การถอดเสียงภาษาจีนด้วย PINYIN (拼音)ตอนที่ 1

ภาษามาตรฐานของภาษาจีนปัจจุบัน คือ ภาษากลาง (ผู่ทงฮว่า) ภาษาจีนกลางนั้นถือเอาสำเนียงปักกิ่งเป็นเสียงมาตรฐาน ถือเอาภาษาภาคเหนือเป็นภาษาถิ่นพื้นฐาน และถือเอาระบบการเขียนจากภาษาพูดยุคปัจจุบันอันเป็นแบบฉบับมาเป็นหลักเกณฑ์ทางไวยากรณ์

เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรภาพ 1 ตัวอักษรโดยปกติจะมีเพียง 1 พยางค์ (แต่ก็มีตัวอักษรที่สร้างขึ้นช่วงปลายสมัยชิงที่เป็นอักษร 2 พยางค์) ซึ่งในการเรียนการสอนเราไม่สามารถถอดเสียงเสียงอ่านจากตัวอักษรจีนได้ ตัวอย่างเช่น ●★■ เราไม่สามารถอ่านเสียงจากสัญลักษณ์พวกนี้ได้ แต่ระบบตัวเขียนแบบประสมเสียงทำให้เราอ่านได้ ● คือ วงกลม ★ คือดาว ■ คือ สี่เหลี่ยม  โดยในภาษาจีนก่อนหน้านี้เคยใช้ระบบถอดเสียงอ่านแบบ 注音จู้อิน คือ การใช้เครื่องหมายกำกับเสียง ประดิษฐ์จากการลดรูปอักษรที่เป็นเกลักษณ์ของเสียงแต่ละเสียง แต่ต่อมาก็ได้คิดระบบการเขียนทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (แค่อักษร ไม่ใช่เสียง) เรียกว่าระบบการประสมเสียง Pinyin 拼音 ซึ่งใช้เป็หลักในประเทศจีนและทั่วโลก จึงทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนเป็นไปอย่างง่ายขึ้น

พยางค์ในภาษาจีนโดยทั่วไปประกอบด้วยสามส่วน คือ พยัญชนะต้น สระ เละเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะที่อยู่ส่วนหน้าของพยางค์ เรียกว่า พยัญชนะต้น นอกนั้นล้วนเป็นสระ เช่น  Bàn  ( 半 ครึ่ง)  พยางค์นี้ประกอบด้วยพยัญชนะต้น B และสระ an เสียงวรรณยุกต์ \ (เสียงที่ 4) ในบางพยางค์จะมีแต่เสียงสระ ไม่มีพยัญชนะต้น เช่น a (啊)เป็นเสียงเบาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์

ในภาษาจีนปัจจุบัน มีพยัญชนะต้น 21 ตัว สระ 38 ตัว พยัญชนะต้นล้วนเป็นพยัญชนะเดี่ยวที่ไม่มีตัวควบกล้ำ ส่วนสระนั้น บ้างก็เป็นสระเสียงเดี่ยว ซึ่งเรียกว่า สระเดี่ยว เช่น e บางก็เป็นสระเสียงผสม ซึ่งเรียกว่าสระประสม เช่น a๐ และบ้างก็เปีนสระที่มีตัวสะกดเสียงจมูกพ่วงท้าย ซึ่งเรียกว่า สระประสมเสียงจมูก เช่น an ang

Picture23

ตำแหน่งเกิดเสียง

เสียงสระ

ตำแหน่งการเกิดเสียงสระ

ตารางนี้แนวนอน คือระบุตำแหน่งของเสียงสระ จากลิ้นตำแหน่ง หน้า กลาง หลัง และแนวตั้งเป็นการเปิดปาก แคบ - กว้าง

สระเดี่ยว  a o e i u ü

a

a อ้าปากกว้างที่สุด ตำแหน่งลิ้นต่ำที่สุด ริมฝีปากไม่ห่อกลม

o.gif

o อ้าปากปานกลาง ตำแหน่งลิ้นกึ่งสูงและค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากห่อกลม

e

e อ้าปากปานกลาง ตำแหน่งลิ้นกึ่งสูงและค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากไม่ห่อกลม

หากอยู่หน้าหรือหลังตัว i หรือ ü จะออกเสียงเป็น เอ

i

i อ้าปากแคบที่สุด ริมฝีปากรี ตำแหน่งลิ้นสูงและค่อนไปข้างหน้า (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yi)

หากประสมกับกลุ่มพยัญชนะต้น z c s zh ch sh r จะออกเสียงเป็น อือ

u

u อ้าปากแคบที่สุด ริมฝีปากห่อกลมที่สุด ตำแหน่งลิ้นสูงและค่อนไปข้างหลัง (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wu)

u..

ü ตำเหน่งลิ้นสูงและค่อนไปข้างหน้า ออกเสียงคล้ายกับ i[i] อี แต่ริมฝีปากห่อกลม (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yu)

สระประสม

ในสระประสม 4 ตัว คือ ai ei ao และ ou นั้น เสียงส่วนหน้าของแต่ละตัวจะดังก้องและยาว แต่เสียงส่วนหลังจะเบาและห้วน ตลอดกระบวนการออกเสียงจาก เสียงส่วนหน้าไปสู่เสียงส่วนหลังนั้น จะเป็นเสียงผ่านแบบธรรมชาติและรื่นหู มิใช่เป็นแบบก้าวกระโคดระหว่างเสียงที่ผสมกันจะ ไม่มีการชะงักงันอย่างเด่นชัด

ai

ai ออกเสียง a ที่ลิ้นอยู่หลังก่อน แล้วค่อย ๆ ยกลิ้นให้สูงขึ้น ออกเสียงต่อไปจน ถึง i ซึ่งก็ถือ a ➜ i = ai

ei

ei ออกเสียง e ที่ลิ้นอยู่หน้าก่อน แล้วค่อย ๆ ยกลิ้นให้สูงขึ้นพร้อมกับหุบปากให้แคบลง ออกเสียงต่อไปจนถึง i ซึ่งก็คือ e ➜ I = ei

ao

a๐ ออกเสียง a ที่ลิ้นอยู่หลังก่อน แล้วค่อย ๆ ยกลิ้นให้สูงขึ้น รูปริมฝีปากค่อยๆ ห่อกลม ออกเสียงต่อไปจนถึง ๐ หรือ u (ตำแหน่งออกเสียงที่แท้จริงของ a๐ คือ au แต่เพื่อหลีกเสี่ยงมิให้ปะปนกับ an จึงเขียนเป็น a๐) ซึ่งก็คือ a ➜ o = ao

ou

ou ออกเสียง ๐ ที่รูปริมฝีปากค่อนข้างกลมก่อนแล้วริมฝีปากค่อย ๆ เปลี่ยนรูปเป็นห่อกลมยิ่งขึ้น ออกเสียงต่อไปจนถึง u ซึ่งก็คือ o ➜ u = ou

an เละ en ล้วนมีตัวสะกด n (น) อยู่ท้ายสระ เวลาออกเสียง n ปลายลิ้นยื่นไปข้างหน้าแตะไว้ที่ปุ่มเหงื่อกบน แล้วออกเสียงจมูก

an

เมื่อผสมเสียง an ให้ออกเสียง a ซึ่งลิ้นอยู่หน้าก่อน แล้วค่อยออกเสียงแท้ของ n ซึ่งก็คือ a ➜ n = an

en

เมื่อผสมเสียง en ให้ออกเสียงสระกลาง e ซึ่งลิ้นอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ต่อจากนั้นออกเสียง n ซึ่งก็คือ e ➜ n= en

ส่วน ang, eng และ ong ล้วนมีตัวสะกด ng (ง) อยู่ท้ายสระ

-ng

เป็นเสียงจมูกฐานโคนลิ้น เวลาออกเสียงโคนลิ้นจะถอยไปแตะเพดานอ่อน เส้นเสียงสั่นสะเทือน ลมหายใจจะผ่านออกมาทางโพรงจมูก

ang

เมื่อผสมเสียง ang อันดับการออกเสียงคือ a ➜ ng = ang

eng

เมื่อผสมเสียง eng ให้ออกเสียงสระกลาง e ก่อน แล้วตามด้วยเสียง ng ซึ่งก็คือ e ➜ ng = eng

ong

เมื่อผสมเสียง ong ให้ออกเสียง ๐ ซึ่งห่อริมฝีปากกลมกล้ายกับ u แล้วตาม ด้วยเสียง ng ซึ่งก็คือ o ➜ ng = ong

ia

เมื่อผสมเสียง ia ให้ออกเสียง i (อี) ก่อน จากนั้นจึงลากเสียงท้ายให้เป็นเสียง a (อา) คือ i ➜ a = ia (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น ya)

ie

เมื่อผสมเสียง ie ให้ออกเสียง i (อี) ก่อน จากนั้นจึงลากเสียงท้ายให้เป็นเสียง ȇ (เอ) คือ i ➜ e = ie (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น ye)

iao

เมื่อผสมเสียง iao ให้ออกเสียง I (อี) ก่อน จากนั้นลากเสียง เป็น a (อา) และลากเสียงไปจนสุดที่ o คือ i ➜ a ➜o = iao (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yao)

iou (เขียนเป็น -iu)

เมื่อผสมเสียง iou ให้ออกเสียง I (อี) ก่อน จากนั้นลากเสียง เป็น o (โอ) และลากเสียงไปจนสุดที่ u คือ i ➜ o ➜ u = iou แต่สำหรับการเขียนให้เขียนเป็น iu เป็นเพียงการลดรูปการเขียน โดยการออกเสียงจริงยังต้องมีเสียง o (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น you)

ian

เมื่อผสมเสียง ian ให้ออกเสียง I (อี) ก่อน จากนั้นลากเสียง เป็น a (อา) และลากเสียงไปจนสุดที่ n คือ i ➜ a ➜n = ian (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yan)

iang

เมื่อผสมเสียง iang ให้ออกเสียง I (อี) ก่อน จากนั้นลากเสียง เป็น a (อา) และลากเสียงไปจนสุดที่ ng คือ i ➜ a ➜ng = iang (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yang )

in

in ออกเสียง i ก่อน ตามด้วยเสียง n ซึ่งก็คือ i ➜ n = in (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yin)

ing

ing ออกเสียง i ก่อน ตามด้วยเสียง ng (ง) ซึ่งก็คือ i ➜ ng = ing (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น ying)

iong

iong ออกเสียง i ก่อน ตามด้วย ong ซึ่งก็คือ i ➜ ong = iong  (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yong)

ua

ua ออกเสียง u ที่ลิ้นอยู่สูงและริมฝีปากห่อกลมเสียก่อน แล้วค่อยๆ ลดระดับลิ้นลงและอ้าปากให้กว้างขึ้น ริมฝีปากค่อยๆ เปลี่ยนเปีนรูปรี ออกเสียงไปจนถึง a ซึ่งก็คือ u ➜ a = ua (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wa)

u๐

u๐ ออกเสียง น ก่อน แล้วค่อย ๆ ลดระดับลิ้นลง รูปริมฝีปากเปลี่ยนจากห่อกลมเป็นกึ่งกลม ออกเสียงต่อไปจนถึง ๐ ซึ่งก็คือ u ➜ o = uo ผสมกับ b p m f จะเหลือแต่เหลือแค่ o เพราะเสียง b p m f มีเสียง u แฝงอยู่แล้ว (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wo)

uai

uai ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง ai ซึ่งก็คือ u ➜ ai uai (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wai)

uei (-ui)

uei ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง ei ซึ่งก็คือ u ➜ ei = uei เวลาเขียนจะลดรูปเหลือแค่ ui แต่ในการออกเสียงจะต้องออกเสียงเป็น uei ไม่ใช่อ่านว่า อุย แต่ต้องว่า เอวย (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wei)

uan

uan ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง an ซึ่งก็คือ u ➜ an = uan (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wan)

uang

uang ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง ang ซึ่งก็คือ u ➜ ang = uang (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wang)

uen (-un)

uen ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง en ซึ่งก็คือ u ➜ en = uen โดยรูปเขียนจะเหลือแค่ un (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น wen)

ueng

ueng ออกเสียง u ก่อน แล้วออกเสียง eng ซึ่งก็คือ u ➜ eng =ueng (ผสมกับพยัญชนะต้นอื่น ๆ ไม่ได้ โดยจะอยู่ในรูป weng เท่านั้น)

üe

e ที่อยู่หลัง ü นี้ก็เช่นเดียวกับ e ที่อยู่หลัง ie อ่านว่า (เอ) ให้เขียนเป็น e ต้องออกเสียง ü ก่อน แล้วค่อย ๆ ลดระดับลิ้นให้ต่ำลง ริมฝีปากเปลี่ยนรูปจากห่อกลมเป็นไม่กลม ออกเสียงไปจนถึง e ซึ่งก็ถือ ü ➜ e= üe (üe จัดอยู่ในสระประสม เวลาเขียนประสมกับ j,q,x ให้ลดรูปเหลือแค่ ue) (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yue)

üan

üan ออกเสียง ü ก่อน แล้วออกเสียง an (โดยความจริงแล้ว a ใน an ตัวนี้มีตำแหน่งลิ้นที่สูงเล็กน้อย จะไม่เปิดปากกว้างเหมือน an) ซึ่งก็คือ ü ➜ an = üan (üan จัดอยู่ในสระประสมเสียงจมูก เวลาเขียนจะลดรูปเหลือแค่ uan) (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yuan)

ün

ün ออกเสียง ü ก่อน ตามด้วยเสียงแท้ของ n ที่เป็นเสียงจมูกส่วนหน้าซึ่งก็คือน ü ➜ n = ün ( ün จัดอยู่ในสระประสมเสียงจมูก เวลาเขียนจพเขียนเป็น un) (หากไม่มีพยัญชนะต้นจะเขียนเป็น yun)

er

เวลาออกเสียง อ้าปากเล็กน้อย ตำเหน่งลิ้นอยู่ตรงกลาง พร้อมกับออกเสียง e ปลายลิ้นต้องรีบห่อขึ้นไปแตะข้างบน er เป็นสระเดี่ยวที่พิเศษกว่าตัวอื่น ตัวr หลัง e เปีนเครื่องหมายแสดงว่าห่อลิ้นเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่แทนเสียง และไม่ใช่ตัวพยัญชนะ r (รือ)

สามารถเป็นพยางค์โดยตัวเอง เช่น er (สอง) และสามารถเชื่อมต่อ กับสระตัวอื่นให้เป็นเสียง )บ /C วีธีเขียนสระ )บ/C นั้นคือเติม r ไว้ท้ายสระตัวเดิม เช่น nar, nar

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

error: Content is protected !!