ภาษาจีนโบราณ(文言文) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ (汉文)เป็นภาษาจีนในลักษณะของภาษาเขียนของภาษาจีนที่บรรจงรจนาเป็นภาษาที่สวยงาม แตกต่างจากภาษาพูดค่อนข้างชัดเจน ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ในประเทศจีน คาบสมุทรเกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และแถบริวกิว ภาษาจีนโบราณแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่ม จีนโบราณลึก กับจีนโบราณตื้น โดยภาษาจีนโบราณลึก (深文言)หมายถึงภาษาจีนโบราณที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานจากภาษาพูดของจีนก่อนสมัยฉิน ซึ่งประกอบด้วยชุดคำศัพท์และไวยากรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาพูดในสมัยนั้น ส่วน จีนโบราณตื้น (浅文言)คือภาษาจีนโบราณที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยฮั่นตะวันออก ฮั่นตะวันตก วุ่ยจิ้น และราชวงศ์เหนือใต้ โดยมีการใช้มายาวนานจึงถึงช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงและต้นสมัยปฏิวัติจีน
ทว่า จีนสมัยกลางช่วงถังและซ่ง ภาษาพูดของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่องครั้งใหญ่ ทำให้ภาษาเขียนในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน
- ภาษาเขียนที่เลียนแบบลักษณะจีนโบราณลึกของหนังสือสมัยโบราณยุคเก่า หนังสือที่่เขียนด้วยการเขียนประเภทนี้สมัยถังเช่น ถางซ่งปาต้าเจีย (唐宋八大家)
- ภาษาเขียนที่เป็นลักษณะของจีนโบราณตื้น เช่น พงศาวดารไซ่ฮั่น คัมภีร์พุทธศาสนาตงฮั่นฉบับแปล หรือ《世说新语》 ของหลิวอี้ชิ่ง เป็นต้น
- ภาษาเขียนที่ใช้ภาษาพูดในขณะนั้น เช่น 变文 ในสมัยถัง ภาษา 话本 สมัยซ่ง
แม้ว่ากาลเวลาล่วงเลยมาหลายช่วงสมัย ภาษาเขียนภาษาจีนก็ยังปรากฏให้เห็นเหมือนในสมัยถังและซ่ง คือใช้ภาษาแบบแผนควบคู่กับภาษาพูดในการเขียนดังเดิม หนังสือที่ใช้ภาษาแบบแผนเรียบเรียง เช่น พงศาวดารหมิง 明史 พงศาวดารชิง 清史稿 แต่ก็ยังมีหนังสือที่ใช้ภาษาปากเรียบเรียงเช่น ซ้องกั๋ง ไซอิ๋ว เป็นต้น
เนื่องจากภาษาจีนโบราณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และบางพื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในพื้นที่ที่แตกต่างกันและช่วงเวลาแตกต่างกันจึงมีชุดคำศัพท์และไวยากรณ์สำหรับการเขียนที่แตกต่างกันไป
ก่อนศตวรรษที่ 20 มีหลายพื้นที่ที่เขียนด้วยตัวอักษรจีน ได้แก่ ประเทศจีน คาบสมุทรเกาหลี ญี่ปุ่น ริวกิว ไต้หวันและเวียดนาม ซึ่งการใช้การเขียนด้วยตัวอักษรจีนจึงทำให้บรรดาขุนน้ำขุนนางนักวิชาการสามารถสื่อสารกันผ่านตัวอักษรได้ ไม่ว่าภาษาที่พูดหรือสนทนากันจะเป็นภาษาใดก็สามารถทลายกำแพงของภาษานี้ด้วยการสื่อสารผ่านตัวอักษรจีน
เช่น ในศตวรรษที่ 19 แทว็อนกุนฮึงซ็อนสามารถสื่อสารกับอู๋จ่างชิ่งขุนนางใหญ่จากราชสำนักชิงได้ด้วยการเขียนสนทนากัน ในศตวรรษที่ 20 เล้มห่านตม ( Lîm Hiàn-tông 林獻堂) คุยกับเหลียงฉีเชาสนทนากันด้วยการเขียนที่นางาซากิ แต่หลังศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาภาษาเขียนเหวินเหยียนเริ่มถูกแทนที่ด้วยภาษาพูดของขุนนางจีนหรือกว่านฮว่าหรือแมนดาริน และพื้นที่ต่างๆรวมถึงประเทศอื่นที่เคยเขียนด้วยตัวอักษรจีนก็เริ่มหันมาใช้ภาษาที่ตนพูดในการเขียนมากขึ้นและภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างประเทศแถบเอเชียตะวันออกก็แทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ
นิยามของภาษาจีนโบราณ
ภาษาจีนโบราณมีคำนิยามแตกต่างกัน 3 รูปแบบได้แก่
- ภาษาจีนยุคโบราณ คือ ภาษาจีนที่ชาวจีนใช้ตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์จีนถึงสมัยสงครามฝิ่น เนื้อหาของภาษาจีนยุคโบราณนี้ถูกบันทึกเป็นตัวหนังสือไว้ โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ก็คือ อักษรกระดองเต่า หากนับจากอักษรกระดองเต่าเป็นต้นมา ภาษาจีนยุคโบราณมีอายุมากกว่า 3000 ปีแล้ว โดยระยะ 3000 ปีที่ผ่านมานั้น ภาษาจีนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกฝ่ามือ หากเรายึดเอาไวยากรณ์ คำศัพท์ และการเปลี่ยนแปลงของการออกเสียงพยางค์เป็นเกณฑ์แล้ว สามารถแบ่งช่วงของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ช่วง คือ
- ยุคเก่า คือ สมัยก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 ได้แก่สมัยซาง โจว ฉิน ฮั่นตะวันตกและออก
- ยุคกลาง คือ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 - 12 ได้แก่ ยุค 6 ราชวงศ์ ถัง และ ซ่ง
- ยุคใกล้ คือ สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 - 19 ได้แก่สมัย หยวน หมิง และชิง
- ภาษาจีนยุคโบราณเก่า
- ภาษาเขียนยุคเก่า
ลักษณะเด่นของภาษาจีนโบราณ
เมื่อเทียบกันระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนแล้ว หลักๆได้แก่ความแตกต่างด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนด้านล่าง
ลักษณะเด่นด้านไวยากรณ์
โดยลักษณะเด่นด้านไวยากรณ์ได้แก่ ชนิดของคำและวากยสัมพันธ์ โดยทั่วไปภาษาเขียนโบราณนั้นชนิดของคำศัพท์จะไม่ค่อยตายตัว
- ใช้ คำนาม เป็น คำกริยา ได้
- ใช้ คำนาม เป็น คำช่วย
- “少时,一狼径去,其一犬坐於前。”(蒲松龄《聊斋志异》),คำนาม “犬” อยู่หน้าคำกริยา “坐” เป็นคำช่วยขยายกริยา แปลว่า …..ราวกับสุนัข “像犬一样地”
- “峰回路轉,有亭翼然临於泉上者,醉翁亭也。”(歐陽脩《醉翁亭记》),“翼” อยู่หน้ากริยา “临” ทำหน้าที่ขยายกริยา แปลว่า “像翼(翅膀)一样”。
- เอากรรมของกริยาวางไว้ด้านหน้า วัตถุประสงค์คือ ทำให้ประโยครื่นไหลมากขึ้น เพื่อเป็นการเน้นกรรมของรูปประโยคจึงเอากรรมไว้ด้านหน้า โดยปกติจะเติมคำช่วยไว้ด้วย
- 荀偃令曰:“雞鳴而駕,基井夷灶,唯餘馬首是瞻。”(《左傳·襄公十四年》)
“馬首是瞻” ก็คือ “瞻馬首” โดย “是” ทำหน้าที่เป็นคำช่วย
- ในประโยคคำถาม ปฤจฉาสรรพนาม 誰 孰 何 悉 ล้วนถูกวางไว้หน้าคำกริยา
- 「臣實不才,又誰敢怨?」(《左傳》)
- 「吾誰欺?欺天乎!」(《論語》)
- “微斯人,吾谁与归?”(范仲淹《岳阳楼记》)
- “我孰与城北徐公美?”(《战国策·邹忌讽齐王纳谏》)
- “王曰:‘缚者曷(通“何”)为者也?’”(《晏子春秋》)
- ในประโยคปฏิเสธ เมื่อใช้คำสรรพนามเป็นกรรมของประโยค ปกติล้วนวางสรรพนามไว้หน้ากริยา
- 君子病无能焉,不病人之不己知也(《论语》)
- การสลับตำแหน่งของคำในประโยค 以
- “全石以为底,近岸,卷石底以出。”(柳宗元《永州八记·小石潭记》),“全石以为底” ก็คือ “以全石为底” และ “卷石底以出” ก็คือ “石底卷以出”。
- ในบางกรณีก็พบว่ามีการนำคำขยายคำนามวางไว้หลังคำนาม โดย คำขยายคำนามที่วางไว้ด้านหลังมักจะเติม 之 หรือ 者 เช่น
- มักจะเจออักษรยืม ซึ่งปกติจะถูกกำหนดโดยนักประพันธ์คนนั้นๆเอง เช่น บางครั้งนึกตัวอักษรไม่ออก หรือบางครั้งก็เกิดจากเลี่ยงการใช้ตัวอักษรที่ซ้ำกับชื่อของผู้ใหญ่ในสังคมหรือบรรพบุรุษ เป็นต้น
- “问所从来,具答之,便要还家,设酒杀鸡作食。”(陶渊明《桃花源记》,“要” คือ “邀” ( 邀请)
- “子曰:‘学而时习之,不亦说乎?……’”(《论语·学而》),“说” ก็คือ “悦” (喜悦)
- “圣人非所与熙也,寡人反取病焉。”(《晏子春秋》),“熙” ก็คือ “嬉” (开玩笑)
ลักษณะเด่นด้านคำศัพท์
ชุดคำศัพท์ของภาษาเขียนจีนโบราณและภาษาพูดมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยถ้าจะให้เห็นภาพต้องยกพจนานุกรมมาเปรียบเทียบให้ดู แต่ว่า หากจะให้อธิบายข้อเด่นของความแตกต่างนั้นก็คือภาษาเขียนจะสั้น กระชับ เป็นคำมูลพยางค์เดียว ภาษาพูดจะเป็นคำ หลายพยางค์
การสืบทอดภาษาเขียนภาษาจีนในปัจจุบัน
สำหรับผู้ที่เรียนและผู้ที่ใช้ภาษาจีนอยู่แล้วนั้น ภาษาเขียนจีนโบราณเป็นการเขียนที่เข้าใจยาก การใช้งานไม่ค่อยกว้างขวาง คนที่สามารถอ่านและตีความได้อย่างถ่องแท้จะต้องผ่านการเรียนมาพอสมควร ซึ่งการเขียนภาษาเขียนโบราณก็ยิ่งทวีความยากขึ้นไปอีกเท่าตัว
ตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา ก็พบว่ามีเริ่มมีการสอบในกลุ่มบัณฑิต ซึ่งช่วงปลายราชวงศ์ชิง การสอบ 八股文 ก็ยิ่งเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของทิศทางในแวดวงการศึกษาในสมัยนั้น ครั้นเมื่อเกิดสงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 Sir Kai Ho หูหลี่หยวน และนักวิชาการอีกหลายท่านก็เริ่มออกมาชี้แจงข้อด้อยของการสื่อสารด้วยภาษาเขียนโบราณ คือ
“以文言而道俗情,則為未學者所厭;以俗語而入文字,
又為讀書者所嗤。俗語、文言分為兩事,使筆如舌,戛戛其難。”
— 何啟 胡禮垣,《新政論議》
ดังนั้นหลังสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรมใหม่ ทางจีนจึงเริ่มมีการสนับสนุนแนวคิด “เขียนในสิ่งที่ปากพูด” อ่านตัวอักษรจีนออกก็ตีความได้ ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ภาษาปากกลายเป็นภาษาเขียนด้วย แทนที่ภาษาเขียนโบราณไป
แต่ก็มีหลายท่านมองว่า ภาษาเขียนโบราณ (ที่เข้าใจยากและจำกัดอยู่ในวงแคบ) นั้น การที่จะเข้าใจได้จะต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนและอาศัยการฝึกเขียนด้วยรูปแบบภาษาโบราณมาพอสมควรถึงสามารถเข้าใจและอธิบายความหมายของตัวอักษรที่เรียบเรียงเป็นบทความได้ แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพราะคนในยุคปัจจุบันได้รับการศึกษาผ่านรูปแบบวากยสัมพันธ์สมัยปัจจุบันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งในมุมกลับกัน ถ้าได้รับการเรียนภาษาเขียนโบราณมาตั้งแต่ยังเด็กก็จะไม่รู้สึกว่าภาษาเขียนโบราณนั้นยากแต่อย่างใด และสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาเหนือเป็นภาษาแม่ตั้งแต่เด็กอยู่แล้ว การเขียนด้วยแพทเทิร์นอย่างแมนดารินก็ไม่ได้ง่ายกว่าการเขียนด้วยการเขียนโบราณเลยแม้แต่น้อย
การใช้ภาษาเขียนโบราณในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน
แม้ว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมการเขียนได้เปลี่ยนไปใช้ไวยากรณ์ภาษาจีนปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่ภาษาเขียนโบราณก็นับเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของชาวจีน ชาวจีนจึงยังให้ความสำคัญกับภาษาแพทเทิร์นดังกล่าวพอสมควร และภาษาเขียนโบราณก็ยังส่งผลกระทบต่อภาษาเขียนปัจจุบันด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าแม้ว่าปัจจุบันนักเขียนนักวิชาการสัมมาอาชีพต่างๆล้วนใช้ภาษาเขียนปัจจุบันเป็นหลัก แต่เพื่อเพิ่มอรรถรสของภาษาให้ดูสุขุมสวยงามมากขึ้นก็ยังใช้ภาษาเขียนโบราณเขียนผสมไปบ้าง
ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่นสำนวนสุภาษิตต่าง ๆ ล้วนแต่มาจากภาษาเขียนโบราณทั้งนั้น และสำหรับผู้ที่ศึกษาด้านวรรณคดีจีนแล้ว การฝึกฝนภาษาจีนโบราณนั้นเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลย ในแวดวงการศึกษาของจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน วิชาภาษาจีนโบราณเป็นวิชาสามัญที่นักเรียนทุกคนต้องลงเรียน โดยจะเริ่มเรียนวิชาภาษาจีนโบราณตั้งแต่ ป.5 - ป.6 และก็ค่อยๆเพิ่มเนื้อหาให้เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนระดับมัธยม โดยนับเป็นเนื้อหาหลัก ๆ ของวิชาภาษาที่เด็กจีนและไต้หวันทุกคนต้องเรียน (จนต้องขอชีวิต) ส่วนในฮ่องกงเด็กนักเรียนก็เริ่มเรียนภาษาจีนโบราณตั้งแต่เด็ก และในระดับมัธยมก็มีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างเป็นกิจลักษณะ
เนื้อหาในการสอบแอนทรานซ์เข้ามหาลัยของนักเรียนจีนก็มีข้อสอบเนื้อหาภาษาจีนโบราณอยู่ด้วย แต่ว่านับตั้งแต่การประกาศของคณะกรรมการอุดมศึกษาจีนในปี 2012 เป็นต้นมา กำหนดว่าในการสอบเข้ามหาลัยอนุญาตให้ใช้เพียงภาษาเขียนปัจจุบันเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาอินเตอร์เน็ต ภาษาเขียนโบราณ และตัวอักษรพ้องรูปใดๆก็ตาม ซึ่งนำมาด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้คนมากมาย แต่ว่าเงื่อนไขในการสอบดังกล่าวก็มิได้เข้มงวดนัก เพราะคณะกรรมการตรวจสอบก็พิจารณาในสถานการณ์จริงในข้อสอบมากกว่า
ในฮ่องกงซึ่งใช้ภาษากวางตุ้งเป็นหลักนั้น ในโครงสร้างของภาษายังมีร่องรอยของภาษาจีนโบราณอยู่มากเช่นกัน โดยในการเขียนบทความหนึ่ง ๆ มักปรากฏรูปแบบการเขียนให้เห็นทั้ง 3 รูปแบบ คือ จีนปัจจุบัน + จีนโบราณ + จีนกวางตุ้ง หรือไม่ก็ใช้แค่ จีนปัจจุบัน + จีนโบราณ
กิมย้งผู้เขียนนวนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามนั้น ใช้รูปแบบการเขียน จีนปัจจุบัน + จีนโบราณ 2 แพทเทิร์น ด้วยเหตุนี้ ชาวฮ่องกงยุค 70 80 90 ก็ยังได้สืบทอดภาาาจีนโบราณอยู่บ้าง
แม้ว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมใหม่ผ่านมาแล้ว 100 กว่าปี ภาษาเขียนโบราณก็ยังถูกใช้ในประกาศของทางรัฐบาลไต้หวันเรื่อยมา เช่นประกาศเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของสมาชิกกรรมการ หวงซูอิง ของสภานิติบัญญัติแห่งไตหวัน ก็ใช้ภาษาโบราณเรียบเรียงประกาศขึ้น ซึ่งการใช้ภาษาจีนโบราณที่มีลักษณะเด่นสั้นแต่ลึกนี้ ทำให้ผู้เข้ารับตำแหน่งอย่างหวงซูอิงถึงกับอ่านไม่ออก สมาชิกสภาฯอย่างจางเสี่ยวเฟิ่งก็ให้ความเห็นว่าการเขียนจดหมายหรือประกาศที่ดีจะต้องคำนึงด้วยว่าผู้รับสารอ่านออกหรือไม่
ตลอดระยะเวลาที่ภาษาจีนพัฒนามาหลายพันปีนั้น ภาษาพูดมีการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปมาก สืบสร้างย้อนกลับไปแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิม ตลอดจนไวยากรณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ท้องที่ที่ใช้ มีเพียงแต่ภาษาเขียนโบราณที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาหลายพันปี ภาษาเขียนโบราณทำให้ผู้คนที่คุยกันคนละภาษาสามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่องผ่านการเขียน เพราะเป็นโครงสร้างการเขียนที่ค่อนข้างตายตัว แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความเข้าใจได้ แต่ทว่าหลังจากการเข้ามาของภาษาเขียนสมัยปัจจุบันและภาษาอังกฤษที่กลายเป็นภาษาโลก การใช้งานภาษาจีนแต่ตำแหน่งของภาษาเขียนโบราณก็ด้อยกว่าในสมัยโบราณมากมายหลายเท่าตัว
การคืนชีพของภาษาเขียนโบราณ
การปลุกให้ภาษาเขียนโบราณพื้นคืนชีพมาเห็นหนึ่งในทอปปิกที่ทางกลุ่มผู้ฟื้นวัฒนธรรมจีนสมัยปัจจุบันให้ความสนใจไม่น้อย แทบจะกล่าวได้ว่าการปลุกภาษาจีนโบราณให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มนักวิชาการที่เคลื่อนไหวฟื้นฟูวัฒนธรรมจีน การที่ภาษาเขียนโบราณมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและลึกซึ้ง นักวิชาการจึงให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ สืบเนื่องจากการพัฒนาของเศรษฐกิจของประเทศจีน ผู้คนในสังคมก็เริ่มให้ความสำคัญของการมีตัวตนและที่ยืนของวัฒนธรรมจีน ดังนั้นภาษาเขียนโบราณเองก็ยิ่งเพิ่มความสำคัญขึ้นไปอีก
เผิง ฟู่ชุน ศาสตราจารย์ของคณะปรัชญาของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ก็ได้ให้ความเห็นว่าทางการจีนจะต้องเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาของบทเรียนภาษาจีนโบราณให้มากขึ้นกว่าเดิม ให้เนื้อหาบทเรียนภาษาจีนโบราณมากกว่าบทเรียนภาษาจีนกลางทั่วไป ทั้งยังนำเสนอว่าทางรัฐบาลควรจัดให้มีการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนโบราณอย่างเป็นกิจลักษณะด้วยเช่นกัน
สำหรับการฟื้นฟูภาษาจีนโบราณนั้น มองผิวเผินแล้วก็เหมือนกับเป็นการต่อต้านการนำเสนอให้ใช้ภาษาจีนปัจจุบันของ ดร.หูซื่อและกลุ่มนักวิชาการที่สนับสนุนนั่นเอง เกิดกลุ่มนักวิชาการฟื้นฟูมาต่อต้านนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง การสนับสนุนให้ใช้ภาษาเขียนแบบใหม่นั้นส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมในวงกว้าง แต่ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมจีนโบราณมากมายนัก ทั้งยังเป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ของภาษาจีนโบราณเพิ่มขึ้นอีกด้วย กล่าวคือ ยิ่งทำให้ผู้คนรู้สึกว่าภาษาโบราณมีคุณค่าต่อวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างมาก เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้รู้สึกว่าการสืบทอดวัฒนธรรมจีนมีความครบถ้วน ครบครันมากขึ้น ดังนั้นการฟื้นฟูของภาษาจีนโบราณนี้จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะยกความดีความชอบบางส่วนให้การสนับสนุนให้ใช้ภาษาเขียนรูปแบบใหม่
การฟื้นฟูภาษาจีนโบราณให้กลับมาคืนชีพอีกครั้งในประเทศจีนเริ่มขึ้นเมื่อยุค 80 ของศตวรรษที่ 20 โดยการฟื้นฟูครั้งนี้เริ่มต้นโดยนักศึกษาวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อหลิวโจว โดยคำสนับสนุนของเค้าส่งผลให้ผู้ที่สนใจรวมกลุ่มขึ้นเป็นสมาคมฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษาจีนโบราณ
บนโลกออนไลน์เอง ภาษาจีนโบราณได้รับการอนุรักษ์และสืบสานจากผู้ที่สนใจไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พจนานุกรมภาษาจีนออนไลน์ของวิกิพีเดีย โดยเริ่มเผยแพร่ตั้งปี 2006 ในปัจจุบันมีคำศัพท์รวมกันกว่า 6000 หัวข้อ
ตารางเปรียบเทียบภาษาจีนโบราณกับภาษาจีนปัจจุบัน
การเปรียบเทียบ | ภาษาจีนโบราณ | ภาษาจีนกลาง |
ความยาว | สั้น กระชับ ได้ใจความ | ใช้พยางค์เยอะกว่า ไวยากรณ์ละเอียดกว่า |
การใช้งาน | เป็นภาษาหนังสือ | เขียนในสิ่งที่ปากพูดเป็นหลัก การเกลาสำนวนทำได้ง่ายความ |
ความรู้สึกต่อภาษา | งดงามสละสลวย | เรียบง่าย เข้าใจง่าย |
วากยสัมพันธ์และโครงสร้างทางไวยากรณ์ | ยืดหยุ่น ไม่ตายตัว | การเรียงลำดับคำค่อนข้างตายตัว |
การใช้คำ 1 | คำมูลพยางค์เดียวมีคำศัพท์ในตัวเอง | มักเป็นคำ 2 พยางค์ |
การใช้คำ 2 | อักษรเดียวมีหลายหน้าที่ | อักษรต่างกันมีหน้าที่ต่างกัน |
การใช้คำ 3 | 之 | 的 |
คำช่วยน้ำเสียง | 已、矣、乎、也…… | 了、吧、啊、嗎…… |
เครื่องหมายวรรคตอน | น้อย | เยอะมาก |
หนังสืออ้างอิง | 《桃花源記》、《醉翁亭記》、《庖丁解牛》、《出師表》、《六國論》…… | 魯迅《吶喊》自序、朱自清《綠》、冰心《紙船》、舒乙《香港:最貴的一棵樹》…… |
การสืบทอด | กรุจุกอยู่ในกลุ่มคนที่เคยศึกษาภาษาจีนโบราณ มีความรู้ด้านวรรณคดีในระดับหนึ่ง ใช้สื่อสารกันได้ภายในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก | เด็กประถมก็สามารถอ่านออกได้ จีนกลุ่มต่างๆในโลกนี้สามารถใช้สื่อสารกันได้ |
วิธีการเรียน/ศึกษา | ใช้วิธีท่องจำเป็นหลัก ใช้การกระจายคำศัพท์เพื่ออธิบาย | ใช้การถอดอธิบายคำศัพท์ เพิ่มเติมกับการอธิบายโครงสร้างไวยากรณ์ |
ในแวดวงการศึกษาจีนมีเรื่องเล่าเกียวกับภาษาจีนโบราณอยู่ว่า
ฤดูใบไม้ร่วงปี 1934 ดร.หูซือ อธิบายข้อดีของการใช้ภาษาจีนปัจจุบันให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งฟัง นักศึกษาคนหนึ่งก็ยืนขึ้น แล้วก็เถียงว่า
“อาจารย์หูครับ ภาษาเขียนปัจจุบันไม่มีข้อเสียบ้างเลยเหรอครับ?”
ดร.หูซือก็หัวเราะร่าพลางว่า
“ไม่มี”
นักศึกษาคนดังกล่าวก็โต้กลับว่า
“ภาษาเขียนปัจจุบันมันเวิ่นเว้อนะครับ โทรเลขก็ใช้คำศัพท์เปลือง เสียงเงินเยอะ”
ดร.หูซือก็ตอบกลับว่า
“ก็ไม่เสมอไปนะ ไม่กี่วันก่อนสภาบริหารส่งโทรเลขมาหาผม ให้ผมไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภา แต่ผมไม่เคยทำก็เลยปฏิเสธไป ไหนนักเรียนลองแปลตามความหมายที่บอกสิ แล้วเรามาดูกันว่าภาษาจีนโบราณประหยัดคำกว่า หรือภาษาเขียนปัจจุบันประหยัดคำกว่า”
ผ่านไปหลายนาที……… อาจารย์หูก็เลือกคำแปลที่สั้นที่สุดออกมา ความว่า
“才学疏浅,恐难胜任,不堪从命。” ใช้ทั้งสิ้น 12 อักษร
(ความรู้ตื้นเขิน มิกล้าดำรงตำแหน่ง)
แต่ภาษาเขียนปัจจุบัน เหลือแค่ 5
干不了,谢谢。 (ทำไม่ได้ ขอบคุณ)
แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว สามารถใช้แค่ว่า “敬谢不敏” หรือ “谢不敏” เพื่อแสดงความหมายข้างต้นได้ สั้นและกระชับกว่า และลึกซึ้งและมีมารยาทกว่าด้วย
ในระยะเวลาไกล้เคียงกัน หวงข่าน ผู้ซึ่งเป็นนักอนุรักษ์ภาษาจีนโบราณ ขณะที่เขาเข้าสอนวิชาทฤษฎีวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ทุกครั้งก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อเสียของภาษาเขียนปัจจุบัน จากนั้นจึงค่อยอธิบายภาษาเขียนโบราณ ในคาบการสอนระยะเวลา 50 นาทีนั้น โดยปกติ 30 แรกใช้วิจารณ์ภาษาเขียนปัจจุบัน
มีครั้งหนึ่งที่กำลังสอนอยู่นั้น เขากำลังอธิบายความสั้นกระชับของภาษาจีนโบราณให้นักเรียนฟัง หวงข่านก็ยกตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นเรื่องของหูซื่อเอง
ตอนที่ภรรยาของ ดร.หู เสียไป ทางบ้านก็โทรเลขมาแจ้งข่าวว่า “ภรรยาคุณเสียชีวิตแล้ว รีบกลับบ้านด่วนเลย” “你的太太死了,赶快回家啊” ใช้อักษรไป 11 ตัวอักษร ถ้าหากเป็นภาษาจีนโบราณก็จะใช้แค่ 妻丧速归 “เมียเสีย กลับด่วน” ลดไป ⅔ ส่วนเลยทีเดียว
สรุปแล้ว ภาษาโบราณกระชับและเรียนง่ายกว่าภาษาเขียนปัจจุบัน ปกติแล้ว บทความภาษาอังกฤษ 1000 คำแปลเป็นภาษาจีนปัจจุบันได้ 1400 ตัวอักษร หากแต่ถ้าแปเป็นภาษาจีนโบราณก็ใช้แค่ไม่กี่ร้อยตัวอักษรก็ครบถ้วนกระบวนความ