Site icon ENLIGHTENTH

พจนานุกรม ไทย – ไทย ท

【 ท ๑ 】แปลว่า: พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด
ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท
ธาตุบิสมัท.
【 ท ๒ 】แปลว่า: ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก
ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์
อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
【 ท ๓ 】แปลว่า: [ทะ] ใช้เป็นคํานําหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.
【 ทก ๑ 】แปลว่า: (โบ) ว. ทุก เช่น ทกพวก ทกพาย.
【 ทก ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.).
【 ทกล้า, ทแกล้ว 】แปลว่า: [ทะกฺล้า, ทะแกฺล้ว] น. ผู้กล้า, ทหาร.
【 ท่ง 】แปลว่า: (กลอน) น. ทุ่ง.
【 ทงัน 】แปลว่า: ทะงัน ว. ตระหง่าน, กว้างใหญ่, สูงใหญ่.
【 ทชี 】แปลว่า: [ทะชี] น. นักบวช. (กร่อนมาจาก ท่านชี).
【 ทด 】แปลว่า: ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า;
แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็นตอบแทน,
บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
【 ทดแทน 】แปลว่า: ก. ตอบแทน, ชดใช้หรือชดเชยสิ่งที่เสียไป.
【 ทดรอง 】แปลว่า: ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
【 ทดลอง 】แปลว่า: ก. ลองทํา, ลองให้ทํา, ทดสอบข้อสมมุติฐานเป็นต้น.
【 ทดเลข 】แปลว่า: ก. ยกจํานวนเลขครบสิบไปไว้เพื่อบวกกับผลของหลักหน้า.
【 ทดสอบ 】แปลว่า: ก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบเครื่องยนต์;
(การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น
ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.
【 ทดโทร่ห 】แปลว่า: -โทฺร่ ก. การคิดประทุษร้าย, ใช้เข้าคู่กับคํา กบฏ เป็น
กบฏทดโทร่ห, ทดโท่ ก็ว่า.
【 ทท 】แปลว่า: [ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท =
ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).
【 ทธิ 】แปลว่า: ทะทิ น. นมส้ม คือนมที่ขึ้นฝาแปรสภาพเป็นนมเปรี้ยว
อยู่ในจําพวกเบญจโครส. (ป., ส.).
【 ทน 】แปลว่า: ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก
หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง,
มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
【 ทนทาน 】แปลว่า: ว. มั่นคง, ไม่เสียหายง่าย.
【 ท้น 】แปลว่า: ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น
นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม
เสื้อคับจนเนื้อท้น.
【 ทนดี ๑ 】แปลว่า: /ดู ตองแตก./
【 ทนดี ๒ 】แปลว่า: (แบบ) น. ช้าง. (ป. ทนฺตี; ส. ทนฺตินฺ ว่า สัตว์มีงา).
【 ทนต-, ทนต์ 】แปลว่า: ทนตะ-, ทน น. ฟัน, งาช้าง. (ป., ส. ทนฺต).
【 ทนตกาษฐ์ 】แปลว่า: [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟันให้สะอาด ทําจากต้นไม้
ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ?).
【 ทนโท่ 】แปลว่า: ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่ทนโท่, โทนโท่ ก็ว่า.
【 ทนม 】แปลว่า: ทะนม น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกสอนตน.
(ป., ส. ทมน).
【 ทนาย 】แปลว่า: [ทะ-] น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอํานาจ); คำเรียกทนายความ
อย่างสั้น ๆ.
【 ทนายความ 】แปลว่า: น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดี,
เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับจดทะเบียน
และออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ)
ผู้พากย์หนัง.
【 ทนายแผ่นดิน 】แปลว่า: (กฎ) /ดู อัยการ./
【 ทนายเรือน 】แปลว่า: (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
【 ทนายเลือก 】แปลว่า: (โบ) น. นักมวยสําหรับป้องกันพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อกรมกรมหนึ่งมีหน้าที่
กํากับมวย.
【 ทนายหน้าหอ 】แปลว่า: (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
【 ทบ ๑ 】แปลว่า: ก. พับเข้ามา เช่น ทบผ้า ทบเชือก, เพิ่มเข้า เช่น เอาเชือกมาทบ
เข้าอีกเส้นหนึ่ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่พับเข้ามาหรือเพิ่มเข้ามา
เช่น ผ้าทบหนึ่ง ผ้า ๒ ทบ.
【 ทบทวน 】แปลว่า: ก. ย้อนกลับทําซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยํา เช่น ทบทวนตํารา, ทวนทบ
ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย.
【 ทบ ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
【 ทบท่าว 】แปลว่า: ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น. (ตะเลงพ่าย).
【 ทบวง 】แปลว่า: ทะ- น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย
สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง
อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้;
ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า
กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
【 ทบวงการ 】แปลว่า: น. องค์การทางราชการ.
【 ทบวงการเมือง 】แปลว่า: (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็น
นิติบุคคล และมีอํานาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง
กรมเทศบาล.
【 ทมก 】แปลว่า: ทะมก, ทะมะกะ น. ผู้ทรมาน, ผู้ฝึกตน. (ป.).
【 ทมนะ 】แปลว่า: ทะมะนะ น. การทรมาน, การข่ม, การฝึกสอนตน,
การปราบ. (ป., ส.).
【 ทมบ 】แปลว่า: [ทะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็น
เป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ชมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า
หมอตําแย).
【 ทมอ 】แปลว่า: [ทะมอ] ว. สีมอ, สีนกกระเรียน.
【 ทมะ 】แปลว่า: ทะ- น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา,
การปรับไหม. (ป., ส.).
【 ทมิฬ 】แปลว่า: [ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดีย
แถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย,
ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น
ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
【 ทเมิน 】แปลว่า: [ทะ-] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (ข. เถฺมิร).
【 ทโมน 】แปลว่า: [ทะ-] ว. ใหญ่และมีกําลังมาก (มักใช้แก่สัตว์ตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง)
เช่น ลิงทโมน.
【 ทยอย ๑ 】แปลว่า: [ทะ-] ว. หย่อย ๆ กันไปไม่ขาดระยะ, อาการที่ไปหรือมาทีละน้อย.
【 ทยอย ๒ 】แปลว่า: [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มีชนิดย่อยเป็น ทยอยนอก
ทยอยใน ทยอยโอด.
【 ทยา ๑ 】แปลว่า: ทะ- น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส
เช่น ทยาทิคุณ. (ป., ส.).
【 ทยาลุ, ทยาลุก 】แปลว่า: (แบบ) ว. มีความเอ็นดู, มีความสงสาร. (ป., ส.).
【 ทยา ๒ 】แปลว่า: [ทะ-] ว. ดี, สําคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง),
กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา
ก็ใช้.
【 ทแยง 】แปลว่า: [ทะ-] ว. เฉียง, เฉลียง.
【 ทแยงมุม 】แปลว่า: ว. เฉียงจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม.
【 ทร- 】แปลว่า: [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น
ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
【 ทรกรรม 】แปลว่า: น. การทําให้ลําบาก.
【 ทรชน 】แปลว่า: น. คนชั่วร้าย, ทุรชน ก็ว่า.
【 ทรชาติ 】แปลว่า: น. ชาติชั่ว.
【 ทรธึก 】แปลว่า: ว. ชั่วยิ่ง, ใช้เรียกวันในตําราหมอดูว่า วันทรธึก หมายความว่า วันชั่วยิ่ง
ห้ามทําการมงคลต่าง ๆ.
【 ทรพล 】แปลว่า: ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้; เลวทราม.
【 ทรพิษ 】แปลว่า: น. ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็ก ๆ ดาษทั่วไปเรียกว่า
ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
【 ทรภิกษ์ 】แปลว่า: น. การขาดแคลนอาหาร, ข้าวยากหมากแพง.
【 ทรยศ 】แปลว่า: ก. คิดร้ายต่อผู้มีอุปการะ, กบฏ.
【 ทรยุค 】แปลว่า: น. ยุคชั่ว.
【 ทรราช 】แปลว่า: น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความเดือดร้อน
ทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้น
ว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
【 ทรลักษณ์ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะที่ถือว่าไม่ดี.
【 ทรง 】แปลว่า: [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบทรง
กระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น
ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก;
รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี
เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์
มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม
หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร
ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร
ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น
ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี
พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า
นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง
พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง
ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์
หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์
เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์
ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ
ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา
สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว
ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส
ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง
แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
【 ทรงกลด 】แปลว่า: ว. มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์.
【 ทรงข้าวบิณฑ์ 】แปลว่า: /ดู พุ่มทรงข้าวบิณฑ์./
【 ทรงเครื่อง 】แปลว่า: ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุง
พิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงาม
เป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
【 ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ 】แปลว่า: (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน).
【 ทรงเจ้า 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้าว่า
คนทรงเจ้า.
【 ทรงเจ้าเข้าผี 】แปลว่า: ก. เข้าผี, ลงผี.
【 ทรงตัก 】แปลว่า: (ราชา) น. กระบวยสําหรับตักนํ้าอบ.
【 ทรงประพาส 】แปลว่า: น. ชื่อฉลองพระองค์ มีรูปเป็นเสื้อกั๊กมีชาย, คู่กับ พระกรน้อย เป็นเสื้อ
ชั้นใน ที่แขนต่อแถบรัด มีสายรัดกับเสื้อทรงประพาส, ชื่อเสื้อยศผู้ว่า
ราชการเมืองครั้งก่อน; ชื่อหมวกเครื่องยศรูปเป็นกลีบ ๆ มีชายปก
ข้างและหลัง.
【 ทรงมัณฑ์ 】แปลว่า: [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่าง
หัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์น่าจะตัดมาจากคํา
มณฑป).
【 ทรงลังกา 】แปลว่า: ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้วองค์ครรภธาตุ
มีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอด
ประดับด้วยปล้องไฉน.
【 ทรงหม้อตาล 】แปลว่า: น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่พลทหารเรือ
และจ่าทหารเรือเป็นต้นสวมว่า หมวกทรงหม้อตาล.
【 ทรงกระเทียม 】แปลว่า: [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Eleocharis dulcis/ (Burm.f.) Hensch. var.
/dulcis/ ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคนดอก
เป็นกระจุก มีหัวกินได้.
【 ทรงบาดาล 】แปลว่า: [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et/
Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ
ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทํายา.
【 ทรทึง ๑ 】แปลว่า: ทฺระ- ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรรทึง ก็ใช้. (ข.).
【 ทรทึง ๒ 】แปลว่า: ทฺระ- ก. บ่น, บ่นถึง, ทรรทึง ก็ใช้.
【 ทรนาว, ทระนาว 】แปลว่า: [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์สาขานฤมล
แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร.
(ม. คำหลวง จุลพน).
【 ทรพี ๑ 】แปลว่า: [ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า
ทําด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).
【 ทรพี ๒ 】แปลว่า: [ทอระ-] น. เรียกลูกที่ไม่รู้คุณพ่อแม่ว่า ลูกทรพี. ว. เนรคุณถึง
ประทุษร้ายพ่อแม่.
【 ทรมาทรกรรม 】แปลว่า: ทอระมาทอระกํา ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น,
ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
【 ทรมาน 】แปลว่า: [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์,
ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น
ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค.
(ป., ส. ทมน).
【 ทรมุก 】แปลว่า: [ทอระ-] น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี.
(ม. คําหลวง มหาพน).
【 ทรรทึง ๑ 】แปลว่า: ทัน- ก. คอยท่า, ห่วงใย, ทรทึง ก็ใช้. (ข.).
【 ทรรทึง ๒ 】แปลว่า: ทัน- ก. บ่น, บ่นถึง, ทรทึง ก็ใช้.
【 ทรรป 】แปลว่า: [ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความ
เย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก),
ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).
【 ทรรปณ์, ทรรปณะ 】แปลว่า: ทับ, ทับปะนะ น. แว่นส่องหน้า, ทัปนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺปณ;
ป. ทปฺปน).
【 ทรรศนะ 】แปลว่า: [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง,
ทัศนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺศน; ป. ทสฺสน).
【 ทรรศนาการ 】แปลว่า: น. อาการดู.
【 ทรรศนาการ 】แปลว่า: /ดู ทรรศนะ./
【 ทรรศนีย์ 】แปลว่า: [ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทัศนีย์ ก็ใช้. (ส. ทรฺศนีย; ป. ทสฺสนีย).
【 ทรเล่ห์ 】แปลว่า: [ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล.
(ม. คําหลวง มหาพน).
【 ทรวง 】แปลว่า: [ซวง] น. อก, ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อก เป็น ทรวงอก, โดยมาก
ใช้ในบทกลอน, ที่ใช้เป็นสามัญก็มีบ้าง เช่น เย็นทรวง. (ข. ทฺรูง).
【 ทรวด 】แปลว่า: ซวด ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก.
(ม. คําหลวง ทศพร).
【 ทรวดทรง 】แปลว่า: [ซวดซง] น. รูปร่าง, สัณฐาน, (โบ) ซวดทรง.
【 ทรวาร 】แปลว่า: ทอระวาน น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร.
(ม. คําหลวง กุมาร).
【 ทรสองทรสุม 】แปลว่า: ทอระสองทอระสุม ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสอง
ทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
【 ทรสาย 】แปลว่า: ทอระ- น. พุ่มไม้. ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ.
(ม. คําหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี
เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
【 ทรสุม 】แปลว่า: ทอระ- ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุม
สมกิ่งวันนี้. (ม. คําหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุม
ทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คําหลวง จุลพน).
【 ทรหด 】แปลว่า: [ทอระ-] ว. อดทน, บึกบึน, ไม่ย่อท้อ, (มักใช้แก่กริยาสู้).
【 ทรหน 】แปลว่า: ทอระ- น. ทางลําบาก, ทางกันดาร.
【 ทรหวล 】แปลว่า: ทอระ- ว. พัดหอบเอาไป.
【 ทรหึง 】แปลว่า: ทอระ- ว. นาน; เสียงเอ็ดอึง.
【 ทรหึงทรหวล 】แปลว่า: ทอระหึงทอระหวน ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ
พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
【 ทรหู, ทรฮู 】แปลว่า: ทอระ- ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ทรหูรํ่าร้อง.
(ม. คําหลวง ชูชก).
【 ทรเหล 】แปลว่า: ทอระเหน น. ความลําบากในการเดินทางไป เช่น
เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
【 ทรอ 】แปลว่า: ซอ น. ซอ เช่น เสียงสารสังคีตขับทรอท่อ. (ม. คําหลวง
ทานกัณฑ์).
【 ทรอมโบน 】แปลว่า: [ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและบังคับ
เสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว.
(อ. trombone).
【 ทรอึง 】แปลว่า: ทอระ- ก. ถือตัว. (คําฤษดี).
【 ทรอุ้ม 】แปลว่า: ทอระ- ว. ชรอุ่ม, มืด, มืดมัว.
【 ทระนง 】แปลว่า: ทอระ- ก. ทะนง.
【 ทรัพย-, ทรัพย์ 】แปลว่า: [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น
เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่า
มีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
【 ทรัพย์นอกพาณิชย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดย
ชอบด้วยกฎหมาย.
【 ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ 】แปลว่า: (สํา) น. สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติอันอาจนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
【 ทรัพย์มรดก 】แปลว่า: (กฎ) /ดู มรดก./
【 ทรัพย์สมบัติ 】แปลว่า: น. ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้.
【 ทรัพยสิทธิ 】แปลว่า: ซับพะยะสิด น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วย
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิครอบครอง
กรรมสิทธิ์.
【 ทรัพย์สิน 】แปลว่า: (กฎ) น. วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจ
ถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็น
วัตถุไม่มีรูปร่าง.
【 ทรัพย์สินของแผ่นดิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของรัฐ.
【 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
【 ทรัพย์สินส่วนพระองค์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สิน
ที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะ
ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดา
ทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
【 ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์
【 ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน 】แปลว่า:
โดยเฉพาะเป็นต้นว่า พระราชวัง.
【 ทรัพยากร 】แปลว่า: [ซับพะยากอน] น. สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์.
【 ทรัพยากรธรณี 】แปลว่า: น. ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ นํ้ามัน.
【 ทรัพยากรธรรมชาติ 】แปลว่า: น. ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ.
【 ทรัพยากร 】แปลว่า: /ดู ทรัพย-, ทรัพย์./
【 ทรัพยากรธรณี 】แปลว่า: /ดู ทรัพย-, ทรัพย์./
【 ทรัพยากรธรรมชาติ 】แปลว่า: /ดู ทรัพย-, ทรัพย์./
【 ทรัมเป็ต 】แปลว่า: [ทฺรํา-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีเสียงแหลม, ลักษณนามว่าตัว.
(อ. trumpet).
【 ทรานซิสเตอร์ 】แปลว่า: [ทฺราน-] น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสารกึ่ง
ตัวนํา มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสําหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอกใช้
สําหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่
ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยายซึ่งเคลื่อนที่
ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มีขั้วหนึ่งเป็นขั้ว
ร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. transistor).
【 ทราบ 】แปลว่า: [ซาบ] ก. รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว
เรียนมาเพื่อทราบ.
【 ทราบเกล้าทราบกระหม่อม 】แปลว่า: (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป),
【 ใช้ย่อว่า 】แปลว่า:
ทราบเกล้าฯ.
【 ทราบฝ่าพระบาท 】แปลว่า: (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม
ขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า).
【 ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท 】แปลว่า: (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
【 ทราบฝ่าละอองพระบาท 】แปลว่า: (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
【 ทราม 】แปลว่า: [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหล
อาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
【 ทรามชม, ทรามเชย 】แปลว่า: [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
【 ทรามวัย 】แปลว่า: [ซาม-] น. หญิงสาววัยรุ่น.
【 ทรามสงวน, ทรามสวาท 】แปลว่า: [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
【 ทราย ๑ 】แปลว่า: [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน
มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียก
สิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย
กระดาษทราย.
【 ทรายแก้ว 】แปลว่า: น. แร่ควอตซ์ที่มีขนาดเล็กเท่าเม็ดทราย มีลักษณะเป็นสีขาวใสใช้
ในอุตสาหกรรมทําแก้ว.
【 ทรายแป้ง 】แปลว่า: น. ทรายที่มีขนาดละเอียดยิบ. (อ. silt).
【 ทราย ๒ 】แปลว่า: [ซาย] /ดู เนื้อทราย ที่ เนื้อ ๒./
【 ทราย ๓ 】แปลว่า: [ซาย] น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิด /Ensidens ingallsianus/ ในวงศ์
Unionidae อาศัยอยู่ในทราย.
【 ทราย ๔ 】แปลว่า: [ซาย] /ดู ซ่อนทราย (๑)./
【 ทรายขาว 】แปลว่า: [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล /Scolopsis/ วงศ์ Nemipteridae
ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลม
อยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด /S. cancellatus,/
/S. dubiosus./
【 ทริทร 】แปลว่า: ทะริด ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ส.; ป. ทลิทฺท).
【 ทรุด 】แปลว่า: [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกําลังต้านทาน
ไม่พอ เช่น กําแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น “ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะ
ตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกําลังทรุดหนัก, เรียกอาการ
ไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
【 ทรุดโทรม 】แปลว่า: ว. เสื่อมไปเพราะร่วงโรย ครํ่าคร่า หรือตรากตรําเกินไป.
【 ทรุดนั่ง 】แปลว่า: ก. ลดตัวลงนั่ง.
【 ทรุม 】แปลว่า: ทฺรุม, ทฺรุมะ น. ต้นไม้. (ส.; ป. ทุม).
【 ทรู่ 】แปลว่า: ซู่ ก. ลากไป, คร่าไป.
【 ทฤฆ- 】แปลว่า: [ทฺรึคะ-] ว. ยาว, ยืนยาว, เช่น ทฤฆชนม์ ทฤฆชาติ ทฤฆายุ.
(แผลงมาจาก ส. ทีรฺฆ; ป. ทีฆ).
【 ทฤษฎี 】แปลว่า: [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด
เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์
หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??).
(อ. theory).
【 ทฤษฎีบท 】แปลว่า: น. ข้อความที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง และใช้ในการอ้างอิงเพื่อพิสูจน์
ข้อความอื่นได้. (อ. theorem).
【 ทล 】แปลว่า: ทน น. ใบไม้, กลีบดอกไม้. (ป., ส.).
【 ทลบม 】แปลว่า: ทนละบม ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น ทลบมด้วย
รัตจันทน์.
【 ทลอึง 】แปลว่า: ทนละ- ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
【 ทลาย 】แปลว่า: [ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย
เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทําให้พัง เช่น กําแพงทลาย ทลายกําแพง,
มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว
ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
【 ทลิท 】แปลว่า: ทะลิด ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น พราหมณพฤฒาเฒ่าทลิท
ยากยิ่งยาจก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺท).
【 ทลิททก 】แปลว่า: ทะลิดทก ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น ส่วนออเฒ่าพฤฒาทลิททก.
(ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺทก).
【 ทวง 】แปลว่า: ก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน
ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.
【 ทวงถาม 】แปลว่า: (กฎ) ก. เรียกร้องให้ชําระหนี้.
【 ท้วง 】แปลว่า: ก. พูดเป็นทํานองไม่เห็นด้วย; พยุง, ประคอง, พา, เช่น ท้วงตน
หนีไปได้.
【 ท้วงติง 】แปลว่า: ก. ค้านไว้.
【 ท่วงท่า 】แปลว่า: น. การรู้จักวางกิริยาท่าทาง.
【 ท่วงทำนอง 】แปลว่า: น. ลีลาที่เป็นไปตามจังหวะหรือทํานอง.
【 ท่วงที 】แปลว่า: น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
【 ทวด 】แปลว่า: น. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.
【 ทวดน้อย 】แปลว่า: น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
【 ทวดึงส์, ทวัตดึงส์ 】แปลว่า: ทะวะดึง, ทะวัดดึง ว. สามสิบสอง. (ป. ทฺวตฺต??ส; ส.
【 ทฺวาตฺร??ศตฺ). 】แปลว่า:
【 ทวัตดึงสาการ 】แปลว่า: (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เป็นต้น.
【 ทวน ๑ 】แปลว่า: น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาว
มาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดาน
ต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทําด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสําหรับ
ยึดรูปพรรณอีกข้างหนึ่งสําหรับยึดกับฐานที่ทําไว้โดยเฉพาะเพื่อ
นั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่ง
ติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำ
ไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลาย
คันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสําหรับรองตะคัน
อบนํ้าหอม.
【 ทวน ๒ 】แปลว่า: ก. ฝ่ากระแสนํ้าหรือกระแสลม ในคําว่า ทวนนํ้า ทวนลม, เอาใบพาย
รานํ้าไว้เพื่อชะลอให้เรือหยุด; กลับมาตั้งต้นใหม่, กลับซํ้าใหม่, เช่น
อ่านทวน ทวนเพลง; ย้อนทาง เช่น ทวนเข็มนาฬิกา ทวนแสง; เฆี่ยนตี
ด้วยลวดหนัง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
ทวนกระแสจิต ทวนกระแสโลก.
【 ทวนทบ 】แปลว่า: ก. ย้อนกลับทําซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยํา, ทบทวน ก็ว่า.
【 ทวนสบถ 】แปลว่า: ก. ไม่ทําตามคําสบถ.
【 ทวนสาบาน 】แปลว่า: ก. ไม่ทําตามคําสาบาน.
【 ท้วน 】แปลว่า: ว. อ้วนแข็งแรง, ใช้พูดประกอบกับคํา อ้วน เป็น อ้วนท้วน.
【 ท่วม 】แปลว่า: ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว
เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
【 ท่วมท้น 】แปลว่า: ว. มากมายเหลือล้น เช่น ได้คะแนนเสียงท่วมท้น.
【 ท้วม, ท้วม ๆ 】แปลว่า: ว. มีรูปร่างสันทัดอ้วนน้อย ๆ และไม่สูงใหญ่ เช่น ผู้หญิงคนนี้ท้วม;
กลมกล่อม, นุ่มนวล, พอสมควร, พอประมาณ, เช่น พอท้วม ๆ.
【 ทวย ๑ 】แปลว่า: น. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.
【 ทวยโถง 】แปลว่า: (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
【 ทวย ๒ 】แปลว่า: น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี;
วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงิน
ทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่
ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
【 ท่วย 】แปลว่า: (กลอน) น. หมู่, เหล่า.
【 ท่วยโถง 】แปลว่า: (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ทวยโถง ก็ใช้.
【 ท้วย 】แปลว่า: (กลอน) ว. อ่อนช้อย, งอน.
【 ทวยะ 】แปลว่า: [ทะวะยะ] น. หมวด ๒, ส่วนทั้ง ๒. (ป., ส.).
【 ทวอย 】แปลว่า: [ทะ-] น. ชื่อเพลงร้องรําอย่างหนึ่ง.
【 ทวัย 】แปลว่า: ทะไว น. หมวด ๒, ส่วนทั้ง ๒. (ป., ส.).
【 ทวา 】แปลว่า: ทะวา ว. สอง. (ป., ส. ทฺวา).
【 ทวาตรึงประดับ 】แปลว่า: น. ชื่อโคลงโบราณ.
【 ทวาทศะ 】แปลว่า: [ทะวาทะสะ] ว. สิบสอง (ส. ทฺวาทศนฺ; ป. ทฺวาทส).
【 ทวาทศม- 】แปลว่า: [ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).
【 ทวาทศมณฑล 】แปลว่า: น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี; ชื่อมาตราวัดจักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร
เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑลหนึ่ง. (ส.).
【 ทวาทศี 】แปลว่า: ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศีดิถี = วัน ๑๒ คํ่า. (ส.).
【 ทวาบร 】แปลว่า: [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
【 ทวาบรยุค 】แปลว่า: [ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้
ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับ
ในสมัยกฤดายุค. /(ดู จตุรยุค)./
【 ทว่า 】แปลว่า: [ทะว่า] สัน. แต่ถ้าว่า, แต่ว่า, ย่อมาจาก แต่ทว่า.
【 ทวาย ๑ 】แปลว่า: [ทะ-] น. ชื่อเมืองทางภาคใต้ของประเทศพม่า, เรียกชาวเมืองนั้นว่า
ชาวทวาย.
【 ทวาย ๒ 】แปลว่า: [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ทวาย ๓ 】แปลว่า: [ทะ-] น. ชื่อยําชนิดหนึ่ง มีผักลวก เช่น ผักบุ้ง กะหลํ่าปลี ถั่วงอก
ราดด้วยหัวกะทิ นํ้าพริกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว
เรียกว่า ยําทวาย.
【 ทวาร, ทวาร- 】แปลว่า: [ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น
ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง
เช่น กายทวาร. (ป., ส.).
【 ทวารทั้งเก้า 】แปลว่า: น. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑
ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.
【 ทวารบถ 】แปลว่า: [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกําแพงเชิงเทินป้อมปราการ
ที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
【 ทวารบาล 】แปลว่า: [ทะวาระบาน] น. ผู้เฝ้าประตู, นายประตู. (ป.).
【 ทวารประดับ 】แปลว่า: [ทะวาน-] น. ชื่อโคลงโบราณ, สกัดแคร่ ก็เรียก.
【 ทวิ 】แปลว่า: ทะวิ ว. สอง. (ป., ส.).
【 ทวิช, ทวิช- 】แปลว่า: ทะวิด, ทะวิชะ- น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด
๒ หน).
【 ทวิชงค์ 】แปลว่า: น. พราหมณ์. (ส.).
【 ทวิชชาติ 】แปลว่า: น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป., ส.).
【 ทวิชากร 】แปลว่า: ทะวิ- น. ฝูงนก. (ส.).
【 ทวิชาติ 】แปลว่า: น. นก; พราหมณ์. (ส. ทฺวิชาติ ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
【 ทวิบถ 】แปลว่า: น. สถานที่ที่ทางทั้ง ๒ ตัดผ่านกัน, สี่แยก. (ส.).
【 ทวิบท, ทวิบาท 】แปลว่า: น. สัตว์สองเท้า. (ส.).
【 ทวิป 】แปลว่า: น. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).
【 ทวิภาค 】แปลว่า: น. ๒ ส่วน. (ส.).
【 ทวิภาคี 】แปลว่า: (การทูต) ว. สองฝ่าย. น. เรียกสัญญาระหว่างประเทศที่มีคู่สัญญา
๒ ฝ่ายว่า สัญญาทวิภาคี (bilateral treaty).
【 ทวิช, ทวิช- 】แปลว่า: /ดู ทวิ./
【 ทวิชชาติ 】แปลว่า: /ดู ทวิ./
【 ทวิตียะ, ทวิตียา 】แปลว่า: ทะวิ- ว. ที่ ๒. (ส.).
【 ทวิป 】แปลว่า: /ดู ทวิ./
【 ทวิระ 】แปลว่า: ทะวิ- ว. สอง. (ส.).
【 ทวี 】แปลว่า: [ทะวี] ก. เพิ่มขึ้น, มากขึ้น, เช่น งานทวีขึ้น. (ป., ส. ทฺวิ).
【 ทวีคูณ 】แปลว่า: ว. ๒ เท่า. (ส. ทฺวิคุณ; ป. ทิคุณ).
【 ทวีธาภิเษก 】แปลว่า: น. ชื่อพระราชพิธีการสมโภชที่รัชกาลที่ ๕ ได้ครองราชสมบัติ
ยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทําขึ้น
เป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
【 ทวีธาภิเษก 】แปลว่า: /ดู ทวี/.
【 ทวีป 】แปลว่า: [ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง
มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนืออเมริกาใต้
และแอนตาร์กติกา บางทวีปกําหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีป
ออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกําหนดภูเขา ทะเล แหล่ง
อารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชียทวีปยุโรป; (โบ)
เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่ามี ๔ ทวีป
คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป
๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).
【 ทวีปี 】แปลว่า: ทะวี- น. เสือ, เสือดาว. (ส.).
【 ทศ ๑, ทศ- 】แปลว่า: [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า
เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็น
ส่วนหน้าสมาส.
【 ทศกัณฐ์ 】แปลว่า: น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
【 ทศชาติ 】แปลว่า: น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ ๑๐ ชาติ.
【 ทศทิศ 】แปลว่า: น. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑. (ส.).
【 ทศนิยม 】แปลว่า: น. จํานวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกําหนดจุดจุดหนึ่งให้อยู่ข้างหน้า
หรืออยู่ระหว่างตัวเลขต่าง ๆ เช่น .๘๕๖, ๑๒.๐๘. (อ. decimal).
【 ทศเบญจกูล 】แปลว่า: น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตําราแพทย์แผนโบราณ.
【 ทศพร 】แปลว่า: น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
【 ทศพล 】แปลว่า: น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า.
【 ทศพิธราชธรรม 】แปลว่า: น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจํา
พระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมืองมี ๑๐ ประการ
ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. บริจาค – ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ –
ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ
๘. อวิหิงสา – ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐.
อวิโรธนะ – ความไม่คลาดจากธรรม.
【 ทศมาส 】แปลว่า: น. ๑๐ เดือน.
【 ทศวรรษ 】แปลว่า: น. รอบ ๑๐ ปี. (อ. decade).
【 ทศ ๒, ทศา 】แปลว่า: ทด, ทะสา น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).
【 ทศม- 】แปลว่า: ทะสะมะ-, ทดสะมะ- ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน =
วันที่ ๑๐. (ส.).
【 ทศมี 】แปลว่า: ทะสะมี, ทดสะมี ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมีดิถี = วัน ๑๐ คํ่า. (ส.).
【 ทศางค์ 】แปลว่า: [ทะสาง] น. มาตราวัดนํ้าฝนเท่ากับ ๑๐ สตางค์ เป็น ๑ ทศางค์,
และ ๑๐ ทศางค์ เป็น ๑ นิ้ว.
【 ทสา 】แปลว่า: ทะ- น. ชายผ้า, ชายครุย. (ป.).
【 ทหระ 】แปลว่า: ทะหะ- น. เด็ก. ว. หนุ่ม. (ป., ส.).
【 ทหาร 】แปลว่า: [ทะหาน] น. ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ. (อะหม หาน ว่า นักรบ).
【 ทหารกองเกิน 】แปลว่า: (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์และยังไม่ถึง
๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง
๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอพร้อมกับ
คนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับ
ราชการทหารแล้ว.
【 ทหารกองประจำการ 】แปลว่า: (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการ
ในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
【 ทหารเกณฑ์ 】แปลว่า: (ปาก) น. ทหารกองประจำการ.
【 ทหารผ่านศึก 】แปลว่า: (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ในราชการทหารหรือบุคคล
ซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่
นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร
หรือในการปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ
ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง
ราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานักนายกรัฐมนตรีกําหนด.
【 ทหารเลว 】แปลว่า: (โบ) น. พลทหาร.
【 ทอ ๑ 】แปลว่า: ก. พุ่งเส้นด้ายหรือเส้นไหมเป็นต้นให้ขัดกับเส้นยืนในเครื่องทอ เช่น
ทอผ้า ทอไหม ทอกระสอบ ทอเสื่อ.
【 ทอแสง 】แปลว่า: ก. ฉายแสงอ่อน ๆ ขึ้นมา เช่น ตะวันทอแสง.
【 ทอหูก 】แปลว่า: ก. ทอผ้าด้วยหูก.
【 ทอ ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) ก. ขวิด, กระทบ, ชน, เช่น วัวควายทอคนตาย.
【 ท่อ ๑ 】แปลว่า: น. สิ่งสําหรับให้สิ่งอื่นมีนํ้าเป็นต้นผ่านไปได้ มักมีลักษณะกลม
รูปคล้ายปล่อง เช่น ท่อนํ้า ท่อลม.
【 ท่อคงคา 】แปลว่า: น. ส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น.
【 ท่อลม 】แปลว่า: น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างที่อยู่ระหว่างกล่องเสียงกับ
หลอดลม. (อ. trachea; windpipe).
【 ท่อไอเสีย 】แปลว่า: น. ท่อที่ต่อจากห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพื่อระบายแก๊สและช่วย
ลดเสียงระเบิดที่เกิดจากการเผาไหม้.
【 ท่อ ๒ 】แปลว่า: (โบ) ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก กูไปท่อบ้าน
ท่อเมือง. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
【 ท่อ ๓ 】แปลว่า: ก. โต้ตอบ, ประสาน, เช่น นกท่อเสียงกัน.
【 ท่อถ้อย 】แปลว่า: น. คําโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท้อถ้อย ก็มี.
【 ท่อ ๔ 】แปลว่า: (ถิ่น-อีสาน) ว. เท่า, เสมอ.
【 ท้อ, ท้อใจ 】แปลว่า: ก. ไม่มีกําลังใจจะสู้.
【 ท้อถอย 】แปลว่า: ก. มีความพยายามลดน้อยถอยลง.
【 ท้อแท้ 】แปลว่า: ก. อ่อนเปลี้ยเพลียใจ.
【 ท้อ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Prunus persica/ (L.) Batsch ในวงศ์ Rosaceae
ผลกินได้, พายัพเรียก หมากม่วน.
【 ท้อ ๓ 】แปลว่า: (กลอน) ก. กล่าว, โต้, เถียง.
【 ท้อถ้อย 】แปลว่า: น. คําโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท่อถ้อย ก็มี.
【 ทอก 】แปลว่า: น. โบราณเรียกนกยางชนิดหนึ่งว่า ยางทอก; เรียกหมูขนาดใหญ่
เขี้ยวตันว่า หมูทอก; เรียกช้างตัวใหญ่ ๆ ที่เป็นจ่าฝูงว่า อ้ายทอก.
【 ทอง ๑ 】แปลว่า: น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า
เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา;
เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง,
โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง
แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะ
สีเป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม
มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง
หรือแดงส้ม.
【 ทองกร, ทองพระกร 】แปลว่า: (ราชา) น. กําไลมือ.
【 ทองขาว 】แปลว่า: (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้อาจหมายถึง
โลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ
จานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็นทางเดินของ
กระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่าขาดวงจรเพื่อ
ให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้มีประกายไฟฟ้า
ขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.
【 ทองคำ 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจน
มีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณต่าง ๆ
และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วยหน่วย
กะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด,
โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด
ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖
บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔),
ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ
ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า
ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
【 ทองคำขาว 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเป็นเงางาม บุให้เป็น
แผ่นหรือรีดให้เป็นเส้นลวดได้ ประกอบด้วยทองคําเจือโลหะอื่น เช่น
เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียมเพื่อให้ได้สีเงินคล้ายแพลทินัม มัก
ใช้ทําเครื่องรูปพรรณ. (อ. white gold).
【 ทองคำเปลว 】แปลว่า: น. ทองคําที่ตีแผ่ให้บางที่สุด ตัดใส่แผ่นกระดาษใช้สําหรับปิดบน
สิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป.
【 ทองเค 】แปลว่า: น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า
ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ
อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง
๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
【 ทองจังโก 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์
พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
【 ทองชมพูนุท 】แปลว่า: น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้มออกแดง, ทองเนื้อเก้า
ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.
【 ทองชุบ 】แปลว่า: น. โลหะชุบทอง, ทองวิทยาศาสตร์ ก็เรียก.
【 ทองดอกบวบ 】แปลว่า: น. ทองเนื้อหก มีสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ.
【 ทองดำ ๑ 】แปลว่า: น. ทองชนิดหนึ่ง โบราณเข้าใจกันว่ามีสีเนื้อดํา นับถือเป็นของวิเศษ.
【 ทองแดง ๑ 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓?ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นบางและรีด
เป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี. (อ. copper).
【 ทองต้นแขน 】แปลว่า: น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, พาหุรัด ก็ว่า.
【 ทองตะกู 】แปลว่า: น. ทองตะโก.
【 ทองตะโก 】แปลว่า: น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบนแผ่นตะกั่ว
ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ
ทองตากู ก็เรียก.
【 ทองตากู 】แปลว่า: น. ทองตะโก.
【 ทองทราย 】แปลว่า: น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มีพื้นทาทองให้
เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
【 ทองทศ 】แปลว่า: น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาล
ที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.
【 ทองทึบ 】แปลว่า: ว. มีพื้นเป็นทองทึบทั้งหมด.
【 ทองธรรมชาติ ๑ 】แปลว่า: น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้
ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
【 ทองนพคุณ 】แปลว่า: น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพ
ของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่าทองเนื้อเก้า หรือ
ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้
หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
【 ทองนพคุณเก้าน้ำ 】แปลว่า: น. ทองนพคุณ.
【 ทองนอก 】แปลว่า: น. ทองเค.
【 ทองเนื้อเก้า 】แปลว่า: น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึง
เนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก๑ บาท ราคา
๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท
ก็เรียก.
【 ทองเนื้อแท้ 】แปลว่า: น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ
ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
【 ทองบรอนซ์ 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก,
ทองสัมฤทธิ์ หรือ สัมฤทธิ์ ก็เรียก. (อ. bronze).
【 ทองใบ 】แปลว่า: น. ทองคําที่แผ่ให้เป็นแผ่นบาง ๆ.
【 ทองปราย 】แปลว่า: (โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปรายทุกคน.
(รามเกียรติ์ ร. ๑).
【 ทองปลายแขน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดข้อมือ.
【 ทองแป 】แปลว่า: (โบ) น. ชื่อเหรียญทองตราโบราณที่ใช้แลกเปลี่ยนกันได้อย่างเงินตรา.
【 ทองแผ่นเดียวกัน 】แปลว่า: (สํา) ว. เกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน.
【 ทองพระบาท 】แปลว่า: น. (ราชา) กำไลเท้า.
【 ทองพัดดึงส์ 】แปลว่า: น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาล
ที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
【 ทองพิศ 】แปลว่า: น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่
๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.
【 ทองไม่รู้ร้อน 】แปลว่า: (สํา) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.
【 ทองรูปพรรณ 】แปลว่า: [-รูบปะพัน] น. ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ.
【 ทองแล่ง 】แปลว่า: น. ทองคําที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สําหรับปักหรือทอผ้า.
【 ทองวิทยาศาสตร์ 】แปลว่า: น. โลหะชุบทอง, ทองชุบ ก็เรียก.
【 ทองสักโก 】แปลว่า: น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกัน
การผุกร่อน, พายัพเรียก ทองจังโก.
【 ทองสัมฤทธิ์ 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก,
สัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก.
【 ทองหมั้น 】แปลว่า: น. ทองคําที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความมั่นหมาย
ว่าจะแต่งงานด้วย.
【 ทองหยอง 】แปลว่า: (ปาก) น. ทองรูปพรรณ.
【 ทองหยอด 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงประสมแป้งเล็กน้อยหยอดเป็น
ลูกกลม ๆ อย่างหยดนํ้าในนํ้าเชื่อมเดือด ๆ, ลักษณนามว่า ลูก.
【 ทองหยิบ 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อยหยอด เป็นแผ่น
เล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อนออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ
๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
【 ทองเหลือง 】แปลว่า: น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงและสังกะสี ลักษณะ
เป็นโลหะสีเหลือง.
【 ทองอังกฤษ 】แปลว่า: น. เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคําหรือสีอื่น ๆ
ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้น.
【 ทองเอก 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียวทิ้งไว้ให้เย็น
แล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัดใส่พิมพ์เป็นรูป
ต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
【 ทอง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล /Butea/ วงศ์ Leguminosae ชนิด
/B. monosperma /(Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ
ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด/ B. superba Roxb./
เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
【 ทอง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่า
ทองย่อน ทองย้อย.
【 ท่อง 】แปลว่า: ก. เดินก้าวไปในนํ้า เช่น ท่องนํ้า; ว่าซํ้า ๆ ให้จําได้ เช่น ท่องหนังสือ.
【 ท่องจำ 】แปลว่า: ก. ท่องบ่นจนจําได้, ท่องบ่นจนขึ้นใจ.
【 ท่องเที่ยว 】แปลว่า: ก. เที่ยวไป.
【 ท่องสื่อ 】แปลว่า: น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตรท่องสื่อใหญ่.
(พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่าธุระ, การงาน).
【 ท้อง 】แปลว่า: น. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดือ
อยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง;
พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่
ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ
ท้องร่อง. ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.
【 ท้องกาง 】แปลว่า: ว. เรียกท้องที่กางออกมากกว่าปรกติเพราะกินเกินขนาด.
【 ท้องกิ่ว 】แปลว่า: ว. หิวจัด, มักใช้เข้าคู่กับคำ ท้องแขวน เป็น ท้องกิ่วท้องแขวน เช่น
หิวจนท้องกิ่วท้องแขวน, ไส้กิ่วไส้แขวน ก็ว่า.
【 ท้องแก่ 】แปลว่า: ว. มีครรภ์จวนจะคลอด.
【 ท้องขาว ๑ 】แปลว่า: น. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียน.
(พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียว
ชายกรวย. (พงศ. เลขา).
【 ท้องขึ้น 】แปลว่า: ว. อาการที่ท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น; เรียกปลาจวนจะ
เน่าว่า ปลาท้องขึ้น.
【 ท้องขึ้นท้องพอง 】แปลว่า: ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือ
กล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
【 ท้องแข็ง 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องคัดท้องแข็ง ก็ว่า.
【 ท้องแขน 】แปลว่า: น. ส่วนของแขนด้านใน มีลักษณะโค้งนูน.
【 ท้องแขวน 】แปลว่า: [-แขฺวน] ว. หิวจัด, มักใช้เข้าคู่กับคำ ท้องกิ่ว เป็นท้องกิ่วท้องแขวน
เช่น หิวจนท้องกิ่วท้องแขวน, ไส้กิ่วไส้แขวน ก็ว่า.
【 ท้องคัดท้องแข็ง 】แปลว่า: ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.
【 ท้องคุ้ง 】แปลว่า: น. ส่วนกลางของคุ้งนํ้า.
【 ท้องฉนวน 】แปลว่า: น. ทางเดินสําหรับฝ่ายในซึ่งกั้นด้วยผ้าหรือม่านเป็นต้น.
【 ท้องเดิน 】แปลว่า: ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ.
【 ท้องตรา 】แปลว่า: น. หนังสือคําสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิมเรียกว่า
สารตรา.
【 ท้องตลาด 】แปลว่า: น. ตลาดทั่ว ๆ ไป, ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ.
【 ท้องถิ่น 】แปลว่า: น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่นประเพณีท้องถิ่น; (กฎ)
พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล.
【 ท้องที่ 】แปลว่า: น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัดท้องที่อําเภอ ท้องที่
ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองส่วน
ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่
ในเขตอํานาจของพนักงานสอบสวนหรือศาล.
【 ท้องน่อง 】แปลว่า: น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้านตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
【 ท้องน้อย 】แปลว่า: น. ส่วนของท้องระหว่างสะดือกับหัวหน่าว.
【 ท้องแบน 】แปลว่า: น. ชื่อเรือชนิดหนึ่งมีท้องแบน กินนํ้าตื้น สําหรับลําเลียงทหารหรือ
อาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นบก.
【 ท้องปลิง 】แปลว่า: น. ชื่อตะไบชนิดหนึ่ง มีรูปเหมือนท้องปลิง คือข้างหนึ่งกลม อีกข้างหนึ่ง
แบน. ว. เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่มีรูปเหมือนท้องปลิงเช่น กําไลท้องปลิง.
【 ท้องผุท้องพัง 】แปลว่า: ว. เรียกท้องปลาทูเป็นต้นที่ไม่ค่อยสด เมื่อทอดแล้วมีลักษณะแตกโหว่.
【 ท้องผูก 】แปลว่า: ว. อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลําบาก.
【 ท้องพระคลัง 】แปลว่า: น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
【 ท้องพระโรง 】แปลว่า: น. ห้องโถงใหญ่ในพระราชวังหรือในวังของพระราชโอรสพระราชธิดา.
【 ท้องพลุ 】แปลว่า: (โบ) น. ขนมทองพลุ.
【 ท้องพอง 】แปลว่า: ว. ท้องอืด, ใช้เข้าคู่กับคํา ท้องขึ้น เป็น ท้องขึ้นท้องพอง.
【 ท้องเฟ้อ 】แปลว่า: ว. อาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อยและเป็นพิษ.
【 ท้องมาน 】แปลว่า: น. ชื่อโรคจําพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
【 ท้องไม้ 】แปลว่า: น. ส่วนกลางของฐานที่เป็นหน้าเรียบ.
【 ท้องยุ้งพุงกระสอบ 】แปลว่า: (สํา) น. คนกินจุ. (ปาก) ว. ที่กินจุผิดปรกติ.
【 ท้องร่วง 】แปลว่า: ว. อาการที่ท้องเดินอย่างแรง.
【 ท้องร่อง 】แปลว่า: น. ทางนํ้าที่ขุดลงไปเป็นลํารางเพื่อขังนํ้าไว้รดต้นไม้เป็นต้น.
【 ท้องเรื่อง 】แปลว่า: น. เนื้อเรื่องที่ดําเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ.
【 ท้องลาน 】แปลว่า: ว. มีรูปแบน ๆ เหมือนท้องแห่งลาน อย่างรูปคันกระสุนที่เหลาแบน ๆ.
【 ท้องเล็น 】แปลว่า: ว. เรียกข้าวสารที่หุงยังไม่สุกดี ยังมีแกนเมล็ดข้าวเหลืออยู่บ้างว่า
ข้าวท้องเล็น.
【 ท้องเลว 】แปลว่า: ว. โซ, อดอยาก, เช่น ชะรอยผีท้องเลวในเหวถํ้า. (ไกรทอง).
【 ท้องสาว 】แปลว่า: น. ท้องลูกคนแรก.
【 ท้องสำนวน 】แปลว่า: น. เนื้อหาของเรื่อง.
【 ท้องเสีย 】แปลว่า: ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตามปรกติทําให้
ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
【 ท้องหมา 】แปลว่า: น. หน้าท้องแฟบ, เรียกครรภ์ของหญิงที่มีลักษณะเล็ก.
【 ท้องหมู 】แปลว่า: น. หน้าท้องมีไขมันมากอย่างท้องคนอ้วน, เรียกครรภ์ของหญิงที่มี
ลักษณะใหญ่มาก.
【 ท้องแห้ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. ฝืดเคือง, อด.
【 ท้องอัสดงคต 】แปลว่า: น. รูปบัวประกอบฐานผนังโบสถ์ หัวท้ายงอนขึ้น.
(รูปภาพ ท้องอัสดงคต)
【 ท้องอืด 】แปลว่า: ว. อาการที่ท้องขึ้นทําให้รู้สึกอึดอัด.
【 ทองกวาว 】แปลว่า: -กฺวาว น. ต้นทอง. /(ดู ทอง ๒)./
【 ท้องขาว ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ท้อง./
【 ท้องขาว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด /Rattus rattus/ ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาล
อ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดําพาดขวาง
หน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ยกับความยาวของ
ส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหารมีชุกชุมทั่วทุกภาค
ของประเทศไทย.
【 ทองเครือ 】แปลว่า: /ดู ทอง ๒./
【 ทองดำ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ทอง ๑./
【 ทองดำ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Mangifera indica /L. ผลสีเขียว
ค่อนข้างดํา.
【 ทองดำ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด /Acheta bimaculatus/ ในวงศ์ Gryllidae ลําตัว
ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร อกกว้างประมาณ ๙ มิลลิเมตร
โดยทั่วไปสีดําตลอดทั้งตัว ยกเว้นบริเวณโคนปีกคู่แรกมีจุดโต
สีเหลืองหรือแดงปนเหลือง ๒ จุด ขาคู่สุดท้ายสีนํ้าตาลแดง.
【 ทองแดง ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ทอง ๑./
【 ทองแดง ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด /Gryllus testaceus/ ในวงศ์ Gryllidae ตัวยาว
ประมาณ ๒.๘ เซนติเมตร อกกว้างประมาณ ๘ มิลลิเมตร โดย
ทั่วไปสีนํ้าตาลทั้งตัว โดยเฉพาะด้านล่างของหัว อก ท้อง และ
ขาส่วนทางด้านหลังสีนํ้าตาลอมแดง ลายปีกเป็นเส้นสีนํ้าตาล
ยาวเกือบตลอด.
【 ทองธรรมชาติ ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ทอง ๑./
【 ทองธรรมชาติ ๒ 】แปลว่า: /ดู ทอง ๒./
【 ทองปลายแขน ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ทอง ๑./
【 ทองปลายแขน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด/ Mangifera indica/ L. ผลยาว
ปลายงอ.
【 ทองเผือก 】แปลว่า: /ดู ทองหลาง./
【 ทองพระขุน 】แปลว่า: (ราชา) น. ขุนเพ็ด.
【 ทองพลุ 】แปลว่า: น. ขนมแป้งทอดชนิดหนึ่ง ทอดเป็นก้อนกลมแล้วผ่ายัดไส้ภายหลัง,
โบราณเรียก ท้องพลุ. (ปาเลกัว).
【 ท้องพลุ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด/ Machrochirichthys machrochirus/ ในวงศ์
Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อก
เชิดขึ้นและต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลําตัว
สีเขียวอมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและ
แหล่งนํ้าขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้
เรียกปลาแปบบางชนิด. /(ดู แปบ ๒)./
【 ทองพันชั่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Rhinacanthus nasutus/ Kurz ในวงศ์
Acanthaceae ดอกสีขาว ใบและรากใช้ทํายาได้.
【 ทองพันดุล 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Decaschistia parviflora /Kurz ในวงศ์
Malvaceae ดอกสีชมพูอมส้ม.
【 ทองภู 】แปลว่า: น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ทองม้วน 】แปลว่า: น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งประสมกับกะทิและไข่ เทราดลงใน
พิมพ์ซึ่งมักมีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผิงไฟให้สุกแล้วม้วน
เป็นหลอด, ถ้าพับเป็นชิ้น เรียก ทองพับ, มีทั้งอย่างรสเค็มและรสหวาน.
【 ทองย้อย 】แปลว่า: น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
【 ทองลิน 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Labiobarbus kuhlii/ ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่าง
ยาวเรียว แบนข้าง หนวดสั้น ครีบหลังยาวทํานองเดียวกับปลาซ่าซึ่ง
อยู่ในสกุลเดียวกัน เกล็ดข้างลําตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นสาย
ตามยาวหลายเส้น ที่คอดหางมีจุดใหญ่สีดํา ขนาดยาวกว่า ๒๐
เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก.
【 ทองหลาง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล/ Erythrina/ วงศ์ Leguminosae เช่น
ทองหลางป่า [/E. subumbrans /(Hassk.) Merr.], ทองหลางลาย
หรือ ทองเผือก (/E. variegata / L.), ทองหลางนํ้า หรือ ทองโหลง
(/E. fusca/ Lour.) ดอกออกเป็นช่อสีแดงคล้ำ.
【 ทองโหลง 】แปลว่า: /ดู ทองหลาง./
【 ทองอุไร 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด /Tecoma stans/ (L.) Kunth ในวงศ์ Bignoniaceae
ขอบใบหยัก ดอกสีเหลืองสด รูปแตร, พวงอุไร ก็เรียก.
【 ทอด ๑ 】แปลว่า: น. ระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น นอนทอดเดียวตลอดคืนขึ้นรถ
๒ ทอด, ระยะเดียวหรือหลายระยะต่อเนื่องกัน เช่น มรดกตกทอด
ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ.
【 ทอด ๒ 】แปลว่า: ก. ทําให้สุกด้วยนํ้ามันเป็นต้นที่เดือด เช่น ทอดปลา ทอดเนื้อ,
เรียกสิ่งที่ทําให้สุกเช่นนั้น เช่น ปลาทอด เนื้อทอด.
【 ทอดมัน 】แปลว่า: น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาปลาหรือกุ้งผสมกับนํ้าพริกโขลกให้เข้ากัน
จนเหนียวแล้วทอดในนํ้ามัน.
【 ทอด ๓ 】แปลว่า: ก. ทิ้ง เช่น มันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย. (สามดวง), ปล่อย, วาง,
เช่น ทอดธุระ ทอดทุ่น; พาดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น ทอด
สะพาน, เหยียดยาวออกไป เช่น ทอดแขน ทอดขา; ปล่อยลง, ทิ้งลง,
เช่น ทอดหมากเก็บ ทอดลูกเต๋า.
【 ทอดกฐิน 】แปลว่า: ก. ทําพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์.
【 ทอดโกลน 】แปลว่า: [-โกฺลน] น. เอาไม้ท่อนกลม ๆ วางเป็นระยะเพื่อลากของที่หนักมาบนนั้น.
【 ทอดตัว 】แปลว่า: ก. เอนตัวลงนอน.
【 ทอดตา 】แปลว่า: ก. แลไป, มองดูในระยะไกล.
【 ทอดทฤษฎี 】แปลว่า: (แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอดทฤษฎี. (เสือโค).
【 ทอดทิ้ง 】แปลว่า: ก. ละเลย, ทิ้งขว้าง, ไม่เอาเป็นธุระ, ไม่เอาใจใส่, ไม่นําพา.
【 ทอดที่ 】แปลว่า: (ราชา) ก. จัดที่นั่งที่นอน เช่น ทอดที่พระราชอาสน์.
【 ทอดน่อง 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินช้า ๆ ตามสบาย.
【 ทอดน้ำ 】แปลว่า: ก. วางนํ้าให้สัตว์เช่นช้างม้าเป็นต้นกิน.
【 ทอดผ้าป่า 】แปลว่า: ก. เอาผ้าถวายพระโดยวางไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง, โดยปริยาย
หมายถึงอาการที่วางไว้อย่างนั้น เช่น ทอดผ้าป่าเรียงวางไว้กลาง
สนาม. (อภัย).
【 ทอดพระที่ 】แปลว่า: (ราชา) ก. จัดที่บรรทม (ใช้แก่เจ้านาย).
【 ทอดพระเนตร 】แปลว่า: (ราชา) ก. ดู.
【 ทอดยอด 】แปลว่า: ก. เลื้อยไป (ใช้แก่ยอดไม้เลื้อย). (ราชา) น. ผักบุ้ง เรียกว่า ผักทอดยอด.
【 ทอดรวง 】แปลว่า: ก. ออกรวง (ใช้แก่ต้นข้าว).
【 ทอดสกา 】แปลว่า: ก. เทลูกเต๋าลงในเติ่ง.
【 ทอดสนิท 】แปลว่า: ก. ผูกไมตรี, สร้างความสัมพันธ์, เช่น ซื้อของมาฝากบ่อย ๆ
เพื่อทอดสนิทให้เขารัก.
【 ทอดสมอ 】แปลว่า: ก. ทิ้งสมอลงไปในนํ้าเพื่อให้เรือจอดอยู่กับที่.
【 ทอดสะพาน 】แปลว่า: ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ต้องการคุ้นเคย,
แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
【 ทอดสายตา 】แปลว่า: ก. มองด้วยอาการสํารวม; ใช้สายตาเป็นสื่อ.
【 ทอดเสียง 】แปลว่า: ก. เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปรกติ.
【 ทอดหญ้า 】แปลว่า: ก. วางหญ้าให้สัตว์เช่นช้างม้าเป็นต้นกิน.
【 ทอดหุ่ย 】แปลว่า: (ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องตามราว, อาการ
ที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอนว่า นอนทอดหุ่ย.
【 ทอดแห 】แปลว่า: ก. เหวี่ยงแหให้แผ่กว้างออกไปเพื่อจับปลาเป็นต้น.
【 ทอดอาลัย 】แปลว่า: ก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือมีความ
เสียดายอยู่.
【 ทอน 】แปลว่า: ก. ตัดหรือหั่นให้เป็นท่อน เช่น ทอนฟืน, ทําให้ลดลงหรือให้สั้นลง
เช่น ทอนกําลัง ทอนอายุ; หักจํานวนเงินตามราคาแล้วคืนส่วน
ที่เหลือไป เช่น ทอนเงิน ทอนสตางค์.
【 ท่อน 】แปลว่า: น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง
ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน
๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น
ฟืนท่อนหนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
【 ทอนซิล 】แปลว่า: น. ปุ่มเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง อยู่ในบริเวณลําคอข้างละปุ่ม มีหน้าที่ช่วย
ป้องกันการแผ่กระจายของแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางลําคอ.
(อ. tonsil).
【 ทอฟฟี่ 】แปลว่า: น. ของหวานแบบฝรั่ง ใช้อม ทําด้วยนํ้าตาลกวนกับนมหรือเนย
เป็นต้น มักปั้นเป็นก้อนห่อกระดาษแก้วบิดหัวท้าย. (อ. toffee).
【 ท่อม ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินก้ม ๆ เงย ๆ ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีจุดหมายที่แน่นอน.
【 ทอย ๑ 】แปลว่า: ก. โยนให้เรียดหรือเรี่ยดินไปให้ถูกเป้า.
【 ทอยกอง 】แปลว่า: น. ชื่อการเล่นพนันอย่างหนึ่ง ใช้สตางค์หรือสิ่งอื่นตั้งซ้อน ๆ กัน
แล้วทอยให้ล้ม.
【 ทอย ๒ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม.
ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียก
ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย,
เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.
【 ทอร์นาโด 】แปลว่า: น. ชื่อพายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกด
อากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุ
มีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวง
ยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ
สหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ
ลมงวงช้าง ก็เรียก. (อ. tornado).
【 ทอเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐?ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีใช้ประโยชน์
นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. thorium).
【 ทะ ๑ 】แปลว่า: คําใช้นําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปล
อย่างเดียวกับคําเดิมนั้น หรือเป็นคําซํ้าซึ่งคําหน้าเสียงกร่อน
ไป เช่น ทะทัด ก. สะบัด. ทะทา น. นกกระทา. ทะทาย
ก. จับ, ถือ. ทะท่าว ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. ทะท้าว
ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. ทะทึก ว. อาการที่ใจเต้นตึก ๆ.
【 ทะ ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ปะทะ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
【 ทะงัน 】แปลว่า: (กลอน) ว. ตระหง่าน, กว้างใหญ่, สูงใหญ่.
【 ทะเทียด 】แปลว่า: น. กลองแขกมี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใช้มือตี อีกหน้าหนึ่งใช้ไม้ตี
ใช้ในกระบวนแห่.
【 ทะนง 】แปลว่า: ก. ถือตัว, หยิ่งในเกียรติของตัว, ใช้ว่า ทระนง ก็มี.
【 ทะนงตัว 】แปลว่า: ก. ถือดีในตัวของตัว.
【 ทะนงศักดิ์ 】แปลว่า: ก. ถือดีในอํานาจของตัว.
【 ทะนน 】แปลว่า: น. เรียกหม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งมีขีดเป็นรอยโดยรอบ สําหรับ
ใส่นํ้า นํ้าตาลโตนด เป็นต้น ว่า หม้อทะนน, (ปาก) หม้อคะนน.
(รูปภาพ ทะนน)
【 ทะนะ, ทะนา 】แปลว่า: (โบ; กลอน) ว. คําละมาจากคําว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ
หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ.
【 ทะนาน 】แปลว่า: น. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทําด้วยกะโหลกมะพร้าวเป็นต้น; ชื่อมาตรา
ตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, มาตราตวงของไทยโบราณ
เท่ากับ ๘ ฟายมือ. (เทียบ ส. ทินาร ว่า ตาชั่ง).
【 ทะนานหลวง 】แปลว่า: น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษร
ย่อว่า ท.
【 ทะนุ, ทะนุก 】แปลว่า: ก. อุดหนุน (มักใช้ควบกับคําอื่น).
【 ทะนุถนอม, ทะนุกถนอม 】แปลว่า: ก. คอยระวังรักษา, คอยประคับประคอง. (ข. ถฺนาก่ถฺนม).
【 ทะนุบำรุง 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทะนุบํารุงบิดามารดา ทะนุบํารุงบุตรธิดา;
ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทะนุบํารุงวัด; ธํารงรักษาไว้
เช่น ทะนุบํารุงศาสนา ทะนุบํารุงบ้านเมือง, ทํานุบํารุง ก็ว่า.
【 ทะบู 】แปลว่า: (กลอน) น. ป้อม, หอรบ.
【 ทะเบียน 】แปลว่า: น. บัญชีจดลักษณะจํานวนคน จํานวนสัตว์หรือจํานวนสิ่งของ
ตลอดจนการงานต่าง ๆ ที่รัฐบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ
ประชาชนพลเมือง.
【 ทะเบียนบ้าน 】แปลว่า: (กฎ) น. ทะเบียนประจําบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลขประจําบ้าน
และรายการของคนทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน.
【 ทะเบียนราษฎร 】แปลว่า: (กฎ) /ดู การทะเบียนราษฎร./
【 ทะเบียนสำมะโนครัว 】แปลว่า: /ดู สํามะโนครัว/.
【 ทะมัดทะแมง 】แปลว่า: ว. คล่องแคล่ว, กระฉับกระเฉง, ไม่เก้งก้าง, เช่น ทํางานทะมัดทะแมง
ท่าทางทะมัดทะแมง; รัดกุม เช่น แต่งตัวทะมัดทะแมง, ถะมัดถะแมง
ก็ว่า.
【 ทะมึน, ทะมื่น 】แปลว่า: ว. มีลักษณะดํามืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, ตระมื่น ก็ว่า.
【 ทะแม่ง, ทะแม่ง ๆ 】แปลว่า: (ปาก) ว. มีลักษณะลับลมคมในหรือมีอะไรเคลือบแฝงอยู่ทําให้น่าสงสัย.
【 ทะยาทะแยแส 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่เป็นพิเศษ, เอื้อเฟื้อ.
【 ทะยาน 】แปลว่า: ก. เผ่นขึ้นไป เช่น เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟ้า, โผนเข้าใส่ เช่น ทะยานเข้าสู้.
【 ทะยานใจ 】แปลว่า: ก. ย่ามใจ, เหิมใจ.
【 ทะยานอยาก 】แปลว่า: ก. อยากได้หรืออยากมีอยากเป็นยิ่ง ๆ ขึ้น.
【 ทะเยอทะยาน 】แปลว่า: ก. อยากมีฐานะหรือภาวะสูงกว่าดีกว่าที่เป็นอยู่.
【 ทะแย 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยโบราณทํานองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒
ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒
มี ๖ จังหวะ.
【 ทะแยกลองโยน 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง
และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่
ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามัก
เป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลง
เป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า
กลองโยน.
【 ทะแยสามชั้น 】แปลว่า: น. เพลงสําหรับร้องรับในวงมโหรีปี่พาทย์.
【 ทะร่อทะแร่ 】แปลว่า: (ปาก) ก. เข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่ไม่มีหน้าที่, ทะร่อท่อแร่ ก็ว่า.
【 ทะลวง 】แปลว่า: ก. ทําให้เป็นช่องทะลุ เช่น ทะลวงปล้องไม้ไผ่, ทําให้เป็นทางหรือ
เป็นช่องทะลุเข้าไป เช่น ทะลวงฟัน บุกทะลวง.
【 ทะลอก 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Parinari anamense/ Hance ในวงศ์
Chrysobalanaceae ไม้ใช้ทําเครื่องบนและเครื่องล่างของเรือน
เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันนํ้าซึมและผสมยางรักทําเครื่องเขิน.
【 ทะลัก 】แปลว่า: ก. อาการที่สิ่งที่แออัดกันอยู่หรือถูกกีดกั้นผลุดหรือหลุดออกมา
โดยแรง เมื่อสิ่งกีดกั้นแตกหรือพังทลายลง เช่น ลูกทะลัก ไส้ทะลัก
หนองทะลัก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
สินค้าที่กักตุนทะลักออกมา.
【 ทะลักทะแลง 】แปลว่า: ก. ลักลั่นกัน, ไม่เป็นระเบียบ.
【 ทะลาย 】แปลว่า: น. ช่อผลของหมากมะพร้าวที่ออกเป็นกลุ่มรวมกัน เช่น ทะลาย
หมาก ทะลายมะพร้าว, อัน ก็เรียก, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มี
ลักษณะเช่นนั้น เช่น หมากทะลายหนึ่ง มะพร้าว ๒ ทะลาย.
【 ทะลิ่น 】แปลว่า: (กลอน) ก. ทะเล้น, หน้าเป็น.
【 ทะลิ่นชระลั่ง 】แปลว่า: -ชฺระ- ก. ทะลึ่งทะลั่ง.
【 ทะลึ่ง 】แปลว่า: ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร
ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา
หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
【 ทะลึ่งตึงตัง 】แปลว่า: ก. มีกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย ส่งเสียงเอะอะ.
【 ทะลึ่งทะลั่ง 】แปลว่า: ว. พรวดพราด.
【 ทะลุ 】แปลว่า: ก. เกิดเป็นรูหรือทําให้เป็นรูถึงอีกข้างหนึ่ง. ว. ที่เป็นรู เช่น หม้อทะลุ.
【 ทะลุกลางปล้อง 】แปลว่า: ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.
【 ทะลุปรุโปร่ง 】แปลว่า: ว. อาการที่เห็นหรือเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งโดยตลอด.
【 ทะลุดทะลาด 】แปลว่า: ว. พรวดพราด, ถลําถลาก.
【 ทะเล 】แปลว่า: น. ห้วงนํ้าเค็มที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่ แต่เล็กกว่ามหาสมุทร. ว. ที่อยู่
หรือเกิดในทะเล เช่น สาหร่ายทะเล ปลิงทะเล แมงดาทะเล.
【 ทะเลทราย 】แปลว่า: น. อาณาบริเวณที่กว้างใหญ่เต็มไปด้วยทราย มีอากาศหนาวจัด
หรือร้อนจัด ยากแก่การดํารงชีวิต มีพืชขึ้นอยู่น้อยมาก.
【 ทะเลใน 】แปลว่า: น. ทะเลภายใน, ทะเลหน้าใน ก็เรียก.
【 ทะเลบ้า 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
【 ทะเลภายใน 】แปลว่า: น. ทะเลประเภทที่อยู่เข้ามาภายในพื้นแผ่นดิน และเกือบไม่มีทาง
ติดต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรภายนอก, ทะเลในหรือทะเลหน้าใน
ก็เรียก. (อ. inland sea).
【 ทะเลสาบ 】แปลว่า: น. ห้วงนํ้าใหญ่ที่มีแผ่นดินล้อมรอบ มี ๒ ชนิด คือทะเลสาบนํ้าเค็ม
และ ทะเลสาบนํ้าจืด.
【 ทะเลหน้าใน 】แปลว่า: น. ทะเลภายใน, ทะเลใน ก็เรียก.
【 ทะเลหลวง 】แปลว่า: น. ทะเลใหญ่, มหาสมุทร, ทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่นอกน่านนํ้า
อาณาเขตของประเทศที่เป็นเจ้าของ.
【 ทะเลไหล่ทวีป 】แปลว่า: น. บริเวณทะเลตื้นที่อยู่เหนือไหล่ทวีป. (อ. epicontinental sea).
【 ทะเลอาณาเขต 】แปลว่า: น. ส่วนของทะเลซึ่งแต่ละประเทศกําหนดว่าอยู่ภายใต้อํานาจ
อธิปไตยของประเทศนั้น ๆ โดยกําหนดเป็นระยะทางวัดจาก
ชายฝั่งทะเลตามแต่จะตกลงกัน. (อ. territorial sea).
【 ทะเล้น 】แปลว่า: ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น
ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ
โอกาส.
【 ทะเล่อทะล่า 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพรวดพราดโดยไม่ถูกกาลเทศะ
หรืออย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในที่ประชุม
วิ่งทะเล่อทะล่าออกไปที่ถนนเลยถูกรถชน.
【 ทะเลาะ 】แปลว่า: ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
【 ทะเลาะเบาะแว้ง 】แปลว่า: ก. ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หยุม ๆ หยิม ๆ.
【 ทะเลิ่กทะลั่ก 】แปลว่า: ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่งหน้าตา
ทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
【 ทะวาย 】แปลว่า: ว. ที่ออกผลไม่ตรงตามฤดูกาล (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงทะวาย.
【 ทะเวน 】แปลว่า: (โบ) ก. พานักโทษไปประจานในที่ต่าง ๆ, ตะเวน ตระเวน หรือ
กระเวน ก็ว่า.
【 ทัก ๑ 】แปลว่า: ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ
หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม
ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.
【 ทักท้วง 】แปลว่า: ก. กล่าวหรือแสดงออกเป็นทํานองว่ายังไม่เห็นด้วย.
【 ทักทาย 】แปลว่า: ก. ไต่ถามถึงความเป็นอยู่หรือทุกข์สุขอย่างเป็นกันเอง.
【 ทักนิมิต 】แปลว่า: ก. ถามตอบในการผูกพัทธสีมา.
【 ทัก ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทําด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม
ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).
【 ทักข์ ๑ 】แปลว่า: ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ป.).
【 ทักข์ ๒ 】แปลว่า: ก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว
เล็งดอย ดงนา. (ลํานํ้าน้อย).
【 ทักขิญ 】แปลว่า: [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา
ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
【 ทักขิณ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ทักษิณ, ใต้; ข้างขวา. (ป.; ส. ทกฺษิณ).
【 ทักขิณา 】แปลว่า: น. ทักษิณา, ทานเพื่อผลอันเจริญ; ขวา, ทิศใต้. (ป.; ส. ทกฺษิณา).
【 ทักขิณาบถ 】แปลว่า: น. เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้. (ป.).
【 ทักขิณาวัฏ 】แปลว่า: น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวา
อย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ
หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
【 ทักขิโณทก 】แปลว่า: น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็น
การแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่
ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้เช่นวัด ศาลา บุญกุศล
เป็นต้น. (ป.).
【 ทักขิไณยบุคคล 】แปลว่า: [-ไนยะ-] น. บุคคลผู้ควรรับทักษิณา. (ป.).
【 ทักขิณา 】แปลว่า: /ดู ทักขิณ./
【 ทักขิณาบถ 】แปลว่า: /ดู ทักขิณ./
【 ทักขิณาวัฏ 】แปลว่า: /ดู ทักขิณ./
【 ทักขิโณทก 】แปลว่า: /ดู ทักขิณ./
【 ทักขิไณยบุคคล 】แปลว่า: /ดู ทักขิณ./
【 ทักทิน 】แปลว่า: [ทักกะทิน] น. วันชั่วร้าย (ใช้ในตําราหมอดู).
【 ทักษ- 】แปลว่า: -สะ- ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว,
แข็งแรง. (ส.).
【 ทักษะ 】แปลว่า: น. ความชํานาญ. (อ. skill).
【 ทักษา 】แปลว่า: (โหร) น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจําทิศ
อีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร
(ประจําทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔
แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศ
ประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และ
ศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
(รูปภาพ)
【 ทักษิณ 】แปลว่า: น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. ว. ใต้; ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. (ส.; ป. ทกฺขิณ).
【 ทักษิณนิกาย 】แปลว่า: น. เถรวาท, หินยาน.
【 ทักษิณาจาร 】แปลว่า: น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์
ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผยไม่มีลามกอนาจาร,
คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่งซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียว
กับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
【 ทักษิณายัน 】แปลว่า: น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่
๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุดเรียกว่า
ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก.
(ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
【 ทักษิณาวรรต 】แปลว่า: น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่าง
เข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ.
(ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
【 ทักษิณา 】แปลว่า: น. ของทําบุญ. (ส.).
【 ทักษิณาทาน 】แปลว่า: น. การให้ของทําบุญทําทาน.
【 ทักษิณานุประทาน 】แปลว่า: น. การทําบุญอุทิศส่วนกุศลเพิ่มให้แก่ผู้ตาย. (ส.).
【 ทักษิโณทก 】แปลว่า: น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลง
เป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือนํ้าที่ใช้แทน
สิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้เช่นวัด ศาลา
บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่าพระเต้า
ษิโณทก. (ส.).
【 ทักษิณาจาร 】แปลว่า: /ดู ทักษิณ./
【 ทักษิณายัน 】แปลว่า: /ดู ทักษิณ./
【 ทักษิณาวรรต 】แปลว่า: /ดู ทักษิณ./
【 ทักษิโณทก 】แปลว่า: /ดู ทักษิณา./
【 ทัคธ์ 】แปลว่า: ว. ไหม้, เกรียม, แห้ง. (ส.).
【 ทัง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล/ Vernicia/ วงศ์ Euphorbiaceae
คือชนิด /V. fordii/ Airy Shaw และชนิด V. montana Lour.
เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันซึม.
【 ทัง ๒ 】แปลว่า: สัน. ทั้ง.
【 ทั่ง 】แปลว่า: น. แท่งเหล็กสําหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิดเช่นเหล็ก
ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
【 ทั้ง 】แปลว่า: ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อมด้วย
เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน
ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ
โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก
เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ
ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทํา
ให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
【 ทั้งกลม 】แปลว่า: ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น; เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้อง
ด้วยว่า ตายทั้งกลม คือ ตายทั้งหมด.
【 ทั้ง…กับ, ทั้ง…และ 】แปลว่า: สัน. รวมทั้ง ๒ อย่าง เช่น ทั้งผักกับผลไม้ล้วนน่ากิน ทั้งผักและ
ผลไม้ล้วนน่ากิน.
【 ทั้งขึ้นทั้งล่อง 】แปลว่า: (สํา) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทํานองไม่ดี).
【 ทั้งคน 】แปลว่า: ว. ใช้ประกอบท้ายคําหรือความ เพื่อเน้นให้เห็นความสําคัญของคํา
หรือความข้างหน้า เช่น แม่ทั้งคน.
【 ทั้งดุ้น 】แปลว่า: ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น.
【 ทั้ง…ทั้ง 】แปลว่า: ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าวทั้งเงิน คือ
ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ล้วนน่าเที่ยว.
【 ทั้งที 】แปลว่า: ว. ไหน ๆ ก็ได้โอกาสแล้ว เช่น มาทั้งที.
【 ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่ 】แปลว่า: ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออก
ทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกําลังเจริญก้าวหน้า.
【 ทั้งนั้น 】แปลว่า: ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนแต่สาว ๆ สวย ๆ
ทั้งนั้น.
【 ทั้งนี้ 】แปลว่า: สัน. ตามที่กล่าวมานี้ เช่น ทั้งนี้กล่าวตามที่เขาบันทึกไว้หรือกล่าว
ตามพจนานุกรม.
【 ทั้งนี้ทั้งนั้น 】แปลว่า: ว. พอสรุปลงได้ว่า.
【 ทั้งเนื้อทั้งตัว 】แปลว่า: ว. ทั้งหมดเท่าที่มีติดตัวอยู่.
【 ทั้งปวง, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทั้งมวล, ทั้งสิ้น, ทั้งหมด 】แปลว่า: ว. หมดด้วยกัน.
【 ทั้งหลาย 】แปลว่า: ว. หมดด้วยกัน เช่น คนทั้งหลายเกิดมาแล้วต้องตาย, มีจํานวน
มาก เช่น คนทั้งหลายเขาพูดกันว่า.
【 ทั้งอย่างนั้น 】แปลว่า: ว. ทั้ง ๆ ที่เป็นอยู่ในลักษณะอาการเช่นนั้น.
【 ทังวล, ทังวี้ทังวล 】แปลว่า: (กลอน) ก. กังวล, ห่วงใย, เช่น เป็นทังวี้ทังวลวุ่นวาย. (คาวี).
【 ทังสเตน 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า
ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก. (อ. tungsten).
【 ทัณฑ-, ทัณฑ์ 】แปลว่า: [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษทางวินัย
สถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).
【 ทัณฑกรรม 】แปลว่า: [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ)
ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วย
วินัยตํารวจคือ ให้ทํางานโยธา งานสุขาภิบาลหรืองานอื่นของราชการ
เพิ่มจากหน้าที่ประจําซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยาม
นอกจากหน้าที่ประจํา. (ส.).
【 ทัณฑฆาต 】แปลว่า: [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง
มีรูปดังนี้ ?.
【 ทัณฑนิคม 】แปลว่า: ทันทะ- น. สถานที่ควบคุมและฝึกอบรมนักโทษเด็ดขาดใน
ขั้นต่อจากเรือนจํา.
【 ทัณฑ์บน 】แปลว่า: น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไข
ที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คํารับรองที่ทําขึ้นตามคําสั่งของศาล
ว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
ตลอดเวลาที่ศาลกําหนด.
【 ทัณฑวิทยา 】แปลว่า: [ทันทะ-] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทําผิดทางอาญา.
(อ. penology).
【 ทัณฑสถาน 】แปลว่า: ทันทะ- น. เรือนจําพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่ควบคุมกักขัง
ผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ
เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุมกักขังและฝึกอาชีพแก่
ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.
【 ทัณฑะ 】แปลว่า: [ทันดะ] น. มาตราโบราณสําหรับวัดความยาว ๑ ทัณฑะ เท่ากับ
๒ ศอก.
【 ทัณฑิกา 】แปลว่า: [ทันทิ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีกลอนสัมผัสกันคล้ายกาพย์
สุรางคนางค์. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 ทัณฑิมา 】แปลว่า: [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
【 ทัณฑีบท 】แปลว่า: [ทันทีบด] น. โคลงโบราณชนิดหนึ่ง. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 ทัด ๑ 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งของหรือดอกไม้เหน็บหูตรงบริเวณที่เรียกว่า ทัดดอกไม้.
น. เรียกทรงผมผู้หญิงที่มีผมยื่นยาวทั้ง ๒ ข้างจอนผมสําหรับทัดหู
ว่า ผมทัด.
【 ทัดดอกไม้ 】แปลว่า: น. ส่วนอวัยวะบริเวณระหว่างหูกับขมับ.
【 ทัด ๒, ทัดเทียม 】แปลว่า: ว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).
【 ทัด ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อกลองชนิดหนึ่งที่ขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
【 ทัด ๔ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ต้านไว้, ทานไว้.
【 ทัดทาน 】แปลว่า: ก. กล่าวหรือแสดงออกเป็นทํานองห้ามหรือท้วงเพื่อให้งดไว้.
【 ทัดทา 】แปลว่า: น. กระดานมีด้ามสําหรับโกยข้าวเปลือก.
ก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคําหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต. (ป. ทตฺต).
【 ทัน ๑ 】แปลว่า: (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).
【 ทัน ๒ 】แปลว่า: ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น
ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง,
เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน
พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล.
(ม. คำหลวง กุมาร).
【 ทันกิน 】แปลว่า: ก. คิดหรือทําการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ)
เช่น ทําการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
【 ทันควัน 】แปลว่า: ว. ทันทีทันใด, ฉับพลัน.
【 ทันใจ 】แปลว่า: ว. เร็วทันเท่ากับใจนึกหรือต้องการ.
【 ทันตา 】แปลว่า: ว. ทันที่ตาเห็นในปัจจุบัน, ในชาตินี้, ในเวลานั้น, ทันตาเห็น ก็ว่า.
【 ทันท่วงที 】แปลว่า: ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
【 ทันที 】แปลว่า: ว. ในขณะนั้นเอง, ทันทีทันใด หรือ ทันใดนั้น ก็ว่า.
【 ทันน้ำ 】แปลว่า: ว. ให้ทันคราวนํ้าขึ้น.
【 ทันน้ำทันฝน 】แปลว่า: ว. ให้ทันหน้านํ้าหน้าฝน, ให้ทันฤดูกาล.
【 ทันสมัย 】แปลว่า: ว. ตามสมัยที่นิยมกัน.
【 ทันใด 】แปลว่า: ว. เดี๋ยวนั้น, บัดนั้น.
【 ทันต-, ทันต์ ๑ 】แปลว่า: ทันตะ- น. ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์. (ป., ส.).
【 ทันตชะ 】แปลว่า: ทันตะ- น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน
ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร” ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ใน
ภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
【 ทันตแพทย์ 】แปลว่า: [ทันตะ-] น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟันเหงือก ขากรรไกร
และโรคภายในช่องปาก.
【 ทันต์ ๒ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว. (ป.).
【 ทันติน, ทันตี 】แปลว่า: (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
【 ทันธ-, ทันธ์ 】แปลว่า: ทันทะ- ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา
เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
【 ทับ ๑ 】แปลว่า: น. กระท่อมหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทําอยู่ชั่วคราว.
【 ทับแพ 】แปลว่า: น. กระท่อมบนแพ.
【 ทับ ๒ 】แปลว่า: ก. วางข้างบน, ซ้อนข้างบน, อาการที่ของหนัก ๆ โค่นหรือล้มลง
พาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง เช่น ต้นไม้ล้มทับบ้าน, อาการที่สิ่ง
ที่มีล้อเคลื่อนไปด้วยกําลังเร็วแล้วปะทะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกด
หรือบดลงไปโดยแรง เช่น รถทับคน; ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่
สัตว์บางชนิด เช่น ม้า วัว ควาย); เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ / ที่ขีด
เอนหลังจํานวนเลขว่า ทับ.
【 ทับถม 】แปลว่า: ก. เพิ่มซับซ้อนกันเข้ามามากมาย; โดยปริยายหมายความว่ากล่าว
ซํ้าเติมให้เขาเสียหายหนักขึ้น.
【 ทับทรวง 】แปลว่า: น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับหน้าอก,
ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก.
(รูปภาพ ทับทรวง)
【 ทับที่ 】แปลว่า: ว. เรียกอาการที่นอนตรงที่ของคนตายว่า นอนทับที่.
【 ทับลัคน์ 】แปลว่า: (โหร) ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตําแหน่งอยู่ในเรือนเดียวกัน
หรือจรมาร่วมลัคนา.
【 ทับศัพท์ 】แปลว่า: ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียง
และถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
【 ทับสิทธิ์ 】แปลว่า: ก. ไม่ยอมใช้สิทธิ์ของตน, สละสิทธิ์, นอนหลับทับสิทธิ์ ก็ว่า.
【 ทับหลัง 】แปลว่า: น. ลวดลายที่ทําประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่
สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน;
เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้
บังคับปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง
หรือ ทับหลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
【 ทับหลังลัคน์ 】แปลว่า: (โหร) ก. เรียกลักษณะที่พระเคราะห์ที่อยู่ในเรือนวินาศหรือเป็น
๑๒ กับลัคนาว่า พระเคราะห์ทับหลังลัคน์.
【 ทับ ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Buprestidae ลําตัวยาวโค้ง
นูน แข็งมาก หัวเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทาง
หัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไป
ทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหลายสี ที่พบบ่อยมี
สีเขียวเป็นมันเลื่อม เช่น ชนิด /Sternocera aequisignata,/ “/S. ruficornis./
【 ทับ ๔ 】แปลว่า: (โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่น
ที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
【 ทับเกษตร ๑ 】แปลว่า: [-กะเสด] น. ที่อยู่ริมเขตบ้าน, เขตที่, พระระเบียง.
【 ทับเกษตร ๒ 】แปลว่า: [-กะเสด] น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง.
【 ทับทาง 】แปลว่า: น. ชื่องูบกบางชนิด เช่น งูสามเหลี่ยม ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางเหลือง,
งูทับสมิงคลา ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางขาว.
【 ทับทางขาว 】แปลว่า: / ดู ทับสมิงคลา./
【 ทับทิม ๑ 】แปลว่า: น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้า
จะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รอง
แกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วย
แป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า
ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทําด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง
แล้วทําด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่ง
คล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
【 ทับทิม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มชนิด/ Punica granatum /L. ในวงศ์ Punicaceae เนื้อที่
หุ้มเมล็ดสีแดงใสคล้ายพลอยทับทิม กินได้ เปลือกของต้นของผล
และของราก ใช้ทํายาได้.
【 ทับเล็ก 】แปลว่า: /ดู ค่อม ๒./
【 ทับสมิงคลา 】แปลว่า: [ทับสะหฺมิงคฺลา] น. ชื่องูพิษชนิด /Bungarus candidus/ ในวงศ์ Elapidae
หัวสีดํา ตัวมีลายเป็นปล้องสีดําสลับขาว เขี้ยวพิษผนึกแน่นกับ
ขากรรไกรบน ขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร,
ทับทางขาว ก็เรียก.
【 ทัป 】แปลว่า: น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง,
ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
(ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
【 ทัปนะ 】แปลว่า: ทับปะนะ น. แว่นส่องหน้า, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้.
(ป. ทปฺปน; ส. ทรฺปณ).
【 ทัพ ๑ 】แปลว่า: น. กองทหาร, ลักษณนามว่า กอง หรือ ทัพ.
【 ทัพ- ๒, ทัพพะ 】แปลว่า: [ทับพะ-] น. เครื่องใช้ต่าง ๆ, สมบัติ, เงิน, มักใช้ประกอบส่วนหน้า
สมาส. (ป.).
【 ทัพสัมภาระ 】แปลว่า: [ทับพะ-] น. สิ่งหรือเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน
เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น. (ป.).
【 ทัพพี 】แปลว่า: น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทําด้วย
ทองเหลืองเป็นต้น, ทรพี ก็ว่า. (ป. ทพฺพิ; ส. ทรฺวี).
【 ทั่ว 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
【 ทั่วถึง 】แปลว่า: ว. ถึงทุกคน, ครบทั่วทุกคน.
【 ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป 】แปลว่า: ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จํากัด เช่น กฎทั่วไป,
ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
【 ทั่วทุกสารทิศ, ทั่วทุกหัวระแหง 】แปลว่า: ว. ทั่วทุกหนทุกแห่ง.
【 ทัศ 】แปลว่า: (แบบ) ว. สิบ เช่น ทัศนัข. (ส.); ครบ, ถ้วน, เช่น บารมี ๓๐ ทัศ.
【 ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา 】แปลว่า: [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น,
สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
【 ทัศนคติ 】แปลว่า: น. แนวความคิดเห็น.
【 ทัศนวิสัย 】แปลว่า: (ภูมิ) น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่า
และบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร.
【 ทัศนศาสตร์ 】แปลว่า: น. วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งว่าด้วยเรื่องราวของแสง. (อ. optics).
【 ทัศนศิลป์ 】แปลว่า: น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพ
หรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น
ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
【 ทัศนศึกษา 】แปลว่า: ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วยการดูการเห็น,
การศึกษานอกสถานที่.
【 ทัศนาการ 】แปลว่า: น. อาการดู.
【 ทัศนาจร 】แปลว่า: ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศหรือ
โบราณสถานเป็นต้น.
【 ทัศนูปกรณ์ 】แปลว่า: น. อุปกรณ์ช่วยการเห็น เช่น กล้องโทรทรรศน์กล้องจุลทรรศน์.
【 ทัศนาการ 】แปลว่า: /ดู ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา./
【 ทัศนาจร 】แปลว่า: /ดู ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา./
【 ทัศนีย-, ทัศนีย์ 】แปลว่า: [ทัดสะนียะ-, ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย;
ส. ทรฺศนีย).
【 ทัศนียภาพ 】แปลว่า: น. ภาพที่น่าดู, มักใช้หมายถึงภูมิประเทศที่สวยงาม.
【 ทัศนูปกรณ์ 】แปลว่า: /ดู ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา./
【 ทัศไนย 】แปลว่า: [ทัดสะไน] ว. น่าดู, งาม. (แผลงมาจาก ทัศนีย์).
【 ทัสนานุตริยะ 】แปลว่า: [ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอันประเสริฐ
เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).
【 ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี 】แปลว่า: [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ,
ทฺฤฒี).
【 ทัฬหิกรณ์ 】แปลว่า: [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชักมาอ้างเพื่อให้
คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
【 ทัฬหีกรรม 】แปลว่า: [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้าลงไปเพื่อให้
มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น
ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
【 ทัฬหิกรณ์ 】แปลว่า: /ดู ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี./
【 ทัฬหีกรรม 】แปลว่า: /ดู ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี./
【 ทา 】แปลว่า: ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น
ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา
เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบ
ลงแล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า
ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
【 ท่า ๑ 】แปลว่า: น. ฝั่งนํ้าสําหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สําหรับขึ้นลง
ริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด
เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลําคลองว่า นํ้าท่า,
คู่กับ นํ้าฝน.
【 ท่าเรือ 】แปลว่า: น. ที่จอดเรือ; (กฎ) สถานที่สําหรับให้บริการแก่เรือในการจอดเทียบ
บรรทุก หรือขนถ่ายของ.
【 ท่าอากาศยาน 】แปลว่า: น. ที่สําหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอดเครื่องบิน
ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน
ที่ทําการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น,
(ปาก) สนามบิน.
【 ท่า ๒ 】แปลว่า: น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน
ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น
วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า
เสียท่า.
【 ท่าดีทีเหลว 】แปลว่า: (สํา) ว. มีท่าทางดี แต่ทําอะไรไม่ได้เรื่อง.
【 ท่าเดียว 】แปลว่า: (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
【 ท่าทาง 】แปลว่า: ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า
ท่า ก็มี.
【 ท่าที 】แปลว่า: น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ทีท่า ก็ว่า.
【 ท่านั้นท่านี้ 】แปลว่า: (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
【 ท่า ๓ 】แปลว่า: ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ
คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
【 ท้า 】แปลว่า: ก. ชวนขันสู้ เช่น ท้าพนัน ท้ารบ.
【 ท้าทาย 】แปลว่า: ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ท่านไท้
บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลองความรู้
ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
【 ทาก ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัว
ขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า
มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือด
ไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด/ Haemadipsa interrupta/ ในวงศ์
Hirudidae.
【 ทาก ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อหอยกาบเดี่ยวหลายชนิด หลายวงศ์ ในชั้น Gastropoda เช่น
ชนิด/ Achatina fulica/ วงศ์ Achatinidae มีเปลือกหุ้มตัว, ชนิด
/Limax flavus/ วงศ์ Limacidae ตัวแบนยาว มีเปลือกเล็กแบนมาก
ไม่หุ้มตัว ทั้ง ๒ ชนิดอยู่บนบก.
【 ทาง ๑ 】แปลว่า: น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก
ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก
ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มี
ทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ;
แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่
แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก;
แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
【 ทางการ 】แปลว่า: น. ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทาง, ฝ่ายที่เป็นกิจการ. ว. ที่เป็น
งานเป็นการ.
【 ทางเก็บ 】แปลว่า: น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าทำนอง
เนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
【 ทางข้าม 】แปลว่า: น. ทางม้าลาย; (กฎ) พื้นที่ที่ทําไว้สําหรับให้คนเดินเท้าข้ามโดยทํา
เครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทาง และหมายความ
รวมถึงพื้นที่ที่ทําให้คนเดินเท้าข้าม ไม่ว่าในระดับใต้พื้นดินหรือเหนือ
พื้นดิน.
【 ทางช้างเผือก 】แปลว่า: น. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.
【 ทางด่วน 】แปลว่า: น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็วและปลอดภัย
มีการควบคุมและกําหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออกเฉพาะที่ และ
ไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
【 ทางเท้า 】แปลว่า: น. ทางข้างถนนที่มักยกสูงขึ้นสำหรับให้คนเดิน, บาทวิถี ก็ว่า.
【 ทางโท 】แปลว่า: น. ทางที่รถต้องยอมให้รถทางเอกผ่านไปได้ก่อน.
【 ทางใน 】แปลว่า: น. การหยั่งรู้ด้วยพลังจิต, โดยปริยายหมายถึงการนึกเดาเอาเอง.
【 ทางผ่าน 】แปลว่า: น. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพานเพื่อให้ได้
สิ่งที่ต้องการ.
【 ทางพิเศษ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน
เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออํานวยความสะดวกในการจราจร
เป็นพิเศษ.
【 ทางม้าลาย 】แปลว่า: น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทาสีขาวดำเป็น
แถบสลับกัน.
【 ทางสาธารณะ 】แปลว่า: (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสําหรับประชาชนใช้ในการจราจร
และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน
สําหรับประชาชนโดยสารด้วย.
【 ทางสามแพร่ง 】แปลว่า: น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็น
มุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็น
มงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
【 ทางสายกลาง 】แปลว่า: น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบ
ด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริ
ชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงาน
ชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ
ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ
ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง;
การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด
ทางหนึ่ง.
【 ทางหลวง 】แปลว่า: (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะ
ทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดินหรือใต้หรือเหนือ
อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวม
ถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์
ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ
ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่อง
สัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถที่พักคนโดยสาร
เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคาร
หรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวง
และเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
【 ทางออก 】แปลว่า: (สํา) น. ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา.
【 ทางเอก 】แปลว่า: น. ทางที่รถแล่นผ่านไปได้ก่อนรถทางโท.
【 ทาง ๒ 】แปลว่า: น. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย,
ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า
ทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.
【 ท้าง 】แปลว่า: (กลอน) ว. ทั่ว, ตลอด, โบราณใช้อย่างเดียวกับ ทั้ง.
【 ทางมะพร้าว 】แปลว่า: น. ชื่องูชนิด /Elaphe radiata/ ในวงศ์ Colubridae ท่อนหัวมีลายยาว
ตามลําตัวสีดําขาว ท่อนหางสีนํ้าตาลแดง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าว
ก็เรียก.
【 ทาฐะ, ทาฒะ 】แปลว่า: (แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทา?า; ส. ทาฒา).
【 ทาฐิกะ, ทาฒิกะ 】แปลว่า: (ราชา) น. หนวด (ที่คาง), เครา. (ป. ทา??ก; ส. ทาฒิก).
【 ทาน ๑, ทาน- 】แปลว่า: [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. /(ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม)./
(ป., ส.).
【 ทานกัณฑ์ 】แปลว่า: [ทานนะ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ.
【 ทานบดี 】แปลว่า: [ทานนะบอดี] น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทานปติ).
【 ทานบารมี 】แปลว่า: [ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).
【 ทานมัย 】แปลว่า: [ทานนะไม] ว. สําเร็จด้วยทาน, แล้วไปด้วยทาน. (ป., ส.).
【 ทานศีล 】แปลว่า: [ทานะสีน] ว. มีการให้เป็นปรกติ. (ส.; ป. ทานสีล).
【 ทานาธิบดี 】แปลว่า: น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).
【 ทาน ๒ 】แปลว่า: ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.
【 ทาน ๓ 】แปลว่า: ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.
【 ท่าน 】แปลว่า: ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น
ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์
ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์
หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์
ท่านเจ้าอาวาส.
【 ท่านชาย 】แปลว่า: น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
【 ท่านผู้หญิง 】แปลว่า: น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยา
และเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้
เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
【 ท่านหญิง 】แปลว่า: น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายหญิงชั้นหม่อมเจ้า.
【 ทานต์ 】แปลว่า: (แบบ) ว. เชื่อง, ใจเย็น, ใจดี. (ส.).
【 ทานตะวัน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด/ Helianthus annuus/ L. ในวงศ์ Compositae
ช่อดอกกลมใหญ่สีเหลือง กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบ
เมล็ดให้นํ้ามัน กินได้.
【 ทานบน 】แปลว่า: (โบ) น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตาม
เงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทัณฑ์บน ก็ว่า.
【 ทานพ 】แปลว่า: [-นบ] น. อสูรจําพวกหนึ่งในนิยาย. (ป., ส.).
【 ทานาธิบดี 】แปลว่า: /ดู ทาน ๑, ทาน-./
【 ทาบ 】แปลว่า: ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก)
เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร;
ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
【 ทาบกิ่ง 】แปลว่า: น. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยใช้ต้นตอที่เพาะไว้ ตัดให้สูงจาก
โคนต้นเล็กน้อยในลักษณะแฉลบ แล้วนำไปทาบที่กิ่งของอีกต้นหนึ่ง
ซึ่งปาดให้แฉลบเช่นเดียวกับต้นตอที่จะทาบใช้แถบพลาสติกพัน
บริเวณที่ทาบให้แน่น. ก. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.
【 ทาบทาม 】แปลว่า: ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถามเพื่อฟังความเห็น
ก่อนที่จะตกลงกัน.
【 ทาม ๑ 】แปลว่า: น. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควาย
ไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทําเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่,
สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถ
หรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).
【 ทาม ๒ 】แปลว่า: ก. ดาม; ลองดู, เลียบเคียง.
【 ทาม ๓ 】แปลว่า: น. ที่ริมฝั่งลํานํ้า มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
【 ท่ามกลาง 】แปลว่า: น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน.
ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม
ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
【 ทาย ๑ 】แปลว่า: ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
【 ทาย ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ยก; ถือ เช่น ทายธนู ว่า ถือธนู.
【 ทาย ๓ 】แปลว่า: น. ป่า. (ป.; ส. ทาว).
【 ท้าย 】แปลว่า: น. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ,
ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.
【 ท้ายเขื่อน 】แปลว่า: น. ท้ายนํ้า.
【 ท้ายครัว 】แปลว่า: (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่าเข้าทางภรรยา.
【 ท้ายโต่ง 】แปลว่า: น. ท้ายที่สูงโด่งขึ้นไป (ใช้แก่เรือ).
【 ท้ายทอย 】แปลว่า: น. ส่วนสุดของกะโหลกศีรษะด้านหลัง, กําด้น.
【 ท้ายน้ำ 】แปลว่า: น. บริเวณที่ระบายนํ้าออกทางด้านล่างของตัวเขื่อน, ท้ายเขื่อน
ก็เรียก.
【 ท้ายฝน 】แปลว่า: น. ปลายฤดูฝน.
【 ท้ายสังข์ 】แปลว่า: น. ท้ายสุดของปืนใหญ่แบบไทย มีลักษณะงอนคล้ายก้นของหอยสังข์.
【 ทายก 】แปลว่า: [-ยก] น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า
ทายิกา. (ป., ส.).
【 ทายัช 】แปลว่า: (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
【 ทายา 】แปลว่า: ว. ดี, สําคัญ, ที่ต้องการ, เช่น กูจะให้ขนมของทายา กินอร่อย
หนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทยา ก็ใช้.
【 ทายาด 】แปลว่า: ว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง
ทายาด. (ยวนพ่าย).
【 ทายาท 】แปลว่า: น. ผู้สืบสันดาน, ผู้สืบสกุล, โดยปริยายหมายถึงผู้รับหรือผู้อยู่ใน
ฐานะที่จะรับตําแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททาง
การเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้
รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า
ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า
ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
【 ทายาทโดยธรรม 】แปลว่า: (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดาพี่น้องร่วมบิดา
มารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า
ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมายกําหนดไว้.
【 ทายิกา 】แปลว่า: /ดู ทายก./
【 ทาร- 】แปลว่า: ทาระ- น. เมีย เช่น ทารทาน คือ การให้เมียเป็นทาน.
(ป., ส.).
【 ทารก 】แปลว่า: น. เด็กที่ยังไม่เดียงสา, เด็กเล็ก ๆ, เด็กแบเบาะ. (ป., ส.).
【 ทารพี 】แปลว่า: ทาระ- น. ทัพพี, ทรพี, เช่น จัดแจงข้าวปลาทารพี.
(ขุนช้างขุนแผน).
【 ทาริกา 】แปลว่า: น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
【 ทารุ 】แปลว่า: (แบบ) น. ท่อนไม้, ฟืน, ชิ้นไม้. (ป., ส.).
【 ทารุณ, ทารุณ- 】แปลว่า: [ทารุนนะ-] ว. ดุร้าย, โหดร้าย, ร้ายกาจ. (ป., ส.).
【 ทารุณกรรม 】แปลว่า: [ทารุนนะกํา] น. การกระทําอย่างโหดร้าย. (ส.).
【 ทาว 】แปลว่า: ก. อ้อนวอน, วิงวอน, ขอร้อง, เช่น ต้องทาวกันแล้วทาวกันเล่า.
【 ท่าว, ทะท่าว 】แปลว่า: (กลอน) ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบลง; เดิน; ทอดทิ้ง เช่น ท่าวจักทอดธุระ
กะว่าฝันเป็นแน่. (นิทราชาคริต).
【 ท่าวกำลัง 】แปลว่า: (กลอน) ก. เดินพล.
【 ท่าวทบระนับ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ล้มหกคะเมนทับกัน.
【 ท้าว ๑ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตําแหน่ง
บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คําประกอบชื่อผู้ชายที่
เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
【 ท้าวนาง 】แปลว่า: น. ข้าราชการฝ่ายใน.
【 ท้าวพญา, ท้าวพระยา 】แปลว่า: (กลอน) น. กษัตริย์.
【 ท้าว ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว.
(สังข์ทอง).
【 ทาษ 】แปลว่า: (โบ) น. ทาส.
【 ทาส, ทาส- 】แปลว่า: [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส
ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส
การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว
ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า
ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ
ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่เป็น
คนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ
ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
【 ทาสทาน 】แปลว่า: [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้โดยไม่เต็มใจ.
(ป., ส.).
【 ทาสน้ำเงิน 】แปลว่า: /ดู น้ำเงิน ๑./
【 ทาสปัญญา 】แปลว่า: [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย,
เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
【 ทาสี 】แปลว่า: น. ทาสผู้หญิง. (ป., ส.).
【 ทำ 】แปลว่า: ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้
ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน
ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม
คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทํา
จมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข
ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร
ทําศพ; แสดงเช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับ
ปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
【 ทำกรรม 】แปลว่า: ก. ทําสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทํากรรมทําเวรก็ว่า.
【 ทำการบ้าน 】แปลว่า: ก. ทํางานหรือทําแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทํานอกเวลาเรียน.
【 ทำขวัญ 】แปลว่า: ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค
ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจหรือเพื่อชดใช้ค่า
เสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูก
หมิ่นประมาท.
【 ทำครัว 】แปลว่า: ก. หุงหาอาหาร.
【 ทำคลอด 】แปลว่า: ก. ช่วยให้ทารกคลอดจากครรภ์มารดา.
【 ทำความ 】แปลว่า: ก. ก่อเหตุขึ้น, ก่อเรื่องขึ้น.
【 ทำคุณ 】แปลว่า: ก. ประกอบพิธีเพื่อทําร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถาเสก
สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทําคุณ
ทําไสย ก็ว่า.
【 ทำคุณบูชาโทษ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูด
เข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
【 ทำเจ็บ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําให้เดือดร้อนลําเค็ญ, ทำเสียเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
【 ทำใจ 】แปลว่า: ก. ควบคุมใจ.
【 ทำซ้ำ 】แปลว่า: (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์
บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือ
จากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความ
ถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด
ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็น
การจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
【 ทำได้, ทำได้ลงคอ 】แปลว่า: ก. ทําอย่างไม่เกรงใจ.
【 ทำตัว 】แปลว่า: ก. วางตัว, ประพฤติ, เช่น ทําตัวดี ทําตัวไม่ดี.
【 ทำตา 】แปลว่า: ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทําตาเล็กตาน้อย ทําตาขุ่น
ตาเขียว.
【 ทำท่า 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
【 ทำที 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาหรืออาการให้ผู้อื่นสําคัญผิด.
【 ทำแท้ง 】แปลว่า: ก. รีดลูก, มีเจตนาทําให้ทารกออกจากครรภ์มารดาก่อนกําหนด
และตาย.
【 ทำโทษ 】แปลว่า: ก. ลงโทษ.
【 ทำนาบนหลังคน 】แปลว่า: (สํา) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
【 ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
【 ทำบาป 】แปลว่า: ก. ประกอบกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น, ทําบาปทํากรรม
ก็ว่า.
【 ทำบุญ 】แปลว่า: ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์
เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า.
【 ทำบุญเอาหน้า 】แปลว่า: (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ
ภาวนากันตาย.
【 ทำปลา 】แปลว่า: ก. ทําปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุงออกเป็นต้น
ให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร.
【 ทำปากทำคอ 】แปลว่า: ก. จีบปากจีบคอเวลาพูด.
【 ทำเป็น 】แปลว่า: ก. แสร้งแสดง เช่น ทําเป็นหลับ; วางท่า เช่น ทําเป็นคุณนาย,
ใช้ว่า ทําเป็นว่า ก็มี.
【 ทำไปทำมา 】แปลว่า: ก. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ทําไปทํามากลับได้กําไรทําไปทํามา
จวนติดตะราง.
【 ทำพิษ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ให้ผลร้าย.
【 ทำไพ่ 】แปลว่า: ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่หลังจากกิน
แต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่มือใดมือหนึ่งก็ได้.
【 ทำฟัน 】แปลว่า: ก. ทําให้ฟันอยู่ในสภาพปรกติหรือใช้การได้ด้วยการอุด ถอนหรือ
ใส่ฟันใหม่ เป็นต้น.
【 ทำไฟ 】แปลว่า: ก. เดินสายไฟ; ทําให้เกิดกระแสไฟ เช่น เครื่องทําไฟ.
【 ทำร้าย 】แปลว่า: ก. ทําให้บาดเจ็บหรือเสียหาย.
【 ทำร้ายร่างกาย 】แปลว่า: (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย
แก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่าความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
【 ทำฤทธิ์ 】แปลว่า: ก. ทําพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก),
ทําฤทธิ์ทําเดช ก็ว่า.
【 ทำลิง 】แปลว่า: ก. ทําอาการซุกซนอย่างลิงอย่างค่าง, ทําลิงทําค่าง ก็ว่า.
【 ทำวัตร 】แปลว่า: ก. กระทํากิจที่พึงกระทําตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่นไหว้พระ
สวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทําวัตรพระ ก็ว่า; ทําสามีจิกรรม
ตามธรรมเนียมของพระเณร.
【 ทำวัตรค่ำ 】แปลว่า: ก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็นหรือคํ่า.
【 ทำวัตรเช้า 】แปลว่า: ก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเช้า.
【 ทำเวร 】แปลว่า: ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาดห้องเรียน
ของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
【 ทำเวลา 】แปลว่า: ก. ทําให้ได้เวลาตามกําหนด, เร่งให้เร็วขึ้น.
【 ทำสาว 】แปลว่า: ก. ตบแต่งช่องคลอดให้เหมือนสภาพเดิม.
【 ทำเสน่ห์ 】แปลว่า: ก. ทําให้เพศตรงข้ามหลงรักด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์.
【 ทำเสียเจ็บ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
【 ทำหน้าทำตา 】แปลว่า: ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทําหน้าทําตาล้อหลอก.
【 ทำหมัน 】แปลว่า: ก. ทําการคุมกําเนิดโดยกรรมวิธีที่จะไม่ให้ชายหรือหญิงสามารถ
มีลูกอีกต่อไป.
【 ทำหูทวนลม 】แปลว่า: ก. ได้ยินแต่ทําเป็นไม่ได้ยิน.
【 ทำเหตุ 】แปลว่า: ก. ก่อเหตุ.
【 ทำให้, ทำเอา 】แปลว่า: ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทําให้เขาได้ไปเมืองนอก ทําเอาเขายํ่าแย่ไป.
【 ทำเอาเจ็บ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเสียเจ็บ ก็ว่า.
【 ทำงน 】แปลว่า: ก. ห่วงใย, ยุ่งใจ. น. ภาระ. (ข. ทํงน่ ว่า หนัก).
【 ทำนบ 】แปลว่า: น. สิ่งก่อสร้างที่ปิดกั้นลำน้ำไม่ให้น้ำไหลผ่าน.
【 ทำนวย ๑ 】แปลว่า: น. หมู่, เหล่า.
【 ทำนวย ๒ 】แปลว่า: น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทํานวยน้อม.
(สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).
【 ทำนอง 】แปลว่า: น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน;
ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์
ทํานองเพลง.
【 ทำนองเสนาะ 】แปลว่า: น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรอง
ประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
【 ทำนาย 】แปลว่า: ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย
ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
【 ทำนุ 】แปลว่า: ก. บํารุง, อุดหนุน. (แผลงมาจาก ทะนุ).
【 ทำนุบำรุง 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทํานุบํารุงบิดามารดา ทํานุบํารุง
บุตรธิดา; ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทํานุบํารุง
วัด; ธํารงรักษาไว้ เช่น ทํานุบํารุงศาสนา ทํานุบํารุงบ้านเมือง,
ทะนุบํารุง ก็ว่า.
【 ทำนูล 】แปลว่า: ก. บอก, กล่าว; ยกขึ้นเทินหัว. (แผลงมาจาก ทูล). (ข.).
【 ทำเนา 】แปลว่า: ว. ช่างเถิด, ตามมี.
【 ทำเนียบ ๑ 】แปลว่า: น. ที่พักทางราชการของผู้มีตําแหน่งสูง เช่น ทําเนียบผู้สําเร็จราชการ,
ที่ทําการของคณะรัฐบาล เรียกว่า ทําเนียบรัฐบาล.
【 ทำเนียบ ๒ 】แปลว่า: ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลําดับตําแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบ
แบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบสมณศักดิ์ ทําเนียบราชการ, การแบ่ง
ประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบ
ช้าง ทําเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
【 ทำเนียบนาม 】แปลว่า: น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทําเนียบไว้ เช่น
นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อมตลอดจนถึงนาม
ที่ทางราชการเรียก.
【 ทำเนียม 】แปลว่า: ว. เทียม. (โบ) น. ธรรมเนียม. (สามดวง). (แผลงมาจาก เทียม).
【 ทำมัง 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Litsea petiolata/ Hook.f. ในวงศ์
Lauraceae ใบและเนื้อไม้มีกลิ่นคล้ายแมงดา, ชะมัง ก็เรียก.
【 ทำไม 】แปลว่า: ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา
อย่างนี้ ใครจะทําไม.
【 ทำลาย 】แปลว่า: ก. อาการที่ทําให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย,
ทําให้พัง เช่น ทําลายกําแพง, ทําให้ฉิบหาย เช่น ทําลายวงศ์ตระกูล,
ทําให้หมดสิ้นไป เช่น ทําลายชื่อเสียง ทําลายหลักฐาน. (แผลงมา
จากทลาย).
【 ทำลายขวัญ 】แปลว่า: ก. ทําให้เสียขวัญ.
【 ทำลายสถิติ 】แปลว่า: ก. สร้างสถิติขึ้นมาใหม่ให้ดีกว่าเหนือกว่าสถิติเดิม.
【 ทำเล 】แปลว่า: น. ถิ่นที่, ตำบล, ภูมิที่ตั้ง, (มักใช้แก่แหล่งทำมาหากิน) เช่น ทำเลการค้า.
【 ทำวน 】แปลว่า: ก. ห่วงใย, วุ่นวายใจ.
【 ทิคัมพร 】แปลว่า: [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตน
เป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร
(เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
【 ทิฆัมพร 】แปลว่า: [-พอน] น. ท้องฟ้า. (ป. ทีฆ + อมฺพร).
【 ทิ้ง 】แปลว่า: ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการ
ขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการ
เท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยน
หรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้
เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง;
เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง
หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล
พูดทิ้งไว้ที.
【 ทิ้งกระจาด 】แปลว่า: น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร
และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทิ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรยทาน
ต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
【 ทิ้งขว้าง 】แปลว่า: ก. ไม่เอาใจใส่ดูแล, พรากหนีไป.
【 ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ 】แปลว่า: ก. เอาใจใส่ดูแลบ้างไม่เอาใจใส่ดูแลบ้าง.
【 ทิ้งจดหมาย 】แปลว่า: ก. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์.
【 ทิ้งทวน 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทําอีกต่อไป;
ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวยโอกาสทําเป็น
ครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
【 ทิ้งทาน 】แปลว่า: ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, โปรยทาน ก็ว่า.
【 ทิ้งท้าย 】แปลว่า: ก. ปล่อยทีเด็ดตอนลงท้าย.
【 ทิ้งไพ่ 】แปลว่า: ก. ปล่อยไพ่ตัวที่ไม่ต้องการให้แก่มือล่าง.
【 ทิ้งฟ้อง 】แปลว่า: (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่ง
หมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการ
เพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอคําฟ้อง
แล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็น
สมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว.
【 ทิ้งมะพร้าวห้าว 】แปลว่า: น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา
แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
【 ทิ้งย่อ 】แปลว่า: ก. กระโดดลงมาแล้วย่อหัวเข่าพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.
【 ทิงเจอร์ 】แปลว่า: น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย เช่น
ทิงเจอร์ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึก
ไอโอดีนในเอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
【 ทิ้งถ่วง 】แปลว่า: /ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย./
【 ทิ้งถ่อน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด/ Albizia procera/ Benth. ในวงศ์
Leguminosae ใบมน ๆ เล็ก ๆ ดอกสีเหลือง เปลือกใช้ทํายาได้.
【 ทิ้งทูด 】แปลว่า: น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกทึดทือ, เท้งทูด ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
【 ทิช-, ทิชะ 】แปลว่า: ทิชะ- น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง คือ นก และพราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช).
【 ทิชากร 】แปลว่า: น. “ผู้เกิด ๒ ครั้ง”, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
【 ทิชาชาติ 】แปลว่า: น. “ผู้เกิด ๒ ครั้ง”, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
【 ทิชากร 】แปลว่า: /ดู ทิช-, ทิชะ./
【 ทิชาชาติ 】แปลว่า: /ดู ทิช-, ทิชะ./
【 ทิฏฐะ, ทิฐ- 】แปลว่า: ทิดถะ- ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ?; ส. ทฺฤษฺฏ).
【 ทิฐธรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺ?ธมฺม).
【 ทิฏฐานุคติ 】แปลว่า: (แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺ?านุคติ ว่า ดําเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).
【 ทิฏฐุชุกรรม 】แปลว่า: (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่าทําดี
ได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย
สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย
ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม).
(ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
【 ทิฐิ 】แปลว่า: [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความ
เห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
【 ทิด 】แปลว่า: น. คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
【 ทิต 】แปลว่า: (แบบ) ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป. ทิตฺต).
【 ทิน ๑ 】แปลว่า: (แบบ) ก. ให้แล้ว. (ป. ทินฺน).
【 ทิน ๒, ทิน- 】แปลว่า: ทินนะ- น. วัน. (ป., ส.).
【 ทินกร 】แปลว่า: [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
【 ทินศูนย์ 】แปลว่า: [ทินนะ-] น. วันร้าย (ใช้ในตําราหมอดู).
【 ทินาท 】แปลว่า: (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
【 ทิพ, ทิพ- 】แปลว่า: [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็น
ของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
【 ทิพจักขุ 】แปลว่า: [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญา
อย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
【 ทิพโสต 】แปลว่า: [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญา
อย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
【 ทิพย-, ทิพย์ 】แปลว่า: [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง
เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์,
ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
【 ทิพยจักษุ 】แปลว่า: [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญา
อย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
【 ทิพยจักษุญาณ 】แปลว่า: น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก.
(ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
【 ทิพยญาณ 】แปลว่า: น. ความรู้เป็นทิพย์.
【 ทิพยเนตร 】แปลว่า: น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด. (ส.; ป. ทิพฺพเนตฺต).
【 ทิพยพยาน 】แปลว่า: น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
【 ทิพยมานุษ 】แปลว่า: น. ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์. (ส.).
【 ทิพยรส 】แปลว่า: น. รสทิพย์, รสเลิศ.
【 ทิพยโศรตร 】แปลว่า: [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด,
เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
【 ทิพา 】แปลว่า: (แบบ) น. วัน.
【 ทิพากร 】แปลว่า: น. พระอาทิตย์.
【 ทิม 】แปลว่า: น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสําหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระราชวัง
เช่น ทิมตํารวจ ทิมกลอง.
【 ทิมดาบ 】แปลว่า: (โบ) น. ทิมที่พวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ.
【 ทิ่ม 】แปลว่า: ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น
เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
【 ทิ่มตำ 】แปลว่า: ว. อาการที่พูดทับถม ปรักปรํา ซํ้าเติมให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มตํา.
【 ทิ่มแทง 】แปลว่า: ก. ทิ่มให้ทะลุเข้าไป, อาการที่แทงซํ้าหลาย ๆ ครั้ง. ว. อาการที่พูด
เสียดสีให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มแทง.
【 ทิมทอง 】แปลว่า: น. ชื่อดาวฤกษ์สตภิสัช.
【 ทิว ๑ 】แปลว่า: น. แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น ทิวเขา ทิวไม้.
【 ทิว ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, เทียว ก็ว่า.
【 ทิว- ๓, ทิวะ 】แปลว่า: [ทิวะ-] น. วัน; สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่เทวโลก
หมายถึง ตาย. (ป., ส.).
【 ทิวกาล 】แปลว่า: น. เวลากลางวัน.
【 ทิวงคต 】แปลว่า: (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้
รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
【 ทิวทัศน์ 】แปลว่า: [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น
ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน
หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
【 ทิวส-, ทิวสะ 】แปลว่า: ทิวะสะ น. วัน. (ป., ส.).
【 ทิวสภาค 】แปลว่า: น. ส่วนของวัน. (ป.).
【 ทิวา 】แปลว่า: (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
【 ทิวากร 】แปลว่า: น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้าแนบนอน
ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
【 ทิวากาล 】แปลว่า: น. เวลากลางวัน.
【 ทิศ, ทิศา 】แปลว่า: น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
【 ทิศทาง 】แปลว่า: น. แนว, ทางที่มุ่งไป.
【 ทิศาดร 】แปลว่า: (กลอน) น. ทิศ.
【 ทิศานุทิศ 】แปลว่า: น. ทิศน้อยทิศใหญ่. (ส.).
【 ทิศาปาโมกข์ 】แปลว่า: น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
【 ที ๑ 】แปลว่า: น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก
จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
【 ทีใครทีมัน 】แปลว่า: น. โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น.
【 ทีเดียว 】แปลว่า: ว. ฉับพลัน, ทันที, เช่น พูดออกมาทีเดียวนะ; แท้จริง เช่น เก่งทีเดียว.
【 ทีนี้ 】แปลว่า: น. ต่อนี้ไป เช่น ทีนี้จะไม่ทําอีก.
【 ทีหลัง 】แปลว่า: น. ภายหลัง, หลังจากนั้น, ทีหน้าทีหลัง ก็ว่า.
【 ที ๒ 】แปลว่า: น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
【 ทีเด็ด 】แปลว่า: น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด.
【 ทีท่า 】แปลว่า: น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
【 ทีเล่นทีจริง 】แปลว่า: (สํา) ก. แสร้งทําเล่น ๆ หรือล้อหลอกเป็นการลองเชิงแต่เมื่อเห็นเขา
เผลอตัวหรือไม่ว่าก็เอาจริง, เล่นก็ได้ จริงก็ได้.
【 ที่ 】แปลว่า: น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น
ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น
ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่;
ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓
ที่อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า
เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น
ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
【 ที่กัลปนา 】แปลว่า: (กฎ) น. ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา.
【 ที่จริง 】แปลว่า: ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึง
ความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
【 ที่ดิน 】แปลว่า: น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมายความรวมถึง
ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะและที่ชายทะเลด้วย.
【 ที่ดินของรัฐ 】แปลว่า: (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือ
สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัย
หรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
【 ที่ดินมือเปล่า 】แปลว่า: น. ที่ดินซึ่งผู้ครอบครองยังไม่มีหนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน.
【 ที่ทาง 】แปลว่า: น. พื้นที่, ที่ดิน.
【 ที่ทำการ 】แปลว่า: น. สถานที่ทํางาน.
【 ที่เท่าแมวดิ้นตาย 】แปลว่า: (สํา) น. ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย.
【 ที่แท้ 】แปลว่า: สัน. ที่จริง.
【 ที่ธรณีสงฆ์ 】แปลว่า: (กฎ) น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
【 ที่นอน 】แปลว่า: น. ฟูก, เบาะ, เครื่องปูลาดสําหรับนอน, ราชาศัพท์เรียกว่า พระที่.
【 ที่นั่ง 】แปลว่า: (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น
พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออก
มหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ประทับ
สําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่ง
พุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ประทับในการเสด็จ
พระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่ง
ราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือ
ประทับ เช่น รถพระที่นั่งม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
【 ที่ปรึกษา 】แปลว่า: น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
【 ที่พึ่ง 】แปลว่า: น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัยยึด
เป็นหลัก เช่น ได้ตําราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึด
พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
【 ที่มั่น 】แปลว่า: น. ที่ตั้งสําหรับต่อสู้.
【 ที่มา 】แปลว่า: น. ต้นเค้า, ต้นกําเนิด.
【 ที่รัก 】แปลว่า: น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลา
พูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลายหรือในจดหมายที่มีไป
ถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
【 ที่ราชพัสดุ 】แปลว่า: (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้น
แต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดย
ประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมือง
ใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชาย
ตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวงทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของ
รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็น
ที่ราชพัสดุ.
【 ที่ราบ 】แปลว่า: น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่น
โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน
๑๕๐ เมตร.
【 ที่ราบสูง 】แปลว่า: น. ที่ราบซึ่งสูงกว่าระดับผิวโลกโดยรอบตั้งแต่ ๓๐๐ เมตรขึ้นไป.
【 ที่วัด 】แปลว่า: (กฎ) น. ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัด.
【 ที่ว่าการ 】แปลว่า: น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอําเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอําเภอ.
【 ที่สุด 】แปลว่า: น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อนกว่า
สิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
【 ที่หมาย 】แปลว่า: น. ที่ที่มุ่งไปให้ถึง, จุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง.
【 ที่ไหน 】แปลว่า: น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหนก็ได้; คําใช้
ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า
ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
【 ที่ไหนได้ 】แปลว่า: (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความประหลาดใจ
ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่าหนังสือเล่มนี้ราคาถึง
๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
【 ทีฆ- 】แปลว่า: ทีคะ- ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ป.; ส. ทีรฺฆ).
【 ทีฆชาติ 】แปลว่า: น. งู. (ป.).
【 ทีฆนิกาย 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่าหมวดยาว
รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.
【 ทีฆสระ 】แปลว่า: น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษา
สันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่
อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
【 ทีฆายุ 】แปลว่า: (แบบ) ว. อายุยืน. (ป.).
【 ทีฆายุ 】แปลว่า: /ดู ทีฆ-./
【 ทีป, ทีปะ 】แปลว่า: ทีบ, ทีปะ น. เกาะ; แสงไฟ. (ป., ส.).
【 ทีม 】แปลว่า: น. ชุด, หมู่, คณะ. (อ. team).
【 ทีรฆ- 】แปลว่า: ทีระคะ- ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ส.; ป. ทีฆ).
【 ทีเอ็นที 】แปลว่า: น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene)
มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็งมีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน
หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
【 ทึก ๑, ทึกทัก 】แปลว่า: ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้.
【 ทึก ๒ 】แปลว่า: น. นํ้า. (ข.).
【 ทึ่ง 】แปลว่า: (ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา
ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ,
(ใช้ในทางที่ดี).
【 ทึ้ง 】แปลว่า: ก. พยายามดึงของเหนียวหรือสิ่งที่ติดอยู่แน่นแล้ว ๆ เล่า ๆ เช่น
ทึ้งผม แร้งทึ้งศพ.
【 ทึดทือ 】แปลว่า: น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล
มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว
เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ
ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (/Ketupa zeylonensis/) และ
ทึดทือมลายู (/K. ketupa/).
【 ทึนทึก 】แปลว่า: ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึนทึก, เรียกสาวใหญ่
ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึนทึก, ทึมทึก ก็ว่า.
【 ทึบ 】แปลว่า: ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น
ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง,
หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่าโง่มาก เช่น
ปัญญาทึบ สมองทึบ.
【 ทึม ๑ 】แปลว่า: น. โรงสําหรับตั้งศพเพื่อประกอบพิธีก่อนเผา เรียกว่า โรงทึม.
【 ทึม ๒, ทึม ๆ 】แปลว่า: ว. ครึ้ม, มัวซัว, เช่น ท้องฟ้าทึม สีทึม ๆ.
【 ทึ่ม 】แปลว่า: (ปาก) ว. ทื่อ, ไม่เฉียบแหลม, โง่.
【 ทึมทึก 】แปลว่า: ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึมทึก, เรียกสาวใหญ่
ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึมทึก, ทึนทึก ก็ว่า.
【 ทื่อ 】แปลว่า: ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่เฉียบแหลม
เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุก
กระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่
ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
【 ทุ ๑ 】แปลว่า: ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก,
เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก,
ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. /(ดู ทุร ประกอบ)./ (ป.; ส. เดิม
เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ
สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น
ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ
คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร
กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร,
ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ
ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ,
ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น
อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล
ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน
ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร
(ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ +
อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
【 ทุ ๒ 】แปลว่า: (แบบ) ว. สอง, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
【 ทุ ๓ 】แปลว่า: /ดู กระทุ./
【 ทุก ๑, ทุก ๆ 】แปลว่า: ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น
หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี
ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
【 ทุกที 】แปลว่า: ว. อาการที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกขณะ เช่น ห่างออกไปทุกที
ใกล้เข้ามาทุกที.
【 ทุกพาย 】แปลว่า: (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
【 ทุกเมื่อ 】แปลว่า: ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
【 ทุกเมื่อเชื่อวัน 】แปลว่า: ว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.
【 ทุกวันนี้ 】แปลว่า: ว. ขณะนี้, ในปัจจุบันนี้.
【 ทุกวี่ทุกวัน 】แปลว่า: (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
【 ทุกสิ่งทุกอย่าง 】แปลว่า: ว. ทั้งหมด.
【 ทุกหน 】แปลว่า: ว. ทุกครั้ง.
【 ทุกหนทุกแห่ง, ทุกแห่ง 】แปลว่า: ว. ทุกที่ทุกทาง, ทุกตําบล.
【 ทุกหย่อมหญ้า 】แปลว่า: ว. ทุกหนทุกแห่ง.
【 ทุกหัวระแหง 】แปลว่า: ว. ทุกแห่งหน.
【 ทุก ๒ 】แปลว่า: /ดู ค้าว./
【 ทุก- ๓, ทุกะ 】แปลว่า: ทุกะ- น. หมวด ๒. (ป.).
【 ทุกนิบาต 】แปลว่า: น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กําหนดด้วยธรรมหรือคาถา
ที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
【 ทุกข-, ทุกข์ 】แปลว่า: [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ.
(ป.; ส. ทุะข).
【 ทุกขนิโรธ 】แปลว่า: [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๓. (ป.).
【 ทุกขลาภ 】แปลว่า: [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้
มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
【 ทุกขเวทนา 】แปลว่า: [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึก
เจ็บปวดทรมาน. (ป.).
【 ทุกขสมุทัย 】แปลว่า: [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).
【 ทุกข์สุข 】แปลว่า: น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
【 ทุกขารมณ์ 】แปลว่า: น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
【 ทุกขักษัย 】แปลว่า: ทุกขักไส น. การหมดทุกข์, พระนิพพาน. (ส. ทุะข + กฺษย;
ป. ทุกฺขกฺขย).
【 ทุกขารมณ์ 】แปลว่า: /ดู ทุกข-, ทุกข์./
【 ทุกฏ 】แปลว่า: ทุกกด น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗.
(ป. ทุกฺกฏ).
【 ทุกร- 】แปลว่า: ทุกกะระ- น. สิ่งที่ทําได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).
【 ทุกรกิริยา 】แปลว่า: น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียรเพื่อบรรลุ
ธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒
ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
【 ทุกษดร 】แปลว่า: [ทุกสะดอน] (โบ; กลอน) ว. ทุกข์ยิ่งกว่า. (ป. ทุกฺขตร).
【 ทุกัง 】แปลว่า: /ดู ทูกัง./
【 ทุกูล 】แปลว่า: (แบบ) น. ผ้าอย่างดี, มักใช้ว่า ผ้าทุกูลพัสตร์. (ป., ส.).
【 ทุคตะ 】แปลว่า: [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
【 ทุคติ 】แปลว่า: [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก.
(ป. ทุคฺคติ).
【 ทุ่ง ๑ 】แปลว่า: น. ที่ราบโล่ง.
【 ทุ่ง ๒ 】แปลว่า: น. ขี้. ก. ขี้.
【 ทุ้ง ๑ 】แปลว่า: ว. ตุง, ตุ่ยออกมา. น. ฝักบัวที่ย้อยลงมา เช่น เปิดนํ้าลงตามทุ้ง
สหัสธารา. (สิบสองเดือน).
【 ทุ้ง ๒ 】แปลว่า: ก. กระทุ้ง เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
【 ทุงงะ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด /Acrossocheilus dukai/
ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณ
หัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่
มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา
ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
【 ทุงเทง 】แปลว่า: /ดู โทงเทง ๑./
【 ทุจจิณณะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ประพฤติชั่วแล้ว, ทําชั่วแล้ว, อบรมไม่ดี. (ป. ทุจฺจิณฺณ).
【 ทุจริต 】แปลว่า: [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย
เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต,
ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต
ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น
คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
【 ทุด 】แปลว่า: อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
【 ทุตวิลัมพิตมาลา 】แปลว่า: [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ
น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า
ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
【 ทุติย- 】แปลว่า: ทุติยะ- ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน
๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน =
วันที่ ๒. (ป.).
【 ทุติยาสาฬหะ 】แปลว่า: -สานหะ น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
【 ทุทรรศนนิยม, ทุนิยม 】แปลว่า: น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด;
การมองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
【 ทุน 】แปลว่า: น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์
ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ
ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
【 ทุนจดทะเบียน 】แปลว่า: (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย
และได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัทโดยแยกออก
เป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวนสูงสุดของหุ้น
ที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
【 ทุนทรัพย์ 】แปลว่า: [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จํานวนทรัพย์ที่ตั้งเป็นทุน
(กฎ) จํานวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
【 ทุนนอน 】แปลว่า: น. เงินทุนประจําที่ได้ดอกผลเสมอ.
【 ทุนนิยม 】แปลว่า: น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพยากร
ที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
【 ทุนรอน 】แปลว่า: น. ทรัพย์ที่มีเอาไว้ใช้สอยหาผลประโยชน์.
【 ทุนเรือนหุ้น 】แปลว่า: (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ
เท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
【 ทุนสำรอง 】แปลว่า: (กฎ) น. เงินที่จัดสรรไว้จากเงินกําไรของบริษัทตามที่กําหนดไว้ใน
กฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล.
【 ทุนสำรองเงินตรา 】แปลว่า: (กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้
เพื่อดํารงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
【 ทุนหมุนเวียน 】แปลว่า: (กฎ) น. ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นํารายรับสมทบทุนไว้
ใช้จ่ายได้.
【 ทุ่น 】แปลว่า: น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า
เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น
ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง,
โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู.
ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
【 ทุ่นเบ็ด 】แปลว่า: น. ทุ่นสําหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าปลากินเบ็ด.
【 ทุ่นระเบิด 】แปลว่า: น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอยประจําอยู่ใต้นํ้า
เพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทางทะเล, ถ้าใช้ฝัง
พรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณาบริเวณที่วาง
ทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการเคลื่อนไหวของฝ่าย
ศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่นระเบิด, เรียกลักษณะ
การทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่ากวาดทุ่นระเบิด.
【 ทุ่นอวน 】แปลว่า: น. ทุ่นสําหรับผูกอวนไม่ให้จม.
【 ทุนนิมิต 】แปลว่า: ทุนนิมิด] (แบบ) น. ลางร้าย; เครื่องหมายอันชั่วร้าย. (ป. ทุนฺนิมิตฺต).
【 ทุบ 】แปลว่า: ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไป
บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือ
เพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย
เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการ
ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากําปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
【 ทุบตี 】แปลว่า: ก. ทําร้ายร่างกายด้วยการทุบ ตี เตะ ต่อย เป็นต้น.
【 ทุบหม้อข้าว 】แปลว่า: (สํา) ก. ตัดอาชีพ, ทําลายหนทางทำมาหากิน.
【 ทุบทู 】แปลว่า: น. เครื่องบังตัวป้องกันอาวุธของโบราณชนิดหนึ่ง.
【 ทุปปัญญา 】แปลว่า: ทุบ- น. ปัญญาทราม. (ป.).
【 ทุพพรรณ 】แปลว่า: ทุบ- ว. มีสีไม่งาม, มีผิวไม่งาม. (ป. ทุพฺพณฺณ; ส. ทุรฺวรฺณ).
【 ทุพพล 】แปลว่า: ทุบพน ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้, ทุรพล ก็ว่า.
(ป.; ส. ทุรฺพล).
【 ทุพพลภาพ 】แปลว่า: [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะประกอบการงาน
ตามปรกติได้.
【 ทุพภิกขภัย 】แปลว่า: [ทุบพิกขะไพ] น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลน
อาหารในบ้านเมือง. (ป.).
【 ทุพภิกขันดร, ทุพภิกขันดรกัป 】แปลว่า: [ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ว่า
เป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่
ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
【 ทุม, ทุม- 】แปลว่า: (แบบ) น. ต้นไม้. (ป.).
【 ทุมราชา 】แปลว่า: [ทุมมะ-] น. พญาไม้, ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้ ใช้ว่า ไม้โพ ก็มี.
(พจน. ๒๔๙๓).
【 ทุ่ม 】แปลว่า: ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง,
ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน;
ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา
ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา
ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า
สองยาม.
【 ทุ่มตลาด 】แปลว่า: ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติ; (กฎ)
นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติของ
สินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการอุตสาหกรรม
ภายในประเทศ. (อ. dumping).
【 ทุ่มเถียง 】แปลว่า: ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
【 ทุ่มเท 】แปลว่า: ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น
ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
【 ทุ้ม 】แปลว่า: ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียก
ระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่ามีไม้นวม ๒ อัน
สําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
【 ทุมโน 】แปลว่า: [ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจ
ไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
【 ทุย 】แปลว่า: ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ
จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้าว่า
มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็นคํา
เรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
【 ทุ้ย 】แปลว่า: ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง.
【 ทุร- 】แปลว่า: [ทุระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก,
น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลําบาก. (ส.).
【 ทุรกันดาร 】แปลว่า: ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
【 ทุรคม 】แปลว่า: ก. ไปลําบาก, ไปถึงยาก. (ส.).
【 ทุรชน 】แปลว่า: น. ทรชน, คนชั่วร้าย. (ส.).
【 ทุรชาติ 】แปลว่า: น. ชาติชั่ว. (ส.).
【 ทุรพล 】แปลว่า: ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้, ทุพพล ก็ว่า. (ส.).
【 ทุรภิกษ์ 】แปลว่า: น. การอัตคัดเสบียง. (ส.).
【 ทุรลักษณ์ 】แปลว่า: ว. มีลักษณะไม่ดี; มีเครื่องหมายชั่ว. (ส.).
【 ทุรศีลธรรม 】แปลว่า: น. การกระทำผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน. (อ. immoral).
【 ทุรน 】แปลว่า: (กลอน) ก. เดือดร้อน, ดิ้นรน, เช่น จะทุรนเดือดแด. (นิทราชาคริต).
【 ทุรนทุราย 】แปลว่า: ก. กระวนกระวาย, กระสับกระส่าย, ดิ้นรนจะให้พ้นจากทรมาน.
【 ทุรัถยา 】แปลว่า: -รัดถะยา น. ทางไกล. (พงศ. เลขา).
【 ทุรัศ 】แปลว่า: (กลอน) ว. ไกล เช่น ทุรัศกันดาร. (ส.; ป. ทูร).
【 ทุราคม 】แปลว่า: น. การถึงลําบาก, การอยู่ทางไกล. (ป.).
【 ทุราจาร 】แปลว่า: น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
【 ทุราธวา 】แปลว่า: ทุราทะวา น. ทางลําบาก, ทางทุรกันดาร. [ส. ทุรธฺวา,
ทุรฺ- (ยาก, ลำบาก) + อธฺวนฺ (ทางไกล)].
【 ทุเรศ 】แปลว่า: (ปาก) คําพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือเป็น
ที่น่าสมเพชเป็นต้น.
【 ทุเรียน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด /Durio zibethinus/ L. ในวงศ์ Bombacaceae
ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์
เช่น กบ ก้านยาว กําปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
【 ทุเรียนแขก 】แปลว่า: /ดู ทุเรียนเทศ./
【 ทุเรียนเทศ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด /Annona muricata/ L. ในวงศ์
Annonaceae ผลมีหนามขรุขระ รสหวานอมเปรี้ยว กินได้,
ทุเรียนแขก ก็เรียก.
【 ทุลักทุเล 】แปลว่า: ว. อาการที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบ.
【 ทุเลา 】แปลว่า: ก. ค่อยยังชั่ว เช่น ไข้ทุเลา; ผ่อนผัน เช่น ขอทุเลาไปอีกสัก ๒-๓ วัน.
【 ทุวิธะ 】แปลว่า: (แบบ) ว. ๒ อย่าง. (ป.).
【 ทุศีล 】แปลว่า: ว. ล่วงละเมิดศีลหรือวินัย (มักใช้แก่นักบวชนักพรต). (ส.; ป. ทุสฺสีล).
【 ทุษฐ- 】แปลว่า: [ทุดถะ-] ก. ประทุษร้าย. (ส.; ป. ทุฏฺ?).
【 ทุส-, ทุสสะ 】แปลว่า: ทุดสะ- น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
【 ทุสสีล 】แปลว่า: ทุดสีน ว. ทุศีล. (ป.).
【 ทู ๑ 】แปลว่า: (กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคําโคทู. (เสือโค).
【 ทู ๒ 】แปลว่า: (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด/ Rastrelliger brachysoma /ในวงศ์ Scombridae
ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบปากกว้างเอียงขึ้น
เล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้ามกับครีบก้น โดยต่าง
ก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็กบาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน
ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดํา ๓-๖ จุดเรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสี
ขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) /ดู ลัง ๒./
【 ทูโม่ง 】แปลว่า: /ดู ลัง ๒/.
【 ทู่ 】แปลว่า: ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลม
ไปเพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
【 ทู้ 】แปลว่า: ก. ยอมอยู่ในอํานาจ.
【 ทูกัง 】แปลว่า: น. ชื่อปลาทะเลชนิด /Arius leiotetocephalus /ในวงศ์ Ariidae
ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบ
เป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลา
ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่น
กลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือ
นํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
【 ทู่ซี้ 】แปลว่า: (ปาก) ก. ทนไปจนกว่าจะตาย.
【 ทูต 】แปลว่า: น. ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร,
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือ
เจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).
【 ทูตานุทูต 】แปลว่า: น. ทูตใหญ่น้อย, คณะทูต. (ป.).
【 ทูน ๑ 】แปลว่า: ก. เทิน, เอาของไว้บนศีรษะ, เช่น เอาของทูนหัว.
【 ทูนหัว 】แปลว่า: น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัวแม่ทูนหัว.
【 ทูน ๒ 】แปลว่า: ว. ชิดทางใน (บอกควายในเวลาไถนา).
【 ทูน้ำจืด 】แปลว่า: /ดู นวลจันทร์ทะเล./
【 ทูบ 】แปลว่า: น. ไม้แม่แคร่เกวียนที่ยื่นออกไปติดกับแอก.
【 ทูม 】แปลว่า: ก. บวม, อูม, ในคําว่า คางทูม หมายถึงโรคที่ทําให้คางบวม.
【 ทูมทาม 】แปลว่า: ว. เทิบทาบ.
【 ทูร- 】แปลว่า: [ทูระ-] ว. คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น
ทูรบถทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).
【 ทูล 】แปลว่า: ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).
【 ทูลกระหม่อม ๑ 】แปลว่า: น. คําสําหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสีหรือมี
พระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลใด
รัชกาลหนึ่ง.
【 ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย 】แปลว่า: (ราชา) ก. ถวาย
【 (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 】แปลว่า:
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี),
ในการเขียนใช้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือ ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
【 ทูลกระหม่อม ๑ 】แปลว่า: /ดูใน ทูล./
【 ทูลกระหม่อม ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด /Thaipotamon chulabhorn/ ในวงศ์ Potamidae
กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม
ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก
จังหวัดมหาสารคาม.
【 ทูเลียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
หลอมละลายที่ ๑๕๔๕?ซ. (อ. thulium).
【 ทูษก 】แปลว่า: ทู-สก น. ผู้ประทุษร้าย. (ส.; ป. ทูสก).
【 เท 】แปลว่า: ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือออกไป
เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น
เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คน
จํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือตะแคงไป
ข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เทเท่ากับ ๒๐
ทะนาน.
【 เทกระจาด 】แปลว่า: ก. อาการที่รถบรรทุกหรือรถโดยสารเกิดอุบัติเหตุทําให้ผู้โดยสารตาย
หรือได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของต้องเสียหายไปทั้งคัน.
【 เทกระเป๋า 】แปลว่า: ก. ใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าหรือเท่าที่ติดตัวไป.
【 เทครัว 】แปลว่า: ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียกชายที่ได้
หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
【 เทคอนกรีต 】แปลว่า: ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และกรวดหรือหินผสมกับนํ้าแล้วเทให้เป็น
พื้นแข็งหรือทําถนนเป็นต้น.
【 เทน้ำเทท่า 】แปลว่า: (ปาก) ว. คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคํา ขาย เป็นขายดีอย่าง
เทนํ้าเทท่า.
【 เทปูน 】แปลว่า: ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และปูนขาวผสมกับนํ้าแล้วเทให้เป็นพื้น
เสา เป็นต้น.
【 เท่ 】แปลว่า: ว. เอียงน้อย ๆ (มักใช้แก่การสวมหมวก); โก้เก๋ เช่น แต่งตัวเท่.
【 เทคนิค 】แปลว่า: น. ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้น ๆ. (อ. technique).
【 เทคนีเชียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นัก
วิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. technetium).
【 เทคโนโลยี 】แปลว่า: น. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
【 เทง, เท้ง ๑ 】แปลว่า: (โบ) ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น
ตื่นนอนใครแลมาเท้งทรวารพระกุฎีดูดังนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
【 เท้ง ๒ 】แปลว่า: (กลอน) ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา. (ตะเลงพ่าย).
【 เท้ง ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกําปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น
ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับ
ชักใบ กลางลํามีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย
หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุน
เรือนแพ.
【 เท้งเต้ง 】แปลว่า: ว. อาการที่ลอยไปลอยมาตามเรื่องตามราว เช่น เรือลอยเท้งเต้ง.
【 เท้งทูด 】แปลว่า: (กลอน) น. นกทิ้งทูด.
【 เท็จ 】แปลว่า: ว. ปด, โกหก, ไม่จริง.
【 เท็จจริง 】แปลว่า: ว. จริงเท่าที่ปรากฏ.
【 เท็จเทียม 】แปลว่า: ว. ไม่ใช่ของจริง, ไม่ใช่ของแท้.
【 เทนนิส 】แปลว่า: น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นใช้ไม้แร็กเกตตีลูกยางกลมหุ้มสักหลาด
ข้ามตาข่ายโต้กันไปมา, เรียกลูกยางกลมหุ้มสักหลาดที่ใช้เล่น
เทนนิสว่า ลูกเทนนิส. (อ. tennis).
【 เทพ ๑, เทพ- 】แปลว่า: [เทบ, เทบพะ-] น. เทวดา. (ป., ส. เทว).
【 เทพกุสุม 】แปลว่า: [เทบ-] น. กานพลู. (ส.)
【 เทพเจ้า 】แปลว่า: น. เทวดาผู้เป็นใหญ่.
【 เทพชุมนุม 】แปลว่า: [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อภาพเขียนรูปเทวดา
นั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตนขึ้นไปตามฝาผนังใน
พระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียวหรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
【 เทพดา 】แปลว่า: [เทบพะ-] น. เทวดา, (โบ) เทพยดา.
【 เทพดำรู 】แปลว่า: [เทบ-] น. ไม้สวรรค์ (มี ๕ คือ มนทาร ปาริชาตก สันตาน กัลปพฤกษ์
หริจันทน์).
【 เทพธิดา 】แปลว่า: [เทบ-] น. นางฟ้า, เทวดาผู้หญิง. (ป. เทวธีตา).
【 เทพนม 】แปลว่า: [เทบพะนม] น. ชื่อรูปหรือลายมีเทวดาประนมมือ; ชื่อท่ามวย ท่าหนึ่ง,
ชื่อท่ารําท่าหนึ่ง.
【 เทพนารี 】แปลว่า: [เทบ-] น. นางกษัตริย์, เจ้าหญิง.
【 เทพนิยม 】แปลว่า: [เทบ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าจํานวนมากประจําอยู่ในสรรพสิ่ง
แต่พระเจ้านั้นไม่มีอํานาจครอบครองโลก.
【 เทพนิยาย 】แปลว่า: น. เรื่องราวหรือตํานานเกี่ยวกับเทวดา.
【 เทพนิยายวิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยเทพนิยาย.
【 เทพนิรมิต 】แปลว่า: น. ธรรมดา, ธรรมชาติ. (ส.).
【 เทพบดี 】แปลว่า: [เทบบอดี] น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอินทร์. (ส.).
【 เทพบริษัท 】แปลว่า: [เทบบอริสัด] น. พวกเทวดา. (ส.).
【 เทพบุตร 】แปลว่า: [เทบพะบุด] น. เทวดาผู้ชาย. (ส.).
【 เทพประติมา 】แปลว่า: น. รูปเทวดาที่นับถือ. (ส.).
【 เทพพยากรณ์ 】แปลว่า: [เทบ-] น. คําทํานายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่มนุษย์ได้รับจากพระเจ้า
หรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง มักมีนักบวชหรือคนทรงเป็นสื่อกลาง.
【 เทพสังหรณ์ 】แปลว่า: [เทบ-] น. เทวดามาดลใจ.
【 เทพาดิเทพ 】แปลว่า: น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น. (ป. เทวาติเทว).
【 เทพาธิบดี 】แปลว่า: น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอิศวร. (ป., ส.).
【 เทพารักษ์ 】แปลว่า: น. เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. (ส.).
【 เทพินทร์ 】แปลว่า: น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
【 เทเพนทร์ 】แปลว่า: น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
【 เทพ ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า เทพ เช่น เทพชาตรี
เทพทอง เทพนิมิต เทพบรรทม เทพประทม เทพรัญจวน.
【 เทพ ๓ 】แปลว่า: น. สมณศักดิ์พระราชาคณะสูงกว่าชั้นราช ตํ่ากว่าชั้นธรรม เรียกว่า
ชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี.
【 เทพทัณฑ์ 】แปลว่า: [เทบพะ-] น. ไม้มีปลายพันผ้าสําหรับชุบนํ้ามันจุดไฟในพระราชพิธี
กัตติเกยา.
【 เทพทารู, เทพทาโร 】แปลว่า: [เทบพะ-] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด /Cinnamomum porrectum/
Kosterm. ในวงศ์ Lauraceae ใบ เปลือก และราก มีกลิ่นหอมคล้าย
การบูร ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้, จวง หรือ จวงหอม ก็เรียก.
(ป. เทวทารุ).
【 เทพย- 】แปลว่า: เทบพะยะ- น. เทวดา.
【 เทพยเจ้า, เทพยดา, เทพยุดา 】แปลว่า: (โบ) น. เทวดา.
【 เทพา 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Pangasius sanitwongsei /ในวงศ์ Schilbeidae
ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีครีบหลัง ครีบอก และ
ครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่เหนือครีบอกหลัง
กระพุ้งแก้ม พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง
เมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
【 เทพาดิเทพ 】แปลว่า: /ดู เทพ ๑, เทพ-./
【 เทพาธิบดี 】แปลว่า: /ดู เทพ ๑, เทพ-./
【 เทพารักษ์ 】แปลว่า: /ดู เทพ ๑, เทพ-./
【 เทพิน 】แปลว่า: (กลอน) น. นางกษัตริย์. (ส.).
【 เทพินทร์ 】แปลว่า: /ดู เทพ ๑, เทพ-./
【 เทพี ๑ 】แปลว่า: น. เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา
ว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.
【 เทพี ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้เถาชนิด /Caesalpinia crista/ L. ในวงศ์ Leguminosae
ลําต้นมีหนาม ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อสั้น ๆ.
【 เทพีปักษี 】แปลว่า: น. ชื่อโรคซึ่งเกิดแก่เด็ก ตําราแพทย์แผนโบราณว่าทําให้มีอาการ
ท้องขึ้น มือเท้าเย็น ศีรษะร้อน.
【 เทเพนทร์ 】แปลว่า: /ดู เทพ ๑, เทพ-./
【 เทโพ 】แปลว่า: น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด /Pangasius larnaudii/ ในวงศ์ Schilbeidae
ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดําเด่นอยู่เหนือต้นครีบอก
และพื้นลําตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขต
ภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขงขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร.
【 เทริด 】แปลว่า: [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า.
(รูปภาพ เทริด)
【 เทลลูเรียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว
คล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่
๔๔๙.๕?ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็น
โลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. (อ. tellurium).
【 เทว- ๑ 】แปลว่า: เทวะ- น. เทวดา, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป., ส.).
【 เทวทัณฑ์ 】แปลว่า: น. อาชญาเทวดา, เทวดาลงโทษ, บางทีประสงค์เอาฟ้าผ่า.
【 เทวทูต 】แปลว่า: น. ชื่อคติแห่งธรรมดา ๓ ประการ คือ ชรา พยาธิ มรณะ.
【 เทวธรรม 】แปลว่า: น. ธรรมสําหรับเทวดา, ธรรมสําหรับทําบุคคลให้เป็นเทวดา คือ
หิริ และ โอตตัปปะ.
【 เทวธิดา 】แปลว่า: น. นางฟ้า.
【 เทวนาครี 】แปลว่า: [เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สําหรับเขียนภาษาสันสกฤต.
【 เทวนิยม 】แปลว่า: น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้น
ทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก.
(อ. theism).
【 เทวรูป 】แปลว่า: น. รูปเทพเจ้าหรือเทวดาที่เคารพนับถือ.
【 เทวโลก 】แปลว่า: น. ภูมิเป็นที่สถิตของเทวดา.
【 เทววิทยา 】แปลว่า: น. วิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลก.
(อ. theology).
【 เทวสถาน 】แปลว่า: น. สถานที่ซึ่งถือว่าเป็นที่ประทับหรือสิงสถิตของเทพเจ้าหรือเทวดา,
ที่ประดิษฐานเทวรูป.
【 เทวาคาร 】แปลว่า: น. ศาลพระภูมิ, ศาลเจ้า. (ส.).
【 เทวารัณย์ 】แปลว่า: น. สวนสวรรค์. (ส.).
【 เทวาลัย, เทวาวาส 】แปลว่า: น. ที่ซึ่งสมมุติว่าเป็นที่อยู่ของเทวดา. (ส.).
【 เทวินทร์, เทเวนทร์ 】แปลว่า: น. หัวหน้าเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
【 เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ 】แปลว่า: [-เวด] น. เทวดาผู้เป็นใหญ่, หัวหน้าเทวดา; พระราชา, เจ้านาย.
【 เทว- ๒ 】แปลว่า: ทะเว- ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว).
【 เทวภาวะ 】แปลว่า: น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
【 เทววาจิกะ 】แปลว่า: ว. ที่ทําด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลา
แรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ
๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มี
พระสงฆ์.
【 เทวสุคนธ์ 】แปลว่า: น. กลิ่นหอม ๒ อย่าง คือ กลิ่นที่เกิดจากรากบุนนาคและรากมะซาง.
【 เทวดา 】แปลว่า: [เทวะ-] น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์.
(ป., ส. เทวตา).
【 เทวดาเดินหน 】แปลว่า: น. ชื่อเทวดาที่อยู่ระหว่างสวรรค์กับพื้นดิน.
【 เทวดายืนแท่น 】แปลว่า: น. เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่าเทวดายืนแท่น.
【 เทวนะ 】แปลว่า: เทวะ- น. การเล่น, การเล่นสกา, การกรีฑา. (ป., ส.).
【 เทวระ 】แปลว่า: เทวะ- น. พี่ผัว, น้องผัว. (ป.).
【 เทวศ 】แปลว่า: [ทะเวด] น. เทวษ.
【 เทวษ 】แปลว่า: [ทะเวด] น. การครํ่าครวญ, ความลําบาก. (ส.).
【 เทวอ 】แปลว่า: [ทะเวอ] ก. ทํา, กระทํา. (ข. เธฺวอ).
【 เทวัญ 】แปลว่า: น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์.
【 เทวัน 】แปลว่า: น. พี่เขย, น้องเขย. (ส.).
【 เทวาคาร 】แปลว่า: /ดู เทว- ๑./
【 เทวารัณย์ 】แปลว่า: /ดู เทว- ๑./
【 เทวาลัย, เทวาวาส 】แปลว่า: /ดู เทว- ๑./
【 เทวินทร์, เทเวนทร์ 】แปลว่า: /ดู เทว- ๑./
【 เทวี 】แปลว่า: น. เทวดาผู้หญิง, นางพญา, นางกษัตริย์. (ป.).
【 เทเวศ, เทเวศร์, เทเวศวร์ 】แปลว่า: /ดู เทว- ๑./
【 เทศ, เทศ-, เทศะ 】แปลว่า: [เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น.
【 ถิ่นที่, 】แปลว่า:
ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
【 เทศกาล 】แปลว่า: น. คราวสมัยที่กําหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทําบุญและการรื่นเริงใน
ท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนา
ไม่ได้ทํานาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
【 เทศบัญญัติ 】แปลว่า: (กฎ) น. บทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้นเพื่อใช้บังคับภายในเขต
เทศบาลนั้น.
【 เทศบาล 】แปลว่า: (กฎ) น. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแบบหนึ่ง.
【 เทศมนตรี 】แปลว่า: (กฎ) น. ตําแหน่งผู้บริหารงานเทศบาล ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ
คณะเทศมนตรี.
【 เทศาจาร 】แปลว่า: น. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. (ส.).
【 เทศาภิบาล 】แปลว่า: (เลิก) น. ตําแหน่งผู้สําเร็จราชการมณฑลในสมัยหนึ่งต่อมาเปลี่ยน
เรียกว่า สมุหเทศาภิบาล.
【 เทศก 】แปลว่า: [เท-สก] น. ผู้ชี้แจง, ผู้แสดง, ผู้แสดงธรรม. (ส.).
【 เทศน์, เทศนา 】แปลว่า: [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา.
ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่า
ว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
【 เทศน์แจง 】แปลว่า: น. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความ
เป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในการ
สังคายนาครั้งแรก.
【 เทศนาโวหาร 】แปลว่า: น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ.
【 เทศาจาร 】แปลว่า: /ดู เทศ, เทศ-, เทศะ./
【 เทศาภิบาล 】แปลว่า: /ดู เทศ, เทศ-, เทศะ./
【 เทห-, เทห์, เท่ห์ 】แปลว่า: [เทหะ-] น. ตัว. (ป., ส. เทห ว่า ร่างกาย).
【 เทห์ฟากฟ้า 】แปลว่า: (ดารา) น. เทหวัตถุในท้องฟ้าหรือในอวกาศ เช่น ดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์ อุกกาบาต, บางทีใช้ เทห์ฟ้า. (อ. celestial body,
heavenly body).
【 เทหวัตถุ 】แปลว่า: เทหะ- น. ก้อนหรือชิ้นหรือส่วนหนึ่งของสสารอาจเป็นของแข็ง
ของเหลว หรือแก๊ส ก็ได้. (อ. body).
【 เท่อ 】แปลว่า: ว. ทื่อ, ไม่ฉลาด, มักใช้พูดว่า ขี้เท่อ; ไม่ส่าย (ใช้แก่ว่าว).
【 เท้อ 】แปลว่า: ว. อาการที่นํ้าขึ้นมากเต็มที่แล้วไม่ลดลงชั่วระยะหนึ่ง เรียกว่า
นํ้าเท้อ; ไม่อยากอาหารเพราะยังอิ่มอยู่เป็นต้น.
【 เทอญ 】แปลว่า: [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็น
ดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
【 เทอม 】แปลว่า: [เทิม] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ, ภาคเรียน, เรียกค่า
เล่าเรียนที่เก็บในภาคเรียนหนึ่ง ๆ ว่า ค่าเทอม. (อ. term).
【 เทอร์เบียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๖๕ สัญลักษณ์ Tb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
หลอมละลายที่ ๑๓๕๖?ซ. (อ. terbium).
【 เทอร์โมมิเตอร์ 】แปลว่า: น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ อาจประกอบด้วยปรอท แอลกอฮอล์
แก๊ส หรือโลหะเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนํา
ไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก.
(อ. thermometer).
【 เทอะทะ 】แปลว่า: ว. ไม่ได้รูปได้ทรง (มักใช้แก่ลักษณะที่อ้วนหรือหนา) เช่น อ้วนเทอะทะ
หนาเทอะทะ.
【 เทา ๑ 】แปลว่า: ก. ไป, ใช้ว่า เต้า ก็มี. (ข.).
【 เทา ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อสาหร่ายสีเขียวนํ้าจืดชนิดหนึ่งในสกุล /Spirogyra/ วงศ์
Zygnemataceae เป็นเส้นละเอียดสีเขียว มีเมือกลื่น ลอยอยู่ในนํ้า
บางชนิดกินได้, ผักไก ก็เรียก.
【 เทา ๓ 】แปลว่า: ว. สีหม่น ๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา.
【 เทา ๔ 】แปลว่า: ก. ยอบตัวลง, หมอบลง, คุกเข่า. ว. มีอาการสั่นรัว ๆ อย่างคนเป็นไข้
เรียกว่า สั่นเทา.
【 เท่า ๑ 】แปลว่า: ว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่,
เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จํานวนที่เพิ่มขึ้น
ตามส่วนของจํานวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจํานวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓
ส่วนของจํานวนเดิม.
【 เท่ากับ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ = หมายความว่า มีค่าเสมอกัน. สัน. คือ.
【 เท่าใด 】แปลว่า: ว. กี่มากน้อย, เท่าไร ก็ใช้.
【 เท่าตัว 】แปลว่า: ว. มีขนาดเท่าตัวจริง เช่น หล่อรูปเท่าตัว, มีจํานวนหรือขนาดเพิ่มขึ้น
เท่าจํานวนหรือขนาดเดิม เช่น แป้งฟูขึ้นอีกเท่าตัว ราคาสินค้าขึ้นอีก
เท่าตัว.
【 เท่าทัน 】แปลว่า: ว. เทียมถึง, เข้าใจถึง.
【 เท่าทุน 】แปลว่า: ว. เสมอตัว, ไม่ได้ไม่เสีย, ไม่ได้กําไรไม่ขาดทุน.
【 เท่าเทียม 】แปลว่า: ว. เสมอหน้า, ทัดเทียม.
【 เท่านั้น 】แปลว่า: ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดงจํานวนจํากัด
จําเพาะ.
【 เท่าเผ้า 】แปลว่า: ว. เท่าเส้นผม, เล็ก.
【 เท่าไร 】แปลว่า: ว. กี่มากน้อย, เท่าใด ก็ใช้.
【 เท่า ๒ 】แปลว่า: (โบ) น. เถ้า.
【 เท้า 】แปลว่า: น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น
ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
【 เท้าแขน 】แปลว่า: น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลังทรงตัวอยู่ได้;
ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่นั่งพับเพียบเอา
แขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
【 เท้าคู้ 】แปลว่า: น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า.
【 เท้าสิงห์ 】แปลว่า: น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลักทําเป็น
รูปตีนสิงห์.
【 เท้าช้าง 】แปลว่า: น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทําให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการหนังหนา
หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้น มักพบบ่อยที่เท้าหรือขา
สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด
ทําให้ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
【 เท้าแชร์ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน
ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
【 เท้ายายม่อม 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Tacca leontopetaloides/ (L.) Kuntze ในวงศ์
Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทําแป้งเป็นอาหารได้
เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม.
【 เท่ารึง 】แปลว่า: น. เถ้ารึง.
【 เท้าสาน 】แปลว่า: /ดู จั๋ง ๒./
【 เทาะห์ 】แปลว่า: (แบบ; โบ) ก. เผา เช่น ธานยเทาะห์ ชื่อพิธีเผาข้าว. (ป., ส. ทห).
【 เทิก 】แปลว่า: (โบ) ก. ถือเอา, พาไป.
【 เทิ่ง 】แปลว่า: ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ
มาเทิ่ง ๆ.
【 เทิงบอง, เทิ้งบอง 】แปลว่า: น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
【 เทิด 】แปลว่า: ก. เชิดชู.
【 เทิดทูน 】แปลว่า: ก. ยกย่อง, เชิดชูไว้เป็นที่เคารพ.
【 เทิน ๑ 】แปลว่า: น. เนินดินที่พูนขึ้นไปตามยาว.
【 เทิน ๒ 】แปลว่า: ก. ทูน เช่น เอาของเทินหัว.
【 เทิบ, เทิบ ๆ, เทิบทาบ 】แปลว่า: ว. ไม่รัดกุม, หย่อนยาน, เช่น สวมเสื้อผ้าเทิบทาบ.
【 เทิ้ม 】แปลว่า: ว. มีอาการสั่นไปทั้งตัว.
【 เทียง 】แปลว่า: (โบ) น. กําแพง เช่น เทียงผา ว่า กําแพงหิน.
【 เที่ยง 】แปลว่า: ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ
ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง;
แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่
พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา,
เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
【 เที่ยง ๆ 】แปลว่า: ว. ราว ๆ เที่ยง.
【 เที่ยงตรง 】แปลว่า: ว. ตั้งตรงไม่เอนเอียง, ยุติธรรม.
【 เที่ยงแท้ 】แปลว่า: ว. แน่นอน.
【 เที่ยงธรรม 】แปลว่า: ว. ตั้งตรงด้วยความเป็นธรรม.
【 เทียด 】แปลว่า: (ปาก) น. พ่อหรือแม่ของทวด, เชียด ก็ว่า.
【 เทียน ๑ 】แปลว่า: น. เครื่องตามไฟที่ฟั่นที่หล่อด้วยขี้ผึ้งหรือไขเป็นต้น มีไส้อยู่ตรง
ใจกลาง, ลักษณนามว่า เล่ม.
【 เทียนชนวน 】แปลว่า: น. เทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อ.
【 เทียนพรรษา 】แปลว่า: น. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่นสําหรับ
จุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.
【 เทียนรุ่ง 】แปลว่า: น. เทียนที่จุดในพระอุโบสถในวันวิสาขบูชาเป็นต้น มีขนาดใหญ่
พอจุดอยู่ได้ตลอดคืน.
【 เทียนอบ 】แปลว่า: น. เทียนที่มีส่วนผสมของสิ่งที่มีกลิ่นหอม จุดใช้ควันอบขนมเป็นต้น.
【 เทียน ๒, เทียนบ้าน 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด /Impatiens balsamina/ L. ในวงศ์
【 Balsaminaceae 】แปลว่า:
ลําต้นอวบ ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น ขาว ชมพู ม่วง.
【 เทียน ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้ง
ของไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียน
ข้าวเปลือก เทียนดํา เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม
เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ
เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด
เทียนขม เทียนแกลบ.
【 เทียนเกล็ดหอย 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Plantago/ /ovata/ Forssk.
ในวงศ์ Plantaginaceae.
【 เทียนแกลบ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Foeniculum/ /vulgare/
Miller ในวงศ์ Umbelliferae.
【 เทียนขม 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Foeniculum/ /piperitum/
J. Presl ในวงศ์ Umbelliferae.
【 เทียนขาว 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Cuminum/ /cyminum/
L.ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้, ยี่หร่า ก็เรียก.
【 เทียนข้าวเปลือก 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Foeniculum/ /vulgare/
Miller var. /dulce/ Battend. et Trabut ในวงศ์ Umbelliferae
ใช้เป็นเครื่องเทศได้, ยี่หร่าหวาน ก็เรียก.
【 เทียนดำ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Nigella sativa/ L. ในวงศ์
Ranunculaceae.
【 เทียนแดง 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Lepidium/ /sativum/
L. ในวงศ์ Cruciferae.
【 เทียนตากบ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Carum carvi/ L. ในวงศ์
Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
【 เทียนตาตั๊กแตน 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของผักชีลาว (/Anethum/ /graveolens/ L.)
และไม้ล้มลุกชนิด /A. sowa /Roxb. ในวงศ์ Umbelliferae
ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
【 เทียนเยาวพาณี 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Petroselinum/ /crispum/
(Miller) A.W. Hill ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
【 เทียนลวด 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Centratherum/ /anthelminticum/
(Willd.) Kuntze ในวงศ์ Compositae.
【 เทียนสัตตบุษย์ 】แปลว่า: น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด /Pimpinella anisum/
L. ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศ.
【 เทียน ๔ 】แปลว่า: /ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า ๑./
【 เที้ยน 】แปลว่า: ก. เปรียบ, คล้ายคลึง, เหมือน.
【 เทียนกิ่ง 】แปลว่า: น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดย่อมชนิด /Lawsonia inermis/ L. ในวงศ์
Lythraceae ดอกสีขาวหรือแดง ผลกลม สุกสีนํ้าตาล ใบใช้ย้อมผม
ผ้าไหม และผ้าขนสัตว์ ได้สีแดงนํ้าตาล, อีสานเรียก กาว.
【 เทียบ 】แปลว่า: ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน
เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา
เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา
ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ
ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด
เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
【 เทียบเคียง 】แปลว่า: ก. เปรียบเทียบ.
【 เทียบเท่า 】แปลว่า: ว. เสมอกัน, เท่ากัน.
【 เทียม ๑ 】แปลว่า: ก. เอาสัตว์พาหนะผูกเข้ากับยานหรือคราดไถเป็นต้น เช่น เทียมเกวียน
เทียมรถ เทียมแอก. ว. ทําเอาอย่างให้เหมือนหรือคล้ายของจริงของแท้
เช่น ทําเทียม ของเทียม ฝนเทียม ดาวเทียม; เสมอกัน, เท่ากัน, เช่น
สูงเทียมเมฆ.
【 เทียมบ่าเทียมไหล่ 】แปลว่า: ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเทียมบ่า
เทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
【 เทียมหน้าเทียมตา 】แปลว่า: ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะนเทียมหน้า
เทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
【 เทียม ๒ 】แปลว่า: (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเทียม. /(ดู กระเทียม)./
【 เทียร, เที้ยร 】แปลว่า: ก. ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย.
【 เทียรฆ- 】แปลว่า: [เทียนคะ-] ว. ยาว, ไกล, นาน, ยืน. (ส. ทีรฺฆ; ป. ทีฆ).
【 เทียรฆชาติ 】แปลว่า: -คะชาด น. งู.
【 เทียรฆราตร 】แปลว่า: -คะราด น. ราตรียาว, กาลนาน. ว. มีราตรียาว, มีกาลนาน.
(ส. ทีรฺฆราตฺร; ป. ทีฆรตฺต).
【 เทียว ๑ 】แปลว่า: ก. เวียนไปเวียนมา, ไปหรือมาบ่อย ๆ, ในคําว่า เทียวไปเทียวมา.
【 เทียว ๒ 】แปลว่า: ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี
ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว,
เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียว
ไม่เห็นมาหาบ้างเลย.
【 เทียว ๓ 】แปลว่า: น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, ทิว ก็ว่า.
【 เที่ยว ๑ 】แปลว่า: น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกําหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า
เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอก
อาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
【 เที่ยว ๒ 】แปลว่า: ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น
เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน
ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ
สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
【 เทือ, เทื่อ, เทื้อ ๑ 】แปลว่า: ว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.
【 เทื้อ ๒ 】แปลว่า: ว. สาวแก่, ทึนทึก; ไม่ว่องไว เช่น จะหนักเนื้อแลเทื้อองค์. (กฤษณา).
【 เทือก 】แปลว่า: น. ที่ดินที่ไถและคราดแล้วทําให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า
เช่น ทําเทือกตกกล้า, ขี้เทือก ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงที่ซึ่ง
เปรอะเลอะเทอะเพราะยํ่ากันไปมา เช่น ยํ่าเป็นเทือก.
【 เทือกเขา 】แปลว่า: น. แนวเขาที่ต่อเนื่องกันไปเป็นพืด.
【 เทือกเถาเหล่ากอ 】แปลว่า: น. เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา.
【 เทือน 】แปลว่า: (โบ) น. ที่ไกล.
【 แท่ 】แปลว่า: น. เนื้อแมงกะพรุนหมักเกลือ ทําเป็นแผ่น ใช้เป็นอาหาร. (จ.).
【 แท้ 】แปลว่า: ว. ล้วน ๆ เช่น เทียนขี้ผึ้งแท้, ไม่มีอะไรเจือปน, ไม่ปลอม, เช่น ทองแท้.
【 แท้ ๆ 】แปลว่า: ว. จริง ๆ, ยิ่งนัก, จริงทีเดียว, เช่น สวยแท้ ๆ ลูกของตัวแท้ ๆ.
【 แท้จริง 】แปลว่า: ว. จริงแน่นอน.
【 แท้ที่จริง 】แปลว่า: ว. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควรมี
ความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.
【 แท็กซี่ 】แปลว่า: น. รถยนต์รับจ้างสาธารณะ โดยสารได้ไม่เกิน ๗ คน. (อ. taxi).
【 แท็กซี่มิเตอร์ 】แปลว่า: น. แท็กซี่ที่ติดตั้งมิเตอร์คํานวณค่าโดยสารเป็นระยะทางกับเวลา
ตามอัตราที่ทางการกําหนด.
【 แทง 】แปลว่า: ก. เอาของแหลมทิ่มหรือปักเข้าไป; ลงบันทึก, ลงหมายเหตุ, เช่น
แทงคําสั่ง แทงหนังสือ; เล่นการพนันบางชนิด เช่น แทงหวย แทง
ลอตเตอรี่ แทงโป, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง
เช่นนั้น เช่น กระแสนํ้าแทงตลิ่ง ถูกนํ้าแทง แทงศอก.
【 แทงใจ 】แปลว่า: ก. เก็งใจ. ว. ตรงใจ, ตรงกับความคิด.
【 แทงใจดำ 】แปลว่า: (สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.
【 แทงตะไบ 】แปลว่า: ก. เอาตะไบถูให้เรียบหรือให้คมเป็นต้น.
【 แทงบิลเลียด 】แปลว่า: ก. กิริยาที่เอาไม้คิวทิ่มลูกบิลเลียดให้กลิ้งไป.
【 แทงหยวก 】แปลว่า: ก. สลักกาบกล้วยให้เป็นลวดลายประดับเชิงตะกอนในการ
เผาศพเป็นต้น.
【 แท่ง 】แปลว่า: น. ลักษณะของสิ่งที่ตันและกลมยาวหรือแบนหนา เช่น แท่งทอง
แท่งเหล็ก แท่งหิน, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ชอล์กแท่งหนึ่ง
ดินสอ ๒ แท่ง; เรียกชายที่หนุ่มแน่นยังไม่มีภรรยาว่า หนุ่มทั้งแท่ง.
【 แท้ง 】แปลว่า: ก. สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกําหนดคลอด โดยที่ลูกในท้องไม่สามารถ
มีชีวิตอยู่ได้.
【 แท็งก์น้ำ 】แปลว่า: น. ถังนํ้าขนาดใหญ่ มักทําด้วยเหล็กชุบสังกะสี.
【 แทงทวย 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ต้นชนิด/ Mallotus philippensis/ (Lam.) Muell. Arg.
ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลมีขนสีแดง ใช้ทํายาได้, คําแสด ก็เรียก.
【 แทงวิสัย 】แปลว่า: น. การเล่นอย่างหนึ่ง แต่งตัวคล้ายเซี่ยวกางถือหอกแทงกัน; ชื่อเพลง
ไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
【 แทตย์ 】แปลว่า: น. ยักษ์, อสูร. (ส. ไทตฺย).
【 แทน 】แปลว่า: ก. สนอง เช่น แทนคุณ. ว. ต่าง เช่น เอาเกลือแทนนํ้าปลา, อาการที่
บุคคลหนึ่งทําหน้าที่ในฐานะของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น รักษาการแทน
ทําแทน ไปแทน.
【 แทนที่จะ 】แปลว่า: สัน. ใช้ในความที่ขัดแย้งกัน เช่น แทนที่จะเขียนอย่างนั้นเขากลับ
เขียนอย่างนี้.
【 แท่น 】แปลว่า: น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น
แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
แท่นที่บูชา, (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน
ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์;
เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
【 แท่นพิมพ์ 】แปลว่า: น. เครื่องพิมพ์หนังสือหรือเอกสาร มีลักษณะเป็นแท่นมีหลายชนิด
เช่น แท่นกริ๊ก แท่นนอน.
【 แท่นมณฑล 】แปลว่า: น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาวติดระบายรอบ
ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธีเฉลิมฉลองตาม
ลัทธิประเพณี.
【 แท่นลา 】แปลว่า: น. แท่นสี่เหลี่ยมที่ทําขึ้นเพื่อเคลื่อนย้ายไปตั้งในพิธีต่าง ๆ ได้ตาม
ประสงค์มีขนาดกว้างยาวพอตั้งพระเก้าอี้และโต๊ะเครื่องราชูปโภค
เป็นต้น สูงประมาณ ๖-๘ นิ้ว.
【 แท่นหมึก 】แปลว่า: น. ที่ฝนหมึกแท่งของจีน สําหรับใช้พู่กันจุ้มเขียนหนังสือ.
【 แทนเจนต์ 】แปลว่า: (คณิต) น. เรียกอัตราส่วนแห่งไซน์ของมุมหารด้วยโคไซน์ของมุมนั้น
ว่า แทนเจนต์ของมุม. (อ. tangent).
【 แทนทาลัม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๗๓ สัญลักษณ์ Ta เป็นโลหะสีขาวแกมเทา ลักษณะ
เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙๙๖?ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า
ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. tantalum).
【 แทบ 】แปลว่า: ว. เกือบ, จวนเจียน, ใกล้ชิด.
【 แทรก ๑ 】แปลว่า: [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ
สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา
แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน
ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการ
ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่
สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง
ก็เรียก.
【 แทรกซอน 】แปลว่า: ก. แทรกทั่วไป.
【 แทรกซ้อน 】แปลว่า: ว. ที่เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรกซ้อน ปัญหาแทรกซ้อน.
【 แทรกซึม 】แปลว่า: ก. อาการที่ค่อย ๆ แทรกเข้าไปโดยไม่ให้รู้ตัว.
【 แทรกแซง 】แปลว่า: ก. แทรกเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจการของผู้อื่น.
【 แทรกแผ่นดิน 】แปลว่า: (สํา) ก. หลีกหนีไปให้พ้น ไม่อยากให้ใครพบหน้าเพราะอับอาย.
【 แทรกโพน 】แปลว่า: ก. จับช้างกลางแปลง.
【 แทรก ๒ 】แปลว่า: [แซก] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ราชาธิราช).
【 แทรกเตอร์ 】แปลว่า: [แทฺรก-] น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด
เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ
และแบบล้อ ซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า. (อ. tractor).
【 แทลเลียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๘๑ สัญลักษณ์ Tl เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๓?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะ
อื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. thallium).
【 แทะ 】แปลว่า: ก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ,
โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทํามาหากิน
มาคอยแทะเงินพ่อแม่.
【 แทะโลม 】แปลว่า: ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงเกี้ยวพาราสี, แพละโลม หรือ แพะโลม
ก็ใช้.
【 โท 】แปลว่า: ว. สอง, ชั้นที่ ๒ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้นหรือขั้นของยศ ตําแหน่ง
คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่าเอก สูงกว่าตรี) เช่น ร้อยโท
ข้าราชการชั้นโท ปริญญาโท; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูป
ดังนี้ ? ว่า ไม้โท. (ป. ทุ, ทฺวิ; ส. ทฺวิ).
【 โทโทษ 】แปลว่า: น. คําที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกันในบท
นิพนธ์ที่บังคับให้ใช้ไม้โท เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง.
【 โทศก 】แปลว่า: น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เช่น ปีวอกโทศก จุลศักราช
【 โท่ 】แปลว่า: ว. เป็นช่องกว้างใหญ่เห็นได้จะแจ้ง.
【 โทกเทก 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินโยกเยกไม่ตั้งตัวตรง.
【 โทง ๆ 】แปลว่า: ว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย)
เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
【 โทงเทง ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Physalis วงศ์ Solanaceae คือ ชนิด
/P. angulata /L. และชนิด /P. minima/ L. ใช้ทํายาได้, ทุงเทง ก็เรียก.
【 โทงเทง ๒ 】แปลว่า: ว. อาการที่เคลื่อนไปมีลักษณะโย่งเย่งส่ายไปมา เช่น เดินโทงเทง.
【 โทณะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ทะนาน, กะละออม, เครื่องตวงอย่างหนึ่ง =
๔ อาฬหก. (ป.).
【 โทธก 】แปลว่า: [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน
(ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ
ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
【 โทน ๑ 】แปลว่า: น. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสําหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้าย
กลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และโทนมโหรี;
ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. ว. มีจําเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตาม
ปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า โทน เช่น
ลูกโทน มะพร้าวโทน.
【 โทน ๒ 】แปลว่า: น. ชื่อนกยางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ยางโทน. (ดู ยาง ๑).
【 โทนโท่ 】แปลว่า: ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่โทนโท่, ทนโท่ ก็ว่า.
【 โทมนัส 】แปลว่า: [โทมมะ-] น. ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ. (ป. โทมนสฺส).
【 โทร- 】แปลว่า: [โทระ-] ว. คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล.
【 โทรคมนาคม 】แปลว่า: [-คะมะ-, -คมมะ-] น. การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ เครื่องหมาย
สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการทําให้เข้าใจด้วยวิธีใด ๆ โดยอาศัยระบบ
สายวิทยุสื่อสาร หรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ. (อ. telecommunication).
【 โทรทรรศน์ 】แปลว่า: น. กล้องส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลให้เห็นใกล้ เรียกว่า กล้องโทรทรรศน์,
กล้องส่องทางไกล ก็เรียก. (อ. telescope).
【 โทรทัศน์ 】แปลว่า: น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจากที่หนึ่งไป
ยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็นคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่าเครื่องส่ง
โทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับ
จากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพตามเดิมว่า
เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
【 โทรพิมพ์ 】แปลว่า: น. ระบบโทรคมนาคมที่ใช้เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลขประกอบ
ด้วยแป้นพิมพ์และแคร่พิมพ์ ลักษณะคล้ายเครื่องพิมพ์ดีดสามารถ
รับส่งสัญญาณโทรเลขเพื่อพิมพ์เป็นตัวอักษรบนกระดาษพิมพ์และ
ส่งตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสัญญาณโทรเลขผ่านวงจรโทรเลขที่ต่ออยู่กับ
เครื่องโทรพิมพ์นั้นได้. (อ. teletype).
【 โทรภาพ 】แปลว่า: (เลิก) น. โทรทัศน์; โทรสาร.
【 โทรเลข 】แปลว่า: น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งรหัสสัญญาณ
จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยสายตัวนําที่โยงติดต่อถึงกัน
และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telegraph).
(ปาก) ก. ส่งข้อความไปยังอีกบุคคลหนึ่งทางโทรเลข.
【 โทรศัพท์ 】แปลว่า: น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสาร
ให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนําโยงติดต่อถึงกัน
และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone),
คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียนย่อว่า โทร.
ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
【 โทรสาร 】แปลว่า: น. กรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทางคลื่นไฟฟ้า,
เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธีดังกล่าว.
(อ. facsimile).
【 โทรม 】แปลว่า: [โซม] ก. เสื่อมสภาพเดิม เช่น เรือนหลังนี้โทรมมาก ปีนี้ดูโทรม
ลงไปมาก ไฟโทรมแล้ว ผักโทรม; ทําให้ยอบลง เช่น โทรมหญ้า.
【 โทรมศัสตราวุธ 】แปลว่า: ก. ระดมฟันแทงพุ่งศัสตราวุธเข้าไป.
【 โทรมหญิง 】แปลว่า: (กฎ) ก. ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
【 โทลา 】แปลว่า: (แบบ) น. ชิงช้า, เปล. (ป., ส.).
【 โทษ, โทษ- 】แปลว่า: [โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน,
ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ,
ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็ก
เลย. (ส.; ป. โทส).
【 โทษกรณ์ 】แปลว่า: โทดสะกอน น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่งโทษกรณ์ ตนผิด.
(นิทราชาคริต).
【 โทษตรัย 】แปลว่า: [โทดสะ-] น. ประชุม ๓ แห่งโทษ คือ ดี ลม เสมหะ.
【 โทษทางอาญา 】แปลว่า: (กฎ) น. มาตรการที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับลงโทษแก่ผู้กระทํา
ความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาได้แก่ การประหาร
ชีวิต การจําคุก การกักขัง การปรับและการริบทรัพย์สิน.
【 โทษโพย 】แปลว่า: โทดโพย น. โทษ, มักใช้แยกกัน เช่น ขอโทษ ขอโพย
ถือโทษถือโพย.
【 โทษา ๑ 】แปลว่า: (กลอน) น. โทษ.
【 โทษานุโทษ 】แปลว่า: น. ความผิดมากและน้อย.
【 โทษา ๑ 】แปลว่า: /ดูใน โทษ, โทษ-./
【 โทษา ๒ 】แปลว่า: น. มืด, คํ่า. (ส.).
【 โทษากร 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส.).
【 โทษาดิลก 】แปลว่า: น. ตะเกียง. (ส.).
【 โทษารมณ์ 】แปลว่า: น. พระจันทร์. (ส. โทษ + ป. อารมฺมณ).
【 โทษา ๓ 】แปลว่า: น. แขน. (ส.).
【 โทษานุโทษ 】แปลว่า: /ดู โทษ, โทษ-./
【 โทส-, โทสะ, โทโส 】แปลว่า: น. ความโกรธ, ความฉุนเฉียว. (ป.; ส. โทษ).
【 โทสาคติ 】แปลว่า: น. ความลําเอียงเพราะความโกรธ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่
ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โทส + อคติ).
【 โทสาคติ 】แปลว่า: /ดู โทส-, โทสะ, โทโส./
【 โทหฬะ 】แปลว่า: -หะละ น. ความปรารถนาของหญิงตั้งครรภ์, ความแพ้ท้อง.
(ป.; ส. โทหล, โทหท).
【 โทหฬินี 】แปลว่า: โทหะ- น. หญิงมีครรภ์, หญิงแพ้ท้อง. (ป.; ส. เทาหฺฤทินี).
【 ไท ๑ 】แปลว่า: (โบ) น. ไทย เช่น ปีโถะหนไทกัดเหมา. (จารึกสยาม).
【 ไท ๒ 】แปลว่า: น. ผู้เป็นใหญ่.
【 ไท้ 】แปลว่า: (กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่.
【 ไทเทเนียม 】แปลว่า: น. ธาตุลําดับที่ ๒๒ สัญลักษณ์ Ti เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง
หลอมละลายที่ ๑๖๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้
เป็นโลหะเจือ. (อ. titanium).
【 ไทเทรต 】แปลว่า: [-เทฺรด] ก. หยดสารละลายหนึ่งจากหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตร
ซึ่งเรียกว่าบิวเรตต์ลงในสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแล้ว เพื่อให้
ทําปฏิกิริยาเคมีกันจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด. (อ. titrate).
【 ไทย ๑ 】แปลว่า: [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย
มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ
ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก
ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
【 ไทยดำ 】แปลว่า: น. ซงดํา, โซ่ง หรือ ซ่ง ก็เรียก. /(ดู โซ่ง)./
【 ไทยน้อย 】แปลว่า: น. ชนชาติไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งมาเป็นไทยแห่งประเทศไทย.
【 ไทยนับสาม, ไทยนับห้า 】แปลว่า: น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณเมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่
๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.
【 ไทยหลง 】แปลว่า: น. วิธีเขียนหนังสือลับของโบราณอย่างหนึ่ง.
【 ไทยหลวง 】แปลว่า: น. ไทยใหญ่.
【 ไทยใหญ่ 】แปลว่า: น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าติดต่อ
กับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ฉาน ก็เรียก, ชนชาติไทยสาขา
หนึ่งอยู่ในรัฐฉาน เรียกกันว่า เงี้ยว, ไทยหลวง ก็ว่า.
【 ไทย- ๒ 】แปลว่า: ไทยะ- ว. ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคํานําหน้าสมาส.
(ป. เทยฺย).
【 ไทยทาน 】แปลว่า: [ไทยะ-] น. ของสําหรับทําทาน. (ป. เทยฺยทาน).
【 ไทยธรรม 】แปลว่า: [ไทยะทํา] น. ของทําบุญต่าง ๆ, ของถวายพระ. (ป. เทยฺยธมฺม).
【 ไทร 】แปลว่า: [ไซ] น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae มีหลายชนิด เช่น ไทรย้อย
(/F. benjamina/ L.) ไทรย้อยใบทู่ หรือ ไฮฮี (/F. microcarpa/ L.f.).
【 ไทรทอง 】แปลว่า: /ดู กร่าง./
【 ไทรเลียบ 】แปลว่า: /ดู ไกร ๑./
【 ไทวะ 】แปลว่า: (แบบ) น. ฟ้า, สวรรค์; วาสนา, เคราะห์. (ส.).