【 พ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ
ในคําที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
【 พก ๑ 】แปลว่า: น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง
เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา
เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น
มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก.
(ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา
จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
【 พกนุ่น 】แปลว่า: (สํา) ว. ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่า
พกนุ่น.
【 พกพ่าย 】แปลว่า: ว. แตก ทําลาย.
【 พกลม 】แปลว่า: ว. มีแต่ลม คือ เหลวไหล, พูดจาไม่จริง, ใช้เข้าคู่กับคําโกหก เป็น
โกหกพกลม.
【 พกหิน 】แปลว่า: (สํา) ว. ใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหิน
ดีกว่าพกนุ่น.
【 พก ๒ 】แปลว่า: พะกะ น. นกยาง. (ป.).
【 พกจร 】แปลว่า: น. ประพฤติอย่างนกยาง คือ คนหน้าซื่อใจคดหรือหน้าเนื้อ
ใจเสือ. (ส.).
【 พกา 】แปลว่า: (กลอน) น. นกยาง.
【 พกา 】แปลว่า: /ดู พก ๒/.
【 พกุระ 】แปลว่า: (แบบ) น. เขาสัตว์สําหรับเป่า. (ส.).
【 พกุล 】แปลว่า: กุน น. ต้นพิกุล. (ส.).
【 พง ๑ 】แปลว่า: น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี
รกเป็นพง.
【 พงพี 】แปลว่า: น. ป่าดง.
【 พง ๒ 】แปลว่า: /ดู แขม ๑ และ เลา ๑/.
【 พงศ, พงศ์ 】แปลว่า: [พงสะ, พง] น. เชื้อสาย, เทือกเถา, เหล่ากอ, สกุล. (ส.; ป. วํส).
【 พงศกร 】แปลว่า: [สะกอน] น. ผู้ตั้งวงศ์, บรรพบุรุษ. (ส.).
【 พงศธร 】แปลว่า: [สะทอน] น. ผู้ดํารงวงศ์สกุล, ผู้สืบสกุล. (ส.).
【 พงศ์พันธุ์ 】แปลว่า: น. พวกพ้องที่เนื่องมาแต่วงศ์. (ส.).
【 พงศา 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้มีชาติสกุล.
【 พงศาวดาร 】แปลว่า: [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือ
พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร
กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
【 พงศาวลี 】แปลว่า: [วะลี] น. แผนลําดับเครือญาติ. (ส.).
【 พงศา 】แปลว่า: /ดู พงศ, พงศ์/.
【 พงศาวดาร 】แปลว่า: /ดู พงศ, พงศ์/.
【 พงศาวลี 】แปลว่า: /ดู พงศ, พงศ์/.
【 พจน, พจน์ ๑ 】แปลว่า: [พดจะนะ, พด] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจน).
【 พจนา 】แปลว่า: [พดจะ] น. การเปล่งวาจา, การพูด; คําพูด. (ป.).
【 พจนานุกรม 】แปลว่า: [กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่งเรียงตาม
ลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำ
เป็นต้นด้วย.
【 พจนารถ 】แปลว่า: [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
【 พจน์ ๒ 】แปลว่า: (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อน ซึ่งจะ
เป็นจํานวนเดียวหรือหลายจํานวนคูณหรือหารกันก็ได้. (อ. term).
【 พจนา 】แปลว่า: /ดู พจน, พจน์ ๑/.
【 พจนานุกรม 】แปลว่า: /ดู พจน, พจน์ ๑/.
【 พจนารถ 】แปลว่า: /ดู พจน, พจน์ ๑/.
【 พจนีย์ 】แปลว่า: [พดจะนี] ว. ควรว่ากล่าว. น. คําติเตียน. (ส.).
【 พจมาน 】แปลว่า: [พดจะมาน] น. คําพูด.
【 พจี 】แปลว่า: [พะจี] น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป. วจี).
【 พชระ 】แปลว่า: พดชะระ น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
【 พญา 】แปลว่า: พะยา น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็น
หัวหน้า, (มักใช้นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
【 พญาเดิน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงปี่พาทย์.
【 พญาไทย 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อพระราชาคณะผู้ใหญ่.
【 พญาแปแล 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พญาพยาต 】แปลว่า: (โบ) น. พญาปราชญ์, จอมปราชญ์.
【 พญาโศก 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่งในจําพวกเพลงโศก.
【 พญากาสัก 】แปลว่า: /ดู กาสัก ๒/.
【 พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Cephalotaxus griffithii/
【 Hook.f. ในวงศ์ 】แปลว่า:
Cephalotaxaceae. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด /Podocarpus imbricatus/
Blume ในวงศ์ Podocarpaceae.
【 พญาฉัททันต์ 】แปลว่า: น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด /Vandopsis gigantea/ (Lindl.) Pfitz.
ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีเหลืองประนํ้าตาล.
【 พญาช้างเผือก 】แปลว่า: /ดู กําลังช้างเผือก/.
【 พญาณ 】แปลว่า: พะยาน น. พยาน.
【 พญาดาบหัก 】แปลว่า: /ดู ราชดัด/.
【 พญาปากกว้าง 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Eurylaimidae ลําตัวอ้วนป้อม ปากใหญ่ หัวโต
อาศัยอยู่ตามป่าทึบ กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ มีหลายชนิด
เช่น พญาปากกว้างสีดํา (/Corydon sumatranus/) พญาปาก
กว้างท้องแดง (/Cymbirhynchus macrorhynchos/) พญาปาก
กว้างหางยาว (/Psarisomus dalhousiae/).
【 พญาไฟ 】แปลว่า: น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและ
สีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง บางชนิดเป็นสีเทาทั้งตัวผู้
และตัวเมีย รวมกันอยู่เป็นฝูงตามยอดไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาไฟ
สีกุหลาบ (/Pericrocotusroseus/) พญาไฟเล็กคอเทา (/P. cinnamomeus/)
พญาไฟใหญ่ (/P. flammeus/) พญาไฟสีเทา (/P. divaricatus/).
【 พญามือเหล็ก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Strychnos/ วงศ์ Strychnaceae
คือ ชนิด /S. ignatii/ Berg และชนิด /S. lucida/ R. Br. เมล็ดมีพิษ
ใช้ทํายาได้.
【 พญามุตติ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Grangea maderaspatana/ Poir. ในวงศ์
Compositae ใช้ทํายาได้. (พยาธิมุตติ).
【 พญามูมิน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Crotalaria calycina/ Schrank ในวงศ์ Leguminosae.
【 พญาไม้ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Podocarpus wallichianus/ Presl ในวงศ์
Podocarpaceae ดอกสีเหลือง ฝักเล็ก.
【 พญายา 】แปลว่า: /ดู กระแจะ ๒/.
【 พญารากดำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diospyros variegata/ Kurz ในวงศ์ Ebenaceae
ใช้ทํายาได้, ดําดง หรือ ฝีหมอบ ก็เรียก.
【 พญารากเดียว 】แปลว่า: /ดู ไม้เท้ายายม่อม/.
【 พญาไร้ใบ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Euphorbia tirucalli/ L. ในวงศ์ Euphorbiaceae
ใบเล็กมาก และมักทิ้งใบ ยางมีพิษ ใช้ทํายาได้.
【 พญาลอ 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิด /Lophura diardi/ ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพก
สีแดงสด ขนหางยาวสีดําเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดํา
นกชนิดนี้ถือเป็นแบบฉบับของนกไก่ฟ้าในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า
Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
【 พญาสัตบรรณ 】แปลว่า: /ดู ตีนเป็ด/.
【 ฯพณฯ 】แปลว่า: [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น
รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า
พณหัวเจ้าท่าน).
【 พณิช 】แปลว่า: [พะนิด] น. ผู้ค้าขาย, พ่อค้า. (ป., ส. วาณิช).
【 พณิชย์ 】แปลว่า: [พะ] น. การค้าขาย. (ส. วณิชฺยา, วาณิชฺย; ป. วาณิชฺช).
【 พด 】แปลว่า: ว. คด, งอ, ขด.
【 พดกริช 】แปลว่า: น. คดกริช.
【 พดด้วง 】แปลว่า: น. เรียกเงินตราโบราณรูปขดกลมคล้ายตัวด้วง.
【 พธู 】แปลว่า: [พะ] น. เจ้าสาว; เมีย; ผู้หญิง. (ส., ป. วธู).
【 พน, พน 】แปลว่า: [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
【 พนขัณฑ์ 】แปลว่า: [พะนะ] น. ทิวไม้, แนวป่า, ราวป่า, ราวไพร. (ส.วนขณฺฑ;
ป. วนสณฺฑ).
【 พนโคจร 】แปลว่า: [พะนะโคจอน] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ส. วนโคจร).
【 พนจร, พนจรก 】แปลว่า: [พะนะจอน, พะนะจะรก] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ป., ส. วนจร,
วนจรก).
【 พนชีวี 】แปลว่า: [พะนะ] น. ชาวป่า. (ส. วนชีวินฺ).
【 พนธารา 】แปลว่า: [พะนะ] น. แถวต้นไม้ (เช่นตาม ๒ ข้างถนนหลวง). (ส. วนธารา).
【 พนวาสี 】แปลว่า: [พะนะ] น. ผู้อยู่ป่า, ฤษี. ว. ซึ่งอยู่ในป่า. (ป., ส. วนวาสี).
【 พนสณฑ์ 】แปลว่า: [พะนะ] น. พนขัณฑ์. (ป. วนสณฺฑ; ส. วนขณฺฑ, วนสณฺฑ).
【 พนันดร, พนานดร 】แปลว่า: [พะนันดอน, ดอน] น. ระหว่างป่า, กลางป่า, ภายในป่า.
(ป., ส. วนนฺตร).
【 พนาดร, พนาดอน 】แปลว่า: น. ป่าสูง, ใช้ว่า วนาดร หรือ วนาดอน ก็มี.
【 พนาธวา 】แปลว่า: [พะนาทะวา] น. ทางป่า.
【 พนาราม 】แปลว่า: น. ป่าอันรื่นรมย์. (ป., ส. วน + อาราม).
【 พนาลัย 】แปลว่า: น. การอยู่ป่า, ที่อยู่ในป่า. (ส. วนาลย).
【 พนาลี 】แปลว่า: น. แนวป่า. (ส. วนาลี).
【 พนาวา 】แปลว่า: (กลอน) น. ป่า.
【 พนาวาส 】แปลว่า: น. ที่อยู่ในป่า. (ป. วนาวาส).
【 พนาเวศ 】แปลว่า: น. ป่า.
【 พนาศรม 】แปลว่า: [พะนาสม] น. อาศรมในป่า. (ส. วนาศฺรม).
【 พนาศรัย 】แปลว่า: น. ผู้อยู่ป่า. (ส. วนาศฺรย).
【 พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ 】แปลว่า: น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง, วนาสณฑ์ หรือ
วนาสัณฑ์ ก็ว่า.
【 พเนจร 】แปลว่า: น. ผู้เที่ยวป่า, พรานป่า; โดยปริยายหมายความว่า ร่อนเร่ไป,
เที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย. (ป., ส. วเนจร).
【 พ่น 】แปลว่า: ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น,
ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก)
พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
【 พ้น 】แปลว่า: ก. อาการที่ผ่านหรือหลุดเป็นต้นออกไปอยู่นอกเขตหรือเลยที่กำหนด
ไว้ เช่นพ้นอันตราย พ้นกิเลส พ้นทุกข์ พ้นเกณฑ์ พ้นตัว พ้นบ้าน.
ว. นอกเขตออกไป เช่นข้ามพ้น บินพ้น ผ่านพ้น หลุดพ้น.
【 พ้นวิสัย 】แปลว่า: ว. เกินความสามารถ, ที่ไม่อาจเป็นไปได้หรือไม่สามารถจะกระทําได้.
【 พนม 】แปลว่า: น. ภูเขา. (ข.); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม.
ก. ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
【 พนมเพลิง 】แปลว่า: น. กองเพลิงเผาศพ.
【 พนมมือ 】แปลว่า: ก. กระพุ่มมือ, ประนมมือ ก็ว่า.
【 พนมศก 】แปลว่า: น. เลขปีรัชกาลที่เขียนบนหลังศก.
【 พนมศพ 】แปลว่า: น. การทําศพหรือการแต่งศพที่เป็นงานใหญ่.
【 พนมสวรรค์ 】แปลว่า: /ดู นมสวรรค์/.
【 พนอง ๑ 】แปลว่า: [พะ] น. ป่า. (ข. พฺนง).
【 พนอง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Shorea hypochra/ Hance ในวงศ์
Dipterocarpaceae ยางใช้เป็นชันยาเรือและอื่น ๆ.
【 พนอม 】แปลว่า: [พะ] น. พนม, จอมเขาหรือที่มีพุ่มไม้, ใช้ พระนอม หรือ พระน้อม
ก็มี.
【 พนัก 】แปลว่า: น. เครื่องสําหรับพักสําหรับพิง เช่น พนักเก้าอี้.
【 พนักงาน 】แปลว่า: น. หน้าที่ เช่น เรื่องนี้เป็นพนักงานของฉัน; ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน
เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ.
【 พนักงานเจ้าหน้าที่ 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคลผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกําหนด.
【 พนักงานสอบสวน 】แปลว่า: (กฎ) น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจและหน้าที่
ทําการสอบสวน.
【 พนักงานอัยการ 】แปลว่า: (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็น
ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มี
อำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี
อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย
แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
【 พนัง 】แปลว่า: น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า
คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า
ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ
เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ
หมอน.
【 พนัน 】แปลว่า: ก. เล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ
เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือ รวมทั้งโชคด้วย. น. การเล่นเช่นนั้น
เรียกว่า การพนัน.
【 พนันขันต่อ 】แปลว่า: น. การพนันซึ่งได้เสียกันโดยวิธีต่อรอง.
【 พนันดร, พนานดร 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนัส, พนัส 】แปลว่า: [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ
ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
【 พนัสดม 】แปลว่า: [พะนัดสะดม] น. ป่ามืด, ป่าทึบ.
【 พนัสบดี 】แปลว่า: [พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร
และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).
【 พนา 】แปลว่า: น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง
พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
【 พนาด 】แปลว่า: น. เบาะสําหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม
ภูษา. (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี.
【 พนาดร, พนาดอน 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาธวา 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาย 】แปลว่า: น. คําขุนนางผู้ใหญ่เรียกผู้ดีซึ่งอยู่ในบังคับตน.
【 พนาราม 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาลัย 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาลี 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาวา 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาวาส 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาเวศ 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาศรม 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาศรัย 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พนิด, พนิดา 】แปลว่า: น. วนิดา, หญิง, หญิงสาว. (ส. วนิตา).
【 พนิต 】แปลว่า: ว. เป็นที่รัก, ที่ชอบพอ. (ส. วนิต).
【 พนียก 】แปลว่า: [พะนียก] น. วนิพก, คนขอทานโดยร้องเพลงขอ. (ส. วนียก).
【 พเนก 】แปลว่า: [พะเนก] น. หมอนสําหรับช้างหนุนนอน.
【 พเนจร 】แปลว่า: /ดู พน, พน/.
【 พบ 】แปลว่า: ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ
ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
【 พบปะ 】แปลว่า: ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
【 พบพาน 】แปลว่า: ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบพบพาน.
【 พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น 】แปลว่า: (สํา) ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยาม
ขวานบิ่น ก็มี.
【 พบู ๑ 】แปลว่า: (กลอน) น. กาย, ตัว. (ป., ส. วปุ).
【 พบู ๒ 】แปลว่า: (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
【 พม่า ๑ 】แปลว่า: [พะม่า] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและ
ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย.
【 พม่า ๒ 】แปลว่า: [พะม่า] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า พม่า เช่น
พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากําชับ พม่าห้าท่อน.
【 พม่าแทงกบ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พม่ารำขวาน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พยชน์ 】แปลว่า: [พะยด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
【 พยชะ 】แปลว่า: [พะยดชะ] ก. ขับ, ขี่; พัด. (ส. วฺยช).
【 พยติเรก 】แปลว่า: [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค
ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง.
(ป., ส. วฺยติเรก).
【 พยนต์ 】แปลว่า: [พะยน] น. สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น เช่น หุ่นพยนต์.
(ป. วยนฺต; ส. วฺยนฺต).
【 พยศ 】แปลว่า: [พะยด] ก. แสดงอาการดื้อหรือถือตัวไม่ยอมทําตาม.
【 พยัก 】แปลว่า: [พะยัก] ก. อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็ว
เป็นการแสดงความรับรู้เรียกว่า พยักหน้า.
【 พยักพเยิด 】แปลว่า: [พะเยิด] ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดง
อาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทําบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
【 พยักยิ้ม 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิงเย้ยหยัน.
【 พยัคฆ, พยัคฆ์ 】แปลว่า: [พะยักคะ] น. เสือโคร่ง. (ป. พฺยคฺฆ, วฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).
【 พยัคฆา, พยัคฆิน, พยัคฆี 】แปลว่า: (กลอน) น. เสือโคร่ง.
【 พยัคฆินทร์, พยัคเฆนทร์ 】แปลว่า: น. พญาเสือโคร่ง.
【 พยัคฆา, พยัคฆิน, พยัคฆี 】แปลว่า: /ดู พยัคฆ, พยัคฆ์/.
【 พยัคฆินทร์, พยัคเฆนทร์ 】แปลว่า: /ดู พยัคฆ, พยัคฆ์/.
【 พยัชน์ 】แปลว่า: [พะยัด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
【 พยัญชนะ 】แปลว่า: [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ
ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ
เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ
เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ;
กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน;
ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
【 พยัต 】แปลว่า: [พะยัด] น. ผู้เรียน, ผู้รู้. ว. ฉลาด, เฉียบแหลม. (ป. พฺยตฺต, วฺยตฺต;
ส. วฺยกฺต).
【 พยับ 】แปลว่า: [พะยับ] ว. ครึ้ม, มืดมัว, (ใช้แก่อากาศ) เช่น พยับฟ้า พยับฝน พยับเมฆ.
【 พยับแดด 】แปลว่า: น. เงาแดด, แสงแดดกล้าที่ปรากฏในระยะไกลเป็นระยิบระยับ
ลวงตา ทําให้เห็นเป็นนํ้าเป็นต้น.
【 พยับฝน 】แปลว่า: น. ครึ้มฝน.
【 พยับเมฆ ๑ 】แปลว่า: น. เมฆฝนตั้งเค้า.
【 พยับหมอก ๑ 】แปลว่า: น. หมอกมืดครึ้ม.
【 พยับเมฆ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน พยับ/.
【 พยับเมฆ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Orthosiphon aristatus/ Miq. ในวงศ์ Labiatae
ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้
ทํายาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก.
【 พยับหมอก ๑ 】แปลว่า: /ดูใน พยับ/.
【 พยับหมอก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Plumbago auriculata/ Lam. ในวงศ์
Plumbaginaceae ดอกเป็นช่อสีฟ้าอ่อน, เจตมูลเพลิงฝรั่ง ก็เรียก.
【 พยากรณ์ 】แปลว่า: [พะยากอน] ก. ทํานายหรือคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชา. น. ชื่อคัมภีร์
โหราศาสตร์ว่าด้วยการทํานาย. (ป., ส. วฺยากรณ).
【 พยาฆร์ 】แปลว่า: [พะยาก] น. พยัคฆ์. (ส. วฺยาฆฺร; ป. พฺยคฺฆ).
【 พยางค์ 】แปลว่า: [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์
กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
【 พยาธิ ๑ 】แปลว่า: [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ,
วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
【 พยาธิ ๒ 】แปลว่า: [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของ
ชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้
พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิ
เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
【 พยาน 】แปลว่า: [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์
หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง
ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น.
(อ. witness).
【 พยานบอกเล่า 】แปลว่า: (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่อง
มาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
【 พยานบุคคล 】แปลว่า: (กฎ) /ดู พยาน/.
【 พยานวัตถุ 】แปลว่า: (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
【 พยานหลักฐาน 】แปลว่า: (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์
ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
【 พยานเอกสาร 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
【 พยาบาท 】แปลว่า: [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า
ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไป
พยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).
【 พยาบาล 】แปลว่า: [พะยาบาน] ก. ดูแลคนไข้, ปรนนิบัติคนไข้; (โบ) เอื้อเฟื้อเลี้ยงดู.
น. ผู้ดูแลคนไข้.
【 พยาม, พยามะ 】แปลว่า: [พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).
【 พยายาม 】แปลว่า: [พะยา] ก. ทําโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
【 พยาล, พยาล 】แปลว่า: [พะยาน, พะยาละ] น. สัตว์ที่กินเนื้อสัตว์. (ส. วฺยาล; ป. วาล, วาฬ).
【 พยาลมฤค 】แปลว่า: [พะยาละมะรึก] น. สัตว์ร้าย. (ส. วฺยาลมฺฤค; ป. วาฬมิค).
【 พยุ 】แปลว่า: [พะยุ] น. ลมแรง. (ข. พฺยุะ; ป., ส. วายุ).
【 พยุง 】แปลว่า: [พะยุง] ก. ประคองให้ทรงตัวอยู่, ประคองให้อยู่ในสภาพปรกติ,
เช่น พยุงตัวลุกขึ้นพยุงตัวไม่ให้จมน้ำ, ระวังไม่ให้ล้มไม่ให้ซวนเซ
เป็นต้น เช่น พยุงลุก พยุงนั่ง พยุงคนไข้ พยุงฐานะ, (ปาก) พยุพยุง
ก็ว่า.
【 พยุงปีก 】แปลว่า: ก. ประคองแขนพยุงไปด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง
โอบรอบหลังไปสอดใต้รักแร้ของผู้ถูกพยุง.
【 พยุพยุง 】แปลว่า: พะยุพะยุง ก. พยุง.
【 พยุห, พยุหะ 】แปลว่า: [พะยุหะ] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับใน
ปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).
【 พยุหบาตร 】แปลว่า: (โบ), พยุหบาตรา บาด, บาดตฺรา น. กระบวนทัพ.
【 พยุหยาตรา 】แปลว่า: [ยาดตฺรา] น. กระบวนทัพ, การเดินทัพ, เช่น ยกพยุหยาตรา.
ก. ไปเป็นกระบวนทัพใหญ่.
【 พยุหโยธา 】แปลว่า: น. หมู่พลรบ, กระบวนพลรบ. (ป.).
【 พยุหเสนา, พยุหแสนยา, พยุหแสนยากร 】แปลว่า: น. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย,
【 วฺยูห + ไสนฺย + อากร). 】แปลว่า:
【 พยุหร 】แปลว่า: [พะยุหอน] น. เกณฑ์เลขผลหารของวิธีฉวาง. (ศัพท์ใช้ในตํารา
เลขโบราณ).
【 พยู่ห์ 】แปลว่า: [พะยู่] น. พยุหะ, กระบวน, หมู่, กองทัพ.
【 พเยีย 】แปลว่า: [พะเยีย] น. พวงดอกไม้. (ข. ภฺ??).
【 พร 】แปลว่า: [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล
เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร.
(ป. วร).
【 พรสวรรค์ 】แปลว่า: น. ความสามารถพิเศษหรือคุณสมบัติเด่นของบุคคลที่มีมาแต่กําเนิด.
【 พรต 】แปลว่า: [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ,
ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา,
การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค
อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง);
ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น
บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต.
(ส. วฺรต; ป. วตฺต).
【 พรม ๑ 】แปลว่า: [พฺรม] น. เครื่องลาดทําด้วยขนสัตว์, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นบาง
ชนิดที่ใช้ปูลาดว่า พรม เช่น พรมนํ้ามัน พรมกาบมะพร้าว; เรียก
ด้ายที่ทําด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า
ไหมพรม; ตุ้มสําหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง; ไม้สําหรับ
ยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
【 พรมทาง 】แปลว่า: น. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.
【 พรมน้ำมัน 】แปลว่า: น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามันลินสีด สี
และสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้เป็น
แผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้ว
จึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่ง
ให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
【 พรม ๒ 】แปลว่า: [พฺรม] ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำประโปรยให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ
เช่น เอาน้ำพรมผ้า พรมน้ำมนต์.
【 พรมนิ้ว 】แปลว่า: ก. ประนิ้วรัวที่เครื่องดนตรีบางชนิด มีซอและขลุ่ยเป็นต้น.
【 พรม ๓ 】แปลว่า: /ดู หนามพรม/.
【 พรม ๔ 】แปลว่า: /ดู นางเกล็ด/.
【 พรมคด 】แปลว่า: [พฺรมมะ] น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด /Heliciopsis terminalis/ (Kurz)
Sleumer ในวงศ์ Proteaceae ช่อดอกสีขาว กลิ่นหอม. (๒)
/ดู กระโดงแดง (๑)./
【 พรมคดตีนเต่า 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในวงศ์ Malvaceae ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ใบเป็น ๓ แฉกดอกสีเหลือง.
【 พรมแดน 】แปลว่า: [พฺรม] น. ขีดขั้นเขตแดน, แดนต่อแดน. (ข. พฺรํแฎน).
【 พรมมิ 】แปลว่า: [พฺรม] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Bacopa monniera/ (L.) Weltst. ในวงศ์
Scrophulariaceae ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน
ใช้ทํายาได้.
【 พรรค, พรรค, พรรค์ 】แปลว่า: [พัก, พักคะ, พัน] น. หมู่คนที่เข้ารวมกันเป็นพวกเป็นฝ่าย เช่น
พรรคการเมือง, พวก เช่น คนพรรค์นั้น. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
【 พรรคกลิน 】แปลว่า: [พักกะลิน] น. เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจําท้องเรือ.
【 พรรคการเมือง 】แปลว่า: น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน ร่วมกัน
จัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
【 พรรคนาวิกโยธิน 】แปลว่า: [พักนาวิกกะ] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบฝ่ายบก.
【 พรรคนาวิน 】แปลว่า: [พัก] น. เหล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบ.
【 พรรคพวก 】แปลว่า: น. พวกเดียวกัน.
【 พรรคานต์ 】แปลว่า: [พักคาน] น. ตัวอักษรที่สุดวรรค คือ ง ญ ณ น ม.
【 พรรณ 】แปลว่า: [พัน] น. สีของผิว; ชนิด เช่น พรรณพืช พรรณไม้ พรรณสัตว์.
(ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
【 พรรณราย 】แปลว่า: [พันนะ] น. สีพราย ๆ, สีเลื่อมระยับ, งามผุดผ่อง.
【 พรรณนา 】แปลว่า: [พันนะ] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็น
เป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
【 พรรณนาโวหาร 】แปลว่า: น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้
ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
【 พรรดึก 】แปลว่า: [พันระ] น. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
【 พรรลาย 】แปลว่า: [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียง
พรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
【 พรรษ, พรรษ 】แปลว่า: [พัด, พันสะ] น. ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส).
【 พรรษประเวศ 】แปลว่า: [พันสะปฺระเวด] น. การเข้าสู่ปีใหม่, เถลิงศก. (ส.).
【 พรรษฤดู 】แปลว่า: [พันสะรึดู] น. หน้าฝน. (ส.).
【 พรรษวุฒิ 】แปลว่า: [พันสะวุดทิ] น. การเจริญแห่งปี; วันเกิด.
【 พรรษา 】แปลว่า: [พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา
จําพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕
พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).
【 พรรษากาล 】แปลว่า: น. ฤดูฝน. (ส.).
【 พรรษาคม 】แปลว่า: น. การเริ่มฤดูฝน. (ส.).
【 พรรษายุต 】แปลว่า: น. หมื่นปี. (ส.).
【 พรรโษทก 】แปลว่า: น. นํ้าฝน.
【 พรรโษบล 】แปลว่า: น. ลูกเห็บ. (ส.).
【 พรรษา 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรษากาล 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรษาคม 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรษายุต 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรโษทก 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรโษบล 】แปลว่า: /ดู พรรษ, พรรษ/.
【 พรรเหา 】แปลว่า: [พัน] ว. มาก, ยิ่ง, พันเหา ก็ใช้ เช่น คือ เทพเพียงพันเหา.
(สมุทรโฆษ).
【 พรรเอิญ 】แปลว่า: พัน ว. เผอิญ, ใช้ว่า เพอิญ ก็มี.
【 พรวงเพรียง 】แปลว่า: [พฺรวงเพฺรียง] ก. พูดยกยอ.
【 พรวด ๑ 】แปลว่า: [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด;
เสียงดังเช่น นั้น.
【 พรวดพราด 】แปลว่า: [พฺราด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น
วิ่งพรวดพราด เปิดประตูพรวดพราดเข้ามา.
【 พรวด ๒ 】แปลว่า: [พฺรวด] (ถิ่นปักษ์ใต้, ตะวันออก) น. ชื่อผึ้งโพรง (/Apis cerana/)
ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลําตัวยาว ๐.๙๑
เซนติเมตร กว้างประมาณ ๓.๕ มิลลิเมตร เมื่อกางปีกวัดจาก
ปลายปีกยาวประมาณ ๑.๗๕ เซนติเมตร รวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม
ทํารังอยู่ในโพรงหรือตามซอกหิน ซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด,
ผึ้งรวง ก็เรียก.
【 พรวด ๓ 】แปลว่า: [พฺรวด] /ดู กระทุ/.
【 พรวน ๑ 】แปลว่า: [พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน
เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น เรียกว่า ลูกพรวน,
กระพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่นพายัพ, อีสาน) มะหิ่ง
หรือ หมากหิ่ง.
【 พรวน ๒ 】แปลว่า: [พฺรวน] น. กระจุก, กลุ่ม, พวง, เช่น วิ่งตามเป็นพรวน.
【 พรวน ๓ 】แปลว่า: [พฺรวน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Labeo pruol/ ในวงศ์ Cyprinidae
รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน. (ข.).
【 พรวน ๔ 】แปลว่า: [พฺรวน] น. (๑) (ถิ่นปักษ์ใต้) ต้นเงาะ. /(ดู เงาะ ๒)./ (๒) ชื่อมะม่วง
พันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L..
【 พรวน ๕ 】แปลว่า: [พฺรวน] ก. คุ้ยดินให้เป็นกลุ่มล้อมต้นไม้, ใช้จอบหรือเสียมเป็นต้น
ทำดินให้โปร่งหรือร่วน, เรียกว่า พรวนดิน.
【 พรหม, พรหม 】แปลว่า: [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์,
เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี
รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน
ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร
ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม
ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
【 พรหมกาย 】แปลว่า: น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนามของ
พระพุทธเจ้า.
【 พรหมโคละ 】แปลว่า: [พฺรมมะโคละ] น. จักรวาล. (ส.).
【 พรหมจรรย์ 】แปลว่า: น. การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรตบางอย่าง
เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).
【 พรหมจักร 】แปลว่า: น. จักรวาล; คําสอนของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. พฺรหฺมจกฺก).
【 พรหมจาริณี 】แปลว่า: น. หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.).
【 พรหมจารี 】แปลว่า: น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้น
เมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้น
จากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
【 พรหมชาติ 】แปลว่า: น. ชื่อตําราหมอดู.
【 พรหมทัณฑ์ 】แปลว่า: น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า “ไม้พระพรหม”
ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง; การสาปแห่งพราหมณ์; โทษ
อย่างสูง คือห้ามไม่ให้ใคร ๆ พูดด้วยในหมู่สงฆ์ด้วยกัน. (ส., ป.).
【 พรหมไทย 】แปลว่า: น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และยกเว้น
ภาษีอากร; ของที่บิดามารดาให้.
【 พรหมธาดา 】แปลว่า: น. พระพรหมผู้สร้าง.
【 พรหมบถ 】แปลว่า: น. ทางไปสู่พระพรหม, ทางไปสู่ความดีสูงสุด. (ส.).
【 พรหมบท 】แปลว่า: น. ที่อยู่ของพระพรหม; ตําแหน่งพราหมณ์. (ส.).
【 พรหมบริษัท 】แปลว่า: น. ชุมนุมพระพรหม, ชุมนุมพราหมณ์. (ส.).
【 พรหมบุตร 】แปลว่า: น. พราหมณ์, ลูกพราหมณ์. (ส.).
【 พรหมปุโรหิต 】แปลว่า: น. พราหมณ์ชั้นสูง; ชื่อพรหมหมู่หนึ่งอยู่ในสวรรค์อันสูงกว่า
ชั้นพรหมปาริสัช; ชื่อคัมภีร์แพทย์ว่าด้วยต้นเหตุที่มนุษย์เกิด. (ส.).
【 พรหมพักตร์ 】แปลว่า: น. ยอดเครื่องสูงหรือยอดสิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าพรหม ๔ ด้าน.
【 พรหมพันธุ์ 】แปลว่า: น. “วงศ์พรหม” คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์เลว. (ส.).
【 พรหมภูติ 】แปลว่า: [พฺรมมะพูติ] น. เวลาสนธยา, เวลาขมุกขมัว, โพล้เพล้. (ส.).
【 พรหมยาน 】แปลว่า: น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอันยิ่งใหญ่
เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
【 พรหมเรขา, พรหมลิขิต 】แปลว่า: [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความเป็นไปของชีวิต
(ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้
๖ วัน). (ส.).
【 พรหมโลก 】แปลว่า: [พฺรมมะ] น. โลกของพระพรหม; ภูมิเป็นที่สถิตของพระพรหม.
【 พรหมฤษี 】แปลว่า: น. ฤษีที่เป็นพราหมณ์โดยกําเนิด.
【 พรหมวิหาร 】แปลว่า: [พฺรมมะ, พฺรม] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่
มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
【 พรหมศร 】แปลว่า: น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่ง ที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก
มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร เรียกว่า กาบพรหมศร.
【 พรหมสี่หน้า 】แปลว่า: [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรําท่าหนึ่ง.
【 พรหมสูตร 】แปลว่า: น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของพราหมณ์,
สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
【 พรหมโองการ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ทํารูปเหมือนใบมะตูมติดที่โรงพิธี.
【 พรหมัญตา 】แปลว่า: [พฺรมมันยะ] น. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์. (ป.).
【 พรหมา 】แปลว่า: [พฺรมมา] น. พรหม.
【 พรหมาณฑ์ 】แปลว่า: [พฺรมมาน] น. จักรวาล, โลก. (ส.).
【 พรหมาสตร์ 】แปลว่า: [พฺรมมาด] น. ชื่อศรเล่มหนึ่งของพระราม. (ส.).
【 พรหมินทร์ 】แปลว่า: [พฺรมมิน] น. พรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
【 พรหเมนทร์, พรหเมศวร 】แปลว่า: [พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
【 พรหมหัวเหม็น 】แปลว่า: /ดู ขี้ขม/.
【 พรหมัญตา 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรหมา 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรหมาณฑ์ 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรหมาสตร์ 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรหมินทร์ 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรหเมนทร์, พรหเมศวร 】แปลว่า: /ดู พรหม, พรหม/.
【 พรอก 】แปลว่า: [พฺรอก] ก. บอก, พูด, เช่น บัดบอกพรอกพราง.
【 พร่อง 】แปลว่า: [พฺร่อง] ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง
ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น
น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป.
【 พร้อง 】แปลว่า: [พฺร้อง] ก. พูด, กล่าว, ร้อง.
【 พร้องเพรียก 】แปลว่า: [เพฺรียก] ก. ร้องเรียก.
【 พรอด, พรอด ๆ 】แปลว่า: [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่อง
เล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น
พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
【 พร้อม 】แปลว่า: [พฺร้อม] ว. คําแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือ
พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน,
โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่นงามพร้อม ดีพร้อม เตรียม
พร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
【 พร้อมใจ 】แปลว่า: ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขาพร้อมใจกัน
ทำงาน.
【 พร้อมญาติ 】แปลว่า: ว. มีญาติพี่น้องมากันมากมาย.
【 พร้อมพรัก 】แปลว่า: ว. พรักพร้อม.
【 พร้อมพรั่ง 】แปลว่า: ว. รวมอยู่มากหลาย เช่น มากันพร้อมพรั่ง, พรั่งพร้อม ก็ว่า.
【 พร้อมเพรียง 】แปลว่า: ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกัน
ทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
【 พร้อมมูล 】แปลว่า: ว. บริบูรณ์, มีครบทุกอย่าง, เช่น มีหลักฐานพร้อมมูล.
【 พร้อมสรรพ 】แปลว่า: ว. พร้อมทุกอย่าง, มีครบทุกอย่าง, เช่น เตรียมให้พร้อมสรรพ.
【 พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา 】แปลว่า: ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่างพร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มี
ความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อมหน้า มากันพร้อมหน้า
พร้อมตา.
【 พร่อมพร้อ 】แปลว่า: [พฺร่อมพฺร้อ] ว. ซอมซ่อ, ไม่งดงาม.
【 พร่อย 】แปลว่า: [พฺร่อย] ว. ครํ่าคร่า, แก่ครํ่า.
【 พร้อย 】แปลว่า: [พฺร้อย] ว. ประไปทั่ว, ลายกระเป็นจุดประปราย, วาว, พราย, เช่น
ลายพร้อย ด่างพร้อย.
【 พระ 】แปลว่า: [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์,
พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วย
พระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรม
ในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ
และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า,
พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ
แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน;
ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความ
ยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ
๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง
เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที
พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ
เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการ
สูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ,
ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณา
ทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทน
ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 พระกรน้อย 】แปลว่า: (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลองพระองค์ทรงประพาส,
ฉลองพระกรน้อย ก็ว่า.
【 พระครู 】แปลว่า: น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ตํ่ากว่าพระราชาคณะ เช่น
พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ; บรรดาศักดิ์พราหมณ์
เช่น พระครูวามเทพมุนี.
【 พระคะแนน 】แปลว่า: น. พระเครื่องขนาดเล็ก ใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวนพระเครื่องที่
สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ ๑๐๐ องค์ ก็มีพระคะแนน
๑ องค์.
【 พระคุณ 】แปลว่า: น. บุญคุณ เช่น รำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์.
【 พระคุณเจ้า 】แปลว่า: ส. คําเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 พระเคราะห์ 】แปลว่า: น. ดาวนพเคราะห์.
【 พระเครื่อง 】แปลว่า: น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกัน
อันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
【 พระเจ้า 】แปลว่า: น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้อง
พระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้าพระเจ้าแผ่นดิน
และเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศา
พระเจ้าแผ่นดิน.
【 พระเจ้าหลวง 】แปลว่า: น. พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน.
【 พระเจ้าอยู่หัว 】แปลว่า: น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดิน.
【 พระชายา 】แปลว่า: (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
【 พระเชื้อเมือง 】แปลว่า: (โบ) น. พระเสื้อเมือง, เทวดาที่รักษาบ้านเมือง.
【 พระเดชพระคุณ 】แปลว่า: น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะเช่น เรียน พระเดช
พระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของ
สมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ หรือ
พระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้มียศบรรดาศักดิ์
หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 พระทอง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; (กลอน) คําแทนชื่อเจ้านาย.
【 พระทัย 】แปลว่า: (ราชา) น. ใจ.
【 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนด
อำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ.
【 พระธรรมศาสตร์ 】แปลว่า: /ดู ธรรมศาสตร์/.
【 พระนม 】แปลว่า: (ราชา) น. แม่นม.
【 พระนาง 】แปลว่า: น. พระธิดาหรือพระมเหสีของพระมหากษัตริย์.
【 พระนางเจ้า 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพระมเหสี สูงกว่าพระนางเธอขึ้นไป.
【 พระนางเธอ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งพระมเหสี ตํ่ากว่าพระนางเจ้า.
【 พระนาย 】แปลว่า: น. คําเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า
พระนายไวยวรนาถ.
【 พระบฏ 】แปลว่า: น. ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา.
【 พระบท 】แปลว่า: น. ตําราหมอดูโบราณสําหรับใช้เสี่ยงทายโดยวิธีเอาไม้แทง.
【 พระบาลี 】แปลว่า: /ดู บาลี/.
【 พระประธาน 】แปลว่า: น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือ
วิหารเป็นต้น.
【 พระเป็นเจ้า 】แปลว่า: น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก.
【 พระผู้เป็นเจ้า 】แปลว่า: น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร; พระภิกษุที่นับถือ.
【 พระแผง 】แปลว่า: น. พระพิมพ์ที่หล่อติดกันเป็นแผง, พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในแผงไม้
ขนาดใหญ่.
【 พระพันปี 】แปลว่า: (ราชา) น. คำเรียกพระราชชนนี.
【 พระพิมพ์ 】แปลว่า: น. พระเครื่องที่สร้างขึ้นตามแบบแม่พิมพ์.
【 พระพุทธเจ้า 】แปลว่า: น. คําเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคํา
นําหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
【 พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม 】แปลว่า: น.
【 คําขานรับพระเจ้าแผ่นดิน. 】แปลว่า:
【 พระพุทธเจ้าหลวง 】แปลว่า: น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว.
【 พระพุทธเจ้าอยู่หัว 】แปลว่า: น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินด้วยความนับถือ.
【 พระพุทธองค์ 】แปลว่า: ส. คําเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
【 พระภูมิ 】แปลว่า: น. เทพารักษ์ประจําพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
【 พระมาลัยมาโปรด 】แปลว่า: (สํา) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กําลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที.
【 พระยา 】แปลว่า: น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่สูงกว่าพระ ตํ่ากว่าเจ้าพระยา
เช่น พระยาอนุมานราชธน.
【 พระยาโต๊ะทอง 】แปลว่า: น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และ
ได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ,
ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า
ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับ
โต๊ะทอง.
【 พระยาเทครัว 】แปลว่า: (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.
【 พระยาพานทอง 】แปลว่า: น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับ
พระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป
มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
【 พระรอง 】แปลว่า: น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
【 พระราชาคณะ 】แปลว่า: (กฎ) น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์
ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ.
【 พระรูป, พระรูปชี 】แปลว่า: น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
【 พระฤๅษี 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศรวณะ มี ๓ ดวง, ดาวหลักชัย
ดาวศระวณะ หรือ ดาวสาวนะ ก็เรียก.
【 พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก 】แปลว่า: (สํา) น. ความทุกข์ยากลําบากที่เกิดซ้อน ๆ เข้ามาในขณะ
เดียวกัน.
【 พระสนม 】แปลว่า: น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่อง
ขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี.
【 พระสนมเอก 】แปลว่า: น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบ
หมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง
คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว
ศรีจุฬาลักษณ์.
【 พระเสื้อเมือง 】แปลว่า: น. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, ผีเสื้อเมือง หรือ เสื้อเมือง ก็เรียก,
(โบ) พระเชื้อเมือง.
【 พระองค์ 】แปลว่า: (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนามใช้แก่
พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่
ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์
๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน
พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช
เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
【 พระองค์เจ้า 】แปลว่า: น. ยศสําหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์
ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสําหรับพระโอรสหรือที่พระธิดาใน
พระองค์เจ้าลูกหลวงประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า,
ยศสําหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็น
เจ้า, ยศสําหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.
【 พระอภิบาล 】แปลว่า: (ราชา) น. พระพี่เลี้ยง.
【 พระอันดับ 】แปลว่า: น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธานหรือคู่สวด
ในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวชนาค)
พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง
ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
【 พระอิฐพระปูน 】แปลว่า: (สํา) ว. นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย.
【 พระเอก 】แปลว่า: น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
【 พระไอยการ 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อหมวดของกฎหมาย เช่น พระไอยการลักษณะกู้หนี้.
【 พระจันทร์ครึ่งซีก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Lobelia chinensis/ Lour. ในวงศ์
Campanulaceae ดอกสีขาวอมชมพูหรือม่วง ใช้ทํายาได้.
【 พระจันทร์ครึ่งซีก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พระเจ้าลอยถาด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พระเจ้าห้าพระองค์ ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคาถา นโมพุทธายะ ว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์.
【 พระเจ้าห้าพระองค์ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Dracontomelon dao/ (Blanco) Merr.
et Rolfe ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกเล็ก สีขาว.
【 พระนอม, พระน้อม 】แปลว่า: (กลอน) น. จอมเขาหรือที่มีพุ่มไม้, พนอม ก็ว่า.
【 พระนาด 】แปลว่า: น. เบาะสําหรับปูบนหลังช้างเพื่อออกป่า, พนาด ก็ว่า.
【 พระยาวัน 】แปลว่า: น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
【 พระราชกฤษฎีกา 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย
อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด
เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
【 พระราชกำหนด 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย
อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน
ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ
รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ
สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น
ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ
การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
【 พระราชบัญญัติ 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย
คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
【 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 】แปลว่า: (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญ
ในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยาย
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตรา
ขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ
ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
เหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
【 พระลบ 】แปลว่า: (กลอน) น. พลบ.
【 พระลือ 】แปลว่า: (กลอน) ว. สว่าง.
【 พระแวว 】แปลว่า: (กลอน) ว. แพรว, แวววาว, มีแสงวับ ๆ.
【 พระหา 】แปลว่า: ว. ใหญ่, กว้าง. (ป. พฺรหา; ส. พฺฤหตฺ).
【 พระหารณย์, พระหารัณย์ 】แปลว่า: น. ป่าใหญ่. (ป. พฺรหา + ส. อารณฺย).
【 พระหาม, พระฮาม 】แปลว่า: (กลอน) น. เวลาเช้ามืด. (ข. พฺรหาม).
【 พระหิด 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 พรักพร้อม 】แปลว่า: [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมา
กันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้
พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า.
【 พรั่ง 】แปลว่า: [พฺรั่ง] ว. คับคั่ง, รวมกันอยู่มาก.
【 พรั่งพร้อม 】แปลว่า: ว. รวมอยู่มากหลาย เช่น มากันพรั่งพร้อม, พร้อมพรั่ง ก็ว่า.
【 พรั่งพรู 】แปลว่า: ว. เข้าหรือออกพร้อม ๆ กันอย่างเนืองแน่น เช่น คนพรั่งพรูกัน
เข้ามา คำพูดพรั่งพรูออกจากปาก.
【 พรัด 】แปลว่า: [พฺรัด] ก. พรากออกจากกัน.
【 พรั่น 】แปลว่า: [พฺรั่น] ก. รู้สึกหวั่นกลัว เช่น พรั่นใจ.
【 พรั่นพรึง 】แปลว่า: ก. นึกหวาดหวั่น, นึกพรั่นใจ.
【 พรับ 】แปลว่า: พฺรับ ก. พริบ, ขยิบ, (ใช้แก่ตา).
【 พร่า 】แปลว่า: [พฺร่า] ก. ทําให้เสียหาย, ทําลาย, ทําให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง
พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือ
ได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.
【 พร้า 】แปลว่า: [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสําหรับถือกรีดกราย
เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ
มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสําหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ
หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้
หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สําหรับหวดหญ้า
เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สําหรับขุดดิน
ได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
【 พร้างัดปากไม่ออก 】แปลว่า: (สํา) ว. นิ่ง, ไม่ค่อยพูด, พร้าคัดปากไม่ออก ก็ว่า.
【 พราก ๑ 】แปลว่า: [พฺราก] ก. จากไป, พาเอาไปเสียจาก, แยกออกจากกัน, เอาออก
จากกัน, (ใช้เฉพาะสิ่งที่พัวพันกันอยู่อย่างใกล้ชิด) เช่น พรากลูก
พรากเมียเขา พรากลูกจากอกแม่.
【 พรากเด็ก 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี
ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจาก
เหตุอันสมควร.
【 พรากผู้เยาว์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี
แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
【 พรากลูกนกลูกกา, พรากลูกนกฉกลูกกา 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําให้ลูกพลัดพรากจากพ่อแม่.
【 พราก ๒, พราก ๆ 】แปลว่า: [พฺราก] ว. อาการที่น้ำตาไหลออกมาก ๆ ในคำว่า น้ำตาไหลพราก.
【 พราง 】แปลว่า: [พฺราง] ก. ทําให้เข้าใจเป็นอื่น, ทําให้เลือน, เช่น พรางตัว พรางไฟ.
【 พรางพรอก 】แปลว่า: [พฺรอก] ก. พูดลวง, แสร้งพูด.
【 พร่าง 】แปลว่า: [พฺร่าง] ว. แวววาวพร่าไปหมด.
【 พร่างพราว 】แปลว่า: [พฺราว] ว. มีแสงประกายแวววาวระยิบระยับ เช่น แสงพร่างพราว.
【 พราด, พราด ๆ 】แปลว่า: [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด
หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
【 พราน 】แปลว่า: [พฺราน] น. ผู้หากินในทางล่าสัตว์เป็นต้น, ผู้ชำนาญป่า, เช่น พรานนก
พรานป่า.
【 พราย 】แปลว่า: [พฺราย] น. ผีจําพวกหนึ่ง (มักกล่าวกันว่าเป็นผีผู้หญิงที่ตายทั้งกลม);
ต่อมนํ้าเล็ก ๆ ที่ผุดกระจายขึ้นจากนํ้า. ว. แวววาว, พราว, พร้อย.
【 พรายกระซิบ 】แปลว่า: น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ
ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล.
【 พรายตานี 】แปลว่า: น. ผีผู้หญิงที่สิงอยู่ในต้นกล้วยตานีที่กำลังตั้งท้อง.
【 พรายทะเล 】แปลว่า: น. แสงสว่างที่เป็นแสงเรือง ๆ อยู่ที่เสากระโดงเรือ.
【 พรายน้ำ 】แปลว่า: น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือที่สวิตช์
ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วย
สารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่าง
อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์
(CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
【 พรายแพรว 】แปลว่า: ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, แพรวพราย
แพรวพราว หรือพราวแพรว ก็ว่า.
【 พรายย้ำ 】แปลว่า: น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตามร่างกายเป็น
แห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่าถูกผีพรายกัด
ยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
【 พราว 】แปลว่า: [พฺราว] ว. พราย, แวววาว, เช่น แต่งเครื่องเพชรพราว; โดยปริยาย
หมายความว่า มากมาย เช่น มีเล่ห์เหลี่ยมพราวไปหมด.
【 พราวตา 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำให้เห็นพร่าไปหมด.
【 พราวแพรว 】แปลว่า: ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ พราย ๆ, พราว, แพรวพราว
แพรวพราย หรือ พรายแพรว ก็ว่า.
【 พราหมณ์ ๑ 】แปลว่า: [พฺราม] น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่
พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว
เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. (ป., ส.).
【 พราหมณัศบดี 】แปลว่า: [พฺรามมะนัดสะบอดี] น. ชื่อหนึ่งของพระเพลิง.
【 พราหมณ์ ๒ 】แปลว่า: [พฺราม] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า พราหมณ์
เช่น พราหมณ์เข้าโบสถ์พราหมณ์เก็บหัวแหวน พราหมณ์ดีดน้ำเต้า.
【 พราหมณ์ ๓ 】แปลว่า: [พฺราม] น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปลาพราหมณ์. (พจน. ๒๔๙๓).
【 พราหมณ์ขายเมีย 】แปลว่า: [พฺราม] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด /Mangifera indica/ L.
【 พราหมณะ 】แปลว่า: [พฺรามมะนะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาประเภทหนึ่งในยุคพระเวทของ
อินเดียโบราณ มีหลายคัมภีร์ด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่งร้อยแก้ว ว่าด้วย
การประกอบพิธีกรรม มีเรื่องราวของเทพต่าง ๆ ประกอบ.
(ส. พฺราหฺมณ).
【 พราหมณัศบดี 】แปลว่า: /ดู พราหมณ์ ๑/.
【 พราหมณี 】แปลว่า: [พฺรามมะนี] น. นางพราหมณ์. (ป., ส.).
【 พราหมี 】แปลว่า: [พฺรามมี] น. ชื่อหนึ่งของพระสรัสวดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์โรหิณี
มี ๗ ดวง, ดาวคางหมูหรือ ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
【 พรำ, พรำ ๆ 】แปลว่า: [พฺรํา] ก. ตกน้อย ๆ เรื่อยไป (ใช้แก่ฝน) ในคําว่า ฝนพรํา. ว. อาการ
ที่ฝนตกน้อย ๆ เรื่อยไป ใช้ว่า ฝนตกพรํา ฝนตกพรํา ๆ.
【 พร่ำ 】แปลว่า: [พฺรํ่า] ว. รํ่าไป, ซํ้า ๆ ซาก ๆ, บ่อย ๆ, เช่น พร่ำบ่น พร่ำเพ้อรำพัน
พร่ำสาธยายมนตร์.
【 พร่ำพลอด 】แปลว่า: ก. พูดออดอ้อนออเซาะ.
【 พร่ำเพรื่อ 】แปลว่า: ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูดพร่ำเพรื่อ,
เพรื่อ ก็ว่า.
【 พร่ำเพ้อ 】แปลว่า: ก. รําพัน.
【 พร้ำ 】แปลว่า: [พฺรํ้า] ว. พร้อม.
【 พริก ๑ 】แปลว่า: [พฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล /Capsicum/ วงศ์ Solanaceae
ผลมีรสเผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู (/C. frutescens/ L.),
พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (/C. annuum/ L.).
【 พริกกะเกลือ 】แปลว่า: น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือ
กับนํ้าตาลมีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วย
พริก เกลือ และน้ำตาล.
【 พริกแกว 】แปลว่า: /ดู ขี้หนู ๑ (๑)/.
【 พริกขิง 】แปลว่า: น. ชื่อผัดชนิดหนึ่ง ใช้เครื่องปรุงคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ
ผัดกับนํ้ามัน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด เรียกว่า เครื่องพริกขิง.
【 พริกดอง 】แปลว่า: น. พริกหั่นหรือตําละเอียดแช่ในนํ้าส้มใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร,
พริกนํ้าส้ม ก็เรียก.
【 พริกเทศ 】แปลว่า: น. พริกแห้งเม็ดยาวมาจากต่างประเทศ.
【 พริกน้ำส้ม 】แปลว่า: น. พริกดอง.
【 พริกเหลือง 】แปลว่า: /ดู เดือยไก่/.
【 พริก ๒ 】แปลว่า: [พฺริก] น. ชื่อนกชนิด /Metopidius indicus/ ในวงศ์ Jacanidae ตัวสี
นํ้าตาลเป็นมันวาว หางตาขาว ปากเหลือง นิ้วตีนยาวมากสําหรับ
ใช้เดินบนพืชนํ้า บินไม่เก่ง กินพืชนํ้าและแมลง.
【 พริก ๓ 】แปลว่า: [พฺริก] น. ชื่องูพิษขนาดเล็กในสกุล /Maticora/ วงศ์ Elapidae ตัวขนาด
ดินสอดําแต่ยาวมาก สีสวย ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พริกท้องแดง
(/M. bivirgata/) และ พริกสีนํ้าตาล (/M. intestinalis/).
【 พริกกระต่าย 】แปลว่า: /ดู การบูรป่า/.
【 พริกไทย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Piper nigrum/ L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ด
ร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดํา,
ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว.
【 พริกหอม 】แปลว่า: /ดู มะแข่น/.
【 พริ้ง 】แปลว่า: [พฺริ้ง] ว. งามงอน, สะสวยมาก, ชอบแต่งตัวให้งดงามและทันสมัย
อยู่เสมอ, เช่น สวยพริ้ง แต่งตัวงามพริ้ง.
【 พริ้งพราย 】แปลว่า: ว. งามลออ.
【 พริ้งเพรา 】แปลว่า: ว. สวยงาม, เพราพริ้ง หรือ เพราเพริศ ก็ว่า.
【 พริ้งเพริศ 】แปลว่า: ว. งามเฉิดฉาย, เพริศพริ้ง ก็ว่า.
【 พริบ 】แปลว่า: ก. กะพริบ ในคำว่า พริบตา. ว. ฉับพลัน, ทันทีทันใด, ในความว่า
ชั่วพริบตาเดียว ในพริบตาเดียว.
【 พริบตาเดียว 】แปลว่า: ว. เร็วมาก, ทันที.
【 พริบไหว 】แปลว่า: น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
【 พริ้ม 】แปลว่า: ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า,
เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
【 พริ้มพราย 】แปลว่า: ว. ยิ้มแย้มดูงาม.
【 พริ้มเพรา 】แปลว่า: ว. งามแฉล้ม.
【 พรึง 】แปลว่า: น. ไม้กระดานหน้าใหญ่ตั้งอยู่บนหัวรอด รัดรอบเสาทั้ง ๔ ด้าน.
【 พรึ่ด 】แปลว่า: ว. ครืด, ดาษไป, เช่น แดงพรึ่ด, พรืด ก็ว่า.
【 พรึน 】แปลว่า: ว. เป็นผื่น.
【 พรึบ, พรึ่บ 】แปลว่า: ว. กิริยาที่ทําพร้อม ๆ กันในทันทีทันใด เช่น ทหารเดินแถวตบเท้าพรึบ
ดอกไม้บานพร้อมกันพรึ่บ.
【 พรืด ๑ 】แปลว่า: ว. ครืด, ดาษไป, เช่น ดอกไม้เต็มพรืด, พรึ่ด ก็ว่า.
【 พรืด ๒ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เบรกรถดังพรืด.
【 พรุ 】แปลว่า: น. ที่ลุ่มสนุ่น, บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีสนุ่น คือ ซากผุพังของพืชพรรณ
ทับถมอยู่มาก.
【 พรุก 】แปลว่า: น. วันพรุ่งนี้, รุ่งขึ้น.
【 พรุ่ง, พรุ่งนี้ 】แปลว่า: น. วันถัดจากวันนี้ไปวันหนึ่ง.
【 พรุน 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวําชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูก
แมลงกัดกินพรุนไปหมด.
【 พรู 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจํานวนมาก เช่น วิ่งพรูกัน
เข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
【 พรูด 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 พฤกษ, พฤกษ์ ๑ 】แปลว่า: [พฺรึกสะ, พฺรึก] น. ต้นไม้. (ส. วฺฤกฺษ; ป. รุกฺข).
【 พฤกษชาติ 】แปลว่า: น. ต้นไม้, จําพวกต้นไม้.
【 พฤกษทล 】แปลว่า: น. ใบไม้. (ส.).
【 พฤกษเทวดา 】แปลว่า: น. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้. (ส.).
【 พฤกษราช 】แปลว่า: น. ต้นปาริชาต. (ส.).
【 พฤกษศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยต้นไม้.
【 พฤกษา 】แปลว่า: [พฺรึกสา] น. ต้นไม้.
【 พฤกษ์ ๒ 】แปลว่า: [พฺรึก] /ดู จามจุรี ๒/.
【 พฤกษา 】แปลว่า: /ดู พฤกษ, พฤกษ์ ๑/.
【 พฤฒ, พฤฒา 】แปลว่า: [พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).
【 พฤฒาจารย์ 】แปลว่า: น. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.
【 พฤฒิ, พฤฒิ 】แปลว่า: [พฺรึดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤทธิ์
ก็ว่า. (ส.).
【 พฤฒิบาศ 】แปลว่า: น. ชื่อพราหมณ์พวกหนึ่ง มีหน้าที่ทําพิธีเกี่ยวกับช้างและปัด
เสนียดจัญไร.
【 พฤต 】แปลว่า: [พฺรึด] น. คําฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
【 พฤติ, พฤติ 】แปลว่า: [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ
ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
【 พฤติกรรม 】แปลว่า: น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด
และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
【 พฤติการณ์ 】แปลว่า: น. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไปในเวลา
กระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา
พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.
【 พฤตินัย 】แปลว่า: (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย
คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
【 พฤทธ์ 】แปลว่า: [พฺรึด] น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, (ตรงข้าม
กับยุว); ฉลาด, ชํานาญ; เจนจบ, พฤฒ ก็ใช้. (ส. วฺฤทฺธ).
【 พฤทธิ์ 】แปลว่า: [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ
ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลี
และสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทําสระ
ให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
【 พฤนต์ 】แปลว่า: [พฺรึน] น. ก้าน, ขั้ว. (ส. วฺฤนฺต; ป. วณฺฏ).
【 พฤนท์ 】แปลว่า: [พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จํานวนมาก.
(ส. วฺฤนฺท); สังขยาจํานวนสูงเท่ากับโกฏิยกกําลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์
๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).
【 พฤภูษณะ 】แปลว่า: [พฺรึพูสะนะ] น. วิภูษณะ.
【 พฤภูษิต 】แปลว่า: [พฺรึพูสิด] ก. วิภูษิต.
【 พฤศจิก 】แปลว่า: [พฺรึดสะจิก] น. แมงป่อง; ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพฤศจิก
เป็นราศีที่ ๗ ในจักรราศี, ราศีพิจิก ก็ว่า. (ส. วฺฤศฺจิก; ป. วิจฺฉิก).
พฤศจิกายน น. ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม
มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๘ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
(ส. วฺฤศฺจิก + อายน).
【 พฤศจิกายน 】แปลว่า: /ดู พฤศจิก/.
【 พฤษภ 】แปลว่า: [พฺรึสบ, พฺรึดสบ] น. วัว; ชื่อกลุ่มดาวรูปวัวเรียกว่า ราศีพฤษภ เป็น
ราศีที่ ๑ ในจักรราศี. (ส.วฺฤษฺภ; ป. อุสภ).
【 พฤษภาคม 】แปลว่า: [พฺรึดสะพาคม] น. ชื่อเดือนที่ ๕ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือน
มกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วย
เดือนเมษายน. (ส. วฺฤษฺภ + อายน).
【 พฤษภาคม 】แปลว่า: /ดู พฤษภ/.
【 พฤหัสบดี 】แปลว่า: [พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี] น. (โหร) เทพที่เป็นครูของเทวดา
ทั้งหลาย; (ดารา) ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุด
ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มี
เส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒,๘๐๐ กิโลเมตร;
ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. (ส. วฺฤหสฺปติ; ป. วิหปฺปติ).
【 พฤหัสบดีจักร 】แปลว่า: น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์
๕ รอบ, มหาจักร ก็ว่า. (ส.).
【 พฤหัสปติวาร 】แปลว่า: น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ ชีววาร ก็ว่า.
【 พล, พล 】แปลว่า: [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล
อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น
กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่ง
ที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ,
ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร
รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
【 พลกาย 】แปลว่า: พนละ น. กองทัพ. (ป., ส.).
【 พลการ 】แปลว่า: [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้นอย่าง
ไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ;
ส. พลาตฺการ).
【 พลขันธ์ 】แปลว่า: [พนละ] น. กองทัพ.
【 พลขับ 】แปลว่า: [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
【 พลความ 】แปลว่า: [พนละ] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ ใจความ.
【 พลตระเวน 】แปลว่า: พน น. พลตํารวจพระนครบาลผู้ตรวจตราเหตุการณ์.
【 พลเทพ 】แปลว่า: [พนละ] น. ชื่อตําแหน่งจตุสดมภ์ตําแหน่งหนึ่ง คือ เสนาบดี
ฝ่ายเกษตร.
【 พลเมือง 】แปลว่า: [พนละ] น. ประชาชน, ราษฎร, ชาวประเทศ.
【 พลรบ 】แปลว่า: [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
【 พลร่ม 】แปลว่า: [พน] น. หน่วยทหารหรือตำรวจที่ได้รับการฝึกให้กระโดดร่มชูชีพ
จากเครื่องบิน หรือเฮลิคอปเตอร์.
【 พลเรือน 】แปลว่า: [พนละ] น. ผู้ซึ่งไม่ใช่ทหาร. ว. ที่ไม่ใช่ทหาร เช่น ข้าราชการพลเรือน.
【 พลโลก 】แปลว่า: [พนละ] น. ชาวโลก, พลเมืองของโลก.
【 พลศึกษา 】แปลว่า: [พะละ] น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและ
พัฒนาการทางร่างกาย.
【 พลสิงห์ 】แปลว่า: [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
【 พละ 】แปลว่า: [พะละ] น. กําลัง, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พละกําลัง.
【 พลากร 】แปลว่า: [พะลากอน] น. กองทหารเป็นจํานวนมาก. (ป. พล + อากร).
【 พลาดิศัย 】แปลว่า: ว. มีกําลังยิ่ง. (ส. พล + อติศย).
【 พลาธิการ 】แปลว่า: น. หน่วยงานของทหารและตํารวจ มีหน้าที่ควบคุมการจัดที่พัก
จัดเครื่องใช้ จัดอาหาร ฯลฯ; (โบ) หัวหน้ากรมในกองทัพบกซึ่งมี
หน้าที่เกี่ยวกับการนี้.
【 พลานามัย 】แปลว่า: น. ภาวะของร่างกายที่แข็งแรง และไม่เป็นโรค; วิชาว่าด้วย
การรักษาสุขภาพของร่างกายและจิตใจ.
【 พลานึก 】แปลว่า: น. ทหาร, นักรบที่ต้องใช้กําลังกาย. (ป., ส. พลานีก).
【 พลบ 】แปลว่า: [พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น
ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
【 พลบค่ำ 】แปลว่า: น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.
【 พลว 】แปลว่า: [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น
พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
【 พลวก 】แปลว่า: [พฺลวก] ก. อาการที่ข้าวทะลักออกมาจากหม้อพร้อมกับน้ำข้าวใน
เวลาเช็ดหม้อข้าว เรียกว่า ข้าวพลวกจากหม้อ, อาการที่ดินยุบลง
เพราะไม่แน่น เช่น ดินพลวกลง.
【 พลวง ๑ 】แปลว่า: [พฺลวง] น. ธาตุลําดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕?ซ. มี
สมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับ
โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).
【 พลวง ๒ 】แปลว่า: [พฺลวง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dipterocarpus tuberculatus/ Roxb.
ในวงศ์ Dipterocarpaceae ใบใหญ่ ใช้ห่อยาสูบและมุงหลังคา,
คลุ้ง ตองตึง หรือ ตึง ก็เรียก.
【 พลวดกินลูก 】แปลว่า: [พฺลวด] /ดู กระทุ/.
【 พลวดใหญ่ 】แปลว่า: [พฺลวด] /ดู กระทุ/.
【 พลวัต 】แปลว่า: [พนละ] ว. ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรง, ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลของแรงเช่น
การเคลื่อนที่. (อ. dynamic).
【 พลศาสตร์ 】แปลว่า: [พนละ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ
เทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์
และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
【 พลอ 】แปลว่า: พฺลอ ก. ฝานเอาเปลือกแข็งออก.
【 พล้อ ๑ 】แปลว่า: [พฺล้อ] น. ต้นกะพ้อ. /(ดู กะพ้อ ๒)./
【 พล้อ ๒ 】แปลว่า: [พฺล้อ] ก. พ้อ.
【 พลอง ๑ 】แปลว่า: [พฺลอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล /Memecylon/
วงศ์ Melastomataceae เนื้อละเอียดและแข็ง เช่น พลองขี้นก
(/M. floribundum/ Blume) พลองเหมือด (/M. edule/ Roxb.).
【 พลอง ๒ 】แปลว่า: [พฺลอง] น. เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง.
【 พลอด 】แปลว่า: [พฺลอด] ก. พูดเรื่อยอย่างอ่อนหวานน่าฟัง.
【 พลอดรัก 】แปลว่า: ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ.
【 พลอน 】แปลว่า: [พฺลอน] ก. ปอกให้มีเปลือกติดอยู่บ้าง เช่น พลอนมะพร้าว, เรียก
มะพร้าวที่ปอกแล้วเช่นนั้นว่า มะพร้าวพลอน, ปล้อน. ว. ชอนไป,
พรุน, ย่อยยับ.
【 พลอมแพลม 】แปลว่า: [พฺลอมแพฺลม] ว. วาบแวบ, ผลุบโผล่, ประปราย, ไม่สมํ่าเสมอ, เช่น
หญ้าขึ้นพลอมแพลม.
【 พลอย ๑ 】แปลว่า: [พฺลอย] น. หินที่มีเนื้อใสสีต่าง ๆ ใช้ทําเป็นเครื่องประดับมีหัวแหวน
เป็นต้น, เรียกสิ่งที่ทําเทียมพลอยว่า พลอยหุง.
【 พลอยสามสี 】แปลว่า: น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดน
แสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ, จะมีสีแดงแล้ว
เปลี่ยนเป็นสีม่วงเจ้าสามสี ก็เรียก.
【 พลอย ๒ 】แปลว่า: [พฺลอย] ว. ร่วมด้วย, ประสมด้วย, ตามไปด้วย, ในลักษณะเช่นเห็น
เขาเดินขบวนกันแล้วเดินตามเขาไป เห็นคนอื่นเขาทํากันแล้วก็ร่วม
กับเขาด้วย.
【 พลอยฟ้าพลอยฝน 】แปลว่า: ว. ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ก็ร่วมรับเคราะห์ไปกับเขาด้วย.
【 พล่อย 】แปลว่า: [พฺล่อย] ว. อาการที่พูดง่าย ๆ โดยไม่ตริตรอง.
【 พละ 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พละพลา 】แปลว่า: พฺละพฺลา น. พลับพลา.
【 พลั่ก 】แปลว่า: [พฺลั่ก] ว. อาการที่ไหลทะลักออกมาด้วยกําลังดัน เช่น เลือด
ออกพลั่ก; เสียงดังเช่นนั้น.
【 พลัง 】แปลว่า: [พะ] ว. กําลัง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า กําลังพลัง.
【 พลังงาน 】แปลว่า: (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้.
(อ. energy).
【 พลังงานจลน์ 】แปลว่า: น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุนั้น.
(อ. kinetic energy).
【 พลังงานศักย์ 】แปลว่า: น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากตําแหน่งที่อยู่ของเทหวัตถุนั้น.
(อ. potential energy).
【 พลังเงียบ 】แปลว่า: (การเมือง) น. เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่แสดงออก. (อ. silent majority).
【 พลังจิต 】แปลว่า: น. ความเข้มแข็งของจิตใจ, อํานาจจิต.
【 พลั่ง, พลั่ง ๆ 】แปลว่า: [พฺลั่ง] ว. อาการที่หลั่งไหลออกมาไม่ขาดสายด้วยกําลังดัน เช่น
น้ำเดือดพลั่ง ๆ น้ำไหลพลั่ง ๆ.
【 พลั้ง 】แปลว่า: [พฺลั้ง] ก. พลาดโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ พลาด
เป็น พลั้งพลาด หรือ พลาดพลั้ง.
【 พลั้งปาก 】แปลว่า: ก. พูดไปโดยไม่ทันคิด.
【 พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
【 พลั้งเผลอ 】แปลว่า: [เผฺลอ] ว. ผิดพลาดเพราะหลงลืมไปชั่วขณะ.
【 พลั้งพลาด 】แปลว่า: [พฺลาด] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลาดพลั้ง ก็ว่า.
【 พลัด 】แปลว่า: [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ
เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น
พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม
เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
【 พลัดถิ่น 】แปลว่า: ว. อยู่ไกลจากถิ่นที่อยู่ของตน เช่น เรียกรัฐบาลที่ตั้งศูนย์บัญชาการ
อยู่นอกประเทศของตนว่า รัฐบาลพลัดถิ่น.
【 พลัดที่นาคาที่อยู่ 】แปลว่า: (สํา) ก. พลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม, ระหกระเหิน.
【 พลัดพราก 】แปลว่า: ก. จากไป, แยกออกจากกันไป.
【 พลัน 】แปลว่า: [พฺลัน] ว. ทันที เช่น โดยพลัน เร็วพลัน.
【 พลับ 】แปลว่า: [พฺลับ] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Diospyros malabarica/ Kostel. var.
/siamensis/ (Hochr.) Phengklai ในวงศ์ Ebenaceae คล้าย
ตะโก ผลกินได้, มะพลับ ก็เรียก.
【 พลับเขา 】แปลว่า: /ดู กระดูกค่าง/.
【 พลับพลา 】แปลว่า: [พฺลา] น. ที่ประทับชั่วครั้งคราวสําหรับรับรองพระเจ้าแผ่นดิน
และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง.
【 พลับพลึง 】แปลว่า: [พฺลึง] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด /Crinum asiaticum/ L. ในวงศ์
Amaryllidaceae ใบยาวใหญ่เป็นกาบ หัวมีพิษ ดอกสีขาว กลิ่นหอม.
【 พลั่ว 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับแทงดิน สาดดิน สาดข้าว รูปแบน ๆ มีด้าม
สําหรับถือ.
【 พล่า 】แปลว่า: [พฺล่า] น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยํา มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุก
ด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว.
【 พลากร 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พลาง 】แปลว่า: [พฺลาง] ว. ในระยะเวลาเดียวกัน (มักใช้กับกริยาที่ควบคู่กัน) เช่น
เขาเดินพลางกินพลางกองทัพสู้พลางถอยพลาง, ชั่วระหว่างเวลา
(ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกําหนดเป็นต้น) เช่น กินไปพลางก่อน
ทําไปพลางก่อน อยู่ไปพลางก่อน.
【 พลาญ 】แปลว่า: พะลาน น. ลาน.
【 พลาด 】แปลว่า: [พฺลาด] ก. ไม่ตรงที่หมาย ในลักษณะเช่น เพลี่ยงไป เลี่ยงไป หรือ
ไถลไป เช่น ยิงพลาด เหยียบบันไดพลาด; ผิดพลาด เพราะไม่รู้เท่า
หรือเชื่อตัวเองเกินไปเป็นต้น เช่น ตอบพลาด.
【 พลาดท่า 】แปลว่า: ก. เสียที, เสียรู้.
【 พลาดพลั้ง 】แปลว่า: [พฺลั้ง] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลั้งพลาด ก็ว่า.
【 พลาดิศัย 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พลาธิการ 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พล่าน 】แปลว่า: [พฺล่าน] ว. อาการเป็นไปในลักษณะป่วน วุ่น สับสน ลนลาน ซ่าน
หรืออย่างอื่นที่คล้ายกัน เช่น เดือดพล่าน วิ่งพล่าน เดินพล่าน.
【 พลานามัย 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พลานึก 】แปลว่า: /ดู พล, พล/.
【 พลาม 】แปลว่า: [พฺลาม] ว. อาการที่กินอาหารเช่นกล้วยและเคี้ยวปากกว้าง ๆ;
แวบวาบ.
【 พล่าม 】แปลว่า: [พฺล่าม] ว. เพ้อเจ้อ, เหลิงเจิ้ง, อาการที่พูดมากจนเสียประโยชน์,
อาการที่พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จักจบจนน่ารำคาญ.
【 พลาย 】แปลว่า: [พฺลาย] ว. เรียกช้างตัวผู้ว่า ช้างพลาย. (ต.).
【 พลายม้า 】แปลว่า: น. เรือพายม้า, ใช้ว่า ไพม้า ก็มี.
【 พลาสติก 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ
บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัวเมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด
แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียมใช้ทําสิ่งต่าง ๆ
เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์.
(อ. plastic).
【 พลาสมา 】แปลว่า: น. ส่วนประกอบของเลือดที่แยกเอาเม็ดเลือดออกแล้ว; (ฟิสิกส์)
ภาวะหนึ่งของสสาร ณ ภาวะนี้สสารอยู่ในสภาพแก๊สที่ร้อนจัด
อย่างยิ่งยวด และแตกตัวเป็นอนุภาคบวกกับอิเล็กตรอนซึ่งมี
จํานวนเท่ากันโดยประมาณ สสารในภาวะนี้เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ดียิ่ง.
(อ. plasma).
【 พลาหก 】แปลว่า: [พะลา] น. เมฆ, ฝน. (ป., ส. วลาหก).
【 พลำ, พล้ำ 】แปลว่า: [พฺลํา, พฺลํ้า] ก. พลาดถลํา.
【 พลำภัง 】แปลว่า: พะ น. ชื่อกรมการปกครองในกระทรวงมหาดไทย, เขียน
เป็น พลัมภัง พลําภังค์ ก็มี.
【 พลิ 】แปลว่า: [พะลิ] /ดู พลี ๑/.
【 พลิก 】แปลว่า: [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา
พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา.
【 พลิกกระเป๋า 】แปลว่า: (ปาก) ก. เสียจนหมดตัวเพราะผิดจากที่คาดหมายไว้
(ใช้แก่การพนัน).
【 พลิกตัว 】แปลว่า: ก. เปลี่ยนท่านอนจากท่าหนึ่งเป็นอีกท่าหนึ่งเช่นจากนอนหงาย
เป็นนอนตะแคง.
【 พลิกแผ่นดิน 】แปลว่า: (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน.
ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจนพลิกแผ่นดิน.
【 พลิกแพลง 】แปลว่า: [แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไป
จากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่น
พลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง,
เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.
【 พลิกศพ 】แปลว่า: ก. ชันสูตรศพ.
【 พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 】แปลว่า: (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม,
กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
【 พลิพัท 】แปลว่า: [พะลิ] น. โคผู้. (ป. พลิวทฺท).
【 พลิ้ว 】แปลว่า: [พฺลิ้ว] ก. บิด, เบี้ยว, เช่น คมมีดพลิ้ว; สะบัดเป็นคลื่นไปตามลม
เช่น ธงพลิ้ว.
【 พลี ๑ 】แปลว่า: [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม
แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก,
เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี
อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒
อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ).
(ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
【 พลีกรรม 】แปลว่า: [พะลีกํา] น. การบูชา, พิธีบูชา.
【 พลี ๒ 】แปลว่า: [พฺลี] ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่
ยาสมุนไพร) เช่นไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียน
หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
【 พลี ๓ 】แปลว่า: [พะลี] ว. มีกําลัง. (ป.).
【 พลีมุข 】แปลว่า: [พะลี] น. ลิง. (ส. พลีมุข ว่า หน้าย่น).
【 พลุ 】แปลว่า: [พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อ
จุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิง
อย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.
【 พลุก ๑ 】แปลว่า: [พฺลุก] น. งาช้าง. (ข. ภฺลุก).
【 พลุก ๒ 】แปลว่า: [พฺลุก] ว. พลุ่ง.
【 พลุ่ก 】แปลว่า: [พฺลุ่ก] ว. พลุ่งขึ้นมา.
【 พลุกพล่าน 】แปลว่า: [พฺลุกพฺล่าน] ก. เกะกะ, ขวักไขว่, เกลื่อนกล่น. ว. อาการที่เคลื่อน
ไหวขวักไขว่ไม่เป็นระเบียบ เช่น เดินพลุกพล่าน วิ่งพลุกพล่าน
แล่นพลุกพล่าน.
【 พลุ่ง 】แปลว่า: [พฺลุ่ง] ก. อาการที่ไอน้ำหรือควันดันตัวพุ่งออกมาโดยแรง เช่น น้ำ
เดือดไอน้ำพลุ่งขึ้นมา ไฟไหม้ควันพลุ่งขึ้นมา, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โทสะพลุ่งขึ้นมา อารมณ์เดือดพลุ่ง.
【 พลุ่งพล่าน 】แปลว่า: [พฺล่าน] ก. บันดาลโทสะจนนั่งไม่ติด.
【 พลุ้น 】แปลว่า: [พฺลุ้น] ว. อ่อน (ใช้แก่มะพร้าวที่กะลายังไม่แข็ง).
【 พลุ่มพล่าม 】แปลว่า: [พฺลุ่มพฺล่าม] ว. ยุ่มย่าม, ซุ่มซ่าม, ตะกรุมตะกราม.
【 พลุ่ย 】แปลว่า: [พฺลุ่ย] ว. ง่าย, ลุ่ย, หลวมเข้าไป.
【 พลุ้ย 】แปลว่า: [พฺลุ้ย] ว. ยุ้ย, ยื่นออกมาอย่างท้องคนอ้วน, เช่น ท้องพลุ้ย พุงพลุ้ย.
【 พลู 】แปลว่า: [พฺลู] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Piper betle/ L. ในวงศ์ Piperaceae ใบมีรส
เผ็ดร้อนใช้กินกับหมากและทํายาได้.
【 พลูแก 】แปลว่า: [พฺลู] น. ชื่อไม้เถาในสกุล /Piper/ วงศ์ Piperaceae คล้ายพลู
แต่ก้านใบยาวกว่า ใช้ทํายาได้.
【 พลูคาว 】แปลว่า: [พฺลู] /ดู คาวตอง/.
【 พลูต้น 】แปลว่า: พฺลู น. ต้นข่าต้น. /(ดู ข่าต้น)./
【 พลูโต 】แปลว่า: [พฺลู] น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วย
ตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้น
ผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจร
เป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงจรของดาว
เนปจูน, ดาวยม ก็เรียก. (อ. Pluto).
【 พลูโทเนียม 】แปลว่า: [พฺลู] น. ธาตุลําดับที่ ๙๔ สัญลักษณ์ Pu เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. plutonium).
【 พวก 】แปลว่า: น. คน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มเป็นหมู่ตามอาชีพ
หรือชนิดเป็นต้น เช่น พวกนักเรียน พวกพ่อค้า พวกกรรมกร พวก
นก พวกกา พวกเครื่องมือ พวกเครื่องเขียน.
【 พวกพ้อง 】แปลว่า: น. หมู่ญาติ, เพื่อนฝูง.
【 พวง ๑ 】แปลว่า: น. กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่อยู่ร่วมขั้วเดียวกันหรือ
ผูกมัดไว้รวมกัน เช่น พวงองุ่น พวงดอกไม้ พวงลูกโป่ง; คําต้นของ
ไม้เลื้อยพวกหนึ่งที่มีดอกเป็นพวงมีหลายชนิด เช่น พวงแก้วกุดั่น
พวงชมพู พวงนาค.
【 พวงมโหตร 】แปลว่า: [มะโหด] น. พวงอุบะซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตรทำด้วย
ผ้าตาดทอง, ลูกมโหตร ก็ว่า.
【 พวงมาลัย 】แปลว่า: น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้
กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ด้าย
ผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ
บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง
สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ
ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
【 พวงมาลา 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมี
ใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป
หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.
【 พวงหรีด 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี
สําหรับใช้เคารพศพ, หรีด ก็เรียก.
【 พวง ๒ 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ยื่นพองออกมา เช่น แก้มเป็นพวง.
【 พวง ๓ 】แปลว่า: /ดู บ้า ๒/.
【 พ่วง ๑ 】แปลว่า: ก. ต่อท้าย, ตามติด, เช่น ขอพ่วงไปด้วย, เรียกเรือที่พ่วงท้ายให้
เรือโยงลากจูงไปว่า เรือพ่วง, เรียกรถที่พ่วงท้ายให้รถคันหน้า
ลากไปว่า รถพ่วง.
【 พ่วงข้าง 】แปลว่า: ก. ติดไว้ข้าง ๆ เช่น รถพ่วงข้างรถจักรยานยนต์.
【 พ่วง ๒ 】แปลว่า: ว. โต, อ้วน.
【 พ่วงพี 】แปลว่า: ว. อ้วนลํ่า.
【 พวงโกเมน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด /Mucuna bennettii/ F. Muell. ในวงศ์
Leguminosae ดอกสีแสด ออกเป็นช่อห้อยยาว.
【 พวงคราม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Petrea volubilis/ L. ในวงศ์ Verbenaceae ใบแข็ง
และคาย ดอกสีม่วงครามเป็นกลีบ ๕ แฉก คล้ายรูปดาว ออกเป็น
ช่อใหญ่.
【 พวงชมพู 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาขนาดเล็กชนิด /Antigonon leptopus/ Hook. et Arn.
ในวงศ์ Polygonaceae ดอกสีชมพูรูปหัวใจเล็ก ๆ ออกเป็นช่อยาว
ออกดอกตลอดปี.
【 พวงดอกไม้ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวดอกบัว
ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ
หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
【 พวงแสด 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาขนาดเล็กชนิด /Pyrostegia venusta/ (Ker—Gawler)
Miers ในวงศ์ Bignoniaceae ดอกสีแสดรูปกระบอก ออกเป็น
ช่อยาว.
【 พวงหยก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาขนาดกลางชนิด /Strongylodon macrobotrys/ A. Gray
ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีหยกหรือสีนํ้าทะเล ออกเป็นช่อห้อยยาว.
【 พวงอุไร 】แปลว่า: /ดู ทองอุไร/.
【 พวน ๑ 】แปลว่า: น. เชือกเกลียวขนาดใหญ่สำหรับใช้โยงเรือ เป็นต้น; แนว.
【 พวน ๒ 】แปลว่า: น. รวงข้าวที่นวดแล้วหรืออ้อยที่หีบครั้งที่ ๒.
【 พวน ๓ 】แปลว่า: น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่ง
ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
【 พวย ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนของกาหรือป้านที่ยื่นออกมา สําหรับรินนํ้า.
【 พวยน้ำ 】แปลว่า: น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, นาคเล่นนํ้า ก็ว่า.
【 พวย ๒ 】แปลว่า: ก. สูง, พุ่ง, ไปโดยเร็ว.
【 พวยพุ่ง 】แปลว่า: ว. ช่วงโชติ, พุ่งเป็นลําออกไปโดยเร็ว เช่น แสงพวยพุ่ง รัศมีพวยพุ่ง.
【 พสก, พสก 】แปลว่า: [พะสก, พะสกกะ] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค
ว่า ผู้อยู่ในอํานาจ).
【 พสกนิกร 】แปลว่า: [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศไม่ว่าจะเป็น
พลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม.
【 พสนะ 】แปลว่า: [พะสะนะ, พดสะนะ] น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส. วสน).
【 พสุ 】แปลว่า: [พะ] น. ชื่อเรียกเทวดาจําพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี.
ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
【 พสุธา 】แปลว่า: น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์” คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
【 พสุธาดล 】แปลว่า: น. พื้นแผ่นดิน. (ป., ส. วสุธาตล).
【 พสุนธรา 】แปลว่า: [พะสุนทะ] น. แผ่นดิน. (ป. วสุนฺธรา; ส. วสุํธรา).
【 พสุมดี 】แปลว่า: [พะสุมะดี] น. แผ่นดิน. (ส.).
【 พสุธา 】แปลว่า: /ดู พสุ/.
【 พสุธากันแสง 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ ธรณีร้องไห้ ก็ว่า.
【 พสุธาดล 】แปลว่า: /ดู พสุ/.
【 พสุนธรา 】แปลว่า: /ดู พสุ/.
【 พสุมดี 】แปลว่า: /ดู พสุ/.
【 พสุสงกรานต์ 】แปลว่า: (ดารา) น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔
มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึง
จุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์
ใต้ (aphelion).
【 พหล 】แปลว่า: [พะหน] ว. มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ. น. กองทัพใหญ่. (ป., ส.).
【 พหุ 】แปลว่า: ว. มาก, เขียนเป็น พหู ก็มี. (ป., ส.).
【 พหุคูณ 】แปลว่า: ว. หลายเท่า, หลายทบ. (ส.).
【 พหุพจน์, พหูพจน์ 】แปลว่า: น. คําที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง. (ป., ส. พหุวจน).
【 พหุภาคี 】แปลว่า: (การทูต) ว. หลายฝ่าย. น. เรียกสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย
ว่า สนธิสัญญาพหุภาคี. (อ. multilateral).
【 พหุล 】แปลว่า: [พะหุน] ว. หนา, มาก. (ป., ส.).
【 พหู 】แปลว่า: ว. พหุ.
【 พหูพจน์ 】แปลว่า: น. คําที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง.
【 พหูสูต 】แปลว่า: น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก.
(ป. พหุสฺสุต).
【 พอ 】แปลว่า: ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม
ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ;
เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ …
ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
【 พอกัน, พอ ๆ กัน 】แปลว่า: ว. เสมอกัน, ทัดเทียมกัน, เทียบเท่ากัน, เช่น เก่งพอกัน ฝีมือพอกัน
ร้ายพอ ๆ กัน.
【 พอกันที 】แปลว่า: (ปาก) ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป.
【 พอการ 】แปลว่า: (ปาก) ว. สมควรแก่งาน, บางทีใช้หมายความว่า มาก.
【 พอก้าวขาก็ลาโรง 】แปลว่า: (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอยกขาก็ลาโรง ก็ว่า.
【 พอควร 】แปลว่า: ว. พอสมควร.
【 พอใจ 】แปลว่า: ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.
【 พอใช้ 】แปลว่า: ว. ใช้ได้ เช่น คะแนนพอใช้; ปานกลาง, พอสมควร, เช่น มีฐานะดี
พอใช้รวยพอใช้เก่งพอใช้; เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่นมี
เงินพอใช้ทั้งเดือน, พอใช้พอสอย ก็ว่า.
【 พอใช้ได้ 】แปลว่า: ว. นับว่าใช้ได้.
【 พอใช้พอสอย 】แปลว่า: ว. เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่น มีเงินพอใช้พอสอยไป
เดือนหนึ่ง ๆ, พอใช้ ก็ว่า.
【 พอดิบพอดี 】แปลว่า: ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคาของ
พอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
【 พอดี 】แปลว่า: ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า;
พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึงที่ทำงาน
๘.๓๐ น. พอดี.
【 พอดีกัน 】แปลว่า: ว. เสมอกัน (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มันก็พอดีกันนั่นแหละ.
【 พอดีพอร้าย 】แปลว่า: ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความไม่แน่นอน)
เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
【 พอดู 】แปลว่า: ว. เอาการ, ค่อนข้างมากทีเดียว, เช่น เก่งพอดู.
【 พอดูได้ 】แปลว่า: ว. ไม่ถึงกับน่าเกลียด, พอใช้ได้.
【 พอได้ 】แปลว่า: ว. พอใช้ได้บ้าง.
【 พอตัว 】แปลว่า: ว. พอเหมาะสมแก่ตน เช่น มีความสามารถพอตัว.
【 พอทำเนา 】แปลว่า: ว. พอสมควร, พอสถานประมาณ, เช่น เจ็บไข้ก็พอทำเนายังแถม
ถูกออกจากงานเสียอีก.
【 พอทำพอกิน 】แปลว่า: ว. พอกินไปวันหนึ่ง ๆ.
【 พอที 】แปลว่า: คําห้ามเพื่อขอยับยั้ง.
【 พอที่ 】แปลว่า: ว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอที่
จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย.
【 พอที่จะ 】แปลว่า: ว. ควรที่จะ เช่น พอที่จะได้ เลยไม่ได้.
【 พอประมาณ 】แปลว่า: ว. เพียงปานกลาง เช่น มีฐานะดีพอประมาณ.
【 พอไปได้ 】แปลว่า: ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
【 พอไปวัดไปวาได้ 】แปลว่า: ว. มีหน้าตาสวยพออวดได้ (ใช้แก่ผู้หญิง).
【 พอเพียง 】แปลว่า: ก. ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอเพียงแล้ว.
【 พอฟัด, พอฟัดพอเหวี่ยง 】แปลว่า: ก. พอสู้กันได้ เช่น เขามีฝีมือพอฟัดพอเหวี่ยงกัน, พอวัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
【 พอมีพอกิน 】แปลว่า: ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน.
【 พอมีอันจะกิน 】แปลว่า: ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคนพอมีอันจะกิน.
【 พอยกขาก็ลาโรง 】แปลว่า: (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอก้าวขาก็ลาโรง ก็ว่า.
【 พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน 】แปลว่า: (สํา) รู้ทันกัน, พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ก็ว่า.
【 พอแรง 】แปลว่า: ว. เต็มแรง, มาก, เช่น ถูกด่าเสียพอแรง ว่าเสียพอแรง.
【 พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง 】แปลว่า: (สํา) ก. พอมีกินมีใช้, พอเลี้ยงตัวได้.
【 พอวัดพอเหวี่ยง 】แปลว่า: ก. พอสู้กันได้, พอฟัด หรือ พอฟัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
【 พอสถานประมาณ 】แปลว่า: ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอสถานประมาณ,
พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
【 พอสมควร 】แปลว่า: ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร,
พอควร ก็ว่า.
【 พอสัณฐานประมาณ 】แปลว่า: ว. เพียงระดับปานกลาง, พอสถานประมาณ ก็ว่า.
【 พอหอมปากหอมคอ 】แปลว่า: (ปาก) ว. พอสมควร, พอดี ๆ, นิด ๆ หน่อย ๆ, เช่น กินพอหอมปาก
หอมคอ พูดพอหอมปากหอมคอ.
【 พอเหมาะ 】แปลว่า: ก. เหมาะเจาะ เช่น เขามาพอเหมาะกับเวลา รองเท้านี้ใส่ได้
พอเหมาะ, พอเหมาะพอเจาะ ก็ว่า.
【 พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ 】แปลว่า: (สํา) รู้ทันกัน, พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน ก็ว่า.
【 พออาศัย 】แปลว่า: ว. พออยู่ได้, พอไปได้.
【 พ่อ 】แปลว่า: น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง;
ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม
หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย
แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ
งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า
พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
【 พ่อเกลอ 】แปลว่า: น. เพื่อนร่วมนํ้าสบถของพ่อ.
【 พ่อขุน 】แปลว่า: (โบ) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย.
【 พ่อครัว 】แปลว่า: (โบ) น. หัวหน้าครอบครัว.
【 พ่อคุณ 】แปลว่า: ว. คําพูดเอาใจ (ใช้แก่ผู้ชาย).
【 พ่อเจ้า 】แปลว่า: ส. คําเรียกพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
【 พ่อเจ้าประคุณ 】แปลว่า: คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง
(ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่าเจ็บไหม ทำไมไม่
นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
【 พ่อแจ้แม่อู 】แปลว่า: (สํา) ว. พันทาง, ต่างพันธุ์กัน.
【 พ่อตา 】แปลว่า: น. พ่อของเมีย.
【 พ่อบ้าน 】แปลว่า: น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการในสถาน
ที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
【 พ่อพวงมาลัย 】แปลว่า: (สํา) น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัวหรือทําการงาน
เป็นหลักฐาน.
【 พ่อพันธุ์ 】แปลว่า: น. สัตว์ตัวผู้ที่ใช้ผสมพันธุ์.
【 พ่อม่าย 】แปลว่า: น. ชายที่เมียตายหรือหย่ากัน.
【 พ่อเมือง 】แปลว่า: น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง.
【 พ่อร้าง 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย.
【 พ่อเรือน 】แปลว่า: (โบ) น. พลเรือน.
【 พ่อลิ้นทอง 】แปลว่า: (ปาก) น. คนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง.
【 พ่อเล้า 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
【 พ่อเลี้ยง 】แปลว่า: น. ผัวของแม่ แต่ไม่ใช่พ่อของตัว; (ถิ่นพายัพ) แพทย์; ชายที่มีฐานะดี.
【 พ่อสื่อ 】แปลว่า: น. ชายที่ทำหน้าที่ชักนําชายหญิงให้พบรู้จักรักใคร่และแต่งงานกัน,
ชายผู้ช่วยเหลือให้คู่รักได้ติดต่อหรือพบปะกัน.
【 พ้อ ๑ 】แปลว่า: ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, ตัดพ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้.
【 พ้อ ๒ 】แปลว่า: /ดู กะพ้อ ๒/.
【 พอก ๑ 】แปลว่า: ก. หุ้ม เช่น พอกไข่, พูน, โปะให้หนา เช่น พอกแป้ง. ว. โป่งออกมา
เช่น คอพอก.
【 พอกพูน 】แปลว่า: ก. เพิ่มขึ้นโดยลําดับ เช่น ทรัพย์สินพอกพูน พอกพูนความรู้.
【 พอก ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. โพกผ้า. น. ผ้าโพกคล้ายหมวก.
【 พอก ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล /Perigrypta/ วงศ์ Veneridae รูปร่าง
และเปลือกหนาคล้ายหอยตลับ แต่ผิวเปลือกนอกสาก สีครีม เช่น
ชนิด /P. puerpera/.
【 พ่อค้าตีเมีย 】แปลว่า: /ดู กับแก้ ๑/.
【 พอง 】แปลว่า: ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่
ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟ
เท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่ง
ให้พอง เป่าปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัว
ให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไป
ทอดก็จะพอง.
【 พ้อง 】แปลว่า: ว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ
เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.
【 พ้องพาน 】แปลว่า: ก. ประสบ, แตะต้อง, เช่น ขออย่าให้มีภัยอันตรายมาพ้องพาน.
【 พอน ๑ 】แปลว่า: น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย
ออกไปรอบ ๆเพื่อพยุงลําต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า,
พูพอน ก็เรียก.
【 พอน ๒ 】แปลว่า: ว. สีเหลืองนวล, เรียกชันชนิดหนึ่งที่มีสีอย่างนั้น สําหรับใช้พอนเรือ
เป็นต้นว่า ชันพอนหรือ ลาพอน. ก. ยาด้วยชันเป็นต้นให้เรียบ เช่น
พอนครุ พอนกะโล่.
【 พอนเรือ 】แปลว่า: ก. เอานํ้ามันยางชโลมเรือหลังจากตอกหมันแล้ว.
【 พ้อม 】แปลว่า: น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สําหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, กระพ้อม
ก็ว่า.
【 พอโลเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะ
เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔?ซ. (อ. polonium).
【 พะ ๑ 】แปลว่า: น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ
ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง
ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่
เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
【 พะ ๒ 】แปลว่า: ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น
เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
【 พ่ะ 】แปลว่า: (โบ) ว. จ้ะ, ขอรับ.
【 พะงา 】แปลว่า: น. นางงาม. ว. สวย, งาม.
【 พะงาบ, พะงาบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็น
อาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), ปะงาบ ๆ
ปะงาบ หรือ งาบ ๆ ก็ว่า.
【 พะจง 】แปลว่า: /ดู บ่าง/.
【 พะทำมะรง 】แปลว่า: น. ผู้ควบคุมนักโทษ.
【 พะนอ 】แปลว่า: ก. เอาอกเอาใจเกินสมควร.
【 พะเน้าพะนอ 】แปลว่า: ก. พรํ่าเอาอกเอาใจเกินสมควร.
【 พะเน้าพะนึง 】แปลว่า: ก. ทําอิด ๆ เอื้อน ๆ; เซ้าซี้.
【 พะเนิน 】แปลว่า: น. ค้อนขนาดใหญ่สำหรับตีเหล็กหรือทุบหิน เป็นต้น; ของกองสุม
กันขึ้นไปจนสูง, พะเนินเทินทึก ก็ว่า.
【 พะเนินเทินทึก 】แปลว่า: (ปาก) ว. มากมายก่ายกอง, พะเนิน ก็ว่า.
【 พะเนียง ๑ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินดํา ใช้ตั้งจุด
ไฟให้ลุกเป็นช่องาม เรียกว่า ไฟพะเนียง.
【 พะเนียง ๒ 】แปลว่า: /ดู เนียง ๒/.
【 พะเนียง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อหม้อนํ้าชนิดหนึ่ง รูปอย่างหม้อคะนน.
(รูปภาพ พะเนียง)
【 พะแนง 】แปลว่า: น. แกงคั่วไก่หรือเนื้อเป็นต้น นํ้าแกงข้น.
【 พะพาน 】แปลว่า: ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้
พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.
【 พะพิง 】แปลว่า: ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย, พะ ก็ว่า.
【 พะเพิง 】แปลว่า: น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง หรือ เพิงพะ
ก็เรียก.
【 พะยอม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Shorea roxburghii/ G. Don ในวงศ์
Dipterocarpaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง.
【 พ่ะย่ะค่ะ 】แปลว่า: ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ
เจ้าฟ้า.
【 พะยุพยุง 】แปลว่า: [พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับ
หิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
【 พะยูง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Dalbergia cochinchinensis/ Pierre ex Laness.
ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้สีแดงคลํ้า ใช้ทําเครื่องเรือน.
【 พะยูน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด /Dugong dugon/ ในวงศ์ Dugongidae
ลําตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก
รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่มี
หางแผ่เป็นแฉกกว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดํา
แกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็น
สัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หรือ หมูนํ้า ก็เรียก.
【 พะเยิบ, พะเยิบ ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่ปลิวขึ้นปลิวลงช้า ๆ เช่น ผ้าถูกลมพัดปลิวพะเยิบ ๆ,
อาการที่ของแบนบางกระพือขึ้นกระพือลงช้า ๆ เช่น นกกระพือ
ปีกบินพะเยิบ ๆ, เผยิบ หรือ เผยิบ ๆ ก็ว่า.
【 พะเยิบพะยาบ 】แปลว่า: ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ
หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว), เช่น หลังคาเต็นท์ถูกลมพัดพะเยิบพะยาบ.
【 พะรุงพะรัง 】แปลว่า: ว. ปะปนกันจนรุงรัง เช่น หอบข้าวของพะรุงพะรัง, นุงนัง เช่น
มีหนี้สินพะรุงพะรัง.
【 พะเลย 】แปลว่า: น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน
ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
【 พะโล้ 】แปลว่า: น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ
อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน
น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส
หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
【 พะไล 】แปลว่า: น. เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม
ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน, พาไล ก็ว่า.
【 พะวง 】แปลว่า: ก. กังวล, ห่วงใย.
【 พะวักพะวน 】แปลว่า: ก. ห่วงเรื่องต่าง ๆ จนวุ่นวายใจ.
【 พะวา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด /Garcinia speciosa/ Wall. ในวงศ์
Guttiferae เปลือกมียางสีเหลือง ผลคล้ายมังคุดขนาดย่อม, ขวาด
สารภีป่า มะดะขี้นก หรือ มะป่อง ก็เรียก.
【 พะว้าพะวัง 】แปลว่า: ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ห่วงหน้าพะวงหลัง.
【 พะอง 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูก
พาดขึ้นต้นไม้ต่างบันไดถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูก
ต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
【 พะอากพะอำ 】แปลว่า: ก. อึดอัด, คับแคบใจ.
【 พะอืดพะอม 】แปลว่า: ว. อาการที่รู้สึกคลื่นไส้; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จะตัดสินใจ
อย่างไรดี, ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเด็ดขาดลงไป, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ก็ว่า.
【 พัก 】แปลว่า: ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว,
เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว
เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดิน
ไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
【 พักผ่อน 】แปลว่า: ก. หยุดทํางานชั่วคราวให้คลายเหนื่อย.
【 พักผ่อนหย่อนใจ 】แปลว่า: ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน.
【 พักพิง 】แปลว่า: ก. อาศัยอยู่ชั่วคราว.
【 พักฟื้น 】แปลว่า: ก. พักผ่อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปรกติ เมื่อหายเจ็บป่วย.
【 พักร้อน 】แปลว่า: ก. หยุดพักผ่อน.
【 พักแรม 】แปลว่า: ก. พักค้างคืน (มักไปกันเป็นหมู่คณะ) เช่น ลูกเสือไปพักแรม.
【 พักสมอง 】แปลว่า: ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่นชั่วคราว
เพื่อผ่อนคลายสมอง.
【 พักสายตา 】แปลว่า: ก. หยุดใช้สายตาอย่างคร่ำเคร่งชั่วคราว.
【 พักใหญ่ 】แปลว่า: น. ชั่วระยะเวลานานพอสมควร.
【 พักตร, พักตร์ 】แปลว่า: พักตฺระ น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
【 พักตรา 】แปลว่า: (กลอน) น. หน้า.
【 พักตรากฤติ 】แปลว่า: [กฺริด] น. โฉมหน้า เช่น พักตรากฤติอันบริสุท ธิพบูและโสภา.
(สมุทรโฆษ). (ส. พกฺตฺร + อากฺฤติ).
【 พักตรา 】แปลว่า: /ดู พักตร, พักตร์/.
【 พักตรากฤติ 】แปลว่า: /ดู พักตร, พักตร์/.
【 พักตา 】แปลว่า: น. ผู้พูด, ผู้กล่าว. (ส. วกฺตฺฤ; ป. วตฺตา).
【 พักแพว 】แปลว่า: น. ผักแพว. /[ดู แพว (๑)]./
【 พักร 】แปลว่า: พัก ก. ย้อน, ถอยหลัง, เช่น ดาวนพเคราะห์เดินย้อนราศี
เรียกว่า พักร. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส. วกฺร).
【 พัง ๑ 】แปลว่า: ก. ทลาย เช่น บ้านพัง ตึกพัง, ทำให้ทลาย เช่น พังบ้าน พังประตู.
【 พัง ๒ 】แปลว่า: น. ช้างตัวเมีย เรียกว่า ช้างพัง.
【 พังกา ๑ 】แปลว่า: /ดู โกงกาง/.
【 พังกา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด /Trimeresurus purpureomaculatus/ ในวงศ์
Viperidae ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับงูเขียวหางไหม้ ตัวสีเขียว มีลาย
พราวสีม่วงแดงทั้งตัว อาศัยตามป่าโกงกางมีพิษอ่อน.
【 พังก๊ำ 】แปลว่า: น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ
เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม
หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
【 พังคา 】แปลว่า: น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำลายค่ายข้าศึก, บางทีก็เรียกว่า
ช้างล้อมวัง.
【 พังงา ๑ 】แปลว่า: น. พะงา, นางงาม.
【 พังงา ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องบังคับหางเสือเรือ.
【 พังผืด 】แปลว่า: น. เยื่อเหนียวที่ยึดกล้ามเนื้อให้ติดกัน, พั้งผืด ก็ว่า.
【 พังพวย 】แปลว่า: /ดู แพงพวย/.
【 พังพอน 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล /Herpestes/ วงศ์ Viverridae
ขนหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหว
เร็วมากกินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา
(/H. javanicus/) ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปู หรือ พังพอน
ยักษ์ (/H. urva/) ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลําคอ.
【 พังพาน 】แปลว่า: น. คองูเห่าหรืองูจงอางที่แผ่แบนออกทำท่าจะฉก, แม่เบี้ย ก็เรียก.
【 พังพาบ 】แปลว่า: ก. อาการที่นอนคว่ำ หน้าเชิด.
【 พังเพย 】แปลว่า: น. ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าว
เป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม.
【 พัช 】แปลว่า: [พัด] น. วัช, คอก. (ป. วช).
【 พัชนี 】แปลว่า: [พัดชะ] น. พัด. (ป. วีชนี).
【 พัชระ 】แปลว่า: น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
【 พัญจก 】แปลว่า: [พันจก] น. ผู้ล่อลวง. (ป., ส. วญฺจก).
【 พัญจน์ 】แปลว่า: [พัน] น. การล่อลวง. (ป. วญฺจน).
【 พัฒกี 】แปลว่า: [พัดทะ] น. วัฒกี, ช่างไม้. (ป. วฑฺฒกี).
【 พัฒน, พัฒนะ 】แปลว่า: [พัดทะนะ] น. ความเจริญ. (ป. วฑฺฒน; ส. วรฺธน).
【 พัฒนา 】แปลว่า: [พัดทะ] ก. ทําให้เจริญ.
【 พัฒนากร 】แปลว่า: น. ผู้ทําความเจริญ, ผู้ทําการพัฒนา.
【 พัฒนาการ 】แปลว่า: น. การทําความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น,
การคลี่คลายไปในทางดี.
【 พัฒนา 】แปลว่า: /ดู พัฒน, พัฒนะ/.
【 พัฒนากร 】แปลว่า: /ดู พัฒน, พัฒนะ/.
【 พัฒนาการ 】แปลว่า: /ดู พัฒน, พัฒนะ/.
【 พัด 】แปลว่า: น. เครื่องโบกหรือกระพือลม. ก. ปัดไป, โบก, กระพือ, เช่น เอา
พัดมาพัดไฟ พายุพัดฝุ่นตลบ; หมุนอย่างใบพัดพัดลมหรือใบพัด
เครื่องบิน.
【 พัดงาสาน 】แปลว่า: (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี,
ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะ
ใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม
พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี
พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี.
【 พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 】แปลว่า: น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และ
พระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม
และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลาย
ด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่ง
สมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จพระสังฆราช
ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
【 พัดชัก 】แปลว่า: น. เครื่องโบกลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดระบายติดห่วงแขวน
กับเพดานมีเชือกชัก.
(รูปภาพ พัดชัก)
【 พัดโบก 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องสูงชนิดหนึ่งสําหรับโบกลมถวายพระมหากษัตริย์
ซึ่งประทับ ณ ที่สูง.
(รูปภาพ พัดโบก)
【 พัดพุดตาน 】แปลว่า: น. พัดยศของพระครู สัญญาบัตรหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้น
มีลักษณะกลม แต่มีแฉกโดยรอบ พื้นทำด้วยกำมะหยี่ สักหลาด
แพร หรือเยียรบับ ปักทองแล่งดิ้นมัน ดิ้นเลื่อม หรือดิ้นธรรมดา
มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์.
【 พัดยศ 】แปลว่า: น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ
พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่
๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถ
ในการศึกษา การบริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น
เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อ
ต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
【 พัดลม 】แปลว่า: น. เครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้าเป็นต้น; เครื่องฉุดระหัดด้วย
กําลังลม.
【 พัดหน้านาง 】แปลว่า: น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำกว่าพระครู
วินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้านางด้าน
บนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่อัตลัด
สีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็นพัด
เปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
【 พัดชา 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อท่ารําท่าหนึ่ง.
【 พัดดึงส์ 】แปลว่า: น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน
๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).
【 พัดแพว 】แปลว่า: น. ผักแพว. /[ดู แพว (๑)]./
【 พัดหลวง 】แปลว่า: น. ลมตะโก้. /(ดู ตะโก้ ๒)./
【 พัตติงสะ 】แปลว่า: ว. สามสิบสอง. (ป.).
【 พัตร 】แปลว่า: น. พัสตร์, ผ้า. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
【 พัทธ, พัทธ์ 】แปลว่า: [พัดทะ, พัด] ก. ผูก, ติด, เนื่อง. (ป.).
【 พัทธสีมา 】แปลว่า: น. เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มีขนาดพอจุ
ภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.
【 พัทธยา ๑ 】แปลว่า: น. จํานวนที่หักหรือริบเอาไว้เป็นภาคหลวง.
【 พับเขียง 】แปลว่า: ก. ห่มผ้าเฉียงบ่า.
【 พับฐาน 】แปลว่า: (ปาก) ก. เลิกล้ม, ทําลายลงหมด; แพ้อย่างราบคาบ.
【 พับผ้า 】แปลว่า: น. เรียกทางหลวงที่วกไปวกมาว่า ทางพับผ้า.
【 พับเพียบ 】แปลว่า: ว. อาการที่นั่งพับขาให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.
【 พับแพนงเชิง 】แปลว่า: [พะแนง] ว. อาการที่นั่งขัดสมาธิ.
【 พัลลภ 】แปลว่า: [พันลบ] น. คนสนิท, คนโปรด. (ป., ส. วลฺลภ).
【 พัลวัน 】แปลว่า: [พันละ] ว. อุตลุด, เกี่ยวพันหรือพัวพันกันจนยุ่งเหยิงสับสนแยก
ไม่ออก, เช่น ตบตีกันเป็นพัลวัน.
【 พัว 】แปลว่า: ว. เป็นพวง, ติดกัน.
【 พัวพัน 】แปลว่า: ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พัวพัน
กับคดีทุจริต, พันพัว ก็ว่า.
【 พัวะ 】แปลว่า: ว. เสียงดังเช่นนั้น.
【 พัศดี 】แปลว่า: [พัดสะ] น. ผู้บังคับการเรือนจํา, ผู้ปกครองนักโทษ.
【 พัสดุ 】แปลว่า: [พัดสะ] น. สิ่งของต่าง ๆ, เครื่องใช้ไม้สอย, ที่ดิน, บ้านเรือน.
(ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
【 พัสดุไปรษณีย์ 】แปลว่า: น. หีบห่อบรรจุสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาดใหญ่และ
มีนํ้าหนักมากกว่าไปรษณียภัณฑ์อื่น ๆ หุ้มห่อแน่นหนา
มั่นคง เหมาะแก่สภาพของสิ่งของและระยะทางที่จะส่งไป.
【 พัสดุภัณฑ์ 】แปลว่า: น. สิ่งของที่บรรจุหีบห่อสําหรับส่งจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง.
【 พัสเดา 】แปลว่า: [พัดสะ] น. ชื่อหวายชนิดหนึ่งใหญ่กว่าหวายตะค้า. (พจน. ๒๔๙๓).
【 พัสตร์ 】แปลว่า: น. ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
【 พัสถาน 】แปลว่า: [พัดสะ] น. หลักฐาน, มักใช้เข้าคู่กับคํา สมบัติเป็น สมบัติพัสถาน.
【 พา 】แปลว่า: ก. นําไปหรือนำมา.
【 พาซื่อ 】แปลว่า: ก. เข้าใจตรง ๆ ตามที่เขาพูด, พลอยหลงเชื่อหรือหลงผิดตามไปด้วย.
【 พาก 】แปลว่า: น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่งที่เกิดแก่สัตว์มีวัวควายเป็นต้น.
【 พากเพียร 】แปลว่า: ก. บากบั่น, พยายาม, มุ่งทําไม่ท้อถอย.
【 พากย์ 】แปลว่า: ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ
ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง
ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ
การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว
เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว
เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น,
บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
【 พากย์หนัง 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดตามบทพากย์ภาพยนตร์, พากย์ ก็ว่า.
【 พาง ๑ 】แปลว่า: ว. เพียง, เช่น, เหมือน, แทบ, ใช้ว่า ปาง หรือ พ่าง ก็มี.
【 พาง ๒ 】แปลว่า: น. แผ่นโลหะสําหรับตีบอกเสียง.
【 พ่าง 】แปลว่า: น. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา. ว. เพียง,
เช่น เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
【 พาชี 】แปลว่า: น. ม้า. (ป.; ส. วาชี).
【 พาณ, พาณ 】แปลว่า: [พาน, พานนะ] น. ลูกธนู, ลูกปืน. (ป.; ส. วาณ).
【 พาณโยชน์ 】แปลว่า: น. แล่งธนู. (ส. วาณโยชน).
【 พาณวาร 】แปลว่า: น. เกราะ. (ส. วาณวาร).
【 พาณาสน์ 】แปลว่า: น. คันธนู. (ส. วาณาสน).
【 พาณาสน์ 】แปลว่า: /ดู พาณ, พาณ/.
【 พาณิช 】แปลว่า: น. พ่อค้า. (ส., ป. วาณิช).
【 พาณิชย, พาณิชย์ 】แปลว่า: [พานิดชะยะ, พานิด] น. การค้าขาย; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่
เกี่ยวกับการพาณิชย์และกิจการทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการ
พาณิชย์รวมตลอดทั้งการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุม
และส่งเสริมเกี่ยวกับกิจการค้าและการประกันภัย. (ส. วาณิชฺย;
ป. วาณิชฺช).
【 พาณิชยกรรม 】แปลว่า: น. การค้า.
【 พาณิชยการ 】แปลว่า: น. การค้า.
【 พาณิชยศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยการค้า.
【 พาณิชยศิลป์ 】แปลว่า: น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์
ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพ
โฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
【 พาณินี 】แปลว่า: น. นางละคร, นางระบํา; หญิงเมาสุรา. (ส.).
【 พาณี 】แปลว่า: น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี.
(ป., ส. วาณี).
【 พาด 】แปลว่า: ก. ก่าย เช่น ขาพาดหมอนข้าง, ทอด เช่น พาดบันได พาดสะพาน,
พิง เช่น เอาบันไดพาดไว้ที่กำแพง, วางทาบลง, วางทาบห้อยลง,
เช่น ผ้าขาวม้าพาดบ่า พาดผ้าไว้ที่ราวพาดผ้าสังฆาฏิ.
【 พาดควาย 】แปลว่า: ว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวรจีบเข้า
แล้วพาดบ่าแล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.
【 พาดพิง 】แปลว่า: ก. เกี่ยวโยงไปถึง เช่น ให้การพาดพิงถึงผู้อื่น.
【 พาดหัวข่าว 】แปลว่า: ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่องโดยใช้
ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก
ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
【 พาดไฉน 】แปลว่า: [ฉะไหฺน] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Enkleia siamensis/ Nervling ในวงศ์
Thymelaeaceae ใช้ทํายาได้, พันไฉน ก็เรียก.
【 พาต 】แปลว่า: น. ลม. (ป., ส. วาต).
【 พาท 】แปลว่า: น. คําพูด, ถ้อยคํา. (ป., ส. วาท).
【 พาทย์ 】แปลว่า: (กลอน) น. เครื่องประโคม. (ส. วาทฺย).
【 พาธ, พาธา 】แปลว่า: น. ความเบียดเบียน, ความทุกข์. (ป., ส.).
【 พาน ๑ 】แปลว่า: น. ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้าย
จาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สําหรับ
ใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น.
【 พานกลีบบัว 】แปลว่า: น. พานที่ริมปากทําเป็นรูปกลีบบัวโดยรอบ.
【 พานปากกระจับ 】แปลว่า: น. พานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออก
คล้ายฝักกระจับ.
【 พานพระขันหมาก, พระขันหมาก 】แปลว่า: (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรงคล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ
จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้า
แผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่
หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลู
ทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด
๑, พานพระศรี ก็ว่า.
【 พานพระศรี 】แปลว่า: (ราชา) น. พานใส่หมากพลูของพระเจ้าแผ่นดิน, โบราณเรียก
พานพระขันหมาก หรือ พระขันหมาก.
【 พานแว่นฟ้า 】แปลว่า: น. พานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือกระจกเป็นต้น
ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วย
โลหะจําหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็กซ้อนอยู่บน
พานใหญ่.
【 พาน ๒ 】แปลว่า: น. ตอน, บั้น, (ใช้แก่สิ่งของบางชนิด) เช่น พานท้ายปืน พานท้ายเรือ.
【 พาน ๓ 】แปลว่า: น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ
เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น
ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
【 พาน ๔ 】แปลว่า: ว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พาน
แก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).
【 พาน ๕ 】แปลว่า: ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น
ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา
พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้,
ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
【 พ่าน 】แปลว่า: ว. พล่าน, พลุกพล่าน, ไม่เป็นระเบียบ.
【 พานร 】แปลว่า: [พานอน] น. ลิง. (ป., ส. วานร).
【 พานรินทร์, พานเรศ 】แปลว่า: พานะริน, พานะเรด น. พญาลิง, ลิง.
【 พานรินทร์, พานเรศ 】แปลว่า: /ดู พานร/.
【 พาม 】แปลว่า: ว. ซ้าย, ข้างซ้าย, เช่น ดยรดาษหน้าหลังหลาม ทงงทักษิณพามพิพิธ.
(ม. คำหลวง). (ป., ส. วาม).
【 พาย 】แปลว่า: น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว
ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า
ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น
ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี
รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
【 พายเรือคนละที 】แปลว่า: (สํา) ก. ทํางานไม่ประสานกัน.
【 พายเรือทวนน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําด้วยความยากลําบาก.
【 พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง 】แปลว่า: (สํา) ก. คิด ทํา หรือพูดวกวนกลับไปกลับมา.
【 พ่าย 】แปลว่า: ก. หนีไป, แพ้.
【 พายม้า 】แปลว่า: น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้
หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลําป่องออก ใช้
งานในแถบภาคกลาง, ใช้ว่า ไพม้า หรือ พลายม้า ก็มี.
【 พายัพ 】แปลว่า: ว. ตะวันตกเฉียงเหนือ. (ส. วายวฺย ว่า ของวายุ).
【 พายุ 】แปลว่า: น. ลมแรง. (ป., ส. วายุ ว่า ลม).
【 พายุโซนร้อน 】แปลว่า: น. พายุหมุนที่มีกำลังปานกลาง ก่อตัวขึ้นในบริเวณทะเล
หรือมหาสมุทรในโซนร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความเร็วลม
รอบบริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๔ นอต หรือ ๖๓ กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง แต่ไม่ถึง ๖๔ นอต หรือ ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง.
【 พายุไซโคลน 】แปลว่า: น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้น
ในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความ
เร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐
กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป.
【 พายุดีเปรสชัน 】แปลว่า: น. พายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ทำให้ฝนตกปานกลางถึงตกหนัก
เกิดขึ้นในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุด
ใกล้บริเวณศูนย์กลางไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง. (อ. depression).
【 พายุไต้ฝุ่น 】แปลว่า: น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้น
ในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเล
จีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ
๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (จ.).
【 พายุทอร์นาโด 】แปลว่า: น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี
ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้า
หาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะ
ม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วน
มากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกา และทาง
ตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
【 พายุนอกโซนร้อน 】แปลว่า: น. พายุโซนร้อนที่เคลื่อนที่ไปในละติจูดสูง ๆ ในบริเวณนอก
โซนร้อนหรือที่เกิดขึ้นนอกโซนร้อน.
【 พายุฝุ่น 】แปลว่า: น. พายุที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินร้อนจัด กระแสอากาศยกตัวขึ้นสู่
เบื้องบน มวลอากาศที่อยู่ข้างเคียงจึงเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ มัก
เกิดในบริเวณที่เป็นทะเลทรายในฤดูร้อน.
【 พายุฟ้าคะนอง 】แปลว่า: น. พายุที่มีทั้งฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนัก
บางครั้งมีลูกเห็บตกลงมาด้วย.
【 พายุหมุน 】แปลว่า: น. ลมแรงที่พัดเวียนเข้าหาบริเวณศูนย์กลางที่มีความกดอากาศ
ต่ำกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบมาก.
【 พายุเฮอริเคน 】แปลว่า: น. พายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทร
แอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของ
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ลมสลาตัน ก็เรียก.
【 พาร์เซก 】แปลว่า: น. หน่วยที่ใช้วัดระยะทางในจักรวาล ๑ พาร์เซก มีค่าเท่ากับระยะ
ทาง ๒๐๖,๒๖๕ เท่าของ ๑ หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ
๓.๒๖ ปีแสง หรือประมาณ ๓.๐๘๔ x ๑๐๑๖ เมตร. (อ. parsec).
【 พารณ, พารณะ 】แปลว่า: [พารน, พาระนะ] น. ช้าง. (ป., ส. วารณ).
【 พารา 】แปลว่า: น. เมือง, เขียนเป็น ภารา ก็มี.
【 พาราฟิน 】แปลว่า: (เคมี) น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ
n = 1, 2, 3, … ในปัจจุบันเรียกสารประกอบประเภทนี้ว่า อัลเคน
(alkane). (อ. paraffin); ชื่อนํ้ามันประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขีดเดือดอยู่
ระหว่าง ๒๐๐?๓๐๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่ง
มีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1216 ได้มาจากการนํานํ้ามันปิโตรเลียม
มากลั่น ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้, นํ้ามันก๊าด ก็เรียก. (อ. paraffin
oil); ชื่อของแข็งประเภทหนึ่ง ลักษณะสีขาวโปร่งแสง หลอมละลาย
ระหว่าง ๕๐?๖๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตร
CnH2n+2 ในเมื่อ n = 2030 ใช้ประโยชน์ทําเทียนไข กระดาษไข ยาขัด
เป็นต้น. (อ. paraffin wax).
【 พาล ๑ 】แปลว่า: น. ขน. (ป., ส.).
【 พาล ๒, พาลา 】แปลว่า: (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น
คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น
พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล
พาลพาไปหาผิด. (ป.).
【 พาลกระแชง 】แปลว่า: (ปาก) ก. พาลหาเรื่องทําให้วุ่นวาย.
【 พาลรีพาลขวาง 】แปลว่า: (สํา) ว. ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท.
【 พาลี 】แปลว่า: น. เรียกรอยเป็นชั้น ๆ ที่โคนเขาวัวและควาย.
【 พาลีหลายหน้า 】แปลว่า: (สํา) ว. กลับกลอก, ไม่ซื่อสัตย์.
【 พาลุก 】แปลว่า: น. ทราย. (ป., ส. วาลุก).
【 พาโล 】แปลว่า: ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มี
สร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
【 พาไล 】แปลว่า: น. พะไล.
【 พาส 】แปลว่า: ก. นุ่งห่ม; อยู่. (ป., ส. วาส ว่า ที่อยู่, เครื่องนุ่งห่ม).
【 พาสน์ 】แปลว่า: น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม; การอยู่; การอบ, การทําให้หอม.
(ป., ส. วาสน).
【 พาสนา 】แปลว่า: [พาดสะหฺนา] น. วาสนา.
【 พาสุกรี 】แปลว่า: [กฺรี] น. พญานาค. (ป., ส. วาสุกิ).
【 พ่าห์, พาหะ ๑ 】แปลว่า: น. ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ม้า. (ป., ส. วาห).
【 พาหนะ 】แปลว่า: [หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือ
ลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยาน
ต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).
【 พาหะ ๒, พาหา 】แปลว่า: น. แขน. /(ดู พาหุ)./ (ป., ส.).
【 พาหะ ๓ 】แปลว่า: น. ตัวนํา เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะไข้มาลาเรีย; (กฎ) คนหรือสัตว์
ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจ
ติดต่อถึงผู้อื่นได้.
【 พาหิรกะ, พาหิระ 】แปลว่า: [หิระกะ] ว. ภายนอก. (ป.).
【 พาหุ 】แปลว่า: น. แขน. (ป., ส.).
【 พาหุยุทธ์ 】แปลว่า: น. การต่อสู้ด้วยแขน, การชกมวย, การปลํ้า. (ป.).
【 พาหุรัด 】แปลว่า: น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, ทองต้นแขน ก็เรียก.
【 พาหุสัจจะ 】แปลว่า: น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก.
(ป.).
【 พาเหียร 】แปลว่า: ว. ภายนอก. (ป. พาหิร).
【 พาฬ, พาฬ 】แปลว่า: [พาละ] น. สัตว์ร้าย, ช้างร้าย, สิงโต, งู, เสือ. (ป. พาล, วาฬ;
ส. วฺยาฑ, วฺยาล).
【 พาฬมฤค 】แปลว่า: น. สัตว์ร้าย, สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร. (ป. พาฬมิค; ส. วฺยาลมฺฤค).
【 พาฬหะ 】แปลว่า: [พานหะ] ว. หนัก, ยิ่ง. (ป.).
【 พำ 】แปลว่า: ก. ปํา, ควํ่าลง, คะมําลง, ปักลง.
【 พำนัก 】แปลว่า: ก. พัก, อาศัยอยู่, พะพิง.
【 พำพวก 】แปลว่า: (โบ) น. พวก.
【 พำพึม, พำ ๆ, พึม ๆ 】แปลว่า: ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพํา ก็ว่า.
【 พำลา 】แปลว่า: น. เรียกช้างซึ่งมีลักษณะอันชั่วร้ายชนิดหนึ่ง ตําราไม่ให้เอามาใช้
เป็นพาหนะ.
【 พิกล 】แปลว่า: ว. ผิดปรกติ, แปลกไป, เช่น รูปร่างพิกล ทำท่าพิกล พูดพิกล.
(ป., ส. วิกล ว่า ขาดแคลน, อ่อนแอ).
【 พิกเลนทรีย์ 】แปลว่า: [พิกะเลนซี] น. ร่างกายแปลกประหลาด. (ป. วิกล + อินฺทฺริย).
【 พิกเลนทรีย์ 】แปลว่า: /ดู พิกล/.
【 พิกสิต 】แปลว่า: [พิกะสิด] ก. วิกสิต, บาน, แย้ม, คลี่. (ป., ส. วิกสิต).
【 พิกัด ๑ 】แปลว่า: น. กําหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากําหนดที่จะต้อง
เสียภาษีอากร).
【 พิกัดอัตราศุลกากร 】แปลว่า: (กฎ) น. กําหนดจํานวนเงินอากรที่เรียกเก็บจากของที่ส่งหรือ
พาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของ
ที่นําหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
【 พิกัด ๒ 】แปลว่า: (คณิต) น. จํานวนจริง ๒ จํานวนซึ่งเป็นคู่ลําดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่ง
บนระนาบ จํานวนแรกของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉาก
ที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจํานวนที่ ๒ ของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด
y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).
【 พิกัติ 】แปลว่า: น. การทําให้เป็นหลายอย่าง, การกระทําให้แปลกออกไป, การ
ประดิษฐ์ทํา. (ป. วิกติ; ส. วิกฺฤติ).
【 พิกัน 】แปลว่า: น. ชื่อต้นไม้ ดอกหอมเหมือนพิกุล แต่ดอกใหญ่. (พจน. ๒๔๙๓).
【 พิการ 】แปลว่า: ว. เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ
ตาพิการ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ พิกล เป็น พิกลพิการ. (ป., ส. วิการ).
【 พิกุล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Mimusops elengi/ L. ในวงศ์ Sapotaceae
กลีบดอกจักแหลม กลิ่นหอมและหอมอยู่จนแห้ง ใช้ทํายาได้,
พายัพเรียก แก้ว, ปักษ์ใต้เรียก กุล. (ป., ส. วกุล).
【 พิกุลป่า 】แปลว่า: /ดู ตะเคียนเผือก/.
【 พิเคราะห์ 】แปลว่า: ก. ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ. (ส. วิคฺรห;
ป. วิคฺคห)
【 พิฆน์ 】แปลว่า: น. อุปสรรค; เครื่องกีดขวาง, แก่ง. (ส. วิฆน).
【 พิฆเนศ, พิฆเนศวร 】แปลว่า: [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ
แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้,
คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
【 พิฆาต 】แปลว่า: ก. ฆ่า เช่น พิฆาตข้าศึก, ทำลายล้าง เช่น เรือพิฆาตตอร์ปิโด.
(ป., ส. วิฆาต).
【 พิง 】แปลว่า: ก. อิง เช่น ยืนพิงเสา.
【 พิจยะ, พิจัย 】แปลว่า: [จะยะ] น. การตรวจตรา, การไต่สวน. (ป., ส. วิจย).
【 พิจล 】แปลว่า: ก. หวั่นไหว. (ส.).
【 พิจาร, พิจารณ์, พิจารณา 】แปลว่า: [พิจาน, พิจาระนา] ก. ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน. (ป., ส.
【 วิจาร, 】แปลว่า:
วิจารณ, วิจารณา).
【 พิจิก 】แปลว่า: น. ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพิจิก เป็นราศีที่ ๗ ในจักร
ราศี, ราศีพฤศจิก ก็ว่า.
【 พิจิต 】แปลว่า: ก. เลือกคัด, ตรวจ. (ป. วิจิต; ส. วิจิตฺ).
【 พิจิตร 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
【 พิชญ์ 】แปลว่า: น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ?).
【 พิชย, พิชัย 】แปลว่า: [ชะยะ] น. ความชนะ. (ป., ส. วิชย).
【 พิชัยสงคราม 】แปลว่า: น. ตําราว่าด้วยกลยุทธ์, ตําราว่าด้วยวิธีการเอาชนะในสงคราม.
【 พิชาน 】แปลว่า: น. ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า. (อ. consciousness).
【 พิชิต, พิชิต 】แปลว่า: [พิชิดตะ] น. แว่นแคว้นที่ปราบปรามแล้ว, แว่นแคว้น. ก. ชนะ,
ปราบให้แพ้. (ป., ส. วิชิต).
【 พิชิตมาร 】แปลว่า: น. พระผู้ชนะมาร คือ พระพุทธเจ้า. (ป. วิชิตมาร).
【 พิเชฐ 】แปลว่า: ว. เจริญที่สุด, ประเสริฐที่สุด. (ป. วิเชฏฺ?).
【 พิเชียร 】แปลว่า: น. เพชร. (ป. วชิร; ส. วชฺร).
【 พิฑูรย์ 】แปลว่า: น. ไพฑูรย์. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
【 พิณ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด. (ป., ส. วีณา).
【 พิณพาทย์ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสม
กับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลักและ
เครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด
กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
【 พิณพาทย์เครื่องคู่ 】แปลว่า: น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์
เครื่องคู่ ก็เรียก.
【 พิณพาทย์เครื่องห้า 】แปลว่า: น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่
ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
【 พิณพาทย์เครื่องใหญ่ 】แปลว่า: น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก
กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้อง
โหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
【 พิดทูล 】แปลว่า: ก. เพ็ดทูล.
【 พิดรก 】แปลว่า: ดฺรก ก. วิตก. (ส. วิตรฺก; ป. วิตกฺก).
【 พิดาน 】แปลว่า: น. เพดาน เช่น ด้วยพิดานดาวทอง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
(ป., ส. วิตาน).
【 พิโดร 】แปลว่า: [พิโดน] ก. ฟุ้งไป (ใช้แก่กลิ่น). (ข. พิโดร; ส. วิตร).
【 พิตร 】แปลว่า: [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
【 พิถย 】แปลว่า: [พิดถะยะ] น. วิถี.
【 พิถยันดร 】แปลว่า: [พิดถะยันดอน] น. ระหว่างวิถี.
【 พิถยันดร 】แปลว่า: /ดู พิถย/.
【 พิถี 】แปลว่า: น. ถนน, หนทาง. (ป. วีถิ).
【 พิถีพิถัน 】แปลว่า: ว. ละเอียดลออมาก เช่น เขาเป็นคนพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า.
【 พิทย, พิทย์, พิทยา 】แปลว่า: [พิดทะยะ, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
【 พิทยาคม 】แปลว่า: น. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
【 พิทยาคาร 】แปลว่า: น. โรงเรียน.
【 พิทยาธร 】แปลว่า: น. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์
สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ปฏิบัติ
พระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
【 พิทยาพล 】แปลว่า: น. กําลังกายสิทธิ์. (ส. วิทฺยาพล).
【 พิทยาลัย 】แปลว่า: น. โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา.
【 พิทักษ์ ๑ 】แปลว่า: ก. ดูแลคุ้มครอง เช่น พิทักษ์สันติราษฎร์.
【 พิทักษ์ทรัพย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สินของ
ลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน
เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา
สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่ง
อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ใน
คดีล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของ
ตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
【 พิทักษ์ ๒ 】แปลว่า: ว. สันทัด. (ส. วิทกฺษ).
【 พิทักษ์สันติ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 พิทูร 】แปลว่า: [พิทูน] ว. วิทูร, ฉลาด, รอบรู้, ชํานาญ. /(ดู วิทูร)./
【 พิเทศ 】แปลว่า: น. ต่างประเทศ. (ส. วิเทศ).
【 พิธาน 】แปลว่า: น. วิธาน, การจัดแจง, การทํา. (ป., ส. วิธาน).
【 พิธี 】แปลว่า: น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม
ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี
ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี;
การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง
ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
【 พิธีกร 】แปลว่า: น. ผู้ดําเนินการในพิธี เช่น พิธีกรในงานมงคลสมรส, ผู้ดำเนินรายการ
เช่น พิธีกรในการสัมมนา.
【 พิธีกรรม 】แปลว่า: น. การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทาง
ศาสนา.
【 พิธีการ 】แปลว่า: น. การที่เกี่ยวกับพิธีและแบบหนังสือทางทูต เช่น รมพิธีการทูต.
【 พิธีจุ่ม 】แปลว่า: น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อรับเข้า
เป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
【 พิธีแตก 】แปลว่า: (ปาก) ว. เสียเรื่อง, ล้มเหลว.
【 พิธีธรรม 】แปลว่า: น. พระสงฆ์จํานวน ๔ รูปที่ได้รับสมมุติให้สวดภาณวารหรือ
สวดอาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือ
สวดอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม.
【 พิธีมณฑล 】แปลว่า: น. บริเวณที่กําหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกําหนดขอบเขต
ขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง.
【 พิธีรีตอง 】แปลว่า: น. งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม.
【 พิธีสาร 】แปลว่า: (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอัน
บรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจากสนธิสัญญา
และอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไขเพิ่มเติม
สนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
【 พิธุ 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ป., ส. วิธุ).
【 พิธุร 】แปลว่า: [ทุน] ว. ลําบาก, พรากกัน. (ป., ส. วิธุร).
【 พินทุ 】แปลว่า: น. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่
หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ?; ชื่อสังขยา
จํานวนสูงเท่ากับโกฏิกําลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙
ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).
【 พินทุกัป, พินทุกัปปะ 】แปลว่า: น. การทําพินทุ คือ เขียนรูปวงที่มุมจีวรตามวินัยบัญญัติ.
(ป. พินฺทุกปฺป).
【 พินทุสร 】แปลว่า: [พินทุสอน] น. เสียงเพราะ. (คําฤษดี). (ป. พินฺทุสฺสร).
【 พินพง, พิ่นพั่ง 】แปลว่า: (โบ) ว. มากมาย.
【 พินอบพิเทา 】แปลว่า: [พินอบ] ก. แสดงอาการเคารพนบนอบมาก.
【 พินัย 】แปลว่า: น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).
【 พินัยกรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อตาย
ในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็น
ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
【 พินัยหลวง 】แปลว่า: น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.
【 พินาศ 】แปลว่า: น. ความเสียหายสิ้นเชิง, ความเสียหายย่อยยับ. ก. เสียหายสิ้นเชิง,
เสียหายย่อยยับ. (ป. วินาส; ส. วินาศ).
【 พินิจ 】แปลว่า: ก. พิจารณา, ตรวจตรา, เช่น เพ่งพินิจ.
【 พินิต 】แปลว่า: ก. แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
【 พินิศ 】แปลว่า: ก. ดู, แลดู, เพ่งดู.
【 พินิศจัย 】แปลว่า: [พินิด] ก. ตัดสิน, ชี้ขาด. (ส. วินิศฺจย; ป. วินิจฺฉย).
【 พิเนต 】แปลว่า: ก. พินิต, แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง.
【 พิบัติ 】แปลว่า: น. ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล. ก. ฉิบหาย.
(ป., ส. วิปตฺติ).
【 พิบาก 】แปลว่า: น. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).
【 พิบุล, พิบูล 】แปลว่า: ว. กว้างขวาง, มาก. (ป., ส. วิปุล).
【 พิปริต 】แปลว่า: [ปะหฺริด] ก. วิปริต. (ป., ส. วิปรีต).
【 พิปลาส 】แปลว่า: [ปะลาด] ว. วิปลาส. (ป. วิปลฺลาส; ส. วิปรฺยาส ว่า ความ
คลาดเคลื่อน).
【 พิปัสสนา 】แปลว่า: น. วิปัสสนา. (ป. วิปสฺสนา; ส. วิปศฺยนา).
【 พิพรรธ 】แปลว่า: ก. พิพัฒ. (ส. วิวรฺธ; ป. วิวฑฺฒ).
【 พิพรรธน์ 】แปลว่า: น. พิพัฒน์. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
【 พิพักพิพ่วน 】แปลว่า: ก. กังวล, อักอ่วน, รวนเร, นึกกลับไปกลับมา. ว. อาการที่รู้สึก
ปั่นป่วนในท้อง, อาการที่รู้สึกกระอักกระอ่วนลังเลใจ.
【 พิพัฒ 】แปลว่า: ก. เจริญแล้ว. (ป. วิวฑฺฒ; ส. วิวรฺธ).
【 พิพัฒน์ 】แปลว่า: น. ความเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน).
【 พิพากษ์ 】แปลว่า: ก. ตัดสิน.
【 พิพากษา 】แปลว่า: (กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าว
ว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า
ความสำคัญ).
【 พิพาท 】แปลว่า: ก. โต้แย้งสิทธิ์ เช่น พิพาทเรื่องที่ดิน พิพาทเรื่องมรดก. (ป., ส. วิวาท).
【 พิพิธ, พิพิธ 】แปลว่า: [พิพิด, พิพิดทะ] ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส. วิวิธ).
【 พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน 】แปลว่า: [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดง
สิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์
โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อ
ให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
【 พิภพ 】แปลว่า: น. โลก เช่น ในพื้นพิภพ นอกพิภพ, ที่อยู่ของนาคในชั้นบาดาล
เรียกว่า นาคพิภพ; ทรัพย์สมบัติ เช่น ผ่านพิภพ คือ ครองสมบัติ.
/(ดู วิภว)./
【 พิภัช 】แปลว่า: ก. แจก, แบ่ง. (ป., ส. วิภช).
【 พิภาค 】แปลว่า: น. การแจก, การแบ่ง. (ป., ส. วิภาค).
【 พิภูษณะ 】แปลว่า: [พูสะนะ] น. วิภูษณะ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
【 พิเภก 】แปลว่า: น. ชื่อสมอชนิดหนึ่ง. /(ดู สมอ ๒)./ (ป. วิภีตก).
【 พิมปะการัง 】แปลว่า: น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด /Pholas orientalis/ ในวงศ์ Pholadidae
รูปร่างค่อนข้างยาว สามารถใช้เปลือกขุดดินให้เป็นรูอยู่ได้,
พิมพการัง ก็เรียก.
【 พิมพ, พิมพ์ 】แปลว่า: [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตาเป็น
พิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ
เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนม
เป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดย
การกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจ
ให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
【 พิมพ์เขียว 】แปลว่า: ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษ
บาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏ
เป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงินบนพื้น
ขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
【 พิมพ์ใจ 】แปลว่า: ก. ประทับใจ, ติดตรึงใจ.
【 พิมพ์ดีด 】แปลว่า: น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ตัวอักษร
ไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
【 พิมพ์ทอง 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวยักษ์ หรือ
ดาวสตภิสชะ ก็เรียก.
【 พิมพ์ลายนิ้วมือ 】แปลว่า: ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็นหลักฐาน
โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
【 พิมพ์ลายมือ 】แปลว่า: ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ติดอยู่
เป็นหลักฐาน.
【 พิมพ์สอดสี 】แปลว่า: ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป.
【 พิมพ์สัมผัส 】แปลว่า: ก. ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง ๑๐ เคาะแป้นอักษรโดยไม่ต้องมองแป้น.
【 พิมพ์หนังสือ 】แปลว่า: ก. ใช้เครื่องพิมพ์กดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบน
กระดาษหรือผ้าเป็นต้น.
【 พิมพาภรณ์ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์. (ป. พิมฺพ +
อาภรณ).
【 พิมพการัง 】แปลว่า: [พิมพะ] /ดู พิมปะการัง/.
【 พิมพา 】แปลว่า: น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด /Galeocerdo cuvieri/ ในวงศ์
Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย
พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ
หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต
ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ
ฉลามเสือก็เรียก.
【 พิมพาภรณ์ 】แปลว่า: /ดู พิมพ, พิมพ์/.
【 พิมโพหนะ 】แปลว่า: หะนะ น. หมอน. (ป.).
【 พิมล 】แปลว่า: [พิมน] ว. ปราศจากมลทิน, ปราศจากความมัวหมอง; ผ่องใส.
(ป., ส. วิมล).
【 พิมเสน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสารชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีทั้งที่ได้จาก
ธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์ ใช้ทํายา ที่ได้จากธรรมชาติ
เช่น จากไม้ต้นชนิด /Dryobalanops aromatica/ C.E. Gaertn.
ในวงศ์ Dipterocarpaceae, จากไม้พุ่มชนิด /Blumea balsamifera/
DC. ในวงศ์ Compositae, ที่ได้จากการสังเคราะห์เรียก พิมเสนหุง.
【 พิมเสน ๒ 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Dryobalanops aromatica/
C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่
ในเนื้อไม้. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Pogostemon cablin/ (Blanco)
Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้
แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่นให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่น
และดับกลิ่นตัว. (๓) ชื่อมะม่วงหลายพันธุ์ของชนิด /Mangifera/
/indica/ L. พันธุ์หนึ่ง เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่
แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน.
【 พิมาน 】แปลว่า: น. ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา. (ป., ส. วิมาน).
【 พิมุข 】แปลว่า: ว. ฝ่ายหลัง, ข้างหลัง. (ป., ส. วิมุข).
【 พิโมกข์ 】แปลว่า: น. ความพ้น, ความเปลื้องออก, ชื่อพระนิพพาน. ก. เปลื้อง, พ้น.
(ป. วิโมกฺข; ส. วิโมกฺษ).
【 พิโมกษ์ 】แปลว่า: น. พิโมกข์. (ส. วิโมกฺษ; ป. วิโมกฺข).
【 พิโยกพิเกน 】แปลว่า: ก. โยกโย้ไม่เสร็จสิ้นไปง่าย ๆ.
【 พิโยค 】แปลว่า: ก. พลัดพราก, จากไป. (ป., ส. วิโยค).
【 พิรอด 】แปลว่า: น. ชื่อแหวนชนิดหนึ่ง ถักด้วยผ้ายันต์หรือด้ายดิบเป็นต้น ใช้เป็น
เครื่องราง.
【 พิระ 】แปลว่า: น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
【 พิรากล 】แปลว่า: ว. เจ้ามารยา, เจ้าเล่ห์เจ้ากล.
【 พิราบ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง
คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน
พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด /Columba livia./
(ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
【 พิราม ๑ 】แปลว่า: น. การหยุดพัก, การหยุดเสียง, ที่สุด. (ส. วิราม).
【 พิราม ๒ 】แปลว่า: ว. งาม.
【 พิราลัย 】แปลว่า: ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา). (ส. วีร +
อาลยว่า ที่อยู่ของนักรบ, สวรรค์).
【 พิริย, พิริยะ 】แปลว่า: [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ.
(ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
【 พิริยพฤนท์ 】แปลว่า: [พิริยะพฺรึน] น. หมู่นักรบ, พลนักรบ. (ป. วิริย + ส. วฺฤนฺท).
【 พิริยโยธา 】แปลว่า: น. พลรบผู้กล้าหาญ. (ป. วิริย + โยธา).
【 พิรี้พิไร 】แปลว่า: ว. มัวทําโน่นนิดนี่หน่อย, อ้อยอิ่ง, ตะบิดตะบอย, เช่น ทำพิรี้พิไร
มัวพิรี้พิไร.
【 พิรุณ 】แปลว่า: น. ฝน; ชื่อเทวดาแห่งนํ้า เทวดาแห่งฝน เรียกว่า พระพิรุณ.
(ป., ส. วรุณ).
【 พิรุธ 】แปลว่า: ก. ผิดปรกติ, มีอาการน่าสงสัย, เช่น แสดงอาการพิรุธ ทำพิรุธ.
(ป., ส. วิรุทฺธ).
【 พิรุฬห์ 】แปลว่า: [พิรุน] ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วิรุฬฺห; ส. วิรูฒ).
【 พิเรนทร์ 】แปลว่า: [พิเรน] ว. อุตรินอกลู่นอกทาง เช่น เล่นพิเรนทร์ คนพิเรนทร์.
【 พิเราะ 】แปลว่า: ว. ไพเราะ, เพราะ, เสนาะ. (ข. พีเราะ).
【 พิโรธ 】แปลว่า: (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ใช้ว่า ทรงพระพิโรธ. (ป., ส. วิโรธ ว่า
การขัดขวาง).
【 พิไร 】แปลว่า: ว. รําพัน, รํ่าว่า, รํ่าร้อง.
【 พิลังกาสา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Ardisia/ วงศ์ Myrsinaceae ผลกลม
เล็ก ๆ ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด /A. colorata/ Roxb., /A. pendulifera/ Pit.,
/A. polycephala/ Wall. ex A. DC..
【 พิลาป 】แปลว่า: ก. รํ่าไรรําพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ. (ป., ส. วิลาป).
【 พิลาลส 】แปลว่า: [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย, เร่าร้อน; เศร้าโศก, เสียใจ; เขียนว่า
พิลาลด หรือ พิลาลศ ก็มี. (ส. วิ + ลาลส).
【 พิลาส 】แปลว่า: [พิลาด] ก. กรีดกราย, เยื้องกราย; คะนอง; ฟ้อนรํา. ว. งามอย่างมี
เสน่ห์, งามอย่างสดใส; สนุก. (ส. วิลาส).
【 พิลิปดา 】แปลว่า: น. มาตราวัดมุม ได้แก่ ๑ ใน ๖๐ ของลิปดา.
【 พิลึก 】แปลว่า: ว. ผิดปรกติ เช่น ทำพิลึก ท่าทางพิลึก, แปลกประหลาด เช่น รูปร่าง
พิลึก.
【 พิลึกกึกกือ 】แปลว่า: (ปาก) ว. แปลกมาก, ประหลาดมาก, น่าขัน, ชอบกล.
【 พิลึกพิลั่น 】แปลว่า: (ปาก) ว. พิลึกมาก.
【 พิโลน 】แปลว่า: ว. สุกใส.
【 พิโลล 】แปลว่า: [พิโลน] ก. ไม่คงที่, เคลื่อนไปมา, ยักย้าย. (ส. วิโลล).
【 พิไล 】แปลว่า: ว. งาม.
【 พิศ ๑ 】แปลว่า: [พิด] ก. เพ่งดู, แลดูโดยถี่ถ้วน.
【 พิศดู 】แปลว่า: [พิดสะดู] ก. พิจารณาดูให้รอบคอบ, พิจารณาดูให้ถี่ถ้วน.
【 พิศ ๒ 】แปลว่า: [พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า
เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).
【 พิศวง 】แปลว่า: [พิดสะหฺวง] ก. แปลกใจ, หลากใจ, เช่น ทำให้พิศวง; สงสัย,
สนเท่ห์, เช่น น่าพิศวง.
【 พิศวาส 】แปลว่า: [พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส;
ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).
【 พิศาล 】แปลว่า: ว. กว้างใหญ่, ไพศาล ก็ใช้. (ส. วิศาล; ป. วิสาล).
【 พิศุทธ์ 】แปลว่า: ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน, ไม่มีความ
เสียหาย, ไม่มีตําหนิ. (ส. วิศุทฺธ; ป. วิสุทฺธ).
【 พิศุทธิ์ 】แปลว่า: น. ความผ่องใส, ความงาม, ความดี, ความสะอาด, ความบริสุทธิ์,
ความถูกต้อง; การล้าง. (ส. วิศุทฺธิ; ป. วิสุทฺธิ).
【 พิเศษ 】แปลว่า: ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี)
เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ
ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง
ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ
เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น
พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
【 พิษ, พิษ 】แปลว่า: [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ
เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา
ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู,
บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์
เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
【 พิษนาศน์ ๑ 】แปลว่า: [พิดสะหฺนาด] น. ชื่อเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง. (ส. วิษนาศน).
【 พิษสง 】แปลว่า: (ปาก) น. พิษ, พยศ.
【 พิษสมโยค 】แปลว่า: [พิดสะสมโยก] น. ชาดก้อน. (ส. วิษสมโยค).
【 พิษสุนัขบ้า 】แปลว่า: น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจากนํ้าลายของ
สุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจากสมองอักเสบ
มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลําบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบ
ทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก.
【 พิษสุราเรื้อรัง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อมเนื่องจากดื่ม
สุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม
บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู.
【 พิษฐาน 】แปลว่า: [พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ
ช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมา
จาก อธิษฐาน).
【 พิษนาศน์ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน พิษ, พิษ/.
【 พิษนาศน์ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Artemisia indica/ Willd. var. /heyneana/
Pampan. ในวงศ์ Compositae ใบเล็กหยักเว้าเป็นแฉก ช่อดอก
สีนวล ใช้ทํายาได้.
【 พิสดาร 】แปลว่า: [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น
ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก
เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
【 พิสมร 】แปลว่า: [พิดสะหฺมอน] น. เครื่องรางชนิดหนึ่ง รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม
ร้อยสาย สําหรับป้องกันอันตราย.
【 พิสมัย 】แปลว่า: [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่
หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย;
ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
【 พิสมัยเรียงหมอน 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า พรหมนิมิตพิสมัยเรียงหมอน.
(ฟ้อน).
【 พิสัง 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) ว. อะไร.
【 พิสัช 】แปลว่า: ก. แก้, ตอบคําถาม; สละ, ส่งไป, ทิ้ง. (ป. วิสชฺช).
【 พิสัญญี 】แปลว่า: ว. วิสัญญี, หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ.
【 พิสัย 】แปลว่า: น. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตําบล,
ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).
【 พิสิฐ 】แปลว่า: ว. ประเสริฐ, วิเศษ. (ป. วิสิฏ?; ส. วิศิษฺฏ).
【 พิสุทธิ์ 】แปลว่า: ว. บริสุทธิ์, สะอาด, สุกใส. (ป. วิสุทฺธิ).
【 พิสูจน์ 】แปลว่า: ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง
ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์
ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
【 พิสูจน์อักษร 】แปลว่า: ก. ตรวจและแก้ไขที่ผิดในการพิมพ์หนังสือ.
【 พิหค 】แปลว่า: [พิหก] น. นก. (ป., ส. วิหค).
【 พิหเคนทร์ 】แปลว่า: [พิหะเคน] น. พญานก.
【 พิหเคนทร์ 】แปลว่า: /ดู พิหค/.
【 พิหาร 】แปลว่า: [พิหาน] น. ที่อยู่ของพระสงฆ์, วัด; วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐาน
พระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. (ป. วิหาร).
【 พิฬาร 】แปลว่า: [พิลาน] น. แมว. (ป. พิฬาร, วิฬาร; ส. วิฑาล).
【 พี 】แปลว่า: ว. อ้วน, มักใช้เข้าคู่กับคํา อ้วน เป็น อ้วนพี. น. มัน.
【 พี่ 】แปลว่า: น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดก่อน, ผู้ที่มีศักดิ์เสมอพี่;
คํานําหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่นั่น พี่นี่.
【 พี่น้อง 】แปลว่า: น. ผู้เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมบิดาเดียวกัน หรือ
ร่วมมารดาเดียวกัน; คนในเชื้อสายวงศ์วาน.
【 พี่เบิ้ม 】แปลว่า: (ปาก) น. ผู้มีอํานาจมาก, ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่.
【 พี่เลี้ยง 】แปลว่า: น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือ
ช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
【 พี้ 】แปลว่า: (ถิ่น) ว. นี้.
【 พีชคณิต 】แปลว่า: พีชะคะนิด น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา
ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ
จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น
สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
【 พี้โพ้ 】แปลว่า: น. โพล้เพล้; ที่เปล่าเปลี่ยวทุรกันดาร; เพล้โพล้ ก็ว่า.
【 พีร 】แปลว่า: [พีระ] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
【 พีระมิด 】แปลว่า: น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็น
รูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็น
ที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโก
ใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึง
เช่นนั้นว่า รูปพีระมิด; (คณิต) รูปทรงตันชนิดหนึ่ง มีฐานเป็นรูป
หลายเหลี่ยม และด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกัน.
(อ. pyramid).
【 พึง 】แปลว่า: ว. คําช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป
ว่าควรไป, หมายความจําเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทํา
ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทํา.
【 พึงใจ 】แปลว่า: ว. พอใจ, ชอบใจ.
【 พึงตา 】แปลว่า: ว. พอตา, เหมาะตา.
【 พึงพอใจ 】แปลว่า: ว. รัก, ชอบใจ.
【 พึ่ง ๑ 】แปลว่า: ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ
ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
【 พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ 】แปลว่า: (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หรือ
เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
【 พึ่งพา 】แปลว่า: ก. อาศัยกัน, ช่วยเหลือกัน.
【 พึ่งพิง 】แปลว่า: ก. พักพิงอาศัย.
【 พึ่งลำแข้งตัวเอง 】แปลว่า: (สํา) ก. ช่วยตนเอง, อาศัยลําแข้งตัวเอง ก็ว่า.
【 พึ่ง ๒ 】แปลว่า: ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น
เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ
ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก
หรือ เพ่อ ก็ว่า.
【 พึ่บ, พึ่บพั่บ 】แปลว่า: ว. ทันทีทันใด เช่น ไฟลุกพึ่บ ลุกกันพึ่บพั่บ; เสียงดังเช่นนั้นอย่าง
เสียงนกกระพือปีกเป็นต้น.
【 พึม 】แปลว่า: ว. เสียงบ่นเบา ๆ เช่น นักเรียนบ่นกันพึมเลย.
【 พึมพำ 】แปลว่า: ก. พูดค่อย ๆ จับความไม่ได้ เช่น เขาพึมพำอยู่คนเดียว.
【 พืช 】แปลว่า: น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช;
ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.
【 พืชคาม 】แปลว่า: [พืดชะ] น. พันธุ์ไม้. (ป. พีชคาม).
【 พืชชั้นต่ำ 】แปลว่า: น. พืชเซลล์เดียว และเซลล์นั้นทําหน้าที่เลี้ยงตัวเองได้ เช่น
ไข่หินหรือดอกหินผักไก.
【 พืชชั้นสูง 】แปลว่า: น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้องอาศัย
ซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง.
【 พืชพันธุ์ 】แปลว่า: น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป; (โบ; กลอน) กําพืด
เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย. (ขุนช้างขุนแผน).
【 พืชมงคล 】แปลว่า: [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อความเจริญ
ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็น
พระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
【 พืด 】แปลว่า: น. แผ่นหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น พืดเขา, โดย
ปริยายหมายถึงอาการของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
รถติดกันเป็นพืด; เรียกเหล็กเหนียวชนิดหนึ่งที่เป็นแผ่นยาวอย่าง
เหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
【 พื้น 】แปลว่า: น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น
แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด;
แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา
สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี
ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
【 พื้น ๆ 】แปลว่า: ว. เรียบ ๆ เช่น งามอย่างพื้น ๆ คือ งามอย่างเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด
ดีอย่างพื้น ๆ คือ ดีอย่างเรียบ ๆ ไม่โลดโผน, ธรรมดา ๆ เช่น
กับข้าวพื้น ๆ.
【 พื้นความรู้ 】แปลว่า: น. ระดับความรู้.
【 พื้นฐาน 】แปลว่า: น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลักความรู้
เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.
【 พื้นดี 】แปลว่า: น. อารมณ์ดี; พื้นความรู้ดี. ว. ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี.
【 พื้นเดิม 】แปลว่า: น. รกรากเดิม เช่น พื้นเดิมเป็นคนมั่งมี.
【 พื้นท้อง 】แปลว่า: น. เนื้อตรงส่วนท้อง (โดยมากหมายถึงส่วนท้องของปลา).
【 พื้นที่ 】แปลว่า: น. ขนาดของผิวพื้น เช่น หาพื้นที่, อาณาบริเวณ เช่น ตรวจพื้นที่,
ลักษณะของพื้นดิน เช่น พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม.
【 พื้นที่หน้าตัด 】แปลว่า: น. พื้นที่ตรงรอยตัดของแท่งวัตถุ.
【 พื้นบ้าน 】แปลว่า: ว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น
พื้นบ้านพื้นเมือง.
【 พื้นเพ 】แปลว่า: น. หลักแหล่ง เช่น พื้นเพเป็นคนนครปฐม, อาชีพของวงศ์ตระกูล
เช่น พื้นเพเป็นพ่อค้า.
【 พื้นเมือง 】แปลว่า: ว. เฉพาะเมือง, เฉพาะท้องที่, เช่น ของพื้นเมือง คนพื้นเมือง
นิทานพื้นเมือง.
【 พื้นเสีย 】แปลว่า: ก. โกรธ.
【 พุ 】แปลว่า: ว. อาการที่น้ำหรือแก๊สเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น น้ำร้อนพุขึ้นมา แก๊ส
ธรรมชาติพุขึ้นมา, อาการที่น้ำเหลืองเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น ฝีฝักบัว
พุ. น. นํ้าที่พุขึ้นมา เรียกว่า นํ้าพุ. /(ดู นํ้าพุ ที่ นํ้า)./
【 พุพอง 】แปลว่า: น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดผุดขึ้นพองใสตามตัว แล้วแตก
ออกมีนํ้าเหลืองหรือนํ้าเลือดนํ้าหนอง.
【 พุก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อหนูในสกุล /Bandicota/ วงศ์ Muridae มีฟันแทะขนาด
ใหญ่เห็นได้ชัด ตัวสีนํ้าตาลดํา หรือเทา ขนหยาบแข็งจะพอง
ขึ้นโดยเฉพาะเวลาขู่ หางกลมยาวและหนา กินพืช มี ๒ ชนิด
คือ หนูพุกเล็ก (/B. savilei/) ตัวเล็กสีเทา และหนูพุกใหญ่
(/B. indica/) ตัวใหญ่สีดํา ดุ.
【 พุก ๒ 】แปลว่า: น. ไม้ที่ตอกประกับไว้สําหรับรับสิ่งที่หนัก ๆ เช่น รอดเรือนเป็นต้น.
【 พุก ๓ 】แปลว่า: น. เครื่องกระเบื้องที่ตรึงกับฝาเป็นต้นสำหรับยึดสายไฟฟ้า.
【 พุกาม 】แปลว่า: น. พม่า, ใช้ พูกาม ก็มี.
【 พุง 】แปลว่า: น. ท้อง เช่น นอนตีพุง พุงปลิ้น, เรียกเครื่องในท้องของปลาบาง
ชนิดรวมกัน มีกระเพาะและไส้เป็นต้น ว่า พุง เช่น พุงปลาช่อน.
【 พุงพวง, พุงพ่วง 】แปลว่า: ว. พุงพลุ้ย.
【 พุงโร 】แปลว่า: น. พุงโตด้วยเป็นโรค.
【 พุ่ง 】แปลว่า: ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว
เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ
หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป;
(ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
【 พุ่งหลาว 】แปลว่า: ก. พุ่งตัวพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.
【 พุ่งหอกเข้ารก 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือโดยไม่คํานึง
ว่าใครจะเดือดร้อน.
【 พุ่งแหลน 】แปลว่า: น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง เล่นโดยการจับแหลนพุ่งไป
ข้างหน้าให้ไปได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทําได้.
【 พุงแก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Capparis siamensis/ Kurz ในวงศ์
Capparidaceae ผลคล้ายกุ่มบกกินได้และใช้ทํายาได้.
【 พุงจง 】แปลว่า: /ดู บ่าง/.
【 พุงดอ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด /Azima sarmentosa/ (Blume) Benth.
ในวงศ์ Salvadoraceae มีหนามตามข้อ รากและลําต้นใช้ทํา
ยาได้, หนามพุงดอ หนามรอบตัว หรือ หนามเหม็นก็เรียก,
พายัพเรียก ปิดเต๊าะ.
【 พุงทะลาย 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลของต้นสํารอง.
【 พุงปลา 】แปลว่า: น. (๑) โกฐพุงปลา. /(ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ)./ (๒) /ดู จุกโรหินี./
【 พุงปลาช่อน 】แปลว่า: /ดู จุกโรหินี/.
【 พุฒ 】แปลว่า: น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า. (ป. วุฑฺฒ).
【 พุฒิ 】แปลว่า: [พุดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์. (ป. วุฑฺฒิ).
【 พุด 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล /Gardenia/ วงศ์
Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (/G. collinsae/ Craib)
ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน
หรือ พุดซ้อน (/G. jasminoides/ Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์
กลีบดอกซ้อนไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้
สีเหลือง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล /Taberneamontana/
วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [/T. divaricata/ (L.)
Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
【 พุดตาน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Hibiscus mutabilis/ L. ในวงศ์ Malvaceae
ใบมีขนขอบใบหยักเว้า ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู.
【 พุทธ, พุทธ, พุทธะ 】แปลว่า: [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็น
พระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญ
ว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).
【 พุทธกาล 】แปลว่า: น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย, ก็ใช้ (ปาก)
ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
พระพุทธศาสนาจะดํารงอยู่ ๕,๐๐๐ ปี. (ป.).
【 พุทธคุณ 】แปลว่า: น. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ
พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ. (ป.).
【 พุทธจักร 】แปลว่า: น. อํานาจปกครองคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา, คู่กับ อาณาจักร
ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
【 พุทธเจดีย์ 】แปลว่า: น. เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์
ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์.
【 พุทธฎีกา 】แปลว่า: น. ถ้อยคําของพระพุทธเจ้า; (โบ) ถ้อยคําของสมเด็จพระสังฆราช.
(จารึกสยาม). (ป.).
【 พุทธตันตระ 】แปลว่า: น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจาก
การนําหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญา
ปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.
【 พุทธปฏิมา, พุทธปฏิมากร 】แปลว่า: น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, มักใช้
ย่อเป็น ปฏิมา หรือ ปฏิมากร.
【 พุทธมามกะ 】แปลว่า: [พุดทะมามะกะ] น. ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา
ของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา.
【 พุทธศักราช 】แปลว่า: [พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา.
【 พุทธศาสนิกชน 】แปลว่า: [พุดทะสาสะนิกกะชน] น. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
【 พุทธสมัย 】แปลว่า: น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่.
【 พุทธองค์ 】แปลว่า: ส. หมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธองค์.
【 พุทธังกูร, พุทธางกูร 】แปลว่า: น. หน่อพระพุทธเจ้า คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า.
(ป.).
【 พุทธันดร 】แปลว่า: น. ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา คือ ช่วงเวลาที่ศาสนา
ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นแล้ว และพระพุทธเจ้า
พระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ. (ป. พุทฺธนฺตร).
【 พุทธาภิเษก 】แปลว่า: น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมี
พระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า
คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้า
ไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
【 พุทธาวาส 】แปลว่า: น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่
ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่
พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง
ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
【 พุทธุปบาทกาล 】แปลว่า: [พุดทุบบาดทะกาน] น. ช่วงเวลาที่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก.
(ป.).
【 พุทธชาด 】แปลว่า: [พุดทะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Jasminum auriculatum/ Vahl ในวงศ์
Oleaceae ดอกสีขาวกลิ่นหอม, บุหงาประหงัน ก็เรียก.
【 พุทธรักษา 】แปลว่า: [พุดทะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดในสกุล /Canna/ วงศ์
Cannaceae ขึ้นเป็นกอ ดอกสีต่าง ๆ.
【 พุทธังกูร, พุทธางกูร 】แปลว่า: /ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ/.
【 พุทธันดร 】แปลว่า: /ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ/.
【 พุทธาภิเษก 】แปลว่า: /ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ/.
【 พุทธาวาส 】แปลว่า: /ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ/.
【 พุทธิ 】แปลว่า: [พุดทิ] น. ปัญญา, ความฉลาด. (ป.).
【 พุทธิศึกษา 】แปลว่า: น. การศึกษาที่เน้นในเรื่องการสอนให้เกิดความรู้ความคิด
อย่างมีเหตุผล.
【 พุทธุปบาทกาล 】แปลว่า: /ดู พุทธ, พุทธ, พุทธะ/.
【 พุทโธ่ 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น.
【 พุทรา 】แปลว่า: [พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Ziziphus mauritiana/ Lam. ในวงศ์
Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสาน
เรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).
【 พุธ 】แปลว่า: น. ชื่อดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในระบบสุริยะ มองเห็น
ด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้น
ผ่าศูนย์กลาง ๔,๘๗๕ กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีบรรยากาศ
และมีพื้นผิวคล้ายดวงจันทร์ของโลก; ชื่อวันที่ ๔ แห่งสัปดาห์.
【 พุธะ 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. /(ดู ยาม)./
【 พุโธ 】แปลว่า: (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. /(ดู ยาม)./
【 พุ่ม 】แปลว่า: น. ลักษณะกิ่งก้านของต้นไม้ที่รวมกัน มีทรงเกือบกลมยอดนูน
คล้ายกระพุ่มมือ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ต้นมะขามแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม พุ่มต้นเข็ม, ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่ง
ใช้ดอกไม้เทียนเสียบซี่ไม้เป็นชั้น ๆ กลางพองเป็นรูปพุ่ม.
【 พุ่มกัณฑ์เทศน์ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่จัดเป็นพุ่มบนพาน ตะลุ่ม หรือ โตก มีเทียนขี้ผึ้งซึ่ง
ติดเงินเหรียญโดยรอบตั้งอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันมักใช้ก้านธูป
คีบธนบัตรปักไว้ที่ต้นเทียน.
【 พุ่มข้าวบิณฑ์ 】แปลว่า: /ดู พุ่มทรงข้าวบิณฑ์/.
【 พุ่มดอกไม้ 】แปลว่า: น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับ
บูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอก
ผกากรอง.
【 พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 】แปลว่า: น. เครื่องบูชาทำด้วยข้าวบิณฑ์ ตั้งบนภาชนะเช่นพาน, เรียก
รูปทรงที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ทรงข้าวบิณฑ์ หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์;
เรียกลายไทยแบบหนึ่งผูกเขียนในรูปทรงเช่นนั้นว่า ลายทรง
ข้าวบิณฑ์ หรือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์.
【 พุ่มเทียน 】แปลว่า: น. พุ่มดอกไม้ถวายพระ ใช้เทียนไขหรือเทียนขี้ผึ้งหล่อเป็นดอกไม้
ชนิดต่าง ๆ มีดอกมะลิเป็นต้น ติดแป้งเปียกตามลวดลายที่โครง
กระดาษรูปพุ่มแทนดอกไม้สด.
【 พุ่มพวง 】แปลว่า: น. หญิงสาว.
【 พุ่มม่าย 】แปลว่า: ว. ยังเป็นม่ายอยู่.
【 พุ่มไม้ 】แปลว่า: น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นเป็นซุ้มเป็นเซิง.
【 พุมเรียง 】แปลว่า: [พุมมะ] /ดู ชํามะเลียง/.
【 พุ้ย 】แปลว่า: ก. พายโดยแรงให้เรือไปโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่เอา
ตะเกียบคุ้ยข้าวเข้าปาก.
【 พู ๑ 】แปลว่า: น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะนูนออกมา เช่น พูทุเรียน.
【 พูพอน 】แปลว่า: น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย
ออกไปรอบ ๆ เพื่อพยุงลำต้น, พอน ก็เรียก.
【 พู ๒ 】แปลว่า: น. ถั่วพู. /(ดู ถั่วพู ที่ ถั่ว ๑)./
【 พู่ 】แปลว่า: น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ
ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู
ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
【 พู่กลิ่น 】แปลว่า: น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ. /(ดู กลิ่น ๒)./
【 พู่กัน 】แปลว่า: น. เครื่องเขียนหนังสือหรือระบายสี ตอนปลายเป็นพู่ทำด้วย
ขนสัตว์.
【 พูกาม 】แปลว่า: น. พม่า, ปรกติใช้ พุกาม.
【 พูด 】แปลว่า: ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
【 พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า.
(ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
【 พูดจนลิงหลับ 】แปลว่า: (ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.
【 พูดจริงทำจริง 】แปลว่า: ก. ทําได้อย่างที่พูดไว้, รักษาคําพูด.
【 พูดจา 】แปลว่า: ก. พูด.
【 พูดดีเป็นศรีแก่ปาก 】แปลว่า: (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ.
【 พูดเป็นต่อยหอย 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดฉอด ๆ ไม่หยุดปาก.
【 พูดเป็นนัย 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ.
【 พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ 】แปลว่า: ก. พูดคล่องเหลือเกิน.
【 พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
【 พูดสด 】แปลว่า: ก. พูดโดยมิได้เตรียมมาก่อน.
【 พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
【 พูน 】แปลว่า: ก. เพิ่มให้สูงขึ้นให้มากขึ้น เช่น พูนดิน. ว. เต็มจนนูน เช่น ตักข้าว
จนพูนจาน.
【 พู้น 】แปลว่า: ว. นู้น, โน้น.
【 พู่ระหง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Hibiscus schizopetalus/ (Dyer) Hook.f. ในวงศ์
Malvaceae ดอกสีแดงห้อยลง กลางดอกมีเกสรเป็นพู่ยาว, หางหงส์
ก็เรียก.
【 เพ 】แปลว่า: ก. พังทลาย.
【 เพ็ก 】แปลว่า: น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด /Arundinaria pusilla/
A. Cheval. et A. Camus ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่า
เบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด /Bambusa/
/multiplex/ (Lour). Rไusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ
ใช้ปลูกประดับได้.
【 เพกา 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Oroxylum indicum/ (L.) Kurz ในวงศ์ Bignoniaceae
ฝักแบนยาวใหญ่มาก ฝักอ่อนทําให้สุกแล้วกินได้ เมล็ดใช้ทํายาได้.
【 เพคะ 】แปลว่า: ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้เพ็ดทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้า
ขึ้นไป.
【 เพ็ง 】แปลว่า: ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
【 เพ่ง 】แปลว่า: ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ
อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
【 เพ่งพิศ 】แปลว่า: ก. ดูด้วยความพินิจพิเคราะห์.
【 เพ่งเล็ง 】แปลว่า: ก. มุ่งจะเอา, มุ่งจะติโทษ, มุ่งถึง.
【 เพ็จ ๑ 】แปลว่า: ว. เล็ก, ย่อม, น้อย.
【 เพ็จ ๒ 】แปลว่า: ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 เพ็จไม้ 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่ลําเล็กกว่าลําอื่น ๆ เนื้อเหนียวแข็ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เพชฉลูกรรม 】แปลว่า: [เพ็ดฉะหฺลูกํา] น. พระวิศวกรรม.
【 เพชฌฆาต 】แปลว่า: [เพ็ดชะคาด] น. เจ้าหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษที่ต้องคำพิพากษา
ถึงที่สุดให้ประหารชีวิต. (ป. วชฺฌฆาตก).
【 เพชร, เพชร 】แปลว่า: [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่า
พลอยอื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม;
โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร.
(ส. วชฺร; ป. วชิร).
【 เพชรซีก 】แปลว่า: [เพ็ด] น. เพชรที่เจียระไนแล้วไม่แพรวพราวงามเท่าเพชรลูก
มักได้จากส่วนที่ตัดออกในการตัดแต่งเจียระไนเพชรลูก.
【 เพชรดา 】แปลว่า: [เพ็ดชะดา] น. ความแข็ง, ความอยู่ยงคงกระพัน.
【 เพชรตัดเพชร 】แปลว่า: (สํา) น. คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน.
【 เพชรตาแมว 】แปลว่า: น. ไพฑูรย์.
【 เพชรน้ำค้าง 】แปลว่า: น. แก้วสีขาว.
【 เพชรน้ำหนึ่ง, เพชรน้ำเอก 】แปลว่า: (สำ) ว. ดีเป็นพิเศษยอดเยี่ยม.
【 เพชรนิลจินดา 】แปลว่า: [เพ็ดนิน] น. เครื่องเพชรพลอย.
【 เพชรปาณี 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. พระอินทร์. (ส.).
【 เพชรร่วง 】แปลว่า: น. เพชรเม็ดเล็ก ๆ ที่เจียระไนแล้ว แต่ยังไม่ได้ทําเป็นเครื่องประดับ
หรือเครื่องใช้.
【 เพชรร้าว 】แปลว่า: (สํา) ว. ที่ไม่บริสุทธิ์, ที่มีตําหนิ.
【 เพชรฤกษ์ 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ยามแข็งแรง.
【 เพชรลูก 】แปลว่า: น. เพชรที่เจียระไนให้มีเหลี่ยมมุมลักษณะต่าง ๆ เช่น เหลี่ยมเกสร
เหลี่ยมกุหลาบ.
【 เพชรายุธ 】แปลว่า: [เพ็ดชะรายุด] น. อาวุธเพชรของพระอินทร์, ชื่อหนึ่งของพระอินทร์.
(ส. วชฺร + อาวุธ).
【 เพชรกลับ 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เพชรสังฆาต 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด /Cissus quadrangularis/ L. ในวงศ์
Vitaceae เถาสี่เหลี่ยม ดอกเล็ก สีแดง ใช้ทํายาได้.
【 เพชรหลีก 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เพชรหึง ๑ 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ลมพายุใหญ่.
【 เพชรหึง ๒ 】แปลว่า: [เพ็ดชะ] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด /Grammatophyllum speciosum/
Blume ในวงศ์ Orchidaceae ขึ้นเป็นกอบนคบไม้ ดอกใหญ่
สีเหลืองประม่วงแดงเข้ม, ว่านเพชรหึง ก็เรียก.
【 เพชรายุธ 】แปลว่า: /ดู เพชร, เพชร/.
【 เพ็ญ 】แปลว่า: ว. เต็ม. (ข. เพ?).
【 เพฑูริย์ 】แปลว่า: [เพทูน] น. ไพฑูรย์, ชื่อพลอยชนิดหนึ่งสีเหลืองแกมเขียวหรือ
นํ้าตาลเทา มีนํ้าเป็นสายรุ้งกลอกไปมา, เพชรตาแมว หรือ
แก้วสีไม้ไผ่ ก็ว่า. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
【 เพณี 】แปลว่า: น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี.
(ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. เวณิ).
【 เพ็ดทูล 】แปลว่า: ก. พูดกับเจ้านาย, พิดทูล ก็ว่า.
【 เพดาน ๑ 】แปลว่า: น. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม,
ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า;
โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน.
(ป., ส. วิตาน).
【 เพดานบิน 】แปลว่า: น. ระดับสูงสุดที่เครื่องบินสามารถบินได้.
【 เพดานปาก 】แปลว่า: น. ส่วนบนของอุ้งปาก.
【 เพดาน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาววัวตัวเมีย หรือ
ดาวอุตตรผลคุนี ก็เรียก.
【 เพตร 】แปลว่า: [เพด] น. หวาย, หวายที่ทําเป็นไม้ถือ. (ส. เวตฺร).
【 เพท 】แปลว่า: น. เวท.
【 เพทนา 】แปลว่า: [เพดทะ] น. เวทนา, ความรู้สึก. /(ดู เวทนา)./
【 เพทาย 】แปลว่า: น. พลอยชนิดหนึ่ง สีแดงสลัว ๆ.
【 เพทุบาย, เพโทบาย 】แปลว่า: ก. ทําเล่ห์กล, ทําอุบาย.
【 เพโท 】แปลว่า: ก. นั่งอย่างภาคภูมิ. (ขุนช้างขุนแผน).
【 เพ่นพ่าน 】แปลว่า: ก. ไปมาอย่างเปะปะ.
【 เพนียด 】แปลว่า: [พะเนียด] น. กรงต่อนกเขา; วงล้อมทําเป็นคอกสําหรับคล้องช้าง.
(ข.).
【 เพไนย 】แปลว่า: น. เวไนย, ผู้พึงดัดได้สอนได้. (ป. เวเนยฺย).
【 เพ้ย 】แปลว่า: ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา
พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
【 เพรง 】แปลว่า: [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
【 เพรซีโอดิเมียม 】แปลว่า: [เพฺร] น. ธาตุลําดับที่ ๕๙ สัญลักษณ์ Pr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของ
แข็งสีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๙๓๕?ซ. (อ. praseodymium).
【 เพรา ๑ 】แปลว่า: [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา
ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
【 เพรางาย 】แปลว่า: น. เวลาเช้า; มื้อเช้า.
【 เพรา ๒ 】แปลว่า: [เพฺรา] ว. งาม, น่าดู.
【 เพราพริ้ง, เพราเพริศ 】แปลว่า: ว. สวยงาม, พริ้งเพรา ก็ว่า.
【 เพราะ ๑ 】แปลว่า: ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
【 เพราะ ๒ 】แปลว่า: สัน. ด้วย, เหตุ, เพื่อ.
【 เพราะฉะนั้น 】แปลว่า: สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป.
【 เพราะว่า 】แปลว่า: สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ.
【 เพริด 】แปลว่า: [เพฺริด] ก. กระเจิดกระเจิง, เตลิดไป, เช่น วัวเพริด ใจเพริด.
【 เพริศ 】แปลว่า: [เพฺริด] ว. งาม, ดียิ่ง.
【 เพริศพราย, เพริศแพร้ว 】แปลว่า: ว. งามระยับ.
【 เพริศพริ้ง 】แปลว่า: ว. งามเฉิดฉาย, พริ้งเพริศ ก็ว่า.
【 เพรียก 】แปลว่า: [เพฺรียก] ว. อาการที่ร้องมาก ๆ อย่างนกร้อง.
【 เพรียกพร้อง 】แปลว่า: ก. ร้องเซ็งแซ่ (ใช้แก่นกเป็นต้น).
【 เพรียง ๑ 】แปลว่า: [เพฺรียง] น. ส่วนร่างกายที่นูนอยู่หลังหู, มักใช้ว่า เพรียงหู; เรียก
ผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง. ว. พร้อม,
มักใช้คู่กันว่า พร้อมเพรียง.
【 เพรียงเมือง 】แปลว่า: ก. แทรกแซงบ่อนจิตใจชาวเมือง.
【 เพรียง ๒ 】แปลว่า: [เพฺรียง] น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง
มีหลายชนิดในอันดับ Thoracica เปลือกหุ้มตัวมี ๖ แผ่น เรียงซ้อน
กัน รูปร่างของเปลือกมีหลายแบบ เช่น รูปกรวยควํ่า มีปากเปิดด้าน
บน เปลือกบริเวณปากบางและคม เกาะอยู่ตามหินและวัสดุอื่น ๆ
ที่นํ้าท่วมถึง เช่น ชนิด /Balanus amphitrite/ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ที่ฐานประมาณ ๑ เซนติเมตร.
【 เพรียงคอห่าน 】แปลว่า: /ดู สนับ ๒, สนับทึบ/.
【 เพรียง ๓ 】แปลว่า: [เพฺรียง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Teredinidae ลําตัวยาวอ่อนนุ่ม
เปลือกเล็กมากคลุมเฉพาะด้านหัว เจาะกินเนื้อไม้ มีหลายชนิด เช่น
ชนิด /Lyrodus pedicellatus/.
【 เพรียบ 】แปลว่า: [เพฺรียบ] ก. เพียบ.
【 เพรี้ยม 】แปลว่า: เพฺรี้ยม ว. แฉล้ม, แช่มช้อย. (อย่างเดียวกับ พริ้ม).
【 เพรี้ยมพราย 】แปลว่า: ว. งามแฉล้ม.
【 เพรียว 】แปลว่า: [เพฺรียว] ว. เปรียว, ฉลวย, เรียว, เช่น รูปร่างเพรียว เรือเพรียว.
【 เพรียวลม 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างสูงโปร่ง สะโอดสะอง; มีรูปร่างเรียวบาง เคลื่อนไหว
ได้ว่องไว.
【 เพรื่อ 】แปลว่า: [เพฺรื่อ] ว. เรี่ยราด เช่น น้ำหกเพรื่อ, เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็น
กิจจะลักษณะ, เช่น พูดเพรื่อ, พร่ำเพรื่อ ก็ว่า.
【 เพรือง 】แปลว่า: [เพฺรือง] น. กระดึง.
【 เพล 】แปลว่า: [เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง
เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).
【 เพลง 】แปลว่า: [เพฺลง] น. สําเนียงขับร้อง, ทํานองดนตรี, กระบวนวิธีรําดาบรําทวน
เป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย;
โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง.
(พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา
วชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
【 เพลงเชิด 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดิน
ของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินทางไกล.
【 เพลงตระเชิญ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
【 เพลงยาว 】แปลว่า: น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดงข้อความ
รักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
【 เพลงสาธุการ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สําคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชา
หรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์และใช้เพื่อแสดง
กิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น.
【 เพลงเสมอ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดิน
ของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอ
ตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
【 เพลงหน้าพาทย์ 】แปลว่า: น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหว
ของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือ
บูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น
เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร
สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดินสาธุการ ใช้ในการเริ่ม
พิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
【 เพลงออกภาษา 】แปลว่า: น. เพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน
หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา.
【 เพลงออกสิบสองภาษา 】แปลว่า: น. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดยนำเพลงที่บรรเลง
ออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒
ภาษา.
【 เพล็ด 】แปลว่า: [เพฺล็ด] ก. เผล็ด.
【 เพล้โพล้ 】แปลว่า: น. โพล้เพล้; ที่เปล่าเปลี่ยวทุรกันดาร; พี้โพ้ ก็ว่า.
【 เพลา ๑ 】แปลว่า: [เพลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
【 เพลา ๒ 】แปลว่า: [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย
หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
【 เพลา ๓ 】แปลว่า: [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วย
ดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่น
อื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
【 เพลา ๔, เพลา ๆ 】แปลว่า: [เพฺลา] ว. เบาลง, เบาพอประมาณ, เช่น เพลาไม้เพลามือ เพลา ๆ
หน่อย.
【 เพลา ๕ 】แปลว่า: [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา.
(ข. เภฺลา).
【 เพลาะ ๑ 】แปลว่า: น. เรียกคูที่ขุดบังข้าศึกเมื่อเวลารบว่า สนามเพลาะ. ก. เอาริมต่อ
ให้ติดกัน, ติดต่อกัน, เช่น เพลาะผ้า คือเอาผ้า ๒ ผืนเย็บข้างติดกัน
ให้กว้างออก, เรียกผ้าที่เย็บข้างติดกันเช่นนั้นว่า ผ้าเพลาะ.
【 เพลาะ ๒ 】แปลว่า: น. วัวป่าชนิดหนึ่งเขาบิด ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
【 เพลิง 】แปลว่า: [เพฺลิง] น. ไฟ เช่น เพลิงไหม้บ้าน ดับเพลิง. (ข. เภฺลิง).
【 เพลิงกัลป์ 】แปลว่า: น. ไฟกัลป์.
【 เพลิงฟ้า 】แปลว่า: น.ไฟที่ใช้แว่นส่องจุดด้วยแสงแดด.
【 เพลิดเพลิน 】แปลว่า: [เพฺลิดเพฺลิน] ก. สนุกสนานไม่รู้จักเบื่อ, สนุกสนานจนลืมกังวล.
【 เพลิน, เพลิน ๆ 】แปลว่า: [เพฺลิน] ก. อาการที่ปล่อยอารมณ์อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจจน
ลืมนึกถึงสิ่งอื่น เช่น ทำงานเพลิน ฟังดนตรีเพลิน กินเล่นเพลิน ๆ.
【 เพลินใจ 】แปลว่า: ก. เบิกบานใจ.
【 เพลินตา 】แปลว่า: ก. ดูเพลิน, ดูไม่รู้จักเบื่อ.
【 เพลีย 】แปลว่า: ก. อ่อนแรง, ถอยกําลัง, มีอาการเมื่อยล้า เช่น เดินจนเพลีย ทำงาน
มาก ๆ รู้สึกเพลีย.
【 เพลียใจ 】แปลว่า: ก. ท้อแท้, หมดกําลังใจ.
【 เพลี้ย ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ มีปากชนิดเจาะ
ดูดติดอยู่ที่หัวส่วนที่ใกล้กับอก หรือชนิดเขี่ยดูดติดอยู่ที่ปลายหัว
ทําลายพืชต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่มีปีก พวกที่มีปีกจะมีเนื้อปีกเหมือน
กันตลอด โดยมากบางและอ่อน หรือเป็นแผ่นยาวและแคบมาก
มีขนรายล้อม พวกที่อยู่ในวงศ์ Cicadellidae มีรูปร่างคล้ายจักจั่น
เรียก เพลี้ยจักจั่น, พวกที่อยู่ในวงศ์ Aphididae มีลําตัวบอบบาง
และอ่อน เรียก เพลี้ยอ่อน, พวกที่อยู่ในวงศ์ Thripidae ทําลายพืช
ทําให้เกิดอาการเหมือนไฟไหม้ เรียก เพลี้ยไฟ, พวกที่อยู่ในวงศ์
Coccidae ที่สามารถผลิตสารสีขาวคล้ายแป้งออกมาหุ้มลําตัว
เรียก เพลี้ยแป้งและที่ผลิตสารสีนํ้าตาลออกมาหุ้มลําตัวคล้าย
ฝาหอย เรียก เพลี้ยหอย.
【 เพลี้ย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง
แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพลี้ยใช้ดีด, เพี้ย ก็ว่า.
【 เพลี่ยง 】แปลว่า: [เพฺลี่ยง] ก. เลี่ยง, หลีก, พลาด.
【 เพลี่ยงพล้ำ 】แปลว่า: ก. พลั้งพลาด, ผิดพลาด, เสียที.
【 เพศ 】แปลว่า: น. รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (ไว) ประเภทคําในบาลีและ
สันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การ
ประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).
【 เพศยันดร 】แปลว่า: [เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ,
พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
【 เพส 】แปลว่า: ว. ยี่สิบ เช่น เบญจเพส ว่า ยี่สิบห้า. (ป. วีส).
【 เพสลาด 】แปลว่า: [เพสะหฺลาด] ว. ไม่อ่อนไม่แก่ (มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็น
อาหาร เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง).
【 เพ่อ 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบหลังคํา อย่า เป็น อย่าเพ่อ หมายความว่า ห้าม
ไม่ให้กระทําในขณะนั้น เช่น อย่าเพ่อกิน, พึ่ง เพิก หรือ เพิ่ง ก็ว่า.
【 เพ้อ 】แปลว่า: ก. พูดโดยไม่มีสติ, พูดโดยไม่รู้ตัว, เช่น คนไข้เพ้อ.
【 เพ้อเจ้อ 】แปลว่า: ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการ
ที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ.
【 เพ้อฝัน 】แปลว่า: ก. คิดฝันอย่างลม ๆ แล้ง ๆ.
【 เพอิญ 】แปลว่า: [พะเอิน] ว. เผอิญ, ใช้ว่า พรรเอิญ ก็มี.
【 เพะ 】แปลว่า: ก. โปะเข้าไป, ทุ่มเทเข้าไป. ว. เผง, ไม่ผิดพลาด, เช่น ตรงเพะ
ถูกเพะ.
【 เพา 】แปลว่า: ว. งาม.
【 เพาพะงา 】แปลว่า: ว. งาม.
【 เพาพาล 】แปลว่า: น. หนุ่มสาวผู้งาม. ว. งามและกําลังรุ่น.
【 เพาะ 】แปลว่า: ก. ทําให้งอก, ทําให้เกิด, เช่น เพาะถั่วงอก, โดยปริยายหมายถึง
อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพาะนิสัย.
【 เพาะกาย 】แปลว่า: ก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียกน้ำหนัก
เป็นต้น.
【 เพาะชำ 】แปลว่า: น. การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เป็นเมล็ดจนโตถึงระยะพอที่จะนำ
ไปปลูกที่อื่นได้, การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่ตัดกิ่งไปปักในดินที่
ชุ่มน้ำจนกระทั่งรากงอกและแตกใบแล้วนำไปปลูกที่อื่นได้.
【 เพาะปลูก 】แปลว่า: น. กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะเมล็ดหรือ
นำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไป
ปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต.
【 เพิก ๑ 】แปลว่า: ว. เพ่อ, เพิ่ง, พึ่ง.
【 เพิก ๒ 】แปลว่า: ก. ถอน, ถลกออก, เบิก.
【 เพิกถอน 】แปลว่า: ก. ยกเลิก.
【 เพิกเฉย 】แปลว่า: ก. ไม่เอาใจใส่, ละเลย, ไม่นําพา, เช่น เพิกเฉยต่อหน้าที่.
【 เพิง 】แปลว่า: น. สิ่งปลูกสร้างมีทั้งชนิดชั่วคราวขนาดเล็ก และชนิดถาวรประกอบ
ด้วยหลังคาปีกเดียว, ถ้าเอียงลาด เรียกว่า เพิงหมาแหงน, ถ้ามี
แขนนางคํ้าตอนหน้า เรียกว่าเพิงแขนนาง, ถ้าปลายข้างหนึ่งพิง
อยู่กับสิ่งก่อสร้างหลัก เรียกว่า เพิงพะ หรือ พะเพิง, ส่วนเพิงพะ
ที่ใช้เป็นที่พักทหาร เรียกว่า เพิงพล.
【 เพิ่ง 】แปลว่า: ว. พึ่ง. /(ดู พึ่ง ๒)./
【 เพิดเพ้ย 】แปลว่า: ก. เย้ยหยัน; ร้องเฮ้ย (ใช้เป็นคําขับไล่ให้หนีไป).
【 เพิ่ม 】แปลว่า: ก. ทําให้มากขึ้น.
【 เพิ่มเติม 】แปลว่า: ก. เสริมหรือเติมของที่มีอยู่แต่ยังไม่สมบูรณ์ให้มีมากหรือสมบูรณ์
ยิ่งขึ้น เช่น ศึกษาเพิ่มเติม แก้ไขเพิ่มเติม.
【 เพิ่มพูน 】แปลว่า: ก. เติมให้มากยิ่งขึ้น, เสริมให้มากยิ่งขึ้น, เช่น เพิ่มพูนศรัทธา
เพิ่มพูนบารมี.
【 เพี้ย ๑ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งขุนนางไทยแคว้นล้านนาและล้านช้าง คือ พญา.
【 เพี้ยกวาน, เพี้ยกว้าน 】แปลว่า: น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองสมัยโบราณทางล้านนาและ
ล้านช้าง.
【 เพี้ย ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง
แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพี้ยใช้ดีด, เพลี้ย ก็ว่า.
【 เพี้ย ๓ 】แปลว่า: /ดู กา ๒/.
【 เพียง 】แปลว่า: ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา
สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ,
ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
【 เพียงดัง 】แปลว่า: ว. ดุจดัง, ราวกับ.
【 เพียงตา 】แปลว่า: ว. ระดับตา, เรียกศาลเทพารักษ์ที่ทำขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ
นัยน์ตาเพื่อความเคารพและสวัสดิมงคล ว่า ศาลเพียงตา.
【 เพียงนั้น 】แปลว่า: ว. เท่านั้น.
【 เพียงนี้ 】แปลว่า: ว. เท่านี้.
【 เพียงพอ 】แปลว่า: ก. ได้เท่าที่ต้องการ, ได้เท่าที่กะไว้. ว. เท่าที่กะไว้, เท่าที่ต้องการ.
【 เพี้ยง 】แปลว่า: ว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). อ. คําที่เปล่งออกมา
เมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 เพียงออ 】แปลว่า: น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งเสียงทุ้ม.
【 เพียชน์ 】แปลว่า: เพียด น. วิชนี, พัด.
【 เพียน 】แปลว่า: (โบ) ว. เพี้ยน.
【 เพี้ยน 】แปลว่า: ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน
เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ
(มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
【 เพี้ยนผัด 】แปลว่า: ก. ขอเลื่อนเวลาให้ผิดไป, ผัดเพี้ยน ก็ว่า.
【 เพียบ 】แปลว่า: ก. เกือบจม, เต็มแปล้, เช่น เรือบรรทุกสินค้าจนเพียบ รถบรรทุก
ของจนเพียบ, หนัก เช่น คนไข้อาการเพียบ.
【 เพียบแประ 】แปลว่า: ว. เพียบจวนจะจม เช่น เรือบรรทุกข้าวจนเพียบแประ.
【 เพียบพร้อม 】แปลว่า: ว. เต็มเปี่ยม, ครบทุกอย่าง.
【 เพียร 】แปลว่า: น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ,
บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).
【 เพื่อ 】แปลว่า: บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ
ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ
ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
【 เพื่อน ๑ 】แปลว่า: น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก,
ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน
ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็นเพื่อน
กันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์
เพื่อนร่วมโลก.
【 เพื่อน ๆ 】แปลว่า: น. เพื่อนทั่ว ๆ ไป เช่น พวกเพื่อน ๆ.
【 เพื่อนเกลอ 】แปลว่า: น. เพื่อนสนิท, เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.
【 เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก 】แปลว่า: น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขยามทุกข์, ผู้ที่
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย),
เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า.
【 เพื่อนคู่หู 】แปลว่า: น. เพื่อนที่ถูกคอถูกใจกัน.
【 เพื่อนเจ้าบ่าว 】แปลว่า: น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน.
【 เพื่อนเจ้าสาว 】แปลว่า: น. หญิงผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าสาวในพิธีแต่งงาน.
【 เพื่อนต่างเพศ 】แปลว่า: น. เพื่อนที่ไม่ใช่เพศเดียวกัน.
【 เพื่อนตาย 】แปลว่า: น. เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์หรือยอมตายแทนกันได้.
【 เพื่อนบ้าน 】แปลว่า: น. ผู้มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน.
【 เพื่อนฝูง 】แปลว่า: น. เพื่อนที่รู้จักมักคุ้นกัน.
【 เพื่อนยาก 】แปลว่า: น. เพื่อนในยามทุกข์ยาก, เพื่อนร่วมทุกข์ยาก.
【 เพื่อนเล่น 】แปลว่า: น. เพื่อนที่เล่นหัวกันมาตอนเป็นเด็ก.
【 เพื่อน ๒ 】แปลว่า: (ปาก) ส. คําใช้แทนคําว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง.
【 แพ 】แปลว่า: น. ไม้ไผ่หรือซุงเป็นต้นที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ สําหรับใช้เป็น
พาหนะทางนํ้า หรือล่องมาขาย เช่น แพไม้ไผ่ แพซุง แพหยวก
กล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ติดเนื่องกันเป็นตับอย่างแพ เช่น
ธูปแพเทียนแพ สวะลอยเป็นแพ; เรือนที่ตั้งอยู่บนแพในนํ้าหรือ
เรือนเช่นนั้นที่ยกเอามาปลูกบนบกว่า เรือนแพ; ลักษณนามเรียก
ของที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ธูป ๓ แพ ข้าวเม่าทอด ๒ แพ.
【 แพขนานยนต์ 】แปลว่า: (ปาก) น. เรือบรรทุกคนโดยสาร รถยนต์ หรือสิ่งของข้ามฟาก
มีลักษณะคล้ายแพขนาดใหญ่.
【 แพแตก 】แปลว่า: (สํา) ว. ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้าย
กันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบ
ความวิบัติหรือเสียชีวิต.
【 แพลูกบวบ 】แปลว่า: น. แพที่เอาไม้ไผ่หลาย ๆ ลำมามัดรวมกันเป็นแพกลม ๆ.
【 แพ้ ๑ 】แปลว่า: ก. สู้ไม่ได้, ทนไม่ได้, ตรงกันข้ามกับ ชนะ, ผู้ที่มีเลือดเนื้อไม่ถูกกับ
สิ่งของหรือสัตว์บางอย่างก็เรียกว่า แพ้ เช่น แพ้ยา แพ้ตะขาบ.
【 แพ้ท้อง 】แปลว่า: ว. อาการของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อแรกตั้งครรภ์ มีอาการ
คลื่นเหียนอาเจียนเป็นต้น.
【 แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร 】แปลว่า: (สํา) น. การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ.
【 แพ้เปรียบ 】แปลว่า: ว. ไม่เสมอกัน, เสียเปรียบ.
【 แพ้ผม 】แปลว่า: ว. ลักษณะที่ผมหงอกเร็วกว่าธรรมดา.
【 แพ้ผัว 】แปลว่า: ว. มีผัวกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
【 แพ้ฟัน 】แปลว่า: ว. ฟันหักเร็วกว่าธรรมดา.
【 แพ้ภัยตัว 】แปลว่า: ก. เป็นภัยแก่ตัวเอง, เดือดร้อนตัวเอง, ให้มีอันเป็นไปเพราะดูถูก
ดูหมิ่นผู้ใหญ่เป็นต้น.
【 แพ้เมีย 】แปลว่า: ว. มีเมียกี่คน ๆ ก็ตายจากไปก่อนหมด.
【 แพ้รู้ 】แปลว่า: ก. แพ้ความคิด, เสียที, เสียรู้.
【 แพ้แรง 】แปลว่า: ว. เสียกําลัง, หมดแรง เช่น ทำงานหนักจนแพ้แรง; สู้แรงไม่ได้
เช่นนักมวยฝ่ายน้ำเงินสู้ฝ่ายแดงไม่ได้เพราะแพ้แรง.
【 แพ้ ๒ 】แปลว่า: (ไทยเดิม) ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์.
(จารึกสยาม).
【 แพง ๑ 】แปลว่า: ว. มีราคาสูง, ตรงข้ามกับ ถูก.
【 แพง ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน, พายัพ) ก. สงวน, หวง, เป็นที่รัก. ว. เป็นที่รัก.
【 แพ่ง 】แปลว่า: น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา.
ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่นกฎหมาย
แพ่ง คดีแพ่ง.
【 แพงพวย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้นํ้าชนิด /Ludwigia adscendens/ (L.) Hara ในวงศ์
Onagraceae ทอดเลื้อยไปตามผิวนํ้า กินได้, พังพวย ก็เรียก.
【 แพงพวยฝรั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Catharanthus roseus/ (L.) G. Don f. ในวงศ์
Apocynaceae ดอกมีหลายสี เช่น แดง ม่วง ชมพู หรือขาว
ใช้ทํายาได้.
【 แพ็งแพว 】แปลว่า: น. ผักแพว. /[ดู แพว (๑)]./
【 แพทย, แพทย์ 】แปลว่า: [แพดทะยะ, แพด] น. หมอรักษาโรค. (ส. ไวทฺย).
【 แพทยศาสตร์ 】แปลว่า: [แพดทะยะ, แพด] น. ตําราหมอ; วิชาการป้องกันและบําบัดโรค.
【 แพทยา 】แปลว่า: แพดทะยา น. แพทย์.
【 แพทยา 】แปลว่า: /ดู แพทย, แพทย์/.
【 แพน ๑ 】แปลว่า: ก. แผ่ออก, กระจายออกไป, เช่น นกยูงแพนหาง นกพิราบแพนหาง.
น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพน
หางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
แพนสําหรับคัดท้ายแพซุง.
【 แพน ๒ 】แปลว่า: น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของท้องถิ่น ใช้เป่า.
【 แพ่น 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว จะกลมหรือแบนก็ได้ ตีลงด้วยกำลังแรง
เช่น เอาไม้ตะพดแพ่นหัว; พรวดพราด อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงล้ำ
เข้าไปในที่ที่ไม่ควร เช่น แพ่นเข้าไปถึงหลังบ้าน. ว. อาการที่อุกอาจ
เอื้อมอาจ หรือ ล่วงลํ้าเข้าไปในที่ที่ไม่ควร (ใช้ในลักษณะติเตียน).
【 แพนก 】แปลว่า: [พะแนก] น. หน้า. (ข. แภนก ว่า ตา); (โบ) แผนก.
【 แพนงเชิง 】แปลว่า: [พะแนง] น. การนั่งขัดสมาธิ. (ข.).
【 แพร 】แปลว่า: [แพฺร] น. ผ้าที่มีเนื้อลื่น เรียบเป็นมัน เนื้อหนาหรือบางก็ได้ เดิมทอ
ด้วยใยไหม ปัจจุบันอาจทอด้วยใยประดิษฐ์ที่มีลักษณะคล้ายไหม.
【 แพรแถบ 】แปลว่า: น. แพรที่เป็นแถบสีต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ ใช้ประดับ
ที่หน้าอก.
【 แพร่ 】แปลว่า: ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
【 แพร่ข่าว 】แปลว่า: ก. กระจายข่าวออกไป.
【 แพร่สะพัด 】แปลว่า: ก. กระจายไปทั่ว เช่น ข่าวแพร่สะพัดไปโดยเร็ว.
【 แพร่หลาย 】แปลว่า: ก. กระจายออกไปให้มาก, ทั่วถึง, เช่น รู้กันแพร่หลาย ใช้กัน
แพร่หลาย.
【 แพรก ๑ 】แปลว่า: [แพฺรก] น. หญ้าแพรก.
【 แพรก ๒ 】แปลว่า: [แพฺรก] น. ทางแยกของลํานํ้า. ก. แตก, แยก.
【 แพร่ง 】แปลว่า: [แพฺร่ง] น. ทางแยกทางบก. ก. แตกออก, แยกออก.
【 แพร่งพราย 】แปลว่า: ก. แยก, กระจายไป, แผ่ไป; เปิดเผยความลับ (มักใช้ในความ
ปฏิเสธ) เช่น เรื่องนี้รู้แล้วอย่าแพร่งพรายไป.
【 แพรว 】แปลว่า: ว. แวววาว, มีแสงวับ ๆ วาบ ๆ, ใช้ แพร้ว ก็ได้.
【 แพรวพราย, แพรวพราว 】แปลว่า: ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, เช่น แสงเพชร
มีประกายแพรวพราย, พรายแพรว หรือ พราวแพรว ก็ว่า.
【 แพร้ว ๑ 】แปลว่า: ว. แพรว, แวววาว, มีแสงวับ ๆ วาบ ๆ.
【 แพร้ว ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อมะพร้าวพันธุ์หนึ่ง ทะลายไม่แยกแขนง
ผลมีจุกตอนปลาย, มะแพร้ว ก็เรียก.
【 แพลง 】แปลว่า: [แพฺลง] ก. บิดไป, พลิกตะแคง.
【 แพลทินัม 】แปลว่า: [แพฺล] น. ธาตุลําดับที่ ๗๘ สัญลักษณ์ Pt เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็งสีเงินเป็นเงางามหลอมละลายที่ ๑๗๖๙ํซ. ใช้ประโยชน์นํา
ไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์
ในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นเครื่องประดับที่มีค่าสูง.
(อ. platinum).
【 แพล็บ, แพล็บ ๆ 】แปลว่า: [แพฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่มา
แพล็บเดียว หายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแพล็บ ๆ,
แผล็บ หรือ แผล็บ ๆ ก็ว่า.
【 แพลม 】แปลว่า: [แพฺลม] ก. แลบออกมาพอแลเห็น เช่น ทุเรียนเนื้อบางเห็นเม็ด
แพลมออกมา.
【 แพลเลเดียม 】แปลว่า: [แพน] น. ธาตุลําดับที่ ๔๖ สัญลักษณ์ Pd เป็นโลหะ ลักษณะ
เป็นของแข็งสีเงินคล้ายแพลทินัม หลอมละลายที่ ๑๕๕๒?ซ. ใช้
ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. palladium).
【 แพละ 】แปลว่า: [แพฺละ] ว. แผละ.
【 แพละโลม 】แปลว่า: [แพฺละ] ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพะโลม หรือ
แทะโลม ก็ว่า.
【 แพว 】แปลว่า: น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด /Polygonum odoratum/ Lour.
ในวงศ์ Polygonaceae ต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบอ่อนและกิ่ง
กินได้ ใช้ทํายาได้ เรียกว่า ผักแพว, เรียกเพี้ยนเป็น พักแพว
พัดแพว หรือ เพ็งแพว ก็มี, พายัพเรียก ผักไผ่. (๒) /ดู หญ้างวงช้าง./
【 แพ้ว 】แปลว่า: ก. แขวนหรือปักสิ่งของเช่นรูปหุ่นหลอกไว้ เพื่อป้องกันนกกา
รบกวน เรียกว่า แพ้วนก แพ้วกา; โดยปริยายหมายความว่า
อยู่ตรากตรํา ตากแดดตากฝน เป็นต้น เช่น ไปยืนแพ้วคอยดู
ขบวนแห่.
【 แพศย์ 】แปลว่า: [แพด] น. คนในวรรณะที่ ๓ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ
ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร. (ส. ไวศฺย; ป. เวสฺส).
【 แพศยา 】แปลว่า: [แพดสะหฺยา] น. หญิงหาเงินในทางประเวณี, หญิงถ่อย, หญิง
สําส่อน. (ส. เวศฺยา; ป. เวสิยา).
【 แพะ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด /Capra hircus/ ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์
กีบคู่ขนาดกลาง มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดี
กว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือ
ภูเขาได้ดี ขนหยาบสีดํา ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา
หางสั้น; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาว
ช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก.
【 แพะรับบาป 】แปลว่า: (สํา) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทํากรรมนั้น.
【 แพะ ๒ 】แปลว่า: น. ป่าแพะ. /(ดู ป่าแพะ ที่ ป่า)./
【 แพะโลม 】แปลว่า: ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพละโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.
【 โพ ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Ficus religiosa/ L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้น
ไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้าย
หาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก.
【 โพขี้นก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Ficus rumphii/ Blume ในวงศ์ Moraceae
ลักษณะคล้ายโพ แต่ปลายใบที่ยื่นแหลมสั้นกว่า ใช้ทำยาได้,
โพปราสาท ก็เรียก.
【 โพ ๒ 】แปลว่า: /ดู จาด ๒/.
【 โพก 】แปลว่า: ก. เอาผ้าหรือสิ่งของพันหรือคลุมหัว. ว. เรียกผ้าที่ใช้พันหรือคลุม
หัวว่า ผ้าโพกหัว.
【 โพกพาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Pachygone dasycarpa/ Kurz ในวงศ์
Menispermaceae ดอกสีเหลืองอ่อน ผลสีเหลือง, ย่านางช้าง
ก็เรียก.
【 โพง 】แปลว่า: ก. ตัก, วิด, เช่น โพงน้ำ. น. ชงโลง; ภาชนะสําหรับตักนํ้าในบ่อ
ลึก ๆ, ถ้ามีคันถ่วงเพื่อให้เบาแรงเวลาตักขึ้น คันนั้นเรียกว่า คันโพง;
ผีชนิดหนึ่งกล่าวกันว่าชอบกินของสดคาว; เรียกแมวตัวผู้ขนาดใหญ่.
【 โพงพาง 】แปลว่า: น. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสา
ใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลํานํ้า สําหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.
【 โพชฌงค์ 】แปลว่า: [โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระ
ปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).
【 โพซิตรอน 】แปลว่า: [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มี
ประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้า
บวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบ
กัน ทั้งคู่จะทําลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงาน
มากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก.
(อ. positron).
【 โพด ๑ 】แปลว่า: ว. มากเกิน เช่น ไกลโพด.
【 โพด ๒ 】แปลว่า: น. ข้าวโพด. /(ดู ข้าวโพด ที่ ข้าว)./
【 โพทะเล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Thespesia populnea/ (L.) Sol. ex Corr?a ในวงศ์
Malvaceae ขึ้นริมนํ้า ใบคล้ายใบโพปราสาท ดอกสีเหลือง โคน
กลีบดอกด้านในสีม่วงคล้ำ รากใช้ทํายาได้.
【 โพแทสเซียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๑๙ สัญลักษณ์ K เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อนหลอมละลายที่ ๖๓.๗ํซ. (อ. potassium).
【 โพธ 】แปลว่า: [โพด] น. ความรู้, ความเข้าใจ, ความฉลาด. (ป., ส.). ก. แย้ม, บาน,
แรกรุ่น เช่น นงโพธ.
【 โพธิ, โพธิ์ 】แปลว่า: [โพทิ, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า,
บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).
【 โพธิญาณ 】แปลว่า: น. พระปัญญาที่ทําให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
【 โพธิบัลลังก์ 】แปลว่า: น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา
ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
(ป. โพธิปลฺลงฺก).
【 โพธิปักขิยธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมเกื้อกูลแก่
ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
【 โพธิสมภาร 】แปลว่า: น. บุญบารมีของพระมหากษัตริย์.
【 โพธิสัตว์ 】แปลว่า: น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).
【 โพน ๑ 】แปลว่า: น. วิธีคล้องช้างเถื่อน คือ เอาช้างต่อไปเที่ยวต้อนคล้องเอา.
【 โพน ๒ 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. จอมปลวก, เนินดิน.
【 โพน ๓ 】แปลว่า: ก. แกว่ง.
โพนเพน ก. โงนเงน, โอนเอน.
【 โพ้น 】แปลว่า: ว. โน้น เช่น ไกลโพ้น.
【 โพ้นทะเล 】แปลว่า: ว. ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยมีทะเลกั้น, เรียก
ชาวจีนที่อยู่นอกประเทศออกไปโดยมีทะเลกั้นว่า จีนโพ้นทะเล.
【 โพนทะนา 】แปลว่า: ก. กล่าวโทษ, ติเตียน, พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าผู้อื่น.
【 โพบาย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Sapium baccatum/ Roxb. ในวงศ์
Euphorbiaceae เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางทําให้ระคายเคืองต่อ
ผิวหนัง ผลใช้เบื่อปลา, พายัพเรียก กระดาด.
【 โพปราสาท 】แปลว่า: /ดู โพขี้นก ที่ โพ ๑/.
【 โพผัน 】แปลว่า: /ดู คริสต์มาส ๒/.
【 โพย ๑ 】แปลว่า: น. บัญชี, ทะเบียน. (จ.).
【 โพยก๊วน 】แปลว่า: น. เอกสารที่เกี่ยวกับการส่งเงินทางจดหมายไปเมืองจีน. (จ.).
【 โพย ๒ 】แปลว่า: น. อันตราย, โพยภัย ก็ว่า. ก. โบย, ตี.
【 โพยภัย 】แปลว่า: น. อันตราย, โพย ก็ว่า.
【 โพยม 】แปลว่า: [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้.
(ส. โวฺยมนฺ).
【 โพยมยาน 】แปลว่า: น. ยานที่แล่นไปในฟ้า.
【 โพยมัน, โพยมาน 】แปลว่า: [พะโยมัน, พะโยมาน] น. โพยม, ท้องฟ้า, อากาศ. (ส.).
【 โพรก 】แปลว่า: [โพฺรก] ว. ไม่แน่น, มีเนื้อไม่แน่น, เช่น ปูโพรก.
【 โพรง 】แปลว่า: [โพฺรง] น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก.
【 โพรงแสม 】แปลว่า: [สะแหฺม] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้า รูปอย่างกระบอก.
【 โพรโทแอกทิเนียม 】แปลว่า: [โพฺร] น. ธาตุลําดับที่ ๙๑ สัญลักษณ์ Pa เป็นโลหะ ลักษณะเป็น
ของแข็ง สีเทาอ่อน หลอมละลายที่ ๑๒๓๐?ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี,
โพรแทกทิเนียม ก็เรียก. (อ. protoactinium, protactinium).
【 โพรมีเทียม 】แปลว่า: [โพฺร] น. ธาตุลําดับที่ ๖๑ สัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่
นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็น
ของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๒๗?ซ. (อ. promethium).
【 โพระดก 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Megalaimidae ตัวอ้วนป้อมสีเขียว หน้าสีแดง
เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ปากหนาแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่
มีขนแข็งตรงโคนปาก กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่น โพระดกธรรมดา
(/Megalaima lineata/) โพระดกหูเขียว (/M. faiostricta/)โพระดกคอสีฟ้า
(/M. asiatica/).
【 โพล่ 】แปลว่า: น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น
ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม
กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบน
ไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่ง
สานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคัน
สำหรับกันแดดกันฝน.
(รูปภาพ โพล่)
【 โพลง 】แปลว่า: [โพฺลง] ว. สว่างแจ้ง, ลุกสว่าง, เช่น ไฟลุกโพลง สว่างโพลง; ใช้
ประกอบกับคํา ขาว เป็น ขาวโพลง หมายความว่า ขาวมาก,
ขาวทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลงไปทั้งหัว,
โพลน ก็ว่า; ลักษณะที่เบิกกว้าง เช่น ตาลุกโพลง ลืมตาโพลง.
【 โพล่ง 】แปลว่า: [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า
พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
【 โพล้ง 】แปลว่า: [โพฺล้ง] น. ชื่อเบี้ยชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่ ใช้ขัดผ้า.
【 โพลน 】แปลว่า: [โพฺลน] ว. ใช้ประกอบกับคำ ขาว เป็น ขาวโพลน หมายความว่า
ขาวมาก, ขาวทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลนไป
ทั้งหัว, โพลง ก็ว่า.
【 โพล้เพล้ 】แปลว่า: น. เวลาพลบคํ่า, เวลาจวนคํ่า, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เพล้โพล้ ก็ว่า,
ใช้ว่า พี้โพ้ ก็มี.
【 โพละ 】แปลว่า: [โพฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงทุบหม้อดินแตกเป็นต้น.
【 โพศรีมหาโพธิ 】แปลว่า: /ดู โพ ๑/.
【 โพสพ 】แปลว่า: [โพสบ] น. ชื่อเทพธิดาประจําข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, ใช้ว่า ไพสพ ก็มี.
【 ไพ 】แปลว่า: (โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ.
【 ไพ่ 】แปลว่า: น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ทำด้วยกระดาษค่อนข้างแข็ง
หรือพลาสติกเป็นต้น เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบาง ๆ มีลวดลาย
และเครื่องหมายแสดงแต้มต่าง ๆ.
【 ไพ่ตอง 】แปลว่า: น. ชื่อไพ่ไทยชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๑๒๐ ใบ
ประกอบด้วย ๑๐ พวก พวกละ ๑๒ ตัว, ไพ่ผ่องไทย ก็เรียก.
【 ไพ่ตาย 】แปลว่า: น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือเขาทิ้ง
ให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยาย
หมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งกำ
เป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตายจะ
คลายก็รอด.
【 ไพ่ป๊อก 】แปลว่า: น. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่น
การพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทํานาย
โชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่งเจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ
๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงิน
ให้คนที่ได้แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.
【 ไพ่ผ่องไทย 】แปลว่า: น. ไพ่ตอง.
【 ไพ่ไฟ 】แปลว่า: (ปาก) น. บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ลงด้วยวิธีการทุจริต;
อาวุธสงครามชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นบรรจุสารเคมีซึ่งติด
ไฟง่าย.
【 ไพจิตร 】แปลว่า: [จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).
【 ไพชน 】แปลว่า: น. ที่เงียบ, ที่สงัด, ที่ปราศจากคน. (ป., ส. วิชน).
【 ไพชยนต์ 】แปลว่า: [ชะยน] น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์; ปราสาททั่วไปของ
หลวง; ธงของพระอินทร์. (ส. ไวชยนฺต, ไวชยนฺตี; ป. เวชยนฺต).
【 ไพฑูรย์ 】แปลว่า: น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่ง ในจําพวกนพรัตน์ มีสีเหลืองแกมเขียว
หรือนํ้าตาลเทา มีนํ้าเป็นสายรุ้งกลอกไปมา, เพชรตาแมว หรือ
แก้วสีไม้ไผ่ ก็ว่า. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
【 ไพโดร 】แปลว่า: [โดน] ก. พิโดร, กลิ่นฟุ้งไป.
【 ไพที 】แปลว่า: น. ที่รอง, แท่น, ขอบชายคา คือ ที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคา
ชั้นล่าง; ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. (ป., ส. เวที).
【 ไพบูลย์ 】แปลว่า: น. ความเต็มเปี่ยม, ความเต็มที่. ว. เต็มเปี่ยม, เต็มที่. (ส. ไวปุลฺย;
ป. เวปุลฺล).
【 ไพพรรณ 】แปลว่า: น. สีต่าง ๆ. ว. ต่างเพศ, ต่างสี. (ส. ไววรฺณ).
【 ไพเพิด 】แปลว่า: ก. ตะเพิด, ทําเสียงขับไล่.
【 ไพมอก 】แปลว่า: ก. ครํ่าครวญ, บ่นด้วยความเศร้า.
【 ไพม้า 】แปลว่า: น. เรือพายม้า, ใช้ว่า พลายม้า ก็มี.
【 ไพร 】แปลว่า: [ไพฺร] น. ป่า; ขอบ, ริม, เรียกตอกเส้นกลม ๆ ที่อยู่ใต้ขอบกระบุง
กระจาดเป็นต้น ว่า ตอกไพร.
【 ไพรคิ้ว 】แปลว่า: น. ลายเขียนเป็นเส้นคิ้วที่หัวโขน.
【 ไพรปาก 】แปลว่า: น. ลายเขียนเป็นเส้นที่ท้ายมุมปากที่หัวโขน.
【 ไพรระหง 】แปลว่า: น. ป่าสูง.
【 ไพรวัน 】แปลว่า: น. ป่าไม้.
【 ไพรสณฑ์, ไพรสัณฑ์, ไพรสาณฑ์ 】แปลว่า: น. แนวป่า.
【 ไพร่ 】แปลว่า: ไพฺร่ น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว. ว. สามัญ.
【 ไพร่พล 】แปลว่า: น. กําลังทหาร, กําลังคน.
【 ไพร่ฟ้า 】แปลว่า: น. ข้าแผ่นดิน, ราษฎร.
【 ไพร่สม 】แปลว่า: (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหารฝึกหัด
อยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
【 ไพร่ส่วย 】แปลว่า: (โบ) น. พวกไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าประจําการแต่ต้องหา
สิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทนทุกปี.
【 ไพร่หลวง 】แปลว่า: (โบ) น. พลที่เข้าประจําการแล้ว.
【 ไพรจิตร 】แปลว่า: ไพฺรจิด ว. ไพจิตร.
【 ไพรชน 】แปลว่า: ไพฺร น. ไพชน.
【 ไพรชยนต์ 】แปลว่า: ไพฺรชะยน น. ไพชยนต์.
【 ไพรฑูรย์ 】แปลว่า: ไพฺร น. ไพฑูรย์.
【 ไพรที 】แปลว่า: ไพฺร น. ไพที.
【 ไพรบูลย์ 】แปลว่า: ไพฺร น. ไพบูลย์.
【 ไพรเราะ 】แปลว่า: ไพฺร ว. ไพเราะ.
【 ไพรสามกอ 】แปลว่า: [ไพฺร] /ดู กะอวม/.
【 ไพรัช, ไพรัช 】แปลว่า: ว. นอกประเทศ, ต่างประเทศ, เช่น ไพรัชพากย์.
【 ไพรำ ๑ 】แปลว่า: ว. ที่แหลกเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ทองไพรํา.
【 ไพรำ ๒ 】แปลว่า: น. มณีอันมีค่า. (ทมิฬ ไพลํา ว่า เพชร).
【 ไพริน 】แปลว่า: น. ผู้มีเวร; ข้าศึก. (ส. ไวรินฺ; ป. เวรี).
【 ไพรินทร์ 】แปลว่า: น. กษัตริย์ผู้เป็นข้าศึก.
【 ไพรินทร์ 】แปลว่า: /ดู ไพริน/.
【 ไพรี 】แปลว่า: น. ผู้มีเวร; ข้าศึก. (ส. ไวรินฺ; ป. เวรี).
【 ไพรู 】แปลว่า: ว. งาม, รุ่งเรือง.
【 ไพเราะ 】แปลว่า: ว. เพราะ, เสนาะ, น่าฟัง. (แผลงมาจาก พิเราะ).
【 ไพโรจน์ 】แปลว่า: ว. รุ่งเรือง, สุกใส. (ส. ไวโรจน; ป. วิโรจน).
【 ไพล 】แปลว่า: [ไพฺล] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Zingiber purpureum/ Roscoe ในวงศ์
Zingiberaceae ต้นและใบคล้ายขิง เหง้าสีเหลืองอมเขียวใช้ทํา
ยาได้. ว. สีเหลืองอมเขียวอย่างสีเหง้าไพล เรียกว่า สีไพล.
【 ไพล่ 】แปลว่า: [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่
จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำ
อย่างนั้น.
【 ไพล่หลัง 】แปลว่า: ก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่หลัง, เอามือ
๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอามือไพล่หลังใน
เวลายืนรับเสด็จ.
【 ไพศาข, ไพศาขะ 】แปลว่า: [ไพสาขะ] น. เดือน ๖; ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๑๖ ของดาวฤกษ์ ๒๗.
(ป. วิสาข; ส. ไวศาข).
【 ไพศาขบุรณมี 】แปลว่า: [ไพสาขะบุระนะมี] น. วันเพ็ญเดือน ๖. (ส.; ป. วิสาขปุณฺณมี).
【 ไพศาขมาส 】แปลว่า: [ไพสาขะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์วิศาขะ
คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. (ส.; ป. วิสาขมาส).
【 ไพศาล 】แปลว่า: ว. กว้างใหญ่. (ส. วิศาล; ป. วิสาล).
【 ไพเศษ 】แปลว่า: ว. พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
【 ไพสพ 】แปลว่า: น. ชื่อเทพธิดาประจําข้าว, เจ้าแม่แห่งข้าว, โพสพ ก็ใช้; วัวที่ใช้ใน
พิธีแรกนา.
【 ไพสิฐ 】แปลว่า: ว. ประเสริฐ, วิเศษ. (ป. วิสิฏฺ?; ส. วิศิษฺฏ).
【 ไพหาร 】แปลว่า: น. วิหาร. (ป., ส. วิหาร).
【 พัทธยากร 】แปลว่า: น. ค่าภาคหลวง.
【 พัทธยา ๒ 】แปลว่า: น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออก
เฉียงเหนือในต้นฤดูฝนว่า ลมพัทธยา.
【 พัทร 】แปลว่า: [พัดทฺระ] น. ต้นพุทรา. (ป., ส. พทร).
【 พัน ๑ 】แปลว่า: ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณ
สูงกว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง
หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น
สัญญาบัตรรองจากนายพล.
【 พันจ่า 】แปลว่า: น. ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นประทวนสูงกว่าจ่า เช่น
พันจ่าตรี พันจ่าอากาศเอก.
【 พันตา, พันเนตร 】แปลว่า: น. พระอินทร์.
【 พันปี 】แปลว่า: น. คําเรียกพระราชชนนีว่า สมเด็จพระพันปี; (โบ) พระเจ้าแผ่นดิน.
【 พันวรรษา 】แปลว่า: [วัดสา] น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณว่า พระพันวรรษา.
【 พันแสง 】แปลว่า: น. “ผู้มีแสงพันหนึ่ง” คือ พระอาทิตย์.
【 พัน ๒ 】แปลว่า: ก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น
พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัด
โดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น
ด้ายพันกัน.
【 พันแข้งพันขา 】แปลว่า: ก. เคล้าแข้งเคล้าขา เช่น ลูกแมวพันแข้งพันขา.
【 พันพัว 】แปลว่า: ว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พันพัว
กับคดีทุจริต, พัวพัน ก็ว่า.
【 พันงู 】แปลว่า: น. หญ้าพันงู.
【 พันจำ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล /Vatica/ วงศ์ Dipterocarpaceae ชนิด
/Vatica cinerea/ King ดอกสีขาว กลิ่นหอม /V. odorata/ (Griff.)
Sym. ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม.
【 พันไฉน 】แปลว่า: /ดู พาดไฉน/.
【 พันซาด 】แปลว่า: (ถิ่นอีสาน) น. ต้นซาก. /(ดู ซาก ๒)./
【 พันตัน 】แปลว่า: (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ต้นมังตาน. /(ดู มังตาน)./
【 พันตู 】แปลว่า: ก. ต่อสู้ในตอนประชิดติดพันกัน เช่น โรมรันพันตู รบกันพันตู. (ช.).
【 พันทาง 】แปลว่า: น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลย
ไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิด
บางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลาย
ครามพันทาง.
【 พันธ, พันธ์, พันธะ 】แปลว่า: [พันทะ] ก. ผูก, มัด, ตรึง. (ป., ส.). น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน.
【 พันธกรณี 】แปลว่า: [พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็นข้อผูกมัด.
【 พันธบัตร 】แปลว่า: (กฎ) น. เอกสารหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาลหรือ
นิติบุคคล แสดงการเป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากบุคคลทั่วไป.
【 พันธมิตร 】แปลว่า: น. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่จะช่วยเหลือกันตามสนธิสัญญา
ที่ทําไว้ เพื่อร่วมรบหรือเพื่อการป้องกันร่วมกัน.
【 พันธน, พันธนะ 】แปลว่า: [พันทะนะ] น. การผูก, การมัด, การจําขัง; เครื่องผูก, เครื่องมัด,
เครื่องจํา. (ป., ส.).
【 พันธนาการ 】แปลว่า: ก. จองจำ เช่น ถูกพันธนาการ. ว. ที่ใช้จองจำ เช่น เครื่องพันธนาการ.
น. การจองจํา.
【 พันธนาคาร 】แปลว่า: น. เรือนจํา. (ป.).
【 พันธนาการ 】แปลว่า: /ดู พันธน, พันธนะ/.
【 พันธนาคาร 】แปลว่า: /ดู พันธน, พันธนะ/.
【 พันธนำ 】แปลว่า: [ทะนํา] น. ผ้าพันศพผู้มีฐานันดรศักดิ์.
【 พันธุ, พันธุ์ 】แปลว่า: น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าว
เก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
【 พันธุกรรม 】แปลว่า: น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่
ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์
ก็ว่า.
【 พันลอก 】แปลว่า: ก. ผลิ. น. ดอกไม้. (ข.).
【 พันลาย 】แปลว่า: ว. ต่าง ๆ, มาก, หลาย.
【 พันลำ 】แปลว่า: น. ชื่อลายที่พันสิ่งกลม ๆ ยาว ๆ.
【 พันลึก 】แปลว่า: ว. พิลึก, พึงกลัว, แปลก, ลึกซึ้ง, ใช้เข้าคู่กับคํา พันลือ เป็น
พันลึกพันลือ ก็มี.
【 พันลือ 】แปลว่า: ว. ใช้เข้าคู่กับคํา พันลึก เป็น พันลึกพันลือ. /(ดู พันลึก)./
【 พันเลิศ 】แปลว่า: ว. เลิศยิ่ง.
【 พันเอิญ 】แปลว่า: (โบ) ว. เผอิญ.
【 พับ 】แปลว่า: น. เรียกลักษณะผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ เช่น ซื้อผ้าในพับ. ก. ทบ
เช่น พับผ้า พับกระดาษ, หักทบ เช่น พับมีด, คู้เข้า เช่น นั่งพับขา;
สิ้นกําลังทรงตัว เช่น คอพับ; ตัดบัญชีเป็นสูญ เช่น เป็นพับไป.
ว. ที่ทบหรือหักทบเข้าด้วยกัน เช่น ผ้าพับ มีดพับ.
ให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทําให้เกิดไฟขึ้น.