศักดิ์ศรี 】แปลว่า: น. เกียรติศักดิ์ เช่น ประพฤติตนไม่สมศักดิ์ศรี.
【 ศักดิ์สิทธิ์ 】แปลว่า: ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดัง
ประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์.
【 ศักติ 】แปลว่า: น. ชื่อนิกายใหญ่นิกายหนึ่งใน ๓ นิกายของศาสนาฮินดู (คือ
นิกายไวษณพ ไศวะและศักติ) บูชาเทวีซึ่งโดยมากหมายเอาพระ
ทุรคาผู้เป็นศักติ เป็นศรี หรือเป็นชายาของพระศิวะ.
【 ศักย ๑ 】แปลว่า: [สักกะยะ] ว. อาจ, สามารถ. (ส.).
【 ศักยภาพ 】แปลว่า: สักกะยะพาบ น. ภาวะแฝง, อํานาจหรือ
คุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทําให้พัฒนาหรือให้ปรากฏ
เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตก
ขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก.
【 ศักย ๒ 】แปลว่า: [สักกะยะ] น. ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).
【 ศักย์, ศักยะ 】แปลว่า: สัก, สักกะยะ น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ
จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.
【 ศักร 】แปลว่า: [สักกฺระ] น. พระอินทร์. (ส.; ป. สกฺก).
【 ศักรภพน์ 】แปลว่า: น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. (ส.).
【 ศักรินทร์, ศักเรนทร์ 】แปลว่า: น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. (ส. ศกฺร + อินฺทฺร).
【 ศักราช 】แปลว่า: [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่
จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน
เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, …
(ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น
พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้
แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก
ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช),
(ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น
เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่
พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
【 ศักรินทร์, ศักเรนทร์ 】แปลว่า: /ดู ศักร./
【 ศังกร 】แปลว่า: [สังกอน] น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. (ส.).
【 ศังกา 】แปลว่า: น. ความสงสัย, ความลังเล. (ส.; ป. สงฺก).
【 ศังกุ 】แปลว่า: น. หลาว, หอก. (ส.).
【 ศัตรู 】แปลว่า: [สัดตฺรู] น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ย
เป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคน
แล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. ตฺตุ).
【 ศัทธนะ 】แปลว่า: [สัดทะนะ] ก. พัด (ใช้แก่ลม), มีลมพัดมา. (บ.).
【 ศันสนะ 】แปลว่า: [สันสะ] น. การสรรเสริญ, การบอกเล่า. (ส. ศํสน).
【 ศันสนีย์ 】แปลว่า: [สะนี] ว. พึงสรรเสริญ, พึงชม. (ส. ศํสนีย).
【 ศัพท, ศัพท์ 】แปลว่า: [สับทะ, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยาก
ที่ต้องแปล, ศัพท์แสงก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด.
(ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คํา).
【 ศัพท์เฉพาะวิชา 】แปลว่า: น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น
ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
【 ศัพท์บัญญัติ 】แปลว่า: น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะ
เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.
ศัพทมูลวิทยา [สับทะมูนละ, สับทะมูน] น. วิชาว่าด้วยที่มา
และประวัติของคํา. (อ. etymology).
【 ศัพท์สำเนียง 】แปลว่า: น. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟัง
ไม่ได้ศัพท์
【 ศัพท์แสง 】แปลว่า: (ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่น
ศัพท์แสงฟังไม่รู้เรื่อง.
【 ศัยยา 】แปลว่า: น. ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. เสยฺยา).
【 ศัล, ศัลกะ 】แปลว่า: [สัน, สันละกะ] น. เปลือกไม้. (ส. ศลฺล, ศลฺก).
【 ศัลกี 】แปลว่า: [สันละกี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /BosWellia serrata/ Roxb. ในวงศ์
Burseraceae ยางมีกลิ่นหอมใช้ทํายาได้. (ส. ศลฺลกี; ป. สลฺลกี).
【 ศัลย 】แปลว่า: [สันละยะ, สันยะ] น. ลูกศรหรือของมีปลายแหลมอื่น ๆ. (ส.).
【 ศัลยกรรม 】แปลว่า: [สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
【 ศัลยกรรมตกแต่ง 】แปลว่า: น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง
รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ
คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ
ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
【 ศัลยแพทย์ 】แปลว่า: [สันละยะแพด] น. แพทย์ทางการผ่าตัด.
【 ศัลยศาสตร์ 】แปลว่า: [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
【 ศัสดร 】แปลว่า: [สัดดอน] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
【 ศัสตร 】แปลว่า: [สัดตฺระ] น. ศัสตรา, ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง. (ส.).
【 ศัสตรกรรม 】แปลว่า: น. การผ่าตัดทางแพทย์. (ส.).
【 ศัสตรการ 】แปลว่า: น. คนทําอาวุธ. (ส.).
【 ศัสตรศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาใช้อาวุธ, วิชาทหาร.
【 ศัสตรา, ศัสตราวุธ 】แปลว่า: [สัดตฺรา, สัดตฺราวุด] น. ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ
ต่าง ๆ. (ส.).
【 ศัสยะ 】แปลว่า: [สัดสะยะ] น. ข้าวกล้า. (ส.; ป. สสฺส).
【 ศาก, ศากะ 】แปลว่า: [สากะ] น. ผัก; ต้นสัก. (ส.).
【 ศากภักษ์ 】แปลว่า: น. คนที่กินแต่ผัก (ไม่กินเนื้อ). (ส.).
【 ศากตะ 】แปลว่า: [สากตะ] น. ผู้นับถือนิกายศักติ.
【 ศากย, ศากยะ 】แปลว่า: [สากกะยะ] น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า
ศากยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).
【 ศากยเกตุ, ศากยพุทธ, ศากยมุนี 】แปลว่า: น. พระนามพระพุทธเจ้าผู้มี
เชื้อสายศากยวงศ์. (ส.).
【 ศาฎก 】แปลว่า: [ดก] น. ผ้า. (ส. ศาฏก; ป. สาฏก).
【 ศาฐยะ 】แปลว่า: [สาถะ] น. สาไถย, ความคดโกง. (ส.; ป. สาเถยฺย).
【 ศาณ ๑ 】แปลว่า: น. หินลับมีด, หินเจียระไน. (ส.).
【 ศาณ ๒ 】แปลว่า: น. ผ้าป่าน. ว. ทําด้วยป่านหรือปอ. (ส.; ป. สาณ).
【 ศาต 】แปลว่า: ว. ลับแล้ว, คม, แหลม; แบบบาง. (ส.).
【 ศานต, ศานต์ 】แปลว่า: [สานตะ, สาน] ว. สงบ. (ส.; ป. สนฺต).
【 ศานตรส 】แปลว่า: น. รสของคําประพันธ์ที่แสดงถึงความสงบจิต. (ส.).
【 ศานติ 】แปลว่า: น. ความสงบ, ความระงับ. (ส.; ป. สนฺติ).
【 ศานติโหม 】แปลว่า: น. การบูชาไฟเพื่อกําจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
【 ศานติก 】แปลว่า: [สานติกะ] ว. ที่กําจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
【 ศาป, ศาป 】แปลว่า: สาบ, สาปะ น. คําแช่ง, การด่า. (ส.; ป. สาป).
【 ศาปมุกติ์ 】แปลว่า: [สาปะมุก] น. การพ้นจากผลคําแช่ง. (ส.).
ศาปานต์ ว. พ้นสาป. (ส.).
【 ศาปานต์ 】แปลว่า: /ดู ศาป, ศาป./
【 ศาพระ 】แปลว่า: [สาพะระ] ว. โหดร้าย, พยาบาท. (ส.).
【 ศารท 】แปลว่า: [สาด] ว. เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง; เทศกาลทําบุญสิ้น
เดือน ๑๐. (ส.; ป. สารท).
【 ศารทวิษุวัต 】แปลว่า: สาระทะ น. จุดราตรีเสมอภาคที่เมื่อ
ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๔ กันยายน (autumnal
equinox), คู่กับ วสันตวิษุวัต.
【 ศารทูล 】แปลว่า: [สาระ] น. เสือโคร่ง. (ส. ศารฺทูล; ป. สทฺทูล).
【 ศาริกา 】แปลว่า: น. นกจําพวกนกเอี้ยง. (ส.; ป. สาลิกา).
【 ศาล 】แปลว่า: [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย
ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย
พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง
และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต
ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า
ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
【 ศาลกงสุล 】แปลว่า: (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน
บังคับของตน.
【 ศาลแขวง 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา
พิพากษาคดีและมีอํานาจไต่สวนหรือมีคําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้
พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.
【 ศาลคดีเด็กและเยาวชน 】แปลว่า: (กฎ; เลิก) ดู ศาลเยาวชนและครอบครัว.
【 ศาลจังหวัด 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจําในแต่ละ
จังหวัดหรือในบางอําเภอ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง
และคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ในเขตอํานาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้น
ได้กําหนดไว้.
【 ศาลชั้นต้น 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา
พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง
ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี
ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล
ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
【 ศาลฎีกา 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดซึ่งมีอํานาจพิจารณา
พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล
อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา
หรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมาย
อื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมี
อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตาม
กฎหมาย.
【 ศาลเตี้ย 】แปลว่า: ปาก) น. เรียกการที่คนหรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ
ดำเนินคดีตามกฎหมายจับกุมคนมาชำระตัดสินความโดย
พลการว่า ตั้งศาลเตี้ย.
【 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาล
ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง
เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา
อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า
หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง
ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม
อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ
ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ
ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
【 ศาลทหาร 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอํานาจ
พิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทําผิดต่อกฎหมายทหาร
หรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทําผิดเป็นบุคคลที่
อยู่ในอํานาจศาลทหารในขณะกระทําผิด และมีอํานาจสั่งลงโทษ
บุคคลใด ๆ ที่กระทําผิดฐานละเมิดอํานาจศาลตามที่บัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
【 ศาลปกครอง 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง
ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล
กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
【 ศาลโปริสภา 】แปลว่า: [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่
จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒
มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทํานองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
【 ศาลพระภูมิ 】แปลว่า: น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่
ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบัน
ทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
【 ศาลเพียงตา 】แปลว่า: น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ
นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
【 ศาลแพ่ง 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษา
คดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น.
【 ศาลภาษีอากร 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ
ของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือ
คณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.
【 ศาลยุติธรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของ
ศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และ
ศาลฎีกา, เดิมเรียกว่า ศาลสถิตยุติธรรม.
【 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 】แปลว่า: (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ
ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖)
ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม
ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of
International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ
สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง
ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน
เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท
ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี
ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ
ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
【 ศาลเยาวชนและครอบครัว 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมี
อํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก
หรือเยาวชนกระทําความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจ
พิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัว
อันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทําการใด ๆ
ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้อง
บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะ
ต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติ
ของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชน
และครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชน
และครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน
ศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน
และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.
【 ศาลรัฐธรรมนูญ 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหา
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัย
ว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดี
ทั่วไป.
【 ศาลแรงงาน 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่กฎหมายบัญญัติให้
อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือ
หน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้าง หรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
หรือคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่อง
จากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้าง
แรงงาน.
【 ศาลล้มละลาย 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่
คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง
ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง
คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท
กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก
การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
【 ศาลโลก 】แปลว่า: (ปาก) น. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ.
ศาลสถิตยุติธรรม (กฎ; โบ) น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรม
ทั้งปวง.
【 ศาลสูง 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์
และฎีกา.
【 ศาลสูงสุด 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่อยู่ในลำดับสูงสุดเหนือศาลทั้งหลาย
ในสายเดียวกัน คดีที่ศาลสูงสุดพิจารณาพิพากษาแล้วถือว่าถึงที่สุด.
【 ศาลอาญา 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา
พิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มี
อำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.
【 ศาลอาญาศึก 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบ
อยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการ
กระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัด
ตัวบุคคล.
【 ศาลอุทธรณ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา
ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา
บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท
บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล
และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ
ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย
ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม
กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
【 ศาลอุทธรณ์ภาค 】แปลว่า: (กฎ)/ ดู ศาลอุทธรณ์./
【 ศาลา 】แปลว่า: น. อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อ
ประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก
ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง
ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน
ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).
【 ศาลากลาง 】แปลว่า: น. อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของจังหวัด เช่น
ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา.
【 ศาลากลางย่าน 】แปลว่า: น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม
สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ
หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม
ก็เรียก.
【 ศาลาการเปรียญ 】แปลว่า: น. ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม.
【 ศาลาฉทาน 】แปลว่า: [ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไป
เป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
【 ศาลาดิน 】แปลว่า: น. ศาลาที่ใช้พื้นดินเป็นพื้นหรือพื้นติดดิน ใช้ประกอบ
ศาสนกิจเป็นต้น เช่น ศาลาดินที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
【 ศาลาตักบาตร, ศาลาบาตร 】แปลว่า: น. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐาน
สำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่
ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะ
ตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.
【 ศาลาประชาคม 】แปลว่า: น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่
ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
【 ศาลายก 】แปลว่า: น. ศาลาที่ยกพื้นสูงใช้ประกอบศาสนกิจเป็นต้น เช่น
ศาลายกที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม.
【 ศาลาราย 】แปลว่า: น. ศาลาที่สร้างเป็นหลัง ๆ เรียงเป็นแนวรอบโบสถ์
หรือวิหาร เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.
【 ศาลาโรงธรรม 】แปลว่า: น. ศาลากลางย่าน.
【 ศาลาลงสรง 】แปลว่า: [สง] น. ศาลาที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับใช้ใน
พระราชพิธีโสกันต์หรือพระราชพิธีเกศากันต์และพระราชพิธี
ลงท่า.
【 ศาลาลูกขุน 】แปลว่า: (โบ) น. ที่ทำการของลูกขุน.
【 ศาลาวัด 】แปลว่า: น. อาคารที่ปลูกไว้ในวัดสำหรับทำบุญและศึกษา
เล่าเรียนเป็นต้น.
【 ศาลาสรง 】แปลว่า: [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา
และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ
กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา
เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
【 ศาศวัต 】แปลว่า: [สาดสะ] ว. ยั่งยืน. (ส. ศาศฺวต; ป. สสฺสต).
【 ศาสก 】แปลว่า: [สาสก] น. ครู, ผู้สอน, ผู้ชี้แจง, ผู้ปกครอง. (ส.).
【 ศาสดา 】แปลว่า: [สาดสะดา] น. ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง ๖, คำเรียก
พระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา. (ส. ศาสฺตา; ป. สตฺถา).
【 ศาสตร, ศาสตร์ 】แปลว่า: [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้
ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์
มนุษยศาสตร์. (ส.).
【 ศาสตราจารย์ 】แปลว่า: [สาดตฺรา, สาดสะตฺรา] น. ตําแหน่งทางวิชาการ
ชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา.
【 ศาสตรา 】แปลว่า: [สาดตฺรา] น. ศัสตรา.
【 ศาสตราจารย์ 】แปลว่า: /ดู ศาสตร, ศาสตร์./
【 ศาสน, ศาสนา 】แปลว่า: [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ
ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก
เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม
เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม
ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ
เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
【 ศาสนกิจ 】แปลว่า: น. งานทางศาสนาที่ภิกษุสามเณรเป็นต้นปฏิบัติ เช่น
การทำวัตรสวดมนต์และการเผยแผ่ศาสนาเป็นศาสนกิจของสงฆ์.
【 ศาสนจักร 】แปลว่า: [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง
ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร,
ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย
คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ
ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
【 ศาสนธรรม 】แปลว่า: น. คำสั่งสอนในศาสนา เช่น ศาสนิกชนควรปฏิบัติ
ตามศาสนธรรมในศาสนาของตน.
【 ศาสนบุคคล 】แปลว่า: น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็น
ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
【 ศาสนพิธี 】แปลว่า: น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธี
อุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
【 ศาสนวัตถุ 】แปลว่า: น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา
เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
【 ศาสนศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยศาสนาต่าง ๆ.
【 ศาสนสถาน 】แปลว่า: น. สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์
วิหาร สถูป เจดีย์ เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มัสยิดเป็น
ศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม.
【 ศาสนสมบัติ 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินของพระศาสนาทั้งที่เป็นสังหา
ริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มี ๒ อย่าง คือ ศาสนสมบัติกลาง
และศาสนสมบัติของวัด.
【 ศาสนสมบัติกลาง 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม
ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ
อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ
ยุบเลิกวัดแล้ว.
【 ศาสนสมบัติของวัด 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งรวมทั้ง
ปูชนียสถานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด เช่น พระปฐมเจดีย์เป็น
ศาสนสมบัติของวัดพระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนมเป็นศาสนสมบัติ
ของวัดธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพเป็นศาสนสมบัติของวัด
พระธาตุดอยสุเทพ.
【 ศาสนิกชน 】แปลว่า: น. บุคคลที่นับถือศาสนา เช่น ศาสนิกชนของ
พระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธศาสนิกชน ศาสนิกชนของ
คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสต์ศาสนิกชน.
【 ศาสนูปถัมภก 】แปลว่า: [สาสะนูปะถําพก, สาดสะนูปะถําพก] น. ผู้
ทะนุบํารุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์
เอกอัครศาสนูปถัมภก. (ส. ศาสนูปสฺตมฺภก; ป. สาสนูปตฺถมฺภก).
【 ศาสน์ 】แปลว่า: (โบ) น. คําสั่ง, คําสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขา
ทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์
สมณศาสน์. (ส.; ป. สาสน).
【 ศาสนิกชน 】แปลว่า: /ดู ศาสน, ศาสนา./
【 ศาสนีย, ศาสนีย์ 】แปลว่า: [สาสะนียะ, สาสะนี] ว. สมควรจะสั่งสอน. (ส.).
【 ศาสนูปถัมภก 】แปลว่า: /ดู ศาสน, ศาสนา./
【 ศิกษก, ศิกษกะ 】แปลว่า: [สิกสก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).
【 ศิการ 】แปลว่า: ก. หาเนื้อหาปลา. (บ.).
【 ศิขร 】แปลว่า: [ขอน] น. ยอด, ยอดเขา, ภูเขา, ใช้ว่า ศิงขร หรือ ศีขร ก็มี. (ส.).
【 ศิขริน, ศิขรี 】แปลว่า: [สิขะ] น. ภูเขา. ว. มียอด, ใช้ว่า ศิงขริน หรือ
ศิงขรี ก็มี. (ส. ศิขรินฺ).
【 ศิขริน, ศิขรี 】แปลว่า: /ดู ศิขร./
【 ศิขัณฑ์ 】แปลว่า: น. จุกหรือแกละ; หงอน. (ส.).
【 ศิขา 】แปลว่า: น. จุก; หงอน; เปลวไฟ. (ส.; ป. สิข).
【 ศิคาล 】แปลว่า: น. หมาจิ้งจอก. (ส. ศฺฤคาล; ป. สิงฺคาล).
【 ศิงขร 】แปลว่า: น. ศิขร, ภูเขา. (ส. ศิขร).
【 ศิงขริน, ศิงขรี 】แปลว่า: น. ศิขริน, ภูเขา. ว. มียอด.
【 ศิตะ 】แปลว่า: ว. คม. (ส.).
【 ศิถี 】แปลว่า: น. พวงดอกไม้, พวงมาลัย. (บ.).
【 ศิพิระ 】แปลว่า: น. ค่ายทหาร. (ส. ศิวิร ว่า ปะรํา, ค่าย).
【 ศิร, ศิระ 】แปลว่า: [สิระ] น. หัว, ยอด, ด้านหน้า. (ส. ศิรสฺ; ป. สิร).
【 ศิรประภา 】แปลว่า: น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ
พระพุทธรูป. (ส.; ป. สิรปภา).
【 ศิราภรณ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. เครื่องประดับศีรษะ เช่น พระมาลา มงกุฎ
กรอบหน้า ผ้าโพกหัว.
【 ศิโรรัตน์ 】แปลว่า: น. เพชรประดับหัว. (ส.).
【 ศิโรเวฐน์ 】แปลว่า: น. ผ้าโพก. (ส. ศิโรเวษฺฏ, ศิโรเวษฺฏน; ป. สิโรเว?น).
【 ศิรา 】แปลว่า: น. นํ้า, ลําธาร, คลอง, ท่อ. (เขียน สิลา ก็มี).
【 ศิราภรณ์ 】แปลว่า: /ดู ศิร, ศิระ./
【 ศิรามพุช 】แปลว่า: น. หัว. (เทียบ ส. ศิร = หัว + อมฺพุช = บัว, รวมความ = หัว
ต่างดอกบัว).
【 ศิโรรัตน์ 】แปลว่า: /ดู ศิร, ศิระ./
【 ศิโรราบ 】แปลว่า: ก. กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม.
【 ศิโรเวฐน์ 】แปลว่า: /ดู ศิร, ศิระ./
【 ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ 】แปลว่า: [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้
วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ
ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์;
การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ
อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ
การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า
มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
【 ศิลปกร, ศิลปการ ๑ 】แปลว่า: น. นายช่างฝีมือ. (ส.).
【 ศิลปกรรม 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ,
เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.
【 ศิลปการ ๒, ศิลปกิจ 】แปลว่า: น. การช่างฝีมือ.
【 ศิลปธาตุ 】แปลว่า: น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน
ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
【 ศิลปลักษณะ 】แปลว่า: น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้
จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืน
และความเรียบง่าย.
【 ศิลปวัตถุ 】แปลว่า: น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่
ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม
เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง
ในทางศิลปะ.
【 ศิลปวิทยา 】แปลว่า: น. ศิลปะและวิชาการ.
【 ศิลปศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง
อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย
วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่
เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา
เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์
วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า
๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา
วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์
๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา
ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา
วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์
๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
【 ศิลปศึกษา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์
ประวัติศาสตร์ศิลป์.
【 ศิลปหัตถกรรม 】แปลว่า: น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์
มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น
งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
【 ศิลปะปฏิบัติ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน
ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.
【 ศิลปะประยุกต์ 】แปลว่า: น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง
ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ
เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ
เครื่องแต่งกาย.
【 ศิลปะพื้นบ้าน 】แปลว่า: น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม
สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม
ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว
หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้
พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
【 ศิลปะสถาปัตยกรรม 】แปลว่า: น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ
ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
【 ศิลปิน, ศิลปี 】แปลว่า: [สินละ] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติ
ทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็น
ที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
【 ศิลป์ ๒ 】แปลว่า: สิน น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวง
วาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนง
ก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 ศิลปิน, ศิลปี 】แปลว่า: /ดู ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ./
【 ศิลา 】แปลว่า: น. หิน. (ส.; ป. สิลา).
【 ศิลาปากนก 】แปลว่า: น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืน
โบราณบางชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, หินปากนก
ก็เรียก.
【 ศิลาฤกษ์ 】แปลว่า: น. แผ่นหินที่จารึกดวงชะตาของสถานที่ที่จะก่อสร้าง
แล้ววางตามฤกษ์.
【 ศิลาแลง 】แปลว่า: น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลม
แล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน,
หินแลง ก็เรียก.
【 ศิลาอ่อน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนวดปนกับแป้ง
ถั่วเขียวเล็กน้อย ผสมน้ำเชื่อมกวนในกะทิข้น ๆ ให้สุก
จนเหนียวตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยถั่วลิสงคั่วซอยเป็นต้น.
【 ศิว, ศิวะ 】แปลว่า: [สิวะ] น. พระอิศวร; พระนิพพาน. (ส.; ป. สิว).
【 ศิวโมกข์ 】แปลว่า: น. พระนิพพาน.
【 ศิวลึงค์ 】แปลว่า: น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวร ทําเป็นรูป
อวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ.
【 ศิวเวท 】แปลว่า: น. มนตร์สรรเสริญพระศิวะหรือพระอิศวร, ไสยศาสตร์.
【 ศิวาลัย 】แปลว่า: น. ที่ประทับของพระศิวะ; ที่อยู่อันเกษมสุข.
【 ศิศีระ 】แปลว่า: น. ฤดูหนาว; ความหนาว, ความเยือกเย็น. ว. เย็น, หนาว, เย็นเยือก.
(ส. ศิศิร).
【 ศิศุ 】แปลว่า: น. เด็ก, เด็กแดง ๆ, เด็กเล็ก. (ส.).
【 ศิษฎิ 】แปลว่า: [สิดสะดิ] น. การสอน. (ส. ศิษฺฏิ ว่า การปกครอง, การลงโทษ).
【 ศิษฏ์ 】แปลว่า: ว. ฝึกแล้ว, คงแก่เรียน, อบรมแล้ว, มีปัญญา, มีความรู้. (ส.).
【 ศิษย, ศิษย์ 】แปลว่า: [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ
ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด,
โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว
นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
【 ศิษย์ก้นกุฏิ 】แปลว่า: [กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิ
ตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึง
ศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่
ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
【 ศิษย์เก่า 】แปลว่า: น. ผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง
เช่น งานชุมนุมศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
【 ศิษย์คิดล้างครู 】แปลว่า: (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้าง
ครูบาอาจารย์.
【 ศิษย์นอกครู 】แปลว่า: (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของ
ครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบ
ฉบับที่นิยมกันมา.
【 ศิษย์มีครู 】แปลว่า: (สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.
【 ศิษย์หัวแก้วหัวแหวน 】แปลว่า: น. ศิษย์ที่ครูบาอาจารย์รักใคร่เอ็นดูมาก.
【 ศิษย์เอก 】แปลว่า: น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวง
หรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.
【 ศิษยานุศิษย์ 】แปลว่า: [สิดสะยานุสิด] น. ศิษย์น้อยใหญ่.
【 ศิษยานุศิษย์ 】แปลว่า: /ดู ศิษย, ศิษย์./
【 ศีขร 】แปลว่า: [สีขอน] น. ศิขร.
【 ศีขริน, ศีขรี 】แปลว่า: [สีขะ] น. ศิขริน, ศิขรี.
【 ศีขริน, ศีขรี 】แปลว่า: /ดู ศีขร./
【 ศีต 】แปลว่า: [สีตะ] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
【 ศีตกาล 】แปลว่า: น. ฤดูหนาว. (ส.; ป. สีตกาล).
【 ศีตละ 】แปลว่า: [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
【 ศีรษะ 】แปลว่า: [สีสะ] น. หัว (เป็นคําสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส).
【 ศีรษะกระบือ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวคันฉัตร
หรือ ดาววิสาขะ ก็เรียก.
【 ศีรษะโค 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า
ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ
หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก.
【 ศีรษะช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์หัสตะ มี ๕ ดวง, ดาวศอกคู้
ดาวหัสตะ หรือ ดาวหัฏฐะ ก็เรียก.
【 ศีรษะเนื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า
ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ
หรือดาวอาครหายณี ก็เรียก.
【 ศีล 】แปลว่า: [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย
และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น
ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม;/ (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม);/
พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า
ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).
【 ศีลจุ่ม 】แปลว่า: น. ศีลล้างบาป.
【 ศีลธรรม 】แปลว่า: [สีนทํา, สีนละทํา] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและ
ธรรม, ธรรมในระดับศีล.
【 ศีลมหาสนิท 】แปลว่า: น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว
ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละ
ไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
【 ศีลล้างบาป 】แปลว่า: น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ
เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
【 ศีลวัต 】แปลว่า: [สีละวัด] ว. มีศีล, มีความประพฤติดี. (ส.).
【 ศีลอด 】แปลว่า: [สีน] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไร
เลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
ในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลาม
นับแบบจันทรคติ.
【 ศึก 】แปลว่า: น. การใช้กําลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐ
หรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐ หรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน,
การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีก
พวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิด
ขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
【 ศึกชิงนาง 】แปลว่า: น. การต่อสู้กันเพื่อให้ได้หญิงมา เช่น ศึกชิงนางระหว่าง
อิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง.
【 ศึกสงคราม 】แปลว่า: น. สงคราม เช่น ประเทศเพื่อนบ้านเกิดศึกสงคราม.
【 ศึกเสือเหนือใต้ 】แปลว่า: (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ
ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
【 ศึกหน้านาง 】แปลว่า: (สํา) น. การวิวาทหรือต่อสู้กันต่อหน้าหญิงที่ตน
หมายปอง.
【 ศึกษา 】แปลว่า: น. การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม. (ส. ศิกฺษา; ป. สิกฺขา).
【 ศึกษาธิการ 】แปลว่า: น. เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมเกี่ยวกับการศึกษา
ระดับอำเภอ จังหวัด และเขตการศึกษา เรียกว่า ศึกษาธิการอำเภอ
ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขต, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่
เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม.
【 ศึกษานิเทศก์ 】แปลว่า: น. ผู้ชี้แจงแนะนําทางการศึกษาแก่ครูอาจารย์ใน
โรงเรียนหรือวิทยาลัย.
【 ศุกร, ศุกร์ 】แปลว่า: [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง
ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์
ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ
กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา
หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง
เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
【 ศุกรวรรณ 】แปลว่า: [สุกกฺระวัน] ว. มีสีสด. (ส. ศุกฺรวรฺณ).
【 ศุกรวาร 】แปลว่า: น. วันศุกร์.
【 ศุกระ 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./
【 ศุกล 】แปลว่า: [สุกกะละ] ว. สุกใส, สว่าง; ขาว, บริสุทธิ์. (ส. ศุกฺล, ศุกฺร;
ป. สุกฺก).
【 ศุกลปักษ์ 】แปลว่า: น. เวลาข้างขึ้น. (ส.).
【 ศุกลัม 】แปลว่า: [กฺลํา] น. เครื่องขาวแต่งศพ. (ส. ว่า สีขาว).
【 ศุกะ 】แปลว่า: น. นกแก้ว, นกแขกเต้า. (ส.).
【 ศุโกร 】แปลว่า: สุกโกฺร น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. /(ดู ยาม)./
【 ศุจิ 】แปลว่า: น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุจิ).
【 ศุจิกรรม 】แปลว่า: น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
【 ศุทธะ, ศุทธิ 】แปลว่า: [สุดทะ, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุทฺธ, สุทฺธิ).
【 ศุนะ, ศุนัก, ศุนิ 】แปลว่า: น. หมา. (ส.; ป. สุนข).
【 ศุภ 】แปลว่า: [สุบพะ] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).
【 ศุภกร 】แปลว่า: ว. ที่ทําความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).
【 ศุภเคราะห์ 】แปลว่า: น. คราวมงคล, คราวดี, ทางโหราศาสตร์หมายเอา
ดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณคือ จันทร์ พุธ พฤหัสบดี ศุกร์. (ส.).
【 ศุภนิมิต 】แปลว่า: น. นิมิตดี, ลางดี.
【 ศุภมัสดุ 】แปลว่า: [มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้น
ลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศ
พระบรมราชโองการ.
【 ศุภมาตรา 】แปลว่า: น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองตําแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบัน
หมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด.
【 ศุภมาส 】แปลว่า: น. วันคืนเดือนปี. (ส. ศุภมาส ว่า เดือนดีงาม).
【 ศุภอักษร 】แปลว่า: น. สาส์นของเจ้าประเทศราช.
【 ศุภางค์ 】แปลว่า: ว. มีรูปงาม. (ส.).
【 ศุภร 】แปลว่า: [สุบพฺระ] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์
ไม่มีตําหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
【 ศุภางค์ 】แปลว่า: /ดู ศุภ./
【 ศุลก 】แปลว่า: [สุนละกะ] ว. เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก.
(ส. ศุลฺก; ป. สุงฺก).
【 ศุลกากร 】แปลว่า: สุนละกากอน น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้า
และสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
【 ศุลการักษ์ 】แปลว่า: [สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
【 ศุลกากร 】แปลว่า: /ดู ศุลก./
【 ศุลการักษ์ 】แปลว่า: /ดู ศุลก./
【 ศุลี 】แปลว่า: น. พระอิศวร, ศูลิน ก็เรียก. (ส.).
【 ศุษิระ, ศุษิร 】แปลว่า: [สุสิน] น. เครื่องดนตรีที่ใช้เป่ามีขลุ่ย ปี่ เป็นต้น, เขียนเป็น สุษิร
ก็มี. (ส. ศุษิร, สุษิร).
【 ศูกร 】แปลว่า: [กอน] น. หมู. (ส.; ป. สูกร).
【 ศูทร 】แปลว่า: [สูด] น. วรรณะที่ ๔ ของสังคมฮินดู. (ส.; ป. สุทฺท).
【 ศูนย, ศูนย์ 】แปลว่า: [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง,
ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ
ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
【 ศูนย์กลาง 】แปลว่า: น. แหล่งกลาง เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง
การค้าขาย, ศูนย์ ก็ว่า.
【 ศูนย์การค้า 】แปลว่า: น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้า
นานาชนิด มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า
เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.
【 ศูนย์ชุมชน 】แปลว่า: น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน
ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ
องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ
กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
【 ศูนย์ถ่วง 】แปลว่า: น. จุดซึ่งถือว่าแนวน้ำหนักของวัตถุผ่านลงที่จุดนั้น
ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้น หรือระหว่างเส้น.

【 ศูนย์บริการสาธารณสุข 】แปลว่า: น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่
เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
【 ศูนย์พ่าห์ 】แปลว่า: (โหร) น. พระเคราะห์ที่นําหน้าลัคนา อยู่ในราศี ๒.
【 ศูนยภาพ 】แปลว่า: น. ความไม่มีอะไร, ความว่างเปล่า. (ส. ศูนฺยภาว).
【 ศูนย์เยาวชน 】แปลว่า: น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรม
ต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชน
ไทยญี่ปุ่น ดินแดง.
【 ศูนยวาท 】แปลว่า: น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ
ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะ
หรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ
ก็เรียก. (ส.).
【 ศูนย์สัมบูรณ์ 】แปลว่า: น. อุณหภูมิที่ตํ่าสุดตามทฤษฎี คือ อุณหภูมิศูนย์
องศาเคลวิน (๐?K) หรือ ๒๗๓.๑๕?ซ. หรือ ๕๙.๖๗?ฟ.
【 ศูนย์สูตร 】แปลว่า: น. ชื่อเส้นสมมุติที่ลากรอบโลก แบ่งโลกออกเป็น
๒ ซีก คือ ซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้ จุดทุกจุดบนเส้นศูนย์สูตร
อยู่ห่างจากขั้วโลกทั้ง ๒ เท่ากัน.
【 ศูนย์ไส้ 】แปลว่า: (โบ) น. จุดศูนย์กลาง เช่น คนมีศูนย์ไส้อยู่ที่สะดือ.
【 ศูนย์หน้า 】แปลว่า: น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น
ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย
เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก
ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
【 ศูละ 】แปลว่า: น. หลาว, เหล็กแหลม. (ส.; ป. สูล).
【 ศูลิน 】แปลว่า: น. พระอิศวร, ศุลี ก็เรียก. (ส.).
【 เศรณี 】แปลว่า: [เสนี] น. แถว, แนว; หมวด, หมู่, พวก. (ส.).
【 เศรษฐ, เศรษฐ์ 】แปลว่า: [เสดถะ, เสด] ว. ดีเลิศ, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ.
(ส. เศฺรษฺ?; ป. เสฏฺ?).
【 เศรษฐกิจ 】แปลว่า: [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย
จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ?
+ กิจฺจ).
【 เศรษฐศาสตร์ 】แปลว่า: [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย
จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา
คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา
เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ
เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา
เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ
ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
【 เศรษฐี 】แปลว่า: [เสดถี] น. คนมั่งมี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง,
ดาวไซ ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. (ส. ว่า ประมุข
พ่อค้า; ป. เสฏฺ??).
【 เศร้า 】แปลว่า: [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง,
เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
【 เศร้าใจ 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกสลดหดหู่ใจ เช่น เห็นป่าถูกบุกรุกทำลาย
แล้วเศร้าใจ.
【 เศร้าโศก 】แปลว่า: ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตาย
ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า.
【 เศร้าสร้อย 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกสะเทือนใจชวนให้โศกเศร้าเพราะคิดถึง
หรือผิดหวัง เช่น เขาสอบไม่ผ่านเลยเดินกลับบ้านอย่างเศร้าสร้อย
ลูกนั่งเศร้าสร้อยคอยแม่กลับบ้าน, สร้อยเศร้า ก็ว่า.
【 เศร้าสลด 】แปลว่า: ว. มีความรู้สึกรันทดใจ เช่น อุบัติเหตุตายหมู่ ทำให้ผู้
พบเห็นเศร้าสลด.
【 เศร้าหมอง 】แปลว่า: ว. หมองมัว, ไม่ผ่องใส, เช่น ผิวพรรณเศร้าหมอง
หน้าตาเศร้าหมอง เครื่องนุ่งห่มเศร้าหมอง.
【 เศลษ 】แปลว่า: [สะเหฺลด] น. การติด, การเกาะ, การเกี่ยวข้อง, การพาดพิง;
การกอดรัด. (ส.).
【 เศวดงค์ 】แปลว่า: [สะเหฺวดง] ว. มีตัวขาว. (ส. เศฺวต + องฺค).
【 เศวดีภ 】แปลว่า: [สะเหฺวดีบ] น. ช้างเผือก. (ส. เศฺวเตภ).
【 เศวต, เศวต 】แปลว่า: [สะเหฺวด, สะเหฺวดตะ] น. สีขาว. (ส.; ป. เสต).
【 เศวตกุญชร 】แปลว่า: [สะเหฺวดกุนชอน] น. ช้างเผือก.
【 เศวตงค์ 】แปลว่า: [สะเหฺวตง] ว. มีตัวขาว. (ส. เศฺวตางฺค).
【 เศวตฉัตร 】แปลว่า: [สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่ง
ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).
【 เศวตัมพร, เศวตามพร 】แปลว่า: [สะเหฺวตําพอน, ตามพอน] น. ชื่อนิกาย
ในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่ม
ผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. [ส. เศฺวต (ขาว) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม)].
【 เศวติภ, เศวตีภ, เศวเตภ 】แปลว่า: [สะเหฺวติบ, ตีบ, เตบ] น. ช้างเผือก.
(ส. เศฺวเตภ).
【 เศวตงค์ 】แปลว่า: /ดู เศวต, เศวต./
【 เศวตร 】แปลว่า: สะเหฺวด น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).
【 เศวตัมพร, เศวตามพร 】แปลว่า: /ดู เศวต, เศวต./
【 เศวติภ, เศวตีภ, เศวเตภ 】แปลว่า: /ดู เศวต, เศวต./
【 เศวาล 】แปลว่า: [เสวาน] น. สาหร่าย. (ส.; ป. เสวาล).
【 เศษ 】แปลว่า: ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่
ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ
เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒
วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ
เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗
เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
【 เศษกระดาษ 】แปลว่า: (ปาก) น. สิ่งที่ไร้ค่า เช่น ใบหุ้นที่ยกเลิกแล้วมีค่า
เป็นเศษกระดาษ.
【 เศษเกิน 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนจริงที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า ๑ เช่น ๓๒
【 เศษคน, เศษมนุษย์ 】แปลว่า: น. คนเลวมากจนหาดีไม่ได้ (ใช้เป็นคำด่า).
【 เศษซ้อน 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนจริงที่เขียนเป็นรูปเศษส่วนหลาย ๆ
ชั้น เช่น .
【 เศษนรก 】แปลว่า: น. คนเลวอย่างที่สุด.
【 เศษมนุษย์ 】แปลว่า: น. คนเลวมากจนหาดีไม่ได้, เศษคน ก็เรียก.
【 เศษวรรค 】แปลว่า: [เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่
เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ?,
อวรรค ก็เรียก.
【 เศษส่วน 】แปลว่า: น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียน
ในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น (รูปภาพ) หรือ
(รูปภาพ) จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน.
(อ. fraction).
【 เศษสิบ 】แปลว่า: น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็น
หน่วย ๑๐ เช่น ๘๑๐ .
【 เศษเหล็ก 】แปลว่า: น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้
ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
【 เศาจ 】แปลว่า: [เสาจะ] น. ความสะอาด, ความบริสุทธิ์; การชําระล้าง; ความ
ซื่อตรง. (ส. เศาจ, เศาจฺย; ป. โสเจยฺย).
【 เศาไจย 】แปลว่า: [ไจ] น. คนซักฟอก, คนทําความสะอาด. (ส. เศาเจย).
【 เศาร์ 】แปลว่า: ว. กล้าหาญ, เกี่ยวกับผู้กล้าหาญ. (ส. ศูร; ป. สูร).
【 เศารยะ 】แปลว่า: [ระยะ] น. ความกล้าหาญ; อํานาจ. (ส.).
【 เศิก 】แปลว่า: (โบ) น. ศึก.
【 เศียร 】แปลว่า: [เสียน] น. หัว เช่น เศียรพระพุทธรูป ทศกัณฐ์มีสิบเศียรยี่สิบกร,
ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเศียร. (ส. ศิร;ป. สิร); เรียกไพ่ตอง ๓ ใบ
พวกเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน เช่น ๓ คน ๓ นก ๓ ตา ว่า ๑ เศียร.
【 โศก ๑, โศก 】แปลว่า: [โสกะ, โสกกะ] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ,
เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย).
ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า
เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง.
(ส.; ป.โสก).
【 โศกนาฏกรรม 】แปลว่า: [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม
โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง
ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า
โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ
ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม
เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
【 โศกศัลย์ 】แปลว่า: [โสกสัน] ก. เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง.
(ส.; ป. โสกสลฺล).
【 โศกเศร้า 】แปลว่า: ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตาย
ทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า.
【 โศกสลด 】แปลว่า: ว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึง
มักจะทำให้น้ำตาไหล.
【 โศกาดูร 】แปลว่า: ก. เดือดร้อนด้วยความโศก, ร้องไห้สะอึกสะอื้น.
(ส. โศก + อาตุร).
【 โศกาลัย 】แปลว่า: น. ความเศร้าหมองใจและความห่วงใย, ร้องไห้สะอึก
สะอื้น. (ส. โศก + อาลย).
【 โศก ๒ 】แปลว่า: /ดู อโศก./
【 โศก ๓ 】แปลว่า: ว. สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก.
【 โศกา, โศกี 】แปลว่า: ก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.
【 โศกาดูร 】แปลว่า: /ดู โศก ๑, โศก./
【 โศกาลัย 】แปลว่า: /ดู โศก ๑, โศก./
【 โศจนะ 】แปลว่า: [จะนะ] น. ความเศร้าใจ. (ส.; ป. โสจน).
【 โศจนียะ 】แปลว่า: [จะ] ว. อันน่าโศก, น่าเศร้าใจ. (ส.).
【 โศจิ 】แปลว่า: น. แสง, แวว, สี; ความสว่าง, ความงาม. ว. สว่าง, สุกใส. (ส.).
【 โศถะ 】แปลว่า: น. ความบวม, ความพอง, โศผะ ก็ว่า. (ส. โศถ, โศผ).
【 โศธนะ 】แปลว่า: น. การชําระ, การทําให้หมดจด, การทําให้สะอาด; การแก้ไข,
การตรวจตรา, การชําระสะสาง. (ส.; ป. โสธน).
【 โศผะ 】แปลว่า: (ราชา) น. ความบวม, ความพอง, โศถะ ก็ว่า. (ส. โศผ, โศถ).
น. ความงาม, ความดี. (ส.; ป. โสภณ).
【 โศภา 】แปลว่า: ว. งาม, ดี. (ส. ว่า สว่าง, ความงาม).
【 โศภิต 】แปลว่า: ว. งาม, ดี. (ส.; ป. โสภิต).
ว. งาม, ดี. (ส.).
【 โศภิษฐ์ 】แปลว่า: ว. งามยิ่ง, ดียิ่ง. (ส.).
【 โศรณิ, โศรณี 】แปลว่า: [โสฺร] น. ตะโพก. (ส. โศฺรณิ, โศฺรณี; ป. โสณี).
【 โศรดา 】แปลว่า: [โสฺร] น. ผู้ฟัง. (ส. โศฺรตฺฤ; ป. โสตา).
【 โศรตร 】แปลว่า: [โสฺรด] น. หู, ช่องหู. (ส. โศฺรตฺร; ป. โสต).
【 โศลก 】แปลว่า: [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น
๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น
กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ
วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ
ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป.
(ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
【 ไศล, ไศล 】แปลว่า: [สะไหฺล, ไสละ] น. เขาหิน เช่น โขดเขินเนินไศล. (ส. ไศล).
【 ไศวะ 】แปลว่า: น. ชื่อนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้า
สูงสุด. (ส.).