【 ล 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน
อย่างตัว น ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น
กาล พาล ฟุตบอล.
【 ลก 】แปลว่า: ว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖
ว่า อก.
【 ล่ก ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำอย่างรีบร้อนหรืออย่างลวก ๆ เช่น ทำงานล่ก ๆ
เพื่อให้ทันเวลา ทำงานล่ก ๆ เอาดีไม่ได้.
【 ลการ 】แปลว่า: [ละกาน] น. ใบเรือ. (ป.).
【 ลกุจ 】แปลว่า: [ละกุด] น. มะหาด. (ส.).
【 ลคุฑ, ลคุฬ 】แปลว่า: [ละคุด, ละคุน] น. ไม้ตะบอง. (ส. ลคุฑ; ป. ลคุฬ).
【 ลฆุ 】แปลว่า: ว. เบา, เร็ว. (ส.; ป. ลหุ).
【 ลฆุจิต 】แปลว่า: ว. มีใจเบา. (ส. ลฆุจิตฺต).
【 ลฆุภาพ 】แปลว่า: น. ความเบา, ความสะดวก, ความง่ายดาย. (ส. ลฆุภาว).
【 ลฆุโภชน์ 】แปลว่า: น. เครื่องว่าง, อาหารว่าง. (ส.).
【 ลง 】แปลว่า: ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง
เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได
ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า
เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี
จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง
ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่
เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ
แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย;
ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง;
ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง;
ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง
เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
【 ลงกระหม่อม 】แปลว่า: ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยง
คงกระพันเป็นต้น.
【 ลงกลอน 】แปลว่า: ก. ใส่กลอน, เดิมหมายถึงใส่กลอนล่าง.
【 ลงโกศ 】แปลว่า: ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
【 ลงขัน 】แปลว่า: ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก,
ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็นไว้ใช้เป็น
ส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
【 ลงข่าว 】แปลว่า: ก. ตีพิมพ์ข่าวออกเผยแพร่.
【 ลงเข็ม 】แปลว่า: ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม
ก็ว่า.
【 ลงแขก 】แปลว่า: ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว
ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตาม
ความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
【 ลงคราม 】แปลว่า: ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำ
ขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
【 ลงความเห็น 】แปลว่า: ก. มีความเห็นร่วมกัน.
【 ลงคอ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้นโดยไม่
ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบากลูกยัง
ขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
【 ลงคะแนน 】แปลว่า: ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
【 ลงเงิน 】แปลว่า: ก. เอาเงินมารวมกันเพื่อทํากิจการต่าง ๆ เช่น ลงเงินกัน
จัดรถไปทัศนาจร.
【 ลงจอบ 】แปลว่า: ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
【 ลงชื่อ 】แปลว่า: ก. เขียนชื่อ, ลงลายมือชื่อ, ลงนาม ก็ว่า.
【 ลงดาบ 】แปลว่า: ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น
เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
【 ลงแดง 】แปลว่า: ก. ท้องเดินและถ่ายเป็นเลือดออกมามาก (มักใช้แก่
คนอดฝิ่น).
【 ลงตัว 】แปลว่า: ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้
ลงตัวแล้ว.
【 ลงถม 】แปลว่า: ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายใน
เครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็น
สีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
【 ลงถมยาสี 】แปลว่า: ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลาย
ในเครื่องเงินแล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้น
เป็นสีต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
【 ลงทอง 】แปลว่า: ก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง.
【 ลงท้อง 】แปลว่า: ก. ท้องเดิน.
【 ลงทะเบียน 】แปลว่า: ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อรายงาน
ตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อแสดง
ความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
【 ลงทัณฑ์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
【 ลงท่า 】แปลว่า: น. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการ
เรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนําช้างลงสรงสนานที่ท่า.
【 ลงท้าย 】แปลว่า: ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด
เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกัน
ทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่
จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
【 ลงทุน 】แปลว่า: ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยาย
หมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา
ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
【 ลงโทษ 】แปลว่า: ก. ทําโทษเช่นเฆี่ยน จําขัง ปรับเอาเงิน เป็นต้น.
【 ลงนะหน้าทอง 】แปลว่า: ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทองแล้ว
เอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์
เมตตามหานิยม.
【 ลงนา 】แปลว่า: ก. เริ่มทํานา, ยกออกจากบ้านไปอยู่นาเพื่อทํานา.
【 ลงนาม 】แปลว่า: ก. ลงชื่อ.
【 ลงเนื้อเห็นด้วย 】แปลว่า: ก. เห็นพ้องด้วย.
【 ลงโบสถ์ 】แปลว่า: ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้
ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
【 ลงปฏัก, ลงประตัก 】แปลว่า: ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยาย
หมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น
เพื่อให้หลาบจำ.
【 ลงแป้ง 】แปลว่า: ก. เอาผ้าชุบลงในนํ้าผสมแป้งมันที่กวนสุกแล้ว เพื่อให้
ผ้าแข็งอยู่ตัว.
【 ลงผี 】แปลว่า: ก. เชิญผีมาสิงอยู่ในคนแล้วถามเหตุร้ายดี, เข้าผี หรือ ทรงเจ้า
เข้าผี ก็ว่า.
【 ลงฝัก 】แปลว่า: น. โรคเกิดเพราะเส้นเลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะทําให้ถุงอัณฑะโต
เรียกว่า กระษัยลงฝัก.
【 ลงพระบังคน 】แปลว่า: (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า
ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
【 ลงพื้น 】แปลว่า: ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้
ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย.
【 ลงพุง 】แปลว่า: ว. มีพุงพลุ้ยหรือยื่นออกมา.
【 ลงมติ 】แปลว่า: ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ลงมีด 】แปลว่า: ก. จดมีด คือ เริ่มฟัน.
【 ลงมีดลงไม้ 】แปลว่า: ก. ตีรันฟันแทง.
【 ลงมือ 】แปลว่า: ก. เริ่มทํา, ตั้งต้นทํา, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้
ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ.
【 ลงไม้ 】แปลว่า: ก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้.
【 ลงยา 】แปลว่า: ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน
แล้วใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียก
เต็มว่า ลงถมยาสี.
【 ลงรอย, ลงรอยกัน 】แปลว่า: ก. เข้ากันได้.
【 ลงรัก 】แปลว่า: ก. เอารักทาลงบนผิวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทําให้ผิวเรียบ เกลี้ยง
ดํา เป็นมัน.
【 ลงราก 】แปลว่า: ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้างส่วนที่
รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลง
รากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
【 ลงเรือลำเดียวกัน 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำ
ด้วยกัน.
【 ลงแรง 】แปลว่า: ก. ออกแรงทํางาน.
【 ลงโรง 】แปลว่า: ก. เริ่มการแสดงมหรสพเช่นโขน ละคร ลิเก; เข้าสู่
โรงพิธีซัดนํ้า.
【 ลงเลขลงยันต์ 】แปลว่า: ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข
อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น
พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
【 ลงเวลา 】แปลว่า: ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
【 ลงศอก 】แปลว่า: ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอก
ยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
【 ลงส้น 】แปลว่า: ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
【 ลงสนาม 】แปลว่า: ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล
รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
【 ลงสมุก 】แปลว่า: [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่นเป็นผง
ผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว
ให้แน่นและเรียบ.
【 ลงสิ่ว 】แปลว่า: ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วนที่ต้องการ.
【 ลงสี 】แปลว่า: ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ.
【 ลงเส้น 】แปลว่า: ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ.
【 ลงหญ้าช้าง 】แปลว่า: น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
【 ลงหลักปักฐาน 】แปลว่า: (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
【 ลงหัว 】แปลว่า: ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว
เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม
แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
【 ลงหิน 】แปลว่า: ว. เรียกเครื่องใช้ประเภทหนึ่ง เช่น ขัน พาน ทัพพี ที่ทำด้วย
ทองแดงเจือดีบุก เนื้อเปราะ ว่า เครื่องลงหิน หรือ ทองลงหิน.
【 ลงอาญา, ลงอาชญา 】แปลว่า: ก. ลงโทษหรือทําโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ประหารชีวิต
จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน.
【 ลงอุโบสถ 】แปลว่า: ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า
วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์),
ลงโบสถ์ ก็ว่า.
【 ลงเอย 】แปลว่า: ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที.
【 ล่ง 】แปลว่า: (กลอน) ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกําบัง.
【 ลงกา 】แปลว่า: น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
【 ล้งเล้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ต่อว่าหรือดุว่าด้วยเสียงเอ็ดอึง เช่น ฉันทำแก้วแตก
เขามาล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับ
ทะเลาะวิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
【 ลด 】แปลว่า: ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่
แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลด
ธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ
ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้อง
โล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
【 ลดเขื่อน 】แปลว่า: ก. ลงเขื่อน, ทําเขื่อน.
【 ลดชั้น 】แปลว่า: ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถม
ปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
【 ลดตัว 】แปลว่า: ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่นหัว
กับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
【 ลดเพดานบิน 】แปลว่า: ก. ลดระดับความสูงในการบิน.
【 ลดราวาศอก 】แปลว่า: ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดราวาศอก
เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
【 ลดรูป 】แปลว่า: ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง
สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด
ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
【 ลดละ 】แปลว่า: ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ)
เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
【 ลดเลี้ยว 】แปลว่า: ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไป
ตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจา
ลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
【 ลดเลี้ยวเกี้ยวพา 】แปลว่า: ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
【 ลดหย่อน 】แปลว่า: ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ย
จากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
【 ลดหลั่น 】แปลว่า: ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได,
ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่น
กันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
【 ลดา 】แปลว่า: [ละ-] น. เครือเถา, เครือวัลย์; สาย. (ป., ส. ลตา).
【 ลดาวัลย์ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Porana volubilis/ Burm. ในวงศ์ Convolvulaceae
ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น.
【 ลน 】แปลว่า: ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้ง
ลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบ
คําอื่นว่า ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. ว. อาการที่รีบร้อนจน
ไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟัง
ไม่รู้เรื่อง.
【 ลนควัน 】แปลว่า: ก. ทําให้อ่อนหรือให้แห้งด้วยควันร้อน.
【 ลนลาน 】แปลว่า: ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก
เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
【 ล่น 】แปลว่า: ก. วิ่ง, วิ่งเร็ว.
【 ล้น 】แปลว่า: ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น
น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้
เช่น คนมากจนล้นห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น;
(ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
【 ล้นกระเพาะ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ.
【 ล้นเกล้าล้นกระหม่อม 】แปลว่า: น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพนับถือมาก เช่น
ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็นราชาศัพท์
หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ
ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
【 ล้นตลาด 】แปลว่า: ว. มากจนเกินความต้องการของตลาด เช่น สินค้าล้นตลาด.
【 ล้นพ้น 】แปลว่า: ว. ยิ่งยวด, ไม่มีอะไรเปรียบ, เช่น ยากจนเป็นล้นพ้น พ่อแม่มี
พระคุณเป็นล้นพ้น.
【 ล้นฟ้า 】แปลว่า: ว. มากมายสุดคณานับ เช่น รวยล้นฟ้า.
【 ล้นมือ 】แปลว่า: ว. มากเกินกว่าจะทำไหว เช่น มีงานล้นมือ.
【 ล้นหลาม 】แปลว่า: ว. มากมายเหลือประมาณ เช่น ประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ
อย่างล้นหลาม.
【 ล้นเหลือ 】แปลว่า: ว. มากมายเหลือเฟือ เช่น มีอาหารกินล้นเหลือ.
【 ลบ 】แปลว่า: ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง;
หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี
หรือทางทําลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ –
ว่า เครื่องหมายลบ.
【 ลบรอย 】แปลว่า: ก. สบประมาท.
【 ลบล้าง 】แปลว่า: ก. ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น ลบล้างความผิด, ทำให้เป็นโมฆะ
ทางกฎหมาย เช่น ลบล้างหนี้สิน ลบล้างมลทิน.
【 ลบเลือน 】แปลว่า: ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนเห็นหรือจําได้แต่ราง ๆ เช่น
ตัวหนังสือลบเลือน ความจําลบเลือน.
【 ลบโลก 】แปลว่า: ว. เป็นใหญ่ปราบได้ตลอดโลก.
【 ลบศักราช 】แปลว่า: ก. เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน.
【 ลบหลู่ 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี
อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ
เช่น ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
【 ลบเหลี่ยม 】แปลว่า: ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้า
ผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
【 ลบม 】แปลว่า: ละบม ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกําสรด
ไปมา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 ลบอง 】แปลว่า: [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
【 ลปก 】แปลว่า: [ละปก] น. คนพูดบ่นเพ้อต่าง ๆ; คนพูดด้วยความอยากได้. (ป.).
【 ลปนะ 】แปลว่า: [ละปะนะ] น. การพูด, การบ่นพึมพํา; ปาก. (ป., ส.).
【 ลพ 】แปลว่า: น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า.
(ป., ส. ลว).
【 ลพุช, ลาพุช 】แปลว่า: [ละพุด, ลาพุด] น. มะหาด. (ป.).
【 ลม ๑ 】แปลว่า: น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม,
ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ
ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า
ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง
เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้น
สติหรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
【 ลม ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตในขณะหนึ่ง ๆ
บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย.
【 ลมกรด 】แปลว่า: น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูงตั้งแต่
๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี
ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่ง
ลมกรด.
【 ลมกระโชก 】แปลว่า: น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัดแรง
เป็นพัก ๆ.
【 ลมโกรก 】แปลว่า: น. ลมที่พัดอยู่เรื่อย ๆ.
【 ลมขึ้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทําให้หาวเรอ
หรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณี
หลังนี้บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.
【 ลมค้า 】แปลว่า: น. ลมซึ่งพัดออกจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อนไป
ยังบริเวณความกดอากาศตํ่าที่เส้นศูนย์สูตร ในซีกโลกเหนือจะ
พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะพัดมา
จากทิศตะวันออกเฉียงใต้. (อ. trade wind).
【 ลมงวง, ลมงวงช้าง 】แปลว่า: น. ลมชนิดหนึ่ง เมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐาน
เมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรงมาก ลํานี้จะยาว
ลงมามาก. (อ. tornado).
【 ลมจับ 】แปลว่า: ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบางคราวถึงกับหมดสติ, เป็นลม
หรือ เป็นลมเป็นแล้ง ก็ว่า.
【 ลมเฉื่อย 】แปลว่า: น. ลมที่พัดเรื่อย ๆ, ลมที่พัดช้า ๆ.
【 ลมชวย 】แปลว่า: น. ลมที่พัดอ่อน ๆ, ลมที่พัดเรื่อย ๆ.
【 ลมชาย 】แปลว่า: น. ลมโชย.
【 ลมโชย 】แปลว่า: น. ลมที่พัดอ่อน ๆ, ลมชาย ก็ว่า.
【 ลมแดกขึ้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา.
【 ลมแดง 】แปลว่า: น. ลมพายุที่พัดแรงจัด ท้องฟ้ามีสีแดง.
【 ลมแดด 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นลมเพราะโดนแดดจัด.
【 ลมตก 】แปลว่า: น. กระแสลมพัดอ่อน ๆ (มักพัดในเวลาเย็น) เช่น แดดร่ม
ลมตก.
【 ลมตะกัง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้
มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด
จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
【 ลมตะเภา 】แปลว่า: น. ลมชนิดหนึ่งพัดมาจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือในกลาง
ฤดูร้อน.
【 ลมตีขึ้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
【 ลมตึง 】แปลว่า: น. ลมกระโชกแรง.
【 ลมทวนลมค้า 】แปลว่า: น. ลมชั้นบนที่อยู่เหนือลมค้าในเขตร้อนและพัดสวนทาง
กับลมค้า. (อ. anti trade wind).
【 ลมทะเล 】แปลว่า: น. ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งในเวลากลางวัน เนื่องจาก
เวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นนํ้า ทําให้อากาศที่อยู่
เหนือพื้นดินลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากทะเลซึ่งอยู่ในบริเวณ
ใกล้เคียงจึงเข้ามาแทนที่.
【 ลมบก 】แปลว่า: น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจาก
อุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง
อากาศเหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัด
เข้าไปแทนที่.
【 ลมบน 】แปลว่า: น. กระแสลมเบื้องบน เช่น ว่าวติดลมบน.
【 ลมบ้าหมู ๑ 】แปลว่า: น. ลมหมุนที่เกิดในบริเวณแคบ ๆ มีความรุนแรงไม่มากนัก
มักหอบเอาของเป็นวงขึ้นไปในอากาศ.
【 ลมบ้าหมู ๒ 】แปลว่า: น. อาการหมดสติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง
นํ้าลายเป็นฟอง มือเท้ากํา เป็นผลเนื่องจากสมองทํางาน
ผิดปรกติ.
【 ลมเบ่ง 】แปลว่า: ก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่งของ
ทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.
【 ลมปราณ 】แปลว่า: น. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้นลมปราณ;
วิธีกําหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือ
ฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
【 ลมปะกัง 】แปลว่า: น. ลมตะกัง.
【 ลมปาก 】แปลว่า: น. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูด
ที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป.
【 ลมพัดชายเขา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ลมพัดหลวง 】แปลว่า: น. ลมตะโก้. /(ดู ตะโก้ ๒)./
【 ลมพัทธยา 】แปลว่า: น. ลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออก
เฉียงเหนือในต้นฤดูฝน.
【 ลมพายุ 】แปลว่า: น. พายุ.
【 ลมพิษ 】แปลว่า: น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง.
【 ลมเพลมพัด 】แปลว่า: น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า
ถูกกระทํา.
【 ลมมรสุม 】แปลว่า: น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิ
ของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า
อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำ
จะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิด
เป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อน
กว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม,
พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
【 ลมไม่ดี 】แปลว่า: ก. ใจคอหงุดหงิดไม่เป็นปรกติ.
【 ลมร้อน 】แปลว่า: น. ลมที่นำความร้อนมาด้วย.
【 ลมล่อง 】แปลว่า: น. ลมที่พัดมาตามลํานํ้า.
【 ลม ๆ แล้ง ๆ 】แปลว่า: ว. เลื่อนลอยเปล่า ๆ, ไม่มีผล, เช่น ฝันลม ๆ แล้ง ๆ
ว่าจะถูกสลากกินแบ่ง.
【 ลมว่าว 】แปลว่า: น. ลมที่พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ตอนต้นฤดูหนาว, ลม
เล่นว่าวเดี๋ยวนี้คือลมตะเภา ซึ่งพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ
ในกลางฤดูร้อน.
【 ลมสลาตัน 】แปลว่า: น. ลมทะเลที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝน.
【 ลมสว้าน 】แปลว่า: [–สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน
จะสิ้นใจ.
【 ลมเสีย 】แปลว่า: ก. ใจคอขุ่นมัวหรือรู้สึกโกรธ.
【 ลมใส่ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ
ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
【 ลมหนาว 】แปลว่า: น. ลมที่นำความหนาวเย็นมาด้วย.
【 ลมหวน 】แปลว่า: น. ลมที่พัดกลับไปกลับมาขณะฝนตก.
【 ลมหอบ 】แปลว่า: น. ลมพายุที่พัดหอบเอาสิ่งต่าง ๆ ลอยไปได้ไกล ๆ.
【 ลมหายใจ 】แปลว่า: น. ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปาก.
【 ลม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปูชนิด /Ocypode ceratophthalma/ ในวงศ์ Ocypodidae
ก้านตายาว วิ่งเร็ว อยู่ตามหาดทรายชายทะเล.
【 ลม ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเห็ดชนิด /Lentinus polychrous/ L?v. ในวงศ์ Polyporaceae
ขึ้นบนขอนไม้ผุ ดอกเห็ดรูปปากแตร ด้านบนมีเกล็ดสีนํ้าตาลอ่อน
ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลแดง เนื้อเหนียว กินได้.
【 ล่ม 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม
เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ
เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม
โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
【 ล่มจม 】แปลว่า: ก. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น ค้าขายขาดทุนจนล่มจม, ย่อยยับ,
ฉิบหาย, เช่น บ้านเมืองล่มจม.
【 ล่มฟ้า 】แปลว่า: ว. มีอํานาจเหนือฟ้าเหนือเทวดา.
【 ล่มหัวจมท้าย 】แปลว่า: ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้องล่มหัวจมท้าย
ด้วยกัน.
【 ล่มสลาย 】แปลว่า: ก. สูญเสียสภาพเดิมแล้วสลายไป เช่น อาณาจักรโบราณ
ล่มสลายไปหลายอาณาจักรแล้ว.
【 ล้ม 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือทลายลง เช่น
ต้นไม้ล้ม ล้มตัวลงนอน ตึกล้ม, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น ล้ม
จอมปลวก ถูกผลักล้มลง, ตั้งอยู่ไม่ได้ เช่น กิจการล้ม ธนาคารล้ม
โรงเรียนล้ม; ฆ่า เช่น ล้มวัว ล้มควาย, ตาย เช่น ช้างล้ม, ตัดโค่น
เช่น ล้มกอไผ่; สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต
เช่น ล้มคดี ล้มมวย. ว. ที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือ
ทลายลง เช่น ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม; ที่สมยอมกันในทาง
ไม่สุจริต เช่น มวยล้ม.
【 ล้มกระดาน 】แปลว่า: ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก
จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบน
กระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ
ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน
เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก
ประชุม.
【 ล้มกลิ้งล้มหงาย 】แปลว่า: ก. ล้มแล้ว กลิ้งพลิกไปพลิกมา เช่น ตกกระได
ล้มกลิ้งล้มหงายลงมา.
【 ล้มคว่ำ 】แปลว่า: ก. ล้มเอาหน้าลง.
【 ล้มคว่ำคะมำหงาย 】แปลว่า: ก. ล้มกลิ้งหลายทอด เช่น ถูกม้าเตะล้มคว่ำ
คะมำหงาย.
【 ล้มคะมำ 】แปลว่า: ก. ล้มหัวพุ่งไปเพราะสะดุด.
【 ล้มเค้า 】แปลว่า: ก. เล่นการพนันบางอย่างเช่นถั่วโป โดยวิธีแทงเท่าจำนวนเค้า
ที่เจ้ามือมีอยู่ที่หน้าตัก ถ้าแทงถูกเจ้ามือก็หมดเค้า เรียกว่า
แทงล้มเค้า.
【 ล้มช้าง 】แปลว่า: ก. ฆ่าช้าง; โค่นคนที่มีอำนาจมีอิทธิพลลงได้.
【 ล้มตะเข็บ 】แปลว่า: ก. เย็บทับตะเข็บอีกครั้งหนึ่งหรือสอยให้ตะเข็บราบลง.
【 ล้มตึง 】แปลว่า: ก. ล้มหงายหลังกระแทกพื้น.
【 ล้มโต๊ะ 】แปลว่า: ก. กินแล้วหาเรื่องไม่จ่ายทรัพย์.
【 ล้มทั้งยืน 】แปลว่า: ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวัง
อย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิด
มาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
【 ล้มทับ 】แปลว่า: ก. ฉวยโอกาสให้ผู้อื่นจ่ายค่าอาหารแทนตนหรือพวก
ของตน.
【 ล้มฝา 】แปลว่า: ก. ทำปลายฝาเรือนทรงไทยให้สอบขึ้น.
【 ล้มมวย 】แปลว่า: (สำ) ก. สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต.
【 ล้มไม่ลง 】แปลว่า: ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม
เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ,
โดยปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้
ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.
【 ล้มละลาย 】แปลว่า: ก. สิ้นเนื้อประดาตัว, หมดทรัพย์สมบัติของตัว; (กฎ) มีหนี้สิน
ล้นพ้นตัว และศาลได้มีคําพิพากษาให้ล้มละลาย.
【 ล้มลุก 】แปลว่า: น. พืชที่มีอายุชั่วคราว เช่น พริก มะเขือ ถั่ว ข้าวโพด เรียกว่า
พืชล้มลุก; เรียกตุ๊กตาชนิดหนึ่งเมื่อผลักล้มลงแล้วลุกขึ้นเองว่า
ตุ๊กตาล้มลุก.
【 ล้มลุกคลุกคลาน 】แปลว่า: ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนี
ฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุกคลุกคลาน,
โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น
ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุก
คลุกคลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
【 ล้มเลิก 】แปลว่า: ก. เลิก เช่น ล้มเลิกกิจการ, ยกเลิก เช่น ล้มเลิกสัญญา,
เลิกดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น ล้มเลิกโครงการ,
เลิกล้ม ก็ว่า.
【 ล้มหมอนนอนเสื่อ 】แปลว่า: ก. ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว เช่น เขาล้มหมอนนอนเสื่อ
เสียหลายวัน.
【 ล้มหายตายจาก 】แปลว่า: ก. ตายจากไปแล้ว, หายหน้าไปนานจนทำให้คิดว่าตาย
ไปแล้ว.
【 ลมแล้ง 】แปลว่า: /ดู ราชพฤกษ์./
【 ลมาด 】แปลว่า: [ละ–] น. แมลงหวี่. (ข. มมาจ ว่า ตัวชีผ้าขาว).
【 ลรรลุง 】แปลว่า: ลัน– ว. เป็นทุกข์ถึง, เศร้าโศก, ครํ่าครวญ. /(ดู ละลุง ๑)./
【 ลลนา 】แปลว่า: [ละละ–] น. หญิงที่น่าเอ็นดู, ผู้หญิง. (ป., ส.).
【 ลลาฏ 】แปลว่า: [ละ–] น. นลาฏ, หน้าผาก. (ป., ส.).
【 ลลิต 】แปลว่า: [ละ–] ว. น่ารัก, น่าเอ็นดู, น่าชื่นชม, สวย, งาม, ละมุนละม่อม. (ส.).
【 ลวก 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก
น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ
พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง
ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา
น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย
น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
【 ลวกปาก, ลวกปากลวกคอ 】แปลว่า: ก. อาการที่กินของร้อนจัดทำให้รู้สึกว่าปากแทบพองชั่วระยะหนึ่ง.
【 ลวก ๆ 】แปลว่า: ว. อย่างหยาบ ๆ, มักง่าย, ยังไม่เรียบร้อย, เช่น ทำงานลวก ๆ
พอให้เสร็จ ๆ ไป.
【 ลวง ๑ 】แปลว่า: ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก.
【 ลวงตา 】แปลว่า: ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้าที่ปรากฏ
ในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียกภาพที่
ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
【 ลวงโลก 】แปลว่า: ว. ตลบตะแลงปลิ้นปล้อนในคำว่า คนลวงโลก.
【 ลวง ๒ 】แปลว่า: น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘,
เขียนเป็น รวง ก็มี.
【 ล่วง 】แปลว่า: ก. ผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขต
หวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี.
【 ล่วงเกิน 】แปลว่า: ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี
หรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท
เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
【 ล่วงขื่อ 】แปลว่า: น. ด้านสกัด.
【 ล่วงคำ 】แปลว่า: ก. เกินคําสั่ง.
【 ล่วงประเวณี 】แปลว่า: ก. ประพฤติผิดเมียของผู้อื่น.
【 ล่วงแป 】แปลว่า: น. ด้านยาว.
【 ล่วงพ้น 】แปลว่า: ก. ผ่านพ้น, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คําเดียว.
【 ล่วงรู้ 】แปลว่า: ก. รู้เสียก่อน, รู้ทัน, เช่น ล่วงรู้ความลับของผู้อื่น.
【 ล่วงละเมิด 】แปลว่า: ก. ละเมิด.
【 ล่วงลับ 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น เขาล่วงลับไปแล้ว.
【 ล่วงล้ำ 】แปลว่า: ก. ผ่านพ้นเกินเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า บุกรุก,
ละเมิด, เช่น ข้าศึกล่วงล้ำชายแดน, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง
คําเดียว.
【 ล่วงเลย 】แปลว่า: ก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อย
วันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง
ล่วง คําเดียว.
【 ล่วงว่า 】แปลว่า: ก. บังอาจว่าเขา, กล่าวต่อไปอีกเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
【 ล่วงเวลา 】แปลว่า: ว. เกินเวลาหรือนอกเวลาที่มีกําหนดไว้ เช่น เงินค่า
ล่วงเวลา ทำงานล่วงเวลา.
【 ล่วงหน้า 】แปลว่า: ว. ก่อนกําหนด เช่น ไปล่วงหน้า รับเงินล่วงหน้า.
【 ล้วง 】แปลว่า: ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง
กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้
ความคิดที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
【 ล้วงกระเป๋า 】แปลว่า: ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วงกระเป๋าเวลา
อยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ;
ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูก
ล้วงกระเป๋า.
【 ล้วงควัก 】แปลว่า: ก. หยิบฉวยเอาสิ่งของเป็นต้นไปโดยพลการ เช่น มาล้วง
ควักข้าวสาร ถ่าน เกลือของเจ้าของบ้านไป.
【 ล้วงคอ, ล้วงคองูเห่า 】แปลว่า: (ปาก) ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สินเป็นต้น
จากผู้ที่น่าเกรงขาม.
【 ล้วงตับ, ล้วงไส้ 】แปลว่า: ก. หลอกลวงให้ตายใจเพื่อล้วงเอาความลับเป็นต้น.
【 ลวงค์ 】แปลว่า: [ละวง] น. กานพลู. (ป., ส. ลวงฺค).
【 ลวงเล้า 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ปีระกา อัฐศก.
【 ลวณะ 】แปลว่า: น. เกลือ, รสเค็ม, ความเค็ม. ว. เค็ม. (ป., ส.).
【 ลวด 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น
เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด
สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา
ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง
ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ
๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก
เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี
ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
【 ลวดบัว 】แปลว่า: น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วน
ขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง
พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดาน
กับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้าง
ตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ
เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ
เป็นไม้แกะสลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็ก
ไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
【 ลวดลาย 】แปลว่า: น. ลายต่าง ๆ ที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถที่แสดง
ให้ปรากฏ เช่น นักฟุตบอลมีลวดลายในการส่งลูก, โดยปริยาย
หมายความว่า มีลูกไม้หรือชั้นเชิงต่าง ๆ เช่น เขามีลวดลายใน
การพูดให้คนฮาได้ เขามีลวดลายในการเต้นรำ.
【 ลวดสปริง 】แปลว่า: [–สะปฺริง] น. ลวดที่ทําเป็นขด ๆ สามารถยืดหยุ่นได้.
【 ลวดหนัง 】แปลว่า: น. หนังที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ.
【 ลวดหนาม 】แปลว่า: น. ลวดที่ขมวดเป็นปมเป็นระยะ ๆ แต่ละปมมีปลาย
แหลมคม ใช้ทํารั้วหรือเครื่องกีดขวางเป็นต้น.
【 ล้วน, ล้วน ๆ 】แปลว่า: ว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน
เงินล้วน ๆ.
【 ล้วนด้วย, ล้วนแล้ว 】แปลว่า: ว. แล้วด้วย, แล้วไปด้วย, เช่น ล้วนด้วยดอกไม้สีขาว
ล้วนแล้วไปด้วยทอง.
【 ล้วนแต่ 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ผู้เข้าประกวดนางงามล้วนแต่
สวย ๆ ทั้งนั้น.
【 ลวนลาม 】แปลว่า: ก. ล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือการกระทำ
เกินสมควร เช่น นายดำชอบพูดจาลวนลามผู้หญิง เขา
ชอบถือโอกาสลวนลามด้วยการจับมือถือแขนผู้หญิง,
ลามลวน ก็ว่า.
【 ลวนะ 】แปลว่า: น. การตัด, การเกี่ยว. (ป., ส.).
【 ล่วม 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทําด้วยผ้า มีใบปก
เป็นของใช้โบราณ แต่ที่ทําด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย
เรียกว่า พระล่วม, สําหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา.
【 ลวะ 】แปลว่า: น. การตัด, การเกี่ยว; ส่วนที่ตัดออก, ท่อน, ชิ้น; หยาดนํ้า. (ป., ส.).
【 ลวิตร 】แปลว่า: [ละวิด] น. เครื่องตัด, เครื่องเกี่ยว, เคียว. (ส. ลวิตฺร).
【 ลหุ 】แปลว่า: [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง
พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียง
สั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ
ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ?แทน.
【 ลหุโทษ 】แปลว่า: น. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิด
ซึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐
บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ.
【 ลหุกาบัติ 】แปลว่า: [ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้อง
บอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย
ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).
【 ล่อ ๑ 】แปลว่า: น. สัตว์พันทางที่เกิดจากการผสมระหว่างลากับม้า ใช้เป็นสัตว์ต่าง.
【 ล่อ ๒ 】แปลว่า: ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ
ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
【 ล่อใจ 】แปลว่า: ว. ชวนใจให้อยากได้ เช่น เอาของมาโฆษณาล่อใจ.
【 ล่อตา 】แปลว่า: ว. ชวนให้อยากได้ เช่น วางกระเป๋าสตางค์ไว้บนโต๊ะล่อตาขโมย.
【 ล่อมือ 】แปลว่า: ว. ชวนให้หยิบฉวยหรือขโมย เช่น ตากผ้าไว้ข้างรั้วล่อมือขโมย.
【 ล่อลวง 】แปลว่า: ก. ใช้อุบายทุจริตให้หลงเชื่อในสิ่งที่เป็นเท็จ เช่น ล่อลวงเด็ก
ไปขาย.
【 ล่อหน่วย 】แปลว่า: ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาล่อหน่วย,
น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า.
【 ล่อหน้า 】แปลว่า: ก. โผล่หน้ามาพอให้เห็น เช่น มีการมีงานเขาล่อหน้ามา
เดี๋ยวเดียวก็ไป.
【 ล่อหลอก 】แปลว่า: ก. ล่อให้เชื่อโดยมีเครื่องจูงใจ เช่น เอาตุ๊กตามาล่อหลอก
เด็กให้หยุดร้องไห้, หลอกล่อ ก็ว่า.
【 ล่อหูล่อตา 】แปลว่า: ว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่งทอง
เหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.
【 ล่อแหลม 】แปลว่า: ว. หมิ่นเหม่, อยู่ในที่ใกล้อันตราย, เช่น แต่งตัวล่อแหลม
พูดจาล่อแหลม ความประพฤติล่อแหลมต่อคุกตะราง.
【 ล้อ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ลูกล้อ
ก็ว่า. ก. กลิ้งหมุนไปอย่างล้อรถ เช่น ล้อสตางค์ให้กลิ้งไป.
【 ล้อต๊อก 】แปลว่า: น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยปล่อยเงินเหรียญให้ล้อไป
บนกระดานเป็นต้นที่วางเอียง ๆ ถ้าใครล้อได้ไกลกว่าแต่ต้อง
ไม่เลยเส้นกำหนด จะได้ทอยคนที่ล้อใกล้กว่า ถ้าทอยถูกก็กิน
ถ้าทอยผิดก็เริ่มต้นเล่นใหม่.
【 ล้อเลื่อน 】แปลว่า: น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบด้วยเพลา
และล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
【 ล้อ ๒ 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญ
ให้อายหรือให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียน
ข้อความให้ล้อกัน.
【 ล้อความตาย, ล้อมฤตยู, ล้อมัจจุราช 】แปลว่า: ก. กระทำการใด ๆ ที่เสี่ยงต่อความตาย.
【 ล้อแบบ 】แปลว่า: ก. ทำคล้ายแบบ, ทำได้ใกล้เคียงแบบ, เช่น อาคารทรงไทย
ในปัจจุบันล้อแบบเรือนไทยโบราณ.
【 ล้อเล่น 】แปลว่า: ก. กิริยาหรือวาจาล้อเพื่อความสนุก เช่น พูดล้อเล่นอย่าถือ
เป็นจริงจัง, หลอกเล่น ก็ว่า.
【 ล้อเลียน 】แปลว่า: ก. เอาอย่างเพื่อยั่วเย้าเล่น เช่น พูดทำเสียงล้อเลียนคน
ติดอ่างหรือคนพูดไม่ชัด แสดงกิริยาเดินขากะเผลก
ล้อเลียนคนขาเป๋.
【 ล้อหลอก 】แปลว่า: ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อ
หลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
【 ลอก 】แปลว่า: ก. เอาเปลือกหรือผิวออกมาเป็นแผ่น ๆ เช่น ลอกหนังงู ลอก
เปลือกปอกระเจา, กิริยาที่เปลือกหรือผิวหลุดออกเป็นแผ่น ๆ
เช่น หนังลอก, ตักเอาโคลนหรือเลนเป็นต้นขึ้น เช่น ลอกคลอง
ลอกท้องร่อง,ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง เช่น ลอกบัว ลอกท้องไม้;
เขียน คัด หรือจําลองออกมาจากต้นฉบับ ต้นแบบ เช่น ลอกหนังสือ
ลอกลวดลาย ลอกแบบ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ลอกความคิด.
【 ลอกคราบ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่สัตว์บางชนิดเอาคราบออก เช่น งูลอกคราบ ปูลอกคราบ
กุ้งลอกคราบ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นถูก
บังคับหรือถูกล่อลวงให้ถอดหรือปลดเครื่องแต่งตัวหรือทรัพย์สินไป
จนหมดตัว.
【 ลอกเลน 】แปลว่า: ก. โกยเลนขึ้น.
【 ลอกหน้า 】แปลว่า: ก. กรรมวิธีในการเสริมสวยโดยเอาครีมชนิดหนึ่งทาหน้า
ให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง พอครีมแห้งก็ลอกออกเป็นแผ่น โดยจะ
มีสิวเสี้ยนเป็นต้นติดมากับแผ่นครีมนั้น.
【 ล็อก ๑ 】แปลว่า: น. หมู่อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือที่ดินที่อยู่รวมกันเป็น
กลุ่ม ๆ เช่น ที่ดินผืนนี้มี ๓ ล็อก.
【 ล็อก ๒ 】แปลว่า: น. ความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรื่องนี้
เป็นไปตามล็อก.
【 ล็อกเลข 】แปลว่า: ก. หยุดตัวเลขตามที่ต้องการ.
【 ล็อก ๓ 】แปลว่า: ก. ตวัดรัดให้แน่น เช่น ล็อกคอ ล็อกแขน.
【 ล็อกเกต 】แปลว่า: น. เครื่องประดับทำเป็นรูปตลับเล็ก ๆ หรือกรอบรูป มีห่วง
สำหรับคล้องสายสร้อยห้อยคอหรือกลัดติดเสื้อ. (อ. locket).
【 ลอกแลก 】แปลว่า: ว. แสดงอาการหลุกหลิกเป็นต้น เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ตลอด
เวลา ถือกันว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพหรือบางทีก็ส่อพิรุธด้วย.
【 ลอการิทึม 】แปลว่า: (คณิต) น. ลอการิทึมของจํานวนใดจํานวนหนึ่งบนฐานที่กําหนด
ให้ คือ จํานวนที่บ่งแสดงกําลังของฐาน ซึ่งเมื่อฐานยกกําลังด้วย
จํานวนนี้แล้วย่อมมีค่าเท่ากับจํานวนที่กําหนดนั้น เช่น ลอการิทึม
ของ ๔๙ บนฐาน ๗ คือ ๒ (เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า log749 = 2)
ซึ่งหมายความว่า ๗๒ = ๔๙. (อ. logarithm).
【 ลอง ๑ 】แปลว่า: น. ของที่ทํารองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช; ส่วน
ที่ประกอบชั้นนอกของพระโกศหรือโกศ เรียกว่า พระลอง
หรือ ลอง.
【 ลอง ๒ 】แปลว่า: ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม
ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้
รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือ
หรือน้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือ
เหมาะสมหรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง
ลองรถ; หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
【 ลองของ 】แปลว่า: ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่,
โดยปริยายหมายความว่า ลองดี.
【 ลองเครื่อง 】แปลว่า: ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็น
ปรกติหรือไม่.
【 ลองใจ 】แปลว่า: ก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น
เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.
【 ลองเชิง 】แปลว่า: ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวย
ประหมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
【 ลองดี 】แปลว่า: ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง
ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่
ล้วงคองูเห่าด้วยการลองดีกับตำรวจ.
【 ลองธรรม์ 】แปลว่า: (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์.
(ยวนพ่าย).
【 ลองใน 】แปลว่า: น. โกศชั้นใน.
【 ลองภูมิ 】แปลว่า: [–พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ
แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
【 ล่อง 】แปลว่า: น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า
เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ
ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก
เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
【 ล่องแก่ง 】แปลว่า: ก. ไปด้วยเรือหรือแพฝ่าแก่งลงมา.
【 ล่องจวน 】แปลว่า: น. ผ้ายกมีลายที่ชาย ท้องพื้นปูม เรียกว่า ล่องจวน, ถ้ามีริ้ว
เรียกว่า ล่องจวนริ้ว.
【 ล่องชาด 】แปลว่า: ก. ลงชาด, ทาชาดลงในระหว่างสิ่งที่ทาทองหรือปิดทองแล้ว.
【 ล่องถุน 】แปลว่า: น. ระยะตั้งแต่พื้นเรือนจนถึงพื้นดิน.
【 ล่องแมว 】แปลว่า: น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเทอากาศ
มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน.
【 ลองกอง 】แปลว่า: น. ชื่อลางสาดพันธุ์หนึ่ง เปลือกหนายางน้อย.
【 ลองจิจูด 】แปลว่า: น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ผ่านแกนขั้วโลกเหนือ
และขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร
ค่าลองจิจูดนับออกจากเมริเดียนแรกไปทางตะวันออกหรือตะวันตก
โดยวัดไปตามเส้นศูนย์สูตร เป็นมุมที่ศูนย์กลางโลก, เดิมใช้ว่า
เส้นแวง. (อ. longitude).
【 ลองไน 】แปลว่า: /ดู แม่ม่ายลองไน./
【 ล่องหน 】แปลว่า: ก. หายตัวไปด้วยเวทมนตร์, มักใช้เข้าคู่กับคํา หายตัว เป็น ล่องหน
หายตัว คือ ไม่ปรากฏให้เห็นตัว, โดยปริยายหมายความว่า หายไป
โดยไม่มีร่องรอย เช่น กระเป๋าสตางค์บนโต๊ะล่องหนไปแล้ว.
【 ลอด 】แปลว่า: ก. ผ่านเข้าไปในช่อง หรือใต้สิ่งที่มีพื้น หรือสิ่งที่ขวางอยู่เบื้องบน
เช่น ลอดราว ลอดอุโมงค์.
【 ลอดช่อง 】แปลว่า: น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลงใน
กะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
【 ลอตเตอรี่ 】แปลว่า: น. สลากกินแบ่ง. (อ. lottery).
【 ลอน 】แปลว่า: น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไป
บนพื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
【 ลอนทอง 】แปลว่า: ก. ตัดทองคำใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อตีแผ่ทําเป็น
ทองคําเปลว.
【 ล่อน 】แปลว่า: ก. หลุดออกหมดไม่มีเหลือติดอยู่ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อ หรือสิ่ง
ซึ่งห่อหุ้มอยู่) เช่น เงาะล่อน พริกไทยล่อน, หลุดออกเป็นชิ้นเป็น
แผ่น เช่น สะเก็ดล่อน สีล่อน, หลุดออกง่ายเมื่อกะเทาะหรือแซะ
ออกเป็นต้น เช่น แป้งขนมเบื้องล่อน.
【 ล่อนแก่น 】แปลว่า: ก. สิ้นเนื้อประดาตัว (ใช้แก่การพนัน) เช่น กินก่อนล่อนแก่น.
【 ล่อนจ้อน 】แปลว่า: ว. ไม่มีอะไรปกปิดร่างกาย, ไม่มีอะไรติดตัว, เช่น เปลือยกาย
ล่อนจ้อน, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีของมีค่าติดตัว เช่น
มาแต่ตัวล่อนจ้อน.
【 ลอบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องสานสําหรับดักปลาดักกุ้ง มีหลายชนิด เช่น ลอบนอน
ลอบตั้ง ลอบประทุน; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ตาข่ายที่ขึงดักจับนก.
【 ลอบ ๒ 】แปลว่า: ก. แอบทำโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็น เช่น ลอบทำร้าย ลอบเข้าไปในหมู่ข้าศึก.
【 ลอบกัด 】แปลว่า: ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.
【 ลอบฟัง 】แปลว่า: ก. ลักฟัง, ดักฟัง, แอบฟัง.
【 ลอม 】แปลว่า: ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง
เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่ง
มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
【 ล้อม 】แปลว่า: ก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ
เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะ
ทําร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.
【 ล้อมกรอบ 】แปลว่า: ก. รุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทำร้าย, ล้อม ก็ว่า.
【 ล้อมวง 】แปลว่า: ก. ป้องกันระวังโดยกวดขัน; นั่งหรือยืนเป็นวง เช่น ล้อมวงกินข้าว
ล้อมวงจับระบำชาวไร่.
【 ล้อมวัง 】แปลว่า: น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำลายค่ายข้าศึก, ช้างพังคา
ก็เรียก.
【 ลอมชอม 】แปลว่า: ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย,
รอมชอม หรือ ออมชอม ก็ว่า.
【 ล้อมปรวด 】แปลว่า: [ล้อมปะหฺรวด] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา หรือเรียกว่า ขี้แรด
ล้อมปรวด, ตะโกขาว ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ลอมพอก 】แปลว่า: น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม
ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.
【 ลอย 】แปลว่า: ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น,
เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลัก
แหล่ง, ไม่มีตําแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็น
พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บน
ผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น
ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้ม
หรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
【 ลอย ๆ 】แปลว่า: ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผลหรือ
หลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง;
อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ
ไม่มีคะขา.
【 ลอยกระทง 】แปลว่า: น. ชื่อเทศกาลอย่างหนึ่ง เอากระทงที่บรรจุธูปเทียนดอกไม้
แล้วจุดให้ลอยในน้ำ ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
【 ลอยแก้ว 】แปลว่า: น. ของหวานทําด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อม
เจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.
【 ลอยคอ 】แปลว่า: ก. ว่ายนํ้าตั้งตัวตรง คออยู่เหนือนํ้า.
【 ลอยช้อน 】แปลว่า: ก. ลงนํ้าลอยคอเอาคัดช้อนตักปลา.
【 ลอยชาย 】แปลว่า: ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย;
กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย
หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
【 ลอยดอก 】แปลว่า: (ปาก) ว. คําค่อนว่าผู้หญิงที่ประพฤติตัวไม่สมควร เช่น
ล่อหรือยั่วยวนผู้ชายในที่เปิดเผย.
【 ลอยตัว 】แปลว่า: ก. หมดภาระ, หมดปัญหายุ่งยาก, เช่น เมื่อปลดเปลื้องหนี้สิน
ได้หมดแล้ว เขาก็ลอยตัว; พ้นข้อผูกพัน เช่น ค่าเงินบาทลอยตัว
ราคาน้ำมันลอยตัว.
【 ลอยนวล 】แปลว่า: ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไปอย่าง
ลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดิน
ลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.
【 ลอยน้ำ 】แปลว่า: ก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น
เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้; เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำ
เพื่ออบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
【 ลอยบาป 】แปลว่า: ก. ปลดเปลื้องบาปให้ลอยไปในแม่น้ำคงคาตามลัทธิ
ศาสนาพราหมณ์.
【 ลอยเป็นแพ 】แปลว่า: ก. ลอยพรืดไปเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ผักตบชวาลอยเป็นแพ.
【 ลอยแพ 】แปลว่า: ก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม
เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ,
โดยปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น
โรงงานขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ.
【 ลอยฟ้า, ลอยเมฆ 】แปลว่า: ก. ลอยอยู่บนฟ้า. ว. เลิศ เช่น สวยลอยฟ้า; สูงมาก เช่น
สะพานลอยฟ้า ภัตตาคารลอยฟ้า.
【 ลอยลำ 】แปลว่า: (ปาก) ว. เด็ดขาด เช่น เรือแข่งชนะลอยลำ ลอยลำเข้ารอบ.
【 ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา 】แปลว่า: ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะ
อาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิดแล้วยังมาลอยหน้า
เถียงอีก.
【 ล่อย ๆ 】แปลว่า: ว. พล่อย ๆ.
【 ล่อแล่ 】แปลว่า: ก. พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้ความ.
【 ลอว์เรนเซียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุ
กัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏใน
ธรรมชาติ. (อ. lawrencium).
【 ลออ 】แปลว่า: [ละ–] ว. งาม เช่น นวลลออ เอี่ยมลออ. (ข.).
【 ละ ๑ 】แปลว่า: ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่
เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้
ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าว
ให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย
หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่าง
ไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ – “– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้า
กับบรรทัดบน. ว. คําประกอบคํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ
หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น
คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น
เช่น ไปละ เอาละ.
【 ละทิ้ง 】แปลว่า: ก. ละด้วยวิธีทิ้ง เช่น ละทิ้งหน้าที่.
【 ละเมิน 】แปลว่า: ก. ละด้วยการไม่เหลียวแล.
【 ละลด 】แปลว่า: ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น
เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
【 ละเลย 】แปลว่า: ก. เพิกเฉย, ทอดทิ้ง, เช่น ละเลยไม่เอาธุระ.
【 ละโลก 】แปลว่า: ก. ตาย เช่น เขาละโลกไปแล้ว.
【 ละวาง 】แปลว่า: ก. ปล่อยวาง เช่น ละวางกิเลส.
【 ละเว้น 】แปลว่า: ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคน
ถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น.
【 ละ ๒ 】แปลว่า: ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น
เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
【 ล่ะ 】แปลว่า: ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น
มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
【 ละกล 】แปลว่า: (กลอน) ว. กล, เหมือน.
【 ละกูมะนิส 】แปลว่า: น. คนที่รัก, คนที่ชอบใจ. (ช.).
【 ละขัดละขืน 】แปลว่า: (กลอน) ก. ขัดขืน; ห้าวหาญ.
【 ละคร 】แปลว่า: [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที
หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง
โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด;
การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย
หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
【 ละครแก้บน 】แปลว่า: น. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.
【 ละครชวนหัว 】แปลว่า: น. ละครพูดประเภทขำขัน.
【 ละครชาตรี 】แปลว่า: น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป
มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก
ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
【 ละครดึกดำบรรพ์ 】แปลว่า: น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้าย
ของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร
ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตาม
แบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น
ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อ
โรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
【 ละครโทรทัศน์ 】แปลว่า: น. ละครพูดที่แสดงทางโทรทัศน์ มีการตกแต่งฉากให้เหมือนจริง.
【 ละครนอก 】แปลว่า: น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้น
ตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบท
เจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ
แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
【 ละครใน 】แปลว่า: น. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละคร
เป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรี
ไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และ
อุณรุท.
【 ละครพันทาง 】แปลว่า: น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูด
บทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มี
ท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละคร
พันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอน
พระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
【 ละครพูด 】แปลว่า: น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบท
ของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน
คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น
ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละคร
พูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
【 ละครพูดสลับลำ 】แปลว่า: น. ละครสังคีต.
【 ละครเพลง 】แปลว่า: น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลง
และดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกายแบบ
สมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง
เปลวสุริยา.
【 ละครยก 】แปลว่า: น. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาดเล็ก
มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่น
เขียนสีสมมุติเป็นตัวละคร ๓–๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.
【 ละครย่อย 】แปลว่า: น. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.
【 ละครร้อง 】แปลว่า: น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละคร
ร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตาม
เนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม
สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
【 ละครรำ 】แปลว่า: น. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดง
บทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่
ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี
ละครนอก ละครใน.
【 ละครเร่ 】แปลว่า: น. ละครที่ออกไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ไม่ได้แสดงประจำถิ่น.
【 ละครลิง 】แปลว่า: น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของ
ผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
【 ละครเล็ก 】แปลว่า: น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็กเรื่อง
พระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
【 ละครวิทยุ 】แปลว่า: น. ละครพูดที่แสดงทางวิทยุ มักมีเพลงประกอบ.
【 ละครสังคีต 】แปลว่า: น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละคร
ร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ
สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรี
ประกอบไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่
ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่อง
มิกาโด, บางทีเรียกว่า ละครพูดสลับลำ.
【 ละครสัตว์ 】แปลว่า: น. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการแสดง
ของคณะกายกรรมประกอบด้วย.
【 ละคิ 】แปลว่า: ว. ยัง, ยังมีอยู่.
【 ละคึก 】แปลว่า: (โบ) ก. รีบ, เร่ง.
【 ละงาด 】แปลว่า: น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ลางาด ล้างาด หรือ ลํางาด ก็มี. (ข. ลงาจ).
【 ละงิด 】แปลว่า: น. ฟ้า, ชั้นเทวดา. (ช.).
【 ละติจูด 】แปลว่า: น. เส้นรอยตัดระหว่างผิวโลกกับพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกน
ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ รอยตัดนี้จะเป็นวงกลมที่ขนานกับ
เส้นศูนย์สูตร ค่าของละติจูดนับออกจากเส้นศูนย์สูตรไปทาง
ขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ โดยวัดไปตามเส้นเมริเดียน เป็นมุม
ที่ศูนย์กลางของโลก, เดิมใช้ว่า เส้นรุ้ง. (อ. latitude).
【 ละบม 】แปลว่า: ก. รู้สึกขัดเมื่อยฟกชํ้าอยู่ข้างใน; รม, ทา. (โดยมากใช้ ระบม).
【 ละบอง 】แปลว่า: น. เม็ดตุ่ม ๆ เกิดตามผิวเนื้อด้วยพิษร้อนหรือพิษอักเสบ.
【 ละบองไฟ 】แปลว่า: น. เม็ดตุ่มเกิดแก่หญิงกําลังอยู่ไฟ, ผดไฟ.
【 ละบองราหู 】แปลว่า: น. ชื่อโรค ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซาง
ชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.
【 ละบัด 】แปลว่า: ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, แตกขนอ่อน. ว. พึ่งลัด, พึ่งผลิ, อ่อน.
(โดยมากใช้ ระบัด).
【 ละบือ 】แปลว่า: ก. ลือ, เลื่องลือ. (โดยมากใช้ ระบือ).
【 ละเบ็ง 】แปลว่า: ว. ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, ระเบ็ง ก็ว่า.
【 ละโบม 】แปลว่า: ก. โลม, ลูบคลํา, เคล้าคลึง.
【 ละม่อม 】แปลว่า: ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม
ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุน
ละม่อม หมายความว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน
(ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
【 ละมั่ง 】แปลว่า: /ดู ละองละมั่ง./
【 ละมา 】แปลว่า: น. กาล, คราว, เวลา.
【 ละมาน 】แปลว่า: น. ข้าวละมาน./ (ดู ข้าวป่า ที่ ข้าว)./
【 ละม้าย 】แปลว่า: ว. คล้าย, เกือบจะเหมือน, เช่น หน้าตาละม้ายไปทางแม่.
【 ละมุ ๑ 】แปลว่า: น. โป๊ะเล็ก ๆ ที่ทําไว้สําหรับจับปลาตามชายทะเล.
【 ละมุ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.
【 ละมุด 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Manilkara/ วงศ์ Sapotaceae ผลสุก
รสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [/M. zapota/ (L.) P. Royen] ผลสุกสี
นํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [/M. kauki/ (L.) Dubard] ผลสุก
สีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่า
ขนุนละมุด. /(ดู ขนุน ๑)./
【 ละมุน 】แปลว่า: ว. อ่อนนุ่ม, นุ่มนวล, เช่น ผ้ากำมะหยี่เนื้อนิ่มละมุนมือ.
【 ละมุนละม่อม 】แปลว่า: ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุนละม่อม.
【 ละมุนละไม 】แปลว่า: ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ละมุนละไม
ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้
มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
【 ละเม็ด 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาจําพวกข่า อยู่ทางแคว้นสิบสองจุไทย.
【 ละเมอ 】แปลว่า: ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า
หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
【 ละเมาะ ๑ 】แปลว่า: น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า
เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.
【 ละเมาะ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. /(ดู กระบอก ๒)./
【 ละเมิด 】แปลว่า: ก. ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่มีบัญญัติไว้;
(กฎ) จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน
หรือสิทธิ.
【 ละเมิดลิขสิทธิ์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. กระทําอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
ได้แก่ ทําซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับ
อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
【 ละเมียด 】แปลว่า: ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม;
คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
【 ละเมียดละไม 】แปลว่า: ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวน
ละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านางได้
ละเมียดละไม.
【 ละเมียบ 】แปลว่า: ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ลําเมียบ ลําเลียบ
หรือ ลําเวียน ก็ว่า.
【 ละแมะ 】แปลว่า: น. เครื่องมือรูปคล้ายจอบ สําหรับถากเรือโกลน.
(รูปภาพ ละแมะ)
【 ละโมก 】แปลว่า: /ดู กระโดงแดง (๑)./
【 ละโมบ 】แปลว่า: ก. โลภมาก, มักได้.
【 ละไม ๑ 】แปลว่า: ว. น่ารักน่าเอ็นดู, งามชวนดู, ชื่นบาน, เช่น ยิ้มละไม งามละไม.
【 ละไม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Baccaurea motleyana/ (Muell. Arg.) Muell. Arg.
ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลและรสคล้ายมะไฟ ต่างกันที่ขั้วผล
มีกลีบเลี้ยงครอบ.
【 ละรี 】แปลว่า: ก. แล่นไป. (ช.).
【 ละลนละลาน 】แปลว่า: ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
【 ละลมละลาย 】แปลว่า: ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป.
【 ละลวย 】แปลว่า: ก. งงงวย, ทําให้หลง, เช่น คาถามหาละลวย. ว. มีมาก, ได้มาก;
อ่อน, นุ่ม.
【 ละลอก 】แปลว่า: น. ระลอก; โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดมีหนอง.
【 ละลอบละเล้า 】แปลว่า: ว. รู้หลบหลีก.
【 ละลัง 】แปลว่า: ว. รีบเร่ง.
【 ละลัด 】แปลว่า: น. แมลงวัน. (ช.).
【 ละล้า 】แปลว่า: (กลอน) ก. ล่า, ช้า, หมดแรง.
【 ละล้าละลัง 】แปลว่า: ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ลุก ๆ ลน ๆ.
【 ละลาน 】แปลว่า: ก. ตื่นเต้น.
【 ละลานใจ 】แปลว่า: ก. ตื่นใจ, วุ่นวายใจ, เช่น เห็นเพชรเม็ดงามละลานใจ.
【 ละลานตา 】แปลว่า: ก. ตื่นตา เช่น ผู้คนมากมายละลานตา.
【 ละลาบละล้วง 】แปลว่า: ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการ
ละลาบละล้วง.
【 ละลาย 】แปลว่า: ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน
เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลาย
ไปในนํ้าหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลาย
ยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า
หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลาย
หายไป เอาเงินไปละลายในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สาร
อย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดย
ไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์
ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้
เรียกว่า สารละลาย.
【 ละล้าละลัง 】แปลว่า: ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น
เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
【 ละล้าว 】แปลว่า: ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
【 ละล่ำละลัก 】แปลว่า: ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ
เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
【 ละลิบ 】แปลว่า: ว. ลิบ, ลิ่ว, สูง, โด่ง, ไกล, ลอยไปไกล.
【 ละลุง ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ใจเป็นห่วงถึง, เป็นทุกข์ถึง, ใจหาย.
【 ละลุง ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ชุลมุน
【 ละลุม 】แปลว่า: ก. ละเล้า.
【 ละเลง 】แปลว่า: ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น
ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ
เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
【 ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก 】แปลว่า: (สํา) ก. ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้.
【 ละเลงเลือด 】แปลว่า: ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น
ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
【 ละเล้า 】แปลว่า: ก. เคล้าคลึง, คลอเคลีย, คลํา; สับสน, ปะปน, ใช้เข้าคู่กับคํา ละลุม
เป็น ละเล้าละลุม ก็มี.
【 ละเลาะ 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ ไป.
【 ละเลาะละลอง 】แปลว่า: ก. บรรลุถึงฝั่ง; ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมาย.
【 ละเลิง 】แปลว่า: ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลําพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิง
จนลืมอันตราย.
【 ละเลียด 】แปลว่า: ก. กินทีละน้อย ๆ เช่น มัวละเลียดอยู่นั่นแหละ.
【 ละเลียบ 】แปลว่า: ก. เลียบ.
【 ละเลือก 】แปลว่า: ว. ลนลาน.
【 ละไล้ 】แปลว่า: ก. ไล้, ลูบ, โลม.
【 ละวล 】แปลว่า: ว. ก้อง, อื้ออึง, สับสน.
【 ละว้อ, ละว้า ๑ 】แปลว่า: น. คนชาวเขาตอนเหนือประเทศไทยพวกหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร.
【 ละว้า ๒ 】แปลว่า: น. เรียกย่ามขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งมีครุยที่มุมล่างว่า ย่ามละว้า.
【 ละวาด 】แปลว่า: ก. วาด. ว. คล้ายเขียน.
【 ละเวง 】แปลว่า: ว. เสียงเสนาะ, ก้อง, กังวาน; ฟุ้งเฟื่อง, ฟุ้งไป.
【 ละแวก ๑ 】แปลว่า: น. เขมรชาวกรุงละแวก.
【 ละแวก ๒ 】แปลว่า: น. เขตบริเวณ เช่น ละแวกบ้าน.
【 ละโว้ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อเก่าของเมืองลพบุรี.
【 ละโว้ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด /Solanum melongena/ L. ผลกลม
กินได้.
【 ละหมาด 】แปลว่า: น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลามเพื่อชําระจิตใจ
ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.
【 ละหมาดญานาซะฮ์ 】แปลว่า: น. พิธีอ้อนวอนพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม เพื่อขอให้รับผู้ตาย
(ระบุชื่อ) ไว้ในที่อันบริสุทธิ์.
【 ละหลัด 】แปลว่า: ว. หลัด ๆ, เร็ว ๆ.
【 ละห้อย 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความ
สงสารเห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความ
ผิดหวังหรือคิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
【 ละห้อยละเหี่ย 】แปลว่า: ว. อาการที่อ่อนอกอ่อนใจเพราะผิดหวังหรือเหนื่อยมาก
เป็นต้น เช่น เดินละห้อยละเหี่ย.
【 ละหาน ๑ 】แปลว่า: น. ห้วงนํ้า. (เทียบเขมร ว่า รหาล).
【 ละหาน ๒ 】แปลว่า: ว. ห้อย.
【 ละหาร 】แปลว่า: น. ห้วงน้ำ. (เทียบมลายู ว่า lahar)
【 ละหุ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Ricinus communis/ L. ในวงศ์ Euphorbiaceae
เมล็ดเป็นพิษ นํ้ามันที่ได้จากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อนใช้ทํายาได้.
【 ละเหย 】แปลว่า: ก. ระเหย.
【 ละเหี่ย 】แปลว่า: ก. อ่อนใจ, อิดโรย, เช่น กินยาลมแก้ใจละเหี่ย, ละเหี่ยใจ ก็ว่า.
【 ละอง 】แปลว่า: /ดู ละองละมั่ง./
【 ละองละมั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด /Cervus eldi/ ในวงศ์ Cervidae ตัวสี
นํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไป
ด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและ
ใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง
เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.
【 ละออง 】แปลว่า: น. สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นผงเป็นฝอยละเอียดยิบ เช่น ละอองฝน
ละอองน้ำ ละอองฟาง ละอองข้าว; ฝ้าขาวที่ขึ้นในปากเด็กเล็ก ๆ
เมื่อไม่สบาย เช่น เด็กท้องเสียลิ้นเป็นละออง.
【 ละอาย 】แปลว่า: ก. รู้สึกอายที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด,
ละอายใจ ก็ว่า.
【 ละเอียด 】แปลว่า: ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ
เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น
แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด;
ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่อง
นี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน
ควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อ
ละเอียด.
【 ละเอียดลออ 】แปลว่า: ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแล
ข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
【 ละเอียดอ่อน 】แปลว่า: ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน
ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับซับซ้อน,
ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหว
ง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่องการเงิน
เป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
【 ละแอน 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ต้นกระชาย. /(ดู กระชาย)./
【 ลัก 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น
ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน
ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น
รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
【 ลักไก่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง,
(มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่ม
เค้าเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่
การเล่นโป๊กเกอร์หรือเผ).
【 ลักเค้า 】แปลว่า: ก. ลอบทําเอาแบบอย่างเขา.
【 ลักซ่อน 】แปลว่า: ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น
หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
【 ลักตา 】แปลว่า: ว. อาการที่จงใจลักเดินตัวหมากรุกให้ผิดตาเพื่อเอาเปรียบ
คู่ต่อสู้ ในคำว่า เดินลักตา.
【 ลักทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่
ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
【 ลักพา 】แปลว่า: ก. ลอบพาหญิงหนีไปในทางชู้สาว.
【 ลักเพศ 】แปลว่า: [ลักกะเพด] ก. ทําหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศ
ของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ ผู้ชายแต่งตัว
เป็นผู้หญิง; (ปาก) ทํานอกลู่นอกทาง เช่นดื่มนํ้าทางหูถ้วย.
【 ลักยิ้ม 】แปลว่า: น. รอยเล็ก ๆ ที่บุ๋มลงไปที่แก้ม.
【 ลักลอบ 】แปลว่า: ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ
เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
【 ลักลั่น 】แปลว่า: ว. ขาดความเป็นระเบียบทําให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตาม
กฎตามแบบตามลําดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้
ต่างชุดต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
【 ลักลาย 】แปลว่า: ก. เขียนลายโดยร่นระยะช่องไฟเพื่อให้บรรจุลายได้ตาม
ที่ต้องการ.
【 ลักเลียม 】แปลว่า: ก. ทําทีเล่นทีจริงพอเจ้าของเผลอก็ขโมยเอาไว้.
【 ลักศพ 】แปลว่า: ก. นําศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
【 ลักสร้อย 】แปลว่า: (กลอน) ก. แอบร้องไห้.
【 ลักสี 】แปลว่า: ก. ทําสีหนึ่งซึ่งขัดกับอีกสีหนึ่งให้กลืนกันโดยเอาสีอื่นเข้ารวม.
【 ลักหลับ 】แปลว่า: ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ.
【 ลักขณะ 】แปลว่า: [–ขะหฺนะ] น. ลักษณะ, เครื่องแสดงสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าต่างกับอีก
สิ่งหนึ่ง, คุณภาพ; ประเภท. (ป.; ส. ลกฺษณ).
【 ลักขณา 】แปลว่า: –ขะนา ว. มีลักษณะดี.
【 ลักขะ 】แปลว่า: น. เครื่องหมาย, เป้า; จํานวนแสนหนึ่ง. (ป.; ส. ลกฺษ).
【 ลักขี 】แปลว่า: น. โชค, ลาภ. (ป.; ส. ลกฺษมี).
【 ลักจั่น 】แปลว่า: [ลักกะจั่น] น. นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้า สําหรับ
บรรจุนํ้าในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้.
【 ลักปิดลักเปิด 】แปลว่า: [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟัน
และเหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
【 ลักษณ–, ลักษณะ 】แปลว่า: [–สะหฺนะ] น. สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว
ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมี
ลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).
【 ลักษณนาม 】แปลว่า: (ไว) น. คํานามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน
แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
【 ลักษณาการ 】แปลว่า: น. ลักษณะที่ปรากฏให้เห็น.
【 ลักษณ์ 】แปลว่า: ลัก น. จดหมาย, เรียกเต็มว่า อักษรลักษณ์; (โบ)
ลักษมณ์.
【 ลักษณาการ 】แปลว่า: /ดู ลักษณ–, ลักษณะ./
【 ลักษมณ์ 】แปลว่า: [ลัก] น. ชื่อน้ององค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์.
(ส. ลกฺษฺมณ).
【 ลักษมาณา 】แปลว่า: น. แม่ทัพเรือ. (มลายู).
【 ลักษมี 】แปลว่า: [ลักสะหฺมี] น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์; ความงาม, เสน่ห์, สิริ;
ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. (ส.).
【 ลักษะ 】แปลว่า: น. ลักขะ. (ส.).
【 ลัคคะ 】แปลว่า: ว. ซึ่งติดต่อกัน, เกี่ยวพัน. (ป.; ส. ลคฺน).
【 ลัคน–, ลัคน์, ลัคนา 】แปลว่า: [ลักคะนะ–, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทาง
ทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา
๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ใน
ราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่า
เป็นมงคลสําหรับลงมือทําการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล
เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น
โหรคํานวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น.
เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสําหรับทําพิธีรดนํ้าแต่งงาน.
【 ลัง ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะต่อด้วยไม้หรือสานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายหีบ สําหรับ
บรรจุสิ่งของ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ลังพลาสติก ลังกระดาษ.
【 ลัง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Rastrelliger kanagurta/ ในวงศ์ Scombridae
รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลําตัว
แคบกว่าเล็กน้อย ข้างตัวมีลายเส้นสีหม่นพาดตามยาว ๒–๓
ทาง มีชุกชุมในบริเวณห่างฝั่งมากกว่า, ทู หรือ ทูโม่ง ก็เรียก.
【 ลั่ง 】แปลว่า: ว. อวบ เช่น ทุเรียนพูลั่ง.
【 ลังกา 】แปลว่า: น. ชื่อเกาะแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย.
【 ลังคิ, ลังคี 】แปลว่า: น. กลอน, ลิ่ม, เครื่องกีดขวาง. (ป.).
【 ลังถึง 】แปลว่า: น. ภาชนะสําหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ
ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒–๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ร้อน ชั้นที่
ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อนสุก
มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ซึ้ง ก็ว่า.
【 ลังลอง 】แปลว่า: ว. สุกใส, งาม. (โดยมากใช้ รังรอง).
【 ลังเล 】แปลว่า: ก. ไม่แน่ใจ, ยังตัดสินใจไม่ได้, เช่น ลังเลใจไม่รู้ว่าจะไปดีหรือ
ไม่ไปดี.
【 ลังสาด 】แปลว่า: /ดู ลางสาด./
【 ลัชชา 】แปลว่า: [ลัด–] น. ความละอาย, ความกระดาก. (ป., ส.).
【 ลัชชี 】แปลว่า: [ลัด–] น. ผู้มีความละอาย, ผู้มีความกระดาก. (ป.; ส. ลชฺชินฺ).
【 ลัญจ์ 】แปลว่า: [ลัน] น. สินบน, สินจ้าง, ของกํานัล. (ป.).
【 ลัญจกร, ลัญฉกร 】แปลว่า: ลันจะกอน, ลันฉะกอน น. ตรา (สําหรับใช้ตีหรือประทับ),
ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชลัญจกร เช่น ประทับพระราชลัญจกร.
(ป.).
【 ลัญฉน์, ลัญฉะ 】แปลว่า: [ลัน, ลันฉะ] น. รอย, เครื่องหมาย, พิมพ์, ตรา (ที่ตีหรือประทับแล้ว).
(ป.).
【 ลัฐิ, ลฐิกา 】แปลว่า: [ลัดถิ, ลัดถิกา] น. ไม้เท้า, ไม้ถือ; ลําต้น, หน่อ; ต้นตาล.
(ป. ลฏฺ??, ลฏฺ??กา).
【 ลัด ๑ 】แปลว่า: ก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยาย
หมายถึงการกระทําซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทํา
ตามปรกติ เช่น เรียนลัด.
【 ลัดนิ้วมือ 】แปลว่า: น. เวลาชั่วงอนิ้วมือแล้วดีดออก, โดยปริยายหมายความ
ว่าเร็วฉับพลัน, ชั่วประเดี๋ยวเดียว, เช่น ชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ถึง.
【 ลัดเลาะ 】แปลว่า: ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า
ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่ง
กีดขวางหรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก,
เลาะลัด ก็ว่า.
【 ลัดแลง 】แปลว่า: ก. ลัดหลีกไป.
【 ลัดวงจร 】แปลว่า: (ไฟฟ้า) ก. ลักษณะที่วงจรไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
มีตัวนําซึ่งมีความต้านทานตํ่ากว่าความต้านทานของวงจร
ไฟฟ้านั้นมากมาแตะพาด เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าจํานวน
มากไหลผ่านตัวนําที่มาแตะพาดนั้น ทําให้เกิดความร้อนสูง
มากจนเกิดไฟไหม้ได้ เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร.
【 ลัด ๒ 】แปลว่า: ก. ผลิออก, แตกออก, (ใช้แก่ต้นไม้ที่เริ่มตั้งตัวผลิใบอ่อน) เช่น
ต้นไม้ลัดใบ.
【 ลัดเนื้อ 】แปลว่า: ว. ค่อยมีเนื้อมากขึ้น (ใช้แก่แผล), ค่อยอ้วนขึ้น.
【 ลัดา 】แปลว่า: [ลัดดา] น. ลดา. (ป., ส. ลตา).
【 ลัทธ์ 】แปลว่า: ว. ได้แล้ว. (ป.; ส. ลพฺธ).
【 ลัทธิ 】แปลว่า: น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือ
และปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม
ลัทธิทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
【 ลัน 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาไหล ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่เหลือข้อไว้ด้านหนึ่ง
ที่ปากกระบอกมีงาแซง, กะลัน ก็เรียก.
【 ลั่น 】แปลว่า: ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ
ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น;
ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง
เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย
คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
【 ลั่นกุญแจ 】แปลว่า: ก. ใส่กุญแจ.
【 ลั่นไก 】แปลว่า: ก. เหนี่ยวไกปืนให้นกสับลงที่แก๊ป, ลั่นนก ก็ว่า.
【 ลั่นฆ้อง 】แปลว่า: ก. ตีฆ้อง.
【 ลั่นดาล 】แปลว่า: ก. ลงสลัก, ขัดกลอน.
【 ลั่นนก 】แปลว่า: ก. ลั่นไก.
【 ลั่นปาก, ลั่นวาจา 】แปลว่า: ก. ให้คํามั่น.
【 ลันเต 】แปลว่า: (ถิ่น–จันทบุรี, ระยอง) น. ต้นมหาหงส์. /(ดู มหาหงส์)./
【 ลันเตา 】แปลว่า: น. ถั่วลันเตา./ (ดู ถั่วลันเตา ที่ถั่ว ๑)./
【 ลันไต 】แปลว่า: น. ชื่อเสื่อซึ่งสานด้วยหวายตะค้าเป็นซี่ ๆ.
【 ลั่นถัน 】แปลว่า: (โบ) น. งิ้วประเภทหนึ่ง, งิ้ว; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า
จีนลั่นถัน.
【 ลั่นทม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล/ Plumeria/ วงศ์ Apocynaceae
เช่น ชนิด /P. acutifolia/ Poir. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม,
จําปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จําปาลาว, อีสานเรียก จําปา,
ปักษ์ใต้เรียก จําปาขอม.
【 ลันทวย 】แปลว่า: ว. ระทวย, อ่อน.
【 ลันโทม 】แปลว่า: ก. น้อมลง, ก้มลง. (ข. ลํโทน).
【 ลับ ๑ 】แปลว่า: ก. ถูให้คม เช่น ลับมีด.
【 ลับปาก, ลับฝีปาก 】แปลว่า: ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปากไว้คอยท่า.
(ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
【 ลับสมอง 】แปลว่า: ก. ฝึกฝนใช้สติปัญญา.
【 ลับ ๒ 】แปลว่า: ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ
หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ,
มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
【 ลับกาย, ลับตัว 】แปลว่า: ว. เพิ่งออกไปหยก ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินลับกายไป เขาลับตัว
ไปเมื่อกี้นี้เอง.
【 ลับตา 】แปลว่า: ว. มิดชิดหรือห่างไกลจนพ้นสายตา.
【 ลับลมคมใน 】แปลว่า: ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน
ต้องสืบสวนต่อไป.
【 ลับล่อ, ลับ ๆ ล่อ ๆ 】แปลว่า: ว. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ, ไม่เห็นถนัด.
【 ลับลี้ 】แปลว่า: ว. ลึกซึ้งเหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น
เก็บของซ่อนไว้เสียลับลี้จนตนเองหาไม่พบ, ลี้ลับ ก็ว่า.
【 ลับแล 】แปลว่า: น. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้ง
ขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตา
คนภายนอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่า
จะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.
【 ลับหน้า 】แปลว่า: (โบ) ก. ล่วงลับไปแล้ว, ตายแล้ว.
【 ลับหลัง 】แปลว่า: ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
【 ลับหู 】แปลว่า: ว. ไม่ได้ยินถึง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลับตา เป็น ลับหูลับตา.
【 ลับหูลับตา 】แปลว่า: ว. พ้นหูพ้นตา เช่น แอบให้เงินในที่ลับหูลับตา ไปให้
ลับหูลับตา.
【 ลัพธ์ 】แปลว่า: ว. ที่ได้แล้ว; จํานวนที่ได้จากการคํานวณเรียกว่า ผลลัพธ์ เช่น
๒๒ ลบด้วย ๘ ได้ผลลัพธ์เท่ากับ ๑๔. (ส.; ป. ลทฺธ).
【 ลัพธิ 】แปลว่า: น. การได้. (ส.; ป. ลทฺธิ).
【 ลัภ 】แปลว่า: ก. ได้. (ป., ส.).
【 ลัภนะ 】แปลว่า: [ลับพะ–] น. การได้. (ป., ส.).
【 ลัภย์ 】แปลว่า: ว. พึงได้, ควรได้. (ส.; ป. ลพฺภ).
【 ลัมพ์ 】แปลว่า: ก. ห้อย, ย้อย. (ป., ส.).
【 ลัย, ลัย– 】แปลว่า: [ไล, ไลยะ–] น. จังหวะ (ใช้แก่ดนตรี); ที่อาศัย โดยมากมักเติม
อุปสรรคข้างหน้า เช่น อาลัย; การหายไป โดยมากมักเติม
อุปสรรคข้างหน้า เช่น วิลัย บรรลัย. (ส.).
【 ลัยกาล 】แปลว่า: [ไลยะกาน] น. เวลาแตกดับ, เวลาทําลาย. (ส. ลยกาล).
【 ลัยคต 】แปลว่า: [ไลยะคด] ว. ถึงความแตกดับ, อันตรธานไป. (ส. ลยคต).
【 ลา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Equus asinus/ ในวงศ์ Equidae
ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว
ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
【 ลา ๒ 】แปลว่า: น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า
ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
【 ลา ๓ 】แปลว่า: ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย
หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลา
พักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าว
พระภูมิ ลาของที่บนไว้.
【 ลาข้าวพระ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือประนม
กล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
【 ลาตาย 】แปลว่า: น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้าอาบ
ศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวาย
บังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สํานักพระราชวัง เป็นการ
กราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ.
【 ลาบวช 】แปลว่า: ก. นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาผู้ใหญ่ที่นับถือเพื่อลาไปบวช.
【 ลาพรรษา 】แปลว่า: (ปาก) ก. ออกพรรษา.
【 ลาโรง 】แปลว่า: ก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ,
(ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทํามา เช่น เขาลาโรง
จากการเมืองแล้ว.
【 ลาลับ 】แปลว่า: ก. จากไปโดยไม่กลับมาอีก.
【 ลาโลก 】แปลว่า: ก. จากโลกไป, ตาย.
【 ลาสิกขา 】แปลว่า: ก. ลาสึก, ลาจากเพศสมณะ.
【 ลาออก 】แปลว่า: ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก
การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
【 ลา ๔ 】แปลว่า: ว. เตี้ย เช่น เกยลา กี๋ลา เตียงลา แท่นลา.
【 ลา ๕ 】แปลว่า: ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน, (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา
รักลา.
【 ล่า 】แปลว่า: ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น
ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ
เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย
ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น
ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่
กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ
แตกล่า.
【 ล่าช้า 】แปลว่า: ว. ช้ามาก.
【 ล่าทัพ 】แปลว่า: ก. ถอยทัพ.
【 ล้า ๑ 】แปลว่า: ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของ
มากจนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า.
【 ล้า ๒ 】แปลว่า: ว. ช้าไม่ทันคนหรือไม่ทันเหตุการณ์เป็นต้น เช่น วัฒนธรรมล้า
สังคมล้า.
【 ล้าเต้ 】แปลว่า: ว. ช้าเป็นที่ลำดับสุดท้าย เช่น เขาเข้าเส้นชัยกันหมดแล้ว
ยังล้าเต้อยู่.
【 ล้าสมัย 】แปลว่า: ว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กําลังนิยมกัน เช่น
เขาเป็นคนล้าสมัย.
【 ล้าหลัง 】แปลว่า: ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น
ความคิดล้าหลัง.
【 ลาก 】แปลว่า: ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป
ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลาก
ดิน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ,
เช่น เอาผ้าซิ่นไหมมานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่
ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น
รถลาก.
【 ลากข้าง 】แปลว่า: ก. เขียนสระอาลงข้างหลังพยัญชนะ. น. เครื่องหมายสระอา.
【 ลากคอ 】แปลว่า: ก. จับตัว, ดึงตัว, เช่น ลากคอเข้าตะราง.
【 ลากตัว 】แปลว่า: ก. ใช้อำนาจหรือกำลังบังคับเอาตัวมา.
【 ลากเส้น 】แปลว่า: ก. ตีเส้น, ขีดเส้น.
【 ลากเสียง 】แปลว่า: ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
【 ลากหนามจุกช่อง 】แปลว่า: (สํา) ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวางไม่ให้
คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย.
【 ลากษา 】แปลว่า: [ลาก–] น. ครั่ง. (ส.; ป. ลาขา).
【 ลาขา 】แปลว่า: น. ครั่ง. (ป.; ส. ลากฺษา).
【 ลาง ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย
เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี
แมงมุมตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
【 ลางสังหรณ์ 】แปลว่า: น. ลางที่ดลใจทำให้เชื่อว่าอาจจะมีเหตุดีหรือเหตุร้ายเกิดขึ้น
เช่น จิ้งจกตกมาตายต่อหน้า เชื่อว่าเป็นลางสังหรณ์จะทำให้
เกิดเหตุร้าย.
【 ลาง ๒ 】แปลว่า: น. หมาก, ขนุน เรียกว่า หมากลาง. (ไทยใหญ่).
【 ลาง ๓ 】แปลว่า: น. นกกะลาง.
【 ลาง ๔ 】แปลว่า: ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
【 ลางที 】แปลว่า: ว. บางที.
【 ลางเนื้อชอบลางยา 】แปลว่า: น. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง;
(สํา) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง.
【 ล่าง 】แปลว่า: ว. อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งที่อ้างถึง, ถัดไปข้างใต้ เช่น
พื้นล่าง ชั้นล่าง ข้างล่าง อยู่ล่าง.
【 ล้าง 】แปลว่า: ก. ทําให้หมดสิ้นไปโดยใช้สิ่งเช่นนํ้าหรือไฟเป็นต้น และมีกรรมวิธี
ต่าง ๆ เช่น กวาดล้าง ชะล้าง ชําระล้าง ล้างกลิ่น ล้างคาว ล้างถู,
โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฆ่าล้างโคตร
สงครามล้างชาติ.
【 ล้างคอ 】แปลว่า: ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ
ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อ
ล้างรสขื่นของเหล้า.
【 ล้างคอมะพร้าว 】แปลว่า: ก. ดึงทางหรือรกที่แห้งคาคอมะพร้าวออกเพื่อให้มะพร้าวตกจั่น.
【 ล้างแค้น 】แปลว่า: ก. แก้แค้นโดยทำร้ายร่างกายหรือทำลายล้างชื่อเสียงของผู้
ที่ทำให้ตนแค้น.
【 ล้างซวย 】แปลว่า: ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง
ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญ
ล้างซวย.
【 ล้างท้อง 】แปลว่า: ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ
ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้าง
กระเพาะทางสายยางนั้น.
【 ล้างบาง 】แปลว่า: ก. ฆ่าทิ้งจนหมดบาง.
【 ล้างบาป 】แปลว่า: น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือศาสนา
คริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือศาสนา
คริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำศักดิ์สิทธิ์
ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาปเพื่อรับ
เข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
【 ล้างปาก 】แปลว่า: ก. เรียกการกินของหวานเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายหลังกินอาหารคาว
ว่า กินล้างปาก.
【 ล้างป่าช้า 】แปลว่า: ก. ขุดศพทั้งหมดในป่าช้าขึ้นมาเผา.
【 ล้างผลาญ 】แปลว่า: ก. ทําลายให้ฉิบหาย.
【 ล้างไพ่ 】แปลว่า: ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้ว
รวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
【 ล้างฟิล์ม, ล้างรูป 】แปลว่า: ก. นำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปแช่ลงในสารละลายเคมีเพื่อให้รูป
ปรากฏขึ้นบนฟิล์ม.
【 ล้างมือ 】แปลว่า: ก. เลิกยุ่งเกี่ยวอีกต่อไป เช่น ล้างมือจากธุรกิจ ล้างมือจาก
การเมือง.
【 ล้างยา 】แปลว่า: ก. ทำลายฤทธิ์ยา, ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม, โดยเชื่อกันว่าอาหาร
หรือผลไม้บางอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมได้.
【 ล้างโลก 】แปลว่า: ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก
หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
【 ล้างสต๊อก 】แปลว่า: ก. ลดราคาสินค้าเพื่อจำหน่ายให้หมด.
【 ล้างสมอง 】แปลว่า: ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือของ
ตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง
สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้
วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
【 ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ 】แปลว่า: ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้าศพก่อนเผา.
【 ล้างหนี้ 】แปลว่า: ก. ชำระหนี้ให้หมด.
【 ล้างหู 】แปลว่า: ก. ทำเป็นลืมเสียว่าเคยได้ยินเรื่องหรือถ้อยคำที่ระคายหู.
【 ล้างอาถรรพ์, ล้างอาถรรพณ์ 】แปลว่า: ก. ทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้คุณไสยที่ถูกกระทำหรือ
แก้อำนาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป.
【 ล้างอาย 】แปลว่า: ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
【 ลางคัล 】แปลว่า: น. ไถ (เครื่องทํานา). (ส.; ป. นงฺคล).
【 ลางงิด 】แปลว่า: น. ฟ้า, สวรรค์. (ช.).
【 ลางลิง 】แปลว่า: /ดู กระไดลิง ๒./
【 ลางสาด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Lansium domesticum/ Pelleg. ในวงศ์ Meliaceae
ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม, ลังสาด ก็เรียก, พันธุ์
เปลือกหนายางน้อยเรียก ลองกอง.
【 ลางาด, ล้างาด 】แปลว่า: น. เย็น, เวลาเย็น, ละงาด ก็ใช้.
【 ลาเง็ด 】แปลว่า: น. เจ้า, แม่ทัพ. (ช.).
【 ลาช, ลาชะ, ลาชา 】แปลว่า: [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา
ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
【 ลาญ 】แปลว่า: ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า.
(ตะเลงพ่าย).
【 ลาญทัก 】แปลว่า: (โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก
ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).
【 ลาด 】แปลว่า: ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง
สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ
เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
【 ลาดเขา 】แปลว่า: น. ภูมิประเทศชายเขาที่ไม่ถึงกับราบ แต่ก็ไม่ชัน.
【 ลาดตระเวน 】แปลว่า: ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วย
ลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด
ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง
มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ
คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
【 ลาดทวีป 】แปลว่า: น. ที่ลาดสูงชันต่อจากขอบไหล่ทวีปลงไปสู่ทะเลลึก.
【 ลาดเท 】แปลว่า: น. พื้นผิวที่เอียงลาดจากบริเวณที่สูงกว่าไปสู่บริเวณที่ตํ่ากว่า.
【 ลาดพระบาท 】แปลว่า: น. พรมทางสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของ
พระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็น
ทางทรงพระดำเนินของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงด้วย.
【 ลาดยาง 】แปลว่า: น. เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือ
ทรายเป็นต้นว่า ถนนลาดยาง.
【 ลาดเลา 】แปลว่า: น. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อน
จับการพนัน.
【 ล้าต้า 】แปลว่า: น. คนถือบัญชีเรือสําเภา. (จ.).
【 ล่าเตียง, ล้าเตียง 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้ง
ผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ.
【 ลาน ๑ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว;
ในทางกีฬาหมายถึง สนามที่เล่นกีฬา, คู่กับ ลู่.
【 ลานบิน 】แปลว่า: น. เรียกทรงผมผู้ชายแบบหนึ่งที่ตัดข้างล่างสั้นเกรียนข้างบน
ราบเสมอกันว่า ผมลานบิน; โดยปริยายหมายถึงตำแหน่ง
หน้าที่การงาน เช่น ไม่มีลานบินจะลง หาลานบินลงไม่ได้.
【 ลาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Corypha/ วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล
ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด /C. umbraculifera/ L.
ปลูกตามวัด, ชนิด /C. lecomtei/ Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล
อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
【 ลาน ๓ 】แปลว่า: น. เหล็กแบนที่ม้วนไว้แล้วคลายตัวออก เกิดกําลังดันให้ตัวจักร
หมุน เช่น ลานตะเกียง ลานนาฬิกา, เรียกตะเกียงตั้งชนิดไขลาน
ให้ใบพัดหมุนเป่าลมไล่ควัน และช่วยให้ไฟสว่างนวลว่า ตะเกียงลาน.
【 ลาน ๔ 】แปลว่า: ก. อาการที่ตาลายเพราะมีมากเหลือที่จะดูเหลือที่จะคิด เรียกว่า
【 ลานตา. 】แปลว่า: ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน
เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
【 ล่าน 】แปลว่า: ว. น่วม, นุ่ม, (ใช้แก่ผลไม้).
【 ล้าน ๑ 】แปลว่า: น. จํานวน ๑๐ แสน.
【 ล้าน ๒ 】แปลว่า: ว. ลักษณะของหัวที่ไม่มีผมมาแต่กำเนิดหรือผมร่วงแล้วไม่ขึ้น
อีก, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ภูเขาหัวล้าน.
【 ลาบ 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อดิบสับให้ละเอียด ผสมด้วย
เครื่องปรุงมีมะนาว พริก น้ำปลาหรือปลาร้า เป็นต้น, ถ้าใส่เลือด
วัวหรือเลือดหมู เรียกว่า ลาบเลือด.
【 ลาป– ๑ 】แปลว่า: [ลาปะ–, ลาบ–] น. นกมูลไถ. (ป.).
【 ลาป– ๒ 】แปลว่า: [ลาปะ–, ลาบ–] น. การพูด, การออกเสียง. (ป., ส.).
【 ลาพอน 】แปลว่า: น. ชันชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองนวล สำหรับใช้พอนเรือเป็นต้น,
ชันพอน ก็ว่า.
【 ลาพุ 】แปลว่า: น. นํ้าเต้า. (ป.; ส. ลาพุ, อลาพุ).
【 ลาเพ, ลาเพา 】แปลว่า: (กลอน) ก. เล้าโลม, โลม.
【 ลาภ 】แปลว่า: [ลาบ] น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้,
การได้, กําไร).
【 ลาภงอก 】แปลว่า: (กฎ) น. ผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้น.
【 ลาภปาก 】แปลว่า: น. ของกินที่มักได้มาโดยไม่คาดคิด.
【 ลาภมิควรได้ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่งกระทํา
เพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้
มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้
มาเพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
【 ลาภลอย 】แปลว่า: น. สิ่งที่ได้มาโดยไม่คาดคิด.
【 ลาม 】แปลว่า: ก. แผ่ขยายต่อเนื่องออกไป เช่น ไฟลาม แผลลาม; กระทํากิริยา
ไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูงเรื่อยไปต่อบุคคลเมื่อเห็นว่าเขาไม่ถือ.
【 ลามปาม 】แปลว่า: ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปามไปถึง
บุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง
แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยา
ลามปามผู้ใหญ่.
【 ลามลวน 】แปลว่า: ก. ลวนลาม.
【 ลามเลีย 】แปลว่า: ก. อาการที่เปลวไฟแลบลามไปที่อื่น.
【 ล่าม ๑ 】แปลว่า: น. ผู้แปลคําพูดจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยทันที.
【 ล่าม ๒ 】แปลว่า: ก. ผูกโดยวิธีให้เคลื่อนย้ายได้บ้างในที่จํากัด เช่น ล่ามโซ่ ล่ามวัว
ล่ามควาย.
【 ลามก 】แปลว่า: [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ
ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
【 ลาย ๑ 】แปลว่า: น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น
สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี
มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ
แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย
เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย
เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย
หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว
ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็นจุด ๆ
เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียก
ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทําเป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
【 ลายก้นหอย 】แปลว่า: น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย,
ลายถักที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย.
【 ลายขัด 】แปลว่า: น. ลายสานที่ขัดกันยกหนึ่งข่มหนึ่ง.
【 ลายคราม 】แปลว่า: น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม
เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึง
ของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ,
เช่น รุ่นลายคราม.
【 ลายจม 】แปลว่า: น. ลวดลายที่ไม่เด่นชัด.
【 ลายเฉลวโปร่ง 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของหลายอย่าง
เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วยไม้ไผ่
จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา
หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
【 ลายเฉลว ๕ มุม 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานตะกร้อ จะสานด้วย
หวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ วิธีสานเหมือนกับสานตาเฉลวโปร่ง แต่
ใช้หวาย ๕ เส้นเรียงกันเป็นแถบและสานให้มีลักษณะเป็นตา
ห้าเหลี่ยม.
【 ลายเฉลว ๖ มุม 】แปลว่า: น. ลายเฉลวโปร่ง.
【 ลายเฉลว ๘ มุม 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานพื้นเก้าอี้ พื้นเปล เป็นต้น
สานด้วยหวาย วิธีสานวางตอกเป็นคู่ ๆ สานตอกแต่ละคู่เป็นลาย
ขัดทุก ๆ คู่และสานให้มีลักษณะเป็นตาสี่เหลี่ยมแล้วร้อยตอกขัด
มุมทั้ง ๔ มุม จะเกิดเป็นตาแปดเหลี่ยม.
【 ลายเซ็น 】แปลว่า: (ปาก) น. ลายมือชื่อ.
【 ลายดุน 】แปลว่า: น. ลวดลายที่ดุนให้นูนขึ้นมาจากด้านหลังหรือเหยียบพื้น
คือกดให้ต่ำลงกว่าตัวลาย.
【 ลายตา 】แปลว่า: ก. อาการที่มองเห็นของจำนวนมาก ๆ หรือของที่มีแสงสีต่าง ๆ
จนทำให้ตาลายหรือพร่าไป เช่น มองเห็นแสงสีมาก ๆ จนลาย
ตา การประดับไฟตามท้องถนนในงานเฉลิมพระชนมพรรษา
ดูลายตาไปหมด.
【 ลายเทศ 】แปลว่า: น. ผ้าลายซึ่งมีดอกดวงเป็นแบบของต่างประเทศ โดยเฉพาะ
ของอินเดีย.
【 ลายแทง 】แปลว่า: น. ข้อความที่เป็นปริศนาแฝงคำตอบชี้แหล่งขุมทรัพย์.
【 ลายน้ำ 】แปลว่า: น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทําขึ้นพร้อม ๆ กับ
กระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับ
แสงสว่าง.
【 ลายน้ำทอง 】แปลว่า: น. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสี
บนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.
【 ลายเบา 】แปลว่า: น. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้น
หินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบา
บนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.
【 ลายพร้อย 】แปลว่า: ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลาย
พร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
【 ลายพระบาท 】แปลว่า: น. ลายมงคล ๑๐๘ ประการในพระพุทธบาทจำลอง.
【 ลายพระหัตถ์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ลายมือ; จดหมาย.
【 ลายไพรกลม 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ
เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมีตอกซังเป็น
เส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น
จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.
【 ลายไพรกาว 】แปลว่า: น. ลายไพรยักคิ้ว.
【 ลายไพรคีบ 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ตุ้น
ลอบยืน ลอบนอน เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๒ เส้นขัดตอก
ไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืนเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน.
【 ลายไพรยักคิ้ว 】แปลว่า: น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง
กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะ
ใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวน
คู่ สานโดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒
เส้น แล้วเอาตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น
ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วย
วิธีเดียวกัน สานไพล่ไปไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.
【 ลายมัดหวาย 】แปลว่า: น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย.
【 ลายมือ 】แปลว่า: น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลายมือ ก็ว่า,
ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมีลักษณะ
แสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลายมือตัวเอง
ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึงจดหมายของ
เจ้านายด้วย.
【 ลายมือชื่อ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อของบุคคลซึ่งบุคคลนั้นเขียนลงไว้ในหนังสือหรือ
เอกสารเพื่อรับรองหรือแสดงว่าตนเป็นผู้ทําหนังสือหรือเอกสาร
นั้น และหมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่ง
บุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตนด้วย; (ปาก) ลายเซ็น.
【 ลายไม้ 】แปลว่า: น. ลายอย่างลายไม้ของผ้าม่วงหรือแพรเกิดเพราะทออัดแน่น.
【 ลายลักษณ์ 】แปลว่า: น. ตัวหนังสือ, เครื่องหมายเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร
อียิปต์โบราณ.
【 ลายลักษณ์อักษร 】แปลว่า: น. เครื่องหมายขีดเขียนเป็นตัวหนังสือ เช่น เรื่องนี้ควร
บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.
【 ลายสอง 】แปลว่า: น. ลายสานหรือลายขัดที่ยก ๒ ข่ม ๒; ชื่อผ้าชนิดหนึ่งทอ
เป็นลายเช่นนั้น.
【 ลายสือ 】แปลว่า: (โบ) น. ตัวหนังสือ.
【 ลายเส้น 】แปลว่า: น. รูปภาพที่เขียนขึ้นด้วยเส้นดินสอหรือเส้นปากกา จะเป็นสี
หรือขาวดำก็ได้, วิธีเขียนภาพโดยใช้เส้นดินสอหรือเส้นปากกา.
【 ลายอย่าง 】แปลว่า: น. ลายตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบเช่นลายถ้วยชาม ลายผ้า,
ลายที่ส่งไปเป็นตัวอย่างให้ทำเข้ามาขาย.
【 ลายฮ่อ 】แปลว่า: น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบด้วย
เส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น
อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ
ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
【 ลาย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อยุงหลายชนิดในสกุล /Aedes/ วงศ์ Culicidae ที่พบเป็น
สามัญ ในบ้าน เช่น ชนิด /A. aegypti/ ผนังด้านล่างของส่วน
ท้องมีเกล็ด เกล็ดตามลําตัวสีขาวเป็นแถบลายต่าง ๆ ตัดกับ
เกล็ดพื้นสีดําหรือสีนํ้าตาลแก่ ตัวเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปาก
สั้นกว่าตัวผู้ ก้นแหลม ปลายขาไม่มีแผ่นบางระหว่างเล็บ
เกาะดูดเลือดโดยลําตัวขนานกับพื้น บางชนิดนําโรค เช่น
โรคไข้เลือดออก มาสู่คน.
【 ลาย ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยนํ้าเค็มกาบคู่ชนิด/ Paphia undulata/ ในวงศ์ Veneridae
เปลือกเรียบ พื้นสีออกเหลือง ลายสีเทาโคลน พบมากตามพื้น
โคลนปนทราย กินได้.
【 ลาย ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. ทำนองเพลงที่ใช้ตีโปงลาง.
【 ล้าย 】แปลว่า: ก. ไล้, บ้าย, ทา.
【 ลายพาดกลอน 】แปลว่า: /ดู โคร่ง ๑./
【 ลายสอ 】แปลว่า: น. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์/ Colubridae/ ตัวสีเหลือง มีลายดําทั่วตัว
อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ดุแต่ไม่มีพิษ
ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน (/Xenochrophis/
/piscator/) ลายสอหัวเหลือง (/Sinonatrix percarinata/).
【 ลายสาบ 】แปลว่า: น. ชื่องูหลายชนิดในสกุล /Rhabdophis/ วงศ์ Colubridae เป็นงูขนาด
เล็ก ตัวยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร เกล็ดมีสัน ไม่มีพิษ เช่น ลาย
สาบคอแดง (/R. subminiatus/) ลายสาบดอกหญ้า (/R. stolatus/).
【 ลาลด 】แปลว่า: ก. ลาลส.
【 ลาลนะ 】แปลว่า: [ลาละ–] น. การเคล้าคลึง, การยั่วเย้า, การเล้าโลม. (ส.).
【 ลาลศ 】แปลว่า: [ลาลด] ก. ลาลส.
【 ลาลส 】แปลว่า: [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย; เศร้าโศก, เสียใจ, เขียนว่า ลาลด
หรือ ลาลศ ก็มี. (ป., ส. ลาลสา).
【 ลาลา 】แปลว่า: น. นํ้าลาย. (ป., ส.).
【 ลาว ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี
พรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียก
เต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
【 ลาว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ลาว เช่น ลาว
กระแซ ลาวดวงเดือน ลาวดําเนินทราย ลาวเจริญศรี.
【 ลาวก 】แปลว่า: น. คนเกี่ยวข้าว. (ป., ส.).
【 ลาวัณย์ 】แปลว่า: น. ความงาม, ความน่ารัก. (ส.).
【 ลาวา 】แปลว่า: น. หินหนืดใต้เปลือกโลกที่พุพุ่งไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟ.
(อ. lava).
【 ลาสนะ 】แปลว่า: [ลาสะ–] น. การฟ้อนรํา, การเต้นรํา. (ป., ส.).
【 ลำ ๑ 】แปลว่า: น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน
เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ
เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
【 ลำกระโดง 】แปลว่า: น. ลํานํ้าขนาดเล็กที่ขุดจากลํานํ้าขนาดใหญ่เพื่อชักนํ้า
เข้านาเข้าสวน, ลำประโดง ก็ว่า.
【 ลำกล้อง 】แปลว่า: น. ส่วนของปืนที่มีลักษณะยาวกลวง, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลํากล้องกล้องโทรทรรศน์.
【 ลำแข้ง 】แปลว่า: น. กำลังความสามารถในการทำมาหากินด้วยตนเองไม่ต้อง
พึ่งใคร เช่น หากินด้วยลำแข้งของตนเองจนมั่งมี, ปลีแข้ง ก็ว่า.
【 ลำธาร 】แปลว่า: น. ทางนํ้าที่ไหลจากเขา.
【 ลำประโดง 】แปลว่า: น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำ
เข้านาเข้าสวน, ลำกระโดง ก็ว่า.
【 ลำพู่กัน 】แปลว่า: น. เรียกสิ่งที่ปรากฏเป็นลําขาวไปในท้องฟ้าเวลาเช้าหรือ
เย็นถือว่าเป็นลางบอกเหตุ.
【 ลำมาบ 】แปลว่า: น. พื้นที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งมีทางนํ้าไหลอยู่ข้างล่าง.
【 ลำราง 】แปลว่า: น. ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือ
ระบายน้ำออกจากนา.
【 ลำลาบ 】แปลว่า: น. ธารน้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลมาลงมาบ.
【 ลำเสา 】แปลว่า: น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นลำยาว ไม่มีหัว เป็นไตแข็ง ทำให้มี
อาการอักเสบ เป็นไข้ ปวด อ่อนเพลีย มักขึ้นตามขาและหลัง.
【 ลำแสง 】แปลว่า: น. แสงที่พุ่งออกไปเป็นลำ.
【 ลำไส้ 】แปลว่า: น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ
ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย
ดูดซึมอาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
【 ลำไส้เล็ก 】แปลว่า: น. ลำไส้ที่ส่วนต้นต่อกับกระเพาะอาหารส่วนปลายต่อกับ
ลำไส้ใหญ่ โดยธรรมดามีขนาดเล็กกว่าลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่
ย่อยและดูดซึมอาหาร.
【 ลำไส้ใหญ่ 】แปลว่า: น. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก
มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้
เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.
【 ลำหนัก 】แปลว่า: ว. ลํ่าสัน, แข็งแรง.
【 ลำห้วย 】แปลว่า: น. ทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ในแอ่งที่เรียกว่า ห้วย.
【 ลำหักลำโค่น 】แปลว่า: (สำ) น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด
หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำ
โค่นดี. ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด
หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้
ต้องใช้วิธีลำหักลำโค่น.
【 ลำ ๒ 】แปลว่า: น. เพลง, บทกลอน, เช่น ร้องส่งลำ ร้องแก้ลำ ละครพูดสลับลำ.
【 ลำตัด 】แปลว่า: น. การละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน
มีลูกคู่และกลองรํามะนาประกอบ.
【 ลำนำ 】แปลว่า: น. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บท
ดอกสร้อย.
【 ลำ ๓ 】แปลว่า: (โบ) ว. ลํ้า, ยิ่ง, ล้น.
【 ล่ำ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อแน่นแข็ง.
【 ล่ำสัน 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างล่ำและแข็งแรง (มักใช้แก่ผู้ชาย); โดยปริยาย
หมายความว่า มีลักษณะเป็นแก่นสาร ใช้ว่า เป็นล่ำเป็นสัน.
【 ล้ำ 】แปลว่า: ก. ล่วงเข้าไปเกินเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเขตแดน ล้ำแดนข้าศึก.
ว. ยิ่ง, ล้น, เช่น สูงล้ำ ปัญญาล้ำ.
【 ล้ำยุค, ล้ำสมัย 】แปลว่า: ว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียนมีความคิด
ล้ำยุค.
【 ล้ำลึก 】แปลว่า: ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง, ลึกล้ำ ก็ว่า.
【 ล้ำเลิศ 】แปลว่า: ว. ดียิ่ง, ประเสริฐ.
【 ล้ำเส้น 】แปลว่า: ว. เกินขอบเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเส้นเขตแดน เขาชอบทำงาน
ล้ำเส้นคนอื่น.
【 ล้ำหน้า 】แปลว่า: ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้าเพื่อนฝูง
อยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า
ทํางานลํ้าหน้า.
【 ลำเข็ญ 】แปลว่า: ว. ลําบาก, ยากแค้น. (ปรัดเล).
【 ลำแข 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Baccaurea macrophylla/ Muell. Arg. ในวงศ์
Euphorbiaceae ผลคล้ายมะไฟ เปลือกหนามาก รสหวาน,
รํามะแข ก็เรียก.
【 ลำเค็ญ 】แปลว่า: ว. ลําบาก, ยากแค้น, เช่น เขามีชีวิตลำเค็ญ.
【 ลำเคือง 】แปลว่า: ว. เคืองแค้น.
【 ลำงาด 】แปลว่า: น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ละงาด ลางาด หรือ ล้างาด ก็มี.
(ข. ลงาจ).
【 ลำเจียก 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกต้นตัวผู้ของเตยทะเล (/Pandanus odoratissimus/ L.)
ในวงศ์ Pandanaceae ขอบใบและกาบหุ้มดอกมีหนาม ดอกมี
กลิ่นหอม, ปาหนัน ก็เรียก, พายัพเรียก เกี๋ยงคำ.
【 ลำเจียกหนู 】แปลว่า: /ดู การะเกด./
【 ลำดวน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Melodorum fruticosum/ Lour. ในวงศ์ Annonaceae
ดอกคล้ายดอกนมแมว แต่กลีบหนาแข็ง กลิ่นหอม.
【 ลำดับ 】แปลว่า: น. อันดับ, การเรียงกันไว้ให้เป็นระเบียบตามตําแหน่ง, เช่น
นั่งตามลำดับ เข้าแถวตามลำดับไหล่ เรียงตามลำดับอักษร.
【 ลำนัก 】แปลว่า: ว. งาม.
【 ลำเนา 】แปลว่า: น. แนว, แถว, แถบ, ถิ่น.
【 ลำบอง 】แปลว่า: น. เม็ดตุ่มที่เกิดตามผิวเนื้อด้วยพิษร้อนหรือพิษอักเสบ.
【 ลำบาก 】แปลว่า: ว. เดือดร้อนเพราะถูกทรมานกายหรือใจ เช่น ตกอยู่ในฐานะ
ลำบาก ตกที่นั่งลำบาก, ยาก เช่น ทำลำบาก ตัดสินใจลำบาก,
ไม่สะดวก เช่น ทางลำบาก.
【 ลำบุ 】แปลว่า: (โบ) น. ปืนใหญ่, เขียนเป็น ละบู ก็มี.
【 ลำปำ 】แปลว่า: (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ปลากระแห. /(ดู กระแห, กระแหทอง)./
【 ลำพวน 】แปลว่า: น. เศษฟางและข้าวลีบ.
【 ลำพอง 】แปลว่า: ว. ฮึกห้าว, แสดงอาการหยิ่งยโส, เช่น ทำลำพอง ใจลำพอง.
【 ลำพัง 】แปลว่า: ว. เฉพาะตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น, เช่น อยู่กันตามลำพัง, ฝ่ายเดียว
เช่น ต้องต่อสู้กับข้าศึกแต่ลำพัง.
【 ลำพู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Sonneratia caseolaris/ Engl. ในวงศ์ Sonneratiaceae
ขึ้นในที่นํ้ากร่อย มีรากงอกขึ้นเหนือพื้นดิน.
【 ลำเพ็ญ 】แปลว่า: ว. ตรงเหมาะส่วน.
【 ลำเพา 】แปลว่า: ว. โฉมงาม.
【 ลำแพง 】แปลว่า: น. หอก. (ข. ลํแพง).
【 ลำแพน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล /Sonneratia/ วงศ์ Sonneratiaceae คือ
ชนิด /S. alba/ Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด /S. griffithii/ Kurz และ
/S. ovata/ Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.
【 ลำแพน ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง มักสานด้วยตอกไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ แบน ๆ
ซึ่งเรียกว่า ตอกปื้น ที่ทําด้วยหวายหรือเส้นใยเปลือกไม้ก็มี ใช้ปูหรือ
ทําเป็นแผงใช้กั้นหรือกรุเป็นฝาเรือนเป็นต้น เรียกว่า เสื่อลําแพน.
【 ลำโพง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Datura metel/ L. ในวงศ์ Solanaceae ผลมีหนาม
เมล็ดกินเมา, พันธุ์ดอกซ้อนเรียก ลําโพงกาสลัก (/D. metel/ L. var.
/fastuosa/ Safford); เรียกสิ่งซึ่งมีรูปคล้ายดอกลําโพง เช่นเครื่องช่วย
ขยายเสียงที่มีลักษณะปากบานเหมือนดอกลำโพง.
【 ลำโพง ๒ 】แปลว่า: น. กลอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ขยายเสียง.
【 ลำไพ่ 】แปลว่า: น. เงินหรือผลประโยชน์ที่หาได้เป็นพิเศษนอกเหนือจากรายได้
ประจํา.
【 ลำภุขัน 】แปลว่า: น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตก
สาขาออกไป ๔ ทิศ, สลัดได ฝักเพกา แง่งขิง นพศูล หรือ นภศูล
ก็เรียก.
【 ลำมะลอก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ชนิด / Dendrocalamus longispathus/ Kurz ในวงศ์
Gramineae ลําใหญ่ ไม่มีหนาม.
【 ลำมะลอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดมีหนอง เรียกว่า ฝีลำมะลอก
หรือ หัวลำมะลอก.
【 ลำมาด 】แปลว่า: น. รูปทรง, สัณฐาน. (เทียบ ข. มาท).
【 ลำเมาะ 】แปลว่า: ว. มีใจอ่อน, เพลีย.
【 ลำเมียบ 】แปลว่า: ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ละเมียบ ลําเลียบ
หรือ ลําเวียน ก็ว่า.
【 ลำยอง 】แปลว่า: น. ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร. ว. สวย, งาม.
【 ลำยา 】แปลว่า: /ดู ลําไย (๒)./
【 ลำไย 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Dimocarpus longan/ Lour. ในวงศ์ Sapindaceae
ผลกลม รสหวาน, พันธุ์ที่เป็นไม้เถาเรียก ลําไยเครือ (/D. longan/ Lour.
var. /obtusus/ Leenh.). (๒) (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด
/Mangifera caesia/ Jack ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกสีม่วงอ่อน, บินยา
หรือ ลํายา ก็เรียก.
【 ลำลอง 】แปลว่า: ว. ตามสบาย, ตามอําเภอใจ, (ใช้แก่การแต่งกายซึ่งไม่ต้องให้เป็นไป
ตามแบบ) เช่น แต่งตัวลำลอง.
【 ล่ำลา 】แปลว่า: ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.
【 ลำลาบ ๑ 】แปลว่า: น. ธารนํ้าไหลสายเล็ก ๆ.
【 ลำลาบ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเปื่อยลามเป็นทางไป.
【 ลำลำ 】แปลว่า: ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น ลำลำจะวิวาทกันอยู่แล้ว,
รำรำ หรือ ร่ำร่ำ ก็ว่า.
【 ลำลึก 】แปลว่า: ก. ระลึก.
【 ล้ำลึก 】แปลว่า: ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง, ลึกล้ำ ก็ว่า.
【 ลำเลาะ 】แปลว่า: ก. ลัด, เลียบ.
【 ลำเลิก 】แปลว่า: ก. กล่าวทวงบุญคุณ, กล่าวคําตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดี
ที่ตนทําไว้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สํานึกถึงบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น.
【 ลำเลียง 】แปลว่า: ก. ขนถ่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ลำเลียงอาหาร ลำเลียง
อาวุธ. ว. ที่ขนถ่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น เรือลำเลียง.
【 ลำเลียบ 】แปลว่า: ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ละเมียบ ลําเมียบ
หรือ ลําเวียน ก็ว่า.
【 ลำเวียง 】แปลว่า: น. ค่ายระเนียด, คูเมือง.
【 ลำเวียน 】แปลว่า: ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ละเมียบ ลําเมียบ
หรือ ลําเลียบ ก็ว่า.
【 ลำอุด 】แปลว่า: ก. อ่อนน้อม, โน้ม, น้อม. (ข. ลํอุต).
【 ลำเอียก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Coix aquatica/ Roxb. ในวงศ์ Gramineae
คล้ายอ้อ ขึ้นในแม่นํ้า.
【 ลำเอียง 】แปลว่า: ก. เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่วางตัวเป็นกลาง, ไม่เที่ยงธรรม.
【 ลำโอง 】แปลว่า: น. สัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวกกวาง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ลิ 】แปลว่า: ก. แตกบิ่นไปเล็กน้อย, อาการที่ของเป็นปุ่มเป็นแง่แตกบิ่นไป
เล็กน้อย, เช่น พระกรรณพระพุทธรูปลิไปข้างหนึ่ง ขอบถ้วย
ลิไปนิดหนึ่ง.
【 ลิกไนต์ 】แปลว่า: น. ถ่านหินชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลเข้มหรือสีดําแกมนํ้าตาล มีปริมาณ
สารไฮโดรคาร์บอนสูงกว่าถ่านหินธรรมดา ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
แต่ให้ปริมาณความร้อนตํ่ากว่าถ่านหินธรรมดา. (อ. lignite).
【 ลิกษา 】แปลว่า: น. เหา, ไข่เหา. (ส.).
【 ลิกุจ 】แปลว่า: [–กุด] น. มะหาด. (ป.).
【 ลิกู 】แปลว่า: น. ตำแหน่งพระมเหสีที่ ๔ ของกษัตริย์ชวาในวงศ์อสัญแดหวา.
【 ลิเก 】แปลว่า: น. การแสดงชนิดหนึ่งมาจากชาวมลายู, เรียก ยี่เก ก็มี.
【 ลิขนะ 】แปลว่า: [–ขะนะ] น. การขีด, การเขียน. (ป.).
【 ลิขสิทธิ์ 】แปลว่า: [ลิกขะสิด] น. สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม
ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่ผู้เดียว
ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตน
ได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณาไม่ว่า
ในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไป
ทำเช่นว่านั้นด้วย. (อ. copyright).
【 ลิขิต 】แปลว่า: น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์).
ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
【 ลิง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ
คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด
ที่มีหาง เช่น วอก (/Macaca mulatta/) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น
กอริลลา (/Gorilla gorilla/). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข
เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
【 ลิงชิงหลัก 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนประจําหลักของตน
และต้องวิ่งสับหลักกันไปมา มีผู้เล่นอีกคนหนึ่งยืนอยู่ตรงกลาง
เรียกว่า ลิง คอยชิงหลักของคนอื่นในขณะที่วิ่งสับหลักกัน, ถ้า
ใช้ลูกบอลโยนแทนการวิ่งสับหลัก เรียกว่า ลิงชิงบอล.
【 ลิงได้แก้ว 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่,
วานรได้แก้ว ก็ว่า.
【 ลิงตกต้นไม้ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตามอาจพลาดพลั้งใน
วิชานั้นได้.
【 ลิงนั่งแป้น 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจ
อะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง.
【 ลิงล้างก้น 】แปลว่า: (สำ) น. ผู้ที่ทำอะไรลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ ไป แต่ไม่เรียบร้อย.
【 ลิงหลอกเจ้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ.
【 ลิง ๒ 】แปลว่า: /ดู นางเกล็ด./
【 ลิงค์ 】แปลว่า: น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า
คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ
เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).
【 ลิงจุ่น 】แปลว่า: /ดู ลิงลม./
【 ลิงลม 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Nycticebus coucang/ ในวงศ์
Lorisidae หางสั้นมาก นิ้วชี้ของขาหน้าเล็กมากดูคล้ายติ่ง
นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและ
ขาหลังสั้นแต่แข็งแรง ตาโต ขนนุ่มมีลายสีนํ้าตาล ออกหากิน
ในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินผลไม้ แมลง และสัตว์
เล็ก ๆ, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
【 ลิงโลด 】แปลว่า: ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความ
ดีอกดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอล
ได้เขาก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ลิด 】แปลว่า: ก. เด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง เช่น ลิดกิ่ง ลิดใบ.
【 ลิดตีนปู 】แปลว่า: ก. เด็ดตีนปูออกหมด, โดยปริยายหมายถึงตัดกําลังไป
ทีละน้อย ๆ.
【 ลิดรอน 】แปลว่า: ก. ตัดทอน เช่น ลิดรอนอํานาจ ลิดรอนสิทธิ์.
【 ลิต 】แปลว่า: ก. ฉาบทา. (ป. ลิตฺต; ส. ลิปฺต).
【 ลิตมัส 】แปลว่า: [ลิดมัด] น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งลักษณะเป็นผงสีม่วง
ละลายนํ้าได้ สารละลายลิตมัสให้สีแดงเมื่อถูกกรด แต่ให้สีนํ้าเงิน
เมื่อถูกด่าง ใช้ประโยชน์ในเคมีวิเคราะห์และใช้ทดสอบสภาพกรด
หรือด่างของดิน. (อ. litmus).
【 ลิตร 】แปลว่า: น. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์
เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณี เท่ากับ ๑ ทะนานหลวง.
(ฝ. litre).
【 ลิเทียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๓ สัญลักษณ์ Li เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเงิน เบาที่สุดในบรรดาธาตุโลหะที่เป็นของแข็ง หลอมละลายที่
๑๘๐.๕?ซ. (อ. lithium).
【 ลิ่น 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Manidae ที่พบในประเทศไทย
มี ๒ ชนิด คือ ชนิด /Manis javanica/ ตัวยาว หางยาว เกล็ด
หนาแข็ง ม้วนตัวได้ กินมดและปลวก และชนิด /M. pentadactyla/
ตัวเล็กกว่าและมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก.
【 ลิ้น 】แปลว่า: น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง
ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก
เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้;
โดยปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม
ที่อยู่ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่
ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง
อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า
เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด,
ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
【 ลิ้นกบ 】แปลว่า: น. ไม้แบน ๆ สำหรับประกับใบกบไสไม้ให้แน่น.
【 ลิ้นกระด้างคางแข็ง 】แปลว่า: ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียง
ไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน);
มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
【 ลิ้นกระดาน 】แปลว่า: น. ไม้ที่ทำเป็นลิ้นยื่นยาวไปตามตัวไม้สำหรับประกบกับไม้
อีกแผ่นหนึ่งที่ทำเป็นร่องยาวเพื่อให้เข้ากันแน่นสนิท.
【 ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเชลแล็ก 】แปลว่า: (สำ) ว. ประจบประแจง, สอพลอ.
【 ลิ้นกระบือ ๑ 】แปลว่า: น. ไม้แผ่นบาง ๆ สําหรับสอดเพลาะกระดานเป็นระยะ ๆ
ให้สนิทแข็งแรง.
【 ลิ้นกระบือ ๒ 】แปลว่า: น. ฝิ่นดิบที่ทํามาจากเหนือ เรียกว่า ฝิ่นลิ้นกระบือ.
【 ลิ้นกับฟัน 】แปลว่า: (สำ) น. การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคน
ที่ใกล้ชิดกัน เช่น ระหว่างสามีกับภรรยาหรือคนที่ทำงาน
ร่วมกัน.
【 ลิ้นไก่ 】แปลว่า: น. ติ่งบนเพดานอ่อนที่ยื่นลงมาในช่องปาก.
【 ลิ้นไก่สั้น 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.
【 ลิ้นแข็ง 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ไม่ชัด, อาการที่พูดภาษาอื่น
ให้ชัดได้ยาก.
【 ลิ้นคับปาก 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดไม่ชัดเหมือนดังลิ้นโตจนคับปาก.
【 ลิ้นจุกปาก 】แปลว่า: น. ภาวะที่ลิ้นถูกดันออกมาจากตำแหน่งปรกติที่อยู่ในปาก
เนื่องจากลิ้นบวมหรืออวัยวะที่อยู่ใต้ลิ้นดันลิ้นขึ้นมา.
【 ลิ้นชัก 】แปลว่า: น. ส่วนที่สอดอยู่ในช่องด้านหน้าตู้และโต๊ะเป็นต้น รูปคล้าย
หีบไม่มีฝา ชักออกและผลักเข้าได้.
【 ลิ้นตก 】แปลว่า: น. ภาวะที่ลิ้นไม่สามารถทำงานได้เป็นปรกติเนื่องจากการ
หมดสติเป็นต้น.
【 ลิ้นตวัดถึงใบหู, ลิ้นตวัดถึงหู 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้.
【 ลิ้นตะกวด 】แปลว่า: (สำ) ว. ที่พูดจากลับกลอกเชื่อถือไม่ได้.
【 ลิ้นทอง 】แปลว่า: ว. ที่พูดจาคล่องแคล่วไพเราะน่าฟัง.
【 ลิ้นทูต 】แปลว่า: ว. มีศิลปะในการเจรจาให้สำเร็จประโยชน์และเป็นที่พอใจ
ด้วยกันทุกฝ่าย.
【 ลิ้นปี่ 】แปลว่า: น. ส่วนปลายล่างของกระดูกอกที่ย้อยลงมาในผนังหน้าท้อง
ส่วนบน.
【 ลิ้นพัน 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดเร็วรัวจนจับความไม่ได้.
【 ลิ้นไม่มีกระดูก 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้.
【 ลิ้นยาวถึงตาตุ่ม 】แปลว่า: (สำ) ว. ประจบสอพลอ.
【 ลิ้นลม 】แปลว่า: น. ถ้อยคําที่คมคาย, สํานวน.
【 ลิ้นลังกา 】แปลว่า: ว. ที่พูดรัวเร็ว; (สํา) พูดพล่อย ๆ จนไม่น่าเชื่อถือ.
【 ลิ้นลาย 】แปลว่า: ว. ที่พูดสับปลับ.
【 ลิ้นสองแฉก 】แปลว่า: (สำ) ว. ที่พูดสับปลับเชื่อถือไม่ได้.
【 ลิ้นห้อย 】แปลว่า: ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล
หนักมาก.
【 ลิ้นหีบ 】แปลว่า: น. ขอบด้านในของตัวหีบทำเพื่อให้ฝาครอบแน่นสนิท.
【 ลิ้นอ่อน 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ชัดเจน, อาการที่พูดภาษา
อื่นได้ง่าย.
【 ลิ้นกระบือ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ลิ้น./
【 ลิ้นกระบือ ๒ 】แปลว่า: /ดูใน ลิ้น./
【 ลิ้นกระบือ ๓ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Orchidaceae คือ ชนิด /Phalaenopsis/
/violacea/ Teijsm. et Binnend. ดอกเล็ก สีม่วง และชนิด /Hygrochilus/
/parichii/ (Veitch et Rchb.f.) Pfitz. ดอกโต สีเหลืองประม่วงแดงหรือ
สีม่วงแดง. (๒) /ดู กระบือเจ็ดตัว. (๓) ดู มะเดื่อ./
【 ลินโกรย 】แปลว่า: /ดู มงโกรย (๑)./
【 ลิ้นควาย 】แปลว่า: /ดู ตาเดียว./
【 ลิ้นงูเห่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด /Blepharis/
/maderaspatensis/ Heyne ดอกเล็ก สีขาวลายม่วง และชนิด
/Clinacanthus siamensis/ Brem. ดอกใหญ่เป็นหลอด สีแดงอมแสด.
【 ลินจง 】แปลว่า: น. ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล /Nymphaea,/ เลนจง ก็เรียก.
【 ลิ้นจะกวด 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ลิ้นจี่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Litchi chinensis/ Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae
ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทย
นางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี). ว. สีแดงเข้ม
คล้ายเปลือกลิ้นจี่ เรียกว่า สีลิ้นจี่. (จ. อินจี).
【 ลิ่นต้น 】แปลว่า: /ดู เกล็ดปลาช่อน./
【 ลิ้นทอง 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกรอด สีเหลืองหม่น ที่หัวมีสีเหลืองจัด.
(พจน. ๒๔๙๓). ว. ที่พูดจาคล่องแคล่ว ไพเราะน่าฟัง.
【 ลิ่นทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ทะเลจําพวกหอยในชั้น Polyplacophora ลําตัวเป็นรูปไข่
ผ่าซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันเหมือน
กระเบื้องมุงหลังคา อยู่ตามโขดหินชายทะเล มีหลายสกุล เช่น สกุล
/Chiton, Acanthochiton,/ หอยแปดเกล็ด ก็เรียก.
【 ลิ้นทะเล 】แปลว่า: น. กระดองปลาหมึกชนิดหนึ่ง สําหรับใช้ทํายาและขัดสิ่งของ
เป็นต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ลิ้นมังกร 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Passiflora edulis/ Sims ในวงศ์ Passifloraceae
ดอกสีขาวอมฟ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Sansevieria thyrsiflora/ Thunb.
ในวงศ์ Agavaceae ดอกสีขาว กลางคืนมีกลิ่นหอม. (๓) ชื่อไม้ล้มลุก
ชนิด /Antirrhinum majus/ L. ในวงศ์ Scrophulariaceae ดอกมีหลายสี.
【 ลินลา, ลิ้นลา 】แปลว่า: ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
【 ลินลากระทุ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ลีลากระทุ่ม ก็เรียก.
【 ลินลากระบี่ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, กระบี่ลีลา ก็เรียก.
【 ลินสีด 】แปลว่า: น. ชื่อเมล็ดของต้นแฟลกซ์ มีลักษณะแบนรูปไข่ ยาว ๓–๔ มิลลิเมตร
สีนํ้าตาล เรียบเป็นมัน. (อ. linseed); เรียกนํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดของ
ต้นแฟลกซ์ว่า นํ้ามันลินสีด มีลักษณะข้น เหนียว เมื่อถูกอากาศจะ
แข็งตัว ใช้ประโยชน์ในการผสมสี หมึกพิมพ์ นํ้ามันชักเงา เป็นต้น.
【 ลิ้นเสือ ๑ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Erycibe expansa/ Wall. ex G. Don ในวงศ์
Convolvulaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม. (๒) /ดู ตีนตุ๊กแก (๑)./
【 ลิ้นเสือ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล /Pseudorhombus/ วงศ์ Bothidae
ลำตัวแบนข้างมาก ตามีลักษณะเหมือนปลาตาเดียวแต่ตาทั้ง ๒ ข้าง
อยู่ทางซีกซ้ายของหัว พื้นลําตัวสีนํ้าตาลและส่วนมากมีจุดประสีเข้ม
เป็นวงแหวนเด่น เรียกรวม ๆ กันโดยทั่วไปว่า ใบขนุน ลิ้นควาย หรือ
ลิ้นหมา.
【 ลิ้นหมา ๑ 】แปลว่า: /ดู ตาเดียว./
【 ลิ้นหมา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแตนชนิดหนึ่ง. /(ดู แตน)./
【 ลิ่นฮื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Labeo jordani/ ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกัน
ในชื่อ /Cirrhinus molitorella/ ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่
ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน
ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
【 ลินิน 】แปลว่า: น. ผ้าทอด้วยใยป่านชนิดหนึ่งที่มาจากต้นแฟลกซ์. (อ. linen).
【 ลิบ, ลิบ ๆ 】แปลว่า: ว. สุดสายตา (ใช้เฉพาะไกลกับสูง) เช่น ไกลลิบ สูงลิบ ห่างกันลิบ
ทิ้งกันลิบ มองเห็นยอดปราสาทลิบ ๆ.
【 ลิบลับ 】แปลว่า: ว. พ้นสายตาไป เช่น อยู่เสียไกลลิบลับ.
【 ลิบลิ่ว 】แปลว่า: ว. ไกลหรือสูงสุดสายตา เช่น ไกลลิบลิ่ว สูงลิบลิ่ว.
【 ลิปดา 】แปลว่า: น. มาตราวัดมุม ได้แก่เศษ ๑ ใน ๖๐ ขององศา แบ่งออกเป็น ๖๐
พิลิปดา. (ส.).
【 ลิปต์ 】แปลว่า: ก. ฉาบทา. (ส.; ป. ลิตฺต).
【 ลิปสติก 】แปลว่า: น. เครื่องสําอางชนิดหนึ่งสําหรับทาริมฝีปากให้เป็นสีต่าง ๆ มักเป็น
สีแดงหรือชมพู โดยมากทําเป็นแท่งเล็ก ๆ. (อ. lipstick).
【 ลิปิ 】แปลว่า: น. ตัวหนังสือ. (ป., ส.).
【 ลิปิกร, ลิปิการ 】แปลว่า: น. เสมียน, ผู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือ. (ป., ส.).
【 ลิฟต์ 】แปลว่า: น. ห้องเล็ก ๆ แขวนอยู่กับลวดสลิง เคลื่อนที่ด้วยพลังไฟฟ้า สําหรับ
นําคนหรือของขึ้นลงในอาคารสูง ๆ. (อ. lift).
【 ลิเภา 】แปลว่า: น. ชื่อเฟินเถาหลายชนิดในสกุล /Lygodium/ วงศ์ Schizaeaceae
เปลือกเถาใช้สานเป็นกระเป๋าและเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น ชนิด
/L. circinatum/ (Burm.f.) Sw., /L. salicifolium/ Presl, ย่านลิเภา
หญ้าลิเภา หรือ หญ้ายายเภา ก็เรียก.
【 ลิ่ม 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด
ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก
แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้าย
ลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บ
รักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมา
แข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
【 ลิ่มเลือด 】แปลว่า: น. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์
เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้วแข็งเป็นลิ่ม
เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิดจากการ
ผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรง
ได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอยเช่นที่สมอง ทำให้เป็นอัมพาต
ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.
【 ลิ้ม 】แปลว่า: ก. ชิม, ลองรสดูด้วยลิ้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลิ้มรสความลําบาก.
【 ลิมป์, ลิมปนะ 】แปลว่า: ก. ฉาบ, ทา, ลูบไล้. (ป.).
【 ลิลิต 】แปลว่า: น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและ
ร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว.
【 ลิลิตดั้น 】แปลว่า: น. ลิลิตที่ใช้ร่ายดั้นขึ้นต้น แล้วใช้โคลงดั้นกับร่ายดั้นสลับ
ระคนอยู่ในเรื่องเดียวกัน เช่น ลิลิตยวนพ่าย.
【 ลิลิตสุภาพ 】แปลว่า: น. ลิลิตที่ใช้ร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณขึ้นต้น แล้วใช้โคลง
สุภาพกับร่ายสุภาพหรือร่ายโบราณสลับระคนอยู่ในเรื่อง
เดียวกัน เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตเตลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต.
【 ลิว 】แปลว่า: ก. เอามีดเฉือนหนังทั้งแผ่นให้เป็นเส้นเพื่อทําเชือกหนัง; ร่อน,
ขว้าง, ปา.
【 ลิ่ว ๑ 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไปโดยเร็วจากตํ่าไปหาสูง หรือจากใกล้ไปหาไกล, เคลื่อน
ไปโดยเร็วด้วยอํานาจกระแสลมหรือกระแสนํ้า. ว. อาการที่ตรงเข้า
มาหรือออกไปในลักษณะเช่นนั้น เช่น ตรงลิ่วเข้าไป.
【 ลิ่ว ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่เห็นไกลลิบหรือสูงลิบ เช่น เรืออยู่ไกลลิ่ว ภูเขาสูงลิ่ว.
【 ลิสง 】แปลว่า: น. ถั่วลิสง. /(ดู ถั่วลิสง ที่ ถั่ว ๑)./
【 ลี 】แปลว่า: ก. ไป.
【 ลี่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้
ทํารังด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้าย
รังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้าย
กับมีหางชี้ ที่พบได้บ่อยอยู่ในสกุล /Crematogaster/ วงศ์ Formicidae
คือ ชนิด /C. dohrni/ หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
【 ลี่ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นซี่ ๆ ถักติดกันเป็นผืน
สำหรับปักล้อมดักปลาที่ทางน้ำไหล.
【 ลี่ ๓ 】แปลว่า: ว. อาการที่ลู่เอนไปข้างหลัง, ไม่กาง, (ใช้แก่หูของหมาเป็นต้น)
เช่น หมาหูลี่. ก. แล่น เช่น ขนานลี่ ว่า เรือแล่น.
【 ลี้ ๑ 】แปลว่า: ก. หลีกหนีไป, หลบหนีไป.
【 ลี้ภัย 】แปลว่า: ก. หลีกหนีภัย, หลบหนีภัย, เช่น ลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยสงคราม.
【 ลี้ลับ 】แปลว่า: ว. ลึกซึ้ง เหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น
บ้านอยู่ในซอกซอยลี้ลับทำให้หายาก; ลับลี้ ก็ว่า.
【 ลี้ ๒ 】แปลว่า: น. มาตราวัดระยะทางของจีน ๑ ลี้ ยาวประมาณครึ่งกิโลเมตร.
【 ลีซอ 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของ
ประเทศไทย.
【 ลีบ 】แปลว่า: ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบ
เมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดย
ปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือ
เพื่อเข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
【 ลีลา 】แปลว่า: น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ
พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท
ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะ
ก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์
ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน
ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด
ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ
แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
【 ลีลากระทุ่ม 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ลินลากระทุ่ม ก็เรียก.
【 ลีลาศ 】แปลว่า: ก. เต้นรําแบบตะวันตกบางชนิด เช่น ออกไปลีลาศ.
【 ลีฬหา 】แปลว่า: [ลีนหา] น. การเยื้องกราย; (แบบ) ความงาม, ความสง่า. (ป.).
【 ลึก 】แปลว่า: ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป
จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป
จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก;
ตรงข้ามกับ ตื้น.
【 ลึกซึ้ง 】แปลว่า: ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง.
【 ลึกลับ 】แปลว่า: ว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะ
สืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่อง
ลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.
【 ลึกล้ำ 】แปลว่า: ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งถึง เช่น ปัญญาลึกล้ำ จิตมนุษย์
สุดลึกล้ำ, ล้ำลึก ก็ว่า.
【 ลึกลือ 】แปลว่า: ว. ลึกมาก, ไกลมาก, เช่น เก็บของในที่ลึกลือ จอดรถในที่
ลึกลือ.
【 ลึงค์ 】แปลว่า: น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอก
ให้รู้ว่าคํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ
เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
【 ลึงค์นายพราน 】แปลว่า: /ดู เขนงนายพราน./
【 ลืด 】แปลว่า: น. ลูกของลืบ.
【 ลื่น 】แปลว่า: ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม
ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน
พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น,
โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราว
จนจับไม่ติด.
【 ลื้น, ลื้น ๆ 】แปลว่า: ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ
เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.
【 ลืบ 】แปลว่า: น. ลูกของลื่อ, หลานของเหลน.
【 ลืม 】แปลว่า: ก. หายไปจากความจํา, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก, เช่น เขาลืมความหลัง
ลืมชื่อเพื่อน, ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น เช่น ลืมทำ
การบ้าน ลืมรดน้ำต้นไม้.
【 ลืมกลืน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง
ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวน
กับกะทิอย่างหน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
【 ลืมคอน, ลืมรัง 】แปลว่า: ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
【 ลืมตน 】แปลว่า: ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตนไป
ชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง
ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น
เหลิงอำนาจจนลืมตน.
【 ลืมต้น 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ผลไม้มีส้มโอเป็นต้น ซึ่งเก็บเอามาผึ่งไว้นานวัน เพื่อ
ให้เปลือกเหี่ยวจะได้คลายความเปรี้ยวจัด เรียกว่า ลูกไม้ลืมต้น.
【 ลืมตัว 】แปลว่า: ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธเขา
ลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน,
เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา
ลืมตัว.
【 ลืมตา 】แปลว่า: ก. เปิดกลีบตา, ใช้ตรงข้ามกับ หลับตา; โดยปริยายหมาย
ความว่า เกิด เช่น ตั้งแต่ลืมตาดูโลกก็สบายมาตลอด.
【 ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก 】แปลว่า: ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตา
อ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
【 ลืมเลือน 】แปลว่า: ก. ลืมไปบ้างหรือค่อย ๆ ลืมไปจากความทรงจำ เช่น เรื่องนี้
ลืมเลือนไปบ้างแล้ว.
【 ลืมหูลืมตา 】แปลว่า: ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น
รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ
หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
【 ลือ 】แปลว่า: ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่า
จะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). (ข.).
【 ลือชา, ลือชาปรากฏ 】แปลว่า: ก. มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้กันทั่วไป.
【 ลือชื่อ 】แปลว่า: ว. มีชื่อโด่งดัง.
【 ลือลั่น 】แปลว่า: ก. โด่งดังมาก เช่น ได้ยินเสียงลือลั่น.
【 ลือสาย 】แปลว่า: น. คําเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์, มักใช้ว่า ฦๅสาย.
【 ลื่อ 】แปลว่า: น. ลูกของเหลน.
【 ลื้อ ๑ 】แปลว่า: น. ไทยพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา.
【 ลื้อ ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน
หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ
ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
【 ลุ 】แปลว่า: ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง
เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น
ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
【 ลุกะโทษ, ลุแก่โทษ 】แปลว่า: ก. สารภาพผิดยอมให้ลงโทษตามแต่จะเห็นสมควร.
【 ลุแก่โทสะ, ลุโทสะ 】แปลว่า: ก. บันดาลโทสะ, โกรธมาก, เช่น เขาทำร้ายผู้อื่นด้วยลุ
แก่โทสะ.
【 ลุแก่อำนาจ, ลุอำนาจ 】แปลว่า: ก. ตกอยู่ในอำนาจ, ใช้อำนาจ, เช่น ลุอำนาจโทสะ.
【 ลุล่วง 】แปลว่า: ก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้
ลุล่วงไปด้วยดี.
【 ลุโสดา 】แปลว่า: ก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส,
รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่
ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.
【 ลุก 】แปลว่า: ก. เคลื่อนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน เช่น ลุกจากเก้าอี้ ลุกจากที่นอน,
ตั้งขึ้น เช่น ขนลุก; เคลื่อนออกจาก เช่น ลุกแต่สุโขทัย. (จารึกสยาม);
ไหม้โพลงขึ้น เช่น ไฟลุก.
【 ลุกลาม 】แปลว่า: ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
【 ลุกฮือ 】แปลว่า: ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลมพัดก็
ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น
ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน
กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน
รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
【 ลุกลน 】แปลว่า: ก. ทําโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะ
หล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูด
ลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.
【 ลุกลี้ลุกลน 】แปลว่า: ว. เร่งรีบอย่างไม่เป็นระเบียบ เช่น เขามีกิริยาลุกลี้ลุกลน เดินลุกลี้
ลุกลน.
【 ลุง ๑ 】แปลว่า: น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่,
คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.
【 ลุง ๒ 】แปลว่า: /ดู กร่าง./
【 ลุ้ง 】แปลว่า: น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด
สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง
และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น
ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้;
โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น
ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
【 ลุต 】แปลว่า: (แบบ) ก. ลบออก, ตัดออก. (ป. ลุตฺต; ส. ลุปฺต).
【 ลุท 】แปลว่า: (แบบ) น. นายพราน. ว. ดุร้าย, เหี้ยมโหด. (ป. ลุทฺท; ส. ลุพฺธ).
【 ลุทกะ 】แปลว่า: [ลุดทะกะ] น. นายพราน. (ป. ลุทฺทก; ส. ลุพฺธก).
【 ลุทธ์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. โลภ, อยากได้, มักได้. (ป.; ส. ลุพฺธ).
【 ลุ่น, ลุ่น ๆ 】แปลว่า: ว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น
พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น
คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ
ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.
【 ลุ่นตุ้น, ลุ่นโตง 】แปลว่า: ว. มีตอนปลายสุดหายเหี้ยนไปหมด เช่น นิ้วลุ่นตุ้น
หางลุ่นโตง.
【 ลุ้น 】แปลว่า: (ปาก) ก. เอาใจช่วยเต็มที่ เช่น นั่งลุ้นฟุตบอลอยู่ข้างสนาม,
สนับสนุน เช่น ลุ้นให้ได้ตำแหน่ง.
【 ลุปต์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ลบออก, ตัดออก. (ส.; ป. ลุตฺต).
【 ลุพธ์ 】แปลว่า: (แบบ) น. นายพราน. ก. โลภ, อยากได้, มักได้. (ส.; ป. ลุทฺธ).
【 ลุพธกะ 】แปลว่า: ลุบทะกะ น. นายพราน. (ส.; ป.ลุทฺทก).
【 ลุ่ม 】แปลว่า: ว. ตํ่า (ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับนํ้าที่ไหลท่วมได้หรือนํ้าขึ้นถึง)
เช่น ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม, ตรงข้ามกับ ดอน.
【 ลุ่ม ๆ ดอน ๆ 】แปลว่า: ว. สูง ๆ ต่ำ ๆ, ไม่สม่ำเสมอ, เช่น ที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ;
ไม่ราบรื่น เช่น ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ.
【 ลุ่มน้ำ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ลุ่มซึ่งมีแม่น้ำสำคัญและสาขาไหลผ่าน เช่น
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา.
【 ลุ่มลึก 】แปลว่า: ว. ลึกซึ้งมาก เช่น พระพุทธพจน์มีความหมายลุ่มลึก.
【 ลุ่มเล้า 】แปลว่า: ก. ละเล้า, เคล้าคลึง, คลอเคลีย.
【 ลุ่มหลง 】แปลว่า: ก. หมกมุ่น, มัวเมา, เช่น ลุ่มหลงในอบายมุข.
【 ลุ่มเนื้อ 】แปลว่า: ว. มีเนื้อที่เริ่มจะเน่า (มักใช้แก่เนื้อปลา) เช่น ปลาช่อนตัวนี้ลุ่มเนื้อ.
【 ลุมป์ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ปล้น, ทําลาย. (ป., ส.).
【 ลุมพี 】แปลว่า: /ดู กะลุมพี./
【 ลุมพู 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ขนาดใหญ่กว่านกพิราบ อาศัยตาม
ป่าสูง กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่นชนิด /Ducula aenea/ ลุมพูขาว
/(D. bicolor)/, กระลุมพู ก็เรียก.
【 ลุย 】แปลว่า: ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ
ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย
ตรงข้าม.
【 ลุยลาย 】แปลว่า: ก. แกะพื้นลายให้ลึกเป็นร่องระหว่างตัวลาย เช่น ใช้สิ่วลุยลาย.
【 ลุ่ย 】แปลว่า: ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่ง
ที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ
เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.
【 ลุ่ยหู 】แปลว่า: ว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้
ถูกกัดหูเสียจนหมด).
【 ลุ้ย 】แปลว่า: ก. พูดไม่ยับยั้ง.
【 ลุลาย 】แปลว่า: (แบบ) น. ควาย. (ป., ส.).
【 ลุสา 】แปลว่า: น. วันมะรืน. (ช.).
【 ลู่ ๑ 】แปลว่า: น. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬา
หมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.
【 ลู่ทาง 】แปลว่า: น. ลาดเลา, ช่องทาง, เช่น ดูลู่ทางทำมาหากิน ผู้ร้ายหาลู่ทาง
เข้าไปโจรกรรม.
【 ลู่ ๒ 】แปลว่า: ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสน
ลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
【 ลู่เข้า 】แปลว่า: (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์นูนไปแล้วจะเบนเข้า
หากัน. (อ. convergent).
【 ลู่ออก 】แปลว่า: (แสง) ก. อาการที่ลำแสงผ่านเลนส์เว้าไปแล้วจะถ่างออก
จากกัน. (อ. divergent).
【 ลูก 】แปลว่า: น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก,
คําที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์
กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ,
คําที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ
เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา;
เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้
ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคํา
พยางค์เดียวอันอาจทําให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติ
มักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มี
รูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ
ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือ
ยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก
ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
【 ลูกกก 】แปลว่า: น. ลูกหัวปี.
【 ลูกกรง 】แปลว่า: น. สิ่งซึ่งเรียงกันเป็นซี่ ๆ ของกรงหรือที่คุมขัง; สิ่งที่เป็นลูกตั้ง
สําหรับราวบันไดและสะพานเป็นต้น เช่น ลูกกรงบันได ลูกกรง
สะพาน ลูกกรงระเบียง.
【 ลูกกรด 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดที่ใช้กระสุนลูกกรด; ชื่อกระสุนชนิดหนึ่ง เล็กกว่า
กระสุนทั่ว ๆ ไป ปลอกทำด้วยโลหะ หัวกระสุนทำด้วยตะกั่ว
มีลูกปรายและดินปืนอยู่ข้างใน มีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก.
【 ลูกกรอก 】แปลว่า: น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือ
ในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่าจะให้คุณ
แก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
【 ลูกกระดุม 】แปลว่า: /ดู กระดุม./
【 ลูกกระเดือก 】แปลว่า: น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลําคอ
เหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย.
【 ลูกกระได 】แปลว่า: น. ลูกบันได.
【 ลูกกระพรวน 】แปลว่า: [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่
ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น,
กระพรวน พรวน หรือ ลูกพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน)
มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
【 ลูกกระแอม 】แปลว่า: น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่าง
ลายกระหนกเครือวัลย์. /(ดู กระแอม ๒)./
【 ลูกกรุง 】แปลว่า: ว. เรียกเพลงชนิดที่คนในกรุงหรือในเมืองนิยมว่า เพลงลูกกรุง.
【 ลูกกลอน 】แปลว่า: น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
【 ลูกกลิ้ง 】แปลว่า: น. เหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีนํ้าหนักมากใช้ลากให้กลิ้งทับดินให้ราบ,
เรียกสิ่งที่กลิ้งไปได้เพื่อประโยชน์ในการต่าง ๆ ว่า ลูกกลิ้ง เช่น
ลูกกลิ้งของช่างตัดเสื้อ.
【 ลูกกวาด 】แปลว่า: น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ
แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออมให้ค่อย ๆ
ละลายไปเอง.
【 ลูกกวิน 】แปลว่า: น. ห่วงร้อยสายรัดประคด, กระวิน หรือ ถวิน ก็ว่า.
【 ลูกกะจ๊อก, ลูกกะโล่, ลูกจ๊อก 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้ที่อ่อนแอสู้ใครไม่ได้.
【 ลูกกะแอ 】แปลว่า: น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ
หรือ ลูกแหง่ ก็เรียก.
【 ลูกกัลปพฤกษ์ 】แปลว่า: น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ข้างในสําหรับ
โปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ให้คน
สอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
【 ลูกกุญแจ 】แปลว่า: น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองเป็นต้น
สำหรับไขแม่กุญแจ.
【 ลูกเกด 】แปลว่า: น. ลูกองุ่นแห้งชนิดหนึ่ง.
【 ลูกเก็บ 】แปลว่า: น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น
กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
【 ลูกแก้ว 】แปลว่า: น.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะเป็นต้น,
ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลมทำ
ด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา;
ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
【 ลูกแก้วลูกขวัญ 】แปลว่า: น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
【 ลูกโกลน 】แปลว่า: [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อรองรับ
สิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
【 ลูกไก่ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง มีรูปเหมือนลูกไก่
ฝูงหนึ่ง, ดาวกัตติกา หรือ ดาวธงสามเหลี่ยม ก็เรียก.
【 ลูกไก่อยู่ในกำมือ 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือทางต่อสู้.
【 ลูกขนไก่ 】แปลว่า: (ปาก) น. ลูกแบดมินตัน.
【 ลูกขวัญ 】แปลว่า: น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกแก้วลูกขวัญ
ก็เรียก.
【 ลูกขวาน 】แปลว่า: น. ขวานขนาดเล็ก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ใช้เหน็บหลัง
เป็นอาวุธ.
【 ลูกขัด ๑ 】แปลว่า: น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก
โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง
อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่าง
ไปอีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะ
สั้นยาวเท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
【 ลูกขัด ๒ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้าซ้อนกัน
หลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับแกน
ที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
【 ลูกข่าง 】แปลว่า: น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วย
มือหรือด้วยเชือก.
【 ลูกข้าว 】แปลว่า: น. รวงข้าวที่เกิดออกจากตอต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว.
【 ลูกขุน 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกขุน ณ ศาลหลวง.
【 ลูกขุน ณ ศาลหลวง 】แปลว่า: (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า
ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม
แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดี
แล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมาย
ตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
【 ลูกขุน ณ ศาลา 】แปลว่า: (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมีตําแหน่งต่าง ๆ
มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.
【 ลูกขุนพลอยพยัก 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่เป็นเชิงประจบ
สอพลอเป็นต้น.
【 ลูกเขย 】แปลว่า: น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว.
【 ลูกครอก 】แปลว่า: น. ลูกปลาจําพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกชักครอก
ก็ว่า; (โบ) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย.
【 ลูกครึ่ง 】แปลว่า: น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ครึ่งชาติ ก็ว่า.
【 ลูกคลัก 】แปลว่า: น. ท่อนไม้สั้น ๆ เอาเชือกผูกกลางสําหรับขัดแร้วเป็นต้น
หรือใส่ในโอ่งในไหแล้วเอาเชือกผูกกับไม้คานหามไป.
【 ลูกคลื่น 】แปลว่า: ว. มีลักษณะสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นลอนอย่างคลื่น เช่น ถนน
สายนี้เป็นลูกคลื่น.
【 ลูกความ 】แปลว่า: (กฎ) น. ผู้มีคดีความซึ่งทนายความรับว่าความให้.
【 ลูกคอ 】แปลว่า: น. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.
【 ลูกคอก 】แปลว่า: น. ลูกวัวหรือควายที่เกิดจากแม่ที่เลี้ยงไว้ในคอก.
【 ลูกคัน 】แปลว่า: น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา
หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
【 ลูกคั่น 】แปลว่า: น. เครื่องประดับเป็นลูกกลม ๆ เป็นต้น ใช้คั่นระหว่าง
ตะกรุดหรือลูกประคำ.
【 ลูกค้า 】แปลว่า: น. ผู้ซื้อ เช่น ผู้ขายปลีกเป็นลูกค้าของผู้ขายส่ง, ผู้อุดหนุน
ในเชิงธุรกิจ เช่น ลูกค้าของธนาคาร.
【 ลูกคำ 】แปลว่า: น. เรียกคํา ๒ คําเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่าง
ไปจากคําเดิมว่า ลูกคําของคําตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคํา
ของคํา ลูก.
【 ลูกคิด 】แปลว่า: น. เครื่องคํานวณเลขของจีน ทําด้วยไม้เป็นต้น เป็นลูกกลม ๆ
ร้อยใส่ไว้ในราง.
【 ลูกคู่ 】แปลว่า: น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับ
พ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยาย
หมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่.
【 ลูกฆ้อง 】แปลว่า: น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วยฆ้องวงใหญ่.
【 ลูกจ้าง 】แปลว่า: น. ผู้รับจ้างทําการงาน; (กฎ) ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดย
รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.
【 ลูกจ้างชั่วคราว 】แปลว่า: (กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการประจำ
เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็น
ไปตามฤดูกาล.
【 ลูกจ้างประจำ 】แปลว่า: (กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ.
【 ลูกเจี๊ยบ 】แปลว่า: น. ลูกไก่ที่ยังไม่ผลัดขน.
【 ลูกช่วง 】แปลว่า: น. ผู้รับต่อไปอีกทอดหนึ่ง; เรียกผ้าที่ม้วนหรือห่อหญ้าเป็นต้น
ให้เป็นลูกกลมสําหรับใช้ในการเล่นช่วงชัย.
【 ลูกชะเนาะ 】แปลว่า: น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขัดบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการทำนั่งร้าน,
ชะเนาะ ก็เรียก.
【 ลูกชักครอก 】แปลว่า: น. ลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกครอก
ก็ว่า.
【 ลูกช้าง 】แปลว่า: ส. คําแทนชื่อคนซึ่งพูดกับเจ้าที่เป็นผีแทนคําว่า ข้าพเจ้า.
【 ลูกชิด 】แปลว่า: น. เนื้อในเมล็ดอ่อนของต้นตาวเชื่อมกินได้. /(ดู ตาว ๒, ต๋าว)./
【 ลูกชิ้น 】แปลว่า: น. เนื้อปลาหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่โขลกทําเป็นลูกกลม ๆ
แล้วลวกสําหรับทําของกิน.
【 ลูกชุบ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวกวน ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น
พริก มังคุด มะยม แล้วระบายสี และเคลือบด้วยวุ้นให้เป็นมัน.
【 ลูกแชร์ 】แปลว่า: น. ผู้เล่นแชร์ ยกเว้นเท้าแชร์.
【 ลูกซอง 】แปลว่า: น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลูกมีปลอกทำด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน
มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน มีดินปืนอยู่ตรงกลาง และมีเชื้อปะทุ
อยู่ก้นปลอก.
【 ลูกซัด ๑ 】แปลว่า: น. เมล็ดของต้นซัด (Trigonella foenum—graecum L.) ใช้ทำ
ยาได้ โบราณนิยมใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม.
【 ลูกซัด ๒ 】แปลว่า: น. ลูกแซ็ก.
【 ลูกแซ็ก 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีสากลชนิดหนึ่ง ใช้เขย่าทำเสียงประกอบเพลง
มักใช้แก่เพลงลาติน, ลูกซัด ก็ว่า.
【 ลูกโซ่ 】แปลว่า: น. ห่วงของโซ่, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ต่อเนื่องกัน
เช่นนั้น เช่น เรื่องราวเกี่ยวข้องโยงกันเป็นลูกโซ่.
【 ลูกดก 】แปลว่า: ว. มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า พ่อลูกดก แม่ลูกดก.
【 ลูกดอก 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กปลายแหลม มีพู่ข้างท้ายใช้หลอดเป่ายิงสัตว์,
เหล็กปลายแหลมมีด้ามเป็นไม้ มีหาง ใช้ปาไปที่เป้า.
【 ลูกดาล 】แปลว่า: น. เหล็กสำหรับไขดาลประตู มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบ.
【 ลูกดิ่ง 】แปลว่า: น. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึก
ของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกําแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่;
ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสําหรับตกกุ้ง; ตะกั่ว
ก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็น
อาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้าย
ดอกจําปาของว่าวจุฬา.
【 ลูกดิน 】แปลว่า: น. ดินปั้นกลมตากแห้งใช้เป็นลูกกระสุน.
【 ลูกดุม 】แปลว่า: /ดู กระดุม./
【 ลูกเด็กเล็กแดง, ลูกเล็กเด็กแดง 】แปลว่า: น. เด็กเล็ก ๆ หลายคน.
【 ลูกโดด 】แปลว่า: น. ลูกปืนที่ยิงออกไปทีละลูก.
【 ลูกตอด 】แปลว่า: น. การบรรเลงที่ทำเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทำนองเพลง.
【 ลูกตะกั่ว 】แปลว่า: (ปาก) น. ลูกปืน, กระสุนปืน.
【 ลูกตะเพรา 】แปลว่า: น. ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าว
เป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกันกระแทก.
【 ลูกตั้ง 】แปลว่า: น. ไม้ที่ตั้งเรียงกันอย่างลูกกรง.
【 ลูกตัว 】แปลว่า: น. ลูกแท้ ๆ ของพ่อหรือแม่, ลูกในไส้ ก็ว่า.
【 ลูกติด 】แปลว่า: น. ลูกที่ติดมากับผัวหรือเมีย, ถ้าติดผัวมา เรียกว่า ลูกติดพ่อ,
ถ้าติดเมียมา เรียกว่า ลูกติดแม่; ลูกที่ไม่ยอมห่างพ่อหรือแม่
ก็เรียกว่า ลูกติดพ่อ ลูกติดแม่.
【 ลูกติดท้อง 】แปลว่า: น. ลูกผัวเก่าที่ติดครรภ์มาก่อนจะได้กับผัวใหม่.
【 ลูกติดพัน 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น
นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.
【 ลูกตุ้ม 】แปลว่า: น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็นอาวุธ
หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของเพื่อ
คิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ
เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย
หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย;
ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง
ความเจริญเสียอีก.
【 ลูกตุ้มมะพร้าว 】แปลว่า: น. ลูกมะพร้าวเล็ก ๆ ที่เสียหล่นลงมา.
【 ลูกตุ้มเหล็ก 】แปลว่า: น. อาวุธที่คนจีนโบราณใช้ในการรบ, ชนิดที่มีหนามอย่าง
หนามทุเรียนโดยรอบ เรียกว่า ลูกตุ้มหนามทุเรียน.
【 ลูกเต้า 】แปลว่า: น. ลูกผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่.
【 ลูกเต้าเล้าอ่อน 】แปลว่า: น. ลูกเล็ก ๆ หลายคน เช่น เธอมีลูกเต้าเล้าอ่อน ไปไหนที
ก็ต้องอุ้มบ้างจูงบ้าง.
【 ลูกเต๋า 】แปลว่า: น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม
ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยาย
ใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยม
ลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า.
【 ลูกแตก 】แปลว่า: น. ลูกกระสุนที่มีดินปืนอย่างร้ายแรงอยู่ข้างใน เมื่อยิงหรือ
ขว้างไปจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ.
【 ลูกถ้วย 】แปลว่า: น. วัตถุทําด้วยกระเบื้องสําหรับใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า.
【 ลูกเถื่อน 】แปลว่า: น. ลูกช้างที่เกิดจากช้างเถื่อนในป่า.
【 ลูกแถว 】แปลว่า: น. เรียกพลทหารพลตํารวจเป็นต้น เช่น เรียกลูกแถวมาฝึก;
โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นลูกน้องเขา ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะ
สั่งการใด ๆ ได้เลย เช่น มีแต่พวกลูกแถวเท่านั้นจะช่วยอะไรได้.
【 ลูกทรพี 】แปลว่า: น. ลูกอกตัญญูที่ทำร้ายพ่อแม่ของตน.
【 ลูกทอย 】แปลว่า: น. ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นต้นเพื่อเหยียบขึ้นไป, เหล็กแหลม
หรือตะปูที่ตอกเข้ากับหุ่นขี้ผึ้งให้ติดกับแกนในสำหรับพยุงพิมพ์ดิน
ให้คงที่ในการหล่อโลหะเช่นพระพุทธรูป.
【 ลูกทัพฟ้า 】แปลว่า: (ปาก) น. ทหารอากาศ.
【 ลูกท่านหลานเธอ 】แปลว่า: น. ลูกหลานเจ้านายหรือผู้มีอํานาจ.
【 ลูกทุ่ง 】แปลว่า: น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดในท้องทุ่ง;
เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียกเพลงชนิด
ที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
【 ลูกเทนนิส 】แปลว่า: น. ลูกยางกลมหุ้มสักหลาดที่ใช้ในการเล่นเทนนิส,
ลูกสักหลาด ก็ว่า.
【 ลูกโทน 】แปลว่า: น. ลูกคนเดียวของพ่อแม่; ลูกตัวเดียวของสัตว์ชนิดที่ตาม
ปรกติมีครั้งละหลายตัว เช่น สุนัขตัวนี้ออกลูกโทน.
【 ลูกเธอ 】แปลว่า: (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัย
รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คํานําหน้านามพระราชธิดาใน
สมัยปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ,
ถ้ามีพระมารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
【 ลูกนอกคอก 】แปลว่า: น. ลูกที่ประพฤติไม่ตรงตามที่พ่อแม่สั่งสอน หรือตามธรรมเนียม
ประเพณีของบรรพบุรุษ.
【 ลูกน้อง 】แปลว่า: (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา,
ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
【 ลูกนา 】แปลว่า: น. ผู้ที่เช่านาเขาทํา.
【 ลูกน้ำ 】แปลว่า: น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก
ปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่น
วรรคตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.
【 ลูกน้ำเค็ม 】แปลว่า: (ปาก) น. คนที่เกิดหรือโตอยู่ในแถบชายทะเล; ทหารเรือ.
【 ลูกน้ำหนัก 】แปลว่า: น. ลูกกลมทำด้วยเหล็ก ใช้ในการเล่นกรีฑาทุ่มน้ำหนัก.
【 ลูกนิมิต 】แปลว่า: น. ลูกที่ทํากลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝัง
เป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ.
【 ลูกเน่ง 】แปลว่า: น. โลหะที่แขวนในกระดิ่ง เมื่อแกว่งไปกระทบตัวกระดิ่ง
จะมีเสียงดัง.
【 ลูกเนรคุณ 】แปลว่า: น. ลูกไม่รู้คุณพ่อแม่, ลูกอกตัญญู ก็ว่า.
【 ลูกในไส้ 】แปลว่า: น. ลูกตัว.
【 ลูกบท 】แปลว่า: น. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้
แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือ
ลิเกทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.
【 ลูกบวบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า
แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือ
หนีบรักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
【 ลูกบอล 】แปลว่า: น. ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่นหนัง ยาง พลาสติก
ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, บอล ก็ว่า.
【 ลูกบอลลูน 】แปลว่า: น. ลูกบัลลูน, บัลลูน หรือ บอลลูน ก็ว่า.
【 ลูกบันได 】แปลว่า: น. ขั้นบันไดชนิดที่ชักขึ้นลงหรือยกไปมาได้, ลูกกระได
ก็ว่า.
【 ลูกบัลลูน 】แปลว่า: น. ลูกกลมขนาดใหญ่บรรจุแก๊สที่เบากว่าอากาศทำให้ลอยได้
ใช้ประโยชน์ในกิจการบางอย่าง เช่น ตรวจลมชั้นบน, ลูกบอลลูน
บัลลูน หรือ บอลลูน ก็ว่า.
【 ลูกบ้าน 】แปลว่า: น. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบันได้แก่
กํานันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอําเภอแล้วแต่กรณี.
【 ลูกบาศก์ 】แปลว่า: น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส,
เรียกลูกเต๋าที่ใช้ทอดในการเล่นสกา.
【 ลูกบิด 】แปลว่า: น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิมทําเป็น
ลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิดให้
ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง
หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ
หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
【 ลูกบุญธรรม 】แปลว่า: น. ลูกของคนอื่นที่เอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัว.
【 ลูกเบี้ยว 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ ทําหน้าที่ดันทองขาวใน
จานจ่ายให้แยกจากกัน เพื่อตัดวงจรไฟตํ่าให้ไปเกิดไฟแรงสูง
ที่คอยล์; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ทําหน้าที่ควบคุมการ
ปิดเปิดของลิ้นเครื่องยนต์ เพื่อรับไอดีเข้าไปเผาไหม้และถ่าย
ไอเสียออกตามจังหวะที่ถูกต้อง.
【 ลูกแบดมินตัน 】แปลว่า: น. ลูกขนไก่ที่ใช้ในการเล่นแบดมินตัน, ลูกขนไก่
ก็ว่า.
【 ลูกประคบ 】แปลว่า: น. ผ้าห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ ใช้อังไฟนาบหรือ
กดคลึงตามร่างกายตรงบริเวณที่ปวดหรือโนเป็นต้น.
【 ลูกประคำ 】แปลว่า: น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทําเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อยด้วยด้าย
หรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สําหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้นใช้สวม
คอเพื่อกําหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนาจบ
ครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทําเช่นนั้น.
【 ลูกประดู่ 】แปลว่า: (ปาก) น. ทหารเรือ.
【 ลูกประสม 】แปลว่า: น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน,
ลูกผสม ก็ว่า.
【 ลูกประสัก 】แปลว่า: น. ไม้หมุดสําหรับตรึงกงเรือเป็นต้นต่างตะปู, ประสัก
ก็ว่า.
【 ลูกประหล่ำ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับข้อมือ มักทําเป็นลูกกลม ๆ หรือเป็นกลีบ
อย่างลูกมะยม หรือเป็นเหลี่ยมเป็นต้น สลักเป็นลวดลาย
เดิมมีสีแดง ๆ, ปะวะหลํ่า ก็ว่า.
【 ลูกปราย 】แปลว่า: น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้องปืน
ครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน
ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่
กับดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซอง
ใช้กระสุนลูกปราย.
【 ลูกปละ 】แปลว่า: น. ลูกวัวหรือควายที่ออกในคราวที่เจ้าของปล่อยอยู่ตามทุ่ง
ตามป่า ซึ่งพ่อหรือแม่สมจรกับวัวป่าหรือควายป่า.
【 ลูกปลา 】แปลว่า: น. กระดาษที่ทําเป็นชิ้นกลม ๆ เล็ก ๆ ปิดตามตัวว่าวเพื่อ
ตรึงด้ายสักให้ติดกับกระดาษ.
【 ลูกป้อม 】แปลว่า: น. ที่กำบังตัวทหารที่รักษาการณ์อยู่บนกำแพงป้อม เป็น
รูปสี่เหลี่ยม.
【 ลูกปะกน 】แปลว่า: น.ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสําหรับเอากระดานกรุ, ปะกน
ก็เรียก.
【 ลูกปัด 】แปลว่า: น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับ
ต่าง ๆ.
【 ลูกปา 】แปลว่า: น. แถบหรือชิ้นกระดาษสีต่าง ๆ ที่ใช้โปรยหรือขว้างปากัน
ในงานรื่นเริงเป็นต้น.
【 ลูกป่า 】แปลว่า: น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติ, มักใช้เรียก
ปลากัดหรือปลาเข็ม.
【 ลูกปืน 】แปลว่า: น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง,
กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอก
โลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง
ปลอกทําด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลาย
ลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่
ก้นปลอก, กระสุนปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก
หรือทรงกรวย ใส่ในตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุน
หรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
【 ลูกแป 】แปลว่า: น. วิธีเตะตะกร้อท่าหนึ่งด้วยหน้าเท้า คือ ทั้งฝ่าเท้าและข้างเท้า
พร้อม ๆ กัน.
【 ลูกโป่ง 】แปลว่า: น. ถุงทำด้วยยางหรือพลาสติกเป็นต้นที่เป่าหรืออัดลมให้
ยืดโป่งเป็นรูปต่าง ๆ ได้.
【 ลูกโป่งสวรรค์ 】แปลว่า: น. ลูกโป่งที่อัดด้วยแก๊สไฮโดรเจนทําให้ลอยได้, ลูกสวรรค์ ก็ว่า.
【 ลูกผม 】แปลว่า: น. ผมอ่อนที่อยู่ตามตีนผมตรงหน้าผากและท้ายทอย.
【 ลูกผสม 】แปลว่า: น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน เช่น
กล้วยไม้ลูกผสม สุนัขลูกผสม, ลูกประสม ก็ว่า.
【 ลูกผักชี 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลของผักชี กลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องเทศ.
【 ลูกผักบุ้ง 】แปลว่า: น. ลูกตุ้มที่ห้อยสายสร้อยข้อมือ มีลักษณะคล้ายลูกของผักบุ้ง.
【 ลูกผีลูกคน 】แปลว่า: (สํา) ว. หวังเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้, มักใช้ในกรณีสำคัญ ๆ
เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะรอดหรือไม่ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่ การ
สอบไล่ครั้งนี้ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่.
【 ลูกผู้ชาย 】แปลว่า: น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง
เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.
【 ลูกผู้น้อง 】แปลว่า: น. ญาติที่เป็นลูกของน้าหรืออา.
【 ลูกผู้พี่ 】แปลว่า: น. ญาติที่เป็นลูกของลุงหรือป้า.
【 ลูกผู้หญิง 】แปลว่า: น. เรียกผู้หญิงที่มีความสุภาพเรียบร้อย สงบเสงี่ยม อ่อนโยน
รู้จักรักนวลสงวนตัว ประกอบด้วยเมตตากรุณา และรู้จัก
การบ้านการเรือน เป็นต้น.
【 ลูกไผ่ 】แปลว่า: น. ลูกของไผ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวสาร เมื่อตกลงมา
กองอยู่ที่กอไผ่ เรียก ขุยไผ่ แล้วจะทําให้ไผ่ต้นนั้นตาย เรียกว่า
ไผ่ตายขุย.
【 ลูกฝาแฝด 】แปลว่า: น. ลูก ๒ คนที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลา
เดียวกันหรือใกล้กัน อาจมีร่างกายติดกันหรือไม่ติดกัน
ก็ได้ มักมีหน้าตาเหมือนกัน.
【 ลูกแฝด 】แปลว่า: น. ลูกที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน
หรือใกล้กัน อาจเป็นแฝด ๒ คน ๓ คน หรือมากกว่านั้นก็ได้.
【 ลูกพรรค 】แปลว่า: น. สมาชิกที่มิได้เป็นหัวหน้าของพรรคการเมือง.
【 ลูกพรวน 】แปลว่า: น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในหรือ
ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
【 ลูกพริก 】แปลว่า: น. เครื่องประดับรูปคล้ายเมล็ดพริก ทำด้วยทอง เงิน นาก
หรืองา เป็นต้น สําหรับร้อยคาดเอวเด็กผู้ชาย.
【 ลูกพลู 】แปลว่า: น. เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวของช้างห้อยเป็นระย้าเรียง
เป็นแถวลงมา มักทำด้วยทองเหลืองหรือเงินกะไหล่.
【 ลูกพี่ 】แปลว่า: (ปาก) น. คําที่ลูกน้องหรือลูกสมุนเรียกเพื่อยกย่องผู้ที่เป็น
หัวหน้านักเลงเป็นต้น.
【 ลูกพี่ลูกน้อง 】แปลว่า: น. ญาติที่เป็นลูกของลุง ป้า น้า หรืออา.
【 ลูกฟัก 】แปลว่า: น. แผ่นกระดานที่ใส่ในกรอบบานประตูหน้าต่างเป็นต้น
ของเรือนฝากระดานแบบทรงไทย.
【 ลูกฟักหน้าพรหม 】แปลว่า: น. ไม้กรุในช่องจั่วลูกฟักเรือนทรงไทยเพื่อกันฝนสาด.
【 ลูกฟุตบอล 】แปลว่า: น. ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนังยาง พลาสติก
ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นฟุตบอล.
【 ลูกฟูก 】แปลว่า: น. ลอนของฟูกเป็นต้น, เรียกกระเบื้อง สังกะสี หรือกระดาษ
เป็นต้น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระเบื้องลูกฟูก
สังกะสีลูกฟูก กระดาษลูกฟูก.
【 ลูกไฟ 】แปลว่า: น. ส่วนที่แยกออกจากวัตถุกําลังลุกเป็นไฟแล้วกระเด็นหรือ
กระจายออกไปเป็นดวงไฟน้อย ๆ จํานวนมากบ้างน้อยบ้าง
เช่น ลูกไฟพะเนียง ลูกไฟจากปล่องเรือโยง ลูกไฟจากเตาถ่าน.
【 ลูกมโหตร 】แปลว่า: [–มะโหด] น. พวงอุบะซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตร
ทำด้วยผ้าตาดทอง, พวงมโหตร ก็ว่า.
【 ลูกมะหวด 】แปลว่า: น. ลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ
คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง เช่น
ลูกมะหวดที่ปราสาทหิน.
【 ลูกมาด 】แปลว่า: น. เรือมาดที่ขุดแล้วแต่ยังไม่ได้เบิก, มาดเรือโกลน ก็เรียก.
/(ดู มาด)./
【 ลูกมือ 】แปลว่า: น. ผู้ทําการตามคําแนะนําของหัวหน้า เช่น ลูกมือทำกับข้าว.
【 ลูกเมียน้อย 】แปลว่า: น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง,
โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่น
หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่น
ว่าสถาบันของตนเป็นลูกเมียน้อย.
【 ลูกเมียหลวง 】แปลว่า: น. ลูกของเมียหลวงซึ่งมีสิทธิ์มากกว่าลูกของเมียน้อย,
โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะเหนือกว่าผู้อื่นหรือสิ่งอื่น
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลายคนมองว่า
มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เป็นลูกเมียหลวง.
【 ลูกโม่ 】แปลว่า: น. วัตถุทําด้วยหิน เหล็ก ทองเหลือง เป็นต้น ให้มีรูปกลม ๆ
ใช้โม่หรือบดสิ่งของ; ส่วนของปืนที่บรรจุกระสุน เมื่อลั่นไก
แล้วหมุนได้เพื่อให้ลูกปืนตรงกับลํากล้อง.
【 ลูกไม้ ๑ 】แปลว่า: น. ผลไม้, ลักษณนามว่า ผล.
【 ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น 】แปลว่า: (สํา) น. ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก.
【 ลูกยอ 】แปลว่า: (ปาก) น. คําแสร้งเยินยอ.
【 ลูกยอด 】แปลว่า: ไข่งูจงอางฟองที่อยู่สูงสุด เรียกว่า ไข่ลูกยอด.
【 ลูกย่าง 】แปลว่า: น. ลูกโซ่ตรวนที่ทําเป็นห่วงยาว ๆ สําหรับพอให้ก้าวย่างได้.
【 ลูกยาเธอ 】แปลว่า: (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสในสมัยปลาย
รัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ,
ถ้ามีพระมารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
【 ลูกยุ 】แปลว่า: น. ลมปากที่ยุให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักเป็นไปในทางไม่ดี.
【 ลูกโยน 】แปลว่า: น. ดินที่ปั้นกลมแล้วเอาต้นหญ้าทําเป็นหางสําหรับขว้าง
ไล่นกซึ่งมากินข้าวในนา; เรียกข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิ
ใส่เกลือ นํ้าตาล ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้
หางยาว แล้วต้มให้สุก ว่า ข้าวต้มลูกโยน.
【 ลูกรอก 】แปลว่า: น. อาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่กรอกในไส้ไก่แล้วเอาไปต้ม
หรือนึ่งให้สุก ตัดเป็นแว่น ๆ เมื่อต้มในแกงจืดตอนปลายหัว
ท้ายจะบานตรงกลางเป็นร่องคล้ายรอก.
【 ลูกระนาด 】แปลว่า: . เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูกระนาด
หรือลูกคลื่นว่า ถนนเป็นลูกระนาด, ถนนเป็นลูกคลื่น ก็ว่า,
เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอันว่า สะพานลูกระนาด.
【 ลูกระเบิด 】แปลว่า: น. สิ่งที่มีรูปร่างต่าง ๆ บรรจุดินระเบิดหรือสารเคมีบางอย่าง
เมื่อเกิดการระเบิด บางชนิดมีอำนาจในการทำลาย เช่น
ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดสังหาร บางชนิดก่อให้เกิดไฟไหม้
เช่น ลูกระเบิดเพลิง บางชนิดก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่
เยื่อตา เช่น ลูกระเบิดน้ำตา.
【 ลูกรัง 】แปลว่า: น. หินแลงที่เป็นเม็ด ๆ.
【 ลูกรุ่ย 】แปลว่า: น. แก้วเป็นต้นที่ทําเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นรุ่ยสําหรับ
ห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน.
【 ลูกเรือ 】แปลว่า: น. กะลาสี, คนประจำอยู่ในเรือโดยสารหรือเรือประมง
เป็นต้นยกเว้นชั้นหัวหน้าเช่นกัปตันหรือนายท้าย.
【 ลูกลม ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งคล้ายตะกร้อ สานด้วยตอกบาง ๆ เป็นต้น ใช้ปัก
ปลายไม้เพื่อให้หมุนดูทางลม.
【 ลูกล้อ ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป,
ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่น
ขอบกระด้ง สําหรับเด็กตีเล่น.
【 ลูกล้อ ๒ 】แปลว่า: น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก
โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง
อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน
และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใด
หรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
【 ลูกลอย 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ภายในถังน้ำของส้วมชักโครกเป็นต้น มีหน้าที่รักษา
ระดับน้ำในถังน้ำให้คงที่; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับเครื่องยนต์
อยู่ในคาร์บูเรเตอร์ ทำหน้าที่รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายใน
ห้องลูกลอยให้คงที่.
【 ลูกล่า 】แปลว่า: น. ลูกคนสุดท้องที่เกิดมาโดยไม่คาดว่าจะมีอีกแล้ว แต่ไม่ห่าง
จากพี่มากเท่าลูกหลง, (ถิ่น) ลูกคนสุดท้อง.
【 ลูกลิงลูกค่าง 】แปลว่า: น. เรียกเด็กที่อยู่ไม่สุข ซุกซนมาก ชอบปีนป่าย หกคะเมน
ตีลังกาเป็นต้น.
【 ลูกเล่น 】แปลว่า: (ปาก) น. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, กลเม็ด.
【 ลูกเลี้ยง 】แปลว่า: น. ลูกที่ติดพ่อหรือแม่มา; ลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยง
ต่างลูก, ลูกบุญธรรม ก็ว่า.
【 ลูกเลื่อน 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่
กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุนปืนให้
เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
【 ลูกโลก 】แปลว่า: น. หุ่นจําลองของโลกที่ทําขึ้นเพื่อใช้แสดงรูปทรงสัณฐาน
ของโลก มีแผนที่แสดงตําแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลก ทำด้วย
กระดาษ โลหะ หรือพลาสติก เป็นต้น.
【 ลูกไล่ 】แปลว่า: น. ปลากัดหรือปลาเข็มที่ใช้สําหรับให้ปลาที่เลี้ยงไว้ไล่เพื่อ
ซ้อมกําลัง, โดยปริยายหมายถึงคนที่ยอมเป็นรองเขาเสมอ.
【 ลูกวัด 】แปลว่า: น. พระที่ไม่ใช่สมภาร.
【 ลูกเวรลูกกรรม 】แปลว่า: น. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับ
ความเดือดร้อน.
【 ลูกศร 】แปลว่า: น. เครื่องหมายที่ใช้ชี้บอกทางเป็นต้น มีลักษณะคล้ายส่วน
ปลายของลูกศร รูปดังนี้ ?; ลูกธนู, ลักษณนามว่า ดอก.
【 ลูกศิษย์ 】แปลว่า: น. ผู้ศึกษาเล่าเรียนหรือผู้เยาว์วัยซึ่งอยู่ในความดูแลคุ้มครอง
ของอาจารย์, ศิษย์ หรือลูกศิษย์ลูกหา ก็ว่า.
【 ลูกศิษย์ลูกหา 】แปลว่า: น. ลูกศิษย์.
【 ลูกสมภารหลานเจ้าวัด 】แปลว่า: (สํา) น. ลูกเจ้านาย, ลูกผู้มีอํานาจ, มีความหมายทํานองเดียวกับ
ลูกท่านหลานเธอ.
【 ลูกสมุน 】แปลว่า: (ปาก) น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ.
【 ลูกสวน 】แปลว่า: น. ลูกพลาสติกหรือลูกยางมีลักษณะกลม ๆ ตอนบนแหลม
มีรูใส่น้ำยาหรือน้ำสบู่สำหรับใช้สวนอุจจาระ.
【 ลูกสวรรค์ 】แปลว่า: น. ลูกโป่งที่อัดด้วยแก๊สไฮโดรเจนทําให้ลอยได้, ลูกโป่งสวรรค์ ก็ว่า.
【 ลูกสวาท 】แปลว่า: น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบําเรอ.
【 ลูกสะกด 】แปลว่า: น. ลูกประคำที่เป็นลูกคั่น.
【 ลูกสะบ้า 】แปลว่า: น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็นยึด
ระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบ
เป็นส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, สะบ้าหัวเข่า ก็ว่า.
【 ลูกสะใภ้ 】แปลว่า: น. หญิงซึ่งเป็นเมียของลูกชาย.
【 ลูกสักหลาด 】แปลว่า: (ปาก) น. ลูกเทนนิส.
【 ลูกสุดท้อง 】แปลว่า: น. ลูกคนสุดท้ายของพ่อแม่.
【 ลูกสูบ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ ทําหน้าที่อัดไอนํ้ามัน
เชื้อเพลิงผสมอากาศเข้าไปในกระบอกสูบเพื่อให้จุดระเบิด
แล้วรับกําลังจากแรงระเบิดส่งต่อไปยังก้านสูบ แล้วขับไล่
ไอเสียออกไปด้วย.
【 ลูกเสือ 】แปลว่า: น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม
บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มี
อุดมคติและความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
【 ลูกเสือลูกตะเข้ 】แปลว่า: น. ลูกของคนอื่นที่เอามาเลี้ยงไว้แล้วกลับทำร้าย
คนเลี้ยงในภายหลัง.
【 ลูกหนัง 】แปลว่า: (ปาก) น. ลูกฟุตบอล.
【 ลูกหนี้ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นหนี้, คู่กับ เจ้าหนี้; (กฎ) บุคคลผู้มีหนี้กับบุคคล
อีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้.
【 ลูกหนุน 】แปลว่า: น. ผู้สนับสนุนให้กำลังใจในการกีฬาหรือการต่อสู้เป็นต้น.
【 ลูกหนู ๑ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟที่จุดให้แล่นไปตามสายลวด.
【 ลูกหนู ๒ 】แปลว่า: น. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่แขน,
ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลําได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้
ขากรรไกรล่างและใต้คาง.
【 ลูกหนู ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องมือช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตัดและขัดกระเบื้อง
ปูพื้น.
【 ลูกหมด 】แปลว่า: น. เพลงสั้น ๆ จังหวะเร็ว บรรเลงต่อท้ายเพลง ๓ ชั้นเป็นต้น
แสดงว่าจบการบรรเลงชุดนั้น ๆ เรียกว่า ลูกหมด คือจบหรือ
หมดไปชุดหนึ่ง.
【 ลูกหม่อ 】แปลว่า: น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกกะแอ หรือ
ลูกแหง่ ก็เรียก.
【 ลูกหมาก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อต่อมในเพศชาย รูปร่างคล้ายเนื้อในของผลหมาก
อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นใต้กระเพาะปัสสาวะ ทําหน้าที่
ผลิตนํ้าเลี้ยงเชื้ออสุจิบางส่วน; ส่วนใกล้โคนลึงค์สุนัขตัวผู้
ที่พองขึ้นได้เพื่อให้ยึดติดกับอวัยวะเพศของตัวเมียในขณะ
ผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า ติดเก้ง.
【 ลูกหมาก ๒ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ในส่วนช่วงล่างของรถยนต์ มีหน้าที่บังคับล้อและ
พวงมาลัยไม่ให้สั่น ทั้งช่วยผ่อนความสะเทือนของตัวรถด้วย.
【 ลูกหมู่ 】แปลว่า: (โบ) น. ลูกหลานที่ต้องถูกเกณฑ์รับราชการตามสังกัดของ
บิดามารดาในครั้งโบราณ.
【 ลูกหลง 】แปลว่า: น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ใน
กระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่ง
มิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ
เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้
มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวย
ลงไปหมอบกับพื้นเวที.
【 ลูกหลงแม่ 】แปลว่า: น. คำล้อเด็กที่หาแม่ไม่พบหรือสำคัญผิดคิดว่าหญิงอื่น
เป็นแม่.
【 ลูกหลวง 】แปลว่า: น. ลูกของพระเจ้าแผ่นดิน; (โบ) เรียกเมืองเอกที่พระโอรส
ของพระเจ้าแผ่นดินไปครองว่า เมืองลูกหลวง.
【 ลูกหลาน 】แปลว่า: น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือที่นับว่า
เป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น;
ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
【 ลูก ๆ หลาน ๆ 】แปลว่า: น. ลูกและหลานหลายคน.
【 ลูกหัวแก้วหัวแหวน 】แปลว่า: > น. ลูกที่พ่อแม่โปรดปรานมากที่สุด.
【 ลูกหัวปี 】แปลว่า: น. ลูกคนแรกของพ่อแม่.
【 ลูกหาบ 】แปลว่า: น. ลูกจ้างสําหรับหาบหามสัมภาระเดินทางในที่ทุรกันดาร.
【 ลูกหิน 】แปลว่า: น. ลูกกลมทําด้วยหินเป็นต้นสําหรับเด็กเล่น.
【 ลูกหินบด 】แปลว่า: น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
【 ลูกหีบ 】แปลว่า: น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่งมี
ลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
【 ลูกเห็บ 】แปลว่า: น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ
แล้วตกลงมา.
【 ลูกเหม็น 】แปลว่า: น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม
มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด.
【 ลูกแห 】แปลว่า: น. สายโซ่ตะกั่วเล็ก ๆ ที่ร้อยปากแหสําหรับถ่วง.
【 ลูกแหง่ 】แปลว่า: น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ
ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อัน
เล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่
เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.
【 ลูกอกตัญญู 】แปลว่า: น. ลูกไม่รู้คุณพ่อแม่, ลูกเนรคุณ ก็ว่า.
【 ลูกอม 】แปลว่า: น. ลูกกลม ๆ ทําด้วยของต่าง ๆ ใช้อมเป็นเครื่องราง; ทอฟฟี่.
【 ลูกอ่อน 】แปลว่า: น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ
ยังไม่หย่านมว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียก
บุคคลที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
(มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่นเวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมี
คุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอยดูแลท่าน.
【 ลูกอิจฉา 】แปลว่า: น. ลูกที่เกิดหลังจากพ่อแม่ได้ขอลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูก.
【 ลูกแอก 】แปลว่า: น. ไม้ ๒ อันที่สอดทะลุแอกลงไป ใช้กำกับ ๒ ข้างคอวัว
หรือควาย.
【 ลูกแก้ว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ลูก./
【 ลูกแก้ว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. เด็กที่โกนหัวเตรียมบวชเป็นสามเณร.
【 ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก 】แปลว่า: /ดู ลูกเขยตายแม่ยายทําศพ./
【 ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Euphorbia cyathophora/ Murr. ในวงศ์
Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้, ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก ก็เรียก.
【 ลูกเคล้า 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ลูกประคำผี 】แปลว่า: /ดู กระดูกอึ่ง./
【 ลูกปืนใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Couroupita guianensis/ Aubl. ในวงศ์
Lycythidaceae ดอกออกตามลําต้น ผลกลมใหญ่.
【 ลูกผึ้ง 】แปลว่า: /ดู รากกล้วย./
【 ลูกไม้ ๒ 】แปลว่า: น. สิ่งที่ทำด้วยด้ายโดยใช้เข็มควักเป็นต้นควักหรือถักให้เป็น
ลวดลายต่าง ๆ.
【 ลูกไม้ ๓ 】แปลว่า: น. ท่ามวยหรือกระบี่กระบองซึ่งมีพลิกแพลงเป็นพิเศษจากท่า
ธรรมดา; เล่ห์เหลี่ยม, กลเม็ด.
【 ลูกระมาศ 】แปลว่า: /ดู มะแข่น./
【 ลูกลม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ลูก./
【 ลูกลม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหญ้าชนิด /Spinifex littoreus/ Merr. ในวงศ์ Gramineae
ชอบขึ้นตามชายทะเล ช่อดอกกลมกลิ้งไปตามลม.
【 ลูกสังกะสี 】แปลว่า: น. ชื่อปลากัดพันทางที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาลูกหม้อ
กับปลาลูกป่าซึ่งเป็นชนิด /Betta splendens/ เช่นเดียวกัน.
【 ลูกหม้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลากัด (/Betta splendens/) ในวงศ์ Anabantidae ที่ผ่าน
การคัดเลือกพันธุ์จนมีลักษณะเด่นพิเศษเพื่อการต่อสู้ ครีบ
ต่าง ๆ สั้นกว่าปลาจีน (๒); โดยปริยายหมายถึงผู้มีวิชาชีพโดย
สืบต่อเชื้อสายกันมาหรือทํางานในสังกัดนั้น ๆ มาตั้งแต่เดิม.
【 ลูกเอ็น, ลูกเอ็ล 】แปลว่า: /ดู กระวาน ๑ (๑)./
【 ลูขะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ปอน, เศร้าหมอง, เปื้อน. (ป.).
【 ลูตา, ลูติกา 】แปลว่า: น. แมงมุม. (ป., ส.).
【 ลูทีเชียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๗๑ สัญลักษณ์ Lu เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๖๕๒?ซ. (อ. lutetium).
【 ลูนะ 】แปลว่า: ว. ตัดแล้ว, เกี่ยวแล้ว. (ป., ส.).
【 ลูบ 】แปลว่า: ก. เอาฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปหรือมาเป็นต้น.
【 ลูบคม 】แปลว่า: ก. ทำให้เกียรติหรือศักดิ์ศรีด้อยลงไป เช่น นักเลงถูกลูบคม.
【 ลูบคลำ 】แปลว่า: ก. จับต้องด้วยความชอบใจหรือสนใจเป็นต้น เช่น ลูบคลำ
อยู่นานไม่ซื้อเสียที.
【 ลูบตัว, ลูบเนื้อลูบตัว 】แปลว่า: ก. ก้มตัวลงและราดน้ำชำระร่างกายท่อนบน, วักน้ำลูบหน้า
ลูบแขนเป็นต้นเพื่อให้คลายร้อน.
【 ลูบไล้ 】แปลว่า: ก. ใช้มือลูบไปทั่ว ๆ เช่น เอามือลูบไล้ไปทั่วตัว, ทาบาง ๆ
ให้ทั่ว เช่น ใช้ครีมลูบไล้ใบหน้า.
【 ลูบหน้าปะจมูก 】แปลว่า: (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะเกรง
จะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
【 ลูบหน้าลูบหลัง 】แปลว่า: ก. เอามือลูบตามเนื้อตามตัวลูกหลานเป็นต้นด้วยความ
เมตตาเอ็นดู เช่น คุณย่าลูบหน้าลูบหลังหลาน.
【 ลูบอก 】แปลว่า: ก. อาการที่แสดงความตระหนกตกใจหรือแปลกใจมาก
เป็นต้น เช่น พอรู้ว่าลูกสอบตกแม่ถึงกับลูบอก.
【 ลู่หลี่ 】แปลว่า: –หฺลี่ ว. มีโทสะร้ายไม่คิดแก่ชีวิต. (ปรัดเล).
【 เลก 】แปลว่า: (โบ) น. ชายฉกรรจ์, พลเมืองชั้นสามัญ, เขียนเป็น เลข ก็มี.
【 เลกวัด 】แปลว่า: (โบ) น. ชายฉกรรจ์ที่มีผู้อุทิศถวายให้แก่วัด.
【 เล็ก 】แปลว่า: ว. มีขนาดย่อมกว่าเมื่อเทียบกัน เช่น ละมุดเล็กกว่าส้มโอ กล้วยไข่
เล็กกว่ากล้วยหอม, มีขนาดไม่โต เช่น บ้านหลังนี้เล็ก, โดยปริยาย
หมายความว่า ไม่สําคัญ, สําคัญน้อยกว่า, เช่น เรื่องเล็ก.
【 เล็กน้อย 】แปลว่า: ว. นิดหน่อย เช่น เสียหายเล็กน้อย, ไม่สําคัญ เช่น เรื่องเล็กน้อย.
【 เล็กพริกขี้หนู 】แปลว่า: (สํา) ว. เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง.
【 เล็กดา 】แปลว่า: ว. น้อย.
【 เลข 】แปลว่า: [เลก] น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง; วิชาคํานวณ.
【 เลขคณิต 】แปลว่า: น. วิชาเกี่ยวกับเซตจํานวนจริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาค
ประยุกต์.
【 เลขจำนวน 】แปลว่า: น. ตัวเลข. /(ดู ตัวเลข ที่ ตัว ๒)./
【 เลขชี้กำลัง 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนเต็มหรือจํานวนตรรกยะที่ใช้ยกกําลัง
จํานวนจริง เช่น ๗๓ มี ๓ เป็นเลขชี้กําลัง.
【 เลขโดด 】แปลว่า: น. ตัวเลขหลักมูล.
【 เลขผา, เลขผานาที 】แปลว่า: น. เลข (โดยมากใช้ในทางโหราศาสตร์).
【 เลขยันต์ 】แปลว่า: น. ตัวเลขที่ประกอบในแผ่นยันต์.
【 เลขลำดับ 】แปลว่า: น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียงกัน
อย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
【 เลขหมาย 】แปลว่า: น. จํานวนตัวเลขที่กําหนดไว้.
【 เลขกะ 】แปลว่า: [เลขะกะ] น. ผู้เขียน, เสมียน. (ป., ส.).
【 เลขนะ 】แปลว่า: [เลขะนะ] น. รอยเขียน, ตัวอักษร, ลวดลาย. (ป., ส.).
【 เลขยะ 】แปลว่า: [เลขะยะ] น. การเขียน. (ส.).
【 เลขา 】แปลว่า: น. ลาย, รอยเขียน, ตัวอักษร, การเขียน. ว. งามดังเขียน. (ป., ส.).
【 เลขาธิการ 】แปลว่า: น. ผู้ดํารงตําแหน่งบริหารระดับสูงตําแหน่งหนึ่ง เช่น เลขาธิการ
สหประชาชาติ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เลขาธิการรัฐสภา
เลขาธิการสมาคม. (ส. เลขาธิการี ว่า เสมียนของพระเจ้าแผ่นดิน).
【 เลขานุการ 】แปลว่า: น. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือหรืออื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง.
【 เล็ง 】แปลว่า: ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว
พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์
อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
【 เล็งญาณ 】แปลว่า: ก. พิจารณาเห็นแจ้งด้วยปัญญาที่เกิดจากสมาธิ.
【 เล็งปืน 】แปลว่า: ก. ใช้สายตากำหนดเป้าหมายที่จะยิงเพื่อให้แม่น.
【 เล็งผลเลิศ 】แปลว่า: ก. คาดหวังเฉพาะผลได้หรือผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม.
【 เล็งระดับ 】แปลว่า: ก. ใช้เครื่องมือวัดหาความเที่ยงและความเสมอกันทั้ง
ทางนอนและทางดิ่ง.
【 เล็งลัคน์ 】แปลว่า: (โหร) น. การที่ดาวพระเคราะห์ดวงใดอยู่ในเรือนที่ ๗
นับจากเรือนลัคน์.
【 เล้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ขึ้นเสียงดัง เช่น เมื่อเช้าถูกเจ้านายเล้ง.
【 เล่งฮื้อ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Hypophthalmichthys molitrix/ ในวงศ์
Cyprinidae มีรูปร่างลักษณะถิ่นกําเนิดและแหล่งอาศัยคล้าย
ปลาลิ่นฮื้อ.
【 เลเซอร์ 】แปลว่า: (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง
สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม
สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์.
(อ. laser).
【 เลฑฑุ 】แปลว่า: [เลดดุ] น. ก้อน, ก้อนดิน. (ป.; ส. เลษฺฏุ).
【 เลณฑุ 】แปลว่า: [เลนดุ] น. ก้อน, ก้อนดิน. (มาจาก ป. เลฑฺฑุ).
【 เลณะ 】แปลว่า: [เล–] น. ที่แอบ, ที่เร้น, ที่พัก, ที่อาศัย, เขียนเป็น เลนะ ก็มี. (ป.).
【 เล็ด 】แปลว่า: น. เม็ด, เมล็ด, เรียกเม็ดหรือเมล็ดผลไม้ที่มีขนาดเล็กโดยเฉพาะ
บางชนิด บางทีหมายถึงส่วนในของเมล็ด. ก. ลอดออกแต่น้อย
เช่น นํ้าตาเล็ด.
【 เล็ดงา 】แปลว่า: น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่า
เมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม.
【 เล็ดลอด 】แปลว่า: ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยากลําบาก
แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มดเล็ดลอด
เข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
【 เลต 】แปลว่า: ก. ลูบไล้, ฉาบทา. (ป. ลิตฺต; ส. ลิปฺต).
【 เลน 】แปลว่า: น. ดินเปียกเหลวจนปั้นไม่ได้ เช่น โกยเลนลอกท้องร่อง.
【 เล็น 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กมาก ที่กัดหรือทําให้เกิดความ
ระคายเคืองต่อร่างกาย ซึ่งอาจหมายถึงพวกไร เหา เห็บ หมัด
หรือมด ก็ได้.
【 เล่น 】แปลว่า: ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง
เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่น
อยู่กับสิ่งใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้;
สะสมของเก่าพร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น
เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่น
ม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่อง
คอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่นด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก
เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิวมาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว.
อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
【 เล่นกล 】แปลว่า: น. การแสดงที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริง, โดยปริยายหมาย
ความว่า หลอกลวงเอา เช่น โดนคนเล่นกลเอาทองเก๊มา
แลกกับทองจริง.
【 เล่นกล้าม 】แปลว่า: ก. บริหารร่างกายเพื่อเพาะกล้ามเนื้อให้ใหญ่แข็งแรง.
【 เล่นกับไฟ 】แปลว่า: (สำ) ก. ลองดีเสี่ยงกับสิ่งที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
【 เล่นกับหมา หมาเลียปาก 】แปลว่า: (สำ) ก. ลดตัวลงไปหรือวางตัวไม่เหมาะสมจึงถูกลามปาม,
มักใช้เข้าคู่กับ เล่นกับสาก สากต่อยหัว.
【 เล่นการพนัน 】แปลว่า: ก. ลักษณะการกระทำที่เสี่ยงต่อการแพ้ชนะหรือได้เสีย
โดยใช้เงินเป็นต้นเป็นเดิมพัน เช่นในการเล่นไพ่เล่นม้า.
【 เล่นการเมือง 】แปลว่า: ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยาย
หมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผล
ประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬา
เก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม.
【 เล่นขายของ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ลักษณะการกระทําที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จัง
เหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขาย
นิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.
【 เล่นคำ 】แปลว่า: ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ
หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้ง
กินใจยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสา
สู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
【 เล่นงาน 】แปลว่า: ก. กระทำเอา (มักใช้ในทางไม่ดี เช่นถูกดุด่าว่ากล่าว ทำร้าย
เป็นต้น) เช่น ไข้ป่าเล่นงานเสียงอมแงม เจ้านายเล่นงาน
ลูกน้องแต่เช้า ถูกเขาเล่นงานจนอาน.
【 เล่นเงา 】แปลว่า: ก. ใช้มือบังแสงให้เกิดเงาเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสนุก.
【 เล่นแง่ 】แปลว่า: ก. หาแง่มาขัดขวางไม่ให้เป็นไปอย่างสะดวกเพื่อเอาเปรียบ
หรือแสดงว่าตนเหนือกว่า เช่น เล่นแง่ในทางกฎหมาย.
【 เล่นจัญไร, เล่นระยำ, เล่นอัปรีย์, เล่นอุบาทว์ 】แปลว่า: ก.
【 กระทำสิ่งที่ชั่วช้าไม่เป็นมงคลเพื่อความสนุกเป็นต้น. 】แปลว่า:
【 เล่นชู้ 】แปลว่า: ก. คบชู้, มีชู้, (ใช้แก่ผู้หญิง).
【 เล่นแชร์ 】แปลว่า: / ดู แชร์./
【 เล่นตลก 】แปลว่า: ก. หลอกหรือล้ออย่างตลกเพื่อให้หลงเชื่อ เช่น ขอดูแหวนแล้ว
เล่นตลกสวมนิ้วไปเลย; กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นไม่ซื่อ ก็ว่า.
【 เล่นตัว 】แปลว่า: ก. ตั้งแง่ไม่ยอมทำหรือไม่ยอมให้ทำง่าย ๆ ตามที่มีผู้งอนง้อ
หรือขอร้อง เพราะคิดว่าตัวมีดี เช่น ถ้าทำเป็นก็ทำให้หน่อย
อย่าเล่นตัวไปเลย.
【 เล่นตา 】แปลว่า: ก. เล่นหูเล่นตา.
【 เล่นทุ่ง 】แปลว่า: ก. พายเรือเล่นในท้องทุ่งพร้อมกับเก็บผักกินกับน้ำพริก
เป็นต้นหรือเก็บดอกบัวเพื่อเอามาบูชาพระ.
【 เล่นเบี้ย 】แปลว่า: ก. เล่นการพนันชนิดเล่นถั่ว.
【 เล่นพรรคเล่นพวก, เล่นพวก, เล่นพวกเล่นพ้อง 】แปลว่า: ก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่หรือสำคัญ.
【 เล่นพิเรนทร์, เล่นวิตถาร, เล่นอุตริ 】แปลว่า: ก. กระทำสิ่งที่นอกลู่นอกทางหรือนอกรีตนอกรอยเพื่อ
ความสนุกเป็นต้น เช่น เล่นอุตริเอาน้ำสกปรกมาสาด
ในงานสงกรานต์.
【 เล่นเพลงยาว 】แปลว่า: (โบ; สํา) ก. ลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่น
เพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือ
โต้ตอบกันไปมาไม่รู้จักจบ.
【 เล่นเพื่อน 】แปลว่า: ก. คบเพื่อนหญิงด้วยกันต่างชู้รัก.
【 เล่นม้า 】แปลว่า: ก. เล่นพนันในการแข่งม้า.
【 เล่นไม่ซื่อ 】แปลว่า: ก. กระทำไม่ตรงไปตรงมา, เล่นตลก ก็ว่า.
【 เล่นแร่แปรธาตุ 】แปลว่า: ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็นทองคํา
ตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยน
ของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.
【 เล่นลม 】แปลว่า: ก. ปลิวสะบัดไปตามลม เช่น ธงเล่นลม หางว่าวเล่นลม.
【 เล่นลิ้น 】แปลว่า: ก. พูดเป็นสํานวนไม่ตรงไปตรงมา.
【 เล่นลูกไม้ 】แปลว่า: ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกง, ใช้กลเม็ดหลอกลวง, เช่น อย่า
มาเล่นลูกไม้หน่อยเลย.
【 เล่นสกปรก 】แปลว่า: ก. กระทำสิ่งที่ไม่สุจริต ใช้เล่ห์อุบายให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่น
หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม.
【 เล่นสวน 】แปลว่า: ก. ลงชมสวน (ใช้แก่เจ้านาย).
【 เล่นสวาท 】แปลว่า: ก. เลี้ยงเด็กชายเป็นลูกสวาท.
【 เล่นสัปดน 】แปลว่า: ก. กระทำในสิ่งที่หยาบโลน, กระทำอุตรินอกแบบนอกแผน
เช่น เด็กเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด.
【 เล่นสำนวน 】แปลว่า: ก. ใช้คารมพลิกแพลง.
【 เล่นหน้า 】แปลว่า: ก. แสดงด้วยการทำหน้าให้เป็นลักษณะต่าง ๆ เช่นทำ
หน้ายักษ์หน้าคนแก่.
【 เล่นหัว 】แปลว่า: ก. หยอกล้อกัน.
【 เล่นหาง 】แปลว่า: ว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้
ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้น
ของการเชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง;
อาการที่ว่าวปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.
【 เล่นหุ้น 】แปลว่า: ก. ลงทุนด้วยการซื้อขายหุ้นเพื่อเก็งกำไร.
【 เล่นหูเล่นตา 】แปลว่า: ก. ชายตาดูฉันชู้สาว, เล่นตา ก็ว่า.
【 เล่นเอาเถิดเจ้าล่อ 】แปลว่า: (สำ) ก. อาการที่หลบไปมาเพื่อไม่ให้พบ เช่น ลูกหนี้เล่น
เอาเถิดเจ้าล่อกับเจ้าหนี้.
【 เลนจง 】แปลว่า: /ดู ลินจง./
【 เลนส์ 】แปลว่า: น. วัตถุโปร่งใสซึ่งมีพื้นหน้าเป็นผิวนูนหรือเว้า โดยทั่วไปมักทํา
ด้วยแก้ว มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้าหรือถ่างออกได้;
(แพทย์) แก้วตา. (อ. lens).
【 เลนส์ตีบแสง 】แปลว่า: น. เลนส์นูน.
【 เลนส์ถ่างแสง 】แปลว่า: น. เลนส์เว้า.
【 เลนส์นูน 】แปลว่า: น. เลนส์ที่มีพื้นหน้าโค้งนูนตรงกลางหนามากกว่าตอนริม
มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้า, เลนส์ตีบแสง ก็เรียก.
(อ. convex lens).
【 เลนส์เว้า 】แปลว่า: น. เลนส์ที่มีพื้นหน้าโค้งเว้า ตรงกลางหนาน้อยกว่าตอนริม
มีสมบัติหักลําแสงที่ผ่านไปให้ถ่างออก, เลนส์ถ่างแสง ก็เรียก.
(อ. concave lens).
【 เลนส์สัมผัส 】แปลว่า: น. เลนส์เล็ก ๆ บาง ๆ ใช้ครอบตาดําเพื่อช่วยให้มองเห็นได้ดี
อย่างคนสายตาปรกติ. (อ. contact lens).
【 เลนหะรี 】แปลว่า: [เลน–] น. ข่าวแรก; วันอื่น. (ช.).
【 เลนะ 】แปลว่า: [เล–] น. เลณะ, ที่แอบ, ที่เร้น, ที่พัก, ที่อาศัย.
【 เล็บ 】แปลว่า: น. สิ่งซึ่งมีลักษณะแข็งอย่างเขาสัตว์อยู่ปลายนิ้ว สําหรับป้องกัน
ส่วนของปลายนิ้วหรือหยิบจับเป็นต้น.
【 เล็บนาง 】แปลว่า: น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลา
ฟ้อนรํา.
【 เล็บมือนาง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นรูปยาวราว ๒ องคุลี
หัวท้ายเรียว ใส่น้ำกะทิจนชุ่ม โรยงาคั่วผสมน้ำตาล เกลือ และ
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
【 เล็บครุฑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Polyscias/ วงศ์ Araliaceae ใบมี
ลักษณะต่าง ๆ.
【 เล็บควาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Bauhinia pottsii/ G. Don ในวงศ์ Leguminosae
พูปลายใบเว้าลึกไม่เกินครึ่งหนึ่งของแผ่นใบ ดอกมีหลายสี.
【 เล็บมือนาง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน เล็บ./
【 เล็บมือนาง ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด /Quisqualis indica/ L. ในวงศ์ Combretaceae
ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออก
เป็นช่อ เมล็ดใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด /Musa/
/acuminata/ Colla ผลเล็กอย่างนิ้วมือ.
【 เล็บเหยี่ยว 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Zizyphus oenoplia/ Miller ในวงศ์
Rhamnaceae ต้นมีหนามโค้ง ผลเล็ก กินได้, หมากหนาม ก็เรียก.
【 เลบง 】แปลว่า: ละเบง ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข. เลฺบง ว่า การเล่น).
【 เลป–, เลปน์ 】แปลว่า: [เลปะ–, เลบ] น. การไล้, การทา, เครื่องลูบไล้ เช่น เฉวียงสายพรรณ
รายสูตรวิภุสนพัตรมาลัยเลปน์กามา ตระศัก. (เสือโค). (ป., ส.).
【 เลปกร 】แปลว่า: [เลปะกอน] น. ช่างอิฐ, ช่างปูน. (ป.).
【 เลเป 】แปลว่า: (ถิ่น–จันทบุรี, ระยอง) น. ต้นมหาหงส์. /(ดู มหาหงส์)./
【 เลเพ 】แปลว่า: ว. เรี่ยราย, ไม่รวมกัน.
【 เลเพลาดพาด 】แปลว่า: ว. กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดอย่างยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ
ไม่เป็นที่เป็นทาง, เลอะเทอะ, เช่น นอนเลเพลาดพาด ทิ้งข้าวของ
ไว้เลเพลาดพาด.
【 เล็ม 】แปลว่า: ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น
เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือก
เก็บแต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย
เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.
【 เล็มล่า 】แปลว่า: (กลอน) ก. แสวงหาหญ้าได้แต่ทีละน้อย.
【 เล่ม 】แปลว่า: ลักษณนามสําหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียว
อย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียก
เกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่มด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ
๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.
【 เลย 】แปลว่า: ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลย
บ้านไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดง
ว่ากระทำกริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกิน
ข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลัง
คำอื่นเพื่อเน้นความว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย
ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้ว
ยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็น
ด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋าเลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขา
แตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้ายไปมาก เลยต้องเดิน
ย้อนกลับมาใหม่.
【 เลยตามเลย 】แปลว่า: ว. ตามแต่จะเป็นไปเพราะพลาดและล่วงเลยไปแล้ว เช่น
เอาเงินเกินไปแล้วก็เลยตามเลย ไม่ขอคืน.
【 เลยเถิด 】แปลว่า: ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น
ลามปาม.
【 เลว 】แปลว่า: ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม;
สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว.
ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
【 เลวง 】แปลว่า: [ละเวง] ว. ฟุ้งไป; เสียงอื้ออึง.
【 เลวูโลส 】แปลว่า: น. ฟรักโทส. (อ. laevulose).
【 เลศ 】แปลว่า: [เลด] น. การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคํา
นัย เป็น เลศนัย. (ส.; ป. เลส).
【 เลศนัย 】แปลว่า: [เลดไน] น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที
เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.
【 เลษฏุ 】แปลว่า: เลดสะตุ น. เลฑฑุ, ก้อนดิน. (ส.; ป. เลฑฺฑุ).
【 เลห, เล่ห์ 】แปลว่า: น. กลอุบายหรือเงื่อนงําอันอาจทําให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด,
ใช้ว่า เล่ห์กล ก็มี. ว. คล้าย, เปรียบ, เช่น, เหมือน.
【 เล่ห์กระเท่ห์ 】แปลว่า: น. กลอุบาย, กลมารยา, อุบายล่อลวง.
【 เล่ห์กล 】แปลว่า: น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงผิดหรือเพื่อให้เข้าใจผิด.
【 เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม 】แปลว่า: น. ชั้นเชิง, อุบาย.
【 เลหยะ 】แปลว่า: เลหะยะ ว. (ของ) ควรลิ้ม. (ส.).
【 เลหลัง 】แปลว่า: [–หฺลัง] ก. ขายสิ่งของโดยวิธีที่ผู้ต้องการประมูลราคากันให้สูง
ขึ้นโดยลําดับ ใครให้ราคาสูงสุดก็เป็นผู้ซื้อได้; ขายทอดตลาด.
(โปรตุเกส = leilao).
【 เลหลา 】แปลว่า: [–หฺลา] น. หลา.
【 เลหะ 】แปลว่า: (แบบ) น. การเลีย; ผู้เลีย; ของที่พึงเลีย. (ส.).
【 เลอ 】แปลว่า: บ. เหนือ, ข้างบน, พ้น. ว. ยิ่ง. (ข.).
【 เลอโฉม 】แปลว่า: ว. มีรูปงามยิ่ง.
【 เลอภพ 】แปลว่า: (วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.
【 เลอมาน 】แปลว่า: ว. เหนือจิตใจ, สุดใจ, จิตใจสูงสุด.
【 เลอลบ 】แปลว่า: (วรรณ) น. ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น.
【 เลอเลิศ 】แปลว่า: ว. เลิศยิ่ง, เลิศเลอ ก็ว่า.
【 เลอสรวง 】แปลว่า: (วรรณ) น. ผู้ครองสวรรค์.
【 เลอหล้า 】แปลว่า: (วรรณ) น. ผู้ครองโลก.
【 เลออาสน์ 】แปลว่า: [–อาด] ก. นั่งเหนืออาสน์.
【 เล่อ 】แปลว่า: ว. แสดงอาการมีหน้าตาผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ,
เซ่อซ่า, เร่อร่า กะเล่อกะล่า หรือ กะเร่อกะร่า ก็ว่า.
【 เล่อล่า 】แปลว่า: ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่า
ผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนน
เลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่น
การพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทาง
เล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.
【 เลอะ 】แปลว่า: ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ
แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด,
เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้
เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก
เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว
ชักจะเลอะ.
【 เลอะเทอะ 】แปลว่า: ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหกเลอะเทอะ,
เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยาย
หมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมา
พูดจาเลอะเทอะ, โบราณใช้ว่าเลอะเพอะ ก็มี.
【 เลอะเลือน 】แปลว่า: ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ
【 เละ 】แปลว่า: ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ
น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น
ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ;
โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ
ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
เลอะเลือน.
【 เละเทะ 】แปลว่า: ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ; มีความ
ประพฤติเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เช่น คนกินเหล้าเมายา
เป็นคนเละเทะ เชื่อถือไม่ได้, มีความประพฤติเป็นที่น่ารังเกียจ
(มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น ผู้หญิงคนนั้นทำตัวเละเทะ.
【 เลา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Saccharum spontaneum/ L. ในวงศ์ Gramineae
ดอกสีขาวเงิน เป็นมัน, พง หรือ อ้อยเลา ก็เรียก; เรียกผมที่หงอก
ขาวและมีสีดำแซมอยู่บ้างว่า ผมสีดอกเลา.
【 เลา ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ลองในหรือกระบอกสำหรับสอดเพลาในดุมเกวียน.
【 เลา ๓ 】แปลว่า: ลักษณนามเรียกเครื่องเป่าที่มีลักษณะยาวตรงและกลม
อย่างปี่ ขลุ่ย เช่น ปี่เลาหนึ่ง ขลุ่ย ๒ เลา.
【 เลา ๆ 】แปลว่า: ว. พอเป็นรูปเค้า เช่น เขียนเป็นเลา ๆ.
【 เล่า 】แปลว่า: ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้
ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น
มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
【 เล่ามนตร์ 】แปลว่า: ก. ท่องบ่นมนตร์สาธยายมนตร์.
【 เล่าเรียน 】แปลว่า: ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น
เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อ
ศึกษาหาความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
【 เล่าลือ 】แปลว่า: ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
【 เล้า ๑ 】แปลว่า: น. คอกสําหรับให้สัตว์เช่นเป็ดและหมูอยู่.
【 เล้า ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น–พายัพ) น. ปีระกา.
【 เลากัย 】แปลว่า: ว. โลกีย์. (ส. เลากฺย; ป. โลกิย).
【 เลาความ 】แปลว่า: น. รูปความหรือราวความแต่ย่อ ๆ พอเป็นเค้าเรื่อง.
【 เล้าโลม 】แปลว่า: ก. กอดจูบลูบคลำแสดงความรัก, พูดปลอบโยนให้โอนอ่อนตาม,
โลมเล้า ก็ว่า.
【 เลาะ 】แปลว่า: ก. ชิดแนว เช่น พายเรือเลาะตลิ่ง เดินเลาะรั้ว; ลิด เช่น เลาะ
ตาไม้; ทำให้ด้ายเป็นต้นที่เย็บหลุด เช่น เลาะตะเข็บ เลาะผ้า.
【 เลาะลัด 】แปลว่า: ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้าเลาะ
ลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง
หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
【 เลิก 】แปลว่า: ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ
เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอน
สิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน
เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลง
ชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้วกลับบ้าน เลิก
เรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดงเดี๋ยวนี้
เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด
เลิกกิน เลิกเล่น.
【 เลิกความ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ยอมความ.
【 เลิกคิ้ว 】แปลว่า: ก. ยกคิ้วขึ้นแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
【 เลิกทัพ 】แปลว่า: ก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพล
รีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).
【 เลิกพระศาสนา 】แปลว่า: ก. ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง.
【 เลิกพล 】แปลว่า: ก. ยกพลกลับ.
【 เลิกรา 】แปลว่า: ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไปเรื่อย ๆ
บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
【 เลิกร้าง 】แปลว่า: ก. ทิ้งกัน, ไม่อยู่ด้วยกัน, (ใช้แก่ผัวเมีย).
【 เลิกล้ม 】แปลว่า: ก. เลิก เช่น เลิกล้มกิจการ, ยกเลิก เช่น เลิกล้มสัญญา, เลิก
ดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น เลิกล้มโครงการ, ล้มเลิก ก็ว่า.
【 เลิกแล้วต่อกัน 】แปลว่า: ก. ยุติการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน.
【 เลิ่กลั่ก 】แปลว่า: ว. แสดงอาการทําหน้าตาตื่นเพราะอัศจรรย์ใจ แปลกใจ หรือ
ตกใจ เป็นต้น.
【 เลิง 】แปลว่า: (ถิ่น–อีสาน) น. หนองน้ำ.
【 เลิ้ง 】แปลว่า: ว. ใหญ่.
【 เลินเล่อ 】แปลว่า: ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น
เด็กคนนี้เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว.
ว. อาการที่ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ
เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
【 เลิศ 】แปลว่า: ว. ยอดดีหรือยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ.
【 เลิศเลอ 】แปลว่า: ว. เลอเลิศ.
【 เลีย 】แปลว่า: ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลีย
แผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลว
เช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือ
ซีดเผือดไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้;
เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัว
ยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมา
กัดแทะไปว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยาย
เรียกกิริยาประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัข
เลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก.
【 เลียแผล 】แปลว่า: (ปาก) ก. พักฟื้น เช่น ไปนอนเลียแผลเสียหลายวัน.
【 เลียง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง บวบ น้ำเต้า หัวปลี
ยอดฟักทอง ปรุงด้วยหัวหอม พริกไทย กะปิ ตำกับกุ้งแห้งหรือ
ปลาย่าง บางทีก็มีกระชายด้วย ใส่ใบแมงลักให้มีกลิ่นหอม. ก.
กิริยาที่แกงเช่นนั้น เช่น วันนี้จะเลียงน้ำเต้า.
【 เลียง ๒ 】แปลว่า: ว. เย็น เช่น นํ้าล้นเลียงเอมโอช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 เลียง ๓ 】แปลว่า: ก. ไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก เช่น เลียงทอง, เรียกทองคำที่ไล่สิ่งไม่
บริสุทธิ์ออกแล้วว่า ทองคำเลียง.
【 เลี่ยง 】แปลว่า: ก. ลักษณะอาการที่เบี่ยงออกไปจากทางหรือแนวเดิม เช่น คำนี้
ไม่สุภาพเลี่ยงไปใช้คำอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการยิงให้ถูกผู้ประท้วง
จึงยิงเลี่ยงไปทางอื่น ขับรถเลี่ยงลงข้างทางเพื่อไม่ให้ชนวัวที่ยืน
ขวางถนน, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
เลี่ยงงาน เลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี เลี่ยงบาลี.
【 เลี้ยง 】แปลว่า: ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร
การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า; ประคับประคอง
ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ; กินร่วมกัน
เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น
เลี้ยงสังสรรค์; (ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น
เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
【 เลี้ยงแขก 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ได้รับเชิญเช่น เลี้ยงแขกในงานมงคลสมรส
อาหารพวกนี้สำหรับเลี้ยงแขก.
【 เลี้ยงไข้ 】แปลว่า: ก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อ
จะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.
【 เลี้ยงความ 】แปลว่า: ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วง
คดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการ
ว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
【 เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง 】แปลว่า: (สํา) ก. หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงานที่ทํา.
【 เลี้ยงชีพ 】แปลว่า: ก. เลี้ยงตัว, ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงอาตมา
ก็ว่า.
【 เลี้ยงดู 】แปลว่า: ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น,
(มักใช้แก่คน) เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่.
【 เลี้ยงดูปูเสื่อ 】แปลว่า: ก. ต้อนรับเลี้ยงดูด้วยอาหารการกินอย่างดี.
【 เลี้ยงได้แต่ตัว 】แปลว่า: ก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะบังคับ
จิตใจเขาได้, มักใช้ว่าเลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
【 เลี้ยงต้อนรับ 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารเนื่องในการรับรองแขกหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เช่น รัฐบาลเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง.
【 เลี้ยงตอบ, เลี้ยงตอบแทน 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารเป็นต้น ตอบแทนแก่ผู้ที่เคยเลี้ยงอาหารตน
มาก่อน.
【 เลี้ยงต้อย 】แปลว่า: ก. เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้น
เป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง.
【 เลี้ยงตัว 】แปลว่า: ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยงอาตมา
ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอเลี้ยงตัว
ได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการพลั้ง
พลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
【 เลี้ยงโต๊ะ 】แปลว่า: ก. เลี้ยงแขกอย่างกินโต๊ะ.
【 เลี้ยงน้ำใจ 】แปลว่า: ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ.
【 เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง 】แปลว่า: ก. ทํามาหากินพอเลี้ยงตัว.
【 เลี้ยงผม 】แปลว่า: ก. ไว้ผมยาวโดยไม่ตัด.
【 เลี้ยงผอก 】แปลว่า: ก. นำข้าวไปให้ชาวนากินในเวลาทำนา.
【 เลี้ยงผี 】แปลว่า: ก. เลี้ยงวิญญาณของคนที่ตายแล้วเพื่อเอามาใช้ประโยชน์
เช่นการเสี่ยงทายเป็นต้น.
【 เลี้ยงไฟ 】แปลว่า: ก. อาการที่คอยเติมเชื้อไฟไว้มิให้ไฟดับ.
【 เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย 】แปลว่า: (สำ) ก. เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก.
【 เลี้ยงไม่ขึ้น 】แปลว่า: ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้นเจริญ
รุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
【 เลี้ยงไม่เชื่อง 】แปลว่า: ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยง
อย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
【 เลี้ยงไม่โต 】แปลว่า: ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หาย
เป็นปรกติไม่ได้.
【 เลี้ยงไม่รู้จักโต 】แปลว่า: ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องขอเงินและ
ข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบออเซาะ
แม่เหมือนเด็ก ๆ.
【 เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย 】แปลว่า: ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ได้บ้าง.
【 เลี้ยงรับ 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น
เลี้ยงรับผู้ที่จะมาอยู่ใหม่.
【 เลี้ยงลา 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง
เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
【 เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง 】แปลว่า: ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดี
ก็ต้องได้รับโทษ.
【 เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ 】แปลว่า: (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาลจะได้รับความ
เดือดร้อนในภายหลัง.
【 เลี้ยงไว้ดูเล่น 】แปลว่า: ก. เลี้ยงไว้ก็ไม่เสียหายอะไร.
【 เลี้ยงส่ง 】แปลว่า: ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่จะจากไปอย่างเดินทางไปต่างประเทศ
เป็นต้น เช่น เลี้ยงส่งเพื่อนไปศึกษาต่างประเทศ.
【 เลี้ยงเสียข้าวสุก 】แปลว่า: ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
【 เลี้ยงอาตมา 】แปลว่า: ก. เลี้ยงตัว, เลี้ยงชีพ ก็ว่า.
【 เลียงขาว 】แปลว่า: /ดู เลียงฝ้าย./
【 เลียงผา ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด/ Capricornis sumatraensis/ ในวงศ์
Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดํา บางตัวมีสีขาวแซม ขายาว
และแข็งแรง มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้ง
ตัวผู้และตัวเมีย พบอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ, กูรํา โครํา
เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก.
【 เลียงผา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ใบคล้ายใบดีปลี ต้นและใบสีเขียว ใช้ทํายา
ได้. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เลียงฝ้าย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Eriolaena candollei/ Wall. ในวงศ์ Sterculiaceae
ใบรูปไข่ป้อม ปลายมี ๓ แฉก ดอกสีเหลือง ผลมีพูตามยาว
๗–๑๐ พู, ปอเลียงฝ้าย หรือ เลียงขาว ก็เรียก.
【 เลียงมัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในวงศ์ Tiliaceae คือ ชนิด /Berrya cordifolia/
(Willd.) Burret ใบป้อม ดอกสีขาวอมเหลือง ผลมีปีกตามแนว
ระนาบ ๓ คู่ และชนิด /B. mollis/ Wall. ex Kurz ใบมีขน.
【 เลียน 】แปลว่า: ก. เอาอย่าง, ทําหรือพยายามทําให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับ
แบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็กร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดย
เอาเงินตราเป็นเกณฑ์นํ้าหนัก.
【 เลี่ยน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Melia azedarach/ L. ในวงศ์ Meliaceae
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ใน
การก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก.
【 เลี่ยน ๒ 】แปลว่า: ว. เตียน, เกลี้ยง, เช่น อายุยังน้อยอยู่เลย หัวล้านเลี่ยนแล้ว ถูพื้น
เสียมันเลี่ยน; มีรสมันเกินไป เช่น แกงใส่กะทิข้นมากมันจนเลี่ยน.
น. เรียกแพรที่เป็นมัน ไม่มีดอกหรือลวดลาย ว่า แพรเลี่ยน.
【 เลียนไฟ 】แปลว่า: /ดู กระแห, กระแหทอง./
【 เลียบ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Ficus lacor/ Buch. ในวงศ์ Moraceae คล้าย
ต้นกร่าง มักขึ้นบนต้นไม้อื่น ทําให้ต้นไม้นั้นตาย ใบและผล
อ่อนกินได้.
【 เลียบ ๒ 】แปลว่า: ก. ไปตามริม, ไปตามขอบ, เช่น เรือแล่นเลียบชายฝั่ง เดินเลียบ
ริมคลอง.
【 เลียบค่าย 】แปลว่า: ก. ตรวจดูความเรียบร้อยของกองทัพ, ส่งคนไปลาดตระเวน
ดูกำลังข้าศึก.
【 เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ 】แปลว่า: ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ
เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน.
【 เลียบพระนคร 】แปลว่า: ก. เสด็จพระราชดำเนินประทักษิณรอบพระนครภายหลัง
บรมราชาภิเษกแล้ว, สามัญใช้ว่า เลียบเมือง.
【 เลียบเมือง 】แปลว่า: ก. เสด็จพระราชดําเนินประทักษิณรอบพระนครภายหลัง
บรมราชาภิเษกแล้ว.
【 เลียม 】แปลว่า: ก. เล็ม; แอบเข้ามา, เลียบ, เดินเลาะ; ทาบทาม.
【 เลี่ยม ๑ 】แปลว่า: ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย
หรือหุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วย
ชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น
ปกปิดตําหนิ หรือเพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน
เลี่ยมถ้วย.
【 เลี่ยมกาบกล้วย 】แปลว่า: ก. ตีแผ่นโลหะให้โค้งเหมือนกาบกล้วยและขดเป็นวง
ขนาดเท่าปากภาชนะ แล้วครอบลงที่ปากภาชนะและ
กวดให้แนบสนิท.
【 เลี่ยมพระ 】แปลว่า: ก. ใช้โลหะหุ้มพระเครื่องเพื่อกันไม่ให้แตกหรือชำรุด.
【 เลี่ยมฟัน 】แปลว่า: ก. ใช้โลหะเช่นทอง นาก หุ้มฟันเพื่อความสวยงามเป็นต้น.
【 เลี่ยมหุ้ม 】แปลว่า: ก. แผ่โลหะให้เป็นแถบยาวและขดเป็นวงขนาดเท่าปากภาชนะ
แล้วสวมรอบขอบปากภาชนะและพับเม้มกวดให้แนบสนิท.
【 เลี่ยม ๒ 】แปลว่า: น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเลี่ยม ๑ ประตู และติด ๑ ประตู
โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยม เจ้ามือใช้ ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่แทง
ติดไว้ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากที่แทงไว้ เจ้ามือกิน.
【 เลียว ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ว. แล้ว เช่น ชิสาท่านกุํลยว ลาญชีพ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
【 เลียว ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ขึงใบเรือทั้งล่างและบน เรียกว่า เลียวล่าง เลียวบน,
สายเชือกที่ผูกปลายเลียวสําหรับรั้งใบเรือให้กินลม เรียกว่า
สายเลียว, เขียนว่า เรียว ก็มี.
【 เลี้ยว 】แปลว่า: ก. หักแยก โค้ง หรือคดเคี้ยวไปจากแนวตรง เช่น เลี้ยวซ้าย
เลี้ยวขวา. น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลย
เลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า.
【 เลี้ยวลด 】แปลว่า: ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตาม
ไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด,
ลดเลี้ยว ก็ว่า.
【 เลือก ๑ 】แปลว่า: ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออก
ตามต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
【 เลือกตั้ง 】แปลว่า: ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่งด้วย
การออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
【 เลือกที่รักมักที่ชัง 】แปลว่า: (สํา) ก. ลําเอียง.
【 เลือกนักมักได้แร่ 】แปลว่า: (สํา) ก. เลือกมากมักจะได้ที่ไม่ดี (มักใช้พูดตําหนิ
ผู้เลือกคู่ครอง).
【 เลือกเฟ้น 】แปลว่า: ก. คัดเอาแต่ที่ดีเด่น, คัดเอาแต่ที่ต้องการ, เช่น เลือกเฟ้น
นักกีฬาทีมชาติ เลือกเฟ้นข้าราชการดีเด่น, เฟ้น ก็ว่า.
【 เลือกสรร 】แปลว่า: ก. พิจารณาคัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เลือกสรรถ้อยคำมา
ใช้ให้เหมาะสม.
【 เลือก ๒, เลือก ๆ 】แปลว่า: ว. เป็นเมือก, เหนียว ๆ ลื่น ๆ, เช่น ฝักกระเจี๊ยบต้มแล้วเป็นเลือก ๆ.
【 เลือก ๓ 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. บาง, ลาง.
【 เลือง 】แปลว่า: ว. เรือง, งาม, สุกใส, มักใช้ เรือง.
【 เลื่อง 】แปลว่า: ก. ลือ, โจษแซ่.
【 เลื่องลือ 】แปลว่า: ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ
เป็นที่เลื่องลือ.
【 เลือด 】แปลว่า: น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน
และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง
เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง
หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ
ป่วยในระหว่างที่มีระดู; โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น
เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์; ผู้ที่เคยศึกษาจาก
สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
【 เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ 】แปลว่า: (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมีความประพฤติไม่เป็น
ที่พอใจพ่อแม่.
【 เลือดกำเดา 】แปลว่า: น. เลือดที่ออกทางช่องจมูก.
【 เลือดข้นกว่าน้ำ 】แปลว่า: (สำ) น. ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
【 เลือดขึ้นหน้า 】แปลว่า: (สำ) ก. โกรธมากจนหน้าแดง, โมโห.
【 เลือดเข้าตา 】แปลว่า: (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือเจ็บ
ช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบ
คั้นไม่ไหว.
【 เลือดเข้าเลือดออก 】แปลว่า: ก. มีบาดแผล เช่น แค่หนามเกี่ยวก็ถึงกับเลือดเข้าเลือด
ออกแล้ว.
【 เลือดจะไปลมจะมา 】แปลว่า: ก. มีอารมณ์แปรปรวนผิดปรกติเพราะสูงอายุถึงระดับหนึ่ง
มักเกิดแก่ผู้หญิงที่มีวัยใกล้จะหมดระดู.
【 เลือดจาง 】แปลว่า: ว. มีคุณสมบัติที่ดีของบรรพบุรุษลดน้อยลง.
【 เลือดชั่ว 】แปลว่า: น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่
ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง.
【 เลือดโชก, เลือดท่วมตัว, เลือดสาด, เลือดอาบ 】แปลว่า: น. เลือดออกมาก.
【 เลือดดำ 】แปลว่า: น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยหรือขาดออกซิเจน
มีสีแดงคล้ำ.
【 เลือดเดือด 】แปลว่า: ว. โมโหฉุนเฉียวขึ้นมาทันทีทันใด.
【 เลือดแดง 】แปลว่า: น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนมาก มีสีแดงสด.
【 เลือดตกใน 】แปลว่า: น. เลือดที่ไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก
แทงเป็นต้น.
【 เลือดตกยางออก 】แปลว่า: ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึงเลือดตก
ยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด
ตกยางออกเลย.
【 เลือดตากระเด็น 】แปลว่า: ว. ลำบากหรือยากแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น กว่าจะหา
เงินมาซื้อบ้านได้แทบเลือดตากระเด็นทีเดียว.
【 เลือดท่วมท้องช้าง 】แปลว่า: ว. นองเลือด.
【 เลือดทาแผ่นดิน 】แปลว่า: ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดิน.
【 เลือดนก 】แปลว่า: ว. สีแดงอย่างสีเลือดของนก.
【 เลือดเนื้อ 】แปลว่า: น. ลูกในไส้, ลูกของตนแท้ ๆ; ชีวิต เช่น ปฏิวัติโดยไม่เสีย
เลือดเนื้อ.
【 เลือดเนื้อเชื้อไข 】แปลว่า: น. ลูกหลาน, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เข้าศึกษาและจบ
จากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เขาเป็นเลือดเนื้อเชื้อไข
ธรรมศาสตร์.
【 เลือดในอก 】แปลว่า: (สํา) น. ลูก.
【 เลือดผสม 】แปลว่า: น. ผู้ที่มีเลือดพ่อและแม่ต่างชาติกัน.
【 เลือดฝาด 】แปลว่า: น. เลือดที่แสดงออกทางผิวพรรณ เช่น มีเลือดฝาดดี
หมายความว่ามีผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล.
【 เลือดพล่าน 】แปลว่า: ว. โมโหฉุนเฉียวอย่างรุนแรง.
【 เลือดเย็น ๑ 】แปลว่า: ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้โดยไม่
รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
【 เลือดเย็น ๒ 】แปลว่า: น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกาย
ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ
เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
【 เลือดร้อน 】แปลว่า: ว. โกรธง่าย, โมโหง่าย.
【 เลือดแรง 】แปลว่า: น. ลูกที่มีลักษณะเด่นในทางกรรมพันธุ์ไปทางพ่อหรือแม่
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น พ่อขี้ริ้ว แม่สวย ถ้าลูกขี้ริ้ว ก็แสดงว่า
เลือดพ่อแรงกว่า ถ้าลูกสวย ก็แสดงว่า เลือดแม่แรงกว่า.
【 เลือดล้างด้วยเลือด 】แปลว่า: ก. แก้แค้นด้วยวิธีรุนแรงในทำนองเดียวกัน.
【 เลือดล้างหน้า 】แปลว่า: น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด
ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
【 เลือดเสีย 】แปลว่า: น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น.
【 เลือดหมู 】แปลว่า: ว. สีแดงคล้ำอย่างสีเลือดของหมู.
【 เลือดอุ่น 】แปลว่า: น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกาย
ไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่น
คน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น.
【 เลือดไม้ 】แปลว่า: /ดู เรือดไม้./
【 เลือน, เลือน ๆ 】แปลว่า: ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด
มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น,
เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
【 เลือนราง 】แปลว่า: ว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนราง
ไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.
【 เลื่อน 】แปลว่า: น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน
สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด,
ยานชนิดหนึ่งใช้แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้น
หิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดย
ลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง;
เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อนเวลาเดินทาง
เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้นไปกว่า
เดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร)
เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
【 เลื่อนที่ 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า.
【 เลื่อนเปื้อน 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน.
【 เลื่อนลอย 】แปลว่า: ว. ไม่คงที่, ไม่แน่นอน, เช่น ความฝันเลื่อนลอย พูดจาเลื่อนลอย
ไม่มีหลักฐาน สติเลื่อนลอย ข้อกล่าวหาเลื่อนลอย.
【 เลื่อม 】แปลว่า: น. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็น
รูปกลมแบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามันสำหรับใช้ปัก
ลวดลาย เช่นเสื้อโขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์
เป็นต้น. ว. เป็นเงามัน.
【 เลื่อมพราย 】แปลว่า: ว. เป็นเงามันแพรวพราย.
【 เลื่อมใส 】แปลว่า: ก. มีความเชื่อถือ เช่น เลื่อมใสศาสนา, มีจิตยินดี, เห็นชอบด้วย,
เช่น เลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เลื่อมใสในแนวการประพฤติ
ปฏิบัติของเขา.
【 เลื่อย 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับตัด มีหลายชนิด ใบเลื่อยทําด้วยเหล็กกล้า
ด้านที่ใช้เลื่อยมีคมเป็นฟันจัก ๆ. ก. ตัดด้วยเลื่อย.
【 เลื่อยฉลุ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อย
มีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมี
คันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอน
ล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน
ขนาดเล็ก.
【 เลื่อยชักไม้ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น
ปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาวที่เรียกว่า
อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้ามมีเชือก
คล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.
【 เลื่อยโซ่ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัด ซอยไม้ หรือโค่นต้นไม้ ใบเลื่อยมี
ลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันคล้ายสายโซ่เคลื่อนที่หมุนเวียน
บนคานแบน ๆ ด้วยกำลังมอเตอร์.
【 เลื่อยตะขาบ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น
แผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้าง
ทำเป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย
ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
【 เลื่อยทำทอง 】แปลว่า: น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวดแบน
ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วย
เหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและ
ทำด้วยเหล็กแข็งกว่า.
【 เลื่อยธนู 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น
แถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่ง
ทำด้วยเหล็กดัดโค้งคล้ายคันธนู.
【 เลื่อยยมบาล 】แปลว่า: น. เลื่อยตะขาบ.
【 เลื่อยโยง 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบ
ยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่างผูกโยง
กับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อยให้
ทำงาน.
【 เลื่อยลอ 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
【 เลื่อยลันดา, เลื่อยวิลันดา 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้น โคนใหญ่
ปลายรี ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นคันสำหรับจับ.
【 เลื่อยวงเดือน 】แปลว่า: น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่โดยรอบ.
【 เลื่อยหางหนู 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ
เป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้
เป็นรูปขอสำหรับจับ.
【 เลื่อยเหล็ก 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว
ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อยซึ่งทำ
ด้วยเหล็ก ที่โคนคันมีด้ามสำหรับจับ.
【 เลื่อยอก 】แปลว่า: น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือโกรกไม้ ลักษณะคล้ายเลื่อยชัก
แต่ขนาดย่อมและสั้นกว่า.
【 เลื้อย 】แปลว่า: ก. ทอดวกเวียนไป (ใช้แก่ไม้เถา), เสือกไปด้วยอก (ใช้แก่สัตว์
ไม่มีตีน ตัวยาว) เช่น งูเลื้อย ไส้เดือนเลื้อย.
【 เลื้อยคลาน 】แปลว่า: น. สัตว์เลือดเย็นจําพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วย
ปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลาย
ชนิดออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า
สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน.
【 เลื้อยเจื้อย 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดยืดยาวแต่มีสาระน้อย, เรื่อยเจื้อย ก็ว่า.
【 เลื่อยล้า 】แปลว่า: ว. เมื่อยล้า, เหนื่อยอ่อน, บอบชํ้า, ในบทกลอนใช้ว่า เมลื่อยมล้า ก็มี.
【 แล ๑ 】แปลว่า: ก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา,
ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น
เป็น แลดู แลเห็น.
【 แลหน้าแลหลัง 】แปลว่า: ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแลหน้าแลหลัง
ให้ดีเสียก่อน.
【 แลเหลียว 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มีใคร
แลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
【 แล ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ
ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มัก
ใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์)
เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น
หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้า
คืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
【 แล ๓ 】แปลว่า: สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แล
ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุง
แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือ
ค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
【 แล่ 】แปลว่า: ก. นอนใบมีดแล้วเฉือนเอาออก เช่น แล่เอาแต่เนื้อ ๆ.
【 แล่เนื้อเถือหนัง 】แปลว่า: ก. บีบบังคับเอาทรัพย์สินจนอีกฝ่ายหนึ่งยากแค้น.
【 แล้ 】แปลว่า: ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือ
คอนเป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง,
ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
【 แลก 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งหนึ่งให้ไปเพื่อได้สิ่งหนึ่งที่ต้องการมา เช่น แลกเชลย
แลกกล้วยไม้ นักกีฬาแลกธงกัน, ซื้อของด้วยของ เช่น เอาน้ำมัน
แลกข้าว.
【 แลกเงิน 】แปลว่า: ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีกหรือหน่วยย่อย,
แตกเงิน ก็ว่า, แลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกัน เช่น แลกเงิน
ดอลลาร์เป็นเงินบาท.
【 แลกเปลี่ยน 】แปลว่า: ก. เอาของต่อของเป็นต้นแลกกัน เช่น แลกเปลี่ยนตำแหน่ง
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม. (กฎ) น. ชื่อสัญญาชนิดหนึ่งซึ่งคู่
กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกัน.
【 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 】แปลว่า: ก. ผลัดกันแสดงความคิดเห็นในการประชุมเป็นต้น.
【 แลกหมัด 】แปลว่า: ก. ชกโต้ตอบกันไปมา.
【 แล็กเกอร์ 】แปลว่า: น. น้ำมันชักเงาประเภทหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิววัตถุ
ให้เป็นเงามันและสวยงาม ประกอบด้วยตัวทำละลายที่
ระเหยแห้งได้ง่าย เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol)
บิวทิลแอซิเทต (butyl acetate) และตัวถูกละลาย เช่น
ไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ไวนิลเรซิน (vinyl resin)
เมื่อนำไปทาหรือพ่นผิววัตถุ ตัวทำละลายจะระเหยแห้งไป
อย่างรวดเร็ว ทิ้งตัวถูกละลายให้เป็นของแข็งเคลือบผิววัตถุ
เป็นเงามัน มีหลายชนิด เช่น ชนิดใช้กับพื้นไม้ ชนิดใช้กับพื้น
โลหะ ชนิดใช้พ่นเคลือบเส้นผมให้ทรงรูป ชนิดใช้ทาเคลือบเล็บ.
【 แล็กโทส 】แปลว่า: (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล
ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม
ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย.
(อ. lactose).
【 แลง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นดินอ่อน เมื่อถูก
ลมแล้วแข็ง เป็นหินสีแดงอย่างอิฐเผา แต่ปรุเป็นรูเหมือนไม้ที่
เพรียงกิน เรียกว่า หินแลง หรือ ศิลาแลง.
【 แลง ๒ 】แปลว่า: น. แมง ในคําว่า แลงกินฟัน.
【 แลงกินฟัน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซึ่งเข้าใจผิดว่ามีแมงชนิดหนึ่งเกาะกินรากฟัน
ทําให้ฟันผุ.
【 แล่ง ๑ 】แปลว่า: น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน =
๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน.
【 แล่ง ๒ 】แปลว่า: น. รังกระสุน, ที่เก็บลูกกระสุนดินดำหรือลูกศร.
【 แล่ง ๓ 】แปลว่า: ก. ผ่า, ทำให้แตก, เช่น แล่งมะพร้าว; รีดเป็นเส้นบาง ๆ เช่น
แล่งเงิน แล่งทอง. ว. เรียกเงินหรือทองที่รีดเป็นเส้นบาง ๆ
ว่า เงินแล่ง ทองแล่ง.
【 แล้ง 】แปลว่า: น. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี
เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น
ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้
นับวันจะแห้งแล้งเป็นทะเลทราย.
【 แล่งพระราม 】แปลว่า: /ดู เขนงนายพราน./
【 แลน 】แปลว่า: /ดู ตะกวด./
【 แล่น ๑ 】แปลว่า: ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่น
เร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชาน
แล่นถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
【 แล่นก้าว 】แปลว่า: ก. แล่นเรือใบเฉียงไปเฉียงมาแบบสลับฟันปลาเพื่อให้ถึง
จุดหมายซึ่งอยู่ทางด้านต้นลม, แล่นทวนลม ก็ว่า.
【 แล่นขวางลม 】แปลว่า: ก. แล่นเรือใบโดยตั้งใบเรือให้ทำมุมประมาณ ๙๐? กับ
ทิศทางลมเพื่อให้ถึงจุดหมายซึ่งอยู่ขวางทิศทางลม.
【 แล่นตามลม 】แปลว่า: ก. แล่นเรือใบไปตามทิศทางลมเพื่อให้ถึงจุดหมายซึ่งอยู่
ในทิศทางเดียวกับลม.
【 แล่นทวนลม 】แปลว่า: ก. แล่นเรือใบเฉียงไปเฉียงมาแบบสลับฟันปลาเพื่อให้ถึง
จุดหมายซึ่งอยู่ทางด้านต้นลม, แล่นก้าว ก็ว่า.
【 แล่นใบบนบก 】แปลว่า: (สำ) ก. คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.
【 แล่น ๒ 】แปลว่า: น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้
ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าว
ว่า เป่าแล่น.
【 แลนทานัม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๗ สัญลักษณ์ La เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๙๒๐?ซ. (อ. lanthanum).
【 แลบ 】แปลว่า: ก. เหลื่อมหรือทําให้เหลื่อมออกจากที่เดิม (มักใช้แก่ของแบน ๆ)
เช่น แขนเสื้อชั้นในแลบ แลบลิ้น; เป็นแสงแวบ ๆ ออกไป เช่น
ฟ้าแลบ ไฟแลบ.
【 แลบลิ้นปลิ้นตา 】แปลว่า: ก. แลบลิ้นและปลิ้นตาแสดงอาการล้อเลียน (มักใช้แก่เด็ก).
【 แลบลิ้นหลอก 】แปลว่า: ก. แลบลิ้นแสดงอาการล้อเลียนหรือเยาะเย้ย.
【 แล้ว 】แปลว่า: ว. ลักษณะอาการกระทําใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง
เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้วหรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง
(จะเป็นการกระทําอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น
กินแล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
【 แล้วกัน 】แปลว่า: (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง
เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน
ไปเมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอัน
ยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่
เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
【 แล้วก็แล้วกันไป, แล้วกันไป 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดขอร้องให้เลิกแล้วต่อกัน เช่น เหตุการณ์ก็ผ่าน
พ้นไปแล้ว เรื่องนี้ขอให้แล้วกันไป.
【 แล้วก็แล้วไป 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุด
หรือยุติลงแล้วก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.
【 แล้วด้วย, แล้วไปด้วย 】แปลว่า: ว. ล้วนด้วย เช่น แล้วไปด้วยทอง; สำเร็จด้วย เช่น แล้วด้วยใจ.
【 แล้วแต่ 】แปลว่า: ว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการ
ตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่
บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะ
รัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.
【 แล้วไป 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสร็จสิ้นไป, ช่างปะไร, (มักพูดแสดงความไม่พอใจ)
เช่น ไม่ทำก็แล้วไปให้กินแล้วไม่กินก็แล้วไป.
【 แล้วไปแล้ว 】แปลว่า: ว. สิ้นสุดแล้ว เช่น เรื่องมันแล้วไปแล้ว เอามาพูดทำไมอีก.
【 แล้วไม่รู้จักแล้ว, แล้วไม่รู้แล้ว 】แปลว่า: ว. ซ้ำ ๆ ซาก ๆ, ร่ำรี้ร่ำไร, เช่น พูดแล้วไม่รู้จักแล้ว
【 บ่นอยู่นั่นแหละ 】แปลว่า:
แล้วไม่รู้แล้ว.
【 …แล้ว…เล่า, แล้ว ๆ เล่า ๆ 】แปลว่า: ว. ทําแล้วทําอีกอยู่นั่นเอง เช่น พูดแล้วพูดเล่า กินแล้วกินเล่า
ทําแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้จักเสร็จ.
【 แล้ว ๒ 】แปลว่า: ก. จบ, สิ้น, เสร็จ, เช่น งานแล้วหรือยัง.
【 และ ๑ 】แปลว่า: ก. เชือด แล่ เถือสิ่งที่ยังมีเหลือติดอยู่กับสิ่งอื่นเช่นเนื้อติดกระดูก
ให้หลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นต้น.
【 และเล็ม 】แปลว่า: ก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า
เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็ม
ยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.
【 และเลียม 】แปลว่า: ก. พูดเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง เช่น ชายเจ้าชู้และเลียมผู้หญิง;
เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน.
【 และ ๒ 】แปลว่า: สัน. กับ, ด้วยกัน.
【 โล่ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแพรชนิดหนึ่งเส้นไหมโปร่ง, ใช้เรียกผ้าบาง ๆ ก็มี เช่น
ผ้าป่านโล่.
【 โล่ ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ
ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา
คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย
คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
【 โล้ 】แปลว่า: ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ
เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง
ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง
ทะเล ว่า เรือโล้.
【 โล้ชิงช้า 】แปลว่า: ก. ยืนบนชิงช้าแล้วใช้มือโหนเชือกโยกตัวให้ชิงช้าแกว่งโยนไปมา.
【 โลก, โลก– 】แปลว่า: [โลก, โลกะ–, โลกกะ–] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์
เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก
พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่
เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตร
ยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร
มีเนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
【 โลกเชษฐ์ 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. “ผู้เป็นใหญ่ในโลก” คือ พระพุทธเจ้า. (ส. โลกเชฺยษฺ?;
ป. โลกเชฏฺ?).
【 โลกธรรม 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนา
มี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).
【 โลกธาดา 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. พระผู้สร้างโลก. (ส. โลกธาตฺฤ).
【 โลกธาตุ 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. แผ่นดิน. (ป., ส.).
【 โลกนาถ 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. ผู้เป็นที่พึ่งของโลก, ทางพระพุทธศาสนาหมายถึง
พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
【 โลกบาล 】แปลว่า: [โลกกะ–] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลก
ในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจัตุโลกบาล คือ
๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพา
หรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือจอมกุมภัณฑ์
รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษา
โลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษา
โลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).
【 โลกย์, โลกยะ, โลกัย 】แปลว่า: ว. ของโลก. (ส. โลกฺย).
【 โลกวัชชะ 】แปลว่า: [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหาย
ที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคน
ทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น
ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
【 โลกวิทู 】แปลว่า: [โลกะ–] น. “ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก” คือ พระพุทธเจ้า. (ป.; ส. โลก + วิทุ).
【 โลกสถิติ 】แปลว่า: [โลกะ–] น. ความเป็นอยู่ของโลก. (ส.).
【 โลกอุดร, โลกุตระ 】แปลว่า: [โลกอุดอน, โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก.
(ป., ส. โลก + อุตฺตร).
【 โลกัตถจริยา 】แปลว่า: [โลกัดถะจะ–] น. ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก.
(ป. โลก + อตฺถ + จริยา).
【 โลกันตร์ 】แปลว่า: น. ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด.
(ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).
【 โลกา 】แปลว่า: (กลอน) น. โลก.
【 โลกาธิบดี 】แปลว่า: [–ทิบอดี, –ทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก. (ป. โลกาธิปติ).
【 โลกาธิปไตย 】แปลว่า: [–ทิปะไต, –ทิบปะไต] น. การถือโลกเป็นใหญ่. (ป. โลกาธิปเตยฺย).
【 โลกานุวัตร 】แปลว่า: น. ความประพฤติตามโลก. (ป. โลกานุวตฺต; ส. โลกานุวฺฤตฺต).
【 โลกาภิวัตน์ 】แปลว่า: น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะ
อยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่ง
ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา
ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
【 โลกามิส 】แปลว่า: น. เครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส
และสัมผัส. (ป. โลก + อามิส).
【 โลกายัต 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า
โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า
ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัว
กันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า
จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธิ
นี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็น
ว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
【 โลกาวินาศ 】แปลว่า: ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม
ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถี
ที่เป็นโลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
【 โลกิย–, โลกิยะ, โลกีย์ 】แปลว่า: ว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ
โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ, โดยปริยายหมายถึงที่
เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. (ป.; ส. เลากฺย).
【 โลกียวัตร 】แปลว่า: น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกิย + วตฺต).
【 โลกียวิสัย 】แปลว่า: น. เรื่องโลกีย์, เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์, เรื่องของ
คนที่ยังมีกิเลสอยู่.
【 โลกียสุข 】แปลว่า: น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การดู
มหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง.
【 โลกุตร–, โลกุตระ 】แปลว่า: [โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, เช่น โลกุตรธรรม
เรื่องโลกุตระ.
【 โลกุตรธรรม 】แปลว่า: [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔
(คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค)
ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล)
และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
【 โลกุตรภูมิ 】แปลว่า: [โลกุดตะระ–] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ
พระอริยบุคคล.
【 โลเกศ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก, จอมโลก. (ส.; ป. โลเกส).
【 โลกย์, โลกยะ, โลกัย 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกัตถจริยา 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกันตร์ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกา 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกาธิบดี 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกาธิปไตย 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกานุวัตร 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกาภิวัตน์ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกามิส 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกายัต 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกาวินาศ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกิย–, โลกิยะ, โลกีย์ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกียวัตร 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกียวิสัย 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกุตร–, โลกุตระ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกุตรธรรม 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลกุตรภูมิ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลเกศ 】แปลว่า: /ดู โลก, โลก–./
【 โลง 】แปลว่า: น. หีบสําหรับบรรจุศพ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง,
ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้
ดาวดอกบัว ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 โล่ง 】แปลว่า: ว. มีลักษณะว่าง เตียน ไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ที่โล่ง ป่า
ถูกตัดต้นไม้เสียโล่ง, ที่เปิดตลอดไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น
ห้องโล่ง, โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากอุปสรรค เช่น เปิด
ทางโล่งแล้ว.
【 โล่งคอ 】แปลว่า: ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชา
หรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.
【 โล่งจมูก 】แปลว่า: ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
【 โล่งใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่ง
ใจหน่อย.
【 โล่งโถง 】แปลว่า: ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ
ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
【 โล่งหู 】แปลว่า: ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้
รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.
【 โล่งอก 】แปลว่า: ก. รู้สึกปลอดโปร่งใจเพราะปลดเปลื้องภาระหนักได้แล้ว.
【 โล่งอกโล่งใจ 】แปลว่า: ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ.
【 โล้ง 】แปลว่า: น. โรง.
【 โล่งโจ้ง 】แปลว่า: ว. โล่งโต้ง.
【 โล่งโต้ง, โล้งโต้ง 】แปลว่า: ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน
ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว
ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล
โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
【 โลจนะ 】แปลว่า: [โลจะ–] น. ดวงตา. (ป., ส.).
【 โลณะ 】แปลว่า: น. เกลือ. ว. เค็ม. (ป., ส.).
【 โลด 】แปลว่า: /ดู เหมือดโลด (๑)./
【 โลดเต้น 】แปลว่า: ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอก
ดีใจเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
【 โลดโผน 】แปลว่า: ว. แปลกผิดธรรมดา เช่น สํานวนโลดโผน, ผาดโผนน่าหวาดเสียว
ต่ออันตราย เช่น ขับรถโลดโผน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ โจนทะยาน
เป็น โลดโผนโจนทะยาน หมายความว่า ผาดแผลงอย่างน่าหวาดเสียว
ต่ออันตราย เช่น เด็กซน ๆ ชอบเล่นโลดโผนโจนทะยาน.
【 โลดลิ่ว 】แปลว่า: ก. อาการที่ไปอย่างเร่งรีบ.
【 โลดแล่น 】แปลว่า: ก. อาการที่กระโดดวิ่งถลาไปด้วยความตื่นเต้นดีอกดีใจเป็นต้น.
【 โลดทะนง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Trigonostemon reidioides/ (Kurz)
Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกหอม ใช้ทํายาได้.
【 โล่ติ๊น 】แปลว่า: /ดู หางไหลแดง ที่ หางไหล ๒./
【 โลโต 】แปลว่า: น. อูฐ. (จ.).
【 โลท 】แปลว่า: [โลด] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Symplocos racemosa/ Roxb. ในวงศ์
Symplocaceae ใช้ทํายาได้. (ป. โลทฺท; ส. โลธฺร).
【 โลน ๑ 】แปลว่า: ว. อาการที่แสดงกิริยาวาจาหยาบคายไปในทางลามก, มักใช้เข้าคู่
กับคำ หยาบ เป็น หยาบโลน เช่น แสดงกิริยาโลน พูดจาหยาบโลน.
【 โลน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด /Pthirus pubis/ ในวงศ์ Pediculidae
ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว
อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน
ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด
กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
【 โล้น 】แปลว่า: ว. ลักษณะของหัวที่โกนผมออกหมด; เกลี้ยงเตียน เช่น เขาโล้น.
น. เรียกหัวโขนที่ไม่สวมมงกุฎหรือชฎา เช่น หัวนนทุก หัวเสนา
ยักษ์ ว่า หัวโล้น.
【 โลปะ 】แปลว่า: น. การลบ, การตัดออก, การทําให้หมด. (ป., ส.).
【 โลภ 】แปลว่า: น. ความอยากได้ไม่รู้จักพอ. (ป., ส.).
【 โลภโมโทสัน 】แปลว่า: ก. อยากได้มาก ๆ เช่น อย่างหนึ่งทุจริตคิดร้ายผัว อีกอย่าง
มัวโลภโมโทสัน. (ขุนช้างขุนแผน).
【 โลม ๑ 】แปลว่า: ก. ทําอาการประคองลูบให้รู้สึกว่าเอ็นดูรักใคร่เป็นต้น. น. เรียก
ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยวนาง
เบญกาย, หนังโลม ก็ว่า.
【 โลมเล้า 】แปลว่า: ก. กอดจูบลูบคลำแสดงความรัก, พูดปลอบโยนให้โอนอ่อน
ตาม, เล้าโลม ก็ว่า.
【 โลม– ๒, โลมะ, โลมา ๑ 】แปลว่า: น. ขน. (ป.).
【 โลมชาติ 】แปลว่า: [โลมมะชาด] น. ขน.
【 โลมา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti มีหลายชนิด
หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายปากยื่นแหลม บางชนิด
หัวกลมมน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ
หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา (/Sotalia/
/plumbea/) ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (/Delphinus delphis/)
ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (/Neophocaena/
/phocaenoides/) ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก.
【 โลละ 】แปลว่า: ว. โลเล, เหลวไหล, เหลาะแหละ, ไม่แน่นอน. (ป., ส.).
【 โลลุป 】แปลว่า: [โลลุบ, โลลุบปะ] ว. ที่มีความกระหาย, ที่มีความอยากได้. (ป., ส.).
【 โลเล 】แปลว่า: ว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับ
ร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.
【 โล้เล้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. ส่งเสียงเอะอะจนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น พ่อค้าส่งเสียงโล้เล้.
【 โลโล, โลโล้ 】แปลว่า: น. ชนชาวเขาพวกหนึ่งอยู่ทางแถบใต้ของประเทศจีน.
【 โลห–, โลหะ 】แปลว่า: [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา;
(วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อน
ที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้
เป็นเส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพ
ไอออนจะเป็นไอออนบวก.
【 โลหกุมภี 】แปลว่า: [โลหะ–] น. ชื่อนรกขุมหนึ่ง มีกระทะทองแดงเป็นที่ทรมาน. (ป.).
【 โลหะเจือ 】แปลว่า: น. โลหะที่เกิดจากการผสมโลหะต่างชนิดกัน เช่น นาก
ทองบรอนซ์, โลหะผสม ก็ว่า.
【 โลหะผสม 】แปลว่า: น. โลหะเจือ.
【 โลหัช 】แปลว่า: น. โลหะเจือ เช่น ทองเหลือง ทองบรอนซ์. (ป.).
【 โลหิต 】แปลว่า: น. เลือด. ว. สีแดง, โรหิต ก็ว่า. (ป., ส.).
【 ไล่ ๑ 】แปลว่า: ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ
หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก
จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้
จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อ
ทบทวนความรู้ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
【 ไล่กวด 】แปลว่า: ก. วิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทัน เช่น ตำรวจไล่กวดผู้ร้าย.
【 ไล่ ๆ กัน 】แปลว่า: ก. มีระดับหรือขนาดสูงต่ำเป็นต้นลดหลั่นกันตามลำดับ
เช่น มีลูกอายุไล่ ๆ กัน สูงต่ำไล่ ๆ กัน รุ่นไล่ ๆ กัน.
【 ไล่ขับ 】แปลว่า: ก. วิ่งตามเพื่อให้ทัน เช่น เด็กวิ่งไล่ขับกันมาบนถนน; บังคับ
ให้ออกไปให้พ้น เช่น ไล่ขับคนร้ายออกไปจากบ้าน.
【 ไล่ขี้ 】แปลว่า: ก. ขับขี้ตะกรันออกจากเนื้อโลหะโดยนำโลหะมาหลอม.
【 ไล่ช้าง 】แปลว่า: น. เรียกฝนเม็ดใหญ่ที่ตกลงมาซู่ใหญ่เพียงครู่เดียวแล้วหยุดว่า
ฝนไล่ช้าง, ฝนซู่ ก็เรียก.
【 ไล่ต้อน 】แปลว่า: ก. ไล่สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ เช่น ไล่ต้อนเป็ดเข้าเล้า
สุนัขไล่ต้อนฝูงแกะ นักมวยไล่ต้อนคู่ชกให้เข้ามุม.
【 ไล่ตะเพิด 】แปลว่า: ก. ออกเสียงไล่ให้หนีไป.
【 ไล่ทหาร 】แปลว่า: (ปาก) ก. เข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับราชการทหารตาม
หมายเกณฑ์.
【 ไล่ที่ 】แปลว่า: ก. บังคับให้ออกจากที่ดิน เช่น ฟ้องศาลไล่ที่; เรียงลำดับที่
ตามคะแนนสูงต่ำ.
【 ไล่ที่ทำวัง 】แปลว่า: (สํา) ก. บังคับให้ย้ายไปให้พ้นเพื่อตนจะเข้าไปอยู่.
【 ไล่น้ำ 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของพิธีพราหมณ์ทําในเดือน ๑๑ โดยมุ่งหมาย
ให้นํ้าลด.
【 ไล่นิ้ว 】แปลว่า: ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีประเภทเครื่องสีเครื่องดีดจากเสียงต่ำ
ไปหาสูงหรือจากเสียงสูงไปหาต่ำเพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
【 ไล่บาลี 】แปลว่า: ก. สอบความรู้ภาษาบาลี, โดยปริยายหมายความว่า ลองภูมิ,
ไล่ภูมิ.
【 ไล่เบี้ย 】แปลว่า: ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ)
เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดย
ปริยายหมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
【 ไล่แบบ 】แปลว่า: ก. ให้นักเรียนท่องบทเรียนตามที่สั่งให้ฟัง เช่น ครูไล่แบบนักเรียน.
【 ไล่เปิด 】แปลว่า: (ปาก) ก. ไล่ให้หนีไป.
【 ไล่ไปไล่มา 】แปลว่า: ก. ไล่เลียง, ไต่ถาม, เช่น ไล่ไปไล่มาก็เป็นญาติกัน ไล่ไปไล่มา
ก็รุ่นเดียวกัน.
【 ไล่ผม 】แปลว่า: ก. ตัดหรือเก็บเล็มผมให้เข้ารูปทรง.
【 ไล่ผี 】แปลว่า: ก. ทำพิธีร่ายมนตร์ขับผีที่เชื่อว่าสิงอยู่ในคนหรือสถานที่.
【 ไล่ภูมิ 】แปลว่า: ก. ซักถามเพื่อสอบพื้นความรู้.
【 ไล่มาติด ๆ 】แปลว่า: ก. ตามมาอย่างกระชั้นชิด เช่น ผู้ร้ายวิ่งไล่มาติด ๆ.
【 ไล่ราว 】แปลว่า: ก. ล่าสัตว์ด้วยวิธีตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์ตกใจวิ่งกระเจิด
กระเจิงไปตามทางที่ผู้ล่าต้องการ.
【 ไล่ลม 】แปลว่า: ก. ทำให้ลมหรือแก๊สออกจากร่างกายโดยวิธีใช้ยาหรือนวด
เป็นต้น.
【 ไล่ล่า 】แปลว่า: ก. ตามล่า เช่น ผู้ใหญ่บ้านไล่ล่าเสือ.
【 ไล่ลูกฆ้อง 】แปลว่า: ก. ปรับเสียงลูกฆ้องไม่ให้แปร่ง; โดยปริยายหมายความว่า
ดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษเรียงตัวตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว.
【 ไล่ลูกระนาด 】แปลว่า: ก. ปรับเสียงลูกระนาดไม่ให้แปร่ง.
【 ไล่เลี่ย 】แปลว่า: ว. พอ ๆ กัน, สูสี, เช่น สูงไล่เลี่ยกัน สอบได้คะแนนไล่เลี่ยกัน.
【 ไล่เลียง 】แปลว่า: ก. ซักไซ้, ไต่ถาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ซักไซ้ เป็น ซักไซ้ไล่เลียง.
【 ไล่ส่ง 】แปลว่า: ก. ไล่ไปให้พ้น.
【 ไล่สี 】แปลว่า: ก. เกลี่ยสีให้เสมอกันในการระบายสี ระบายสีให้เป็นไป
ตามลำดับของสีจากสีอ่อนไปหาแก่หรือจากสีแก่ไปหาอ่อน.
【 ไล่เสียง 】แปลว่า: ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง
สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
【 ไล่หนังสือ 】แปลว่า: ก. สอบไล่.
【 ไล่หลัง 】แปลว่า: ก. ตามมาติด ๆ, ตามมาใกล้ ๆ, เช่น ฝนไล่หลังมา มีคะแนน
ไล่หลังมา ด่าไล่หลัง.
【 ไล่ออก 】แปลว่า: ก. คัดชื่อออกจากทะเบียน เช่น ไล่ออกจากโรงเรียน, ให้ออกจาก
ราชการหรือวงการเพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง เช่น ไล่
ออกจากราชการ ไล่ออกจากงาน. (กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนัก
ที่สุดที่ใช้ลงแก่ข้าราชการ ผู้กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยสั่งให้
ออกจากราชการและไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญ.
【 ไล่ ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ต่าง ๆ เรียกว่า ไม้ไล่.
【 ไล้ 】แปลว่า: ก. ทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป เช่น ไล้ครีมให้ทั่วหน้า, เกลี่ยให้เสมอกัน,
เกลี่ยให้เรียบ, เช่น ไล้ปูน.
【 ไลย ๑ 】แปลว่า: [ไล] น. สลัก, ดาล, ลิ่ม.
【 ไลย ๒ 】แปลว่า: [ไล] น. ของที่จะพึงเลีย. (ป. เลยฺย).
【 ไลลา 】แปลว่า: (กลอน) ก. ไปมา, เยื้องกราย.
【 ไลเลย 】แปลว่า: ว. คล้ายคลึงกัน.
【 ไลไล้ 】แปลว่า: ก. ลูบไม่หยุด, ลูบถี่ ๆ.
【 ฦ, ฦๅ ๑ 】แปลว่า: วิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธี
ของสันสกฤต.
【 ฦๅ ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ลือ.
【 ฦๅชา 】แปลว่า: (โบ) ก. ลือชา.
【 ฦๅสาย 】แปลว่า: (โบ) น. ลือสาย.